แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เวลานั้นได้สร้างเป็นประเพณีขึ้นมา ??? เรื่องพิธีและก็ต้องมีการรับศีล ??? ถ้าหากว่าสังคมได้ประพฤติปฏิบัติตามนี้ ก็จะอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข มีการเบียดเบียนกันน้อย แต่ที่จริงนั้นไม่ใช่เฉพาะศีลห้าหรอก เวลาญาติโยมมาประกอบพิธีนั้นศีลก็เกิดขึ้นแล้ว ก็คือการสำรวมกายวาจา กายวาจาก็สงบ ตอนก่อนรับศีลอาจจะยังเดินกันขวักไขว่คุยกันวุ่นวาย พอรับศีลก็เงียบ แสดงว่านี่แหละสำรวมกายวาจา และใจก็ตั้งใจที่จะได้ถวายทานต่อไป ใจก็สงบขึ้นเรื่อย มีแต่กาย วาจายังไม่สงบ ใจก็สงบยากสัมพันซึ่งกันและกัน การทำให้กายวาจาสงบก็เป็นพื้น ที่จะช่วยจิตใจให้สงบต่อไป นี่ก็เป็นเรื่องของประเพณี ที่ว่า พยายามที่จะให้เกิดผลในทางการปฏิบัติ ในทางธรรมะ ก็คือเอารูปแบบมาช่วย รูปแบบนั้นก็เป็นเครื่องแสดงความเจริญงอกงามของหมู่ชน เราเรียกว่าเป็นวัฒนธรรม ทีนี้ญาติโยมมาทำบุญทำกุศลก็ได้หลายอย่าง คือในแง่วัฒนธรรมประเพณีนี้ก็ได้ด้วย ในเรื่องกายวาจาของตนเองก็ได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็เป็นการเตือนตัวเองให้พยายามที่จะปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นไป การเตือนตัวเองการระลึกถึงคำสอนอยู่เรื่อยนี่เป็นประโยชน์ ถ้าเราได้ใช้สติบ่อยๆ เมื่อใช้สติบ่อยๆนี่ก็จิตใจก็จะมั่นคงหนักแน่นและก็ทำให้เกิดคุณสมบัติของจิตใจข้อต่อไปที่สำคัญ ที่เราเรียกว่า สมาธิ สติเกิดอยู่เสมอๆในเรื่องใด ใจก็อยู่กับเรื่องนั้นอยู่เรื่อยๆ เมื่ออยู่เรื่อยๆในที่สุด จิตก็สงบและก็แน่วแน่กับสิ่งนั้นได้ เราเรียกว่า สมาธิ ทีนี้ก็เลยอยากจะพูดเรื่อง สติกับสมาธิ ให้โยมฟังนิดหน่อย ความจริงญาติโยมที่มาก็เป็นผู้ที่สนใจใฝ่ธรรมอยู่แล้ว ฟังเรื่องนี้กันมาแล้วก็ไม่เป็นไรฟังบ่อยๆ เป็นการทบทวน วันนั้นก็มี ??? ถามเรื่องความต่างระหว่างสติกับสมาธิ ถ้าท่านไปฟังมาแล้วก็ไม่เป็นไร วันนี้ก็เอามาทวนกันอีกนิดหน่อย ญาติโยมหลายท่านก็แยกไม่ออกว่าสติกับสมาธินี่ต่างกันอย่างไร สตินั้นก็แปลกันง่ายๆว่า ระลึกหรือนึก ถ้าหากว่าใช้คำสามัญเป็นรูปธรรมก็ ดึง นั่นเอง ??? ที่ระลึกคือดึงไว้ดึงไว้ดึงมา เรื่องราวมันผ่านเข้ามาในความรู้ความเข้าใจการรับรู้ของเรา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พอผ่านมาจนตาเห็น พอผ่านมาเดี๋ยวมันก็ผ่านไป ทีนี้บางทีเรารับรู้แล้วเราก็จำไว้ ก็เข้าไปอยู่ในความทรงจำ แต่มันก็ผ่านไปอีกแหละไปอยู่ในความทรงจำ พอผ่านไปแล้วใจเราก็ไปรับรู้เรื่องอื่นต่อไม่อยู่กับเรื่องนั้น แต่บางครั้งเรามีงานทำมีเรื่องที่จะต้องใช้สิ่งที่เราเคยรับรู้มาก่อนจะทำไง ตอนนี้หละเราเรียกว่า ระลึก สิ่งนั้นเรารับรู้ไปแล้วผ่านไปแล้วก็ไปดึงไว้ เรียกว่าไปอยู่ในความทรงจำ ที่นี้เราจะใช้มันอีก เราก็ระลึก ระลึกก็คือดึงมันขึ้นมา ระลึกก็คือดึง ดึงมันขึ้นมา ดึงมาให้มาอยู่อยู่ต่อหน้าต่อตาของใจของเราอีกที พอเราดึงขึ้นมาแล้วมาอยู่ต่อหน้าต่อตาเราก็จัดการกับมันได้ ถ้าไม่ดึงมันขึ้นมาก็ทำอะไรมันไม่ได้ การที่ดึงมันขึ้นมาให้มาอยู่ต่อหน้าต่อตาเราใหม่อันนี้คือ สติ อันนี้เป็นเรื่องของสิ่งที่ผ่านไปแล้วเป็นอดีต ที่นี้สิ่งบางอย่างเรายังไม่ยอมให้มันเป็นอดีตมันผ่านมามันจะผ่านไป ที่เรามีเรื่องจะต้องทำกับมัน จะจัดการ คราวนี้ทำไงไม่ปล่อยให้ผ่านก็ดึงไว้ซิทีนี้ คราวนี้ไม่ใช่ดึงมาละ ดึงไว้ คือไม่ยอมให้มันผ่านหาย การดึงไว้ก็สติเหมือนกัน ถ้าแบ่งคร่าวๆก็จะคล้ายๆว่า อันหนึ่งนั้นดึงเรื่องอดีตกลับมา อันหนึ่งดึงสิ่งที่เป็นปัจจุบันรั้งไว้ไม่ให้หายไป ทั้งสองอย่างเนี่ยคือการทำงานของสติ พูดอย่างนี่ก็เทียบกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือวัตถุก็คือดึง ตกลงก็จะเห็นว่าอ๋อที่ว่าระลึกหรือนึก ก็คือดึงนั่นเอง ดึงมาดึงไว้ สิ่งที่ผ่านไปแล้วก็ดึงเอามาเอามาดูเอามาจัดการ สิ่งที่ปัจจุบันก็ดึงไว้ไม่ให้หลุดหายไป การทำหน้าที่ของสตินี่สำคัญมาก เพราะว่ามันเป็นตัวเหมือนกับเริ่มงานให้ ถ้าไม่มีสติดึงเอาสิ่งนั้นไว้เราทำอะไรกับสิ่งนั้นไม่ได้ เพราะนั้นจึงย้ำกันมากเรื่องสติ ทีนี้เวลาเราพูดภาษาสามัญนี่ ก็คือว่าไม่ลืม ถ้าเราลืมก็แสดงว่า มันไม่มีสติมันหลุดไปแล้ว เมื่อพูดในแง่นี้ก็เลยให้ความหมายของสติอย่างหนึ่งว่า ไม่หลุดไม่หลุดไม่ลอยไม่ลืม ตอนนี้ก็อาการของสติเหมือนกัน ถ้ามันหลุดลอยหายไปก็แสดงว่าไม่มีสติ ก็คือดึงไว้ไม่ได้ เมื่อดึงไว้ได้มันก็ยังอยู่ไม่หลุดหายไป จะพูดในแง่ดึงก็ได้ในแง่ไม่หลุดก็ได้ ทีนี้สติก็เป็นอันว่าได้ความหมายอย่างนี้แล้ว ทีนี้ไปสัมพันธ์กับสมาธิอย่างไร สมาธินั้นก้าวไปอีกขั้นหนึ่งคือไม่ใช่แค่ดึง ไอ้ดึงนี้แสดงว่าจะหลุดก็ดึงจะหลุดก็ดึงอยู่อย่างนี้ ต่อจากที่ดึงก็คือว่าเก่งกว่านั้น อยู่ที่เลยทีนี้ไม่ต้องดึง ถ้าอยู่แน่วนิ่งสนิทได้ตอนนั้นเป็นสมาธิ ตอนนี้ก็จะเห็นว่าอ๋อสติมันตอนต้นก่อนที่จะถึงสมาธิต้องอาศัยสติ ให้เปรียบเทียบไว้บอกว่า เหมือนอย่างเราเอาสัตวป่าที่มันพยศ ก็ธรรมดาสัตว์ป่าไม่อยู่นิ่งมันจะไม่อยู่บ้าน จะเข้าป่า เช่นเอาวัวป่าหรืออะไรก็ตามเอามาไว้บ้านมันก็จะไปด้วย ทำไงจะให้มันอยู่ เราก็เอาเชือกมาดึงมันไว้ผูกมัน ทีนี้ก็ต้องมีหลักซิ มีแต่เชือกไม่มีที่ยึดแม้แต่ตัวเราก็ไม่ได้ยึดกับมันไว้ มันก็พาเชือกไปด้วยทำไง ก็ต้องเอาหลักหรือเอาเสาหรือต้นไม้ก็แล้วแต่ เอาเชือกปลายหนึ่งก็ไปผูกเจ้าวัวไว้ อีกปลายหนึ่งก็ไปผูกไว้กับหลักหรือเสานั้นไว้ ทีนี้พอเชือกดึงไว้ไอ้เจ้าวัวตัวนี้อยากจะไปไหนก็ไปไม่ได้ ออกไปก็ถูกเชือกดึงกลับมาอยู่อย่างนี้ มันก็จะไปแต่ไปไม่ได้เชือกดึงมันไว้ นี้นานเข้านานเข้าวัวตัวนี้ชักคุ้นกับหลักชักคุ้นกับเสา ดึงไปดึงมาอาจจะนานหน่อยสมมุติว่าเป็นวันๆ แต่ในที่สุดมันคลายพยศและมันคุ้นกับที่ขึ้น ตอนนี้มันไม่ดึงแล้วมันหมอบหมอบอยู่กับที่ มาหมอบอยู่ในขอบเขตที่เชือกดึงมันไว้ โดยมากก็จะมาหมอบอยู่ใกล้ๆหลัก มันก็หมอบนิ่ง ตอนนี้ก็เป็นการก้าวไปอีกขั้นหนึ่งเทียบกับเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า สติกับสมาธิ ตอนที่ยังดึงกันอยู่นี่คือการทำงานของสติ ตอนที่มาหมอบนิ่งอยู่กับหลักตอนนั้นคือ สมาธิ ที่นี้จิตของคนเรานี่ก็เหมือนกับวัวพยศไม่ยอมอยู่กับที่จะไปเรื่อย ทีนี้เราต้องการให้มันอยู่กับสิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เราต้องการก็คือหลักคือเสานั้น ทางพระเรียกตัวสิ่งที่ต้องการหรือหลักหรือเสานี้ว่า อารมณ์ ไม่ใช่อารมณ์ในภาษาไทยนะ อารมณ์ในภาษาพระ อารมณ์ก็คือสิ่งที่จิตกำหนดไว้ ทีนี้เราต้องการให้จิตของเรานี่อยู่กับอารมณ์อยู่กับสิ่งนั้นหรืออยู่กับหลักหรืออยู่กับเสานั้นก็ตาม ที่นี้เจ้าจิตคือวัวพยศ มันไม่ยอมอยู่ มันจะไปเรื่อย ก็เลยเอาเชือกมาผูก เชือกผูกตรึงดึงเอาวัวนั้นไว้กับเสาหรือหลักนั้น เชือกนั้นก็เปรียบเหมือนสติ เอาละได้แล้ว เชือกเหมือนสติ ทีนี้พอวัวหายพยศก็มาหมอบนิ่งอยู่ใกล้หลักใกล้เสา ก็คืออยู่กับอารมณ์นั้นเหมือนกับจิตของเราอยู่กับอารมณ์นั้น ตอนนี้ไม่ต้องดึง กลายเป็นว่าเป็นคุณสมบัติใหม่ที่มันยอมอยู่นิ่ง อันนี้ภาวะนี้เรียกว่าสมาธิ อยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ ก็เป็นอันว่าตอนนี้ให้เห็นความหมายและความแตกต่าง ความหมายที่คล้ายกัน ที่สัมพันธ์กันและที่ต่างกันระหว่างสติกับสมาธิ ความต่างก็คิดว่าคงเห็นชัดแล้ว ส่วนความสัมพันธ์ก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้ คือว่า สติเป็นตัวเริ่มต้น แล้วก็สมาธิก็เป็นตัวที่ได้ความหนักแน่นมั่นคงได้ความสงบอยู่ตัว คือการที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ เมื่อไหร่อยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ ??? นั้นคือ สมาธิ คิดว่าแค่นี้ก็พอ ทีนี้คนที่จะฝึกสมาธินี่ เราจะเห็นว่าวิธีฝึกนั้น ปกติจะเริ่มด้วยสติ ที่เห็นกันง่ายๆก็คือว่า คือใช้นี้กันมากนะ โยมก็ใช้อานาปานสติ ชื่อวิธีฝึกสมาธิแต่ชื่อเป็นสติ อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสมาธิแต่ทำไมชื่อเป็นสติ ก็เพราะสตินี่หละเป็นตัวเริ่มต้นให้ เป็นตัวนำให้ จะไปสู่สมาธิเฉยๆไม่ได้หรอก มันต้องมาเริ่มที่สติ ก็เอาอานาปานสติกำหนดลมหายใจ ดึงจิตไว้กับลมหายใจ ตรึงไว้อยู่เรื่อยจนกระทั่งว่าจิตอยู่กับลมหายใจได้ก็เป็นสมาธิ แล้วสติมันก็จะผ่อนเบาการทำหน้าที่เพียงแต่คอยคุมคุมไว้ ??? สมาธิ ??? วิธีฝึกสมาธิทั้งหลายเริ่มต้นด้วยสติทั้งนั้น เอาละนี่หนึ่งละ สติสัมพันธ์กับสมาธิ ทีนี้อีกอันที่สำคัญมากก็คือ สติสัมพันธ์กับปัญญา คู่แรกสติกับสมาธิ ที่นี้คู่ที่สองสติกับปัญญา สำหรับปัญญาก็คล้ายๆกัน ปัญญาต้องอาศัยสติเป็นตัวเริ่มให้เหมือนกัน ปัญญาเหมือนตาที่ดู จะเห็นอะไรนั้นสิ่งนั้นต้องอยู่ต่อหน้า ถ้าสิ่งนั้นไม่อยู่ เราก็มองไม่เห็น เราจะพิจารณาอะไรก็ไม่ได้ นี้ทำไงหละก็ต้องดึงต้องตรึงเอาสิ่งนั้นไว้ต่อหน้า ก็เหมือนกับเรื่องสมาธิเมื่อกี้ หน้าที่ของสติ ดึงเรื่องที่ผ่านไปแล้วดึงมา คือระลึกนึกขึ้น ดึงมาก็คือเอามาให้มันอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา เหมือนกับเอาสิ่งที่มันผ่านไปแล้วดึงเอาไว้ข้างหน้า และต่อจากนั้นตาคือปัญญาก็มองดู ปัญญามองดูก็มองเห็นรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เป็นยังไง จะพินิจพิจารณายังไงก็ได้แล้วแต่ แต่ว่าปัญญาทำงานไม่ได้ถ้าไม่มีสติดึงเอาไว้ เอาสิ่งนั้นมาอยู่ต่อหน้าอันนี้สิ่งที่ผ่านแล้วเป็นอดีตก็ดึงเอาไว้ ต่อหน้าต่อตาให้ตาปัญญาดู หรือว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบันนี้มันเข้ามาถึงตัวเราแล้ว เราจะดูมันให้ชัดเราก็ต้องดึงมันไว้ก่อน มันผ่านมาแล้วมันจะผ่านเลยไปซะพอผ่านเลยไปก็ไม่เห็น เห็นแป๊ปเดียวยังไม่ทันชัดเจน แต่เราต้องการดูให้ชัดเราก็ต้องดึงเอาไว้ นั่นคือ สติต้องดึงไว้ สิ่งอดีตก็ดึงมาดู สิ่งที่เป็นปัจจุบันก็ดึงไว้ เพื่อจะให้ตาได้ดูได้ชัดๆ ทีนี้ต่อไปสมาธิกับปัญญา เอาหละเข้ามาสัมพันธ์อีกแล้ว ตอนนี้สติกับปัญญาชัดแล้วนะ ว่าปัญญาจะทำงานได้ต้องอาศัยสติ ที่นี้เจ้าสติมันดึงไว้ดึงไว้ แต่ว่าไอ้การดูนี่ต้องอาศัยต้องการความชัดเจน ยิ่งสิ่งนั้นละเอียดละออมีความซับซ้อนนี่ ต้องแน่วแน่ต้องดูสิ่งที่ค่อนข้างจะมั่นคงสนิท ถ้ามันแกว่งไกวหวั่นไหวอยู่หละก็มองยากไม่ค่อยรู้เรื่อง ก็เลยเปรียบเหมือนอย่างกับว่า มีป้ายมีแผ่นผ้าหรืออะไรสักอันหนึ่งผืนใหญ่ ตอนนี้เราเอามาไว้ข้างหน้าเราแล้ว สติเรามาแล้ว สติเอาแผ่นผ้านั้นเอามาไว้ข้างหน้าจะได้ดูได้ชัดๆ ตาปัญญาก็พิจารณาดูนี้ บนผืนผ้านั้นมีลวดลายมีภาพอาจจะเป็นภาพคนก็ได้ แต่ว่านอกจากภาพคนก็มีลวดลายอะไรต่างๆ มีตัวหนังสือ นี้เมื่อเราดึงไว้ เช่นเราอาจจะเอาเชือกดึงไว้ผ้าแผ่นนี้ผืนนี้ก็ไม่ลอยหายไปก็ดูได้แล้ว แต่นี้มันก็ยังแกว่งไกวเพราะมันจะไปเรื่อยเชือกก็ดึงไว้ แต่มันไปไม่ได้ แต่มันก็ไม่นิ่งสนิท ทีนี่พอมันแกว่งไกวมันหวั่นไหวภาพๆนั้นมันหยาบภาพใหญ่ตัวหนังสือโตเราก็เห็นเราก็รู้เข้าใจ ทีนี้ถ้าเกิดลวดลายภาพมันเล็กหละ ตัวหนังสือก็นิดเดียวเขียนไว้เยอะเลยและลวดลายต่างๆที่สวยงามก็ละอียดอ่อน ตอนนี้แหละถ้าภาพนั้นหวั่นไหว แม้จะดึงไว้ได้แต่มันจะไป มันแกว่งดูยากไม่ชัดบางทีอ่านไม่ออกเลย ตอนนี้ต้องการความนิ่ง ยิ่งภาพนั้นแผ่นผ้านั้นนิ่งสนิทเท่าไหร่ก็ยิ่งเห็นภาพนั้นลวดลายตัวหนังสือที่เล็กๆนี่ชัดเจน นี่ก็เปรียบเหมือนอย่างที่ว่า ตอนนี้ปัญญานี้ต้องอาศัยสมาธิแล้วสติไม่พอ ตกลงว่าปัญญาทำงานต้องอาศัยสติช่วยดึงช่วยตรึงจับเอาไว้ แต่ถ้าหากว่าสิ่งนั้นละเอียดซับซ้อนเป็นต้น ต้องอาศัยถึงขั้นสมาธิเลย มีความแน่วแน่จิตอยู่นิ่งแล้วก็จะมองเห็นชัดเจน ปัญญาก็ทำงานได้เต็มที่ ฉะนั้นสมาธิจึงเป็นตัวช่วยปัญญา แต่สตินั้นต้องการเบื้องต้น ??? ก่อนอื่น เราจึงพูดสติปัญญา สติคู่กับปัญญา เพราะว่าปัญญาทำงานไม่ได้ถ้าไม่มีสติ แต่ถ้ามีแต่สติปัญญาไม่มาก็มักจะไปทางสายสมาธิเฉยๆ สติมาช่วยแล้วก็พอจิตแน่วแน่สงบนิ่งก็เป็นสมาธิใจก็อยู่กับสิ่งนั้นเฉยๆไม่ได้ปัญญาไม่ได้ความรู้อะไรหรอกได้แต่สงบบางทีก็เอาสุขสบายใจอยู่นิ่งแล้วไม่มีอะไรกวนก็ดีเหมือนกันแต่ประโยชน์น้อยไป ควรจะได้ปัญญาด้วย เท่าที่พูดมาก็สติกับสมาธิก็เป็นคู่หนึ่งแล้ว สติเป็นต้นทางให้สมาธิและสมาธิต้องอาศัยสติ แล้วก็สติกับปัญญา ปัญญาก็ต้องอาศัยสติ แต่ถ้าจะให้ดีแล้วต้องสมาธิกับปัญญาเลยคราวนี้ทำงานได้ผลดีมาก ก็เลยพูดมาเรื่อง สติเป็นตัวเริ่มต้น เลยไปถึงเรื่องสมาธิเรื่องปัญญาไปด้วย ก็เพื่อให้เห็นว่าการทำงานของคุณสมบัติหรือที่เรียกว่า องค์ธรรม ต่างๆนี้สัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่ใช่แค่นี้หละ ไม่ใช่แค่ สติ สมาธิ ปัญญา ยังมีตัวอื่นอีก ในเวลาที่เราทำงานมันมี ความเพียร วิริยะ เป็นต้นด้วย มีอื่นๆหลายอย่าง แต่ว่าในที่นี้เจาะเอามาเฉพาะตัวที่เราต้องการพูดในกรณีนี้ ก็พอสมควรแก่เวลา ก็วันนี้เอาเป็นว่าทบทวนหัวข้อธรรมะเบ็ดเตล็ด ในเรื่อง สติ และโยงไปหา สมาธิ ปัญญา โยมก็มาด้วยใจเป็นบุญเป็นกุศลอย่างน้อยก็ได้มีสติกันพอสมควร ก็เวลานึกถึงจะทำบุญเนี่ยก็คือ สติ เป็นตัวนึกขึ้นมาแล้ว อันนี้สติก็เป็นตัวช่วยไปนึกเอาสิ่งที่ดีมาก็ได้ความดีงามความเจริญของจิตใจแล้ว สตินั้นตามมาด้วยปัญญาความรู้ความเข้าใจด้วย คือเอาสติจับไว้แล้วใช้ตาดู ไม่ใช้ว่าจับไว้เฉยๆ บางคนจับสิ่งนั้นเอาวางต่อหน้าต่อตา ตาไม่ลืมก็หมายความว่า มีสติแล้วก็พร้อมที่จะปัญญาแต่ไม่ยักใช้มัน จับมันมาไว้เฉยๆ มันอยู่ต่อหน้าแล้ว ลืมตาซะนิดเดียวก็เห็น แต่ไม่ลืมตา นี่ก็เท่ากับคนที่ว่า มีสติแต่ไม่ทำให้เป็นประโยชน์ในแง่ปัญญา หรือแม้แต่เป็นสมาธินะ สติจับมาแล้วอยู่นิ่ง อยู่ต่อหน้านิ่งสนิทเลย แต่ตาไม่มองไม่พิจารณา ก็เลยไม่ได้ปัญญา แต่มันเอื้อแล้วแหละ พอมีสติและยิ่งได้สมาธิแล้วเป็นตัวเอื้อต่อปัญญา พอมีสมาธิแล้วก็สามารถที่จะมองเห็นได้ตามที่มันเป็นจริง ก็ขอให้โยมได้ทุกข้อ ได้ทั้ง สติ ได้ทั้ง สมาธิ และก็ได้ทั้ง ปัญญา พร้อมทั้งคุณสมบัติอื่นที่เป็นตัวประกอบตัวเสริมด้วย เราก็จะเจริญงอกงามในหลักการปฏิบัติที่เรียกว่า ธรรมะ ได้ผลดีทั้งตัวเองเจริญงอกงามและก็มีความสุขความร่มเย็นแผ่ประโยชน์นี้ไปให้แก่ผู้อื่นด้วย บุญกุศลได้บำเพ็ญแล้ววันนี้ ด้วยอาศัยสติเป็นต้น ก็ขอให้ทุกท่านได้เจริญงอกงามดังที่กล่าวมา ก็ขอคุณพระรัตนตรัยและบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญแล้ว จงได้เป็นปัจจัยแห่งความสุขความเจริญงอกงามด้วยจตุรพิธพรชัยและสิ่งที่ดีงามอันเป็นความประเสริฐเป็นประโยชน์เป็นความสุขโดยทั่วกันทุกท่าน ต่อนี้ไปก็ขอเชิญรับพรเป็นภาษาบาลี
เมื่อวานนี้พูดเรื่องสติ แต่เรื่องสตินั้นไม่ใช่หมดแค่นั้น ที่พูดเมื่อวานนี้เป็นเรื่องความเข้าใจพื้นฐาน ทีนี้ที่ควรจะทราบเพิ่มเติมก็คือว่า สตินี่บางครั้งจะได้ยินบางท่านพูดคล้ายๆว่ามัน รู้ ด้วย เช่นว่า ระลึกรู้ หรือว่ารู้ทันหรืออะไรแล้วแต่บางทีเราจะได้ยินคล้ายๆสติมีความหมายคล้ายๆรู้ด้วย อันนี้ก็มีกรณีที่ทำให้เราเข้าใจเป็นเรื่อง ความรู้ อยู่ 2 ประการ แต่สตินี่ไม่ใช่รู้หรอก สติก็อย่างที่ว่าเมื่อวาน ดึงมาดึงไว้กำกับไว้กำหนดไว้อะไรอย่างนี้ ที่นี้ทำไมจึงมีความหมายไป เป็นเชิงรู้ได้ กรณีที่หนึ่ง ก็คือว่าเพราะตามปกติ เมื่อสติเริ่มต้นให้แล้วมันก็ไม่ใช่ว่ามีแต่สติอย่างเดียว มันมีตัวหนึ่งที่ทำงานควบคู่ไปด้วยกันกับสติอยู่เสมอ ก็คือความรู้ชนิดหนึ่งที่ว่าพอเรานึกถึงอะไรเนี่ย ระลึกถึงอะไรเราจะรู้ไปด้วย เช่นว่าเราเดินอยู่เดินบนถนน พอเรานึกถึงการเดิน ระลึกถึงการเดินไว้ใจเราไม่ลอย เราก็จะรู้ในเวลาเดียวกันนั้นเลย ??? จิตอยู่กับการเดิน เราก็รู้ว่าเรากำลังเดินไปไหน เราก็รู้ว่าถนนนี้ที่เดินนี้เป็นกรวดเป็นหินหรือเป็นลาดยางหรือเป็นคอนกรีตเป็นทางเรียบหรือขรุขระ และก็รู้ด้วยเราก็ควรจะเดินยังไงบนถนนอย่างนั้น เช่น ถนนเป็นกรวด เราก็จะรู้ว่ามันก็อาจจะเจ็บเท้าถ้าเราไม่ได้ใส่รองเท้า ถ้าหากว่าเดินบนถนนคอนกรีตก็จะเดินได้คล่องอะไรต่างๆ ความรู้ที่มีด้วยพร้อมกันกับเวลาที่จิตอยู่กับสิ่งนั้นคือเวลาที่มีสติ ความรู้ชนิดนี้บางทีท่านละไว้ฐานเข้าใจ พูดแต่สติคำเดียว เพราะฉะนั้นก็ทำให้หลงไปว่าสติแปลว่ารู้ด้วย ความจริงนั้นก็หมายความว่า ในเวลานั้นกำลังพูดถึงคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งที่มาพร้อมกับสติ หรือทำงานควบคู่ไปกับสติ ความรู้ชนิดนี้เรียกว่า สัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นโดยทั่วไปแล้ว เมื่อพูดถึงสตินี่มักจะหมายถึงว่าสัมปชัญญะด้วย และก็บางครั้งเราก็พูดควบกันไปจริงๆว่า สติสัมปชัญญะ แต่แม้พูดสติตัวเดียวก็ให้รู้ว่า มีสัมปชัญญะอยู่ด้วย แล้วก็แปลสัมปชัญญะกันว่า รู้ตัวบ้าง รู้ตัวทั่วพร้อมบ้าง ก็หมายความว่ารู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น เกี่ยวกับเรื่องที่สติกำหนดไว้หรือจับไว้ ที่เรากำลังเกี่ยวข้องเท่าที่พอแก่การปฏิบัติต่อมันเฉพาะหน้า ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องใช้ที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งนั้นแหละ เท่าที่เราสะสมมามันจะพรึบขึ้นมาทันที เหมือนอย่างขับรถเนี่ย ถ้าจิตอยู่กับการขับรถ ไม่ลอยนะ เราก็รู้ว่ากำลังขับไปไหนและก็รู้ว่าเราจะต้องทำอะไรกับมันบ้าง โดยที่ไม่ต้องไปใช้เวลาคิดเลย ความรู้แบบนี้ความรู้ทั่วพร้อมที่อยู่ในขณะนั้นทันที มันพร้อมพอเลย เรียกว่าพร้อมพอที่จะใช้งานขณะนั้น สำหรับการดำเนินชีวิตธรรมดา ความรู้อย่างนี้เรียกว่า สัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็เป็นปัญญาชนิดหนึ่ง เป็นชื่อหนึ่งของปัญญานั่นเอง คือเป็นปัญญาในขอบเขตและในระดับหนึ่งที่พอจะใช้การในปัจจุบัน แต่ถ้าหากว่าจะคิดจะรู้ลึกซึ้งไปกว่านั้น เช่นเดินอยู่บนถนน และก็ถนนนี้เป็นคอนกรีต ให้รู้ไปถึงว่า คอนกรีตชนิดนี้ผสมได้ที่หรือปล่าว ถ้ามันไม่ได้ที่ เรามีความรู้เป็นช่างมันควรจะผสมยังงั้นยังงี้ หรือถ้าเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องอาจจะนึกอันนี้จะต้องแก้ไขอย่างนั้นอย่างนี้นะ นี่เป็นปัญญาในความหมายที่กว้างไม่ใช่สัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็แค่พอรู้เข้าใจสิ่งที่ตนจะต้องปฏิบัติเกี่ยวข้อง ??? คนทั่วไปจะมีความรู้อันนี้พอ ??? ส่วนที่จะรู้คิดอะไรเกินไปกว่านั้นนี้ไม่เหมือนกันแล้ว ต่างคนต่างก็จะพิจารณาในแต่ละกรณีและแต่ละเรื่อง ถ้าในกรณีที่พิจารณาใช้ความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งกว้างขวางออกไปคิดหาเหตุหาผลอะไรต่างๆนั้น เราก็ใช้คำกลางๆว่า ปัญญา เพราะปัญญานั้นเป็นชื่อรวมทั้งหมดของความรู้ความเข้าใจไม่ว่าระดับไหนขอบเขตแค่ไหนก็ใช้ปัญญาหมด จนกระทั่งว่าไปถึงขั้นตรัสรู้ก็ยังเป็นปัญญา แต่เราอาจจะมีชื่อพิเศษให้เป็นญาณ เป็น (โพธิ) เป็นอะไรก็แล้วแต่ ชื่อกลางทั้งหมดก็คือ ปัญญา รวมทั้งสัมปชัญญะนี้ด้วยก็เป็นปัญญาชนิดหนึ่ง ที่นี้สติก็เลยมาคู่กับสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแม้ไม่พูดถึงสัมปชัญญะ ไม่เอ่ยถึงชื่อสัมปชัญญะ ก็ให้เข้าใจว่ามีสัมปชัญญะอยู่ด้วย สติก็เลยกลายเป็นว่า ระลึกแล้วก็ไปรู้เข้าไปด้วย เพราะเหตุว่าหมายถึงสัมปชัญญะด้วย แต่ว่าจะเห็นชัด คือถ้าตอนนั้นสติไม่มี จิตไม่อยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องนั้น เช่น ไม่อยู่กับการเดิน ไม่อยู่กับเรื่องถนน สัมปชัญญะหรือแม้กระทั่งปัญญาทั้งหมด ความรู้ตอนนั้นไม่ทำงาน ไม่ทำงานในเรื่องนั้น หรืออย่างขับรถนี่ในความรู้ทั้งหมดอาศัยการที่จิตอยู่กับเรื่องการขับรถ คือสติมันอยู่ ถ้าจิตไม่อยู่กับเรื่องการขับรถ ใจลอยปั๊บความรู้เกี่ยวข้องก็ไม่ทำงานใช่ไม๊ เพราะฉะนั้นตัวความรู้ทั้งหมดที่เรียกว่า สัมปชัญญะ ก็ดี ปัญญา ก็ดี อาศัยสติ ??? กรณีที่หนึ่งที่ว่าทำไมบางครั้งเราเข้าใจความหมายของสติเป็นรู้ด้วย เพราะว่าที่จริงก็คือว่าเป็นการพูดถึงสติโดยละสัมปชัญญะไว้ในฐานเข้าใจ ไม่ใช่หมายความว่าสติแปลว่ารู้ ตานี้ถ้าไม่ระวังก็อาจจะหลงนึกว่าสติรู้ เป็นอันว่าสติก็กำกับจิตไว้กับสิ่งนั้น จิตอยู่กับสิ่งนั้นไม่หลุดลอยหายไปไหนไม่ใจลอย ก็สัมปชัญญะก็มาด้วยรู้เข้าใจอย่างเพียงพอที่จะปฏิบัติต่อมัน หนึ่งละ ที่นี้กรณีที่สอง ที่ว่าทำไมสติบางครั้งมีความหมายเชิงรู้ด้วย อันนี้ก็คือเรื่องของสิ่งที่สติระลึกขึ้นมานั้น แง่หนึ่งก็คือเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ที่เราเรียกว่าความทรงจำเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ความทรงจำก็เป็นประสบการณ์เก่า เมื่อรับประสบการณ์เข้ามาก็จะมีความรู้ บางทีได้พินิจพิจารณาเรื่องนั้นเยอะเลยกว่าจะเก็บไว้เป็นความทรงจำ หรือบันทึกไว้บันทึกไว้ บางทีได้เจอเรื่องนั้นที่เป็นปัญหาก็ได้คิดหาทางแก้ไข จนกระทั่งได้ความรู้ความเข้าใจได้วิธีการในการที่จะแก้ไขปัญหา รู้อะไรต่ออะไรเรื่องนั้นเยอะ ทั้งหมดนี้ก็เก็บไว้เป็นความทรงจำ ก็คือความรู้กักเก็บไว้ หรือผลงานของปัญญาเก่า หมายความว่าตอนก่อนนี้ใช้ปัญญาเยอะแล้วพิจารณาพอคิดเสร็จแล้วได้ผลแล้วเรียบร้อยแล้วเข้าใจดีแล้วบันทึกเก็บไว้ ทีนี้พอระลึกออกมามันก็ระลึกประสบการณ์เก่า ระลึกเอาผลงานของปัญญาครั้งเก่ามาใช้เลย อย่างง่ายๆก็เช่นว่า เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่สอนไว้ว่าอย่างนี้ สิ่งที่สอนนั้นก็กลายเป็นความทรงจำ เวลาระลึกก็ระลึกถึงคำสอนก็เป็นระลึกถึงสิ่งที่รู้ตอนนี้ก็เหมือนกับรู้เลย ระลึกเอาความรู้เก่ามาใช้ ก็ระลึกเอามาแล้วก็ใช้ก็เอาความรู้เก่านั้นมาใช้ สติในกรณีนี้ก็คือเอาผลงานเก่าของปัญญามาใช้ แต่ถ้าหากว่าปัญญาไม่ทำงานต่อ มันมีเท่าไหร่ก็แค่นั้น มันก็ตันก็จบอยู่ในขอบเขตเดิม ในกรณีนี้ก็เช่นเดียวกันที่ทำให้เราเข้าใจสตินี้เป็นเรื่องรู้ด้วย ความจริงก็คือไประลึกเอามา ส่วนในความรู้นั้นก็เป็นเรื่องของเดิมที่ปัญญาได้เคยทำงานไว้ ??? ก็คือว่า สติที่มีความหมายทำให้เราเข้าใจเป็นรู้ก็มีสองกรณี หนึ่งก็คือกรณีที่เราละคำว่า สัมปชัญญะ หรือแม้กระทั่ง ปัญญาไว้ในฐานที่เข้าใจว่ามันทำงานอยู่ด้วยกัน และประการที่สองก็คือ ในแง่ของการระลึกเอาความรู้เก่าหรือผลงานเก่าของปัญญานี้มาใช้ประโยชน์ ก็เลยเป็นรู้ไป
โยมถาม: ???
หลวงพ่อ: ??? รู้แต่หมายความว่า สติพอระลึกขึ้นมานี่ สัมปชัญญะความรู้ที่มีอยู่ มันก็ออกมาทำงานทีเดียวเลยพร้อมกัน(เลย) แต่ในบางกรณีเนี่ย มันต้องการระลึกตั้งใจระลึกเอาไอ้ประสบการณ์เก่าๆมาใช้งานต่อใช่ไม๊ ??? ยังต่อจากนั้นไปอีก แต่ว่าไอ้ตัวสัมปชัญญะเป็นความรู้ที่(พรึบ)พร้อมทันทีพอระลึกถึงนึกถึงอะไรที่เกี่ยวข้องเราก็รู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นที่จะปฏิบัติต่อมันให้ได้ผลดีแก่ตัวเราหรือชีวิตของเราใช่ไหม ตามสติเราจะไปเกี่ยวข้องกับอะไรระลึกถึงอะไรก็เพื่อสนองความต้องการของเราหรือเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตของเรา ไอ้ตัวนี่มันเป็นธรรมดาอยู่แล้วไอ้ความรู้นี้ก็ทำงานสนองความต้องการ สติมันก็เป็นตัวเริ่มต้นให้หรือเป็นตัวนำให้ หรือเป็นตัวคล้ายๆเป็นพื้นฐานให้ ก็เราใช้คำว่าระลึก แต่ว่าบางทีการทำงานของจิตมันประณีตกว่านั้น เราก็ใช้แค่ว่า จิตอยู่กับสิ่งไม่ได้ลอยไม่ได้เลื่อนลอยไม่ใจลอย ถ้าใจลอยก็เป็นอันว่าไม่ยุ่งไม่เกี่ยวแล้วใช่ไม๊ พอไม่ใจลอยใจอยู่กับเรื่องนั้นเกี่ยวข้องปั๊บความรู้นั้นก็มีด้วย ความรู้ที่จะปฏิบัติต่อมัน พอเห็นชิ้นมะม่วงนี่ความรู้มีอยู่ด้วยแล้วว่าเป็นของฉัน ฉันได้ อะไรทำนองนี้มันรู้อยู่ด้วยเสร็จ และก็มันสนองความต้องการของเราที่จะให้อิ่มหรือว่าทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ช่วยหล่อเลี้ยงร่างกายอะไรของเรามันมีอยู่เสร็จความรู้อย่างนี้
โยม: ??? ความหมายที่สองก็ส่งต่อมาให้ปัญญาในปัจจุบันทำงานต่อ
หลวงพ่อ: อ๋ออันนั้นก็เนื่องกันอยู่เป็นแต่เพียงว่าต้องการให้เห็นแง่มุม ??? ทำให้เข้าใจว่าสติเป็นรู้ก็คือแง่ที่มันทำงานด้วยกันและแง่ที่มันเอาผลงานเก่าของปัญญา
โยม: ??? ผมยกตัวอย่างว่า มะม่วงก็รู้จักว่าเป็นสิ่งกินได้ ??? ห่ามกำลังดีและยี่ห้อเป็นเขียวเสวย
หลวงพ่อ: อันนั้นเป็นปัญญาในความหมายกว้างๆ คือแล้วแต่เป็นปัญญา(ชื่อ)ไหน ต้องใช้ปัญญาพิจารณา สืบสาวแยกแยะวิเคราะห์ วิจัยสืบค้น ???
โยม: ??? รู้สึกว่าควรจะสุกมากกว่านี้อีกหน่อยถึงจะดีแล้วก็มะม่วงชนิดนี้ต้อง ??? คิดต่อเนื่องไป
หลวงพ่อ: ใช้คำกว้างๆว่าปัญญา คือสัมปชัญญะนี่ก็ปัญญานั่นแหละ แต่ปัญญาในขอบเขตและระดับหนึ่ง ระดับที่ใช้พร้อมกับงานที่อยู่เฉพาะหน้าในปัจจุบันมุ่งในแง่นี้
โยม: ???
หลวงพ่อ: คงไม่เหมือน ก็แปลยากอยู่แต่คิดว่าคงเข้าใจ สัมปชัญญะ สติมันจะมีมาด้วยเวลามีสติปั๊บสัมปชัญญะก็จะมา แต่ถ้าจะคิดเลยไปกว่านั้น มะม่วงชนิดนี้ส่งออกปีละเท่านั้น น่าจะเพิ่มอัตราการส่งออกให้มากขึ้นจะทำไงดี จะส่งเสริมชาวสวนยังไงดี คิดต่างๆอย่างนี้ตอนนี้เป็นเรื่องปัญญา มันพ้นหน้าที่สัมปชัญญะแล้ว แต่ว่าถึงปัญญานั้นจะคิดยังไงพิจารณายังไงก็ต้องอาศัยสติ สติที่ว่าสติต้องอยู่กับมะม่วง
โยม: ??? หมายความว่าคิดว่าเป็นประสบการณ์ในอดีต เช่นเคยรู้สึกว่าว่าอร่อยขนาดกำลังดีแบบนี้ไม่ใช่คิดเลยที่จะไปส่งออกขนาดนั้น ??? ถือเป็น (experience) ใช่ป่าวครับ
หลวงพ่อ: อาศัยเพราะว่า สัมปชัญญะที่มารู้ ??? อาศัยประสบการณ์เก่าทั้งนั้น แต่ว่ามันเกิดเป็นความรู้พร้อมเฉพาะหน้าที่ใช้การได้เพียงพอ ??? เหมือนกับว่าพอเราขับรถนี่ไอ้ความรู้ต่างๆที่สะสมมาในการฝึกหัดขับมัน(พรึบ)มาพอทำงาน ??? โดยไม่ต้องใช้ความเพียรพยายามที่จะระลึกเพิ่มใช่ไหม ??? แต่ว่าความรู้บางอย่างที่ต่อจากนั้นเราต้องนึกต่อแล้วก็ต้องคิดต่อจะระลึกอย่างเดียวไม่พอต้องแยกแยะวิเคราะห์ต่ออีก อย่างนั้นก็ปัญญาทำงาน
โยม: ???
หลวงพ่อ: ความรู้ประเภทนั้นที่(พรึบ)มาพร้อม เมื่อจิตอยู่กับสิ่งนั้น พอจิตอยู่กับสิ่งนั้นก็รู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นพร้อมที่จะใช้งาน
โยม: ???
หลวงพ่อ: ก็ความรู้ที่มากมายกว่านั้นในมะม่วง อันนี้เราอาจจะไม่ค่อยเกี่ยวแต่บางเรื่องเราอาจจะเกี่ยวข้องบ้าง ???