แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พวกเราต้องขอรบกวนกราบท่านตอนนี้เลยนะค่ะ เพราะว่าเรามีข้อสงสัยหลายอย่าง แล้วก็ไม่สามารถที่จะหาคำตอบที่กระจ่างได้ ก็เลยต้องขอความเมตตาจากพระคุณเจ้าได้ช่วยให้คำตอบแก่พวกเราด้วย ในความสงสัยที่พวกเราแต่ละคนมี ความสงสัยอันที่หนึ่ง คุณตรีรัตน์
ก็ต้องมีข้อปารภที่ทำให้สงสัย
พอดีมีหนังสือเล่มหนึ่งครับ ชื่อว่า จิตอาสาพลังสร้างโลก จัดทำในนามของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือ ศูนย์คุณธรรมที่ทำงานเรื่องศาสนาที่ผ่านมานะครับ สำนักบริหารพัฒนาองค์ความรู้ เป็นองค์การมหาชน คือในหนังสือจะพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องของเถรวาทและก็มหายานนะครับ โดยยกชื่นชมประเด็นที่ว่า มีผู้วิจัยประเด็นคุณลักษณะ และกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมของประเทศไต้หวัน สรุปความแตกต่างระหว่าง พระพุทธศาสนาเถรวาทกับพระพุทธศาสนามหายาน คือมีอยู่สิบประเด็นที่สรุปความต่างกัน อันนี้เข้าใจว่าทางคณะผู้มาเนี่ย คงจะนมัสการเรียนถามเกี่ยวกับว่าข้อคิดเห็นประเด็นที่ทำการวิจัยนี้ถูกต้องตามหลักการหรือเป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อนจากหลัการอย่างไรนะครับ คือในข้อที่หนึ่งบอกว่า พุทธศาสนาเถรวาทเน้นด้านประหยัด เป็นต้นแบบความเรียบง่ายสมถะ ส่วนพุทธศาสนามหายานนั้นจะเน้นที่ความสามารถ เป็นต้นแบบ เพื่อช่วยสรรพสัตว์ด้วยจิตขอวพระโพธิสัตว์ จึงต้องรู้จักใช้เครื่องมือช่วยสังคม เช่น ขับรถได้ จัดกิจกรรมเก่ง ต้อนรับบริการที่ดี เป็นข้อแตกต่างข้อที่หนึ่ง ไม่ทราบว่าประเด็นนี้ พระเดชพระคุณมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
อาตมาว่าอ่านไปทั่วๆ จนหมดก่อนดีกว่า เพราะมันเป็นข้อปลีกย่อยเกินไป
ส่วนประเด็นข้อที่สอง กระผมขออนุญาตที่จะอ่านทั้งสิบหัวข้อเลยนะครับ
ประเด็นข้อที่สองบอกว่า พุทธศาสนาเถรวาทเน้นที่ความสุภาพเรียบร้อย ส่วนของมหายานนั้นมุ่งที่ความกระฉับกระเฉง กระชุ่มกระชวย
ของเภรวาทเน้นเรื่องศีล ของมหายานจะมุ่งที่ทานนะครับ เป็นความแตกต่างกัน
ในข้อที่สี่ ของเถรวาทจะปฏิบัติส่วนตัว ส่วนของมหายานนั้นจะปฏิบัติส่วนรวม
เถรวามในข้อที่ห้า ปฏิบัติโดดเดี่ยว พึ่งตนเอง แยกตัวหลุดพ้น คือในวงเล็บเอาตนเองก่อน ส่วนของมหายานนั้นจะปฏิบัติร่วมกัน รวมกันเป็นกลุ่ม บรรลุพร้อมกัน เป็นทีมที่มีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในวงเล็บคือเอาทั้งตนกับส่วนรวมพร้อมกัน
ส่วนของเถรวาทในข้อที่หกที่แตกต่างกันนั้น คือมุ่งสู่อรหันต์เท่านั้น ส่วนของหมายานสานต่ออุดมการณ์ของพระโพธิสัตว์ถึงพระพุทธเจ้า
ข้อแตกต่างข้อที่เจ็ดบอกว่า เถรวาทตายแล้วสูญไม่อยากเกิดอีก ทางมหายานบอกว่าตายแล้วยินดีเกิดอีกมาช่วยคนอื่นต่อไป
ในเถรวาทข้อที่แปดบอกว่าไม่กินเจ คือกินตามมีตามเกิด ส่วนของมหายานนั้นต้องกินเจ เพื่อลดความเบียดเบียนกันทั้งทางตรงและทางอ้อม
ข้อแตกต่างข้อที่เก้า บอกว่าเถรวาทนั้น ไม่กินมื้อเย็น แต่อของมหายานนั้นกินมื้อเย็นได้ เรียกว่าอาหารยา
และในข้อสุดท้ายคือข้อที่สิบ ที่ทางผู้วิจัยได้เขียนความแตกต่างไว้ คือเศรษฐกิจ เถรวาทนั้นเศรษฐกิจในประเทศจน มีช่องว่างทางสังคม ส่วนของมหายานนั้นเศรษฐกิจในประเทศที่นับถือมหายานจะร่ำรวย ช่องว่างในสังคมก็จะแคบ อันนี้เป็นประเด็นของผู้วิจัย ใช้ขื่อว่าพระเดิมแท้ชาวหินฟ้าครับ
จบแล้วเหรอ
ครับมีข้อแตกต่างอยู่สิบข้อครับ
แล้วโยมจะถามอะไร
เราอ่านดูแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจแจ่มชัด เพราะบางข้อเราก็เห็นว่ามันไม่ได้เป็นไปตามที่เขาเปรียบเทียบ ก็เลยจะมาขอความคิดเห็นของท่านค่ะ ที่ท่านเห็นว่ามันมีอะไรที่ลึกซึ้งไปกว่านี้ อย่างเช่นในข้อเน้นเรื่องทานกับเรื่องศีลเนี่ย ดิฉันก็รู้สึกว่าฝ่ายเถรวาทก็มีหมด ทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งภาวนา ไม่ใช่มีเฉพาะศีลอย่างเดียว ทานก็มี ทำไมถึงแยกเป็นแบบนี้ จึงขอให้ท่านช่วยเพิ่มเติมและให้ความรู้แก่พวกเรา
ก็ต้องออกตัวก่อน ไม่ค่อยสบาย กำลังใจสั่นอยู่ ทีนี้ก็ค่อยพูดไปตามกำลัง พอดีนึกจะพูดอะไรมันก็ลืมหายไป โยมได้ยินกันทั่วหรือป่าวนิ คือโยมฟังแล้วก็ไม่ต้องถือสาอะไร ที่ท่านเขียนมานี้ อาตมาว่ามองในแง่ดี มองในแง่ดีก็ดี ตอนนี้เราไม่ได้พูดถึงว่าที่พูดดี เรามองในแง่ดีนะ จะถูกหรือไม่ถูกอีกเรื่องนึง คือที่ว่าดี ก็คือจะได้เป็นเครื่องเตือนให้ไม่ประมาท เพราะอะไร เพราะว่าพระพุทธศาสนา ที่เรานับถือกันอยู่ ปฏิบัติกันอยู่ ในประเทศไทยปัจจุบัน แล้วที่ไปเรียกกันว่าเป็นเถรวาท เนี่ยก็มีความเชื่อมีการปฏิบัติที่ผิดเพี้ยนไปเยอะ ก็ไม่ใช่เถรวาทจริง พูดง่ายๆ ทีนี้เวลามองก็เอาสภาพที่เห็นไปเป็นว่าเถรวาท ก็อย่างง่ายๆ ไม่ต้องดูลึกซึ้ง คนไทยที่เรียกว่าชาวพุทธเวลานี้ ขอหวยบ้าง ไปขูดเลขตามต้นไม้บ้าง อ้อนวอนขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ดลบันดาลนู่นบันดาลนี่ เลยบางคนก็นึกว่านี่เป็นพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่ว่าพุทธศาสนาเถรวาทนั้นเน้นหนักหนาว่าให้ทำการให้บรรลุผลสำเร็จด้วยความเพียรพยายาม อะไรอย่างนี้ แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏมันตรงข้าม คือคนไม่มีความเพียรเอาแต่จะรอคอยผลดลบันดาล อันนี้ภาพอย่างนี้ก็กลายเป็นภาพของชาวพุทธไป ที่จริงมันมียังเรื่องที่ลึกซึ้งกว่านี้ แต่อันนี้จะพูดเห็นง่ายกว่า แล้วก็เลยท่านที่เขียนก็อาจจะเอาภาพเหล่านี้ไปเป็นภาพพุทธศาสนาเถรวาท หรือแม้แต่ตัวท่านผู้เขียนเองก็เกิดมาเจริญขึ้นมา ในความเข้าใจเชื่อถือ ประพฤติปฏิบัติ บรรยากาศสิ่งแวดล้อมแบบนี้ แล้วก็เข้าใจว่าแบบนี้เป็นพุทธศาสนาเถรวาท แล้วก็เอาไปภาพนี้ไปเชื่อมพุทธศาสนาเภรวาท ไปเทียบกับสิ่งที่ตนเห็นในประเทศอื่น ที่ตนเองเรียกว่าเป็นมหายาน อันนี้ขั้นที่หนึ่งนะ ทีนี้ขั้นที่สองจะไปดูทางมหายานที่ท่านเอามาพูด ที่จะเอามาเปรียบเทียบ ก็แปลว่าภาพพุทธศาสนาเภรวาทที่เอาไป ที่เข้าใจเนี่ย มันก็เป็นภาพที่ผิดเพี้ยนแล้ว อันที่ว่าดีก็คือว่า เขาจะว่าอะไรก็ช่างเถอะ อาตมาไม่ค่อยสนใจรายละเอียด คือเป็นเครื่องเตือนให้ชาวพุทธ โดยเฉพาะในเมืองไทยน่าจะตื่นกันขึ้นมา แล้วก็มาปรับปรุงหรือจะเรียกว่ามาฟื้นฟูก็ได้ หรือจะถึงขั้นที่เรียกว่าปฏิรูปก็แล้วแต่ ปฏิรูปพุทธศาสนาที่เรานับถือกันผิดๆ ให้มันกลับไปสู่หลักการที่ถูกต้อง เอาจริงเอาจังกันซะบ้าง คือเตือนกันเท่าไหร่ก็ไม่ตื่นสักที พระพุทธเจ้าเอาจริงเอาจังว่าอะไรคือพระพุทธศาสนาที่แท้ ที่เราเรียกว่าเถรวาท ที่เรานับถือกันนี่เป็นเถรวาทจริวหรือเปล่า เขาได้ภาพนี้ไปก็เป็นภาพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งเป็นภาพที่ผิดเพี้ยน ฉะนั้นประโยชน์ที่จะได้แก่เราก็คือมาเตือนให้เรารีบตื่นขึ้นมาปลุกกัน แล้วก็มาฟื้นฟูแก้ไข อันที่สองที่ท่านไปนู่น แล้วท่านก็ไปดูมหายาน ทีนี้คำว่ามหายานมันกว้าง มหายานนี้มีเยอะ มีนิกายย่อยมากมาย แล้วก็ยังแต่ละในประเทศในหลายประเทศแต่ละประเทศก็มีหลายนิกาย เอาอย่างง่ายๆ เราจะรู้จักเรื่องพุทธศาสนาในญี่ปุ่นบางทีมากกว่าในจีนอีก ทีนี้ในญี่ปุ่นอันที่จริงก็ไปจากจีนซะเยอะ ตอนแรกก็ไปจากเกาหลี ต่อมาก็ไปจากจีน เวลานี้มีทั้งหมดก็สองร้อยกว่านิกาย นิกายย่อยของมหายาน เฉพาะนิกายใหญ่ก็ห้านิกาย การนับถือก็ต่างกันมาก บางนิกายก็คล้ายกันกับของไทย อย่างนิกายเซ็นเนี่ยจะเน้นเรื่องการปฏิบัติ โดยใช้ความเพียรพยายามของตนเองมาก บางนิกายก็เน้นไปทางมหากรุณา มีพระพุทธเจ้ามาช่วยอย่างนิกายที่เราเรียกว่า พระอมิตาภะ ก็คือนิกายสุขาวดี นิกายโจโด โจโดเก่าและก็โจชิน ที่เรียกสั้นๆ ว่านิกายชิน พวกนิกายสุขาวดีก็จะเน้นเรื่องมหากรุณา ที่บางที่ว่าก็แทบจะกลายเป็นว่าเป็นนิกายอ้อนวอน แบบศาสนาทางตะวันตกที่เขาอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้า นี่ก็อ้อนจนถึงขนาดที่ว่าให้ออกนาม พระอมิตาภะ วันหนึ่งให้มากที่สุด อาจจะถึงวันละพันครั้ง ตายไปแล้วจะได้ไปเกิดในแดนสุขาวดี คือสวรรค์ตะวันตก ไปอยู่กับพระอมิตาภะพุทธเจ้า ในจีนก็จะมีนิกายพวกนี้ แต่เรียกชื่อเป็นภาษาจีน มีทั้งนิกายสุขาวดี หรือนิกายเซ็นที่เรีกยกว่า ฉาน พวกนี้ ทีนี้มหายานนี้ก็มีมากมายกว้างขวาง ทีนี้ท่านที่ไปเนี่ย พอจะดูได้ว่าท่านไปเห็นเพียงกลุ่มหนึ่งคณะหนึ่ง ในนิกายหนึ่งแห่งนิกายทั้งหลายของมหายาน ในนิกายหนึ่งก็ไม่ครบด้วยหมายความไปเห็นกลุ่มหนึ่ง จะเรียกว่ากลุ่มอะไรก็ไม่ทราบ ทีนี้มหายานที่ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ต้องวิจัย ที่บอกว่าวิจัย คือที่เอามาพูดว่ามีสิบข้อต่างกันอะไรเนี่ย มันมีข้อหลักบ้างข้อปลีกย่อยบ้าง ซึ่งเป็นข้อปลีกย่อยเสียเยอะ ส่วนข้อหลักๆ ไม่ต้องวิจัยหรอกเพราะว่าทางมหายาน ท่านว่าอย่างนี้มาเป็นพันปีแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมาวิจัย แม้แต่การที่เกิดนิกายมหายาน แล้วก็เรียกชื่อว่าเป็นมหายาน ก็เพราะการถือหลักการนี้ คือทางมหายาน ท่านถือว่าเป็นนิกายที่มีคำสอนซึ่งสามารถจะรื้อขนสรรพสัตว์ได้มากมาย เหมือนกับยานพาหนะหรือแพที่ใหญ่ ขนสัตว์ไปได้มากก็จึงเรียกว่ามหายาน แปลว่ายานใหญ่ ตั้งแต่ต้นมีชื่อก็บอกอยู่แล้วไม่ต้องมาวิจัยหรอก คือว่าถือหลักการนี้ว่าทางมหายานนั้นกว้างขวางยิ่งใหญ่ ก็จะช่วยรื้อขนสรรพสัตว์ บางทีก็เรียกว่าโพธิสัตวยาน เขาเรียกมาเดิมเป็นยานของพระโพธิสัตว์ นับถือพระโพธิสัตว์ที่ว่ายังไม่ยอมเข้านิพพาน จะมารื้อขนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ให้หมดสิ้นแล้วตัวจึงจะเข้านิพพานทีหลัง อันนี้เป็นคติแต่เดิม เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องมาวิจัยเลย เรื่องง่ายๆ ก็ถืออย่างนี้ มหายานก็ถือว่าตัวเองนี่เป็นคำสอนเหมือนยานพาหนะใหญ่ขนสัตว์ไปได้มาก ส่วนนิกายอื่นซึ่งโดยมากเป็นพุทธศาสนาแบบเดิมๆ ที่นับถือมาก่อน ก็เป็นคำสอนที่ช่วยคนได้น้อยเหมือนยานพาหนะที่มีคุณภาพต่ำ แล้วท่านก็เลยเรียกตนเองเป็นมหายาน แล้วก็เรียกนิกายว่าเป็นหินยาน ก็เลยเกิดเป็นพุทธศาสนาสองนิกาย มหายาน หินยาน ขึ้น พุทธศาสนาเดิมที่มีมาเลยเรียกว่าหินยาน ก็เคยทายพระบ่อยๆ บอกหินยานกับมหายานใครเกิดก่อน ก็ทายไปเล่นๆ ถ้าพระท่านไม่รู้ทันก็บอกว่าอ้าวหินยานเกิดก่อน หินยานก็คือพุทธศาสนาที่มีมาแต่เดิม และมหายานก็เกิดขึ้นใหม่ในราวสัก พ.ศ. ช่วง ห้าหกร้อยปี ทีนี้ถ้าเราเล่นเป็นพูดเป็นสำนวนก็บอกว่า มหายานเกิดก่อน แต่ก่อนนั้นคำว่าหินยานไม่มี พอมหายานท่านเกิดขึ้น ท่านก็เรียกตนเองว่ามหายาน ท่านก็เลยเรียกผู้อื่นจากท่านเป็นหินยาน เพราฉะนั้นหินยานก็เลยเกิดทีหลัง ก็แล้วแต่โยมจะมองในแง่ไหน ก็คือของตัว ตัวของนั้นมีอยู่ก่อน และก็ชื่อนั้นมีมาทีหลัง ก็โดยที่ว่ามีมหายานขึ้นมาแล้วก็เลยเรียกนิกายอื่นว่าเป็นหินยาน นี่เถรวาทก็เป็นนิกายดั่งเดิมที่มีมา ก็เลยพลอยติดร่างแหถูกเรียกเป็นหินยานไปด้วย เดิมก็ไม่มี เพราะฉะนั้นเถรวาทเนี่ยไม่รู้จักคำว่าหินยาน ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทในษาบาลีไม่มีนะคำว่าหินยาน ไม่รู้จัก ก็แปลว่าคำว่าหินยานก็เป็นคำที่เกิดทีหลัง แล้วก็พุทธศาสนาที่เรียกว่าเถรวาทนี่ก็เป็นของเดิม ที่เราถือว่า ถือยึดตามหลักของคำสอนที่เป็นพุทธพจน์ซึ่งวางเป็นหลักในการสังคยานาครั้งที่หนึ่ง หลังพุทธปรินิพพานสามเดือน ก็ถือว่านี่เป็นต้นของเถรวาท ทางเถรวาทก็ยึดถืออันนี้เป็นคำสอนดั่งเดิม แล้วนิกายอื่นเล็กๆ น้อยๆ ก็เกิดขึ้นมา ที่ไม่ใช่มหายานก็พลอยถูกเรียกเป็นหินยาน หินยานก็เลยพลอยรวมเถรวาทเข้าไปด้วย อันนี้โยมจะต้องเข้าใจ ทีนี้พอเห็นว่า หินยานอื่นๆ สูญหายไปหมดแล้วก็เลยเหลืออยู่เถรวาทอันเดียว เวลานี้ก็เลยเรียกเถรวาทเป็นหินยาน หินยานก็เป็นอันเดียวกับเถรวาท เลยเรียกเหมือนกับแทนกัน แต่ความจริงไม่ใช่อันเดียวกันหรอก หินยานเป็นคำที่กว้างกว่า เถรวาทเป็นอันหนึ่งในหินยานทั้งหลาย แต่ว่าเป็นหินยานที่เหลือมาอันเดียวจนปัจจุบัน ส่วนมหายานนั้นเดิมก็เป็นเพียงนิกายย่อยอันหนึ่งในสมัยหลังพุทธกาล ที่พระพุทธศาสนานั้นค่อยๆ มีการเรียกว่าแตกแยกออกไปเนี่ยก็มีนิกายย่อยๆ เกิดขึ้นมาหลายนิกาย และในบรรดานิกายย่อยอันหนึ่ง มีนิกายมหาสังฆิกะ มหาสังฆิกะนี้แหละก็พัฒนามาถือว่าเป็นต้นกำเนิดของมหายาน ก็ตอนแรกกลายเป็นว่ามีนิกายย่อยเยอะแยะ มหายานก็มาจากนิกายหนึ่งในบรรดานิกายย่อยเหล่านั้น เท่านั้นเอง ก็คือนิกาย่อยอันนั้นอันหนึ่งในตอนหลังกายมาเป็นนิกายใหญ่อันหนึ่ง แล้วก็แยกไปเป็นนิกายย่อยเยอะแยะ ทีนี้นิกายใหญ่อันนี้ทำไมแยกเป็นนิกายย่อยเยอะแยะก็เพราะว่า ทางมหายานนั้นไม่ได้ยึดถือเคร่งครัดตามหลักคำสอนเดิม โดยเฉพาะด้านวินัย ได้มีการปรับแก้ไปตามคำสอนของอาจารย์ เราก็เลยถือว่าทางคำสอนทางมหายานเนี่ยเป็นคำสอนที่ว่าไปตามลัทธิอาจารย์ เพราะฉะนั้นมหายานก็มีชื่ออีกอย่างหนึ่งเรียกว่าอาจาริยวาท มหายานก็ได้ อาจาริยวาทก็หมายถึงอันเดียวกัน ก็ถือตามคำสอนของอาจารย์ ในเมื่อถือตามคำสอนอาจารย์ อาจารย์ก็แปลคำสอน ตีความหายอธิบายกันไปต่างๆ ก็เกิดอาจารย์ใหม่ ไม่สอนเหมือนเดิมแล้วมีลูกศิษย์ลูกหามากก็แยกเป็นนิกายย่อยต่อไป นั่นก็เลยกลายเป็นว่ามหายาน ที่เป็นอาจาริยวาทก็แยกเป็นนิกาย ต่างๆ มากมายอย่างที่อาตมาว่า ในประเทศหนึ่งๆ ก็แยกออกไป แยกออกไป จนกระทั่งมากมายเป็นร้อยเป็นร้อย ส่วนเถรวาทนี่ยึดถือตามพระเถระที่สังคยานาครั้งที่หนึ่ง ว่ายังไงก็ว่าอย่างงั้น เพราะฉะนั้นจะอยู่กี่ร้อยกี่พันปีก็เลยเป็นอันเดียว เพราะฉะนั้นเถรวาทก็มีอันเดียวอยู่อย่างนี้ จะเป็นที่พม่า เป็นลังกา เป็นไทย เป็นอะไรก็เป็นอันเดียวหมด อันนี้โยมก็ให้เข้าใจอันนี้ด้วย ทีนี้ที่ท่านไปเขียนว่ามหายาน ก็เลยกลายเป็นว่า อันนี้เท่าที่มอง ณ ขณะนี้ก็คือว่า หนึ่งว่าไปตามที่สอนกันมาในมหายานแต่เดิม ซึ่งไม่ต้องมาวิจัยหรอกเขาว่ามาเป็นพันปีแล้วว่า มหายานนั้นมีคำสอนที่ช่วยคนได้มากกว้างขวางอะไรทำนองนี้ นี่เป็นเรื่องเก่าที่ท่านพูดกันมาแต่เดิม ส่วนเรื่องปลีกย่อยที่มาพูดเรื่องทานเรื่องศีล เน้นอะไรนั้น อันนั้นเป็นเรื่องปลีกย่อย นี่อาจจะเป็นเรื่องของกลุ่มของกลุ่มของหมู่คณะนั้นที่ท่านไปเห็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนิกายหนึ่งของมหายานเท่านั้น เพราะตอนนี้ก็กลายเป็นว่าในข้อสรุปของท่านสิบข้อเนี่ย ถ้าใครจะศึกษาจะต้องไปแยกอีกที ว่าข้อไหนเป็นคติที่ถือมาแต่เดิมของมหายานที่ถือมาแต่เดิมของมหายานรวมๆ ซึ่งถือกันมาเป็นพันปีแล้ว แล้วก็ข้อไหนเป็นเพียงข้อยึดถือข้อปฏิบัติของกลุ่มนั้นที่ไปเห็นเฉพาะหน้าในนิกายหนึ่งนั้นของมหายาน ตรงนี้ถ้าใครสนใจต้องไปศึกษา นั้นกลายเป็นว่าต้องขอประทานอภัย คือท่านผู้ที่เทียบเนี่ยจะต้องศึกษาเพิ่มอีกเยอะ ต้องศึกษาเพิ่มทั้งเรื่องเถรวาท ทั้งเรื่องมหายาน ถ้าเรื่องมหายานก็อย่างที่ว่าก็จะเน้นเรื่องของการที่ว่ามีมหากรุณา จนกระทั่งนักปราชย์ ในสมัยหลังๆ เมื่อมีการศึกษา เรื่องพระพุทธศาสนาแล้วก็มาแบ่งแยกเป็นมหายานเป็นเถรวาท ก็มีการมาพูดโดยโยงเข้าหาหลักพุทธคุณใหญ่ พุทธคุณใหญ่ก็มีสองประการคือ พระปัญญาคุณกับมหาการุณาคุณ ส่วนพระวิสุทธิคุณนั้นเป็นพื้นอยู่ในพระองค์ แล้วก็จะไม่ต้องพูดถึง นี่ก็แยกว่าทางมหายานนั้นเน้นมหากรุณา จึงเน้นเรื่องการที่จะไปช่วยเหลือสรรพสัตว์ ให้พ้นจากทุกข์ให้ได้มากที่สุดจนกระทั่งตัวเองเนี่ยไม่ยอมเข้านิพพาน ส่วนเถรวาทนี่ก็ว่าเน้นปัญญา เน้นปัญญาก็มุ่งในการที่จะบรรลุอรหันตผล บรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนาด้วยปัญญาที่จะต้องเพียรพยายามด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นก็เอาแต่ตัวเป็นสำคัญ จนกระทั่งบางทีก็บอกว่าแค่เอาตัวรอด อะไรอย่างนี้ ก็เลยกลายเป็นว่าตอนหลังนี้จะพูดทำนองนี้ว่ามหายานเน้นมหากรุณา และก็เถรวาทก็เน้นปัญญา ทีนี้อันนี้เขาว่ากันมาจนกระทั่งแทบจะถือกันอย่างนั้น แต่ว่าอาตมาเรียนๆ มาหลังๆ อาตมาก็สงสัยว่ามันเป็นความจริงหรือเปล่า ก็เราไปถือตามที่เขาแบ่งให้ มาดูในเมืองไทยนี้ง่ายๆ คนไทยนี่นับถือปัญญาจริงหรือเปล่า เป็นคนไทยเป็นคนแสวงปัญญา เป็นนักหาความรู้ไหม ถ้าถือเถรวาทจริง ถ้าหากว่าเถรวาทเน้นปัญญา แล้วทำไมคนไทยไม่เป็นนักแสวงหาปัญญา วัฒนธรรมแสวงหาความรู้นี้ไม่มีเลย ไม่เอาเรื่องเลย ก็ชักสงสัยว่าพวกนักปราชญ์นี่แบ่งยังไงหนอ แล้วบอกว่ามหายานไปเน้นมหากรุณา ดูคนไทยสิเป็นคนมีน้ำใจเมตตากรุณาหนักหนาใช่ไหม ได้ชื่อมากเป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใสพร้อมจะช่วยเหลือคน เป็นคนมีน้ำใจ เมืองไทยเมืองสยามเมืองยิ้ม อะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็แสดงว่าเมืองไทยนี้เน้นเมตตากรุณามาก กลายเป็นว่าเมืองไทยนี่ลักษณะเข้ามหายานหรือเข้าเถรวาทกันแน่ เพราะว่าปัญญาไม่เห็นเอาเลยนะไปเอาเมตตากรุณาเสียมากกว่า อะไรอย่างนี้ คือมันเป็นเรื่องที่น่าสงสัย ไม่ต้องวิจัยตอนนี้หรอก แต่หมายความว่าเขาถือมาเป็นพันปีแล้ว ว่าอย่างนี้ แล้วทีนี้มหายานนี้ก็ เพราะเหตุที่ว่าท่านมีการปรับคำสอนตามคติอาจารย์ เพราะถืออาจารย์เป็นเจ้าของเรื่อง ทีนี้อาจารย์สอน พออาจารย์สิ้นไป ถือตามอาจารย์ก็ไม่ลงกับนิกายเดิม ก็แยกเป็นนิกายใหม่ตามอาจารย์นั้น เช่นท่านอาจารย์นิชิเร็น ก็กายเป็นนิกายนิชิเร็นในญี่ปุ่น นิกายชินก็แยกออกมา แต่เดิมมีนิกายโจโด พอมีอาจารย์อีกท่านหนึ่งอยู่ในนิกายโจโดนี่แหละ สอนว่าโจโดที่ถือมานี่มันไม่แท้ ที่แท้มันต้องเป็นอย่างนี้ ก็กลายเป็นนิกายโจโดชิน เป็นโจโดแท้ขึ้นมาอีก พอท่านสิ้นไป อ้อพอท่านยังไม่สิ้นก็แยกออกเป็นนิกายตามอาจารย์ไป นี่ก็เรียกว่าอาจาริยาวาท เพราะฉะนั้นมหายานก็แยกไปไม่รู้จักจบ ตอนที่อาตมาเคยไปเยี่ยมที่ญี่ปุ่น เขาบอกในญี่ปุ่นเกิดนิกายใหม่ทุกปี ทีนี้การที่จะศึกษาเรื่องมหายาน จะพูดเป็นมหายานจริงๆ จะต้องพูดให้กว้างกว่านี้ ก็เป็นอันว่าที่ท่านพูดเป็นการไปเจาะที่กลุ่มหนึ่งในบรรดากลุ่มทั้งหลายในนิกายหนึ่งของมหายานทั้งหลาย แล้วนิกายมหายานก็อย่างที่ว่า อย่างเซ็น อย่างชิน นี่ก็ไปกันริบรับเลย เป็นมหายานทังคู่ แต่เซนเน้นการเพียรพยายามด้วยตนเอง เน้นการนั่งสมาธิใช่ไหม ต้องนั่งสมาธิกันเต็มที่ แล้วก็อาจารย์จะมาคอยดู ถือไม้อันหนึ่งคนไหนหลับต้องเคาะศีรษะโป้ก ให้ตื่นขึ้นมาอย่างนี้เป็นต้น อะไรอย่างนี้ เน้นกันเหลือเกินเรื่องนั่งสมาธิ ส่วนนิกายสุขาวดีก็วันๆ หนึ่ง ก็เอ่ยนามพระอมิตาภะ พระอมิตาภะ ไป ภาษาญี่ปุ่นเขาว่ายังไงไม่รู้จำไม่ได้ละ ??? นะมุอะมิตาโพ เดี๋ยวๆ ??? นะมุอะภิโตโพ นะมุอะภิโตโพ นะมุอะภิโตโพ ??? อันนี้อย่าหาว่าล้อนะ นี่พยายามเราพูดสำเนียงญี่ปุ่นเราก็พูดไม่เป็น เอาเป็นว่าอย่างนี้ก็คือไม่แน่นอน ทีนี้ในเรื่องของมหายานมันมีเรื่องน่าศึกษาเยอะ เกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการ เพราะเหตุที่ท่านมีคำสอนหลากหลายต่างๆ เนี่ย ทีนี้บางนิกายก็ไปจนกระทั่งถึงว่า ผ่อนไปตามความเชื่อถือของชาวบ้าน ไปกลมกลืนกับพวกไสยศาสตร์ อะไรต่างๆ ไปมีพวกผีสางเทวดา เข้ามาเป็นเต้น มาเป็นอะไร มารำ อะไรกันไป พระก็พลอยออกเต้นไล่ผีกันไป /อย่างนี้ก็มี แล้วก็ไปที่จีน ไประยะหลังๆ เนี่ยมันกลายเป็นนิกลายตีป๊องแป๊งๆ จนกระทั่งว่าพวกคอมมิวนิสต์รำคาญ ก็ทำให้ปฏิวัติกำจัดพุทธศาสนา ถ้าเราดูก็ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ ว่าที่ประวัติศาสตร์ด้วย เพราะว่าพระจีนตอนหลังๆ นี่มันเสื่อมจนกระทั่งไม่ได้เรื่องละ เอาแต่พิธีกรรม ก็ได้แต่มาตีกงเต๊ก แล้วก็ตีอะไรก็ไม่รู้ดังป๊องแป๊งๆ พวกคอมมิวนิสต์มันรำคาญ เห็นว่าพระพุทธศาสนาไม่เป็นประโยชน์ก็ไปเห็นด้วยกับท่านอะไร เลนินอะไรพวกนั้น ว่าศาสนาเป็นยาฝิ่น อะไรไปนั้น ใช่ไหม ทางพวกคอมมิวนิสต์เขามีคติอย่างนั้น ในสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เขาบอกศาสนาเป็นยาเสพติด เขาก็มาเห็นในจีนตอนนั้นมันเสื่อมอย่างนี่ เขาก็เห็นว่าศาสนาเป็นยาเสพติด ไม่มีอะไร พระมีแต่ทำพิธีกัน ชาวบ้านก็ได้แต่ไปไหว้ ไปไหว้ เอาธูปก็ไปกราบกรานไม่รู้เท่าไหร่ อ้อนวอนอย่างเดียว ก็เลยมันก็เลยปฏิวัติกำจัดพุทธศาสนา อันนี้ก็อันหนึ่ง หรืออย่างในญี่ปุ่นเนี่ย เพราะว่าเรื่องของวินัยมันไม่ชัดเจนเหมือนในอย่างเถรวาท ท่านก็หวังดี ก็ช่วยเหลืออย่างเรื่องของกิจการสังคมบ้านเมือง อย่างสมัยนาราเป็นราชธานี นี่เป็นยุคแรกของของญี่ปุ่นเลยนะ นารายะ พ.ศ. หนึ่งพันเศษถึง พ.ศ. ประมาณสักสามร้อยช่วงนี้ พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก มีเจ้าชาย โชโตกุ นี่เป็นต้น ก็เป็นยุคพุทธศาสนาที่เรียกว่ารุ่งโรจน์ ทีนี้พอปลายรัชกาลก็เห็นว่าทางบ้านเมืองได้เห็นค่าของพุทธศาสนามาก ก็ถึงกับตั้งพระเป็นที่ปรึกษาการแผ่นดิน พระก็เข้าไปยุ่งในกิจการบ้านเมือง ต่อมามันก็กลายเป็นว่าวินัยไม่ค่อยชัดเจน ไม่ค่อยหนักแน่น พระก็เข้าไปวุ่นวายจนกระทั่งกลายไปครอบงำบงการราชการแผ่นดินเสียเอง พอไปๆมาๆ ทางบ้านเมืองก็อึดอัด ก็เป็นเหตุให้ทางบ้านเมืองเขาย้ายราชธานีหนีพระ นี่มันเรื่องใหญ่ถึงขนาดนี้นะ บ้านเมืองต้องย้ายเมืองหลวงใหม่ ย้ายเมืองหลวงจากนาราไปเป็นเมืองเฮอัน เป็นยุคเฮอันยุคที่สอง ยุคเฮอันก็คือยุคที่เมืองเกียวโตเป็นราชธานี เกียวโตนั่นแหละคือเฮอัน ทีนี้เกียวโตเป็นราชธานี พระก็ยังไม่ห่างจากเรื่องการบ้านเมือง ก็เข้าไปช่วยการสังคมอะไรต่างๆ ซึ่งก็เป็นด้านดีก็เยอะ แต่อีกด้านหนึ่งก็เข้าไปวุ่นวายกิจการบ้านเมือง จนกระทั่งในที่สุดมันก็เกิดการขัดแย้งกับฝ่ายบ้านเมือง พระก็ต้องตั้งกองทัพพระ มีอาวุธด้วยนะ พระถืออาวุธ แล้วก็ตั้งทัพขึ้นมารักษาตัวเองป้องกัน บางทีก็ยกทัพระลงมาขู่ทางบ้านเมือง บ้านเมืองบางทีก็ต้องยกทัพไปทำลายวัดเลยก็มี นี่มันไป ไปไกลขนาดนี้ ฉะนั้นเราต้องดู นี่คือบทเรียนในทางประวัติศาสตร์ ว่าอะไรดี ไม่ดี มีขอบเขตแค่ไหน ฉะนั้นวินัยของพระจะเป็นตัวกำกับว่าถ้าพระเราจะไปช่วยสังคมช่วยบ้านเมือง ควรจะแค่ไหน เพราะในถึงระดับหนึ่งมันจะเกิดปัญหาทั้งแก่บ้านเมืองและแก่ตนเอง ทีนี้คนในสมัยปัจจุบันบางทีก็ไม่รู้คติความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ถ้าเราไปรุกเขามากเขาก็ต้องเอาเราบ้าง มันก็เป็นธรรมดา ทีนี้พุทธศาสนาเถรวาทแบบที่มาถึงเราเนี่ย มันก็เคร่งวินัยมากเราก็ต้องคอยระวังตรวจสอบตัวเองเหมือนกัน คือความจริงพุทธศาสนาคำสอนเดิมมันยืดหยุ่นมาก พุทธศาสนาว่าไปแล้ว พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเสีรีภาพ แล้วก็เป็นหลักแห่งการพัฒนาตนเอง ยอมรับความแตกต่างระหว่างมนุษย์ ทั้งในระดับการพัฒนา และโดยที่ท่านเรียกว่าอธิมุตติ อัธยาศัยความโน้มเอียง เพราะฉะนั้นจะมีความยืดหยุ่นกว้างมาก เช่นว่าบางองค์นี่ขอบปลีกตัว ท่านก็จะยอมให้ปลีกตัวจนกระทั่งอยู่ป่าเป็นวัตรตอลดชีวิต ก็เอาไม่ว่าอะไร อย่างพระมหากัสสปะ บางท่านก็ไปอยู่ในบ้านในเมืองช่วยเหลือประชาชน สั่งสอนชาวบ้าน ใกล้ชิดประชาชนมาก อย่างพระสารีบุตร พระอานนท์ ก็เป็นถือเป็นธรรมดา ก็คือในพุทธศาสนาแบบเดิมเนี่ย เราจะเรียกเถรวาทหรือไม่ก็แล้วแต่ ก็จะมีความกว้างยืดหยุ่นมาก ทีนี้มันเป็นไปได้ว่าเถรวาทเราเองที่ยึดถือมานี้ ในบางยุคบางสมัยก็มีความโน้มเอียงที่จะเน้นไปแง่ใดแง่หนึ่ง เช่นบางครั้งก็อาจจะมาปลีกตัวมากเกินไป จนกระทั่งว่าไม่ค่อยสนใจเรื่องของสังคม อะไรอย่างนี้ ทีนี้ถ้าไม่ระวังตัวมันก็เป็นสุดโต่งไปเหมือนกัน ก็ต้องคอยเตือนตัวเอง เพราะฉะนั้นการที่เขามาพูดมาว่าเรานิ อาตมาจึงมองเป็นเรื่องดี เราจะได้มาสำรวจตัวเองแล้วก็ไม่ประมาท ดูหลักที่แท้ แต่ว่าอย่าไปตื่นตาม คือตื่นตัวมาฟื้นตัวเอง แต่อย่าไปตื่นตามเขา ไม่ใช่ว่าเขาว่าอย่างนี้ จะไปตื่นตามแล้วจะไปเอาตาม แต่เป็นการที่เขาทำให้เรานี่ ช่วยทำให้เรานี้ตื่นขึ้นมาเราจะได้ดูตัวเองว่าเออเรานี่ยังอยู่ในหลักที่ถูกต้องไหม เรามีอะไรบกพร่องอะไรขึ้นมา ก็จะเป็นประโยชน์ แล้วอาตมามอง อาตมาก็บอกว่าโยมอย่าไปถือสาเลย ให้มองเป็นในแง่ดีไป พุทธศาสนาก็เราพยายามเอาหลักที่แท้ที่ถูกต้อง ความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าไปเน้นกรุณา เน้นปัญญาอะไรอย่างเดียวมันก็สุดโต่งแน่นอน มันก็ชัดอยู่แล้ว แล้วไปบอกว่าพุทธศาสนามหายานก็ไปหนักที่มหากรุณา ทางเถรวาทก็มาหนักที่ปัญญา ถ้าอย่างนี้แสดงว่ามันไม่ใช่แท้ทั้งคู่ แต่ว่าอาตมาว่าเถรวาทก็ไม่ใช่อย่างนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะไปเน้นอยู่แต่เรื่องปัญญาในแง่ตัวเองอย่างเดียว ก็เรามีหลักอะไรเยอะแยะ เราดูหลักของเราให้แน่ เป็นแต่เพียงว่าหาสิ่งที่จะมาเตือนให้เราได้มาศึกษาหาหลักการที่แท้ของพุทธศาสนา ซึ่งพุทธศาสนาที่แท้ ก็เราจะเรียกว่าเถรวาท ก็ในความหมายว่าถือตามหลักพระเถระผู้สังคยานาได้รวบรวมให้ไว้ ไม่ใช่ยึดถือในความหมายในเถรวาทตามที่ว่าเขามาให้คำจำกัดความทีหลังนี้ เราก็จะต้อบทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน เราก็จะไม่ยุ่ง หรือไม่มัวไปยึดติดในแม้แต่ตัวถ้อยคำ เพราะว่าเขามาให้คำจำกัดความแก่เราอย่างนี้ แล้วเราไปยึดถือตาม แล้วเราก็มาเที่ยวถียงกันสิใช่ไหม เราบอกคำจำกัดความของคุณฉันไม่เอาด้วยรอก ที่บอกว่ามหายานเน้นกรุณา มาเถรวาทเน้นปัญญา ฉันไม่เอาด้วย พุทธศาสนาที่แท้เถรวาทก็เป็นกลางๆ มีทั้งปัญญาและกรุณามันถึงจะถูก นี่ว่าจะจัดแค่ไหน แต่ทีนี้ พอมหายานไปเน้นอย่างนั้นเข้ากลายเป็นมหายานสุดโต่งไปข้างเดียว ก็คือว่าจะไปยุ่งกับสังคมเอาแต่เรื่องวุ่นวายกับชาวบ้านอย่างเดียว แต่ขณะที่หลักการพุทธศาสนาแบบเดิมนี่ท่านถืออย่างที่ว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคล เรื่องของความถนัดอัธยาศัย เรื่องของระดับการพัฒนาอินทรีย์ เพราะฉะนั้นมันยืดหยุ่นมาก กว้างตั้งแต่คนที่ชอบปลีกวิเวกก็ปลีกไป เป็นสิทธิเสรีภาพ คนที่ชอบมาช่วยเหลือสังคมก็ ท่านก็ให้โอกาสเต็มที่เหมือนกัน แต่ว่าอยู่ในวินัยออยู่ในขอบเขตของวินัย แต่ว่าอย่างที่เคยพูดบ่อยๆ ว่าทั้งสองฝ่ายนี้ หลักพุทธศาสนาเดิมท่านมีกันไว้ทั้งหมด พอจะปลีกตัวท่านก็ไม่ให้ปลีกเกินไปนะ ถ้าปลีกเกินไปผิดอีก อยากจะไปเป็นฤษีชีไพร นี่พุทธศาสนาไม่ได้เลย เพราะพุทธศาสนามีวินัยไว้เลยว่า ในหมู่ภิกษุอย่างน้อยสิบห้าวันต้องมาประชุมกันครั้งหนึ่ง และเวลามีกิจการส่วนรวมต้องมามาประชุมร่วมตัดสินกันเรียกว่าสังฆกรรม และก็ในแง่ประชาชน พระจะปลีกตัวจากชาวบ้านไม่ได้ ต้องฝากท้องไว้กับชาวบ้าน ต้องบิณฑบาต ต้องมาอาศัยชาวบ้าน ต้องมาสั่งสอนประชาชน มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ชาวบ้านถวายอามิสทานแล้ว พระก็ให้ธรรมทาน หลักการนี้อย่างต่ำพระที่ถือวิเวกอย่างต่ำก็ต้องสัมพันธ์ประชาชน หนีไม่ได้ อย่างพระมหากัสสปะท่านก็พบชาวบ้านทุกวัน ท่านก็ไปออกไปโปรด ให้คำสอน คือในแง่ของปลีกก็สุดโต่งไม่ได้ ก็ต้องมีความสัมพันธ์ หรือในแง่ของการที่ว่าจะไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับญาติโยมชาวบ้านก็สุดโต่งไปจนกระทั่งไปคลุกคลีไม่ได้ ก็มีคำสอนไว้เลย ถ้าคลุกคลีกับชาวบ้าน กลายเป็นว่าเขาร้องไห้ก็ร้องไห้ด้วย เขาเฮฮาก็เฮฮาด้วย ถ้าอย่างนี้เราก็ผิดอีกเหมือนกัน ก็เป็นสุดโต่งไป ท่านบอกว่าคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วชาวบ้านจะไม่มีหลักให้ พระสงฆ์ไปยู่ท่ามกลางชาวบ้าน ก็ต้องไปเป็นหลักทางธรรมให้แก่ประชาชน จะได้ช่วยเหลือเขาได้ อะไรอย่างนี้ก็คือมีความกว้างมาก กลายเป็นว่าพุทธศาสนาตามหลักที่แท้จะเรียกว่าเถรวาทหรือไม่เรียกก็มีความกว้างขวาง แต่ว่าเป็นความกว้างขวางแบบยืดหยุ่น ที่มีการเลือกได้ สอดคล้องกับหลักจะเรียกว่าสิทธิเสรีภาพหรืออะไรก็แล้วแต่ ส่วนมหายานก็กลายเป็นว่าไปเน้นอย่างเดียว ก็คุณนั้นจะต้องไปช่วยอย่างนั้นอย่างนี้อย่างเดียว ซึ่งมันก็อาจะเป็นการที่ไม่เหมาะกับคนทั้งหลายทั่วไป แต่คนบางคนก็อาจจะเป็นแบบย่างให้แก่ผู้อื่นโดยที่ตัวเองไม่ต้องไปทำกิจกรรมมาก แล้วก็ไปสัมพันธ์กับหมู่ชนในขอบเขตของชุมชนหมู่บ้านหนึ่งพอแล้ว ทำหมู่บ้านนั้นให้ดีก็แล้วกัน ไม่ต้องไปเที่ยวออกไปตะเวนไปทั่ว แต่ว่าหลักการมันก็มีอยู่ว่า ท่านก็เดิมท่านก็ให้จาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน อันนี้เป็นเรื่องที่อาตมาว่าหลักการเป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษากันอีกมาก ฉะนั้นจึงบอกว่าดีในแง่ที่ที่ว่า ไม่รู้แหละใครจะมาว่าจะมาด่าทีหนึ่งก็ช่วยปลุกชาวพุทธให้ตื่นขึ้นมา แล้วก็มาทบทวนศึกษาหลักของตนเองให้มันชัดๆ ตื่นอย่างที่ว่า ตื่นขึ้นมาแล้วก็มาดูตัวเอง แล้วก็มาพัฒนาปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดี ไม่ใช่ตื่นตามเขา เพราะฉะนั้นตื่นสองตื่นนี้แยกกันให้ดี ถ้าตื่นตามมันตื่นตูมก็จะเสีย ตื่นตัวก็ตื่นตัวก็เพื่อจะมาปรับปรุงแก้ไขตัวให้มันดี พุทธศาสนาในเมืองไทยนี้ปัญหาเยอะแยะ แล้วมันมีปัญหาที่เราจะต้องมาแก้ไขเนี่ย ที่เราต้องเน้นกันอยู่แล้ว บางทีเราไปเอาเขามาโดยที่เราไม่รู้สภาพแวดล้อมของเรา อย่างเช่นว่า ไปเห็นว่า มหายานที่นี่ดีเนอะ เขาเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้คน ทีนี้ไปเอาเขามา ไปใช้วิธีมาช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่พร้อมก็กลายเป็นว่าเข้ากับคติที่เป็นอยู่คือชาวบ้านรอรับความช่วยเหลือ เอาอย่างเดียว ก็เลยกลายเป็นรอรับแต่ความช่วยเหลือ แล้วมันจะไปดีอะไร ก็คือกลายเป็นไม่เข้าใจตนเอง ความจริงมันจะต้องมาปลุกพวกเรานิ ปัญหาของเมืองไทยตอนนี้ ชาวพุทธไทย อาตมาเน้นเรื่องว่าทำอย่างไรจึงจะพัฒนาคุณภาพคนไทย ให้มีความขยันหมั่นเพียร รู้จักทำการด้วยความเข้มแข็ง ทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายามของตน รู้จักใช้ปัญญาคิดพิจารณา ไม่ใช่มัวแต่หวังการอ้อนวอนขอผล ให้เทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาดลบันดาลให้ ที่เรียกว่าลัทธิรอผลดลบันดาล ทำอย่างไรเราจะแก้คุณภาพของคนอันนี้ขึ้นมา ก็น่าจะมาเน้นอันนี้กันมากกว่า ถ้าไปตื่นไปไกวแกว่งตามนู่นตามนี่ มันก็ยุ่ง แต่ว่าไม่ใช่หมายความว่าเราจะปิดตัวนะ ไปเห็นคติที่ดีแต่เราแยกได้ อันนี้ไม่ใช่เรื่องของนิกายมหายานทั้งหมดหรอก ที่ท่านไปเห็นนี่มันเป็นเรื่องของกลุ่มหนึ่ง แล้วถ้ากลุ่มนี้เขาทำดี เราก็ไปเอามาสิ ก็เหมือนกับในพวกเรานี่แหละ ในพวกเมืองไทยด้วยกัน ชาวพุทธด้วยกันกลุ่มนี้ก็อาจจะทำอะไรดีขึ้นมาเป็นตัวอย่าง เราเห็นว่าดีก็เอามาช่วยกันปรับปรุง มันไม่ใช่จะไปมองไปว่านี่มันคือมหายาน แต่ว่าไปมองว่ากลุ่มนี้เขาเก่งอย่างไร ไม่เช่นนั้นท่านเองท่านจะผิดหวัง เพราะท่านบอกว่านี่เป็นมหายาน ท่านเห็นแค่กลุ่มนี้ ต่อไปถ้าไปเห็นมหายานกลุ่มอื่นมันตรงข้ามเลย ทีนี้บอกว่าทำไมมหายานไม่เป็นอย่างนั้น ใช่ไหม ก็คือต้องศึกษาให้กว้าง ก็เป็นอันว่าก็มองไปธรรมดาไปว่า เออกลุ่มมหายานกลุ่มนี้เขามีดีนิ เขาทำอะไรดีเราก็เอามาใช้ประโยชน์เป็นแบบย่างได้ เอาตัวเองเป็นที่ตั้งว่าเราจะปรับปรุงตัวเอง แล้วมีอะไรดีที่ไหนเราได้เห็นแบบย่างมา เราก็ไปเอามาสิใช่ไหม มันก็จะได้ประโยชน์ ไม่ว่าเมืองไทย เมืองไหน เมืองจีน เมืองฝรั่งได้ทั้งนั้น ทีนี้นิกายในไต้หวันนี้มีข้อพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง โยมบางทีไม่ได้นึก คือพอจีนแดงคอมมิวนิสต์ตีพวกจีนก๊กมินตั๋ง ก็หนีมาที่เกาะไต้หวัน ทีนี้ชาวพุทธที่มาไต้หวันนี้ พระทั้งหลายก็รู้เหตุการณ์มาดีว่าจีนคอมมิวนิสต์พระเป็นอย่างไร ได้บทเรียนแล้ว พระมัวแต่ตีป๋องแป๋งๆ อย่างนี้ไม่ไหวแล้ว เพราะฉะนั้นพระที่ไปอยู่ไต้หวันก็เลยต้องปรับปรุงตัวขึ้นมา บางทีกลุ่มแบบนี้ก็คือกลุ่มที่เป็นปฏิกิริยาหรือเป็นผลที่เกิดจากการพยายามปรับปรุงตัวเองของพระไต้หวันหรือพระจีนที่ถูกผลกระทบจากคอมมิวนิสต์จีนที่มา พอมาไต้หวันก็เลยฟื้นฟูตัวกันใหญ่ เพราะตัวเองตอนนั้นไม่เอาใจใส่ไม่ได้ทำอะไรให้เป็นประโยขน์ ก็เลยมาฟื้นฟูตัวเอง ก็เลยเกิดเป็นกลุ่มนู้นกลุ่มนี้ เราต้องเรียกเป็นกลุ่มมากกว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องของนิกายมหายาน โยมคงเข้าใจนะอันนี้เป็นเรื่องของภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ แล้วจะมีอย่างอาจารย์ไท้สือ อาจารย์อะไรต่างๆ อาตมาตอนที่ไป ก็ตั้งปีสองพันห้าร้อยสิบหรือสิบเอ็ดนี่แหละ เขาก็พูดถึงพระอาจารย์ไท้สือ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือมาก เพราะเป็นผู้นำของชาวพุทธอย่างน้อยก็เป็นส่วนหนึ่งในนิกายหนึ่งของจีนที่ท่านได้เป็นผู้นำในการปฏิรูปฟื้นฟู ซึ่งในภูมิหลักก็มักจะมาอย่างนี้ มาจากการกระทบกันระหว่างเรื่องของคอมมิวนิสต์กับเรื่องของฝ่ายเดิมที่ได้ถูกคอมมิวนิสต์มา จะเรียกว่าทำร้าย หรืออาจจะเรียกว่า ไม่รู้นะใช้คำอะไรก็แล้วแต่ คือกระทบกระทั่งกัน แล้วก็ทางฝ่ายหนึ่งก็เลยต้องฟื้นฟูตัวเองขึ้นมา แล้วก็กลุ่มนี้อาตมาก็ไม่ทราบว่าจะเป็นผลมาจากการฟื้นฟูตัวเองที่สืบเนื่องมาจากการที่ตอบสนองการทำการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์หรือเปล่า เพื่อจะให้ตัวเองได้มีกำลังที่จะมาสู้ ก็ไต้หวันก็จะมีประวัติศาสตร์ทำนองนี้ มันชัดอยู่แล้ว ไต้หวันมันคู่กับจีนแดงใช่ไหม ฉะนั้นอะไรๆ ที่เกิดในไต้หวันเนี่ย มักจะมีที่จีนแดงเป็นตัวเทียบอยู่ ฉะนั้นก็ เราก็ได้ประโยชน์ เราต้องมองในแง่นี้ด้วย ว่าเออท่านดีนะกลุ่มนี้ท่านไม่ประมาท ได้รับแรงกระทบจากจีนคอมมิวนิสต์ ท่านหนีมานี่หรืออยู่ที่นี่ แล้วก็ได้รับผลกระทบมาโดยตรงก็ตามหรือโดยอ้อมก็ตาม ท่านก็ฟื้นฟูตัวเองขึ้นมาเพื่อให้เข้มแข็ง ฉะนั้นเกาะไต้หวันแม้จะเป็นเกาะเล็กแค่นิดเดียวก็เข้มแข็งมากใช่ไหม เพราะความที่พยายามที่จะ อะไร รักษาตัวเองหรือพยายามที่จะสร้างภูมิต้านทานในตัว หรือที่พยายามจะแข่งกับคอมมิวนิสต์ให้ได้ คอมมิวนิสต์จีนแดงนั้น ใหญ่โตมโหฬาร ไต้หวันเกาะนิดเดียวก็ยังจะสู้กันแทบจะได้ แต่ก็ต้องอาศัยประเทศอื่นมาหนุนด้วยเหมือนกัน อย่างนี้เข้าใจภูมิหลังอย่างนี้แล้วโยมก็จะมองอีกแง่หนึ่ง ก็ดีแล้วนิที่เขามีแรงที่ทำให้เขามาพัฒนาตัวเอง ทีนี้เราละทำอย่างไร ไทยนี้มันมีข้อเสียเปรียบคือไม่ค่อยถูกบีบคั้น ประเทศไหนมันถูกบีบคั้นกดดันมากๆ เนี่ยจะดิ้นรนแล้วจะเข้มแข็ง ก็ดูยิวสิใช่ไหม จะเอาตัวไม่รอดโดนบีบทุกทาง ไม่เข้มแข็งอยู่ไม่ได้ เขาบอกว่าคนยิวนี่ทุกคนไม่ว่าหญิงว่าชาย ขึ้นรถต้องขับรถได้ ลงเรือต้องขับเรือได้ ขึ้นเครื่องบินต้องขับเครื่องบินได้ ทุกคนนะ ไม่ว่าหญิงว่าชาย ไม่เข้มแข็งยังไงละ ไม่เข้มแข็งก็ตายสิใช่ไหม มีพลเมืองอยู่ซักเท่าไหร่หกเจ็ดล้านคน แล้วอยู่ในดินแดนตะวันออกกลางที่เขาเป็นชาวมุสลิมตั้งเป็นกี่ร้อยล้านคน อันนี้ยิวก็เข้มแข็ง ญี่ปุ่นโดนฝรั่งบีบเข้ามาก็เข้มแข็งเหมือนกันใช่ไหม ทีนี้ไทยเราไม่โดนบีบ ไม่เข้มแข็งเลย อ่อนแอเต็มที นี้เราจะทำอย่างไร จะใช้หลักธรรมที่ว่า แม้ไม่ต้องโดนบีบครั้น ไม่โดนกดดัน ก็เข้มแข็งได้ ก็คือใช้หลักความไม่ประมาท เตือนตนเองไม่ใช่มัวรอผลดลบันดาล รอผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจเอาอะไรมาให้ นี่แหละมันเสียนิสัย ต้องพยายาม เพียรพยายามด้วยตนเอง ต้องเอาหลักพุทธศาสนามาใช้พัฒนาตน ให้มีตนซึ่งเป็นที่พึ่งได้ หลักพุทธศาสนาข้อนี้สำคัญมากนะ คือเรามักจะไปเน้นเรื่องการพึ่งตน พุทธศาสนาเน้นการมีตนซึ่งเป็นที่พึ่งได้ อันนี้สำคัญกว่า จะไปมัวเน้นว่าให้พึ่งตน จะพึ่งตนแล้วก็ตนนั้นเป็นที่พึ่งไม่ได้ แล้วจะพึ่งได้อย่างไร มันเป็นอย่างนี้ เราก็ไปศึกษาหลักธรรมคำสอน แม้แต่พึ่งตนก็ศึกษากันแค่ จุดตั้งต้นและก็ตันแล้วก็ไม่ไปแล้ว เวลาคนไปตกน้ำ เขาว่ายน้ำไม่เป็น เราไปเจอบอกว่า เธอพึ่งตนนะ อีตาคนนั้นว่ายน้ำไม่เป็น แล้วก็บอกว่าพึ่งตนสิว่างั้น แล้วเขาจะทำยังไง มันก็ไม่ได้เรื่องใช่ไหม เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาท่านเน้นเรื่องให้มีตนที่เป็นที่พึ่งได้ และก็เน้นการทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ ต้องเน้นการทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ ไม่ใช่มัวไปเน้นการพึ่งตน ทำตนที่ให้เป็นที่พึงได้นี่คือหลักพุทธศาสนาที่เเท้ หลักสติปัฏฐาน หลักอะไรๆ ที่พระพุทธเจ้าสอน หลักไตรสิกขานี้ก็เพื่อทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ ฉะนั้นพ่อแม่ก็ต้องถามลูก หนูที่พ่อแม่ให้เรียนหนังสือนิ เพื่อเธอจะได้มีตนที่พึ่งได้ เพราะตอนนี้เธอยังพึ่งตนไม่ได้มีตนที่พึ่งยังไม่ได้ ก็ต้องคอยถามตัวเองว่าเรานั้นมีตนที่พึ่งได้หรือยัง ถามเด็กๆ ซะ ให้สำรวจตัวเองว่า หนูเธอมีตนที่พึ่งได้หรือยัง เมื่อไรตอบกับตนด้วยความมั่นใจว่า ออฉันมีตนที่พึ่งได้แล้ว ตอนนี้ละก็เข้มแข็ง ฉะนั้นต้องเน้นอันนี้ให้มาก อย่าไปมัวเน้นว่าจงพึ่งตน จงพึ่งตน มีตนเป็นที่พึ่งได้ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนแค่ อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ เราเอามาแค่นั้น วันนี้ก็เลยเอามาพูดให้จบซะ อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ แท้จริงแล้วตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน โก หิ นาโถ ปะโร สิยา คนอื่นใครเหล่าจะเป็นที่พึ่งแท้จริงได้ อัตตนา หิ สุทันเตนะ นาถัง ละภะติ ทุลละภัง มีตนที่ฝึกฝนดีแล้วนั่นแหละชื่อว่าได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก นี่มันอยู่ที่ฝึกตนให้ดี แล้วก็จะมีตนที่พึ่งได้ ก็ต้อง แม้แต่เรียนคำสอน คาถาหนึ่ง บทหนึ่งก็เรียนให้จบ ไปติดแค่ อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ ก็เลยไปไม่ถึงไหน เลยบอกไม่จบ คาถาพระพุทธเจ้าให้ไว้สี่ท่อน เราไปเรียนท่อนแรกท่อนเดียว แล้วก็เอามอ้างกัน บางทีก็ไปซัดกันเลย เธอจนเหรอ เธอป่วยเหรอ อ้าว อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ พึ่งตนไป ฉะนั้นก็ให้ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ ต้องสอนกันให้มากนะ ??? ถ้าทำได้ก็จะ ถ้าเราเน้นหลักนี้นะทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ เราจะเอาพุทธศาสนามาใช้ได้หมดเลย เพราะทำอย่างไร จะทำให้ตนเป็นที่พึ่งได้ ก็ต้องเอาธรรมะมาใช้ ถ้าบอกจงพึ่งตน ตอนนี้ก็ไม่ได้เอาธรรมะมาใช้ มันก็อยู่นั่นแหละ พึ่งตนไปสิ แล้วไอ้ตนนั้นก็พึ่งไม่ได้ ก็เลยตายพอดี ก็ไม่รู้ตอบโยมหมดหรือยัง อาตมาว่าไม่ต้องตอบท่านโดยตรง ทีนี้มีจุดไหนประเด็นไหนที่อยากจะถาม แม้เรื่องทาน เรื่องศีลก็เหมือนกันแหละ แต่ขอแทรกขึ้นมาอีกนิดพอนึกขึ้นมาได้ ในข้อสรุปนั้นก็มีเรื่องทานเรื่องศีล ที่ว่าทางมหายานเน้นเรื่องทาน เถรวาทเน้นเรื่องศีล ก็คนไทยเราพูดกันมาตั้งนานว่าเมืองไทยนี้เน้นทานกันเหลือเกิน จนกระทั่งว่ามันหนักข้อเกินไป คือทานในเมือไทยนี้เน้นกันจนกระทั่งที่ให้กันไม่มีขอบเขต ให้จนกระทั่งขโมยขโจรก็เลยมีกำลัง ไปลักทรัพย์ง่ายขึ้น นั้นคือว่าให้ไม่มีขอบเขตไม่มีปัญญา ท่านเรียกว่าไม่ได้ไห้ด้วยปัญญาไง คือหลักพุทธศาสนานี้ท่านมีเหมือนกัน อะไร วิจะยะทานัง สุคะตะปะสัตถัง แปลว่าวิจัย การวิจัยแล้วจึงให้ พระพุทธเจ้าสรรเสริญ คำว่าวิจัยก็คือพิจารณาไตร่ตรองใช้ปัญญา อันนี้ก็น่าจะพิจารณานะโยม คือบางทีเราไปติดแต่เรื่องทาน ทาน ทาน พุทธภาษิตบทหนึ่ง บอกว่า วิจะยะทานัง สุคะตะปะสัตถัง แปลว่า การวิจัยแล้วจึงให้ พระสุคตสรรเสริญ นี่ก็คือเตือนว่าต้องใช้ปัญญานะ การจะให้ไม่ใช่ให้เรื่อยเปื่อย ให้เรื่อยเปื่อยไปบางทีกลายเป็นการส่งเสริมให้เขาขี้เกียจ ใช่ไหม ให้แต่ความช่วยเหลือ ให้แต่ความช่วยเหลือ ก็จึงต้องมีคติว่า ให้เพื่อให้เขามีกำลังที่จะได้พัฒนาตน ที่จะได้มีกำลังไปเป็นทุนในการที่จะสร้างเนื้อสร้างตัว แล้วพึ่งตนเองได้ ไม่ใช่ไปให้เรื่อยเปื่อยไป อย่างนั้นเรียกว่าไม่ได้ให้ด้วยปัญญา แล้วคนที่รับก็ไม่ต้องใช้ปัญญา ตกลงถ้าผู้ให้ไม่ใช้ปัญญา คนรับก็ไม่ใช้ปัญญา เลยเสร็จแล้วปัญญาก็ไม่ต้องใช้ ไม่รู้จะเป็นเถรวาทตามที่เขาว่าได้อย่างไร ปัญญาไม่เห็นมาสักทีนึงก็แม้แต่ทาน อย่างงั้นที่บอกว่ามหายานเน้นทาน ทางเถรวาทเน้นศีล ก็เห็นว่าเน้นทานกันจนเกินไปแล้วไม่ใช่เหรอ ใช่ไหม เถรวาท ที่เรียกกันว่าเถรวาท เน้นทานกันจนเกินไปแล้ว อันนี้ก็ต้องระวัง แม้แต่ท่านก็ต้องมาวิจัย คิดกันให้ดีว่าจะให้อย่างไรจึงจะดี มาจัดสรรอย่างไรให้ประโยชน์สุขในทางวัตถุมันทั่วถึงกัน และก็ให้คนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างวัตถุเหล่านั้นขึ้นมาได้ด้วย ไม่ใช่รับอย่างเดียว ทีนี้เรื่องศีลก็ ก็เน้นทั้งทานทั้งศีลแหละ แต่ว่ามันก็มีขอบเขต ไม่ใช่เน้นศีล จนกลายเป็น สีลัพพตปรามาส ก็ไปอีก สุดโต่งอีกเหมือนกัน ก็เป็นอันว่าไม่ว่าอันไหน ถือผิดมันก็ผิดหมดแหละ ไม่ว่าทานหรือศีล ทีนี้มหายาน ไปเน้นทานก็ไม่ใช่อีกแหละ มหายานเน้นทาน ประเทศจีนก็จน จนกระทั่งคอมมิวนิสต์ขึ้นมาครองเหมือนกัน ไม่รู้เน้นทานกันแบบไหน หรือโยมว่ายังไง ใช่ไหม ประเทศจีนตอนที่ไต้หวัน ตอนที่พวกจีนทาง ก๊กมินตั๋ง ตกทะเล ก็คือว่าพวกนี้คงจะไม่ค่อยให้ทาน กันเลยประเทศจีนก็ยากจนเหลือเกินจนกระทั่งว่าคอมมิวนิสต์ต้องปฏิวัติ แล้วเราจะบอกว่ามหายานเน้นทาน มันก็ยังไงชอบกลอีกหละ คือมันต้องบอกว่ากลุ่มนี้ กลุ่มที่ท่านไปดูเนี่ย เน้นเรื่องทาน แต่ก็ต้องระวังนะ อย่าสุดโต่งต้องไปเตือนกลุ่มนั้นด้วย อย่าไปดูตามเขาอย่างเดียวต้องไปช่วยเตือนเขาด้วย บางทีเขาอาจะเผลอ อาจจะเกินไป แล้วก็มหายานทางจีน ไต้หวัน ตอนนี้ ก็ไปทางอเมริกาเยอะ แล้วก็มีเสียงตำหนิตีเตียนกลับมาว่าไปยุ่งกับการเมืองอเมริกาเขาไปด้วย ธุรกิจด้วยอีก คือไปไม่ไปปล่าว มีเรื่องทานจริง แต่ว่าไปดำเนินการธุรกิจ กลายเป็นว่าสร้างผลประโยชน์เยอะแยะ ก็มีพระที่มาจากทางประเทศทางยุโรปเนี่ย ท่านมาท่านก็มาบ่นบอกว่า พวกหนี้ท่านจะทำธุรกิจหรือไปแผ่ศาสนากันแน่ ก็ไปจากไต้หวันนี่แหละ แล้วก็ทางไต้หวันนี่ท่านก็เก่งไปสร้างวัดใหญ่โตมโหฬาร อาตมาไปอเมริกา ก็ไปเยี่ยมวัดที่ทางสงฆ์นิกายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งในนิกายหนึ่งในไต้หวัน ท่านไปสร้างวัดใหญ่โตมโหฬาร ไม่รู้ว่าจะใช้ทุนจะเป็นพันล้านหรือเปล่า ต้องไปดูเอง มโหฬารจริงๆ สวยงามมาก แล้วก็สร้างมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาด้วย แล้วก็นิกายกลุ่มนี้ก็ไปมีปัญหาตอนการเลือกตั้งของอเมริกาตอนเมื่อเที่ยวก่อนนู้น ก็ไปเกิดเรื่องว่า อัลกอร์ ที่ไปรับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดียุคนั้น ก่อนที่จะมารับเลือกตั้ง ก็มาสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแข่งกับ คุณเนี่ย คุณอะไรนะคุณที่ตกไปแล้ว ที่ว่า บิล คลินตัน บิล คลินตัน ตอนนั้นก็แข่งกับท่านอัลกอร์ ท่านอัลกอร์ ก่อนนั้นก็ได้ ก่อนที่จะมาแข่งกับท่าน บิล คลินตัน นี่ ตอนแข่งกับท่าน บิล คลินตัน แข่งเป็นเป็นประธานาธิบดี แต่ตอนก่อนนั้นท่านสมัครเป็นรองประธานาธิบดี ของท่านบุชหรืออะไร บุชพ่อใช่ไหม นั่นแหละใช่บุชพ่อหรือเปล่า นั่นแหละก็เอาแล้วตอนนั้นท่านสมัครเป็นรองประธานาธิบดี ก็ไปที่วัดจีนเนี่ย แล้วก็เกิดคดีขึ้นมา ถูกร้องว่าไปรับเงินบริจาคจากต่างประเทศ ก็คือจากจีน จากจีนไต้หวันนี่แหละ ก็หมายความว่าถ้าเป็นไปตามนี้ ก็เข้าไปยุ่งแทรกแซงการเมืองการบ้านที่อเมริกาด้วย ก็อันนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาเยอะ อาตมาก็เล่าให้ฟัง ถือว่าเป็นตัวอย่างสำหรับเราได้มอง ว่ามีเรื่องที่ต้องมองกันเยอะเลย แต่เอาใจความสั้นๆ ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ ว่าอย่างน้อยต้องแยกเรื่องหลักการใหญ่ที่เขาว่ากันมาเป็นพันปีแล้ว ซึ่งวแม้แต่หลักการนั้นเราก็ไม่ได้ยอมรับ แล้วก็สองก็เรื่องของ การถือปฏิบัติในหมู่ในกลุ่ม ในคณะนั้น ที่ว่าอะไรที่เราเห็นว่าเป็นประโยชน์ดี เราก็เอามาใช้ปฏิบัติ โดยที่ว่าตื่นตัวมาปรับปรุงตัว ไม่ใช่ไปมัวตื่นตาม อย่างที่ว่าไปแล้ว เชิญคุณตรีรัตน์ ต่อ
เพิ่มเติมนะครับ คือ จากหนังสือเล่มนี้นะครับก็เป็นที่ทราบกันดีว่าศูนย์คุณธรรมนี้ โดยรากฐานพื้นฐานแรงสนับสนุนก็มาจากทางทีมปฐมอโศก ทางศูนย์คุณธรรมที่ไปเนี่ย ผู้ที่ไปก็ไปโดยการสนับสนุนของศูนย์คุณธรรม สิ่งที่ได้ชื่นชมในตอนแรก แล้วก็เป็นเหมือนการดิสเครดิตทางเถรวาทเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงที่พระเดชพระคุณได้ขยายความ ได้อธิบายในส่วนแรกนะครับ มีประเด็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นประเด็นซ้อนเร้นอะไรหรือเปล่านะครับ คือ ผู้ที่ไปได้กลับมาเขียนและได้มีความชื่นชมไต้หวันมากนะครับ เขาบอกว่า ที่น่าสนใจ คือรัฐธรรมนูญไต้หวัน ให้เสรีภาพแก่ประชาชนเลือกนับถือศาสนา ลัทธิ หรือความเชื่อได้อย่างเสรี จึงทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรและกระบวนการทางศาสนาอย่างไม่ขาดสาย มีการวิจัยพบว่า ปัจจุบันมีศาสนาและนิกายต่างๆ ความเชื่อต่างๆ ในไต้หวัน มากว่าสองร้อยความเชื่อ และพบว่าองค์กรเหล่านี้ได้กลายเป็นกลุ่มมหาอำนาจทางด้านจิตใจของคนไต้หวันอย่างสำคัญ ดังนั้นแม่ไต้หวันจะพัฒนา ทางอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแล้ว คนในสังคมไต้หวันก็ยังผูกโยงจิตใจและชีวิตทางด้านศาสนาอย่างเหนียวแน่น จากกระบวนบวนการเหล่านี้ คือประเด็นที่จะรบกวนเรียนถามพระเดชพระคุณ คือว่า อันแรกเลยว่า เพราะรัฐธรมมนูญให้เสรีภาพหรือไงครับจึงทำให้เกิดการพัฒนาอย่างนี้ ในการนับถือศาสนา ประเด็นที่สองก็คือว่า ที่ผู้ที่เดินทางไปดูนั้นต้องการจะไปดูเรื่องจิตอาสา ก็ต้องกราบเรียนถามว่าทางเถรวาทของเราเนี่ยไม่สามารถสร้างจิตอาสาได้หรือ ส่วนประเด็นสุดท้ายสรุปตรงนี้ มีลัทธิที่ทางอาจารย์ประเวศบอกว่าเน้นทางด้านสมาธิก็มีต้นแบบจากไต้หวัน กลุ่มทางด้านของปฐมอโศกก็เริ่มจะมองที่ไต้หวัน หรือแม้แต่การจะบวชภิกษุณีก็ต้องไปที่ไต้หวัน เป็นว่าอันว่าของเรานี้ไม่สามารถเป็นหลักหรือเป็นต้นแบบทางพระพุทธศาสนาได้แล้วหรืออย่างไรครับ
คือบอกว่า ได้รับผล อิทธิผลจากรัฐธรรมนูญมาช่วยให้เปิดกว้างอะไรเนี่ย มองอีกทีว่ารัฐธรรมนูญนั้นได้รับอิทธิพลจากอะไร รัฐธรรมนูญเนี่ยแหละเขาได้รับอิทธิพลมาจากภูมิหลัง เช่น การปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ แผ่นดินใหญ่ แล้วก็การที่เขาไปสัมพันธ์กับอเมริกา ไต้หวันนี่อยู่ได้ด้วยอเมริกาได้ไม่ใช่น้อยนะ เพื่อมารองรับมให้เขามีกำลังคานกับจีนคอมมิวนิสต์ แล้วไต้หวันก็ต้องอนุวัติตามอเมริกา ในคติการเมืองไปไม่น้อยใช่หรือป่าว เพราะฉะนั้นเราต้องถามว่ารัฐธรรมนูญไต้หวันนั้นได้รับอิทธิพลจากอะไร แทนที่จะถามว่ามีอิทธิพลจากรัฐธรรมนูญไต้หวันทำให้เกิดอะไร อันนั้นมันก็อีกตอนหนึ่ง ตแต่ว่าเราต้องมองคลุมอย่าไปมองแค่ท่อนเดียว ต้องมองให้ตลอด แล้วภูมิหลังของแต่ละประเทศ สภาพ สภาวการณ์แวดล้อม เหตุปัจจัย ไม่เหมือนกัน แล้วก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ แม้แต่ผลที่วิวัฒนาการในปัจจุบันเนี่ยก็มองเฉพาะด้านที่ตนไปเห็นว่าดี แต่ว่าอย่างการที่เกิดมีการทำธุรกิจ เข้าไปแทรกแซงการเมืองไปถึงต่างประเทศเข้าอเมริการหรือว่าอะไรเนี่ย ต้องตามไปดูว่ามันมีปัญหาไหม แล้วอิทธิพลที่การที่มีการฟื้นฟูอะไรต่างๆ ในสถาพปัจจุบัน ในปัจจุบันมากจากการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ มีอิทธิพลเท่าไหร่ คือเป็นปฏิกิริยาสะท้อนจากลัทธิคอมมิวนิสต์เยอะ ทีนี้ต่อไปพออิทธิพลของคอมมิวนิสต์ลดลง แล้วทางการไต้หวันเนี่ยเปลี่ยนยังไงต้องดูต่อไปอีกนะ เพราะจีนแดง ตอนนี้ก็เปลี่ยนเยอะ จีนแดงตอนนี้แทบจะพลิกกลับมาไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ไปทางทุนนิยม แต่ว่าแม้ทุนนิยมไม่ได้ออกมาในลัทธิการเมืองเต็มที่ แต่ว่ามันไปออกในวิถีชีวิตประชาชน ไปตามกระแสค่านิยมเป็นต้นใช่ไหม ฉะนั้นเนี่ยเราต้องระวังนะ จีนแดงนี่กลายเป็นว่ามันเลยเถิดไปแล้วตอนนี้ ยิ่งกว่าเมืองไทยด้วยมั้ง ฉะนั้นต้องดูเขาด้วยความมีสติจริงๆ ดูตัวเองให้ดี อย่างที่ว่าอย่าไปตื่นตามเชียว ตื่นตัว เห็นเขาแล้วต้องเอาประโยชน์มาใช้ให้ได้ ในกรณีนี้หนึ่งรู้ทัน เขาเป็นอย่างนี้มันเป็นเพราะอะไร เข้าใจเขาเลยรู้ สองถ้ามีอะไรเกี่ยวข้องกับเรา มีข้อตกหล่นผิดพลาดอะไรชี้แจงได้ สามไม่ว่าแกว่าดีว่าร้ายฉันต้องเอาประโยชน์มาใช้ให้ได้ แกจะด่าฉันไม่ว่า ฉันจะเอาคำด่าของคุณมาใช้ประโยชน์ ฉะนั้นไม่ต้องห่วง โยมตั้งท่านี้ไว้แล้วกัน หนึ่งรู้ทัน สองชี้แจงได้ ชี้แจงให้เข้าใจได้ แล้วก็สามก็ต้องเอามาใช้ประโยชน์ให้ได้