แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
(เสียงพระนวกะถาม) ผมขอถามต่อนะครับว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อ จะแก้ปัญหาเรื่อง เรื่องนี้ยังไง เรื่องการศึกษาจะเปลี่ยนแปลง จะผ่าตัดใหญ่ ด้วยวิธีใด?
(หลวงพ่อตอบ) ก็เนี่ยเดี๋ยวนี้ ก็พอจะเริ่มกัน พอจะมีผู้สำนึกเพิ่มขึ้นแล้ว อย่างแม้แต่การศึกษาในขั้นต้น เข้ามหาวิทยาลัย ก็ต้องมีการศึกษาจัด แบ่งหมวด แบ่งหมู่วิชา ว่าจะจัดอย่างนั้น มีการศึกษาแต่ก่อนเรียกการศึกษาพื้นฐานบ้าง การศึกษาทั่วไปบ้าง อะไรอย่างนี้นะะฮะ เรียกกันต่างๆ หรือศิลปศาสตร์บ้าง บางมหาวิทยาลัยก็เรียกว่าศิลปศาสตร์ ก็เป็นวิชาพื้นฐานก่อนที่จะไปเรียนวิชาชีพ แล้วก็วิชาพื้นฐานเนี่ยมีความหมายอย่างไร ก็ไม่ชัด แล้วจะจัดอย่างไร ก็เป็นปัญหากันมาเป็น 20 30 ปีแล้วเนี่ย เนี่ยก็คือความไม่ชัดเจนในเรื่องการศึกษา ตอนนี้ก็เริ่มมาคิดกัน
ก็เอ้า ขอพูดถึงตัวเอง ก็ได้พูดว่า การศึกษาทั่วไป การศึกษาพื้นฐานเนี่ยเพื่อสร้างบัณฑิต แล้วการเรียนวิชาชีพอะไรนั้นเป็นการสร้างเครื่องมือให้บัณฑิต ถ้าคุณพัฒนาคนให้เป็นบัณฑิตไม่ได้ มันอาจจะเป็นโจรอยู่ แล้วคุณไปให้เครื่องมือที่ดี ที่คมกริบ เช่น ดาบ ก็กลายเป็นว่าคุณให้เครื่องมือที่ดี เช่นดาบให้แก่โจร เพราะฉะนั้นคุณจะต้องสร้างคนดีก่อน ก็คือ สร้างความเป็นบัณฑิตที่แท้จริง ฉะนั้นเราก็มีการศึกษาอย่างน้อยสองส่วนในการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาทั่วไปหรือการศึกษาพื้นฐาน หรือวิชาศิลปศาสตร์อะไรเนี่ย เรียกว่าเป็นวิชาเพื่อสร้างบัณฑิต คือความเป็นคนดี คนมีธรรมะ เรียกว่า คนมีศีล มีธรรม มีปัญญา รู้จักอะไรผิด อะไรถูก รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักอะไรเป็นประโยชน์ที่แท้จริงของมนุษย์ รู้จักอะไรเป็นชีวิต โลกนี้ต้องการอะไรๆ เนี่ยนะ แล้วก็สร้างวิชาชีพ คือเครื่องมือของบัณฑิตนั้น ถ้าบัณฑิตนั้นเป็นบัณฑิตจริง เป็นคนดีจริง ใช่ไหมฮะ ก็จะไปใช้เครื่องมือนั้น เช่น วิชาแพทย์ วิชากฎหมาย อะไรเนี่ยในทางที่ดี เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตและสังคม แต่ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เขาไม่เป็นบัณฑิต เขาก็อาจจะยังเป็นคนไม่ดี ถ้าเป็นร้ายก็เป็นโจร อะไรอย่างนี้ แล้วได้เครื่องมือที่ดีก็จบกันน่ะ อย่างที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ตรัส ก็โกงได้คล่องขึ้น
ทีนี้ตอนนี้ ก็คือ ต้องแก้การศึกษากัน นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา ก็คือการศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต แล้วก็สร้างเครื่องมือให้บัณฑิต แล้วเราก็ต้องลงไปตั้งแต่การศึกษาในบ้าน ตั้งแต่คลอด ตั้งแต่เกิด ว่าจะพัฒนาคนกันอย่างไร ถึงได้เน้นการศึกษาทางพุทธศาสนา ตั้งแต่ว่าเกิดมาจะใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอย่างไร ถ้าแม้แต่เครื่องมือที่ติดมากับตัวก็ใช้ไม่เป็นเนี่ย การศึกษามันจะเกิดอย่างไร ก็เลยบอกว่า การศึกษาเริ่มต้น เมื่อคนกิน อยู่ดูฟังเป็น ว่างั้น หนังสือเล่มนึงก็ชื่อนี้ กิน กินเพื่ออะไร กินเพื่ออะไรก็ยังไม่รู้เลย ใช่ไหม กินก็ไม่เป็น กินก็ไม่พอดี กินแล้วก็เป็นโทษ อยู่ก็ไม่เป็น ดูฟังก็ไม่เป็น ดูฟังแล้วเกิดโทษ ลุ่มหลงมัวเมา ดูฟังเป็นก็ได้สติปัญญา เป็นต้น ก็ต้องฝึกน่ะ นี่คือการศึกษาที่แท้จริง เริ่มตั้งแต่เกิดเลย เอ้าพอจะตอบคำถามนี้ได้หรือยัง
(เสียงพระนวกะถาม) ขอถามต่อนิดหนึ่ง กับเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาซึ่งรู้สึกจะเป็นประเด็นสำคัญ คือสมัยก่อนนี้จำได้ ว่ามีวิชาศีลธรรม แต่เดี๋ยวนี้เนี่ยเข้าใจว่าไม่มีแล้ว (เสียงหลวงพ่อ) ครับ โหอันนี้เรื่องยาวอีกแล้ว (เสียงพระนวกะ) แล้วทีนี้มีอะไรล่ะ ที่จะพัฒนารุ่นเยาวชนสำหรับอนาคต เพื่อประเทศชาติ จะได้ดี มีศีลธรรม เพราะปัจจุบันนี้มันไม่ ดูแล้วมันจะไม่ค่อยมีนัก ครับ
ที่จริงเราก็ไม่ได้ถืออะไร คุณจะใช้คำอะไรก็แล้วแต่ จะใช้คำ ศีลธรรม คำอะไรก็ให้มันได้สิ่งที่เป็นสาระ ตัวเนื้อแท้ก็คือ คนมีการกระทำทางกายดีงาม กระทำทางวาจาดีงาม แล้วก็มีจิตใจดีงาม พูดดี คิดดี ทำดี อะไรเนี่ยนะ ส่วนจะเรียกวิชาอะไรก็แล้ว แต่ทีนี้ว่า เวลาเรียก เนี่ยความหมายมันเพี้ยนด้วย แต่เดิมอันนี้ก็เป็นเรื่องของพัฒนาการในสังคมไทยเอง ต้องเล่ากันยาวเลย คำว่าศีลธรรมนี้ เป็นคำเก่า แล้วต่อมาก็ คนคนไทยก็เกิดเป็นนิยมศัพท์ ฝรั่ง ว่าเราจะต้องมี Ethic ทีนี้ Ethic นี่เอ จะแปลเป็นไทยยังไง ก็เกิดการบัญญัติศัพท์ในที่สุด ในสมัยสักเมื่อ 40 ปีมานี้เอง คำว่า Ethic ก็มาบัญญัติเป็นภาษาไทยว่า จริยธรรม คำว่า จริยธรรมเกิดขึ้นช่วงใน ราว 40 ปี ทีนี้เกิดคำว่า จริยธรรมขึ้นมาเนี่ย คนไทยเรามีความโน้มเอียง ที่จะชอบศัพท์ที่มาจากฝรั่ง ก็เริ่มใช้คำว่า จริยธรรม มากขึ้นๆ แล้วเข้าสู่กระทรวงศึกษาธิการ ก็นิยมคำว่าจริยธรรมมากขึ้น คำว่า ศีลธรรม ก็ค่อยๆ ฝ่อ ค่อยๆเลือนลางลงไป ทีนี้ในสังคมเองก็ใช้กันมากขึ้น และต่อมาก็ในกระทรวงศึกษาธิการเองก็มี คำว่า จริยศึกษาก็เพื่อเรียนจริยธรรม ทีนี้ในแง่ของราชการก็มีการจัดสัมมนา อบรมจริยธรรม จริยธรรมกันใหญ่ เฟื่องขึ้นมา คำว่าจริยธรรม ก้าวขึ้นมาก็เข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็มีคำว่า ศีลธรรม บ้าง มีคำว่า จริยธรรมบ้าง ปนเปกันไป ต่อมา คำว่าจริยธรรมก็เริ่มมากขึ้นๆ คำว่า ศีลธรรม ก็ค่อยๆ หายไป เดี๋ยวนี้แทบไม่มีแล้ว ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คำว่าศีลธรรม จนเริ่มสำนึกกัน ว่าเอ๊ะไม่ได้แล้ว บางคนก็ว่าไม่ได้แล้ว คำว่าศีลธรรมสำคัญ แต่ว่าเป็นเรื่องยาวครับ ผมเทียบไว้ใน เรื่องหนึ่งที่เขียนในทางผู้พิพากษา ให้เห็นว่าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเนี่ย แผนหนึ่ง แผนสอง แผนสาม เทียบกัน คำว่า ศีลธรรมกี่ครั้ง จริยธรรมกี่ครั้ง
แล้วต่อมา คนไทยก็มามองว่า เอ๊ะ เราก็จะพัฒนาจริยธรรมก็ได้แต่ความประพฤติภายนอก อยู่ในสังคม แต่ว่าจริยธรรมความประพฤติเนี่ย มันต้องมาฐานในจิตใจ โอ้ไม่ได้แล้ว ทำไงต้องพัฒนาจิตใจด้วย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ขึ้นสู่ยุคหนึ่ง มีแผนพัฒนาจิตใจด้วย ใส่เข้าไปในนั้นเลยนะครับ แล้วก็เลยต้องมีคำว่าคุณธรรมขึ้นมา บอกว่าพัฒนาจิตใจจะเอาอะไรล่ะก็ต้องเอาคุณธรรม ต่อมาก็เลยเกิดคำว่าคุณธรรมขึ้นมาคู่จริยธรรม แต่ก่อนไม่มี ก็จะพูดว่า การพัฒนา การสัมมนาหรือการประชุมอบรมจริยธรรม ต่อมาก็มีการประชุมอบรมคุณธรรมและจริยธรรม ต่อมาก็ใช้คำว่าคุณธรรมและจริยธรรมนี่คู่กัน จนกระทั่งแผนในยุคหลังๆ เนี่ยคู่กันเลย เวลาพูดจะต้องคู่กันเป็นคำว่าคุณธรรมและจริยธรรมๆ ท่านไปดู ไปเทียบดู สังเกตความเปลี่ยนแปลง ก้าวหน้ามาอย่างนี้ เอาละครับ ก็คือว่าเป็นเรื่องของกระแสของสังคมเรา ที่ไปตื่นตะวันตก
ทีนี้พอพูดถึง จริยธรรมก็เอาอีก เอ๊ะ ไอ้จริยธรรมนี่ มันต่างกับศีลธรรมอย่างไร ก็เริ่มมีผู้ให้ความหมาย อ้อ ศีลธรรมก็คือ หลักความประพฤติดีงามที่อิงกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง จริยธรรมก็คือ หลักความประพฤติที่ดีงามทั่วไปที่ไม่อิงศาสนาไหน โอ้อย่างนี้มันต้องมีจริยธรรมสากล เอาแล้วสิครับ เกิดคำว่า จริยธรรมสากลขึ้นมา ทีนี้แม้แต่ในกระทรวงศึกษาธิการก็หาทางที่จะให้มีการศึกษาจริยธรรมสากล ที่ไม่ขึ้นต่อศาสนาไหน ถึงกับมามีการคิดกัน จะจัดวางหลักสูตร ว่าจริยธรรมสากลนี่ คือจริยธรรม หลักความประพฤติที่ไม่ขึ้นกับศาสนาไหน ประเทศไทยเรานี่มีพุทธศาสนา เราจะไม่อิงแล้วพระพุทธศาสนา ฉะนั้นเราก็มาคิดกัน ถึงกับตอนหนึ่งคิดกันขนาดนี้นะ มาประชุมกัน มาหาทาง ศัพท์ในทางความประพฤติที่เรียกว่า คุณธรรมจริยธรรม อะไรที่มาจากภาษาบาลีนี่ ให้ตัดออกเลิก เอ๊ะ คำว่าเมตตานี่ มันเป็นภาษาบาลี มาจากภาษาบาลี ไม่ได้ หาศัพท์ที่เป็นจริยธรรมสากล ก็ได้ ความรัก ต่อมาก็คำว่า สัจจะ มาจากภาษาบาลี ไม่ได้หรอก ก็มาคิดกัน อ้อ ความจริง ว่างั้นนะ ก็เอา สัจจะออก เอา ความจริง ใส่ ปัญญา คืออะไร เอ้า ความรู้ เลยใส่ไป ก็คิดกันไปอย่างนี้ ต่อมาก็คิดว่า เอ๊ะ สติ เอาอะไรดีน้อ คิดกันแทบตาย คิดหาศัพท์มาแทน สติ ไม่ได้ เอาละสิ คิดไปๆ ชัก เป็นปัญหา ตกลงบางคำนี่ทิ้งไม่ได้ ต้องเอาคําที่มาจากภาษาบาลี เรากลับมาประสบปัญหาที่คนโบราณเขาเจอกันมาแล้ว ใช่ไหมฮะ คือ เวลาธรรมะเข้ามาสู่ภาษาไทย พระมาสอนธรรมะเมืองไทยเนี่ย คนไทยก็ต้องคิดหาศัพท์ของตัวเอง พระก็หาศัพท์มาสื่อ ตอนแรกก็หาศัพท์ที่พอสื่อได้ ก็มาก็รู้ว่า มันจะสื่ออย่างไร มันแทนไม่ได้ คนเรา พอเรารู้ศัพท์เดิมเข้ามา เราเข้าใจดีเราก็ใช้ศัพท์เดิม ทับศัพท์ การทับศัพท์ มันจึงมีขึ้นเพราะความจำเป็น ความต้องการในเรื่องของความชัดเจนในความหมายนี่เอง เหมือนกับฝรั่งที่เอาศัพ์ทางเมืองไทย ทางพุทธศาสนาไปตอนแรกก็ต้องแปลภาษาอังกฤษ ต่อมาแปลยังไงๆก็หาศัพท์ที่มันตรงไม่ได้ ก็มีความโนมเอียงที่จะทับศัพท์ สมาธิ นิรวาณ สติ สมาธิ อะไรต่ออะไร Meditation สมาธิ ไม่แปลแล้ว เดี๋ยวนี้ ก็ใช้ทับศัพท์ มันจะเป็นอย่างนี้ แทนที่จะไปแปลก็เอาในแง่ อะไรมันจะเป็นประโยชน์ที่แท้จริงกว่ากัน มันน่าจะคิดอย่างนั้นใช่ไหม เนี่ยคนเรามันคิดไปนะ เค้าก็อยากจะได้จริยธรรมสากลก็พยายามยกเลิก คําที่มาจากบาลี สันสกฤต ไปไม่รอด อันนี้ผมยกตัวอย่างให้ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีแนวคิดที่เป็นจริยธรรมสากลอยู่ คือจริยธรรมที่ไม่อิงต่อศาสนาไหน แต่ว่าในแง่ศัพท์เขาคงยอมรับแล้วว่า มันไปไม่รอด ก็เอาในแง่หลักการ แต่ถึงหลักการมันก็อีกแหละ ในทางพุทธศาสนา เราบอกว่าคุณจะมาเลือกจริยธรรม โดยไปดูว่าประเทศโน้น ถือว่าความประพฤตินี้ดี ประเทศนี้ก็ยอมรับ ประเทศนี้ก็ยอมรับ ความประพฤติไหนที่ทุกประเทศยอมรับว่าดีเหมือนกัน ก็ตกลงอันนั้นเป็นจริยธรรมสากล เพราะว่าหลักความดีความชั่วประเทศนี้ว่าดี ประเทศนั้นว่าไม่ดีอะไรเนี่ย เรียกว่า ไม่สากล พุทธศาสนาบอกว่ามันตัดสินด้วยอย่างนั้นไม่ได้ มันตัดสินใจด้วยธรรมชาติ ความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นตัวตัดสิน ความเป็นจริยธรรมสากล มันสากลที่เป็นจริง เป็นจริงตามธรรมดาธรรมชาติ มันไม่ใช่สากล เพราะว่าคนทั้งหลายยอมรับเพราะว่าคนเหล่านั้นมีปัญญาก็มี ไม่มีปัญญาก็มี ใช่ไหมฮะ
(เสียงพระนวกะ ถาม) จะขอทราบแนวทาง การหาประโยชน์จากการที่คนทะเลาะกัน เอ่อ ถ้าได้เป็นขั้นตอนก็ดีครับ (เสียงหลวงพ่อ) ไม่ใช่แล้วทำไม จึงมาพูดเรื่องนี้ เรื่องวาจาไม่รู้ (เสียงพระนวกะ) ท่านบอกว่า แนวทางคือ ต้องปัญญาปราสาท (หลวงพ่อ) อ๋อๆ อันนี้เป็นขั้นตอนอย่างหนึ่ง ก็คือ หนึ่งก็คือ เราต้องตั้งท่าทีให้ถูกต้อง ว่าเราเป็นพวกประชาชน เราเป็นพวกที่เป็นส่วนร่วมในประเทศชาตินี้ทั้งหมด ที่เขาเรียกรวมว่าประชาชนเนี่ย เรายังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่นะ อย่างน้อยเราก็มีจุดหมายร่วมกัน จุดหมายของเรานี่ยังไม่ได้เปลี่ยนเลย ยังคงอยู่ว่าเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม แล้วเราก็เหมือนกัน อันนี้เราไม่ได้ต่างกันเลย เป็นแต่เพียงว่าวิธีการที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมนี้ มันอาจจะแตกต่าง ตอนนี้เราจะเพิ่ง เรายังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในจุดหมายรวม
สองระบบประชาธิปไตย ก็ประชาชนเป็น เป็นผู้ปกครอง เราก็เป็นผู้ปกครอง เพราะฉะนั้นเราก็ยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในฐานะผู้ปกครอง นี่ใกล้เรื่องเข้ามาแล้ว ก็คือ เรื่องนี้ที่เกิดขึ้นเราเป็นผู้ปกครอง เราต้องเป็นใหญ่ เป็นผู้ตัดสินว่าจะเอาไง ไม่ใช่พวกนั้นไปตัดสิน
เพราะฉะนั้น แล้วเมื่อเราวางท่าทีถูกต้อง ท่าทีถูกต้องแล้วก็ใช้ปัญญา ต้องมองเข้าใจสถานการณ์ ก็จึงบอกให้ขึ้นปัญญาปราสาท มองสถานการณ์ใด มองลงมารวมๆ ไม่ใช่ไปอยู่ในสนาม พอไปคลุกอยู่ในสนามแล้ว มันก็เข้าข้างโน้น ข้างนี้ ใช่ไหม ในฝ่ายที่ตัวอยู่เนี่ย มันจะเห็นเป็นว่าตัวถูกหมด ถูกไหม เราไม่ได้ไปเห็นข้างโน้น เนี่ยพวกที่อยู่ในสนามเนี่ย มันอยู่ในจุดใด จุดหนึ่ง แล้วจุดใดจุดหนึ่ง ก็อยู่ข้างใดข้างหนึ่ง แล้วมันก็จะมองจากข้างตัว แล้วมันก็เลยไม่รู้ เพราะฉะนั้นท่านก็เลย ถอนตัวออกจากจุดที่ ตัวอยู่ในสนาม สนามรบหรือสนามแข่งอะไรก็แล้วแต่ ถ้ามันเป็นสนามกีฬามันก็เป็นสนามแข่ง ถ้ามันเป็นสงครามก็เป็นสนามรบ อย่างนี้มองอะไรไม่ชัดเจนหรอก ต้องขึ้นจากสนามขึ้นไปอยู่บนภูเขาหรือเป็นอยู่บนปัญญาปราสาทแล้วก็มองลงมา อ้าวละนะ ประชาชนต้องขึ้นปัญญาปราสาท มองลงมาแล้วคุณจะได้เห็นอะไรชัดเจนขึ้นมา อันหนึ่ง คือ ท่าที สองก็เรื่องปัญญา มองเข้าใจสถานการณ์ให้ถูกต้อง สามก็มาถึงขั้นที่ว่าเนี่ย เรามั่นในจุดหมายว่าเราจะแก้ปัญหาของประเทศชาติ เราต้องการประโยชน์สุขของสังคมส่วนรวมนี่แน่นอน แล้วที่เกิดสถานการณ์นี้ก็อ้างว่าทำเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนหรือว่าประเทศชาติ เขาทำหรือไม่ แต่ยังไงก็ตาม จะทำไม่ทำ เค้าก็เป็นเครื่องมือของเรา ก็เราก็จะต้องหาทางเอาพวกนี้เป็นเครื่องมือ อย่าไปเป็นเครื่องมือของเขา ใช่ไหมฮะ จริงไม่จริง อ้าวเอาเค้าเป็นเครื่องมือ อ้าวคุณยอมเป็นเครื่องมือฉันไหมล่ะ คุณต้องฟังนะ อย่าเอามาบงการฉันไม่ได้ เราก็มาตกลงฟังกันน่ะ ตอนนี้เราไม่เป็นฝักเป็นฝ่ายไหน หรือแม้แต่ในบ้านถ้าตั้งท่าทีถูก จะไม่ทะเลาะกันน่ะ เวลานี้ได้ทราบว่า ทะเลาะกันแม้แต่ในบ้าน ในครอบครัว สามีก็ไม่ฟังภรรยา ภรรยาก็ไม่ฟังสามี ลูกกับพ่อแม่ ดีไม่ดีก็ยังทะเลาะกันอีก ได้ข่าวไปถึงขั้นที่ว่า อะไร เอ๊ะ ว่าไงนะ เขาเล่าให้ฟัง ทำนองว่าแท็กซี่ว่าคนขึ้นแท็กซี่เนี่ย พูดไปเข้าข้างฝ่ายหนึ่ง คนขับแท็กซี่ไล่ให้ลงเลยนะ เป็นคนละพวก หรือว่าได้ข่าวคนเข้าร้านอาหาร คนเข้าร้านอาหารนี่เกิดพูด ไม่ถูกหูก็คนละฝ่ายกับเจ้าของร้าน เจ้าของร้านไล่ออกจากร้านเลย เอ๊ะ คนไทยเป็นถึงขนาดนี้แล้วเหรอ เจ้าของประเทศ ทำไมมาแตกกันเล่า ใช่ไหม
เจ้าของประเทส นี่ต้องมาพูดกันเลย แล้วเราก็ต้องเป็นผู้พิสูจน์ หนึ่งเราเอาท่านเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือ และก็สองเราก็ต้องพิสูจน์ท่านเหล่านั้น ตรวจสอบและให้เขาพิสูจน์ตัวเอง อย่ายอม ประชาชนเป็นใหญ่ คุณก็ยอมรับด้วยซ้ำ คุณบอกว่าประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน แล้วจะไปยอมได้อย่างไร มันมีหลักการใหญ่ๆ อีกคือว่าตอนนี้ ต้องเอาหลักการใหญ่ๆ นี่มาพูด พอเราเข้าถึงไอ้ตัว ตั้งท่าทีอะไรต่ออะไรแล้วเนี่ย ก็เอาหลักการใหญ่มาพูด ว่าโดยหลักการใหญ่มันเป็นอย่างนี้ๆ วิธีปฏิบัติ แล้วทุกคนเนี่ยจะสามารถใช้หลักการเหล่านี้มา พิจารณาและปฏิบัติต่อเรื่องนี้ ไม่ใช่ไปอยู่ไปฝักเป็นฝ่าย ฝ่ายไหนก็ปฏิบัติได้ทั้งนั้น อ้าวเดี๋ยวท่าน แทรกปัญหาสะก่อน ผมยังนึกอะไรไม่ค่อยออก คือมันมีหลักการใหญ่ๆที่ควรรู้เอามาใช้ประโยชน์ได้
(เสียงพระนวกะถาม) จะขอเรียนถาม พระเดชพระคุณหลวงพ่อครับว่า หลักการตัดสินของประชาชนเนี่ย ถ้าเกิดประชาชนไม่รู้หลักอย่างเช่นว่า จะตัดสินด้วยอธิปไตยแต่ละข้อเนี่ย อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตย เนี่ย ก็แต่ละคนก็มีเหมือนกัน ก็ถ้าเกิดอยากให้เป็นธรรมจริงๆ ก็ต้องตัดสินด้วยธรรมาธิปไตยใช่ไหมครับ
(หลวงพ่อ) ครับ ท่านก็บอกไปแล้วไง คือ อัตตาธิปไตย มันถือตัวเป็นใหญ่ อย่างหยาบก็ถือ ผลประโยชน์ของตัวเอง อันนี้ใช้ไม่ได้แล้ว ใช่ไหมฮะ ไปๆ มันก็ถือความคิดเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ มันก็ติดในทิฐิ ฉะนั้นก็ต้องระวังหมด แล้วโลกาธิปไตย ก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง แล้วแต่พวกมากลากไป เพราะฉะนั้นก็เลยถือธรรมเป็นใหญ่ ก็เลยท่านก็พยายามให้เราเรียนรู้หลักการเหล่านี้ไว้ เพราะหลักการนี่มันจะใช้ได้เรื่อย เราก็ถือหลักการนี้เป็นตัวเกณฑ์ ตัดสิน ก็เป็นธรรมาธิปไตย ธรรมาธิปไตยจึงต้องเป็นตัวแกนของประชาธิปไตยอีกที ธรรมาธิปไตยก็ตั้งแต่ นิติธรรม ธรรมะมีหลายระดับ ธรรมะที่มนุษย์มาตกลงกัน วางเป็นแบบแผน กติกาของประเทศชาติสังคมของตัวเอง ก็เรียกนิติธรรม แต่นิติธรรมนี้ไม่แน่นอนบางทีมันเป็นเรื่อง มันไม่ยุตธิรรมก็มี ในบางยุคบางสมัยผู้ปกครองประเทศชาติเนี่ยมีใจไม่เป็นธรรม บางทีวางกฎหมายที่เพื่อที่ประโยชน์ของชนชั้นตัวเอง แล้วก็มีไอ้เรื่องของ หนึ่งก็คือ ผลประโยชน์ สองก็ลืมอำนาจ ต้องการจะกดคนพวกนั้นพวกนี้ไว้ในอำนาจของตัวเองอะไรเงี้ย รวมแล้วก็คือเรื่องของ อัตตาธิปไตย และก็ทิฐิ แนวคิดของตัวเองที่ยึดถือ เช่นมีอุดมการณ์ของตัวเองอย่างหนึ่งก็จะต้องวางกฎหมายให้เข้าแนวอะไรอย่างนี้ เนี่ยไอ้สามตัวนี้เป็นตัวสำคัญ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องมีธรรมาธิปไตย เพราะฉะนั้น นิติธรรมก็ต้องแก้เรื่อยๆ ถ้าต่อไปเราพิจารณาเห็นว่า ไอ้นิติธรรมตัวนี้ บทบัญญัติกฎหมายอันนี้ไม่ถูกต้อง ก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข แต่ว่าจะต้องชัด แล้วก็ต้องพูดให้มันเห็นชัดด้วยปัญญา แต่ทีนี้ว่าในกรณีที่ว่าธรรมาธิปไตยเนี่ยประชาชนทั่วไปเนี่ยยอมรับตัวเองว่า มันขึ้นต่อความคิดเห็นอีก บางทีมอง หลักการเดียวกัน ก็เข้าใจเหมือนกัน ใช่ไหม ก็จึงต้องตั้งตัวแทนขึ้นมา และตัวแทนเหล่านี้เราไม่ได้ยอมรับไปตลอด คือ มันต้องมองหลายชั้น แม้แต่ประชาธิปไตยเนี่ยเรายอมรับเสียงข้างมาก แต่เสียงข้างมากไม่ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป
เมื่อร้อยปีมาแล้ว คนตั้ง ตอนนั้นมีกี่ร้อยล้านก็ไม่รู้ ทั้งโลกเนี่ยจะพันล้าน ถึงรึยังก็ไม่รู้ เอ้าสักพันล้านก็แล้วกัน สมมุติว่า เก้าพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าล้านคนเนี่ย เห็นว่าโลกแบน มีคนเดียวเห็นว่าโลกกลม ปรากฏว่าไอ้เสียงข้างมาก ผิดใช่ไหม ถึงได้บอกว่า เสียงข้างมากมันตัดสินความจริงไม่ได้ แล้วเสียงข้างมากตัดสินอะไร ตัดสินความต้องการว่าจะเอาไง ทีนี้โดยปกติประชาชนเนี่ย ก็คือต้องการผลประโยชน์ของส่วนรวม เพราะฉะนั้น เอาว่าเอ่อประชาชนก็ต้องการยังไง แต่ความต้องการนี้มันต้องเป็นความต้องการที่ดีงาม เป็นธรรม เราก็เลยต้องพัฒนาคนด้วยศึกษา เพื่อให้คนมีจิตใจดีงาม ปรารถสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนร่วม ในเห็นแก่ตัว ถ้าประชาชนไม่มีการศึกษา มันก็ออกเสียงเพื่อประโยชน์ตัวอีก มันก็ไม่ได้เรื่องอีก เสียงข้างมากไม่ได้เป็นเกณฑ์ตัดสินเสมอไป แต่เราก็ต้องยอมรับ แต่พร้อมกันก็คือ พร้อมกับการที่เรายอมรับเสียงข้างมากเราจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพประชาชน ตลอดเวลา คือ มีการศึกษา การศึกษาต้องคู่กับ ประชาธิปไตย ทีนี้ว่าหากว่า การศึกษาไม่ดีประชาชนไม่มีคุณภาพ ประชาธิปไตยไม่มีทางพัฒนาหรอก มันก็เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว แม้แต่ซื้อเสียงได้ พอซื้อเสียงได้ มันก็จบ ใช่ไหม ทีนี้มันก็เป็นปัญหาของประชาธิปไตยกันไม่รู้จักจบ แต่ทีนี้เราต้องยอมรับ ว่าเอาละอย่างน้อย ไอ้เสียงข้างมากมันได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่ว่าเราต้องพัฒนาประชาชนกันต่อไป ไม่ใช่แค่นี้ คือเรามองสังคมว่า พัฒนาอยู่ มันไม่จบ ไม่ใช่ตันแค่นี้ นี่คือบทเรียน
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือการที่พยายามแก้ไขปัญหากันไป แล้วทำในใจว่าเราไม่ประมาท เราจะพัฒนาประชาชนต่อไป มันไม่จบแค่นี้ เพราะฉะนั้นพวกที่แก้ปัญหากันอยู่เนี่ย บอกจะให้ได้อย่างที่พอใจก็ไม่มีทางเหมือนกัน เพราะเราต้องยอมรับ เอ้าจริงไม่จริง ประชาชนไทยเนี่ยมีคุณภาพดีพอไหม เอ้า ว่าตรงๆนะ ท่านยอมรับไหม (เสียงพระนวกะตอบ) ยัง (หลวงพ่อ) แค่นี้ก็ยอมแล้วใช่ไหม ผมว่าในทีนี้ไม่มีใคร ยอมรับ ว่าคุณภาพคนไทยเพียงพอ
ก็เราไม่ยอมรับ เราก็พัฒนามันต่อไปสิ เอ้า ขออภัย ใช้มัน อีกแล้ว ก็ใช้ว่า พัฒนาประชาชนต่อไป พัฒนาคุณภาพประชาชนเนี่ย ต่อไปฉะนั้นเราไม่หยุด แต่ว่ากระบวนการเนี่ยมันเป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง เราไม่ได้ยอมจบยอมตันเท่านี้ แล้วเราก็ต้องยิ่งไม่ประมาท เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนี่ย กลับเป็นเครื่องเตือนใจเราใช่ไหม ให้เราต้องขมีขมัน ขวนขวาย เร่งแก้ไขปัญหา เร่งหาทางพัฒนาคุณภาพประชาชนต่อไปให้ดีขึ้นแต่ว่าเราจะให้เหตุการณ์ มันมาทำลายเราทำไมเล่า ก็เอาเหตุการณ์ที่มันไม่ดีเนี่ย มาเป็นเครื่องมือ มาเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนใจ มาเป็นตัวช่วยอย่างน้อยบีบบังคับ ให้มีการแก้ไขให้มันทางดี แต่ว่าอย่าให้เกิดความเสียหายขึ้นมา ฉะนั้นคุณจะต้องเอาประโยชน์จากสถานการณ์นี้ให้ได้
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ หนึ่งอย่างน้อยทำให้ไม่ประมาท ฝ่ายรัฐก็ทำให้ผู้ที่จะมาเป็นนักการเมือง ก็ต้องระวังตัวมากขึ้น ใช่ไหม แล้วมันก็พัฒนาประชาธิปไตยให้ดีขึ้น แต่ว่าแค่นี้ไม่พอหรอก ที่ดีที่สุดคือทำไงจะพัฒนาประชาชน พัฒนาแค่นักการเมืองมันก็ต้องขึ้นต่อการพัฒนาประชาชน ถ้าคุณภาพประชาชนมันไม่ดี แล้วนักการเมืองมาจากไหน นักการเมืองก็มาจากประชาชนนั่นแหละ ถูกไหม นักการเมืองมาจากประชาชนทั้งในแง่ที่ว่า หนึ่งประชาชนนั้นคุณภาพดีไม่ดี ก็มาเลือกคนที่ดีไม่ดีนั่นก็หนึ่ง สองไอ้คนที่ให้เขาเลือก เอาอีกแล้ว ไอ้อีกแล้ว แม้แต่คนที่มาสมัครรับเลือกตั้ง ให้เขาเลือก นั่นก็มาจากประชาชนเหมือนกัน ถูกไหม ทั้งสองแง่ คนที่ถูกเลือกก็มาจากประชาชน คนที่มาเลือกให้เขาเป็นก็เป็นประชาชน หนีไม่พ้นจะต้องพัฒนาคุณภาพประชาชน ก็คือต้องมีการศึกษาที่ถูกต้อง มันก็จะเป็นปัญหาการศึกษาอีกว่า ถ้าทำไงเราจึงจะมีการศึกษาที่ดีที่ ที่ถูกต้อง ต้องไปปรับปรุง แก้ไขการศึกษาแสดงว่าการศึกษาที่เป็นอยู่เนี่ย มันไม่ดีมันไม่มีคุณภาพแท้จริงด้วย มันไม่ใช่แก้ปัญหาแค่ที่เขาพูดกันได้ คุณจะจัดระบบยังไงก็ตาม ถ้าการศึกษามันไม่ดีนะ ไปไม่รอดหรอก เนี่ย ตอนนี้ก็ติดอยู่แค่นั้น จะจัดวางระบบ ยังไงๆอะไรต่ออะไร จนกระทั่ง จะมันไม่ฟังกันด้วยซ้ำน่ะ บอกคุณมันไม่ใช่แค่นี้หรอก มันมีรากฐานที่ลึกซึ้งกว่านั้นอีก แล้วคุณน่ะมีพร้อมอยู่แล้วยัง เอาละท่านจะถามอะไรไหมครับ
(เสียงพระนวกะ ถาม) อยากจะให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อ สรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับปัจจุบัน กับสิ่งที่เราพูดกันวันนี้ว่า เราควรที่จะวางท่าทีที่ว่า จะปล่อยให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยหรือว่าเราควรจะ ทำยังไงต่อไปครับ กับเหตุการณ์
(หลวงพ่อ) เอ้าจะยอมให้เป็นได้ยังไง ก็บอกแล้วว่าประชาชนต้องเป็นใหญ่ ทำหน้าที่ให้ถูกสิ ตอนนี้ประชาชนทำหน้าที่รึเปล่า มันกลายเป็นว่า มีสองฝักสองฝ่ายที่ทำหน้าที่ ไม่ได้ทำหน้าที่น่ะ ทำอะไรก็ไม่รู้ ทำบทบาทอยู่ แสดงบทบาทกันอยู่ เราก็ไม่ได้ด่า ไม่ได้ว่าท่านเหล่านั้น นะ แต่ว่าเราให้หลักในการพิจารณา ตอนนี้ประชาชนก็คือเจ้าของเรื่อง แม้ว่าท่านเหล่านั้นจะทำเรื่อง แต่คนที่เป็นเจ้าของเรื่องต้องเป็นประชาชน พวกนั้นเป็นพวกทำเรื่อง แล้วอย่าให้เขาเป็นเจ้าของเรื่อง ประชาชนจะต้องเป็นเจ้าของเรื่อง ทีนี้ท่านก็เตือนแล้ว เวลาหมดไปนานแล้ว
ขอให้หลักอีกอันหนึ่ง ประชาชนเนี่ยจะเป็นเจ้าของเรื่อง แล้วจัดการได้ ตัดสินได้ ดำเนินการได้ ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจ ก็เริ่มที่ว่ามีท่าทีที่ถูกต้อง ใช่ไหม แล้วทีนี้ก็ต้องมีปัญญา รู้เข้าใจ ก็รู้เข้าใจแม้แต่หลักการ หลักการใหญ่ หลักการย่อย หลักปฏิบัติ แล้วจะมาวางวิธีปฏิบัติได้ ถ้าคนไม่รู้เข้าใจหลักการ มันก็วางวิธีการไม่ได้ ทีนี้หลักการ ที่เราจะต้องช่วยให้เยอะๆ มันมีหลักการที่ผมยังพูดไม่จบ วันนี้ก็อยากจะให้อีกอันหนึ่ง คือที่ประชาชนควรจะรู้ แล้วเป็นการที่เราไม่เข้าใครออกใคร เราเป็นกลางก็ได้ แต่ทีจริงเราไม่ต้องบอกเป็นกลาง เพราะเป็นกลางเดี๋ยว นี้หมายความว่าไม่อยู่ข้างไหน ก็เลยบางทีเป็นกลางแบบนั้น เป็นกลางแบบไม่ได้เรื่อง เราก็อาจจะเป็นปญญาปาสาโท ขึ้นอยู่กับปัญญาปราสาท อยู่เหนือ แล้วก็ไปจัดการให้มาทำให้ถูกต้องทุกฝ่าย ทีนี้หลักการอันหนึ่งที่สำคัญ คือหลักการของ สภาพจิต ที่มันมาบงการพฤติกรรมของมนุษย์ เรียกว่า แรงจูงใจที่แฝงอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมก็ได้ อันนี้มันเป็นตัวบงการประวัติศาสตร์เลย บงการความเป็นไปในสังคมตั้งแต่เล็กในครอบครัว จนถึงสังคมชาติ สังคมโลก ระหว่างประเทศ แล้วก็ตลอดประวัติศาสตร์เป็นอย่างนี้ พูดย้ำบ่อยๆเลยนะ แล้วเอามาใช้ได้เรื่อย
มนุษย์ทำการด้วยแรงจูงใจ ถ้าไม่ถูกธรรมะเนี่ย คือมันเป็นมนุษย์ มันก็เป็นปุถุชนแหละ ปุถุชนก็ย่อมมีกิเลส แล้วกิเลส สามตัวเนี่ยมันจะมาก่อนเลย มนุษย์จะต้องพยายามเอาชนะตัวเอง เพื่อจะไม่ให้ตกอยู่ใต้อำนาจมัน แล้วก็จะได้ทำให้ถูกต้อง เราพัฒนามนุษย์ก็เพื่ออันนี้ เพื่อจะได้พ้นจากอำนาจไอ้ตัวบงการที่มันเป็นกิเลส ที่ไม่ถูกตอนนี้ ขึ้นมาทำสิ่งที่ถูกต้องตามธรรม แต่ตราบใดที่เจ้าสามกิเลสเนี่ย มันยังบังคับ บงการในจิตใจเราอยู่เนี่ย เราก็เข้าถึงธรรมไม่ได้ ความถูกต้องที่แท้จริงก็เป็นไม่ได้
มีอะไรบ้าง นี่แหละที่ท่านมีพูดมาตลอด กิเลสชุดนี้ ท่านอาจจะนึกว่า โลภะ โทสะ โมหะ อันนั้นก็ใช่ ท่านเรียกว่า อกุศลมูล แต่ที่เป็นตัวสำคัญ เป็นอีกชุดหนึ่ง เป็นตัวที่มาจากโลภะ โทสะ โมหะ นั่นแหละ แต่มันออกมาสู่วิถีชีวิตของมนุษย์โดยตรง ก็คือท่าน เรียกว่า ตัณหา มานะ และทิฐิ คือสามตัวนี้ ตัณหาคืออะไร คือความอยากได้ผลประโยชน์ ตั้งแต่ กาม สิ่งเสพบริโภคเพื่อตนเอง ต้องการลาภ ต้องการผลประโยชน์อันนี้เรื่องใหญ่เลยใช่ไหม ต้องการสิ่งบำรุงปรนเปรอตนเองด้านหนึ่งแล้ว มนุษย์ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาก็ ขัดแย้งกันเพราะเรื่องนี้ แย่งลาภ แย่งผลประโยชน์ แย่งสามีภรรยา แย่งกาม แย่งอะไรกันนี่แหละ ตัณหา สอง มานะ ความต้องการเป็นใหญ่ ความต้องการโดดเด่น เป็นหนึ่งเดียว ท่านแปลว่า เกตุกมฺยตา ความต้องการเป็นเด่นดุจธง เนี่ยอันนี้ตัวกิเลส ตัวนี้ ต้องการเด่นยิ่งใหญ่ ต้องการข่มผู้อื่นลง เหนือคนอื่น ต้องการเหนือคนอื่น ต้องการเด่นดัง เหนือ ยิ่งใหญ่ ความต้องการอำนาจนั่นเอง หนึ่งผลประโยชน์ ทรัพย์ สอง อำนาจ ความต้องการสองอย่างนี่ ตลอดประวัติศาสตร์เลย ทำให้ผู้ปกครองประเทศอย่างราชามหากษัตริย์ ยกทัพไปรุกรานกัน ใช่ไหม ไปแย่งดินแดนเขา ไปเอาทรัพย์สมบัติของเขา รบกันมาตลอดประวัติศาสตร์ไอ้เรื่องนี้ หนึ่งต้องการผลประโยชน์ทรัพย์สินเงินทอง และสองต้องการอำนาจ แล้วก็อำนาจมาเพื่อจะยิ่งได้ผลประโยชน์มากขึ้น ได้ผลประโยชน์ก็ยิ่งมีอำนาจมากขึ้น ได้เจ้าสองตัวนี้มันอิงกันอยู่ ก็คือ ตัณหา มานะ แล้วอันที่สาม ทิฐิ ตัวนี้คนทั่วไปไม่ค่อยนึก ตัวนี้ประณีตมาก ก็คือความยึดติดในความคิดเห็นความเชื่อลัทธิศาสนา อุดมการณ์ของตน ตัวนี้ร้ายมาก คนเราทำสงครามแย่งชิงผลประโยชน์ พอได้ผลประโยชน์มา จบ ใช่ไหมฮะ ได้ความเป็นใหญ่ จบ ไอ้ฝ่ายนั้นมันยอมแล้ว รบกัน หรือว่าถ้าฆ่าได้เฉพาะกรณีนั้น ศัตรูจบไป
แต่ถ้าทิฐิไม่จบ ยึดถือว่า เอาแล้วเอามันมีหลายอย่าง ชนเผ่าของตัวเอง นี่ยึดเผ่าพันธุ์ ยึดเชื้อชาติ แค่นี้ก็รบกันตลอดประวิติศาสตร์ ใช่ไหม มันไม่จบ ชนะคราวนี้ก็ไม่จบ เชื้อชาติยังอยู่ มันก็ยึดกันอยู่ มันจะต้องเอาชนะกันเนี่ย รบกันตลอด ขออภัยเถอะเอาจริงๆ แค่อาหรับกับยิว เท่าเนี่ย ใช่ไหม รบกันกี่พันปี มันก็ไม่จบ ทำร้ายไอ้ความยึดในเชื้อชาติไม่ได้ ฮิตเลอร์อ้างอะไร อ้างเพื่อจะรบให้ได้สำเร็จ อ้างเพื่อความยิ่งใหญ่ของเผ่าอารยัน งั้นนะ ฮิตเลอร์นี่อ้างอารยัน ใช่ไหม่ ชนชาติอารยัน เอาตัวนี้เป็นตัวปลุก เพราะฉะนั้น ฆ่าหมด ยิว เนี่ยความยึดถือ ยึดมั่นในทิฐิ ทิฐิหนึ่งก็เนี่ย เชื้อชาติ แล้วก็ความเชื่อลัทธิศาสนา ลัทธิศาสนาต้องเชื่ออย่างนี้ เชื่ออย่างอื่นไม่ได้ ต้องนับถือพระเจ้าองค์นี้ นับถือพระเจ้าอื่นไม่ได้ ก็บังคับ กดขี่ ปราบปราม ฆ่าฟันกันใช่ไหม สงครามลัทธิศาสนา สงครามทิฐิ ความยึดมั่นในเชื้อชาติ และยุคต่อมาก็ อุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ อุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตย ตอนก่อนก็เรียกว่าเสรีนิยม ตอนนี้ตั้งแต่ตอนโซเวียตล้มเนี่ย อเมริกันเนี่ยเอาคำว่าทุนนิยมเนี่ย มา Identify กับคำว่าประชาธิปไตยนี่นะ เรียกว่า Free Market Democracy อาจจะเป็นท่าน บิล คลินตัน หรือเปล่าไม่รู้ เป็นพูดคนแรก เรียกว่า Free Market Democracy ประชาธิปไตยแบบตลาดเสรี เข้าใจว่าก่อนยุค บิล คลินเนี่ย ศัพท์นี้ยังไม่เกิด ก็คือ ทุนนิยม ก็คือทุนนิยม Capitalism Free Market System ใช่ไหม และก็ ประชาธิปไตย Democracy ก็ว่าไป ตอนฝ่ายคอมมิวนิสต์เค้าก็บอกเค้ามี People's Democracy มีประชาธิปไตยของประชาชน อเมริกันเอามารวมกันเป็นอันเดียวกันเลยว่าประชาธิปไตยก็คือทุนนิยม ทุนนิยมก็เป็นเสรีนิยมแต่ละบุคคล อย่างแรงก็คือมือใครยาวสาวได้สาวเอา ใช่ไหม อันนี้ลัทธิอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ กับเสรีนิยมประชาธิปไตยเนี่ย ได้เป็นคู่แข่งกันมาหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านไปใช่ไหม ตอนนี้ก็กลายเป็นว่า เกิดเป็นไอ้เรื่องการแข่งขันในค่ายอุดมการณ์ ก็เกิด Cold War สงครามเย็น ตลอดมา จนกระทั่งมาจนตอนโซเวียตล่ม ก็จบไปอีกตอนหนึ่งสงครามเย็น พอสงครามเย็นใหญ่ล้มลงไป สงครามร้อนก็ฝุดขึ้น ที่โน่นที่นี่กันใหญ่ เอาละครับเนี่ย อุดมกาณ์ก็เรื่องใหญ่ เนี่ย รบกันมา จะเปลี่ยนประเทศ ตอนนั้นไทยก็นึกว่าโดน Domino เข้าให้แล้ว เตรียมจะไปด้วยมีหวังเป็นคอมมิวนิสต์ด้วย ก็ไม่ล้มอะไรนี่ บทเรียนจากประวัติศาสตร์
เอาละครับ ตัวสำคัญที่บงการอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ นอกจากตัณหา มานะ คือตัวที่สามตัว ทิฐิ อันนี้ประณีตลึกซึ้งและรุนแรงยิ่งกว่าอันที่หนึ่งที่สอง สงครามศาสนาของคิดดูสิครับ ในยุโรปนี่รบกัน Thirty Years' War สงคราม 30 ปี ระหว่างประเทศฝ่ายคาทอลิกกับประเทศฝ่ายโปรเตสแตนต์ ฝ่ายประเทศโปรแตสแตนต์ก็รวมกัน ฝ่ายคาทอลิกก็รวมกันนะ รบกัน 30 ปี ในประเทศเดียวกันก็รบกัน อย่างในประเทศฝรั่งเศส ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ต่อ 14 เนี่ย ก็มีพวกโปรแตสแตนต์ กับ คาทอลิก คาทอลิกเป็นใหญ่ โปรแตสแตนต์ เรียกว่าพวก Huguenot พวกนั้นก็ขึ้นมา พวกนี้ก็ไม่ยอม พวกคาทอลิกก็ปราบ ก็บาทหลวงใหญ่เป็น Cardinal Richelieu เป็นพระอัครมหาเสนาบดีของฝรั่งเศสก็ปราบ Huguenot พวกโปรแตสแตนต์นี่ จนกระทั่งเรียกว่าพินาศไปอะไรเนี่ย ตายกันไปเยอะแยะ อังกฤษก็รบกันฆ่ากัน โอ้ประวัติศาสตร์ ยาวนาน พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ตั้งตัวเป็นประมุขตั้งศาสนจักรใหม่ Church of England ขึ้นมา เป็นประมุขศาสนจักรเอง ลูกคือ Marry Mary The Bloody เป็นลูกของพระราชินีองค์เก่า พอพ่อสิ้น ขึ้นมาปกครอง ตัวก็ฟื้นคาทอลิกขึ้นมา เป็นคาทอลิกก็ฆ่า โปรแตสแตนต์ก้น ขนาดเผาทั้งเป็น ได้ชื่อว่า Mary The Bloody พระนางแมรีละเลงเลือด หรือ กระหายเลือด พอ Marry สิ้นไป Elizabeth เป็นลูกมเหสีองค์ใหม่ เป็นโปรแตสแตนต์ขึ้น ก็กดพวกคาทอลิกลงใหม่ อังกฤษประเทศเดียวก็ยุ่ง จนกระทั่ง เนี่ยเป็นเหตุให้หนีไปอเมริกา การที่หนีไปอเมริกาเพราะการกดขี่ Persecution เป็น Religious War และ Religious Persecution การห้ำหั่นบีฑาทางศาสนา พวกนี้ก็ไปเพื่อ Freedom เพราะฉะนั้น Freedom ก็เป็นคำสูงสุดเป็นอุดมคติของอเมริกัน ไปเพื่อหา Freedom อะไรเนี่ยประวัติศาสตร์นี่ยาวนานมาก
เอาละครับ ทีนี้ ประเด็นของเราก็คือว่าไอ้เจ้า ทิฐิ นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก ทีนี้พวกทิฐินี่จะมีลักษณะอย่างหนึ่ง คนที่จะเป็นผู้นำในด้านทิฐิ เนี่ย มันจะมีลักษณะต่างจากพวกตัณหาและมานะ ตัณหานี่พวกนี้ มีลาภ มียศ มีเงินมีทอง อำนาจยิ่งใหญ่ก็แสวงหากัน คือพวกตัณหา ความประพฤติ มันมักจะเสียหาย มันโลภมาก มันฆ่าคนอื่น มันอะไรต่ออะไร เบียดเบียนข่มแหง ใช่ไหมฮะ เราก็ถือว่าไม่ดี พวกตัณหามานะเนี่ย แต่พวกทิฐิ จะเป็นลักษณะอีกแบบ พวกนี้มักจะพ้นจากปัญหาจริยธรรม ที่เราเรียกว่า ปัญหาจริยธรรม พวกที่มาเป็นผู้นำทางด้านทิฐิ ก็เพราะเขามีจริยธรรมดีน่ะสิ คนถึงศรัทธา และก็เชื่อมั่น เชื่อ โอ้คนนี้ดีเป็นผู้นำศาสนาเป็นต้น ก็ต้องมีความประพฤติดี พิเศษด้วย คนก็พากันเชื่อถือ ศรัทธาพูดอะไรเป็นอย่างนั้น พวกนี้เป็นผู้มีจริยธรรมดี พ้นจากปัญหาจริยธรรมแบบตัณหามานะ แต่ว่า มีความยึดติด ต้องใช้คำว่า ต้องอย่างนี้เท่านั้น อย่างอื่นไม่ได้เท่านี้แหละ พวกทิฐิมันเป็นอย่างนี้ ความประพฤติส่วนตัวดี เป็นผู้นำศาสนาก็เยอะ อย่างท่านอาญาตุลาคม?? อิดี้??? ความประพฤติ แสนดีเลยประชาชนเลื่อมใส พวกนี้จะได้ศรัทธาจากประชาชนอย่างดีเลย แต่แก้ไม่ได้คือยึดติดในทิฐิของตัวเอง พวกนี้ก็แสวงความเป็นใหญ่แล้วพอได้อำนาจจะต้องเป็นอย่างนี้เท่านั้นอย่างอื่นไม่ได้ ตอนนี้แหละครับ อาจจะใช้อำนาจที่มีเพื่อ อันนี้เลย อาณาจักรนี้นี้จะต้องอย่างนี้ตายตัว ก็ไปอีกแบบหนึ่งเลย ก็เป็นอันว่าประชาชนก็ต้องถูกบังคับ ถ้ารุนแรงก็ฆ่าฟันอะไรต่ออะไรกัน เนี่ยสงครามทิฐิเกิดขึ้นมา แล้วก็จะเป็นเหตุสำคัญของการเบียดเบียน เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาจึงต้องให้พ้นจากทิฐิด้วย ไม่ยอม ให้ยึดติด บังคับคนด้วยเหตุแห่งทิฐิ
เพราะฉะนั้น ท่านจะต้องดูคนให้ครบ คนประเภทตัณหา คนประเภทมานะ คนประเภททิฐิ แล้วก็คนประเภททิฐิ ก็จะมีลักษณะที่มักจากพ้นจากปัญหาจริยธรรม จะเป็นคนที่โดยจริยธรรมนี่นับว่าดี จึงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา แต่เขาจะต้องให้เป็นอย่างนั้นเท่านั้น เป็นอย่างอื่นไม่ได้เพราะเป็นอย่างอื่นไม่ได้เป็นอย่างนี้เท่านั้น พรพจน์ จึงเกิดขึ้น แล้วพอแกเป็นใหญ่เป็นไงครับ คนเขมรก็ตาย เท่าไหร่ บ้างก็ว่าสามล้าน บ้างก็ว่าสองล้านอะไรเนี่ย เขมรมีแค่ 6 ล้านใช่ไหมฮะ ถ้า 3 ล้านก็หมดครึ่งประเทศ หลวงพ่อโฆษนันทะ ตอนนั้นท่านหนีไปอเมริกา ท่านไปปาฐกถา ที่โน่นที่นี่ ท่านก็บอกว่า พรพจน์ฆ่าพระหมด 8 หมื่นองค์ และก็ที่ไม่ถูกฆ่าก็เพราะ สึก หรือหนีไปต่างประเทศ ฉะนั้นพอฟื้นประเทศ กัมพูชาขึ้นมาใหม่ โดยเวียดนามนะ เป็นผู้ส่งทัพมาก็ยึดกลับมา ก็สถาปนาคณะสงฆ์ใหม่ ต้องเอาพระเวียดนามมาบวชคนเขมร ตั้งคณะสงฆ์ใหม่ ตั้งสถาปนาคณะสงฆ์ใหม่เพราะฉะนั้น พระในเขมร เป็นพระที่เกิดใหม่ ไม่มีของเดิมเลย เกิดจากเวียดนาม เพราะฉะนั้นเราต้องรู้เนี่ย ก็คือมุนษย์แบ่งตามนี้ จะมี 3 อย่างพวกตัณหา พวกมานะ และพวกทิฐิ
กิเลสสามตัวนี้ จะอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมมุนษย์ และพฤติกรรมทางสังคม ถ้าเป็นผู้นำสังคมก็เป็นพฤติกรรมที่จะออกมาจากภูมิหลังแรงจูงใจเหล่านี้ ประชาธิปไตยก็มีความมุ่งหมายอย่างหนึ่งที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย ที่สร้างประเทศอเมริกาขึ้นมา ฝรั่งเศสมีการปฏิวัติประชาธิปไตย อะไรต่างๆ สร้างกฎเกณฑ์ กติกาก็เพื่อจะให้ไม่ต้องมายึดติดอยู่ในเรื่องทิฐินี้ด้วย เอาละครับ อันนี้ก็เป็นหลักการที่ประชาชนจะต้องรู้ เป็นการพัฒนาประชาชน ไม่รู้ผมพูด พอหรือยัง พอจะเห็นทางแก้ปัญหาไหม
????(เสียงพระนวกะ) ไม่ก็ตอนนี้ก็บอกแล้วไง ประชาชนต้องท่าทีให้ถูก ทีนี้เราต้องให้การศึกษา เราจะต้องพูดให้ถึงประชาชน แล้วก็ ให้รู้ตัวว่าคุณนี่แหละ เป็นเจ้าของเรื่อง เป็นเจ้าของประเทศ เป็นผู้ปกครองประเทศ แล้วก็เรายังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ แล้วเราก็จะต้องใช้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ให้เป็นประโยชน์ โดยเอาพวกที่เป็นฝักเป็นฝ่ายนี่มาเป็นเครื่องมือของเรา ในการที่จะมาสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม กับประเทศชาติประชาชน แล้วพวกนั้นจะต้องยอมตัวเป็นเครื่องมือที่ดี ไม่ใช่มาเที่ยวบงการเขา
(เสียงพระนวกะ) ครับ ผมเพิ่งจะอ่านหนังสือของหลวงพ่อครับ ที่เขียนว่า หลักสลายความขัดแย้งแนวพุทธนะครับ ซึ่ง หลวงพ่อพูดไว้ว่า ปัญหาที่ปัจจุบันนี้ เรายึดวิธีการแก้ปัญหาโดยการเอามาจากตะวันตกที่เรียกว่า Compromise เป็นการที่ประนีประนอม ซึ่งมันเป็นหลักการ หรือเป็นจริยธรรมที่ขัดหรือฝืน ยังไงปัญหาก็ไม่จบ เพราะว่า เรายอมที่จะให้สูญเสียผลประโยชน์ เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ว่ามันไม่จบมัน หลวงพ่อแนะนำไว้ว่า ถ้าจะแก้ปัญหาให้ยั่งยืนหรือถูกต้องต้องหยุดจริงๆ เราต้องใช้หลักที่เรียกว่า Harmonize ทำให้เกิด Harmony ทำให้เกิดความสามัคคีที่แท้จริง ครับ
(หลวงพ่อ) ก็สามัคคีอย่างหนึ่งถ้าแปลก็ใช้คำว่า Harmony แต่อย่างไรก็ตาม นั้นเราพูดในแง่หลักการ ใหญ่ แต่ว่าว่าเวลาเรามาปฏิบัติ เราต้องเป็นขั้นตอน ถ้าตอนนี้เรา Harmony ไม่ได้ เราก็ Compromise ก่อน แต่ว่าเรารู้ว่าตราบใดที่จะอยู่แค่ Compromise เนี่ยยังไม่จบ เพราะว่าไอ้ทั้งสองฝ่ายนี้ มันยังหาทางอยู่ที่จะให้ตัวได้สมบูรณ์ เต็มตามประสงค์ เพราะว่าเมื่อ Compromise เนี่ยมันยอม ยอมเสียส่วนหนึ่ง เพื่อจะได้ส่วนหนึ่ง ไม่ให้เสียทั้งหมด ฉะนั้นทั้งสองฝ่ายก็มาตกลงกันไป ฝ่ายนี้ก็ยอมเสียส่วนหนึ่ง ฝ่ายนั้นก็ยอมเสียส่วนหนึ่ง แล้วก็ได้ด้วยกัน แต่ทีนี้เมื่อไหร่ มันบรรจบกันที่ว่า ไม่มีต้องเสีย ต้องยอม แล้วก็ได้ด้วยกัน กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อันนั้นเรียกว่า Harmony ทีนี้สังคมที่จะยุติลงด้วยดี สังคมที่มีสันติสุขก็ต้องเป็น Harmony ตราบใดที่ Compromise ก็ยังอยู่ในขั้นตอนที่แฝงเชื้อของความแตกแยก และปัญหาอยู่ต่อไป แต่ว่าถ้าเราไม่มี Compromise มันจะเกิดความรุนแรงเลย ก็คือจะเกิดสงคราม เกิด Conflict แก้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็จะ Conflict ก็ Compromise แล้วต้องก้าวไปสู่ Harmony นะฮะ ก็เป็นอันว่า อันนี้ก็คือขั้นตอน ตอนนี้ก็อาจจะได้แค่ขั้น Compromise ก่อน ก็ยังดีให้มัน Compromise เถอะ ก็คือ อย่าให้ไปสูญเสีย อย่างน้อยเราก็ต้องบอกว่า ใครจะทำอะไรรุนแรงไม่ได้นะ รุนแรงก็หนึ่งผิดธรรมะทันที ก็ชัดอยู่แล้วนี่มันผิดวัฒนธรรมไทย เอกลักษณ์เสีย ไทยจะเสียชื่อนะคุณ แล้วก็ผิดธรรมะรุนแรงก็ผิดละ อ้าวแล้วก็อะไรล่ะ เอาลืมไปแล้ว ทีนี้อะไรล่ะ เอาละ ว่าไป เท่าที่นึกได้ ก็เป็นอันว่า รุนแรงไม่ได้ คุณแพ้ ต้องแก้จะรุนแรงเมื่อไหร่ ก็เป็นอันว่าผิดทันที แพ้ทันที ต้องเข้ามสู่ทางที่ถูกต้อง ในที่สุดถ้ามันเป็นผลประโยชน์ส่วนรวมแล้วก็จะชนะด้วยกัน แต่ว่าตอนนี้ ขั้นตอนสำคัญในตอนนี้ก็อยู่ที่เจรจา เพราะว่าหนึ่ง ความเป็นมนุษย์ที่บอกเมื่อกี้ ความดีพิเศษของมนุษย์ก็คือ มีปากไว้ใช้สื่อสาร พูดจากันให้รู้เรื่อง คุณต้องการอะไร จะเอาแค่ไหน และฉันต้องการแค่ไหนจะเอายังไง แล้วจะปรับเข้ากันได้ยัง มันไม่พูดกัน แล้วมันจะไปได้เรื่องได้ราวอะไร ไม่พูดกัน มันก็ต้องใช้มืออย่างเดียว ใช่ไหม ใช้มือไม่พอ ขออภัยใช้เท้าอีกด้วย แล้วมือนั่นมันไม่ใช่มือเปล่าอีกใช่ไหม มือเปล่าก็ยังพอว่า มนุษย์นี่มัน ไม่ใช่มือเปล่า ตัวเปล่าเหมือนสัตว์ชนิดอื่น สัตว์ชนิดอื่น มันไม่มีเครื่องมือในมือ มันก็เลย ฆ่ากันได้เป็นตัวๆ แต่มนุษย์นี่มันมีมือ ที่มันใช้เครื่องมือ สัตว์มันมีแต่มือ แม้แต่ลิงที่มีมือ มันก็ไม่มีเครื่องมือ
ทีนี้มนุษย์มีมือด้วยและมีเครื่องมือด้วย เครื่องมือนี่มันเรื่องใหญ่ มันสามารถฆ่าคนได้ เป็นทีละพัน ทีละหมื่น ทีละแสน ต่อไปเป็นลูกระเบิดนิวเคลียร์จะเป็นล้านๆ หรือโลกแตกสลายไปเลย ก็ได้ ใช่ไหม ทีนี้คุณอย่าไปใช้มือ ที่จะใช้แต่เครื่องมือ ต้องใช้วาจาใช้ปากสื่อสารกันก่อน ถ้าไม่ใช้วาจาก็ขาดความเป็นมนุษย์หรือเปล่า เอ้อ ความเป็นมนุษย์มีคุณสมบัติพิเศษ คือสื่อสารใช้วาจา พูดกันได้ แล้วทำไมไม่ใช้ ก็มันก็เรื่องง่ายๆ ก็พูดกันสิ ถูกไหมครับ ตอนนี้เอา เอาปัญหาเฉพาะหน้าคือ ต้องเจรจา ต้องพูดจากัน ยอมได้ไม่ได้จะให้รู้กันจะเอาอะไรใช่ไหม แล้วประชาชนก็จะได้ฟังด้วยแล้วคุณจะเจรจากันแต่ลับน่ะ ให้ประชาชนเค้าได้ฟังด้วย ตกลงว่าประชาชนเป็นใหญ่ที่แท้ เป็นใหญ่อย่างถูกต้อง โดยชอบธรรม
(เสียงพระนวกะ) คุยกันยาก เพราะว่า ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพูดตั้งแต่ต้นนะฮะ คงมีวาระซ่อนเร้น มี Hidden Agenda ซ่อนอยู่
(หลวงพ่อ) นี่แหละๆ ที่ผมบอกว่า มันก็ตั้งแต่วิเคราะห์แต่ละคนเลย อีกใช่ไหม ว่ากายไม่รุนแรง วาจาไม่วาทะการเมือง พูดให้เป็นวจีสุจริต 4 ประการให้ครบ และใจ ต้องจริงใจ จริงต่อจุดหมายที่เป็นประโยชน์สุขของประเทศชาติ ของประชาชน มีจุดมุ่งหมายที่แท้จริงอันนี้ ไม่ใช่มีเป้าหมายซ่อนเร้น ถูกไหม เอ้า อันนี้เราก็ต้องพูดสิครับ เราพูดเป็นกลางๆ นี่เราไม่ได้เข้าข้างใคร แล้วผิดไหมที่พูดนี่ ก็คุณก็ไปตรวจสอบตัวเอง ประชาชนก็ตรวจสอบ แล้วแต่ละคนของเขาเองก็ต้องตรวจสอบตัวเอง นี่คือวิธีการแก้ปัญหาแต่ตอนนี้ต้องเจรจา จะมีวาระซ่อนเร้น ไม่ซ่อนเร้น ตอนนี้ต้องเจรจากันก่อน มันจะได้รู้ไปขั้นหนึ่ง ว่าเจรจาแล้วมันออกมาว่ายังไง ใช่ไหม เมื่อเจรจาแล้วนี่แหละครับ เราจะเห็นความคืบหน้า เราจะจะรู้ว่า เขาพูดกันว่ายังไง แล้วเราจะพิจารณาได้จากคำจราจรนั้น ว่าจะเอาไงต่อไป ขั้นตอนต่อไปมันจึงจะมาได้ แต่ถ้าไม่มีการเจรจาล่ะครับ ตอนนี้มันกลายเป็น สองวิถี หนึ่งเจรจา สองกำลัง ถูกไหม พอจะแก้ปัญหาได้ไหม ได้นะฮะ
ก็เอาไปพูดก็ได้นี่ ไม่ได้หวงห้าม ไหนฮะ ก็เราพูดอย่างนี้ เราไม่เข้าข้างใครทั้งนั้น ???? (เสียงพระนวกะ) เอ้า ผมบอกยังนี่ไง บอกตอนนี้ เกรงว่าแม้แต่พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัส เขาจะยอมฟังหรือไม่ ถ้าแม้แต่พระพุทธเจ้าเขายังไม่ยอมฟัง แล้วเขาจะมาฟังผมทำไม ไม่มีความหมาย เพราะฉะนั้นเราก็พูดกว้างๆ อย่างนี้นะฮะ เสียงถึงเค้าไม่ถึงเค้าก็แล้วแต่ ท่านถามผมก็พูด
วันนี้เสียงกลับดีขึ้น แปลก คือเมื่อวานนี้เป็นจุด จะเรียกว่า วิกฤต ก็ได้ คือเสียง มันไม่ออกจนกระทั่งว่า รู้สึกเจ็บในเนี้ยมาหลายวัน แล้วเมื่อวานนี้ มันเจ็บขึ้นมาชัดเลย แล้วแตะนิด เจ็บเลยครับ ปูด รู้สึกว่ามันปูดๆ เอ มันชัดแหละ แล้วหลังจากนั้นมา มาวันนี้ อ้าวหายไปไหนแล้ว ไอ้ที่เจ็บ เอ่อ มันไปยังไง เนี่ย มันเป็นของอัศจรรย์ นี่ก็วาทะซ่อนเร้น ขนาดร่างกายเรานี่ มันยังแก้ปัญหายากอย่างนี้เลยนะ ลึกลับซับซ้อน เพราะฉะนั้น ระบบสังคมมนุษย์เนี่ยเราต้องยอมรับ ความซับซ้อนละเอียดลึกซึ้งเนี่ย ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บอกประชาชนต้องทำใจ อันนี้อันหนึ่งด้วย บอกอย่านึกว่าเรารู้จริงแล้ว อย่าประมาท ต้องนึกว่าเรามีเรื่องต้องศึกษาอีกเยอะ และต้องตั้งตัวให้ถูกที่ว่านี่ บอกเอาละให้ประชาชนตั้งตัวขึ้นมา อยู่ในสถานะที่ถูกต้อง ว่าฉันนี่แหละเป็นเจ้าของประเทศเป็นใหญ่ แล้วเรายังเป็นอันเดียวกันแน่นอนเลย คุณยังเป็นอันเดียวกันประชาชน จุดหมายเป็นอันเดียวกัน และท่านที่ทะเลากัน ที่จริงท่านก็อาจจะมีจุดหมายเดียวกันด้วย ถ้าท่านไม่มีจุดหมายเดียวกับประชาชนน่ะ ฉันไม่เอากับคุณ ใช่ไหม เอาละครับเดี๋ยวจะไปกันใหญ่ อนุโมทนาครับ