แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ผนึก(ฟังไม่ชัดนาทีที่1.02)โดยนั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวตรงให้พอสบายสมควร แล้วสูดหายใจเข้าลึกๆ ทำใจว่าสบายแล้ว ต่อจากนั้นก็ตั้งจิตกำหนดลมหายใจ คราวนี้ก็ขอให้ใช้วิธีนับต่อเพราะว่าขาดตอนไป ๒-๓ วัน โดยใช้วิธีนับที่ค้างไว้
ถึงเรื่องพระธรรมแล้ว แต่พระธรรมนี่ก็ยังไม่จบ เอากันแค่นั้นก่อนเพราะเรื่องธรรมะก็ยาก มีสิ่งที่ควรจะรู้อีกมากมาย ข้ามไปข้อสุดท้ายในพระรัตนตรัยก็คือพระสงฆ์
คำว่า สงฆ์ นี่ก็แปลว่าหมู่นั่นเอง สงฆ์ หรือ สังฆะ แปลว่าหมู่ หมู่นี่ก็หมายถึงคนที่มาอยู่รวมกัน เช่นมีหลายอย่างในภาษาไทยเรามีคำที่เกี่ยวกับคนมารวมกันมากมาย เคยได้ยินคำว่า “ชุมชน” ไหม? เณรพุดเคยได้ยินไหม? แล้วก็ถามท้ายเลยเณรเต็นเคยได้ยินคำว่าชุมชนไหมครับ (เสียงเณรตอบ..เคย) เคย มีความหมายยังไง “ชุมชน” (เสียงเณรตอบ..ที่คนมาอยู่รวมกัน) อ่า(หัวเราะ)..คนมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ก็เอาพอเข้าใจความหมาย แล้วก็คำว่า “สังคม”เคยได้ยินไหมครับ เคย คำว่าสังคมนี่ใช้บ่อย แล้วเคยได้ยินว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมไหม ใครที่เคยได้ยินงั้นเอามือขึ้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เณรเต็นไม่เคยได้ยินเหรอ...ไม่เคย งั้นพูดกันมาว่าอย่างนั้นมนุษย์เป็นสัตว์สังคมนั้นหมายความว่าอย่างไร? เณรพุดลองว่ามาซิมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไหนหมายความต้องมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนใช่มั๊ย ก็นี่แหละมนุษย์นี่เป็นสัตว์ที่ต้องอยู่รวมกันมาอยู่กันเป็นชุมชน มาอยู่กันเป็นหมู่บ้าน มาอยู่กันเป็นเมืองตลอดจนเป็นประเทศเรียกว่าเป็นสังคมทั้งนั้นแหละ แต่ว่าคำว่าสังคมเนี่ยที่คนมาอยู่รวมกันเนี่ยมันปนกันไปหมด คนดีก็มีคนชั่วก็มี คนที่มีปัญญาก็มีไม่มีปัญญาก็มี คนจนก็มีคนมีก็มี สัมคมนี้รวมหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะถ้าพิจารณาในทางธรรมะก็คือว่ามีทั้งคนดีคนชั่ว คนไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร คนแม้จะทำร้ายคนอื่นเบียดเบียนคนอื่นก็อยู่รวมกันเป็นสังคมเหมือนกัน ที่เป็นสังคมเล็กๆสังคมที่ทำแต่ความชั่วนี่ยกพวกไปปล้นเขาบ้างอะไรบ้างอย่างนี้เขาเรียกว่าอะไร (เสียงเณรตอบ...แก๊งค์) นั่นซิเขาเรียกรวมกันว่ายังไง? ภาษาฝรั่งเอามาใช้ในภาษาไทยด้วย (เสียงเณรตอบ..แก๊งค์) ฮะฮ่า..เป็นแก๊งค์ ภาษาอังกฤษก็คือ GANG นั่นเอง นี่ก็เป็นสังคมเหมือนกันใช่มั๊ย คนมาอยู่รวมกัน ฉนั้นไอ้คำว่า “สังคม” เนี่ยมันจะเป็นคำที่ไม่แน่ว่าจะดีหรือชั่วคือพูดรวมๆกันไปหมด ทีนี้เราต้องการให้สังคมเป็นสังคมที่ดีมนุษย์ควรจะอยู่กันเป็นสุข แต่คนจะอยู่รวมกันเป็นสุขเป็นสังคมที่ดีนี่มนุษย์ในสังคมนั้นจะต้องรู้จักฝึกฝนตนเองรู้จักพัฒนาตนเอง พอปล่อยไปตามเรื่องตามราวเกิดมายังไงก็มีความอยากยังไงมีความโลภความโกรธความหลงติดมายังไงแล้วก็อยู่กันอย่างนั้น สังคมก็วุ่นวายสังคมดีๆเลวๆ ฉนั้นเราต้องการสังคมที่ดีสังคมที่คนในสังคมนั้นพัฒนาตนเอง หรือให้ชาติเป็นสังคมที่พัฒนาอย่างนี้เราจะมีชื่อให้เฉพาะก็คือคำว่า “สังฆะ” หรือ “สงฆ์” สงฆ์นี้เราใช้เรียกเฉพาะสังคมที่คนในข้างในนั้นเนี่ยฝึกฝนตนเองพัฒนาตนเอง ไม่ใช่เป็นคนที่ปล่อยไปตามสัญชาตญาณ สัญชาตญาณนี้เหมือนอย่างสัตว์ทั้งหลายอยากทำอะไรก็ทำปล่อยไปตามเรื่อง แล้วก็อยู่กันก็ไม่เป็นสุขเบียดเบียนกัน ทีนี้พระพุทธเจ้านี่เมื่อตรัสรู้พระธรรมแล้วก็รู้ว่ามนุษย์นี้จะอยู่ด้วยดีต้องเอาธรรมะมาใช้ฝึกฝนตนเอง ต้องประพฤติปฏิบัติตามธรรมะแล้วก็จะเป็นสังคมเป็นชุมชนที่ดีที่ประเสริฐก็เรียกชื่อให้เป็นพิเศษว่า“สังฆะ”นี่แหละ ก็รวมความในที่นี้ก็คือสังฆะนั้นเป็นชุมชนหรือสังคมของคนที่ฝึกฝนตนเองพัฒนาตนเอง ที่พัฒนาเรียบร้อยแล้วเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐบริบูรณ์อย่างพระพุทธเจ้าก็ยิ่งดี แต่ถึงจะยังไม่ได้สมบูรณ์ก็ขอให้มีการฝึกฝนตนเองพัฒนาตนเอง เมื่อมนุษย์มีการฝึกฝนพัฒนาตนเองแล้วสังคมก็จะดีขึ้น การที่จะเบียดเบียนกันแย่งชิงกันก็จะลดน้อยลงไป ถึงแม้เราจะมีกิเลสแต่ละคนก็ยังมีโลภมีโกรธมีหลงมีความอิจฉาริษยา แต่เพราะการที่เราฝึกตนพัฒนาตนเนี่ยเราก็ควบคุมตนเองได้ไม่ให้ทำความชั่วตามกิเลสในใจ เรียกว่าขัดเกลาตนเอง ฉนั้นเราก็ต้องการสังคมอย่างนี้ที่เป็นสังฆะก็เรียกว่าสังคมในอุดมคติ เราก็ต้องพยายามช่วยกันสร้างขึ้น เราทุกคนนี้มีหน้าที่ช่วยกันสร้างสังคมชนิดนี้และรักษาสังคมนี้ไว้ มนุษย์จึงจะอยู่ด้วยกันอย่างดี เพราะฉนั้นเราก็จะต้องในคนเนี่ยมาฝึกตนเองตามธรรมะมีความรู้เข้าใจธรรมะคือความจริงแล้วต้องปฏิบัติตามหลักธรรมะ ตามหลักของเหตุและผลนั้น นี่ก็คือว่าเราจะสร้างสังฆะให้เกิดขึ้น คราวนี้อย่างง่ายๆคนที่อยู่ในสังคมที่ดีเนี่ยจะทำให้สังคมมีความสงบสุขนี่เราจะต้องมีการช่วยเหลือกัน มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีโลกเป็นสังคมที่ดีอย่างมนุษย์ต้องไม่เอาตามใจตัวเอง เริ่มมีการเผื่อแผ่แบ่งปันกันเพราะมนุษย์นี่ต้องอาศัยปัจจัยสี่ต้องอาศัยวัตถุเป็นอยู่ ต้องอาศัยอาหารอะไรต่างๆเนี่ยคือว่าต้องมีเครื่องเลี้ยงชีพ ทีนี้บางคนก็ขาดแคลน บางคนก็มีกำลังน้อย บางคนก็เกิดมาได้เปรียบร่างกายดีมีสติปัญญาหาวัตถุข้าวของได้มาก หรือเกิดในครอบครัวที่มั่งมีก็มีของใช้ของกินมาก แล้วทีนี้คนที่ขาดแคลนละจะทำยังไง มนุษย์จะอยู่กันได้ดีนี่ถ้าหากว่าปล่อยไปตามเรื่องอย่างนั่นเดี๋ยวก็ต้องยุ่งแน่ คนที่ไม่มีก็จะต้องหาทางให้มีก็ต้องเบียดเบียนกัน คนที่มีก็ไม่ช่วยกันนะ คนที่อ่อนแอก็ถูกปล่อยละทิ้ง สังคมนี้ก็ไม่มีความดีงามไม่มีความสุข มนุษย์ครั้งแรกที่สุดก็จะต้องเผื่อแผ่แบ่งปันกันนี่อย่างที่หนึ่งละ นี่เริ่มก่อนมนุษย์จะเริ่มพัฒนาคือเราจะต้องมีการฝึกตัวเองในเรื่องเหล่านี้ สองก็คือมีการให้เป็นข้อสองก็เรื่องคำพูด จะต้องรู้จักพูดจาต่อกัน คำพูดนี้ก็เป็นการแสดงการสื่อสารระหว่างมนุษย์ มนุษย์สื่อสารกันเข้าใจกันด้วยการสื่อสารคำพูดด้วยภาษา ถ้าไม่มีภาษาแล้วมนุษย์ก็อยู่กันเป็นสังคมไม่ได้ใช่หรือเปล่า ไม่รู้จะพูดกันแสดงความประสงค์ยังไงจะบอกกันว่าฉันจะเอาอะไรพูดไม่ได้ทั้งนั้น แสดงยากเหลือเกินมนุษย์ต้องมีภาษา ภาษาเป็นนี่เรื่องสำคัญทีนี้ภาษาต้องใช้ให้ถูกต้อง ต้องพูดในสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์ต่อกันอย่างน้อยไม่หลอกลวงกันนี่แค่เริ่มต้น พูดกันมีความจริงแล้วก็พูดด้วยใจปรารถนาดีต้องการที่จะช่วยเหลือก็เลยมีบัญญัติในสังคมว่าให้พูดจาให้ไพเราะนะ อย่าพูดจาหยาบคาย อย่าพูดจาด่าทอกัน หรือว่าแกล้งส่อเสียดยุยงให้คนแตกแยก ไม่ดีทั้งนั้น ต้องพูดคำที่ประสานไมตรี ทำให้คนมีความรักกันสามัคคีกัน พูดคำที่แนะนำประโยชน์อะไรต่างๆนี้ นี่ก็เป็นผล*จากถ้อยคำเป็นเรื่องสำคัญ ที่มนุษย์เริ่มขัดเกลา มนุษย์จะพัฒนาตนในเรื่องเหล่านี้ หนึ่งเผื่อแผ่แบ่งปันกัน สองจะต้องรู้จักใช้ภาษาในทางที่เป็นความจริงและเป็นประโยชน์ ต่อไป สามก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้คนมีความอ่อนแอบ้างแข็งแรงบ้าง แล้วก็บางทีถึงแม้แข็งแรงเราก็มีธุระการงานที่ทำคนเดียวไม่ไหว มนุษย์จะอยู่กันด้วยดีนี่จะต้องเอาแรงงานมาช่วยกัน เมื่อกี้นี้เราพูดเรื่องข้าวของแบ่งปัน คราวนี้เราเอากำลังกายมาช่วยกันบ้าง มีธุระการงานก็มาช่วยกันนะ อย่างเวลามีงานของส่วนรวมนี้แต่ละคนก็ต้องเอาแรงกายมาช่วยกันมาทำสิ่งโน้นสิ่งนี้ หรือว่าคนหนึ่งเจ็บไข้คนอื่นก็จะต้องเสียสละวิ่งเต้นช่วยพาไปโรงพยาบาลหรือรักษาหรือแม้แต่ว่าเวลาร่างกายคนที่อ่อนแอคนที่มีกำลังก็ช่วยเหลืออะไรอย่างนี้ นี่ก็เรียกว่าช่วยอีกด้านหนึ่ง คนจะต้องฝึกในเรื่องเหล่านี้ ทำตัวให้เกื้อกูลต่อผู้อื่นในเรื่องเหล่านี้ ต่อไปก็การวางตัวกับการอยู่ร่วมกัน ก็วางตัวให้เหมาะสมสังคมที่อยู่ร่วมกันก็จะต้องทำตัวให้เข้ากันได้ ให้มันกลมกลืนกัน ให้มันอยู่เป็นสุข คือเช่นว่าไม่เอาแต่ใจตัว และก็รู้จักวางตัวจัดระเบียบสังคมต้องแบ่งเป็นผู้ใหญ่ผู้น้อย เป็นพ่อเป็นแม่เป็นครูเป็นอาจารย์ต้องวางตัวให้เหมาะกันตามฐานะ แม้แต่ว่าเป็นเพื่อนกันก็มีการวางตัวเป็นกันเองไม่ถือเนื้อถือตัวอะไรอย่างนี้ วางตัวให้เหมาะสมเข้ากันได้ให้สมานใจกันรักษาให้เกิดความสามัคคี นี่เป็นข้อสุดท้าย เนี่ย..หลักที่จะทำให้สังคมอยู่ด้วยเป็นสุข สังคมอย่างนี้ก็เริ่มดีขึ้นแล้ว มนุษย์ในนั้นก็จะอยู่กันเป็นสุขและก็เรียบร้อย คนภายนอกมาก็จะเห็นว่าสังคมนั้นดี ก็จะก้าวไปสู่การเป็นสังฆะ เนี่ยสังคมที่เราต้องการ หลักอย่างนี้ที่บอกว่ามีการเผื่อแผ่แบ่งปันนี่ก็คือทานพูดภาษาพระ ใช้คำเดียวก็หมายความกว้างหมดเลยกินความหมด สองใช้วาจาคำพูดใช้ภาษาที่เป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อกัน ไม่ใช้คำพูดเบียดเบียนทำลายกัน อันนี้เทียบว่า..ใครสามารถบอกได้ว่าใช้ภาษาพระเรียกว่าอะไร เรียนมาแล้วนะเนี่ย เออ (เสียงเณรตอบ...ปิยะวาจา) อ้าวปิยะวาจา เณรเต็นกำลังยกมือตอบพอดี สรุปแล้วปิยะวาจา ต่อไปเอาแรงกายมาช่วยกันเรียกว่าอะไรเอ่ย ถ้าเรารู้จักปั๊บนี่เราเดาความหมายมันคลุม เราพูดคำเดียวเรารู้เลยว่าโอโหความหมายเยอะแยะ นึกออกไหม (เสียงเณรตอบ...) จวนแล้วจวนแล้วก่อนนั้น อัตถจริยา และข้อสุดท้ายก็ที่เณรต้นว่าเมื่อกี้ สมานัตตา สี่ข้อนี่รวมกันเรียกว่าอะไรเอ่ย (เสียงเณรตอบ...สังคหวัตถุ๔) สังคหวัตถุ๔ นะ ไอ้วัตถุแปลว่าหลักนั่นเอง สังคหะก็คือการสงเคราะห์ สงเคราะห์แปลว่าประมวลหรือยวนเข้ายึดเหนี่ยวเข้าไว้ด้วยกัน สังคหะก็คือการยึดเหนี่ยวสังคมให้อยู่รวมกันได้ จะเป็นสังคมที่ดีก็ต้องมีสังคหะ สังคหวัตถุ เรียกง่ายๆก็ถ้าเป็นสังคมที่ดีก็ต้องมีสังคหะ สองคำนี่ใกล้กันนะ สังคหะ สังคมก็คือสัง-คะ-มะใช่ไหม จะเป็นสังคมที่ดีต้องมีสังคหะ ก็จำไว้ถ้าเป็นสังคม(สัง-คะ-มะ)หรือเป็นสังคมที่ดีก็ต้องมีสังคหะ สองคำนี้เกือบเหมือนกันเลยเห็นไหม จำไว้ได้เลยว่าถ้าจะเป็นสัมคม(สัง-คะ-มะ)ที่ดีต้องมีสังคหะ พอมีสังคหะดีต่อไปสังคม(สัง-คะ-มะ)ก็จะกลายเป็นสังฆะ อืมดีขึ้น ก็มีแต่ความดีแล้ว ทีนี้เราต้องการช่วยกันสร้างสังฆะนี้ ฉนั้นเราจะต้องยึดหลักนี้ไว้ว่าในการที่เรานับถือพระพุทธศาสนานี่เราเห็นว่าพระพุทธเจ้านี่เป็นบุคคลที่ฝึกฝนพัฒนาตัวดีแล้วเรายึดถือเป็นแบบอย่างได้ แล้วที่พระองค์ได้พัฒนาตัวเองอย่างนั้นได้ก็เพราะว่ารู้เข้าใจความจริงที่เรียกว่าธรรมะ ปฏิบัติตามหลักความจริงที่เป็นหลักของเหตุและผลนั้น เราก็จะเอาหลักความจริงที่เรียกว่าธรรมะหลักเหตุผลนั้นมาใช้ปฏิบัติ เราก็จะได้ร่วมกันสร้างสังฆะนั้นขึ้นมา ทำสังคม(สัง-คะ-มะ)หรือสังคมนี้ให้เป็นสังฆะโดยมีสังคหะเป็นต้น อันนี้เราก็ได้หลักพระรัตนตรัย มีทั้งพุทธะ มีธรรมะ มีสังฆะ ทีนี้คนที่มีสังคหะต่อกันนี่แต่ละคนเนี่ยเรียกว่าเป็นมิตรต่อกันและเป็นมิตรที่ดี เป็นมิตรที่ดีต่อกัน เป็นมิตรที่ดีนี่ใครทราบบ้างว่าภาษาพระใช้คำว่าอะไร? เมื่อคนหนึ่งเป็นมิตรที่ดี อ้าว..สมมติว่าเณรอนุรักษ์ก็เป็นมิตรที่ดีของเณรวุฒิ เณรต้นก็เป็นมิตรที่ดีของเณรอนุรักษ์อย่างนี้นะ เป็นมิตรที่ดีต่อกัน คำว่ามิตรดีนี่มีศัพท์อะไรบ้าง เณรวุฒิเคยได้ยินไหม อ้าว..ถ้ายังไม่ได้ยินก็บอกให้ก็เป็น “กัลยาณมิตร” เคยได้ยินไหมคำนี้ (เสียงเณรตอบ...เคยครับ) เคย..ก็เป็นมิตรที่ดีเรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร เราต้องการให้ทุกคนเป็นกัลยาณมิตร ถ้าเป็นมิตรไม่ดีเรียกว่าปาปมิตรแปลว่ามิตรชั่ว ถ้าเป็นมิตรดีก็เรียกว่ากัลยาณมิตร ถ้าเป็นกัลยาณมิตรต้องรู้จักสังคหะกันด้วย สังคหะนั้นแปลว่าสงเคราะห์ แต่สงเคราะห์ในภาษาไทยเพี้ยนแล้ว แปลว่าไปช่วยกันอย่างเดียว ที่จริงสงเคราะห็ก็คือสังคหะหมายถึงยึดเหนี่ยวใจกันไว้ด้วยการแบ่งปันเป็นต้น สี่อย่างนี้ยึดเหนี่ยวสังคมให้รวมกันเป็นเอกภาพ คราวนี้เราแต่ละคนนี่ก็ประพฤติตัวเป็นกัลยาณมิตรต่อกันก็ทำสังคหะ ๔ ประการนี้เป็นต้น ฉนั้นถ้าเราทำสังคหะต่อกันแล้วเราก็จะเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน เพราะฉนั้นเราต้องการสร้างสังคมที่ดีเราต้องเป็นกัลยาณมิตร แล้วก็นอกจากเป็นกัลยาณมิตรต่อกันแล้วต้องรู้จักคบหากัลยาณมิตรด้วยใช่ไหม เราเองก็ทำตัวเป็นกัลยาณมิตรต่อคนอื่น แต่เสร็จแล้วเราพยายามคบหากัลยาณมิตร แต่สำคัญคนที่เริ่มยังเป็นเด็กๆนี่การคบหากัลยาณมิตรนี่สำคัญมาก คบหามิตรที่ดี ที่จะทำให้ชักจูงกันไปในทางที่ถูกต้องในทางที่ดีงามนะ จะได้ชวนกันไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ จะได้ชวนกันไปขยันเรียน ชวนกันไปค้นคว้าหาความรู้นะ ถ้าหากว่าเป็นมิตรไม่ดีเป็นปาปมิตรเดี๋ยวก็ชวนกันไปอบายมุขใช่มั๊ย เดี๋ยวก็ชวนกันไปเสียหายหมด เพราะฉนั้นการคบหากัลยาณมิตรนี่สำคัญมาก ทีนี้เราทำตัวเป็นกัลยาณมิตรก็เนี่ยทำสังคหะ ๔ ประการ ก็เป็นเบื้องต้นเลย คราวนี้สังคมที่เราเป็นกัลยาณมิตรต่อกันทำสังคหะต่อกันแล้วจะต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและก็ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเมื่อมีการสงเคราะห์กันได้ดีก็จะเกิดความพร้อมเพรียงความสามัคคีกัน..นะ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างหนึ่ง และ ความสามัคคีกันอย่างหนึ่งเนี่ยเป็นหลักสำคัญของสังคมที่ดี การเป็นระเบียบเรียบร้อยนี้เรียกว่าอะไร? เราใช้ศัพท์สั้นๆตัวเดียว คำเดียว สังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย เอ้อ..ความเป็นระเบียบเรียบร้อยการจัดระเบียบในสังคมนี้เรียกว่าอะไรเอ่ย อ้า..ลองทายซิ การจัดระเบียบเราอยู่ในระเบียบนี่ ไปกันโรงเรียนต้องไปให้ทันโรงเรียน อยู่ในห้องเรียนก็ต้องมีระเบียบ..นะ ถึงเวลาครูมาถ้าโรงเรียนเค้าจัดว่าจะต้องแสดงความเคารพโดยลุกขึ้นยืนอย่างนี้เราก็ทำไปตามนั้น หรือถ้ามีข้อห้ามเช่นเดินอย่างนี้ไม่ให้ลัดสนามอย่างนี้อะไรอย่างนี้ ก็ต้องปฏิบัติตามอย่างนั้นสังคมจึงจะเรียบร้อย เพราะฉนั้นพวกกฎมันอยู่ในเรื่องอะไร คำที่รวมหมดเลยกฎก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ด้วย ความเป็นระเบียบการจัดระเบียบต่างๆ หรืออย่างไปใช้ถนนนี่ก็ต้องมีกฎจราจรใช่มั๊ย คนที่ใช้ถนนปฏิบัติตามกฎจราจรเค้าเรียกว่าเป็นคนมีอะไร? เออ..ติดอยู่นิดเดียวนะ คนที่ปฏิบัติตามกฎจราจรในการเดินถนนในการขับรถเค้าเรียกว่าเป็นคนมีอะไร? (เสียงเณรตอบ..ความรับผิดชอบ) จวนละ..จวนละ ความรับผิดชอบก็อยู่ในเรื่องนี้ด้วย มีตัวนี้จะต้องมีความรับผิดชอบเป็นคำเดียวที่รวมคลุมหมดเลย เออ..อะไรเอ่ย เณรเต็นจวนนึกออกแล้วเหรอ อะไรเอ่ย (เสียงเณรตอบ..ระเบียบ) อื้อ..ปกติมันก็ใกล้ๆกันละแต่ว่า(21.20)มันต้องมีการจัดเป็นระเบียบอีกปกติมันก็มองไม่ชัดว่าเป็นการจัดระเบียบหรือเปล่า ต้องวางกฎวางเกณฑ์ไอ้ตัวการวางกฎวางเกณฑ์ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้นอย่างนี้เรียกว่าอะไร (เสียงเณรตอบ..ตั้งใจ) (หัวเราะ)ไม่ใช่แค่นั้นแล้วตอบยาวยืดเลยนะแค่เอาตัวเดียวคำเดียว นี่แหละคำนี้สังคมไทยเราขาดมาก ที่เค้าบอกว่าพัฒนายากเนี่ยยังขาดอันนี้มากเลย อ้า..บอกให้ก่อน “วินัย” ใช่หรือเปล่า วินัยคือการจัดระเบียบ ความมีระเบียบเรียบร้อย การวางกฎวางเกณฑ์ปฏิบัติตามกฎตามเกณฑ์นั้นอยู่ในคำว่า “วินัย” ใช่หรือเปล่า นะ คำว่าวินัยเป็นคำที่สำคัญมาก สังคมเนี่ยที่มีปัญหามากเพราะขาดวินัย ทีนี้สังคมคนอยู่ร่วมกันมันก็ต้องมีวินัยไม่งั้นมันก็ยุ่งหมดมันสับสนนะ อย่างเราดำเนินชีวิตทำไมต้องมีกิจวัตรเพราะว่าไม่งั้นเณร ๔ องค์ก็ทำไม่ตรงกัน สวดมนต์ไม่ได้สักที..ใช่มั๊ย ลองไม่วางกิจวัตรไว้..เวลาเท่านั้นนะ ทำวัตรนะ ฉันข้าว หรืออะไรเนี่ยนะไม่วางไว้ พอเสร็จแล้วเณรพุดมาเวลาหนึ่ง เณรอนุรักษ์มาตอนหนึ่ง เณรต้นมาตอนหนึ่ง เณรเต็นมาตอนหนึ่ง สวดไม่ได้สักที เราต้องมีกำหนดกฎนัดแนะอะไรต่างๆเนี่ย หรือว่ามีระเบียบว่าตรงไหนจะทำอะไรได้ ทำอะไรได้ อย่างเช่นอย่างบนพื้นกุฏินี่ไม่ให้ใส่รองเท้าขึ้นมาใช่ไหมนี่อย่างนี้เรียกว่าวินัยแล้วใช่ไหม เพราะถ้าเราใส่รองเท้าเดินเท้าเปื้อนขึ้นมา อ้าวเดี๋ยวก็สกปรกกันหมดวุ่นวายกุฏิก็ไม่เป็นกุฏิแล้ว มนุษย์อยู่กันเป็นสังคมต้องมีวินัยข้อสำคัญ วินัยก็ออกมาเป็นกฎหมายเป็นระเบียบเป็นอะไรต่างๆนะ นี่ตกลงว่าสังคมที่ดีก็ต้องมีวินัย เพราะฉนั้นเรานี่ก็มีหน้าที่ฝึกตัวเองพัฒนาอย่างหนึ่งก็คือว่ามีวินัย แล้วอีกอันหนึ่งก็คือความพร้อมเพรียงเรียกว่าอะไร? เรียกศัพท์สั้นๆเป็นภาษาพระ เป็นคำที่กินความได้ดี วินัยนี่ก็ศัพท์พระกินความคลุมหมด หรือความพร้อมเพรียงร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(24.00)..นะ ถ้าใครมีอะไรก็มาช่วยกันนะ มีกิจกรรมส่วนรวมก็มาทำด้วยกัน อย่างนี้เรียกว่าอะไร? (เสียงเณรตอง..ความสามัคคี) ความสามัคคี..ถูกต้อง..นะ ฉนั้นชีวิตของคนเนี่ยสำคัญมากสองอันนี้นะ “วินัยกับสามัคคี” วินัยก็ทำให้เราอยู่รวมกันได้ไม่มีปัญหาไม่ขัดแย้ง สามัคคีก็ทำให้เราพร้อมกันมีกำลังทำอะไรได้ จะบอกว่าอะไร อืม..มีคำพูดที่บอกว่า “สะมะทานัง ทันโตสุโข ความเพียรของคนที่มีความสามัคคีกันและพร้อมเพรียงกันนั้น นำมาซึ่งความสุข” นะเราพร้อมเพรียงกันทำอะไรเราก็ทำให้หมู่เรามีความสุขได้ เช่นว่าเราอยากจะทำทางเท้าทำขุดร่องเราก็มาช่วยกันทำเดี๋ยวมันก็สำเร็จ ท่านบอกว่า “สามัคคีวุฒิสาทิกา ความสามัคคียังความเจริญให้สำเร็จ” ถ้าเราไม่สามัคคีก็ทำความเจริญได้ยาก ฉนั้นเราจะทำอะไรก็ถ้ามีสามัคคีก็ทำได้สำเร็จได้ง่าย ก็..เค้ามีนิทานเปรียบเทียบคงเคยได้ยินแล้ว พ่อแม่คู่หนึ่งครอบครัวหนึ่งมีลูก ๗ คน ลูก ๗ คนนี้ทะเลาะกันเรื่อยไม่สามัคคีกันเลย วันหนึ่งพ่อก็ให้ลูกนะไปเอาซีกไม้ไผ่มาคนละหนึ่งซีก เป็นไอ้ไม้แท่งเล็กๆนะคนละอันละอันมา แล้วก็..อ้อก็เอามาคนละสองอัน ตอนแรกก็เอาเอาของคนละอันนี่มา แล้วบอกว่าเอาอันหนึ่งก่อนอีกอันหนึ่งวางไว้ก่อน เอาคนละอันแล้วบอกเอ้าของใครของมันไหนลองหักดูซิ ก็หักได้หมด อันเดียวหักได้หมด ทีนี้บอกเอาอีกอันหนึ่งมารวมกันเป็นเจ็ดอันเป็นมัดเดียวกันแล้วส่งให้แต่ละคนหัก หักไม่สำเร็จ หักไม้ไผ่เจ็ดซีกพร้อมกันนะหักไม่สำเร็จ คนไหนก็หักไม่ได้ พ่อก็สอนบอกว่าเนี่ยถ้าเราไม่สามัคคีกันก็มีเรื่องมีราวอะไรกับใครก็แพ้เค้าหมด เค้าเล่นงานทีละคนละคนหมด แต่ถ้าหากว่ารวมกำลังกันเหมือนไม้ซีกเจ็ดอันไม่มีใครหักลงได้นะ เพราะว่าไม่มีใครหักไม้ทีเดียวได้เจ็ดอัน เพราะฉนั้นนี่เป็นตัวอย่างของความสามัคคี เป็นนิทานเปรียบเทียบ แต่ทวนแล้วก็คือว่าสังคมที่ดีก็จะต้องมีวินัยและก็มีความสามัคคี คนในสังคมนั้นก็ต้องเป็นกัลยาณมิตรเป็นมิตรดีต่อกัน และก็มีการทำสังคหะนะ มีการ..ทานเผื่อแผ่แบ่งปันช่วยเหลือกันด้วยทรัพย์สิน สิ่งของ วัตถุ ปัจจัยสี่ และก็ปิยวาจาพูดคำจริงที่เป็นประโยชน์ และก็หัตถจริยาเอาแรงกายมาช่วยเหลือกัน มารับใช้บริการกัน แล้วก็สมานัตตาวางตัวให้เหมาะสมให้เข้ากันได้ให้สมานกัน เรียกว่ามีสังคหะ สังคมที่ดีก็ต้องมีสังคหะ คนที่อยู่ในสังคมนี้เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน และแต่ละคนก็จะพัฒนาก้าวหน้า เมื่อพัฒนาก้าวหน้าเราก็เป็นหมู่ชนหรือสังคมของคนที่พัฒนาตนเอง ก็เรียกว่าเป็น “สังฆะ” ได้นะ นี่แหละเป็นอุดมคติที่เราต้องช่วยกันสร้างสังคมนี้ ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบว่าเป็นสังคมที่ดีเป็นตัวอย่างก็คือสังคมของพระที่ท่านเรียกว่าพระอริยะ ท่านฝึกฝนตนดีเราก็เอามาเป็นตัวอย่างเราจึงเรียกว่าเป็นพระรัตนตรัย อันนี้ก็เป็นอธิบายเรื่องสังฆะหรือพระสงฆ์ พอจะเข้าใจนะ เณรพุดเข้าใจนะ ถ้าต่อไปถามตอบได้นะ อืม..พอเห็นเค้าแล้วแหละ ก็จบในเรื่องพระรัตนตรัย แล้วต่อไปก็จะสรุปอีกที โอ้วันนี้ก็เกิน ๙ โมงละ เดี๋ยวเณรจะได้เตรียมตัวเข้าชั้น เณรเต็นเมื่อยมั๊ยครับ (เสียงเณรตอบ..วันนี้ไม่มีเรียนไม่ใช่เหรอครับ) นะอ้อวันนี้วันอาทิตย์นี่ อ้อวันอาทิตย์ก็หยุด แล้วเณรจะทำอะไรดีละเนี่ย (เสียงเณรตอบ..จำวัด) จำวัด โอ้ว..ดีเนาะจำวัด อือ..หรือเพลียแล้ว (เสียงเณรตอบ..ว่ายน้ำ) อะเหรอ..เณรเต็นจะว่ายน้ำ ขอรอไว้เข้าที่ประชุมก่อน เหอะๆ..ขอเข้าที่ประชุมแล้วมีมติก่อนนะ ได้ไหมครับ รอไหวไหมครับ (เสียงเณรตอบ..ไม่ไหว) ไม่ไหว เมื่อยหรือเปล่าที่นั่ง ไม่เมื่อยนะ แล้วฟังทันไหมครับ ทันนะ แล้วเข้าใจดีหรือเปล่า (เสียงเณรตอบ..พอจำได้) พอจำได้..นะ เอาละแล้ววันต่อไปจะค่อยๆถาม เอาละวันนี้ก็กราบพระพร้อมกัน