แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
วันนี้เนื้อแท้ของเรื่องก็คือมาเยี่ยมพระใหม่ แต่ว่าก็พลอยพบพระเก่าด้วย ที่จริงนั้นตั้งแต่ก่อนพระใหม่บวช วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ตั้งใจไว้ว่าวันอุโบสถถัดจากนั้น คือวันที่ ๑ มีนาคม เป็นวันมาฆะบูชา ก็จะมาพบพระใหม่ แต่ว่าไม่มาในพิธีมาฆะบูชา เพราะว่ามีเวลาพบกันน้อย แต่ที่ทราบกันแล้วในพิธีบวช พิธีอุปสมบท พูดไปก็เลยเกิดการติดขัดในการพูด ต่อมาก็เลือดออก คุณหมอ และท่านที่รู้เห็นเหตุการณ์ และรู้เห็นอาการไม่เห็นด้วยที่จะมา เพราะเวลาใกล้ชิดกันมาก พูดง่ายๆ คือเกรงว่าจะเป็นการเสี่ยงภัย วันนี้มาพบกันก็คิดว่าพูดมากไม่ได้ เพราะว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นเอาแน่ไม่ได้ อย่าคราวที่แล้วที่กำลังพูด พอเสียงออกดีก็เกิดเรื่องเลย เพราะฉะนั้นการพูดวันนี้ก็เป็นการพูดเชิงเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ และคิดว่าจะได้พบพระใหม่เอาไว้ตอนหลังจากถ่ายรูปดีไหม ขอเป็นว่าไม่ต้องมาทำสามีจิกรรมก่อน เพราะว่าจะทำให้เกรงใจจะพูดมาก เพราะว่าพระเก่าก็จะต้องรอนาน ได้มีโอกาสพบกับพระใหม่น้อยเหลือเกิน ก็ได้คุยแบบสบายๆ
เกร็ดความรู้ธรรมะ ในวันนี้จะพูดเรื่องง่ายๆ ที่เคยย้ำในระยะนี้ที่พูดบ่อยๆ ธรรมะ ๕ ข้อ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเป็นชุด และเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม หากพูดในแง่หนึ่งคือเป็นการแสดงความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม คือ
๑ ปราโมช ความสดชื่อ เบิกบาน
๒ ปีติ ความปลาบปลื้ม อิ่มใจ
๓ ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายกายใจ
๔ สุข ความคล่องลื่นชื่นฉ่ำใจ
๕ สมาธิ ความนิ่งแน่ว ตั้งมั่นได้ที่ของจิต
๕ อย่างนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัส ในสูตรหนึ่งนั้นตรัสออกชื่อ เรียกว่าธรรมสมาธิ ว่ามีธรรมสมาธิทั้ง ๕ ข้อนี้แล้วจะทำให้เกิดจิตสมาธิ จิตสมาธินั้นคือสมาธิของจิต นี่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ แต่ในพระสูตรอื่นเยอะแยะ มากมายหลายแห่ง จะตรัสธรรมะ ๕ ข้อนี้โดยตรัสตามลำดับ โดยไม่ได้ออกชื่อทั้งชุด ซึ่ง ๕ ข้อนี้เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้นจะเกิดตามลำดับ และที่สำคัญเป็นจุดสังเกต คือเป็นตัวนำสู่สมาธิ
ย้ำอีกที ๑ ปราโมช เป็นข้อเริ่มต้น ในพระสูตรต่างๆ ก็ตรัสอย่างที่เคยยกมาให้ฟังว่า ปราโมชะ โพโรภิกขุ ลงท้าย ???ตะโต ปรา โมช โพ โร ทุก ขะ สันตัง กะ ริส สะ ติ ปฏิบัติธรรมแม้แต่ปฏิสันถาร เป็นผู้ฉลาดในการปฏิสันถาร ตั้งใจให้ถูกต้องดีแล้วก็นำไปสู่ปราโมช ปราโมชก็ทำให้จิตใจสดชื่น เบิกบาน แล้วพอปราโมชเกิดก็ตามมาด้วยปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ
พระพุทธเจ้าตรัสบ่อยแม้แต่ไปฟังธรรมมา นำธรรมะนั้นมาพิจารณา เกิดความรู้เข้าใจขึ้นมา ก็เกิดปราโมช แล้วก็เกิดปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ อย่างนี้ ทรงตรัสบ่อยมาก ดังนั้นควรจะให้ความสำคัญ
เราก็ได้เรียนกันตามแบบแผน จะบอกว่าสุขปทัฏฐาโนสมาธิ สมาธิมีสุขเป็นปทัสถาน เป็นเหตุใกล้ แต่ว่าพระมหากัจจายนะเถระ กล่าวไว้ในคัมภีร์เปตโลกประเทศ ท่านใช้คำตรงๆ ว่าสุขเป็นเหตุของสมาธิ และบอกว่าอีก ๓ อย่าง ปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ เป็นปัจจัยของสมาธิ ท่านใช้คำว่าสมาธินี้มีเหตุ มีปัจจัย เหตุคือสุข ปัจจัยคือ ปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ คำชุดนี้ควรจะให้ความสนใจ ใส่ใจ เพราะเป็นธรรมที่บางทีเราไม่ได้นึกถึง ถ้าเรามองของเราแล้วเป็นในแง่สภาพจิต ก็ไม่ได้เห็นว่าเป็นข้อปฏิบัติอะไร เป็นเหมือนกับเครื่องแสดง เป็นเครื่องหมาย หรือเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่ามาถูกทางอย่างน้อยก็ในแง่หนึ่ง
ก็เลยย้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างที่บอกไปว่าปราโมชนั้นเป็นข้อต้น ให้ทำจิตเป็นพื้นใจเลยว่ามีปราโมช ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะเข้าตามที่ตรัสไว้ในธรรมบท ที่ว่า ปรา โมช ชะ โพ โร ปราโมช ชะ โพ โร ภิกขุ ???ตะโต ปรา โมช โพ โร ทุก ขะ สันตัง กะ ริส สะ ติ ลงท้ายคือถึงความสิ้นทุกข์ หมายความว่าภิกษุที่มากด้วยปราโมชนั้นมีพื้นใจที่ดี ถูกต้องแล้ว มีทางที่จะเจริญก้าวหน้า เพราะธรรมชุดนี้นั้นตรงข้ามกับนิวรณ์ ซึ่งนิวรณ์เป็นตัวขัดขวางสมาธิ รู้กันอยู่แล้ว มีกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา แต่ว่าชุดนี้ตรงข้ามกัน เมื่อชุดนี้มี นิวรณ์ก็ไป เพราะฉะนั้นจะเป็นตัวเบื้องต้น ตัวนำ อย่างที่บอกว่าเป็นเหตุปัจจัยของสมาธิ บางทีเราเรียนแต่นิวรณ์แล้วไม่ได้มานึกถึงชุดนี้ ชุดปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ
เมื่อมีปราโมชก็ไม่มีถีนมิทธะแล้ว ความที่จะหดหู่ เซื่องซึม เหี่ยวเฉา ความฟุ้งซ่านก็จะไม่มี ท่านบอกว่าปราโมชนั้นคือปีติอ่อนๆ เมื่อปราโมชเข้มขึ้นก็จะเป็นปีติ พอปีติมาแล้วก็จะเกิดความผ่อนคลาย กายและใจจะผ่อนคลายหมด พอกายใจผ่อนคลายก็เปิดทางให้เป็นสุข เพราะสุขนั้นอย่างที่บอก คือใจไม่มีอะไรมากดดัน ไม่มีอะไรมาบีบคั้น เพราะปัสสัทธินั้นผ่อนคลายหมดแล้ว มันจะมามีอะไรมาบีบคั้น พอปัสสัทธิผ่อนคลาย สุขก็มาได้ สุขมา ใจก็คล่อง โล่ง โปร่ง ไม่มีอะไรมากดกัน ไม่มีอะไรบีบคั้น อย่างที่บอกแล้วว่าทุกข์ก็คือบีบคั้น กดดัน จิตก็ดิ้น เป็นสมาธิไม่ได้ พอสุขแล้วจิตมันคล่อง โปร่ง โล่ง ลื่น ก็เป็นสมาธิได้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าตรัสย้ำชุดนี้ แม้แต่ข้อแรก คือปราโมช ทำให้เป็นพื้นใจไปเลย จะเป็นปราโมช ยิ่งเรามาศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม เราทำความเข้าใจธรรมะ ใจเรารู้สึกว่าเราได้เข้าใจดีขึ้นก็จะเกิดความชื่นใจ เบิกบานใจ ปราโมชก็มา แต่ว่าต้องรู้แนวทาง เราจะได้วางจิตให้ถูก เปิดทางให้องค์ธรรมเรานี้เกิดขึ้นมา ก็เลยย้ำบ่อยๆ เพราะว่าบางทีก็มองข้ามไป
เป็นอันว่าธรรมนี้ต้องย้ำอีกที ๕ ข้อ ปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ แล้วชุดนี้จะไปปรากฏในการเจริญสมถะ วิปัสสนา ก้าวหน้าไป และจะปรากฏในลักษณะที่ท่านกล่าวถึงในเวลาที่ตัวนั้นเด่นๆ ไม่ต้องกล่าวครบชุด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นสมถะ สมถะนี้ท่านบำเพ็ญไป ได้เจริญถึงฌาน ก็จะเห็นว่าปฐมฌานมีอะไร วิตก วิจารณ์ ปีติ มาแล้ว สุข เอกคตา ท่านก็จะอธิบายบอกว่าในปฐมฌานนั้นมีปราโมชด้วย ??? ปราโมชคือปีติเมื่อยังอ่อนอยู่ อย่างในเจตสิก ๕๒ ก็จะไม่พูดถึงปราโมช เอาแต่ปีติ เพราะปราโมชคือปีติอ่อนๆ แต่เป็นตัวเริ่ม เป็นตัวสำคัญ การปฏิบัติต้องเริ่มไปจากต้นๆ ก็ได้ปราโมชก่อน แล้วก้าวไปสู่ปีติ ถ้าได้ฌาน ท่านก็กล่าวองค์ฌานมี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคตา เสร็จแล้วพอไปทุติยฌานหละ ตัววิตก วิจารณ์ก็จะหายไป คล้ายเป็นตัวทำงาน เหลือสภาวะของจิต เหลือปีติ สุข เอกคตา เป็นต้น เหล่านี้คือฝ่ายสมถะ
ส่วนฝ่ายวิปัสสนา ฝ่ายปัญญาบ้าง ลองดูที่โพชฌงค์ มีสติ ธัมมวิจยะ ปัญญา บารมี วิริยะ ปีติ มาแล้ว ใช่ไหม ฌานข้อที่ ๑ คือปีติ ที่ ๒ ก็ปีติ มาโพชฌงค์ก็ปีติ แล้วก็ปัสสัทธิ แล้วตอนนี้สุขไม่ต้องพูดถึง เพราะไม่ใช่ตัวเด่น พอปัสสัทธิมาก็เป็นตัวเปิดทางให้แล้ว เพราะว่าทำให้จิตพร้อม เข้าไปพูดถึงสมาธิ และอุเบกขานั้นเป็นตัวทำงานให้ปัญญาเดินหน้าได้ดี เพราะว่าวิปัสสนานี้เป็นเรื่องของปัญญา จิตที่เป็นอุเบกขาเป็นตัวสำคัญ
เลยให้เห็นว่าธรรมชุดที่กล่าวไปนั้นมีความสำคัญทั้งทางสมถะ และวิปัสสนา คือเป็นการเตรียมจิตให้พร้อม เตรียมจิตสำหรับเดินหน้าไปสู่สมาธิ แล้วเจริญในสมถะก้าวไป ส่วนวิปัสสนาก็ต้องเตรียมจิตเช่นเดียวกัน เมื่อจิตพร้อม องค์ธรรมทางฝ่ายปัญญาก็ทำงานในจิตนี้ หากจิตไม่มีความพร้อมอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสตอนที่พระองค์ตรัสรู้ว่าได้ฌาณแล้ว พระองค์ตรัสว่าเมื่อจิตเป็นกัมมนิยะ จิตควรแก่งาน เหมาะแก่งาน เหมาะกับการใช้งาน หมายความว่าจิตที่เป็นสมาธิ ยิ่งได้ฌานแล้วจะเป็นจิตที่พร้อมจะใช้งาน แล้วพระองค์ก็น้อมจิตนั้นไปใช้จิตทำงาน เป็นที่ทำงานของปัญญา ปัญญาก็ทำงานได้ จึงเกิดเป็นญาณต่างๆ ที่เรียกว่าน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ แล้วไปถึงสุดท้ายอาสวักขยญาณ
จิตที่สำคัญคือทำให้เป็นกัมมนิยะ เป็นกัมมนิยะด้วยอะไร ก็ด้วย ๕ ตัวนี้ แล้วก็ลงที่สมาธิ สมาธิก็เป็นตัวสำคัญ คือจิตได้ที่ ที่บอกไปเมื่อครู่ จิตได้ที่แล้ว ก็ให้ท่านดูในมรรค อันนี้ก็ฝากไปให้พิจารณา ฝากเป็นการบ้าน แต่ให้เห็นอย่างหนึ่ง จะเห็นว่าที่ตรัสไว้นั้นเป็นตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ไปจนถึงสัมมาสมาธิ ก็จัดเป็นหมวดเรียกกันง่ายๆ ว่าศีล สมาธิ ปัญญาแต่ถ้าเรียกให้เป็นสิกขา ท่านจะเรียกเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา คือสมาธินั้นเป็นตัวแทน ตัวสำคัญของฝ่ายจิต บางทีทำให้คนเข้าใจว่าเป็นเฉพาะสมาธิ ที่จริงหมายถึงธรรมในกลุ่มนั้นทั้งหมด เรียกว่าสมาธิขันธ์ ถ้าเรียกว่าสมาธิขันธ์ก็คือด้านจิตใจ อย่างปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ สุข ในกรณีนี้อยู่ในสมาธิขันธ์ ให้เห็นว่าเวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงมรรค เป็นศีล สมาธิ และปัญญา สมาธิก็คือจิต
ส่วนด้านจิตนั้นมีองค์ธรรมมากมาย ทำไมในมรรคเอาองค์ตัวสำคัญที่เป็น ๓ ตัวใช่ไหม มีสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็คือวิริยะ สติ สมาธิ ทำไมเอาแค่ ๓ จะทำงานได้นั้นมรรคนี้คือตัวที่จะทำให้เกิดผล ภาษาปัจจุบันเรียกว่ามรรคทั้งองค์ ๘ ต้องพร้อม ต้องทำงานแบบที่สมัยนี้เรียกว่าองค์รวม เอาด้านกาย วาจา ศีล ก็พร้อม ด้านจิตใจก็พร้อม ด้านปัญญาก็ตัดสิน ในด้านจิตใจจะเห็นว่ามีวายามะ ความเพียร วิริยะนั่นเอง แล้วก็สติ สมาธิ เอาสติก่อน
สตินั้นทำไมมีความสำคัญมาก ก็รู้กันอยู่แล้ว สติให้สำเร็จกิจทั้งปวง ถ้าไม่มีสติ สติไม่จับสิ่งที่จะทำงานให้ ตั้งแต่ปัญญาไปเลยจะทำงานไม่ได้ แล้วองค์ธรรมอื่นๆ ก็เตลิดเปิดเปิงหมด ไม่รู้ไปไหนๆ คนละทิศละทาง สติจับอยู่ องค์ธรรมทั้งหลายจึงมาทำงานได้ หมดสติอย่างเดียว สติหายอย่างเดียวจะทำงานนั้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นต้องมีสติจับให้
แม้แต่ปัญญาก็ยังเปรียบเหมือนกับว่าอะไรที่ลอยมาแล้วเอามือจับ ก็คือสติ จับแล้วตามอง คือปัญญาก็เห็น หากมือไม่จับให้แล้วมันลอยไป จะดูอย่างไร ใช่ไหม สตินี้เป็นตัวที่จับอารมณ์ให้ ก็จับสิ่งที่เราจะใช้ในการทำงาน พอสติจับให้ องค์ธรรมทั้งหลายก็ทำงานได้ มีปัญญาเป็นที่สุด เพราะฉะนั้นสติเป็นสิ่งจำเป็น ที่ท่านว่าไว้เป็นภาษิต สติ สัพพัตถะ ปัตถิยา สติจำปรารถนาในทุกกรณี ไม่ว่ากรณีใด จะอยู่ได้ จะดำเนินชีวิตได้ ทำอะไรได้ สติคือตัวที่จำเป็น เป็นตัวที่สำคัญมาก ถ้าไม่มีสติตัวเดียว ไปหมด จะเตลิดเปิดเปิงอย่างที่บอก ก็เลื่อนลอย ลักษณะตรงข้ามของสติ ก็คือเลื่อนลอย
ส่วนวิริยะ ความเพียร เป็นตัวเดินหน้า ทำให้ก้าวไปได้ ถ้าไม่มีวิริยะตัวเดียว ตัวอื่นๆ จะไม่เดินหน้า มันไม่เดินหน้าก็จบกัน ต้องมีวิริยะจึงทำงานได้ และดำเนินหน้า ก้าวหน้าไป
สมาธิ เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกับแท่น หรือเวที หรือแม้แต่โต๊ะทำงาน แท่น เวที ไม่แน่น ไม่มั่นคง ไม่นิ่ง ไม่สนิท คนที่อยู่บนเวทีเป็นอย่างไร ถ้ามันไม่แน่น ไม่นิ่งมากๆ จะอยู่ได้ไหม แสดงอะไรได้ไหม ไม่ได้เลย ใช่ไหม พอนิ่งสนิทๆ ยิ่งดี แท่น เวที โต๊ะทำงานต้องสนิท มั่นคง แน่ว พวกตัวที่แสดงบนเวที หรือตัวทำงานทั้งหลายจึงจะทำงานได้ ถ้ามีสมาธิน้อยก็ทำงานได้น้อยลงไป มันก็ลำบาก เพราะฉะนั้นสมาธิก็เป็นตัวสำคัญ
เพราะฉะนั้น ๓ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้องค์ธรรมทั้งหลายทำงานได้ ก็เป็นองค์ของมรรค อย่างอื่นๆ เช่นสัมมาทิฏฐินั้นชัดอยู่แล้ว หมายถึงความรู้ความเข้าใจ ซึ่งความรู้ความเข้าใจของคนต้องจับตัวเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าใจอย่างนี้ เข้าใจอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่าทิฏฐิ มองเห็นอย่างนั้น มองเห็นอย่างนี้ รู้เข้าใจนั่นเอง ก็เลยใช้ปัญญาในกรณีนี้ เรียกว่าทิฏฐิ ก็ต้องระวัง เพราะทิฏฐิที่ยังไม่เรียบร้อยนั้นไม่เป็นญาณ พอทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิแท้สมบูรณ์ก็เป็นญาณ ในระหว่างนี้ทิฏฐิอาจจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ต้องระวัง มีการยึดติด ถือมั่นขึ้นมา
ตรงนี้สำคัญว่ารู้ เข้าใจ มองเห็น เมื่อรู้ เข้าใจ มองเห็นถูกต้องแล้ว สัมมาสังกัปปะ ตัวสังกัปปะคือความคิด ความดำริก็จะไปตามความรู้ ความเข้าใจที่มองเห็น ดำเนินตามกัน แม้แต่การกระทำ การที่จิตจะเดินอย่างไรก็จะไปตามนี้หมด เพราะฉะนั้นท่านก็บอกว่าสัมมาทิฏฐินี้เป็นตัวปัจจัยของกุศลธรรมทั้งปวง โดยเฉพาะในมรรค องค์มรรคข้ออื่นก็ต้องอาศัยสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำหน้า เป็นปุพพังคมะ ตัวนำหน้า ก็คือหัวหน้านั่นเอง สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า พอรู้ เข้าใจ มองเห็นเป็นอย่างไร ตัวอื่นก็ทำงานตามนั้น ??? สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะ สัมมาทิฏฐิอย่างที่ว่าไปแล้ว ก็เป็นปัจจัยกับสัมมาสังกัปปะ เมื่อรู้ เข้าใจถูกต้อง ก็ดำริ คิดถูกต้อง
แต่ในทางกลับกันท่านก็บอกว่า สัมมาสังกัปปะก็เป็นปัจจัยกับสัมมาทิฏฐิ เมื่อเราคิดพิจารณาถูกต้อง จะทำให้เราได้ปัญญา คิดทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้นก็เลยสำคัญ สัมมาสังกัปปะจะเป็นสัมมาสังกัปปะที่มาช่วยให้เกิดสัมมาทิฏฐินั้น ก็เอาโยนิโสมนสิการมาเป็นเครื่องมือ โยนิโสมนสิการนี้ไม่ใช่ปัญญา แต่เป็นเครื่องมือสำหรับทำให้เกิดปัญญา คือการเดินจิต ใช้จิตทำงาน ที่จะทำให้เกิดปัญญา ซึ่งโยนิโสมนสิการเป็นตัวช่วยสำคัญมาก เพราะฉะนั้นก็ถือว่าโยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยของสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ สัมมาทิฏฐิเป็นตัวเริ่มของทั้งขบวน
ให้สังเกตว่าศีลในองค์มรรคจะมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ในองค์มรรคนี้เวลาที่ท่านอธิบาย พระพุทธเจ้าตรัส อย่างเช่นสัมมาวาจา คือเว้นจากพูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ คือเว้นทั้งนั้น เว้นๆๆ แต่ถ้าไปหลักอย่างธรรมจริยา ธรรมจริยานั้น??? จะต่อจากนั้นอีก อย่างสัมมากัมมันตะ เริ่มด้วยเว้นจากปานาติบาตในองค์มรรค ก็จะมีเท่านี้ เว้นจากปานาติบาต แต่ถ้าเป็นธรรมจริยาจะมีต่อ เว้นจากปานาติบาต แล้วต่อไปคือมีเมตตา กรุณา หวังทำประโยชน์แก่ปวงสัตว์อะไรต่อไป ทำไมจึงไม่เหมือนกัน ทำไมในองค์มรรคจึงบอกแค่เว้น แต่ธรรมจริยาเป็นต้นจะบอกไปถึงบวกด้วย ให้มองง่ายๆ บอกแล้วว่าองค์มรรคทั้ง ๘ เป็นองค์รวม ต้องทำงานด้วยกัน ทำงานพร้อมเป็นมรรคสมังคี พร้อมทั้งหมดเหมือนเป็นอันเดียว ก็ทำงานให้สำเร็จผล ในสภาพนี้ ในด้านกาย วาจา หรือศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อมหมด กาย วาจาที่พร้อมในกรณีนี้คือ กาย วาจา ตอนนี้ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ใช่ไหม ก็คือไม่มีการเบียดเบียน ปราศจากปานาติบาตต่างๆ ก็ใช้ได้แล้ว จะต้องไปทำอะไร ใช่ไหม ไม่ให้มันผิด แต่ธรรมจริยานั้นออกใช้ปฏิบัติในเรื่องของมัน ตัวไหนตัวนั้น อย่างข้อเว้นจากปานิติบาต หมายความว่าเรื่องของการที่ปฏิบัติต่อสัตว์อื่นๆ ทั้งหลาย คือไม่ทำร้าย ไม่เบียดเบียน แต่มีเมตตา กรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลไป ก็ว่าไปเป็นข้อๆ เป็นการประพฤติปฏิบัติรายข้อนั้นๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องขององค์รวม ถ้าเป็นองค์รวมแล้วบอกให้ไปช่วยเหลือสัตว์ จะทำอย่างไรตอนนั้น อยู่ในมรรคจะให้สำเร็จผล ก็แปลว่าแค่ตอนนั้น แต่ว่าขาดไม่ได้ ใช่ไหม จะเป็นมีวจีทุจริต กายทุจริต อยู่ไม่ได้ เป็นอันว่าพร้อมแล้ว เป็นสัมมาวาจา
อันนี้เอามาเล่าให้ฟังเป็นเกร็ดความรู้ก็พอสมควรแล้ว เล่าให้ฟังแต่ย้ำอันที่ว่า เรื่องชุดปราโมช ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ เป็นเรื่องของการใช้ประโยชน์ที่ควรเน้นในการปฏิบัติธรรม เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสในพระสูตรมากมายหลายแห่ง เท่ากับเป็นการแสดงความก้าวหน้า ว่าเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้ว คุณสมบัติของจิต หรือสภาวะจิต หรือองค์ธรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นมา แล้วจะเป็นองค์ธรรมที่เกื้อหนุนความเจริญงอกงามในธรรมต่อไป แล้วก็พื้นใจอย่างที่ว่า ควรจะให้ทุกคน ทั้งพระ ทั้งโยม มีพื้นใจเป็นปราโมช มีใจสดชื่นเบิกบาน
ถ้าใจมีนิวรณ์ที่เป็นฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายถีนมิทธะ ก็จะห่อเหี่ยว หดหู่ เซื่องซึม เป็นซึมเศร้าไป พวกนี้เหมือนของที่จะใช้ทำอะไร มันย่นย่อ ห่อเหี่ยว เหลวเละ มันจะไปใช้ได้อย่างไร ใช่ไหม ส่วนตรงข้ามกับฝ่ายอุทธัจจะกุกกุจจะ ก็เป็นอันว่าฟุ้งซ่าน วุ่นวาย เดือดร้อน อะไรต่างๆ เหล่านี้ ไปเครียด ไปตรงข้ามพวกนี้ก็เหมือนกับของใช้ที่มันกระจัดกระจาย??? มันก็ทำงานไม่ได้ดี เพราะฉะนั้นเรื่องจิตนี้ไม่ต้องนึกถึงสมาธิทันที เพราะว่าสมาธินั้นมาจากนี้ ถ้าท่านแม้แต่ในชีวิตประจำวัน ทำจิตปราโมช ถ้าทำให้จิตท่านพร้อมที่จะไปเจริญสมาธิ เพราะมันพร้อมอยู่แล้ว มันจะไปของมันอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า เมื่อองค์ธรรมข้อนี้พร้อมแล้ว ไม่ต้องเรียกร้อง องค์ธรรมต่อไปก็มาเอง อันนี้ตรัสบ่อยใช่ไหม ในสังยุตตนิกายจะมีเรื่องอย่างนี้ คือธรรมะเป็นปัจจัยของเขาเอง เราไม่ต้องไปเรียกร้องเขา เพียงเราทำให้ถูก ทำปัจจัยให้พร้อมแล้วผลก็จะเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นเราทำจิตของเราให้พร้อม ทำปราโมชมา มันก็เปิดทางให้ปีติมา ปีติมาปัสสัทธิก็ตามมา ปัสสัทธิมาสุขก็มา สุขมาก็เปิดทางให้สมาธิ ถ้าท่านไปปฏิบัติ ไปเครียดมันก็ทุกข์ ทุกข์มันก็บีบคั้นจิตใจ จิตก็ดิ้นรน สมาธิก็มาไม่ได้ เป็นต้น