แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : เจริญพรท่านอาจารย์ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน วันนี้กำหนดการจริงให้เริ่มตั้งแต่ 9 โมง พอดีเกิดขลุกขลักเรื่องเดินทาง อาตมาไม่ได้ช้าหรอก มาถึงทัน เกือบพอดี 9 โมง แต่ว่าพอรถถึงทางเข้านึกว่าคลอง ก็เลยวิ่งเลยไป พอเลยไปแล้วก็เลยกลับไม่ได้ ก็ไปโน่นไปวนทางสะพานพุทธมาใหม่ ก็เลยมาถึงช้า วันนี้ก็เป็นอันว่ามาถึงแล้ว แต่ว่าก่อนจะพูดวันนี้ขอทำความเข้าใจกันนิดหนึ่ง ว่าโดยเหตุอะไรก็ไม่ทราบ ทำให้เปิดซองหนังสือนิมนต์เมื่อวานนี้เอง ก็เลยมาเตรียมเรื่องพูดเอาเมื่อคืน เพราะฉะนั้นรู้สึกว่าไม่ค่อยจะมีเนื้อหาสาระเท่าที่ควร ความจริงทางอาจารย์ด็อกเตอร์สุจิตราก็แจ้งนิมนต์ไว้นานแล้วด้วยวาจา แล้วก็ส่งหนังสือก็นานแล้ว แต่ด้วยเหตุที่ว่าแจ้งด้วยวาจานาน อาตมาเข้าใจเป็นว่าพูดเรื่องเก่า หมายความว่าพูดเรื่องหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา ทีนี้ต่อมาเมื่อใกล้ๆ นี้ จึงได้ทราบจากคุณวรเดชว่าพูดเรื่องพุทธรัฐศาสตร์ กำลังมีงานกระชั้นมาก ก็เลยไปยุ่งกับเรื่องอื่นๆ จนกระทั่งมาถึงเมื่อวานนี้มาเปิดซองจดหมายอย่างที่ว่า นี่ก็เลยเป็นเรื่องที่ปัจจุบันทันด่วนไปหน่อย ความจริงเรื่องพุทธรัฐศาสตร์ก็เป็นวิชาการที่ถ้ามองในภาพปัจจุบันก็เหมือนกับซ้อนขึ้นมาบนวิถีรัฐศาสตร์อีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นผู้ที่จะพูดแล้วก็ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้น่าจะมีพื้นฐานความเข้าใจวิชารัฐศาสตร์แบบสมัยใหม่นี้อย่างดีทีเดียว คือก่อนที่จะก้าวไปถึงพุทธรัฐศาสตร์ได้ ก็หมายความว่าต้องชัดเจน เข้าถึงเรื่องรัฐศาสตร์ก่อน ว่ากันไปคุณวรเดชเองนั่นแหละน่าจะพูดเรื่องนี้ เพราะคุณวรเดชจบรัฐศาสตร์ แล้วก็เป็นเกียรตินิยมด้วย แต่ในเมื่อจะต้องพูดวันนี้ก็คงจะทำความเข้าใจกันอย่างที่ว่าว่าจะไม่เข้าสู่เนื้อหาสาระมากนัก จะเป็นในทำนองแง่คิดความเห็นซะมากกว่า อย่างไรก็ตามเรื่องแง่คิดความเห็นนี้มองในอีกด้านหนึ่งพลิกกลับก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะยุคนี้เป็นยุคของหัวเลี้ยวหัวต่อทางวิชาการ วิชาการต่างๆ หลายสาขานี่จะต้องมาทบทวนกันใหม่ ตั้งแต่วิชาวิทยาศาสตร์เป็นต้นไป ในเมื่อจะมีการทบทวนกันใหม่ ก็จะต้องมีการพิจารณามองถึงแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะเริ่มจากการสำรวจตัวเองของวิชาการเหล่านี้ ทีนี้วิชารัฐศาสตร์นี้เราก็รู้ว่าเป็นวิชาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครองนั้นเริ่มอย่างไร มันก็ต้องเริ่มที่การที่มนุษย์นั้นเข้ามามีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมก่อน อย่างที่เรียกกันว่าเป็นสัตว์สังคม เมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมแล้ว ทีนี้เขาจะอยู่กันได้ดีอย่างไร เพื่อให้ความสัมพันธ์นั้นเป็นไปในทางที่เรียกว่าเกิดสันติสุข ไม่วุ่นวายเดือดร้อน เพราะฉะนั้นการมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมก็ยังไม่เพียงพอ ก็ต้องมีการจัด จัดการกับาสังคมนั้นอีกทีหนึ่ง จัดระเบียบเพื่อให้คนที่อยู่ร่วมกันเหล่านั้นมีระบบความสัมพันธ์ที่ดีงาม ไม่ใช่ว่าอยู่กันไปเรื่อยเปื่อย ทีนี้การที่จะจัดระบบให้ดีนั้นก็คือกิจการที่เรียกว่าการปกครองนั่นเอง เพราะฉะนั้นการปกครองก็เกิดมาขึ้น ซ้อนขึ้นมาจากการที่มนุษย์นั้นเขามาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ฉะนั้นมองในแง่นี้แล้ววิชารัฐศาสตร์นั้นเหมือนกับซ้อนขึ้นมาจากวิชาสังคมวิทยาอีกชั้นหนึ่ง สังคมวิทยานั้นเป็นพื้นอยู่ก่อน แล้วรัฐศาสตร์ก็ต้องมาดำเนินการโดยเอาสังคมวิทยานี้มาเป็นฐาน ก็หมายความว่าในแง่หนึ่งก็เอาสังคมวิทยามาใช้ประโยชน์ด้วย ซึ่งอันนี้ทางวิชาการก็ยอมรับกัน ทีนี้ในเมื่อเรามาจัดระบบในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการปกครองขึ้นมา ให้อยู่ได้ดีแล้ว ทีนี้ในการจัดนั้น เราจะต้องยอมรับว่าการที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกัน ก็เพื่อประโยชน์ในการที่จะอยู่รอด แล้วนอกจากอยู่รอดคือเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละคนเป็นสำคัญ ลองคิดดูสิว่าที่คนเขามาอยู่ด้วยกันเพราะอะไร เพราะเขาต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก มนุษย์อาศัยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เขาจึงมาอยู่ร่วมกัน ถ้าหากว่าเขาไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น เขาไม่ต้องได้รับประโยชน์จากผู้อื่นนี่เขาอาจจะไม่มาอยู่ด้วยกัน ซึ่งเราจะเห็นได้ต่อมาว่าจะมีมนุษย์ที่ต้องการปลีกตัวออกจากสังคม ละทิ้งสังคมออกไปก็มี อย่างในอินเดียนี่เราจะเห็นได้มากว่า มนุษย์ในยุคสมัยบางสมัยนี้จะพากันหลีกลี้สังคมออกไป ตัดขาดจากสังคมไปอยู่ตามป่าตามเขา ไปเป็นฤษีชีไพร พวกนี้เขาไม่อยากได้ประโยชน์จากสังคม เขาอยากจะมีชีวิตที่เป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาสังคม แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว ต้องพึ่งพาผู้อื่น อยากจะได้ประโยชน์จากสังคม เขาจึงมาอยู่ร่วมกัน ทีนี้การที่มาอยู่ร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ของตนและตนเนี่ย อันหนึ่งที่สำคัญก็คือเรื่องของประโยชน์ทางวัตถุ ก็เรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพ เรื่องปัจจัยสี่ อันนี้เองที่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แล้วมนุษย์ทั้งมาอยู่ร่วมกันก็เพราะเรื่องนี้ แล้วก็เกิดการขัดแย้งกันเพราะเรื่องนี้ด้วย ในเมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยเรื่องนี้เป็นสำคัญ แล้วมีความขัดแย้งกันเพราะเรื่องนี้ เรื่องผลประโยชน์ เรื่องของปัจจัยสี่ อาชีพ อะไรต่างๆ เหล่านี้ อันนี้ก็คือเรื่องเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นเรื่องการปกครองก็หนีเรื่องเศรษฐกิจไม่พ้น เพราะฉะนั้นรัฐศาสตร์จะต้องไปโยงกับเรื่องเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นก็จะต้องเอาประโยชน์จากเศรษฐศาสตร์ด้วย แล้วเศรษฐศาสตร์จะมีบทบาทสำคัญในเรื่องของรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจนี่ นักปกครองจะต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ในการที่จะจัดการสังคมให้ได้ผลดี ทีนี้เรามองต่อไปว่าการที่จะจัดสังคมให้มีการปกครองที่เรียบร้อยอยู่กันได้ดีนี้ต้องมีหลักการในการจัด มีเกณฑ์ มีมาตรฐาน หรือมีหลักการที่จะให้การอยู่ร่วมกันที่เกิดเป็นการจัดระบบสังคมอย่างนั้น ได้ผลดีอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นต้องก้าวไปสู่อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าหลักการทั้งหลาย หลักการนั้นก็คือสิ่งที่เรียกว่าความชอบธรรม ความเป็นธรรม ความยุติธรรม ความดีงามต่างๆการจัดการปกครองหรือการจัดสังคมให้อยู่กันด้วยดีนี้ ก็จึงต้องมีพื้นฐานอยู่บนหลักการที่เรียกว่าธรรมะ เป็นศัพท์ที่รวมหมด ถ้าการปกครองไม่มีหลักการ ไม่มีมาตรฐานในการจัด ก็ทำให้เกิดความสับสนยุ่งเหยิง สังคมก็อยู่ด้วยดีไม่ได้ ทีนี้หลักการ กติกาต่างๆ ที่เป็นมาตรฐาน หรือจะเรียกว่าเป็นเกณฑ์ในการปกครองนั้น ก็ต้องมี 2 ชั้น
ชั้นที่หนึ่งก็คือ หลักการที่อยู่ในความเข้าใจของมนุษย์ ซึ่งมีสติปัญญาที่จะรู้ว่าความดีงาม ความถูกต้อง คืออย่างไร ได้อาศัยความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ หรือความจริงของธรรมชาตินี้ชั้นหนึ่ง มนุษย์มีความสำนึกในเรื่องนี้ มีความต้องการความดีงาม เขาทะเลาะเบาะแว้งกัน เขาก็ต้องการว่าอยากจะอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข เขาทะเลาะกันเขาก็ต้องการสิ่งที่เรียกว่าความเป็นธรรม ตอนนี้ตัวความเป็นธรรมอันนี้มันยังเป็นนามธรรมอยู่ แต่เขาก็ต้องการ แม้ไม่ได้มีหลัก ไม่ได้มีกฎหมายอะไรต่างๆ แต่อันนี้ต้องมี เพียงว่าคนทะเลาะกันก็ต้องการแล้วอันนี้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องการอันนี้ก็คือธรรมะ แปลว่าหลักการ ความเป็นธรรม ความชอบธรรม ความยุติธรรม ความดีความงามอะไรก็ตาม เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการ เพื่อเขาจะได้ยึดถือเป็นหลักในการที่จะอยู่กันโดยเรียบร้อย เพราะฉะนั้นนักปกครองจะต้องเอาใจใส่เรื่องนี้ รัฐศาสตร์ก็หนีอันนี้ไปไม่พ้น แต่อันนี้เป็นหลักการที่เป็นนามธรรมขั้นหนึ่งก่อน นอกจากว่ามีหลักการหรือตัวความเป็นธรรมเป็นต้นที่เป็นหลักในการจัดแล้ว มันก็ยังโยงมาหาตัวผู้ปกครองหรือผู้จัดการปกครองนั้น ว่าต้องมีตัวความรู้ความเข้าใจในตัวธรรมะนี้ด้วย แล้วตัวเองจะต้องมีคุณธรรม มีความดีงามนี้ด้วย ถ้าหากว่าตัวผู้ปกครอง ผู้จัดการปกครองนี้ ไม่มีคุณธรรม ไม่มีตัวธรรม ไม่มีปัญญาที่รู้ความเป็นธรรม ไม่รู้หลักการนี้ ก็ไม่สามารถบรรลุความสำเร็จหรือจุดมุ่งหมายของการปกครองได้ นอกจากนั้นแล้วถ้าจะให้ดีก็คือว่าคนที่มาอยู่ร่วมกันที่จะถือว่าถูกปกครองก็ได้ คนที่ถูกปกครองก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าไม่มีคุณธรรม ไม่รู้จักธรรมะ ไม่รู้หลักการ ไม่รู้ความดีงามเหล่านี้ เขาก็จะเป็นองค์ประกอบที่ขาดคุณภาพและจะทำให้เกิดปัญหา ถ้าหากว่าเขามีคุณธรรมดี รู้หลักการดี และปฏิบัติตาม ก็จะเป็นเรียกว่าส่วนร่วมของสังคมที่มีคุณภาพ การปกครองก็จะง่าย เพราะฉะนั้นตัวธรรมะนี้ก็เป็นทั้งตัวหลักการ เป็นมาตรฐานที่จะยึดถือด้วย แล้วก็จะต้องเข้าไปอยู่เป็นคุณสมบัติในตัวบุคคลทั้งฝ่ายผู้ปกครองและฝ่ายผู้ถูกปกครอง ฉะนั้นเรื่องนี้ก็เข้ามา เรื่องของตัวธรรมะ ทีนี้อีกขั้นหนึ่งก็คือธรรมะที่จะอยู่แค่เป็นนามธรรมไม่ได้ สังคมจะต้องมีสิ่งที่กำหนดหมายรู้ร่วมกันว่าจะเอายังไง จะอยู่กันยังไงที่เรียกว่าหลักการ หรือสิ่งที่เรียกว่าความเป็นธรรมนั้นเอาแค่ไหน แล้วเราจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องกำหนดล่ะ ก็ต้องวางเป็นแบบแผนเป็นระเบียบที่เรียกว่าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเป็นข้อกำหนดที่หมายรู้ร่วมกัน ก็เป็นกติกาสังคมในลักษณะที่เป็นรูปแบบขึ้นมา ไม่ใช่เป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น นี่ต้องถึงขั้นรูปแบบ ก็ทำให้เกิดมีสิ่งที่เรียกว่าบทบัญญัติต่างๆ กติกาสังคม กฎหมาย อันนี้การปกครองก็จึงต้องมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือสิ่งที่เรียกว่ากฎหมาย จะเห็นว่าในที่สุดเมื่อมีการปกครอง ผู้ปกครองก็จะต้องมีอันหนึ่งด้วย ก็คือการที่ว่ามีกฎหมายเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวเป็นมาตรฐาน เป็นเกณฑ์ ตลอดจนมีอำนาจในการออกกฎหมายด้วย เพราะฉะนั้นในการปกครองนั้น รัฐจะต้องมีอำนาจอันหนึ่งคืออำนาจนิติบัญญัติ ก็คืออำนาจที่จะตรากฎหมาย การที่ตรากฎหมายเป็นรูปแบบนี้ก็คือการพยายามจะเอาตัวหลักการที่เป็นนามธรรม ที่ว่าเป็นความจริงความถูกต้อง ความดีงาม ความเป็นธรรมเนี่ย ที่มันอยู่ในธรรมชาติ ที่มันอยู่ในสมอง อยู่ในสติปัญญา ออกมาวางเป็นข้อกำหนด สำหรับจะให้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมนี้ยึดถือ สำหรับฝ่ายปกครองก็จะได้บอกแจ้งกับผู้ใต้ปกครองว่านี่นะต้องทำไปตามนี้ หรือถ้าการปกครองเจริญขึ้นมา อาจจะเป็นข้อตกลงร่วมกัน แม้แต่ฝ่ายผู้ที่อยู่ใต้ปกครอง ก็จะมีขอบเขตว่าผู้ปกครองนี้ จะมาปฏิบัติต่อเขาได้ในขอบเขตแค่ไหน อย่างนี้ก็เป็นเรื่องของวิวัฒนาการในการปกครองว่าการที่จะใช้อำนาจนิติบัญญัติ การที่จะตรากฎหมายนั้น ใครจะเป็นผู้ออกกฎหมายหรือตรากฎหมายนี้ อย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าสาระสำคัญก็คือว่าจะต้องมีตัวนี้ด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องของการปกครองจึงต้องโยงไปหาเรื่องกฎหมาย คือนิติศาสตร์ แล้วนิติศาสตร์นี้ถ้าไปถามชาวอินเดีย นิติศาสตร์นั้นไม่ใช่วิชากฎหมาย นิติศาสตร์นั้นคือรัฐศาสตร์ แต่ว่าปนกันยุ่งหมดเลย ถ้าใช้รัฐศาสตร์ก็ทำให้ศัพท์ปนกันอีก แต่ว่าในความหมายของชาวอินเดียนั้น นิติศาสตร์คือวิชาการปกครอง เพราะอะไร นิติ เป็นศัพท์เดียวกัน มีรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า นายก นายกแปล่าผู้นำ นิติแปลว่าการนำ นายก มาจาก นีธาตุ อันนี้ต้องว่าไปตามรากศัพท์ นีธาตุแปลว่านำ แล้วก็ประกอบศัพท์ทางไวยกรณ์ก็มาเป็นนายก แปลว่าผู้นำ ทีนี้นีธาตุตัวเดียวกันนั้นไปลงอีกปัจจัยหนึ่ง เป็นการกระทำ เป็นหลักการ เป็นภวนาม แปลว่าการนำ ฉะนั้น นีติศาสตร์ ก็แปลว่าศาสตร์การนำ การนำรัฐ การนำประชาชนให้ไปสู่สันติสุข เพราะฉะนั้นของคนอินเดียวจึงเข้าใจนิติศาตร์คือวิชาการปกครอง แต่เมืองไทยเรามาใช้เป็นวิชากฎหมายไป แต่มีฐานร่วมกันก็คือว่าผู้ปกครองนั้นจะต้องอาศัยกฎหมาย แล้วจะต้องตราแบบแผนไว้ให้ประชาชนรู้ว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร ตลอดจนกระทั่งเป็นกรอบเป็นขอบเขตสำหรับตนเองด้วย ว่าตัวเองจะปฏิบัติการอะไรต่อประชาชนได้แค่ไหน อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ว่าตอนนี้ เราก็ต้องมีเรื่องของหลักการในแง่ที่เป็นนามธรรม หลักการในแง่ที่เป็นนามธรรมนี้ก็อาจจะไปอยู่ในแดนของพวกจริยธรรม ในความหมายของสมัยใหม่ ส่วนหลักการที่ออกมาสู่รูปแบบ เช่นเป็นบทบัญญัติ เป็นกฎหมาย ก็เป็นเรื่องของนิติศาสตร์ วิชากฎหมาย ทีนี้คนที่มาอยู่ร่วมกันเนี่ย แม้จะให้อยู่ร่วมกันได้ดี แม้แต่เป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสูงสุดอย่างพระอรหันต์ ก็ต้องมีกติกา เพราะฉะนั้นกติกาหรือกฎหมายนี้จึงสำคัญมาก กฎหมายก็คือข้อที่หมายรู้ร่วมกัน ทำไมพระอรหันต์อยู่ร่วมกันก็ต้องมีกติกา ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว มีคุณธรรมสมบูรณ์ พอมาอยู่ร่วมกัน ชีวิตร่วมกันนี่มันจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่าหมายรู้ร่วมกันว่าเราจะเอายังไงในการอยู่ร่วมกันนี้ จะฉันข้าวเวลาไหน จะมาประชุมกันตอนไหน จะทำกิจกรรมร่วทกันอย่างไร มีเหตุการณ์เกิดขึ้นนี้ จะรู้กันปฏิบัติกันให้ถูกต้องอย่างไร ฉะนั้นพระอรหันต์ไม่ได้มีกิเลส ไม่ได้มีคิดที่จะละเมิดหรือจะเบียดเบียนซึ่งใครต่อใครเลย แต่ก็ต้องมีกติกานี้สำหรับหมายรู้ ว่าเอานะ เรามาฉันข้าวกันเวลาเท่านั้น พร้อมเพรียง อาจจะมีวัตรสัญญาณกำหนด ตีระฆัง ถ้าตีระฆัง 3 ครั้ง ก็ให้รู้ว่าหมายถึงว่ามาฉันภัตตาหาร ก็จะได้มาพร้อมเพรียงกัน หรือว่าตีระฆัง 5 ครั้ง หมายความว่ามีพระภิกษุรูปหนึ่งป่วย อาพาธ ให้มาช่วยกันในการที่จะรักษาพยาบาล หรือจะนำส่งให้แก่หมอไปรักษา ก็แล้วแต่ คือรวมแล้วก็คือว่าใมการที่จะอยู่ร่วมกันนั้นจะต้องมีกติกา มีข้อหมายรู้ร่วมกันไว้ เพื่อจะได้ดำเนินกิจการของหมู่คณะ เป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคนที่อยู่ร่วมกันนั้นจะมีข้อบกพร่องอะไรหรอก แต่ว่ามันเป็นความจำเป็นของชีวิตที่อยู่ร่วมกัน ฉะนั้นเรื่องกฎหมายก็มีความสำคัญในแง่นี้ด้วย เพราะฉะนั้นกฎหมายจะมีความหมายต่อมนุษย์ที่อยู่ในสังคมนี้ต่างๆ กัน ซึ่งถ้ามีเวลาเราจะพูดกันอีกทีหนึ่ง เอาทีนี้ก็เป็นอันว่าตอนนี้เราก็ รัฐศษสตร์นี่จะโยงไปหาวิชาการอื่นๆ หลายอย่างแล้ว ตอนนี้ก็มาถึงนิติศาสตร์ เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว จะเห็นขอบเขตของวิชารัฐศาสตร์เนี่ย กว้างขวางมาก ปัญหาก็คือว่าทำไงจะมีการบูรณาการได้ ยุคที่ผ่านมานี้เป็นยุคที่วิชาการมีลักษณะเป็นความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง แล้วความชำนาญพิเศษเฉพาะทางนี้ก็ตั้งอยู่บนฐานของแนวความคิดของยุคสมัยที่ผ่านมา ก็คือแนวความคิดแบ่งซอยแยกส่วนที่เรียกว่า reductionism ซึ่งสมัยนี้กำลังเห็นว่าเป็นปัญหามาก ไม่สามารถจะแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ ก็เลยเกิดแนวความคิดว่าจะต้องมีการบูรณาการ เพราะฉะนั้นวิชาการต่างๆเหล่านี้ก็มีปัญหาว่าในเมื่อมันเป็นความชำนาญพิเศษเฉพาะทางแยกกันออกไปมาก จะมาบูรณาการกันได้อย่างไรให้เกิดเป็นองค์รวม เวลานี้แนวความคิดแบบองค์รวมก็เด่นขึ้นมา ในความคิดแบบองค์รวมก็จะมีหลัก หนึ่ง-เรียกว่ามีดุลยภาพ หรือความสมดุล แล้วก็จะมีการที่เรียกว่าการจะทำอย่างนี้ได้สำเร็จ ก็จะต้องมีความคิดเป็นระบบ ก็จะมองสิ่งต่างๆนี้เป็นระบบ ในความเป็นระบบนี่ก็คือความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้ามองเป็นระบบแล้วไม่เห็นความสัมพันธ์มันก็เป็นระบบไม่ได้ ทีนี้การที่จะเห็นความสัมพันธ์ก็ต้องรู้สิ่งต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบนั้น แล้วมาจับโยงสัมพันธ์กันได้ แล้วมาสัมพันธ์กันอย่างไรจึงจะเกิดเป็นระบบ แล้วเกิดเป็นภาวะที่เรียกว่าบูรณาการและสมดุล แล้วเกิดเป็นองค์รวมที่สมบูรณ์ ฉะนั้นตอนนี้วิชาการก็มามีปัญหาเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งหมด ยังถือว่ายังมีความบกพร่องในแง่นี้ การที่เรามาพูดถึงพุทธรัฐศาสตร์ก็ต้องมาพิจารณาปัญหานี้ด้วย อันนี้เมื่อพูดถึงเรื่องของวิชาการรัฐศาสตร์ วิชาการปกครองที่เนื่องด้วยความเป็นมาของสังคม การจัดระเบียบสังคมที่โยงไปหาศาสตร์ต่างๆ หรือกิจกรรมของสังคมในด้านต่างๆ มากมายอย่างนี้แล้ว เราก็ลองมาดูเรื่องการปกครองในทัศนะของพุทธศาสนา จากเรื่องราวความเป็นมาในทำนองประวัติศาสตร์ หรือตำนาน หรือเรื่องในคัมภีร์ แล้วเราก็ไปประมวลเอาความคิดนี้มา ดูว่าพุทธศาสนามองเรื่องการปกครองอย่างไร เราต้องมองว่าเรื่องรัฐศาสตร์ไม่ใช่เรื่องอะไรพิเศษ มันก็เรื่องธรรมดา ธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ สังคมมีความต้องการเกิดขึ้น มีความต้องการที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เหตุปัจจัยนั้นเรียกร้อง ก็ทำให้เกิดการปกครองนั้นขึ้นมา เวลาเราพูดอย่างนี้แล้ว เรานึกถึงวิชากานปกครองในแง่ของพุทธศาสนานี่ ก็จะมีพระสูตรที่เด่นขึ้นมาในหมู่ของที่ศึกษาเรื่องนี้ 3 พระสูตรด้วยกัน อาตมาก็จะลองยกมาเล่าให้ฟังก่อน แล้วเรามาช่วยกันมองว่าพระสูตรเหล่านี้ให้แนวความคิดอะไรเกี่ยวกับเรื่องรัฐศาสตร์ ในพระสูตรเหล่านี้ท่านจะไม่บอกว่านี่นะเป็นพระสูตรอะไรหรอก แต่เราจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องของความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่จะทำไงอยู่ร่วมกันได้ดี ให้สังคมมีสันติสุข แล้วกิจกรรมอะไรต่างๆ ที่จำเป็นมันก็เกิดมีขึ้นมาเองตามความต้องการนั้น พระสูตรแรกที่จะเล่า เล่าถึงวิวัฒนาการของสังคมเลย เรียกว่าเป็นการเกิดขึ้นของการปกครองว่างั้น การปกครองนี้เกิดมีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งต่อจากการปกครองเกิดขึ้นอย่างไร ก็หมายถึงการที่จะมาเกิดมีรัฐด้วย แต่ยังไม่ต้องถึงขั้นเป็นรัฐในความหมายปัจจุบันที่กว้างขวางยิ่งใหญ่หรอก การปกครองมันเกิดขึ้นแม้แต่เป็นชุมชนเล็กๆ เราลองมาดูกันว่าอย่างไร พระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าไว้ในพระสูตรหนึ่งเรียกว่า อัคคัญญสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่ว่าด้วยวิวัฒนาการของสังคม จะตัดตอนที่เกี่ยวกับการปกครอง ก็พูดถึงว่ามนุษย์ในสมัยโบราณ ซึ่งหมายถึงว่าโบราณมากๆ อาจจะใช้ศัพท์ปัจจุบันว่าเป็นยุคบุพกาล ก็อยู่กันแบบใกล้ชิดธรรมชาติมาก อันนี้ธรรมชาติก็มีความพรั่งพร้อมพอสมควร คนก็อยู่กันไม่มาก มีประชากรจำนวนไม่มากมายนัก ทีนี้วิธีการหากินเขาก็หากินไปตามความต้องการของชีวิตในขั้นพื้นฐานก็ เวลาจะกินเช้าก็ออกไปเก็บเอา เช่นว่าพืชพรรณธัญญาหาร เก็บเอามาแล้วก็มาปรุง แล้วก็รับประทาน หรือแต่ก่อนนี้อาจจะไม่ต้องปรุงด้วยซ้ำ เก็บมารับประทาน เวลาเย็นก็ไปเก็บมารับประทาน ไม่มีการมาเก็บไว้ เพราะยุคนั้นยังไม่มีการแบ่งกรรมสิทธิ์ เพราะว่าสิ่งที่ใช้เป็นอาหารนั้นอยู่ตามธรรมชาติ ถึงเวลาจึงไปเก็บเอา ต่อมาเกิดมีการครองครองกรรมสิทธิ์ขึ้นมา เกิดการยึดครองเป็นสมบัติ ก็มีการแบ่ง การที่จะแบ่งการยึดครองกรรมสิทธิ์ ก็คือการแบ่งเขต เพราะฉะนั้นในเรื่องข้าว มนุษย์ก็จึงมีการแบ่งเขตว่า เขตนี้ของคนนั้นคนนี้หรือครอบครัวนั้นครอบครัวนี้ ตอนนี้เริ่มเกิดมีแล้วนะการยึดครองกรรมสิทธิ์ การแบ่งเขต พอมีการแบ่งเขตขึ้นมาแล้ว ก็มีเรื่องสืบต่อกันมาว่า คราวหนึ่งก็มีคนที่โลภ อยากได้มากกว่าในขอบเขตของตัวเองที่จัดกันไว้ ก็ของตัวก็หวงไว้ เสร็จแล้วก็ลอบไปเอาในเขตของคนอื่นมา พอลอบไปเอาเขตของคนอื่นมา ต่อมาถูกจับได้ คนอื่นเขาก็ไม่พอใจ ก็พามาช่วยกันจับ จับได้แล้วก็บอกว่าท่านอย่าทำอย่างนี้อีก ต่อมาคนนี้มีความโลภก็ทำอีก จับได้อีก ก็ว่ากล่าวกันอีก ต่อมาเอาอีก ไม่ยอมเลิก จับได้อีกคราวนี้ก็ไม่เฉพาะว่ากล่าวแล้ว ก็มีการทุบตี ใช้ทั้งกำปั้นทั้งท่อนไม้ ตอนนี้ก็เริ่มเกิดปัญหา แสดงว่าสังคมเริ่มเกิดมีปัญหาแล้ว มีการทุบตี มีการประทุษร้ายกัน ก็คือว่ามีอทินนาทานา มีการลักขโมย แล้วก็มีการกล่าวเท็จเช่นบอกว่าไม่ยอมรับว่าฉันได้มาเอาในเขตของคนอื่น แล้วก็มีการโกรธแค้น แล้วก็ตีกัน ประทุษร้าย อันนี้ต่อมาคนที่มีสติปัญญาในหมู่มนุษย์เหล่านั้นก็มาประชุมกันว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างไรดี เพื่อจะให้พวกเรานี่อยู่กันโดยเรียบร้อยมีสันติสุข ก็มามองเห็นกันว่าควรจะเลือกเอาคนผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่พวกเรานี่ ที่มีลักษณะดี น่าเชื่อถือ มีสติปัญญา มีความสามารถ แล้วขอให้เขาเป็นผู้ที่ตัดสินเรื่องราวที่เกิดขึ้น เวลามีกรณีพิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ ก็ให้คนนี้สามารถตัดสิน นี่คือการมอบอำนาจให้ ตกลงก็เลยว่าเห็นแก่ว่าคนผู้นั้นผู้นี้เป็นผู้มีสติปัญญามีความสามารถ มีบุคลิกลักษณะดี คนพวกนี้ก็เลยเข้าไปหา แล้วขอให้คนนั้นทำหน้าที่นี้ แล้วไม่ต้องให้เขามายุ่งเกี่ยวกับการหาเลี้ยงชีพ ก็เลยแบ่งส่วนแบ่งข้าว ตอนนั้นท่านใช้คำว่าข้าวสาลี แบ่งส่วนแห่งสาลีให้แก่คนผู้นี้ โดยผู้นี้ไม่ต้องไปมัวเก็บอาหารเหมือนคนอื่น แต่ว่าจะได้ใช้เวลาในการที่จะมาพิจารณากรณีพิพาทอะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้น ลองสังเกตดูนี่ นี่คือการเกิดขึ้นของการปกครองแล้ว แล้วเกิดขึ้นตามความต้องการ ตามเหตุปัจจัยของสังคม แล้วการที่เกิดผู้ปกครองนี้ เกิดโดยการเลือกตั้ง เป็นไปตามธรรมชาติ ท่านก็สรุปตอนนี้บอกว่าเพราะบุคคลผู้นี้เป็นผู้ที่มหาชนเลือกตั้งขึ้น ท่านเรียกคำว่าสมมติ นี่แหละคำว่าสมมติ สมมติแปลว่ามติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน โดยที่มหาชนยอมรับร่วมกันว่าให้ผู้นี้ทำหน้าที่นี้ เพราะฉะนั้นคนนี้เรียกว่ามหาสมมติ คำว่ามหาสมมตินี้เป็นคำเรียกเก่าของผู้ปกครอง หรือกษัตริย์ คำโบราณมีคำหนึ่งเรียกว่ามหาสมมติ มาจากคำว่า มหาชน สมมติ แปลว่าผู้ที่มหาชนยอมรับร่วมกัน หรือมีมติร่วมกัน ก็คือเลือกตั้งนั่นเอง นี่คือระบบการปกครองเริ่มแรก ในทัศนะของพุทธศาสนา และเพราะบุคคลผู้นี้ได้รับมอบอำนาจให้เป็นใหญ่ในเขตที่ดินต่างๆ ของชาวบ้าน จะต้องมีอำนาจในการวินิจฉัยว่า อันนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ใครรุกรานใครจะทำไงให้อยู่ได้สงบ จัดสรรให้เรียบร้อย แม้แต่ว่าจะมีการแบ่งเขตใหม่ เมื่อให้อำนาจบุคคลผู้นี้เป็นใหญ่ในเขต ก็จึงตั้งชื่อจึงเรียนผู้นี้ว่า ขัตติยะ ซึ่งเราแปลว่ากษัตริย์ กษัตริย์ก็แปลว่าผู้เป็นใหญ๋ในเขต แล้วเพราะเหตุที่ว่าท่านพวกนี้ทำหน้าที่ทำให้ธรรมะนี่เป็นไปได้ในสังคม คือทำให้ความเป็นธรรม ความดีงามนี่ดำรงอยู่ได้ในสังคม ทำให้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเกิดคงามพึงพอใจ จึงเรียกว่า ราชา ราชาแปลงว่าผู้ยังประชาชนให้เกิดความยินดีหรือพอใจ อันนี้คือความเป็นมาของการปกครอง เอาละ นี่อาตมาเล่ามาขั้นนี้ ท่อนหนึ่ง จะเห็นแนวทัศนะของพุทธศาสนา ว่าการปกครองนี้เกิดขึ้นตามกระบวนการของธรรมชาติในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เกิดความต้องการ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญในที่นี้เราจะเห็นว่าเศรษฐกิจนี่เป็นเรื่องสำคัญเลย จุดเริ่มแรกก็คือการแย่งชิงกรรมสิทธิ์ เรื่องทรัพย์สินเงินทอง เรื่องไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทองหรอก เป็นทรัพย์สินที่ครอบครองกันในธรรมชาตินี่แหละ ทีนี้ขอเล่าต่อไป จากการที่มีผู้ปกครองอย่างนี้ ชุมชนใหญ่ขึ้นเป็นสังคม ต่อมามันก็คือเป็นรัฐนั่นเอง ต่อมาเราจะเห็นว่ามีรัฐที่ใหญ่ๆ มีประเทศ มีแว่นแคว้นที่มีประชาชนมากมาย การปกครองในอินเดียสมัยโบราณนี้จะปรากฎในคัมภีร์ต่างๆ เช่นชาดก ซึ่งให้เห็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองคือราชา หรือจะเรียกว่ามหาสมมติก็แล้วแต่ หรือจะเรียกว่าขัตติยะก็แล้วแต่ คำที่นิยมต่อมาก็คือคำว่าราชา คำว่ามหาสมมติซึ่งแปลว่ามหาชนเลือกตั้งนั้นค่อยๆ เลือนรางไป เพราะว่าต่อมานี้ไม่ใช่มหาชนเลือกตั้งซะแล้ว มีการสืบต่อโดยชาติกำเนิด ลูกหลานสืบต่อกันมา อันนี้ก็ยังมีคำว่าราชานี้ที่เป็นคำที่ใช้มาก เราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างราชากับประชาชน ในคัมภีร์จะพูดถึงบ่อยๆ ว่า มีการที่ว่าเมื่อประชาชน หรือมหาชนนั้น ในศัพท์เก่าท่านเรียกว่ามหาชาเนี่ย เกิดเรื่องเดือดร้อนขึ้นมา จะเป็นฝนแล้ง ข้าวปลาอาหารขาดแคลน ทุพภิกขภัย หรือมีโจรใหญ่ปล้นทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วบ้านทั่วเมืองเนี่ย มหาชนก็จะมาประชุมกันที่ราชันย์คณะ ราชันย์คณะแปลว่าพระลานหลวง นี่แสดงว่าในสมัยโบราณนี้จะมีอันหนึ่งที่เรียกว่าพระลานหลวง
พระลานหลวงนี่คือประชาชนมีเรื่องราวเดือดร้อนอะไรก็ตาม ก็จะมาประชุมกัน แม้แต่ว่ามหาอำมาตย์ที่ได้รับมอบหมายจากพระราชา ตัดสินความไม่ยุติธรรม ประชาชนก็จะมาประชุมกันที่ลานหลวงนี้ เมื่อประชาชนมาประชุมกัน พระราชาก็จะได้ทรงสดับเสียงโกลาหลอะไรต่างๆ เป็นต้น ก็จะทรงออกมาพอปะกับประชาชน จะถามกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ประชาชนก็จะต้องกราบทูลเรื่องราวความเดือดร้อนของตนเอง ถ้าเป็นเรื่องของความวิปริตผันแปรในบ้านเมือง เช่นความที่มีโจรภัย หรือว่าทุพภิกขภัย การขาดแคลนอาหารต่างๆ เหล่านี้ พระราชาอาจจะต้องสำรวจพระองค์เอง ว่าเรามีข้อบกพร่องอะไรในการประพฤติปฏิบัติ ในมาตรฐานแบบแผนธรรมเนียมการปกครอง อันนี้เราจะเรียกว่าด้านนิติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง จะต้องตรวจสอบพระองค์เอง ก็จะมีการที่ว่าทรงหันไปทรงพยายามประพฤติปฏิบัติรักษาศีลอะไรต่างๆ อุโบสถศีล เป็นต้น แล้วก็ยืนยันกับประชาชนให้เห็นว่าพระองค์นี้ประพฤติปฏิบัติถูกต้อง หรือบางทีพระราชาเอง มีเรื่องราวที่ต้องการให้ประชาชนรับทราบ หรือปรึกษาราษฎร ก็จะป่าวประกาศให้ประชาชนนี้มารวมกันที่พระลานหลวง ที่ราชันย์คณะนี้ ยกตัวอย่างเช่นว่ามีคนผู้หนึ่งได้สร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมา มีเงินทองมากมาย พระราชาเห็นว่าท่านผู้นี้น่าจะเป็นผู้ที่สมควรได้รับยกย่องเป็นเศรษฐีประจำเมือง ก็ป่าวประกาศให้ประชาชนมาประชุมกัน แล้วก็ถามประชาชนว่าเห็นด้วยไหมว่าจะให้คนนี้เป็นเศรษฐี มีใครที่มีคุณสมบัติดีกว่าคนนี้บ้างไหม ประชาชนบอกว่าคนนี้ดีที่สุดแล้ว พระราชาก็ทรงมอบเศรษฐีฉัตร ???ฉัตรของเศรษฐีให้ หมายความว่ามอบตำแหน่งเศรษฐีให้ ตั้งเป็นเศรษฐีประจำเมือง สมัยก่อนเศรษฐีต้องแต่งตั้งนะ นี่ก็เป็นการปรึกษาประชาชน เรื่องราวเหล่านี้จะมีในคัมภีร์เช่นชาดกนี้มากมาก ลองไปอ่านดูเถอะนี่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างราษฎรกับประชาชน บางครั้งมีเรื่องใหญ่มาก บางทีถึงกับต้องขับไล่พระเจ้าแผ่นดิน หมายความว่ามหาชน ประชาชนนี้มีอำนาจมากพอสมควรในการปกครองสมัยโบราณนั้น พระลานหลวงจะเป็นจุดสำคัญ เป็นจุดนัดพบระหว่างพระราชากับมหาชน อย่างที่บอกเมื่อกี้ มหาชนมีเรื่องราวเดือดร้อน ก็จะมาประชุมกันที่นี่ เรื่องราวทำนองนี้ก็มีมาก อันนี้ก็เอามาเล่าให้ฟัง
ทีนี้ต่อไปก็จะเล่าอีกพระสูตรหนึ่งให้เห็นเรื่องการปกครอง บอกแล้งว่าราชาจะปกครองได้ดีต้องมีมาตรฐาน ก็คือมีหลักการ มีหลักการอะไรที่จะเป็นกฎเกณฑ์กติกา เป็นเครื่องแสดงถึงการปกครองที่ชอบธรรม ในพระสูตรหนึ่งก็จะตรัสเล่าถึงการที่ว่าราชาก็สืบสายกันมา โดยที่ว่าสืบตระกูล ใช่ไหม เมื่อราชาสืบตระกูล ก็จะบอกว่าราชานี่ขั้นจักรพรรดิเลย ราชาผู้ยิ่งใหญ่ ปกครองนี่สุดเขตมหาสมุทรทั้งสี่ หมายความว่าแผ่นดินทั้งหมดไม่มีใครมาร่วมปกครองด้วย จนสุดขอบมหาสมุทรเลย ทีนี้จักรพรรดินี่ก็สืบต่อ มีราชโอรส มีราชนัดดา อะไรก็ปกครองต่อกันมา แต่บอกว่าจักรรัตนะซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ
จักรรัตนะคือสัญลักษณ์แห่งอำนาจของพระราชานั้น มิได้เกิดมีขึ้นเองโดยการสืบสายตระกูลนี่ แต่ราชาจักรพรรดินั้น แต่ละองค์ที่ขึ้นครองใหม่จะต้องสร้างเอาเอง จะต้องสร้างคุณความดี จะต้องปฏิบัติตามหลักการ ประเพณีการปกครอง คือนิติธรรม ก็คือหลักการของการปกครอง ตัวนี้ที่กลายมาเป็นวิชากฎหมายวันนี้ ที่จริงมันก็คือหลักการการปกครอง แต่หลักการการปกครองนั้นมาเป็นบัญญัติมาเป็นลายลักษณ์อักษร มันก็คือเป็นแบบแผนระเบียบกฎเกณฑ์ที่จะต้องยึดถือ มันก็คาบเกี่ยวกันอยู่ เพราะที่จริงมันเป็นตัวหลักการที่ฝ่ายผู้ปกครอง มหากษัตริย์จะต้องยึดถือ ทีนี้มาเป็นมองในแง่ของเป็นตัวบัญญัติ เป็นกฎเกณฑ์กติกา เป็นแบบแผน มันก็กลายเป็นเรื่องของวิชานิติศาสตร์ ที่เรียกว่ากฎหมายไป แล้วต้องมีนิติธรรม ผู้ปกครองก็จะต้องยึดหลักการนี้ เมื่อผู้ปกครองคือจักรพรรดินี้ประพฤติตามหลักการนี้จักรรัตนะก็เกิดขึ้น หมายความว่าสัญลักษณ์แห่งอำนาจจึงเกิดขึ้น ก็ต้องสร้างเอง ทีนี้จักรพรรดิแต่ละพระองค์ที่ขึ้นปกครองเนี่ย จึงต้องเรียนรู้หลักการปกครองนี้ที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ตอนนั้นท่านเรียกว่า จักรวรรดิวัตร ก็คือข้อปฏิบัติของจักรพรรดิ ข้อปฏิบัต วัตรแปลว่าข้อปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ ของจักรพรรดิ จักรวรรดิวัตร จักรพรรดิองค์ใหม่จะต้องเรียนรู้จักรวรรดิวัตร ข้อปฏิบัติ ของจักรพรรดินี้ ตามที่สืบกันมาจากพระราชาองค์เก่า และปฏิบัติให้ถูกต้อง เมื่อประพฤติปฏิบัติถูกต้องจักรรัตนะก็เกิดขึ้น ไม่ใช่จะเกดขึ้นมาเพียงจากการสืบสายตระกูล อันนี้ก็เล่าว่าต่อมามีราชาจักพรรดิองค์หนึ่งเนี่ย ก็ไม่ได้ไปเรียนรู้ว่าจักรวรรดิวัตรนี้เป็นอย่างไร ก็ปกครองไปตามความคิดความเห็นของตัวเอง การปกครองความเป็นไปของบ้านเมืองก็ไม่เป็นไปด้วยดีเท่าที่ควร ก็เกิดปัญหาขึ้นมา ตอนนี้พอเกิดปัญหาแล้วจึงเรียกร้อง พวกอำมาตย์ผู้ใหญ่ก็เลยมาให้ความคิดเห็น บอกว่าตามประเพณีหลักการปกครองที่ถูกต้องจะต้องมีการปกครองอย่างนี้ๆ เช่นว่าจะต้องมีการจัดคุ้มครองรักษาประชาชนหมู่ต่างๆ ตั้งแต่คนในวัง ในรั้วในวัง จนกระทั่งถึงประชาราษฎร์ จนกระทั่งถึงราษฎรชายแดน จนกระทั่งถึงแม้แต่สัตว์บก สัตว์ปีกว่างั้นนะ ท่านเรียกว่า มิ-คะ-ปัก-ษี ทั้งเนื้อและนกทั้งหลาย ต้องจัดการปกครองคุ้มครองพวกคนและสัตว์ที่อยู่ในแว่นแคว้นนี้ให้ดี แล้วที่สำคัญคือจะต้องมีการจัดสรรปันทรัพย์ให้แก่ผู้ไร่ทรัพย์ ผู้ยากไร้ อันนี้เป็นที่สำคัญ แต่ขอบอกในที่นี้ว่าจักรวรรดิวัตรนั้นหลักใหญ่มี 5 ประการ
หนึ่ง-จะต้องเป็นผู้ที่ถือธรรมเป็นใหญ่ ยึดธรรมเป็นหลักการสูงสุด เคารพหลักการ เคารพธรรม อันนี้มีเป็นคติมาตั้งแต่สมัยโบราณท่านเรียกว่าธรรมาธิไตย แต่ว่ามีคำบรรยายหลายคำ ธรรมาธิไตย ธรรมเกตุ ธรรม??? ว่าไปเรื่อย ก็หมายความว่าต้องยึดเอาธรรมะคือตัวหลักการนี้เป็นใหญ่ เคารพหลักการนี้ แม้เป็นราชาจะประพฤติตามอำนาจความพอใจของตัวเองไม่ได้ นี่หนึ่งแล้วนะ
สอง-ต้องจัดการคุ้มครองป้องกันรักษาประชาชนทุกหมู่เหล่าโดยชอบธรรม อันนี้แบ่งไปอีกเป็นเยอะเลย อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่า ตั้งแต่คนในรั้สในวัง ตั้งแต่ฝ่ายในออกไปจนถึงประชาราษฎร์ จนกระทั่งถึงชนชายแดน จนกระทั่งถึงเนื้อและนก
สาม- จะต้องป้องกันมิให้มีการกระทำที่ผิดธรรมะขึ้นในแว่นแคว้น เพราะฉะนั้นจะต้องป้องกัน แล้วก็ถ้ามีก็จะต้องหาทางแก้ไข
สี่- จัดสรรปันทรัพย์ให้กับคนที่ยากไร้ ถือเป็นหลักการที่สำคัญข้อหนึ่ง
ห้า – คอยปรึกษาสอบถามสมณพราหมณ์ คือท่านผู้รู้ ผู้มีสติปัญญา ผู้ไม่ประมาท ผู้ทรงคุณธรรม ว่าอะไรถูกต้อง อะไรไม่ถูกต้อง อะไรควรทำ ไม่ควรทำ อันนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญแสดงว่าราชาผู้ปกครองจะต้องแสวงปัญญาอยู่เสมอ ถ้าในแง่การปกครองสมัยโบราณก็คือต้องมีที่ปรึกษา แต่ในที่นี้ที่แสดงไว้ในพระสูตรนี่ ไปหาสมณพราหมณ์ เพราะถือว่าสมณพราหมณ์นั้นเป็นทั้งผู้มีสติปัญญา เป็นปัญญาชนของสังคมแล้วก็เป็นผู้มีคุณธรรมด้วย คือไม่ใช่เป็นแต่ผู้มีปัญญาอย่างเดียว มีคุณธรรมด้วย
นี่คือหลักการที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ที่เป็นข้อใหญ่ ๆ 5 ประการ ก็ทวนอีกที หนึ่ง-ถือธรรมะเป็นใหญ่ เคารพหลักการ สอง-จัดการคุ้มครองรักษาโดยชอบธรรมแก่ชนทุกหมู่เหล่าในแว่นแคว้น สาม-ป้องกันไม่ให้มีการกระทำที่ผิดธรรมะ สี่-จัดสรรทรัพย์ให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ห้า-คอยปรึกษาสอบถามปัญหากับสมณพราหมณ์ ท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ ทรงภูมิปัญญาและทรงคุณธรรมว่าการใดควรการใดไม่ควร อะไรที่ควรจะทำยิ่งขึ้นไป อันนี้เป็นหลักที่เรียกว่าจักรวรรดิวัตร ใหญ่ 5 ประการในพระไตรปิฎก ต่อมาอรรถกถานี้ได้ขยายเป็น 12 ประการ แต่ก็ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องสำคัญมากหรอก เป็นแต่เพียงไปแยกซอยละเอียดในส่วนของว่าจะต้องไปจัดการพิทักษ์รักษาปกครอง ช่วยเหลือผู้คนให้อยู่ร่วมกันร่มเย็นเป็นสุขในหมู่เหล่าไหนบ้าง แยกกระจายเป็นเหล่าๆ ก็เลยทำให้มากข้อ แล้วก็ไปเติมอีก 2 ข้อสุดท้าย อันนี้อาตมาจะไม่พูดในรายละเอียด อันนี้ย้อนกลับมาพูดถึงเรื่องว่าราชาองค์หนึ่งที่เป็นจักรพรรดิเนี่ยมิได้เรียนรู้ทราบจักรวรรดิวัตรนี้ แล้วปกครองเอาตามมติของตนเอง ตามที่ตัวเองคิดเห็นและพอใจ ก็เกิดความวิปริตผันแปรขึ้น ในแว่นเคว้น บ้านเมืองไม่อยู่ดีเท่าที่ควร ก็จึงได้เกิดปัญหา แล้วก็พวกอำมาตย์ข้าราชบริพารผู้ใหญ่ เสนาบดีก็เลยมาให้ความเห็นว่าตามประเพณีการปกครอมีหลักการ ก็จะต้องทำในเรื่องเหล่านี้ๆ ราชานี่ก็มีความบกพร่อง เพราะขาดความรู้เข้าใจหลักการมาแต่เดิม ก็ปฏิบัติไม่ได้เต็มตามหลักการ ก็ไปพยายามช่วยเหลือจัดการคุ้มครองรักษา มีแต่ว่าบกพร่องในแง่ของการจัดสรรปันทรัพย์ให้แก่ผู้ยากไร้ พอบกพร่องข้อนี้ก็ปรากฏว่าได้เกิดมีความยากจนแผ่ขยายกว้างออกไป เอาละ เกิดความยากจน ทีนี้พอมีความยากจนแผ่ขยายออกไป ก็เริ่มมีผู้ที่ขาดแคลนนั้น ปล้นสะดม ลักขโมย อทินนาทานาก็เกิดขึ้นมา พอมีการลักขโมยทรัพย์มา ราชาก็จะต้องแก้ไขปัญหา ก็จับตัวผู้ที่เป็นโจรขโมยนั้นมาได้ ก็มาชำระความว่าทำไมจึงไปเที่ยวลักของเขา ผู้นี้ก็บอกว่าเพราะข้าพเจ้ายากจน ไม่มีจะกิน พระราชาก็จัดสรรทรัพย์ให้ ก็มีหลักการปกครองอยู่เดิมแล้ว ตัวเองบกพร่องเอง ก็เลยจัดสรรทรัพย์ให้แก่คนที่เกิดคดีนี้ ที่เกิดมาแล้วก็ปล่อยไป ต่อมาก็เกิดทำนองนี้อีก คนอื่นที่ขาดแคลนที่ยากจนนั้นก็มีการลักขโมย จับตัวมาก็ให้ไปอีก พอทำอย่างนี้ไปหลายๆ ครั้งเข้า ก็มีคนที่เห็นว่าถ้าเราไปลักของคนอื่นนี่ ถ้าพระราชารู้ก็จะให้เงินเรา ก็เลยเกิดมีความเจริญมากมายขึ้นมา เมื่อมีการขโมยมากขึ้น ราชาก็เห็นว่าถ้าขืนทำอย่างนี้ต้องไม่มีทางสงบ ปัญหาก็มากขึ้น จะต้องใช้วิธีเด็กขาด ตัดรากเหง้า ถอนรากถอนโคนเลย คราวนี้พระราชาก็เปลี่ยนวิธีการใหม่ มีผู้ลักทรัพย์มา จับมาได้ พระราชาจักรพรรดินั้นก็ให้ประหารชีวิตเลย อาจจะตระเวนเพื่อให้ประชาชนทราบกันว่านี่ ใครทำอย่างนี้ต้องถูกลงโทษหนัก ก็ประหารชีวิตตัดศรีษะ พอเกิดวิธีปฏิบัติแบบใหม่ขึ้น ผู้ที่ยากจนที่คิดจะลักขโมยก็คิดว่าถ้าเราถูกจับได้ เราจะต้องถูกตัดคอ เราจะต้องถูกประหารชีวิต เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้จับเราได้ ไม่รู้เป็นใคร เราปล้นที่ไหนต้องฆ่าเจ้าทรัพย์ให้มันเสร็จกันไปเลย เพราะฉะนั้นต่อมาก็ปรากฏว่า การประกอบอาชญากรรมคือการลักขโมยนี้รุนแรงมากขึ้น ก็คือเมื่อลักขโมยแล้วก็จะฆ่าเจ้าทรัพย์ด้วย ก็ปรากฏว่าการแก้วิธีนี้ปัญหายิ่งลุกลาม บ้านเมืองยิ่งไม่มีความสงบสุขเลย แล้วก็เสื่อมลงๆ นี่ก็เป็นคติอันหนึ่งนะ
มีพราหมณ์ซึ่งเป็นชนวรรณะสูงในสมัยโบราณนี้ พราหมณ์นี่บางคนมีอำนาจมากจนกระทั่งเป็นผู้ปกครองเลย พราหมณ์คนนี้ชื่อ ภู-สะ-ตัน-ตะ-พราหมณ์ ก็ได้มีอำนาจปกครองในดินแดนส่วนหนึ่ง พราหมณ์และนักปกครองทั้งหลายนี่ ตามหลักศาสนาพรหมณ์นานๆ ทีก็จะมีการบูชายัญ ตอนนั้นภู-สะ-ตัน-ตะ-พราหมณ์ ก็ประกอบพิธีบูชายัญ ให้ข้าราชบริพารหรือว่าคนของตัวเองเนี่ยไปนำเอาสัตว์ต่างๆ เช่นว่า วัว 500 แพะ 500 แกะ 500 มาจับมัดเตรียมพิธีบูชายัญขึ้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงก็พระพุทธเจ้าไม่ทรงเห็นชอบอยู่แล้วกับการบูชายัญ โดยเฉพาะการที่จะมาเบียดเบียนทำให้เกิดการเดือดร้อนแก่สัตว์ทั้งหลายและแก่ผู้คนที่ประกอบพิธีโดยใช่เหตุ พระองค์ก็เลยได้ไปทรงพบภู-สะ-ตัน-ตะ-พราหมณ์ แล้วได้เกิดการสนทนากันเรื่องการบูชายัญ พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนการบูชายัญใหม่ว่า การบูชายัญนั้นจะเป็นไปด้วยดีนี่ บ้านเมืองจะต้องสงบเรียบร้อย บ้านเมืองก็ยังมีเสี้ยนหนามยังมีปัญหา ยังมีโจรผู้ร้ายอยู่ พระองค์ก็เลยเล่าบอกว่าในอดีต ตั้งแต่สมัยนั้นมีการบูชายัญที่เป็นการบูชายัญที่ยิ่งใหญ่ ถูกต้อง ชอบธรรม ภู-สะ-ตัน-ตะ-พราหมณ์ ก็ถาม เพราะภู-สะ-ตัน-ตะ-พราหมณ์ ก็ถือว่าตัวเป็นนักวิชาการ เป็นพราหมณ์ผู้ใหญ่ก็ต้องรู้อะไรต่ออะไรดี พระพุทธเจ้ายังรู้ดีกว่าเขาอีกหรือเนี่ย พระพุทธเจ้าก็ตรัสเล่าถึงเรื่องการบูชายัญ มีผู้ที่เคยทำมาอย่างถูกต้อง มีหลักการ ซึ่งท่านน่าจะปฏิบัติตาม การบูชายัญที่ไม่มีการเบียดเบียน พระพุทธเจ้าก็ตรัสเล่าถึงว่า มีกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ประกอบพิธีบูชายัญแล้วก็มีปุโรหิตที่ได้ให้คำปรึกษา การประกอบพิธีบูชายัญนั้นก็ต้องเริ่มเตรียมให้บ้านเมืองนี้สงบเรียบร้อย ไม่มีโจรผู้ร้าย ต้องจัดการปกครองให้ดี ในการประกาศการปกครองอย่างไร ที่สำคัญก็คือเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจ จะให้ประชาชนอยู่ดีกินดี อันหนึ่งที่สำคัญก็คือการจัดอาชีพ การส่งเสริมอาชีพต่างๆ ผู้คนที่ประกอบอาชีพต่างๆ นี้ จะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุน โดยเฉพาะก็คือว่าคนที่ประกอบการเกษตร ก็ได้รับการส่งเสริมในเรื่องการพูดเรื่องทุนในการที่จะทำการเกษตร คนที่ประกอบการพาณิชยกรรม การค้าขาย ก็ต้องมีทุนรอนในการประกอบอาชีพ การค้าขายได้รับการส่งเสริมในการจัดเรื่องการค้าขายนั้นให้ได้ผลดี แล้วก็คนที่ประกอบราชการก็ต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุน มีระบบการที่จะส่งเสริมข้าราชการที่ดีเป็นต้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสเล่าถึงอย่างนี้ สิ่งที่สำคัญอันนี้ให้จัดทำให้ได้ จนกระทั่งว่าบ้านเมืองนี้ก็อยู่กันดี จนกระทั่งประชาชนนี่มีความร่าเริงเบิกบานใจ ท่านเรียกว่าให้บุตรฟ้อนที่อก ท่านว่างั้น อันนี้เป็นสำนวนโบราณนะ หมายความว่ามีความสุขในครอบครัว ให้ลูกฟ้อนที่อก แล้วก็บ้านเรือนไม่ต้องปิดประตู อันนี้ก็คือสภาพบ้านเรือนที่มีความสงบเรียบร้อย แล้วอย่างนี้แล้วจึงกระทำการบูชายัญ แล้วการบูชายัญก็เสนอวิธีใหม่ ไม่ต้องมีการฆ่าสัตว์ ไม่ต้องมีการเบียดเบียนอะไร การบูชาก็คือการที่ช่วยเหลือสงเคราะห์กัน มีการให้ทาน ปิติเป็นประจำ หมายความว่าพื้นฐานในเรื่องการประกอบอาชีพ ให้คนมีงานทำมาหาเลี้ยงชีพได้ มีปัจจัยยังชีพอยู่กันด้วยดีแล้ว ไม่ต้องไปเบียดเบียนซึ่งกันและกัน แล้วก็มีระบบการที่ให้ปันกันในสังคม ในการที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์คนขาดแคลน แล้วการที่จะบูชายัญสูงขึ้นไป จนกระทั่งถึงการรักษาศีล ดำรงอยู่ในศีล 5 เป็นต้นต่างๆ ยังกลายเป็นเรื่องของข้อปฏิบัติในการที่จะอยู่ร่วมกันด้วยดี อันนี้ก็สาระสำคัญที่ต้องการเล่าในที่นี้ นั่นก็คือพระสูตรนี้พูดถึงเรื่องความสำคัญของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องของการประกอบทำมาหาเลี้ยงชีพ ซึ่งจะต้องจัดสรรให้ดี อันนี้อีกพระสูตรหนึ่งนี่คืออัคคัญญสูตร อาตมายกมาเล่าให้เห็นว่าแนวความคิดการปกครองของพุทธศาสนา ก็เป็นไปในแนวที่ว่ามานี้ ทีนี้มาถึงประเทศไทยเราก็มีคติการปกครอง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากชมพูทวีป ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของอารยธรรมตะวันออก อารยธรรมของอินเดียนั้นก็มีสายหนึ่ง สายพราหมณ์ซึ่งต่อมาเป็นศาสนาฮินดู ศาสนาฮินดูนี้จะมีระบบวรรณะ การแบ่งคนเป็นชนชั้น ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ที่สุดของสังคม ก็คือมนุษย์เกิดมาน่ำพระพรหมท่านสร้างมาให้มาอยู่ในชั้นไหน เรียกว่า กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เกิดมาเป็นกษัตริย์ก็เป็นกษัตริย์ตลอดชาติ เกิดมาเป็นพราหมณ์ตลอดชาติ เกิดมาเป็นแพศย์เป็นพ่อค้าก็เป็นพ่อค้าตลอดชาติ เกิดมาเป็นศูทรเป็นกรรมกรก็เป็นกรรมกรตลอดชาติ ถ้าหากว่าแต่งงานข้ามวรรณะกัน กลายเป็นคนจัณฑาล นอกวรรณะ ถูกดูถูกมากที่สุด ทีนี้พราหมณ์ก็มีระบบการปกครอง การปกครองนี้จะอาศัยระบบวรรณะเป็นสำคัญ ถึงยังไงก็ต้องมีระเบียบในการจัดให้คนอยู่ร่วมกันได้ดี มีการลงโทษผู้ร้าย คนที่ทำความผิดจะถูกลงโทษรุนแรงมาก ระบบการปกครองที่เราได้แบบอย่างมาจากการลงโทษ นี่ได้มาจากศาสนาพราหมณ์และฮินดู ยกตัวอย่างเช่นฮินดู อย่างมนูธรรมศาสตร์ นี่เป็นแบบแผนกฎหมายที่สำคัญ ไทยเราก็เอามาใช้ด้วย เรายังเรียกมหาวิยาลัยกฎหมายว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นี่ตั้งขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยที่สองของประเทศไทย ตั้งชื่อว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพราะเรียนกฎหมาย คำว่าธรรมศาสตร์คือวิชากฎหมาย จะเห็นว่าตอนนี้ไม่ใช้คำว่านิติศาสตร์ แสดงว่าท่านผู้รู้เก่านี่ท่านรู้เรื่องนี้ดีกว่า ทำไมตอนตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่เรียกวิชานิติศาสตร์ เพราะว่าอินเดียเขาเรียกวิชานิติศาสตร์หมายถึงวิชาการปกครอง แต่วิชาธรรมศาสตร์นี่แหละคือวิชากฎหมาย แล้วกฎหมายนี้มาจากอะไร กฎหมายนี้มาจากพระพรหม พระพรหมให้มา คือหลัก ธรรมะก็คือตัวหลักการ หลักการเมื่อกี้พูดแล้วมี 2 ชั้น คือหลักการที่เป็นความจริงที่อยู่ในธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติ ความเป็นธรรม ความชอบธรรม ความดีความงาม นี่ที่มันอยู่ในสติปัญญาของมนุษย์ที่จะพึงรู้ที่มนุษย์ต้องการกัน มีการอยู่ร่วมกันแม้ไม่ต้องพูด อย่างเราทะเลาะกันมันก็ต้องการตัวนี้ ยังไม่มีเป็นบทบัญญัติก็ต้องการ ตัวนี้ธรรมะนี้ต้องการ ทีนี้ธรรมะที่ต้องการนี้ทำไงมันจะมีผลทางสังคมได้ ก็ต้องมาวางเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นข้อหมายรู้ร่วมกันขึ้นมา ก็เลยเกิดเป็นตัวรูปแบบขึ้นมา เป็นกฎหมาย เป็นหลักการ เพราะฉะนั้นธรรมะก็เลยมีความหมายอีกขึ้นหนึ่ง คือธรรมะที่เป็นขั้นที่มนุษย์มาบัญญัติวางลงไว้ เพราะฉะนั้นธรรมะจึงใช้ในความหมายว่าเป็นตัวกฎหมายได้ด้วย เพราะฉะนั้นวิชาธรรมศาสตร์จึงเป็นวิชาว่าด้วยกฎหมาย เมื่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็คำนึงถึงอันนี้ก็เลยเรียกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่ศึกษาวิชากฎหมาย แล้วเห็นว่าวิชากฎหมายไม่พอ ก็มีวิชาการเมืองด้วย เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ก็เกิดมีขึ้น ตอนหลังก็รังเกียจคำว่าการเมือง ก็เลยตัดเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นี้ที่จริงเดิมนั้นศึกษาสำคัญ 2 อย่าง คือตั้งขึ้นเพื่อศึกษาวิชากฎหมายที่เรียกว่าธรรมศาสตร์ และสอง-การเมือง ซึ่งต่อมาเรียกว่ารัฐศาสตร์ แต่ที่จริงถ้าเรียกตามอินเดียสมัยนั้นต้องเรียกว่าวิชานิติศาสตร์ เพราะฉะนั้นถ้าเรียกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระยะต้นนี่ต้องเรียกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนิติศาสตร์ ใช่ไหม แต่ตอนนี้มันยุ่งหมดแล้วธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์เดี๋ยวนี้ก็ใช้ในความหมายว่าเป็นเพียงชื่อของมหาวิทยาลัย ซึ่งเวลานี้ก็เพื่อจะให้มีความหมายครอบคลุมตามระบบของสถาบันการศึกษายุคใหม่ที่จะเป็นมหาวิทยาลัย ก็จะต้องมีสาขาวิชาต่างๆ ครอบคลุมมากมาย ก็ไปมีวิศวกรรมศาสตร์ แทพย์ศาสตร์ อะไรต่างๆ เดี๋ยวนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มี ใช่ไหม นี่ก็เป็นเรื่องของความเป็นมาทางศัพท์ ซึ่งมันเป็นเรื่องของวิวัฒนาการของสังคมไปด้วย อันนี้ก็เป็นอันว่ากฎหมายนี้ก็มาจากพระพรหม ทีนี้
มนูธรรมศาสตร์นี่ มาเป็นแม่บทกฎหมายไทยด้วย มนูธรรมศาสตร์ ก็คือตำรากฎหมายที่มาจากพระมนู มนูธรรมศาสตร์นี้จะมีบัญญัติ เช่นเรื่องวรรณะนี่ ว่าจะมีชนชั้นไหนบ้างที่ศึกษาพระเวทได้ พระเวทก็คือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ อาตมาจะยกตัวอย่าง เช่นเขาจะห้ามไม่ให้คนวรรณะศูทรเนี่ยเรียนรู้พระเวท หรือแม้แต่ฟังพระเวท จะมีบัญญัติใน มนูธรรมศาสตร์ว่า คนวรรณะศูทรผู้ใดฟังสาธยายพระเวท ให้จับตัวมันมาเอาตะกั่วหลอมหยอดหูมัน ถ้าคนวรรณะศูทรผู้ใดสาธยายพระเวท ให้ตัดลิ้นมันเสีย คนวรรณะศูทร์ผู้ใดเรียนพระเวท ให้ผ่ากายมันเป็นสองซีก นี่คือบมบัญญัติในมนูธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญที่มาเป็นแม่บทกฎหมายไทยด้วยนะ แต่ของไทยเรานี่อิทธิพลพุทธศาสนามาก เราไม่เอาวรรณะมา เราไม่ยอมรับระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ พระพุทธศาสนานั้นมีอิทธิผลต่อสังคมไทยมาก แต่เราใช้ระบบการปกครองกฎหมายโดยใช้กฎหมายของฮินดูมาเป็นแม่แบบ ฉะนั้นการปกครองมีการลงโทษรุนแรงอย่างอินเดีย พุทธศาสนาไม่มี ฉะนั้นถ้าเราจะเอาจากพุทธศาสนา การปกครองโบราณที่เราให้ความสำคัญกับการลงโทษเนี่ยจะไม่ได้จากพุทธศาสนา ใช่ไหม ก็ต้องไปเอาจากศาสนาฮินดู ทีนี้ย้อนกลับมาว่า ถึงยังไงก็ตามกษัตริย์ประเทศไทยเราก็เป็นชาวพุทธ เพราะฉะนั้นประเพณีการปกครองแบบพุทธก็จะมาด้วย ก็จะมีเริ่มตั้งแต่ในประเพณีการปกครองพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์เนี่ย ซึ่งเราไม่สามารถสืบไปได้ชัดเจนในยุคก่อนๆ แต่ว่าก็ค่อยๆ วิวัฒนาการมา เมื่อมีพิธีราชาภิเษก เราก็จะเห็นว่าจะมีพิธีการ ซึ่งส่วนหนึ่งมีการอ่านเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีการปกครอง จะมีหลักธรรมอยู่ 4 หมวดที่ปรากฏสำคัญในพิธีราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งเดี๋ยวนี้พราหมณ์จะเป็นผู้อ่าน แต่ว่าหลักธรรมะ 4 หมวดนี้เป็นของพุทธศาสนา ธรรมะ 4 หมวดนี้มีอะไรบ้าง อ่านในพิธีราชาภิเษก คล้ายๆ เป็นการที่ว่าเป็นอนุสติแก่องค์พระราชาผู้ปกครอง ที่ว่าจะทรงครองแผ่นดินโดยยึดเอาหลักธรรมเหล่านี้เป็นมาตรฐาน หลักธรรม 4 อย่างนี้ก็มี
หนึ่ง- ทศพิธราชธรรม ที่คนไทยเราพูดกันมาก หรือเรียกกันในภาษาพระ ราชธรรม 10 ประการ ก็มี ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ นี่ 10 ข้อ 10 ข้อนี้อาตมาไม่ต้องบรรยายแล้ว เพราะไม่มีเวลา เราไม่ได้เข้าไปในรายละเอียดนั้น
สอง- จะอ่าน จักรวรรดิวัตร ที่พูดมาเมื่อกี้ แต่ใช่แบบอรรถกถา ซึ่งมี 12 ข้อ จักรวรรดิวัตร 12 ประการ แต่ในความเห็นอาตมาว่าเวลานี้ควรจะเอาของพระไตรปิฎกดีกว่า ซึ่งของพระไตรปิฎกนั้นชัดมาก หลักการใหญ่มัน 5 ข้อพอเลย แล้วจะแยกย่อยไปเท่าไหร่ก็ได้ในของอรรถกถานี้ก็อยู่ในส่วนของพระไตรปิฎกนั่นแหละ ทีนี้ไปยกความสำคัญให้กับข้อย่อยที่ท่านแยก มันทำให้เราเนี่ยไม่เห็นจุดเน้น 5 ข้อใหญ่ว่าไปแล้วของพระไตรปิฎก ก็เป็นอันว่าอ่าน จักรวรรดิวัตร 12 ประการ ต่อไปอ่านอะไรอีก
สาม- อ่านราชสังคหวัตถุ 4 ประการ คล้ายๆ กับ อัคคัญญสูตร คือหลักการสงเคราะห์ประชาชนของพระราชา มี สัสสเมธะ การบำรุงข้าวกล้า หมายความว่าบำรุงการเกษตร ปุริสเมธะ คือบำรุงข้าราชการ ต้องให้ข้าราชการนี้ได้รับความเป็นอยู่ที่ดี แล้วก็ส่งเสริมคนดีเป็นต้น สัมมาปาสะ มีอุบายยึดเหนี่ยวประชาชน โดยส่งเสริมการอาชีพทั่วๆ ไป โดยเฉพาะการค้าขาย การพาณิชย์ นี่ สัมมาปาสะ ต่อไปข้อที่สี่ วาชเปยะ มีวาจาดูดดื่มน้ำใจ ว่างั้น หมายความว่าราชาต้องเป็นผู้มีความสามารถในการที่จะสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้เกิดความเข้าใจอันดี ร็จักพูดรู้จักจา เป็นต้น ก็คือการสื่อสารดีนั่นแหละ พูดง่ายๆ เดี๋ยวนี้สำคัญมากนะ การสื่อสารดี นักปกครองจะต้องจับสื่อมวลชนให้ดี ถ้าพลาดอันนี้นักปกครองแย่เลยนะ ใช่ไหม ฉะนั้นพระราชาสมัยโบราณท่านไม่ต้องมีระบบการสื่อมวลชนที่ซับซ้อนอย่างปัจจุบันนี้ ท่านก็ไปพบประชาชนโดยตรง ก็ต้องมี วาชเปยะ เวลานี้เราก็ต้องขยายความหมายการที่ว่าจะสื่อสารกับประชาชนอย่างไรให้ได้ผลดี สร้างความเข้าใจที่ดีงาม ถ้าเมื่อไหร่ประชนไม่เข้าใจแล้วผู้ปกครอง หรือเข้าใจไม่ดีกับผู้ปกครอง มีภาพลบต่อผู้ปกครองแล้ว ลำบาก ก็มี 4 ข้อ หลักของราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
สี่- ที่จะอ่านคือ ขัตติยพละ กำลังของพระมหากษัตริย์ 5 ประการ มีอะไรบ้าง หนึ่ง-พาหาพละ หรือ กายพละ แปลว่า พาหา กำลังแขน หมายถึงกำลังรบ แต่ก่อนนี้ราชาต้องทรงรบเอง ใช่ไหม ต้องออกนำทัพเลย เพราะฉะนั้นต้องเก่งในการรบนั่นเอง พาหา กำลังแขนก็คือการรบนี่ใช้แขน ต้องเก่งในการรบนั่นเอง เวลานี้ก็หมายถึงว่ากำลังพล รี้พล กำลังทัพ กองทัพ ต้องมีความพร้อม สอง-อมัจจพละ พลังอำมาตย์ ที่หมายถึงว่าข้าราชการ ข้าราชการในด้านต่างๆ อย่างเวลานี้ก็ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ จะต้องมีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพ หรือกระทั่งว่าข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ ข้าราชการด้านต่างๆ ต้องมีคุณภาพดี โดยเฉพาะที่ปรึกษา อำมาตย์ผู้ใกล้ชิด อันนี้สำคัญมาก ถ้าผู้ใกล้ชิดไม่มีคุณภาพ หรือไม่มีคุณธรรมแล้ว ฐานเสีย นักปกครองนั้นจะลำบาก แล้วจะไม่สามารถทำให้การปกครองที่ดีเกิดขึ้นได้ ท่านเรียกว่า อมัจจพละ พลังจากอำมาตย์ พระราชานี่สืบสายตระกูลแล้ว ไม่ใช่รุ่นแรกที่เป็นมหาสมมติ พอสืบสานตระกูล คนก็จะถือความสำคัญ ถ้าเป็นโอรสกษัตริย์ก็มีหวัง ประชาชนก็มีความเคารพนับถือ แม้ในสายการปกครองของเราก็ยังมีความเคารพในเรื่องนี้อยู่ แต่ว่าความหมายในเชิงที่เป็นสาระที่ลึกซึ้งไปอีกก็คือการที่เกิดเป็นกำเนิดสูง เป็นโอรสกษัตริย์ ก็คือโอกาสที่จะได้รับการศึกษาอย่างดีนั่นเอง ถ้าไปเกิดเป็นชาวบ้าน แหม กว่าจะได้ร่ำเรียนมีความรู้ ได้ฝึกฝนปรนเปรอ มีความรู้วิชาการนี่ แย่เลย ใช่ไหม ขวบขวายเรียนเองนี่ต้องเป็นพวกอัจฉริยะจริงๆ จึงจะไหว ทีนี้ถ้าเกิดในชาติสูง เกิดมาก็ได้รับการอบรมศึกษาอย่างดี ตั้งแต่ต้นแล้ว ได้เรียนรู้ศิลปะวิทยาการ ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ได้ฝึกอบรมกิริยามารยาท ความเป็นผู้มีชาติตระกูลสูงนี่มีความหมายที่คุณสมบัติประจำตัวที่ได้รับการศึกษาอบรมมาแต่เด็กด้วย แต่เล็กๆ อันนี้ อมัจจพละ แล้วต่อไปอีกข้อที่สี่ โภคพลัง พลังทรัพย์ นี่สำคัญมาก ทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่มีกำลังทรัพย์ก็แย่ ต้องมีเงินทุนที่จะดำเนินกิจการต่างๆ บางครั้งพวกประชาชนขาดแคลนก็ต้องมีโภคะไปช่วยแบ่งปัน ไปช่วยเหลือสงเคราะห์ ยามเกิดปัญหาต่างๆ ทุพภิกขภัยต่างๆ มันต้องใช้ทรัพย์สินทั้งนั้น ตั้งแต่การดำเนินกิจการของราชการประจำวันก็ต้องเป็นไปด้วยโภคะ เพราะฉะนั้นจะต้องมีโภคะมาก พระราชาก็จึงต้องมีวิธีการ เช่นว่าการเก็บภาษีอากรเป็นต้น เพื่อจะได้มาบำรุงพระคลังหลวงให้มีราชทรัพย์ไว้มากๆ โภคพลัง กำลังทรัพย์ ต่อไปสุดท้าย ปัญญาพลัง กำลังปัญญา นี่ก็สำคัญที่สุดเลย ถ้าไม่มีตัวนี้ ถึงยังไงก็ไปไม่รอด ปัญญาพลังเป็นตัวคุมสุดท้าย ทำให้ทุกอย่างนี้เป็นไปด้วยดี กายพละ นั้น กำลังแข็งแรงไปเถอะ แต่ไม่มีปัญญาก็มากเสียเปล่า จะใช้ถูกใช้ให้เกิดผลก็ต้องมีปัญญา โภคะ ก็ต้องใช้เป็น อำมาตย์ก็ต้องใช้เป็น อำมาตย์ รู้ไม่ทันเขา อำมาตย์หลอกซะนี้ ข้าราชการนี่หลอก แย่ไปเลย ฉะนั้นผู้นำนี่จะต้องเก่ง มีปัญญารู้เท่าทัน นำเขาได้ ต้องมีปัญญาเป็นตัวสำคัญ ท่านบอกว่าในที่สุดแล้วมีปัญญาพลังตัวเดียว บางทีอยู่ได้เลย หาตัวอื่นมาได้ทีหลัง ว่างั้น แต่ถ้าขาดตัวนี้ตัวเดียว มีตัวอื่นมาก็ไปไม่รอด ตังอื่นก็พังหมดด้วย ว่างั้น
ตกลงนี่คือหลักธรรม 4 หมวด ที่ประเพณีการปกครองของไทยได้ยึดถือเป็นสำคัญ มีการอ่านประกาศในพิธีราชาภิเษก แต่งเป็นคำประพันธ์เลย อาตมาต้องขออภัย ไม่ได้ไปตามค้นออกมา ท่านที่สนใจน่าจะไปตามค้นนะ ว่าเรียบเรียงไว้เป็นคำประพันธ์ว่ายังไง ในประเพณีการปกครองของไทย แล้วพระราชาก็ยังทรงประกาศในพิธีราชาภิเษกด้วยว่าเราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม นี่ก็คือคติการปกครองที่มุ่งเคารพธรรม หรือธรรมเป็นใหญ่ ที่เรียกว่าธรรมาธิปไตย ใช่ไหม แล้วก็หลักจักรวรรดิวัตร นั่นเอง ปรากฏในพิธีราชาภิเษก เป็นประเพณีการปกครองของเรา นอกเหนือจากหลักธรรมสำคัญ 4 หมวดที่ว่านี้แล้ว เราก็ยังมีหลักธรรมปลีกย่อยอีก ที่จะช่วยเป็นมาตรฐานในการที่จะทำให้เกิดการปกครองที่ดี เช่น ผู้ปกครองนี้จะต้องไม่ลุอำนาจ อคติ 4 ประการ อันนี้เข้าใจว่ารู้กันดีในสังคมไทยเราพูดกันมาก ต้องไม่มีอคติ อคติก็คือความลำเอียง แต่ตัวศัพท์นั้นแปลว่าการที่ออกไปนอกทางของธรรมะ อคติก็ไม่อยู่ในคตินั่นเอง ไม่อยู่ในคติ หรือไม่อยู่ในทางที่ถูกต้องของตนเอง พลาดไปจากทางที่ถูกต้อง อคตินี่แปลง่ายๆ ความลำเอียงก็มี 4 ประการ หนึ่ง-ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบกัน หรือลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะชอบนี่ก็คือเหตุหนึ่งที่สำคัญที่เสียความเป็นธรรม สอง- โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง หรือเพราะโกรธ เพราะไม่พอใจ ขัดเคืองไม่ชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่งก็เลยเสียความเป็นธรรม แกล้งมัน อย่างนี้เป็นต้น นี่เรียกว่าโทสาคติ สาม-โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา ไม่รู้เท่าทัน ไม่ศึกษาข้อมูล ไม่ศึกษาข้อเท็จจริงให้ดี ด่วนตัดสิน ด่วนวินิจฉัย อันนี้เสียหลักความไม่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นจะให้เกิดความเป็นธรรม จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างดี ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยรอบคอบ อันนี้ก็เป็นเรียกว่าไม่มีโมหาคติ ต่อไปข้อสุดท้าย สี่- ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว ความกลัวนี่ก็สำคัญเหมือนกัน ความกลัวนี่เป็นเหตุให้เสียความเป็นธรรมได้มาก เพราะฉะนั้นผู้ปกครองจะต้องมีความเข้มแข็งมาก เรียกว่าต้องรักษาความเป็นธรรม ตายเป็นตาย ว่างั้น หมายความว่าต้องเอาธรรมะเป็นใหญ่ ธรรมาธิปไตยจะอยู่ได้ก็ต้องถือหลักไม่ยอมเสียด้วยอคติ 4 ประการ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ไม่ลำเอียงเพราะเขลา ไม่ลำเอียงเพราะกลัว 4 ประการ
ต่อไปก็มีหลักอธิปไตย 3 อธิปไตยนี่คือเรื่องของสิ่งที่เรายึดถือเป็นสูงสุด เราจะเอาอะไรเป็นตัวสูงสุด เราจะเอาตัวสูงสุดนี้มาเป็นบรรทัดฐาน เมื่อเรายึดถืออะไรเป็นสูงสุดแล้ว จะไปเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง พวกหนึ่งก็เอาอัตตาธิปไตย เอาตัวเองเป็นใหญ่ เอาตัวเป็นสูงสุด ก็เอาตัวเป็นคนกำหนด ฉันชอบยังไง ฉันจะเอาอย่างนั้น เป็นไปได้ในทางที่ดีและที่ร้าย ไม่ใช่ว่าอัตตาธิปไตยจะไม่ดีซะเลยนะ อัตตาธิปไตยนี่ เอาตนเป็นใหญ่นี่ ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน เคารพตนเอง เราอยู่ในภาวะฐานะอันนี้ เป็นที่เคารพ เขายกย่องเรา เชื่อถือเราแล้ว เราต้องทำการด้วยความรอบคอบให้สมกับภาวะของเรา อย่างนี้เรียกว่าใช้อัตตาธิปไตยในทางที่ดี คือทำด้วยความเคารพตน หมายความว่าให้สมกับฐานะ ไม่ทำไปโดยที่ว่าขาดความพิจารณาไตร่ตรองด้วยวิจารณญาณ แต่ว่าอัตตาธิปไตยในทางไม่ดี ก็คือว่าบางทีกลายเป็นเพื่อผลประโยชน์ของฉัน ใช่ไหม หรือว่าเพื่ออำนาจของฉัน เพื่อฉันจะอยู่ได้ ใครจะเป็นยังไงก็ช่างมัน หรือต้องจัดการมันได้หมด อันนี้อัตตาธิปไตยนี้ไม่ปลอดภัย ก้มีแง่ดีเหมือนกัน คือเคารพตน สอง-โลกาธิปไตย ถือเอาเสียงผู้คนหรือเสียงสังคม กระแสสังคมเป็นใหญ่ ถือเอากระแสสังคมเป็นใหญ่ ค่านิยมคนเขายังไง อันนี้ก็มีทั้งแง่ดีและแง่เสีย แง่ดีก็คือว่าเราต้องพยายามทำให้ดีนะ ถ้าทำไม่ดีแล้วชาวโลกเขาติเตียน สังคมเขาติเตียน ก็เลยพยายามทำไปตามที่ว่าจะไม่ให้คนเขาติเตียน เพื่อที่จะให้เขาได้รับการยอมรับ เพื่อให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ เลยพยายามรักษาความดีไว้ ทีนี้ถ้าในขณะนั้นค่านิยมสังคมมันดี ก็เลยพลอยดีไปด้วย แต่ไม่ปลอดภัยเพราะว่ามุ่งหาเสียงให้กับตนเอง หาคะแนนนิยม ทำสิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อคะแนนนิยม ใช่ไหม แล้วก็หวาดกลัวเสียงประชาชน กรณีที่เสียงข้างมากนั้นมันเป็นเสียงที่ไม่ดีไม่งาม ลากกันไปในทางที่จะเอาที่ชั่วร้าย มีค่านิยมที่เห็นแก่ผลประโยชน์ อะไรก็ไปตามเสียงของคนที่เป็นส่วนมาก จะผิดพลาดได้ ทีนี้ต่อไปก็ไปข้อที่สาม ธรรมาธิปไตย ข้อที่หนึ่ง- อัตตาธิปไตย เอาตัวเป็นใหญ่ สอง-โลกาธิปไตย เอาเสียงกระแสของสังคมเป็นใหญ่ สาม-ธรรมาธิปไตย เอาธรรมะเป็นใหญ่ เอาหลักการเป็นใหญ่ ตัวความจริงความถูกต้องความดีงาม ตลอดจนหลักการที่วางไว้เป็นบทบัญญัติของสังคมที่ว่าแล้ว ธรรมะนี้บอกแล้วว่ามี 2 ชั้น คือหนึ่ง-ตัวธรรมะหลักการที่เป็นตัวนามธรรม สอง-ก็คือตัวหลักการนั้นที่มาจัดตั้งวางเป็นระเบียบแบบแผนในสังคมที่เรียกว่ากฎหมาย เป็นต้น พวกธรรมาธิปไตยก็จะเอาหนึ่ง-ก็คือความจริงความถูกต้องที่ต้องใช้ปัญญาจนถึงที่สุด คนที่ถือหลักการนี้ต้องรู้ว่าอะไรคือหลักการที่ถูกต้อง แล้วต้องใช้ปัญญาเพื่อทำให้เห็นว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผล อะไรเป็นความชอบธรรมที่แท้จริง แล้วขั้นต่อมาก็คือว่าที่เป็นธรรมะในระดับรูปแบบก็คือกฎหมาย กติกา หลักเกณฑ์ พวกนี้ก็ยึดหลักการตามกติกาสังคม เช่นรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎหมายบัญญัติยังไงเอาตามนั้น ไม่ถือตามผลประโยชน์ ไม่ถือตามพวกของตนอะไรเป็นต้น เอาธรรมะ เอากฎหมายเป็นใหญ่ เอาหลักการกติกาสังคมเป็นใหญ่ แต่ว่าหลักการกติกาสังคมนี้ ยังไม่ปลอดภัยนะ ต้องระวัง เพราะกฎหมายนี้บางทีก็มีผิดพลาดด้วยหนึ่ง-ปัญญาไม่พอ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ บัญญัติขึ้นมา บางทีพวกสภานิติบัญญัติทั้งหมดก็ต้องยอมรับตัวเองว่าเท่าที่ปัญญาของเราทำได้ขณะนี้ได้เท่านี้ สอง-เจตนา บางครั้งกฎหมายออกมาจากเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ มีความเคลือบแฝง เช่นว่าเพื่อช่วยพวกตัว เพื่อผลประโยชน์ของพวกตัว เพื่อจะกีดกั้นพวกอื่น อะไรเป็นต้น ก็ออกกฎหมายบางอย่างมา เพราะฉะนั้นกฎหมายที่ออกมาเป็นธรรมะระดับรูปแบบเนี่ย จะต้องมีการตรวจสอบเสมอ ทีนี้ตัวอะไรที่จะเป็นยืนหลักให้ จึงต้องมีธรรมะที่เป็นนามธรรมอยู่ตลอดเวลา ทิ้งไม่ได้ เพราะธรรมะที่เป็นตัวนามธรรมนั่นแหละที่จะเป็นฐานให้กับธรรมะที่เป็นหลักการที่เป็นรูปแบบอีกทีหนึ่ง อย่าไปนึกว่าตัวธรรมะที่เป็นนามธรรมไม่สำคัญ อันนั้นยิ่งใหญ่ที่สุด ที่จะเป็นฐานรองรับตลอดกาล ฉะนั้นตัวนั้นจะมาเป็นตัวตรวจสอบธรรมะ คือหลักการที่มาบัญญัติเป็นกฎหมาย เป็นกติกาสังคมอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเราจะเห็นว่าบางทีออกมาในยุคนี้กฎหมายนี้ดีที่สุดแล้ว พอมาถึงอีกยุคหนึ่งนั้นไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมันอาจจะเหมาะในชุมชนหนึ่ง ในท้องถิ่นหนึ่ง แต่ไม่เข้ากัน ไม่สอดคล้องกับอีกท้องถิ่นหนึ่งที่มีสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่ต่างออกไป ฉะนั้นกฎหมายที่มีผลดีต่อกรุงเทพฯ ก็อาจจะไม่มีผลดีต้องจังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น หรือว่ายุคสมัยหนึ่ง สมัยเมื่อ 20 ปีมาแล้ว กฎหมายนี้ใช้ได้ดี แต่มาถึงยุคนี้ก็อาจจะใช้ไม่ได้ ฉะนั้นกฎหมายที่เรียกว่าหลักการของสังคมในระดับรูปแบบนี้จึงต้องมีการทบทวนตรวจสอบปรับแต่งเสมอ โดยอาศัยฐานสำคัญก็คือหลักการที่เป็นความถูกต้องชอบธรรม ความดีงาม ที่เป็นนามธรรมซึ่งอาศัยปัญญาเป็นตัวสำคัญ ปัญญาจะต้องคอยเข้าถึงอันนี้อยู่เสมอ ทีนี้ก็มาถึงตรงนี้แล้ว ก็เป็นว่านี่เรื่องอธิปไตย 3 อธิปไตย 3 นี้ที่ดีที่สุดคือ ธรรมาธิปไตย คือถือธรรมะเป็นใหญ่ ถือหลักการ
เดี๋ยวจะต้องพูดความต่าง ธรรมาธิปไตย ประชาธิปไตย บางคนไปสับสน บอกจะให้ประเทศไทยเป็นธรรมาธิปไตย ธรรมาธิปไตยมันไม่ใช่รูปแบบการปกครอง มันเป็นคุณธรรมในใจคน เป็นคุณสมบัติของคนแต่ละคน ประชาธิปไตยมันเป็นรูปแบบการปกครองของสังคม คนละเรื่องกันเลย อย่าได้ไปปนกันเชียว แต่ประชาธิปไตยที่ดีนั้นต้องให้คนที่ปกครองนั้นเป็นธรรมาธิปไตย ถ้าหากว่าคนที่ปกครองนั้น หรือคนที่มีส่วนร่วมในการปกครอง ไม่มีธรรมาธิปไตย จะไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยที่ดีได้ เดี๋ยวเราจะพูดเรื่องนี้กันอีกทีหนึ่ง แต่ต้องระวัง อย่าไปสับสนเป็นอันขาด อันนี้เรื่องอธิปไตย 3 แล้วก็ขอผ่านไปเรื่องของหลักธรรมอื่นๆ ที่เป็นพื้นฐาน อย่างพรหมวิหาร 4 นี่ก็สำคัญมาก พรหมวิหาร 4 แค่นี้ สังคมไทยเราก็ต้องยอมรับความจริงว่าเดี๋ยวนี้เราเข้าใจกันผิดพลาดมาก พรหมวิหารนี้หาคนเข้าใจถูกต้องได้ยากมาก ทั้งๆ ที่เป็นหลักธรรมง่ายๆ อาจจะยอมเสียเวลาพูดเรื่องนี้สักนิดหน่อย พรหมวิหารแปลว่าธรรมประจำใจของพรหม ในสังคมไทยนี่ โดยเฉพาะในหมู่ชาวพุทธ ได้รู้จักกันดี 4 ข้อนี้ง่าย มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ว่างั้น แต่เอาเข้าจริงว่ามีความหมายอย่างไร ตอนนี้ชักยุ่งแล้ว ในสังคมไทยมีข้อสังเกต หนึ่ง-การปฎิบัติธรรม ไม่ครบชุด พรหมวิหารนี้มี 4 ข้อ พระพุทธเจ้าตรัสธรรมะไว้เป็นหมวดๆ ให้สังเกตว่าในพุทธศาสนานี้ธรรมะจะมาเป็นชุด มา 4 ข้อ 5 ข้อ อะไรต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นชุดนี้ ไม่ใช่ตรัสไว้เลื่อนลอย มีความหมาย มันมาถึงเวลานี้คนจะเข้าใจดีขึ้นพราะว่าเวลานี้เริ่มมีความคิดในแนวองค์รวม คือระบบองค์รวมนั่นเอง ต้องบูรณาการ ต้องมีดุลยภาพ ต้องเป็นระบบ พรหมวิหารนี้ก็เป็นชุด เป็นระบบ มีดุลยภาพ บูรณาการ ก็ปฎิบัติให้ครบ 4 ข้อ ทีนี้สังคมไทยเราเอามาแยกกระจัดกระจายหมด สอง-แถมเข้าใจความหมายผิดพลาดด้วย เยอะ 4 ข้อนี้เราเอามาใช้มาก 2 ข้อต้น เมตตา กรุณา มาใช้เป็นคำไทยไปเลย ใช้เป็นคำสามัญ ส่วนอีก 2 ข้อ ไม่ค่อยได้พูดถึง เมตตา กรุณา นี้พูดบ่อย ข้อที่สาม-มุทิตาชักไม่พูดแล้ว เดี๋ยวนี้ก็เอามาพูดบ้าง เป็นพิธีแสดงมุทิตาจิต แล้วสี่-อุเบกขา พูดน้อย แล้วก็เข้าใจผิดด้วย อันนี้ก็เลยต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ ทำไมมีหลักพรหมวิหาร พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาในสังคมอินเดีย สภาพแวดล้อมของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์เขามีเทพเจ้าสูงสุด เขานับถือเทพเจ้าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ สร้างสรรค์บันดาลโลก และกำหนดชะตากรรมของมนุษย์ พร้อมทั้งสังคมมนุษย์ด้วย การจัดเป็นวรรณะ4 เป็นต้น ทีนี้พระพรหมท่านสร้างท่านบันดาลทุกอย่าง เพราะฉะนั้นความเป็นไปต่างๆ ของเราก็ขึ้นกับพระพรหม เป็นอันว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และอภิบาลโลก โลกจะอยู่ดียังไงก็ล้วนแล้วแต่พระพรหม ถ้าโลกพินาศไป พระพรหมก็สร้างใหม่ เมื่อโลกอยู่มานานจนกระทั่งพินาศไปครั้งหนึ่งท่านเรียกว่ากัลป์ ก็คือว่าถึงเวลาที่โลกพินาศแล้วก็คงจะสร้างใหม่ ทีนี้พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา พระพุทธเจ้าก็ตรัส ซึ่งเราพูดเอาเองได้ว่า พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เราอย่ามัวรอพระพรหมสร้างโลก อภิบาลโลก เราทุกคนมาช่วยกันสร้างโลกเอง ถ้าเราจะรอพระพรหมสร้างโลก เราก็ไม่ได้มีความรับผิดชอบ ใช้ชีวิตกันตามสบายใจ ก็ทำลายโลกกันไปสิ ใช่ไหม รอให้พระพรหมสร้างโลก มนุษย์เรานี่แหละไม่ต้องไปรอพระพรหมหรอก เอามาทำตัวเป็นพรหมซะเอง ช่วยสร้างสรรค์โลก ฉะนั้นแต่ละคนนั้นต้องเป็นพรหมซะเอง พระพุทธศาสนานี้สอนให้เราทุกคนเป็นพรหม จะเป็นพรหมได้อย่างไร ก็มีธรรมะ 4 ประการนี่สิ พรหมวิหาร 4 ธรรมประจำใจของพรหม ธรรมประจำใจของพรหมมีอยู่แล้ว ท่านก็เป็นพรหม แล้วท่านจะเป็นผู้สร้างสรรค์อภิบาลโลกเลยทีเดียว เราทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อภิบาลโลก มีธรรมะ 4 ประการ คือ หนึ่ง-มีเมตตา สอง-กรุณา สาม-มุทิตา สี่-อุเบกขา แล้ว 4 ข้อนี้มีอย่างไร ความหมายของ 4 ข้อนี้ก็เป็นความหมายที่ไม่ยาก แต่ว่าเราก็ยังสับสนกันอยู่ไม่น้อย แม้แต่เมตตา กรุณา ก็ยังแยกกันไม่ค่อยถูก จะแยกอย่างไร วิธีแยกง่ายที่สุดก็คือว่าธรรมะ 4 ข้อนี้ เป็นท่าทีของจิตใจที่จะแสดงออกต่อผู้อื่น ใช่ไหม เมื่อแสดงต่อผู้อื่น ความหมายมันจะแสดงเห็นได้ง่าย เอาไปพิจารณาจากผู้อื่นเข้ามา พิจารณายังไง ก็พิจารณาว่าธรรมะเหล่านี้ใช้แสดงต่อผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ ที่เขาประสบ เราก็ดูความแตกต่างของธรรมะ 4 ข้อนี้ จากสถานการณ์ที่เพื่อนมนุษย์
เขาประสบ มนุษย์นั้นประสบสถานการณ์อะไรบ้าง สถานการณ์ที่มนุษย์จะได้ประสบมี 4 สถานการณ์ สถานการณ์อะไรบ้าง หนึ่ง-สถานการณ์ปกติ แน่นอนสถานการณ์ต้นก็คือสถานการณ์ปกติ เขาอยู่เป็นปกติก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรเป็นพิเศษ อยู่ทั่วๆ ไป พบเห็นกันอยู่ สถานการณ์ปกตินี่เราก็มีข้อหนึ่งคือเมตตา ในสถานการณ์ปกติก็มีความเป็นมิตร เมตตาก็มาจากมิตตะ แปลง อิ เป็น เอ ก็เป็น เมตตะ แล้ว อะ เป็น อา ก็เป็น เมตตา เป็นคนก็เป็นมิตตะ เป็นธรรมะก็เป็นเมตตา เท่านั้นเอง ความเป็นมิตรน้ำใจ มิตร คุณสมบัติของมิตร ก็หมายความว่าอยู่กับเพื่อนร่วมโลก เขาเป็นปกติก็เป็นมิตร ความรัก ความปรารถนาดี ถือเป็นเพื่อน ต่อไปสถานการณ์ที่สอง เป็นยังไง สถานการณ์ที่สองก็ง่าย ก็คือเขาตกต่ำลงไปจากปกติ พอเขาตกต่ำลงไปเดือดร้อน ประสบปัญหา ขาดแคลนยากไร้ มีภัยอันตราย เราก็ย้ายไปสู่ธรรมะข้อที่สอง ก็มีกรุณา ก็พลอยหวั่นใจในทุกข์ของเขา กรุณานี้แปลว่าพลอยหวั่นใจในทุกข์ของเขา ก็อยากจะช่วยเหลือแก้ไขปลดเปลื้องปัญหาให้เขา ทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน นี่เรียกว่ากรุณา ต่างกันชัดมาก เมตตา กรุณา นี่ไม่มีทางเหมือนกันเลย เมตตาใช้ในยามเขาเป็นปกติ กรุณาใช้ในยามเขาตกต่ำ ผิดปกติแหละ ต่อไปสถานการณ์ที่สาม เมื่อไม่เป็นปกติ แล้วก็ไม่ได้ตกต่ำ เป็นไง ก็ขึ้นสูงสิทีนี้ สถานการณ์ที่สาม เขาขึ้นสูง อยู่ดี มีสุข ประสบความสำเร็จ ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เราก็ย้ายไปข้อที่สาม ก็คือมีมุทิตา แปลว่าพลอยยินดีด้วย กรุณาแปลว่าพลอยหวั่นใจด้วยในทุกข์ของเขา มุทิตาแปลว่าพลอยยินดีด้วยในความได้ดีมีสุขของเขา เขาทำสิ่งถูกต้องดีงาม มีความสุขความสำเร็จ ก็พลอยยินดีด้วย พร้อมจะส่งเสริมสนับสนุน นี่สามสถานการณ์ ต่อไปสถานการณ์ที่สี่ อะไร หนึ่ง-ปกติ สอง-ตกต่ำ สาม-ขึ้นสูง แล้วสถานการณ์ที่สี่อะไรล่ะ จะไปไหนแล้วทีนี้ นี่อันนี้ยากที่สุด อันนี้ต้องตอบให้ได้ สถานการณ์อะไรเป็นสถานการณ์ที่สี่ ??? ต้องตอบให้มันอยู่ที่ตัวคนว่าเขาอยู่ในสถานการณ์อะไร เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน อยากจะให้ชัด ให้เป็นสถานการณ์ คือสามสถานการณ์นี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับคนเนี่ย เขาเป็นปกติ เป็นมิตร มีเมตตา เขาตกต่ำเดือดร้อน กรุณาเขา เขาขึ้นสูง ก็มีมุทิตา ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ทีนี้สังคมมนุษย์นั้นไม่ได้อยู่ลำพังความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนเท่านั้น มนุษย์อยู่ร่วมกันช่วยเหลือกันได้ดี ไม่พอที่จะให้สังคมอยู่ได้ดี เพราะว่าสิ่งที่รองรับสังคมมนุษย์อยู่อีกชั้นหนึ่งก็คือตัวหลักการแห่งความจริงความถูกต้องดีงาม ความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติ ความเป็นเหตุเป็นผลในสิ่งทั้งหลาย ตัวธรรมะนี้เอง ลึกลงไปกว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน สิ่งที่รองรับสังคมให้อยู่ได้ก็คือตัวธรรมะ เพราะฉะนั้นตอนนี้จะมีอันที่ลึกซึ้งกว่าสามข้อต้น สถานการณ์ที่สี่ก็คือสถานการณ์ที่ว่าในกรณีใดก็ตามที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ไปส่งผลกระทบต่อตัวธรรมะ ต้องหยุดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสามข้อต้น เดี๋ยวเราไปสู่สถานการณ์ที่สี่ เรียกว่าอุเบกขา อันนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดเลย อุเบกขานี้คุมท้าย แม้มนุษย์จะอยู่ร่วมกันด้วยดี ช่วยเหลือกัน แต่ถ้าเสียหลักไปละเมิดธรรมะเข้า สังคมนี้อยู่ไม่ได้ ก็ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็อย่างที่พูดบ่อยๆ อย่างเด็กคนหนึ่งไปประสบความสำเร็จในการลักขโมยเงินได้มา 7,000 บาท เด็กนี้ก็ได้ดีมีสุขสิใช่ไหม ได้เงินมา 7,000 บาท แต่ว่าเราจะมุทิตาได้ไหม มุทิตา พลอยยินดีด้วย ส่งเสริมสนับสนุน ไม่ได้ เพราะว่าความสัมพันธ์ในกรณีนี้ มุทิตาในกรณีนี้ไปส่งผลกระทบต่อธรรมะ ต่อตัวหลักการ เสียความเป็นธรรม เสียความชอบธรรม ใช่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องหยุด ก็เป็นอุเบกขา ก็คือ เฉยต่อคนนั้น บอกว่าฉันไม่เอาด้วยกับคุณแล้วนะ บอกว่ากฎต้องเป็นกฎ นี่ก็คือการรักษาหลักการนั่นเอง ธรรมะที่เป็นความจริงเป็นนามธรรมก็ตาม ธรรมะที่เป็นกฎเกณฑ์กติกาที่วางเป็นแบบแผนเป็นกฎหมายก็ตาม อันนี้เป็นมาตรฐานของข้อที่สี่ที่จะต้องรักษาไว้ เพื่อรักษาตัวธรรมะที่เป็นหลักการความจริง ความถูกต้องดีงาม ความเป็นเหตุเป็นผล ความชอบธรรมนี้ เราต้องหยุดความสัมพันธ์กับคนไว้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามธรรม มิฉะนั้นเราจะเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงตัวธรรมะ หรือหลักการ แล้วทำลายหลักการเสีย ซึ่งสังคมบางสังคมนี้จะเอาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นใหญ่ จนกระทั่งทำให้มองข้ามหลักการ กฎเกณฑ์กติกานี้ แล้วสังคมนี้ก็จะเอียง เสียดุล ตั้งอยู่ไม่ได้ อันนี้ที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นพรหมวิหารเป็นตัวสำคัญมาก มันเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในสังคม ไม่ใช่เฉพาะผู้ปกครองเท่านั้น แต่ผู้ปกครองนั้นเพราะปฏิบัติหน้าที่กับผู้อื่นมาก ก็เลยต้องให้ความสำคัญต่อหลักพรหมวิหารนี้ จนกระทั่งในสังคมไทยเราเรียกกันว่าเป็นธรรมะของผู้ใหญ่ ซึ่งที่จริงในพุทธศาสนาหาได้ว่าเช่นนั้นไม่ ไม่มีที่ใดในพุทธศาสนาที่กล่าวว่าหลักธรรมนี้เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่ แต่ในสังคมไทยเรามาพูดว่าเป็นธรรมะของผู้ใหญ่ จริงอยู่ผู้ใหญ่ต้องรับผิดชอบ ควรจะปฏิบัติเป็นผู้นำ แต่มันเป็นหลักธรรมของทุกคนที่มีต่อกัน เอาละ ขอยกตัวอย่างที่คือพรหมวิหาร 4 ประการ 3 ข้อแรกหนักในความรู้สึก คนเรานี้เขาอยู่ปกติเราก็มีความรู้สึกที่ดี เป็นมิตร เขาเดือดร้อนเป็นทุกข์ เราก็มีความรู้สึกสงสาร อยากช่วยเหลือ เขาได้ดีมีสุข เราก็รู้สึกยินดีด้วย พลอยดีใจส่งเสริมสนับสนุน หนักในความรู้สึก แต่ข้อสี่นี้หนักความรู้ คือปัญญา ต้องมีปัญญาจึงรู้ว่าอะไรคือธรรมะ อะไรคือหลักการ อะไรคือความถูกต้อง ชอบธรรม ไม่งั้นรักษาไม่ได้ พุทธศาสนาเน้นความสำคัญของปัญญา เพราะฉะนั้นข้อสี่จึงเป็นตัวสำคัญ ความรู้จะต้องมาคุมความรู้สึก ความรู้สึกจะมาเหนือละเมิดความรู้ไม่ได้ ฉะนั้นปัญญาจะต้องมาคุมหมดเลย ทีนี้ถ้าหากอุเบกขาเฉย ไม่มีปัญญา ท่านเรียกว่า อัญญานุเบกขา ว่าเฉยโง่ ใช้ไม่ได้ เป็นอกุศล ต้องระวังมากนะ ศัพท์พระท่านมีเลยว่า อัญญานุเบกขา แปลว่าเฉยโง่ ด้วยความไม่รู้ อุเบกขาจะต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอไป เพราะตัวที่จะทำให้จิตมีดุลยภาพก็คือปัญญา ความรู้ทำให้ความรู้สึกนี้มีดุลยภาพ ลงตัวเลย พอมีอุเบกขา เพราะปัญญาเป็นตัวสร้างดุลยภาพอันนี้ เพราะฉะนั้นอุเบกขาตั้งอยู่ได้ด้วยปัญญา ตัวเองอุเบกขาแปลว่าเข้าไปมอง หรือมองอยู่ใกล้ๆ คอยมองดูเพื่อให้ทุกสิ่งมันเป็นไปราบรื่นตามที่มันควรจะเป็น ถูกต้อง นี่คืออุเบกขา ไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงในเรื่องไม่เป็นเรื่องในเรื่องที่ไม่ควร นี่อาตมายกตัวอย่างมาเพื่อให้เห็นว่ามันมีความสำคัญ อันนี้ต่อไปที่จริงพรหมวิหารต้องเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว ในสังคมไทย ครอบครัว พ่อแม่ก็มักจะได้สามข้อแรก เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาไม่ค่อยได้ เพราะฉะนั้นเลี้ยงลูกก็เลยไม่ครบ ไม่สามารถสร้างลูกมาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม หรือผู้สร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ เพราะว่ามันทำให้เสียนิสัย ขาดความเป็นธรรม อ่อนแอ หวังพึ่งผู้อื่น ถ้ามีสามข้อแรกมากนี่ สังคมจะเสียดุลในหลายประการ หนึ่ง-ทำให้คนหวังพึ่งผู้อื่น คิดว่าเราไม่เป็นไร เดือดร้อนก็ไปหวังพึ่งคนนั้น ไปหาท่านผู้ใหญ่ช่วย อะไรต่างๆ นี่ หวังพึ่งกัน ก็อ่อนแอ สอง-ตกอยู่ในความประมาท ไม่เร่งรัดทำสิ่งที่ควรทำตามเหตุตามผล แล้วก็สาม- เสียความเป็นธรรม ช่วยเหลือกันโดยเป็นส่วนตัวจนกระทั่งละเมิดกติกา หลักการ ทำลายหลักการก็เอา ทีนี้ในบางสังคมนั้นจะหนักในอุเบกขา แล้วขาดสามข้อแรก ก็จะถือหลักการเป็นใหญ่ เอากฎหมายเป็นเกณฑ์ เอากฎเข้าว่า คุณทำอะไรทำไป จะไม่ช่วยเหลือหรอก ไม่มีน้ำใจ ทำไม่ผิดกฎเกณฑ์ก็ทำไป ไม่ว่า แต่ถ้าผิดกฎเมื่อไหร่ เอาทันที อย่างนี้สังคมพวกนี้ก็รักษาความเป็นธรรมได้เข้มแข็ง ทำให้คนนี้ต้องดิ้น เพราะถ้าไม่ดิ้น อยู่ไม่รอด ไม่มีใครมาช่วย หวังพึ่งใครไม่ได้ แต่ว่าทำให้สังคมนั้นแห้งแล้ง ไม่มีความชุ่มฉ่ำ ทำให้จิตใจเครียด แล้วก็ทำให้มีความทุกข์มาก แล้วถ้าหากว่าไม่มีน้ำใจ ขาดเมตตา กรุณา มุทิตา มาก ไปถึงจุดหนึ่ง จะเกิดโทษ ทำลายหลักการก็เอา ล้มล้างหมดทุกอย่าง ฉะนั้นสังคมนี่ทำยังไงจะให้อยู่พอดีในดุลยภาพ ต้องรักษาพรหมวิหารให้พอดี ทีนี้พรหมวิหารก็ไปแสดงออกในหลักอีกชุดหนึ่งที่ตามมาเรียกว่าสังคหวัตถุ4 พอเรามีพรหมวิหาร4 เป็นฐานในใจแล้ว เราก็ไปแสดงออกที่สังคหวัตถุ4 พรหมวิหาร4 นี่เป็นคุณธรรมที่อยู่ในใจนะ ยังไม่ได้ออกมาข้างนอก ยังไม่แสดงออก แต่พร้อมที่จะแสดงออก เป็นฐานในใจ พรหมวิหารเป็นคุณธรรมประจำใจ ยังไม่แสดงออก ที่เราพูดในภาษาไทย เมตตา ไปทำโน่นทำนี่ ที่จริงไม่ใช่ มันพูดสับสน เมตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นตัวธรรมะในใจ การแสดงออกมาแสดงออกที่สังคหวัตถุ4 สังคหวัตถุ4 แปลว่าหลักการยึดเหนี่ยวสังคมให้ประสานกลมกลืนอยู่เป็นเอกภาพ หลักการสร้างเอกภาพในสังคม เรียกว่าสังคหวัตถุ4 สังคหะ แปลว่า สงเคราะห์ สังคหะเองนั้นคนไทยก็เข้าใจคลาดเคลื่อนไปเหมือนกัน สังคหะแปลว่ารวมเข้าด้วยกัน คหะ แปลว่า จับ สัง แปลว่า รวมเข้าด้วยกัน จับรวมเข้าไว้ หมายความว่าทำให้มันประสานกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หลักของ สังคหะ ก็คือต้องการเอกภาพ ถ้าหากไม่มีหลักการสังคหะ คือการสงเคราะห์แล้ว สังคมจะแตกกระจัดกระจาย ข้อที่หนึ่ง-ทาน ช่วยด้วยสิ่งของ ข้อสอง-ปิยวาจา ช่วยด้วยถ้อยคำ สาม-อัตถจริยา ช่วยด้วยเรี่ยวแรงกำลัง เอากำลังเรี่ยวแรงไปช่วย ก็ไปทำประโยชน์ บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่เขา ยามเป็นปกติก็อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ด้วยเมตตา เราอยู่ด้วยกัน เดินไปด้วยกัน คนหนึ่งถือของน้อย คนหนึ่งถือของมาก เราก็ไปช่วยถือมาบ้าง อะไรต่างๆ มาอยู่ใกล้กันก็หยิบเก้าอี้ไปให้เขานั่ง อะไรต่างๆ นี่ก็แสดงว่าเป็นการที่ว่า อัตถจริยาด้วยเมตตา เอากำลังไปช่วยด้วยเมตตา ทีนี้เขาตกทุกข์ได้ยาก ตกน้ำ หรือว่าติดอยู่ในไฟ เราก็เอากำลังกายเข้าไปช่วยด้วย ขนน้ำไปช่วย นี่เรียกว่าอัตถจริยาด้วยกรุณา สาม-เขาทำความดีกัน ทำความดีเราก็ไปส่งเสริมสนับสนุน โบราณนี่เช่นว่าขนทรายเข้าวัด ชาวบ้านเขาไปช่วยกันขนทรายเข้าวัด ทำความดี หรือไปทำงานวัดทำความดีร่วมกัน เราก็เอากำลังกายเข้าไปช่วย นี่เรียกว่าอัตถจริยาด้วยมุทิตา