แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พรที่ประเสริฐก็คือธรรมะนี่เอง ก็ธรรมะนั้นเป็นพรที่ดีเลิศยิ่งกว่าพรใด ๆ เพราะว่าเป็นไปตามหลักเหตุปัจจัย เมื่อมีปัญญารู้เข้าใจธรรมะ นำไปประพฤตปฏิบัติแล้วผลดีก็ย่อมเกิดขึ้นตรงตามเหตุปัจจัยนั้น ธรรมะที่เหมาะก็คือหลักคำสอนสำหรับคฤหัสถ์ โดยเฉพาะกับหลักที่เรียกว่าคิหิวินัย ซึ่งก็ได้ยินได้ฟังอยู่เรื่อย แต่ความจริงนั้นต้องให้แม่นเลย คิหิวินัยนี่ ต้องให้ว่าปากเปล่าได้ จำแม่นติดใจ นึกถึงเมื่อไหร่ก็ปรากฏชัดแจ้ง ถ้าอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นที่วินัยจริง ๆ เพราะหากว่าจำไม่ได้ วินัยก็ไม่สามารถจะปรากฏขึ้นมา นอกจากว่าจำได้ก็นำไปปฏิบัติด้วย วันนี้ก็ถือโอกาสที่จะนำเอาหลักคิวินัยหรือวินัยของคฤหัสถ์นี้มาทบทวนเป็นเครื่องเตือนใจ ในการดำเนินชีวิตด้วยแล้วก็ในการแนะนำสั่งสอนผู้อื่น เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์สังคมที่ดีงาม เพราะว่าคฤหัสถ์นั้นก็มีวินัยเช่นเดียวกัน ไม่เฉพาะพระภิกษุมีวินัย เรื่องนี้จะต้องมา เตือนใจกันอยู่เสมอ เพราะว่าชาวพุทธมักจะลืมว่าตนนั้นมีวินัยที่จะต้องรักษาก็เลยนึกว่ามีแต่พระที่มีวินัย แล้วก็ไปมองวินัยเช่นวินัยทหารเป็นต้น แต่ที่จริงคฤหัสถ์ทุกคนชาวพุทธทุกคนจะต้องมีวินัย วินัยของคฤหัสถ์นี้ก็ไม่มาก ไม่ถึง 227 ข้อ แต่ว่าถ้าประพฤติปฏิบัติถูกต้องละก็ครอบคลุมหมดคือเรื่องความประพฤติที่ดีงามก็รวมอยู่ในนี้ นี่ คิหิวินัย วินัยของคฤหัสถ์สำหรับสร้างสรรค์ชีวิต เป็นระเบียบชีวิตด้วยเป็นระเบียบสังคมด้วยก็แยกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ก็มีส่วนที่ 1 เป็นส่วนของการละเว้นความชั่ว ชำระชีวิตของเราให้โล่งเบาสะอาด เหมือนกับคนที่อาบน้ำชำระร่างกายให้พ้นสิ่งสกปรกมั่วหม่อง เราก็จะได้รู้สึกว่าเบาตัว จะทำอะไรก็สบาย
ส่วนที่ 1 นี้ก็คือการละเว้นความชั่วสิ่งเสียหาย 14 ประการ มีอะไรบ้าง 14 ประการ จัดเป็น 3 หมวดหมวดที่ 1 ก็เป็นเรื่องของกรรมที่ทำให้ชีวิตมั่วหม่อง มี 4 ข้อ อันนี้เป็นเบื้องต้นเนี่ยตอนนี้ก็จะเริ่มด้วยศีล 5 ศีล 5 นั้นหมายว่าว่าถ้าทำอะไรไม่ได้ให้เริ่มที่ศีล 5 ที่วินัยนี้ขยายต่อออกไปอีกจากศีล 5 ก็เริ่มด้วย 4 ข้อแรกของศีล 5 กรรมที่ทำให้ชีวิตมั่วหม่องก็คือการเบียดเบียนกันในสังคมมนุษย์ การสร้างเวรสร้างภัย
1 ก็เบียดเบียนผู้อื่นทางด้านร่างกายและชีวิต คือการทำลายร่างกายทำลายชีวิตเรียกว่า ปาณาติบาต
2 ก็การทำลายผู้อื่นด้วยการเบียดเบียนเรื่องทรัพย์สิน
นาทีที่ 5
เรียกว่า อทินนาทาน
3 ก็การล่วงละเมิดคู่ครองของเขาเรียกว่า กาเมสุมิจฉาจาร
4 ก็การทำลายผู้อื่นด้วยทางวาจา หลอกลวงเขา ทำลายผลประโยชน์ของเขาด้วยถ้อยคำเท็จ
4 ข้อนี้เป็นเรื่องของเวรภัยพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์มีความเดือดร้อน แล้วก็สังคมก็ต้องเกิดความขัดแย้งกัน ทะเลาะวิวาทอยู่กันไม่สงบสุข ถ้า 4 ข้อนี้เราพ้นไปได้ก็โปร่งเบาไม่มีเวรภัย อันนี้เป็นขั้นที่ 1 เรียกว่ากรรมกิเลส กรรมที่ทำให้ชีวิตมั่วหม่อง 4 ประการ ต่อไปก็ก้าวไปสู่หมวดที่ 2 หมวดที่ 2 ก็เบาลงมาแต่เกี่ยวข้องกับตนเองมากขึ้น นั้นคือทำให้ชีวิตของเราพ้นอบาย พ้นจากหลุมความเสื่อม ที่จะทำให้การดำเนินชีวิตไม่ก้าวหน้าเพราะมั่วไปตกหลุม แล้วก็ชีวิตคฤหัสถ์สำคัญที่จะมีทรัพย์สินเงินทอง ถ้าไปตกหลุมความเสื่อมที่เรียกว่าอบายมุขแล้ว จะทำให้ไม่ขยันไม่เอาใจใส่ ไม่ขวนขวายในหน้าที่การงาน แล้วก็ผลาญทรัพย์ ท่านเรียกว่าทรัพย์ที่ยังไม่เกิด ไม่เกิด ทรัพย์ที่เกิดขึ้นมาแล้วก็หมดไป
อบายมุขก็มี 6 ประการด้วยกัน
1 ข้อสุดท้ายของศีล 5 การเป็นนักเลงสุรายาเมาสิ่งเสพติด ก็ต่อไปก็ข้อ
2 การเป็นนักเลงการพนัน 2 ข้อนี้กับสังคมไทยนี้มากเหลือเกิน อบายมุขก็หมายความว่าสังคมไทยนี้ตกหลุมอบายมุขหลุมความเสื่อม แค่นี้ก็ไปไม่ค่อยไหว แล้วก็ต้องถอนตนให้พ้นจากอบายมุข หลุมอบายนี้ไป 2 ข้อละ
ต่อไปข้อ 3 การเที่ยวกลางคืน เที่ยวไม่เป็นเวลาซึ่งทำให้เสียเวลาการงาน การศึกษา แล้วก็ก่อเวรภัยเป็นที่หวาดระแวง ทำให้ทะเลาะวิวาทกันได้ง่าย เสียสุขภาพ ทำให้ครอบครัวไม่เป็นสุข แทนที่จะมีความอบอุ่นครอบครัวก็เลยเสียไป มีทางมาให้ความเสียหายหลายประการ การเที่ยวกลางคืนถ้าเว้นได้ก็จะทำให้ชีวิตนี้มีโอกาสทำสิ่งที่ดีงามมากขึ้น เอาเวลาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์
ต่อไปข้อที่ 4 อบายมุขก็คือการหมกมุ่นในการบันเทิง เห็นแก่การบันเทิงจนกระทั่งเสียการศึกษา เสียการเสียงาน เสียสุขภาพเป็นต้นอีก อันนี้เวลานี้การหมกมุ่นการบันเทิงก็มาก เพราะการบันเทิงนี้เข้ามาถึงในบ้านในห้องนอน โดยพวกสื่อต่าง ๆ ไม่ต้องหาข้างนอกก็ได้ ในบ้านก็เต็มไปหมด เพราะฉะนั้นก็ต้องระวังก็อยู่ที่ตนเองที่จะมีความเข้มแข็งไม่หล่นลงไปในหลุม ทีนี้ก็ 4 ข้อ
แล้วต่อไปก็ข้อ 5 การคบคนชั่วเป็นมิตร เมื่อคบคนชั่ว คบคนเช่นไร ก็เป็นเช่นคนนั้น คบคนนักเลงสุรายาเสพติดก็พาไปติดยา คบนักเลงการพนันก็พาไปเล่นการพนัน คบนักเที่ยวก็พาไปเที่ยว คบพวกหัวไม้ก็พาไปตีกัน คบแม้แต่คนเกียจคร้านก็พาให้ขี้เกียจไปด้วย เพราะงั้นก็ต้องระวังไม่คบคนชั่วเป็นมิตร แล้วข้อสุดท้ายก็ความเกียจคร้านในการงานรวมทั้งการเล่าเรียนศึกษา อ้างโน่น อ้างนี่ ไม่ยอมทำหน้าที่ของตนเอง เพราะงั้นก็ให้มีความเข้มแข็ง ไม่เห็น ไม่ยอมกันหนาวร้อนเป็นต้น
ถ้าหากว่าพ้นอบายมุข 6 ประการนี้ได้ก็ชีวิตมีทางที่จะเดินก้าวหน้าแล้วก็แสดงถ้าชีวิตที่มีจิตใจเข้มแข็งด้วย เพราะคนที่จะตกหลุมอบายมุขนี้ก็เป็นเพราะความอ่อนแอ ไม่สามารถที่จะเหนี่ยวรั้งตนเองและไม่สามารถยืนด้วยขาของตนเองได้เต็มที่ก็เลยทรุดลงไปหรือหล่นลงไป เพราะงั้นก็ให้พ้นอีกอบายมุขอีก 6 ประการ นี้ต่อไปก็ยังมีสิ่งเสียหายอีก 4 อีก 4 นี่เป็นเรื่องคนที่เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น
นาทีที่ 10
พอเราเติบโตขึ้นมาก็เป็นหัวหน้าครอบครัว หัวหน้าที่ทำงาน หัวหน้าหมู่ชนมีความรับผิดชอบ คนที่เป็นหัวหน้านอกจากต้องดำรงรักษาคณะของตนเองนั้นให้มีความสามัคคีเป็นต้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ ความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นตรงนี้ท่านก็จะให้หลัก ว่าอย่าให้เสียความเป็นธรรม การที่จะเสียความเป็นธรรมก็เกิดจากการละเมิดอคติ การล่วงอคติ 4 ประการ
อคติ 4 ประการก็คือความลำเอียง อำเอียงอะไร
1 อำเอียงเพราะชอบกัน อำเอียงเพราะรักเรียกว่า ฉันทาคติ
2 ลำเอียงเพราะชัง ไม่ชอบเรียกว่าโทสาคติ
3 ลำเอียงเพราะเขลา ลำเอียงเพราะไม่รู้เรื่อง เพราะไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรอง เพราะไม่หาข้อมูลข้อเท็จจริง ด่วนพลีพลามตัดสินลงไปเรียกว่า โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง เพราะเขลา
4 ลำเอียงเพราะกลัว เพราะกลัวก็ไม่สามารถรักษาความเป็นธรรมได้ อันนี้ก็อคติ 4 ประการ ถ้าเว้นซะได้ เราก็จะรักษาความเป็นธรรมได้
นี่ก็ครบละ 3 หมวดสำหรับสิ่งที่ต้องละเว้นสำหรับวินัยของคฤหัสถ์ 14 ประการ ก็ไม่มากเท่าไหร่ แต่ว่ายาก ยากสำหรับสังคมไทยเวลาปัจจุบัน เพราะว่าสังคมเรานี้เหลวไหลไปเยอะ ต้องมีความเข้มแข็ง พวกเราชาวพุทธจะต้องฟื้นฟูสังคมขึ้นมาให้ได้ เนี่ย นี่ส่วนที่ 1
ต่อไปส่วนที่ 2 ส่วนที่ 2 ก็เป็นเรื่องของการวางพื้นฐานชีวิต การวางพื้นฐานชีวิตก็มีเรื่อง 2 อย่างคือ
1 การเงินเศรษฐกิจ
2 เรื่องของคน การจัดการเรื่องคน
ก็ด้านที่ 1 เป็นเรื่องเงินทอง เรื่องเงินทองนี่เป็นฐานสำคัญของชีวิตคฤหัสถ์ ถ้าการเงินไม่ดีจะทำให้เกิดทุกข์มาก เกิดความเดือดร้อนกังวลนอกจากทุกข์แล้ว จะทำอะไรก็ขัดข้องแทนที่จะปลอดโปร่ง ทำอะไรได้เดินหน้าไปก็มั่วพะวักพะวง นั้นท่านก็บอกว่าจัดการเรื่องการเงินทรัพย์สินให้มันดี ให้มั่นคงและมั่นใจ เราจะได้ก้าวไปสู่การทำหน้าที่การงานการศึกษาได้เต็มที่เต็มใจของเรา
การเงินนั้นก็มี 2 ระดับ
ขั้นที่ 1 ก็คือการแสวงหาด้วยความขยันหมั่นเพียร ก็ให้ขยันเหมือนแมลงผึ้ง แมลงผึ้งนี่ถึงเวลาก็ออกละ ไม่หยุด แล้วก็แม้แต่เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เก็บสะสมได้ ได้น้ำหวานเกสรดอกไม้นิด ๆ หน่อย ๆ มา สร้างรังให้ใหญ่โตโดยความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน เช่นอย่างในครอบครัวก็ให้มีความสามัคคีกันก็จะทำให้การเงินนี่ดี ขยันหาและรักษาให้ดี
ละขั้นต่อไปก็วางแผนการใช้จ่าย ตรงนี้พระพุทธเจ้าจะเน้นเรื่องการวางแผนการใช้จ่าย ถ้าการใช้จ่ายเรื่อยเปื่อยไม่มีแผนก็จะทำให้ไม่มั่นคง และไม่มั่นใจ คนที่มีแผนจัดทำอะไรตามแผนที่วางไว้ ก็คือมีระเบียบนั้นเอง เมื่อมีระเบียบแล้วก็เกิดความมั่นใจ พอนึกขึ้นมาก็ชัดเจนว่าการเงินของเราเป็นอย่างไร จะใช้จ่ายอะไรเท่าไหร่เนี่ย อันนี้ต้องชัดต้องแม่น ก็ขอย้ำเพราะเรื่องการเงินคนไทยเรานี่ปล่อยปะ ละเลย อยู่ในความประมาทกันมาก เพราะฉะนั้นก็ควรนำหลักที่พระพุทธเจ้าสอนมาใช้ แล้วชาวพุทธเราก็ไม่เอามา ปฏิบัติตาม แม้แต่เรื่องง่ายๆ เอาละวางแผนการใช้ทรัพย์ก็จัดทรัพย์เป็นส่วนๆ ว่าจะใช้จ่ายอะไร ต่ออะไร เท่าไหร่ ท่านก็วางไว้เป็นตัวอย่างตามสมัยโบราณ อาจจะใช้ให้เหมาะกับสมัยนี้ก็มาปรับเอา
ท่านก็บอกให้จัดสรรทรัพย์เป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 น่ะให้ใช้จ่าย ละใช้จ่ายก็แบ่งไปอีก ใช้จ่ายเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงบิดามารดา เลี้ยงคนในปกครองดูแลทั้งหลายที่เรารับผิดชอบให้เป็นสุข เมื่อทุกคนที่เรารับผิดชอบเป็นสุขแล้วทีนี้ ก็มีเงินเหลือจากนั้นก็ให้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่เขาตกทุกข์ได้ยากเป็นต้นทำการกุศลทำความดีอะไรที่เป็นการสร้างสรรค์สังคมก็ให้ร่วมช่วยเหลือทั้งหมดเนี่ยอยู่ในส่วนที่ 1 ที่เรียกว่าใช้จ่าย ก็ไปคิดดูวางแผนให้ดี
นาทีที่ 15
ต่อไปอีก 2 ส่วนลงทุนทำกิจการงาน การงานนี่เป็นเรื่องใหญ่ของชีวิตท่านให้มาก ให้ 2 ส่วนเลย จะทำอะไรท่านก็ว่าไปตามงานนั้น
ทีนี้อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้เป็นหลักประกันชีวิตในยามจำเป็น เพราะว่าธรรมชาติก็ดี สังคมก็ดี ชีวิตของทุกคนก็ดี ตกอยู่ใต้ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้ก็ต้องสร้างหลักประกันไว้ก็คือเก็บทรัพย์ไว้ส่วนหนึ่งว่า เกิดมีเหตุการณ์อะไรขึ้นไม่คาดฝันก็มีใช้จ่าย ทีนี้เป็นเหตุที่จะทำให้เรามีความมั่นใจ แล้วก็มีความมั่นคงในเรื่องการเงิน พอนี้พอมั่นคงแล้วส่วนอื่นก็จะพอมั่นคงแล้วก้าวไปได้
ต่อไปอีกด้านหนึ่งก็คือเรื่องคน เรื่องคนก็คือรู้จักคบหา เลือกคบทั้งคนระดับเดียวกัน ทั้งคนที่มาช่วยงาน ทั้งคนที่เราจะไปปรึกษาหารือ เป็นครูอาจารย์ เป็นผู้บังคับบัญชา หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นทางของความเจริญก้าวหน้า ท่านก็ให้เลือกคบมิตร เว้นมิตรเทียม หรือศัตรูผู้มาในร่างมิตร 4 ประเภท 4 ลักษณะ ประเภทละ 4 แล้วก็คบหามิตรแท้คือมิตรด้วยใจจริง มี 4 ประเภท แต่ละประเภทก็มีลักษณะอย่างละ 4 อันนี้ก็ให้แต่หัวข้อ โดยสาระสำคัญก็คือเลือกคบคน แล้วก็เลือกคบคนดีเว้นคนชั่ว แต่ว่าท่านก็ยกเว้นบอกว่า ไม่คบคนพาล เว้นแต่จะช่วยเขา ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เอาใจใส่คนโง่คนพาล คนเลวเสียเลย คือถ้าเราแข็งพอ เราก็ต้องช่วยเหลือผู้อื่น ดึงคนพาลคนไม่ได้ให้มาสู่ความดีงาม เอ้า ทีนี้ต่อไปก็เอาละ เอาแต่หัวข้อพอสมควร
นี้ต่อไปก็ก้าวไปสู่ส่วนที่ 3 การอยู่ร่วมของสังคม การมีชีวิตที่เกื้อกูลต่อผู้อื่น แล้วก็ทำหน้าที่ต่อเพื่อนมนุษย์ให้ถูกต้อง เพราะมนุษย์ที่อยู่ในสังคมก็อยู่รอบตัวเรา ท่านก็บอกว่า คนเหล่านั้นก็อยู่ในสถานะต่าง ๆ โดยสัมพันธ์กับตัวเรานั้น ท่านก็เลยแบ่งคนเหล่านี้เป็นเหมือนทิศ เป็นทิศทั้ง 6 ก็แบ่งคนเป็นสถานะต่าง ๆ ตามทิศเหล่านี้
เริ่มด้วยทิศที่ 1 คือทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องหน้าผู้มาก่อนก็ได้แก่บิดามารดา คุณพ่อคุณแม่มาก่อนเรา เป็นผู้นำชีวิตของเรา แล้วก็เป็นผู้ถ่ายทอดทรัพย์ต่าง ๆ ให้ทั้งทรัพย์ภายนอก และทรัพย์ภายใน นี้ที่เราได้เจริญเติบโต ได้รู้จักดำเนินชีวิตก็ได้อาศัยคุณพ่อ คุณแม่ ท่านเรียกว่าเป็นบูรพาจารย์คนแรก ได้เรียนวิชาจากพ่อแม่ก่อน เรียนได้โดยไม่รู้ตัวทำตามท่าน ทั้งทำตามอากัปกิริยา พฤติกรรม ทั้งทำตามคำพูดแนะนำของท่าน ทั้งถ่ายทอดทางความรู้สึกจิตใจได้หมด นี่ก็เลยเป็นผู้มีพระคุณสูง เพราะเป็นอาจารย์คนแรก เป็นผู้ให้ชีวิต เป็นผู้นำ แล้วก็ท่านก็ให้มาจนกระทั่งที่จะนำส่งการศึกษา เล่าเรียนเป็นต้น ก็เลยให้มีหน้าที่ต่อคุณพ่อ คุณแม่ 5 ประการด้วยกัน เขาเรียกว่าไหว้ทิศ ไหว้ทิศที่ 1 ก็คือ ทำหน้าที่ต่อคุณพ่อ คุณแม่ให้ครบถ้วน 1 ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบแทน 2 แม้จะไม่มีกำลังเลี้ยงท่านได้ ก็ช่วยเหลือธุรการงาน รับใช้ท่าน 3 ดำรงรักษาวงตระกูล อย่างน้อยก็รักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของพ่อแม่ไว้ให้ดี ไม่ให้เสื่อมเสียไปเพราะเรา แต่ว่าช่วยเชิดชูให้สูงยิ่งขึ้น 4 ทำตนให้สมเป็นทายาท ให้รับมรดก ทั้งทรัพย์ทางวัตถุ และทรัพย์ภายในคือพ่อแม่ มีคุณงามความดี ความขยันหมั่นเพียรอะไรก็รู้จักรับ รู้จักถ่ายทอดออกมาก็รับทรัพย์มรดกท่านนามธรรมด้วย
นาทีที่ 20
เมื่อท่านล่วงรับไปแล้ว ก็ให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านด้วย นี่ก็เป็นหน้าที่ต่อทิศบิดามารดา ถ้าเป็นพ่อแม่เองก็ทำหน้าที่ต่อลูก 5 ประการ นี้ก็เป็นตัวอย่าง เอาทิศที่ 1 เป็นตัวอย่าง
ต่อไปทิศเบื้องขวา ครู อาจารย์ เป็นลูกศิษย์ก็ทำหน้าที่ต่อครู อาจารย์ 5 เป็นครูอาจารย์ก็ทำหน้าที่ต่อลูกศิษย์ 5
ต่อไปก็ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องหลังก็ได้แก่คู่ครอง คู่ครองนี้อีกนาน ตามหลังพ่อแม่มานานตั้ง 20-30 ปี นี้ทิศเบื้องหลังก็มีหน้าที่ต่อกันก็คือสามี ภรรยา สามีก็มีหน้าที่ต่อภรรยา 5 ภรรยาก็มีหน้าที่ต่อสามี 5 อย่าง ก็ทำหน้าที่ต่อกันให้ถูกต้อง
ต่อไป ทิศที่ 4 ทิศเบื้องซ้าย ผู้เกื้อหนุนกัน ประคับประคองกัน ทำให้อย่างน้อยอบอุ่นใจ ก็ได้แก่มิตร เพื่อนต่อเพื่อน ก็มีหน้าที่ต่อกันฝ่ายละ 5
ต่อไปทิศที่ 5 ทิศเบื้องล่าง ผู้ใต้บังคับบัญชา คนรับใช้ คนงาน กรรมกร ก็มีต่อกันระหว่างนายงานกับคนงาน ฝ่ายละ 5 เช่นให้มีความเป็นธรรม มีน้ำใจต่อกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันเอาใจใส่กัน ให้ดีงามเพื่อจะให้งานส่วนรวมดำเนินไปได้ดี ถ้าทั้ง 2 ฝ่าย นายงาน คนงาน มีน้ำใจต่อกันแล้ว งานส่วนรวมก็เดินไปด้วยดี ก็เป็นประโยชน์ร่วมกันนั้นเอง
ต่อไปทิศที่ 6 ก็ทิศเบื้องบนได้แก่ สมณพราหมณ์ พระสงฆ์ พระสงฆ์ก็มีหน้าที่ต่อกันกับญาติโยม ญาติโยม คฤหัสถ์ก็มีหน้าที่ต่อพระสงฆ์ 5 พระสงฆ์ก็มีหน้าที่ต่อญาติโยม 6 ตอนนี้ญาติโยมก็ไม่รู้มีหน้าที่ต่อพระสงฆ์อย่างไร พระสงฆ์ก็บ้างทีก็ไม่รู้ว่ามีหน้าที่ต่อญาติโยมอย่างไร ก็บ้างทีเนี่ยทิศ 6 วินัยเนี่ยมันเลือนรางไปหมดแล้ว ก็อยู่กันไปอย่างนั้น ถวายพัดตาหารไป ท่านก็ฉันไป พากันฉันเสร็จแล้วก็ไปตามเรื่องของท่านไม่รู้ว่ามีหน้าที่อย่างไรต่อกัน ก็เนี่ยฝ่ายละ 5 กับ 6 มีพระองค์เดียวมี 6 ทั้ง 6 ทิศเนี่ยมีหน้าที่มากที่สุด คือทุกข้อเนี่ย เขามีหน้าที่ฝ่ายละ 5 แต่พระเนี่ยมีหน้าที่ 6 อย่าง สุดท้ายเลย แต่ว่าโดยสาระก็คือพระเนี่ยมีหน้าที่ต่อญาติโยมคือให้ธรรมะ เรียกว่าธรรมะทาน ฝ่ายโยมก็มีหน้าที่ต่อพระเรียกว่าอมิสทาน หมายความว่าพระเนี่ยมีหน้าที่ดำรงรักษาธรรมะไว้ให้แก่สังคมมนุษย์เพราะว่าสังคมมนุษย์จะอยู่ดีได้ต้องมีธรรมะ นี้เมื่อพระสงฆ์ท่านดำรงธรรมะไว้ให้ ญาติโยมก็เลยถือเป็นหน้าที่ว่า เราจะต้องเกื้อหนุนให้ท่านไม่ต้องมาห่วงใยชีวิตด้านวัตถุ แล้วท่านก็ต้องการวัตถุน้อยอยู่แล้ว ก็เลยบอกท่านว่า ท่านไม่ต้องห่วงกังวลด้านวัตถุนะ ฉันจะเลี้ยงดูเอาใจใส่เอง ท่านตั้งใจเรียกศึกษาปฏิบัติเผยแพร่ธรรมะไปเถิดเนี่ย ที่ญาติโยมเขาอุปถัมภ์บำรุงก็เพื่ออันนี้ให้พระได้ไม่ต้องกังวลวัตถุจะได้ตั้งใจอุทิศเวลา อุทิศเรี่ยวแรงให้แก่การศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติและเผยแพร่ธรรมได้เต็มที่ ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายทำหน้าที่ต่อกันได้ดีเนี่ยสังคมก็จะเจริญมั่นคง ก็อยู่ที่เนี่ย ถ้าเพียงชาวพุทธมีหน้าที่ต่อกันเนี่ย สังคมก็ดีขึ้นเยอะแล้ว ทีนี้เรี่องของทิศ 6 หน้าที่ต่อกันของคนในสังคมนั้นเอง ตัวเราก็ปฏิบัติต่อทิศทั้ง 6 ให้ถูกนี้ก็จวนจะจบแล้ววินัยของคฤหัสถ์ก็เหลืออีกหมวดเดียว
หมวดเดียวก็มองกว้างว่า มองคลุมทั้งสังคมว่า เราทุกคนนี้ก็มีหน้าที่ที่จะประสานสังคมนี้ให้มีเอกภาพสามัคคีด้วยการปฏิบัติตามสังคมสงเคราะห์ สังควัตถุ 4 ประการ สังควัตถุ 4 ประการ นี้เป็นหลักสำคัญเพราะว่ามีโอกาสมีกำลังมีความสามารถไม่เท่ากัน ถ้าไม่เกื้อหนุนช่วยกันแล้ว สังคมก็จะอยู่ด้วยดีไม่ได้ แล้วก็จะเบียดเบียนกันแทนที่จะปล่อยกันไป ก็ให้มาเกื้อหนุนกันซึ่งจะได้ทางจิตใจก็ดีด้วย ท่านก็เลยให้หลัก สังควัตถุ 4 ประการไว้
นาทีที่ 25
เป็นหลักประสานสังคมและยึดเหนี่ยวกันไว้ ยึดเหนี่ยวใจกันก็ 1 ยึดเหนี่ยวใจกันประสานสังคมกันด้วยอะไร ด้วยการให้ท่านเรียกว่าทานคือมีทรัพย์สินเงินทอง สินของเครื่องใช้ตลอดจนวิทยาความรู้ก็มาเผื่อแพร่กัน คนที่เขามีความรู้ด้อยโอกาสกำลัง หรือมีปัญหาเกิดภัยพิบัติก็ได้ช่วยเหลือกัน ก็นี่ก็นะ 1 ให้ด้วยเมตตาในยามปกติ 2 ให้ด้วยกรุณายามเขาเป็นทุกข์เดือดร้อนประสบภัยพิบัติ 3 ให้ในยามเขาทำดี ประสบความก้าวหน้าเป็นการเกื้อหนุนส่งเสริม ต่อไปก็ข้อ 2 สงเคราะห์กันด้วยวาจา มีน้ำใจ เรียกว่าปิยวาจา คือว่ายามปกติก็พูดกันด้วยเมตตาไมตรี ยามเขาทุกข์เดือดร้อนก็ใช้วาจาปลอบโยนแนะนำวิธีแก้ปัญหา ยามเขาทำดีงาม ประสบความก้าวหน้าก็ใช้วาจาส่งเสริม สนับสนุนให้กำลังใจ แล้วก็ต่อไปก็ข้อที่ 3 อัตถจริยาใช้เรี่ยวแรงกำลังความสามารถ ไปช่วยเหลือเกื้อหนุนผู้อื่นด้วยเมตตายามปกติ ด้วยกรุณายามเขาเกิดทุกข์เดือนร้อนเช่นตกน้ำ ติดไฟไหม้ หรือมีความอ่อนแอเจ็บได้ป่วย แล้วก็ใช้กำลังเรี่ยวแรงของตนไปเกื้อหนุนผู้อื่นที่เขาทำความดีเช่น เขากำลังสร้างสรรค์สังคมทำบุญทำกุศลก็ไปร่วมช่วยให้แรงให้กำลังความสามารถส่งเสริมการทำความดีก็ทำด้วยมุทิตานี้เรียกว่าอัตถจริยา แล้วก็ข้อ 4 ข้อสุดท้ายก็คือมีความเสมอภาคมีตนเสมอเรียกว่าสมานัตตตา คือว่าอยู่ด้วยกันก็ไม่ดูถูกดูหมิ่นเยียดหยามกัน อยู่ด้วยกันก็ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน อยู่ด้วยก็ไม่เลือกที่รักผลักที่ชังให้ความเสมอภาคกัน แล้วก็อยู่ด้วยกันก็ร่วมสุขร่วมทุกข์กันไม่ทอดทิ้งกันในยามมีทุกข์ ร่วมกันแก้ปัญหา เรียกว่าสมานตัดตา ต้องเอาตัวเข้าเสมอสมานครบ 4 ประการนี้ก็เป็นหลักที่จะทำให้สังคมทุกระดับเนี่ย มีความสามัคคีละก็อยู่กันด้วยดี มีความสงบสุขเจริญมั่นคง ตั้งแต่ในครอบครัวเป็นต้นไป พ่อแม่ก็ต้องใช้สังควัตถุ 4 ประการนี้กับลูกและต่อไปก็ขยายไปทั่วทั้งสังคม เนี่ยทั้งหมดเนี่ยท่านเรียกว่าคิหิวินัย เนี่ยชาวพุทธทุกคนเนี่ยอยากให้จำกันให้แม่นว่าคิหิวินัย วินัยของคฤหัสถ์เนี่ย แต่นี่และสังคมไทยเนี่ยเจริญมั่นคงแน่ แต่แค่คิหิวินัยเนี่ยชาวพุทธไทยก็ทำไม่ได้ อย่าว่าแต่ทำไม่ได้เลย รู้ยังไม่รู้เลย ก็ให้ทำไงน่ะ เพราะฉะนั้นสังคมก็เป็นอย่างเงี่ยแล้วจะมาว่าพระพุทธศาสนา ก็ไม่เห็นช่วยสังคม ก็เพราะเราไม่เอาพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะฉะนั้นขอให้รื้อฟื้นกัน คิหิวินัย วินัยของคฤหัสถ์ อย่ามองแต่เพียงวินัย พระเดียวจะว่าไม่เป็นประพฤติตามวินัยเลย พระเสื่อม แต่โยมเสื่อมก่อนแล้ว เพราะว่าโยมนี้ไม่รู้จักวินัยมานานแล้ว ก็เลยต่อมาพระก็เสื่อมบ้าง ทีนี้เสื่อมครบ 2 ฝ่าย ทีนี้ก็หมด ก็เลยตอนนี้ต้องรื้อฟื้นแล้ว พระก็ พระจะมีวินัยดีก็ต่อเมื่อ โยมมีวินัยด้วย ถ้าหากว่าโยมมีวินัยดี ตั้งอยู่ในคิหิวินัย พระโดนล้อมกรอบ พระไม่มีทาง พระก็โดนคลุมโดนศรัทธาเนี่ย โดยไม่รู้ตัวเลย เพราะโยมอยู่ในวินัยแล้วพระดิ้นไม่ได้แล้ว พระก็ต้องอยู่ในวินัยด้วยก็คลุมกันเป็นชั้น ๆ คลุมกันด้วยความเคารพนับถือปฏิบัติให้ถูกต้อง ละตอนนี้ก็เลยมาย้ำเรื่องคิหิวินัย วินัยของคฤหัสถ์เนี่ย 3 ส่วน ก็มี 1 เว้นความชั่วเสียหาย 14 ประการ 2 วางฐานชีวิตให้มั่น 2 ด้าน แล้วก็ 3 ก็ ทำหน้าที่ต่อสังคมให้ถูกต้องโดยหลักทิศ 6 และสังคหวัตถุ 4 จบ คิหิวินัยแล้วทีนี้ชีวิตก็มีระเบียบสังคมก็มีระเบียบ การจัดระเบียบสังคมสำเร็จ
นาที่ที่ 30
ตอนนี้สังคมไทยกำลังจัดระเบียบ แค่จัดสังคมกันตอนนี้ก็หนักหนาเต็มที นี้พอมีคิหิวินัยระเบียบชีวิต ระเบียบสังคมกันดีแล้ว ท่านก็บอกเอาละเดินหน้า ต้องวางจุดหมายชีวิต แต่ละคนก็ดำเนินชีวิตไปสู่จุดหมาย พระพุทธเจ้าก็วางจุดหมายไว้ให้อีก โดยมากคนเนี่ยไปคิดกันเอาเป็นจุดหมายชีวิตมักจะมองอันเดียว พระพุทธเจ้าเนี่ยตรัสแบ่งระดับเป็นขั้นๆ ก็วางระดับจุดหมายเป็น 3 ขั้น ระดับที่ 1 อะไร จุดหมายขั้นตาเห็นทิฏฐธัมมิกัตถะที่เป็นรูปธรรม ปัจจุบันทันตาอะไรบ้าง 1 อะไรนะว่าดังๆ อุฏฐานสัมปทา อ่อ ไอ้เนี่ยเป็นวิธี จะเห็นว่าเนี่ยท่องกันเป็นประโยชน์ปัจจุบัน ที่จริง 4 ข้อนี้ไม่ใช่ตัวประโยชน์ มันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมาย อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความขยันมั่นเพียร อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม และสมชีวิตาเลี้ยงชีวิตพอดีอันนี้ท่านเรียกว่า เป็นธรรมะที่เป็นไรเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน ไม่ใช่ตัวประโยชน์ และประโยชน์ปัจจุบันในที่นี้จำกัดเฉพาะทรัพย์สินเงินทองซึ่งแคบ ความจริงพระพุทธเจ้าตรัสเนี่ย มากกว่านี้เยอะ เอ้า ตัวประโยชน์คืออย่างนี้ ตัวประโยชน์ปัจจุบันเนี่ย 1 ทรัพย์สินเงินทอง เรื่องเศษฐกิจ อันนี้ตัวประโยชน์ตัวจุดหมาย แล้ว อุฏฐานสัมปทา คือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้ประโยชน์ อันนี้ นี้เวลาอ่านในแบบในตำราเนี่ยมันพลาด คราวนี้ก็เลยเข้าใจผิดนึกว่าอันนั้นเป็นตัวประโยชน์ ถึงพร้อมด้วยความหมั่น(เพียร)จะเป็นตัวประโยชน์ได้ยังไง ใช่ไหม มันเป็นไม่ได้ มันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมาย
ตัวจุดหมายคือ 1 การมีทรัพย์สินเงินทอง อย่างน้อยพึ่งตนเองได้ในทางเศษฐกิจเนี่ย อันที่ 1 เนี่ยจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเน้นเรื่องเงินทองมาก สำหรับคฤหัสถ์อย่ามาว่าพุทธศาสนาเนี่ย ไม่เอาใจใส่วัตถุ พูดแยกให้ถูกเป็นด้านๆ ท่านถือว่าวัตถุอย่างเดียวไม่พอ แต่ไม่ใช่ไม่สำคัญ แล้วก็สำคัญต่อชีวิตในแต่ละระดับไม่เหมือนกัน สำหรับคฤหัสถ์แบบหนึ่ง สำหรับพระสำคัญอีกแบบหนึ่ง ไม่เหมือนกันต้องแยกแยะให้ถูกอย่าพูดคลุมๆ ก็เอาละ 1 เรื่องทรัพย์สินเงินทอง ก็ต้องใช้หลักที่ว่ามีความขยันหมั่นเพียรเป็นต้น เก็บรักษาวางแผนค่าใช้จ่ายให้เป็นอะไรวางแผนอะไรพวกนี้ นี้ก็จุดหมายที่ 1 ด้านทรัพย์สินเงินทอง พึ่งตัวเองได้ในทางเศรษฐกิจ
2 สถานะทางสังคมอย่างน้อยทำตัวให้เป็นที่ยอมรับ ไม่น่ารังเกียจแล้วก็ ก้าวหน้าไปในยศตำแหน่งหน้าที่การงาน มียศศักดิ์บริวารอันนี้เรียกว่าเป็นด้านที่ 2 ของประโยชน์ จุดหมายทันตาในปัจจุบัน
3 เรื่องอะไรก็เรื่องสุขภาพ ร่างกายแข็งแรง อย่างพระพุทธเจ้าก็ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศล เล่าแทรกก็ได้ญาติโยมจะได้ฟังด้วย พระเจ้าปเสนทิโกศลเนี่ยมีพระชนมายุเท่าพระพุทธเจ้า นี้ก็รักพระพุทธเจ้ามาก มีโอกาสก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ทีนี้พระองค์เนี่ยเสวยจุ เสวยจุเนี่ยก็ทรงพระอ้วน ทีนี้อ้วนก็อุ้ยอ้าย อุ้ยอ้ายละก็อึดอัดเนี่ย เวลาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าวันหนึ่งเนี่ย เสวยไปใหม่ๆ นี่พอไปประทับนั่งเนี่ยก็ทรงอึดอัด พระพุทธเจ้าทรงสังเกตเห็น พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสคาถาออกมาซึ่งโดยสาระสำคัญก็บอกว่าเนี่ย ผู้ที่มีสติแล้วก็รู้จักประมาทในการบริโภคให้พอเนี่ย การย่อยต่าง ๆ ก็จะเป็นไปด้วยดี แล้วก็จะมีอายุยืน พระองค์ก็ตรัสสาระสำคัญทำนองเนี่ย พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงเตือนพระองค์ ด้วยความปรารถนาดีก็เลยทรงหันไปตรัสกับราชวัลลภคือผู้ติดตาม คนสนิทบอกว่าหลาน เป็นหลานนะคนเนี่ย บอกว่า เอ้า ช่วยจำไว้หน่อย
นาทีที่ 35
คาถาที่ท่องไว้ เวลาฉันเสวยละนะ เวลาจะเริ่มตักช้อนแรก ละรีบว่าคาถานี้เลย คือเกรงว่าพระองค์เนี่ยจะเผลอใช่ไหม เพราะว่าเสวยจุ พอจะเสวยพอเริ่มตักคำแรก ก็ให้หลานว่าคาถานี้ พอว่าคาถานี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ระวังพระองค์ ต่อมาหลายๆ เดือนปรากฏว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเนี่ย ทรงมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น วันนี้หนึ่งก็เลยมาปรารภรำพึงกับพระองค์เอง พระพุทธเจ้าเนี่ยทรงมีความปรารถนาดีต่อพระเจ้าปเสนทิโกศล คือตัวพระองค์เองเนี่ย ไม่เฉพาะด้าน สัมปรายิกัตถะประโยชน์ทางนามธรรมเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงปรารถนาดีต่อพระองค์แม้นแต่ นิประธรรมทิกันทะ ด้วย นี้ละที่พระพุทธเจ้าตรัส ประโยชน์ปัจจุบันอันหนึ่งก็คือเรื่องของสุขภาพ เพราะนั้นก็การรักษาสุขภาพนี้ก็เป็นจุดหมายชีวิต ปัจจุบันอันหนึ่ง
ต่อไปก็ 4 เรื่องชีวิตครอบครัว ก็ว่าใครมีชีวิตครอบครัวก็อยู่กันให้มีความผาสุกอบอุ่นกันด้วยดี
ละ 4 ข้อนี้คือจุดหมายชีวิตในระดับรูปธรรมปัจจุบันทันตา คฤหัสถ์ก็ต้องพยายามทำให้ได้ ต่อไปท่านบอกว่าไม่พอนะ จุดหมายทันตาเห็น
ต้องก้าวต่อไปอีกจุดหมายที่ 2 โดยตาเห็นเป็นนามธรรมลึกซึ้งในทางจิตใจ เลยไปถึงโลกหน้าเรียกว่า สัมปรายิกัตถะ ก็ได้แก่อะไรบ้าง
1 มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ มีศรัทธา ในพระศาสนา พระรัตนตรัย ในการทำความดี ก็จะทำให้จิตใจนี่ไม่อ้างว้างหว้าเหว่นี้ก็เป็นข้อที่ 1 เรียกว่าศรัทธา
แล้วก็ 2 ก็มีชีวิตที่สุจริต ทำความดีเว้นความชั่วอันนี้ก็ทำให้เราใความภูมิใจในชีวิตของตนเองที่สะอาดบริสุทธิ์
ละ 3 ก็ได้ทำคุณประโยชน์ เรียกว่าจาคะ ได้ใช้ชีวิตนี้ทำความดี ทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ แก่สังคมระลึกเมื่อไหร่ก็มีความสุข
แล้วก็ 4 มีปัญญารักษาตน แก้ปัญหาได้
ละก็ 5 ทำแต่กรรมดีมั่นใจในโลกหน้าอัน
นี้ก็เป็นสัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่เลยไปลึกซึ้งทางจิตใจ สัมปรายิกัตถะนี้ก็เป็นหลักประกันอุปรายิกันตะ ว่าเรามีประโยชน์ปัจจุบัน ทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศ ฐานะแล้ว ถ้าไม่มีประโยชน์เลยตาเห็นนามธรรมมาช่วย ก็อาจจะลุ่มหลงมั่วเมาแล้วใช้ไปในทางไม่ดี คนมีเงินทองทรัพย์สินยศบริวารนี้จะใช้ไปในทางชั่วร้ายก็ได้ยิ่งเป็นโทษมากแต่มีพอ สัมปรายิกัตถะ ก็คุมให้ใช้ในทางดี ยิ่งมีเงินมาก ยิ่งมีทรัพย์สินยศบริวารมาก ก็ยิ่งทำประโยชน์ได้มาก งั้น 2 ระดับนี้ประสานกันก็อย่าหยุดแต่ ทิฏฐธัมมิกัตถะต้องก้าวไปสู่สัมปรายิกัตถะด้วย ต่อไปก็ยังไม่พอยังมีอีกขั้นหนึ่ง ก็คือคนเรานี้คนดีคนร้ายก็อยู่ใต้อำนาจกฏของธรรมชาติ มีอนิจจังไม่เที่ยงเป็นต้น เพราะฉะนั้นก็เราผู้อยู่ใต้กฎธรรมชาติมีความเปลี่ยนแปลงมีโลกธรรมปรากฏขึ้นก็มีความทุกข์ มีความสุขไปตามความผันแปรนั้น ท่านก็เลยบอกว่าให้ก้าวไปสู่ประโยชน์สูงสุดก็คือมีปัญญารู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต เมื่อรู้เข้าใจความจริงของโลกของชีวิตทำจิตใจให้มีความอิสระได้ก็ไม่ตกอยู่ในโลกธรรม ความผันผวนป่วนแปรทั้งหลายทั้งดีทั้งร้าย ก็จะมีจิตใจที่มั่นคง เป็นจิตใจที่ปลอดโปร่งผ่องใส เป็นจิตเกษมได้ตลอดเวลา อันนี้ท่านเรียกว่าเป็นมงคลอันสูงสุด เป็นประโยชน์สูงสุดเป็นข้อที่ 3 ปรมัตถะ ก็แปลว่าจบ ชาวพุทธก็ต้องพยายามดำเนินชีวิตให้บรรลุจุดหมายทั้ง 3 ขั้น ละ 3 ขั้นนี้ก็แบ่งเป็น 3 ด้าน
1 ประโยชน์ 3 ขั้นนี้ทำเพื่อตนเองเรียกว่า อัตตัตถะ
2 ประโยชน์ทั้ง 3 ขั้นนี้ช่วยให้ผู้อื่นเขาบรรลุด้วยเรียกว่า ปรัตถะ
3 สิ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน ทั้งทางวัตถุและนามธรรม
นาทีที่ 40
เช่นสิ่งสาธาณณูปโภค แล้วก็เรื่องของศีลธรรมทางวัฒนธรรมอะไรที่จะดำรงสังคมของเรา ให้อยู่ดี ให้เป็นสิ่งที่เอื้อโอกาสกันทุกคน อันนี้เรียกว่า อุภยัตถะ ประโยชน์ส่วนรวมร่วมกัน ก็ทำให้ครบ 3 ด้าน ประโยชน์ ประโยชน์ 3 ขั้นทำให้ครบ 3 ด้านนี้ ก็เป็นการบริบูรณ์ก็จบ หลักการครองชีวิต นอกจากนี้แล้วก็เป็นรายละเอียดปลีกย่อย ก็ขอให้ได้ช่วยกัน นำเอาหลักคิหิวินัยนี้ปฏิบัติ แล้วก็ฟื้นฟูขึ้นมาเพื่อให้ สังคมไทยนี่ซึ่งเป็นสังคมชาวพุทธนี้สมชื่อ ที่เป็นชาวพุทธ ไม่ใช่เป็นสังคมเหลวไหลตกอยู่ใน อบาย จะได้มีความเจริญมั่นคงต่อไป ก็ขอร่วมส่งเสริมกำลังใจ อาราธนาคุณรัตนตรัยอวยชัยให้พร