แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เอ้ามีอะไรจะคุยกันก็ว่ากันไป คราวที่แล้วก็มีติดค้างอยู่จะต่อเลย หรือจะเปลี่ยนเรื่องก็แล้วแต่ท่าน เอาไงก็แล้วแต่
พระนวกะถาม งั้นเป็นครั้งที่แล้วค้างไว้เรื่องที่จะถามในครั้งนี้ก็คือว่า เรื่องปัญหาที่มีการเข้าใจผิดของคำว่าเถรวาท โดยที่มีนักเขียนคอลัมนิสต์เอาไปใช้ในทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาดในความหมาย ก็เลยจะถามของประเด็นที่มาของเถรวาท การทำความเข้าใจที่ถูกต้องในแง่มุมต่าง ๆ
พระตอบ ก็เอาเป็นว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ก็ว่าตรงตอบปัญหาไปเลยดีไหม พระนวกะตอบ ดีครับ
พระถาม มีคอลัมนิสต์ว่า แล้วเขาว่าอย่างไร แล้วจะตอบอย่างไง
พระนวกะถาม ปัญหาก็คือว่า เกิดจากบทความในหนังสือพิมพ์มติชนครับ พิมพ์เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พุทธศักราช 2551 โดยมีหัวข้อบทความว่า การศึกษาแห่งชาติของไทยในวิถีเถรวาทท่องจำคำครูเป็นสำคัญ ซึ่งเขียนโดยคุณสุจิต วงศ์เทศ ต้องอ่านคอลัมน์ด้วยไหมครับ
พระตอบ ดี ท่านที่มาอาจจะยังไม่ได้ฟังได้อ่านกันหมดใช่ไหม จะได้ฟัง แล้วเราจะได้ทราบข้อมูลที่เราจะพูดถึง คือสิ่งที่เราจะพูดถึงเราก็ต้องรู้ชัด
พระนวกะถาม งั้นขออนุญาตอ่านบทความให้ฟังน่ะครับ ความยาวประมาณหนึ่งหน้ากระดาษ A4 น่ะครับ
วิถีเถรวาทในเครื่องแบบการศึกษาแห่งชาติ การศึกษาแห่งชาติระดับอุดมศึกษาของไทยอยู่ในภาวะด้อยประสิทธิภาพเห็นชัดเจนมากจนเป็นที่รับรู้ทั่วกัน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเลยต้องจัดประชุมสัมนาภาคการอุดมศึกษาไทยในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เอกสารของสำนักงานระบุว่า ในปัจจุบันอุดมศึกษาในภาพรวมประสพปัญหาเกี่ยวกับขาดปรัชญาแนวทางการบริหารจัดการที่ชัดเจนและมีรายละเอียดว่า ขีดความสามารถในด้านการแข่งขั้นของมหาวิทยาลัยไทยในปัจจุบันมีการถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง โดยสังเกตได้จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่กระทำโดยหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ Times Power and Education ซึ่งในปี ค.ศ. 205-206 มีมหาวิทยาลัยเพียงหนึ่งแห่งติดอันดับ แต่ในการประเมินครั้งล่าสุด มหาวิทยาลัยไทยไม่ติดกลุ่มมหาวิทายาลัยชั้นนำที่มีคุณภาพทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ความสามารถในการสร้างนวตะกรรมต่ำ โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับท้าย ๆ ของประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ การศึกษาของธนาคารโลก ในเรื่องการอุดมศึกษาในประเทศ กำลังพัฒนาที่ระบุปัจจัยทำให้มหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศเหล่านี้ถดถอยลง ได้แก่
1 คุณภาพของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย
2 ปัญหาที่นักศึกษาประสพ
3 ทรัพยากรที่ไม่เพียงพอและความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย
และ 4 การเมืองในมหาวัทยาลัย เช่นการได้มาของผู้บริหารโดยการเลือกตั้งของมหาวิทยาลัย เหตุที่อุดมศึกษาแห่งชาติของไทยด้อยประสิทธิภาพก็เพราะ มีวิถีคิดอย่างเถรวาท หมายถึงท่องจำตามคำสั่งสอน (วาทะ) ของครูอาจารย์ (เถระ) เป็นใหญ่สุด ใครจะละเมิดหรือสงสัยมิได้ ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนวิถีเถรวาทให้ลดลงหรือเลิกไปก็เปลี่ยนอย่างอื่นไม่ได้ หรือเปลี่ยนได้ลำบากมากจนไม่เปลี่ยน วิถีเถรวาททำให้ปรัชญาการศึกษาแห่งชาติของไทยทุกระดับ ตั้งแต่ ประถม มัธยม อุดมศึกษา เน้นรูปแบบสำคัญกว่าเนื่อหา เห็นได้จากให้ความสำคัญกับเครื่องแบบนักเรียน นักศึกษา มากกว่าความคิดในสมอง และลงทุนทำรั้ว ทำป้ายชื่อสถาบันมากกว่าลงทุนทำห้องสมุด ห้องแลปและอื่น ๆ อาจารย์มหาวิทาลัยแห่งชาติของไทยจึงมัวแต่หมกมุ่นกับเครื่องแบบนักศึกษา โดยไม่เอาใจใส่ความก้าวหน้าทางวิชาการ ส่งผลให้อาจารย์ให้ความสำคัญกับรายได้ของตัวเองอยู่เหนือผลงานทางวิชาการ สร้างสำนึกกระล่อน ขึ้โกง สั่งสมสันดาน เอารัดเอาเปรียบคนอื่น หรืออื่น ๆ เลยพากันแย่งงบ ทำงานพิเศษแล้วเร่หาเป็นม้าใช้หน่วยงานอื่น เช่น กรุงเทพมหานคร เอกชน หรืออื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ตัวเองมากกว่าทุ่มเทให้วิชาความรู้ การเลือกตั้ง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอย่างที่เป็นมาและกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ คือความเสื่อมของบริหารจัดการวิชาความรู้การศึกษาทั้งระบบ ฉะนั้นต้องพิจารณา ลด ละ เลิกวิถีเถรวาท เป็นสำคัญเว้นเสียแต่จะเห็นเป็นอย่างอื่นที่ดีกว่า แต่ถ้ายังไม่ยอมรับความจริง ก็ต้องตกอยู่ความด้อยประสิทธิภาพต่อไปจนกว่าจะหาไม่ จบบทความแรกครับ ซึ่งออกเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม
และเมื่อล่าสุดนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พุทธศักราช 2551 ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันเช่นเดียวกัน คุณสุจิต วงศ์เทศ ก็ออกมาเขียนอีกบทความหนึ่ง เรื่องของจริง ของปลอม ในโลกของศิลปศาสตร์ไทย คอลัมน์สยามประเทศไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สรุปแบบประเมินโครงการที่ผมไปบรรยายพิเศษ เรื่องประวัติศาสตร์แห่งชาติและประสาทพระวิหาร เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม แล้วส่งมาให้ผมอ่าน มีบางข้อ บางคนเขียนว่า ควรใช้คำสุภาพต่อคณะศิลปศาสตร์ ไม่ใช่ใช้คำรุนแรง และควรให้เกียรติคณะศิลปศาสตร์ด้วย ไม่ใช่อยากพูดอะไรก็พูด เขาเรียกว่าไม่มีมารยาทการเป็นวิทยากร ตอบว่า ผมตั้งใจพูดอย่างนั้น เตรียมการพูดอย่างนั้นแท้ ๆ เตรียมพูดนานมาก หลายวัน หลายเดือน หลายปี แม้เขียนในคอลัมน์นี้ ก็เขียนอย่างที่พูดวันนั้น ควรมีหลักฐานในการบรรยายให้ชัดเจน เพราะที่ได้ศึกษามากับที่วิทยากรบรรยายมันตรงกันข้ามทั้งสิ้น ตอบว่าได้พูดอธิบายและบอกหลักฐานแล้วทุกอย่าง แม้เอกสารที่แจกก็มีให้เห็นหลักฐาน ปัญหาอยู่ที่คนฟังส่วนมากไม่เคยรู้จักหลักฐานสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (รวมทั้งที่อุบลราชธานี) ก็มักไม่เผยแพร่หลักฐาน เพราะสอนกันตามวิถีเถรวาทไทย คือท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง วิถีเถรวาทไทยใช้ท่องจำเป็นสรณะนี้เองที่อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี บอกไว้ในคราวปาฐกถาทบทวนทิศทางไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่ามีรากเง่าปัญหาข้อหนึ่งอยู่ที่ศรัทธาปลอม ๆ ศิลปศาสตร์ในมหาวิทยาลัยไทย สนับสนุนให้สังคมมีศรัทธาปลอม ๆ ด้วยวิถีเถรวาทไทย
จะยกข้อความของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี มีมาให้อ่านก่อนดังนี้ ปัญหาคนไทยไม่อยู่กับปัญญาความรู้ แต่อยู่กับศรัทธาปลอม ๆ เพราะไม่เคยมีอำนาจจริงจัง ไม่เคยแก้ปัญหาตัวเองและของประเทศด้วยหลักเหตุผล คนไทยจึงสอพลออุดมการณ์มานานเช่น ยึดมั่นประชาธิปไทยเลือกตั้งที่มีแต่การซื้อเสียง และผลรับก็คือชาวบ้านไม่ได้อะไร แต่กลุ่มทุนการเมืองเป็นผู้เสวยประโยชน์ระบอบประชาธิปไตยแบบทุนสามัญรุ่งเรือง บางส่วนก็ยึดมั่นในอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แบบปลอม ๆ คือไม่ได้เน้นการยึดมั่น แบบใช้ปัญญาที่จะทำให้สถาบันของชาติก้าวหน้า เกิดประโยชน์ที่สถาพรต่อบ้านเมืองและประชาชนจริง ๆ เมื่อมีวิกฤติทุกหนก็เกิดการขัดแย้งทางความคิดปลอม ๆ ซึ่งไม่ได้เกิดจากแก่นสารทางปัญญา จึงคลี่คลายไม่ได้ เมื่ออยู่ในโลกปลอม ๆ มานานมาก บรรดานักศิลปะศาสตร์ไทยเลยงงมาก เมื่อได้ยินของจริง ๆ ของไม่ปลอม เพราะต่างจากของปลอม ๆ ที่ตัวเองคุ้นเคยแล้วงมงายมานาน นี้จบบทความล่าสุด
พระตอบ อันนี้ก็ไม่ยาวเท่าไหร่ ก็อยากจะถามท่านที่ฟังก่อน ว่าฟังแล้วท่านมีความรู้สึก หรือความคิดเห็นอย่างไร แต่การที่จะมีความรู้สึกความคิดเห็นนี่ก็ต้องมีฐาน คือมีความรู้ ความเข้าใจว่า เถรวาทคืออะไร จึงจะรู้ว่าเขาเขียนผิดหรือเขียนถูก ถ้าเราไม่รู้เราก็นึกไม่ออกใช่ไหม อันนี้มันก็กลายเป็นว่าเป็นประโยชน์ขั้นทีหนึ่ง เอ้ามาดูพวกเราเองในฐานะท่านเป็นตัวแทนของพระไทย หรือคนไทยเยอะ ๆ ว่าฟังแล้วนี่ เอ้มีฐานความรู้ทางเรื่องเถรวาทที่จะฟังท่านผู้นี้หรือไม่ อยากจะฟังท่านด้วยว่ามีความคิดเห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ใครอยากจะพูดบ้างไหม นิมนต์ครับ
คนฟังถาม อันนี้อาจจะยังเป็นความคิดเห็นน่ะครับ พระตอบ ไม่เป็นไร ก็ความคิดเห็น ที่นี้ถามความคิดเห็น
คนฟังถาม คือผมเข้าใจว่าเถรวาทนี่ หลักการสำคัญคือการรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้องมากที่สุดครับ ก็เลยต้องมีการท่องจำ แต่ว่าเวลาสังคมเอาไปใช้นี่ ผมเข้าใจว่าสังคมนี่เอาไปใช้แบบผิด ๆ ครับ คือนี่สังคมไทยนี่ บอกว่ามีรากฐานมาจากเถรวาทนี่ เป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง ก็คือ เอาแต่ตัวรูปแบบ คือการท่องจำ แต่ไม่เอาตัวเนื้อหาว่า คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้นนี้ก็ยึดติดแต่รูปแบบ ว่าต้องท่องอย่างเดียว ต้องเชื่อฟังอาจารย์อย่างเดียว ก็ทำให้มันเพี้ยนครับ แล้วนักวิจารณ์เขาก็วิจารณ์ เขามองว่าเถรวาทนี่ เขามองในฐานะรูปแบบครับ ตอนนี้เขาจึงพูดแบบเหมารวมไป ขอบคุณครับ
พระตอบ เอ้าล่ะ ขอบใจครับ ใครจะมีความเห็นอะไรไหมครับ นิมนต์ครับ แต่ก็อย่าให้ยาวนัก เพราะเวลาของเราน้อย มีอีกไหมครับ
คนฟังถาม จากการที่ได้อ่านบทความนี้ แล้วเราก็ไปทำการบ้านหาข้อมูลเกี่ยวกับคำว่าเถรวาท ที่มาต่าง ๆ แล้วถามความคิดเห็นจากอาจารย์ที่สอนทางด้านศาสนาครับ มา 3 ท่าน ก็ได้ข้อมูลหลายอย่างที่เห็นจุดบอดในการที่เขียนคอลัมน์นี้ว่า มีข้อมูลหลายอย่างที่มันมีความผิดพลาด ถ้ายังไม่แตะเรื่องของเถรวาทนี่ การที่เขาเอาข้อมูลการประเมินระดับมหาวิทยาลัยของไทยนี้ก็ผิดพลาด ในที่นี้บอกว่าติดกันอยู่แค่ครั้งเดียว มีติดมหาวิทยาลัยเดียว ตอนการสำรวจครั้งแรก ครั้งที่ 2 ไม่มีมหาวิทยาลัยใครติดเลย จากที่ผมได้ถามอาจารย์ที่คณะของผม ถ้าเกิดผู้รู้จริง ๆ จะบอกได้ว่าการสำรวจนี่ที่จริงมี 2 ครั้ง ครั้งแรกนี่ติดมหิดลกับจุฬา ส่วนครั้งที่ 2 เนี่ยเหลือแต่มหิดลอยู่มหาลัยเดียว นี่คือข้อมูลก็ผิด แล้วก็ในเรื่องของการใส่ใจเกี่ยวกับรูปแบบการแต่งกายอะไรต่าง ๆ นี่ คือมันมีความสำคัญ ที่มันต้องให้เกิดความปลอดภัยกับนักศึกษา อันนี้คือผิวเผิน แต่ว่าพอมาแตะเรื่องของเถรวาท เขาใช้คำนี้เป็นการเหมาภาพรวมว่าการศึกษาไทยที่เป็นอยู่ทุกวันแบบท่องจำนี่ ใช้กับคำว่าระบบเถรวาท คือต้องท่องจำคำครู ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นคำที่ไม่ควรจะมาใช้ในบริบทแบบนี้ มันเป็นการเรียนแบบจำมากกว่า น่าจะใช้บริบทคำอื่นมากกว่านี้คือเขาไม่ให้ความหมายของเถรวาทอย่างชัดเจนจริง ๆ ซึ่งตามที่มานี่เถรวาทจากการที่ได้คุยกับท่านอาจารย์ทั้ง 2 ท่านก็บอกว่า ในหลักฐานทางพระไตรปิฎกจริง ๆ ไม่มีคำว่าเถรวาทปรากฏ แล้วก็เถรวาทปรากฏหลังจากมีการสังคายนามาแล้ว เมื่อเกิดแตกเป็นนิกายขึ้นมา ซึ่งคำว่าเถรวาทนี่ ใช้โดยห่างช่วงกันขาดหายไม่มีการใช้ต่อเนื่องชัดเจน แต่ว่ามาภายหลังนักวิชาการพยายามจะร้อยเรียงประวัติศาสตร์ ร้อยเรียงที่มาให้เข้าเป็นเรื่องเดียวกันก็เลยแต่งเติมเข้าไปจนเจอคำว่าเถรวาท ซึ่งคำนี้เอาเข้าจริง ๆ พึ่งมาใช้เมื่อตอนการประชุมพุทธศาสนาสัมพันธ์โลก เมื่อปีพ. ศ. 2493 ซึ่งจัดที่ประเทศศรีลังกา โดยมารารัสการ่า เป็นประธานของพสลเพราะว่ามีการเข้าใจผิดว่า เมื่อฝรั่งมาศึกษาพุทธศาสนาในเอเชียแล้วไปเจอทางญี่ปุ่น ทางจีนเกิดการขัดแย้งกันว่า ต่อว่ากันว่าตัวเองเป็นมหายาน แล้วอีกฝ่ายนึงเป็นยานที่ต่ำกว่า หรือสอนไม่ถูกต้องก็เลยใช้คำว่าหินยาขึ้นมา แล้วทีนี้พอหินยานที่เข้ามาใช้เนี่ยมันเป็นคำที่อาจารย์บอก มันเป็นคำที่ต่อว่า พอมาใช้ผิดบริบทแล้วคนไทยที่ไม่มีความรู้ภาษาตอนนั้นพอไปฟังฝรั่งมาเรียกพระทางไทยทางเอเซีย เป็นหินยานก็รับเอาอย่างนั้น พอมาเกิดการประชุม ทำความเข้าใจชัดเจนแล้วว่า ที่มามันเรียกผิด ก็เลยมีการตกลงให้เรียกคำว่าเถรวาท ในการประชุมครั้งนั้นสำหรับศาสนานิกายที่ไม่ใช่มหายาน นี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นส่วนวิถีที่ปรากฏในพระไตรปิฎกในคำสอนต่าง ๆ ไม่มีมีวิถีไหนเขียนไว้ชัดเจนว่า เราสอนแบบเถรวาท เป็นข้อมูลที่ผมรวบมาคร่าว ๆ ครับ
พระตอบ เดี๋ยวผมถามนิด เอ้ท่านอ่านหมดหรือเปล่านี่ เพราะผมเคยได้ยินคล้าย ๆ ว่า ท่านผู้เขียนนี้พูดถึงกาลามสูตรอะไรด้วย อ่านหมดหรือเปล่าเมื่อกี้ มีหรือเปล่ากาลามสูตร
คนฟังตอบ กาลามสูตรจะเป็นอีกมีบทความหนึ่ง ผมไม่ได้เอามา อันนั้นจะมีความพูดถึง
พระถาม อยู่ในเรื่องนี้หรือเปล่า คนฟังตอบ ไม่ได้อยู่ใน 2 บท เป็นบทความก่อนหน้านี้ ทีมีอ้างถึงกาลามสูตร
พระถาม ในนี้มีอ้างเรื่องกาลามสูตร คนฟังตอบ ตามบทความอันนั้นไม่ได้เอามาในนี้
พระถาม ไม่ใช่ในนี้ คนฟังตอบ ไม่มีพูดถึงเลยครับ
พระถาม มีหรือ คนฟังตอบ ใน 2 บทความที่อ่านมาเมื่อกี้นี้
พระถาม พูดถึงท่านพุทธทาส กาลามสูตร คนฟังตอบ อันนั้นเป็นบทความครั้งแรกที่เขียน
พระตอบ ที่จริงต้องรวมให้หมด มีไหมครับ ไม่ได้เอามา อ้าวยอมเสียเวลาอีกนิดนึง คืออ่านข้อมูลให้ค่อนข้างเพียงพอ ถ้าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ก็ให้เพียงพอ เอาล่ะพูดไปพลาง ๆ นิด ๆ หน่อย ๆ ยังไม่พูดเข้าตัวเนื้อหาสาระ คือผมฟังผมก็ได้ที่สังเกตว่า บทความที่อ่านก่อนน่ะ ใช้คำว่าวิถีเถรวาท ส่วนบทความหลัง เติมคำว่าไทย เป็นวิถีเถรวาทไทย อันนี้ก็เป็นจุดที่น่าสังเกตว่าเหตุใดจึง คราวหลังมีเติมไทยเข้าไป เอ้าพูดนอกประเด็นไปอีกนิดหน่อก่อน คือเราจะได้ยินคำพระที่เป็นคำสำคัญคำที่สูงถูกนำมาใช้ในภาษาไทยในความหมายที่ไม่สู้เหมาะสม ยกตัวอย่างง่าย ๆ คำว่าอรหันต์ใช่ไหม เขาจะพูดถึงนักการบ้าง อะไรบ้าง 8 อรหันต์ อะไรอย่างนี้ เคยได้ยินไหม ซึ่งก็เป็นข้อที่ควรสังเกตว่าสังคมไทยเรานี้ แค่นี้ก็มีปัญหา อันนี้ก็อาจจะเป็นในแง่หนึ่ง แง่หนึ่งแล้วค่อยพูด แง่นี้ก็จะทำให้เกิดการปฏิบัติที่เข้าแนวนี้ด้วย คล้าย ๆ ว่าพอพูดถึงบุคคลอย่างนี้เรียกว่า อรหันต์ พอพูดถึงวิธีปฏิบัติอย่างนี้ก็เรียกเถรวาท อะไรอย่างนี้ ก็ถ้าเป็นแบบนี้ก็กลายเป็นการนำไปใช้สื่อความหมายที่ไม่ดีใช่ไหม เอาคำที่มันควรจะแสดงความหมายที่ดีงาม ซึ่งใช้ในความหมายที่ดีงามอยู่ แต่นำไปใช้เสียในทางที่ไม่ดี ก็เป็นปัญหาของสังคมไทยในวงกว้าง ตกลงได้ไหมครับ เอ้านิมนต์
คนฟังถาม อันนี้เป็นบทความที่คุณสุจิต วงศ์เทศ เขียนไว้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ. ศ. 2551 ครับ ในคอลัมน์สยามประเทศไทย โดยคุณสุจิต วงเทศ หัวข้อเรื่องกาลามสูตร ไม่ให้เชื่อตำราพระไตรปิฎก ครูบาอาจารย์แต่กาลก่อน กลัวคนจะฉลาดเกินไปเพราะอาศัยกาลามสูตร เลยไม่เอามาสอน กาลามสูตรก็ไม่ถูกเอามาทำให้แพร่หลายเหมือนสูตรอื่น ๆ ทั้งที่เป็นสูตรสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เกิดผลดี ข้อความที่ยกมานี้อยู่ในเอกสารสิ่งพิมพ์ชื่อ การขุดเพชรในพระไตรปิฎก ของท่านพระพุทธทาส (โดยธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม) เชิญข้อความจากคำปราศัยที่กล่าว แก่ชุมนุมผู้มาร่วมบำเพ็ญบุญร้อยอายุ ปีที่ 80 ของท่านพุทธทาส เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ 2528 มาพิมพ์แจกและจำหน่ายทั่วไป กาลามสูตรมี 10 ข้อ ท่านพุทธทาสแค่สรุปง่าย ๆ ไว้ทั้งหมด วิถีเถรวาทชอบอ้างอิงตำราหลวงหรือพระไตรปิฎก ว่ามีมาแต่ครั้งพุทธกาล แล้วต้องยึดมั่นถือมั่นตามนั้น แต่ท่านพุทธทาสสอนว่า ในการสังคายนาครั้งแรก ยังไม่มีพระไตรปิฎก แต่ก็มาพูดกันในบัดนี้ว่า มีพระไตรปิฎกมาแล้วตั้งแต่การทำสังคายนาครั้งแรก นั่นเป็นเพราะไปหลงตามคำกล่าวชั้นหลัง ๆ เมื่อเขามีพระไตรปิฎกเป็นรูปแบบในปัจจุบันการเทศน์สังคายนาที่เก่า ให้เข้าใจว่ามีพระไตรปิฎกมาแล้วตั้งแต่ในการทำสังคายนาครั้งแรกนั้น ไม่ตรงกับความจริง ถ้าอาศัยหลักกาลามสูตรแล้วมันก็ต้องกล่าวอย่างอื่น คือกล่าวว่า มีแต่ธรรมวินัยที่ท่องจำไว้ ด้วยปากยังไม่ได้จารึกลงไปให้เป็นปิฎก ท่านพุทธทาสเทศน์ย้ำว่า พระไตรปิฎกนั้นถ้าจะยื่นให้แก่นักศึกษา อาจจะปลดออก หรือฉีกออกได้ 30% ถ้าสำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดีตัวยง แห่งยุคปรมาณูในปัจจุบันหรืออนาคต อาจจะปลดออกได้อีก 30% ถ้าสำหรับคนทั่วไป รวมทั้งยายแก่ตาแก่ ที่สอนเด็กให้ตีกระป๋อง ช่วยพระจันทร์เมื่อราหูจับนั้น ไม่ต้องปลดอะไรออกเลย สำหรับที่เหลือ 40% จัดเป็นเรื่องการดับทุกข์โดยวิถีทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่อาจจะปลดหรือฉีกออกได้อีก ต่อไปท่านพุทธทาสจึงเน้นว่า นั่นแหละคือหลักพุทธศาสนา ชั้นที่เป็นเพชรเม็ดเอก จบครับ
เรื่องนี้ที่เป็นตัวประเด็น ก็มีอยู่ 2 ข้อสั้น ๆ นิดเดียวเท่านั้น ทีนี้ก่อนที่จะพูดอยากจะพูดเรื่องปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อน คือปัญหาเรื่องความรู้ความเข้าใจ แม้แต่ความรู้ข้อมูล ความรู้เรื่องพื้น ๆ ของคนไทยเรานี้ เกี่ยวกับเรื่องของตัวเองนี่มันอ่อนมาก ถ้าเราถือว่าพุทธศาสนาแล้วก็แบบที่นับถือแบบเถรวาทนี่ เป็นพุทธศาสนาที่เรานับถือกันมาไม่รู้กี่ร้อยปีแล้วน่ะ แต่เราก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง เรื่องนี้มันก็เป็นเรื่องแสดงออกที่ให้ทราบภาวะอันนี้ อย่างที่ผมเล่าคราวก่อน ว่าถอยหลังไปซะ พ.ศ. 2490 กว่า ตอนนั้นท่านก็ยังไม่เกิดใช่ไหม ที่ผมบอกว่าน่ะ ตอนนั้นคนไทยกำลังหันไปข้างนอกฝากความหวังไว้กับอารยธรรมทางตะวันตกความเจริญแบบสมัยใหม่อย่างยิ่งแบบเดียวกับฝรั่ง ฝรั่งยุคนั้นก็ยังอยู่ในภาวะอย่างเนี้ย ที่ฝรั่งเองเรียก Scientificism เรียกว่าลัทธินิยมวิทยาศาสตร์ คลั่งวิทยาศาสตร์ ฝากความหวังไว้กับวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม พวกกระบวนการเหล่านี้จะนำมาซึ่งความสุขความสมหวังความสมบูรณ์ทุกประการ แล้วคนไทยตอนนั้นมองไปทางเมืองนอกเมืองฝรั่งเต็มที่ ก็หันหลังให้แก่สมบัติของตัวเอง พุทธศาสนาวัฒนธรรมไทยก็เป็นสิ่งที่คนไทยมองด้วยความรู้สึกดูถูกคร่ำครึโดยเฉพาะคนที่เรียกว่าสมัยใหม่ ชาวบ้านอาจจะไม่รู้การคมนาคมสมัยนั้นไม่สะดวกเลย งั้นการแยกกันชัดมากคนบ้านนอกนี่เวลาเข้ากรุงเทพฯก็จะต้องมากันเป็นหมู่ ๆ เขาจะรู้กันเลยว่าคนบ้านนอกเวลาเข้ากรุงข้ามถนนนี่ จะต้องเดินเป็นแถวเลยนะ เพราะเขาต้องรอข้ามไปพร้อมกันตามกัน เพราะเขากลัวไม่เคยชิน ทีนี้ต่างจังหวัดกรุงเทพฯมันแทบจะไม่ต่างกันเลยใช่ไหม มันผิดกันมากสมัยก่อน ชีวิตคนบ้านนอกก็ไปอีกอย่าง คนในเมืองหลวงนี้ไปอีกอย่าง ไกลกันมาก คนบ้านนอกก็มองคนกรุงเทพฯ เป็นเมืองสวรรค์ แล้วคนกรุงเทพก็เรียกได้ว่าดูถูกคนต่างจังหวัด คนบ้านค่อนข้างจะมากอยู่ นี่ทีนี้คนไทยก็ดูถูกคนบ้านนอก ความเป็นบ้านนอกก็โยงไปหาสิ่งที่เป็นของไทยที่มีมาแต่เดิมด้วย มันก็โยงกันไปหมด เพราะฉะนั้นคนไทยจะมีความรู้สึกไม่ดี
อย่างที่พูดว่าสมาธิ นี่พูดขึ้นมาคนไทยก็ สมัยใหม่ก็จะร้องอะไรก็ไม่รู้ ถ้าพูดสมัยนี้ก็เรียกว่าร้องยี้ แต่สมัยนั้นคำว่ายี้ไม่มีใช่ไหม ก็รู้สึกเป็นคร่ำครึล้าหลังอะไรพวกนี้ สมาธิ สมถะ วิปัสสนา ไม่ได้ทั้งนั้นที่ว่า วัดต่าง ๆ ที่มีในกรุงเทพฯ เขาก็มองว่า วัดพวกนี้มากินเนื้อที่ทำให้เราสร้างความเจริญไม่ได้เกะกะขัดขวาง ถ้าไม่มีวัดนี่จะได้สร้างโรงงานอุตสาหกรรม อาคารพานิชย์ โอ้เจริญกันใหญ่ สมัยนั้นมันยังไม่รู้จักไอ้เรื่องมลภาวะ เรื่องของสิ่งแวดล้อม คำเหล่านี้ยังไม่มี ยังไม่เห็นพิษภัยเลย กำลังมองแต่ความเจริญความสะดวกสบายแบบฝรั่ง นี่ก็เป็นอย่างนี้ นี้คนไทยเราก็ไม่รู้เรื่องของตัวเอง พุทธศาสนาเขาก็ไม่เข้าใจก็เลยดูถูก ทีนี้เรื่องเถรวาทอะไรต่ออะไรมันก็เป็นมาสมัยนั้น ก็ไม่รู้จัก นี้เราไม่ต้องพูดถึงคนไทยในแง่ว่าเป็นชาวบ้าน อย่างลืมว่าพระนี่ก็มาจากคนไทย ก็คนไทยมาบวช นั้นคนไทยซึ่งรวมทั้งพระด้วยก็ไม่ได้เอาใจใส่เรื่องของพุทธศาสนาจริงจัง พวกหนึ่งก็ยึดถือสักแต่ว่าตามที่สืบกันมา และอีกพวกหนึ่งก็เข้ามาบวชด้วยจำใจก็เยอะ เช่นว่าอย่างคนบ้านนอกการศึกษาแพร่ไม่ทั่วถึง เด็กบ้านนอกแทบไม่มีโอกาสเรียนหนังสือเลย จบป 4 ก็สูงแล้ว ไม่มีทางไป พ่อแม่อยากให้เรียนก็ไม่มาฝากวัด ได้เรียนธรรมอะไรต่าง ๆ แล้วก็มีโอกาสเข้ามา ถ้าอยากเรียนสูงก็เข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ ดีว่าสายของวัดดีอย่าง คือพวกพระมาจากชนบทเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ แล้วก็ยังต้องไปเยี่ยมพ่อแม่ญาติพี่น้องต่างจังหวัด ทีนี้ก็เลยทำให้มีการสื่อสารถึงกัน นี้เด็กบ้านนอกที่ไม่มีทางเล่าเรียนในสถาบันหรือในระบบการศึกษาของรัฐก็ไปอยู่วัด ไม่อยากเรียนสูงขึ้นพระที่ไปตามบ้านนอกเป็นญาติเป็นอะไรก็พาเข้ามาเรียนต่อกรุงเทพฯ ก็สายคนชนบทนี่มีโอกาสเข้ามาเรียนสูงขึ้นก็มาในเพศพระเณร ซึ่งใจจริงทั้งพ่อแม่เด็กก็ไม่รู้เรื่องพุทธศาสนานอกจากตามประเพณีสืบกันมาตามรูปแบบ เช่นวัดรักษาไว้ เป็นพิธีกรรม พ่อแม่ยิ่งใจคิดแต่เพียงว่า ลูกเราไม่มีโอกาสเล่าเรียนที่จะไปเจริญก้าวหน้าในสังคม จะทำอย่างไงก็มีทางเดียวว่ามีทางเข้ากรุงไปเรียนต่อได้บ้างก็ต้องฝากวัด เพราะฉะนั้นเอาลูกมาบวชเณรก็ไม่ได้หวังว่าจะให้รู้พุทธศาสนาอะไร ก็คืออยากให้ลูกมีทางก้าวหน้าในสังคมไทยบ้าง เผื่อจะได้เป็นใหญ่เป็นโต สมัยนั้นเขาเวลาจะเล่าเรียนในการศึกษาสมัยใหม่เนี่ย เอ้อผู้ใหญ่ก็จะให้ตั้งใจเรียนเข้าน่ะเองน่ะ ต่อไปจะได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นเจ้าคนนายคน ท่านเคยได้ยินไหมครับ สมัยก่อนเขาจะให้พรอย่างนี้ นั้นค่านิยมการเล่าเรียนศึกษาในเมืองไทยในยุคสมัยปัจจุบันที่มากับการศึกษาสมัยใหม่จะมาในรูปนี้ และยุคนั้นก็จะมุ่งมาทำราชการ เพิ่งจะมาเปลี่ยนไม่นานเนี่ยทีว่าจะไปด้านเอกชนการค้า ธุรกิจใหญ่ขึ้นสมัยก่อนนี้การเป็นขุนนาง การเป็นข้าราชการ จากขุนนางก็คือระบบเดิมแล้วมาเป็นข้าราชการ เป็นหนทางของความก้าวหน้าในชีวิต ก็หวังกันอย่างนี้ พ่อแม่เด็กบ้านนอกให้มาบวชเป็นพระเป็นเณร ก็หวังว่า เอ้อ ลูกของเราอาจจะมีทางได้ไปเล่าเรียนในกรุงเทพฯ แล้วต่อไปจะได้เป็นผู้ใหญ่ เป็นเจ้าคนนายคน อะไรอย่างนี้ ไม่ได้นึกถึงเรื่องพระศาสนา เพราะฉะนั้นเด็กมาเรียนเป็นพระเป็นเณร ก็ไม่ได้สนใจใส่ใจเรื่องสาระในพระศาสนาในเรื่องธรรมะ นี้ต้องพูดกันตรง ๆ โดยมากก็มาเรียนเอาชั้นเป็นเปรียญ เป็นนักธรรม เขาก็เทียบให้ ได้เป็นอย่างงั้นอย่างงี้ นักธรรมตรีได้เทียบประถม 4 นักธรรมโทได้เทียบชั้นนั้น ชั้นนั้น อะไรน่ะ เปรียญชั้นนั้น ชั้นนี้น่ะ ประโยค 3 ตอนนั้น ต่อมาได้เทียบถึงม 6 อะไรอย่างนี้ แล้วได้ หรืออย่างเป็น แม้แต่ไม่ได้เทียบก็เขาเทียบโดยตรงก็คือว่า เทียบในการที่ไปสมัครงานได้ เช่นว่าได้นักธรรมโทก็สมัครเป็นตำรวจ เพราะฉะนั้นสมัยก่อนนี้ต่างจังหวัด เป็นตำรวจเป็นนักธรรมโทเยอะแยะหมดเลย นี่สภาพสังคมแบบนี้คนสมัยหลังไม่ค่อยรู้เรื่อง นี้พระเณรมาเรียนหนังสือก็คิดแต่ว่าจะได้ชั้นไปแล้วก็มีโอกาสก็จะสึกไปรับราชการบ้างอะไรบ้าง เนื้อหาธรรมะก็ไม่ได้ตั้งใจเรียน ฉะนั้นการเรียนที่ว่าจะท่องกันไปพอให้สอบได้เนี่ย มันก็เกิดในยุคนั้น ทีนี้อันนี้ถ้าหากว่าเราทราบความเป็นมาอย่างนี้ เราจะเห็นว่าการเล่าเรียนแบบท่องจำอะไรต่ออะไรที่มุ่งเอา เอ้อท่องมาสอบได้ มันกลายเป็นระบบของการศึกษาของพระไปเน้นในแง่นี้ ซึ่งมันก็โยงกับไอ้เรื่องของสภาพการศึกษาของประเทศไทยนี้เอง ซึ่งการพระศาสนาก็ไปอิงอยู่กับสภาพความเป็นไปเหตุการณ์ในสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย โอกาสเรียนไม่ได้มุ่งเอาเนื้อหาสาระธรรมะวินัยแท้ก็เลยท่องจำเอา บางทีเรียนกันไปจะให้สอบบาลีก็ท่อง ๆ ๆ ๆ แล้วก็เวลาออกสอบมาให้ตรงก็จะได้เขียนไปเลย อะไรอย่างนี้น่ะ นั้นการที่ว่าเรียนแบบท่องจะอะไรนี่ มันไม่ได้มาจากเรื่องเถรวาทหลอก มาจากเรื่องของวิถีไทยนี้ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งบางทีก็เป็นของเรื่องยุคสมัย ซึ่งเราจะต้องมีความเข้าใจ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งแต่รวมแล้วก็คือ ในแง่หนึ่งของพระเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องพุทธศาสนา ในเมื่อการเรียนเป็นอย่างนี้ ไม่ได้มุ่งเอาเนื้อหาสาระนี่ พระเณรเองก็ไม่ค่อยรู้พระพุทธศาสนาคืออะไร คำว่าเถรวาทก็เลยไม่รู้เรื่องว่าคืออะไรด้วย พระส่วนมากก็ไม่รู้ นั้นมันก็เป็นปัญหาของสังคมไทยทั้งหมด ที่นี้ถ้าหากว่าคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาซึ่งเป็นเถรวาทมีความรู้ความเข้าใจพุทธศาสนาดี ก็คือเข้าใจคำว่าเถรวาทเป็นต้นด้วย
อย่างคุณสุจิตเขียนอะไรมานี่ คนไทยก็รู้หมดแหละ ไม่ต้องมางงมาอะไรใช่ไหม อันนี้ก็กลายเป็นว่า เพราะความไม่รู้ของตัวเองนี่ทำให้แกว่ง อย่างน้อยก็เกิดความสงสัยแล้วก็เกิดความสับสนเป็นปัญหาของสังคมไทยเลย คือไม่ใช่เฉพาะข้อเขียนของคุณสุจิตที่เพ็งเล็งไปที่คำว่าเถรวาท แต่ว่าข้อเขียนของคุณสุจิตเองน่ะ มันชี้สภาพสังคมไทยที่รวมทั้งตัวคุณสุจิตเองด้วย ทีนี้ถ้าผมมองเรื่องนี้ก็มองในแง่ดีก่อน เพราะว่าท่านที่เขียนนี่ ท่านก็ทำงานในแง่ของส่วนรวม คนที่ทำงานส่วนรวมก็หวังไว้ว่าก็มีเจตนาที่ดีต่อส่วนรวม ในแง่นี้ก็คือคุณสุจิตก็คงหวังดีต่อการศึกษาของประเทศไทยอย่างในบทความนี้ ก็อยากจะให้การศึกษาของไทยนี้เจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองแล้วก็อาจจะได้ยินได้ฟังเรื่องเถรวาทมาในแบบที่ว่ามาเมื่อกี้ ก็รู้สึกว่ามันขัดขวาง มันทำให้ประเทศไทยไม่เจริญการศึกษาทำให้เป็นอย่างนี้ เพราะถ้าท่านเข้าใจว่า เถรวาทคือแค่ท่องจำอะไรอย่างที่ว่า แต่อย่างไงก็เอาเป็นว่าขั้นต้นเรามองแง่ว่าท่านมีเจตนาดีที่มุ่งหวังความเจริญแก่ประเทศไทย แต่ความเจตนาดีอย่างเดียวก็อย่างที่ว่าก็ไม่พอ ก็ต้องเรื่องของการทำความเข้าใจกันด้วย ให้รู้เข้าใจเรื่องที่ว่านั้นให้ชัดเจน ก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจอยู่ถ้าหากว่าท่านไปได้ยินได้ฟังเขาพูดมาว่า เถรวาทมีความหมายอย่างนี้ แล้วท่านก็ว่าไปน่ะ นี่แต่ว่าเราเองเราอย่าไปมัวไปโกรธหรือเครียดหรือไม่พอใจ ต้องมีความเข้าใจมองอย่างที่ว่ามีแง่มองเยอะเลย ตั้งแต่สภาพสังคมไทยเป็นต้นไปอย่างที่พูดไปแล้ว