แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คนเราเกิดมา ถ้าถามว่าเกิดมาเพื่ออะไร คนส่วนมากก็ตอบยาก จะตอบไม่ถูก หรือ คือคิดว่าตัวเองไม่รู้จะตอบว่าอย่างไรดีนะ แต่ว่าหลายคนก็จะคิดไปถึงความสุข แล้วก็อาจจะตอบออกมา บอกว่า เกิดมาเพื่อหาความสุข คำตอบนี้ก็จะถูกหรือไม่ถูกก็ตาม แต่แสดงให้เห็นว่าเรื่องความสุขนั้นเป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์ เป็นเรื่องที่เด่นอยู่ในใจ คนก็คิดแต่เรื่องนี้เป็นสำคัญมาก
ทีนี้ ในเมื่อความสุขเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ แล้วก็มนุษย์แสวงหา เราก็จะต้องเอาใจใส่ คือทางธรรมะนี่จะต้องเอาใจใส่เขา ก็ในเมื่อเขาหาความสุข ถ้าหาได้ถูกต้องก็เกิดความสุขจริง ถ้าหาไม่เป็น หาไม่ถูก ก็เกิดปัญหา เกิดปัญหาแก่ตัวเอง แล้วก็เกิดปัญหาแก่คนอื่น แทนที่จะได้สุขก็ได้ทุกข์ หรือว่าบางทีก็ได้สุขส่วนหนึ่ง แต่เกิดทุกข์มากอีกส่วนหนึ่ง แล้วก็จนบางทีตัวเองได้สุขบ้าง แต่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนมากมาย ปัญหาก็เยอะแยะ เกิดจากการที่คนแสวงหาความสุขนี่เอง ปัญหาที่เกิด ๆ กันอยู่นี่เป็นเรื่องของการหาความสุขของมนุษย์ จะเรียกว่าเป็นส่วนใหญ่ก็ว่าได้ ทีนี้ ก็มามองดูตามหลักธรรมะก็จะได้ให้เห็นแนวทางในการช่วยให้คนหาความสุขได้
คนทั่ว ๆ ไปนี่หาความสุขก็จะนึกไปถึงความสุขจากการที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้เสพสิ่งที่พอใจ ที่เรียกว่า สุขเวทนา อย่างที่เราเคยคุยกันมาแล้วนะในเรื่องนี่ การอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่ เป็นสำคัญที่สุดนะ ตาได้ดูสิ่งสวยงาม หูได้ฟังสิ่งไพเราะ จมูกได้ดมกลิ่นที่หอม ที่ถูกใจ ลิ้นได้ลิ้มรสอร่อย กายได้สัมผัสสิ่งนุ่มนวล อะไรต่าง ๆ เหล่านี้นะ นี่เป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์ ความสุขระดับนี้เป็นเรื่องใหญ่มากนะ ก็คือ ก็ไม่เฉพาะมนุษย์หรอก ก็สัตว์ทุกอย่าง ก็จะมุ่งไปที่ความสุขประเภทนี้
พระพุทธศาสนาเรียกความสุขอย่างนี้ทั้งหมด ใช้ศัพท์เดียว เรียกว่า กาม นะ ความสุขที่เกิดจากการบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นเรื่องกาม ฉะนั้น กามก็จะหมายถึงสิ่งที่มนุษย์อยากได้ ตัว กาม เอง แปลว่า ความอยากได้ หรือ สิ่งที่อยากได้ อยากได้อะไร อยากได้เพื่อมาบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็ความสุขที่เกิดจากกามนี้ก็เรียกว่า กามสุข แล้วก็สิ่งที่เป็นแต่ละอย่าง ๆ ที่ แต่ละประเภทที่จะมาบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่ เขาเรียกว่า กามคุณ นะ กามคุณ นี่ก็ คุณ นั้น ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าคุณประโยชน์ หรือคุณค่าความดี แต่แปลว่า ส่วน ส่วนต่าง ๆ แต่ละส่วน ๆ แปลว่า ส่วนต่าง ๆ ที่จะมาบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือว่าสิ่งที่อยากได้ เป็นประเภท ๆ ก็มี กามคุณ ก็ส่วนที่มาบำเรอตา ส่วนที่มาบำเรอหู บำเรอจมูก บำเรอลิ้น บำเรอกาย เพราะฉะนั้น รวมแล้วก็จะได้ ๕ ท่านจึงเรียกว่า กามคุณ ๕ เราจะได้ยินบ่อย ๆ กามคุณ ๕ ก็คือ กาม นั่นเอง ที่เป็นส่วนต่าง ๆ ส่วนบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย กามคุณ ๕ เป็นสิ่งที่ปรารถนา มนุษย์ก็แสวงหากันในสิ่งเหล่านี้
พระพุทธเจ้าก็ยอมรับนะว่า กามนี้จะช่วยให้คนมีความสุข แต่ว่าสิ่งสำคัญในพุทธศาสนาอย่างหนึ่งก็คือว่า ท่านให้รู้เท่าทันมัน คือรู้เท่าทัน ส่วนดีของกามท่านก็ยอมรับนะ ก็เรียกว่า อัสสาทะของกาม แปลว่า ต่อจากนั้นมันก็มี ??? (นาทีที่ 5:31) นอกจากมีส่วนดีแล้ว มันก็มี อาทีนวะ แปลว่า โทษ ส่วนเสียของกามนะ ก็หมายความว่า กามนี้มีทั้งส่วนดีแล้วก็ส่วนเสีย แต่ถ้ามันมีแต่ส่วนดีก็หมดไป ทีนี้ ไอ้ทีตอนที่มันมีส่วนเสียด้วยนี่แหละ ถ้าเราปฏิบัติไม่ถูก ไอ้ส่วนเสียมันก็จะมาก แล้วมันก็จะไปกลบ ไปทับ หรือว่ากีดกันไม่ให้ส่วนดีนี้เกิดขึ้น ธรรมะก็เลยต้องเข้ามาตอนนี้ เพื่อว่าทำอย่างไรคนจะได้แต่ส่วนดี ไม่ทำให้เกิดส่วนเสียเพราะกาม แล้วก็เพราะเหตุที่ว่า ถึงอย่างไร ในเมื่อกามมันมีส่วนเสียอยู่แล้ว มันก็ต้องหาทางว่า เอ๊ะ มันมีอะไรที่จะแก้ไขนะ มีอะไรที่ดีกว่ากามอีกไหม ถ้าหากว่ามี ถ้าไม่มีก็หมายความว่าต้องหาทางทำให้กามมีแต่ส่วนดีเท่าที่ทำได้ คือจะให้มันหมดส่วนเสียมันไม่ได้ ข้อบกพร่อง แต่ทีนี้ ถ้ามีส่วนที่ดีเหนือกาม มีความสุขอื่น อ้า เราก็จะได้หาความสุขนั้นด้วย แล้วก็ถ้าหากว่าเราเกิดพอใจสุขที่เหนือกามไปแล้ว เราก็พ้นไปจากกามไปเลย ก็พ้นจากโทษของกามไปด้วย อันนั้นก็แล้วแต่ เป็นอิสระ พระพุทธศาสนานี่ถือเป็นเรื่องเสรีภาพ แต่ว่าให้รู้ แล้วก็มาดู พิจารณา แล้วจะได้รู้จักเลือก
ทีนี้ก็ อ้าว ทีนี้ ท่านก็ให้หลัก คือว่า พระพุทธเจ้าก็ค้นพบความจริงแล้วก็มาแสดง แล้วก็จัดเป็นหลักขึ้นมา ...??? (นาทีที่ 7:15) ก็มาดูว่า กาม เอาละ ส่วนดีของกาม ก็มนุษย์ก็รู้จักกันแล้ว ทำให้มนุษย์มีความสุขนะ อยู่แบบนี้ก็มุ่งหาสุขจากกามเป็นสำคัญ บำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย ใคร ๆ ก็ปรารถนา ในเมื่อเป็นมนุษย์ปุถุชนอยู่
ทีนี้ ส่วนที่เป็นโทษนี่ อาทีนวะของกาม ก็คืออะไรเล่า ส่วนโทษของกาม อือ ก็ หนึ่ง ตัวเองนะ เอาที่ตัวเองก่อน ในแง่ของตัวเองนี่ สุขจากกามนี่ไม่รู้จักอิ่ม คือไม่รู้จักพอนะ ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ มีเท่าไรก็ บางทีพอปรารถนาสิ่งนี้ พอได้ปั๊บ สมใจปรารถนา ก็นึกว่าสุขเต็มที่ แต่เสร็จแล้วก็ ต่อมา ๆ ชักชินชา ก็รู้สึกอยากจะได้อย่างโน้นต่อ มีเท่านี้ไม่พอ ต้องมากกว่านี้ เอาแล้ว ไอ้อันเดิมที่เคยมีความสุข ได้ความสุข ก็เกิดเบื่อหน่ายนะ แล้วก็ไม่พอ ก็มองหาต่อไปอีก เพิ่มต่อไปอีก ทีนี้ ไอ้ทั้งสองด้านนี่เกิดโทษ เกิดปัญหา คือไอ้ส่วนที่ตัวเองเกิดเบื่อหน่ายแล้ว ที่เคยนึกว่าจะได้สุขแล้วสุข ไปสักพักหนึ่งแล้วเกิดเบื่อหน่าย ก็จะอยู่กับสิ่งนั้นกลายเป็นทุกข์ ไอ้สิ่งที่เคยนึกว่าจะให้สุข พอชาชินแล้วก็เบื่อหน่าย แล้วคราวนี้ไอ้สิ่งนั้นถ้าตัวหลบไม่ได้ หลีกหนีไม่ได้แล้ว เป็นทุกข์แล้ว อยู่ด้วยกับมัน ทำอย่างนี้เสีย ก็คิด ทำอย่างไรจะพ้นจากมันไปได้หนอ นะ ไอ้ถ้าพ้นได้ก็ดี พ้นไม่ได้นี่แย่เลยนะ เอาละ เกิดศึกฟากนี้
ทีนี้ สอง ก็ทุกข์เพราะไอ้เรื่องที่ยังไม่ได้ ไอ้ส่วนที่ตัวจะวิ่งไปหา มันไม่ถึงสักที ก็วิ่งต่อไป มันก็ไม่สุขสักที ทีนี้ บางอย่างมันก็ ที่หวังต่อไปนี่มันไกล ไม่รู้เมื่อไรจะได้ ก็ทุกข์เพราะสิ่งที่ยังไม่ได้ ก็เพราะความหวังที่ยังไม่สำเร็จนะ อันนี้ก็อีกส่วนหนึ่ง
ทีนี้ก็ ต่อไป แล้วทีนี้ กามนี่มันเป็นสุขประเภทที่เป็นวัตถุสิ่งบำรุงบำเรอข้างนอก ท่านเรียกว่า อามิส เป็นสิ่งภายนอก มันไม่ได้อยู่ในตัวเรานะ มันไม่ใช่ของสำเร็จในตัว ๆ ความสุขของเราก็ไปขึ้นต่อสิ่งอื่นภายนอกนะ ไม่เป็นอิสระของตัวเอง เมื่อเอาความสุขไปขึ้นกับสิ่งภายนอก มันก็กลายเป็นว่าเรานี่จะต้องเสียอิสรภาพไปนะ มองในแง่หนึ่งก็เหมือนกับเป็นทาสของสิ่งภายนอก ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องก็เป็นทาสจริง ๆ ถ้ารู้เท่าทันก็ดีไป ก็หมายความว่า ยังระวังตัวเองได้นะ บางคนก็จะกลายเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น ฝากชีวิตให้แก่สิ่งเหล่านั้น ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านั้นที่ตัว หวังความสุขแล้ว ไม่มีความสุขเลย ยังไม่ได้สิ่งนั้นแล้วมีแต่ความทุกข์ ไอ้ตอนนี้สิมันแย่ ตอนที่ว่า ความสุขไปอยู่กับสิ่งนั้นแล้ว ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้ว ตัวมีแต่ความทุกข์ ตัวเองไม่สามารถมีความสุขด้วยตนเอง ไม่เป็นอิสระ
อ้าว ทีนี้ ไอ้ มีอีก ต่อไปก็คือ เมื่อสิ่งนั้นเกิดแปรปรวนไป ตัวเองก็พลอยทุกข์ไปด้วยอีกนะ ทุกข์ไปเพราะสิ่งเหล่านั้น เพราะความแปรปรวน ทีนี้ก็ แล้วก็จริงอย่างนั้นอีก กับสิ่งเหล่านั้น ทั้งตัวเอง ทั้งสิ่งเหล่านั้น มันเป็นสังขาร เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไปตามกฎธรรมชาติ เป็นไปตามอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวเองก็แปรปรวนเป็นทุกข์ เออ เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงไปนะ สิ่งนั้นที่ตัวเองหวังความสุข ฝากความสุขไว้ให้ก็เปลี่ยนแปลงไป ในเมื่อทั้งสองฝ่ายก็มีความเปลี่ยนแปลงได้ บางทีตัวเองก็ไม่อยู่ในภาวะที่จะไปหาความสุขจากสิ่งนั้น บางทีสิ่งนั้น ตัวเองสามารถมีความสุข หาความสุขได้ แต่สิ่งนั้นเกิดแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปอีก ตัวเองก็ไม่สำเร็จผลที่ต้องการ ก็เกิดทุกข์ในทุกประการ อันนี้ก็เกิดจากเป็นความสุขที่ขึ้นต่อสิ่งภายนอก ไม่เป็นอิสระต่อตนเองนะ ก็นี่ก็เป็นลักษณะของ อามิสสุข
ทีนี้ เมื่อจุดเหล่านี้เป็นจุดที่มีความบกพร่อง เพราะฉะนั้น จะต้องหาหลักปฏิบัติให้ถูก ในเมื่อยังหากามสุข ก็จะได้มีความสุขได้อย่างดี อย่างมากที่สุด โดยมีความทุกข์น้อยที่สุด เมื่อความสุขประเภทนี้มีจุดอ่อน มีข้อบกพร่อง มีส่วนเสียอย่างนี้ ถ้าเราจะต้องการหาความสุขจากมัน เราก็ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติเพื่อให้มีความสุขได้อย่างดีที่สุด แล้วก็มีทุกข์น้อยที่สุด อันนี้แหละเป็นส่วนที่ธรรมะเข้ามา นี่มองแต่ในแง่ที่เกี่ยวกับตนเอง
ทีนี้ มองในแง่ของความสัมพันธ์กับคนอื่นและสิ่งอื่นภายนอก ปัญหาหรือส่วนเสียไม่จบแค่นั้น ทีนี้ ในเมื่อไอ้ความสุขที่เกิดจากกามนั้นเป็นสิ่งที่ไม่รู้จักพอ ไม่เต็มอิ่ม ก็วิ่งตามหากันอยู่เรื่อยไป ทำให้แสวงหาให้มากขึ้น ๆ ไอ้ตอนนี้จะเป็นปัญหาในการสัมพันธ์ระหว่างกัน เพราะว่าแต่ละคนก็จะต้องแสวงหาด้วยกัน แล้วต่างคนต่างก็ไม่พอด้วยกัน ไม่อิ่มด้วยกัน ฉะนั้น ก็ต่างคนต่างก็จะหาให้มากที่สุด แต่สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ภายนอกนี้มันมีจำกัด เพราะฉะนั้น คนก็จะขัดแย้งกันนะ ขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ ขัดแย้งในเรื่องกาม เมื่อขัดแย้งกันก็เกิดการทะเลาะวิวาท การแย่งชิง การเบียดเบียน การข่มเหง การครอบงำซึ่งกันและกัน มี ฉัน ??? (นาทีที่ 13:23) เป็นตัวเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนในสังคมมนุษย์ ฉะนั้น เราจะเห็นว่าความทุกข์ความเดือดร้อน ปัญหาต่าง ๆ ของมนุษย์นี่เกิดจากการแย่งชิงกามกันนี่มากมายเลยนะ ทีนี้ บางคนก็มีอำนาจ มีโอกาสเหนือผู้อื่น ก็ครอบงำ ใช้อำนาจบีบบังคับข่มเหงเพื่อรวบรวมเอามาให้มากที่สุด ก็นี่ก็เป็นปัญหาจากการเบียดเบียนกันระหว่างมนุษย์ แล้วก็ไอ้ที่ว่าไม่อิ่มไม่พอนี่ ทางพุทธศาสนาก็ให้หลักไว้มากมาย อย่างใน พระคัมภีร์ ??? (นาทีที่ 14:02) ก็มีพุทธภาษิต ก็คงนึกออกใช่ไหม ก็อย่าง ตณ นัตฺถิ ตัณหา สมา นที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี หมายความว่า แม่น้ำ มันยังมีวันเต็มตลิ่ง... ??? (นาทีที่ 14:14) แต่ตัณหานี่ไม่เต็มนะ หรือว่า อิจฺฉา (หิ) อนันฺต โคจรา ความปรารถนามีอารมณ์ไม่สิ้นสุดเลย หมายความว่า เดี๋ยวก็อยากได้สิ่งนี้ เดี๋ยวก็อยากได้สิ่งโน้น คิดคำนึงเรื่อยไปนะ แล้วก็ อะไร ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้จะเนรมิตภูเขาให้เป็นทองคำทั้งภูเขาก็ไม่พอแก่ความปรารถนาของบุคคลแม้คนเดียว ว่าอย่างนั้น เอาทองคำได้ภูเขานี้หนึ่งภูเขา เดี๋ยวก็อยากได้ภูเขาอีกนะ สมบัติเต็มโลกก็ไม่พอ
เพราะฉะนั้น อย่างเรื่องชาดกก็จะมีอีก เช่น อย่างเรื่องพระเจ้ามันธาตุราช อะไรอย่างนี้นะ ครองแผ่นดินเป็นจักรพรรดิทั้งโลกแล้วนะ ก็ได้สมปรารถนาว่า เออ มหากษัตริย์ไหนก็อยากจะได้ครองแผ่นดินเป็นจักรพรรดิยิ่งใหญ่ ได้เป็นจ้าวทั้งโลก พอเป็นจ้าวทั้งโลก ทางโบราณท่านเรียกว่า ครอบครองแผ่นดินจดมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็สบายไปพักหนึ่ง อิ่มใจไปเสีย ??? (นาทีที่ 15:20) พอนาน ๆ เข้า เบื่อล่ะสินะ เอ มันมีอะไรที่เรายังน่าจะได้มากกว่านี้นะ อันนี้ก็ บริวาร ข้าราชบริพารก็ทูลบอกว่า อือ สวรรค์สิพ่ะย่ะค่ะ ว่าอย่างนั้นนะ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ก็ตามเรื่องก็บอก เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่มีรัตนะทั้ง ๗ มีสัตรัตนะ ก็ต้องแผ่อำนาจ ก็ เอา หมุนจักรรัตนะไป พอถึงสวรรค์ชั้นโลกบาล ๔ ท้าวจตุโลกบาลก็ออกมาต้อนรับ พอทราบความประสงค์ก็เลยให้ครอบครองสวรรค์ชั้นจาตุม ทีนี้ ครอบครองไปก็สักพักหนึ่งก็เบื่ออีกแล้ว ไม่พออีกแล้วนะ เออ เล็กแค่นี้ไม่ได้ สวรรค์ดีกว่านี้ไม่มีหรือ ข้าราชบริพารก็บอกว่า มีสิพ่ะย่ะค่ะ ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์ อ้าว ก็หมุนจักรรัตนะไปต่อ พอถึงชั้นดาวดึงส์แล้ว พระอินทร์ทราบความปรารถนา ก็แบ่งสวรรค์ให้ครองครึ่งหนึ่งนั่นนะ พอได้ครองครึ่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นานเข้า ๆ ชักเบื่ออีกแล้วนะ แล้วก็อยากจะได้มากขึ้น แล้วทำอย่างไรจะได้สวรรค์ทั้งหมด แต่พระอินทร์นี่ขัดขวาง ชักคิดฆ่าพระอินทร์แล้วสินะ เอาละ นี่เป็นอย่างนี้นะ สิ่งที่ปรารถนาของมนุษย์นี่บางทีเป็นเหตุให้เราคิดทำลายต่อผู้อื่นได้ง่าย ๆ ที่สุด เพราะว่าเป็นสิ่งที่ขัดขวาง ก็คิดจะฆ่าพระอินทร์ ทีนี้ ตามหลักท่านบอกว่า มนุษย์นี่คิดฆ่าเทวดาไม่ได้นะ เพราะว่าไม่สามารถจะฆ่าได้... ??? (นาทีที่ 17:06) ไอ้ความคิดนี้ก็ทำให้ เมื่อความปรารถนานี้มันมีติดขัดข้อง มันก็ทำให้เกิดความมัวหมอง จิตใจก็หม่นหมองไป จิตใจที่หม่นหมองเกิดความคับข้องก็ทำให้โทรมนะ พระเจ้ามันธาตุราชก็เลย ร่างกายก็เลยพลอยโทรม แล้วก็เลยจะสิ้นนะ กลายเป็นสิ้นอายุไป ทีนี้ มนุษย์จะตายในสวรรค์ไม่ได้ด้วย นี่ก็จะสิ้นอายุก็เลยต้องตกจากสวรรค์ หล่นตุ๊บลงมานะ หล่นจากสวรรค์ลงมาในสวน... ??? (นาทีที่ 17:43) ลงมาในสวน ก็ในพระราชอุทยาน ตอนนั้นเวลามันผ่านไปไม่รู้เท่าไรแล้วนะ ลูกหลานพระเจ้ามันธาตุราชก็ตายหมดแล้ว ไม่รู้มาถึงเหลนขั้นที่เท่าไรแล้วนะ ก็พระเจ้ามันธาตุราชทรงหล่นลงมาในพระราชอุทยาน พวกคนในวังก็มาเจอก็ถาม อ้าว เป็นอย่างไร เป็นใคร ก็บอกให้ทราบ ก็ฝากคำไว้ท้าย ๆ บอกว่า เรานี่คือมันธาตุราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนะ ได้ครองมนุษย์ จบแล้วยังไม่พอ ยังได้ขึ้นไปครองสวรรค์ แต่ก็ยังไม่พอ เช่นนั้นเอง ตายครั้งนี้ยังไม่พอนะ ก็เลยจบลงด้วยคำที่ว่า ตายก็ยังไม่พอ
วาทะของพระเจ้ามันธาตุราชก็คือจุดสุดท้ายที่บอกว่า ก็ตายลงทั้งที่ยังไม่พอ ...??? (นาทีที่ 18:41) ตายลงโดยตัวเองยังไม่อิ่มนะ อันนี้ก็เป็นคติสอนใจให้รู้ว่าเรื่องกามนี่จะให้เพียงพอ ให้อิ่มไม่ได้ จะให้ความสุขที่ถึงความบริบูรณ์หรือสมบูรณ์นั้นไม่ได้ มันก็จะเป็นเรื่องของการวิ่งไล่ตามอยู่เรื่อยไป ก็อยู่ที่การที่จะวางใจให้ถูกต้อง ถ้ามิฉะนั้นแล้วก็จะเกิดปัญหาทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น ตนเองก็จะมีความทุกข์ความเดือดร้อน ได้มาแล้วก็ถ้าทำใจไม่ถูกต้อง ทรัพย์สมบัติก็มีความหวงแหน ตระหนี่ ตัวเองก็เป็นทุกข์เพราะสิ่งที่ตัวได้มานะ แล้วก็ไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ และยังก่อความเดือดร้อนแก่เพื่อนมนุษย์ด้วย แล้วถ้าหากว่าเรารู้จักปฏิบัติตามหลักธรรมะแล้ว เราก็อาจจะพลิกผันสิ่งเหล่านี้มาทำให้เกิดคุณประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้มันจะยังมีโทษอยู่บ้างก็น้อยลงไป
ทีนี้ ในเมื่อมันมีโทษอย่างนี้แล้ว เราก็พยายามที่จะป้องกันหรือว่าทำให้มันน้อยลงที่ว่านี่ พระพุทธเจ้าก็เลยสอนหลักไว้ว่า อันแรกเลย เพื่อเป็นหลักประกันไว้ก่อน เพื่อให้มนุษย์นี่แต่ละคนมีทางจะได้ความสุขในชั้นกามนี่กันบ้างพอสมควร ไม่เดือดร้อนเกินไป แล้วก็ไม่แย่งชิงข่มเหงกันจนกระทั่งกลายเป็นว่า คนบางคนได้ แต่คนส่วนใหญ่ต้องเดือดร้อนเหลือเกิน หรือว่าตัวคนนั้นเองต่อไปก็ต้องเดือดร้อนเองในที่สุด ก็เลยวางหลักความสัมพันธ์ระหว่างกันที่เรียกว่า ศีล ๕ ขึ้น
ศีล ๕ นี่ก็เป็นหลักประกัน เป็นมาตรฐานความประพฤติสำหรับเป็นกรอบให้แก่มนุษย์ที่ยังอยู่ในระดับกามนะ ศีล ๕ นี่สำหรับชีวิตในระดับกาม คือถ้ามนุษย์ยังแสวงหากามกันอยู่ หาทรัพย์สินสมบัติอะไรต่าง ๆ สิ่งบำรุงบำเรอ แต่ถ้ายังอยู่ในศีล ๕ ก็ยังพออยู่กันได้ ยังพอมีความสุข แต่ละคนก็พอได้นะ ได้บ้าง ถึงมันจะมีทุกข์มีอะไรก็ตามเรื่องของมัน ให้เป็นแค่ตามธรรมชาติของมัน อย่างเช่นว่า ทุกข์เพราะว่าไอ้สิ่งนี้มันเป็นสิ่งภายนอก ไม่เป็นอิสระในตัว ต้องขึ้นต่อมัน อย่างนี้ มันธรรมดา ตามธรรมชาติ ศีล ๕ ไปช่วยไม่ได้หรอกนะ ศีล ๕ ก็ช่วยแค่ว่า เออ แต่ละคนเขาก็อยากได้นะ ก็ให้เขามีโอกาสบ้าง แต่ละคนก็หากันไป ศีล ๕ ก็เป็นเกราะกันไว้ให้แต่ละคนพอได้บ้าง ได้กามกันมา ไม่เดือดร้อนกัน โลกไม่ถึงกับลุกเป็นไฟนะ เพราะฉะนั้น ศีล ๕ ก็เป็นกรอบความประพฤติสำหรับให้มนุษย์ที่แสวงหากามนี่พออยู่กันไปได้ มีความสงบสุขพอสมควร เป็นหลักประกันสำหรับสังคม
ทีนี้ ต่อไปนี้แล้วมันก็เป็นเรื่องทางด้านจิตใจแล้ว พอมีศีล ๕ แล้วก็ เป็นเรื่องก็ ??? (นาทีที่ 21:42) ทีนี้ ตัวเองไอ้ที่จะมีความทุกข์หรือไม่สุขจริงเพราะกามอะไรนี่นะ จะทำอย่างไรให้เป็นเรื่องของข้อปฏิบัติสูงขึ้นไป ทีนี้ มันก็อยู่ที่ว่าจะต้องรู้จักความสุขอย่างอื่นบ้างมาช่วย ถ้าหากว่ามีความสุขอย่างอื่นมาช่วยแล้ว มันก็จะทำให้มาแก้ปัญหาเรื่องความทุกข์จากกามไปได้
ทีนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า มันยังมีความสุขประเภทอื่นอีก ความสุขของมนุษย์นี่ไม่จำเป็นต้องขึ้นต่อวัตถุภายนอกอย่างเดียว มนุษย์สามารถมีความสุขที่เป็นภายในของตนเอง ที่เป็นอิสระ ที่อยู่ในตัวเอง หาความสุขได้โดยลำพัง ตัวเองอยู่ที่ไหนก็หาความสุขอย่างนี้ได้โดยไม่ต้องไปฝากไว้กับสิ่งภายนอก อันนี้ก็จะเป็นความสุขระดับสูงขึ้นไป
ซึ่งถ้าเทียบกับระดับที่หนึ่ง ระดับที่หนึ่งเขาเรียกว่า ความสุขที่เกิดจากกามนี่ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สามิสสุข สามิส ก็คือ ประกอบด้วยอามิส สามิส ก็ประกอบคือ สห กับ อามิส ประกอบด้วยอามิส ก็คือ วัตถุหรือสิ่งเสพ
ทีนี้ คู่กับ สามิสสุข สุขที่อาศัยอามิส ซึ่งเป็นสุขระดับกาม มันก็เกี่ยวพันอยู่กับตัณหานี่ ก็คือ นิรามิสสุข สุขที่ไม่ต้องอาศัยอามิส คือ สุขที่ไม่ขึ้นต่ออามิส เป็นสุขที่อยู่ที่จิตใจเป็นสำคัญนะ
ทีนี้ ท่านก็บอกว่า ถ้ามนุษย์ไม่มัวแต่เอาใจไปวุ่นอยู่ข้างนอก วุ่นวายฟุ้งซ่านในการคิดแสวงหานี่ รู้จักทำให้จิตใจสงบบ้างนี่ มนุษย์จะได้ความสุขอีกประเภทหนึ่ง เพียงแต่ว่า แต่มัน ที่จริงความสุขประเภทนี้มนุษย์ก็มีบ้างแล้ว แต่บางทีก็ไม่รู้ตัวนะ มันเป็นความสุขที่เกิดจากจิตใจตัวเองนะ ที่เกิดจาก อ้า อย่างน้อยก็เกิดจากคุณธรรมในจิตใจ เช่นว่า มนุษย์อยู่ด้วยกันเองนี่ก็เริ่มมีความสุขประเภทนี้ ถ้ามนุษย์ไม่คิดแต่จะเอาเพื่อตัวเอง แล้วก็คิดแสวงหาเบียดเบียนกัน มองคนอื่นเป็นตัวขัดแย้งผลประโยชน์ มนุษย์เริ่มมองกันถูกต้อง ก็มีไมตรี บางทีมนุษย์ก็ช่วยเหลือกันนะ มนุษย์ช่วยเหลือกัน ให้ต่อกัน แล้วเกิดความซาบซึ้งใจนะ เกิดความรัก อยากจะให้เขามีความสุข ช่วยเขา เอ บางทีไอ้ตัวคุณธรรมในใจตัวเองทำให้ตัวมีความสุขนะ คือตัวความรัก ความเมตตา ทำให้คนมีความสุขได้นะ
ทีนี้ ก็กลายเป็นว่า ความสุขไม่จำเป็นจะต้องเกิดจากการที่ไปเอามาให้แก่ตัวเองอย่างเดียว เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันนี่ มนุษย์มีคุณธรรม แล้วก็ปรารถนาดีต่อกัน แล้วก็กลายเป็นว่า บางทีให้แก่เขาก็มีความสุข เออ เฮ้ย ถ้ามนุษย์พัฒนาขึ้น มีคุณธรรมขึ้น มันเปลี่ยน
ฉะนั้น เราจะเห็นได้ เช่น พ่อแม่ พ่อแม่รักลูก นี่เป็นตัวอย่างที่เอาจากธรรมชาติมา มาเป็นเครื่องเปรียบเทียบ พ่อแม่รักลูก ธรรมดามนุษย์จะมีความสุขเมื่อได้เมื่อเอาให้แก่ตนเอง เอ แต่พ่อแม่นี่ให้แก่ลูกก็มีความสุขนะ แล้วเห็นลูกมีความสุข พ่อแม่ยิ่งมีความสุขหนักเข้าไปอีกนะ ไอ้ความสุขนี่เกิดจากอะไร เกิดจากจิตใจ จิตใจที่มีเมตตา มีความรัก เมื่อรักแล้วก็ต้องการให้คนอื่นมีความสุข เมื่อต้องการให้เขามีความสุข แล้วเห็นเขามีความสุข ตัวเองก็มีความสุข ความสุขเกิดจากการให้ เพราะฉะนั้น มันตรงข้ามเลย แทนที่จะต้องเอามานะ แล้วจึงจะมีความสุข กลายเป็นว่า สามารถให้เขาแล้วมีความสุขได้ แต่อันนี้ต้องมีคุณธรรมในใจขึ้นมาแทน แทนที่จะมีตัณหาที่เอาเข้าตัว กลายเป็นต้องมีสิ่งที่ตรงข้ามกับ (คือ) คุณธรรม เช่น เมตตา เมื่อมีความรักความปรารถนาดีแล้ว ต้องการให้เขามีความสุข พอให้แก่เขา ตัวเองก็มีความสุขได้ เพราะเห็นเขามีความสุข แบบที่ยกตัวอย่าง ก็คือ พ่อแม่
ทีนี้ ถ้าจิตใจเราขยายออกไป ไม่เฉพาะความรักที่มีในฐานะเป็นพ่อแม่ แต่มีในฐานะอย่างอื่น เช่นว่า อ้าว จะขยายไปเป็นพี่น้องนะ พี่น้องถ้ารักกันก็สามารถมีความสุขจากการให้แก่กันนะ ถ้าไม่รักกันก็สุขไม่ได้นะ ต้องเอา ทีนี้ ถ้าพี่รักน้อง พี่ก็สามารถให้แก่น้องแล้วพี่ก็มีความสุข ถ้าน้องรักพี่ น้องก็สามารถให้แก่พี่แล้วก็มีความสุข อ้าว ถ้ารักเพื่อน ก็สามารถให้แก่เพื่อนก็มีความสุขนะ ทีนี้ ๆ ถ้าแผ่ความรักความเมตตานี้ออกไปเล่า ถึงเพื่อนมนุษย์ สัตว์ทั้งหลายอื่น ก็สามารถให้แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น ให้แก่เพื่อนมนุษย์อื่น ก็มีความสุขได้สิ ใช่ไหม ฉะนั้น เริ่มมีความสุขชนิดใหม่
สุขชนิดนี้มันตรงข้าม แทนที่จะต้อง เอาอามิส ก็กลายเป็นว่า ให้อามิส ให้แก่คนอื่น ทำให้คนอื่นมีความสุข ฉะนั้น จะให้วัตถุแล้ว ทำด้วยประการใดก็ตาม ใช้เรี่ยวแรงกายหรืออะไรก็ตามที่จะทำให้เขามีความสุขก็ทำให้ตัวเรามีความสุขด้วย อันนี้ก็เป็นความสุขที่ชักจะขึ้นต่อวัตถุภายนอกน้อยลง
พอต่อมาก็มาในภายในตัวเอง ตัวเองสงบจิตสงบใจ ไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เห็นธรรมชาติงดงาม ไม่ต้องเอาอะไรก็มีความสุขได้ ทีนี้ จิตใจสงบผ่องใส มองเห็นด้วยปัญญา เห็นความจริงของสิ่งทั้งหลาย จิตใจก็ปลอดโปร่งผ่องใสก็มีความสุข ใช่ไหม เอ ความสุขนี่มันชักจะมีมากขึ้น ถ้าใจไม่ไปพลุ่งพล่าน มัวแต่จะแสวงหาอย่างนั้นก็สามารถมีความสุขได้เพิ่ม ??? (นาทีที่ 27:36) อันนี้ก็เป็นความสุขภายใน
ทีนี้ จิตใจของคนเรานี่ก็มันสามารถที่จะเข้าถึงคุณวิเศษอะไรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก ทีนี้ ก็มีผู้ที่แสวงหาความสุขทางจิตใจก็เลยเห็นว่าจิตใจสงบแล้วมันมีความสุข ก็ไปพยายามฝึกจิตใจ ปรากฏว่ามันมีระดับของความสงบของจิตใจที่เรียกว่า สมาธิ หลายระดับ ก็เข้าถึงสมาธิแล้วก็มีความสุข เอ๊ะ ตอนนี้ชักได้ความสุขโดยไม่ต้องอาศัยอามิส ไป ๆ มา ๆ ไม่เอาแล้วทีนี้นะ เกิดติดใจ มีความสุขจากไอ้เรื่องสมาธิ เรื่องทำ ฝึกจิตนี้มาก กลับเป็นอันว่า ไอ้ความสุขทางอามิสทางกามนี่ไม่จำเป็นเลยนะ ก็พอใจในความสุขทางจิต แต่ความสุขระดับนี้ก็เป็นความสุขที่อยู่ในเรื่องนิรามิสนั่นแหละ เกิดจากการฝึกจิต เป็นพวกสมาธินะ เป็นพวกสมาธิ ได้สมาธิขั้นสูงก็ได้ ฌาน นะ ได้ฌานต่าง ๆ ซึ่งมีหลายขั้น มีฌานระดับต้นก็มี ๔ ขั้น เออ ท่านเรียกชื่อเฉพาะว่า รูปฌาน ๔ ซึ่งเสร็จแล้ว เหนือจากนั้น บางคนฝึกต่อไปได้ฌานสูงขึ้นไปอีก จนได้ อรูปฌาน ๔ ก็เป็นความสุขระหว่าง ระดับฌาน ระดับฌาน เรื่องสมา เกิดจากสมาธิ แล้วมีสมาธิเป็นแกน ...ใน ??? (นาทีที่ 29:02) ศัพท์เฉพาะ ท่านเรียกว่า รูปาวจร อรูปาวจร รูปาวจร ก็แปลว่า ท่องเที่ยวไปในรูปธรรม อรูปาวจร ท่องเที่ยวไปในอรูปธรรม ก็เลยมาเรียกความสุขระดับต้นที่ขึ้นต่ออามิสเรื่องกามว่า กามาวจร แปลว่า ท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกาม นะ
ทีนี้ หมายความว่า ทีนี้ แยกระดับกันแล้ว มีความสุขที่สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เป็นระดับ กามาวจร เอ๊ย จากระดับ กามาวจร มาเป็น รูปาวจร อรูปาวจร นะ รูปาวจร นี้ก็เป็น ยังอาศัยรูปธรรมนะ ที่ใช้ในการบำเพ็ญเพียรทางจิตนะ แต่ว่าไม่ใช่เรื่องกามแล้ว ไม่ใช่เรื่องของการที่ไปแสวงหาอามิสมาเสพเพราะมีตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้ว มันเป็นเรื่องจิตแล้ว ไม่อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เป็นเรื่องกาม แต่อยู่ที่รูปธรรมที่ใจไปจับยึด ก็เป็นอันว่า มนุษย์ก็ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มีความสุขอีกอย่างหนึ่ง ทีนี้ ความสุขระดับนี้บางคนก็ถึงกับทำให้ปลีกออกจากกามไปเลย
สำหรับคนทั่วไปนี่ ถ้ามีความสุขระดับนี้มาช่วยแล้วนี่ จะทำให้การแสวงหากามของเขานี้ไม่เกิดโทษทุกข์ภัยมาก เพราะว่าเขามีความสุขอยู่ในตัวพอสมควรแล้ว เขาสามารถมีความสุขได้ ไอ้ความสุขระดับกามก็เป็นเครื่องประกอบนะ ก็ไม่ทำให้เขาดิ้นรนทะยานหามาก คือถ้าคนไม่มีความสุขอยู่ข้างใน ความสุขไปขึ้นต่อไอ้ข้างนอก มันก็ต้องหาเต็มที่แหละ ใช่ไหม ต้องหาให้สุดเหวี่ยง แต่ทีนี้ พอมันมีสุขในภายในแล้ว ไอ้ข้างนอกมันได้(หรือ)ไม่ได้ มันก็เป็นส่วนประกอบเสริม ฉะนั้น ก็มีความคิดคำนึงมากขึ้นว่า เออ หาความสุขจากกาม อย่าไปให้เดือดร้อนคนอื่นเขานะ อย่าไปเบียดเบียนเขานะ หรือตัวเองนั่นอีกแหละนะ ถ้าหาความสุขจากกาม ถึงกับต้องไปลำบากลำบนมากมายก็ไม่เอา ใช่ไหม ทำให้เสียหาย ทีนี้ ตอนนี้ก็เท่ากับมีตัวคานขึ้นมา ทำให้มีสมดุลขึ้นแล้ว คนมีความสุขระดับจิตมาช่วย การแสวงหากามก็ไม่เกิดทุกข์โทษภัยมากนัก ท่านก็ไม่ว่า ก็ดีขึ้นแล้วตอนนี้ ก็เป็นอันว่าให้มีส่วนจิตมาช่วยบ้าง ให้มีความสุขจากเมตตาไมตรีบ้าง ให้มีความสุขจากศรัทธานะ เช่น มีศรัทธาในพระศาสนา จิตใจได้นึกถึงบุญถึงกุศลก็สบายใจขึ้นมาอะไรแบบนี้นะ ก็เรื่องกามก็จะบรรเทาเรื่องทุกข์ภัยเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่นลง
ทีนี้ บางคนก็สลัดออกเลย ไปเป็นฤๅษี โยคี นะ อย่างในสมัยอินเดียสมัยโบราณก็เข้าป่าไปบำเพ็ญเพียรทางจิต เป็นฤๅษี โยคี ดาบส ไม่เอาเรื่องเอาราวแล้วนะ โลกนี้ตัดเลยนะ ไปอยู่คนเดียวนะ ไปกินเผือกกินมันอะไรต่าง ๆ ไป หาความสุขทางจิตใจ เอา แล้วก็มาเป็นว่า ถึงระดับสอง
ทีนี้ เอ ความสุขระดับสอง พิจารณาไปพิจารณามา มีโทษได้เหมือนกันนะ คือบางคนนี่ก็พอได้ความสุขทางจิต เช่น สมาธิ ได้ฌานนี่ก็ติดใจ อย่างที่ว่าไม่เอาเรื่องเอาราวแล้ว ต่อโลกต่อสังคมนี่ตัดขาด ปลีกตัวจากสังคม หลีกเร้นเลย บางทีกลายเป็นหนีสังคม ไม่เอาเรื่องเอาราว ไม่คิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้น ใช่ไหม ใจสุขสบายได้ก็ พอแล้วฉัน นะ ไม่ยุ่งไม่เกี่ยว เอ อย่างนี้แล้ว ทีนี้ ไอ้สุขประเภทนี้นั้น ตัวเองก็ติดอยู่กับความสุข แล้วถ้าเกิดมีอะไรขึ้นมาภายนอก ถ้ามีเรื่องภายนอก บางทีชีวิตของเราก็มีเรื่องภายนอกที่มันไม่ใช่เฉพาะความสุขภายใน เวลาเรื่องภายนอกที่ต้องเกี่ยวข้อง พอออกจากสมาธิ ออกจากสมาธิมา มาผจญกับเรื่องภายนอก เกิดทุกข์ได้อีก พวกนี้นะ อยู่ในสมาธิก็สุข แต่พอออกมาผจญเรื่องราว ก็มีความทุกข์ ...ได้ ??? (นาทีที่ 33:09) แล้วถ้าเกิดกิเลส เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ขัดแย้งกับคนอื่นได้ มีปัญหาได้นะ แล้วก็ไม่แก้ปัญหาเท่าที่ควร ก็พระพุทธเจ้าบอกว่า มันยังมีโทษอยู่ ความสุขระดับนี้นะ ความสุขระดับจิต ระดับพวกสมาธิอะไรพวกนี้ ยังไม่พอ ยังไม่ทำให้เป็นอิสระแท้จริงนะ แล้วก็ยังต้องขึ้นต่อมันลึก ๆ ในแง่ของจิตใจ ...??? (นาทีที่ 33:38)
พระพุทธเจ้าก็มาเล็งเห็นพวกนี้ เพราะว่าพระองค์เกิดในสมัยนั้นก็เคยเห็นพวกโยคี ฤๅษี ดาบส แกหลีกเร้นไป แกได้ฌานขั้นสูง ๆ แล้ว พระพุทธเจ้าก็เห็นโทษ มันทำให้ติดได้ แล้วก็แถมทำให้ไม่แก้ปัญหาให้จบสิ้น ไม่ทำให้ตัวเป็นอิสระแท้จริง พระพุทธเจ้าก็เลยค้นคว้า ที่บำเพ็ญเพียรต่อมาก็คือมาถึงขั้นนี้ ที่รู้เข้าใจความจริงของโลกและชีวิต รู้เท่าทันสังขารนะ แล้วให้ปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นถูกต้อง แม้แต่ทุกขณะ เมื่อมีปัญญารู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงแล้วนี่ ในที่สุดนี่มันจะปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆ ถูกต้องในแต่ละเวลานั้น ในขณะนั้น ปัจจุบันนั้น เสร็จไปเลยนะ คือไม่ทำให้เกิดทุกข์เกิดปัญญาขึ้นในสิ่งที่ตัวเกี่ยวข้อง สิ่งที่ตัวเข้าไปเกี่ยวข้องแต่ละอย่างไม่ทำให้เกิดโทษทุกข์ปัญหาขึ้นเลย
นี่ก็ด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลายเท่าทัน อย่างที่เราเรียนเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่ เราจะเรียนลึกเป็นระดับใช่ไหม อย่างที่พูดเรื่องอนัตตานี่ รู้เท่าทันจนกระทั่งไม่สร้างกระแสตัณหา ไม่ทำให้เกิดตัวตนอัตตาขึ้นมารับกระทบ เป็นต้น เพราะฉะนั้น แม้แต่ในแต่ละขณะนี่ รับรู้ประสบสิ่งต่าง ๆ ก็ไม่เกิดปัญหา ไม่เกิดให้ ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ แล้วก็มีความปลอดโปร่งผ่องใสของจิตใจได้ตลอดเวลา พอจิตใจเป็นอิสระอย่างนี้ มันก็เบิกบานผ่องใสตลอดเวลาไปเลย ถ้าพวกนี้มีความสุขด้วยปัญญาที่เป็นอิสระ ปลอดโปร่งเบิกบานผ่องใส เรียกว่าหลุดพ้นจริง ๆ ฉะนั้น มันไม่เกิดปัญหา ไม่เกิดทุกข์ ท่านเรียกว่า พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ท่านเรียกว่า ภาวะไร้ทุกข์ คือไม่เกิดทุกข์ถึงขั้นนิโรธ
นิโรธนั้น เราแปลกันว่า ดับทุกข์ มันชวนให้เข้าใจผิด คือนิโรธไปแปลว่าดับทุกข์ ก็นึกว่าไอ้ทุกข์มันเกิดแล้วถึงไปดับนะ ความจริง ความหมายของท่าน นิโรธ แปลว่า การไม่เกิดขึ้นแห่งทุกข์ หมายความว่า ทุกข์มันไม่เกิดขึ้นเลยนะ อันนี้คือนิโรธที่แท้จริง แต่ภาษาไทยนี่ก็ทำให้ยุ่งเหมือนกันนะ แปลว่า ดับทุกข์ ๆ ก็นึกว่าทุกข์เกิดแล้วก็ค่อยดับ
ก็เป็นอันว่า ถึงความหมายที่แท้จริงแล้วก็ทำให้ทุกข์ไม่เกิดขึ้นเลย ตัณหาไม่เกิดขึ้นเลย ไม่ทำให้อะไรเกิดปัญหาขึ้น ถ้ามีปัญหาก็แก้ได้ แล้วทีนี้ พอมีความปลอดโปร่งเบิกบานผ่องใสอย่างนี้แล้วนี่ มันก็จะมีผลกลับมา ทีนี้ ถ้าตัวเองจะมีความสุขอะไร ไอ้ความสุขนั้นมันก็ปลอดโปร่งเต็มที่
ทีนี้ มองดูคนที่แสวงหากามนี่ จิตของเขาบางทีมันมีอะไรมันเป็นหลักเป็นตอ มันทิ่มมันแทงใจอยู่ การหาความสุขอันนั้น แม้แต่กาม...เอง ??? (นาทีที่ 36:27) ตัวเองก็ไม่มีความสุขเต็มที่หรอก มันมีอะไรขวาง ๆ อยู่ ก็ไปอย่างนั้นนะ หาไปเรื่อย ๆ แม้แต่คนที่เข้าสมาธิอะไรต่าง ๆ นะ ไอ้กิเลสมันก็ยังตำลึก ๆ อยู่ มันหม่นหมองอะไรต่ออะไร ก็สุขไม่เต็มที่
ทีนี้ พอเรามีปัญญาบริบูรณ์ จิตเป็นอิสระแล้ว มันไม่มีอะไรแล้วขวาง จะหาความสุขอะไรมันก็สุขเต็มที่บริบูรณ์ไปเลยนะ แล้วกลับมาช่วยให้ความสุขประเภทต้น ๆ ดีไปด้วย สมบูรณ์ไปด้วย ทีนี้ ตอนนี้ ถึงตอนนี้ ถ้าตัวเองมีความสุขอื่น ก็ความสุขนั้นก็บริบูรณ์นะ แต่ทีนี้ ถ้าหากว่าต้องการแสวงหาความสุขจากกาม มันก็สบาย แต่ทีนี้ว่า มันก็อยู่ที่ตัวเขาแล้ว เขาเกิดได้มีความสบายที่สูงขึ้น เขาเกิดเลิกไม่เอาความสุขจากกามก็เป็นเรื่องของเขา มันเป็นเพราะจิตของเขาถึงระดับอย่างนั้นเอง พระพุทธเจ้าก็เคยตรัสไว้
พระพุทธเคยตรัสเรื่องนี้กับพราหมณ์ชื่อ มาคันทิยะ นะ แต่ทีนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า ตรัสถึงกามสุขนี่ขึ้นมา แล้วพระองค์ก็บอกว่าได้รู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไป ถ้าพระองค์ไม่รู้จักความสุขที่ประณีตพระองค์ก็ไม่สามารถยืนยันพระองค์ได้ จะไม่เวียนกลับมาหากามนะ แต่นั่นเป็นเพราะพระองค์ได้ความสุขที่ประณีตกว่า พระองค์ก็เลยไม่เวียนกลับมา ใช่ไหม อันนี้เป็นเพราะ เป็นภาวะจิตของท่านอย่างนั้นเอง ท่านไม่ต้องการ
เปรียบเหมือนอย่างกับว่า เมื่อเป็นเด็ก ๆ นะ ก็เล่นวัตถุสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ มากมาย แล้วก็หลงใหลกับไอ้เรื่องเครื่องเล่นเหล่านั้นนะ ที่เป็นวัตถุ เอาเป็นเอาตายกับสิ่งเหล่านั้นนะ ใครจะมาแตะบางทีไม่ได้ ใช่ไหม รักมากอะไรแบบนี้ ความสุขก็อยู่กับเครื่องเล่นเหล่านั้น ทีนี้ พอเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่นี่ จิตใจก็เปลี่ยนแปลงไปนะ ไอ้สิ่งที่ให้ความสุขก็เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นนะ เป็นเรื่องของวัตถุ ทรัพย์สินเงินทอง อะไรต่าง ๆ ทีนี้ มามองดูของเล่นที่เคยเป็นเด็ก ไอ้ที่ตัวเคยหลงใหล มีความสุขขึ้นต่อมัน ตอนนี้เห็นเด็กเล่นแล้วก็หวงแหนอะไรต่ออะไร ขำ ใช่ไหม นะ ขำว่าเด็กมายุ่งหลงใหลกับเรื่องเหล่านี้ ตัวเองก็ไม่รู้สึกว่าจะต้องไปติดอะไรกับไอ้เรื่องเครื่องเล่นเหล่านี้ จิตมันเปลี่ยนระดับ ทีนี้ ก็มาหลงใหลกับอย่างอื่นต่อไปแทน
ทีนี้ ในทำนองเดียวกัน ถ้าจิตนี้มันเจริญพัฒนาเลยต่อไปอีก ก็เป็นอริยะนะ นั่นก็คือว่า ผ่านจากปุถุชนไปเป็นอริยะ พอไปเป็นอริยชน เป็นพระอรหันต์ มองกลับมา เห็นปุถุชนนั้นหลงใหลกับวัตถุทรัพย์สินเงินทองแบบนี้ ก็เหมือนกับว่าผู้ใหญ่ที่มองเห็นเด็กหลงเครื่องเล่นนะ จิตมันจะพ้นไปอีกระดับหนึ่ง
ก็เป็นอันว่านี่คือเป็นเรื่องของการพัฒนาจิตใจของมนุษย์ ทีนี้ ถ้าเรายังไม่ถึง เราก็นึกว่า เอ๊ะ พระอรหันต์ท่านจะไปมีความสุขอะไร อะไรทำนองนี้นะ เพราะจิตมันผ่านไปแล้ว ฉะนั้น มองคนละแบบนะ โลกทัศน์ ชีวทัศน์มันเปลี่ยนแปลงไป อันนี้ก็เป็นอันอยู่ที่ว่า การพัฒนาจนกระทั่งระดับนี้เรียกว่าระดับปัญญา ระดับปัญญา ระดับปรมัตถ์ นะ ที่ทำให้จิตเป็นอิสระ เป็นตัววิมุตติ ความหลุดพ้น หรือ อิสรภาพโดยสมบูรณ์
ก็เป็นอันว่านี่ก็ ความสุขก็มีได้หลายระดับ มีความสุขระดับกาม ซึ่งเป็นสามิสสุข แล้วก็มีระดับจิตใจ เรื่องของสมาธิ เรื่องของฌาน เป็นรูปาวจรก็ตาม อรูปาวจรก็ตาม แล้วก็เป็นนิรามิสสุข แล้วต่อไปมีความสุขระดับปัญญา ระดับอิสรภาพ วิมุตติ ซึ่งเป็นนิรามิสสุขเหมือนกัน แต่เป็นนิรามิสสุขอีกระดับหนึ่งนะ ที่เหนือขึ้นไป คือหลุดพ้น แต่บางทีอาจจะเรียก บางทีท่านก็ใช้ศัพท์อื่น จะเป็นทำนอง นิรามิสตร อะไร อย่าไปยุ่งเลย ศัพท์เหล่านั้นนะ ไม่ต้องไปยุ่ง จะทำให้สับสน ก็เป็นอันว่าเป็นความสุขที่ถึงขั้นเป็นอิสระ หลุดพ้นก็แล้วกันนะ
นี่ก็เป็นเรื่องของความสุขของมนุษย์ที่อยู่ที่มนุษย์รู้จักพัฒนาตนเอง อันนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เมื่อพัฒนาไปแล้วมันก็เกิดเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง แล้วก็เป็นประโยชน์ต่อสังคมที่อยู่ร่วมกันไปด้วย พระพุทธเจ้าก็สอนให้มนุษย์เห็นว่าเรานี้มีวิธีหาความสุขได้หลายอย่าง แล้วก็เส้นทางที่จะนำไปสู่ประโยชน์สุขที่แท้จริง เป็นแก่นสารแก่ชีวิต แล้วก็เป็นประโยชน์แก่สังคมไปด้วย เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยดี แล้วก็ทุกคนก็จะได้ประโยชน์ ได้สิ่งที่ดีงามเต็มที่ ก็เป็นอันว่า ความสุขระดับที่หนึ่ง แสวงหากามนี่ อย่างน้อยต้องมีศีล ๕ เป็นหลักประกันไว้ ถ้านอกจากนั้นก็เอาทานมาช่วยอีกนะ ทานมาช่วยเพื่อมนุษย์จะได้เกื้อกูลกัน แล้วทานนี่จะเป็นตัวช่วยพัฒนา ถ้าเราทำใจถูก เราจะเป็นตัวสื่อให้เข้าถึง นิรามิสสุข ที่เป็นสุขขั้นที่สอง ที่ไม่ต้องอาศัยอามิส ที่เกิดจากการที่ว่าเรามีเมตตาแล้วก็รักคนอื่น ให้เขา แล้วเราทำใจถูก เราได้ความสุขจากการให้ด้วย ทีนี้ ถ้าทำใจไม่เป็น ทานก็กลายเป็นว่าให้ไปเพื่อหวังผลประโยชน์โน้นนี้อย่างนี้ อันนั้นนี่ก็เป็นทานที่ทำให้พลาดได้
ทีนี้ ถ้าเราทำถูกนี่ ทานมันก็เป็นตัวที่เชื่อมโยงเราไปหาความสุขประเภทที่ไม่ต้องอาศัยอามิสนะ ทำให้คนอื่นมีความสุข เราก็มีความสุขของเรา ได้เกิดจากคุณธรรม แต่ทานนี่ ในขั้นกามเองมันก็ช่วยให้มนุษย์อยู่กันเป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันทรัพย์สิน แบ่งปันกามกัน
เพราะฉะนั้น ศีล ๕ ก็เป็นหลักประกัน แล้วก็มีทานมาช่วย นอกจากนั้นก็มีคุณธรรมอื่น ๆ มาเป็นตัวโยงเข้าหาความสุขขั้นที่สอง เป็น นิรามิสสุข เป็นสุขทางจิตใจ ก็ความสุขทางจิตใจก็เลยต้องอาศัยข้อปฏิบัติ ที่เรียกว่า ศีล ๘ นี่ อันนี้ไม่ใช่ตัวประกอบแล้ว กลายเป็นตัวเครื่องช่วย อย่างที่เคยอธิบายแล้วว่า ศีล ๘ นี่ก็มาช่วยให้เรารู้จักเป็นอิสระต่อสิ่งภายนอกมากขึ้น ความสุขไม่ต้องอาศัย อะไรเล่า ดนตรีมากนัก ไม่ต้องอาศัยเครื่องประดับแต่งกาย ไม่ต้องอาศัยที่นอนสบาย ๆ นะ ไม่ต้องอาศัยอาหารตามชอบใจหรือตามพอใจ รู้จักหาความสุขโดยที่ว่าทำให้จิตใจ ให้ตัวเองเป็นอิสระต่อวัตถุมากขึ้น ใช่ไหม ศีล ๘ ก็มาช่วยฝึก แล้วก็บางคนก็อาจจะถือข้อวัตรข้อปฏิบัติอย่างอื่น ๆ มาเพิ่มเติม ก็แล้วแต่นะ อันนั้นก็เป็นสิทธิ แต่เป็นตัว็็ยนงนงยดนยช่วยหนุนเพื่อจะเข้าถึงความสุขขั้นที่สอง แล้วก็ต่อไปก็ต้องเจริญปัญญาเพื่อจะเข้าถึงความสุขขั้นที่สามต่อไปนะ
อันนี้ก็คิดว่าพอสมควร ยาวแล้วนะ มีอะไรสงสัยไหม ตอนนี้ก็พูดได้มากขึ้น ก็ถามได้
ถาม : อย่าง นิรามิสสุข กับ วิภวตัณหา นี่ เหมือนกันหรือว่าแตกต่างกัน
ตอบ : โอ้ ต่างกันเต็มที่เลย ต่างกันลิบเลย ยิ่งถ้า วิภวตัณหา นี่จะเห็นได้ชัดเลย เรื่องของกามนะ กามสุขนี่ ชัดเลย เรื่องวิภวตัณหา พอหากาม ตอนแรกเป็น กามตัณหา ใช่ไหม อยากได้กามก็หา พอได้มาปั๊บ ชินชา เบื่อแล้วทีนี้ เอาแล้วทีนี้ จะไปแล้ว ไม่เอาแล้วนะ อยากจะหนี อยากจะพ้นจากไอ้กามตัวนี้ ไอ้วัตถุอันนี้ นี่แหละ วิภวตัณหา นะ นี่ นี่มันทำให้เกิดทุกข์เลยสิ ใช่ไหม กามตัณหาก็วิ่งหามัน ตอนยังไม่ได้ก็ทุกข์นะ พอได้มาแล้วก็สมใจ นั่นแหละ กามอัสสาทะ อัสสาทะ ...ของกาม คุณของกามนี้ ??? (นาทีที่ 44:38) ท่านยอมรับ แต่ทีนี้ พอได้มาแล้วมันไม่พอหรือมันเกิดเบื่อนี่สิ ตอนนี้ ตอนนี้แหละ วิภวตัณหามาอีกแล้วนะ ก็เกิดทุกข์อีกใช่ไหม ไอ้เรื่องวิภวตัณหานี่เด่นชัดที่เรื่องกามนี่นะ ทีนี้ พอ นิรามิสสุข ก็คือ สุขที่ไม่ขึ้นต่อมัน มันเป็นความสุขด้วยตนเอง แม้ไม่ใช่ ไอ้ วิภวตัณหา มันต้องอยาก ต้องดิ้นรน ใช่ไหม ไอ้ นิรามิสสุข นี่มันความพอใจ สบาย มันไม่ได้ดิ้นรนอะไร ตรงข้ามกันเลยนะ ฉะนั้นก็ วิภวตัณหา ก็เด่นที่เรื่องของกาม มันก็เป็นปฏิกิริยาตรงข้าม คือตอนแรกก็ใฝ่ ต้องการ ต่อมาก็เบื่อ จะหลีกให้พ้น
ทีนี้ ภวตัณหา นี่ก็เป็นตัวที่ต้องการให้คงอยู่ตลอดไป คือหมายความว่า พอเราอยากจะได้กามใช่ไหม เราก็อยากจะเสพกามนี่ได้เรื่อยไปสิ ใช่ไหม ทีนี้ ไอ้ตัวเรามันไม่เที่ยงนี่ มันจะมีการพลัดพราก มันจะพันไป มันจะตาย มันจะอะไรก็แล้วแต่ เปลี่ยนแปลง เราก็ต้องการให้ตัวเรานั้นอยู่ในภาวะที่จะเสพกามนี้ได้ตลอด ภวตัณหาก็เกิดขึ้นนะ ต้องการให้ตัวตนนี้คงอยู่นิรันดรหรือเสมอไปตลอดไป ก็เพราะอย่างนั้น กามตัณหามันก็โยงไปหาภวตัณหานี่แหละ ก็มันสัมพันธ์กันเลย แล้วทีนี้ พอมันจะไม่เอาขึ้นมาแล้ว มันก็จะไปแล้ว เป็น วิภวตัณหา ขึ้นมานะ
เพราะฉะนั้น ไอ้สามตัวนี้เวียนวนกินอยู่กับคนเรื่อย ใช่ไหม ทุกคนจะมี ถ้าอยู่ในโลกของกาม ก็จะต้องไอ้เจ้าสามตัวนี้ก็วนเวียนกันอยู่นี้เรื่อยไปนะ พออยากได้อันนี้ แต่ไปเจออันโน้น ก็เกิด วิภวตัณหา แล้วนะ ไอ้อันที่ต้องการมันไม่ได้ ไอ้ตัวนี้มาเข้า ทำอย่างไรมันจะหนีไปได้ ทำอย่างไรมันจะหายไปเสียนะ ก็อยู่อย่างนี้... ??? (นาทีที่ 46:35)
ทีนี้ พอพ้นพวกนี้ไปได้ ก็จะไปถึงอีกขั้นหนึ่ง ก็พวกที่ได้ความสุขจากสมาธิ ก็มันก็จะมีปฏิกิริยาได้ในแง่ที่ว่า พอสุขจากสมาธินะ จิตใจมันพอใจ อยากจะอยู่คนเดียวนะ อยากจะอยู่เดี่ยว ๆ ไอ้วัตถุสิ่งของเหล่านี้มันเกะกะ ทำอย่างไรมันจะพันไปได้หนอ อะไรอย่างนี้ ตอนนี้วิภวตัณหาจะเกิดแล้วนะ แต่ไอ้ตัวนิรามิสสุขมันไม่เกี่ยวนะ แต่ว่ามันเป็นปฏิกิริยาได้ จิตก็อาจจะเกิดความรู้สึกที่เบื่อหน่าย อยากจะผลักพ้นไป อยากจะหนีไป อยากจะทำลายเสีย
แต่ว่าวิภวตัณหานี่ก็ คือแต่ละอย่างนะ ที่เป็นอกุศลนี่ ถือว่าถ้าทำให้ถูกแล้วมันเป็นปัจจัยแก่กุศลได้ ต้องรู้จักทำ หรือบางทีไม่รู้ตัว มันก็อาจจะทำ เช่นว่า เกิดเราเบื่อหน่ายอันนี้นะ เราเบื่อหน่ายแล้ว ถ้าเราเกิดเข้าสู่วิถีที่ถูก เบื่อหน่ายกาม แหม หามาเท่าไรต่ออะไร บางคนนี่ โดยไม่ได้เรียนธรรมะ เป็นเอง หากามมาตั้งแต่หนุ่มจนกระทั่งจะแก่ ไม่ได้สนใจสุขจริง เบื่อ นะ พอเบื่อตอนนี้แหละ ดิ้นรน จิตใจหาทางออก มาเจอธรรมะ สนใจธรรมะไปเลย ใช่ไหม บางคนเป็นอย่างนั้น นี่แหละ บางทีเป็นไปเอง นี่ก็ วิภวตัณหา ก็เป็นตัวปฏิกิริยาที่ทำให้หันโน้มมาทางจิตใจ ทางธรรมะได้เหมือนกัน หลาย ๆ คนก็จะเป็นอย่างนี้นะ
ทีนี้ ถ้าหากว่าใช้ด้วยปัญญาก็รู้เท่าทันเองแต่ต้น เราจะได้ปรับแต่ต้นให้มันพอดีให้หมด แล้วเราก็เป็นไปเอง แล้วเราก็จะพัฒนาตัวไปได้ตามลำดับ ก็อย่างน้อย อยู่ในขั้นของกาม ก็ปฏิบัติต่อกามให้มีโทษทุกข์น้อยที่สุด หยั่งรู้เท่าทันว่า ทางของมันที่จะเป็นทุกข์ได้เป็นอย่างนี้ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่จะทำให้มันติดปัญหา ต้องพลัดต้องพราก แล้วความที่ไม่อิ่มไม่พอ แล้วก็โทษต่อตนเอง ต่อตัวผู้อื่น เราก็รู้ แล้วเราก็ปิดกั้นหมด เราไม่ให้เกิดโทษ แล้วเราก็ ท่านเรียกว่า เป็นอยู่อย่างรู้เท่าทัน ก็เหมือนอย่าง...ปฏิบัติต่อทรัพย์อย่างนั้น ??? (นาทีที่ 48:59) ถ้าเราไม่มีหลักเลย เราก็หามุ่งแต่ให้ตัวได้เต็มที่ ใครเป็นอย่างไร ช่างมัน ใช่ไหม ทีนี้ พอเราเรียนธรรมะแล้ว อ้าว หนึ่ง อ้าว ทรัพย์ท่านไม่ว่า แสวงหา เมื่อคุณเป็นคฤหัสถ์ก็คุณก็มีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบสิ่งต่อชีวิตคุณ ต่อคนอื่น แล้วคุณก็รู้จักทำ แล้วคุณก็ใช้ทรัพย์ทำประโยชน์ได้ ฉะนั้น
หนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยทางที่ชอบธรรมนะ ไม่บาป เอา แสวงหาโดยชอบธรรม รู้จักสร้างสรรค์
สอง เก็บรักษาทรัพย์ โดยมีความมุ่งหมายที่ถูกต้อง อย่าทำแบบหวงแหนแล้วทำให้เกิดทุกข์แก่ตนเองเพราะความหวง แล้วก็ตัวเองก็ทุกข์ แล้วก็ทรัพย์นั้นก็ไม่เป็นประโยชน์นะ อย่าเป็นอย่างที่ว่า สระโบกขรณีอยู่ในถิ่นของอมนุษย์นั่นนะ
แล้วก็ สาม ก็ใช้จ่ายทรัพย์ ใช้จ่ายอย่างไรให้เป็นประโยชน์ ใช่ไหม เอาทรัพย์นี้มาเป็นเครื่องมือของธรรมะ ของการทำความดีงาม แทนที่จะเป็นเครื่องมือในการบำรุงบำเรอตัวเอง สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ทำประโยชน์สุข ทำคนที่อยู่ร่วมให้เป็นสุข ทำสังคมเพื่อนมนุษย์ให้เป็นสุขนะ สร้างสรรค์ประโยชน์ขึ้นมา
แล้วก็ สี่ วางใจถูกต้องต่อทรัพย์นะ มีทรัพย์แล้วก็อย่าให้เป็นทุกข์เพราะทรัพย์ แล้วก็มีจิตใจเป็นคนรู้เท่าทันความเป็นจริง ถ้ามันมีอันจะต้องเกิดแตกสลายหรือเสื่อมไป ก็จิตใจก็ไม่ทุกข์เดือดร้อนเพราะมันมากเกินควรนะ มีความรู้เท่าทัน รู้ว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช่ไหม เราก็จะอยู่กับทรัพย์ อยู่กับกามได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ที่มันจะเป็นโทษเพราะเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นนะ แต่ด้วยความรู้เท่าทันและเราก็เป็นอิสระอยู่ได้นะ แล้วเราก็สามารถเข้าถึงความสุขชั้นระดับอื่นมาช่วยด้วย ทำให้เราสามารถมีความสุขได้ดีที่สุด
มีอะไรอีกไหม