แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
(หมอ) จริงๆแล้วถึงแม้จะเป็นฆราวาส เป็นคนธรรมดา ที่ทำงานอยู่ ก็สามารถที่จะปฏิบัติธรรมได้อยู่ ถูกต้องใช่หรือไม่ แล้วก็ท่านพูดถึงว่ามีสองขั้วใหญ่ๆคือ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วอีกอันก็คือ ทาน ศีลและภาวนา ทีนี้สิ่งที่ทำประจำวัน สมมติว่าขับรถไป ท่านได้พูดถึงแม้แต่ว่าการขับรถไปก็ตาม ก็ปฏิบัติธรรมได้ พอถึงขั้นที่สองคือการปฏิบัติด้วยการสมาธิ แล้วขั้นต่อไปก็ถึงปัญญา ผมอยากจะทำอย่างไรว่า ทำให้เป็นคำง่ายๆ แจ่มแจ้งว่า สำหรับปุถุชน สำหรับชาวบ้าน สำหรับฆราวาส โดยเฉพาะสำหรับหมอที่จะเกษียรแล้วนี่ จะทำอย่างไรต่อชีวิต ไม่จำเป็นจะต้องว่า ทุกวันจะต้องสมาธิทุกวัน ให้คนทั่วไปสามารถถือเป็นหลักปฏิบัติได้ว่า เออ เราเป็นคนทำงาน ไปทำงานก็ยังปฏิบัติตาหลักพุทธศาสนาได้ตลอดเวลานะครับ โดยความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นตามทฤษฎีเท่าไหร่ ทำอย่างไรถึงจะ ให้ท่านอธิบายว่าง่ายๆ สำหรับคนที่จะต้องใช้ชีวิต จะต้องไปงานสังคม ไปงานแต่งงาน ไปงานศพ จะต้องไปงานปาร์ตี้ แต่ดำเนินการเป็นชาวพุทธที่ดีได้อย่างไร ในฐานะคฤหัสถ์ที่สนใจอยากจะทำตัวให้เป็นคนดี หรือให้สังคมดี ทำอย่างไรง่ายๆ ให้คนอ่านสักสองสามหน้า ไม่ต้องเป็นพาดทฤษฎีมาก เผื่อผมจะอาไปพิมพ์
(ท่าน ป.อ.) คือก่อนจะพูดเรื่องนั้น ก็ขอพูดถึงถ้อยคำ คือพูดถึงถ้อยคำนิดหนึ่ง คุณหมอพูดถึงสมาธิ สมาธิก็เป็นตัวอย่างของการที่ว่า บางทีเราไปหลง แล้วก็ติดในความหมายแง่ใดแง่หนึ่ง คือสมาธิโดยรูปแบบกับสมาธิโดยสาระ สมาธิโดยรูปแบบนี่เราจะไปติดในแง่ ไปนั่งอย่างนี้ แล้วไปอยู่ในที่อย่างนั้น อะไรอย่างนี้ แล้วเป็นสมาธิ แล้วก็เลยเอาสมาธิไปผูกอยู่กับรูปแบบนั้น ความจริงสมาธิมันเป็นธรรมชาติ มันเป็นสภาวะ เป็นคุณสมบัติของจิตใจ เมื่อจิตใจมันอยู่แน่วแน่ มันอยู่กับสิ่งนั้น มันไม่ไปฟุ้งซ่าน มันไม่วอกแวกอยู่ มันก็เป็นสมาธิ ใช่ไหมล่ะ อันนี้แหละสาระ ตัวสมาธิตัวแท้ คนไปนั่งสมาธิ แกอาจจะใจไม่เป็นสมาธิเลย ไม่มีสมาธิเลยก็ได้ ใช่ไหม ใจก็ไปก็นั่ง ก็งุ่นง่านๆ คิดอยู่โน่น คิดอยู่คนเดียว อย่างนั้นไม่มีสมาธิหรอก ไปนั่งสมาธิเฉยๆ เพราะฉะนั้นสมาธิเวลาเอากันจริงๆนี่ เนื้อหาสาระความจริงก็เป็นธรรมชาติ คือเป็นคุณสมบัติของจิตใจ ที่จิตใจมันสงบแล้วมันอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ อาตมาเลยพูดง่ายๆอย่างนี้ สมาธิก็คือจิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ ตอนแรกจิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ อ้าว นี่ก็เข้าสมาธิแล้ว ได้ตามต้องการนี่สมาธิแน่นเลย ใครอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการได้ก็เก่งแล้ว อันนี้ก็แสดงว่าสมาธิที่ไปได้ไกลเลย คนไปนั่งสมาธิมีกี่คนที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ ฉะนั้นเอารูปแบบ ฉะนั้น นี่ที่สำคัญ พอจิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการแล้วนี่ แล้วแต่เราจะไปใช้มันทำอะไร ท่านเรียกว่าเป็นจิตที่เหมาะแก่การใช้งาน พอจิตที่สงบไม่พุ่งพ่าน ไม่กระวนกระวาย ไม่พลอกแพลก ไม่วอกแวก ไม่พุ่งพ่าน ไม่เหงา ไม่อย่างไรอย่างนี้ มันก็เป็นจิตพร้อมที่ตื่นตัว มีความหนักแน่นมั่นคง มันจะใช้ทำงานอะไรก็ได้ เพราะฉะนั้นอย่างนี้ก็คือธรรมะที่เป็นของจริง เราจะเรียกว่าธรรมะในชีวิตประจำวันหรืออะไรก็ได้ ซึ่งทุกคนก็มีโอกาส สามารถมีคุณสมบัตินี้ แต่ทำไมต้องมีรูปแบบอย่างนั้น ก็เพราะว่าคนเรานี่คุณสมบัติในจิตใจไม่เหมือนกัน การพัฒนาของจิตใจ ของอะไรต่างๆ ปัญญาปัญเญอไม่เท่ากันทั้งนั้น แล้วก็เมื่อจิตไม่พร้อมนี่ สภาพแวดล้อมต่างๆ มันก็มีอิทธิพล ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเวลาเราจะฝึก คนเรานี่ก็บอกว่าคุณสมบัติที่ดีที่มันจะสำเร็จได้ด้วยการฝึก แต่การฝึกบางทีมันต้องอาศัยเทคนิค โดยทั่วไปต้องมีเทคนิคแล้วมันจะช่วย แล้วสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่ง วิธีการอย่างหนึ่งจะมาช่วย ก็เลยมีการพัฒนารูปแบบวิธีการปฏิบัติขึ้นมาเป็นการนั่งสมาธิ อะไรต่างๆเหล่านี้ เพื่อจะมาฝึกเท่านั้นเอง พอคนฝึกได้ดีมีสมาธิจริงแล้วมันไม่ต้องมานั่งอย่างนั้นแล้ว อันนั้นนั่งก็หมายความว่าอาจจะมีเหตุผลขึ้นมาว่า เอ้อ มันไปอยู่ในอิริยาบถอื่นมันก็มีเรื่องเข้ามาเกี่ยวข้องวุ่นวายมาก และอยากจะพักกลับไปนั่งอะไรก็แล้วแต่ ตกลงว่านี่ว่าเป็นตัวอย่างว่าเรื่องสมาธิก็สาระที่แท้จริงมันอยู่ที่คุณสมบัติที่เป็นธรรมชาติที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์เอง แล้วเมื่อเราเข้าใจแยกได้ตัวสาระกับรูปแบบแล้ว เราก็จะเข้าถึงพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น ว่าเรื่องของมนุษย์ก็คือ เราก็ดำเนินชีวิตอยู่ในโลก ทีนี้การดำเนินชีวิตอยู่ในโลก ท่านก็บอกว่าชีวิตของเรานี่ ในด้านดำเนินชีวิตมันมี ๓ ด้าน หนึ่ง ด้านการแสดงออกภายนอกด้วยกาย วาจา โดยสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมอย่างหนึ่ง กับทางวัตถุอย่างหนึ่ง นี่ด้านนี้พัฒนาไปเท่าไหร่ก็ตาม ทำให้มันดีขึ้น ให้มีการพูดได้ผลดี พูดถูกต้อง พูดเป็นคำสุจริต เป็นคำสัจจะ เป็นคำสุภาพอ่อนโยน พูดได้ผลอะไรต่างๆ การฝึกนี่ก็เรื่องวาจาสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ แล้วก็การฝึกพัฒนาในเรื่องของการใช้กายทำอะไรต่างๆ เช่น บริโภคอาหาร ใช้ปัจจัยสี่ ใช้เทคโนโลยี หรือว่าการใช้ตาหูจมูกลิ้นไปสัมพันธ์กับโลกภายนอก การดูการฟัง แล้วก็การอยู่ร่วมสังคม การอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์กติกา การอยู่ในวินัย กฎจราจร อะไรก็ตาม หรือวินัยของทหารอะไรอย่างนี้นะ หรือว่าการที่จะทำอาชีพของตัวเองให้ถูกต้องสุจริต เกิดผลดี เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวิชาชีพนั้นๆ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องพฤติกรรม กาย วาจา สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทางสังคมและทางวัตถุ หมดนี่ แดนนี่ เรียกว่า ศีล จะไปอยู่ไหนก็ตาม เพราะฉะนั้นมนุษย์เราก็ต้องยุ่งกับเรื่องศีลตลอดเวลา ถ้าใครไม่ฝึกพฤติกรรมตัวเอง ก็เรียกว่า เราไม่เอากับศีล ทีนี้ถ้าคนต้องการจะมีความเจริญงอกงามในด้านพฤติกรรม ในการอยู่ร่วมสังคม ในการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายให้มันมีผลดีขึ้นกับชีวิต ให้มันเกิดผลดีต่อผู้ร่วมสังคม อะไรต่ออะไรนี่ก็เรียกว่ามีศีล แล้วก็ฝึกกันเรื่อยไป นี้ด้านหนึ่งละ
ทีนี้ด้านที่สอง ด้านลึกเข้าไปก็คือว่า ก่อนที่มาออกเป็นพฤติกรรม การแสดงออกทางกาย วาจา ทุกครั้งเลย มนุษย์นี่มีเจตจำนง มีเจตนา มีความตั้งใจ มีความจงใจ จะคิดจะเอาจะได้หรือจะทำ จะแสดงออกอย่างไร แสดงว่าพฤติกรรมที่ออกมาข้างนอกนี่มีตัวอยู่เบื้องหลัง ก็คือความตั้งใจ ความจงใจ เจตนา หรือเจตจำนง แสดงว่าด้านจิตใจมีความสัมพันธ์อยู่กับพฤติกรรม พฤติกรรมนี่ตั้งอยู่บนฐานของจิตใจอีกที แล้วจิตใจจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม มีเจตนาอย่างไรขึ้นต่อคุณภาพของจิตใจแหละ จิตใจมีโลภะมากก็พฤติกรรม กายวาจาจะไปแบบหนึ่งเลย โลภมากๆ โลภน้อยลงก็พฤติกรรมก็ไปอย่าง มีโทสะมากก็พฤติกรรม กาย วาจา ก็ไปอย่างหนึ่ง มีโมหะ ก็แสดงออกมาที่พฤติกรรม ก็อยู่ที่ว่าจะมีคุณสมบัติหรือสิ่งที่เป็นโทษหรือดีมาประกอบที่จิตอย่างไร ฉะนั้นถ้าจะให้พฤติกรรมดีมั่นคงนี่ต้องพัฒนาจิตใจด้วย แต่ข้อสำคัญในที่สุด สุข ทุกข์นี่ เราก็ไปอยู่ที่ใจอีกเหมือนกัน มันไม่ใช่เฉพาะคุณสมบัติของพฤติกรรมที่ดีร้ายเท่านั้น ประณีต ทราม หยาบ ละเอียด แต่หมายความว่า ความสุขความทุกข์ด้วย ในที่สุดไปอยู่ที่จิตใจ เพราะฉะนั้นด้านจิตใจนี้ก็ต้องมีการฝึก เพราะฉะนั้นเราก็ฝึกจิตใจในเรื่องคุณธรรมความดีงาม ให้มันมีความโลภความโกรธความหลงน้อยลง ให้ความโกรธ โลภะโทสะ มีอิทธิพลต่อจิตใจน้อยลง ให้มีคุณสมบัติที่ดี ซึ่งเป็นตรงข้ามกับโลภะโทสะ ให้มีความคิดเผื่อแผ่เสียสละ ให้มีเมตตากรุณา ให้มีจิตใจมีอุดมคติ ให้มีความใฝ่รู้อยากทำสิ่งที่ดีงาม อะไรขึ้นมาอีก แล้วก็นอกจากนั้น บางทีจิตใจอ่อนแอ ว้าเหว่ เหงา อะไรต่างๆเหล่านี้อีก ไม่ได้ก็ต้องได้พัฒนาจิตใจให้มีสมรรถภาพ มีเข้มแข็ง มีความเพียรพยายาม ใจสู้ไม่ย่อท้อ มีกำลังใจแกล้วกล้า มีสติยับยั้งใจได้ มีสมาธิใจแน่วแน่ สามารถทำใจให้สงบได้ ทำใจให้ผ่องใส ไม่ว้าเหว่ ไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้าหมอง ไม่เครียด ให้สดชื่นร่าเริงเบิกบาน เอะ เรื่องจิตใจเยอะนี่ นี่ก็เป็นแดนใหญ่เลย ลึกลงไปกว่าพฤติกรรมก็มีด้านจิตใจ เรื่องคุณธรรม ความดี เรื่องสมรรถภาพความเข้มแข็งของจิตใจ เรื่องของความสุข ความร่าเริงเบิกบานผ่องใส ตกลงต้องฝึกด้านจิตใจด้วย ด้านจิตใจทั้งหมดท่านก็ใช้คำๆเดียว ตัวแทนว่าสมาธิ นี่ที่จริงสมาธิคลุมหมด ไม่ใช่ว่าต้องไปนั่งอย่างนั้นอย่างเดียว ทีนี้มนุษย์เรานี่ไม่ได้อยู่แค่จิตใจกับพฤติกรรม ไอ้จิตใจที่จะแสดงพฤติกรรมออกไป แล้วก็พฤติกรรมจะแสดงออกได้แค่ไหนมันต้องขึ้นต่อความรู้ คนเราจะแสดงพฤติกรรม จะเดินไปไหนต้องรู้นะ แล้วจะทำพฤติกรรมได้แค่ไหน อยู่ในขอบเขตของความรู้ คนที่มีความรู้กว้างขวางลึกซึ้ง พฤติกรรมก็ยิ่งซับซ้อน ยิ่งทำได้มากขึ้น แล้วก็สามารถทำให้เกิดผลสำเร็จด้วย ถ้าไม่มีปัญญาไม่มีความรู้ไอ้พฤติกรรมทำไปเปล่าๆ เหลว ไม่ได้เรื่อง แล้วไอ้จิตใจก็เหมือนกัน จิตใจไม่มีปัญญานี่มันอึดอัด พอเจออะไรนี่ไม่รู้จะทำอย่างไร อึดอัด ทุกข์เลยใช่ไหม แต่พอรู้ปั๊บโล่งเลย เพราะฉะนั้นปัญญานี่มันเป็นตัวสำคัญ พฤติกรรมจะไปได้ จิตใจจะโล่งจะโปร่งเป็นอิสระด้วยปัญญา ปัญญาเป็นตัวที่ชี้นำ บอกทาง ให้แสงสว่าง เปิดขยายมิติ แล้วก็ทำให้เป็นอิสระ เป็นตัวปลดปล่อย พอปัญญามานี้รู้ จะติดอะไรปั๊บเป็นปัญหาปั๊บ ปัญญามารู้หมด โล่ง เพราะฉะนั้นปัญญาเป็นตัวสำคัญ ในที่สุดจะพัฒนาพฤติกรรม จิตใจไปได้ ต้องอาศัยปัญญา ในที่สุดก็เลยต้องมีอีกแดนหนึ่งคือแดนปัญญา ความรู้ แดนปัญญาความรู้ก็ว่ากันไปสิ ตั้งแต่รู้ข้อมูลธรรมดาที่สดับตับฟังจากผู้อื่น รู้เข้ามาทางตาหูจมูกลิ้น รับรู้เข้ามา การรับรู้ของคนก็มีปัญหาแล้วรับรู้อย่างไร รับรู้ไม่เป็นก็อยู่กับชอบใจไม่ชอบใจใช่ไหม พอจะเห็นสวยงามก็ชอบใจ เห็นไม่สวยไม่งาม ไม่ถูกตาไม่ถูกใจก็ไม่ชอบใจ พอไม่ชอบใจต้องอยู่กับมัน เกิดความทุกข์ แล้วคิดทำลาย จิตใจงุ่นงานพุ่งพ่าน โทสะเกิด พอไปเจอสิ่งที่ถูกตาถูกใจ ชอบ จะเอา แล้วก็เกิดความสุข พออยู่ด้วยกันกับสิ่งนี้ไม่ได้ อ้าว ทุกข์อีกแล้ว พอมันได้แล้วแต่มันไม่อยู่ด้วย หรือได้แล้วแต่มันสลายไป ทีนี้ไอ้การรับรู้ของมนุษย์นี่เป็นช่องทางที่มาของความสุข ความทุกข์ของมนุษย์แหล่งใหญ่เลย ทีนี้ถ้ามนุษย์พัฒนาขึ้นก็จะไม่อยู่แค่รับรู้ ชอบใจ ไม่ชอบ ก็คือว่าหนึ่ง รับรู้ รับความรู้สึก สอง ใช้ตาหูจมูกลิ้นกาย รับรู้แต่รับความรู้ แค่นี้ก็ต่างแล้ว เป็นจุดแยกแล้ว รับความรู้สึกก็รู้สึกสบายชอบใจ รู้สึกไม่สบายไม่ชอบใจ สุขทุกข์อยู่กับชอบใจไม่ชอบไจ พอรับความรู้ คราวนี้ไม่เกี่ยว ความรู้สึกไม่เกี่ยว ได้ความรู้ก็แล้วกัน มันจะสบายไม่สบาย ถูกตาไม่ถูกตาไม่เกี่ยวแล้ว ฉะนั้นคนที่เริ่มขยับจากการใช้ตาหูจมูกลิ้นเพียงรับความรู้สึกมาเป็นรับความรู้ จะเปลี่ยนมิติใหม่ของความสุข คือไม่ทุกข์เพราะสิ่งชอบใจไม่ชอบใจ แต่มองในแง่การรู้ทั้งสิ่งที่ถูกใจไม่ถูกใจ สุขหมด เพราะว่ามันได้ความรู้ ใช่ไหม เราต้องการได้ความรู้ ถ้าใจเราไปอยากได้ความรู้ปั๊บ การได้ความรู้เป็นการสนองความต้องการแล้วเป็นตัวให้เกิดสุข เพราะฉะนั้นสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจไม่เกี่ยว สิ่งที่ชอบก็ให้ความรู้ได้ก็สุขได้ สิ่งไม่ชอบใจให้ความรู้ฉันได้ ฉันก็สุขได้ เพราะฉะนั้นก็สุขได้ทั้งสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ อันนี้คือการพัฒนาของมนุษย์ ทีนี้ถ้ามนุษย์รับรู้ในแง่เอาความรู้สึกเป็นใหญ่ ความรู้สึกมันก็จะมาเคลือบมาคลุมให้การรับรู้นี้ไม่บริสุทธิ์ เกิดความลำเอียง มองตามชอบใจไม่ชอบใจ ก็เกิดอคติ ยังไม่เกิดอคติก็ยังไม่เห็นตามเป็นจริงเหมือนใส่แว่นสี เพราะฉะนั้นการรับรู้นี้ก็จะมีมีอิทธิพลมาก หนึ่ง รับรู้แค่ความรู้สึก ท่านเรียกว่ายินดียินร้าย ก็จะไม่พัฒนา แล้วก็จะอยู่กับสุขทุกข์ ชอบใจไม่ชอบใจ พอเปลี่ยนการรับรู้เป็นการรับความรู้ปั๊บ ก็พ้นจากสุขทุกข์ จากชอบใจไม่ชอบใจมาสุขเพราะการได้เรียนรู้ คือสนองความต้องการรู้ และอีกอย่างหนึ่งก็คือการรับรู้จะบริสุทธิ์จะตรงความจริงขึ้น ก็มนุษย์จะพัฒนาไม่ได้ถ้าไม่รู้จักปรับปรุงเรื่องการรับรู้ของตัวเอง คือการใช้ตาหูจมูกลิ้น พอปรับปรุงแค่นี้ก็ดีขึ้นแหละ แดนความสุขความทุกข์ก็เปลี่ยนไป แล้วก็แดนปัญญาก็พัฒนาเพราะว่าเราสามารถรับรู้ ได้ความรู้ที่ตรงบริสุทธิ์ขึ้น ทีนี้ต่อจากนั้นก็คือเอาข้อมูลความรู้นี้มาเก็บไว้เป็นความจำสำหรับสติระลึกขึ้นมาแล้วเอามาใช้งาน เอามาสามารถเอาความรู้ต่างๆนี่มาวิเคราะห์ มาสืบค้นสืบสาว หาเหตุปัจจัย แล้วก็เอามาปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ในการแก้ปัญหา ในการคิดสร้างในทำการต่างๆได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องของแดนปัญญาซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ จนกระทั่งว่า รู้เข้าใจชีวิตของตนเอง รู้เข้าใจโลกตามเป็นจริง พอรู้เข้าใจอย่างนี้แล้วนี่วางใจได้ถูกต้องต่อสิ่งต่างๆ เพราะมนุษย์นี้อยู่เราใต้กฎธรรมชาติ ชีวิตของเราก็เป็นไปตามสิ่งทั้งหลายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์กัน ทีนี้มนุษย์ที่ยังไม่ได้ฝึกฝนพัฒนา ไม่อยู่ด้วยปัญญาก็อยู่ด้วยความอยากที่ท่านเรียกว่าตัณหา เมื่ออยู่ด้วยความอยาก ตัวเองก็อยากจะให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้ มันเป็นไปตามอยากก็มีความสุข มันไม่เป็นไปตามอยากก็ทุกข์ แต่ว่ามนุษย์จะให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามอยากของตัวเองนี่เป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปตามอะไร มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ที่นี้ตอนนี้ที่มันเรื่องที่มนุษย์นี่จะเข้าไปขัดแย้งกับความจริงหรือไม่ ถ้าเอาตัณหามาเป็นหลักของจิตใจ มันก็ขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะตัวอยากให้เป็นอย่างนี้ แต่ความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนี้มันไม่ได้เป็นไปตามความอยากของมนุษย์ สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ใช่ไหม เป็นไปตามระบบความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย ฉะนั้นถ้าอยู่ด้วยตัณหาต้องเกิดขัดแย้งแน่ ทีนี้แล้วพอขัดแย้งใครชนะ ตอบได้เลยว่า ความจริงชนะ ใช่ไหม ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยชนะ มนุษย์ก็ต้องทุกข์เรื่อย ทีนี้พอมนุษย์พัฒนาปัญญา มนุษย์พัฒนาปัญญาก็รู้ตามเป็นจริง ไอ้ปัญญามันรู้ตรงกับเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย มันรู้ตรงกับความเป็นไปของธรรมชาติ ฉะนั้นจิตมันก็ปรับตามปัญญามันก็ไปตามกัน ก็รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน มันคงอยู่ไม่ได้เพราะมีเหตุปัจจัยอย่างนั้นเกิดขึ้น อ้าว ถ้าเราต้องการไม่ให้เป็นอย่างนั้น เราก็ต้องเรียนรู้มัน ศึกษาเหตุปัจจัย แก้ที่เหตุปัจจัย ทำได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น ถ้ามันไม่เป็นไปตามที่ใจปรารถนาแสดงว่ามีเหตุปัจจัยที่เราทำไม่ทั่ว หรือมีเหตุปัจจัยที่อยู่นอกเหนือวิสัยของเรา เราก็รู้ตามเป็นจริง จิตใจของเราก็รู้ความจริงอย่างนี้ทุกข์มันก็เบา แล้วก็แก้ไขเหตุการณ์ ทำอะไรก็จะได้สำเร็จ หนึ่งทุกข์ก็น้อย สองทำการก็สำเร็จ ก็อยู่ด้วยปัญญา ทีนี้คนที่อยู่ด้วยตัณหา อยู่ด้วยความอยาก หนึ่งก็ไม่สำเร็จ สองก็ทุกข์มาก ทีนี้ท่านก็ให้พัฒนา ก็คือชีวิตเรานี่เอง ถ้าหากว่าปฏิบัติถูกต้องมันก็คือเป็นธรรมะ เพราะธรรมะก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย แล้วเราก็รู้เข้าใจความจริงนั้น แล้วเอามาใช้ประโยชน์ปฏิบัติได้ถูกต้องตามนั้น มันก็เกิดผลดีแก่ชีวิตของเรา
(หมอ) ตกลงเราก็ต้องฝึกปฏิบัติ
(ท่าน ป.อ.) ก็ฝึกในชีวิตของเราเอง
(หมอ) ผมกำลังจะตั้งหัวข้อของผม จะเขียนอันหนึ่งว่า ผมบวชแล้วนี่ ตอนนี้ผมบวชมาสองปีเศษแล้ว ว่าผมได้อะไร ผมเป็นคนดีขึ้นหรือเปล่า นะครับ เพราะว่าก่อนที่ผมจะบวชนี่ผมเคยเขียนเรื่องว่าผมเป็นคนไกลวัด ผมไม่ชอบพระ ผมมีข้อเขียนของผมเขียนแล้ว ว่าผมไม่ชอบไม่เข้าหาศาสนาและก็บางทีพระที่ ขออนุญาตใช้คำว่า “เว่อร์ไป” เช่น ภูตผีปีศาจอะไรอย่างนั้น ผมไม่นับถือ หลังจากที่ผมบวชแล้ว ผมบวชที่นี่ แล้วผมก็มีความรู้สึกที่ดีมาก ก็เขียนอีกอันว่า “เมื่อคนไกลวัดบวช” คราวนี้ สองปีแล้วนี่ ผมอยากจะมานั่งหยุดคิดดูว่า เอะ ผมบวชแล้วผมเป็นคนดีขึ้นหรือไม่ ผมรู้แต่เพียงว่าถ้าผมฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ผมดีขึ้นนิดหน่อย เช่น ผมอ่านข้อเขียนของท่านมาก อ่านมาก อ่านแล้วอ่านอีก ยกตัวอย่างเช่น ขับรถอยู่มีคนมอเตอร์ไซด์ขับรถมาแซง สมัยก่อนจะโมโหมาก โมโห ยิ่งบางคนขับแท็กซี่มาโมโหแล้วก็ทำปากขมุบขมิบ เราก็คิดว่าเขาด่าเราแล้ว ขณะนี้ถ้าจะให้ดีก็ต้องแผ่เมตตาไปเลยใช่ไหมครับ แต่ขณะนี้ เอ้ เราก็คิดว่า เอะ ถ้าผมโมโหไปนี่ ความดันผมขึ้นเปล่าๆ เรื่องอะไรจะโมโห ผมก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ แต่ยังดีไม่ที่สุด อยากจะฝึกหัดตัวเองว่าทำอย่างไรถึงแม้เขาจะปาดหน้า เราถูกเขาผิดนี่ เราจะทำอย่างไร เราจะอนุโมทนาไปว่าเขาอาจจะไปเยี่ยมพ่อแม่เจ็บป่วยหรืออะไรไปเลย หรือจะมีวิธีทำอะไรอย่างไรที่ให้ทานเขาไปเลย หรือทำอะไรที่จิตใจเราแทนที่จะ หนึ่ง เดิมสมัยก่อนโมโห ด่าเขากลับ บางทีสมัยก่อนหมุนกระจกลงมาด่าเขาเลย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่กระทำ กระทำแต่ว่าเฉยๆ ทำอย่างไรให้มันดีเหนือขึ้นไปกว่านั้น หรือว่าแผ่เมตตาไป หรือว่า ยกตัวอย่างอีกอันหนึ่ง เช่นว่า ทางเดินเท้าในตรอกนี่รถเข้าไม่ได้เลย ขณะนี้เราก็รู้สึกว่าพวกนั้นคนจนๆเขามาขายของ เราน่าจะเห็นใจเขาบ้าง ความจริงสมัยก่อนเราจะคิดว่าถนนของเรา บ้านของเรา ทำไมเขามารุกล้ำ ขณะนี้ก็คิดได้ว่า เออ แผ่เมตตาไปหน่อย เขาจนกว่าเรา เราก็ขับรถไปอย่างนี้ ทำอย่างไรถึงจะฝึกหัดให้ ให้รู้สึกว่ามันดีขึ้น ขึ้นไปอีกกว่านั้น อันนี้สิ่งที่ผมบวชแล้วผมได้คือทำให้รู้สึก คิดอะไรกว้างขึ้น มีทฤษฎีขึ้นมาจับด้วยนิดหน่อย ผมคิดว่าถ้าเผื่ออันนี้นี่ถ้ามันสามารถจะทำอะไรง่ายๆ หรือมีข้อแนะนำง่ายนี่ คนอื่นอาจจะได้ประโยชน์เยอะ
(ท่าน ป.อ.) เจริญพร หนึ่ง อาจจะเป็นคนดีเท่าเดิมก็ได้ แต่ว่าเป็นคนดีแล้วแต่ทำดีมากขึ้น หมายความว่าปริมาณของสิ่งที่ดีที่ทำนี่มากขึ้น แต่ระดับการเป็นคนดีนี่เท่าเดิมก็ได้ อย่างนี้ก็ถือว่าดีแล้วนะ
(หมอ) เพราะมีความรู้มากขึ้นหรือเปล่า
(ท่าน ป.อ.) อันนี้ก็ไม่รู้แหละ แต่หมายความว่าได้ทำสิ่งที่ดีมากขึ้น อันนี้ก็ดีแง่หนึ่ง หมายความว่าระดับความเป็นคนดีเท่าเดิม แต่ว่าในความดีที่ตัวเป็นอยู่นี่ก็เลยได้ทำความดีมากขึ้นตามกาลเวลา อันนั้นก็เป็นข้อดีอย่างหนึ่งนะ นี้หนึ่งนะ ทีนี้ สอง เลื่อนระดับความดีของตัวเองล่ะทีนี้ ความเป็นคนดี
(หมอ) ทำอย่างไรถึงจะช่วย มีอะไรที่จะ คลิกช่วยว่า เอ่อ มีกลไกอย่างไรที่จะช่วยได้ง่ายๆ
(ท่าน ป.อ.) ทีนี้ความเป็นคนดีขึ้นนี่มันดีขึ้นได้หลายด้าน ถ้าเราใช้คำใหญ่มา เอาคำหลักเมื่อกี้มาเทียบนี่ ดีขึ้นทางศีล ดีขึ้นทางสมาธิ คือทางด้านจิตใจ และดีขึ้นทางปัญญา อ้าว ต้องดูละต้องดูสามด้าน ด้านศีล การประพฤติปฏิบัติของเรา การดำเนินชีวิตทั่วไป การสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ดีขึ้นไหม เราเบียดเบียนน้อยลงไหม เราบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์มากขึ้นไหม นี่ด้านศีล ดูได้เลยว่าเราดีขึ้นไหม ใช่ไหม การปฏิบัติต่อข้าวของเครื่องใช้ การกินอยู่ ทั้งหมดเลยนี่ ด้านศีลเราดีขึ้นหรือไม่ สอง ด้านจิตใจ เราจิตใจร่าเริงเบิกบานผ่องใสสดชื่นขึ้นไหม เครียดน้อยลงไหม ทุกข์น้อยลงไหม มีคุณธรรมมากขึ้นไหม มีเมตตากรุณามากขึ้นไหม มีศรัทธาอะไรต่างๆ มีอะไรคุณธรรมความดีมากขึ้นไหม แล้วก็มีสติ มีวิริยะความเพียร มีจิตใจเข้มแข็ง มีกำลังใจดีขึ้นไหม แล้วก็ด้านความสุขก็พูดไปแล้ว แล้วก็มาดูด้านปัญญา มีความรู้เข้าใจ เรื่องวิชาการนั้นก็ไม่ต้องพูดถึงในที่นี้ รู้เข้าใจชีวิต รู้เข้าใจเพื่อนมนุษย์ รู้สิ่งทั้งหลายได้ดีขึ้น มากขึ้นไหม อันนี้ก็ดูได้นะ ดูสามด้านนี่ ก็วัดตัวเองได้เลย ทีนี้ถ้าจะมาใช้ปฏิบัติอย่างในเฉพาะกรณี หรือเป็นแง่ๆเรื่องๆ อย่างว่า กรณีขับรถอย่างนี้ใช่ไหม อันนี้มันก็วิธีง่ายๆก็ ท่านเรียกว่าโยนิโสมนสิการ ใช่ไหม ก็คือว่า การรู้จักมอง รู้จักคิด ให้จิตมันมีทางเดินหลายๆอย่าง คือมันมีตัวนำ ก็คือการใช้ปัญญาหรือวิธีมอง ซึ่งยังไม่ต้องใช้ปัญญามากมายอะไรล่ะ เพียงวิธีมองเท่านั้นเอง เช่นว่าเราคิดเผื่อให้เขาอย่างนี้ อย่างเช่นที่คุณหมอพูดเมื่อกี้ อย่างหมอเห็นคนไข้หน้าตาไม่ดี พูดไปแล้วพูดกลับมาไม่ดี หมอคิดว่า โอ คนไข้คนนี้ ที่จริงเขาไม่ได้มามีโกรธเกิดอะไรกับเราหรอก แต่เขามีอารมณ์ค้าง หรือเขากำลังวิตกกังวล มีความทุกข์ ทุกข์เพราะโรคภัยไข้เจ็บของเขา ทุกข์เพราะเป็นห่วงลูก ถ้าพ่อป่วยไปแล้วลูกจะอยู่อย่างไร ทุกข์เรื่องครอบครัว เงินทองจะเอาที่ไหนมาใช้ ตัวเองรักษาใช้เงินมากไหม แล้วเวลานั้นครอบครัวจะอยู่ได้อย่างไร ห่วงโน่นห่วงนี่ นี่มันทำให้เขาอารมณ์เสีย แล้วเขาก็พูดตอบมาไม่ดี เพราะฉะนั้นถ้าคิดได้อย่างนี้ อาจจะไปเห็นใจเขา คิดหาทางปลอบโยนหรือไปไถ่ถามให้รู้สุขทุกข์ แทนที่จะมาอัดอั้นอยู่คนเดียวกับตัวเอง แล้วก็ทุกข์ แล้วก็ปรุงแต่ง ใจไม่สบาย นี่ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง นี่คือการมองและใช้วิธีคิดแบบนี้ท่านเรียกว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งใช้ได้หลายอย่างมาก เคยเล่าไว้ในหนังสือรักษาใจยามรักษาคนไข้ รักษาใจยามป่วยไข้กับรักษาใจยามรักษาคนไข้ คือเรามีวิธีมองได้เยอะแยะ แม้แต่มองเพียงว่าเป็นเรื่องของการได้เจอประสบการณ์ต่างๆหลากหลาย แล้วก็สนุกไปกับการได้เห็นประสบการณ์นั้น ไม่รับกระทบ หมายความว่าผู้คนมนุษย์นี่มีต่างๆกัน ท่าทางอาการ กิริยา นิสัยใจคอไม่เหมือนกัน เราเจอ เอ้อ คนนี้เป็นอย่างนี้ คนนั้นเป็นแอย่างนั้น คนนั้นยิ้ม คนนั้นหน้าบึ้ง คนนั้นหัวเราะตลอดเวลา คนนี้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เห็นแล้วเราขำไปหมดเลย ขำไปหมดเห็นใครมาท่านี้ เห็นคนนั้นมาท่าโน้น ขำอย่างเดียว ไม่รับกระทบ อย่างนี้ก็มี คือมันอยู่ที่การวางท่าทีของจิตใจ หรือวางท่าทีเป็นการเรียนรู้ โอนี่ มนุษย์มีต่างๆ หลากหลาย สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปต่างๆเราวันๆหนึ่งเราได้เรียนรู้ เจอคนนี้ก็ได้เรียนรู้ว่าคนอย่างนี้ก็มี คนอย่างนี้เป็นลักษณะอย่างนั้น เรียนรู้ๆ มองเป็นเรียนรู้หมด มาดีก็เรียนรู้ มาไม่ดีก็เรียนรู้ ก็ได้ศึกษาได้ท่าเดียว อย่างคนเมื่อกี้นี้ผ่านท่าเดียว ขำผ่าน ขำผ่าน แต่คนที่สองนี้ได้เรื่องได้อย่างเดียว ได้ความรู้เรื่อยไป ทีนี้คนที่สามก็มองอย่างที่ว่า มองแบบเข้าใจเพื่อมนุษย์ คิดเผื่อให้กับเขาว่าอาจจะเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็หาทางมีความสัมพันธ์ไถ่ถามเขาเพื่อให้รู้ความจริงอะไรต่างๆไป อันนี้ก็กลายเป็นช่วยแก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ ให้แก่เพื่อนมนุษย์แล้วก็มีเมตตากรุณา แล้วก็อีกอันก็ได้ คือมองเป็นบททดสอบตัวเรา เอ้อ เราเจอดีบ้างไม่เจอดีบ้าง เจอดีก็ไปชอบใจเสียนี่ ไอ้ทีเจอไม่ได้แล้วก็ไปไม่ชอบใจ ลองทดสอบตัวเอง เรามาเรียนธรรมะเราอยู่ในโลกจะมีชีวิตที่ดี เรามีความเข้มแข็งอดทนแค่ไหน ต้องเจอบททดสอบบ้าง ให้เขาด่าบ้างเราจะได้ดูว่าเราทนได้ไหม ใช่ไหม อย่างนี้ก็ได้บททดสอบ มองเป็นบททดสอบหมด ไปเจอก็ไม่มีปัญหาอีก ได้บททดสอบ วันนี้พอกลับบ้านก็ เออ ได้บททดสอบใหม่ แหมวันนี้บททดสอบแรงหน่อย ว่าอย่างนั้นนะ ก็เลยสนุกอีก สนุกกับบททดสอบ แล้วก็ต่อจากบททดสอบก็เป็นแบบฝึกหัดพัฒนาตัวเอง ทีนี้ก็คนเรานี้ก็จะพัฒนามันต้องมีแบบฝึกหัดใช่ไหม คนไม่เจอแบบฝึกหัดมันไม่ได้พัฒนา ไม่ได้แก้ปัญหา ทีนี้ชีวิตที่ราบรื่นนี่มันดีล่ะมันสุข แต่ว่าเป็นชีวิตที่ไม่มีแบบฝึกหัด คนที่ชีวิตราบรื่นเกินไป มีความสุข เกิดมาในความสุขนี่ ถ้าไม่มีกัลยาณมิตรมาช่วยฝึกนี่ไม่พัฒนาเลย แล้วชีวิตนี่จะเอาดี เข้มแข็งหรือว่ามีปัญญาอะไรต่ออะไรที่จะจัดการสถานการณ์ได้น้อย เพราะฉะนั้นคนที่เจอแบบฝึกหัดมาก ดี เจอปัญหาเยอะ เจออะไรต่ออะไรเรื่องราวอะไรต่างๆ ที่เป็นปัญหานี่มองเป็นแบบฝึกหัดหมด ทีนี้ก็พัฒนาตัวอย่างเดียว ได้ฝึกได้หัดได้แก้ปัญหา ดีหมด นี่คนที่ห้าแล้วนะ แล้วก็คนที่หกอีก คนที่หกนี่ได้พัฒนาปัญญาถึงขั้นรู้เข้าใจโลกชีวิตตามความเป็นจริง ก็รู้เข้าใจแบบคนที่อยู่บนภูเขา ยอดเขา มองลงมาเห็นสิ่งทั่งหลายเป็นไปต่างๆ รู้ เข้าใจ โลกชีวิตมันก็เป็นอย่างนี้ คนเราก็มีกิเลสบ้าง ไม่มีกิเลสบ้าง ก็เป็นไปต่างๆกัน เขาก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย นี่มันมองตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย ตามเหตุปัจจัย เข้าใจตามเป็นจริงไปเลย ไม่กระทบเลย เรียกว่ารู้เข้าใจโลกชีวิต วางใจถูกต้อง ใจเป็นอิสระไปเลย ก็เลือกเอาต่างๆนี่แหละ เป็นวิธีที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งใช้ได้หมดเลย แต่อย่างน้อยนี่ขั้นแรกก็คือว่า คนเราจะใช้ตาหูเป็นด่านสำคัญในการสัมพันธ์กับโลกภายนอกนี่ มันก็มีแบบที่ว่านี่ แยกไปเลย หนึ่ง มองด้วยความยินดียินร้าย อย่างที่พูดตอนต้น เห็นสิ่งที่สบายตาถูกตาก็ชอบใจ เห็นสิ่งไม่สบายตาไม่ถูกตาก็ไม่ชอบใจ แล้วก็สุขทุกข์ก็อยู่นี่ นี่เป็นการใช้ตาหูจมูกลิ้นแบบแรก สามัญ แล้วก็แบบสัมพันธ์กับโลกภายนอกด้วยการใช้ปัญญา แบบที่ว่า อย่างน้อยมองตามเหตุปัจจัย ก็เลยแยกแบบ มองตามชอบใจกับมองตามเหตุปัจจัย พอเจออะไรก็ ถ้ามองตามชอบใจก็สะสมปัญหา แต่ถ้ามองตามเหตุปัจจัยก็เกิดปัญญา ทีนี้ถ้าเราเพียงตั้งท่าทีอย่างนี้ก่อน ว่ามองตามเหตุปัจจัยล่ะ เราไปเจออะไรปั๊บเราระลึกอันนี้ เราจำไว้เป็นคติว่ามองตามเหตุปัจจัย คติก็คือทางไปให้จิตมันเดินได้ พอเกิดเรื่องปั๊บที่จะไม่ชอบใจ เอาสติระลึกถึงคติมา ไอ้คตินี่มันตั้งไว้แล้วนี่ เราก็เอาสติเป็นตัวดึงคตินี่มาใช้ ระลึกถึงคติว่าไอ้นี่เกิดเรื่องแล้ว เจอสิ่งไม่ชอบใจแล้วนะ คติบอกว่ามองตามเหตุปัจจัยอย่ามองตามชอบใจ เราก็ยั้งการมองตามชอบใจเปลี่ยนมามองตามเหตุปัจจัย ใช่ไหมล่ะหมอ พอมองตามเหตุปัจจัยปั๊บ สะดุด หยุดปัญหาได้ หยุดปัญหาได้ก็มามองด้วยปัญญา วิเคราะห์ ศึกษา มองตามเหตุปัจจัย แม้แต่เรื่องในครอบครัวในบ้าน ก็นี่มันมีเรื่องที่จะกระทบหูกระทบตาอยู่เรื่อยล่ะ ซึ่งเข้าไปถึงจิตใจ ถ้ามองตามชอบใจไม่ชอบใจต้องเกิดเรื่องเรื่อย แล้วก็มีปัญหาทั้งกับตัวเอง ออกมาก็กระทบกัน มีปัญหากับข้างนอก ทีนี้พอเปลี่ยนไปมองตามเหตุปัจจัยก็ตั้งสติได้แล้วก็เริ่มใช้ปัญญาหาทางแก้ปัญหาด้วยทางที่ถูกต้อง อย่างน้อยตัวเองก็ไม่เกิดความกระทบ ไม่ขุ่นข้องหมองใจ ใช้ปัญญานี่มันเป็นเรื่องของความเป็นจริงที่เป็นกลางนะ ปัญญาอยู่กับความเป็นจริงที่เป็นกลางๆ เพราะฉะนั้นมันไม่มีปัญหา ปัญญาเป็นตัวทำลายปัญหา แล้วก็แก้ความทุกข์ สลาย เป็นตัวสลายทุกข์ เป็นตัวปลดปล่อยทำให้เป็นอิสระ เจริญพร ก็เป็นตัวอย่างนะ
ก็เรื่องของมนุษย์ก็อย่างนี้แหละ แต่ว่าทำได้อย่างนี้ก็เป็นวิธีนำเอาธรรมะไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน บางคนเขาอาจจะไปอยู่วัด ไปมองเห็นในรูปแบบว่า ไปนั่งปฏิบัติอะไรมากมาย แต่พอเจอชีวิตจริงนี่ปฏิบัติไม่ถูก วางใจไม่ถูก ยังโกรธ ยังรุนแรงยังอะไร พลุ่งพล่านอะไรอยู่ แสดงว่ายังเอามาใช้ไม่ได้
(หมอ) ผมเคยเจอบ้างคน ท่องทฤษฎีได้เป็นคำ เป็นคำพระได้หมดเลยนะครับ รู้หมด รู้ทฤษฎีหมด แต่ในชีวิตประจำวันยังเห็นความโลภ ยังเห็นการ อะไรเยอะแยะ เห็นตัวอย่างอย่างนี้เยอะ
(ท่าน ป.อ.) นี่แหละไม่ได้เอามาฝึกจริงๆ คือธรรมะนี่ ที่แท้ที่เราปฏิบัตินี่ มันก็หมายถึงมันเป็นจริงขึ้นในชีวิตของเรา ชีวิตจิตใจของเรามีการพัฒนาก็คือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าเรานำเอาธรรมะมา จะโดยรู้ก็ตาม จะโดยบอกว่าปฏิบัติก็ตาม แล้วมันไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นมานี่มันจะมีผลอะไรล่ะ ฉะนั้นที่บอกพัฒนาก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ที่ไหนล่ะ ก็เกิดขึ้นในชีวิตจิตใจของเรา ดูที่ไหน ดูที่พฤติกรรม กายวาจา สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและทางวัตถุ ดูที่ไหน ดูที่จิตใจ ดูที่คุณธรรมความดีงามบ้าง ดูที่ความเข้มแข็งสมรรถภาพจิตใจบ้าง ดูที่ความสุขความทุกข์บ้าง ดูเขาร่าเริงเบิกบานผ่องใสจิตใจดีมีทุกข์น้อย มีความเครียดน้อยลง สามารถแก้ปัญหาจิตใจเขาได้ดีไหม แล้วก็ดูที่ปัญญาความรู้เข้าใจโลกและชีวิต การมองสิ่งทั้งหลายที่มองเห็นตามเป็นจริงมากขึ้น ไม่มองตามความเคลือบแฝงของกิเลส ความลำเอียงอคติอะไรต่างๆเหล่านี้ อันนี้ก็ดูของจริงเลย แล้วจิตใจที่ทำให้หลุดพ้นอย่างที่ท่านบอกว่า ผู้ที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงนี่ เราก็อยู่ในโลกตามปกตินี่เหมือนคนอื่นใช่ไหม และในโลกมันก็มี ท่านก็เรียกว่าโลกธรรม สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก มันก็หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป แม้แต่ชีวิตร่างกายเราก็เปลี่ยนแปลงไปตามกฎธรรมชาติ แต่ทีนี้ พอเรารู้เข้าใจความจริงแล้ว ไอ้สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป กฎธรรมชาติเป็นไป มันไม่ส่งผลกระทบจิต เพราะปัญญามันรู้ทันหมด ท่านก็บอกว่าผู้ใดถูกโลกธรรมทั้งหลายซึ่งหมายถึงทั้งดีร้าย ถูกใจไม่ถูกใจนี่เข้ามากระทบกระทั่งแล้วจิตไม่หวั่นไหว ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง เป็นจิตผ่องใส ร่าเริงเบิกบาน เป็นจิตเกษมไม่มีความเศร้าโศก เบิกบานได้ตลอดเวลา อย่างนี้ท่านเรียกว่าเป็นมงคลอันสูงสุด
(ท่าน ป.อ.) อ้าว ได้ยินบอกว่าคุณหมอจะมาถามเรื่องชีวิตหลักเกษียณ
(หมอ) ก็เขาจะทำที่ พวกชมรมคณาจารย์เขาจะทำ เขาเรียกว่าทำมุติตา ไม่ทราบว่าใช้คำถูกหรือป่าว
(ท่าน ป.อ.) ก็แล้วแต่จะมอง
(หมอ) คำว่ามุทิตาจิตนี่แปลว่า เคารพ แสดงความยินดี
(ท่าน ป.อ.) ยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ดี
(หมอ) เวลาลูกศิษย์ลูกหาเขาจะทำให้อาจารย์ซึ่งจะเกษียณนี่ เขาจะติดประกาศว่า ขอแสดงมุทิตาจิตต่ออาจารย์สองสามคนอะไรอย่างนี้ เป็นคำที่ถูกต้องหรือเปล่าไม่ทราบ
(ท่าน ป.อ.) ก็อยู่ที่วิธีมอง เจริญพร
(หมอ) จะใช้คำอะไรที่ถูกต้อง
(ท่าน ป.อ.) ก็อันนี้ก็ไม่ผิด อย่างน้อยก็เป็นการที่ว่า ช่วยนำจิตใจให้มองไปในทางที่ดี คือ ถ้าเรามองว่าเกษียณ โอ้โห หมดไปแล้วนะ เกษียณแปลว่าสิ้นนะ หมดแล้วอายุราชการ หมดแล้วตำแหน่งฐานะ ถ้ามองอย่างนี้เราก็เสียใช่ไหม แล้วจะไปมุทิตาได้อย่างไร มุทิตา แสดงความยินดี อันนี้มันสูญเสียนี่ แต่ถ้ามองอีกทีหนึ่ง อ้าว แหม แย่ ทำงานหนักมานานไม่มีอิสรภาพ อยู่ในขอบเขตจำกัด วันนี้เป็นอิสระเสียที พอมองอย่างนี้ปั๊บ มุทิตาได้เลย เพราะว่า ตอนนี่ดีแล้วนี่ คือการเกษียณอายุนี่ ถ้ามองในแง่ดีก็มีแง่ดีเยอะ แล้วก็มีสิทธิ์จะมองในแง่ดีได้มากด้วย เพราะว่าผู้เกษียณนี่ได้ถือว่า ถ้าเราถือว่า แล้วมันก็เป็นความจริงด้วยไม่ต้องไปถือว่า คือว่าการรับราชการก็ได้ทำประโยชน์แก่ประชาชนแก่บ้านเมืองมาเยอะแล้ว ทีนี้ในแง่ที่ทำประโยชน์ในชีวิตนั้นก็ทำไปแล้วพอสมควร การเกษียณก็เป็นการบอกให้เหมาะแล้วว่าทำมาพอสมควรแล้วนะ ทีนี้ในเวลาที่เราทำงานแบบนั้นน่ะ ในแง่หนึ่งเราถูกจำกัด เรามีภาระรับผิดชอบ บางอย่างเราทำไม่ได้ตามที่ใจปรารถนา ทีนี้พอเกษียณปั๊บ ชีวิตเป็นของตัวเอง เวลาเป็นของตัวเอง จะทำอะไรก็ทำได้ตามใจปรารถนา นี่ตรงนี้จึงเป็นอิสระ ทีนี้ก็อยู่ที่ว่าเมื่อเกษียณแล้วจะเลือกทำอะไร ซึ่งจะมาเข้าเรื่องอิทธิบาท ที่ว่าทำให้อายุยืน คือผู้เกษียณถ้าไปมองในแง่ลบ เป็นสูญเสียนี่ก็จะใจคอเหงาหงอยเศร้าสร้อย ว้าเหว่อะไรต่ออะไร ทีนี้พอมองในแง่ดีบอกฉันเป็นอิสระ โอ๋ คราวนี้มีเวลามีอะไรเป็นของตัวเอง แต่ท่านบอกว่า อย่าอยู่เฉยๆ เลื่อนลอย ให้มีอะไรทำ อิทธิบาทก็เริ่มต้นด้วยข้อแรก ให้มีอะไรทำก่อนนะ ก็คิดแล้วว่าเรามีอะไรที่อยากจะทำ แต่ก่อนนี้เราอาจจะอยากทำ แต่เราไม่มีเวลาจะทำ แล้วเราทำตามที่ต้องการไม่ได้ สิ่งที่ต้องการก็ไม่อาจจะทำ ต้องไปทำสิ่งที่อาจจะไม่ต้องการเท่าไหร่ นี้ถึงเวลานี้เราก็มีอิสระแล้วเราก็อะไรที่เราเห็นว่ามีคุณค่า จะเป็นคุณค่าแก่ชีวิต คุณค่าแก่สังคม หรือสิ่งที่ดีแหละ เป็นสิ่งที่ดีงาม มีคุณค่า ประเสริฐ เราอยากจะทำนี่ เอาเวลาตอนนี้ ตั้งใจเลย ว่าจะทำสิ่งนี้ ใจปรารถนาอยากจะทำให้สำเร็จ ยิ่งมีปัญญามองเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นว่าดีงาม เป็นประโยชน์เท่าไร แล้วใจใฝ่จะทำเท่าไรยิ่งดี มันจะเกิดอันที่สอง อันที่หนึ่งเรียกว่าฉันทะ คือความใฝ่ปรารถนา ความรักจะทำ อันที่สองก็คือ กำลังที่จะทำจะตามมาเลย พอมีความใฝ่ปรารถนามากนี่ กำลังจะเกิดมาก ก็เกิดวิริยะความเพียร โอ๊ย ต้องทำให้สำเร็จ อย่างเช่น ยกตัวอย่างไปอย่างนี้ บางคนพูดบอกว่า เรื่องนี้ถ้าไม่สำเร็จฉันตายไม่ได้ ว่าอย่างนั้น ตั้งใจไว้อย่างนั้น เกิดกำลังใจ ทำเต็มที่แล้วก็เกิดกำลังขึ้นมาแล้ว ไอ้หงอยเหงาว้าเหว่นี่หายหมดเลย ทีนี้ก็มีกำลังใจขึ้นมา พอมีกำลังใจจะทำทีนี้มันก็เกิดความอุทิศตัวล่ะ พอใจ มันก็ฝักใฝ่อยู่เอาเรื่องนี้ อุทิศตัวอุทิศเวลาให้ ใจมันจะไม่รับกระทบกับเรื่องวุ่นวาย เรื่องไม่เกี่ยวกับเป้าหมายของฉัน อาจจะกระทบบ้างตามวิสัยปุถุชน ปะเดี๋ยวก็ลืมเพราะเรามีเรื่องต้องทำ แต่คนแก่ที่ไม่อะไรจะทำ เคว้งคว้างนี่ จะเก็บเอาเรื่องกระทบในชีวิตประจำวันมาคิดทั้งนั้นเลย ลูกหลานทำอะไรผิดหูผิดตานิด มานั่งคิด ไม่มีอะไรทำแล้วก็คิด สมองเสียเลย ใจคอก็เศร้าหมอง มีแต่ความทุกข์เหงาหงอย แล้วจิตใจก็หงุดหงิด ไม่สบายใจ เดี๋ยวก็บ่น เดี๋ยวก็อะไรมา ไปกันใหญ่ จิตรับกระทบเรื่อย ปรุงแต่งมาก ทีนี้คนมีอะไรจะทำ ตั้งใจแล้วทีนี้ ไอ้เรื่องกระทบไม่มีความหมายเลย มันไม่เข้าเป้า ตัดหมด มาอยู่กับเรื่องที่ทำ หรือกระทบเดี๋ยวเดียวมันลืม เพราะมันมีเรื่องใหญ่ที่จะทำ ใจก็มีจิตตะ แล้วก็พอเราอุทิศตัวอุทิศใจกับเรื่องที่ทำนี่มันก็ใช้ปัญญา ใช้ปัญญาคิดพิจารณา จะแก้ไขจะปรับปรุง จะทำให้สำเร็จ อะไรต่างๆ วิมังสาก็มา ทีนี้เห็นว่าทางแพทย์ก็บอกว่าถ้ายังใช้ความคิด ใช้ปัญญาอยู่สมองจะไม่ค่อยฝ่อ ใช่ไหม ข้อที่สี่ก็มาหมดเลย สี่ข้อ แต่ท่านบอกระวังนะ คิดมีสองแบบ หนึ่งคิดปรุงแต่ง คือคิดด้วย emotion คิดทางอารมณ์ นึกถึงเรื่องเก่าๆ นึกถึงเรื่องคนโน้นกระทบกระทั่ง พอใจไม่พอใจ เอามาคิดปรุงแต่ง อย่างนี้ท่านห้ามเลย เป็นความคิดเชิงอารมณ์ แต่คิดเชิงปัญญานี่คิดเท่าไหร่คิดไป ท่านบอก ไม่เป็นไร คิดทางปัญญาคิดสืบสาวหาเหตุปัจจัย มันเป็นกลางๆ ไม่มีดีมีชั่ว คิดไปเถอะ ใช้ปัญญาไป เพราะฉะนั้นก็ตกลงว่า อิทธิบาทสี่นี่ถ้ามาแล้วบอกให้อายุยืน เพราะฉะนั้นคนที่เกษียณนี่ก็มองให้แง่ดีล่ะก็เป็นประโยชน์เยอะ ก็อย่างที่ว่า หนึ่งก็มองเป็นอิสรภาพ สองก็คิดจะทำสิ่งที่มีคุณ มีคุณค่าที่ใจต้องการจะทำ สามก็เอาประสบการณ์ที่มีมาเยอะแยะนี่มาถ่ายทอดหรือทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น อันนี้ก็เป็นประโยชน์มาก ประสบการณ์ของท่านผู้ที่ได้ทำงานทำการผ่านชีวิตมาเยอะแยะ คนในแต่ละยุคนี่มันสูญเสียอันนี้ไปมาก อาตมาก็ยังเสียดาย คือตอนนั้นก็ไม่ได้มีโอกาสแล้ว บางทีเราก็ยังไม่ทันคิด พระรุ่นเก่าๆ อายุแปดสิบเก้าสิบ รู้เรื่องเก่าๆ ถ้าเราไปบันทึกไปไถ่ถามเรื่องเก่าๆ ไว้ อย่างเรื่องการคณะสงฆ์ อะไรนี่นะ เราจะได้อะไรไว้เยอะเลย นี่ก็ของพระนี่เป็นตัวอย่างว่ามันหายไปกับพระรุ่นเก่า เลยไม่ได้ประสบการณ์ของท่านไว้เป็นประโยชน์
(หมอ) ของพวกกระผมที่เป็นหมอที่เป็นอาจารย์อยู่นี่ก็ไม่แตกต่างเท่าไหร่ หมดแต่ตำแหน่งที่เป็นอาจารย์อะไร แล้วก็งานประชุมอะไรน้อยลง ก็ยังเป็นหมอตามเดิม ผมก็ยังไปผ่าตัด ยังตรวจคนไข้ เรียกว่า status ไม่เปลี่ยน ไม่เหมือนกับพวกนายทหารที่เขายศอำนาจอะไรไม่ใช่ เพราะฉะนั้นก็เป็นเพียงแต่หมดงานประชุมงานอะไรที่มันเกี่ยวข้องอะไรเท่าไหร่
(ท่าน ป.อ.) เกษียณแต่ในนาม ไม่ได้เกษียณแท้ ทีนี้พวกเกษียณอย่างผู้ว่าราชการจังหวัดนี่ แหม อันนี้หงอยจริงๆ หงอยเหงาว้าเหว่ เพราะฉะนั้นก็นี่อย่างอาชีพหมอนี่ได้เปรียบเยอะเลย แต่ว่าอย่างว่าแหละอย่างน้อยก็ให้ภาระรับผิดชอบที่ต้องกังวลมันน้อยลง คือให้มีงานที่ต้องทำ แม้หนักไม่เป็นไร แต่อย่าให้หนักใจ อย่าให้ต้องกังวล ได้แค่นี้พอแล้ว (จบ)