แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระอาจารย์ เชิญคุญหมอ
โยม กราบเรียนถามความสงสัยนานแล้ว ที่ท่านบอก ธรรมชาติของคนไทย พุทธไทย ส่วนมากและรวมไปถึงผู้บริหารประเทศว่ายังนิยมฤกษ์ผานาที และมีการบนบานศาลกล่าว หาหมอพระหมอผี อะไรแบบนั้นค่ะ และรวมทั้งประชาชนคนไทยด้วย เป็นเพราะอะไรที่เป็นสาเหตุคะ ประเดี๋ยวขอคำตอบในทางธรรม และจะขอความกรุณาหมออุดม ตอบในทางวิชาการด้วยว่า ธรรมชาติคนไทย ทำไมจึงชอบไปทางบนบานศาลกล่าว แม้แต่ผู้นำประเมศก็เป็น
พระอาจารย์ คือไม่ใช่ทางธรรมหรอก ไปทางนอกธรรม หมายความว่าเหตุปัจจัยมันหลายอย่าง สภาพแวดล้อม ภูมิหลัง ทางธรรมสอนว่าให้พยายามทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ ต้องพัฒนาตัวเอง แต่ว่ามันมีปัจจัยอื่นที่เข้ามาขัดขวางเยอะ เช่น คนไทยอยู่ในสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ เป็นต้น ที่มันเอื้ออุดมสมบูรณ์ มันเอื้อต่อความประมาท เราเนี่ยพอสุขสบาย ไม่มีเหตุบีบคั้นก็ไม่เร่งรัดตัว ผัดผ่อนไปเรื่อย ง่ายๆก็คือ ผัดผ่อนลักษณะความประมาท คือเริ่มต้นด้วยความผัดผ่อน มันไม่มีอะไรมาบีบคั้นเร่งรัด ก็พรุ่งนี้ก็ได้ เช่นอย่างว่าอากาศไม่เร่งรัด อาตมายกตัวอย่างบ่อยๆ เช่นจะซ่อมบ้านสักหน่อย เออ ไม่เป็นไร เอาไว้อีกเดือนหนึ่ง พอเดือนหน้ามาถึง แหม ยังไม่พร้อมยังขี้เกียจอยู่ เอาไว้อีกเดือนหน้า ปรากฏว่า ผัดไปปีนึงยังไม่ได้ซ่อม ทีนี้ ฝรั่งไม่ได้นะ ถ้าไม่ซ่อมฤดูหนาวมาละ ตายเลย อากาศช่องเข้ามีนิดเดียวหนาวตายได้ ฉะนั้น บอกว่าถึงเวลาซ่อมต้องซ่อม ผัดเพี้ยนไม่ได้ ในประเทศแบบนี้ที่มันมีภัยธรรมชาติ ภัยทางสังคม เช่นการบีบรัดแข่งขันของผู้คน ภัยจากระหว่างสังคมหรือต่างประเทศ ประเทศโน้นประเทศนี้จะมารุกราน พวกนี้จะถูกบีบรัดเร่งเร้า จะต้องรีบในการที่จะต้องทำอะไรต่างๆให้เสร็จให้ทัน ผัดเพี้ยนไม่ได้เลย คนไทนเนี่ยเคยอยู่กับความสบายสะดวก ก็ผัดเพี้ยนเรื่อย เพราะฉะนั้นก็ต้องเล่าเรื่องเนี้ยว่า คนไทยถือคติ ในนำ้มีปลาในนามีข้าว อยู่นี่ดีแล้ว ไม่ต้องไปไหน สบาย ไม่มีอะไรต้องเร่งรัดเลย ในนำ้มีปลา ในนามีข้าว ชาวอเมริกันถือคติฟรอนเทียร์ เป็นอย่างไร อเมริกันนี่มาจากยุโรป มาขึ้นที่ฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มองไปข้างหน้านี่ดินแดนของคนอื่น ทุ่งนาป่าเขาบ้าง อินเดียนแดงบ้าง ไม่เป็นที่ชองเราเลยไม่มีดินแดนของตัวเองเลย ตัวเองขึ้นจากมหาสมุทร ก็อยู่แค่ฝั่ง เพราะฉะนั้นต้องขยายดินแดน ตั้งแต่ขึ้นฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกก็เริ่มยุคฟรอนเทียร์เอกซแพนชั่น ยุคแผ่ขยายดินแดน แผ่ขยายพรมแดน ยุคบุกฝ่าเริ่มต้น คุณบุกฝ่าขยายพรมแดนไปได้แค่ไหน คุณก็มีเท่านั้น เพราะฉะนั้น ต้องตื่นตัวตลอดเวลา ไม่มีจะกิน อินเดียนแดงอยู่ข้างหน้ามันจะมาบีบคั้นสู้กับเราหรือเปล่า ธรรมชาติแวดล้อมฤดูหนาวก็จะมา แล้วก็แข่งกัน เรายังไม่มีที่จะกิน อาหารก็ไม่พอ ถ้าไม่รีบบุกไปละ ปีหน้าฤดูหนาวมา ตายแน่ เพราะฉะนั้น ฤดูสปริงมา รีบเลย รอไม่ได้แล้ว ต้องรีบขยายดินแดนออกไป บุกเบิกไปข้างหน้า เพราะฉะนั้น ยุคฟรอนเทียร์ก็เริ่มต้นทันที แล้วฝรั่งเขียนประวัติศาสตร์ไว้เองว่า อเมริกันได้บุกฝ่าหรือฟรอนเทียร์เอกซแพนชั่นอยู่ 300ปี เฉลี่ยปีละ10ไมล์ รวมแล้ว300ปี ก็ได้3000ไมล์ ประมาณ4800กิโลเมตร ก็จรดฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ชนะอินเดียนแดงเด็ดขาด ได้ประเทศอเมริกา เรียกว่าเดอะโคลสซิ่งออฟเดอะฟรอนเทียร์ ปิดพรมแดน เวลา300ปี แห่งการฝ่าพรมแดนนั้น ได้สร้างนิสัยอเมริกัน ในการที่จะบุกไปข้างหน้า ฉะนั้นคติอเมริกันบอกว่า ต้องบุกไปข้างหน้าที่นี่อยู่ไม่ได้ ถ้าอยู่แกตายแน่ คติไทยบอกว่าอยู่ที่นี่อย่าไปไหน นี่นี่ ใครจะต้องรู้อันนี้นะ คติประจำชาติเลยนะ ไทยเรา ในนำ้มีปลา ในนามีข้าว อยู่นี่อย่าไปไหนเลย คติอเมริกันว่า ฟรอนเทียร์ ที่นี่อยู่ไม่ได้ จะอยู่ได้ต้องบุกไปข้างหน้า อันนี้มันเป้นคติที่เป็นภูมิหลังของสังคม ของประเทศชาติทั้งหมด มันก็เป็นตัวกำกับนิสัยใจคอ และก็คือ ลึกลงไปก็คือแรงบีบคั้น แรงบีบคั้นของอเมริกัน คือ การขาดแคลน ที่จะต้องแสวงหาด้วยการบุกฝ่าขยายพรมแดนไป บางทีก็ต้องไปแย่งอินเดียนแดงบ้าง เนี่ยก็ทำให้เขามีความเข้มแข็งประมาทไม่ได้ เพราะประมาทก็คือตาย ของเรานี่ผัดผ่อนได้เรื่อยไม่มีปัญหาอะไร อันนี้ก็เป็นเหตุอันนึง ไม่ทราบตอบคุณหมอรึยัง
โยม พระเดชพระคุณได้สอนวันนี้ ทำให้ผมเข้าใจชัดเจนถึงเถรวาทกับมหายาน บางทีผมอ่านหนังสือมาพอสมควร แต่ยังไงก็ตามก็คิดว่ามหายานก็ฝ่ายเหนือ เถรวาทก็ฝ่ายใต้ และก็ไปดูอะไรต่างๆ ก็มีความเข้าใจในระดับหนึ่งเท่านั้นเอง สำหรับวันนี้ก็เป็นความชัดเจนที่ผมเข้าใจและจะกลับไปอ่านหนังสือ เราเกิดมาเป็นคนไทย สบายครับ ทั้งชีวิตนี่สบายมาก เราคงจะต้องดูการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวของคนไทย เด็กไทยที่ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น ถ้าแม่ให้ไปเรียนหนังสือก็ไปเรียน กลับมาก็ทำการบ้าน ไม่ต้องทำอะไร เรียนหนังสือไปให้จบ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีปัญหา พ่อแม่แก้ให้ ผู้ปกครองแก้ให้ อันนี้คือประเด็นสำคัญ ระยะเวลาที่ไปเจอปัญหาแล้ว ไม่เกิดปัญญา คิดไม่ออกแก้ไม่ได้ อันนี้คือประเด็นที่ว่า หากเราไม่พัฒนาตัวเองให้ตนเป็นที่พึ่งของตนแล้วก็คงต้องแก้ปัญหากัน
พระอาจารย์ ก็คงมีตนที่พึ่งไม่ได้
โยม กระผมเป็นพุทธศาสนิกชน จริงๆแล้วก็เพิ่งจะเข้าใจพุทธศาสนาเมื่ออายุเลย60มานี่ ก็เป็นเพราะว่าได้มีเวลาอ่านหนังสือมากขึ้น ก็ได้เข้าใจมากขึ้นได้ ความรู้ที่เรามีมาแต่อดีตนั้นใช้ไม่ได้ ต้องปรับปรุงใหม่ ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ จึงจะเข้าใจขึ้น ขณะนี้เรามีความเข้าใจพุทธแล้วก็ยังไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดให้คนอื่นให้เขาเข้าใจอย่างเราได้ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คงเป็นจุดอ่อนของพุทธศาสนิกของไทย ซึ่งอันนี้คงจะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม กระผมโดยส่วนตัวคิดว่าทางเถรวาทนี้ เราคงต้องยึดหลักพระไตรปิฏกให้ชัดเจน ปฏิบัติตามนั้น ใครจะว่ายังไง เราก็คงยึดถืออันนี้เป็นหลักปฏิบัติที่จะอยู่ยงคงกระพันของชาติไทยตลอดไป
พระอาจารย์ เจริญพร ก็ขออนุโมทนาคุณหมอ อันนี้ก็ดี คือหมายความว่าเราต้องตรวจสอบตัวเองกับหลักพระไตรปิฏกอยู่เสมอ นี่ละที่สำคัญ คือ ไปมัวตื่นโน่นตื่นนี่ ถ้าไม่มัวไปตื่นเขาตัวเองก็ประมาทอยู่ เลยตรงข้ามไปสุดโต่งอยู่สองอย่าง เข้าไม่ว่าอะไรก็ประมาท เรื่อยเฉื่อยไม่แก้ไข ไม่ปรับปรุงพัฒนาตัวเอง พอเขาว่านึกว่าเขาดีก็จะตื่นตามไปอีกมันก็เลยเป็นสุดโต่งอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นให้คอยตรวจสอบตัวเองกับหลักการที่แท้ แล้วศึกษาให้ชัดว่า ตัวหลักพระพุทธศาสนา เราจะเรียกเถรวาทหรือไม่เรียกก็ตาม ตัวพระพุทธศาสนาที่แท้ หลักมันเป็นอย่างไรแน่ เพราะเวลานี้เราผิดเพี้ยนมาก คนเอาภาพที่ผิดๆไปเรียกว่าพุทธศาสนาไปแล้ว ใช่มั้ย เคยมีในกรุงเทพนี่เอง หนังสือพิมพ์ลง มีต้นไม้วิปริตอันนึงแล้วก็มีคนไปขูดเลขหวยกัน หรือไปตีความเลขหวย นี่ปรากฏว่าตรงนั้นเป็นถิ่นชาวมุสลิม หนังสือพิมพ์ไปเจอก็ไปไถ่ถามคนมุสลิม บอกว่ามีคนมาเยอะเลย มาขอหวย ดูหวยหรืออะไรทำนองนี้แต่ไม่ใช่ชาวมุสลิมนะ ชาวมุสลิมไม่ทำ คนที่มาเป็นพวกชาวพุทธนั่นละ ก็เลยมีภาพชาวพุทธเป็นแบบนี้ เป็นพุทธจริงหรือปล่าว เนี่ยไม่เป็น นี่ละต้องตรวจสอบตัวเองให้ดี นี่กลายเป็นว่าภาพชาวพุทธปัจจุบันเป็นภาพที่ผิดเพี้ยนไปหมด เพราะชาวพุทธเองเชื่อถือปฏิบัติผิดเพี้ยน ไม่รู้ ไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนา อันนี้ต้องตื่นตัวและเรียนรู้ศึกษาให้เข้าใจ การพัฒนาคุณภาพคนนี่ต้องเน้นที่สุดเลย อย่างที่คุณหมอว่าตั้งแต่ในครอบครัวเลี้ยงดูลูก ต้องให้เจริญเติบโตพัฒนาขึ้น อย่างที่เรียกว่าให้มีตนที่พึ่งได้ทั้งทางศีล ทางสมาธิ จิตใจ และทางปัญญา อันนี้มันพึ่งไม่ได้ซักทาง ก็เลี้ยงดูกันไม่รู้จักโต มีอะไรอีกมั้ย เจริญพร
โยม ผมยังจำที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุสัมโพธิญาณเสร็จแล้วก็จะเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก็ไปโปรดปัญจวัคคีย์ ได้พูดสองประโยค บอกว่า การทำอะไรที่สุดโต่งนั้น ย่อมไม่บรรลุผล ข้อที่สอง คอนเซปก็คือว่าถ้ายังหมกมุ่นอยู่ในกามคุณก็จะไม่บรรลุผล ปัญจวัคคีย์ถามว่าแล้วจะทำยังงัยอะไรก็ไม่ดีทั้งนั้น มัชฌิมาปฏิปทา เออ อันนี้ไม่เคยได้ยิน ก็ได้ฟังเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนี้ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่สำคัญ ถ้าเราคิดตามได้นี่ก็จะเดิดประโยชน์ในการดำรงชีวิต ครับผม
พระอาจารย์ ก็นี่ละ มัชฌิมาปฏิปทาก็คือ ทางปฏิบัติอันที่จะให้มีตนเป็นที่พึ่งได้ พอดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา ก็พึ่งตนได้ว่า เพราะว่าตนนั่นละเป็นที่พึ่งได้แล้ว เพราะว่าการดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทาจะมีการพัฒนาตนตลอด ตั้งต้นด้วยสัมมาทิฐิก็คือฝึกปัญญา ให้รู้เข้าใจให้ถูกต้อง นี่ถ้าคนไม่พัฒนาปัญญาไปแล้วก็พึ่งตนไม่ได้ ก็ได้แต่บอกให้พึ่งไป พึ่งไป แต่ว่าคนนั้นก็ไม่มีกำลังที่จะพึ่งตนเอง โยมมีอะไรสงสัยว่ากันให้ชัด
โยม บอกว่าต้องมีตนเป็นที่พึ่งได้ เราจะมีลำดับขั้นตอนอย่างไรที่จะบอกว่าพึ่งตนได้แล้ว ความยากอยู่ที่ว่ากว่าเราจะพึ่งตนเองได้นี่คือค่อนข้างนามธรรม อย่างไรจึงถือว่าพึ่งตนเองได้ เรามองตามวัยมั้ย หรือมองตามสถานะในสังคม หรือเราจะมองเกณฑ์อะไรค่ะ
พระอาจารย์ มีสัมพัธน์ด้วย คืออยู่ในระหว่างการฝึกฝนพัฒนา ในแง่หนึ่ง การอาศัยกัลยาณมิตรจะมากหน่อย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจะเน้นเรื่องกัลยาณมิตร องค์ประกอบหรือปัจจัยสำคัญที่เป็นเบื้องต้นของมรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทาเริ่มแต่สัมมาทิฐิ มันมีปัจจัยนอกกับปัจจัยใน ปัจจัยนอกคือ ปรโตโฆสะ และท่านก็เน้นให้มีกัลยาณมิตร พ่อแม่ ครูอาจารย์ ฉะนั้น เด็ก นักเรียน ลูก ก็ต้องมีกัลยาณมิตร กัลยาณมิตรสำคัญมาก มีหน้าที่อย่างไร ก็ต้องพยายามให้เขาเกิดปัจจัยภายใน ซึ่งคือ โยนิโสมนสิการ รู้จักคิด รู้จักพิจารณา มองเป็น คิดเป็น แล้วเขารู้จักคิดเองได้เนี่ย การพึ่งผู้อื่นมันก็น้อยลง อันนี้พ่อแม่จะต้องช่วยในขบวนการที่ฝึกให้เขาทำอะไรเป็น คิดเองได้ ทำเองได้ ทำได้ ทำเป็น คิดได้ คิดเป็นและพูดได้ พูดเป็น ก็มีเป็นไปหมดละ กินเป็น ตอนแรกมันก็กินไม่เป็น ก็ต้องฝึกให้มันพึ่งตัวเองได้ให้มันกินเป็น มันอยู่ไม่เป็น อยู่ในบ้านไม่เป็นก็ให้อยู่เป็นก็เริ่มพึ่งตนเองได้ กินเป็น อยู่เป็น พูดเป็น ทำเป็น คิดเป็นก็พึ่งตนได้ ถ้ามันไม่เป็นก็พึ่งตนเองไม่ได้ถูกมั้ย ถ้าคนทำไรไม่เป็นก็พึ่งตนเองไม่ได้ใช่มั้ย ถ้าทำไม่เป็นก็ต้องให้คนอื่นทำให้ พอทำเป็นก็จบ
โยม ผมขออนุญาตเข้าประเด็นของมหายานที่เน้นเรื่องทานใช่มั้ยครับ
พระอาจารย์ อาตมาไม่ได้ยอมรับว่าใช่
โยม จากหนังสือเรื่องนี้ที่กล่าวไว้ว่ามหาทานจะเน้นเรื่องทาน เถรวาทจะเน้นเรื่องศีล ผมก็มาย้อนดูว่าในพระไตรปิฎกได้แสดงอานิสงส์ของศีล สมาธิ และปัญญาอย่างชัดเจน ส่วนอานิสงส์ของทานในประไตรปิฎกได้มีการขยายความไว้ชัดเจน
พระอาจารย์ เพราะศีล สมาธิ ปัญญานี่เป็นชุดของไตรสิกขา ท่านก็ว่าไปในชุดของท่าน ทีนี้ศีลนี่เน้นมาก เพราะว่าเป็นเรื่องของสังคมที่จะอยู่ร่วมกันให้สงบสุข แต่ทานเป็นตัวหนุน ถ้าหากศีลไม่มีทานช่วยนี่จะทำให้ละเมิดศีลได้ง่าย คนขาดแคลนไม่มีจะกินก็เลยต้องไปลักทรัพย์ เป็นต้น ทานเนี่ยหนุนให้ศีลมันอยู่ได้ พระพุทธเจ้าจึงเน้นทานก่อน สำหรับสังคมคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าแทนที่จะศีล สมาธิ ปัญญา พระองค์ก็มาเน้นทางวัตถุ เป็น ทาน ศีล ภาวนา ส่วนสมาธิ ปัญญา ไปรวมอยู่ในข้อภาวนา เพราะคฤหัสถ์นี่เน้นด้านนอก ของพระนี่ไปเน้นข้างในเลย เริ่มจากแต่ตัว และเข้าไปลึกไปศีล สมาธิ ปัญญา ของคฤหัสถ์ก็เอาที่ตัวรวมไปเลย ภาวนา และออกมาเริ่มที่ตัวกับคนอื่นสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นศีล และก็ไปทาน จะปฏิบัติต่อคนอื่นเพื่อจะคำ้จุนสังคมให้อยู่ได้ ก็เลยเน้นทาน เป็นธรรมดาหลักพระพุทธศาสนาสำหรับสังคมคฤหัสถ์เน้นทานเลย ขึ้นต้นต้องทานก่อน พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี หนึ่งคือ ทานบารมี ทศพิธราชธรรม ธรรมะของพระมหากษัตริย์เริ่มต้นข้อหนึ่ง ทาน ทานังศีลังปริจากัง สองต้องศีลมาเลย ทานมาต้องตามด้วยศีล เนี่ยแล้วก็ชุดบุญกิริยาวัตถุ3 ก็ตาม 10ก็ตาม ขึ้นด้วยทาน หลักธรรมทั่วไปสำหรับมนุษยชาติไม่ใช่เน้นพระนะ ถ้าเป้นคนทั่วไปต้องขึ้นทานทั้งนั้น เพราะว่ามนุษย์เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มันต้องหาเพื่อตัวอยู่ได้ มันต้องเอาละทีนี้ จะได้ จะเอา จะได้ จะเอา ทำไงจะได้ ทำไงจะเอามาได้ พระพุทธเจ้าบอกว่า เธอจะคิดเอาแต่ได้ ไม่ได้นา สังคมมันจะวุ่นวายเดือดร้อนแย่งชิงกัน ต้องคิดให้บ้าง ก็เลยมีทานมาดู เพราะมนุษย์มันเริ่มด้วย เอา วัตถุ ได้ เอา ก็ได้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีให้ด้วย เลยมีให้มาดุลย์กับได้ หลักธรรมเลยมาเริ่มต้นที่ทานเพื่อจะมาดุลย์กับเอา และจากทาน ศีลต้องมีไม่งั้นสังคมอยู่ไม่ได้ และทานก็มาค้ำจุนให้ศีลอยู่ได้ ต่อไปก็พัฒนาข้างใน
โยม กระผมจะกราบเรียนถามเรื่องทาน พอดีจำเรื่องเล่าที่หลวงพ่อปัญญาเคยเล่าว่าเมื่อสมัยที่ท่านมาอยู่กรุงเทพครั้งแรก อาหารการกินค่อนข้างจะขาดแคลนมาก ท่านต้องลงไปใต้เพื่อขนข้าว มะพร้าวเป็นลำเรือมาเลย ด้วยเหตุนี้เป็นเพราะว่าคนไม่ทำทาน หรือเพราะสภาพเศรษฐกิจก็ไม่ทราบได้จึงส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมา พระจะนิยมเทศน์เรื่องอานิสงฆ์ของทานเป็นอย่างมาก เพราะว่าทำอย่างนี้แล้วจะได้อย่างนี้ จนมาถึงในยุคปัจจุบัน ในบางแห่งบางลัทธิก็จะพูดถึงอานิสงฆ์นี้อย่างรุนแรงเพื่อทำบุญขึ้นมา มันเป็นเพราะว่าคนไทยในยุคนั้นอ่อนเรื่องทานหรือไงไม่ทราบได้
พระอาจารย์ คือมันก็มองได้หลายอย่าง เหตุปัจจัยทางสังคมนี่มันไม่เฉพาะด้านใดด้านเดียวหรอก มันต้องมองหลายด้าน ด้านคนชาวบ้านที่จะรับคำสอน สังคมของพวกเขาเป็นอย่างไร ก็อาจจะเป็นอย่างที่คุณธีรัชว่า อีกด้านนึงพระมีความรู้เรื่องพุทธศาสนาแค่ไหน บางทีท่านอยู่บ้านนอกไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร ทานนี่เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งและเป็นการทำบุญที่ดี เมื่อสังคมต้องการทานมาก ท่านเลยหาทางสนับสนุนก็พูดไปแต่เรื่องทาน ก็ไม่รู้จะชักนำอะไรสูงกว่านั้น นี่อันนึง ร้ายกว่านั้นคือพระอยากได้ผลประโยชน์ด้วย ถ้าคนทำทานมากนี่พระสบาย อันนี้มองแง่ร้ายนิดหน่อย พอไม่ได้มองแง่ร้าย ก็เป็นอันว่าบางทีเราไม่ได้มองว่าพุทธศาสนาต้องการพัฒนาคนให้ลึกซึ้ง อย่าไปสอนกันแค่ทาน เพราะว่าทานมันมีขอบเขตวัตถุประสงค์ของมันอยู่จำกัด มันเป็นด้านวัตถุ ปัจจัยนะ เดี๋ยวขอตรงนี้สำคัญ ทานมันเป็นด้านวัตถุ วัตถุมันเป็นปัจจัยเครื่องอาศัย ถ้าเราขาดมันเราไม่สามารถมีกำลังที่จะกล่าวต่อ นี้พอเรามีวัตถุ ปัจจัย ด้วยอาศัยทานแล้ว มนุษ์ยังต้องพัฒนาอีกเยอะ ด้านจิตใจ ด้านปัญญา เราก็อาศัยวัตถุที่มาจากทานเป็นต้นนี่ มาเป็นฐาน และเราจะได้พัฒนาชีวิตด้านจิตใจ ด้านปัญญาต่อไป ทีนี้ถ้าเราไปเน้นให้ทาน ให้คนติดกับหวังผลประโยชน์ หวังผลตอบแทนจากทาน ดีไม่ดีเขวไปกลายเป็นสนับสนุนความโลภ บางทีอยากโลภมาก อยากได้ผลจากทาน แทนที่จะได้ผลทางปัญญาเพื่อจะช่วยเกื้อหนุนกันทางสังคม สังคมจะได้ไม่เดือดร้อน เราจะได้พัฒนาชีวิต เราได้ทำทานก็ได้บำเพ็ญคุณธรรมด้วย ถ้าเราทำทานด้วยจิตเมตตา กรุณา ปรารถนาให้เขาพบความสุข พ้นความทุกข์ เวลาให้เขาแล้วเห็นเขาพ้นทุกข์ มีความสุข เราก็สุขด้วย เรามีความสุขเมื่อเห็นเขามีความสุข ไม่ใช่เรามีความสุขเพราะเราได้ผลตอบแทนจากทาน นี่คือการพัฒนาคน ตอนแรกเป็นได้คือยังไม่พัฒนาก็ได้ความสุขจากผลตอบแทนจากทาน แต่ทานที่หวังผลตอบแทนจากการให้เขา หวังผลตอบแทนเพื่อตน ไม่ค่อยบริสุทธ์อยู่แล้ว ก็เป็นทานที่ประกอบด้วยอุปทิ กิเลส ทีนี้มันต้องก้าวไปสู่ทานที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมภายใน อันนี้ ก็จะเปิดช่องให้ทานเข้ามาหนุนการพัฒนาจิตใจ การพัฒนาจิตใจด้านสมาธิตัวแรกที่สำคัญคือ เมตตา กรุณา พอเราทำทานด้วยเจตนาประกอบด้วยเมตตา กรุณา อยากเห็นเขาเป็นสุข อยากเห็นเขาพ้นทุกข์ พอให้เขา เขาพ้นทุกข์เป็นสุข เราเห็นเด็กนั้นหน้าตายิ้มแย้มทันที ใจเราปลื้มปิติขึ้นมา นี่คือบุญที่แท้แล้วก็เกิดจากมีเมตตา กรุณา ต่อไปเราก็อาศัยทานนี่มา นอกจากมีเมตตา กรุณาเราจะได้มีความยึดมั่นในวัตถุ ในเรื่องของลาภผล ผลประโยชน์น้อยลง มีจิตใจเสียสละง่ายขึ้น คลายความยึดติดในวัตถุสิ่งของลง แล้วพอใจมันมีความคลายยึดติด มันมีความเสียสละดีขึ้นสละความโลภได้ง่ายขึ้น มัจฉริยะน้อยลง จิตจะเปิดกว้างขึ้นการพัฒนาทางจิตใจก็ง่ายขึ้น พอจิตใจมันเปิดขึ้นมาแล้ว การมองอะไรก็เห็นชัดขึ้น มองเพื่อนมนุษย์ เห็นสุขทุกข์ของเขา ก่อนนี้มันมองแต่ตัวเองจะเอาสุขของตัวเอง ตอนนี้ใจเปิดกว้างขึ้นก็เห็นสุขทุกข์ของเพืื่อนมนุษย์ ปัญญาก็พัฒนาง่าย ตอนนี้ก็เป็นว่าทานเป็นปัจจัยหนุนให้พัฒนาศีล พัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญาได้หมด เป็นฐานเกื้อหนุนอย่างที่บอก พอเรามีทานก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกันในแง่นี้ แต่ต้องให้ทานให้เป็น การให้ทานไม่เป็นไปสนับสนุนการแย่งชิงอีก ก็นี่แหละต้องให้ด้วยปัญญา ฉะเป็น การให้ที่เป็นมันมาพร้อมทั้งการพัฒนาจิตใจและปัญญา พอให้ถูกต้อง จิตใจมันถูกต้องมีกรุณาเป็นต้น ด้านสมาธิมันก็มา ด้านศีลมาแล้วอย่างที่บอก พอทานปั๊บศีลก็ได้ด้วย สมาธิจิตใจก็ได้ด้วย ปัญญาก็ทำด้วยความรู้เข้าใจ เห็นสุข ทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ และมองเห็นว่าทำไปแล้วจะเกิดประโยชน์แก่สังคม มนุษย์จะอยู่กันด้วยความเป็นสุข แล้วเขาจะได้อาศัยวัตถุนี้ไปพัฒนาคอบครัวเขา พัฒนาชีวิตของเขา สังคมของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองควรทำยังไงกันไปอีก พัฒนาปัญญาอีก ทานตัวเดียวแหละไปหนุนให้พัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา ฉะนั้นถ้าใช้ถูกต้องก็ไปดี ถ้าใช้ผิดก็อย่างที่ว่า ก็มัวแต่ล่อให้มุ่งผลตอบแทนจากการได้บริจาคทานเพื่อผลตอบแทนที่จะได้แก่ตนเอง ก็ยิ่งยึดในวัตถุ ยิ่งมองเพื่อตนเองมากขึ้น โลภะก็ยิ่งมากขึ้น ต่อไปก็ยิ่งเป็นทางที่ไม่เห็นแก่ผู้อื่นแหละ ไอ่ที่ให้น่ะไม่ใช่เพื่อช่วยเขาให้เพื่อที่จะได้ผลตอบแทน ต่อไปการพัฒนาชีวิตตนเองก็ไปไม่รอด จะมองในแง่การพัฒนาสังคมก็ไปไม่ได้ ต้องมองให้เข้าหลักพุทธศาสนา มีอะไรอีกอย่าให้เหลือข้อสงสัย อยากจะเน้นอันนึง เรื่องทานที่ว่าให้ ถ้าให้ถูกต้อง ต้องให้ด้วยความอยากเห็นเขาพ้นทุกข์ ให้เขาเป็นสุข แล้วเมื่อเห็นเขาเป็นสุข เราจึงมีความสุข อย่างนี้ถูกต้อง เหมือนคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมีความสุข ให้แก่ลูกเห็นลูกยิ้มแย้มมีความสุขพ่อแม่สุขด้วย ถ้าท่านให้แก่เพื่อนมนุษย์แล้วมีความสุขแบบที่ให้แก่ลูก นั่นคือการพัฒนาที่ถูกต้อง ถ้ายังทำใจแบบนี้ไม่ได้ เราต้องพยายามต่อ ไม่งั้นไปยาก เรามองเห็นเพื่อนมนุษ์และเริ่มอย่างที่ว่า เช่น ไปให้เด็กไปสงเคราะห์เด็กพอเด็กได้รับประทานอาหาร เขาหายหิว เขายิ้มแย้มแจ่มใสร่าเริง เราก็ปิติปลาบปลื้มใจ นี่ละ พัฒนาคุณธรรม ทานจะเป็นปัจจัยแก่สมาธิเลย เรียกว่าเป็นสมาธิบริขารนะ คือวัตถุประสงค์ในการบำเพ็ญทานอย่างหนึ่ง คือ เป็นสมาธิบริขาร เป็นเครื่องปรุงสมาธิ พอโยมให้แก่เขาแล้ว จิตใจมีความปลาบปลื้มปิติมีความสุข ใจมันเป็ยสมาธิ ง่ายเลย นี่เรียกว่าสมาธิบริขาร เพราะฉะนั้นทานนี่สำคัญกับสมาธิแน่
โยม ถ้าให้เขาแล้วเขามีความสุข เราก็มีความสุข แต่ให้เขาแล้วเขาไม่มีความสุข เช่นให้เค้าไปเรียนเค้าไม่เรียน ให้อาหารเค้า อาหารกระป๋องเวลาเกิดภัยต่างๆเค้าก็โยนเล่น อันนี้จะทำใจอย่างไร
พระอาจารย์ นี้ต้องอยู่อย่างผู้รู้เท่าทัน คืออยู่ด้วยปัญญา ปัญญาจะมาแก้หมดเลย คือเวลามีปัญหาขึ้นมามันไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือตามหลักทั่วไป ปัญญาจะมาบอกว่าในกรณีนี้มันมีปัจจัยนั้นนี้ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ไปไหนไม่จนหรอก ปัญญาตอนนี้เดินได้ด้วยโยนิโสมนสิการ พอโยนิโสมนสิการมามันพาเดินเลย ปัญญาทำงาน แก้ไขสถานการณ์ได้หมด เราก็อาจต้องคิดต่อไป ไม่ใช่จนแต้ม คืออย่าให้อยู่ด้วยความชอบใจ ไม่ชอบใจ ถ้าโยมไปตกกระแสชอบใจ ไม่ชอบใจ โยมก็ตันเลย จิตตันเกิดทุกข์ พอเห็นเค้าได้แล้วเค้าไม่สุข เค้าไปอีกทางนึง เราก็เกิดความไม่ชอบใจ เราก็ไม่สบายใจไปไม่รอด เราก็ต้องเอ๊ะ ทำไมเค้าไม่เกิดความสุข อ๋อ มันต้องมีเหตุปัจจัย หนึ่ง สืบค้นปัจจัยอะไรหนอทำ ไม่ใช่เราตันให้เขาไม่เป็นในสิ่งที่ควรจะเป็น และเราจะได้มีทางแก้ปัญหา สอง หรือมีวิธีอื่นที่ทำให้เขาได้แล้วเกิดความสุข อาจจะได้แล้วไม่ตรงกับการแก้ปัญหาก็ได้ ถ้าตรงกับการแก้ปัญหา มีหวังเขาจะต้องมีความสุข แสดงว่าการให้ตรงนี้ไม่แก้ปัญหา เพราะโยมไปตกกระแสชอบใจ ไม่ชอบใจ ก็ต้องไม่ตกกระแสชอบใจ ไม่ชอบใจ ตรงนี้คือจุดสำคัญ ในปฏิจจสมุปบาทถ้าหากว่าไปกระทบอารมณ์แล้วตกกระแสชอบใจ ไม่ชอบใจ ก็กระแสตัณหามาเข้าปฏิจจสมุปบาท ไปปรัชญาการแห่งทุกข์ อันนี้กระแสชอบใจ ไม่ชอบใจอยู่ในปัญญา โยนิโสมนสิการมาก็เบนออกไปเลย แทนที่จะเข้าสู่วัฏฏะ ก็เข้าสู่วิวัฒน์เลย เมื่อออกนอกทุกข์ หาทางแก้ปัญหาก็ไปคิดค้น อย่างน้อยว่าอันนี้คงไม่แก้ปัญหาเขา มันจะมีอะไรที่ซับซ้อนในเรื่องนี้ และปัญหาเขาอยู่ที่ไหนแน่ คิดต่อไป เราก็สนุกที่จะไปค้นคว้าหาเหตุปัจจัยที่แท้ของเขา เพราะเวลานี้ที่เป็นปัญหากันอยู่ เพราะว่ามันแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ในสังคมไทยมันแก้ไม่ตรงปัญหาก็เกิดความยุ่งยากมากขึ้น เวลาจะไปแก้ปัญหากลายเป็นสร้างปัญหา นี่เป็นกันมากในสังคมปัจจุบัน ฉะนั้น การให้ทาน ให้ไม่เป็นก็กลายเป็นสร้างปัญหา ก็เรียกว่าแก้ไม่เป้น คนที่แก้ปัญหา เรียกว่า ไม่มีตนเป้นที่พึ่งได้
โยม กราบเรียนถามท่านเจ้าคุณค่ะ เมื่อคืนดิฉันรู้สึกว่าโดนต้ม คือดิฉันขับรถไปแล้วก็โดน ไม่แน่ใจว่าชนเค้าหรือเปล่า เค้าอยู่ข้างหลังแล้วเค้าบอกว่าดิฉันชน แต่รู้สึกว่ารถมันชนอะไรสักอย่าง ทีนี้เค้าชวนเจรจาเอาเงินกัน แล้วดิฉันเห็นใจเค้า เค้าว่ามีประกันต้องการที่จะไปเคลมประกัน แล้วขอเงินดิฉัน มีเงินเหลืออยู่สองพันก็ให้เค้าไปหมด ที่จริงไม่จ่ายเค้าก็ได้ ดิฉันไปเคลมประกันของดิฉันก็ได้ แต่เห็นใจว่าชนเค้า
พระอาจารย์ ชนจริงๆเหรอ
โยม มาทบทวนด฿รู้สึกว่าจะโดนแบล้คเมล์หรือโกหก แต่ก็ไม่เห็นบาดแผล มีรอยเปื้อนขากางเกงที่ไม่ใช่แผลที่เค้าบอกว่าโดน คนละจุดกัน ช่วงนั้นดิฉันสงสารเค้า เห็นว่าเจ็บร้องไห้ ดิฉันเลยว่าเราผิดก็ให้เขาไปเถอะ ทีนี้ก็ทำใจแล้วละ คิิดว่าทำทานไป ดิฉันจะสอนลุกยังไงเจ้าคะ
พระอาจารย์ ให้หลักการอย่างหนึ่ง และให้วิธีเฉพาะ คือหลักการมันกว้าง แต่วิธีปฏิบัติเฉพาะกรณีนี้มันต้องรู้จักประยุกต์ หมายความว่าเค้าต้องเรียนรู้จักในการประยุกต์เอาหลักการมาใช้กับสถานการณ์ ซึ่งไม่เหมือนกัน แล้วอีกอย่างคือ การเรียนรู้กรณีนั้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำให้เกิดปัญญาที่จะใช้แก้ปัญหาข้างหน้าต่อไป ในกรณีนี้เราไม่สามารถทำนายได้หมด บางเรื่องเราต้องยอมรับความจริงว่าเรารู้ไม่ทัน เราอาจจะถูกหลอก ในกรณีนั้นพิจารณาว่าเราสมควรยอมตามหลอกมั้ย ที่นี้ถ้าเรายอมสมควรตามหลอกพอไหว เราก็ยอมไปก่อน แต่ไม่ใช่ยอมเปล่าๆ เราก็เรียนรู้ไว้ด้วย เอาความรู้จากการที่เขาหลอกเราว่า มนุษย์ในยุคปัจจุบันเค้ามีวิธีหลอกกันอย่างไร เราจะได้บอกลูกให้รู้ทันไว้ว่า คนเดี๋ยวนี้เค้ามีอย่างนี้นะ เราจะอยู่ในโลกยุคนี้ต้องรู้เท่าทัน มีการกระทำแบบต่างๆ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา ในปัจจุบันมีการหลอกกันเยอะ ถ้าเด็กไม่รู้เท่าทันการหลอกก็อาจไปถูกหลอกต้มได้ง่าย ต้องเรียนรู้เหมือนกัน อย่างน้อยก็ได้ประโยชน์ได้รู้ว่าในสังคมปัจจุบันมันมีคนที่เป็นอย่างไร รู้เท่าทันไว้ ให้รู้จักปฏิบัติ นี่ก็เป็นลักษณะที่พึ่งตนได้เหมือนกัน มีตนที่พึ่งได้ก็คือ มีปัญญาที่จะรู้จักเอาไปคิดพิจารณา ก็เป็นบทเรียน พอจะได้ประโยชน์หรือเปล่า อย่างน้อยก็เล่าให้ฟังเป็นข่าวสารข้อมูล ให้รูว่าคุณแม่ได้เจอสถานการณ์แบบนี้ แม่ได้คิดพิจารณาแบบนี้ก็ปฏิบัติไปอย่างนี้ เมื่อได้บทเรียนนี้ ต่อไปเมื่อเจอแบบนี้อีกแม่อาจจะไม่ทำอย่างนี้ วิธีที่ได้เรียนรู้เท่าทันมากขึ้น อันนี้เป็นเรื่องของการพัฒนาอย่างหนึ่ง และเด็กจะได้มีพวกแบบฝึกหัดได้ข้อมูลประสบการณ์ แล้วเขาก็ไปพิจารณา ถ้าเขาไปเจอสถานการณ์อีกแบบหนึ่งที่มาประกอบช่วยเสริม ทำให้เขาได้ตัวปัญญาความรู้ขึ้นมาอีก อันที่จะใช้แก้ไขสถานการณ์ซึ่งเราอาจจะคิดไม่ถึงด้วยซำ้ นี้ถ้าเราไม่มีข้อมูลอันนี้ให้ เขาไม่มีตัวประกอบไปให้เกิดปัญญานั้นเขาก็ไม่พัฒนา ฉะนั้น การให้ข้อมูลข่าวสารก็เป็นประโยชน์
โยม ปัญหาที่ตัวเองมาคิดเจ็บใจไม่หายว่าเสียรู้เขา จึงได้บอกลูกว่าทำทานไป ให้คิดว่าได้ให้ในสิ่งที่เขาคิดอยากได้ เงินสองพันนี่เขาคงดีใจมาก จะไปทำประโยชน์อะไรก็แล้วแต่
พระอาจารย์ ในแง่หนึ่งเขาเรียกว่าปลงให้มันผ่านไป แต่ต้องได้นะ ได้ในแง่ปัญญา เราเสียวัตถุแต่เราได้ปัญญา ไม่ใช่ปัญญาอย่างเดียว จิตใจเราก็ได้ เราวางใจถูก เราไม่ทุกข์กับเรื่องนี้ จิตใจเรายังสามารถเบิกบานผ่องใสได้ ได้จิตใจ สมาธิก็ได้ บางที่ได้มากกว่าเสียอีก เสียวัตถุสองพันบาทแต่ว่าได้ปัญญามีค่าประมาณไม่ได้
โยม เรื่องเจ้าที่ค่ะ คนจีนเขาถือว่าเป็นเจ้าที่ในบ้าน ทีนี้บ้านดิฉันท่านเจ้าคุณเคยดูให้ว่า มีเจ้าที่ที่นี่ดี แต่ไม่ได้พูดถึงตีจู่เอี๊ยะ เจ้าที่ของบ้านนี้ดี ดิฉันเลยไม่แน่ใว่าเจ้าที่นี่นอกบ้านหรือในบ้าน ดิฉันเลยไม่แน่ใจว่าต้องไหว้ทั้งสองที่หรือปล่าว เพราะดิฉันไม่ตั้งศาลพระภูมิ แต่ท่านบอกให้ไปทำเครื่องสังเวยนอกบ้านด้วย เอาข้าว นำ้ ไปไหว้ และจุดธูปกลางสนามแค่นั้นเอง และท่านก็ไม่ได้บอกว่าให้ตั้งศาลพระภูมิ
พระอาจารย์ แต่ท่านบอกเจ้่าที่นี่ดี
โยม ค่ะ ดิฉันก็เลยไหว้แต่ในบ้าน และไม่แน่ใจว่าต้องตั้งศาลพระภูมิหรือเปล่า จะเอายังไงกันแน่เจ้าค่ะ
พระอาจารย์ ถ้าจะถามต้องไปถามองค์นั้นเองเพราะเป็นเจ้าของคำตอบ เราสามารถตอบตามหลักได้ คือ เจ้าที่ก็มีระดับ องค์เล็กก็กินที่เล็ก องค์ใหญ่ก็ครองที่ใหญ่มาคลุมองค์เล็กด้วยอีก ไหว้องค์ใหญ่ก็คลุมหมด แต่ว่าใจเราต้องรู้ทัน ขอเล่าเรื่องศาลพระภูมิหน่อย เจ้าที่นี่เป็นความนับถือที่มีคติมาแต่โบราณ เดิมไทยเราอาจจะมีนับถือ ผีสาง เทวดาเก่า และคติอินเดียชมพูทวีปมากับพุทธศาสนา เป็นต้น ในชมพูทวีปก็มีอยู่แล้ว คัมภีร์ต่างๆมีเรื่องเทวดา เจ้าที่ คือ เทวดามีหลายระดับมาก เราเรียนกันมาแล้ว เทวดาระดับกามาวพจร มี 6ชั้น มีจาตุกมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี ทีนี้เทวดาระดับพื้นดิน ภุมเทวดา รักขเทวดา เทวดาพวกรักษา รักษาคนโน้นคนนี้ เทวดาพวกนี้เป็นระดับชั้นจาตุมทั้งนั้น คือระดับตำ่สุด จาตุมนี้คลุมมาก มีท้าวโลกบาลสี่เป็นผู้คุมพวกพรหมเทวดาก็อยู่ตามระดับพื้นดินไม่ได้อยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า เวลาคนสร้างบ้านสร้างเรือน วัง ปราสาท ในคติโบราณเทวดาเหล่านี้ก็จะไปจองที่อยู่เองไม่ต้องไปสร้างที่อยู่ให้ ในสมัยโบราณเท่าที่คัมภีร์บันทึกไว้ ไม่มีการสร้างศาลให้ คือเมื่อสร้างบ้านเรือนท่านมาจองที่เอง เพราะท่านรู้ดีว่าท่านน่าจะอยู่ที่ไหน อันนี้เราสร้างให้ท่าน ท่านถูกใจหรือเปล่าไม่รู้ ลองคิดให้ดี คติปัจจุบันกับคติโบราณไม่ได้ศึกษากัน คติของเก่านี่เป็นอันว่า พอพระเจ้าแผ่นดินสร้างวัง พอเศรษฐีสร้างปราสาท เทวดาก็มาจองที่ แม้แต่สร้างวัดวาอารามเขาก็สามารถมาจองอยู่ได้ อย่างบ้านผู้ใหญ่อนาถบิณฑิกะเศรษฐีเขารวยมาก สร้างบ้านก็มีซุ้มประตูด้วย เทวดาก็มาจองที่อยู่ที่ซุ้มประตู เอาเป็นว่าคติโบราณสมัยพุทธกาลสืบมา ภุมเทวดาก็จะเลือกที่อยู่เอง เมื่อคนสร้างบ้านสร้างวัง ก็ถ้าสร้างในวังก็มีเศวตฉัตร เทวดาก็ไปจองเศวตฉัตร อย่างหลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง พวกเทวดาเหล่านี้ก็จะไปจองที่อยู่กันตามฐานพระที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แล้วที่เราไปไหว้พระศักดิ์สิทธ์ ที่จริงคือเทวดาที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ พวกนี้คือผู้ที่ไปทำให้ พระพุทธเจ้าท่านหมดกิเลศแล้วท่านไม่ไปยุ่ง แต่เทวดาเหล่านี้นับถือพระพุทธเจ้ามาก ก็ไปอยู่ไปรักษาพระพุทธรูป แล้วท่านเหล่านี้เป็นเทวดาดีมีคุณธรรมจึงไปอยู่กับพระพุทธเจ้า ฉะนั้น จึงเห็นแก่มนุษย์ทั้งหลาย มีเมตตากรุณา ที่มาช่วยน่ะ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรอกเป็นเทวดาเหล่านี้แหละ มีคติเหล่านี้คนไทยลืมหมด คิดจะเอาอย่างเดียว ไม่รู้ว่าเทวดามาช่วยหรือพระพุทธเจ้ามาช่วย ไม่รู้เรื่องลืมหมด อาตมาขอแขวะไปที่พระพรหมนิดนึง พระพรหทเอราวัณที่บูชาจนองค์พังน่ะ คือ พระพรหทองค์นี้ผู้สร้างได้เขียนไว้ว่า พระพรหมนี้จะมาอยู่ประจำศาลให้ทุกวันเว้นวันพระ เพราะวันพระไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เขาเขียนไว้คนไทยไม่ศึกษาสักนิด คนไทยแย่ วัฒนธรรมในการหาความรู้ไม่มี วัฒนธรรมในทางปัญญาไม่มีเลย เอาอย่างเดียว ขอดลบันดาลศาลบอกไป รอผลเรื่อยไป เท่ากับพระพรหทบอกไว้แล้ว ฉันก็เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ฉะนั้นวันพระต้องยกให้ฉัน ฉันจะไปฟังธรรม เท่ากับเตือนชาวบ้านว่า พวกเรา มาหาฉันเว้นวันพระต่างคนต่างไปนะ หมายความว่าวันพระพระพรหทก็ไปฟังธรรม ชาวบ้านก็ไปเหมือนกัน ไปวัดไปฟังธรรมมันถึงจะถูก นี่ไม่ได้เว้นวันพระวันโกนเลย ไปทุกวัน นี่ผิด ต้องสอนบอกกันให้รู้ ยิ่งเป็นเจ้าบ้านเจ้าเมืองต้องบอกประชาชนให้รู้ว่า วันพระพระพรหมท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าไปฟังธรรม เราก็เหมือนกัน เมื่อพระพรหมท่านไปวัดฟังธรรม เราก็เหมือนกัน วันพระเราก็ไปวัดฟังธรรมซะ จะได้สอดคล้องกัน นี่พระพรหมท่านไปแต่เราไม่เอาเรื่องเลย นี่เราไม่ได้ไปทางเดียวกับพระพรหม จริงๆก็ไม่ได้แขวะพระพรหม แต่บอกทางที่ถูกต้องจะได้รู้กัน นี้หันมาเรื่องเทวดาก็เป็นอันว่าเทวดาแต่เดิมท่านจับจองที่อยู่เอง อย่างตอนที่พระเจ้าอชาตศัตรูให้อำมาตย์ใหญ่ชื่อ สุวินะกับ วัสสการพราหมณ์มาส้างเมืองใหม่เมืองหน้าด่าน ชื่อเมือง ปาตลีบุตร สำหรับสู้กับแคว้นวัชชีนั่นแหละ พระพุทธเจ้าเสด็จมาตอนกำลังบัญชาการสร้างอยู่ ในตอนนั้นในคัมภีร์บรรยายไว้ว่าพวกเทวดาเข้าไปจับจอง ที่สำคัญเทวดาใหญ่ก็จอง เทวดาก็อด ต้องไปอยู่ที่เล็กๆ เรื่องมันเป็นอย่างนี้ รวมความก็คือ สมัยโบราณ คติชมพูทวีป เมื่อมนุษย์สร้างบ้านเรือน วัง ปราสาท เทวดาโดยเฉพาะพรหมเทวดาก็จะมาจับจองที่อยู่ มาเมืองไทยไม่รู้คติสร้างศาลพระภูมิให้เมื่อไร ก็ลองดูว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน คติสองแบบ เราอาจจะคิดว่าเทอดทูนท่านมาก เราก็อุตส่าห์ส้างให้ท่านอยู่ ท่านจะถูกใจหรือไม่ ไม่รู้ ตอนนี้มีศาลพระพรหม อาตมายังคุยกับพระว่าเราไม่คิดกันให้ดี พระภูมิน่ะถูกแล้วท่านเป็นเทวดาพื้นดินอยู่ตามพื้นดินก็ถูก พระพรหมนี่ท่านอยู่ชั้นพรหมรูปาวจร สูงกว่ากามาวจร สูงกว่านิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตตี นี่มาสร้างให้ท่านอยู่กับพื้น ท่านจะชอบหรือเปล่า สองคือว่า แล้วมาอยู่ด้วยกันกับพระภูมิท่านเป็นเทวดาชั้นจาตุมเท่านั้นเอง ชั้นล่างสุด แล้วเอาพระพรหมมานี่ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์อีก แล้วเอาพระมหากษัตริย์มาอยู่ในบ้านเดียวนี่ท่านไม่อึดอัดตายหรือ ลองคิดดู พระภูมิท่านเป็นเทวดาสามัญแล้วไปเอาพระพรหมมาอยู่นี่จะขยับเขยื้อนตัวสักนิดนี่อึดอัดมากเลย ไม่เห็นใจเทวดาพระภูมิ คนไทยไม่คิด คิดแต่ว่าตัวจะได้ยังไง ไม่พิจารณาเลย ขอให้โยมลองคิดดู โยมเป็นภูมิเทวดาอึดอัดมั้ย ก็เป็นเรื่องที่ขำแต่น่าคิด เป็นอันว่า เรื่องของภูมิเทวดาเท่านั้นที่จะต้องอาศัยสถานที่ ภูมิเทวดาอยู่ภาคพื้นดิน ฉะนั้น เราไหว้ภูมิเทวดา เราเข้าใจ มีปัญญารู้ เราก็แผ่เมตตาไหว้ท่านให้ทั่ว ภูมิเทวดามีเยอะแยะไปหมด เราก็ไหว้หมด โยมไหว้เป็นก็ได้หมด ในสมัยพุทธกาล อาหารเป็นเครื่องบูชาชนิดหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าให้ท่านกิน เป็นเครื่องบูชา วัตถุบูชานั่นเอง มีดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร เป็นของบูชาแสดงนำ้ใจต่อท่าน หลักเดิมอาหารก็อยู่ในเครื่องบูชา หนึ่งเราอาจบูชาให้ครบ สองเราอาจเลือกเครื่องบูชา เราอาจเลือกแค่ดอกไม้ ธูป เทียน หรืออาจตัดให้เหลือแค่ดอกไม้ เป็นต้น ตามหลักพระสาสนานั้น ตัวการบูชาที่แท้มันอยู่ที่เจตนา จิตใจ ถ้าจิตใจเรามีความจริงจัง ผุดผ่องเบิกบานผ่องใส เจตนาเป็นกุศลจริงใจมันก็ได้ผลดี แม้แต่ไม่มีเครื่องบูชา สิบนิ้วประนมกรก็ได้ผลมากกว่า บางทีสิบนิ้วได้ผลมากกว่าเอาเครื่องบูชาไปอีก เพราะบางคนเอาเครื่ืองบูชาไปก็สักว่าทำ จิตใจไม่ได้มีเจตนาที่จริงจัง ปัญญาก็ไม่มี ถ้าโยมบูชาด้วยใจ ถ้าคนที่เจ็บไข้ มือยกไม่ได้ ก็บูชาด้วยใจ ในคัมภีร์ยังเล่าถึงเด็กที่ป่วยหนัก แกขยับเขยื้อนตัวไม่ได้ พระพุทธเจ้ามา แกบูชาด้วยใจ แกหันไปมอง ถวายตา ถวายสายตา เอาสายตาเป็นเครื่องบูชา แกก็ได้บุญอย่างสูง เพราะว่าเจตนาเป็นบุญกุศล จิตใจก็เป็นจิตใจที่ดีงาม ก็ว่ากันเป็นชั้นๆได้หลายชั้น
โยม ขอบคุณพระคุณเจ้าที่ให้ความสว่างความรู้
พระอาจารย์ ก็ขอให้โยมทุกท่านมีความสุขทั่วกัน แผ่ความสุขให้ทั่วประเทศไทย ทั่วโลกด้วย