แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ที่ทำให้เค้าไปใช้ แต่ถ้าความรู้มันเป็นของกลางๆ มันก็ยังมีเหตุผลในการที่ปฏิเสธความรับผิดชอบ เพราะความรู้ความจริงมันเป็นของกลางๆหนิ ใครจะไปใช้อย่างไรมันก็เป็นเรื่องของผู้ใช้ต้องรับผิดชอบเอา ทีนี้วิทยาศาสตร์ล้วนๆ ที่บริสุทธิ์นั้นก็เป็นอันว่าไม่เกี่ยวกับคุณค่า ไม่เกี่ยวกับตัวประโยชน์ เป็นอันว่าเราย้ำว่าวิทยาศาสตร์เป็นการหาตัวความรู้ความจริงของธรรมชาติอย่างเดียวล้วนๆ ทีนี้ก็พอเราจับประเด็นได้อย่างนี้แล้ว เราก็มาดูว่าวิทยาศาสตร์ที่เป็นตัวความรู้นั้นมีพัฒนาการเจริญก้าวหน้ามาอย่างไร ก็จะขอสรุปพัฒนาการของวิทยาศาสตร์เป็น 4 ยุคด้วยกัน การสรุปอย่างนี้ก็เป็นการประมวลจากแนวความคิดของวงการวิทยาศาสตร์ และวงการที่เกี่ยวข้องในทางวิชาการของตะวันตกเอง เพราะอะไร เพราะว่าวิทยาศาสตร์นั้นเราถือว่าเจริญขึ้นมาในโลกฝ่ายตะวันตก นั้นเวลามองเขาเราต้องยอมรับทางที่เขาว่าของเขาเองด้วย ว่าเขาเจริญมาอย่างไร เราก็มองไปที่โลกตะวันตกนั้น นี้เวลาแบ่งพัฒนาการวิทยาศาสตร์เป็น 4 ยุคนั้นก็ ยุคที่ 1 เป็นยุคก่อนวิทยาศาสตร์ แล้วก็อีก 3 ยุคเป็นยุคของวิทยาศาสตร์แท้ ก็หมายความว่าตัวการพัฒนาการของวิทยาศาสตร์นั้นมี 3 ยุค ก็เริ่มมาจากยุคที่ 1 ยุคที่ 1 ก็คือยุคก่อนวิทยาศาสตร์ เป็นยุคของการหาความรู้ในรูปของศาสนาเป็นหลัก นี่เห็นมั๊ยศาสนาเข้ามาแล้ว ก่อนที่วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นตัวผู้ให้ความรู้แก่มนุษย์นั้นหลักอยู่ที่ สำคัญอยู่ที่ศาสนา มนุษย์ได้มองเห็นเป็นภาพ เช่น ภาพเทวดา เทพเจ้าหรือ God อยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์ของธรรมชาติ มีเทวดาองค์นั้นนำพายุมา นำลมมา มีเทวดาองค์นี้อยู่ในน้ำ เทวดาองค์นี้อยู่เบื้องหลังฟ้าผ่า เมฆอะไรต่างๆอะไรทำนองนี้ นี่ก็คือนี่ก็เป็นความเชื่อถือที่เราเรียกว่าศาสนา แล้วก็เพราะวิทยาศาสตร์เจริญมาในตะวันตก เราก็ต้องดูศาสนาตะวันตกว่าเจริญมาอย่างไรที่เป็นภูมิหลังของพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ เราต้องมองด้วยถึงความสัมพันธ์อันนี้ว่าความคิดในทางศาสนานั้นเป็นภูมิหลังในพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ นี้เรามองดูศาสนาตะวันตกได้พัฒนาการมาถึงจุดที่ว่าได้ถือว่ามนุษย์นั้นได้ถูกสร้างขึ้นให้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นเจ้าครอบครองครอบงำธรรมชาติ สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่นั้นก็มีเพียงโลกมนุษย์นี้กับฟากฟ้า ที่แวดล้อมเท่านั้น หมายความว่าโลกมนุษย์นี้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ศูนย์กลางของสิ่งทั้งหลาย เอาละนะ 1 มีแค่โลกมนุษย์นี้ที่สำคัญ โลกมนุษย์นี้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แล้วก็ในโลกมนุษย์นี้ผู้ที่เป็นใหญ่ พระเจ้าสร้างให้ครอบครองก็คือว่ามนุษย์นี้ นั้นมนุษย์นี้ยิ่งใหญ่ มีแผนกำหนดมาจากองค์พระเป็นเจ้าให้มาครอบครองธรรมชาติ ธรรมชาติถูกสร้างให้มารับใช้มนุษย์ นี่เป็นแนวโลกทัศน์ เค้าเรียกว่า Worldview หรือว่าโลกทัศน์ของตะวันตก อารยธรรมตะวันตกก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์เกิดขึ้น อันนี้จะต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจน หรือจะเรียกว่าภาพจักรวาล หรือ cosmology ของตะวันตกก็ได้ เรื่องนี้สำคัญ นี่ก็คือการมองธรรมชาติหรือการมอง nature แล้วต่อนี้ก็คือว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลาง แล้วก็มีธรรมชาติเป็นตัวแวดล้อมและเป็นข้าทาสรับใช้ ถ้ามองใช้คำที่แรงหน่อย เอาละนี่ยุคที่ 1 นี้ต่อไปยุคที่ 2 เริ่มเกิดวิทยาศาสตร์ขึ้นมา เราก็จับไปดูที่การมองภาพธรรมชาติทั้งหมดโดยรวมที่เรียกว่าภาพจักรวาล cosmology ว่าเป็นอย่างไร แล้วก็ทำให้เกิด worldview ขึ้นในจิตใจมนุษย์ พัฒนาการวิทยาศาสตร์นี่มันออกมาสู่เรื่องชีวิตจิตใจมนุษย์ มันไม่ได้อยู่ที่ fact นะ อ้าวทีนี้ตอนนี้เราเค้าเรียกว่ายุค worldview หรือ cosmology ภาพจักรวาลแบบ Copernicus อันนี้ยุคที่ 1 ของความเจริญของวิทยาศาสตร์ จะเรียกว่า Copernican Revolution ก็ได้ เป็นการปฏิวัติความคิดในสมัยของ Copernicus ก็ถือว่าค้นพบความจริงแล้วพลิกความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ใหม่ ตอนที่ Copernicus ค้นพบนี้ก็มองเป็นว่ามนุษย์และโลกนี้ไม่ใช่เป็นศูนย์กลางของจักรวาลเลย แต่ในทางตรงข้าม โลกเองก็เป็นเพียงบริวารหมุนรอบดวงอาทิตย์ เป็นเพียงดาวดวงหนึ่งเล็กๆ แสนจะเล็กด้วยซ้ำ แล้วมนุษย์นี้ยิ่งเป็นตัวกระจิริดกระจ้อยร่อย อาศัยอยู่ในจุดเล็กๆ คือโลกนี้ ในจักรวาลอันมหาศาล นี่พลิกกลับเลย นี่คือภาพจักรวาลและโลกทัศน์ที่เปลี่ยนไปอย่างพลิกตรงข้าม นี่วิทยาศาสตร์ในยุคที่ 1 แล้วเราจะไปดูผลอีกทีว่าแล้วมันเกิดอะไรขึ้นมาแก่มนุษย์ แต่เรายังไม่พูดตอนนี้ ตอนนี้เรามาดูว่าพัฒนาการวิทยาศาสตร์ยังต่อไปอีก ต่อไปสู่ยุคที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 2 ของพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เกิดระยะที่เขาใช้คำว่า Cartesian Newtonian Cosmology คือเป็นภาพจักรวาลแบบของเดการ์ตและนิวตัน เดการ์ตนั้นเป็นนักปรัชญาแต่เค้าถือว่าเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์ด้วย แล้วก็นิวตันนั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนวิทยาศาสตร์ทุกคนคิดว่ารู้จัก โดยเฉพาะเราจะรู้จักกันดี ที่กฎแห่งความโน้มถ่วง หรือความดึงดูดอะไรทำนองนี้ นิวตันนี้มีความสำคัญมาก เราถือว่าเป็นผู้ที่สร้างแนวความคิดวิทยาศาสตร์ในยุคที่ 2 แต่ก่อนนิวตันนั้น ผู้ที่เริ่มมาก่อนก็คือนักปรัชญาที่ชื่อว่าเดการ์ตนั้น อันนี้ภาพจักรวาลและการมองธรรมชาติ ภาพความจริงในยุคที่ 2 ของวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคที่ 3 ในพัฒนานี้เป็นอย่างไร คือมนุษย์ได้ค้นพบความจริงของธรรมชาติมากขึ้น แล้วก็ได้มองเห็นธรรมชาติเนี่ย มองความหมายของธรรมชาติซึ่งเป็นโลกแห่งวัตถุภายนอก ซึ่งการมองอันนี้จะไปสอดคล้องกับภาพจักรวาลในแบบของศาสนาเดิมด้วยนะ ตอนนี้เดี๋ยวเราจะโยงให้เห็นว่าอิทธิพลเก่ามันมาครอบงำวิทยาศาสตร์ด้วย วิทยาศาสตร์ไม่ได้เป็นอิสระจากการมองความจริงของธรรมชาติเลย อันนี้มองธรรมชาติเป็นโลกแห่งวัตถุภายนอก เป็นปรวิสัย หรือเราเรียกว่าเป็น Objective แล้วโลกแห่งธรรมชาติภายนอกหรือโลกวัตถุเนี่ย เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อตัวมนุษย์ มนุษย์เป็นเพียงผู้มองธรรมชาติ แต่ธรรมชาติเป็นตัวของมันเอง อย่างที่บอกว่าเมื่อกี้ เป็นปรวิสัย ธรรมชาติมีกฎเกณฑ์ของมันเอง แยกออกจากตัวมนุษย์ เพราะฉะนั้นภาพจักรวาลหรือภาพธรรมชาติในยุคนี้ก็คือการที่มนุษย์นี้ แยกมนุษย์กับโลกของธรรมชาติออกจากกัน นี้เป็นทัศนของตะวันตกที่จะต้องจับไว้ให้ดีนะ คือการมองมนุษย์กับธรรมชาติแยกต่างหากจากกัน มนุษย์คิดอะไรก็เป็นเรื่องของมนุษย์ว่าไปเอง ไม่มีผลต่อความเป็นจริง ความจริงนั้นต้องพิสูจน์ได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยเฉพาะต้องพิสูจน์ได้ที่ใช้มากคือ ตา หู แล้วก็สัมผัสทางกายหรือกายสัมผัส อันนี้เป็นตัวพิสูจน์ความจริงที่เราเรียกว่ามันเป็นปรวิสัย เพราะฉะนั้นเรื่องทางจิตใจนี่เชื่อไม่ได้ เป็นเรื่อง subjective แล้วก็แยก subject กับ object ออกจากกัน subject เป็นผู้มอง object เป็นสิ่งที่ถูกมอง Object นั้นเป็นอิสระเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยตัวของมันเอง มีกฎเกณฑ์ของมันเอง อันนี้ข้อสำคัญก็คือว่าตอนนี้ถ้าเรารู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาตินี้ เราก็จะสามารถไปจัดการกับธรรมชาติได้ นี่มีผลต่ออันนี้ตรงนี้ ถ้าเรารู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติดีแล้ว เราก็ไปจัดสรรธรรมชาติให้เป็นไปได้สิ เพราะเราจับว่าเหตุปัจจัยยังงี้ จะทำให้เกิดผลยังงั้น อันนี้คือผลที่เกิดจากแนวโลกทัศน์ตอนนี้ ขอแทรกเข้ามานิดคำว่าประสาททั้ง 5 ในที่นี้นั้น เพื่อจะให้สัมพันธ์กับคำทางพุทธศาสนาจะใช้คำว่าอินทรีย์ 5 เพราะคำในทางพุทธศาสนาท่านใช้คำว่าอินทรีย์ ประสาททั้ง 5 อินทรีย์ 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วทางพุทธศาสนามีอินทรีย์ ที่ 6 คือ ใจ ด้วย ทีนี้ทางวิทยาศาสตร์เชื่อแค่อินทรีย์ 5 โดยเฉพาะที่ใช้มากก็ ตา หู แล้วก็ กายสัมผัส ทีนี้โลกทัศน์แบบนี้ แบบ Cartesian Newtonian นี้ มีอิทธิพลอย่างมาก จนกระทั่งทำให้ศาสนาและปรัชญาอับรัศมี ในยุคที่วิทยาศาสตร์เจริญนี้ ศาสนาและปรัชญาแย่เลย จนกระทั่งว่าคนไม่อยากจะสนใจ เห็นเป็นเรื่องงมงายบ้างอะไรบ้าง ก็คนก็ฝากความหวังไว้กับวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในเมื่อวิทยาศาสตร์มองในแง่ว่าเมื่อรู้จักโลกของธรรมชาติ รู้กฎเกณฑ์ของมันแล้ว เราจะสามารถจัดการกับธรรมชาติได้ คนยิ่งฝากความหวังไว้กับวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความเจริญทางเทคโนโลยีขึ้น ฉะนั้นก็วิทยาศาสตร์ก็เป็นทั้งตัวมาตรฐานกำหนดความจริงด้วยหนึ่งหละ แล้วก็สองเป็นที่หวังว่าจะเป็นผู้สร้างสรรค์ความเจริญพรั่งพร้อมให้แก่โลกมนุษย์ด้วย จะทำให้มนุษย์นี้บรรลุถึงความสุข ทั้งสองแง่นะ แง่หนึ่งคือแง่ตัวความจริงก็วิทยาศาสตร์เป็นมาตรฐานวัดความจริงซึ่ง อย่างที่บอกในต้นแล้วว่าวิทยาการต่างๆ นี่พยายามที่จะแสดงตัวเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วก็ทำตัวให้เป็นวิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งศาสนาและปรัชญาก็จะต้องเอาวิทยาศาสตร์มาเป็นมาตรฐานวัด พยายามตีความของตัวให้เป็นวิทยาศาสตร์อะไรทำนองนี้ นี่ในแง่ความจริง และในแง่ของผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ ก็คือการที่จะนำความสุขความสำเร็จพรั่งพร้อมมาให้แก่มนุษย์ ยุคนี้บางทีเค้าใช้ศัพท์รวมๆ ก็เรียกว่าเป็นยุคที่เป็น Scientism ไปละ Scientism ที่จริงก็เป็นศัพท์ที่ไม่ค่อยดีนัก Scientism ก็แปลง่ายๆก็ ลัทธินิยมวิทยาศาสตร์ อันนี้เป็นโลกในยุคโดยเฉพาะศตวรรษที่ 19 ของคริสต์ศาสนา แล้วก็รวมทั้งต้นศตวรรษที่ 20 เนี่ยที่ศตวรรษของเรานี้ในตอนต้นๆก็อยู่ในยุคนี้ เป็นยุค Modern อย่างแท้จริงเป็นยุคที่เป็นสมัยใหม่ Modern ซึ่งมนุษย์มีความมั่นใจต่อวิทยาศาสตร์อย่างสูงสุด เอาละทีนี้ก็ขอผ่านไป นี่เป็นยุคที่ 3 ต่อไปยุคที่ 4 ยุคที่ 4 นี้บางทีเราเรียกว่าเป็นยุคที่กำลังต่อเปลี่ยนจากยุค Modern ไปสู่ยุค Post Modern ขณะนี้เรามีศัพท์ใหม่เราใช้คำว่า Post Modern กำลังเป็นศัพท์ที่นิยมมากในตะวันตก โดยเฉพาะในอเมริกานี้ใช้กันมากขึ้นมากขึ้น นี่ตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ยุค Post Modern แล้ว Modern นี้มันล้าหลังไปแล้ว ทีนี้ในการที่จะเข้าสู่ยุค Post Modern นี้ กำหนดด้วยตัวเด่นของพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์คือการเกิดขึ้นของ New physics, New physics หรือฟิสิกส์ใหม่ ตรงข้ามกับ Classical physics ฟิสิกส์ที่มีมาในยุคศตวรรษที่ 19 นั้นเค้าเรียกว่าเป็น Classical physics ฟิสิกส์อะไรก็ไม่ทราบภาษาไทย ก็เป็นว่าเป็น Classical physics ฟิสิกส์เดี๋ยวนี้ไม่ใช้แล้ว เดี๋ยวนี้เป็น New physics ฟิสิกส์ใหม่ ตัวเด่นๆในยุคนิวฟิสิกส์ก็คือการเกิดของทฤษฎีสัมพัทธภาพ หรือ The Theory of Relativity ของไอน์สไตน์ แล้วก็ Quantum Theory ทฤษฎีควอนตัม มี Max Planck เป็นต้น หลายท่านอันนี้เป็นจุดเด่นในวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เปลี่ยนยุคเลยทีเดียว ภาพจักรวาลเปลี่ยนอีกแล้ว คราวนี้พลิกกลับอีกแล้ว ตอนนี้คนมองโลกมองธรรมชาติเปลี่ยนไปเลย แต่ก่อนที่จะเกิดนิวฟิสิกส์นั้นในทางปรัชญาเค้าถือว่ามีมาก่อนแล้ว ในทางปรัชญาคนที่คิดมองเห็นโลกแบบนี้นั้น คิดมานานก่อนวิทยาศาสตร์ตั้งตกเกือบศตวรรษ แนวความคิดแบบนี้เป็นแนวความคิดของนาย Kant นักปรัชญาชื่อว่า Kant เพราะฉะนั้นเค้าก็มองดูวิทยาศาสตร์กับปรัชญาสัมพันธ์กันด้วย กลายเป็นว่าก่อนที่วิทยาศาสตร์จะค้นพบสิ่งที่เรียกว่าความจริงนั้น มันมีในความคิดเชิงเหตุผลของนักปรัชญามาก่อน ฉะนั้นในกำหนดในทางปรัชญา เรากำหนดด้วยคานท์ แล้วกำหนดในทางวิทยาศาสตร์ด้วยนิวฟิสิกส์ โดยเฉพาะทฤษฎี Relativity ทฤษฎีควอนตัม อะไรพวกนี้ การเกิดของนิวฟิสิกส์นั้นได้พลิกความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องสัจธรรมหรือความจริงของธรรมชาติเสียใหม่อีก คือได้สั่นคลอนความเข้าใจธรรมชาติที่ว่าเป็นความจริงปรวิสัยนั้น กลายเป็นว่าความรู้ธรรมชาติ หรือการมองเห็นโลกของมนุษย์นั้น ไม่แน่ใจเสียแล้วว่าจะเป็นความจริงได้หรือไม่ นักวิทยาศาสตร์หลายคนบอกว่า ที่เรารู้เข้าใจธรรมชาติมองเห็นโลกนี้ เราไม่สามารถเห็นตัวความจริงได้ แต่มองเห็นโดยผ่านการตีความของจิต โดยจิตใจสร้างขึ้น เพราะฉะนั้นภาพที่มองเห็นความจริงที่มนุษย์เห็นนั้น ขึ้นต่อสภาพจิตใจของมนุษย์ ในยุค Modern ที่เกือบๆจะผ่านไปแล้วนั้น ที่บอกว่ามนุษย์นั้นแยก Subject กับ Object ออกจากกัน มนุษย์กับธรรมชาติคนละอย่าง Object ที่เป็นธรรมชาตินั้นมีอยู่เป็นอิสระจาก Subject, Subject ผู้มองนี้จะมองอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ตัว Object ธรรมชาติสิ่งที่ถูกมองมันก็มีอยู่ของมันอย่างนั้น เราก็ ก็มีผู้มองกับสิ่งที่ถูกมอง แต่ในขณะนี้กำลังเปลี่ยนความคิดใหม่ บอกว่า ไอ้ตัวสิ่งที่ถูกมองนั้นที่เรารู้จักได้ ปรากฎขึ้นได้เป็นความรู้ก็โดยการมองของผู้มอง เราไม่สามารถรู้จักตัว Object โดยตัวของมันเองว่าเป็นอย่างไร แม้แต่ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ อันนี้ตอนนี้ไม่มีความแน่ใจแล้ว หมายความว่าสิ่งที่ถูกมองเห็น สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่เป็นอิสระจากผู้มอง เพราะถ้าไม่มีผู้มองก็ไม่เห็นว่ามันเป็นอย่างไร แต่ทีนี้ที่เห็นมันเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะปรากฎการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบนั้น ตอนนี้มันทำให้เกิดความไม่แน่ใจมากขึ้น ว่าสิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างที่เข้าใจรึเปล่า พอบอกว่าผู้มองไว้ให้เป็นอย่างงี้ก็เป็นอย่างงี้ ผู้มองให้เป็นอย่างงั้นก็เป็นอย่างงั้น มอง ให้อย่างสิ่งที่ลึกซึ้งที่สุดเมื่อแยกออกไปจะเป็นอนุภาคอะไรต่างๆ แล้วในที่สุดก็เกิดความไม่แน่ใจว่าเป็น Particle หรือเป็น Wave เป็น Particle คืออนุภาค หรือเป็น Wave เป็นคลื่น มองให้เป็น Particle ก็เป็น Particle มองให้เป็น Wave ก็เป็น Wave แล้วก็กลายเป็นทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกันหรืออะไรทำนองนี้ แต่รวมแล้วก็คือวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร จนกระทั่งก็ในแง่หนึ่งก็ทำให้คน นักวิทยาศาสตร์เองด้วยหันมาสนใจเรื่อง Subject ว่าในเมื่อ Object ไม่เป็นอิสระจาก Subject สิ่งที่ถูกมองไม่เป็นอิสระจากผู้มอง เพราะฉะนั้นเราจะต้องเข้าใจตัวผู้มองด้วย คือจะต้องเข้าใจ Subject ด้วยว่ามันคืออะไร ถ้ามิฉะนั้นเราจะไม่สามารถเข้าใจ Object ได้ ทีนี้ Subject นั้นคืออะไร ก็คือผู้มองนั้นที่จริงก็คือจิตนั่นเอง เพราะฉะนั้นเรื่องจิต เรื่อง Consciousness เรื่อง Mind เรื่อง Consciousness ก็มีความสำคัญขึ้นมา จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี้หันไปสนใจศึกษากันมากขึ้น เพราะว่าจะต้องเข้าใจเรื่องนี้ด้วย จะต้องเข้าใจตัวผู้มอง จิตใจนี้แล้วจึงจะเข้าใจสิ่งที่ถูกมองได้ แล้วก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่ไปไกลถึงขนาดสรุปเลยว่ามนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติได้ เราอาจจะต่อว่าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทีนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาพูดถึงระดับนี้ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำนำทั้งนั้น ที่ถึงกับสรุปโดยเฉพาะใช้คำว่าวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติ อย่างจะขอยกมาสัก 3 คน คนหนึ่งก็คือ Eddington, Eddington นี่ว่ายังไง ก็เอาสั้นๆ บอกว่าท่าน Eddington นี้ ชื่อเต็มก็คือ Sir Arthur Eddington ที่เป็นผู้พิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ โดยที่ว่าเอาการทดลองมาให้เห็น เค้าบอกว่า “วิทยาศาสตร์ไม่สามารถนำมนุษย์เข้าถึงตัวความจริงหรือสัจภาวะได้โดยตรง จะเข้าถึงได้ก็เพียงโลกแห่งสัญลักษณ์ที่เป็นเพียงเงา”ว่างั้น ก็เป็นอันว่าวิทยาศาสตร์นี้จะได้ก็เพียงว่าเห็นโลกเงาเงาที่เป็นเรื่องของสัญลักษณ์เท่านั้น นี่เป็นคำของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในยุคนิวฟิสิกส์ อีกคนหนึ่งก็คือ Max Planck, Max Planck นี่เค้าถือว่าเป็น Founder of Quantum Physics เป็นผู้ เป็นบิดาแห่งควอนตัมฟิสิกส์ ที่ถือว่ามีความก้าวหน้าอย่างยิ่งแล้วในโลกวิทยาศาสตร์ Max Planck ได้บอกว่า “วิทยาศาสตร์ไม่สามารถไขความลี้ลับขั้นสุดท้ายของธรรมชาติได้” “Science cannot solve the ultimate mystery of nature.” ว่ายังงี้เลย อันนี้เป็นคำว่าของ Planck พูดออกมาชัดเจน แล้วอีกคนหนึ่งคือ Sir Jame Jeans ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ใหญ่เหมือนกัน ท่านผู้นี้ก็เขียนอีกอันหนึ่งที่น่าฟังบอกว่า “ความก้าวหน้าที่สำคัญที่สุดของฟิสิกส์ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ดีเด่น มิใช่ทฤษฎีสัมพัทธภาพ มิใช่ทฤษฎีควอนตัม หรือการแยกตัดผ่าอะตอมได้ แต่ความก้าวหน้าที่สำคัญที่สุดนั้น ได้แก่การได้มาตระหนักรู้ถึงความจริงที่ว่าวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถนำมนุษย์เข้าถึงความจริงขั้นสุดท้ายได้” อันนี้คือความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์คือการที่มารู้ความจริงว่าวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าถึงความจริง อันนี้เป็นคำของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ อันนี้ทำให้มีผลยังไงเราจะไปดูกันต่อไป แต่นี้คือความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ที่พลิกกลับอีกทีหนึ่ง จากความมั่นใจเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นมาตรฐานความจริงอะไรต่างๆ นี้มันพลิกกลับเลยว่าวิทยาศาสตร์เองไม่สามารถเข้าถึงความจริงของธรรมชาติได้ ก็เป็นอันว่าในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคนิวฟิสิกส์แล้ว วงการวิทยาศาสตร์เองได้สูญเสียความมั่นใจตนเองต่อการ ที่จะเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ คนทั่วไปโดยเฉพาะคนที่พัฒนาแล้ว ซีกโลกตะวันตก เริ่มไม่มั่นใจต่อวิทยาศาสตร์ เราจะเห็นสภาพความไม่มั่นใจนี้มากขึ้น ปัจจุบันนี้มีปรากฎการณ์ที่เริ่มออกไปสนใจทางจิต ทางอะไร จนกระทั่งเราเห็นเป็นเรื่องงมงายเหลงไหลมากขึ้นอีก แล้วก็สิ่งหนึ่งที่มันปรากฏออกมาก็คือว่าวิทยาศาสตร์เองไม่พ้นระบบคุณค่า หนีไม่พ้นเรื่องจิตใจ เราก็จะได้มาดูนี่อีกที เมื่อพูดถึงพัฒนาการของวิทยาศาสตร์มาทั้ง 4 ยุคนี้แล้ว สรุปโดยย่อ เราก็มามองดูหัวข้อต่อไป ก็จะเข้าสู่หัวข้อที่ว่าผลกระทบจากพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ ผลกระทบนี้ก็เป็นผลกระทบต่อตัวมนุษย์เอง ต่ออารยธรรมมนุษย์ แล้วก็ต่อตัววิทยาศาสตร์เองด้วย ทีนี้เรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นในความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์นั้น มันไปเกี่ยวโยงกับเรื่องคุณค่า เพราะมนุษย์นั้นหนีเรื่องคุณค่าไม่พ้น ฉะนั้นตอนนี้เราจะมีเรื่องแทรกเข้ามาเรื่องหนึ่งคือจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับระบบคุณค่าก่อน ว่าวิทยาศาสตร์สัมพันธ์กับคุณค่าอย่างไร เพราะเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่เหมือนกัน ก็เพราะว่าวิทยาศาสตร์นี้บอกตัวเองว่าเป็นศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวกับคุณค่า เรื่องคุณค่าเข้ามาไม่ได้ฉันเอาแต่ความจริงที่เป็นปรวิสัย เรื่องคุณค่านี้เป็นเรื่องของ Subjective เป็นเรื่องของชีวิต เอ้ยเรื่องของความคิดจิตใจ ฉะนั้นก็อย่างที่กล่าวมาแล้ว วิทยาศาสตร์จะบอกว่าตัวเองนั้นเป็นการแสวงหาความรู้ในโลกแห่งธรรมชาติอย่างเป็นระบบด้วยการสังเกตและทดลอง ไม่ขึ้นต่อการตีความของคน ถ้าจะเอาใส่เข้าไปนะ แต่ทีนี้เค้าบอกว่าขึ้นแล้ว ตอนนี้มันข้อความด้านหลังมันใช้ไม่ได้ เอ่อ ก็เป็นการเข้าถึงความจริงล้วนๆ ที่บริสุทธิ์ของโลกธรรมชาติภายนอกตามที่มันเป็นว่าเป็นอย่างไร อย่างไร ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นคำพูดที่เป็นปัญหา แล้วก็มาบอกว่าที่มันสัมพันธ์กับระบบคุณค่า ก็คือในความเป็นจริงนั้น การหาความรู้อย่างบริสุทธิ์ล้วนๆ ปราศจากคุณค่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นแต่ว่าเราจะต้องมาพูดกันให้ชัดว่า เราจะเกี่ยวข้องกับคุณค่าระดับไหน ไม่เกี่ยวข้องกับคุณค่าระดับไหน แล้วจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องอย่างไร เราควรจะพูดอย่างนั้น ไม่ใช่พูดว่าปราศจากคุณค่าซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร เพราะว่า ความรู้วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในตัวมนุษย์ โดยมนุษย์เป็นผู้แสวงหาได้มาซึ่งความรู้นั้น เป็นผู้มีความรู้นั้น และเป็นที่ปรากฎออกมาของความรู้นั้นด้วย วิทยาศาสตร์ไม่เป็นอิสระจากตัวมนุษย์ สิ่งที่เห็นไม่เป็นอิสระจากมนุษย์ผู้มอง ทีนี้มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่มีคุณค่า ความพิเศษของมนุษย์นั้นก็คือเป็นสัตว์ที่มีคุณค่า ที่มีคุณค่าก็เพราะมีจิตใจ และมองเห็น รู้เข้าใจอะไรอะไรภายในวิสัยของจิตใจนั้นเท่านั้น เนี่ยมนุษย์เนี่ยจะรู้เข้าใจอะไร ก็รู้ในภายในวิสัยของจิตใจของตน ความคิดของตนเอง แล้ววิทยาศาสตร์จะเกินออกไปจากวิสัยนี้ได้รึเปล่า อันนี้เริ่มตั้งแต่ต้น วิทยาศาสตร์เองก็เกิดจากคุณค่า เกิดจากอะไร เกิดจากความเพียรหาความรู้ และการเพียรหาความรู้ของวิทยาศาสตร์เกิดจากอะไร เกิดจากแรงจูงใจใฝ่รู้ หรือเค้าเรียกว่าความใฝ่ปรารถนา ต่อการรู้ความจริงของธรรมชาติ ความใฝ่ปรารถนาตัวนี้เป็นคุณค่า ความอยากนั่นเองพูดง่ายๆ ความอยากหรือความใฝ่รู้ ความจริงของธรรมชาตินี้เป็นปฐมกำเนิด เป็นจุดกำเนิดของวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ อันนี้เป็นจุดปฐมเลย วิทยาศาสตร์เองก็เกิดขึ้นได้ด้วยแรงจูงใจอันนี้ แล้วจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่ขึ้นมาย้ำอันนี้มากคือ ไอน์สไตน์ ทีนี้อ้าวแล้วมนุษย์ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้แล้ว เป็นผู้มองความจริง เป็นผู้มองประสบการณ์ มนุษย์ก็มองความจริงนั้นจากแง่มุมสภาพจิตใจของตนเอง จากท่าทีของจิตใจที่มีอยู่ แล้วความรู้นั้นก็มาเกิดขึ้นในตัวมนุษย์ พอมองไปแล้ว มองจากท่าทีสภาพจิตใจมนุษย์แล้ว พอความรู้นั้นเกิดขึ้นมา ก็มาเกิดขึ้นในตัวมนุษย์ ในใจในความคิดของมนุษย์อีก ปรากฏผ่านออกมาทางจิตใจของมนุษย์นั้น แล้วก็ที่สำคัญก็คือในปัจจุบันนี้ อุปกรณ์ที่มนุษย์ใช้มองความจริงของธรรมชาติ ที่เคยเชื่อมั่นไว้ใจที่สุดคืออินทรีย์ 5 หรือประสาททั้ง 5 นั้น กลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นอิสระ ไม่เสร็จสิ้นในตัว คือเราเอาไอ้ตัวประสาททั้ง 5 นี่เป็นตัววินิจฉัยความจริง แต่ก่อนนี้เราถือว่าความจริงปรวิสัย ต้องพิสูจน์ด้วยประสาททั้ง 5 แต่เวลานี้เราบอกว่าประสาททั้ง 5 มันไม่เป็นอิสระ ไม่เสร็จสิ้นในตัว เพราะเวลาเราได้ความจริงเนี่ยประสาททั้ง 5 ต้องส่งมาที่จิตใจ มาปรากฎในความคิดจิตใจอีกทีหนึ่ง ฉะนั้นประสาททั้ง 5 ไม่สามารถให้ความรู้จริงโดยตรงได้ แต่ความรู้นั้นต้องผ่านการตีความของจิต ฉะนั้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจะบอกว่าเป็นความรู้ที่เป็น Interpretive เท่านั้นแล้วก็เป็น Relative, Relative ก็คือว่าเป็นสัมพัทธ์ ความรู้ทั้งหมดของมนุษย์ที่เราเรียกวิทยาศาสตร์เนี่ยทั้งเป็น Interpretive เป็นเรื่องที่เกิดจากการตีความของมนุษย์ แล้วก็เป็น Relative เป็นเรื่องสัมพัทธ์ด้วย อ้าวทีนี้ต่อไปอีกเหตุผลหนึ่ง ทีนี้เหตุผลนี้ไม่เกี่ยวกับเนื้อตัววิทยาศาสตร์เอง แต่เป็นเหตุผลที่ส่งออกภายนอกอย่างที่ว่าในตอนต้น บอกความรู้วิทยาศาสตร์นั้น ส่งผลต่อการมองโลกมองชีวิตหรือโลกทัศน์และชีวทัศน์ แล้วก็ส่งผลย้อนกลับมาต่อชีวิตและสังคมมนุษย์อย่างที่พูดข้างต้น แล้วก็ขยายออกไปสู่วัฒนธรรมอารยธรรมของมนุษย์ ในการที่จะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไรด้วย เพราะฉะนั้นอันนี้มันมีผลที่ อย่างที่บอกว่ามันมีผลกระทบต่อกัน เป็นปฏิสัมพันธ์ มีผลย้อนกลับไปกลับมาต่อกันด้วย ก็ในแง่นี้ก็คือว่าเป็นอันความรู้วิทยาศาสตร์นั้นก็มีผลกระทบต่อชีวิตและสังคม ซึ่งเราก็จะต้องเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่า ก็สรุปอีกทีหนึ่งบอกว่า นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มองตัวเองที่เป็นมนุษย์ คือมัวแต่มองออกไปข้างนอก มองดูธรรมชาติ ไม่ได้มองดูตัวเองที่เป็นผู้มอง ไม่ได้มองดูตัวเองที่ว่าฉันเป็นมนุษย์ เมื่อมองไปข้างนอกก็ไม่รู้ตัว ถึงความเป็นมนุษย์ของตัวมันเป็นอย่างไร สภาพคุณสมบัติ ลักษณะของความเป็นมนุษย์เนี่ยธรรมชาติมันเป็นยังไง ทีนี้ แล้วก็ไม่รู้ว่าไอ้ความเป็นมนุษย์ของตัว คุณสมบัติของตัว ได้มีอิทธิพลต่อการมองความจริงข้างนอกอย่างไร อย่างที่ว่ามาแล้ว แล้วก็ไม่รู้ตัวว่าความรู้ความเข้าใจที่ตัวได้ขึ้นมานั้น มันมีผลย้อนกลับมากระทบต่อความเป็นมนุษย์ของตัวเองอีกครั้งหนึ่งอย่างไร คือพอวิทยาศาสตร์ ความเป็นมนุษย์ของนักวิทยาศาสตร์เนี่ย มันมีผลในการมองความจริงข้างนอก พอเราได้ความจริงมาแล้วเนี่ย ไอ้ความจริงความรู้ที่ได้มันส่งผลกลับมาสู่ความเป็นมนุษย์ มีผลต่อความเป็นมนุษย์ของนักวิทยาศาสตร์อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มอง เอาหละก็นักวิทยาศาสตร์ก็เลยกลายเป็นพวกที่พยายามหลีกเลี่ยงเรื่องคุณค่า การหลีกเลี่ยงคุณค่าก็นำมาสู่การที่ไม่ได้ศึกษาความจริงด้านหนึ่ง ความจริง ไอ้เรื่องคุณค่าก็เป็นความจริงด้านหนึ่ง แม้ว่ามันจะเป็นความจริงเกี่ยวกับตัวมนุษย์ก็ตาม แต่มันก็เป็นความจริงที่ว่า ถ้าเราต้องการจะเข้าถึงความจริงของโลกและชีวิตให้ถึงที่สุดแล้ว เราจะต้องรู้ความจริงของเรื่องคุณค่าด้วย ตกลงวิทยาศาสตร์ก็มองข้ามเรื่องนี้ไปไม่ศึกษา หลีกเลี่ยง