แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็คุยกันแบบกันเอง สบายๆ มีอะไรก็ เอามาเล่าสู่กันฟัง หรือ ไถ่ถามตอบกัน วันนี้ก็เหมือนกันนะฮะ วันนี้ก็ มีอะไรก็ มาคุยมาถาม มาตอบอะไรกัน มีไหมฮะ ท่าน ??? คุณรัตโน
ก็อยากจะถือโอกาสถามหลวงพ่อ ว่าเป็นวิทยาทานก่อนจะลาสิกขาไปอ่ะครับ ว่าเอ่อ อย่างเช่น อย่างคนสมัยนี้เนี่ย ยุคปัจจุบัน วัยรุ่น คนหนุ่มคนสาวเนี่ย ก็จะมีเรื่องพยายามจะค้นหาตัวเอง ว่าจะค้นหาตัวเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือ เรื่องความรัก ก็ศึกษากันไป มาดูเรื่อง นพลักษณ์ เรื่องอะไรต่างๆ ว่าเอ้ยตัว เป็นยังไง เหมาะกับอะไรประเภทไหน บางทีในสังคมนี่ ค้นหากันไป บางทีค้นยี่สิบปี สามสิบปี ก็ยังไม่รู้ว่า อะไรที่เหมาะกันตัว หรือว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ก็ เอ เดี๋ยวรักๆ เลิกๆ ทำงานทำนี่ แล้วก็เปลี่ยนงานไป ก็เลยไม่เจอสักที ก็เลยอยากจะเรียนถามหลวงพ่อ เกี่ยวกับหลักตรงนี้ว่า ไอ้เรื่องค้นพบตัวเองจริงๆ นี่มันเป็นอย่างไร
มันก็เป็นสำนวนนึงเท่านั้น แต่ว่ามันอยู่ที่การเข้าใจความหมาย อย่างตอนที่พวกอะไร พวกที่มาพบพระพุทธเจ้า ตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังเพิ่งจะออกมาเป็นศาสนกิจน่ะ หลังจากโปรดพระยสะมาแล้วใช่ไหม แล้วก็มีพบกับคณะ อะไร ??? ยสะนั่นก็ตอนหนึ่งละ แล้วก็ส่งออกไปประกาศพระศาสนา แล้วก็ทีนี้ก็มี อีกชุดหนึ่ง ??? ไม่ใช่ๆ ไม่เยอะน่ะ ไม่กี่คน ??? ระหว่างพักที่ไร่ฝ้ายโปรดชฎิล ??? ก่อนๆเจอชฎิล คือพวกเนี้ยะ ก็พาพวกผู้หญิงมา มาหาความสุขกัน แล้วก็คนหนึ่ง หรือจะลัก พวกเสื้อผ้าของอะไรไป แล้วก็ตามหาผู้หญิงนั้น มาเจอพระพุทธเจ้าก็ถามว่า เห็นผู้หญิงนั้นไปทางไหนไหม พระพุทธเจ้าก็บอกว่า จะหาผู้หญิง หรือหาตัวเอง ใช่ไหม ก็ทำให้เขาฉุกคิดขึ้นมา ก็เลย เป็นเหตุให้สนใจอยากฟังธรรม ก็นี่แหละก็เหมือนกับตอนนี้ อย่างที่พูด ว่าสื่อกันเรื่องว่า หาความสุข
ทีนี้เรื่องคนที่หาตัวตนอะไรต่างๆ เหล่านี้ บางทีก็เป็นวิธีพูด หรือวิธีที่จะสื่อความหมาย ซึ่งตัวเองก็ไม่ชัด ว่ามันอะไร คล้ายๆ ว่าในแง่หนึ่ง ก็ยังมีความสับสน ในแง่หนึ่งก็หาความสุขนั่นแหละ จะหาความสุขได้อย่างไร แต่ถ้าหากว่ามีความเข้าใจแล้ว ในที่สุดมันก็เรื่องเดียวกันหมด ให้มันจบได้ว่า หาความสุข หรือหาตัวตนหาอะไรต่ออะไร บางทีมันก็เป็นวิธีสื่อความหมาย แต่ว่า จับให้ถึงสาระแล้วก็ มันก็ต้องการจุดเดียวกันน่ะ เพราะว่าเราสามารถพูด อีกสำนวนหนึ่งก็กลายเป็นว่า พอเอาเข้าจริงเนี่ย ไอ้ที่ว่าหาตัวตน ก็คือให้รู้ความไม่มีตัวตนด้วย ก็หาไปให้รู้ความไม่เป็นตัวเป็นตนที่แท้จริง มันก็กลายเป็นว่า รู้จักตน รู้จักตนก็คือ รู้ความไม่เป็นตัวตน หรือรู้ความเป็นอนัตตานั่นแหละ ก็คือเข้าถึงตนแท้ๆ รู้จักตัวจริง ก็คือรู้ความจริงนะละ
ในแง่หนึ่งมันก็เหมือนกับว่าคนเนี่ย มันงง เกิดมาในสภาพแวดล้อมยุคปัจจุบันเนี่ย สังคมก็มีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีอะไรต่างๆ ก็เกิดขึ้น ทำให้เกิดความสับสน จับจุดไม่ถูก สาระของสิ่งทั้งหลาย คืออะไร ความจริงคืออะไร ในที่สุดก็เลยมีใครมาพูดอะไรขึ้นมา ไปจี้จุด ไอ้ที่ตัวเองกำลังเคว้งคว้างเข้าก็สนใจ เรื่องอย่างนี้ก็มีมาเรื่อยแหละ
ยุคที่แล้วเนี่ย ยุคที่ผ่านมาสัก 30-40 ปีแล้วเนี่ย ยุคพวกอะไร 6 ตุลา 14 ตุลาอะไรนี่นะ ยุคนั้นก็เป็นยุคที่เค้าเรียกว่า หาความหมาย ก็มี คนหนึ่งที่พูดน่ะ คุณอะไรนะ ฉันมาหาความหมาย วิทยากร เชียงกูล (เสียงตอบจากพระนวกะ) อ้อเนี่ย ฉันมาหาความหมาย ซึ่งที่จริง ก็ในระยะนั้นก็เป็นกันอย่างเนี้ยะ ฝรั่ง ฝะ เหริ่ง พวกหนุ่มสาว ฝรั่งก็เป็นกันทั่ว หา Meaning ( เป็นยุคเดียวกันฮิปปี้ เสียงตอบจากพระนวกะ) นั่นแหละ อันนี้ ผมกำลังจะพูดไปถึงเรื่องฮิปปี้ ระยะนั้นเป็นกันทั่ว ฝรั่งก็เป็นมาก คือว่า ถ้าเราดูภูมหลังที่ มันเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นเนี่ย บางทีก็จะทำให้เข้าใจอะไรดีขึ้น คือคน มนุษย์เราเนี่ยก็ยังไม่รู้ชัด เกี่ยวกับเรื่อง ชีวิตและโลก อะไรเป็นสาระที่แท้จริง ก็จึงอยู่กันด้วยความหวังเนี่ย บางยุคก็จะเน้นที่ความหวัง ว่าเอ่อ อยู่ด้วยความหวังก็ คนยังมีหวังก็ยัง ใช้ได้ ชีวิตเนี่ย ถ้าเมื่อไหร่เป็นคนสิ้นหวัง ไม่มีหวัง ผิดหวัง แย่ นี่ก็ อยู่ด้วยความหวัง
ทีนี้ถ้ามองกว้าง ทั้งโลกทั้งอารยธรรม ระยะที่แล้วมานี่ ก็เป็นระยะที่การหวังอย่างยิ่ง หวังจากอะไร คือเมื่อมนุษย์ผ่านพ้นในสมัยกลาง ก็มีความหวังจากความเจริญของวิทยาศาสตร์ ที่เค้าฟื้นฟู อารยธรรม กรีก โรมัน โบราณขึ้นมา เค้าก็ตื่นเต้นในปรีชาญาณของพวกกรีก โรมัน พวกนั้นกำลังดิ้นมานานแล้ว เพราะว่าอยู่ใต้การควบคุม หรือจะเรียกว่า บังคับก็ได้ ของลัทธิ หรือความเชื่อของศาสนาคริส นิกายโรมันคาทอลิก ก็ต้องเชื่อไปตามนั้น ความหวังก็อยู่ที่ หวังจากพระเจ้า ว่าเมื่อตายแล้วก็จะได้ไปอยู่กับพระองค์ ใช่ไหม นี่ๆ ก็ความหวัง เค้าก็อยู่ด้วยความหวังนั่นแหละ แหม หวังอย่างยิ่ง เค้าก็ต้อง หนุน กระตุ้นเร้าให้มีความหวังอันเนี้ยะ หวังว่าเมื่อตายแล้ว เราก็จะได้ไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ทีนี้ ต่อมามันก็ มีเหตุให้สงสัยเรี่อง ความจริงอะไร ต่ออะไรต่างๆ วิทยาศาสตร์ ก็เข้ามาทำให้เกิดความคลางเคลือง คนก็แสวงหา ก็เป็นยุคของความขัดแย้ง พวกที่แสวงหาความจริง ตามแบบที่เราเรียกว่า วิทยาศาสตร์ ก็ถูกทางศาสนจักรนี่ เข้ามากำจัด บีบคั้น ขัดขวาง จับตัวไปเผาทั้งเป็นบ้าง ขึ้นศาลจะให้ดื่มยาพิษบ้างอะไรนั่นนะ ก็ดิ้นรนหาความจริง หาความรู้อะไรกันมาเนี่ย ในที่สุดก็พ้นจากสมัยกลาง สมัยกลางก็พ้นพอดีตอนที่มุสลิม อาณาจักรออตโตมันเติร์ก ไปตีได้โรมันตะวันออก นี่เรียกว่า อาณาจักร Byzantine ไบแซนไทน์ หรือ บีแซนไทน์ อ่านได้ทั้งสองอย่าง ถือว่าตอนนี้ จบสมัยกลาง เข้าสู่ยุคเรเนซองส์ ก็ฟื้นฟู ยุคฟื้นฟู หรือคืนชีพ ทีนี้ศิลปวิทยาการ กรีก โรมันโบราณก็เจริญขึ้นมา และจากอันนี้ ก็เลยต่อมาก็เข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์
พอวิทยาศาสตร์มา ก็ทำให้เกิดความเจริญทางเทคโนโลยี แล้วก็อุตสาหกรรม พอมีอุตสาหกรรมก็ ทำให้ผลิตอะไรต่ออะไรได้ แปลกๆ ชนิดที่นึกไม่ถึง คนสามารถหาซื้อสิ่งที่อำนวยความสะดวกสบายได้ในราคาถูก และมีใช้กัน ชนิดที่คนสมัยก่อนนี่ไม่มีทางคิดฝันเลย คนก็ตื่นเต้นกันใหญ่ วิทยาศาสตร์นี่จะทำให้มนุษย์เนี่ย เจริญก้าวหน้า เค้าเรียกว่า Idea of Progress จะมี ความเจริญก้าวหน้า ต่อไปจนกระทั่งเหมือนสวรรค์บนดินมนุษย์ จะได้สุขสมบุรณ์ทุกอย่าง ก็จึงว่ามีวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และก็อุตสาหกรรม เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะขับดันให้มนุษย์มีความพรั่งพร้อมทุกอย่าง เนี่ยก็มนุษย์ก็อยู่ด้วยความหวังจากวิทยาศาสตร์ที่เป็นฐาน แล้วก็มาสู่เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแล้วไปโยงกับเรื่องความคิดที่พิชิตธรรมชาติที่ว่านี่ก็ความหวังทั้งนั้นเลย และก็ตอนนี้ความหวัง มันกลายเป็นความฝันที่บรรเจิด เหลือเกินว่า โอ้โห นี่มันจะสุขสมบูรณ์กัน ไม่มีติดขัดเลย วิทยาศาสตร์จะทำได้สำเร็จหมด จะรู้ความจริงของธรรมชาติอะไรทุกอย่าง และจัดการกับธรรมชาติได้ตามประสงค์ ตอนนั้นมนุษย์ก็ ไอ้อยู่ในระยะเริ่มต้นๆ มันเห็นแต่ความที่ค้นพบใหม่ๆ มันก็หวังกันใหญ่ ตื่นเต้นกันใหญ่ ตอนนี้มันก็เลยเกิด ไอ้ความหมาย จากความหวังและการที่มองเห็นว่า เอ่อ มนุษย์กำลังค้นพบความจริงกันใหญ่
ทีนี้ต่อมา ความผิดหวังมันก็เริ่มเกิด พอรุ่น ค.ศ.1950 ก็ยุค พ.ศ. ใกล้แถว 2500 ก็ตอนนี้ฝรั่งก็เจริญมาจนกระทั่งเริ่มมี ทีวี พวกวิทยุ พวกโทรศัพท์ อะไรต่ออะไร มันก็มีแล้ว เรียกว่า ความเจริญพรั่งพร้อม ที่มุ่งหวังเนี่ย เรียกว่ามี ถึงขั้นที่สมบูรณ์ มีความสะดวกสบายมาก ถึงแม้มันจะยังไม่เต็มที่อย่างปัจจุบัน แต่ว่าเรียกว่า มันเห็นแล้วว่า มันพรั่งพร้อมทางวัตถุ มันเป็นอย่างไร คือมองเห็นเลยว่า ความพรั่งพร้อมมีวัตถุ สะดวกสบายนี่ มันคืออย่างไร ชีวิตที่สะดวก สบายทางวัตถุ ที่หวังไว้ว่า ตัวเองจะได้พบแล้วเป็นความสุข อันนี้เดิมก็คือหวังอันนี้ ทีนี้พอเจอเข้าจริงแล้ว เด็กรุ่น 1950 นี่ มองดูแล้วนี่ ก็มองเห็นไป ชีวิตก็ไม่เห็นมีความสุข ตัวเอง พ่อแม่ ครอบครัว เห็นพ่อแม่ก็กลับไม่มีเวลาเป็นของตัว วันๆ หนึ่งก็ได้แต่วิ่ง เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานอะไรต่ออะไร ชีวิตเร่งรีบหมด เหมือนอย่างที่เห็นกันเมืองฝรั่งน่ะ แล้วญี่ปุ่น มาพยายามเอาชนะญี่ปุ่น แล้วยิ่งรีบใหญ่ ไปเมืองญี่ปุ่นนี่ คนเดินอย่างกับวิ่ง อะไรในชีวิตรีบเร่งกันเหลือเกิน ดูแล้วสภาพสังคมก็บีบคั้น ระบบแข่งขันก็บีบคั้นคน ต้องวิ่งเอาชนะกัน จิตใจก็มีความเครียด ความกระวนกระวาย ตอนนั้นรู้สึกกันมากเรื่องคำว่า Anxiety และต่อมาก็คำว่า Stress ตอนนั้นผมรู้สึกว่า คำว่า Anxiety นี่เด่นกว่า ความกระวนกระวาย ใจไม่สงบ และต่อมาก็มีความเครียดเนี่ย เน้นที่จุดที่ว่า เครียด เอ้อพวกนี้ ก็เริ่มเห็นกันว่า เอ วัตถุที่สร้างกันขึ้นมา ด้วยความเจริญ วิทยาศาสตร์ อะไรต่ออะไรต่างๆ ไม่เห็นมันให้ความสุขแท้จริง แล้วดูพ่อแม่ตัวเองก็ว่า เจริญ มีอะไรต่ออะไรพรั่งพร้อม ชีวิตก็อยู่ในแบบแผนบังคับนะ ตามระบบของสังคมที่มีการแข่งขันเป็นต้น ทำให้ไม่ผ่อนคลายเลย ไม่มีความสุข ถึงจะแต่งตัวชุดสูทไปทำงาน ตอนนั้นน่ะ ฝรั่งมาเมืองไทยก็มีแต่ชุดสูททั้งนั้นนะ คนไทยเห็นฝรั่งสมัยก่อน ไม่มีเห็นอย่างนี้หรอก เห็นจะต้องแต่ง ชุดโก้ เดี๋ยวตอนหลังนี่ ฝรั่งแต่งชุดอะไรก็ไม่รู้ บางทีเสื้อ เซ่อ ไม่ใส่ สมัยก่อนฝรั่งมาเมืองไทยแต่งโก้ คนไทยก็มองฝรั่ง อ้าวพวกมีอารยธรรม อารยประเทศเจริญ ทีนี้พวกฝรั่งแต่งตัวไปทำงานอะไรต่างๆ เด็ก ลูกเห็นพ่อแม่ไป เอ่อ ก็ไม่เห็นมีความสุขจริง ไปนั่ง ต้องคล้ายๆ กับว่ามันถูกบีบด้วย สภาพ ระเบียบ แบบแผน อไรต่ออะไรของสังคม ชีวิตส่วนตัว จิตใจก็ไม่ได้สุข ระบบสังคมก็ไม่ได้มีความสุข แล้วอะไรจะมีความหมาย ก็มองไม่เห็นว่า ไอ้สิ่งเหล่านี้จะมีความหมายนี่มาแล้ว ชักรู้สึกว่า Meaningless ไอ้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่สร้างกันขึ้นมา เป็นความผิดหวัง เนี่ยก็เลยเริ่มเกิด เริ่มเกิดก่อนพวกฮิปปี้ ก็มี Generation หนึ่งก่อน เค้าเรียกเป็น Generation พวก Beat Generation นี่เกิดก่อน ราวๆ 1950 กว่า ก็เกิดพวกคนรุ่นใหม่ที่เป็น Counter Culture ย้อนกระแสวัฒนธรรม เค้าเรียก Counter Culture Culture ก็พ่อแม่ก็ไปตามแบบแผนที่เจริญมาแบบตะวันตก แบบที่หนุนหลังด้วยวัฒนธรรมอุตสาหกรรม ทีนี้พวกนี้ก็ไม่เห็นด้วย เหมือนกับมาปฏิวัติสังคม ก็จะหันมาสนใจเรื่องจิตใจ เรื่องธรรมชาติอะไรต่ออะไร และก็เอาดนตรีมาประกอบ และก็ไปๆ มาๆ ก็มีเรื่องยาเสพติด นี่ก็เริ่มด้วยพวก Beat Generation นี่ก่อน 1950 ก่อน
แล้วต่อมาพวกนี้ก็ทิ้งอิทธิพลไว้ ก็เกิดรุ่น 1960 กว่าก็เกิดพวกฮิปปี้ ฮิปปี้นี่ 1960 กว่า แล้วตอนนี้พวกนี้ก็ชัดขึ้นมา แล้วก็ ตั้งเป็น Communal เป็นชุมชนใหญ่ๆ หนีพ่อ หนีแม่ไปอยู่กัน ก็ปฏิเสธสังคมเลย ก็ปฏิเสธสังคมอเมริกันว่า สังคมของพ่อแม่ที่มานี่ใช้ไม่ได้ ไม่เป็นสังคมที่ดี แล้วพอดีมันมีซับซ้อน มันมีสงครามเวียดนามอะไรต่ออะไรเข้ามาอีกนะฮะ มันมีปัญหาการเมืองที่อะไรต่ออะไร ยิ่งทำให้คนพวกนี้ผิดหวัง แล้วตอนนั้นเค้าจะมีความรู้สึกอย่างอเมิรกันเนี่ย เด็กรุ่นใหม่ก็เกิดความรังเกียจ แม้แต่พ่อแม่ บรรพบุรุษของตัว ว่าได้กดขี่พวกคนดำบ้าง ได้ล้างผลาญพวกอินเดียแดงอะไรกันเนี่ย เกิดความสำนึกผิด แล้วก็อเมริกาที่เจริญขึ้นมาได้เนี่ย โอ้ ดูประวัติศาสตร์สิ เข้ามาก็มาฆ่าคน เนติอเมริกัน คนอินเดียแดงน่ะไม่รู้เท่าไหร่ จนกระทั่งว่าเหลืออยู่นิดเดียว แล้วก็สร้างเขตสงวนไว้ให้ Reservation ให้ไปอยู่ในเขตสงวน พวกนั้นก็หมด เรียกว่าหมดอิทธิพล หมดกำลังไป อเมริกันก็เหมือนกับว่า มาเอาดินแดนของเค้าไปหมด และนอกจากนั้นก็เอาคนดำมาเป็นทาสอีก เด็กรุ่นใหม่ตอนนั้น มันรู้สึก คล้ายๆ มีความรู้สึกรังเกียจตัวเอง มีความสำนึกผิดอะไรต่ออะไร มันไม่สบายใจหลายเรื่อง และก็มาสงครามเวียดนามอีกว่า มารบทำไม พวกนึงก็ไม่ยอมรบ ถึงกับยอมเข้าคุก แล้วก็ถึงกับเดินขบวนกัน วุ่นวายกันไปหมดละ อเมริกาตอนนั้น แล้วก็ดูทั้งภูมิหลัง สังคมตัวเองอะไรต่ออะไร มีความรู้สึกผิดหวังไปหมดเลย ก็เลยเนี่ย ปฏิเสธสังคม รวมก็ปฏิเสธสังคม และก็คือปฏิเสธวัฒนธรรมด้วย ก็เกิดเป็น Counter Culture เป็นวัฒนธรรมย้อนกระแส ก็ละทิ้งสังคม ละทิ้งการเล่าเรียนศึกษา ออกมา แบบแผนของสังคมไม่เอา การแต่งตัวดีๆ แต่งไปทำไม ตัดผมตัดเผ้า อะไรต่ออะไร ไม่เอาทั้งนั้น เสื้อผ้าก็นุ่งอะไรก็ได้ รองเท้าก็ใส่รองเท้ายางก็ได้ง่ายๆ ดี แล้วก็ผมเผ้าก็ไม่ต้องไปทำอะไรมัน ปล่อยมัน นอนที่ไหนก็ได้ นอนกลางดินกินกลางทราย อะไร เฮ้อ ไปนั่งวางท่าอยู่ในห้องแอร์ ที่เรียกว่า ห้องที่ใส่ฮีตเตอร์ ปรับอากาศอะไรต่างๆ มันมีความสุขอะไร สู้มาปล่อยตัวตามสบาย ไม่ต้องมาซักผ้า รีดผ้า ใช่ไหม อยู่ตามธรรมชาติมันมีความสุขกว่าตั้งเยอะแยะ ว่างั้น เด็กพวกนี้ไม่เอาหมด ปฏิเสธอย่างที่ว่าเนี่ย หนี พ่อแม่ก็เป็นทุกข์มาก ทีนี้พวกนี้สนใจทางด้านจิตใจก็หันมาหาสมาธิ ก็เป็นจังหวะที่ ทำให้พวก โยคีจากอินเดียเข้าไปกันใหญ่ ตอนนี้ มหาฤษีก็เข้าไป
ต่อมาก็ถึงยุค พวก ฮเร กฤษณะ พวกมหาฤาษี มเหช โยคี เข้าไปกัน รวยกันใหญ่เลย จนกระทั่งบางท่านนี่ ตั้งเมืองเลยนะฮะ มีเครื่องบินส่วนตัว มีรถโรลสรอยซ์ 14 คัน นี่เป็นตัวอย่างทั้งนั้น แต่รวยกันมหาศาล ก็คือ คนอเมริกันหนุ่มสาวนี่ ผละหนีจากสังคมของตัวเอง นี่ก็คือ เรื่องของการหาความหมาย ต่อมาก็ จะให้ศัพท์อะไรก็แล้วแต่ ก็หาตัวตน อะไรต่ออะไร ก็อยู่ในเนี้ยะ ก็คือ เรื่องของการที่จะใช้ศัพท์ต่างๆ ว่าจะใช้ศัพท์ไหน มันจึงจะสื่อ ไอ้สิ่งที่ตัวต้องการ ก็คือในแง่หนึ่ง ความหวัง เกิดความไม่สมตามที่คาดหมาย ผิดหวังในแง่ที่ว่า ไอ้สิ่งที่คิดว่า ถ้าบรรลุแล้วก็คือ ความสุข ความสมบูรณ์ ความดีอย่างยิ่ง พอเห็นเค้าว่ามันจะถึงแล้วเนี่ย มันไม่ได้เรื่องเลย เพราะฉะนั้นก็มองเห็นว่า ถึงจะพัฒนาไปมีวัตถุสมบูรณ์กว่านี้ มันก็ไม่ได้ดีไปกว่านั้น เป็นกับปี 1950 อะไรแถวนั้นมันก็เพียงพอแล้วที่จะเห็นว่า ความเจริญทางวัตถุเป็นอย่างไร มันก็ผิดหวัง มันก็เคว้งคว้าง เคว้งคว้างก็จับไม่ถูกเลย ว่าจะเอาสาระของชีวิตที่ไหน ชีวิตมีแก่นสารที่ไหน คำว่า ความหมาย คำว่าแก่นสาร อะไร ความหวังที่แท้ หรือว่าไอ้ตัวตน มันก็อยู่ที่นี่แหละ ก็คือจับสาระไม่ได้
นี่ถ้าเราเข้าใจ ความรู้ เข้าใจสภาวะ ความจริงของสิ่งทั้งหลาย ใจมันก็มีที่ลง ก็วางลงได้ มันก็เข้าใจ ก็หมายความว่า มองโลกและชีวิตถูกต้อง วางท่าที วางจิต วางใจต่อโลกและชีวิตได้ ตอนนี้มันหาที่ลงไม่ได้ มันวางใจไม่ถูก วางใจต่อชีวิต วางใจต่อสังคม วางใจต่อโลก มันหาจุดลงไม่ได้เลย ใจมันไม่ลงตัว ว่างั้นเถอะนะ ใช่ไหม มันไม่ลงตัว มันก็เคว้งคว้าง สับสนไปหมด ก็ยุคที่แล้วมาจะเรียกยังไงก็ได้ จะพูดรวมแล้วก็ สับสนนั่นแหละ ถ้าเราจับจุดได้ถูกก็คือว่า เรามามองดู ว่า มองเข้าใจชีวิต มองโลกตามที่มันเป็น ตามที่พระว่า ท่านให้มองตามที่มันเป็น ใช่ไหมฮะ ทีนี้พวกที่มาหาความหมาย มาหาตัวตนเนี่ย บางทีก็พลาดจุดนี้ไป ก็จะไปตั้งแง่ขึ้นมาใหม่ คือว่า คล้ายๆว่า เดิมเนี่ย ชีวิตและโลกที่ตนอยากให้เป็น เป็นอย่างนี้ ใช่ไหม ก็ตั้งเป้าไว้ มันก็เกิดความหมายขึ้นมา ในเมื่อตัวเองกำลังเดินทางมุ่งไป ด้วยความหวังว่าจะบรรลุไอ้ความสมปรารถนาอันนั้น อยากจะให้ชีวิตเป็นอย่างนี้ อยากให้สังคมเป็นอย่างนี้ ไอ้ความอยากมันเป็นตัวสร้างความหมายแล้วนะฮะ มันก็สร้างความหวังด้วยนะ ใช่ไหม เมื่ออยากก็จึงหวัง หวังก็คือหวังไปตามอยาก และอยากมันก็ต้องมีเป้าหมาย อะไรเป็นที่จุดหมายของความอยาก ก็เพราะตัวเองเห็นว่าอันนั้นดี ก็อยู่ที่การตีค่า อยู่ที่ว่าจะ ต้องไปดูตัวฐานที่เป็นทิฏฐิแหละ ตัวทิฏฐิหรือตัวที่สร้างเป้าหมาย หรือจุดหมายว่า ไอ้นี่ดี นั่นแน่ตัวทิฏฐินี่เป็นตัวกำหนดให้คุณค่าไง ที่ท่านเรียกว่า อุปาทาน อุปาทานก็คือการ ยึดถือ เห็นคุณค่า อะไรที่เราเห็นคุณค่าสูงใช่ไหม เราก็จะเอาเป็นเป้าหมาย สิ่งที่เป็นคุณค่า ก็เป็นจุดหมายสิ ว่าจะต้องเอาให้ได้ ก็เกิดความอยาก ความอยาก และก็ความหวังว่าจะไปให้ถึง ทีนี้ตอนที่กำลังเดินทางไป สู่ไอ้จุดหมายอันนี้ มันมีความหวังอยู่ มันเห็นการก้าวหน้าอยู่บ้างเนี่ย มันก็เกิดความหมายขึ้นมาใช่ไหมฮะ แล้วก็รู้สึกว่า ใจก็มีกำลังไปอยู่เรื่อยๆ
พอเกิดไปเห็นว่า ไอ้ที่อยากได้ มันไม่มีความหมาย มันหมดค่า มันพลิกหมด ทุกอย่างเนี่ย ความหมาย ความหวัง ความอะไรมันหมดไปเลย ก็คือตัว ทิฏฐิ ที่มันถูกตีตกไป มนุษย์ก็เลยขึ้นต่อทิฏฐิ ทิฏฐิที่ไปตีค่ายึดอะไรต่างๆ ทีนี้เมื่อมนุษย์ไปผิดหวังกับอันนั้น มนุษย์ก็ไม่รู้ตัว ก็มากำหนดไอ้จุดหมายใหม่ จุดหมายนี่ก็ขึ้นต่อความอยากของตัวเองอีก ใช่ไหม ตัวเองก็อยากอีกแล้ว เอ่อ อยากทีนี้ก็ หาไอ้ตัวที่สนองความอยาก เป็นจุดหมายอันนั้น หรือว่าสิ่งที่ตีค่าสูง แล้วก็เกิดไปอยากได้อันนั้น ก็เกิดจุดหมายขึ้นมา อันนี้ก็เอาอีกแล้ว เกิดความหมายใหม่ขึ้นมาอีกแล้วเนี่ย แล้วก็เดินทางกันใหม่ แล้วบางทีกว่าจะไปรู้ตัวอีกนาน
แต่ทีนี้ อันนี้คือ มันก็กลายเป็นว่าเปลี่ยนแปลงกันอยู่เรื่อยและก็หาจุดที่แท้ไม่ได้ เพราะว่า มันไปอยู่ กับไอ้สิ่งที่สร้างขึ้นมาสนองความอยาก แล้วก็ตีค่าขึ้นมาจากไอ้ความอยากนั่นแหละ ท่านก็เลยว่าให้มาอยู่ที่จุดกลางซะ ถ้ามองตามที่มันเป็นซะ ถ้ามองตามที่มันเป็นเนี่ย มันจะแก้ปัญหาเรื่อง ทิฏฐิ เราก็ไม่สร้างไอ้ทิฏฐิขึ้นมายึด ไอ้ทิฏฐินี่เป็นตัวทำให้เกิดจุดหมายใช่ไหม ว่าอันนี้แหละดีที่สุดแล้วนะ นี่มนุษย์ก็จะแกว่งกันไปแกว่งกันมาอยู่อย่างเงี้ย ก็เพราะปัญหาเรื่องนี้ เรื่องสร้างคุณค่า ที่ว่าอะไรเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มันก็มาสัมพันธ์กับความอยาก ความปรารถนา และก็ความคิดของตัวเองที่ปรุงแต่งขึ้นไปอันนั้น แล้วในที่สุดก็คือไม่มองตามที่มันเป็น หรือไม่มองตามเป็นจริง ทีนี้ทางพุทธศาสนา ก็เลยสอนเริ่มต้นเลยนี่ ให้มองตามที่มันเป็น มองตามเป็นจริง แล้วใจเราก็จะวางต่อสิ่งทั้งหลายไปถูกต้องได้เอง พอจะเห็นไหม
(เสียงพระนวกะ ) ทีนี้ ถ้าเกิดว่า เรามองตามความเป็นจริงนี่ แต่ทีนี้เหมือนกับว่า คนที่มีความอยากที่จะก้าวไปถึงจุดหมายนี่ก็เหมือนมีอีก มีเรี่ยวแรงมีกำลังที่จะผลักดันออกไป ทีนี้ถ้าเรามองตามความเป็นจริงแล้วเนี่ย เรี่ยวแรงกำลังที่จะผลักดันชีวิตเนี่ย เอ่อ มันจะ มันจะเป็นลักษณะไหนเหรอครับ
(หลวงพ่อ) เอ่อ นี่แหละ ๆ คือจุดสำคัญเลย เมื่อกี้นี่เรามองเอาไอ้สิ่งที่เป็นจุดหมายที่ยึดถือไว้ เรามองอะไรต่ออะไรตามที่อยากให้มันเป็นไม่มองตามที่มันเป็น ไม่มองตามที่อยากให้มันเป็น และคิดไปตามที่อยากให้มันเป็น ทีนี้ท่านก็ให้มองและคิดตามที่มันเป็น ทีนี้ตามที่มันเป็นเนี่ย เราก็รู้สภาวะความจริง แล้วมันจะเกิดการอยู่ด้วยปัญญา
การอยู่ด้วยปัญญา ไอ้ปัญญามันมองเห็นความจริง เหมือนกับรู้เอง อะไรมันเป็นยังไง แล้วมันมีเหตุมีผลของมัน ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย แล้วเราก็รู้ว่าอะไรมันควรจะเป็นยังไงตามที่ปัญญามันบอก คือรู้ตามที่มันเป็นว่า เอ่อ เช่น ว่าชีวิตร่างกายของเราเนี่ย มันควรจะอยู่ดี แค่เอาง่ายๆ เช่นว่า ควรมีสุขภาพดี แล้วเราก็ไม่เฉพาะมองตัวเรา มองเพื่อนมนุษย์ก็เหมือนกัน มองคนอื่นก็ เอ่อ ชีวิตเขาก็ควรจะ มีร่างกายสมบูรณ์ หน้าตา ยิ้มแย้ม ผ่องใส ไอ้ภาวะที่ดีอย่างงี้ ถ้ามันเกิดบกพร่องไป ก็แสดงว่า มันไม่ควรจะเป็น ก็ควรจะทำให้มันดี อันนี้ก็คือ ปัญญานี่มันบอก ความรู้นี่มันบอก ตอนนี้มันไม่ได้ขึ้นกับความอยากแหละ ตอนนี้มันขึ้นกับความรู้ก่อน และไอ้ความรู้นี่มันจะทำให้เกิดความอยากที่ถูกต้องมา ก็คือไอ้อันก่อนนี่ ความอยากมันเกิดโดยไม่มีความรู้ อะไรมันสนองผัสสะ เช่นว่า ตาเห็นก็ชอบ แล้วก็ไปตามที่ชอบ ว่าสวย ว่างาม ตามนั้น เป็นต้น อันนั้นไอ้เจ้าตัวความอยากมาก่อน แล้วเราก็นึกว่าเรามีปัญญา ก็คือ เราก็หาทางที่จะสนองความอยากนั้น ไอ้ปัญญาก็กลายเป็นตัวรับใช้เท่านั้นเอง แต่ทีนี้มันเริ่มใหม่ มันกลายเป็นว่า รู้ ว่าไอ้นี่บกพร่องไอ้นี่สมบูรณ์ มันควรจะสมบูรณ์แล้วปัญญามันจึงเป็นตัวเริ่มให้ว่า เอ่อ มันควรจะสมบูรณ์ ไอ้นี่มันยังบกพร่อง ก็อยากให้มันสมบูรณ์ ความอยากมันตามปัญญาแหละ มันไม่ใช่ความอยากนำ
ปกติมนุษย์ที่อยู่ปัจจุบันเนี่ย ไอ้ความอยากมันจะนำ โดยที่ว่า ผัสสะ ตา หู จมูก ลิ้น เพราะฉะนั้นใน ปฏิจจสมุปบาท จึงเน้นเรื่องนี้ในชีวิตประจำวัน ปฏิจจสมุปบาท ท่านไม่ไปเอาที่อวิชชาก่อน ท่านเอาที่ตาเห็น หูได้ยินเสียง นี่แหละเป็นจุดเริ่มต้น มนุษย์ก็อยู่ในชีวิตประจำวันด้วยไอ้เนี่ย ตา หู จมูก ลิ้น กายนี่ละ ได้เห็น ได้ยิน เนี่ย พอได้เห็นปั๊ป เอาแล้ว รูปนี้ ชอบใจ ไม่ชอบใจ น่าปรารถนา สวยงามหรือไม่ ทีนี้พอว่า สนองความอยาก สนองที่จะให้รู้สึกสบายสวยงามก็ อยากได้ ชอบใจ แล้วจึงคิดหาทางให้ได้ตามนั้นจึงใช้ปัญญา ละนี่ก็คือว่า ความอยากมันเริ่มก่อน แต่ทีนี้ ถ้าหากเราค่อยๆ ฝึกตัวเอง ก็หมายความว่า ปัญญาจะเป็นตัวนำ และไอ้ความอยากมันจะมาสนองรับใช้ปัญญา
เมื่อเราเห็นว่า เอ่อ เช่นว่า ไอ้ต้นไม้นี่ ไม่ดีแล้ว ธรรมชาติเสื่อมโทรม ไม่ดี มีความเป็นไปด้วยปัญญา รู้ว่ามันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ผลเสียอย่างงั้นๆ แก่ชีวิต แก่อะไร ๆ ต่ออะไร ความเป็นอยู่เนี่ยใช่ไหม ก็มันก็รู้หมด ปัญญามันก็บอก ไม่ได้แล้ว จะต้องแก้ไขให้สภาพนี้ดี ให้ต้นไม้ เจริญงอกงาม ให้อะไรต่ออะไร ธรรมชาติมันอยู่ในสภาพดี ไอ้ความรู้นี่มันก็บอก ว่าโอ้ถ้าปล่อยอย่างนี้ไม่ได้แล้ว ไอ้ความอยากที่จะทำการแก้ไขก็มา ใช่ไหมฮะ อยากทำให้มันสมบูรณ์ อยากทำอะไร อยากนี่ก็เรียกว่า ฉันทะไง เช่นที่เคยเล่าให้ฟังว่า เวลาเราไปเห็นอะไร เราอยากเพื่อความดีงาม ความสมบูรณ์ของสิ่งนั้น ก็เรียกว่า ฉันทะ ใช่ไหมฮะ เห็นต้นไม้ก็อยากให้มันเขียวขจี มันใบดกสะพรั่ง ต้นแข็งแรงอะไรต่างๆ สดชื่น อย่างงี้เรียกว่า ฉันทะ อยากเพื่อสิ่งนั้นเอง เพื่อความสมบูรณ์ ความดีงาม เห็นเพื่อนมนุษย์ก็อยากให้ เค้าหน้าตายิ้มแย้ม ร่างกายสมบูรณ์ดี อยากอย่างงี้ก็เป็น ฉันทะ ถ้าเป็นต่อมนุษย์ก็กลายเป็นเมตตา เป็นกรุณาไป ก็ตัวฉันทะ นั่นแหละ ต่อมนุษย์ ท่านก็แยกศัพท์ให้ว่า แยกเป็นสถานการณ์ต่างๆ แล้วก็คือ ฉันทะ แหละเป็นแกน
ทีนี้ไอ้ตัวอยาก อยากแบบนี้ มันไม่เหมือนกับไอ้อยากแบบ เราเห็นแล้วมันพอใจ ชอบใจ มันสนองความปรารถนาของเรา มันก็อยากได้เพื่อตัว อยากเอามาบำรุง บำเรอตัว อยากจะเสพอย่างนั้น เรียกว่า ตัณหา ใช่ไหมฮะ ก็เลยเนี่ย แม้แต่ในสิ่งที่เราพบเห็นเนี่ย มันก็มีได้พร้อมกันสองอย่างแล้วแต่เราจะตกไปอยู่อันไหน เพราะฉะนั้นจึงได้ยกตัวอย่าง พอไปเห็นกระรอกวิ่งอยู่เนี่ย ถ้าเรามีฉันทะ เราก็อยากจะเห็นกระรอกตัวนี้มันแข็งแรง และกระโดดโลดเต้นวิ่งไป อยู่ในธรรมชาติอย่างงดงามอะไรของมันไป อยากอย่างนี้ก็เรียกว่า ฉันทะใช่ไหม อยากเพื่อความดีงาม ความสมบูรณ์ของมันเอง และเพื่อธรรมชาติเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ทีนี้ถ้าเห็นไอ้เจ้ากระรอกแล้วก็ เอ่อ ไอ้นี่ถ้าเอาลงหม้อแกง ย่างไฟเตา ย่างละก็อร่อยแน่ อย่างนี้ก็ตัณหามา ใช่ไหมฮะ ก็เนี่ยก็อยู่ที่ว่า เราจะอยากแบบไหน ก็เห็นกระรอกตัวเดียวกัน ก็อยากสองแบบ อยากแบบฉันทะ ท่านก็สนับสนุน ถ้าอยากแบบตัณหา ละก็ยุ่งแน่
เราจะเอาแล้วเค้าก็ต้องทุกข์ใช่ไหม ก็ต้องจัดการ เบียดเบียนอะไรต่างๆ ก็จึงว่านี่ละ ก็เป็นหาความสุข กับให้ความสุข ถ้าอยากแบบฉันทะมันก็มีทางให้ความสุข ก็อยากจะทำให้เขาสมบูรณ์ เขาอยู่ดี เขาเรียบร้อย งดงาม ถ้าอยากแบบตัณหา ก็จะเอามา หาความสุขให้แก่ตัวเอง ก็ต้องเอาไอ้เจ้ากระรอกนั้นมาเสียบ ย่างไฟ จะได้กิน อะไรอย่างเงี้ยะ อันนี้ก็เป็นอันว่า นี่แยกในกระบวนการของจิต กระบวนการของจิตที่มันจะเป็นไปนะฮะ ก็เป็นอันว่า ถ้าเราใช้ฉันทะที่มากับปัญญานี่ มันจะเป็นกระบวนสร้างสรรค์ที่แท้ และแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง และเราจะกำหนดว่า ไอ้สิ่งนั้นน่ะ มันเป็นประโยชน์แท้หรือไม่ เพราะว่ามนุษย์นี่ปัญหา มันก็อยู่ที่ตั้งแต่ว่า อะไรเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์นี่ เค้าก็ยังบอกไม่ถูกนะ เพราะว่าประโยชน์นี่ เค้าจะอยู่ที่ว่า อ้อ มันสนองความต้องการของฉัน ได้กิน ได้เสพ ได้บริโภค ก็เรียกเป็นประโยชน์ใช่ไหมฮะ แล้วพอไปๆ มาๆ เค้าจึงรู้ตัวว่าไอ้นี่ ไม่ใช่ประโยชน์หรอก มันทำลายเรา ทำลายชีวิต ทำลายสังคม เบียดเบียนกัน ทำลายสิ่งแวดล้อม อะไรเป็นประโยชน์ที่แท้เนี่ย ปัญญาเท่านั้นจึงจะให้รู้ได้ ไม่ใช่แค่สนองความอยาก นิมนต์ฮะ