แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เขาจะคิดเป็นยังไงก็คิดบนฐานของความรู้มีปัญญา นั้นเราก็ไม่คิดให้เขา แต่เราให้ความรู้และชี้ช่องทางแง่มุมของความคิดเพื่อฝึกคน เพราะฉะนั้นโอกาสนี้ ก็เป็นโอกาสในการพัฒนาปัญญาของประชาชน ถ้าเราคิดอย่างนี้แล้วพัฒนาประชาชนกันเข้าไปตั้งท่าที่ถูกต้องอย่าไปเถียงอย่าไปทะเลาะกันเลย นี่มาทดสอบตัวเองแล้วความเป็นประชาธิปไตยมีไหม ถ้าหากว่าคุณเถียงกันไม่ได้ลงมือลงไม้แสดงว่าผิดแล้วไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าเถียงกันต้องฟังกันได้ ขอสำคัญต้องรับฟังกัน นี้ระบบพุทธศาสนานี่เป็นระบบที่ต่อไปค่อยดูอ่ะจะเป็นแบบอย่างกับประชาธิปไตย เพราะมันเป็นระบบประชาธิปไตยดูการพัฒนาของท่าน ก็ในการพัฒนาปัญญาของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันมันก็เหมือนว่าเรากำลังจะออกจากลัทธิที่ต้องเชื่อฟัง มีผู้ปกครองว่ายังไงต้องอย่างนั้นระบบนี้ก็คือระบบศรัทธาถูกไหม ระบบศรัทธาต้องมีศรัทธาเชื่อ ถ้าเชื่อจริงแล้วก็ถ้ามี Faith ด้วยแล้วก็ Obey ด้วย Faith กับ Obey ท่านต้องแยกกันนะ Believe กับ Obey ไม่เหมือนกันนะ Obey นี่เป็นเรื่องวินัย กฏหมายต้อง Obey กติกาตกลงกัน แต่ Believe เป็นความเชื่อ ทีนี้ถ้า Believe Faith ถ้าเรามี Faith ในคนนี้ว่าเขาดี เราก็พร้อมที่จะ Obey ถูกไหม แต่ทีนี้ถ้าไม่มี Faith มันไม่น่าศรัทธาคนนี้ไม่ดี แต่มันให้ Obey ตอนนี้กดขี่แล้วใช่ไหม นี่ไอ้นี่มันมาคู่กันไอ้ Obey กับ ไอ้ Faith นี่ เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ถูก ในภาษาไทยมันแยกไม่เป็นนี่ เชื่อ เชื่อฟังต้องระวังนะ มันเชื่ออันไหน มันเชื่อฟังเป็น Obey หรือเชื่อฟังแบบ Believe ใช่ไหม ทีนี้ในพุทธศาสนาเนี่ย ท่านบอกถ้ากติกา เช่นวินัยถ้าตกลงกันไว้แล้วก็เป็นว่า Obey เพราะเราตกลงกันว่าอย่างนั้นเป็นมติส่วนรวมตั้งเอาไว้ก็ Obey Obey The Law แต่ท่านไม่บังคับเรื่อง Faith เรื่อง Believe ให้ใช้ปัญญา นี้ระบบของศรัทธาก็คือ เช่นว่าผู้ปกครองคนเดียวต้องเชื่อแล้วก็ Obey ไปด้วย มีตั้งอยู่ได้ด้วยศรัทธาใช่ไหม นี้ในเมื่อเราจะให้ประชาชนปกครองกันเอง ก็ต้องออกมาจากระบบศรัทธาเป็นใหญ่นี่ เข้ามาสู่ระบบปัญญา เพราะว่าศรัทธาก็คือไปเชื่อปัญญาเข้าอีตาคนนั้น ผู้ปกครองท่านนี้โอ้ ชื่อท่านมีปัญญาดี เรานี่ไม่มีปัญญาหรอกคิดไม่สู้ท่านไม่ได้ต้องไปฟังท่านอยากจะรู้อะไรอยากจะแก้ปัญหาอะไรก็ต้องไปขอให้ท่านช่วย ก็ไปเชื่อปัญญาท่านไง ศรัทธาก็ไปฝากไว้ในปัญญาของผู้อื่น ทีนี้ในการปกครองประชาธิปไตยก็คือเราจะต้องพัฒนามนุษย์แต่ละคนนี่ให้มีปัญญาของตนเองที่จะรู้จักคิดพิจารณาตัดสินใจได้ อันนั้นเราก็ไม่ให้ทิ้งศรัทธาในพุทธศาสนาท่านจึงประสานว่า ระบบพระพุทธศาสนานี่ออกจากระบบศรัทธาแล้ว ไม่เอาศรัทธาเป็นใหญ่ ศรัทธาไม่ได้สูงสุดใช่ไหม เราไม่ถือ Faith เป็นใหญ่ เราเอาปัญญาเป็นใหญ่ เป็น Wisdom เป็น Inside ต้องเกิดปัญญา ที่นี้จะเกิดปัญญาอย่างไง ก็ต้องพัฒนามนุษย์แล้วมันจะมาประสานกับระบบชีวิต ระบบชีวิตที่เราเรียกเป็นประชาธิปไตย หรือยังไงก็แล้วแต่นี่ ระบบชีวิต วิถีชีวิตนี่มันจะต้องไปด้วยกันกับไอ้เรื่องการพัฒนามนุษย์ ให้มีวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการพัฒนาปัญญามนุษย์เอาละสิ นี่สำคัญเลย นั้นประชาธิปไตยเป็นระบบที่มนุษย์ทุกคนมีส่วนร่วมและอยู่ร่วมกัน ร่วมกันปกครองมีส่วนผลประโยชน์ร่วมกันแล้วต้องช่วยกันคิดต้องมีปัญญาที่แก้ไขปัญหาด้วยการตัดสินใจกันด้วยปัญญาอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เลยเพื่อจะให้มนุษย์เหล่านี้มีปัญญาก็ต้องจัดสรรระบบสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาปัญญามนุษย์เหล่าานี้ ก็คือพัฒนาคุณภาพไม่ใช่เป็นเพียงระบบสังคมที่มันให้ผลประโยชน์แก่คนพวกนี้หรอก แต่เป็นระบบสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนามนุษย์เหล่านี้ อันนี้จะเป็นจุดสำคัญกว่า เพราะว่าถ้าพัฒนามนุษย์พวกนี้ขึ้นไปได้แล้วเขาจะเข้าถึงประโยชน์ที่สูงกว่านี้ ตอนนี้ถ้าเราไปมัวคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้เฉพาะหน้า แล้วก็ไปติดอยู่แค่ประโยชน์เหล่านี้ที่จริงมันยังไปได้ไม่ถึงไหนหรอก นั้นอย่ามัวไปขลุกจมอยู่กับการคิดสนองความต้องการผลประโยชน์ของมนุษย์ไอ้ระบบสังคมที่จัดเนี่ย แต่ควรจะจัดเป็นระบบสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนามนุษย์ พัฒนาคุณภาพพัฒนาปัญญาขึ้นไป
นั้นพระพุทธเจ้าก็จัดสรรวางระบบชุมชนนี่แหละเป็นระบบสังคมแบบอย่างที่เรียกว่าสังฆะ สังฆะก็คือสังคมแบบอย่าง สังฆะแปลว่าหมู่ชน ชุมชน ก็คือสังคมนั้นเอง คำว่าสังฆะนั้นเกิดก่อนคำว่าสังคม สังฆะนั้นก็คือชุมชนที่พระพุทธเจ้าตั้งขึ้นมา ก็เป็นศัพท์เดิม หมู่ชนที่มาอยู่ด้วยกันเขาเรียกสังฆะ ในสังคมนี้เกิดในภาษาไทยบัญญัติที่หลังเพราะ ภาษาบาลีท่านมีอะไรว่า พาลานังสังคะโม สังคมของคนพาลทั้งหลาย นั้นสังคมดีก็มี สังคมไม่ดีก็มี เอาละเป็นอันว่าจัดระบบสังคมเนี่ยเป็นอันว่า
1 สนองความต้องการให้มนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในนี้ได้ประโยชน์มีความสุขอยู่ดี แต่ต้อง
2 ที่สำคัญกว่าเอื้อต่อการพัฒนามนุษย์เหล่านี้ ให้เขามีโอกาสที่จะพัฒนาตนได้ดีที่สุด อันนี้ที่สำคัญ แล้วพัฒนาที่ดีที่สุด
เมื่อกี้บอกแล้ว พุทธศาสนาบอกพัฒนาปัญญาเป็นเอตทัคคะในบรรดาการพัฒนาทั้งหลาย พัฒนาปัญญา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจะจัดระบบสังฆะที่ประชุมชน จะเห็นว่า ธรรมะในพุทธศาสนานี่เป็นหมวด ๆ ซึ่งจะไม่เห็นที่ไหนแล้วนะ มี 2 3 4 5 6 7 เป็นชุด ๆ หมด ชุดเหล่านี้เป็นชุดแบบองค์ประกอบก็มี หมายความว่าสิ่งนั้นเป็นองค์รวม เกิดขึ้นจะองค์ร่วมเกิดส่วนย่อยอะไรบ้างเช่น ชีวิตเราเกิดจากองค์ร่วม 5 อย่าง เป็นขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้เรียกว่าเป็นระบบองค์ร่วม เป็นระบบองค์ประกอบก็เป็นตัวเลขชุดเหมือนกัน หรือเป็นชุดเป็นขั้นตอนก็ได้ ชุดแบบขั้นตอนเป็นลำดับ เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา เรื่อย ๆ ขึ้นไปนะ หรือเป็นองค์ประกอบแบบที่ว่าเป็นองค์ประกอบด้วยแล้วก็มีความสมดุลอย่างชุดพรหมวิหาร 4 ต้องมีครบ ถ้ามีไม่ครบคุณเสียแน่ เอาสังคมไปไม่รอด คนไทยไม่รู้หลักนี้เอาพรหมวิหารมาใช้ไม่ครบ 4 ก็เสียอีก นี้จะเห็นว่าระบบดุลยภาพนี่มีในแทบทุกชุดเลย ในแฝงอยู่ในชุดนั้น ๆ จะมีองค์ไอ้ตัวสำคัญอันหนึ่งที่จะสร้างดุลยภาพในชุดนั้น ๆ เช่นอย่างธรรมะที่เป็นชุดที่มีศรัทธาในชุดไหนต้องมีปัญญาทุกชุดไป ให้ท่านสังเกตุดูมีไหม ศรัทธามาในธรรมชุดไหนไม่มีปัญญาไม่มี เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาก็หมายความว่าเอาศรัทธามาเริ่ม แต่คุณพัฒนาให้ได้ปัญญา นั้นธรรมะทุกชุดที่มีศรัทธาก็ต้องมีปัญญาไปเป็นตัวดุล นี้ไอ้ดุลยภาพแบบนี้จะมีอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะดุลภาพระหว่างฝ่ายจิต คุณภาพจิตกับฝ่ายปัญญา ศรัทธานี้เป็นฝ่ายจิตใจและปัญญาก็ฝ่ายปัญญา นี้อย่างเราอยู่ร่วมกันในชุมชนเนี่ย เราจะเห็นระบบการอยู่ว่า เช่นอย่างผมยกตัวอย่างอีกหมวดหนึ่ง อัตถการนธรรม ธรรมสร้างที่พึ่ง ธรรมให้เป็นตัวที่พึ่งหรือพึ่งตนเองได้ ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน เอ้อธรรมเป็นที่พึ่งของตนทำไง ก็ต้องทำตนให้เป็นที่พึ่งได้เอ้อ จะทำไงให้ตนเป็นที่พึ่งได้ก็ต้องพัฒนาตน ท่านเตือนแล้วต้องพัฒนาตนขึ้นไปแล้วจะมีตอนที่พึ่งได้ ถ้าคุณจะพึ่งถ้ามีตนที่พึ่งไม่ได้ก็จบละสิ ฉะนั้นพุทธศาสนามีหลักสำคัญก็คือถือว่าในที่สุดแล้วที่พึ่งที่แท้ก็คือตนเอง แต่ว่าจะพึ่งตนได้ยังไง ก็ต้องพัฒนาตนนี้ให้เป็นตนที่พึ่งได้ ในที่สุดพุทธศาสนาก็พัฒนาระบบขึ้นมาทั้งหมดที่เราเรียกไตรสิกขา หรือเรียกมรรค หรืออะไรก็แล้วแต่ก็คือระบบที่จะพัฒนาคนเพื่อให้คนนั้นมีตนที่พึ่งได้เท่านั้นเอง ทั้งหมดที่เป็นพุทธศาสนาเนี่ยก็คือเพื่อพัฒนาคนให้มีตัวตนเป็นที่พึ่งได้ เมื่อมีตนเป็นที่พึ่งได้แล้วเขาจะได้เป็นส่วนร่วมที่ดีในสังคมมนุษย์แล้วจะมีปัญญาเป็นตัวที่จะให้เขามีคุณภาพที่ดีไปช่วยเป็นส่วนร่วมที่ดีในการคิดพิจารณาแก้ปัญหาทั้งชีวิตและสังคมของเขา นั้นตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ก็มีธรรมหมวดหนึ่งที่ว่า ธรรมสร้างที่พึ่ง เรียกว่านาถกรณธรรม มี 10 ประการด้วยกัน นี่เป็นเพียงตัวอย่าง ให้ท่านไปดูหลักธรรมต่าง ๆ แม้แต่สติปัฏฐาน 4 ก็เป็นหลักธรรมสำหรับพึ่งตนได้ คนที่มีสติปัฏฐานก็คือพึ่งตนได้ พอพึ่งตนก็คือพึ่งธรรมะ ก็คือพึ่งตัวหลักความจริงหรือคุณภาพในตัวของคุณนั่นแหละ อันนี้นาถกรณธรรม 10 ประการนี้เราจะเห็นว่าหลักหลายข้อ หลักการในการอยู่ร่วมกันทั้งนั้น ตั้งแต่ว่าศีลก็ไม่เบียดเบียนกัน อันนี้ก็เป็นแง่ที่ว่ายังไม่เด่น ต่อมา กิงกรณีเยสุทักขตา เป็นผู้ขยันฉลาดในกิจการที่จะพึงทำในการช่วยเหลือกัน แปลว่า แปลตามตัวแปลว่าขยันฉลาดมีทักษะในกรณีที่จะพึงถามว่าจะมีอะไรให้ทำว่าอย่างงั้นนะ เช่นว่าเรานี่จะมีลักษณะอย่างหนึ่งในการพัฒนาตน ตนที่เป็นที่พึ่งของตนกลับกลายเป็นช่วยเหลือผู้อื่น การพัฒนาตนให้เป็นที่พึ่งได้ให้ตนเป็นที่พึ่งได้กลายเป็นไปเน้นที่การที่ไปอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น ไปช่วยเหลือคนอื่น อย่างข้อ กิงกรณีเยสุทักขตา ก็แปลว่าคอยถาม เอ้อคุณมีอะไรให้ผมช่วยไหม หรือว่าถามหมู่คณะมีอะไรที่ผมต้องทำบ้างไหม นี่อย่างนี้ลักษณะของคนที่ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ ต้องคอยถามคนอื่นก็คอยช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันใช่ไหม แล้วก็กัลยาณมิตตตา มีกัลยาณมิตรคบหาคนที่ดีที่จะมาช่วยเอื้อต่อการพัฒนาตัวเองและอะไรอีก อันนี้ผมเอาเฉพาะข้อที่เกี่ยวกับคนอื่นนะ
แล้วก็มีข้ออันหนึ่ง โสวจัสสตา อันนี้ของคนไทยเอามาใช้ โดยใช้ไม่เป็นบางทีทำให้เสียหาย โสวจัสสตา แปลกันว่าความเป็นคนว่างงาน ทีนี้คนไทยเราก็มาอู้ว่าง่ายเนี่ยไม่ได้ความแล้วแย่เลยก็เลยเป็นคนไม่รู้จักคิด ทีนี้ถ้าไอ้เจ้าโสวจัสสตาไปอยู่ในระบบศรัทธาก็เป็นไปได้ใช่ไหม ถ้าไปอยู่ในระบบศรัทธาก็ได้แต่เชื่อฟังก็เลยว่าง่าย ว่าอย่างไงก็ว่า ว่านอนสอนง่าย ไม่ใช่ว่าง่ายเฉย ๆ ว่านอนสอนง่ายเสียอีก บอกให้นอนก็นอน นี่แหละ นี้คนไทยเราก็กลับไปติหลักข้อนี้ไม่ได้รู้นี่แหละไม่ได้รู้หลักธรรมที่เป็นชุด โสวจัสสตานี่เป็นคุณสมบัติสำคัญของระบบประชาธิปไตยนี่แหละที่บอกว่าตอนนี้มาทดสอบความเป็นประชาธิปไตยไม่ฟังกันนี่แหละเพราะขาดโสวจัสสตา โสวัจัสสตานี่เป็นคุณสมบัติขั้นแรกสำคัญของคนที่จะอยู่ในระบบประชาธิปไตย แปลตามศัพท์แล้วความเป็นคนที่พูดด้วยง่ายแปลตามศัพท์เราก็แปลไทยว่า ว่าง่าย ว่าง่ายคือพูดกันง่าย พูดด้วยง่าย รับฟังคนอื่นไม่ใช่เป็นคนที่พูดด้วยยาก ใครเข้าหาไม่ยอมรับฟังใช่ไหม เป็นคนที่พูดด้วยง่ายโสวัจสสตา แล้วท่านก็ให้มาคู่อีกข้อนึง ธัมมะกัมมตา ความเป็นผู้ใคร่ทำ ใคร่ทำหมายถึงอยากรู้เป็นผู้ใฝ่รู้ความจริง ใฝ่รู้หลักการ ใฝ่รู้ความจริงอยากจะรู้ แล้วถ้าอธิบายเสร็จบอกคอยเข้าไปปรึกษาไถ่ถามบุคคลที่ ๆ ว่าควรจะเป็นที่เป็นผู้รู้เป็นผู้ทรงคุณความดีก็เข้าไปปรึกษาใถ่ถามหาความรู้ไปสนทนากันนี่หลักธัมมะกัมมตา ไปดูคำอธิบาย ตกลงต้องคู่กันมีความธัมมะกัมมตา ความใฝ่รู้ อยากรู้ อยากแสวงปัญญาเป็นนักแสวงปัญญาว่าง่าย ๆ ธัมมัตกัมมัตตา แล้วก็ โสวจัสสตาต้องคู่กัน ก็รับฟังคนอื่นไม่ใช่เอาแต่ทิฏฐิของตัวเอง ถ้าไปอย่างนี้ไปได้เลย เพราะฉะนั้นคนในสังคมประชาธิปไตยเนี่ยก็ต้องเป็นคนที่มีตนที่พึ่งได้ เพื่อไปสู่จุดหมายนั้นการพัฒนาตัวเองอย่างนี้ มีนาการนธัม 10 ประการ ก็เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมประชาธิปไตยแค่ 2-3 ข้อนี้ก็ได้แล้ว มีศีลเป็นพื้นฐานไม่เบียดเบียนกันไม่รังแกกัน แล้วมีกัลยาณมิตตาคอยเรียกหาคนดีที่จะเอื้อต่อการพัฒนาชีวิตแล้วก็เป็นคนที่พูดด้วยง่าย รับฟังคนอื่น แล้วก็เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่แสวงปัญญาหาความรู้ หาความจริง ใคร่ทำต้องความถูกต้อง ความจริง ความถูก ต้องความดีงาม ต้องเป็นที่หมายในจิตใจอยู่เสมอ นี่แหละครับเนี่ยได้แค่นี้ล่ะครับพัฒนาได้คนไทยตอนนี้ต้องมาเป็นบททดสอบ
เนี่ยจึงบอกเมื่อกี้ไงบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนี้มันทดสอบความเป็นประชาธิปไตยคนไทยไปไม่รอดแล้วนะ มันขาดความเป็นประชาธิปไตยแสดงว่าคุณก็ไปติดไอ้ตัวสำคัญอันหนึ่งคือทิฏฐิและ เอ้าแสดงว่าคุณแก้ไม่ได้ซึ่งทิฏฐิ ก็คุณก็ไปยึดติดในทิฏฐิว่าไม่ยึดติดผลประโยชน์ ก็ไปยึดติดความยิ่งใหญ่ของตัวเองใช่ไหม ยึดติดใน 2 อันนี้ก็ติดทิฏฐิ ตอนนี้มันกลายเป็นฝักใฝ่ในทิฏฐิ พอมีทิฏฐิแล้วแก้ไขตัวเองไม่ได้แล้วจะอยู่ในสังคมประชาธิปไตยไง สังคมประชาธิปไตยมันอยู่ไม่ได้ถ้าติดอยู่แค่ทิฏฐิตัวเอง นี่คือบททดสอบที่จะต้องแก้ปัญหาว่าเราต้องไม่อยู่ในอำนาจทิฏฐิของตัวเองนะ ว่าเอ้อเรารับฟังคนอื่นได้ เราอาจจะมีทิฏฐิท่านไม่ว่าคือมีความเห็นของตัวเอง แต่ว่ายินดีรับฟังคนอื่น แล้วก็ชี้แจงพูดกันดี ๆ ให้ปัญญาเขา นี่แหละครับพัฒนาคน ตอนนี้สังคมประชาธิปไตยประเทศไทยกำลังต้องการอันนี้ นั้นแทนที่เราจะไปพูดไอ้เรื่องสองฝ่ายจะเอายังไง ๆ นั้น ก็มาพูดอันนี้ก่อนอยากจะให้ประชาชนมีความสามารถในการคิดในการตัดสินใจให้ความรู้เขาไป ให้ปัญญาเข้าไป เราให้ไม่ได้หรอกปัญญา ให้เครื่องมือหรือข้อมูลคนที่เขาจะให้เขาพัฒนาตัวเองในทางปัญญานะ อ้าวเลยผมก็พูดเรื่อยเปื่อยไป ท่านมีอะไรถามไหมครับ อย่างไปคำนึงมากนักเอาเรื่องให้มันได้เรื่อง คือผมนี่ถ้าพูดแล้วทีนึงเนี่ย มันจะไปชั่วโมง 2 ชั่วโมงนี่มันคือกัน เพราะเวลาพูดนี่ต้องใช้ความดันโลหิตมาช่วย แล้วชีพจรมาช่วยมาก อย่างคราวที่แล้วเนี่ยกลับไปแล้ว ในราว 15 นาทีอ้าวนึกขึ้นได้วัดดู ชีพจร 127 หมอบอกธรรมดาคนหนึ่งชีพจร 100 เขาก็เหนื่อยแย่แล้ว ของผมนี่ชีพจรสูงยิ่งดี ถ้าไม่งั้นมพูดไม่ไหวหรอก พอชีพจรได้ 110 120 130 บางทีไปพูดที่โบสถ์ 130 กลับมากุฏิ ชีพจร 130 ปกติเขาชีพจรกันแค่ 5, 60 60 กว่า ถ้านักกีฬา ก็ 50 กว่า แล้วความดันก็ 160 ถึงเกือบ 200 นั่นแหละมีกำลังพูด นี้ถ้ามันขึ้นมาแล้วเนี่ยกว่ามันจะลดก็หลายชั่วโมง นี้ถ้าพูดไปแล้วก็พูดให้มันคุ้มไปเลย งั้นไปแย่ทีหลัง เอ้าถ้านิมนต์เชิญ เชิญ
คนฟังถาม เรียนถามพระเดชพระคุณ ในแง่ภาษาครับ ที่ผมสังเกตุที่เกิดจากการเคลื่อนไหวในทางการเมืองในครั้งนี้นะครับ อย่างเช่นคำว่าอาริยะขัดขืน เขาเอามาจากคำว่า Preview Disovedience ความหมายเดิมมันคือการที่พลเมืองไม่ยอมรับอำนาจรัฐ อำนาจขัดขืน แล้วคราวนี้มาใช้ภาษาไทยคำว่าอารยะขัดขืน อันนี้อยากเรียนถามพระเดชพระคุณว่าถูกต้องตรงตามความหมายในภาษาอังกฤษเดิมหรือเปล่าครับ ก็คำที่สองก็คือคำว่าตุลาการภิวัฒน์ที่เขาเรียกระบบที่ให้ระบบกฎหมายเรื่องระบบสื่อสารในปัจจุบันแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยครับ อันนี้ผมไม่ทราบว่าศัพท์ใช้คำว่าตุลาการภิวัฒน์ถูกหรือเปล่า แล้วก็คือใช้กันทั้งในสื่อมวลชนในแง่นักวิชาการทั้งคนทั่วไปก็เลยเอามาใช้ตามด้วยมา แล้วมาเกิดศัพท์ใหม่ ประชาภิวัฒน์ พลเมืองภิวัฒน์ ในแง่ภาษาไม่ทราบว่าถูกหรือผิดครับ
พระตอบ แหม แค่คำเดียวก็หมดเวลาแน่นอน เอ้าก็เมื่อกี้ถามอันแรกก็อาริยะขัดขืน ผมก็เพิ่มได้ยินระยะนี้นะ ว่าอาริยะขัดขืนเป็นศัพท์เพิ่มเกิดในช่วงนี้มั้งแล้วเขาจะตั้งขึ้นมาหรือบัญญัติเพื่อให้ตรงกับคำว่า Civil Disobedience หรือเปล่าใช่ไหม ต้องการนี้เหรอ เขาบอกหรือเปล่าว่าเขาต้องการให้ตรงคำนี้
คนฟังถาม หนึ่งในแกนนำของขบวนการเคลื่อนไหว
พระตอบ เขาเทียบสองศัพท์ด้วยใช่ไหม เอ้าถ้างั้นให้รู้ไปว่าเขาบัญญัติคำว่าอาริยะขัดขึน หรือจะเรียกว่าบัญญัติก็ต้องรอให้คณะกรรมการบัญญัติศัพท์หรือราชบัณฑิตที่มีหน้าที่เขาทำก่อน ตอนนี้เราก็ต้องพูดว่าตั้งศัพท์ เขาตั้งศัพท์อาริยะขัดขืนขึ้นมาเพื่อให้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Civil Disobedience ก็ที่จริงไอ้ Civil Disobedience มันเป็นศัพท์ที่มีศัพท์ไวพจน์อยู่สองสามคำ อีกคำหนึ่งก็ใช้ Passive Resistance หรือบางทีก็ใช้ Non Violence Resistance แล้วก็มาใช้อาริยะขัดขืน ก็คงมุ่งไปที่คำว่า Civil Disobedience นี่แหละ เราก็มาดูว่าความหมายมันยังไง ความจริงไอ้ Civil Disobedience มันมีมานานแล้ว แต่ว่ามันไม่ได้ชัดเจนขึ้นมา ตามประวัติที่ฝรั่งเขาว่าไว้นะ คือพวกนักประวัติศาสตร์ก็บอกว่าไอ้คำนี้ มันเด่นชัดผู้ที่ใช้คนแรกอย่างสำคัญก็คือท่านมหาตมะคานธีหรือท่านผู้รู้บอกให้อ่านใหม่ว่า มหาตะมาคานธี ว่างั้น มหาตะมะคานธี ที่นี้เราก็ติดปากกันแล้วเป็นมหาตมะคานธีชาวบ้าน ก็จะเรียกยังไงก็แล้วแต่นะให้รู้ว่า ท่านผู้รู้บอกว่า จะอ่านให้ถูก มหาตะมาคานธี นี่มหาตมะคานธีเป็นผู้ใช้ครั้งแรกแต่ท่านไม่ได้ใช้ศัพท์ของท่าน ท่านมีศัพท์สันสกฤต มหาตมะคานธีนี่ท่านใช้ศัพท์ของท่านเป็นสันสกฤต ตามแบบของอินเดียก็ใช้สันสกฤต ถ้าเป็นศัพท์สูง ถ้าใช้เป็นชาวบ้านก็เป็นฮินดี ทีนี้เป็นศัพท์สำคัญ ๆ ก็มักจะใช้ไปกันได้เอาสันสกฤตเป็นหลัก เราฮินดีก็ร่วมด้วยเพราะมันเป็นภาษาสายเดียวกัน ทีนี้ของท่านมหาตมะคานธีนี่ขอพูดง่าย ๆ นะเรียกว่าสัตยาคระหะ สัตยาคระหะเนี่ย ถ้าพูดแบบไทยก็เป็นสัตยาเคราะห์ เหมือนกับคำว่าสังเคราะห์ สงเคราะห์นี่แหละตัวเดียวกัน สัตยาคระหะ ก็มาจากคำว่าสัตย สัตย เช่นคำในซื่อสัตย์ ตรงกับภาษาบาลีว่าสัจจะใช่ไหม แปลว่าอะไรครับ แปลว่าความจริง เอาละครับได้ตัวที่ 1 สัตย ตัวที่ 2 อาคระหะ หรือบาลีว่า อาคหะ แปลว่าการถือไว้หมั่น การถือไว้มั่นอาคหะ คหะแปลว่าจับ หรือถือ ถือไว้มั่น แล้วฝรั่งแปลสัตยาเคราะห์ หรือ สัตยาคะระหะแปลว่า Devotion Trust The Devotion Trust แปลว่าความยืนหยัดก็ได้ ยืนหยัดในสัจจะ หรือยืนหยัดในความจริงหรือภักดีต่อความจริง แต่แปลให้มันเข้าก็ สัตยาคระหะ แปลไทยดีกว่าฝรั่ง แปลยืนหยัดในสัจจะ หรือแปลว่าถือมั่นสัจจะ เอาความจริงเป็นหลัก แล้วก็เลยทำให้เกิดกำลัง เพราะฉะนั้นฝรั่งก็แปลอีกศัพท์ แปลสัตยาครหะหรือสัตยาเคราะห์นี้ว่า Truth Ford แปลว่าพลังแห่งสัจจะ เอาละครับนี่ฝรั่งเขาว่า ทีนี้ว่ามหาตมะคานธีเป็นผู้ริเริ่มขึ้นมา มหาตมะคานธีนี้ท่านใช้ตั้งแต่นู่นแนะตอนนั้นท่านไปอยู่ที่แอฟริกาใต้ แล้วในราวปี ค.ศ. 1906 ถึงปัจจุบันเท่าไหร่ โอ๋ตั้ง 102 ปีแล้ว 102 ปีมาแล้ว นั่นแหละตอนนั้นแอฟริกานี่ก็เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ก็มีกฎหมายซึ่งพวกชาวอาณานิคมพวกเมืองขึ้นนี่เห็นว่ากดขี่ตัวเอง มหาตะคานธีนี่ก็เป็นคนหนึ่งที่เอาหลักการนี้ขึ้นมา มหาตามะคานธีก็เอาหลักการนี้ขึ้นมาถ้าเป็นพวกคริสต์นะ ก็คือการใช้หลักที่ฝรั่งแปลว่าใช้เรียกว่า Civil Disobedience ก็คือแข็งขืนไม่ยอมตามกฎหมายของรัฐ เพราะว่าถือว่ากฎหมายของประเทศเจ้าอาณานิคมนี่เป็นกฎหมายกดขี่เอาเปรียบพวกชาวอาณานิคมใช่ไหม บังคับขู่เข็นขูดรีดอะไรต่าง ๆ เอาเปรียบสารพัดแหละ นี้พวกนี้จะเอายังไงก็เลยใช้วิธีที่จะให้แก้กฎหมายโดยวิธีแข็งขืนไม่ยอมปฏิบัติตาม นี้ท่านก็เริ่มมาตั้งแต่อยู่ที่แอฟริกาใต้ ต่อมาท่านก็กลับมาที่อินเดีย ต่อมาอีก 11 ปีปรากฏว่าก็ได้เริ่มใช้สัตยาครหะนี้ในประเทศอินเดียคือ Civil Disobedience ในปี 1917 ก็ใช้เรื่องนี้ก็เพราะว่าอินเดียก็เหมือนแอฟริกาใต้ก็ตกอยู่ใต้การปกครองลัทธิอาณานิคมที่อังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมก็มีกฎหมายที่กดขี่ขูดรีดบังคับมากมาย มหาตมะคานธีก็มาเป็นผู้นำในการที่จะใช้วิธีการนี่ ในการแข็งขืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เพื่อจะให้เขายอมแล้วก็แก้กฎหมาย นั้นตัวสำคัญก็นี่จะคือแข็งขืนต่อกฎหมายนั้นเพื่อแก้กฎหมายด้วย เพื่อจะให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นมา ก็ใช้กันมานี่เรื่อยมานี่จนกระทั่งอินเดียได้เอกราชมาในราวปี 1945 47 ใช่ไหม หรือจะ 45 ได้เป็นเอกราชใช่ไหม 47 48 แบ่งเป็น 2 ประเทศหรืออะไรทำนองเนี้ยประมาณนี้แหละ โดยคร่าว ๆ ก็เรียกว่าสู้กันนานทีเดียว ทีนี้วิธีการสัตยาครหะนี่ ก็เราก็ต้องดูที่ว่าแข็งขืนไม่ยอมตามอำนาจปกครองหรืออำนาจบังคับของกฎหมายคือต้องการแก้กฎหมายไหนก็ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายนั้นแต่ว่าต้องทำสิ่งที่ดีงามถูกต้องอันนี้สำคัญมาก แล้วจะต้องไม่มีความรุนแรงเป็นอันขาด นั้นมหาอาตมะคานธีก็เป็นผู้นำที่ว่าจะไม่ยอมใช้ความรุนแรงเลย อังกฤษจะทุบตีจะฆ่าแกงยังไงก็ยอม เมื่อต้องเข้าคุกมายืนเรียงแถวให้จับเข้าคุกเลย อันนี้เป็นวิธีที่เรียกว่า Civil Disobedience ก็คือว่าต้องไม่มี Violence จริง ๆ แล้วต้องทำสิ่งที่ดีงามถูกต้องเป็นแต่เพียงว่าใช้วิธีที่แข็งขืนไม่ยอมปฏิบัติตามไอ้กฎหมายอันนั้นที่ต้องการแก้ไข ที่ไม่เป็นธรรมนั่นแหละ มันต้องจำเพาะเจาะจงลงไปเลยให้เห็นชัดแต่ว่าพฤติกรรมความประพฤติอื่นต้องดี นี้ก็มีผู้วิเคราะห์อีกว่า ไอ้คำว่าสัตยาครหะของท่านคานธีนี่ ที่จริงมันกว้างกว่า Civil Disobedience เพราะว่ามันเข้าสู่วิถีชีวิตด้วย Civil Disobedience อาจจะเฉพาะเหตุการณ์หรือพฤติกรรมในกระบวนการนั้นที่จะแข็งขืนแต่ว่าสัตยาครหะนี่หมายความว่าในการดำเนินชีวิตของเขานี่ต้องประพฤติตัวอยู่ในศีลธรรมเป็นคนดีด้วย แล้วก็มีวางต่อไปถึงจุดหมาย ว่าต้องเป็นจุดหมายที่เป็นไปเพื่อ Hamony ไม่มุ่งที่ Defeat หรือ Victory หมายความไม่ต้องการแพ้ชนะกันแต่เอาที่ประสานกลมกลืนโดยสามัคคีเป็น Hamony นั้นก็สัตยาครหะที่แท้มีความหมายกว้างกว่า Civil Disobedience แต่ถือว่า มหาตมะคานธีนี่เป็นผู้ทำจริงจังเป็นคนแรกแล้วก็ทำได้สำเร็จ แล้วต่อมาผู้ที่ทำตามก็คือพวกคนดำ นำโดยมาร์ตินลูเธอร์คิงจูเนียร์ในอเมริกาในช่วง ค.ศ.ทศวรรษ 1950 มา 1950 1960 ต่อมามาร์ตินลูเธอร์คิงก็ถูกยิงตายซะ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่า ปัญหาอย่างคนดำในอเมริกาก็ยังต้องไม่จบก็มีทั้งพวกที่ใช้วิธีแบบรุนแรงก็มีแต่ก็มาร์ตินลูเธอร์คิงนี่เป็นบุคคลที่เป็นที่นิยมนับมากที่สุดในกระบวนการที่จะแก้ปัญหาเรื่องผิวให้คนผิวดำได้มีสิทธิมีเสียงอะไรเนี่ย เอาละครับเราทีนี้เราก็ดูเรื่องที่เป็นมา เป็นอันว่าหลักการ Civil Disobedience นี้ก็ต้องแข็งขืนกฎหมายที่ตัวจะต้องแก้ไขนั้นจำเพราะให้ชัดลงไป 2 ก็ต้องกระทำโดยตัวเองไม่มีความรุนแรงเลยเป็นอันขาด แล้วตัวเองจะต้องประพฤติดีอยู่ในหลักศีลธรรม แล้วก็ต้องทำตามโดยแสดงความไม่รุนแรงจริง ๆ ก็หมายความว่าเมื่อกฎเกณฑ์กฎหมายอะไรเขาให้ติดคุกก็ยอมติดคุกอะไรทำนองนี้นะ อันนี้ก็ว่าไปตามนั้นเลย เพราะคานธีท่านทำมา เขาฆ่าก็ฆ่า ฉันก็ไม่ทำอะไร คนอินเดียก็ตายเยอะเหมือนกันนะ มหาตมะคานธีก็เข้าคุก เข้าคุกอยู่นี่ไปนอนในคุกด้วย เขาจะจับเข้าคุกก็ยืนเข้าแถวให้จับเข้าคุกอะไร เอาละครับเอาพื้นทั่วไปก่อน นี้ก็มาดูศัพท์ในเมื่อ Civil Disobedience เป็นที่มาของอารยะขัดขืน เราก็มาดูว่า ทำไมจึงมาตั้งความหมายนี้ขึ้นมา ก็ขัดขืนนั้นก็ Disobedience ก็แปลว่าไม่เชื่อฟังก็ขัดขืน หรือ Resistance ก็เหมือนกันใช่ไหม ก็ขัดขืนเหมือนกัน ต้านทานขัดขืน นี้ว่าอารยะมายังไง อารยะมันก็มาจากนี่แหละครับ Civil ทำไมอันนี้มันเรื่องยาวเหมือนกัน คือ Civil นี่ ที่จริงมันไม่ได้แปลว่าอารยะหรอก ตัวศัพท์มันก็แปลว่าของพลเมือง เพราะ Civil นี่มันรากศัพท์เดียวกับ City Citizen คำว่า Civil นั้นก็แปลเรื่องของ Citizen ใช่ไหม แปลตามศัพท์เลย Civil ก็คือเรื่องของ Citizen Citizen คืออะไร Citizen คือพลเมือง พลเมืองคืออะไรคือคนเมือง คนที่อยู่ในเมือง ทีนี้เรื่องของคนเมือง มันมาเป็นยังไงกับอาริยะ เออเอาล่ะครับก็คือว่าฝรั่งเนี่ยอารยธรรมกรีกโรมันก็เจริญขึ้นมาก็มีเมืองอยู่ พวกที่เจริญก็อยู่เมืองใช่ไหมเป็น Citizen แล้วก็ถือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระบบการปกครองอะไรต่ออะไรเนี่ย ระบบที่เป็นของคนที่อยู่ในเมืองเนี่ยก็เป็นผู้เจริญ เป็นผู้เจริญก็เป็นศิวิไลซ์ ก็คือเป็นเรื่องของความเป็นคนเมืองนั่นเอง ก็คือคนเมืองเป็นคนเจริญก็ไปเทียบกับคนอื่น ที่ไม่ใช่คนอยู่ในเมืองก็เรียกพวกนั้นว่า Savage เป็นพวกป่าเถื่อน เป็นพวก Barbarian เป็นพวกป่าเถื่อน เดี๋ยวนี้แปลกันว่าอารยะ ที่จริงก็พวกป่าเถื่อน เอาละก็เลยกลายเป็นมีศัพท์เทียบพวกที่อยู่เมืองก็กลายเป็น Citizen มี Civilization เป็นพวก เป็น Civil แล้วก็พวกที่ไม่อยู่ในเมืองเป็นพวกป่าเถื่อนเป็น Savage เป็น Barbarian ต่อมาพวกก็เลยพวกที่อยู่ในเมืองที่เจริญ พวกกรีกโรมันเป็นต้น แล้วก็มาฝรั่งเป็นต้น ก็ถือตัวเองเป็นพวก Civilize เป็นผู้เจริญแล้วก็เห็นผู้อื่นเป็น Savage เป็น Barbarian ก็จะมาเผยแพร่วัฒนธรรมของตัวเองก็มาสร้างความเจริญก็บอกจะไป Civilize พวกมนุษย์ป่าเถื่อนทั้งหลาย พวก Barbarian พวกเอเซีย พวกอะไรพวกนี้ที่เป็น Barbarian พวกฝรั่งก็จะมา Civilize มาทำให้เป็นคนเมืองนั่นเอง เอาละครับที่นี้ คำศัพท์ไอ้เดิมนั่นเป็นศัพท์ว่าเมือง แต่ว่าความหมายมันมีนัยยะว่าคนเมืองเป็นคนที่เจริญ เอาละ ก็เลยต่อมาศัพท์นี่ก็เข้ามาเมืองไทย Civilazation จะแปลว่าไงตอนนั้นผมยังเด็ก ๆ อยู่เท่าที่จำได้ ตอนนั้นยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ ตอนแรกมีคำว่านาครธรรม คำว่า Civilization แปลว่านาครธรรม ธรรมของชาวเมือง ตรงเป้งเลยนะ แปลเป็นระบบชีวิตอะไรของคนที่เป็นชาวเมือง นาครก็คือคนที่อยู่ในนครเป็นภาษาบาลีคนที่อยู่ในนคร เรียกว่านาคร ก็แปลว่านาครธรรม ทีนี้ต่อมาก็มีการบัญญัติศัพท์ไม่ทราบใครจะเป็นท่านวันหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ท่านวันก็ท่านพระองค์เจ้าวรรณไวทยากรตอนนั้นท่านเป็นประธานในเรื่องการบัญญัติศัพท์ อาจจะเป็นท่าน แต่ผมไม่ยืนยันต้องไปค้นดู ก็บัญญัติคำว่า Civilization แปลเป็นไทยให้ใช้คำว่าอารยธรรมอ้าวทำไมใช้อริยะ เอ้อ เอาละทำไมบัญญัติ Civilization ความเป็นคนเมือง ซึ่งเป็นคนที่มีนัยยะความหมายว่าเจริญ แล้วมาเป็นนาครธรรมมาเป็นอารยธรรมได้ไง เราไปดูสายอินเดียบ้างสายอินเดียเนี่ยอารยธรรมอินเดียก็เป็นที่มาภาษาของเราใช่ไหม ภาษาบาลีสันสกฤต พวกชนที่มาบุกอินเดียเมื่อซัก 3-4 พันปีก่อนก็เป็นพวกอารยัน ถ้าเรียกเป็นภาษาบาลีเรียกว่าอริยกะ พวกอริยกะนี่หรืออารยันเนี่ยก็มาจากแถว ๆ เขาสันนิษฐานนะไม่ได้แน่นอนลงไป แถวทะเลสาบ Caspian แล้วก็อพยพลงมาถึงอิหร่านก็เข้าครอบครองอิหร่าน แล้วก็พวกหนึ่งหลักจากครองก็แยกมาจากอิหร่านนั้นก็บุกเร่ร่อนมาจนถึงอินเดียก็บุกเข้าอินเดีย คนพวกนี้เรียกคนพวกอารยัน นั้นอิหร่านนี่ฝรั่งจึงแปลว่า The land of the Aryan อ้าวละครับ อิหร่านนี่แหละชนเผ่าอารยัน อิหร่านนี่ไม่เหมือนพวกตะวันออกกลางอื่นเป็นชนเผ่าอารยัน ไม่ใช่ชนเผ่าอาหรับ ไม่ใช่เซมิติก เอ้าที่นี้ก็ฝ่ายพวกอยู่ในอิหร่านก็อยู่ไป ทีนี้พวกอารยันที่ไม่อยู่ในอิหร่านก็อพยพกันมา ก็เป็นพวกเร่ร่อน แล้วก็ตอนนี้มีพระอินทร์เป็นเทวดายิ่งใหญ่เพราะว่าต้องรบเก่ง รบ ๆ ก็มาสู้จนกระทั่งบุคเข้าอินเดียได้ก็เข้าตีอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ทาระปาโม โจเรโด ลงไปแล้วพวกนั้นซึ่งมีอารยธรรมอยู่ก่อนแล้วก็เลยพินาศ พินาศก็จับชนพวกนี้เป็นทาส เป็นทัศยุหรือบางทีเรียกว่าพวกมิลักขะในภาษาบาลีในพุทธประวัติเราจะเรียนคำว่ามิลักขะ ก็กลายเป็นคนป่าคนเถื่อนไปชนท้องถิ่น พวกอารยันก็ขึ้นเป็นใหญ่ อารยันก็เป็นเรื่องของเผ่าพันธุ์มนุษย์นี่เอง เดิมนะเดิมนะ เป็นภาษาบาลีเรียกว่าอริยกะ ทีนี้เพราะความเป็นอริยกะนี่ มาเป็นผู้ปกครองเป็นใหญ่ก็เป็นฝ่ายที่เจริญ ก็กดเรียกไอ้พวกที่เป็นทาสหรือถูกปกครองพวกที่ไม่มีอำนาจก็ถูกเรียกเป็นผู้ไม่เจริญเป็นพวกอนาริยะ อนาริยะชนเอาแล้วครับ เกิดแล้วศัพท์คู่ว่า อริยะกับอนาริยะ อนริยะกับอนาริยะ ก็เกิดจากเผ่าชนนี่แหละ แต่ในความเป็นเผ่าชนนั้นก็คือถือว่ามีความเจริญ ความเจริญในระบบวิถีชีวิตเรื่องของการก่อสร้างบ้านเมืองอยู่เมืองอะไรนี่ เข้ามาแบบเดียวกับกรีกโรมันเหมือนกัน เพราะฉะนั้นไอ้ความเป็นอารยะมันก็เลยมาประสานกับความมีเชื้อชาติหนึ่ง แล้วก็สองก็คือเรื่องของระบบวิถีชีวิตการอยู่ในวิถีชีวิตแบบเมืองที่เจริญก้าวหน้าเป็นผู้ปกครองมีวัฒนธรรมมีการค้าขายอะไรใหญ่โต นี้ก็เลยความเป็นอารยันก็อยู่ที่นี่ นี่เมื่อพวกอารยันมาปกครองพวกคนท้องถิ่นแล้ว
ตอนนี้ก็เกิดเทพเจ้าใหม่เรียกว่าพระพรหม พระอินทร์ก็ชักตกอันดับ พระอินทร์ตกอันดับก็ ก็ยังเป็นใหญ่อยู่เหมือนกันแต่ว่าตอนนี้เกิดเรื่องเกิดราวเสียหายไปเป็นชู้กับเมียพระฤษีบ้าง อะไรต่ออะไร ถูกสาปวุ่นวายแต่ว่าที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ตอนนี้ก็พระพรหม พระพรหมนี่ก็คือเทพเจ้าของพวกปัญญาชน คือตอนที่เร่ร่อนอยู่เนี่ย พระอินทร์นี่เทพเจ้านักรบก็ต้องเป็นใหญ่เพราะตอนนั้นนักรบเป็นใหญ่ นี้พอมาเข้าสถานที่แล้วตอนนี้ต้องใช้ปัญญาบ้านเมืองสงบแล้ว พวกปัญญาชนก็ขึ้น พอปัญญาชนขึ้นก็ชนวรรณะพราหมณ์ก็ขึ้นเป็นใหญ่ พราหมณ์เป็นใหญ่ พระพรหมก็เป็นใหญ่ เทพเจ้าพระพรหมก็ขึ้นมาเป็นสูงสุด พรหมสูงสุดแล้วก็แบ่งชนมาเป็นวรรณะ 4 นี่แหละครับที่ อินเดียเกิดวรรณะ 4 มีกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็บอกว่าพราหมณ์ต้องเอาพราหมณ์เป็นหนึ่งในระบบของพราหมณ์ พราหมณ์นั้นเกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม เป็นปัญญาชนเป็นผู้สอน เป็นผู้สื่อสาร บอกกล่าวแก่ประชาชนโดยรู้พระประสงค์ของพระพรหม แล้วก็กษัตริย์เป็นผู้ที่ใช้แขน ใช้พาหาเป็นนักรบ สร้างจากพาหาเป็นแขนของพระพรหม แล้วก็แพศย์ไวศยะก็เกิดจากตะโพกพระพรหมณ์หมายความว่าใช้เดินเป็นพ่อค้าวาณิชเจ้ากองเกวียนเป็นต้น เป็นคหบดีค้าขายเก่ง แล้วก็วรรณะที่ 4 ก็คือพวกเจ้าหน้าที่ถูกกดลงเป็นทาสเป็นศูทร แล้วก็ถือว่า 3 วรรณะแรกเป็นอริยะไปดูคำจำกัดความ เวลาเขาบอกอารยะคืออะไร อรายะ อรายะกะ อรายันคือ พราหมณ์กษัตริย์แพศย์ ส่วนศูทรวรรณที่ 4 นั้นไม่ได้เป็นอารยแต่เป็นอนารยัน เอาละครับ ท่านจะเห็นที่มาที่ไป ทีนี้ไอ้คำอารยะหรืออาริยะก็กลายเป็นว่ามันมีความหมายเป็นว่า เป็นคนชั้นสูง เป็นคนเหนือคน เป็นคนเจริญ แปลเป็นภาษาอังกฤษก็แปลว่า อารยะ อาริยะ เป็นโนเบิล แล้วก็ไทยเราก็ไปแปลเข้ากับเมื่อกี้เป็น Civilize ไป อารยะ เอาละครับ ทีนี้ความเป็นคนเจริญก็เลยเป็นเรื่องของคำว่าอรายะหรืออาริยะไป ทีนี้ความเป็นอริยะก็ดี Civilization ก็ดีเนี่ยก็มักจะมีความหมายเป็นเชิงรูปธรรมไปแล้วใช่ไหม
ทีนี้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเนี่ย พระองค์ก็มาแก้ปัญหานี้พระองค์ไม่ทรงเห็นชอบ พระองค์ถือว่าการถือเทพเจ้าสูงสุดเป็นผู้ดลบันดาลไม่ถูกต้องมนุษย์จะต้องเพียรพยายามทำความสำเร็จด้วยการทำเหตุปัจจัยด้วยตนเอง แล้วก็ศาสนาพราหมณ์บอกพระพรหมประทานพระเวศมา พระเวศกำหนดยังไงต้องเป็นไปตามนั้น พระพุทธเจ้าบอกไม่ต้องนับถือพระเวชมนุษย์เราศึกษาได้ทุกคนมีปัญญาให้ฉลาดได้ พัฒนาไตรวิชา วิชา 3 ดีกว่า เพราะว่าพวกพราหมณ์เท่านั้นจะรู้ไตรเพท พระพรหมสื่อกับพราหมณ์ ให้ไตรเพทมาทางพราหมณ์คนอื่นก็แย่สิ พวกกษัตริย์แพศย์ก็พอเรียนยังเป็นอริยะ แต่สูตรนี้เรียนไม่ได้เลย ถ้าไปฟังสาธยายพระเวท ผมเคยเล่าให้ฟัง แค่ไปฟังสาธยายพระเวทตอนหลังเขามีกฎกติกาว่าให้เอาตะกั่วหลอมหยอดหูมัน ถ้ามันสาธยายพระเวทให้ตัดลิ้นมันเสีย นั้นก็ผูกขาดการศึกษาหมด พระพุทธเจ้าก็บอกว่าไม่ต้องไปพึ่งพาพระเวท ทุกคนนี่ไม่ว่าเกิดในวรรณะไหนก็มีปัญญารู้วิชาสามพระเวท 3 ก็เกิดเป็นความหมายใหม่คือความรู้ที่เกิดขึ้นในการพัฒนามนุษย์แต่ละคนทุกคนเข้าถึงความรู้หรือไตรเพทหรือไตรวิชานี้ได้หมด นั้นพระองค์ก็เลยยกเลิกไม่เอาเรื่องวรรณะ 4 1 ไม่เอาพรหมณ์เป็นใหญ่เป็นผู้สร้างสรรค์บันดาล 2 ไม่เอาพระเวทว่าเป็นตัวกำกับสังคมชีวิตอะไรต่ออะไรของมนุษย์ทั้งหมดและกำกับกำหนดผูกขาดการศึกษาแล้วก็ 3 วรรณะ 4 เรื่องที่จะแบ่งชั้นคน เป็นอริยะสามชั้นไม่เป็นอริยะ 1 ชั้น อะไรไอ้พวกล่างถูกกดขี่แย่ พระพุทธเจ้าก็บอกว่าเธอจะเป็นคนวรรณะไหนไม่เกี่ยวนอกวรรณะยังได้เป็นจัณฑาลเข้ามาบวชได้เลยว่าอย่างงั้นนะ ก็ล้มเลิกระบบวรรณะเสียไม่เอาวรรณะ 4 แล้วอีกอย่างหนึ่งก็พรหมณ์ก็ต้องบูชายัญก็ถือว่าสิ่งทั้งหลายจะสำเร็จได้จะป้องกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนภัยพิบัติได้ต้องการโชคลาภยศก็ต้องไปอาศัยบูชายัญให้เทพเจ้าบรรดาพุทธเจ้าบอกว่าให้เพียรพยายามทำด้วยกำลังของตนเองด้วยการที่ศึกษาให้รู้เหตุปัจจัยให้มีปัญญารู้เหตุปัจจัยแล้วทำเหตุปัจจัยของมันให้เกิดผลที่ต้องการ อันนั้นก็เลยล้มเลิกไอ้ระบบบูชายัญ บอกว่าไม่ต้องบูชายัญ เลิกหมดเลยหลักการสำคัญ 4 ของพราหมณ์นี่ 1 พรหมณ์ 2 พระเวท 3 วรรณะ 4 และ 4 การบูชายัญ นี้พอพระพุทธเจ้ายกเลิกอันนี้ พระองค์ก็ให้ความจำกัดความใหม่เพราะว่า คำว่าอารยะเดี๋ยวนี้มีความหมายในแง่คือคนเจริญ นัยยะว่าเจริญ พระพุทธเจ้าก็เอาใหม่เลย ทีนี้ตอนนี้เราจะมีคำว่าอริยะ ที่พระพุทธเจ้ามาใช้ เว้นอริยบุคคลคือไง เรียนแล้วไม่ขึ้นเชื้อชาติไม่ขึ้นต่อรูปธรรมใช่ไหม ก็คือพัฒนาตัวเองดีเป็นอริยบุคคลชั้นที่หนึ่ง เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ทุกคนเป็นได้ทั้งนั้นพัฒนาเข้าไป แต่เอาง่าย ๆ อย่างในคาถาธรรมบท บอกว่าไง นะเตนะอลิโยโหติ แล้วไปลงท้ายว่า อหิงสาสัพปานานัง อริโยติผวุจจติ ตรงนี้ ที่เอามาใช้ตรงนี้ คือพระพุทธเจ้าทรงให้ความหมายประทานความหมายใหม่แก่คำว่าอริยะความเป็นอาริยะหรืออารยะนั้นอยู่ที่อะไร อยู่ที่ชีวิตจิตใจคุณภาพในตัวคนที่พัฒนาให้ดี อย่างน้อยก็อาหิงสาสัพพะปานังอริโยติปวุจะติ บุคคลใดจะเรียกว่าเป็นอริย อหิสา สัพพะปานานัง อหิงสามาแล้ว เพราะอหิงสาไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง นี่ครับ ความหมายมาแล้ว มาเป็นความหมายเชิงนามธรรมที่เป็นการพัฒนามนุษย์ อันนี้ขั้นหนึ่งนะ ก็เป็นอันว่าความหมายอริยะมาแล้ว แล้วอีกแห่งหนึ่งพุทธเจ้าก็ตรัสลึกลงไปอีก ภิกษุชื่อว่าเป็นอริยะได้อย่างไร บอกว่า อารักษ์อาปากาอกุศลาธรรมา เป็นผู้ห่างไกลจากบาปอกุศลธรรมทั้งหลายชื่อว่าเป็นอริยะ เชื่อว่าเป็นอริยะก็เพราะว่า ห่างไกลจากบาปอกุศลธรรมสิ่งที่ไม่ดีเป็นบาปเป็นอกุศลทั้งหลายสิ่งที่ชั่วร้ายเลวทราม โดยเฉพาะก็ง่าย ๆ โลภะโทสะโมหะ หรือตัณหามานะทิฏฐิ เอาแล้วครับนี่คืออริยที่ความหมายแบบพราหมณ์ฮินดูในสังคมเก่าของอินเดียที่คล้ายกับคำว่า Civilize ของตะวันตกที่มีพัฒนาการคล้าย ๆ กันความหมายก็เป็นแบบคล้ายกันบ้างก็คือความเจริญหรือความเป็น Civilize หรือเป็นคนอารยะขึ้นต่อรูปแบบทั้งรูปธรรมที่เป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าในทางเลือกของระบบการดำเนินชีวิตและระบบสังคม เช่น เศรษฐกิจการเมืองเป็นต้น นี่พระพุทธเจ้าบอกว่า เจ้าพวกอาระยะเรียกตัวว่าอริยะนี่มันหั่มหั่นฆ่ากันพินาศหมด ฆ่ากันเหลือเกินเบียดเบียนเหลือเกินไม่เอาหรอกนะ เพราะฉะนั้นพระองค์ก็ให้ความหมายใหม่ว่า อริยะอยู่ที่อหิสาสะปะปานานัง เพราะอหิงสาไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย อริยะขั้นที่หนึ่ง แล้วก็ขั้นลึกลงไปก็จิตใจก็ห่างไกลบาปอกุศลธรรม ก็ได้ความแล้วนะ
ทีนี้เราก็มาดูว่าที่ท่านมาตั้งศัพท์ว่า Civil Disobedience เราตั้งศัพท์เป็นอารยะขัดขืน ขัดขืนก็ Disobedience หรือ Resistance แล้วก็ Civil ก็แปล Civilization ว่าอริยะแล้ว นั้นก็แปล Civil ตัวนี้เป็นอารยะได้ก็คงคิดทำนองนั้น ก็เลยแปลว่า Civil Disobedience นี้แปลว่าอริยะขัดขืน นี้ถ้าเรามาพูดกันเพื่อให้คนนี่พัฒนาอริยะขัดขืนแบบนี้ก็ได้แค่แบบฝรั่งใช่ไหม ก็ยังมีกฎมีกติกา ถ้าเป็นอารยะขัดขืนจริงนี่ มันต้องให้ชนะใจตนเอง ขัดขืนต่อตัณหามานะทิฏฐิในใจตัวเองได้ นี่แหละอารยะขัดขืนใจที่แท้จริง จะแน่กว่าฝรั่ง Civil Disobedience จึงไปไม่ถึงอาระขัดขืน แต่ต้องเป็นอารยะขัดขืนในความหมายที่แท้ของพุทธศาสนาที่เป็นอริยะห่างไกลจากบาปอกุศลธรรมทั้งหลายก็คือไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของตัณหามานะทิฏฐิ สำรวจตัวเองเลย เอออย่าให้ตัณหามานะทิฏฐิมาครอบงำจิตใจของเรา แม้แต่ทิฏฐิ ทิฏฐิตัวสำคัญ ผมเล่าแล้วนี่ ทิฏฐินี่เป็นตัวสำคัญอย่างยิ่งในระดับที่ว่ากันยิ่งโลกมนุษย์เจริญพัฒนา ไอ้ทิฏฐินี่ตัวร้ายที่สุด ถ้าเอาชนะทิฏฐิไม่ได้ ประชาธิปไตยก็ไปไม่รอดหรอก เรื่องทิฏฐิเราจะมีพูดกันอีก วันนี้คิดว่าเวลามันมากแล้วนะ เอาละนะครับพอเห็นนะ ไอ้ Civil Disobedience หรืออาริยะขัดขืนเป็นยังไงก็ได้แค่อารยะขัดขืนขั้นที่ 1 ตรงกับ Civil Disobedience หรือจะเป็น Non Violence Resistance หรือ Passive Resistance ก็แล้วแต่ ถ้าใช้ Passive มันน่าจะใช้คำว่านิรกกิริยาขัดขึ้น เพราะว่ามันตรงข้ามไอ้ Passive มันตรงข้าม Active Active ก็พวกที่มี ถ้าเป็นตรงข้ามแท้ก็เป็น weary reaction เป็น reactive ก็ reaction ก็เป็นปฏิกิริยา ตรงข้ามปฏิกิริยาก็เป็น Passive ไม่มีปฏิกิริยาใครทำอะไรมาก็รับ ยอม อย่างนี้ก็ต้องเป็นนิระกิริยา ใช่ไหม ตรงข้ามกับปฏิกิริยา ถ้าเป็นนิริกิริยาขัดขืน ถ้าหากตอนนี้จะเป็นได้ก็อาจจะเป็นขั้นนี้ ถ้าจะเป็นอารยะขัดขืนอยู่ได้ถึงแท้จริงก็ต้องไม่ยอมแก่ตัณหามานะทิฏฐิในใจของตนเองแล้วไปสำรวจตัวเอง ถ้าพัฒนานี้ขึ้นมาได้จะเข้าพุทธศาสนาได้จริงนะครับ เอาละครับ นะครับโมทนา ไหนครับ คนฟังถาม ยังไม่ได้ตอบประเด็น เอ้อยังไม่ได้พูดเลยว่า เอ้าก็ท่านมาถามเรื่องอื่น 2 อันนี้ก็ค้างไว้ก่อน คนฟังถาม ค้างไว้ก่อน กลายเป็นว่าถ้าพูดเรื่องนี้อีก 5 ครั้งก็ไม่จบนะ แต่ก็ดีนะสถานการณ์อะไรมันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมาคิดพิจารณาให้ใช้ปัญญารู้เท่าทันพิจารณาเรื่องนั้นด้วยปัญญา 1 แล้วก็พัฒนาปัญญายิ่งขึ้นไป แล้วก็ช่วยสังคมสถานการณ์บ้านเมืองเวลานี้เราช่วยกันเมืองได้เลยแบบนี้จะเป็นการช่วยที่ดีกว่าที่จะไปคลุกอยู่ในนั้น หรือท่านว่ายังไง นี่อยากจะให้ประชาชนได้ปัญญา แล้วก็เป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจได้ดีขึ้น ประชาชนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องมีความสามารถในการตัดสินใจนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดเลย เพราะการปกครองอยู่ที่ไหนการปกครองอยู่ที่อำนาจตัดสินใจ อำนาจตัดสินใจอยู่ที่ผู้ใดผู้นั้นคือผู้ตัดสินชะตากรรมของการปกครองของบ้านเมืองของสังคม แล้วเขาต้องการให้ประชาชนเป็นผู้ปกครองก็คือ ให้ประชาชนนี่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจตัวเองก็ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจเพื่อใช้อำนาจตัดสินใจนั้นให้ถูกต้องอย่างน้อยเป็นธรรมาธิปไตยตัดสินใจโดยยึดหลักเอาธรรมเอาความถูกต้องความจริงความดีงามประโยชน์สุขของสวนรวมเป็นใหญ่ นี่และครับก็ต้องพัฒนาประชาชน นี้ตอนนี้ประชาชนนี่ระบบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งแบบตัวแทน คือไปมอบอำนาจตัดสินใจให้ผู้แทนราษฎร ตัวเองมีอำนาจตัดสินใจแต่ว่าไปมอบอำนาจตัดสินใจให้เขา แล้วตัวเองก็เลยไม่พัฒนาตัวเองต้องถือว่าตัวเองยังมีอานาจตัดสินใจต้องใช้และพัฒนาตัวเองเสมอ นั้นถ้ามันไม่ได้ความมัวไปมอบอำนาจตัดสินใจให้เขาแล้วก็ยกปล่อยปละละเลยการพัฒนาตัวเองผลที่สุดประชาธิปไตย มันก็อยู่ไม่ได้ เพราะประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชนมีส่วนร่วม ส่วนร่วมการปกครองมีอำนาจตัดสินใจเมื่อมีความสามรถสติปัญญา เมื่อตัวไม่มีสติปัญญาปล่อยปละละเลยไม่พัฒนาปัญญาตัวเองต่อไปอำนาจตัดสินใจตัวเองมอบอำนาจให้เขาแล้ว ไอ้ปัญญาตัวเองก็ไม่พัฒนาต่อไปเขาก็เอาอำนาจตัดสินใจแล้วก็เอาไอ้เรื่องของการบงการเผด็จการมาใช้โดยตัวเองไม่รู้ตัวช่วยไม่ได้ ฉะนั้นอย่างไปโทษใครมาก โทษประชาชนนี่แหละคือเรามักจะไปโทษพวกโน้น พวกนี้ คือโทษได้แต่อย่าไปมัวติดแค่นั้น ในที่สุดต้องโทษประชาชนเพราะว่าเราเป็นผู้รับผิดชอบ ประชาชนรับผิดชอบต้องสำนึกในความรับผิดชอบของตนเอง แล้วถ้าไม่พัฒนาตนเองก็คือตกในความประมาท เมื่อตนเองอยู่ในความประมาทตัวเองก็อยู่ทางแห่งความตายใช่ไหม แล้วจะไปว่าใคร นั้นตอนนี้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นบททดสอบประชาธิปไตยเป็นแบบฝึกหัดของการที่จะพัฒนาประชาธิปไตย แล้วก็เป็นบทเรียนของความเป็นประชาธิไตย เป็นบทเรียนประชาธิไตยเมืองไทยด้วยนะอันนี้ ให้เห็นว่าเมืองไทยก็ไป ๆ มา ๆ ก็วนเวียนอยู่แค่นี้เองใช่ไหม เพราะมันไม่พัฒนามนุษย์ให้ดี ประชาชนที่ส่วนหนึ่งมาเป็นนักการเมือง แล้วประชาชนส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ส่วนทั้งหมดก็เป็นนักการเมือง คือนักการเมืองก็มาจากประชาชน แล้วประชาชนก็มาเล่นการเมืองตกลงประชาชนนี่ยังไม่มีคุณภาพก็เลยมาเป็นนักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ แล้วมาเป็นผู้เลือกตั้งที่ไม่มีคุณภาพถูกไหม ฉะนั้นก็เลยได้บทเรียนก็เกิดวิกฤตการณ์นี้ขึ้น วิกฤตการเมืองนี้เกิดขึ้นเป็นบทเรียนให้รู้ว่าเพราะตัวเองปล่อยปละละเลยตกอยู่ในความไม่ประมาทไม่พัฒนาตัวเองถึงเป็นอย่างนี้ แล้วยังขืนไม่ได้เรียนบทเรียนนี้อีก ไม่แก้ไขพัฒนาตัวเอง ตัวเองก็จะต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏนี้ต่อไปเข้าใจไหม ก็คือว่ามันก็จะว่ายวนอยู่ในไอ้ความเกิดวิกฤตอะไรแบบนี้ต่อไปอีก ไม่ว่านักการเมืองฝ่ายไหนจะมาเสนอระบบไหนขึ้นมาจากประชาชนไม่ได้พัฒนาในที่สุดไปไม่รอดเชื่อไหม งั้นก็อย่าไปหวังแค่มาวางระบบอะไรต่ออะไรกันเลย ต้องให้ชัดว่าเราจะพัฒนาประชาชนอย่างไร จัดระบบสังคมอย่างไรที่เอื้อต่อการพัฒนามนุษย์ เราจะมาพูดกันอีกในเรื่องทิฏฐิ ทิฏฐิมีเยอะเลยยาว เอาละครับวันนี้พูดแค่นี้ก่อน เอ้อว่าเสียยึดยาว ไม่ผมไม่ได้ว่าเขา แต่ผมว่าประชาชนไม่ค่อยมีใครว่าประชาชน เรื่องอะไรชวนประชาชนไปด่าไอ้ควายใช่ไหม นี่อย่างนี้ไม่มีทางไปสังคมแบบนี้ ต้องเตือนเลยประชาชนนี่ตัวสำคัญรับผิดชอบให้สำนึกถึงความรับผิดชอบตัวเองตื่นขึ้นมาตอนนี้ไม่ต้องมาทะเลาะกันไม่ต้องแตกแยกกันตั้งแต่ในบ้าน พิสูจน์ประชาธิปไตยตั้งแต่ในบ้าน พ่อแม่ทะเลาะกันแสดงว่าความเป็นประชาธิปไตยของเมืองไทยไปไม่รอดในบ้านยังไปไม่รอดต้องฟันกันได้ เอาละครับหมด