แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เค้าจะคิดเป็นยังไง ก็ต้องคิดบนฐานของความรู้ มีปัญญา เพราะฉะนั้นเราก็ไม่คิดให้เขา แต่เราให้ความรู้ และ ชี้ช่องทาง แง่มุมของการคิด เพื่อฝึกคน เพราะฉะนั้นโอกาสนี้ก็เป็นโอกาสในการพัฒนาปัญญาของประชาชน ถ้าเราคิดอย่างนี้ เราก็พัฒนาประชาชนกันเข้าไป ตั้งท่าที ถูกต้อง อย่าไปทะเลาะกันเลย นี่ ทดสอบตัวเอง และความประชาธิปไตยมีไหม ถ้าหากว่า คุณเถียงกันไม่ได้ คุณลงมือลงไม้ แสดงว่า ผิดแล้ว ไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าเถียงกัน ต้องฟังกันได้ ข้อสำคัญต้องรับฟังกัน
ทีนี้ระบบพุทธศาสนาเนี่ย เป็นระบบที่ ต่อไปคอยดูเถอะ จะเป็นแบบอย่างแก่ประชาธิปไตย เพราะไม่เป็นระบบประชาธิปไตย ดูการพัฒนาของท่าน ในการพัฒนาปัญญาของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันเนี่ย มันก็เหมือนว่าเราจะออกจากลัทธิที่ต้องเชื่อฟัง นะ มีผู้ปกครองว่าอย่างไงต้องอย่างงั้น ระบบนี้ ก็คือระบบศรัทธา ถูกไหม ระบบศรัทธาต้องมีศรัทธา ต้องเชื่อ ถ้ามี Faith ถ้าเชื่อจริงละต้อง Obey ด้วย Faith กับ Obey ท่านต้องแยกกันนะ
Believe กับ Obey ไม่เหมือนกันนะ Obey นี่เป็นเรื่องวินัย เรื่องกฎหมายต้อง Obey กติกาตกลงกัน ถ้า Believe เป็นความเชื่อ ทีนี้ถ้าเรามี Faith ในคนนี้ว่าเขาดี เราก็พร้อมที่จะ Obey ถูกไหม แต่ทีนี้ถ้าไม่มี Faith มันไม่น่าศรัทธา คนนี้ไม่ดี แต่มันให้ Obey ตอนนี้ละ กดขี่แล้ว ใช่ไหม นี่มันมาคู่กัน ไอ้ Obey กับไอ้ Faith เนี่ย เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ถูก ในภาษาไทยมันแยกไม่เป็นนี่ เชื่อ เชื่อฟัง ระวังนะ มันเชื่ออันไหน มันเชื่อฟังเป็น Obey หรือเชื่อ แบบ Believe ทีนี้ในพุทธศาสนาเนี่ย ท่านบอกว่า ถ้ากติกา เช่น วินัย ตกลงกันไว้แล้ว ก็เป็นอันว่า Obey เพราะเราตกลงกันว่าอย่างนั้น มันเป็นมติส่วนรวม ตั้งไว้ ก็ Obey Obey the Law แต่ท่านไม่บังคับเรื่อง Faith เรื่อง Believe ให้ใช้ปัญญา
ทีนี้ระบบของศรัทธาก็เช่นว่า ผู้ปกครองคนเดียวต้องเชื่อ แล้วก็ Obey ไปด้วย ตั้งอยู่ได้ด้วยศรัทธา ทีนี้ในเมื่อเราจะให้ประชาชนปกครองกันเอง ก็ต้องออกมาจากระบบศรัทธาเป็นใหญ่เนี่ย เข้ามาสู่ระบบปัญญา เพราะว่า ศรัทธาก็คือไปเชื่อปัญญาของอีตาคนนั้น ผู้ปกครองท่านนี้ โอ้ท่านมีปัญญาดี เรานี่ไม่มีปัญญาหรอก คิดสู้ท่านไม่ได้ ต้องไปฟังท่าน อยากจะรู้อะไร อยากจะแก้ปัญหาอะไรก็ต้องไปขอให้ท่านช่วย เพราะไปเชื่อปัญญาท่านไง ศรัทธาก็ไปฝากไว้ในปัญญาของผู้อื่น
ทีนี้ในการปกครองประชาธิปไตย ก็คือ เราจะต้องพัฒนามนุษย์แต่ละคนเนี่ยให้มีปัญญาของตนเอง ที่จะรู้จักคิด พิจารณา ตัดสินใจได้ แต่เราก็ไม่ทิ้งศรัทธา ในพุทธศาสนาท่านจึงประสานว่า ระบบพุทธศาสนานี่ออกจากระบบศรัทธาแล้ว ไม่เอาศรัทธาเป็นใหญ่ ศรัทธาไม่ใช่สูงสุด ฉะนั้นเราไม่ถือ Faith เป็นใหญ่ เราเอาปัญญาเป็นใหญ่ เป็น Wisdom เป็น Inside ต้องเกิดปัญญา ทีนี้จะเกิดปัญญาอย่างไร ก็ต้องพัฒนามนุษย์ แล้วมันจะมาประสานกับระบบชีวิต ระบบชีวิตที่เราเรียกว่า เป็นประชาธิปไตย หรือไงก็แล้วแต่เนี่ย ระบบชีวิต วิถีชีวิต มันจะต้องไปด้วยกันกับเรื่องการพัฒนามนุษย์ ให้มีวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการพัฒนาปัญญามนุษย์ เอาละสิ เนี่ยสำคัญเลย เพราะฉะนั้น ประชาธิปไตยเป็นระบบที่มนุษย์ทุกคนมีส่วนร่วม แล้วอยู่ร่วมกัน ร่วมกันปกครอง มีศุนย์ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ต้องช่วยกันคิด ต้องมีปัญญาที่แก้ไขปัญหาด้วยกัน ตัดสินใจกันด้วยปัญญา อะไรต่างๆ เหล่านี้
ทีนี้เพื่อจะให้มนุษย์เหล่านี้มีปัญญาก็ต้องจัดสรรระบบสังคมนั้น ให้เอื้อต่อการพัฒนาปัญญามนุษย์เรานี่ ก็คือพัฒนาคุณภาพ ไม่ใช่เป็นเพียงระบบสังคมที่มันให้ผลประโยชน์แก่คนพวกนี้หรอก ต้องเป็นระบบสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนามนุษย์เหล่านี้ อันนี้จะเป็นจุดสำคัญกว่าเพราะว่า ถ้าพัฒนามนุษย์พวกนี้ขึ้นไปได้แล้ว เขาจะเข้าถึงประโยชน์ที่สูงกว่านี้ ถ้าเราไปมัวคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้เฉพาะหน้า และก็ไปติดอยู่แค่ประโยชน์เหล่านี้ ที่จริง มันยังไปไม่ได้ถึงไหนหรอก เพราะฉะนั้นอย่ามัวมาขลุกจม อยู่กับความคิดสนองความต้องการผลประโยชน์ของมนุษย์ ไอ้ระบบสังคมที่จัดเนี่ย แต่ควรจะจัดเป็นระบบสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนามนุษย์ พัฒนาคุณภาพ พัฒนาปัญญาขึ้นไป เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็จัดสรร วางระบบชุมชนนี่แหละ เป็นระบบสังคมแบบอย่าง ที่เรียกว่า สังฆะ สังฆะก็คือ สังคมแบบอย่าง สังฆะ แปลว่า หมู่ชน ชุมชน ก็คือ สังคมนั่นเอง คำว่าสังฆะนั้น เกิดก่อนคำว่า สังคม สังฆะนั้นก็คือ ชุมชนที่พระพุทธเจ้า ตั้งขึ้นมา ก็เป็นศัพท์เดิม หมู่ชนที่มาอยู่ด้วยกันก็เรียกว่า สังฆะ สังคมนี่เกิดในภาษาไทย บัญญัติทีหลัง พอภาษาบาลีท่านมีว่า ??? พาลานัง สัง คะ โม สังคมของคนพาลทั้งหลาย สังคมดีก็มี สังคมไม่ดีก็มี เอาละ จัดระบบสังคมเนี่ย เป็นอันว่า หนึ่ง สนองความต้องการให้มนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในนี้ได้ประโยชน์ มีความสุข อยู่ดี แต่ต้อง สองที่สำคัญกว่า เอื้อต่อการพัฒนามนุษย์เหล่านี้ ให้เขามีโอกาสที่พัฒนาตนได้ดีที่สุด อันนี้ที่สำคัญ และพัฒนาดีที่สุด เมื่อกี้บอกแล้วว่า พุทธศาสนาบอกแล้ว พัฒนาปัญญา เป็นเอตทัคคะ ในบรรดาการพัฒนาทั้งหลาย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็จัดระบบสังฆะที่ประชุมชน
จะเห็นว่าธรรมะในพุทธศาสนานี่เป็นหมวดๆ ซึ่งจะไม่เห็นที่ไหนเลยนะ มีสอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ดเป็นชุดๆ หมด ชุดเหล่านี้เป็นชุดแบบองค์ประกอบก็มี หมายความว่า สิ่งนั้นเป็นองค์รวม เกิดขึ้นจากองค์ร่วมส่วนย่อย อะไรบ้างเช่น ชีวิตเราเกิดจากองค์ร่วมห้าอย่างเป็น ขันธ์5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้เรียกว่าเป็นระบบองค์ร่วม เป็นระบบองค์ประกอบ ก็เป็นตัวเลขชุดเหมือนกัน หรือเป็นชุด เป็นขั้นตอนก็ได้ ชุดแบบขั้นตอนเป็นลำดับเช่น ศีล สมาธิ ปัญญา เลื่อนขึ้นไป หรือเป็นองค์ประกอบด้วยและมีความสมดุล อย่างชุด พรหมวิหาร4 ต้องมีครบ ถ้ามีไม่ครบแล้วคุณเสียแน่ สังคมไปไม่รอด คนไทยไม่รู้หลักนี้เอา พรหมวิหารมาใช้กันไม่ครบ4 ก็เสียอีก จะเห็นว่า ระบบดุลยภาพเนี่ยมีในแทบทุกชุดเลย แฝงอยู่ในชุดนั้นๆ จะมีองค์ไอ้ตัวสำคัญอันหนึ่งที่จะสร้างดุลยภาพในชุดนั้นๆ เช่นอย่าง ธรรมะที่เป็นชุด มีศรัทธาในชุดไหนต้องมีปัญญาทุกชุดไป ให้ท่านสังเกตดู มีไหม ศรัทธามาในธรรมชุดไหน ไม่มีปัญญา ไม่มี ก็หมายความว่า เอาศรัทธามาเริ่ม แต่คุณต้องพัฒนาให้ได้ปัญญา เพราะฉะนั้น ธรรมะทุกชุดที่มี ศรัทธา ก็ต้องมีปัญญา ไปเป็นตัวดุล ทีนี้ดุลยภาพแบบนี้จะมีอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะดุลยภาพระหว่างฝ่ายจิตกับฝ่ายปัญญา ศรัทธานี่ เป็นฝ่ายจิตใจ แล้วก็ปัญญาก็ฝ่ายปัญญา
ทีนี้อย่างเราอยู่ร่วมกันในชุมชนเนี่ย เราจะเห็นระบบการอยู่ เช่น เอ้า ผมยกตัวอย่างอีกหมวดหนึ่ง นาถกรณธรรม ธรรมสร้างที่พึ่ง ทำให้ตัวเป็นที่พึ่ง หรือพึ่งตนเองได้ ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน เออ ตนเป็นที่พึ่งของตน ทำอย่างไร ก็ต้องทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ จะทำอย่างไรให้ตนเป็นที่พึ่งได้ ก็ต้องพัฒนาตน ท่านเตือนแล้ว ต้องพัฒนาตนขึ้นไป แล้วจะมีตนที่พึ่งได้ ถ้าคุณจะพึ่งตน ถ้ามีตนที่พึ่งไม่ได้ ก็จบน่ะสิ เพราะฉะนั้นพุทธศาสนามีหลักสำคัญก็คือ ถือว่าในที่สุดแล้ว ที่พึ่งที่แท้ ก็คือตนเอง แต่ว่า จะพึ่งตนได้อย่างไร ก็ต้องพัฒนาตนนี้ให้เป็นตนที่พึ่งได้ ในที่สุดพุทธศาสนาก็พัฒนาระบบขึ้นมาทั้งหมดที่เราเรียกว่า ไตรสิกขา หรือเรียก มรรค หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็คือ ระบบที่จะพัฒนาคน เพื่อให้คนนั้นมีตนที่พึ่งได้ เท่านั้นเอง ทั้งหมดที่เป็นพระพุทธศาสนาเนี่ย ก็คือเพื่อพัฒนาคนให้มีตนที่พึ่งได้ เมื่อมีตนที่พึ่งได้แล้ว เขาจะได้ไปเป็นคนที่มีส่วนร่วมที่ดีในสังคมมนุษย์ และมีปัญญาเป็นตัวที่จะให้เขามีคุณภาพที่ดี ไปช่วยเป็นส่วนร่วมที่ดีในการคิด พิจารณา แก้ปัญหา ทั้งชีวิต และสังคมของเขา ฉะนั้นตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน ก็ธรรมหมวดหนึ่งที่ว่า ธรรมสร้างที่พึ่ง เรียกว่า นาถกรณธรรม มีสิบประการด้วยกัน นี้เป็นเพียงตัวอย่างให้ท่านไปดูเถอะ
หลักธรรมต่างๆ แม้แต่ สติปัฏฐาน 4 ก็แปลว่า เป็นหลักธรรมสำหรับ พึ่งตนได้ คนที่มีสติปัฏฐาน ก็คือ พึ่งตนได้ พอพึ่งตนก็คือ พึ่งธรรมก็คือ พึ่งตัวหลักความจริง หรือคุณภาพในตัวของคุณนั่นแหละ อันนี้ นาถกรณธรรมสิบประการเนี่ย เราจะเห็นว่า หลายข้อหลักการร่วมกันทั้งนั้น ตั้งแต่ว่า ศีล ก็ไม่เบียดเบียนกัน อันนี้ก็เป็นแง่ที่ว่ายังไม่เด่น ต่อมา กิงกรณีเยสุทักขตา เป็นผู้ขยัน ฉลาด ในกิจการที่จะพึงทำ ในการช่วยเหลือกัน แปลตามตัว แปลว่า ขยัน ฉลาด มีทักษะ ในกรณีที่จะพึงถามว่า จะมีอะไรให้ทำ ลักษณะอย่างหนึ่งในการพัฒนาตน ตนที่เป็นที่พึ่งของตนเนี่ย กลับกลายเป็นว่า ต้องไปช่วยเหลือผู้อื่น การพัฒนาตนให้เป็นที่พึ่งได้ ให้ตนเป็นที่พึ่งได้ กลายเป็นไปเน้นที่การที่ไปอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น ไปช่วยเหลือคนอื่น อย่างข้อกิงกรณีเยสุทักขตา เนี่ย ก็แปลว่า คอยถาม เอ้อ คุณ มีอะไรให้ผมช่วยไหม หรือว่า ถามหมู่คณะ มีอะไรที่ผมต้องทำบ้างไหม นี่อย่างนี้ ลักษณะของคนที่ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้นะ ต้องคอยถามคนอื่น ก็คอยช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันใช่ไหม แล้วก็ กัลยาณมิตตตา มีกัลยาณมิตร คบหาคนที่ดีที่จะมาช่วยเอื้อต่อการพัฒนาตัวเอง และอะไรอีก อันนี้ผมเอาเฉพาะข้อที่เกี่ยวกับคนอื่น แล้วก็มีข้ออันหนึ่ง โสวจัสสตา อันเนี้ยคนไทยเอามาใช้ แต่ใช้ไม่เป็น บางทีทำให้เสีย โสวจัสสตา แปลกันว่า ความเป็นคนว่าง่าย ทีนี้ คนไทยเราก็มา อุ้ย ว่าง่ายเนี่ยไม่ได้ความ ทำให้ แย่เลย ก็เลยเป็นคนไม่รู้จักคิด ทีนี้ถ้าไอ้เจ้า โสวจัสสตา ไปอยู่ในระบบศรัทธาก็เป็นไปได้ ใช่ไหม ถ้าไปอยู่ในระบบศรัทธา ก็ได้แต่เชื่อฟัง ก็เลยว่าง่าย ว่าไงก็ว่า ว่านอนสอนง่าย ไม่ใช่ว่าง่ายเฉยๆ นะ ว่านอนสอนง่ายสะอีก บอกให้นอนก็นอน นี่แหละ คนไทยเราก็กลับไปติหลักข้อนี้ นี่แหละไม่รู้หลักธรรมที่เป็นชุด โสวจัสสตานี่เป็นคุณสมบัติสำคัญของระบบประชาธิปไตย นี่แหละที่บอกว่า ตอนนี้มันทดสอบระบบความเป็นประชาธิปไตย ไม่ฟังกันนี่แหละ เพราะว่าขาด โสวจัสสตา
โสวจัสสตา นี่เป็นคุณสมบัติขั้นแรก สำคัญของคนที่จะอยู่ในระบบประชาธิปไตย แปลตามศัพท์แล้ว ความเป็นคนที่พูดด้วยง่าย แปลตามศัพท์ เราก็แปลไทยว่า ว่าง่าย ว่าง่ายคือพูดกันง่าย พูดด้วยง่าย รับฟังคนอื่น ไม่ใช่เป็นคนที่พูดด้วยยาก ใครเข้าหาไม่ยอมรับฟังเลย ใช่ไหม เป็นคนที่พูดด้วยง่าย โสวจัสสตา แล้วท่านก็ให้มาคู่อีกข้อหนึ่ง ธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ธรรม ใคร่ธรรม หมายความว่า อยากรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ความจริง ใฝ่รู้หลักการ ใฝ่รู้ความจริง อยากจะรู้ แล้วถ้าอธิบายเสร็จ บอกคอยเข้าไปปรึกษา ไถ่ถามบุคคลที่เป็นผู้รู้ เป็นผู้ทรงคุณความดีก็เข้าไปปรึกษา ไถ่ถาม หาความรู้ ไปสนทนากันเนี่ยๆ หลักธัมมกามตา ไปดูคำอธิบายของท่าน ตกลงต้องคู่กัน มี ธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ธรรม ใฝ่รู้ อยากรู้ อยากแสวงปัญญา เป็นนักแสวงปัญญาว่าง่าย ๆ ธัมมกามตา แล้วก็ โสวจัสสตา ต้องคู่กัน ก็รับฟังคนอื่น ไม่ใช่เอาแต่ทิฐิของตัวเอง ถ้าอย่างนี้ไปได้เลย
เพราะฉะนั้นคนในสังคมประชาธิปไตยเนี่ย ก็ต้องเป็นคนมีตนที่พึ่งได้ เพื่อไปสู่จุดหมายนั้น ก็พัฒนาตัวเองอย่างนี้ มี นาถกรณธรรม สิบประการ ก็เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมประชาธิปไตย แค่สองสามข้อนี่ก็ได้แล้ว มีศีลเป็นพื้นฐาน ไม่เบียดเบียนกัน ไม่รังแกกัน แล้วมี กัลยาณมิตตตา คอยเลือกหาคนดี ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาชีวิต แล้วก็เป็นคนที่พูดด้วยง่าย รับฟังคนอื่น แล้วก็เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่แสวงปัญญา หาความรู้ หาความจริง ใคร่ธรรม ต้องการความถูกต้อง ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม ต้องเป็นที่หมายในจิตใจอยู่เสมอ นี่แหละครับเนี่ยได้แค่นี้แหละครับ พัฒนาได้ มาเป็นบททดสอบคนไทยตอนนี้ เนี่ยจึงบอกเมื่อตะกี้ไงว่า เหตุการณ์ครั้งนี้มันทดสอบความเป็นประชาธิปไตยคนไทยไปไม่รอดแล้ว มันขาดความเป็นประชาธิปไตย แสดงว่า คุณก็ไปติดตัวไอ้สำคัญอันหนึ่ง คือ ทิฐิ แหละ อ้าวแสดงว่าคุณแก้ไม่ได้ เรื่อง ทิฐิ ก็คุณก็ไปยึดติดใน ทิฐิ ไม่ยึดติดผลประโยชน์ ก็ไปยึดติดในความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ไม่ติดในสองอันนี้ก็ติดใน ทิฐิ ตอนนี้มันกลายเป็นฝักฝ่าย เพราะมี ทิฐิแหละ พอมีทิฐิแล้ว แก้ไขตัวเองไม่ได้แล้ว จะอยู่ในสังคมประชาธิปไตยอย่างไร สังคมประชาธิปไตยมันอยู่ไม่ได้ ถ้าติดอยู่แค่ทิฐิตัวเอง นี่คือ บททดสอบที่เราจะต้องแก้ปัญหา ว่าเราต้องไม่อยู่ในอำนาจทิฐิของตัวเอง นะว่า เอ่อ เรารับฟังคนอื่นได้ เราอาจจะมีทิฐิ ท่านไม่ว่า คือมีความเห็นของตัวเอง แต่ว่ายินดีรับฟังคนอื่น แล้วก็ชี้แจง พูดกันดีๆ ให้ปัญญาเขา นี่แหละครับ พัฒนาคน ตอนนี้สังคมประชาธิปไตย ประเทศไทยกำลังต้องการอันนี้ เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะไปพูด ไอ้เรื่องสองฝ่ายจะเอาอย่างไร ๆ นั่นนะ ก็มาพูดอันนี้ก่อน อยากจะให้ประชาชนมีความสามารถ ในการคิด ในการตัดสินใจ ให้ความรู้เขาไป ให้ปัญญาเขาไป เราให้ไม่ได้หรอกปัญญา แต่ให้เครื่องมือ หรือข้อมูลที่จะให้เขาพัฒนาตัวเองในทางปัญญานั้น อ้าวเลย ผมก็พูดเรื่อยเปื่อยไป ท่านมีอะไรถามไหมครับ อ้าว นิมนต์ เชิญๆ
กราบเรียนถามพระเดชพระคุณครับ ในๆ แง่ภาษา ที่ผมสังเกต ที่เกิดจาก การเคลื่อนไหวในทางการเมืองในครั้งนี้ครับ อย่างเช่น คำว่า อารยะขัดขืน เค้าเอามาจากคำว่า Civil Disobedience ซึ่งความหมายเดิมมันคือ การที่พลเมือง ไม่ยอมรับอำนาจรัฐ ขัดขืนอำนาจรัฐ แล้วคราวนี้มาใช้ภาษาไทย คำว่า อารยะขัดขืน คราวนี้อยากเรียนถามพระเดชพระคุณว่า ถูกต้อง ตรงตามความหมายในภาษาอังกฤษเดิมรึเปล่าครับ ก็คำที่สอง ก็คือ เอ่อ คำว่า ตุลาการภิวัฒน์ ที่เค้าเรียกระบบที่ ให้ระบบกฎหมาย หรือระบบศาลในปัจจุบัน แก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยครับ อันนี้ผมไม่ทราบว่า ศัพท์ใช้คำว่า ตุลาการภิวัฒน์ ถูกหรือเปล่า แล้วก็ คือใช้ทั้งในสื่อมวลชนในแง่นักวิชาการ ทั้ง คนทั่วไปก็เลยเอามาใช้ตามด้วย แล้วมาเกิดศัพท์ใหม่ว่า ประชาภิวัฒน์ พลเมืองภิวัฒน์ ในแง่ภาษาไม่ทราบว่า ถูกหรือผิดครับ
แหม แค่คำเดียวก็หมดเวลาแน่นอนแล้ว เมื่อกี้ถามอันแรก อารยะขัดขืน ผมก็เพิ่งได้ยินระยนี้นะ ว่าอายะขัดขืน เป็นศัพท์ที่เพิ่งเกิดในช่วงนี้มั้ง แล้วเค้าจะตั้งขึ้นมาหรือบัญญัติ เพื่อให้ตรงกับคำว่า Civil Disobedience หรือเปล่า ต้องการอันนี้ เค้าบอกหรือเปล่า ว่าต้องการให้ตรงคำนี้ (เสียงพระนวกะ ตอบ)หนึ่งในแกนนำของขบวนการเคลื่อนไหวเนี่ยครับ (เสียงพระนวกะ ตอบ) เค้าเทียบสองศัพท์ด้วยใช่ไหม ครับ(เสียงพระนวกะตอบ) อ้าวถ้างั้นให้รู้ไป ว่าเขาบัญญัติคำว่า อารยะขัดขืนจะเรียก บัญญัติ ก็ต้องรอให้คณะกรรมมาบัญญัติศัพท์ หรือราชบัณฑิตที่มีหน้าที่เค้าทำก่อน ตอนนี้ เราต้องพูดว่า ตั้งศัพท์ ตั้งศัพท์ว่า อารยะขัดขืน ขึ้นมาเพื่อให้ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Civil Disobedience นะ ที่จริง ไอ้ Civil Disobedience เนี่ยมันเป็นศัพท์ที่มีไวพจน์อยู่สองสามคำ อีกคำหนึ่งนั้นใช้ Passive Resistance หรือบางทีก็ใช้ Nonviolence Resistance แล้วก็มาใช้อารยะขัดขืน ก็คงมุ่งไปที่คำว่า Civil Disobedience นี่แหละ
เราก็มาดูว่าความหมายมันยังไง ความจริงไอ้ Civil Disobedience เนี่ย มันมีมานานแล้ว แต่ว่ามันไม่ได้ชัดเจนขึ้นมา ตามประวัติที่ฝรั่งเค้าว่าไว้นะ คือพวกนักประวัติศาสตร์ ก็บอกว่าไอ้คำนี้มันเด่นชัด ผู้ที่ใช้คนแรกอย่างสำคัญก็คือ ท่านมหาตมะ คานธี หรือท่านผู้รู้บอกให้อ่านใหม่ว่า มหาตมา คานธี ทีนี้เราก็ติดปากกันแล้วว่าเป็น มหาตมะ คานธี ชาวบ้าน ก็จะเรียกยังไงก็แล้วแต่นะ ให้รู้ว่าท่านผู้รู้บอกว่าจะเรียกให้ถูกต้องเรียกว่า มหาตมา คานธี ทีนี้มหาตมา คานธี เป็นผู้ใช้ครั้งแรก แต่ท่านมีศัพท์สันสกฤต มหาตมา คานธีเนี่ย ท่านใช้ศัพท์ของท่านเป็นศัพท์สันสกฤต ถ้าเป็นศัพท์สูงตามแบบของอินเดียก็ใช้สันสกฤต ถ้าชาวบ้านก็เป็นฮินดี ทีนี้ศัพท์สำคัญๆ ก็มักจะใช้ไปกันได้ เอาสันสกฤตเป็นหลัก แล้วฮินดีก็ร่วมด้วย เพราะมันเป็นภาษาสายเดียวกัน ทีนี้ของท่านมหาตมะ คานธีเนี่ย ขอพูดง่ายๆ นะฮะเรียกว่า สัตยา อาครหะ สัตยา อาครหะ เนี่ยถ้าพูดแบบไทยก็เป็น สัตยาเคราะห์ เหมือนกับคำว่า สังเคราะห์ สงเคราะห์ เนี่ยแหละ ตัวเดียวกัน สัตยา อาครหะ ก็มาจากคำว่า สัตยะ สัตยะใช้ในคำแปลว่า ซื่อสัตย์ ตรงกับภาษาบาลีว่า สัจจะ แปลว่า อะไรครับ แปลว่า ความจริง เอาละครับได้ตัวที่หนึ่ง สัตยะ ตัวที่สอง อาครหะ หรือบาลี ว่า อาครหะ แปลว่าการ ถือไว้มั่น คหะ แปลว่า จับ หรือถือ อาครหะ การถือไว้มั่น แล้วฝรั่งก็แปล สัตยาเคราะห์ หรือ สัตยะอาครหะ ว่า Devotion to Truth
The Devotion to Truth แปลว่า ความยืนหยัดก็ได้ ยืนหยัดในสัจจะ ยืนหยัดในความจริง หรือภักดีต่อความจริง ก็ สัตยา อาครหะ แปลไทยดีกว่าฝรั่ง แปล ยืนหยัดในสัจจะ หรือแปลว่า ถือมั่นสัจจะ เอาความจริงเป็นหลัก แล้วก็เลยทำให้เกิดกำลัง เพราะฉะนั้นฝรั่งก็แปลศัพท์ แปล สัตยาอาครหะ หรือ สัตยาเคราะห์ นี้ว่า Truth Force แปลว่า พลังแห่งสัจจะ เอาละครับนี่ฝรั่งเค้าว่า
ทีนี้ว่า มหาตมะ คานธี นี้เป็นผู้ริเริ่มขึ้นมา มหาตมะ คานธี นี่ท่านใช้ตั้งแต่โน่นแน่ ตอนนั้นท่านไปอยู่ที่ แอฟริกาใต้ แล้วในราวปี ค.ศ.1906 ถึงปัจจุบันเท่าไหร่แล้ว โอ้ต้อง 102 ปี 102 มาแล้ว นั่นแหละ ตอนนี้ แอฟริกาก็เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ก็มีกฎหมายซึ่งพวกชาว อาณานิคมพวกเมืองขึ้นเนี่ย เห็นว่ากดขี่ มหาตมะ คานธี ก็เอาหลักการนี้ขึ้นมา ท่านเป็นผู้คิด ก็คือการใช้หลักที่ฝรั่งเรียกว่า Civil Disobedience คือ แข็งขืนไม่ยอมตามกฎหมายของรัฐ เพราะถือว่ากฎหมายของประเทศเจ้าอาณานิคมนี่เป็นกฎหมายขดขี่ เอาเปรียบพวกชาวอาณานิคม บังคับ ขู่เข็ญ ขูดรีด อะไรต่างๆ เอาเปรียบสารพัดแหละ ทีนี้พวกนี้จะเอาไง ก็เลยใช้วิธีที่จะให้แก้กฎหมาย โดยวิธีแข็งขืนไม่ยอมปฏิบัติตาม นี่ท่านก็เริ่มมาตั้งแต่อยู่ที่ แอฟริกาใต้ ต่อมาท่านก็กลับมาอินเดีย ต่อมาอีก 11 ปี ปรากฎว่า ได้เริ่มใช้ สัตยาอาครหะนี้ในประเทศอินเดีย หรือ Civil Disobedience นี้นะ ทีนี้ปี 1917 ก็ใช้เรื่องเนี้ยเพราะว่า อินเดียก็เหมือนแอฟริกาใต้ ก็ตกอยู่ใต้การปกครองลัทธิ อาณานิคม ที่อังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคม ก็มีกฎหมายที่กดขี่ ขูดรีด บังคับ มากมาย มหาตมะ คานธี ก็มาเป็นผู้นำในการที่จะใช้วิธีการนี้ ในการแข็งขืน ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เพื่อจะให้เค้ายอมและก็แก้กฎหมาย เพราะฉะนั้น ตัวสำคัญนั่นก็แข็งขืน ต่อกฎหมายนั้น เพื่อแก้กฎหมายด้วย เพื่อจะให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นมา ก็ใช้กันมาเนี่ย เรื่อยกันมา จนกระทั่งอินเดียได้เอกราชในปี 1947 แบ่งเป็น 2 ประเทศ ก็เรียกว่า สู้กันนานทีเดียว
ทีนี้วิธีการ สัตยาอาครหะ เนี่ย เราก็ต้องดู ที่ว่าแข็งขืน ไม่ยอมตามอำนาจปกครอง หรือ อำนาจบังคับของกฎหมาย คือต้องการแก้ไขกฎหมายไหนก็ฝ่าฝืน ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายนั้น แต่ว่าต้องทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง อันนี้สำคัญมาก แล้วจะต้องไม่มีความรุนแรงเป็นอันขาด เพราะฉะนั้น มหาตมะ คานธี นี่ก็เป็นผู้นำที่ว่า จะไม่ยอมใช้ความรุนแรงเลย อังกฤษจะทุบตี จะฆ่าแกง อย่างไรก็ยอม เมื่อต้องเข้าคุกมายืนเรียงแถวให้จับเข้าคุกเลย อันนี้เป็นวิธีที่เรียกว่า Civil Disobedience ก็คือว่า ต้องไม่มี Violence จริงๆ แล้วต้องทำสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง เป็นแต่เพียงว่าใช้วิธีที่ แข็งขืนไม่ยอมปฏิบัติตามไอ้กฎหมายอันนั้น ที่ต้องการแก้ไข ที่ไม่เป็นธรรมนั่นแหละ จำเพาะ เจาะจงลงไปเลย ให้เห็นชัด แต่ว่าพฤติกรรม การประพฤติอื่นต้องดี ทีนี้ก็มีผู้วิเคราะห์ อีกว่า ไอ้คำว่า สัตยา อาครหะ ของท่านคานธีเนี่ย ที่จริงมันกว้างกว่า Civil Disobedience อีก เพราะว่ามันเข้าสู่วิถีชีวิตด้วย Civil Disobedience นั้นอาจจะเฉพาะเหตุการณ์หรือพฤติกรรมในกระบวนการนั้นที่จะแข็งขืน แต่ สัตยา อาครหะ นี้ หมายความว่าในการดำเนินชีวิตของเขา ต้องประพฤติตัวมีศีลธรรม เป็นคนดีด้วย แล้วก็มีวางต่อไป คือต้องมีจุดหมาย ต้องเป็นจุดหมายที่เป็นไปเพื่อ Harmony ไม่มุ่งที่ Defeat หรือ Victory หมายความว่า ไม่ต้องการแพ้ชนะกัน แต่เอาที่ ประสานกลมกลืน เป็นสามัคคี เป็น Harmony ฉะนั้น สัตยาอาครหะ ที่แท้มีความหมายกว้างกว่า Civil Disobedience จะถือว่า มหาตมะ คานธีเนี่ย เป็นผู้ทำจริงจัง เป็นคนแรก และก็ทำได้สำเร็จ
แล้วต่อมาผู้ที่ทำตามก็คือ พวกคนดำ นำโดย มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ในอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1950 1960 และต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ คิง ก็ถูกยิงตายสะ ก็นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่า ปัญหาอย่างคนดำในอเมริกา ก็ยังไม่จบ พวกที่ใช้วิธีแบบรุนแรงก็มี แต่ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง เนี่ยเป็นบุคคลที่เป็นที่นิยมนับถือมากที่สุด ในกระบวนการที่จะ แก้ปัญหาเรื่อง ผิว ให้คนผิวดำ ได้มีสิทธิ มีเสียง อะไรเนี่ย เอาละครับ ก็เราดูเรื่องที่เป็นมาเป็นอันว่า หลักการ Civil Disobedience นี่ก็ต้องแข็งขืนกฎหมายที่ตัวต้องการจะแก้ไขนั้น เฉพาะให้ชัดลงไป สองก็ต้องกระทำโดยตัวเองโดยไม่มีความรุนแรงเลยเป็นอันขาด แล้วตัวเองจะต้องประพฤติดี อยู่ในหลักศีลธรรม แล้วก็ต้อง ทำตามกฎเกณฑ์ กฎหมาย อะไรเค้า ให้ติดคุกก็ยอมติดคุก อะไรทำนองนี้นะ อันนี้ก็ว่าไปตามนั้นเลย แล้ว คานธี ท่านทำมา เค้าฆ่าก็ฆ่า ฉันก็ไม่ทำอะไร คนอินเดียก็ตายเยอะเหมือนกันนะ มหาตมะ คานธี ก็เข้าคุกๆ อยู่เนี่ย ไปนอนในคุกด้วย เค้าจะจับเข้าคุกก็ยืนเข้าแถวให้จับ เข้าคุกไป อะไรอย่างนี้ เอาละครับ เอาพื้นทั่วไปก่อน
ทีนี้ก็มาดูศัพท์ในเมื่อ Civil Disobedience เป็นที่มาของคำว่า อารยะขัดขืน เราก็มาดูว่า ทำไมจึงตั้งความหมายนี้ขึ้นมา ขัดขืนนั้นก็ Disobedience นั่นแหละ แปลว่า ไม่เชื่อฟัง ก็ขัดขืนหรือ Resistance ก็เหมือนกัน ก็ขัดขืนเหมือนกัน ต้านทาน แข็งขืน ทีนี้ว่า อารยะมายังไง อารยะ มันก็มาจากนี่แหละครับ Civil ทำไม อันนี้เป็นเรื่องยาวเหมือนกัน คือไอ้ Civil ที่จริงมันไม่ได้แปลว่า อารยะ หรอก ตัวศัพท์มันก็แปลว่า ของพลเมือง เพราะว่า Civil นี่มันรากศัพท์เดียวกับ City Citizen คำว่า Civil นั่นก็แปลว่าเรื่องของ Citizen ใช่ไหม แปลตามศัพท์เลย Civil ก็คือเรื่องของ Citizen Citizen คืออะไร ก็คือ พลเมือง พลเมืองคืออะไร คนเมือง คนที่อยู่ในเมือง ที่นี้เรื่องของคนเมือง มันมาเป็นอย่างไรกับอารยะ เอาละครับ
ก็คือว่า ฝรั่งเนี่ย อารยธรรม กรีก โรมัน เจริญขึ้นมาก็มีเมืองอยู่ พวกที่เจริญก็อยู่เมืองใช่ไหม เป็น Citizen นะ แล้วก็ถือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ระบบการปกครอง อะไรต่ออะไรเนี่ย ระบบที่เป็นของคนที่อยู่ในเมืองเนี่ย ก็เป็นผู้เจริญ เป็นผู้เจริญก็เป็น Civilize ก็คือ เป็นเรื่อง ของความเป็นคนเมืองนั่นเอง ก็คือ คนเมืองเป็นคนเจริญ ก็ไปเทียบกับคนอื่นที่ไม่ได้คนอยู่ในเมืองก็เรียกพวกนั้นว่า Savage เป็นพวกป่าเถื่อน เป็นพวก Barbarian เดี๋ยวนี้แปลกันว่า อนารยะ ที่จริงก็คือ พวกป่าเถื่อน นั่น เอาละก็เลยกลายเป็น มีศัพท์เทียบ พวกที่อยู่เมืองก็กลายเป็น Citizen มี Civilization เป็นพวก Civil และก็พวกที่ไม่อยู่ในเมืองเป็นพวกป่าเถือน เป็น Savage เป็น Barbarian ต่อมาพวกที่อยู่ในเมืองที่เจริญ พวกกรีก โรมัน เป็นต้นแล้วมา ฝรั่งด้วยเนี่ย ก็ถือตัวเองเป็นพวก Civilize เป็นพวกเจริญแล้ว ก็เห็นพวกอื่นเป็น Savage เป็น Barbarian ก็จะมาเผยแพร่ วัฒนธรรมของตัวเอง ก็สร้างความเจริญ ก็บอก จะไป Civilize พวกมนุษย์ป่าเถื่อนทั้งหลายพวก Barbarian อย่างพวกเอเชีย พวกอะไรพวกนี้เป็น Barbarian พวกฝรั่งก็จะมา Civilize มาทำให้เป็นคนเมืองนั่นเอง เอาละครับ ทีนี้เป็นอันว่าศัพท์เดิมน่ะมันเป็น ศัพท์ว่า เมือง แต่ว่าความหมายมัน มีนัยยะ ว่าคนเมืองเป็นคนที่เจริญ เอาละ
ต่อมาศัพท์นี้เข้ามาเมืองไทย Civilization จะแปลว่าไง ตอนนั้นผมยังเด็กๆ อยู่เท่าที่จำได้น่ะ ตอนนั้นยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ ตอนแรกมีคำว่า นาครธรรม คำว่า Civilization แปลว่า นาครธรรม แปลว่า ธรรมของชาวเมือง ตรงเป็งเลยนะฮะ แปลเป็นระบบชีวิตอะไรของคนที่เป็นชาวเมือง นาคร ก็คือ คนที่อยู่ในนคร เป็นภาษา บาลี คนที่อยู่ใน นคร เรียกว่า นาคร ก็แปลว่า นาครธรรม ทีนี้ต่อมาก็มีการบัญญัติศัพท์ ไม่ทราบใคร จะเป็นท่าน วรรณ รึเปล่า ผมไม่ทราบ ถ้าท่านวรรณก็ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ตอนนั้นท่านเป็นประธานในเรื่องการ บัญญัติศัพท์ อาจจะเป็นท่านน่ะ แต่ ทีนี้ผมไม่ยืนยันต้องไปค้นดู ก็บัญญัติคำว่า Civilization แปลเป็นไทยให้ใช้คำว่า อารยธรรม อ้าว ทำไมใช้ อารยะ เอ่อเอาละ ทำไมบัญญัติ Civilization ความเป็นคนเมือง ซึ่งเป็นคนที่มี นัยยะ ความหมาย ว่า เจริญ แล้วมาเป็น นาครธรรม มาอารยธรรมได้ไง
เราไปดูสายอินเดียบ้าง สายอินเดียเนี่ย อารยธรรมอินเดียก็เป็นที่มาของภาษาของเราใช่ไหม ภาษาบาลีสันสกฤต พวกชนที่มาบุกอินเดีย เมื่อสักสามสี่พันปีก่อน ก็เป็นพวกอารยัน ถ้าเรียกเป็นภาษาบาลี เรียกว่า อริยกะ พวกอริยกะ หรือ อารยัน เนี่ย ก็มาจากแถวๆ เค้าสันนิษฐานนะ ไม่ได้แน่นอนลงไป แถวๆทะเลสาปแคสเปียน แล้วก็อพยพลงมาถึงอิหร่าน ก็เข้าครอบครองอิหร่าน แล้วก็พวกนึงก็แยกมาจากอิหร่านนั้นก็ เร่ร่อนมาจนถึงอินเดียก็บุกเข้าอินเดีย คนพวกนี้เรียกว่าพวก อารยัน ฉะนั้นอิหร่านนี่ ฝรั่งจึงแปลว่า The Land of the Aryans เอาละครับ นี่ๆ อิหร่านเนี่ยละ ชนเผ่าอารยัน อิหร่านนี่ไม่เหมือนพวกตะวันออกกลางอื่นนะ เป็นชนเผ่าอารยัน ไม่ใช่ชนเผ่าอาหรับ ไม่ใช่ Semitic อ้าวทีนี้ก็ ฝ่ายพวกอยู่ในอิหร่านก็อยู่ไป ทีนี้พวกอารยันที่ไม่ได้อยู่ในอิหร่านก็อพยพกันมา ก็เป็นพวกเร่ร่อน แล้วก็ตอนนี้มีพระอินทร์เป็นเทวดายิ่งใหญ่เพราะว่าต้องรบเก่ง รบๆๆ ก็มาสู้จนกระทั่งมาบุกเข้าอินเดียได้ ก็เข้าตีอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ฮารับปา โมเหนโจดาโร ลงไป แล้วพวกนั้น ซึ่งมีอารยธรรมอยู่ก่อนแล้วก็เลยพินาศ ก็จับ ไอ้พวกชนพวกนี้เลยเป็นทาส เป็นทัสยุ หรือบางทีเรียก มิลักขะ ในภาษาบาลี ในพุทธประวัติเราจะเรียนคำว่า มิลักขะ ชนท้องถิ่น ก็กลายเป็นคนป่า คนเถื่อนไป พวกอารยันก็ขึ้นเป็นใหญ่ อารยันก็เป็นเรื่องของเผ่าพันธุ์มนุษย์นี่เอง เดิมนะๆ เป็นภาษาบาลีเรียกว่า อริยกะ ทีนี้เพราะความเป็นอริยกะเนี่ย มาเป็นผู้ปกครอง เป็นใหญ่ ก็เป็นฝ่ายที่เจริญ ก็กดเรียกไอ้พวกที่เป็นทาส หรือถูกปกครอง พวกที่ไม่มีอำนาจก็ถูกเรียกเป็นผู้ไม่เจริญ เป็นพวก อนาริยะ อนริยะ เอาแล้วนะครับเกิดแล้วแล้วศัพท์ ก็เกิดศัพท์คู่เรียกว่า อริยะ กับ อนริยะ หรือ อารยะ กับ อนารยะ ก็เกิดจากเผ่าชนนี่แหละ แต่ในความเป็นเผ่าชนนั้นก็คือ ถือว่ามีความเจริญ ความเจริญในระบบวิถีชีวิต เรื่องของการก่อสร้างบ้านเมืองอยู่เมืองอะไรต่ออะไรเนี่ย เข้ามาแบบเดียวกับกรีกโรมัน เหมือนกัน เพราะฉะนั้นไอ้ความเป็นอารยะมันก็มาประสานกับความมีเชื้อชาติหนึ่ง แล้วก็สองก็คือ เรื่องของระบบวิถีชีวิต การอยู่ในวิถีชีวิตแบบเมือง ที่เจริญก้าวหน้า เป็นผู้ปกครอง มีวัฒนธรรม มีการค้าขายอะไรใหญ่โต ทีนี้ก็เลยความเป็นอารยันก็อยู่ที่นี่
ทีนี้เมื่อพวกอารยันมาปกครองพวกคนท้องถิ่นแล้ว ตอนนี้ก็เกิดเทพเจ้าใหม่ เรียกว่า พระพรหม พระอินทร์ก็ชักตกอันดับ พระอินทร์ตกอันดับก็ยังเป็นใหญ่อยู่เหมือนกัน แต่ว่า ตอนนี้เกิดเรื่องเกิดราว เสียหาย ไปเป็นชู้กับเมียพระฤาษีบ้าง อะไรต่ออะไรถูกสาป วุ่นวาย แต่ว่าที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ตอนนี้ก็พระพรหม พระพรหมนี่ก็คือ เทพเจ้าของพวกปัญญาชน คือตอนที่เร่ร่อนอยู่เนี่ย พระอินทร์นี่เทพเจ้านักรบก็ต้องเป็นใหญ่ เพราะตอนนั้นนักรบเป็นใหญ่ ทีนี้พอมาเข้าสถานที่แล้ว ตอนนี้ต้องใช้ปัญญา บ้านเมืองสงบแล้ว พวกปัญญาชนก็ขึ้น พอปัญญาชนขึ้น ชนวรรณะพราหมณ์ก็ขึ้นเป็นใหญ่ พราหมณ์เป็นใหญ่ก็พระพรหมก็เป็นใหญ่ เทพเจ้าพระพรหมก็ขึ้นมาเป็นสูงสูด พรหมสูงสุดแล้วก็แบ่งชนมาเป็นวรรณะ4 นี่แหละครับ อินเดียเกิดวรรณะ4 มีกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็บอกว่า พราหมณ์ต้องเอาพราหมณ์เป็นหนึ่งนะ ในระบบของพราหมณ์ พราหมณ์ นั้นเกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหมณ์ เป็นปัญญาชน เป็นผู้สอน เป็นผู้สื่อสาร บอกกล่าวแก่ประชาชน โดยรู้พระประสงค์ของพระพรหม แล้วก็กษัตรยิ์ ก็เป็นผู้ที่ใช้แขนใช้พาหา เป็นนักรบ สร้างจากพาหา แขนของพระพรหม แล้วก็แพศย์ ไวศยะ ก็เกิดจากพระสะโพก สะโพกพระพรหมณ์ หมายความว่า ใช้เดิน เป็นพ่อค้า วาณิช เจ้ากองเกวียนเป็นต้น เป็นคณะบดี ค้าขายเก่ง แล้วก็วรรณะที่สี่ ก็คือพวกเจ้าถิ่นที่ถูกกดลงเป็นทาส เป็น ศูทร แล้วก็ถือว่า สามวรรณะแรกเป็นอริยะ ก็ไปดูคำจำกัดความ เวลาเค้าบอก อริยะ คืออะไร อารยะ อารยกะ อารยัน คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ส่วน ศูทร วรรณที่สี่ไม่ได้เป็น อารยะ แต่เป็น อนารยะ เอาละครับ ท่านจะเห็นที่มาที่ไป ทีนี้ก็กลายเป็นว่าไอ้คำว่า อารยะ หรือ อริยะ มีความหมายเป็นว่า เป็นคนชั้นสูง เป็นคนเหนือคน เป็นคนเจริญ แปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็แปล อารยะ อริยะ ว่า Nobel และไทยก็ไปแปลเข้ากับเมื่อกี้ Civilize ไป อารยะ เอาละครับทีนี้ ความเป็นคนเจริญก็ รู้เรื่องของคำว่า อารยะ หรือ อริยะ ไป ทีนี้ความเป็น อริยะ ก็ดี Civilization ก็ดีเนี่ย ก็มีความหมายเป็นเชิงรูปธรรมไปแล้ว
ทีนี้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเนี่ย พระองค์ก็มาแก้ปัญหานี้ พระองค์ไม่ทรงเห็นชอบ พระองค์เห็นว่า การถือเทพเจ้าสูงสุดเป็นผู้ดล บันดาลไม่ถูกต้อง มนุษย์จะต้องเพียร พยายาม ทำความสำเร็จด้วยการทำเหตุปัจจัยของตนเอง แล้วก็ศาสนาพราหมณ์บอก พระพรหมณ์ประทานพระเวทมา พระเวท กำหนดยังไงต้องเป็นไปตามนั้น พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ต้องนับถือพระเวท มนุษย์เราศึกษาได้ทุกคนมีปัญญาให้ฉลาดได้ พัฒนาไตรวิชชา วิชชา3 ดีกว่า พวกพราหมณ์เท่านั้นที่จะรู้ไตรเพท พระพรหมณ์สื่อกับพราหมณ์ให้ไตรเพทมาทางพราหมณ์ คนอื่นก็แย่สิ พวกกษัตริย์ แพศย์ ก็พอเรียนได้ยังเป็นอารยะ แต่ ศูทรนี่ไปเรียน ไม่ได้เลย ถ้าไปฟังสาธยาย พระเวท ผมเคยเล่าให้ฟัง แค่ไปฟังสาธยายพระเวท ตอนหลังเขามีกฎ กติกาว่า ให้เอาตะกั่วหลอมหยอดหูมัน ถ้ามันสาธยายพระเวทให้ตัดลิ้นมันเสีย ฉะนั้นก็ผูกขาดการศึกษาหมด พระพุทธเจ้าก็บอกว่าไม่ต้องไปพึ่งพาพระเวท ทุกคนเนี่ยไม่ว่าเกิดในวรรณะไหน ก็มีปัญญา รู้วิชชา3 พระเวท3 ก็เกิดในความหมายใหม่ คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยการพัฒนามนุษย์แต่ละคนทุกคนเข้าถึงความรู้ หรือ ไตรเพท หรือไตรวิชชานี้ได้หมด
เพราะฉะนั้นพระองค์ก็เลยยกเลิกไม่เอา เรื่องวรรณะ4 หนึ่งไม่เอาพรหมณ์เป็นใหญ่เป็นผู้สร้างสรรค์บันดาล สองไม่เอาตัวพระเวท ว่าเป็นตัวกำกับสังคม ชีวิตอะไรต่ออะไรของมนุษย์ทั้งหมด แล้วก็กำกับ กำหนด ผูกขาดการศึกษา แล้วก็ สามวรรณะ4 เรื่องที่จะแบ่งชั้นคน เป็น อิรยะสามชั้น ไม่เป็นอริยะหนึ่งชั้น อะไร พวกล่างถูกกดขี่แย่ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เธอจะเป็นคนวรรณะไหนไม่เกี่ยว นอกวรรณะยังได้ เป็นจัณฑาล เข้ามาบวชได้เลย ก็ล้มเลิกระบบวรรณะเสีย ไม่เอาวรรณะ4 และอีกอย่างหนึ่งก็พราหมณ์ต้องบูชายัญ ก็ถือว่าสิ่งทั้งหลายจะสำเร็จได้ จะป้องกันแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อน ภัยพิบัติได้ ต้องการโชคลาภ ยศ ก็ต้องไปอาศัยการบูชายัญ ให้เทพเจ้าบันดาล พระพุทธเจ้าบอกว่า ให้เพียรพยายาม ทำด้วยกำลังของตนเองด้วยการศึกษา ให้รู้เหตุปัจจัย ให้มีปัญญา รู้เหตุปัจจัย แล้วทำเหตุปัจจัยของมันให้เกิดผลที่ต้องการ เพราะฉะนั้นก็เลยล้มเลิกระบบบูชายัญ บอกไม่ต้องบูชายัญ เลิกหมดเลย หลักการสำคัญสี่ของพราหมณ์เนี่ย ข้อหนึ่งพรหมณ์ สองพระเวท สามวรรณะ4 แล้วก็สี่การบูชายัญ
ทีนี้พระพุทธเจ้ายกเลิกอันนี้ พระองค์ก็ให้คำจำกัดความใหม่ เพราะคำว่า อริยะ เดี๋ยวนี้ ในแง่นี้มีความหมายว่าเป็น คนเจริญ นัยยะว่าเจริญ พระพุทธเจ้าก็เอาใหม่เลย ทีนี้ตอนนี้ละ เราจะมีคำว่า อริยะที่พระพุทธเจ้าเอามาใช้ เป็นอริยบุคคล คือไง เรียนแล้ว ไม่ขึ้นต่อเชื้อชาติ ไม่ขึ้นต่อรูปธรรมใช่ไหม ก็คือพัฒนาตัวเองดี เป็นอริยบุคคล เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ ทุกคนเป็นได้ทั้งนั้น พัฒนาเข้าไป แต่เอาง่ายๆ อย่างในคาถาธรรมบท บอกว่าไง น เตน อริโย โหติ แล้วไปลงท้าย อหิงสา สัพพปานานัง อริโยติ ปวัจจติ อันนี้กลุ่มนี้ เนี่ยที่เอามาใช้ตรงนี้ คือพระพุทธเจ้าทรงให้ความหมาย ประทานความหมายใหม่ คำว่า อริยะ ความเป็นอริยะ หรืออริยะนั้นอยู่ที่อะไร อยู่ที่ ชีวิต จิตใจ คุณภาพในตัวคนที่พัฒนาให้ดี อย่างน้อยก็ อหิงสา สัพพปานานัง อริโยติ ปวัจจติ บุคคลใดจะเรียกว่าเป็น อริยะ อหิงสา สัพพปานานัง เนี่ย อหิงสา มาแล้ว เพราะ อหิงสา ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง นี่ครับความหมายมาแล้ว มาแล้วเป็นความหมายเชิงนามธรรมที่เป็นการพัฒนามนุษย์ อันนี้ขั้นหนึ่งนะ ก็เป็นอันว่าความหมาย อริยะมาแล้ว แล้วอีกแห่งหนึ่งพระพุทธเจ้าก็ตรัสลึกลงไปอีก ภิกษุชื่อว่าเป็น อริยะ ได้อย่างไร บอกว่า ??? อาละกา ปาปะกา อะกุสะลา ธัมมา เป็นผู้ห่างไกลจากบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นอริยะ ชื่อว่าเป็น อริยะก็เพราะว่า ห่างไกลจากบาป อกุศลธรรมทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ดี เป็นบาป เป็นอกุศลทั้งหลาย สิ่งที่ชั่วร้าย เลวทราม โดยเฉพาะก็ง่ายๆ ก็ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ตัณหา มานะ ทิฐิ เอาละครับ นี่คือ อารยะ ความหมายแบบ พราหมณ์ ฮินดู ในสังคมเก่าของอินเดีย ที่คล้ายกับคำว่า Civilize ของตะวันตก ที่มีพัฒนาการคล้ายๆ กัน ความหมายก็เป็นแบบ คล้ายกันบ้าง ก็คือความเจริญ หรือความ เป็น Civilize หรือเป็นคนอารยะนี่ ขึ้นต่อ รูปแบบทางรูปธรรมที่เป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้า ในเรื่องของระบบการดำเนินชีวิตและระบบสังคม เช่นเศรษฐกิจการเมือง เป็นต้น ทีนี้พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เจ้าพวกอารยะ เรียกตัวว่า อริยะเนี่ย แหม มันห้ำหั่น ฆ่ากันวินาศหมด ฆ่ากันเหลือเกิน เบียดเบียนเหลือเกิน ไม่เอา หรอก ฉะนั้นพระองค์ก็ให้ความหมายใหม่ว่า อริยะ อยู่ที่ อหิงสา สัพพปานานัง เพราะ อหิงสา ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย อารยะขั้นที่หนึ่งและขั้นลึกลงไปก็ จิตใจก็ห่างไกลจากบาป อกุศลกรรม ได้ความแล้วนะ
ทีนี้เราก็มาดูว่า ที่ท่าน มาตั้งศัพท์ว่า Civil Disobedience เนี่ย เราตั้งศัพท์เป็นอารยะขัดขืน ขัดขืนก็ Disobedience หรือ Resistance แล้วก็ Civil ก็แปล Civilization ว่าอารยะแล้ว ฉะนั้น ก็แปล Civil ตัวนี้เป็นอารยะ ได้ก็คงคิดทำนองนั้น ก็เลยแปล Civil Disobedience แปลว่า อารยะขัดขืน ทีนี้ถ้าเรามาพูดกัน เพื่อให้คนพัฒนา อารยะขัดขืนแบบนี้ก็ได้แค่แบบฝรั่ง ใช่ไหมฮะ ถ้าเป็นอารยะขัดขืนจริงเนี่ย มันต้องให้ชนะใจตนเอง ขัดขืนต่อ ตัณหา มานะ ทิฐิในใจตนเองได้ นี่ละอารยะขัดขืนที่แท้จริง จะแน่กว่าฝรั่ง
Civil Disobedience จึงไปไม่ถึงอารยะขัดขืน แต่ต้องเป็นอารยะขัดขืนในความหมายที่แท้ของพุทธศาสนา ที่เป็นอารยะห่างไกลจากบาปอกุศลกรรมทั้งหลาย ก็คือไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของ ตัณหา มานะ ทิฐิ สำรวจตัวเองเลย เออ อย่าให้ตัณหา มานะ ทิฐิ มาครอบงำจิตใจของเรา แม้แต่ทิฐิ ทิฐินี่ตัวสำคัญ ผมเล่าแล้วนะ ทิฐินี่เป็นตัวสำคัญอย่างยิ่งเลย ที่ว่ากันยิ่ง โลกมนุษย์เจริญพัฒนา ไอ้ทิฐิตัวร้ายที่สุดเลย ถ้าเอาชนะทิฐิไม่ได้ ประชาธิปไตยก็ไปไม่รอดหรอก เรื่องทิฐิเราจะพูดกันอีก วันนี้คิดว่าเวลามันมาก เอาละนะครับพอเห็นนะ ไอ้ Civil Disobedience หรืออารยะขัดขืนมันเป็นอย่างไร ก็ได้แค่อารยะขัดขืนขั้นที่หนึ่งตรงกับ Civil Disobedience หรือจะเป็น Nonviolent Resistance หรือ Passive Resistance ก็แล้วแต่ ถ้าใช้ Passive มันน่าจะใช้คำว่า นิรกิริยาขัดขืน เพราะว่า Passive กับตรงข้ามกับ Active ถ้าเป็นตรงข้ามแท้ ก็เป็น มี Reaction เป็น Reactive มี Reaction เป็นปฏิกิริยา ตรงข้ามกับปฏิกิริยาก็เป็น Passive ไม่มีปฏิกิริยา ใครทำอะไรมาก็รับยอม อย่างนี้ก็ต้องเป็น นิรกิริยา ตรงข้ามกับปฏิกิริยา ก็เป็น นิรกิริยาขัดขืน ถ้าตอนนี้จะเป็นได้ก็ จะอาจจะเป็นขั้นนี้
ถ้าจะเป็นอารยะขัดขืนให้แท้จริงก็ ต้องไม่ยอมแก่ ตัณหา มานะ ทิฐิในใจของตนเอง แล้วไปสำรวจตัวเอง ถ้าพัฒนาอันนี้ขึ้นมาได้จะเข้าพุทธศาสนาได้จริง เอาละครับ โมทนา
ไหนฮะ ที่ว่าค้างไว้สองประเด็นครั้งนั้น(เสียงพระนวกะ) เอ่อ ยังไม่ได้พูด เอ้าก็ท่านมาถามเรื่องอื่น สองอันนี้ก็ค้างไว้ก่อน นะค้างไว้ก่อน กลายเป็นว่า ถ้าพูดเรื่องนี้อีกห้าครั้งก็ไม่จบ แต่ก็ดีนะ สถานการณ์อะไรมันเกิดขึ้นมาเราก็ต้อง มาคิดพิจารณาใช้ปัญญา รู้เท่าทัน พิจารณาเรื่องนั้นด้วยปัญญา หนึ่งเราก็พัฒนาปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป และก็ช่วยสังคม สถานการณ์บ้านเมืองเวลานี้ เราช่วยการเมืองได้เลย แบบนี้จะเป็นการช่วยที่ดีกว่าที่จะไปคลุกอยู่ในนั้น หรือท่านว่าไง เนี่ยอยากจะให้ประชาชนได้ปัญญา แล้วก็เป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจได้ดีขึ้น ประชาชนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องมีความสามารถในการตัดสินใจ อันนี้ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะการปกครองอยู่ที่ไหน การปกครองอยู่ที่อำนาจตัดสินใจ อำนาจตัดสินใจอยู่ที่ผู้ใด ผู้นั้น คือผู้ตัดสิน ชะตากรรมของการปกครอง ของบ้านเมือง ของสังคม แล้วเขาต้องการให้ประชาชนเป็นผู้ปกครอง ก็คือให้ประชาชนเนี่ยเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ ตัวเองก็ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจ เพื่อใช้อำนาจตัดสินใจนั้นให้ถูกต้อง อย่างน้อยเป็นธรรมาธิปไตย ตัดสินใจโดย ยึดหลักเอาธรรม ความถูกต้อง ความดีงาม ความจริงเป็นใหญ่ ประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นใหญ่ นี่แหละต้องพัฒนาของประชาชน
ทีนี้ตอนนี้ประชาชนเนี่ย ระบบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งแบบตัวแทนก็คือ ไปมอบอำนาจตัดสินใจให้ผู้แทนราษฎร ตัวเองมีอำนาจตัดสินใจ แต่ว่าไปมอบอำนาจตัดสินใจให้เขา แล้วตัวเองก็เลยไม่พัฒนาตัวเอง ต้องถือว่าตัวเองยังมีอำนาจตัดสินใจ ต้องใช้และพัฒนาตัวเองเสมอ เพราะฉะนั้นเนี่ย ถ้ามันไม่ได้ความ มันไปมัวมอบอำนาจตัดสินใจให้เขา แล้วก็ปล่อยปละการพัฒนาตัวเอง ผลที่สุดประชาธิปไตยมันก็อยู่ไม่ได้ เพราะประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชนมีส่วนร่วม ร่วมกันปกครองโดยมีอำนาจตัดสินใจ ด้วยมีความสามารถโดยเฉพาะมีสติปัญญา เมื่อตัวไม่มีสติปัญญา ปล่อยปละละเลย ไม่พัฒนาปัญญาของตัวเอง ต่อไปอำนาจตัดสินใจตัวเองมอบให้เขาไปแล้ว ปัญญาตัวเองก็ไม่พัฒนา ต่อไปเขาก็เอาอำนาจตัดสินใจ แล้วก็เอาไอ้เรื่องของการบงการ เผด็จการมาใช้โดยตัวเองไม่รู้ตัว ช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่าไปโทษใครมาก โทษประชาชนนี่แหละ เรามักจะไปโทษพวกโน้นพวกนี้ คือโทษได้ แต่อย่ามัวไปติดแค่นั้น ในที่สุดต้องโทษประชาชน เพราะเราเป็นผู้รับผิดชอบ ประชาชนรับผิดชอบ ต้องสำนึกในความรับผิดชอบของตนเอง แล้วถ้าไม่พัฒนาตนเองก็คือ ตกอยู่ในความประมาท เมื่อตนเองอยู่ในความประมาท ตัวเองก็อยู่ในทางแห่งความตาย แล้วจะไปว่าใคร
เพราะฉะนั้นตอนนี้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เป็นบททดสอบประชาธิปไตย เป็นแบบฝึกหัดของการที่จะพัฒนาประชาธิปไตย แล้วก็เป็นบทเรียน เป็นบทเรียนประชาธิปไตยเมืองไทยด้วยนะอันนี้ ให้เห็นว่า เมืองไทยไปๆ มาๆ ก็วนเวียนอยู่แค่นี้เอง เพราะไม่พัฒนามนุษย์ให้ดีน่ะ ประชาชนที่ส่วนหนึ่งมาเป็นนักการเมือง แล้วประชาชนส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ ส่วนทั้งหมด ก็ไปเลือกนักการเมือง ก็คือนักการเมืองก็มาจากประชาชน แล้วประชาชนก็เป็นเลือกนักการเมือง ตกลงประชาชนเนี่ยยังไม่มีคุณภาพ ก็เลยมาเป็นนักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ แล้วมาเป็นผู้เลือกตั้งที่ไม่มีคุณภาพ ก็เลยได้บทเรียนก็เกิดวิกฤตการณ์นี้ขึ้น วิกฤตการเมืองนี้เกิดขึ้นเป็นบทเรียนให้รู้ว่า เพราะตัวเองปล่อยปะละเลย ตกอยู่ในความประมาท ไม่พัฒนาตัวเอง มันถึงได้เป็นอย่างนี้ แล้วถ้ายังขืนไม่ได้เรียนบทเรียนนี้อีก ไม่แก้ไขพัฒนาตัวเอง ก็จะต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏนี้ต่อไป ก็คือมันก็จะ ว่ายวนอยู่ ในไอ้ความเกิดวิกฤตอะไรต่ออะไรแบบนี้ไปอีกน่ะ ไม่ว่านักการเมืองฝ่ายไหนจะมาเสนอไอ้ระบบไหนขึ้นมา แต่ประชาชนไม่พัฒนา ในที่สุดไปไม่รอด ฉะนั้นอย่าไปหวังแค่วางระบบ อะไรต่ออะไรกันเลย ต้องให้ชัดว่า เราจะพัฒนาประชาชนอย่างไร จัดระบบสังคมอย่างไรที่เอื้อต่อการพัฒนามนุษย์ เราจะมาพูดกันอีกเรื่องทิฐิ ทิฐิเยอะและยาว เอ่อ ว่าสะยืดยาว ผมไม่ไปว่าเขา แต่ว่าประชาชน ต้องเตือนเลยประชาชนให้สำนึกถึง ความรับผิดชอบตัวเอง แล้วตอนนี้ไม่ต้องทะเลากันไม่ต้องแตกแยกกัน พิสูจน์ประชาธิปไตย ตั้งแต่ในบ้านต้องฟังกันได้ เอาละครับวันนี้พูดเท่านี้ก่อน