แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
แบบนับกับแบบพุทโธ ใครถูกกันกับแบบไหนมากกว่า เพราะว่าหนึ่งก็สบาย สองก็จิตดิ่ง?? ถามไปสองแง่ว่าถูกกับแบบพุทโธหรือว่าแบบไหน พุทโธถูกกว่า (สามเณรตอบ “พุทโธถูกกว่า”) พุทธถูกกว่า สบายกว่าด้วย เณรอนุรักษ์ล่ะ (สามเณรตอบ “ชอบแบบนับครับ”) ถูกกับนับมากกว่า สบายด้วย (สามเณรตอบ “ครับ มีที่พุทโธ นับมาแล้ว จิตไม่ค่อยอยู่) แบบพุทโธ จิตไม่ค่อยอยู่ คอยจะฟุ้งไปเรื่อย นับดีกว่า (สามเณรตอบ “นับดีกว่า”) มันสบาย (สามเณรตอบ “สบายกว่าครับ”) เอ่านี้เห็นไหม ไม่เหมือนกันแล้ว เรื่องนี้มันไม่แน่ ถูกกันกับแบบไหนก็แปลว่าคนแต่ละคนไป เณรต้นล่ะ (สามเณรตอบ “???”) พุทโธมากกว่า (สามเณรตอบ “นิ่งกว่าครับ จิตสบายกว่า ไม่เครียด”) อ๋อไม่เครียด จิตสบาย แล้วก็อยู่ด้วยใช่ไหม ไม่ค่อยหนีไปไหน (สามเณรตอบ “ไม่หนีไปไหน นับได้เจ็ดแล้ว อ้าวมาอีกทีก็???”) ไปเลย อ้าวเออนี่เห็นไหม เณรสามองค์ เป็นแบบพุทโธสอง นับหนึ่ง ทีนี้เณรเต็มล่ะครับ ไม่ชอบพุทโธเหมือนกัน (สามเณรตอบ “ถ้าเวลานับตัวเลข จะคอยเอาจิตใจไปอยู่กับตัวเลข ฟุ้งซ่าน”) ฟุ้งซ่านเหรอ เออ พุทโธก็เลยสบายดี เณรเต็ม เวลาพุทโธแล้วไม่คิดอะไร เออก็ดี นี่ก็เป็นอันว่าเนี่ยได้ทดลองทั้งสองแบบ เพื่อจะดูว่าใครถูกกับแบบไหน ในสี่องค์นี่ก็ถูกกับแบบพุทโธสาม องค์ ถูกกับนับหนึ่งองค์ ทีนี้ก็ต่อไปนี้จะให้ใช้แบบที่ถนัด ใครถนัดแบบพุทโธ ก็พุทโธ ใครถนัดแบบนับ ก็แบบนับ ตอนนี้ก็เอาแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ก่อน ก็ต้องใช้เวลา แต่ว่าการที่ตรวจสอบตัวเองได้ว่าถูกกับแบบไหน นี่ก็เป็นขั้นที่ทำให้เราก้าวหน้าไปได้ อ้าวทีนี้ก็จะคุยกันต่อนิดหนึ่ง เช้าคุยกันเรื่องสังฆะหรือพระสงฆ์ไปแล้ว สาระสำคัญก็บอกว่าสังฆะหรือสงฆ์นี่เป็นสังคมที่มีความหมายพิเศษ คือสังคมของคนที่ฝึกฝนพัฒนาตน คนที่ประพฤติตามธรรมะ ทีนี้ก็ลักษณะสำคัญก็คือคนที่อยู่ในสังฆะหรือสังคม หนึ่งเป็นกัลยาณมิตรต่อกันนะ เป็นมิตรที่ดีต่อกัน โดยธรรมสังคหะสี่อย่างที่เรียนไปแล้ว แล้วก็มีวินัย แล้วก็มีสามัคคี หนึ่งเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน เป็นสังคหวัตถุ สองมีวินัย สามสามัคคี มีแค่นี้นี่คิดว่าสังคมพอจะอยู่สงบสุขไหม เณรวุฒิว่ายังไง พอไหม พอนะ แค่นี้ก็สบายแล้ว ไม่ยุ่ง ไม่วุ่งวายแล้ว อยู่กันได้ ช่วยเหลือกันดี เณรอนุรักษณ์ว่าไง (สามเณรตอบ “พอครับ”) พอ เณรเสน เณรต้น พอนะ เณรเต็มล่ะว่าไง พอไหมครับ (สามเณรตอบ”นึกดูก่อน”) นึกดูก่อน หนึ่งก็เป็นมิตรดีต่อกัน แล้วช่วยเหลือกัน มีทานแบ่งปันกัน ปิยะวาจาก็พูดจริง พูดเป็นประโยชน์ต่อกัน แล้วก็สามก็อัตถจริยา เอาแรง เอาเรี่ยวแรงกำลังกายมาช่วยเหลือกัน บริการกัน แล้วก็สมานัตตตาก็วางตัวพอดี ไม่ถือเนื้อถือตัวกัน เข้ากันได้ แล้วมีวินัย อยู่ในระเบียบเรียบร้อยด้วย ไม่ฝ่าฝืน ไม่ทำให้สังคมสับสน เราต้องสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ช่วยกันทำการต่าง ๆ ไม่พอเหรอแค่นี้ พอเลย เณรเต็มบอกว่าพอ นี่แหละแค่นี้ก็สบายแล้ว สังคมก็มีความสงบสุข แล้วเราคิดดูว่าแค่หลักแค่นี้ ไม่ต้องมาก เอาล่ะทีนี้ แค่นี้สำหรับอยู่ร่วมกันเป็นสุข แต่ทีนี้สำหรับคนที่อยู่ในสังฆะนี่ ยังไม่หยุดแค่นี้ ไม่พอใจแค่นี้ เพราะต้องการพัฒนาตัว สังคมของคนที่พัฒนาตัว เรามีพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง พัฒนาตัวได้สมบูรณ์แล้ว เราก็พัฒนาตัวตามแบบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีคุณสามประการ มีอะไรบ้าง ทวนหน่อยสามประการ หนึ่งปัญญาคุณ สองวิสุทธิคุณ สามกรุณาคุณ หรือมหากรุณาคุณ หรือมหากรุณาธิคุณก็ได้ เรียกสั้น ๆ ก็แค่กรุณาคุณ สามอย่างเนี้ย เมื่อเราต้องตามท่านเป็นแบบอย่าง เราก็ต้องพยายามฝึกตัวให้มีปัญญา มีความบริสุทธิ์ มีกรุณา ฉะนั้นเราก็เลยไม่หยุดอยู่แค่อยู่ร่วมกันเป็นสุข ทว่าแค่กัลยาณมิตร วินัย สามัคคี เราไม่หยุดแค่นั้น แต่ว่าการที่เรามีกัลยาณมิตร มีวินัย สามัคคี เนี่ยทำให้เราสะดวกที่จะพัฒนาตัวเรา เพราะไม่อย่างนั้นเราก็ทำอะไรไม่ได้ มัวทะเลาะกัน มัวแต่เบียดเบียนกัน ไปไหนก็ระแวง ไม่เป็นสุข จะไปค้นคว้าตำรับตำรา สมมติว่าเดินทางไปที่แห่งหนึ่ง เราจะไปหาความรู้ เราก็ต้องกลัวว่าเอ๊ะระหว่างทางจะมีใครมาดัก แย่ง ชิง ตีหัวเราหรือเปล่าอะไรอย่างนี้ ไม่แน่ใจ บางแห่งก็ไปไม่ได้ ถ้าสังคมมีสามอย่าง ต้นสบายแล้ว ทีนี้ก็ต่อจากนั้นเราก็มาพัฒนา ฝึกฝนตนยิ่งขึ้นไปในเรื่องปัญญา หาความรู้ความเข้าใจให้เกิดความคิด เข้าใจสิ่งต่าง ๆ เข้าถึงความจริง แล้วก็วิสุทธินี้หมายถึงว่ามีความบริสุทธิ์ของจิตใจจากกิเลส แล้วก็พ้นจากความทุกข์ด้วยจิตใจที่วิสุทธินี่ ไม่ได้บริสุทธิ์จากความชั่วอย่างเดียว แต่หมายถึงว่าบริสุทธิ์จากสิ่งเศร้าหมองรบกวน ที่ทำให้จิตใจไม่สบาย บริสุทธิ์จากสิ่งรบกวนที่ทำให้ไม่สบาย เราก็สบายมีความสุข แล้วก็มีกรุณา ก็มีความคิดช่วยเหลือกัน ก็ยิ่งมาส่งเสริมให้เขาอยู่ร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น แต่ตอนนั้นมันไม่ใช่แค่อยู่ร่วมกันเป็นสุข แต่เราจะเป็นผู้บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นเต็มที่เอง เห็นไหมว่าตอนนี้ตั้งความมุ่งหมายที่จะไปทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นเต็มที่ ไม่มุ่งเพื่อประโยชน์ตัวแล้ว อย่างพระพุทธเจ้านี่ไม่ทำอะไรเพื่อประโยชน์ตัว เพราะว่ามุ่งแต่คิดว่าใครควรจะแก้ปัญหาอย่างไร มีใครประสบปัญหาบ้าง วันนี้จะไปช่วยแก้ปัญหาให้ใคร จะต้องพิจารณาตั้งแต่เช้า พระพุทธเจ้านี่กิจวัตรสำคัญ ตื่นเช้านี่ก็ต้องพิจารณาแล้ว ท่านเรียกว่าเล็งญาณ วันนี้ควรจะไปพบใคร ช่วยเหลือใคร ใครมีปัญหา แก้ปัญหาอย่างไร เพราะฉะนั้นนี่ก็คือลักษณะที่เราจะต้องพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้นไป ตกลงว่าในสังคมที่เป็นสังฆะนั้น ที่เป็นสังฆะนี่ คนทุกคนนี่จะต้องประพฤติตามธรรมะ และก็ฝึกฝนพัฒนาตนยิ่งขึ้นไป ตั้งแต่ระดับที่อยู่ร่วมกันด้วยดีให้ทุกคนมีความสงบสุข แล้วต่อจากนั้นแต่ละคนก็พัฒนาตัวให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบพระพุทธเจ้า ครบแล้ว พระพุทธะ พระธรรมะ พระสังฆะ สามอย่างนี่เราเรียกพระรัตนตรัย วันนี้เอาความหมายพระรัตนตรัยสักนิดหน่อย พอเริ่มต้น “รัตนะ” ก็แปลว่าแก้ว แล้วก็ “ตรัย” ก็แปลว่าสาม “รัตนตรัย” ก็แปลว่าแก้วสาม แต่ว่าจะเรียกรวม ๆ “แก้วสามดวง” คำว่าแก้วคำในที่นี้ไม่ใช่หมายความว่าแก้วน้ำอย่างนี้นะ คำว่าแก้วเป็นคำโบราณ หมายถึงสิ่งที่มีค่า สิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งเลย เขาเรียกรัตนะ แก้วพวกนี้คือพวกเพชรนิลจินดา สมัยก่อนนี้เขาเรียนกันมาว่ามีแก้วเจ็ดประการ “สัตตะรัตนะ” แก้วเจ็ดประการนี้มีค่ามาก ใครเคยได้ยินมั่ง แก้วเจ็ดประการ หรือสัตตะรัตนะ (สามเณรตอบ “ทับทิม”) ได้ทับทิมหนึ่งแล้ว ใครได้อื่นบ้าง เพชรได้อีกหนึ่ง อ้าวใคร เณรเต็มมีบ้างไหม รัตนะหรือแก้วสำคัญมีอะไรบ้าง ในเจ็ด มรกต อัญมณีก็มณี มณีเป็นคำรวม อ้าวเณรวุฒิมีอะไรบ้างไหม (สามเณรตอบ “นึกอยู่”) กำลังนึกอยู่ พลอย พลอยนี่ยังไม่ถึงขั้น อ้าวจะว่าเป็นคำเก่า ก็ว่าคล้องจองเลยนะ ก็มี “เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ สังวาลย์สายไพฑูรย์” จบเจ็ดประการ ก็ในนี้จะบอกสีหมดเลย ใช่ไหม เพชรดีนี่เขาไม่บอกสี เพราะเพชรนี่บอกสีไม่ถูก แล้วก็มณีแดง มณีนี่สีแดง เขียวใสแสงมรกต มรกตสีเขียว เหลืองใสสดบุษราคัม บุษราคัมเหลือง แดงแก่ก่ำโกเมนเอก โกเมนนี่ก็เป็นรัตนะชนิดหนึ่ง โกเมนสีอะไร (สามเณรตอบ “แดงเข้ม”) แดงเข้ม แดงแก่ แดงก่ำ แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ นิล นิลสีดำ สีคล้ำ สีหมอกเมฆ แล้วก็สังวาลย์สายไพฑูรย์ ไพฑูรย์เป็นริ้วแสง อันนี้ก็ไม่รู้จักเหมือนกัน ใครเคยเห็นไพฑูลย์บ้าง มีคนเอามาตั้งชื่อกันเยอะใช่ไหม ชื่อไพฑูลย์ ก็นี่แหละแก้วเจ็ดประการ นี่คือสิ่งที่มีค่านั่นเอง อย่างเพชรเนี่ยโอ้โหราคาตั้งเท่าไหร่ ใช่ไหม เนี่ยรัตนะหมายถึงสิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่มีค่าอย่างสูง ทีนี้ตามปกติเนี่ย เอาอะไรเป็นเครื่องกำหนดค่า ค่ามีความหมายว่าอย่างไร สิ่งมีค่าหมายความว่าอย่างไร (สามเณรตอบ “???”) นั่นแหละมันมีค่าเพราะอะไร ทำไมถึงเรียกว่าเป็นสิ่งมีค่า (สามเณรตอบ “สวยงาม”) ไม่ใช่ สวยงาม สวยงามก็เป็นลักษณะหนึ่งที่อาจจะทำให้มีค่า เป็นต้วเหตุที่ทำให้มีค่า แต่ไม่ใช่ความหมาย ความหมายว่ามีค่าคืออะไร สวยงามนี่ทำให้มีค่า แต่ไอ้ตัวความมีค่าคืออะไร คนกำหนดก็ใช่แหละ คนกำหนด เพราะอะไรจึงกำหนด เพราะมันเป็นยังไง มันมีความหมายอย่างไรแก่เรา ถึงได้กำหนดให้มันมีค่า อยู่ดี ๆ ไปกำหนดมีค่า นี่ใช่ไหม ถึงเราไปกำหนดบางอย่าง คนเขาก็ไม่ยอมให้มีค่าขึ้นมา ถูกไหม เอาของถูกมาวาง บอกนี่มีค่า คนอื่นไม่เอาด้วย (สามเณรตอบ “ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง”) คำว่าประโยชน์นี่สำคัญคำนี้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ตามปกติเนี่ยสิ่งที่มีค่า ก็คือมีประโยชน์ เรามักจะถือเอาประโยชน์ของมัน แต่ว่าบางอย่างเนี่ยมันเป็นประโยชน์แก่ชีวิตจริงก็มี บางอย่างก็ไม่เป็นประโยชน์จริงแก่ชีวิต ของบางอย่างนี่กินไม่ได้ เอาไปใช้อะไรก็ไม่ได้ ไม่จำเป็นกับชีวิตสักหน่อย เราเห็นเป็นประโยชน์เพราะว่าสวยงามเป็นต้น เอามาประดับตกแต่งเป็นพวกรัตนะเหล่านี้ ใช่ไหม มีค่าที่มันเป็นประโยชน์ในแง่ที่ว่ามันสวยงาม ทำให้เราเอาไปอวดกันได้ ทำให้เราสวยงามตกแต่ง หรูหราอะไรก็ตาม ประโยชน์แบบนี้เป็นประโยชน์ที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต แต่มีประโยชน์บางอย่างที่จำเป็นต่อชีวิต อย่างอาหารนี่เป็นประโยชน์ชนิดจำเป็นหรือไม่จำเป็น จำเป็นนะ แต่อาหารก็ยังมีแยกอีก อาหารบางอย่างก็เพียงเสริมรสให้อร่อยเฉย ๆ ใช่ไหม แต่อาหารบางอย่างนี่จำเป็นมีคุณค่าต่อชีวิต เพราะฉะนั้นจึงแยกค่าเป็นสองอย่าง ค่าที่แท้จริงที่จำเป็นต่อชีวิต ทำให้ชีวิตนี่เจริญ อยู่ได้ดี มีความสุข มีความสุขภาพสมบูรณ์เป็นต้น แต่ว่าค่าบางอย่างเป็นค่าที่ไม่แท้จริง คือมนุษย์ชอบใจมันว่าอย่างนั้นเถอะ ค่าอยู่ที่ความชอบ มันช่วยให้เราได้สบายใจอะไรต่ออะไร แต่มันไม่ได้จำเป็นแก่ชีวิตก็มี ค่านั้นอยู่ที่ชอบ บางอย่างค่าไม่ได้อยู่ที่ชอบ ทีนี้ประโยชน์ บางทีเราไม่ชอบก็มี บางอย่างมีประโยชน์ยังไม่ชอบเลยใช่ไหม ไม่ชอบใจ มีใช่ไหม เสร็จแล้ว อันไหนเป็นค่าที่แท้จริง ค่าที่ว่าจำเป็นต่อชีวิต กับค่าที่ว่าชอบใจเท่านั้น อันไหนเป็นค่าที่แท้จริง ค่าที่แท้จริงจำเป็นต่อชีวิตเนี่ย ทีนี้เอาละ เป็นอันว่าอันที่หนึ่งเราต้องแยก ค่าที่เพียงแต่ชอบใจซึ่งไม่จำเป็นต่อชีวิต อันนี้เราตัดไปได้ว่าเป็นขั้นที่ต่ำสุด ทีนี้ค่าที่จำเป็นต่อชีวิตก็ยังแบ่งได้หลายขั้น ประโยชน์แก่ชีวิตนี่ ทำให้เราใช้สอยได้ โต๊ะ เก้าอี้ อะไรต่าง ๆ นั้นมีค่าในแง่เป็นประโยชน์ใช้สอย แต่มันก็เป็นเรื่องเฉพาะ ๆ แต่ทีนี้ทำไมเรียกพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่ามีค่า เป็นสิ่งที่มีค่ามาก จนเราเคารพนับถือ เชื่อถือมาก เพราะมันทำให้ชีวิตของเราเจริญงอกงามอย่างแท้จริง นำพาชีวิตไป ถ้าเราเอามาใช้ประโยชน์ เราเอามาถือตามแล้วเนี่ย มันเป็นคุณค่าแก่ชีวิต ทำให้ชีวิตมีความก้าวหน้าเจริญ ทำให้ชีวิตสมบูรณ์ ทำให้เราเป็นบุคคลที่ดีงาม มันมีค่าเหนือกว่าใด ๆ อีก เพราะสิ่งที่ใช้สอยต่าง ๆ มันก็เสร็จแล้วก็แล้วไป ใช้เฉพาะเรื่องนั้น ๆ แต่ว่ามันไม่ได้นำทางชีวิตเราให้เราเจริญก้าวหน้า เราต้องการชีวิตที่เป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ ที่พัฒนาแล้วอะไรต่าง ๆ บุคคลที่มีปัญญาอย่างพระพุทธเจ้า เราได้รับคำสอน เอาคำสอนของพระองค์มาใช้ประโยชน์ได้ ธรรมะนี่เป็นหลักการที่เป็นความจริง จะมีอะไรมีค่ายิ่งไปกว่าความจริง ใช่ไหม และความดีงามที่สอดคล้องกับความจริง และสังคมที่ดีงามที่สุดเนี่ย เป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่งแล้ว ทำให้เราอยู่ได้ร่มเย็นเป็นสุข เพราะฉะนั้นนี่เป็นสิ่งที่มีค่าที่แท้จริง ที่เราควรจะเอามานับถือตามเป็นหลักในการดำเนินชีวิต แล้วก็พยายามสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสิ่งมีค่า เป็นรัตนะที่เราเชิดชู สำหรับพุทธศาสนิกชน หรือมนุษย์ทุกคนก็ควรจะนับถือสิ่งมีค่านี้ พอจะเข้าใจนะ ทีนี้เอาละเพราะเหตุนี้จึงเรียกว่าเป็นพระรัตนตรัย แปลว่าแก้วสามดวง คือสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งสามประการ ทีนี้เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไตรสรณะ เคยได้ยินไหม ไตรสรณะเคยได้ยินไหมเณรวุฒิ (สามเณรตอบ “ไม่เคย”) ไม่เคยเหรอ เณรต้นเคยได้ยินไหม ไตรสรณะ อย่างเวลาเราสวดมนต์ หรือเวลาบวชเณรเนี่ย พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ มีพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ พระธรรมเป็นสรณะ พระสงฆ์เป็นสรณะ ก็คือไตรสรณะ
เพราะไตรแปลว่าสาม สรณะก็คือ สรณะที่ว่า สรณะสาม ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นี่คือสรณะสาม ถ้าเสร็จแล้วก็อันเดียวกับพระรัตนตรัยนั่นแหละ สรณะสามก็คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แต่สรณะนั้นคืออะไร ทำไมจึงเรียกพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เมื่อกี้เรียกเป็นรัตนะ เราก็รู้แล้วว่าเขามีค่า ทีนี้เรียกว่าสรณะเพราะอะไร ใครทราบบ้าง ทำไมเรียกสรณะ สรณะแปลว่าอะไร ใครเคยได้ยินบ้างสรณะแต่ละอัน นี่แหละคำนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราถีงนึกว่าพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ พระธรรมเป็นสรณะ พระสงฆ์เป็นสรณะ แต่เรานึกไม่ออกว่าความหมายยังไง แสดงว่าเราจะต้องเรียนให้รู้แน่ ๆ เอาละสรณะที่แปลกันทั่วไปแปลว่าที่พึ่ง สรณะเป็นที่พึ่ง แต่แปลอีกอย่างตรงศัพท์ทีเดียวแปลว่า ที่ระลึก หมายความว่าเป็นสิ่งที่เราควรจะระลึกถึงหรือเป็นที่ระลึกไว้ในใจอยู่เสมอ เพราะว่าเรานับถือใช่ไหม พอเรานับถือ เราก็ต้องระลึกถึงบ่อย ๆ เพื่อจะเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ การใช้ให้เป็นประโยชน์ก็คือว่า อ้อเราระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่ามีพระคุณอย่างนี้ เราจะปฏิบัติตาม เราจะฝึกตน พระพุทธเจ้าเตือนใจให้เรารู้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ ประเสริฐได้โดยการฝึกฝนพัฒนาตนเอง ฝึกแล้วจะประเสริฐอย่างยิ่ง เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ได้ เพราะฉะนั้นก็ระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐ จะได้เป็นชุมชนที่เรียกว่าสังฆะที่มีตัวอย่างว่าอย่างนั้น ก็ระลึกถึงเสมอแล้วเราจะได้ประพฤติปฏิบัติตามได้ถูกต้อง เพราะฉะนั้นก็เลยแปลว่าสรณะ แปลว่าที่ระลึก ระลึกแล้วก็เป็นที่พึ่ง คือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จิตใจของเราก็ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็จะให้ห่างจากสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหลาย จะทำให้เราพ้นจากสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ทำให้เรามีชีวิตที่เจริญงอกงามก้าวหน้าพัฒนายิ่งขึ้นไป ถ้าเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อยู่เสมอ แล้วใจเราก็ห่างจากเรื่องชั่วร้ายทั้งหมด แล้วเราก็เจริญก้าวหน้าต่อไป เพราะฉะนั้นเท่ากับเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนียวของเรา เอาละเป็นอันว่าสรณะนี่แปลว่าที่ระลึก ที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยว เราก็เอารัตนะสามนั่นเองมาเป็นสรณะของเรา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เรียกว่ารัตนตรัย แปลว่าแก้วสามประการ เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งมีค่า เรียกว่าไตรสรณะเพราะเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจสามประการ ถ้าเขาถามว่าทำไมเรียกพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นรัตนะตรัย เราก็อธิบายได้ ทำไมเรียกเป็นไตรสรณะ ก็อธิบายได้ ก็เป็นอันว่านี่คือเรื่องพระรัตนตรัยโดยย่อ ก็จะได้เข้าใจเรื่องราวเพราะว่าเรานับถือพระพุทธศาสนานี่เริ่มต้นเราก็ต้องรู้จักพระรัตนตรัย เณรมีข้อสงสัยอะไรไหม เท่าที่อธิบายมา (สามเณรตอบ “ไม่มีครับ”) ไม่มีเข้าใจชัดเจน ต่อไปถามแล้วต้องตอบได้เลยนะ เข้าใจชัดเจน เณรอนุรักษ์ เณรต้น เณรเต็มมีข้อสงสัยอะไรไหมครับ (สามเณรตอบ “ไม่มีครับ”) ไม่มีนะ เณรต้นก็ยังไม่มี เณรเต็มมีไหมครับ (สามเณรตอบ “ไม่มี”) เณรเต็มชอบสงสัยเก่งนะ มีคำถามเยอะวันนี้ไม่มีคำถาม ไหนโดนยุงกัดเลยไม่มีคำถาม อ้าวไม่เป็นไร วันนี้เอาเท่านี้ก่อน ไปคิดต่อไปหลังจากนี้มีอะไรสงสัยมาถามใหม่ได้ เฉพาะวันนี้ก็พอสมควรแล้ว