PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
  • ธรรมคุณ 6
ธรรมคุณ 6 รูปภาพ 1
  • Title
    ธรรมคุณ 6
  • เสียง
  • 4332 ธรรมคุณ 6 /somdej-payutto/09-6.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันจันทร์, 20 เมษายน 2563
ชุด
คุยกับเณร พอให้เห็นธรรม
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ

    ถ้าได้พูดถึงความหมายของคำว่า “ธรรม”ว่า  ธรรมะแปลว่า ทรงไว้ หรือรองรับไว้ซึ่งก็ขยายความบอกว่านั่น คือความจริงนั่นเอง ความจริงที่รองรับหรือทรงไว้ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง อันนี้ก็เป็น หลักธรรมดา ทีนี้ถ้าเราแปล เอาเป็นตัวสิ่งนั้น บางทีเราเอาไปแปลความจริง ความจริงก็ทรงรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ทีนี้ถ้าเป็นสิ่งนั้นเอง สิ่งนั้น ๆ ก็เป็นธรรมะได้ ก็แปลความหมายว่า เป็นสิ่งที่รักษาไว้ซึ่งสภาพของมันตามเหตุและปัจจัยหมายความว่า มันรักษาสภาพของมันไปได้ตามเหตุปัจจัยที่มันเป็น ใจที่จะทำให้มันเป็น เหตุปัจจัยมันเป็นอย่างไรมันก็จะรักษาสภาพไว้ตามนั้น นี่ก็ มีความหมายว่า มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง ไม่เป็นไปตามความอยากหรือใจนึกของเรา คนเราจะเอาใจอยากของเราไปทำให้สิ่งทั้งหลายไปเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่มีทางสำเร็จเพราะสิ่งทั้งหลายมันก็รักษาสภาพของมันตามเหตุปัจจัยของมัน ทีนี้ถ้าเราเอามาใช้ในแง่เป็นความดีเอาธรรมะเป็นความดี ก็ ความดีก็ย่อมรักษาคนที่ทำมัน ปฏิบัติตามมันให้ เขาเรียกว่าไม่ทำให้ตกไปในที่ชั่วเพราะมันเป็นเหตุ ความดีมันก็เป็นเหตุให้เกิดผลที่ดี ทำอย่างไรก็ได้ ทำเหตุอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้น ฉะนั้นทำเหตุคือตัวทำความดี ความดีก็เกิดขึ้นมันก็รักษาสภาพของมันไว้ ก็ทำให้เราไม่ได้ตกไปในทางชั่วก็คือฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าเราแปล ธรรมะในความหมายหนึ่งว่าเป็นความดีที่ รักษาคนที่ปฏิบัติ ไว้ไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว อันนี้ก็เป็นความหมายที่ได้แปลกันตามศัพท์ และก็ได้อธิบายแล้ว บอกว่าพูดง่าย ๆ ก็ธรรมะก็คือความจริงและก็ความดีงามนั่นเอง

               ทีนี้ ถ้าเราพูดถึงความหมาย ทีนี้ธรรมะมีคุณอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร คุณสมบัติก็มีอยู่หลายอย่าง คุณสมบัติอย่างหนึ่งก็คือ ความจริงนั้นมันก็ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ ว่ามันจะต้องเป็นอย่างนั้น ทีนี้พิสูจน์ได้นี่ การพิสูจน์นั้นใช้อะไรพิสูจน์?

    หลวงพ่อ : คนเรานี่จะพิสูจน์นี่ใช้อะไรพิสูจน์รู้ไหม? ตัวเราจะเอาอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ตัวเรานี่เวลาจะพิสูจน์เราจะใช้อะไรเป็นเครื่องยืนยัน?  ใช้ตา... ใช้อะไรดี?

    เณร: ใช้ตา...ความคิด..การกระทำ....

    หลวงพ่อ:  เวลาเราจะพิสูจน์อะไรเนี่ย ว่าอันนั้นใช่หรือไม่ใช่เนี่ย ว่าอันนี้เป็นของเณรวุฒิ? หรืออันนี้เป็นของเณรอนุรักษ์? จะต้องเอามาโชว์กันเลย แล้วจะใช้อะไรเป็นเครื่องวัดหละ?

    เณร: สายตา .....

    หลวงพ่อ : ต้องสายตา อ้าว! ทีนี้ถ้าเป็นเสียงหละจะพิสูจน์ จะพิสูจน์ด้วยตาได้หรือเปล่า? ไม่ได้..ก็ใช้หู เพราะว่า ทางรับรู้เท่านั้นเองใช่ไหม? ทางรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และอะไรอีกอย่างหนึ่ง?

    เณร: ใจ

    หลวงพ่อ : คือใจ แล้วอันไหน ๆ ของนั้นนะ ผิดทางไม่ได้ด้วยใช่ไหม ถ้าพิสูจน์เสียงพิสูจน์ด้วยตาไม่มีทางสำเร็จ แล้วพิสูจน์สิ่งที่เห็นด้วยรูปเนี่ย พิสูจน์ด้วยหูก็ไม่มีทางสำเร็จได้ด้วยเหมือนกัน อย่างเดียวกันหมดเลย กลิ่นก็จะพิสูจน์ได้ด้วยจมูกเท่านั้น รสก็พิสูจน์ได้ด้วยลิ้น สัมผัสต่างๆ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ก็พิสูจน์ได้ด้วยกาย

              เพราะฉะนั้นการพิสูจน์นี่ มองในแง่หนึ่ง ถ้าหากว่าจะเอาผลที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลแล้วนี่ เป็นของเฉพาะตัวนะ คนอื่นนี่ พิสูจน์แทนไม่ได้ ทีนี้ไอ้ของที่เราพูดกันส่วนมากเราใช้ตาพิสูจน์ก็มองกันดู แต่ว่าไอ้สิ่งที่ได้ความรู้สึกลึกซึ้งลงไปนี่ ต้องรู้เฉพาะตัว อย่างรสมะม่วงเนี่ย จะให้รู้ว่าเป็นรสมะม่วง รสมะม่วงเป็นอย่างไรจะต้องทำอย่างไร ? อธิบายได้ไหม ?

    เณร: อธิบายไม่ถูก...

    หลวงพ่อ:  อธิบายไม่ถูก และคนฟังก็ไม่มีทางจะรู้ขึ้นมาได้ใช่ไหม? ทีนี้การพิสูจน์ที่แท้คือมันจะต้องเป็นประสบการณ์ ที่ได้รับด้วยตนเอง ฉะนั้นจะบอกว่า รสหวาน ก็พอรู้มาก่อน ก็ต้องรู้ ถ้าไม่เคยรู้มาก่อนก็ฟังไม่รู้เรื่อง พอรสหวานมะม่วง แล้วยังแยกอีกว่ามะม่วง น้ำดอกไม้ มะม่วงอกร่อง มะม่วงอะไร? เขียวเสวยนี่นะ แต่ละอย่าง ๆ เนี่ยนะก็ไม่เหมือนกันใช่ไหม? เพราะฉะนั้นจะอธิบายอย่างไรก็ไม่มีทางรู้ ต้องพิสูจน์ด้วยการที่ว่า ชิมรสด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นไอ้เรื่องของการพิสูจน์เนี่ย ในขั้นที่แท้จริง และเป็นประสบการณ์เฉพาะตัว ทีนี้ในทางจิตใจหละ?  ในทางจิตใจก็ต้องรู้เฉพาะตัวเหมือนกัน อย่างความรู้สึกโกรธ ความรู้สึกโกรธนี่ก็อธิบายได้ไหม? ให้อีกคนรู้สึกขึ้นมาด้วยนี่ก็ไม่ได้ ก็ต้องเป็นความรู้สึกเฉพาะตัวเอง ก็คนที่โกรธก็จึงจะรู้ได้ว่าความโกรธเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นไอ้เรื่องการพิสูจน์เนี่ย ก็ต้องใช้ทางรับรู้อันนั้น ๆ เฉพาะไป แล้วก็ต้องเป็นของเฉพาะตัว ทีนี้ธรรมะเนี่ยก็เป็นอย่างที่ว่านี่แหละ อย่างใครจะบรรลุธรรมชั้นไหน ชั้นไหนเนี่ย จะมาพูดให้กันฟังเนี่ยก็.... พูดอย่างไรอีกคนก็ไม่เข้าใจ เพราะมันเป็นของที่ต้องรู้ได้ด้วยตนเอง นี่จึงว่าบางทีการพิสูจน์นี่ จะเอามาแสดงให้เห็นไม่ได้ อันที่แสดงให้เห็นมันก็พิสูจน์ให้เห็นเนี่ยมันก็เป็นการพิสูจน์ด้วยตาเท่านั้น ทีนี้ถ้าเกินจากตาไปเนี่ย เขาต้องพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง อันนี้ถ้าพิสูจน์ด้วยตา ตาก็ทำหน้าที่ทำให้ไม่ได้ อันเนี่ยการพิสูจน์นี่บางทีคนเนี่ยเข้าใจผิด คือนึกว่า เอามาแสดงให้กันเห็นได้หมดซึ่งที่จริงมีน้อยมากอันที่เอามาแสดงให้เห็นได้ด้วยตา ลองลงมาก็ใช้หู แต่ที่แน่นอนก็คือ ทางไหนทางนั้นก็อันเนี่ยเป็นเรื่องธรรมะ ความจริงก็ต้องใช้ให้ถูกต้อง การพิสูจน์ธรรมะ ก็ต้องพิสูจน์ให้มันตรงเรื่องของมัน แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ จะมาพูดว่าพิสูจน์ได้ไหม? ก็ตอบว่าพิสูจน์ได้ แต่ว่าต้องเฉพาะทางของมัน อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง เราเรียนวิทยาศาสตร์เราก็พูดถึงการพิสูจน์ แต่การพิสูจน์เนี่ย วิทยาศาสตร์มักพูดเฉพาะรูปธรรมใช่ไหม?  รูปธรรมก็พิสูจน์เฉพาะวัตถุ จะเน้นเรื่องตาก่อน แล้วก็มาเรื่องหู แล้วก็เรื่องสัมผัส แต่ในที่สุดก็อยู่แค่ ตา หู จมูก ลิ้น แล้วก็กาย วิทยาศาสตร์จะไม่พูดเรื่องใจ ทั้งๆ ที่เรื่องจิตใจเนี่ยก็เป็นทางรับรู้ที่สำคัญของมนุษย์ แล้วหลายอย่างมนุษย์รับรู้ได้ด้วยใจ โดยที่ ตา หู จมูก ทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ความรู้สึกอารมณ์ต่าง ๆ ที่ว่าเมื่อกี้ เป็นของที่แน่นอนเป็นของที่มีจริงเราแต่ละคนเราก็รู้ของเราเอง แต่เราก็อธิบายให้คนอื่นรู้ตามไม่ได้ ถ้าคนอื่นยังไม่เคยมีประสบการณ์นั้น เขาก็ไม่สามารถเข้าใจจนกว่าจะเจอได้ด้วยตนเอง

              ฉะนั้นการที่จะพูดในแง่วิทยาศาสตร์นี้เราพูดได้ว่า เป็นเรื่องของการพิสูจน์ทางด้านวัตถุรูปธรรม ไม่คลุมไปถึงในนามธรรม ทีนี้ธรรมะ ความจริงคือต้องให้ได้หมดต้องทั้งรับวัตถุและนามธรรม ต้องได้ไปถึงต้อง กาย ลิ้น หู ตา จมูก จนกระทั่งไปถึงจิตใจเลยนี่ จึงเรียกว่าธรรมะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ก็คือความจริงนั่นเอง ก็วันนี้ก็เอาเท่านี้ก่อนเอาทีละเล็ก ละน้อยเป็นการคุยกัน

    หลวงพ่อ : ทีนี้นั่งสมาธินี่ในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง? เณรวุฒิรู้สึกอย่างไร

    เณร: ดีขึ้น

    หลวงพ่อ :  ดีขึ้น หมายความว่า ดีขึ้นนั้นหรือแสดงว่า นับได้ นับได้ไม่หลง และสบายขึ้นหรือเปล่า?

    เณร: ปวดหลังบ้างนิดหน่อย

    หลวงพ่อ:  แล้วในแง่ใจหละ?

    เณร: …ใจก็สงบ... ไม่รวนเร

    หลวงพ่อ:  คือก็ไม่กระวนกระวาย เณรอนุรักษ์หละ?

    เณร: ....สบาย...แต่ก็มีหลงน้อยลง

    หลวงพ่อ : สบาย อันหนึ่งก็ให้มันอยู่กับสิ่งนั้นอยู่กับลมหายใจได้ แล้วก็นับไม่หลง นี่ก็แสดงว่าดีขึ้น แล้วก็สองสบาย ไม่กระวนกระวาย ถ้าได้ผลดีมันจะไปในรูปนี้ ทีนี้เณรต้นเป็นอย่างไรรูสึกได้ผลดีทั้งสองอย่างนี้หรือเปล่า?

    เณร: ได้ชุดสอง....

    หลวงพ่อ:  ชุดสอง ได้กี่ชุดทั้งหมด?

    เณร: ..สาม...

    หลวงพ่อ : โอ้โห!!! ได้ถึงสามชุด แสดงว่าเณรยังหายใจอยู่ หายใจสั้น

    เณร: แต่ด้านร่างกายมันยัง…….

    หลวงพ่อ:  เป็นอย่างไรครับ?

    เณร:  เมื่อย....

    หลวงพ่อ : ถ้าเมื่อย สงสัยจะนั่งยังไม่ได้ทีหละมั้ง.. ต้องนั่งให้ดีให้ได้ที่ก่อน แล้วใจหละสบายหรือเปล่า?

    เณร: ….ใจก็สบาย..

    หลวงพ่อ:  แต่ว่าถ้ากายไม่สบาย ใจก็พลอยไม่สบายด้วย แต่ถ้ามันเมื่อยละก็ยาก พอใจไม่สบายด้วยใจมันต้องไปห่วงร่างกายด้วย ฉะนั้นต้องนั่งให้ได้ที่ก่อนต้องหัดนั่งให้ดี ต้องได้ท่าที่เหมาะ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service