แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เมื่อหลีกเลี่ยงก็ไม่รู้จักมันด้วย แล้วก็ไม่ได้จัดการกับมัน เพราะเราไม่มีความรู้แล้วเราไม่สนใจมองข้าม ไม่จัดการ ไม่จัดการ คุณค่าที่ไม่จัดการนี้แล้วเราหลีกเลี่ยงก็ไม่พ้นนี้ มันก็เลยส่งผลตีกลับมา ถ้าเราไม่จัดการกับมันแล้วมันก็อาจจะมีผลในทางที่เป็นโทษได้มาก จากที่ปรากฏในปัจจุบันก็ปรากฏว่าคุณค่านี้กำลังมีผลในด้านลบ ซึ่งเราก็ต้องโทษกลับไปที่ว่าเป็นผลที่เกิดจากการที่วิทยาศาสตร์เอื้ออำนวย เรียกว่าวิทยาศาสตร์มีศักยภาพที่จะก่อโทษให้แก่มนุษย์ โดยทางอ้อมผ่านทางเทคโนโลยีได้มากมาย อันนี้จะขอผ่านไปก่อนเพียงแต่ให้เข้าใจเรื่องว่าวิทยาศาสตร์นี้ไม่เป็นอิสระจากเรื่องคุณค่า บางทีเราจะต้องย้อนกลับมาพูดเรื่องเหล่านี้เป็นครั้งเป็นคราว ต้องขออภัยที่ว่าการพูดวันนี้จะซ้ำไปซ้ำมาบ้าง แต่เป็นแง่มุมต่างๆ นี้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์กับระบบคุณค่าแล้ว เราก็มาดูเรื่องผลกระทบจากพัฒนาการของวิทยาศาสตร์นั้นต่อชีวิตและสังคมมนุษย์และตัววิทยาศาสตร์เองต่อไป ซึ่งเป็นตัวหัวข้อของข้อนี้ ข้อที่ 3 นี้ ก็เราสรุปตอนนี้ได้ว่า ความรู้ความเข้าใจต่อธรรมชาติหรือการมองความจริงของโลกมนุษย์ตามที่วิทยาศาสตร์เข้าใจนั้น ยังไม่ลงตัวไม่ถึงข้อยุติ ยังไม่ถึงจุดหมายเป็นความจริงแท้ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ยอมรับถึงขั้นที่ว่าจะไม่สามารถรู้ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แล้วก็ความเข้าใจโลกและชีวิต การเข้าใจความจริงของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั้นก็เปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ มีพัฒนาการที่บอกแล้วว่าเป็นยุคๆอย่างที่ผ่านมา ทีนี้ความรู้ความเข้าใจที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคนั้น ได้ส่งผลสะท้อนต่อชีวิตจิตใจและความเป็นมนุษย์ของมนุษย์เองในระบบคุณค่า โดยสัมพันธ์กับคุณค่าที่มีมาในวัฒนธรรมแต่เดิมด้วย คราวนี้ตอนนี้ซับซ้อนแล้วนะ เพราะว่าไอ้ตัวความรู้วิทยาศาสตร์มันเกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นแก่มนุษย์ที่มีคุณค่า แล้วไอ้ตัวความรู้นั้นก็มีคุณค่าขึ้นมามีผลต่อตัวมนุษย์ แล้วมนุษย์นี้ก็มีภูมิหลังมีคุณค่าที่ติดมาจากวัฒนธรรมเดิม ไอ้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวปัจจัยตัวแปรต่างๆ ที่มันมีผล ซึ่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในมนุษย์ในโลกชีวิตสังคม ตลอดมาเป็นยุคๆไปเลย นี้เราก็มาดูแต่ละยุคว่ามันมีผลอย่างไร ก็เริ่มตั้งแต่เราก็ต้องดูจากภูมิหลัง ตั้งแต่ก่อนยุควิทยาศาสตร์ 1. ก่อนวิทยาศาสตร์ ก็ได้พูดก็พูดย้ำอีกทีบอกว่า วิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้นและพัฒนามาในวัฒนธรรมตะวันตกที่ศาสนาคริสต์ได้มีอิทธิพลครอบงำอยู่ ก็มองความจริงด้วยพื้นความเข้าใจแบบศาสนาตะวันตกนั้น อย่างที่บอกแล้วว่ามองตัวเองว่าเป็นที่ เป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างมาให้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล มนุษย์นั้นบอกว่าท่านสร้างมา In the image of God นี่ตามภาษาของคัมภีร์ ไบเบิล มนุษย์นั้นได้ถูกสร้างขึ้นมาในภาพแม้นเหมือนขององค์พระเป็นเจ้า ให้มาครอบครองโลกธรรมชาติทั้งหมด ให้ธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่รับใช้มนุษย์ การมองอย่างนี้เกิดผลอย่างไรบ้างที่เราเรียกว่าเป็นโลกทัศน์ 1. ทำให้มนุษย์แยกตัวออกจากธรรมชาติ หรือมนุษย์เป็นต่างหากจากธรรมชาติแวดล้อม อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการมองโลก ต่อไปคำว่าธรรมชาตินั้น หมายถึงเฉพาะโลกภายนอก โดยเฉพาะโลกแห่งวัตถุหรือสิ่งอื่นจากมนุษย์ คำว่าธรรมชาติของตะวันตกขอให้ไปดู Dictionary นะ ไม่เหมือนธรรมชาติในความหมายของไทยนะ นี้คนไทยเองยังแยกไม่เป็น เวลามองคำว่าธรรมชาติเนี่ยคลุมเครือบางทีก็มองด้วยสายตาตะวันตก บางทีก็มีไอ้พื้นเพวัฒนธรรมเดิมของตัวเองเนี่ย คำว่าธรรมชาติพูดมันก็คลุมเครือ มีความรู้สึกในอิทธิพลของวัฒนธรรมแต่เดิมของอารยธรรมตะวันออกมาด้วย คำว่าธรรมชาติในความคิดจิตใจของคนไทยเนี่ยคลุมเครือ เพราะฉะนั้นอันนี้คนไทยจะต้องทำความเข้าใจให้ชัดด้วย อันนี้ตอนนี้เรากำลังพูดถึงวิทยาศาสตร์ที่พัฒนามาในสังคมตะวันตก เค้ามองธรรมชาติเป็นโลกภายนอกโดยเฉพาะโลกแห่งวัตถุต่างหากจากมนุษย์ คำว่า Nature นี่นะปกติจะไม่ถึงหมายถึงมนุษย์ ทีนี้ต่อไป 3. มองธรรมชาตินั้นเป็นของต่ำกว่ามนุษย์ มนุษย์เป็นผู้ครอบครองครอบงำธรรมชาติ ให้ท่านสร้างมาให้เป็นผู้ครอบครองครอบงำ พระผู้เป็นเจ้าสร้างมาให้มนุษย์เนี่ยเป็นผู้มีอำนาจครอบงำธรรมชาติ เรียกว่าเป็นเจ้าครองโลกและธรรมชาติ ธรรมชาติอยู่ใต้อำนาจมีไว้สำหรับรับใช้มนุษย์ จะบอกว่าให้อันนั้นสร้างนกสร้างไม้ ต้นไม้ สัตว์ อะไรสร้างอะไรขึ้นมา บอกให้มันเป็นอาหารของเธอ ให้อะไรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น ต่อไปถึงแม้ ข้อที่ 4. ก็คือถึงแม้จะมองธรรมชาติแยกต่างหาก แต่ก็ผูกมัดตัวไว้กับโลกแห่งธรรมชาตินั้น ผูกมัดอย่างไร เพราะว่าตัวมนุษย์จะอยู่ดีก็โดยต้องเอาจากโลกหรือธรรมชาติที่รับใช้ตน ก็มีความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์หรือธรรมชาติกับมนุษย์ มีความสัมพันธ์ในแง่ที่ว่ามนุษย์นี้เป็นเจ้าครอบครองโลก แล้วก็แต่มนุษย์จะอยู่ดีได้ก็ต้องผูกมัดตัวอยู่กับโลกที่รับใช้ ธรรมชาติที่รับใช้ อันนี้เป็นโลกทัศน์ที่สำคัญ นี้แม้วิทยาศาสตร์จะเจริญต่อมา มองความจริงของธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนแปลงไปมากอย่างไร เป็นยุคๆอย่างที่ว่ามาเมื่อกี้นี้ แต่ระบบคุณค่าที่ว่ามานี้ได้ครอบงำมีอิทธิพลต่อจิตใจของนักวิทยาศาสตร์ตะวันตกตลอดมาเลย เราจะเห็นว่านักวิทยาศาสตร์ตลอดมา ตั้งแต่ยุคเกิดวิทยาศาสตร์จนกระทั่งปัจจุบันนี้ไม่ได้พ้นจากอิทธิพลของโลกทัศน์แบบนี้เลย คืออิทธิพลในการมองธรรมชาติ การค้นหาความจริงของธรรมชาตินี้ถูกอิทธิพลอันนี้ ซึ่งเป็นคุณค่านี่ครอบงำจิตใจมาตลอด โดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นมันจะมี 2 ส่วนที่ท่านจะต้องสังเกต คือมนุษย์พัฒนาการโดยเฉพาะในแง่วิทยาศาสตร์ การหาความรู้ความจริงเป็นอย่างไร แต่เบื้องหลังการหาความจริงและมองความจริงนั้นมีอิทธิพลอะไรที่แฝงอยู่เบื้องหลัง แล้วเราจะเห็นไอ้ตัวอิทธิพลที่ครอบงำอันนี้ มันมีมาแต่เดิมเลย ตั้งแต่ก่อนเกิดวิทยาศาสตร์เป็นภูมิหลังของเขา ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนจนกระทั่งบัดนี้ ไอ้ตัวที่เปลี่ยนกลับเป็นตัวความรู้ที่เขาเปลี่ยนว่า เดี๋ยวนี้เขาเห็นว่าความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรู้เปลี่ยนไป แต่ไอ้ตัวคุณค่าต่างหากที่เขาเปลี่ยนไม่ได้ ครอบงำเค้ามาตลอดเลย กลับเป็นอย่างนี้ไป ตรงข้ามเลย สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ให้ความสำคัญนั่นแหละ สำคัญที่สุดครอบงำตัวเองไว้ แล้วตัวเองก็ยังไม่หลุด ไม่ได้เปลี่ยนเลย มันถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมาถึงขั้นนี้ ไอ้ความรู้เกี่ยววิทยาศาสตร์นี้จะไป เดินหน้าไปได้ ตอนนี้มันจะต้องมาถึงขั้นที่เปลี่ยนคุณค่านี้ด้วย ตอนนี้จะต้องลงลึกถึงขั้นนี้ ฉะนั้นมันลึกซึ้งมันร้ายยิ่งกว่าไอ้การมองความจริงอีก ความจริงทางวิทยาศาสตร์นี่มองเปลี่ยนมาเรื่อยมาเรื่อย แต่ว่าเปลี่ยนไม่ได้ไอ้ตัวนี้ ฉะนั้นตอนนี้ทางวิทยาศาสตร์ การมองความจริงของธรรมชาติกำลังจะติดตัน วิทยาศาสตร์จะ Breakthrough จะผ่านจุดนี้ไปได้ จะต้องเปลี่ยนระบบคุณค่าใหม่ อันนี้กลายเป็นยุคสำคัญที่จะต้องมีว่า วิทยาศาสตร์จะพัฒนาไปอย่างไร พัฒนาไปได้หรือไม่ถึงยุคนี้เลย เอาละนี่คือภูมิหลังตั้งแต่ก่อนยุควิทยาศาสตร์เกิด ทีนี้ต่อมายุคที่ 2 ซึ่งเริ่มเกิดวิทยาศาสตร์ที่บอกว่าเป็นยุค Copernican Cosmology หรือ Copernican Worldview คือว่ามองในแง่ธรรมชาติก็เป็น Cosmology ภาพจักรวาลแบบ Copernicus ทีนี้ถ้ามองมาในแง่มนุษย์มันก็เกิดเป็น Worldview ขึ้นมา นี่แหละเราจะมองเห็นความควบคู่ของสิ่งที่เรียกว่าความจริง เป็นด้าน Cosmology กับ Worldview ที่เป็นคุณค่ามันไปด้วยกันตลอดเวลา ทีนี้เราก็มองทั้งสองอย่างนี้แล้วไอ้เจ้า Cosmology ที่เกิดเป็น Worldview ขึ้นมานี้มันก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมกิจกรรมของมนุษย์หมด อ้าวเราก็ดู เราก็บอกว่าตอนนี้พอ Copernicus บอกว่าไม่ใช่โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล ไม่ใช่มนุษย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล โลกเป็นเพียงบริวารหมุนรอบดวงอาทิตย์ แล้วจักรวาลนี้แสนจะกว้างใหญ่ มนุษย์เป็นตัวกระจิ๊ดริด อาศัยอยู่อย่างไม่มีความสลักสำคัญอะไรนักหนาเลยในโลกเล็กๆ ในจักรวาลอันแสนจะไพศาลนี้ แล้วยิ่งต่อมา ดาวินได้ค้นพบได้ตั้งทฤษฎี อย่าเรียกว่าค้นพบเลย ได้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการขึ้นมาอีก ยิ่งทำให้มนุษย์ไม่มีความสำคัญเลย ก็เป็นพวกเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เดรัจฉานนี้เอง วิวัฒนาการมาแปลกไป พิเศษกว่าก็มาเป็น ไม่ใช่เป็นสัตว์ตัวโปรดของพระผู้เป็นเจ้า นี่เค้าว่ายังงั้น อันนี้แล้ว ก็จะเกิดผลคือ เกิดความขัดแย้งในทางจิตใจ เพราะมนุษย์นั้นเคยมองตัวเองยิ่งใหญ่เป็นคนโปรดของสวรรค์ เต็มไปด้วยความหวังที่ฝากไว้กับความเป็นเจ้าใหญ่ในโลกของธรรมชาติ ตอนนี้มนุษย์ห่อเหี่ยว เกิดความแปลกแยกขาดความมั่นคง เคว้งคว้างเลื่อนลอยในจักรวาล เป็นตัวนิดเดียวไม่มีความหมายอะไรเลย เนี่ยพลิกกลับเลย นี่โลกทัศน์ Worldview มันไม่ใช่ว่าวิทยาศาสตร์ได้ความรู้แล้ว มันจะเป็นเพียงความรู้ มันมีผลต่อมนุษย์อย่างยิ่ง คราวนี้ไอ้จักรวาลนี้มันไม่ใช่คอยรับใช้มนุษย์แล้ว มันคอยเล่นงานมนุษย์ด้วยสิ แสงอาทิตย์ที่มานี่มันก็มีผลตามกฎธรรมชาติของมัน มันก็เป็นไปต่างๆ ทำให้มนุษย์เดือดร้อนยังงั้นยังงี้ ไอ้ดาวหางเวียนมาบางทีทำนายว่ามันจะพุ่งเข้าชนดวงอาทิตย์หรือเปล่า โลกมนุษย์อาจจะพินาศไปเพราะดาวหางหรือไปชนกับอุกาบาตอะไรต่างๆ เอ ไม่ปลอดภัยซะแล้วสิ ธรรมชาติมันคอยจะเล่นงานมนุษย์เอา มนุษย์นี่แย่แล้ว ทั้งห่อเหี่ยว ทั้งไม่ปลอดภัย ไม่มีความมั่นคง เอาแล้วทีนี้ตอนนี้มันแย่แล้วหละ ตอนนี้มนุษย์แย่แล้วนะ จากยุคที่ 1 ที่เคยหวังในความยิ่งใหญ่ แม้มันจะไม่ถึงความยิ่งใหญ่นั้น แต่มันมีความหวังอยู่ ตอนนี้มันห่อเหี่ยวเพราะมันหมดความหวัง โลกทัศน์มันเปลี่ยนไป ทีนี้ต่อมายุคที่ 3 เป็นยังไง อ้าวยุคที่ 3 นี้มา ยุคที่ 3 ที่บอกว่าเป็น Cartesian Newtonian Worldview หรือ Cosmology นั้น ที่บอกแล้วบอกว่าได้มองเห็นโลกธรรมชาติคือโลกแห่งวัตถุแยกต่างหากจากมนุษย์ ธรรมชาตินั้นไม่มีจิตใจ มีสภาพเป็นปรวิสัย เป็น Objective เกิดจากหน่วยย่อยๆ ประกอบกันขึ้นมา เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เป็นเหมือนเครื่องจักรกล ยุคนี้มองธรรมชาติมองจักรวาลเป็นเครื่องจักรกล เครื่องจักรกลมันก็ไม่มีชีวิตจิตใจ แต่มันมีกฎเกณฑ์ มีกลไกของมันในการเป็นไป เนี่ยจักรวาลนี้โลกนี้ก็คือเครื่องจักรอันใหญ่นั่นเอง ไม่มีอะไร ทีนี้แม้ว่ามนุษย์จะเป็นตัวเล็กๆ จากธรรมชาติ แต่มนุษย์นี้รู้ธรรมชาติได้ รู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติแล้วก็จะจัดการกับธรรมชาติได้ตามปรารถนา เอาธรรมชาติมารับใช้มนุษย์ เอาหละสิตอนนี้พลิกกลับอีกทีแล้ว ทีนี้ตอนนี้ให้สังเกตให้ดี เมื่อกี้นี้มนุษย์ห่อเหี่ยวในยุค Copernicus เพราะว่ามนุษย์นี้มันเป็นตัวเล็กๆ แต่ตอนนี้มนุษย์ค้นพบความจริงของธรรมชาติมากขึ้นก็มีความภูมิใจว่า เอ๊ะ เรานี่ก็ไม่ใช่ย่อยเหมือนกัน เรานี้สามารถรู้ความจริงของธรรมชาติได้ รู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติได้ พอเรารู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติได้นี่ เราเก่ง เราก็สามารถที่จะจัดการกับธรรมชาติได้ตามปรารถนา ตอนนี้ความภูมิพองมันก็กลับมา อันนี้ตอนนี้มนุษย์เริ่ม ก็เกิดผลยังไงขึ้นมา ก็เป็นฝ่ายรุกละ ตอนก่อนนี้เป็นฝ่ายรับจากธรรมชาติ ตอนนี้จะเป็นฝ่ายรุกละ จะเล่นงานธรรมชาติเข้าบ้างแล้วทีนี้ เมื่อกี้นี้ธรรมชาติเป็นฝ่ายเล่นงานมนุษย์ ตอนนี้มนุษย์จะเล่นงานธรรมชาติ มนุษย์ก็มองว่ามนุษย์ก็พัฒนาความมั่นใจขึ้นมาว่า 1.ฉันจะรู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติได้ 2.ก็รื้อฟื้นยืนยันความคิดที่จะพิชิตธรรมชาติ จะครอบครองครอบงำจัดการกับธรรมชาติเอามารับใช้มนุษย์ นี่ก็คือตัวอย่างที่ว่าแม้ว่าภาพความจริงของธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ความปรารถนาและใฝ่ฝันที่เป็นคุณค่าอันเดิม ที่จะเป็นนายครอบครองจักรวาลเอาธรรมชาติมารับใช้ตนนั้น ได้มีอยู่อย่างเดิม หมายความว่าไอ้ภูมิหลังของคุณค่านี่มันกลับมา มันอยู่อย่างนั้นแหละ มันทำไงจะได้เป็นเจ้าครอบครองธรรมชาติ ไม่เคยในวัฒนธรรมตะวันตก ไม่ได้คิดเป็นมิตรกับธรรมชาติ ให้สังเกตไว้ คือคิดแต่ครอบงำ Dominate จะต้อง Dominate ธรรมชาติ แต่ทีนี้ความเปลี่ยนแปลงเป็นยังไง คุณค่าไม่เปลี่ยน คุณค่าที่จะครอบครอง ครอบงำธรรมชาติไม่เปลี่ยน สิ่งที่เปลี่ยนก็คือว่าการมีอำนาจที่จะจัดการกับธรรมชาตินั้น ไม่เป็นไปตามแผนกำหนดของพระผู้เป็นเจ้า คราวนี้เปลี่ยนตรงนี้ แต่คราวนี้การเป็นเจ้าครอบครองธรรมชาตินั้นจะสำเร็จด้วยความรู้เหตุผลของมนุษย์เอง มันเปลี่ยนตรงนี้ มนุษย์ไม่เชื่อในเรื่องพระผู้เป็นเจ้า แต่มาเชื่อในสติปัญญาของมนุษย์ ความรู้เหตุผลของมนุษย์ นี่แหละคือตัววิทยาศาสตร์ ที่ว่าตัวความรู้นี้จะทำให้มนุษย์ครอบครองธรรมชาติได้ แต่ว่าคุณค่าไม่เปลี่ยนคือจะเป็นผู้ครอบครองเจ้านายธรรมชาติ เอาเป็นว่าจัดการเป็นเจ้านายธรรมชาติไม่ใช่เป็นไปตามแผนกำหนดของพระเจ้าเสียแล้ว แต่เป็นไปด้วยความรู้เหตุผลของมนุษย์เอง เอ้าตอนนี้ก็จะเกิดผลตามมาอีก อะไรอีก ณ จุดนี้ก็เปิดช่องให้แนวความคิดและคุณค่าอย่างอื่นๆ แทรกเข้ามา คุณค่าที่สำคัญที่แทรกเข้ามาในตอนนี้ก็คือแนวความคิดแบบอุตสาหกรรม มันพอดีว่าในยุคนั้น วิทยาศาสตร์เจริญขึ้นมาก็ในด้านอารยธรรมของมนุษย์หรือโลกมนุษย์โดยเฉพาะสังคมตะวันตก มันก็มีความเจริญเปลี่ยนแปลงมา ตอนนี้มันมาถึงยุคที่จะทำให้เกิดอุตสาหกรรม ก็คือปัญหาของโลกซึ่งมีทั่วไปโดยเฉพาะตะวันตกก็คือ ปัญหาจากการถูกธรรมชาติ ถ้าใช้ภาษามนุษย์ก็คือเบียดเบียนเอา ทำให้มนุษย์นี้ขาดแคลนไม่เป็นตัวของตัวเอง เช่นฤดูหนาวที่แสนจะโหดร้าย ขาดแคลนอาหารอะไรต่างๆ นี้ นี้ก็ปัญหาความขาดแคลนอะไรต่างๆ ของมนุษย์นี้ เนื่องจากธรรมชาติไม่อำนวย มนุษย์ก็อยากจะแก้อันนี้ เพราะฉะนั้นในเมื่อวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมา มีความเข้าใจอันนี้ขึ้นมาว่าเราสามารถ เมื่อเรารู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เราก็ใช้กฎเกณฑ์นี้ในการจัดการกับธรรมชาติ เอามารับใช้เราได้ ไอ้ความคิดนี้ก็นำมาสู่ความเจริญของอุตสาหกรรม ก็คือการที่เอาความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ในอุตสาหกรรมในการประดิษฐ์เทคโนโลยีขึ้นมา ผลิตสิ่งบำรุงบำเรอความสุขของมนุษย์ แล้วตอนนี้ก็จะมีคุณค่าอีกอันหนึ่งที่เข้ามารองรับ ซึ่งทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีนี้เป็นไปอย่างขนานใหญ่ คุณค่านี้คืออะไร คุณค่านี้ก็ต้องดูด้วยเป็นคุณค่าแบบอุตสาหกรรม ควบคู่กันมาอุตสาหกรรมนั้นมันมีคุณค่าแฝงอยู่เบื้องหลัง ถ้าไม่มีคุณค่านี้อุตสาหกรรมเจริญยาก เอาเราดูซิว่าคุณค่าอะไรที่เป็นตัวอยู่เบื้องหลังความเจริญอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก ก็คือความเชื่อว่ามนุษย์จะบรรลุความสุขสมบูรณ์ เมื่อมีวัตถุบำรุงบำเรอความพรั่งพร้อมทุกอย่าง เขาเชื่อว่าอย่างนี้นะ มนุษย์นี่จะมีความสุขก็ต่อเมื่อมีวัตถุมาบำรุงบำเรอให้พรั่งพร้อม คือการมองออกไปว่าความสุขของเราต้องอยู่ที่วัตถุบำรุงบำเรอ อันนี้จะมองชัดต่อเมื่อมีข้อเปรียบเทียบ ซึ่งเราจะเปรียบเทียบต่อไป ถ้าไม่เปรียบเทียบเราก็มองไม่รู้ว่ามันมีข้อพิเศษอะไร แต่ว่าอันนี้คือความเชื่อ ก็เอาเป็นอันว่าก็เอาความรู้วิทยาศาสตร์นั้นมาใช้ทางเทคโนโลยีในการพัฒนาอุตสาหกรรม ก็คือการจัดการเอาธรรมชาติมาจัดสรรดัดแปลง ใช่หรือเปล่า ความรู้วิทยาศาสตร์ที่มาเป็นเทคโนโลยีแล้วเกิดเป็นอุตสาหกรรม ก็คือการที่เอาความรู้นั้นมาใช้ในการจัดการ เอาธรรมชาติมาจัดสรรดัดแปลงเป็นวัตถุบำรุงบำเรอความสุขของมนุษย์ แล้วก็เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาอุตสาหกรรมกันขนานใหญ่ โดยวิทยาศาสตร์เป็นตัวเอื้ออำนวยอยู่เบื้องหลัง เอาทีนี้ผลต่อมาอีกในระบบคุณค่า ผลสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่วิทยาศาสตร์ได้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งอันนี้เป็นผลจากวิทยาศาสตร์ค่อนข้างตรงกว่าเทคโนโลยี ก็คือการทำลายความศักดิ์สิทธิ์และอำนาจบังคับของจริยธรรมตะวันตก เป็นยังไง จริยธรรมตะวันตก ระบบศีลธรรมของตะวันตกนี้อยู่ได้อย่างไร ก็ภูมิหลังทางศาสนา โดยถือว่ากฎเกณฑ์ทางจริยธรรมนั้น เป็นเทวบัญชา เป็นบัญชาจากสวรรค์ จากพระผู้เป็นเจ้า คือตะวันตกนี่เค้าเชื่อมาว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้บัญญัติกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมให้เรา ว่าเธอจะต้องทำอย่างงี้ไม่ทำอย่างงั้น ถ้าไม่ทำตามพระเจ้าก็จะถูกลงโทษ ถ้าทำตามก็จะได้รับรางวัล เค้าเรียกว่าเป็นจริยธรรมแบบเทวบัญชา อันนี้จริยธรรมแบบนี้ก็มีอำนาจบังคับมาในโลกทัศน์แบบศาสนาตะวันตกเรื่อยมา แต่ทีนี้พอว่าวิทยาศาสตร์มา เกิดขึ้นมาก็บอกว่า โอ้ เรื่องความเชื่อแบบนั้นงมงาย มนุษย์เรานี้จัดการกับธรรมชาติได้ด้วยความรู้เหตุผลของตนเอง มาไว้ใจในความรู้ของมนุษย์ ไม่ได้เชื่อสิ่งที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ไม่เห็นว่าเรื่องเทพเจ้าเป็นเรื่องมีเหตุผล เพราะฉะนั้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความเชื่อทางวิทยาศาสตร์นี้ ก็ไปทำลายความเชื่อเดิมนี้ ในเมื่อมนุษย์ไม่เชื่อจริยธรรมที่มาจากเทพเจ้าแล้ว แล้วจริยธรรมนั้นเป็นอะไร ก็เป็นระบบคุณค่า วิทยาศาสตร์ก็ไม่ให้คำตอบที่ชัดเจนเรื่องนี้ ก็ไปลงว่า อ้อจริยธรรมหรือ ก็คือเรื่องของมนุษย์ตกลงกันว่าเอาเอง เอาหละสิตรงนี้ ก็ในเมื่อไม่ใช่สวรรค์บัญชาแล้ว ลอยแล้วทีนี้ พอลอยแล้วคำตอบก็มาอยู่ที่ว่ามนุษย์ตกลงกันเอาเอง แล้วก็จะหาคำยืนยันได้ สิ่งที่สังคมนี้ว่าดี สังคมนั้นว่าไม่ดี สิ่งที่ชุมชนนี้ว่าดี ชุมชนนั้นว่าไม่ดี ความดีความชั่วไม่มีโดยตัวของมันเอง ไม่เป็นความจริงเป็นเรื่องมนุษย์สมมติเอา นี้จริยธรรมตะวันตกพอขาดรากฐานทางศาสนาก็ลอยเคว้งคว้าง วิทยาศาตร์ก็ไม่สามารถรองรับเพราะวิทยาศาสตร์ก็ไม่เอากับคุณค่าด้วย ตกลงจริยธรรมตะวันตกก็เลยขาดความศักดิ์สิทธิ์ เลื่อนลอยไปเลย ก็เลยขาดอำนาจบังคับ มนุษย์ในโลกตะวันตกก็เลยไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรมซึ่งเป็นปัญหามาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ มันส่งผลมาระยะยาว ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นปัญหามาก แล้ววิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ถ้าเรามองด้วยสายตาพุทธศาสนาแล้ว ไอ้เรื่องนี้ไปอีกอย่างหนึ่งเลย เพราะว่าพุทธศาสนานั้นจริยธรรมเป็นจริยธรรมธรรมชาติ แล้วถือว่าจริยธรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกฎธรรมชาติด้วย อันนี้ถ้ามีเวลาเราก็จะว่ากันต่อไป อันนี้เป็นเรากำลังมองฝ่ายตะวันตก ก็เป็นอันว่าวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของจริยธรรมแบบตะวันตกลงไปเสีย ทำให้จริยธรรมเป็นสิ่งเลื่อนลอยกลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ว่ากันเอาเอง อ้าวทีนี้ต่อไป อีกอันหนึ่งที่ทำให้ ที่เป็นแนวความคิดที่พัฒนาในยุควิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ก็คือการที่วิทยาศาสตร์พยายามศึกษาความจริง และวิธีการศึกษาความจริงโดยวิธีการสังเกต ทดลองอะไรต่างๆของวิทยาศาสตร์เนี่ย มันเข้าไปสู่การที่ว่าจะต้องมองดูความจริงที่ซอยยิบลงไป ยิบลงไป เพราะสิ่งต่างๆ นี้เกิดจากองค์ประกอบ ปัจจัยที่มาส่งผลต่อกัน มาประชุมกัน มาประมวลกัน ประกอบกันขึ้นมาอะไรเนี่ยนะ อันนี้นำไปสู่การที่ศึกษาแยกซอยลึกลึกๆ ลงไป เค้าเรียกว่าเป็นแนวความคิดแบบ Reductionistic View หรือเป็น Reductionism ก็หมายความในวิทยาศาสตร์ได้ทำให้เกิดไอ้แนว ความคิดแบบแบ่งซอย ก็เลยพยายามศึกษาอะไรต่างๆ ซอยลึกลึกๆ ลงไป จึงจะถึงความจริง ยิ่งซอยยิ่งเห็นลึกลงไป ยิ่งละเอียดลงไปก็ไม่รู้จักจบสิ้นซักทีหนึ่ง ยิ่งแยกยิ่งเห็น ยิ่งแยกยิ่งเห็น แล้วทำไงก็ต้องตามความจริงให้มันลึกมันแยก มันละเอียดลงไปอีก มันก็เริ่มตั้งแต่การแยกระหว่าง Subject กับ Object, Object ก็แยกออกไปแยกออกไป ฉะนั้นก็เลยกลายเป็นการลงลึกไป ซึ่งไอ้แนวความคิดแบบ Reductionistic ก็ทำให้วิชาการนี้เจริญมาในแบบ Specialization ในยุคที่ผ่านมา ซึ่งตัวนี้เป็นตัวอยู่เบื้องหลังความเจริญของอุตสาหกรรมด้วย ฉะนั้นโลกมนุษย์ในยุคที่ผ่านมานี้ วิชาการเป็นแบบ Specialize จะถือเรื่อง Specialization นี่ความชำนาญเฉพาะด้านนี่เป็นเรื่องใหญ่มาก แล้วก็ แหมใครชำนาญเป็นผู้เชี่ยวชาญนี้เก่งกาจเลย อันนี้เป็นยุคของ Specialization ซึ่งเป็นเรื่องคุณค่าด้านหนึ่งที่เกิดจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์ เป็นผลกระทบด้วย แต่รวมความถึงยังไงก็ตาม เป็นอันว่าธรรมชาติส่วนที่วิทยาศาสตร์ศึกษาก็คือโลกแห่งวัตถุภายนอกเท่านั้น ถึงจะศึกษาไปยังไงก็ศึกษาอยู่แค่โลกวัตถุภายนอก อ้าวได้บอกมาแล้วว่าภาพรวมของยุคนี้ ก็คือยุคที่เขาเรียกว่า Scientism เป็นลัทธินิยมวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ครองโลก เป็นเกณฑ์วินิจฉัยความจริงทุกสิ่งทุกอย่าง จนกระทั่งว่าศาสนา ปรัชญา วิทยาการทุกอย่าง พยายามแสดงตัวและทำตัวให้เป็นวิทยาศาสตร์ เอาละ มนุษย์ก็มีความมั่นใจอันนี้ ตกลงว่าตอนที่ผ่านมานี้ มนุษย์มีความมั่นใจต่อความจริงของวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่สิ้นเชิงเลย ในระยะนี้เองแหละ พร้อมกับความเจริญก้าวหน้าและความมั่นใจในความจริง แล้วก็การสร้างสรรค์ความเจริญนี่อาศัยความรู้วิทยาศาสตร์มาเอื้ออำนวยทางเทคโนโลยีนั้น เนี่ยพร้อมกับความมั่นใจทั้งต่อความจริงและก็ความหวังจากความสุขความพรั่งพร้อมอะไรนี่นะ ทำกันไปกันมาตอนนี้ อีกด้านหนึ่งสิ่งที่รออยู่ ก็คือการสั่งสมเหตุปัจจัยของปัญหา โดยไม่รู้ตัว เหตุปัจจัยของปัญหาได้สะสมตัวขึ้นมา รออยู่ข้างหน้า เตรียมที่จะโอบเข้ามาทุกด้าน มาเล่นงานมนุษย์ในยุคหลัง ซึ่งเป็นยุคปัจจุบันนี้ แล้วตอนนี้ก็มาถึงยุคที่ 4 นี้ต่อมาตอนนี้มาถึงยุคที่ 4 ละ ผ่านจากยุค Modern ที่มนุษย์มีความมั่นใจต่อความรู้วิทยาศาสตร์ ก็อย่างที่บอกแล้วบอกว่า ก่อนที่วิทยาศาสตร์จะเกิดเนี่ย นักปรัชญามักจะบอกเป็นลางบอกเหตุมาก่อน คือมนุษย์นี่มันเป็นนักคิด ก่อนที่จะคิดค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ก่อนจะค้นพบทางวิทยาศาสตร์นั้นมีความคิดมาก่อน ไอ้ความคิดเนี่ยเป็นตัวนำไปสู่การค้น ถ้าไม่มีการคิด ไม่มีการค้น ฉะนั้นไอ้คุณค่ามันมาก่อนความจริง พอค้นแล้วพบความจริงกลับมาตีมาเป็นคุณค่าอีก มันเป็นปฏิกิริยาปฏิสัมพันธ์อย่างที่ว่าเมื่อกี้ ทีนี้นักปรัชญาที่นำแนวความคิดนี้มาก่อนก็คือ Kant อย่างที่ว่ามาแล้ว เพราะฉะนั้นเขายกให้ Kant เป็นตัวนำของยุคที่ 4 แล้วก็ในวิทยาศาสตร์ก็เป็นอย่างบอกแล้วว่า New Physics ฟิสิกส์ยุคใหม่ ได้พลิกกลับความมั่นใจในการเข้าถึงสัจจะโดยวิทยาศาสตร์ มาสู่ความไม่มั่นใจอีกครั้งหนึ่ง มนุษย์ที่เคยไม่มั่นใจในความจริงของวิทยาศาสตร์กลับไม่มั่นใจแล้ว ก็เกิดความสงสัยว่าความจริงแท้ที่เป็นมูลฐาน ที่เป็นความจริงสุดท้ายนั้นคืออะไรแน่ กำเนิดของชีวิตและจักรวาลคืออะไรแน่ Big Bang คืออะไรแน่ ตอนนี้ก็เชื่อกันว่า Big Bang นั้นเป็นจุดกำเนิดของจักรวาล แต่ก็ไม่รู้ไอ้ Big Bang คืออะไร มันเกิดขึ้นยังไง มนุษย์จะรู้ความจริงของธรรมชาติได้หรือไม่ ความสงสัยอย่างนี้ที่ว่านักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่ารู้ไม่ได้ โลกไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของกลไกแบบจักรกล ตอนนี้ไม่เชื่อแล้วนะ ไอ้โลกที่ว่าเป็นเครื่องจักรอันใหญ่ ไม่เป็นแล้ว เพราะว่ากฎของนิวตันที่ว่ากฎแห่งความโน้มถ่วง หรือกฎความดึงดูดนั้น ขนาดถือว่าเป็นกฎแล้ว เป็น law แล้วนะ ไม่จริง ไอน์สไตน์มาพิสูจน์ว่าค้นพบลงไปถึงระดับ Subatomic คือระดับแบ่งซอยอะตอม แล้วไม่จริงเลย กฎของนิวตันไม่เป็นความจริง เอาพอใช้ได้ในโลกระดับหนึ่ง เพื่อการใช้ประโยชน์ระดับหนึ่งใช้ได้ แต่จะเอาความจริงแท้ ไม่จริงหรอก เพราะฉะนั้นไอ้ความจริงเนี่ย มันไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์แบบกลไกแบบเครื่องจักรซะแล้ว สิ่งที่ในอดีตวิทยาศาสตร์เคยว่าแน่ กลายเป็นไม่ใช่หรือไม่แน่ เดี๋ยวนี้ไม่แน่ไปหมดแล้วนะ ไอ้ความจริงที่วิทยาศาสตร์เคยว่าใช่ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่บ้าง ไม่แน่บ้าง ถ้าไม่ใช่ ก็ไม่แน่ แล้วทีนี้พอรู้ไอ้สิ่งที่ผ่านมาไม่ใช่กับไม่แน่แล้ว สิ่งที่ค้นพบเลยออกไปจากนั้น ก็ไม่มีอะไรแน่ใจ ตอนนี้สิ่งที่ค้นเลยกว่าเก่า ไม่แน่ใจทั้งนั้นเลย ???ควาร์กคืออะไรกันแน่ โปรตอนอะไรต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีความแน่ใจทั้งสิ้น ก็สรุปได้ว่าในด้าน สัจภาวะ นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำก็มาสรุปว่า วิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติได้ ความรู้ความจริงแท้ที่เคยรู้ เป็นเพียงการแปลความหมายของจิตใจ เป็นสิ่งสัมพัทธ์โดยจิตสร้างขึ้น อินทรีย์วิสัย วิสัยของประสาททั้ง 5 ของมนุษย์นี้ไม่เพียงพอ มีขีดจำกัด ไม่เพียงพอที่จะเข้าถึงแก่นความจริงของจักรวาลหรือโลกและชีวิตได้ การรู้ความจริงต้องผ่านจิตใจซึ่งเป็นตัวแปลความหมาย และเมื่อแปลก็ทำให้แปรด้วย เข้าใจใช่มั๊ย เมื่อแปลก็ทำให้แปร มันมาแปลแล้วก็แปรไปจากความจริง ไอ้ของจริงเดิมเป็นยังไงก็ไม่ทราบ แล้วก็บอกแล้วบอกว่าวิทยาศาสตร์นั้นศึกษาเฉพาะโลกแห่งวัตถุ นี้แม้เพียงโลกวัตถุที่ศึกษาของวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์ก็ยังศึกษาและบอกได้แค่ Phenomena ไม่ถึง Essence เอานะ ขอย้ำอีกทีวิทยาศาสตร์ศึกษาและบอกได้เพียงแค่ปรากฎการณ์ไม่ถึงเนื้อแท้ของสิ่งทั้งหลาย ขอให้ดูสิที่วิทยาศาสตร์ศึกษาและพูดมานี่เป็นเรื่อง Phenomena ทั้งสิ้น เป็นเรื่องปรากฎการณ์ไม่ถึง Essence คือตัวเนื้อแท้ของสิ่งทั้งหลายเลย อันนี้ โปรเฟสเซอร์ (ทิม โม ธี เฟอร์ ริส) ได้เขียนสรุปไว้ในหนังสือของเขาบอกว่า Science study and predict phenomena not essences. บอกว่าวิทยาศาสตร์ศึกษาและทำนายแต่เพียงปรากฎการณ์หาได้ศึกษาและทำนายเนื้อแท้ของมันได้ไม่ อันนี้เป็นพวกวิทยาศาสตร์เองเค้าว่า เราไม่ต้องไปว่า เอาหละ เป็นอันว่าวิทยาศาสตร์ก็เอาแค่ปรากฎการณ์ ไม่เข้าถึง