แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยกันต่อ คราวนี้จะพูดเรื่องธรรมะง่ายๆ ที่ได้ยินได้ฟังกันบ่อยมาก คิดว่าทุกท่านคงรู้จัก และก็อาจจะได้อ่านพบ แม้แต่ที่เป็นหนังสือที่ผมอธิบายก็คือเรื่องอิทธิบาท 4 ที่เอามาพูดในวันนี้ก็เพราะว่าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราพูดมาแล้ว คือเรื่องตัณหาละก็ฉันทะ ก็เลยยกเอามาต่อมาด้วย ถือว่าเป็นเรื่องสืบเนื่อง
อิทธิบาท 4 นี่ อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าเข้าใจว่าทุกท่านเคยได้ยินหรือได้รู้จัก ถ้าหากว่าเป็นเรื่องง่ายก็ถือเป็นการทบทวน ก็มาไล่กันตั้งแต่ความหมายของคำว่าอิทธิบาท 4 ละก็มาดูหัวข้อทั้ง 4 อิทธิบาท นี่ทุกท่านคงแปลได้มั้ง แปลว่าอะไร (???เสียงตอบเบามาก) ธรรมะที่ให้ทำให้ประสบความสำเร็จหรือว่าธรรมะที่ให้ถึงความสำเร็จ ก็มาจากคำว่า “อิทธิ” บวกกับคำว่า “บาท”, “บาท” หรือบาลีว่า “ปาทะ” บาทหรือปาทะก็แปลว่าเท้านี่แหละ เท้ามันเป็นยังไง เท้ามันก็พาเราให้ไปถึงที่หมายสิ ใช่มั้ย ฉะนั้นคำว่าเท้านี้ก็แปลว่าให้ถึง เพราะงั้นศัพท์บาลีตัวนี้ที่เราแปลว่าเท้าเท้าเนี่ยมีความหมายในตัวเอง อวัยวะที่ทำให้เราไปถึงที่หมาย ที่นี้ในที่นี้มีคำว่า “อิทธิ” นำหน้าก็แปลว่าให้ถึงความสำเร็จก็คือให้บรรลุความสำเร็จหรือทางแห่งความสำเร็จ เครื่องให้ถึงความสำเร็จ เครื่องให้ถึงนี่ถ้ามองในแง่ของสิ่งที่เราอาศัยเพื่อจะไปถึงความสำเร็จนั้นก็คือทาง เพราะฉะนั้นนั้นก็เลยแปลอีกอย่างว่าทาง ทางแห่งความสำเร็จ แต่ว่าคำว่าความสำเร็จนี่ก็ได้กับคำว่า “อิทธิ” ซึ่งอิทธินั้นเรามักจะแปลกันว่าฤทธิ์ เพราะคำว่าอิทธิคือคำภาษาบาลี ตรงกับสันสกฤตว่าฤทธิ์ แต่เวลาใช้เป็นภาษาไทยแล้วคำว่าฤทธิ์นี้ ก็จะนึกไปถึงเรื่องเหาะเหินเดินอากาศทันที ทีนี้ในภาษาบาลีนั้นหรือภาษาสันสกฤตเอง “ฤทธิ์” นี่ก็คือความสำเร็จ ทีนี้ความสำเร็จที่ถือว่าเก่งจริงๆก็คือที่เหาะเหินเดินอากาศได้ก็ถือว่าความสำเร็จที่สูงมาก ก็เลยเอาไปใช้ในแง่ ของการที่มีความสามารถทำอะไรเป็นอัศจรรย์ จะเอาความกว้างๆว่าความสำเร็จเพราะฉะนั้นอิทธิบาท แปลว่าทางแห่งความสำเร็จหรือทำเครื่องให้ถึงความสำเร็จ จะแปลเป็นฤทธิ์ด้วยก็รวมอยู่ในนี้เสร็จ ทีนี้ความสำเร็จนี่ก็อาจจะหมายไปถึงการสำเร็จบรรลุธรรมะก็ได้ บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง อันนี้ก็มี 4 ข้อ อะไรบ้าง ไหนท่านลองว่า มีหนึ่ง-ฉันทะ สอง-วิริยะ สาม-จิตตะ ละก็สี่-วิมังสา ก็ง่ายแต่ว่าคำไทยพวกนี้นี่ก็เพี้ยนนิดหน่อย ฉันทะก็ถือว่าถูกต้อง วิริยะนี้บาลีปกติจะใช้ว่าวีริยะ วิริยะนี่มาใช้เป็นไทยละ ในพระไตรปิฎกก็ยังมีใช้เพี้ยนๆกันบ้าง เป็นวิริยะก็มีแต่โดยปกติจะเป็นวีริยะ จิตตะก็ตรง วิมังสาบาลีก็เป็นวีมังสา ไม่ใช่วิ ไทยก็มาพูดให้เหมาะกับลิ้น ไทยก็เลยเป็นวิมังสา ก็มี 4 ข้อ ทีนี้เราก็มาดูแต่ละข้อไป
ทีนี้หนึ่งก็ “ฉันทะ” ก็แปลกันมาแล้วก็พูดกับมันมากเหลือเกินคำนี้ แปลว่าความใฝ่ดี ใฝ่ดีหรืออยากให้มันดี เราแปลกันง่ายๆ ว่าความรัก ความชอบ พอใจ เช่นว่างานนั้นเราชอบใจ รักงานนั้น แต่ที่จริงของพระนั้นท่านมุ่งให้เป็นความอยากที่เกี่ยวกับการกระทำ ทีนี้อยากดี อยากให้มันดี ก็ต้องอยากทำให้มันดี เราอยากจะเห็นที่นั้นสะอาดเราก็อยากทำให้มันสะอาดแล้วก็กวาดมัน เราเห็นต้นไม้เหี่ยวแห้งแล้วอยากให้ต้นไม้นั้นงามนี้เรียกว่าอยากให้มันดี เราก็ไปรดน้ำมันไปทำให้มันดี หมอเห็นคนไข้ไม่สบายเจ็บป่วยร่างกายอ่อนแอ ก็อยากให้คนไข้นี่ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี ก็อยากจะไปแก้ไขบำบัดโรค อยากจะไปทำให้คนไข้สุขภาพดี ครูเห็นนักเรียนเห็นเด็กๆก็ยังไม่มีความรู้ อยากให้เด็กเจริญเติบโตเป็นคนดีมีกิริยามารยาทมีความประพฤติดีมีสติปัญญา อยากให้เด็กดีอยากให้เด็กสมบูรณ์ให้เก่งนี่เรียกว่าอยากให้ดีก็เลยอยากจะทำให้ดีก็คืออยากจะสอนอยากจะแนะนำต่างๆ และความอยากทำให้มันดีก็เลยเป็นฉันทะ เพราะฉะนั้นในภาษาพระก็จะแปลว่าฉันทะคือความปรารถนาจะทำ ตัวบาลีจะแปลว่า (กะตุกำยะตา) นั่นฉันทะท่านจะเรียกเต็มว่า (กะตุกำมะยะตาฉันทะ) แปลว่าฉันทะคือความปรารถนาที่จะทำ หมายถึงทำให้มันดี ถ้าแปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันก็คือฝ่ายสร้างสรรค์นั่นเอง ถ้ามีตัวนี้อยู่แล้วก็มันก็เกิดกำลังขึ้นมาจะทำอะไรต่างๆอันนี้ก็ข้อที่หนึ่งฉันทะ
ข้อที่สองก็ “วิริยะ” บาลีว่า “วีรียะ” วิริยะก็มาจาก“วีระ” แล้วก็บวกกับ “นิยะ” ตามหลักภาษาบาลี “วีริยะ” ก็แปลว่าความเป็นวีระ วีระคืออะไร ก็แปลว่าความแกล้วกล้า ใจสู้ ดังนั้นวิริยะ หรือวีริยะนี่คือความเป็นผู้แกล้วกล้า ใจสู้ เราแปลกันว่าความเพียร เพียรนี่ไม่ได้แปลหรอก เพียรก็ตัวเดิมนั่นแหละ แปลงอีเป็นเอีย แปลง ว เป็น พ วีระมันก็แปลว่าเพียร เพียรนี่จริงๆแปลว่ากล้านั่นเอง มาจากภาษาบาลีแท้เลย แผลงไปหน่อย นี้เพียรหรือวีระก็แปลว่าแกล้วกล้า ใจสู้ ก็หมายความว่าไม่ท้อไม่ถอย ไม่อ่อนแอ คนเรานี่จะมีปัญหาอย่างหนึ่งก็คือว่าเวลาเจออะไรต้องทำแล้วมันไม่อยากจะทำ ก็เรียกว่าใจไม่สู้ หรือแม้แต่ทำไปแล้วก็ท้อถอยก็คือขาดวิริยะเนี่ย ทีนี้ถ้ามีวีรียะหรือวิริยะ ความเพียรคือใจกล้าแกล้วกล้าใจสู้ เจอสิ่งที่ยากก็เหมือนกับท้าทาย บางคนนี่ถ้าเจออะไรที่ยากจะต้องทำแล้วจะรู้สึกเป็นเรื่องท้าทาย ใจสู้ขึ้นมาทันทีเลยเกิดกำลัง เพราะฉะนั้นวิริยะนี่เป็นตัวกำลัง เพราะว่าใจแกล้วกล้าใจสู้เกิดกำลังขึ้นมา ถ้าหากว่าท้อถอยซะก็อ่อนแอหมดกำลัง ดังนั้นคนเราอยู่ที่เนี่ยใจสู้หรือไม่ วีริยะก็แปลว่ามีความเป็นผู้ใจสู้แกล้วกล้า อยากจะเอาชนะทำให้สำเร็จ ชนะงานนะไม่ใช่ชนะคน ชนะงานทำให้สำเร็จ เห็นงานเป็นสิ่งท้าทาย เห็นอะไรที่จะต้องทำมันท้าทายความสามารถ
ต่อไปก็จิตตะ จิตตะนี่ก็ความมีใจจดจ่อ จิตตะก็ตัวจิตนี่แหละ จิตก็ไปอยู่กับสิ่งนั้น จิตไปอยู่กับสิ่งนั้นก็ใจจดจ่อ ใจจดจ่อเหมือนคนที่ว่าเห็นความสำคัญของสิ่งนั้นจนกระทั่งใจนี่ไม่ไปคิดถึงเรื่องอื่นเลย ยกตัวอย่างบ่อยๆก็เหมือนอย่างคนกู้ระเบิด คนที่จะกู้ระเบิดนี่จะเห็นความสำคัญของเรื่องของระเบิดจนกระทั่งใจใจไม่ไปเรื่องอื่นเลย ใจอยู่กับเรื่องของการที่จะแก้ไขเรื่องลูกระเบิดนี้ไม่ให้ระเบิดและเห็นความสำคัญอย่างยิ่ง ใจจดจ่อย่างนี้เรียกว่าจิตตะ
ต่อไปก็คำสุดท้าย วีมังสา หรือ ภาษาไทยว่าวิมังสาแปลว่าการทดลอง ทดลองทดสอบ เจออะไรก็อยากจะทดสอบดูว่ามันเป็นยังไงอยากจะรู้ความจริงของมัน ว่าทำอย่างนี้จะเกิดผลยังไงทำยังงั้นจะเกิดผลยังไง แบบนี้เป็นนักทดลอง นัดทดลองนี่ก็ทำให้ทำเหมือนกัน นี่เป็นเรื่องของเกี่ยวกับปัญญา มันโยงไปหาปัญญาเลยว่าจะต้องใช้ความคิด เพราะว่าการทดลองนี่ก็เกี่ยวกับการที่คิดถึงว่าทำยังไงจะเกิดผลยังไง ถ้าไม่ทำอย่างนี้จะทำยังไงดี ถ้าต้องการผลอย่างนี้จะทำได้แบบไหนบ้าง หรือจะทำอันนี้ทำเหตุนี้ผลอะไรจะเกิดขึ้นมาบ้าง แล้วก็ทดสอบทดลองไป
เนี่ย 4 ข้อนี่นะ4 ข้อนี้เป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างไร จุดสำคัญก็คือว่ามันทำให้เกิดสมาธิใจมันแน่ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสถึงสมาธิ 4 ประเภท เวลาตรัสถึงอิทธิบาทนี่ในหมวดธรรมนี่จะตรัสเรื่องอิทธิบาทไปควบคู่กับเรื่องสมาธิ แล้วก็เรียกชื่อสมาธิตามหลักอิทธิบาท 4 เรียกฉันทสมาธิ แปลว่าสมาธิเกิดจากฉันทะ วิริยสมาธิแปลว่าสมาธิที่เกิดจากวิริยะหรือความเพียร จิตตสมาธิ สมาธิที่เกิดจากจิตตะ ละก็วิมังสาสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิมังสา การที่จะสำเร็จนี่ จุดสำเร็จสำคัญก็คือมันเกิดสมาธิ ใจมันแน่วแน่ตั้งมั่นเกิดกำลัง แล้วมันไม่พร่าไม่กระจัดกระจาย มันรวม และนั่นก็เป็นตัวสำคัญในการทำให้สำเร็จเท่ากับว่าอิทธิบาท 4 สร้างความสำเร็จโดยผ่านสมาธิ ก็เลยกลายเป็นว่าเรื่องอิทธิบาทนี่สัมพันธ์กับเรื่องสมาธิ ทีนี้ทั้ง 4 ข้อนี่ถ้ามีความสัมพันธ์กัน ส่งผลต่อการสืบเนื่อง และทั้งในแง่ที่ว่าแต่ละอย่างก็สามารถส่งผลของมันเอง
คนเรานี่ชอบอะไร สิ่งที่จะทำแล้วเราชอบ ใจก็เข้ามาเกิดความสนใจอยู่กับสิ่งนั้นได้ ถ้าไปทำสิ่งที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ดิ้นมันก็หนีมันจะออกไปเรื่อยๆสมาธิก็เกิดยาก เพราะฉะนั้นคนที่ทำสิ่งที่ตัวรักตัวชอบก็เกิดสมาธิง่าย ฉะนั้นฉันทะจึงเป็นตัวปัจจัยหรือเป็นตัวธรรมะที่ช่วยให้เกิดสมาธิและตัวแรกตัวสามัญเลยก็คือชอบอยากจะทำมันแต่ต้องการให้บรรลุจุดหมายของสิ่งนั้น อันนี้จะทำให้เกิดสมาธิได้ วิธีทำให้เกิดสมาธิโดยวิธีธรรมชาติก็อาศัยอิทธิบาท 4 อันแรกนั้นง่ายที่สุดก็คือให้เขาทำสิ่งที่เขาอยากจะทำ แต่ว่าให้เป็นสิ่งที่ดี ให้เขาต้องการจุดมุ่งหมายของมัน เห็นคุณค่าเห็นประโยชน์ของสิ่งที่ทำนั้น คือถ้าเพียงแต่ชอบเนี่ยมันก็ยังไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ แต่ถ้าเขาพอใจอยากจะได้บรรลุจุดหมายของมัน เห็นว่าโอ้สิ่งนี้ดีเราต้องการให้เกิดผลสำเร็จอย่างที่ว่าหมอเห็นคนไข้ละอยากให้คนไข้มีสุขภาพดีนี่คือหมอมีจุดหมาย เพราะอยากให้คนไข้สุขภาพดีนี่คืออยากในจุดหมายที่ดีงามที่ว่าอยากให้มันดี คราวนี้แกก็อยากจะรักษาคนไข้ใช่มะ มาเอง ดังนั้นให้อยากใน จุดหมายที่ดีงาม ก็จะได้เข้าข้อฉันทะ นี้ทำให้เกิดสมาธิ ใจจะมุ่งเลย ทีนี้ก็หนึ่งละ ที่สองก็คือวิริยะนี่ก็ถ้าเราไปทำอะไร สมมุติว่าเราเกิดไม่ชอบ แต่ถ้ามันเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่ามันท้าทาย ท้าทายเรา ท้าทายความสามารถ อยากจะเอาชนะ อยากจะทำให้สำเร็จขึ้นมา ใจสู้ ถ้าใจสู้แล้วก็เกิดสมาธิเหมือนกัน ใจจะอยู่กับสิ่งนั้นได้ จิตตะก็เหมือนกันน่ะ ลองเราเห็นความสำคัญกับสิ่งใดใจก็มาอยู่กับสิ่งนั้น อย่างข้อวิริยะเมื่อกี้นี้จะบอกว่าใจสู้เนี่ยทั้งๆสิ่งนั้นเราไม่ได้ชอบก็ได้ บางทีเราไม่ได้ชอบไม่ได้รักมันแต่ว่าพอเกิดใจสู้เห็นมันท้าทายความสามารถก็เอาเหมือนกัน ละทีนี้ข้อสามทั้งๆที่ไม่ได้ชอบแต่ว่ามันเห็นความสำคัญอย่างที่ว่าคนไปกู้ระเบิดที่ยกตัวอย่าง ใครไปชอบลูกระเบิด ใช่มั้ย แล้วเสร็จแล้วเป็นไงล่ะ ใจเป็นสมาธิได้ใช่ไหมเพราะอะไรเพราะเห็นความสำคัญ เพราะงั้นนี่ก็สำคัญ นี่ก็เรื่องใหญ่ เรื่องจิตตะ ส่วนข้อที่ 4 ก็วิมังสา เมื่ออยากทดลองอยากจะรู้ว่ามันจะเป็นยังไงยังไงนี้เป็นเรื่องทางปัญญา เป็นเรื่องการทดสอบ ความอยากเห็นว่ามันเป็นยังไงยังไง อยากทดลองทดสอบ มันก็ทำให้เกิดใจแน่วแน่เป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นแต่ละข้อเนี่ยมันเป็นตัวทำให้เกิดสมาธิได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าตัวไหนก็ได้มันทำให้เกิดสมาธิได้ทั้งนั้น สมาธิเกิดจากตัวไหนก็เรียกชื่อโดยเอาตัวนั้นนำอย่างที่บอกว่าสมาธิเกิดจากฉันทะ ก็เรียกว่าฉันทสมาธิ สมาธิเกิดจากวิริยะก็เรียกวิริยสมาธิ สมาธิเกิดจากจิตตะเรียกจิตตสมาธิ สมาธิเกิดจากวิมังสาเรียกวิมังสาสมาธิ แต่ว่า 4 ข้อนี้นั้นมันส่งผลกันด้วยว่าจะเริ่มจากอันใดอันหนึ่งก็มีทางทำให้อันอื่นตามมา โดยทั่วไปเราจะเริ่มจากข้อแรก ข้อแรกนี้จะเป็นพื้นๆ จะให้เขาทำอะไรก็ให้เขาทำสิ่งที่เขาชอบ ถ้าเขายังไม่ชอบเราก็หาทางปลุกใจหรือว่าพูดจาหว่านล้อมอย่างว่าคนที่จะรักพอใจทำสิ่งนั้นให้เขาเห็นคุณค่าเห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าเห็นประโยชน์ของมันว่าสิ่งนี้ที่ดีอย่างนั้นอย่างนี้เลยนะ ก็ทำให้เกิดความรักความอยากจะทำ เหมือนอย่างกับเด็ก ถ้าหากว่าแกไม่อยากกวาดบ้านเราก็ต้องหาทางให้แกเห็นคุณค่าของความสะอาดให้รักความสะอาดขึ้นมา ทำอะไรเห็นคุณค่าและประโยชน์ความดีของความสะอาดซึ่งครูอาจารย์พ่อแม่ก็อาจจะต้องพูดให้เห็นว่าความสะอาดมันดียังไงอะไรต่างๆ พอเด็กเกิดความรักความสะอาดขึ้นมา พ่อแม่ก็ไม่ใช่ว่าจะพูดอย่างเดียว อาจจะกวาดให้เด็กเห็น ทำความสะอาดให้เด็กดูว่าโอ้นี่สะอาดแล้วมันดียังไง เด็กมันก็มีอยู่แล้วความใฝ่ดีอย่างที่เคยยกตัวอย่างว่าเขามีมือเขาก็อยากให้มือของเขานี่สวยงามสะอาดเรียบร้อย ร่างกายของเขาหน้าตาเขาก็อยากจะให้เรียบร้อยสวยงามสดใสสมบูรณ์ ความใฝ่ดีปรารถนาอยากจะให้มันดีเนี่ยมันมีอยู่แต่ว่าอย่าให้เด็กนี้เบนไปทางอื่นๆ รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ให้ขยายออกไป ขยายความใฝ่ดีนี้ออกไปสู่สิ่งต่างๆอย่างที่เคยพูดว่าไปนั่งที่ไหนก็อยากให้ที่นั่นมันเรียบร้อยสะอาดอยากไปเจออะไรเกี่ยวข้องอะไรก็อยากให้มันดี
พอขยายความใฝ่ดีนี้ออกไปแล้วก็ฉันทะก็ตามมา ก็อยากทำให้มันดี เด็กก็จะเกิดฉันทะขึ้นมา ซึ่งจะตรงข้ามกับเรื่องของฝ่ายตัณหาที่ว่าเจออะไรก็อยากจะได้อยากจะเสพ มุ่งหาแต่อาหารอร่อย เด็กจะไปอย่างนั้นจนกระทั่งมาบดบังด้านฉันทะไปหมด เด็กก็อยากกินอาหารอร่อย อีกด้านนึงก็อยากให้จานสะอาด ถ้าอยากให้จานสะอาดก็เป็นฉันทะใช่มะ เจออะไรก็อยากให้มันดี ให้มันเรียบร้อย ล้างจานก็ล้างให้มันสะอาด ที่นี่ต้องทราบเหมือนกันเราไปกระตุ้นฝ่ายตัณหาซะมาก แม้แต่พ่อแม่ก็เลยทำให้เด็กนี่ไม่พัฒนา ฉันทะไม่เกิด นั่นก็ควรจะจับจุดให้ได้ก็พัฒนาจากฐานที่เด็กมีเขาอยู่แล้วในตัวนี้แหละ ให้ออกไปขยายไปต่างๆ นั่นก็ทำให้เห็นคุณค่าเห็นประโยชน์แล้วก็จะอยากทำให้มันดีเกิดฉันทะ พอเกิดฉันทะแล้วมันจะเกิดความเพียรขึ้นมาได้ง่าย เหมือนกับว่าฉันทะนี่มาช่วยต่อไปข้ออื่น ข้อสองความเพียรก็มา พอมีความเพียรต่อไปความมีใจจดจ่อก็ตามมา แม้จะไม่แรงนักก็มีขึ้น และถ้าเรารู้จักแม้นิดหน่อยมันก็เกิดวิมังสาขึ้นมา อยากจะเห็นว่าเราทดลองวิธีนี้มันสะอาดเท่านี้ ถ้าทดลองวิธีโน้นมันจะสะอาดกว่ามั้ยอะไรต่างๆนี่นะ สมาธิมันก็มาตามด้วยตลอดในทุกข้อแต่ว่า 4 ข้อนี้เท่ากับว่ามาช่วยเกื้อหนุนกันโดยเฉพาะข้อ 1 นำไปสู่ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 แต่ก็ไม่จำเป็นนะ อย่างที่บอกแล้วว่าอาจจะเริ่มจากข้อไหนก็ได้ ซึ่งขึ้นต่อพื้นนิสัยของแต่ละคน เด็กบางคนนี่ต้องปลุกด้วยฉันทะคือเอาความชอบใจอยากให้มันดี ให้รับงานเห็นคุณค่าเป็นประโยชน์ ใจจะโน้มไปในทางเนี้ยแล้วก็ทำ ทีนี้เด็กบางคนนี่ปลุกใจพูดจายังไงอยากจะให้ชอบก็ไม่ชอบต้องใช้วิธีที่สอง คือบางคนนี่มีนิสัยอย่างที่ว่าต้องเจอและให้เกิดความรู้สึกท้าทาย ทีนี้ถ้าพื้นเด็กมีนิสัยอย่างนี้เราก็ต้องใช้วิธีทำให้สิ่งนั้นๆเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถพูดจาทำให้รู้สึกว่าท้าทายความสามารถของเขา พอรู้สึกว่าท้าทายอยากจะทำให้สำเร็จอยากจะเอาชนะงานนั้น ก็ได้ผลเกิดขึ้นเป็นวิริยะขึ้นมา นี่แสดงว่าคนมันต่างกัน พื้นจิตใจไม่เหมือนกัน บางคนนี่ทำให้เกิดความเอาจริงเอาจังขึ้นมาด้วยการกระตุ้นเล่าเรื่องความต้องการจะเอาชนะในสิ่งที่ท้าทายความสามารถ นี่บางคนนี่ลูกวิริยะไม่ขึ้น ต้องไปเอาข้อ 3 ต้องให้ความสำคัญให้เห็นว่าสิ่งนี้มีความสำคัญต่อชีวิต ถ้าไม่รู้ไว้ไม่ทำไว้นะตัวเองจะไม่ปลอดภัยหรืออาจจะต้องประสบความทุกข์ยากลำบาก อย่างพ่อแม่จะให้เด็กเรียนหนังสือนี่ เราจะเห็นได้เลยเด็กบางคนก็เรียนด้วยความรักความชอบ ยิ่งเห็นคุณค่าประโยชน์ ใจเค้าก็รับไป แต่บางคนก็ไม่เอา ด้านความรักความใฝ่ ต้องให้ท้าทาย บางคนพอท้าทายความสามารถก็ยังไม่เอาอีก ก็ต้องไปพูดถึงความสำคัญของมันต่อชีวิตของเขา ถ้าเขาไม่เรียนแล้วต่อไปจะประสบความลำบาก ดูซิคนที่ มีความยากจนข้นแค้นหรือว่าต้องดำเนินชีวิตระหกระเหินเนี่ยเพราะว่าไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนให้เขาเห็นความสำคัญ พอมันคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยขึ้นมาก็จะเกิดตัวจิตตะ ก็อยู่ที่ว่าจะพูดยังไงให้เห็นความสำคัญ ถ้าพูดได้ขนาดที่ว่าเห็นความสำคัญอย่างกับระเบิดที่กำลังจะระเบิดแล้วก็ได้ผล นี่ก็จิตตะ ต่อไปวิมังสา บางคนก็มีนิสัยชอบทดสอบชอบทดลองอยากจะเห็นยังไงเป็นยังไงถ้าได้ทดลองดู นี่เด็กบางคนก็ถูกจูงไปในทางเสียก็เพราะว่าวิมังสาด้วยใช่ไหม เด็กมีพื้นอยู่แล้วเพราะฉะนั้นเราต้องให้เค้ามาใช้ในทางที่ดี แต่ว่ารวมความก็คือว่าใช้โดยสัมพันธ์จากอันหนึ่งส่งผลไปข้ออื่น ช่วยกันถ้าหนุนได้พร้อมกันทั้ง 4 ข้อก็ทำให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น มีความพร้อมยิ่งขึ้นที่จะสำเร็จ แต่ว่าอาจจะใช้แยกอย่างที่ว่า ให้เหมาะสมกับพื้นนิสัยของแต่ละคนแต่ละข้อๆก็มา เพราะฉะนั้นผู้ที่สอนหรือว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น เป็นผู้บริหาร เป็นหัวหน้า หรือแม้แต่เป็นพ่อแม่ ก็ต้องดูคนของตัวเองเช่นเด็ก ถ้าหากว่าใช้วิธีนี้ไม่ได้ผลเด็กอาจจะเหมาะกับวิธีนั้นโดยกระตุ้นตัวไหนขึ้นมา แต่ละอันเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็นำไปสู่สมาธิ และก็เมื่อสมาธิเกิดขึ้นมันก็เป็นการรวมพลังมาแล้วก็ทำให้นำไปสู่ความสำเร็จ ทีนี้ก็เรื่องฤทธิ์ที่เรียกว่าการเดินบนน้ำ เหาะเหินเดินอากาศอะไรก็ตามอันนี้มันก็มาจากสมาธินี่แหละ ก็อาศัยสมาธิไป นิก็คือเรื่องอิทธิบาทที่เป็นทางแห่งความสำเร็จ นอกจากความสำเร็จในเรื่องสิ่งที่ทำการบำเพ็ญเพียรในการกำจัดกิเลส แม้แต่เรื่องของการที่จะอายุยืนพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าถ้ามีอิทธิบาท 4 ก็ทำให้อายุยืน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าถ้าพระองค์จะอยู่ตลอดกัปก็สามารถอยู่ได้ด้วยการบำเพ็ญอิทธิบาทนี่ อายุ กัปในที่นี้หมายถึงอายุกัปนะไม่ใช่หมายความว่ากัปสิ้นโลกไม่ใช่ว่าตั้งหลายพันล้านปีนะ เดี๋ยวว่าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นหมื่นเป็นพันเป็นแสนล้านปีไม่ใช่อย่างนั้น อายุกัปหมายความว่ากำหนดช่วงอายุของมนุษย์ในยุคนั้นๆอย่างในสมัยพุทธกาลก็ถือว่าอายุคนนี่ถ้าตลอดเต็มอายุกัปก็ประมาณ 100 ปี พระพุทธเจ้าถ้าทรงพระประสงค์จะอยู่ถึง 100 ปีให้ครบอายุกัปก็ทำได้โดยการบำเพ็ญอิทธิบาท แต่ว่าพระองค์ได้ปลงพระชนมายุสังขารตรงใจว่าเอาละแค่นี้พอ เพราะว่าได้ทำงานมาใช้ร่างกายมาพอแล้ว และก็พระศาสนาก็เรียกว่าตั้งมั่นพุทธบริษัท 4 ก็มีความสามารถพร้อมที่จะสืบต่องานของพระองค์ได้แล้ว เพราะงั้นตอนที่ทรงจะปลงพระชนมายุสังขารจึงมีเงื่อนไขที่ว่าเมื่อภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกาเป็นผู้มีความรู้เข้าใจปฏิบัติได้ถูกต้อง สามารถที่จะสั่งสอนแนะนำผู้อื่นได้ แก้ไขผู้ที่มากล่าวมาสอนมาพูดสิ่งที่ผิดหลักการได้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเมื่อพุทธบริษัท 4 มีความพร้อมอย่างนี้แล้วพระองค์ก็ปรินิพพานได้ แต่ถ้ายังไม่พร้อม พทธบริษัทยังไม่มีคุณสมบัตินี้พระองค์ก็ยังไม่ปรินิพพาน ถ้าอย่างนั้นพระองค์ก็คงจะต้องบำเพ็ญอิทธิบาทเพื่อจะให้อยู่ได้ตลอดกัป นี่พระองค์ก็เห็นว่าตอนนั้นพร้อมแล้วพุทธบริษัท 4 ทำหน้าที่ได้ก็เลยปลงพระชนมายุสังขาร ก็บอกว่าเอาละเท่าเนี้ย อยู่แค่อีก 3 เดือนจะปรินิพพาน ทีนี้ทำไมอิทธิบาท 4 ทำให้อายุยืนอยู่ได้ตลอดกัป ก็เป็นเรื่องที่ว่ามันเกิดเป็นกำลังปรุงแต่งชีวิต ปรุงแต่งเค้าเรียกว่าปรุงแต่งอายุนั่นเอง เครื่องปรุงของอายุ อายุก็คือพลังชีวิต ที่นี้ถ้าคนมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มันก็มีเครื่องปรุงแต่งชีวิต ทำให้ชีวิตนี้มีกำลัง เกิดความมีชีวิตชีวาที่จะอยู่ ถ้าไม่มีฉันทะเป็นต้นก็หมดพลังชีวิต ทำไมล่ะ คนเราจะอยู่ต่อไปได้เนี่ยมีชีวิตชีวามันต้องมีตัวฉันทะใจมันใฝ่ปรารถนาจะอยู่ ถ้าอยากจะอยู่แล้วก็อยากจะทำโน่นทำนี่มีสิ่งที่มุ่งหมายจะทำ อย่างชาวบ้านก็จะรู้อยากจะเห็นลูกคนนั้นเจริญเติบโตเป็นฝั่งเป็นฝาอะไรต่างๆเหล่านี้ หรือว่าบางคนก็อาจจะอยากทำสิ่งที่ดีงาม ใจตั้งไว้ว่าอยากจะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ตัวเองเห็นแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีมากเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิตของเรา เราจะต้องพยายามทำให้ได้ พอมีฉันทะใฝ่ปรารถนาในอันนี้ที่จะทำให้สำเร็จเนี่ยมันมาเป็นตัวปรุงแต่งอายุมาปรุงแต่งชีวิตทำให้เกิดพลังที่จะอยู่เราจะเห็นได้ว่าผู้ที่เกิดความท้อแท้ เกิดความเหี่ยวเฉาว่าตัวเองไม่รู้จะมีชีวิตอยู่ทำไมก็มักจะอยู่ไม่ได้ยาวเพราะว่าชีวิตขาดพลังอย่างที่ว่ามันก็เหี่ยวเฉาไป ยกตัวอย่างง่ายๆอย่างคนที่เกษียณอายุตอนที่ทำงานนี้ก็มีพลังแข็งแรงอะไรต่างๆ มีโน่นมีนี่จะทำอยู่เรื่อย คิดจะทำเพราะเป็นคนเอาใจใส่รับผิดชอบทำงานมีเรื่องต้องทำอยากจะทำ พอเกษียณอายุนี้ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว สิ่งที่จะทำนั้นก็ไม่อยู่ในอำนาจของตัวที่จะทำตัวเองหมดหน้าที่หมดความรับผิดชอบ พออย่างนี้แล้วไม่รู้จะทำอะไร ใจก็เคว้งคว้างอ้างว้าง อ้างว้างขาดเป้าหมายเป็นเฉาเลย ดีไม่ดีก็เลยเดี๋ยวเป็นโรคนั้นโรคนี้ไป ก็เลยต้องให้หาสิ่งที่เป็นเป้าหมายที่ดีงามมายึดต่อ พอเกษียณแล้วต้องหาอะไรที่ดีงามมาสำหรับให้ใจนี่มาใฝ่ ใฝ่ปรารถนาอยากจะเห็นสิ่งนี้จุดหมายดีที่สำเร็จ เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกบ้าง เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเองบ้าง ถ้าเป็นสิ่งที่ดีไม่ว่าจะเป็นหาอะไรที่ดีงามที่น่าจะทำ ใจก็นึกถึงสิ่งนั้นและอยากจะทำให้สำเร็จ ถ้ามีแม้แต่อันเดียวที่เป็นจุดหมายที่ดี ชัด เห็นด้วยปัญญาและใจนี่มีความปรารถนามาก จะทำให้แรงให้มีพลังชีวิตแรงมาก อย่างที่พูดว่าถ้าอันนี้ไม่สำเร็จฉันตายไม่ได้ บางคนจะพูดอย่างนี้ นี่แหละไอ้ตัวนี้มันจะทำให้มีชีวิตอยู่ต่อไป นั้นฉันทะนี่เป็นตัวที่สำคัญมาก มีอันนี้แล้วชีวิตมันก็มีกำลัง เกิดความมีชีวิตชีวาทันทีเลย ไม่อยู่ไปเรื่อยๆเปื่อยๆเฉา ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม นี้คนเรามันขาดกำลังใจนะเราจะเห็นได้ว่าอย่างคนเจ็บป่วยไข้ พอหมดกำลังใจซะอย่างก็ทรุดรวดเร็ว แต่ถ้ามีกำลังใจแล้วแม้แต่ว่าร่างกายจะแย่มันก็ยังพยุงร่างกายไปได้ เพราะฉะนั้นฉันทะนี่ก็สำคัญมาก และเกิดวิริยะก็เป็นตัวกำลังเลย ใจสู้จะทำนั่นทำนี่ให้สำเร็จ จึงอยากจะสู้ ถ้าหากว่าเจอว่ายิ่งยากยิ่งสู้ยิ่งยากยิ่งได้พัฒนาตัวเองมากนะ ใจเอาจริงๆก็พลังก็ยิ่งเกิดใหญ่ ใจจดจ่อ ใจจดจ่อก็มีพลังพุ่งสู่เป้าหมาย คิดจะทำอย่างนั้นอย่างนี้จะปรับปรุงจะแก้ไขยังไงอะไรอย่างนี้ ใจมันก็อยู่กับเรื่องนั้นสมาธิมันก็เกิดไม่ฟุ้งซ่านไม่พร่า จิตมันก็ดี สุขภาพจิตก็ดีด้วยและะเกิดพลังด้วย ได้ผลดีทุกอย่าง เพราะฉะนั้นอิทธิบาท 4 ก็เป็นตัวที่จะมาปรุงแต่งสิ่งที่ท่านเรียกว่าอายุทำให้ชีวิตมีพลังที่จะอยู่ได้ต่อไป ก็ทำให้อายุยืน ก็พูดเรื่องอิทธิบาท 4 ก็พอสมควร เป็นหลักธรรมที่ง่ายๆได้ยินกันเป็นพื้นๆก็เอามาทบทวนกัน ท่านผู้ใดมีข้อสงสัยอะไรก็มาคุยกันนิดๆหน่อยๆ
Q: วิมังสา (???33.31)
A: วิมังสา
Q: มีคำอะไรผสมกับอะไรบ้างครับ
A: ก็แปลเนี่ย แปลว่าทดลอง
Q: เพราะว่าตามที่เคยเรียนมาสมัยมัธยมแปลว่าการพิจารณาไตร่ตรอง
A: อ่อ นั่นแปลกันแบบทั่วๆไป เค้าแปลกันอย่างนั้น แต่ว่าตัวศัพท์จริงๆ แปลว่าทดลอง การทดลองมันต้องการการพิจารณาไตร่ตรอง ทดลองก็คืออยากจะเห็นว่า เอ๊ะที่เป้าหมายจะให้มันดีจะทำไงดี หรือว่าอยากจะรู้ว่าทำอย่างนี้แล้วจะเกิดผลยังไง ทำยังงั้นจะเกิดผลยังไง ที่ทำให้เกิดผลอย่างนี้ถ้าเราลองทำยังโง้นจะเกิดผลยังไงใช่ไหม เนี่ยก็ทำให้ใช้ปัญญาพิจารณา ก็เลยแปลกันว่าพิจารณาไตร่ตรอง เพราะว่ามันรวมไปถึงการตรวจสอบด้วย ว่าทดลองการตรวจสอบว่าเอ๊ะทำอย่างนี้ได้ผลไหม ผลเป็นไปตามที่มุ่งหมายหรือเปล่า ก็รวมทั้งตรวจสอบ
Q: เรียนท่านเจ้าคุณอาจารย์ครับ คือว่าครอบครัวของสังคมเดี๋ยวนี้นะคือไม่มีหลักอิทธิบาทเลย ละก็ผู้ปกครองพ่อแม่ สมมติว่าใจเราต้องการอยากจะให้ลูกเป็นอะไร ก็ไม่ได้ดูที่เด็กว่าเด็กชอบเด็กรัก มีฉันทะ วิริยะ มีจิตตะ มีวิมังสายังไง คือต้องการที่ว่าตัวเองอยากจะให้ลูกเป็นอะไรก็บังคับลูก ไม่ตรงประเด็น (???35.03 พูดแทรกกัน)
A: มันก็ไม่เข้าเรื่อง ใช่ ก็เป็นปัญหาที่จิตมันก็ต้าน พอจิตต้านก็เกิดความขัดแย้ง แล้วเด็กก็หันไปหาสิ่งอื่นที่มันชอบ พอมันไม่มาทางฉันทะมันก็ไปทางตัณหาใช่มะ ไปทางเสพ ไปทางอะไรต่างๆ
Q: เป็นปัญหาสังคม
A: อ้า เป็นปัญหาสังคม
Q: ละการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาก็ไม่ได้เรื่องครับ คือแทนที่จะเรียน คือใช้ปัญญา คือการทดสอบ การวิจัย การเห็นสังคมที่เจริญอย่างของสหรัฐ รึว่าของญี่ปุ่น เค้าใช้การวิจัยเป็นหลัก การทดสอบ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่ของไทยนิใช้ระบบท่องจำ คือเรียนกันตามหนังสือ ครูดูหนังสือไปก็สอนเด็กนักเรียนไป ไม่ได้ใช้สมอง
A: ไม่ได้ใช้ความคิด ก็เลยไม่ได้อิทธิบาทเลย
Q: (???35.54) ไม่รู้จะโทษใครดี เป็นผู้ใหญ่ ก็เป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหา
A: ไม่รู้จะโทษอะไร ก็โทษการศึกษา การศึกษาบกพร่อง
Q: ตัวผู้ใหญ่ก็ต้องการอิทธิบาทเหมือนกัน
A: มันก็ตามกันไป หมายความว่าพอผู้ใหญ่ขาดก็ส่งผลต่อเด็ก เพราะว่าพระพุทธศาสนาที่เรารู้จัก ก็เป็นเพียงรู้จักสืบๆกันไป ไม่ได้รู้จักตัวพุทธศาสนาตัวหลักการ ตัวคำสั่งสอนที่แท้ ไม่ค่อยรู้ คำว่าพุทธศาสนาก็เลยหมายถึงว่าจะยกช่อฟ้า ฝังลูกนิมิตอะไรอย่างงั้น
Q: แสดงการศึกษาของสังคมไทยนี้ล้มเหลว
A: ก็ต้องมารื้อฟื้นแก้ไขกันใหม่
Q: ท่านเจ้าคุณครับ คือเมื่อวันศุกร์ ได้ดูหนัง (???37.02) ได้ดูกันทั้งมหาลัย ทั้งรูมเมท (???37.08) ในปัจจุบัน เรามองไปทางไหนเนี่ย ปัญหาของสังคมก็มีเยอะมาก ที่นี้ในฐานะที่พวกเราก็เป็นมนุษย์คนนึงและก็อยากที่จะช่วยเหลือ แต่ทีนี้ในการช่วยเหลือมนุษย์ด้วยกันเนี่ยนะครับ บางคนคือเรามีใจอยากที่จะช่วยแล้วแต่ในขั้นปฏิบัติจริงๆเนี่ย บางทีพอกระทำไปแล้วเนี่ยเรามีฉันทะอยากทำ แต่บางทีเราเกิดท้อน่ะครับ คือทำไปแล้ว อย่างบางคนทำไปแล้วมีพวกที่ไม่เห็นด้วยต่อต้าน ทั้งๆที่ส่วนที่เราทำไปก็เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ด้วยกัน บางคนช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ สละตัวเองแล้วผลที่ได้คือไม่คุ้มอะครับ กลายเป็นว่าเบียดเบียนตัวเองไป แม้กระทั่งวันที่ตัวเองเสีย ยังไม่ได้อยู่ที่ประเทศของตัวเองเลย สิ่งที่เราทำไป เพื่ออะไร ประโยชน์ตัวเองก็ไม่ได้ แต่คือเราเสียสละที่จะทำ คือมีฉันทะแล้ว
A: ก็ดีแล้วอย่างน้อยฉันทะเกิดแล้วล่ะ ได้อันนึงละ แต่ทีนี้ว่าฉันทะเกิดทำไง ฉันทะมากับปัญญา เราได้ปัญญาเบื้องต้นคืออย่างน้อยเรารู้ว่าอะไรมันควรจะเป็นยังไง อันนี้มันได้ปัญญา แต่ทีนี้ปัญญามันควรจะนำฉันทะต่อ ก็คือปัญญาจะต้องมาทำหน้าที่ เดินหน้า มองให้กว้าง ให้เห็นสภาพแวดล้อมว่าที่เราจะกระทำนี้ มันจะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย สภาพแวดล้อมก็เป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญมันเอื้ออำนวยแค่ไหน ถ้ามันไม่เอื้อ มันมีอุปสรรคมีปัญหาที่จะมาขัดขวางเยอะ เราก็ต้องรับรู้ตามความเป็นจริงว่าที่เราจะทำนี่ไม่ง่ายนะ หรืออาจจะไม่สำเร็จก็ได้ เตรียมใจไว้ก่อน ด้วยความรู้เนี่ยมันจะทำให้เราเนี่ยวางใจได้ถูกต้อง อ่าวทีนี้ว่าเราก็ต้องทำ ทำเท่าที่เราทำได้ ทีนี้จะทำยังไงล่ะ ก็มองในแง่นึงก็มันมีวิธีมองหลายอย่าง เราก็มองว่าเราก็เรียนรู้ไปด้วย เราก็ทำไป หาวิธีว่าเรารู้แล้วนี่มันยาก สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออาจจะไม่สำเร็จ แต่เราจะต้องพยายามทำเท่าที่เราทำได้ หนึ่งเราก็เตรียมใจไว้แล้วว่าถ้าไม่สำเร็จก็รู้ตัวไว้แล้ว เราก็ทำด้วยความเห็นว่ามันควรจะเป็นอย่างนั้น ทีนี้พอทำเราก็ได้เรียนรู้ไปว่ามันมีอุปสรรค มีเหตุปัจจัยนี้ เราจะแก้ไขยังไงดี รู้ไปเราก็ได้ฝึกตัวเอง เราก็มองในแง่ว่าจากการที่เราพยายามทำสิ่งนี้นั่นเราได้ฝึกตัวเองไปด้วย ใช่ไหม เราก็พัฒนาตัวเองแล้วมองในแง่นี้ เราฝึกฝนพัฒนาแล้วจะไปมองว่าเรานี่เต็มบริบูรณ์แล้วเราได้เรียนรู้ฝึกฝนตนเองพัฒนาแก้ไขปัญหาไป ต่อไปก็อีกอย่างก็ใช้วิธีแบบพระโพธิสัตว์ก็คือมีปณิธาน พระโพธิสัตว์ก็หมายความว่าเห็นว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีงามควรจะต้องทำก็ตั้งเป้าหมายเด็ดเดี่ยว ต้องพยายามทำให้สำเร็จ อย่างพระโพธิสัตว์นี่แม้แต่สละชีวิตก็ยอม สละด้วยความเต็มใจ ไม่ทุกข์ ก็อาจไม่ต้องถึงขนาดนั้น (40.20)
Q: (??? 40.35) แล้วไม่เป็นการเบียดเบียนตนเอง
A: ถ้าใจมันมองในแง่ฝึกแล้วมันเสียสละใช่มะ ใจมันพร้อม ในแง่หนึ่งก็อาจจะเกินไปบ้าง คือพระโพธิสัตว์นี่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์นี่ยังไม่ใช่คนสมบูรณ์ เมื่อเป็นคนสมบูรณ์ก็อาจจะทำผิดพลาดบ้าง แต่ว่าการที่มุ่งไปในทางทำดีแล้วมีผิดพลาดบ้างเป็นบทเรียนได้พัฒนาตนเองดีกว่าผิดพลาดในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ใช่มะ ก็ทำสิ่งที่ดีงาม ก็อาจจะต้องมีพลาดบ้าง แม้เบียดเบียนตัวเองแต่เวลาที่เบียดเบียนนั้นมันก็มีความที่มองเห็นคุณค่าประโยชน์สิ่งที่ทำมันมาดุลกันอยู่ใช่ไหม มันไม่เสียไปข้างเดียว ถ้าจะให้สมบูรณ์ก็ปัญญามันจะต้องมามองเห็นรอบด้านไปหมด ซึ่งพระโพธิสัตว์ท่านจะยังไม่ถึงขั้นนี้ เช่นว่า ท่านจะทำความดีในระดับของเท่าที่สังคมขนาดนั้นหรือมนุษย์ในยุคนั้นรู้กันว่าดี แต่ว่าท่านจะทำได้มากกว่าเขา หรือยอดเยี่ยมกว่าคนอื่นในสิ่งที่ยอมรับกันว่าดี แต่ว่าสิ่งที่เขายอมรับกันว่าดีนั้นนะท่านทำไปแล้วก็อาจจะผิดก็ได้ เพราะสิ่งที่เขายึดถือมันผิด อย่างพระโพธิสัตว์นี่ไปบำเพ็ญฌานก็ได้อภิญญา ได้อภิญญา 5 ก็เก่งกว่าเขา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านั่นถูกใช่มะ พระโพธิสัตว์ก็ทำดีสูงสุดเท่าที่เขาทำได้ในสิ่งที่ยอมรับกันว่าดีนั้นๆ นี่คือแง่ของพระโพธิสัตว์ที่ว่าทำดีด้วยใจจริงบริสุทธิ์ใจและทำอย่างเต็มกำลังความสามารถได้ยอดเยี่ยมเลย นี่เป็นความดีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งอาจจะทำยิ่งกว่าพระอรหันต์อีกในแง่นี้ แต่เป็นความไม่สมบูรณ์ในแง่ที่ว่าเพราะท่านปัญญาที่ตรัสรู้ยังไม่มี เพราะฉะนั้นการมองสิ่งต่างๆ ก็อาจจะมีแง่ผิด แม้แต่ทำความเพียรในความดีเกินไป ไม่ตรงกับเรื่อง ก็อย่างที่ว่าก็ไปบำเพ็ญฌานสมาบัติพระโพธิสัตว์หลายชาติก็ไปบำเพ็ญได้ฌานสมาบัติไปเกิดในพรหมโลกก็ไปจบแค่นั้น พระโพธิสัตว์ก็เก่งแต่ก็ได้ความดีที่เขายอมรับกันเท่านั้น ก็พัฒนาต่อมาจนเป็นพระพุทธเจ้า เพราะงั้นการมองพระโพธิสัตว์ต้องมองในแง่นี้ด้วย ว่าท่านทำในสิ่งที่เป็นความดีที่คนรู้กันเท่าที่ปัญญาของท่านจะคิดได้ บางครั้งท่านก็เห็นว่าคนนี้เข้าใจความดีนี้ยังไม่ถูก ท่านก็ก็เดินหน้าให้เขาเข้าใจความดีนั้นถูกต้องยิ่งขึ้น แต่ถึงงั้นท่านก็ยังไม่จบสิ้นยังไม่บริสุทธิ์ เพราะงั้นเรื่องพระโพธิสัตว์ก็ยังอยู่แค่ในระดับของมนุษย์ปุถุชน ที่พยายามพัฒนาเต็มที่แต่ว่าเก่งในแง่ของปณิธาน ความเอาจริงเอาจัง ความเสียสละตั้งใจทำความดี แต่ยังพลาดได้เพราะปัญญาไม่เต็มเปี่ยม
Q: พระเดชพระคุณครับ แต่เรื่องนี้ถ้าเราพิจารณาว่าบางครั้งเนี่ยเมื่อถึงคราวเข้าขันธ์หรือว่าอะไรก็ตามแต่ การเสียชีพเพื่อรักษาธรรม ถือเป็นการเบียดเบียนตัวเองมั้ยฮะ
A: ก็ คือถ้าจะถือ ก็ มันก็มีเหตุผลพอไง หมายความว่าเหตุผลที่เราทำเนี่ย เหตุผลนี้มันเหนือกว่า ถึงกะยอมสละได้ใช่ไหม ยอมสละ เพราะงั้นในกรณีนี้ในเมื่อเหตุผลในทางที่ดีมันสูงกว่าก็เลยไม่ถือเป็นการเบียดเบียน ถ้ามองด้วยเหตุผลธรรมดาก็เป็นการเบียดเบียน ก็เหมือนอย่างพระโพธิสัตว์แค่ว่าจะไปช่วยชีวิตคนอื่นและยอมสละชีวิตของตนแค่นี้ถ้ามองในแง่สายตาธรรมดาก็เบียดเบียนตนเอง ถูกมะ แต่ว่าท่านต้องการทำความดี มีเช่นว่า มีเมตตากรุณา กรุณานั้นมันสูงมันแรงมากใช่มะ เราเอาอะไรมาวัด ก็ต้องเอาคุณธรรมนั้นมาวัดใช่ไหมว่าตัวกรุณาเป็นตัวที่ทำให้พ้นจากความหมายที่เป็นการเบียดเบียนตัวเอง ทำเพื่อจุดมุ่งหมายที่ดีงาม
Q: มาถึงจุดนี้ เรามองกลับไปที่สังคม สังคมไทยในปัจจุบันมันขาดที่มุทิตา โดยมากเนี่ยเห็นใครที่ดี ไม่ค่อยมีเจตนาดีทำดีโดยที่ไม่ได้หวังผลครับอาจารย์ แต่พอเค้าเด่นขึ้นมาเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารก็ตามหรือว่าคนทั่วไปก็ตาม ก็จะมีจิตที่อิจฉาริษยาหรือว่าไม่มี (??? นะสิกา 45.25) ไม่รับฟังข้อเสนอ สุดท้ายก็ทำให้คนมีฉันทะ มีวิริยะ มีอิทธิบาทพร้อมก็จะท้อได้ มันก็ต้องใช้คุณธรรมข้ออื่นเข้ามา
A: ก็นั่นแหละ ก็บอกว่านี่แหละเป็นบททดสอบเราไง ใช่ม้า เราต้องมองด้วยปัญญา เห็นสภาพสังคมมันเป็นอย่างงี้ พื้นเพนิสัยของคนทั่วไปค่านิยมเป็นอย่างนี้ เราทำความดีในสภาพสังคมอย่างงี้เราจะต้องยอมรับว่าเราจะต้องเจอกับอุปสรรค เมื่อเจอแล้วเราจะต้องถือเป็นบททดสอบมาเป็นเครื่องพัฒนาตัวเรา แล้วเมื่อมันยากการทำเพื่อจุดหมายที่ดีงามให้สำเร็จ ถ้าทำวิธีนี้ท่านต้องลำบากตัว แต่ถ้าท่านมีปัญญามากขึ้นถ้าจะเห็นวิธีการที่มันดีแยบยลขึ้นที่ทำให้ได้ผลดีทุกฝ่าย ไม่เกิดปัญหาไม่เกิดความลำบากใช่ไหม มันก็ต้องขึ้นกับปัญญาด้วยความสามารถที่จะแก้ปัญหา บางคนแก้ปัญหาเรื่องนี้ แหม ต้องทำด้วยความลำบาก ใช่มะ ต้องเจออุปสรรค ต้องเจอคนต่อต้าน กะอีกคนหนึ่งหรือตัวคนนั้นเองเมื่อพัฒนาความสามารถสติปัญญาไปมากขึ้น มีวิธีการดำเนินการหรือดีลกับเรื่องนี้ดีขึ้น จนกระทั่งเอาไอ้คนที่จะเป็นอุปสรรคมาเป็นมิตร มาเป็นตัวหนุนได้ อันนี้ก็อยู่ที่ว่าพัฒนาตัวเองให้มีปัญญามากขึ้น
Q: พระเดชพระคุณครับ ถ้าในกรณีอย่างนี้เนี่ย เราพูดถึงว่าอิทธิบาท 4 เราต้องใช้สัปปุริสธรรมด้วยหรือเปล่าครับ อย่างบางครั้งเนี่ย
A: อันนี้เรากำลังพูดเฉพาะจุด แน่นอนเลย ธรรมะมันต้องมาด้วยประโยชน์ของสังคมประเทศชาติแท้จริงไหม ก็อยู่ที่อันนี้เป็นสำคัญ คือบางเรื่องนี่เราก็จะพูดตัดสินทันทีได้ยาก ต้องไปให้รู้ดีก็รู้ถึงเจตนา ถ้าเจตนาคนนี่เจตนาดีนะก็ยังไม่พอ ถ้าปัญญาไม่ดีพอก็ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์แม้เจตนาดีก็ทำให้เกิดผลร้าย เพราะฉะนั้นมันจึงต้องควบกันเรื่อยใช่มะ ด้วยเจตนาดีบริสุทธิ์ ไม่ได้คิดร้าย มุ่งสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์ แต่พร้อมกันนั้นปัญญาความรู้เข้าใจก็ต้องพร้อมด้วย ปัญญาจึงต้องพัฒนาอยู่เสมอ ขาดไม่ได้เพราะว่าปัญญาบกพร่องเมื่อไหร่นี่พลาดทันที
Q: (??? 47.58) แล้วองค์ประกอบของปัญญานี่ไม่ทราบว่าจะให้ พระเดชพระคุณแจกแจงตอนนี้หรือว่าควรจะเก็บไว้คราวหน้า
A: ก็คงจะต้องเอาไว้คราวหน้า จะหมายถึงยังไงล่ะ
Q: คือ อย่างปัญญานี่ อย่าง สัมมาทิฏฐิ ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญญาใช่มั้ยครับ
A: อ๋อ ชื่อต่างๆ
Q: ที่จะเป็นองค์ประกอบของคำว่าปัญญา
A: ไม่ใช่องค์ประกอบ เป็นชื่อต่างๆ ของปัญญา หรือปัญญาที่ทำงานในระดับต่างๆ หรือทำงานในด้านโน้นด้านนี้ก็เรียกชื่อไปอย่างนั้นอย่างนี้ ปัญญาที่แสดงออกด้วยอาการอย่างนี้ในเรื่องนี้ เพื่อวัตถุประสงค์แบบนี้ ก็จะมีชื่อเรียกต่างๆกัน ปัญญาก็เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องนึง วันนี้เดี๋ยวจะเลยเวลาไปมาก
Q: ในกรณีที่บางครั้ง (??? 48.48) เราได้อิทธิบาทไปแล้วเนี่ย ถ้ายังไม่สำเร็จในช่วงนั้นๆ ถ้าเราไม่ท้อ เราก็ต้องรอเวลาที่เหมาะสมใช่มั้ยครับ ในการที่จะทำสิ่งนั้น ให้บรรลุเป้าหมาย
A: ก็คือ บางครั้งอาจจะต้องรอ บางครั้งก็ทำให้เกิดความพร้อมด้วยการสร้างความพร้อมขึ้นมา ยกตัวอย่างง่ายๆ เหมือนอย่างคนที่เรียนนี่ คนที่ปฏิบัติธรรม เขายังมีอินทรีย์ไม่แก่กล้าพอ เรียกสมัยนี้ว่ายังไม่พร้อม ยังขาดความพร้อม อ้าวที่นี้ทำไงล่ะจะให้เค้าพร้อม เพราะถ้าเค้าไม่พร้อมก็ไม่ได้ผล ถ้าจะให้เค้าพร้อมก็ต้องรอสิใช่มั้ย ถ้าไม่รอทำไง พยายามทำให้เขาพร้อม ก็มีสองวิธี ก็เอาเป็นว่าต้องให้เขาพร้อมแหละ รอให้เขาพร้อมเองหรือเราจะพยายามทำให้เขาพร้อม บางทีก็ต้องประยุกต์ทั้งสองข้อ อย่างพระพุทธเจ้าจะทรงใช้วิธีว่าอ้าวดูว่าคนนี้ยังไม่พร้อม อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็บ่มอินทรีย์เลย บ่มอินทรีย์หมายความว่าทำให้มันพร้อมสิทีนี้ ก็หาวิธีการมาทำให้เขาเข้าถึงความพร้อมนั้น แต่ตกลงก็คือว่าต้องพยายามให้เขาพร้อมก่อน จะรอให้เป็นไปเองหรือจะพยายามทำให้เขาพร้อม (Q: ก็ขึ้นกับปัญญาด้วย?) ที่นี้ก็ต้องขึ้นกับปัญญาของผู้ที่จะไปสอนเขาด้วยสิใช่มั้ย ว่าจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสร้างความพร้อม พระพุทธเจ้าก็จะมีวิธีการที่จะทำให้คนพร้อมซึ่งเป็นการปฏิบัติแต่ละบุคคล เพราะแต่ละบุคคลนี่มันมีปัจจัยของตัวเองไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็ต้องก็รู้ว่าอ้าวคนนี้เป็นยังไง พื้นเพเป็นยังไง มีจริตอัธยาศัยยังไง ทำไงจะให้เขาพร้อมขึ้นมาได้ ก็จึงมีธรรมะบางหมวดที่เรียกว่า ธรรมะเป็นเครื่องบ่มอินทรีย์ ก็ช่วยบ่มอินทรีย์ที่ยังไม่พร้อมให้มันพร้อมขึ้นมา