แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ความต้องการที่จะรักธรรมชาติเกิดได้จากอะไร เกิดจากความรักธรรมชาติ เมื่อรักธรรมชาติก็ต้องการที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ยังไม่จบ ความรักธรรมชาติจะเกิดได้อย่างไร ความรักธรรมชาติจะเกิดเมื่อคนนั้นมีความสุขในการอยู่กับธรรมชาติ กลับกันได้เหมือนกันบอกว่าต้องรักธรรมชาติเป็นกระบวนการทางจิตเหมือนกัน กระบวนการเหตุปัจจัยใช่ ถ้าเขารักธรรมชาติเขาก็ต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติแล้วปฏิบัติการในการรักเกิดขึ้น แต่ความรักนั้นจะเกิดได้ยากถ้าเขาไม่มีความสุขในการอยู่กับธรรมชาติ นั้นมนุษย์จะต้องมีจิตใจที่มีความสุขในการอยู่กับธรรมชาติ แล้วเขาจะรักธรรมชาติ แล้วเขาจะต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติ แล้วเขาจะอนุรักษ์ธรรมชาติ นี่เป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยสายหนึ่งตัวแปรอื่นอาจมีได้อีก แต่นี่เป็นตัวอย่าง อันนี้ในแง่นี้ในด้านจิตใจนี้กลายเป็นว่าเท่าที่เป็นมาเนี่ยวิทยาศาสตร์นี่มีส่วนสำคัญในการขัดขวางทำลายตัวแก้ปัญหานี้ ได้แก่ แนวความคิดที่ว่าพิชิตธรรมชาตินั้นเอง แนวความคิดพิชิตธรรมชาติหาความสุขจากวัตถุที่พรั่งพร้อมด้วยการจัดการปั้นแต่งธรรมชาตินี่แหละ ได้ทำให้คนมีความรู้สึกลึก ๆ ว่ามนุษย์เราตัวเราเนี่ยจะได้ความสุขต่อเมื่อมีเทคโนโลยี เด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่ฝึกอบรมกันมาในการศึกษาอะไรปัจจุบันนี้ลึก ๆ แล้วรู้สึกว่าเราจะมีความสุขด้วยเทคโนโลยี ไม่ได้มีความรู้สึกว่าจะมีความสุขด้วยธรรมชาติ แต่จะมองไปถึงขั้นที่ว่ารู้สึกว่าธรรมชาตินั้นเป็นตัวขัดขวางเป็นศัตรูผู้ทำลายความสุข หรือเป็นผู้ขัดขวางไม่ให้ได้รับความสุข ให้วิเคราะห์ดูจิตใจของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน คนในสังคมนี้จำนวนทั่วไปนี่จะมีนิสัยความรู้สึกอันนี้แฝงอยู่จากความเป็นมาในพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ยุคที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่บอกว่าอุตสาหกรรมแนวความคิดพิชิตธรรมชาติได้เป็นมานาน แนวความคิดที่จะหาความสุขจากความพรั่งพร้อมทางวัตถุซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นตัวแทนและเป็นตัวสื่อนำนี่มันครอบงำจิตใจมนุษย์อย่างลึกซึ้งเหลือเกิน จนกระทั่งมนุษย์มีความรู้สึกว่าธรรมชาติเป็นศัตรูผู้ขัดขวางความสุขของมนุษย์ ขอให้ลองพิสูจน์ดูว่าเป็นอย่างงี้จริงหรือเปล่า ถ้าตราบใดที่ความรู้สึกนี้อยู่นี่มนุษย์จะรักธรรมชาติได้ยาก เพราะเขาจะไม่มีความสุขในการอยู่กับธรรมชาติ ฉะนั้นจึงได้บอกว่าต้องเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ แนวความคิดพิชิตธรรมชาติจบไปไม่รอด หาความสุขพรั่งพร้อมเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราจะอยู่ในโลกของธรรมชาติต่อไป ความสมดุลพอดีจะต้องมีแล้วก็จะต้องสร้างขึ้นมาคือความรู้สึกมีความสุขในการอยู่กับธรรมชาติอย่างน้อยให้รู้สึกว่าธรรมชาตินี้ให้ความสุขแก่เราได้ธรรมชาติมีความงามอะไรต่าง ๆ เสร็จแล้วเทคโนโลยีก็มาเป็นตัวเสริม ซึ่งไม่จำเป็นต้องถึงกับทำลายเทคโนโลยีก็ อ้าวนี้เป็นด้าน ต่อไปด้านระดับ ด้านที่ 3 ด้านปัญญาความรู้ความเข้าใจ ปัญญาความรู้ความเข้าใจกระบวนการของเหตุปัจจัยในธรรมชาตินี่แหละมีประโยชน์มาก เพราะการที่เรารู้คุณโทษของการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือการทำลายธรรมชาติก็ด้วยปัญญา ความรู้ในเรื่องนี้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ช่วยได้มาก จะป้อนความรู้ ความรู้ข้อมูลอะไรต่าง ๆ ให้เห็นความเชื่อมโยงว่า เมื่อธรรมชาติเสียไปแล้วมันเกิดโทษแก่ชีวิตมนุษย์อย่างไรอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ กระบวนการของเหตุปัจจับเหล่านี้เกิดขึ้นจากปัญญา ปัญญานี้จะเป็นตัวพร้อมที่จะปรับทัศนคติของคน เพราะว่าเมื่อเรารู้แล้วนี่ว่าเราทำสิ่งนี้ไปทำให้ธรรมชาติเสีย แล้วผลร้ายมันกลับมาย้อนถึงตัวมนุษย์เนี่ย มันก็ทำให้เรามีความพร้อมระดับหนึ่งปัญญาเรารู้แล้วจะเปลี่ยนพฤติกรรม แต่เรายังเปลี่ยนไม่ได้เพราะระดับจิตมันไม่เอาลงลึกในจิตไม่มี นั้นด้านจิตมันจะต้องไปด้วยกันคือการที่เปลี่ยนไอ้ความรู้สึกลึกซึ้งเหตุปัจจัยในเชิงจิตให้คนมีรู้สึกมีความสุขกับธรรมชาติไปด้วยกันด้วย เพราะว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในทางพฤติกรรมทางจริยธรรมของมนุษย์นี่ความรู้วิทยาศาสตร์เชิงข้อมูลและเหตุผลอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ทั้ง ๆ ที่รู้ก็ไม่เปลี่ยนเพราะความเคยชินบ้าง เพราะผลประโยชน์ที่บำเรอตนด้านหนึ่งบ้าง เพราะค่านิยมของสังคมเป็นต้นบ้าง เพราะฉะนั้นจะต้องแก้ทุกอย่างทุกด้านโดยประสานเข้ามา นี้วิธีการของพุทธศาสนานั้นเป็นวิธีสานประสานในการแก้ปัญหาทุกอย่าง ซึ่งเราเรียกว่าเป็นการแก้ปัญหาจริยธรรม ก็วิธีสานประสานนี้ก็คืออะไร พูดในศัพท์พุทธศาสนาขั้น ด้านที่ 1 คือศีลนั่นเอง การควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในระดับวินัย คือกฎหมายข้อบังคับบัญญัติธรรมของมนุษย์สังคม ระดับที่ 2 ด้วยการควบคุมพฤติกรรมด้วยเจตนาจากภายใน ก็มีระดับวินัยกับศีลอยู่ในระดับของศีล และระดับของจิตใจที่กระบวนการของเหตุปัจจัยในทางจิต ก็เป็นด้านที่เราเรียกว่าสมาธิ หรืออธิจิตตสิกขา แล้วก็ด้านที่ 3 ก็ปัญญาความรู้ความเข้าใจซึ่งมันจะมีหลายขั้นหลายตอน ปัญญานี้จะเป็นตัวกำกับขั้นที่ 1 กับขั้นที่ 2 ตลอด แต่ตัวมันเองอย่างเดียวเริ่มไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันต้องมีไปพร้อม ๆ กัน เอาละไอ้ 3 อย่างนี้จะมาประสานกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่มันอิงอาศัยกันยังอย่างขั้นที่ 1 กับขั้นที่ 2 หรือด้านที่ 1 หรือด้านที่ 2 ระดับศีลควบคุมพฤติกรรมนี่ มันก็ต้องมาโยงกับขั้นที่ 2 คือด้านจิตด้วย เช่นว่าถ้าเรามีศรัทธาปั้บ ศรัทธาเป็นด้านจิต มันก็จะทำให้เราพร้อมที่จะควบคุมพฤติกรรมของเรา ฉะนั้นการฝึกในด้านจิตใจก็ต้องไปพร้อมการฝึกในด้านระดับพฤติกรรมภายนอกด้วย อันนี้ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง ก็ยกตัวอย่างเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติมา แล้วก็อันต่อไปก็เรื่องรอไม่ได้ก็ยกตัวอย่างอีกสักอันหนึ่ง เรื่องรอไม่ได้ในทางเรื่องของวิทยาศาสตร์ อันนี้ก็จะยกตัวอย่างในเรื่องเจตคติหรือท่าที เจตคติแบบพุทธ กับเจตคติวิทยาศาสตร์ซึ่งคล้ายกันมาก เรื่องวิทยาศาสตร์นี้เรามีเนื้อหาความรู้อย่างหนึ่ง แล้วเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง เราไม่พูดถึงวิธีการวิทยาศาสตร์ในหลายกรณี เจตคติวิทยาศาสตร์สำคัญยิ่งกว่าเนื้อหาวิทยาศาสตร์อีก เพราะอะไร เพราะว่าเนื้อหาความรู้ตัวความรู้ องค์ความรู้ที่วิทยาศาสตร์ได้มาเนี่ยครั้งหนึ่งวัตถุต่อไปอาจค้นพบผิดอีก มันก็จะเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อย ๆ แต่ว่าท่าทีเจตคติเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิตมนุษย์โดยตรง ตัวความรู้นั้นยังใช้ได้หรือไม่ได้ไม่แน่ แต่เจตคตินี้เป็นเรื่องชีวิตมนุษย์เลย เป็นตัวที่เป็นประโยชน์แก่มนุษย์แท้ ๆ ถ้าเช่นนั้นต้องเน้นเจตคติวิทยาศาสตร์ ทีนี้เจตคติของวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนานี่มันมีข้อต่างกันหน่อยหนึ่ง คือเจตคติของวิทยาศาสตร์ อ้อ เดี๋ยวให้ความหมายเสียก่อน เจตคติของพุทธก็ตามวิทยาศาสตร์ก็ตาม มันมีความหมายอย่างไร เจตคตินี้ก็คือการมองสิ่งทั้งหลายตามหลักการแห่งเหตุและผลหรือการท่าทีแห่งการมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย เวลาเห็นอะไรปั้บนี่ พวกมีเจตคติวิทยาศาสตร์ เจตคติพุทธนี่มองตามเหตุปัจจัย พอมองแบบนี้ปั้บ มันจะมองในแง่ของการค้นหาความจริง อย่างที่ยกตัวอย่างบ่อย ๆ เช่นว่าเห็นเพื่อนเดินมา เห็นเพื่อนเดินมาหน้าบึ้ง ยกตัวอย่างเก่าแล้ว เห็นเพื่อเดินมาหน้าบึ้ง ถ้าหากว่าเป็นมนุษย์ธรรมดาปุถุชนไม่มีการศึกษาท่านบอกว่าอย่างงั้นก็จะรู้สึกว่า ไอ้การหน้าบึ้งของเพื่อนนี่กระทบตัวเราแล้ว เขาโกรธเรา แล้วก็จะมีความคิดปรุงแต่งคือเกิดความไม่สบายใจเป็นทุกขเวทนาแล้วเกิดความไม่ชอบใจการรับรู้ประสบการณ์แบบไม่ชอบใจเกิดขึ้น ปฏิกิริยาไม่ชอบใจเกิดขึ้นก็ปรุงแต่งว่า เธอไม่ชอบใจได้ เธอโกรธได้ ฉันก็โกรธเป็นเหมือนกันเพราะฉะนั้นก็บึ้งตอบ แล้วก็เลยขัดใจกันไปเลย ทีนี้พอมีเจตคติวิทยาศาสตร์หรือเจตคติพุทธ พอมองเห็นเพื่อนหน้าบึ้งก็จะไม่มองด้วยความรู้สึกกระทบตัวชอบใจไม่ชอบใจ ก็จะมองด้วยการเรียนรู้เป็นท่าทีแบบมองตามเหตุปัจจัยว่า เอ้ เขาหน้าบึ้ง เพื่อนเราหน้าบึ้งวันนี้เพราะอะไรมีอะไรไม่สบายใจหรือ มาจากบ้านถูกพ่อแม่ดุหรือไงหรือไม่มีเงินใช้หรืออะไร อ้าวแล้วคิดสืบสาวเหตุปัจจัยนี้คือ เจตคติ ที่เรียกว่าเจตคติพุทธ ซึ่งเป็นด้านนามธรรมตรงกับเจตคติวิทยาศาสตร์สืบสาวหาเหตุปัจจัย พอมีประสบการณ์อะไรปั้บนี่คือท่าทีที่เรียนรู้อันเดียวกับการมองตามเหตุปัจจัย เพราะพอมองอย่างงี้ปั้บนี่ไม่เกิดปัญหา แต่นำไปสู่การแก้ปัญหาและนำไปสู่ปัญญา มันก็จะสืบสาวหาเหตุว่า เพื่อนของเรานี้เกิดความไม่สบายใจหน้าบึ้งเพราะอะไรแล้วก็อาจจะเข้าไปถามเรื่องอะไรก็แล้วแต่ กระบวนการของการค้นหาสืบสาวหาเหตุผลก็เกิดขึ้นมา อันนี้เจตคตินี้เรียกเจตคติพุทธหรือเจตคติวิทยาศาสตร์คือการ ท่าทีแห่งการมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย ทีนีของวิทยาศาสตร์กับของพุทธศาสนาต่างกันอย่างไร ของวิทยาศาสตร์นั้นเป็นท่าทีหรือเจตคติที่ใช้แค่ในการหาความรู้ คือแกไปหาความรู้บริสุทธิ์อย่างเดียวคือต้องการแค่ว่าใช้ไอ้ท่าทีที่ในการหาองค์ความรู้ตัวความรู้ขึ้นมา แต่ของพุทธศาสนาถือว่าเจตคตินี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่ดีเลย ตัวมันเองเจตคตินี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ดีงาม เป็นตัวการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นวิธีอยู่ร่วมในสังคมอะไรต่าง ๆ ดีงามไปหมดเลย ก็เป็นจริยธรรมนั่นเอง อันนี้เอาละ เป็นอันว่าพุทธนี่ ไม่ได้มองแต่ในแง่ของการเอาเจตคตินั้นมาใช้ในการหาความรู้เท่านั้นแต่ไปบวกเอาการดำเนินชีวิตอยู่ด้วยดีในสภาพความเป็นจริงขณะนั้น ๆ ด้วย ทีนี้มาถึงตอนนี้ที่บวกเอาการดำเนินชีวิตที่ดีในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันนี้ ไอ้ตอนนี้แหละมันจะมาถึงจุดที่รอไม่ได้ เพราะเจตคติวิทยาศาสตร์ที่จะหาความจริงนี่มันรอได้เรื่อย เพราะไม่เกี่ยวกับชีวิตของเรา หาความจริงก็หาไป แต่ของพุทธศาสนานี้มีความหมายต่อการเป็นอยู่ในชีวิตจริง นั้นมันจะมีเรื่องของการรอไม่ได้อยู่ ที่นี้ก็เป็นอันสรุปตอนนี้อีกที พูดสรุปบ่อย ๆ วิทยาศาสตค์มีท่าทีต่อการความจริงในการหาความจริงชั้นเดียว คือขั้นหาความรู้องค์ความรู้ไม่บอกท่าทีในการดำเนินชีวิต แต่พุทธศาสนาจะบอก 2 ชั้นคือจะบอกด้วยว่า จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไรในการดำเนินชีวิตสภาพปัจจุบันสังคมนั้น อาตมาจะยกตัวอย่างอันหนึ่ง เช่นมนุษย์จะมีปัญหากันอยู่เรื่อยแล้วบางทีเราทั้ง ๆ เป็นชาวพุทธก็ไม่ใช้เจตคติพุทธให้เป็นประโยชน์ ขอยกตัวอย่างเช่น เรื่องเทวดา เทวดานี่ก็เป็นเรื่องที่ว่า มองในแง่ความจริงก็ได้ มองในแง่ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมมนุษย์การดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ได้ ถ้ามองในแง่วิทยาศาสตร์ก็มองแต่การว่าจะพิสูจน์หาความจริง เทวดามีจริงไม่จริง อันนี้เรื่องเทวดานี้ก็เป็นอันว่า ก็เรามองว่ามีหรือไม่มี ก็จะพิสูจน์อย่างไร แล้วมันจะมีไปสู่ขั้นพิสูจน์ได้หรือพิสูจน์ไม่ได้ ตอนนี้ก็ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ หรือจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ก็แล้วแต่ ทีนี้ถ้าหากว่ามันตันแค่นี้แล้วมนุษย์ไม่มีทางไป แล้วคนก็จะอยู่ด้วยความเชื่อเพราะว่าพิสูจน์ไม่ได้ ก็อยู่ด้วยความเชื่อพวกหนึ่งก็ ฝ่ายเชื่อ ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่ามี ฝ่ายหนึ่งก็เชื่อว่าไม่มี ก็เป็นความเชื่อด้วยกันแหละ ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่ามี อีกฝ่ายเชื่อว่าไม่มี อีกฝ่ายหนึ่งที่ว่าไม่มีนั้นไม่ใช่ว่าพ้นความเชื่อนั้นก็เป็นความเชื่อนั่นแหละ ไม่ใช่ไม่เชื่อ ที่จริงเชื่อว่าไม่มี ทีนี้ เอาละ คนทั้งสองฝ่ายนี้ก็อยู่ในร่วมสังคมกันก็เกิดภาวะเครียดทั้งในทางจิตใจและในสังคม ถ้าเป็นตนเองก็มีความเครียดว่าจะเอายังไงดี ไม่มีข้อแนะนำทางออกในการวางจิตใจ นี้มาในแง่พุทธศาสนา พุทธศาสนาก็จะบอกวิธีปฏิบัติ เราก็จะแยกเป็นขั้น ๆ ไป ขึ้นที่หนึ่ง คือขั้นตัวความจริงเพื่อจะพิสูจน์ อ้าวใครจะพิสูจน์ความจริง หรือตัวฉันจะพิสูจน์ความจริงด้วยก็พิสูจน์ไป พิสุจน์หาความรู้จะรับหรือปฏิเสธอะไรก็ไม่สำคัญก็หาความจริงก็หาความรู้ไประดับความจริง ทีนี้ในระดับการดำเนินชีวิตอันนี้จะทำยังไงเราจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ในพุทธศาสนามันจะมีในลักษณะที่ว่า เทวดาจะมีหรือไม่มีก็ตามก็ไม่เห็นจะกระทบอะไร ในการดำเนินชีวิตของข้าพเจ้า เพราะเรามีหลักการที่ชัดเจน คือคนพวกหนึ่งจะมีที่สุด 2 อย่าง คือถ้าเทวดามี หรือเชื่อว่ามีก็ต้องไปบวงสรวงอ้อนวอน ถ้าเทวดาไม่มีก็แล้วก็เลิก หรือไม่งั้นก็ต้องมาเถียงกันอยู่อย่างนั้นแหละ แต่นี้ในทางพุทธศาสนานี้เราแยกได้ ท่าทีต่อการหาความรู้ก็เป็น พวกที่หาความรู้ก็หาไป แต่ในการดำเนินชีวิต ชีวิตเราไม่ได้ขึ้นต่อเทวดา ก็เทวดามี ต้องการเชื่อว่ามี เทวดานั้นก็เป็นเพื่อนร่วมโลกของเราเป็นเพื่อนร่วมเกิดร่วมแก่เจ็บตาย แล้วก็มีหลักการอยู่แล้ว เราอยู่กับสัตวโลกทั้งหลายด้วยเมตตา ก็มีเมตตาไมตรีต่อกัน มีความปรารถนาดี เราก็เมื่อเทวดามีก็มีเมตตาต่อเทวดาด้วย นี้หลักพุทธศาสนาต่อไปก็บอกว่า ทุกคนจะต้องพัฒนาตนเองพึ่งตนเอง จุดหมายคืออิสรภาพของมนุษย์ เพราะฉะนั้นหลักการพึ่งตนเองจะทำด้วยความเพียรพยายามมันก็ทำให้เราถึงหน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือพัฒนาตนเอง แล้วหน้าที่ของเทวดาก็พัฒนาตนเองเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราก็ต่างคนต่างทำ เราก็มีหน้าที่พัฒนาตนเองพึ่งตนเองกระทำการให้ประสบความสำเร็จอยู่กับเทวดาได้ มีเมตตาต่อกันแต่พร้อมกันนั้นเทวดาจะมี ก็ไม่มาเกี่ยวอะไรกับเราในแง่หนึ่ง ในแง่ว่า เหมือนกับช้างกับไก่ป่า ก็อยู่ในโลกก็อยู่กับเราได้ดีไม่มีปัญหาอะไร แต่ว่าอย่าลืมว่าท่าทีพุทธศาสนานั้นบอกให้มีเมตตา มีเมตตาต่อกัน เพราะฉะนั้นมันก็ได้ ถ้าในแง่ว่าจะรู้หรือไม่รู้แต่เรามีท่าที่ปฏิบัติพุทธศาสนาชาวพุทธก็เลยไม่กังวลไอ้เรื่องนี้ ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่ถ้าไม่รู้ท่าทีนี้ก็จะไปเกิดปัญหาว่า เอ้อจะมีจริงไม่มีจริงจะทำยังไงบวงสรวงอ้อนวอนซึ่งมันไม่ใช่หน้าที่ของชาวพุทธ หน้าที่ของชาวพุทธคือการกระทำด้วยความเพียรความพยายามการพัฒนาตนเอง ซึ่งถ้ามนุษย์พัฒนาตนเองก็สามารถประเสริฐจนกระทั่งเทวดาไหว้ได้อย่างที่ว่ามาแล้ว อันนี้ก็เป็นตัวอย่างเรื่องของท่าทีในทางพุทธศาสนา
ซึ่งสรุปแล้วมันก็จะเป็นท่าทีตามพุทธพจน์ที่ว่า คนถูกลูกศรอาบยาพิษ สิ่งที่จะต้องปฏิบัติก็คือให้ผ่าตัดเอาลูกศรออกก่อน ก่อนที่คิดร้ายจะซึมทราบไปแล้วเราจะตาย แต่ไอ้ส่วนของการจะหาความรู้ไอ้เรื่องนั้นพอใจจะทำก็ทำไป แต่ต้องถอนลูกศรออกก่อน อาตมามีเรื่องเล่าอันหนึ่ง อันนี้มันเกิดไปคล้ายกับความคิดของ Eddington เข้า Sir Arthur Eddington นี่โพสต์มาเมื่อกี้กลายเป็นมีความคิดทำนองนี้เหมือนกัน โดยที่คงไม่ได้เจตนาไม่ได้มาเห็นทางพุทธศาสนา ก็แกก็เขียนละเป็นข้อสรุปอุปมาขึ้นมา บอกว่าแกยกเป็นเรื่องทำนองว่า เอ้าแกมีข้อสรุปว่า จะให้คนหัววิทยาศาสตร์ เดินผ่านห้องประตูสักห้องยากกว่าเข็นอูฐเข้ารูเข็ม ว่าอย่างงั้น ในคริสต์ศาสนาเขาบอกแล้วก่อนว่า จะให้คนมั่งมีไปสวรรค์ยากกว่าเข็นอูฐเข้ารูเข็ม แต่ Sir Arthur Eddington นี้พูดใหม่บอกว่า จะให้คนหัววิทยาศาสตร์เข้าประตูห้องสักครั้งนี่ยากกว่าเข็นอูฐเข้ารูเข็ม ทำไม Sir Arthur Eddington นักฟิสิกส์พูดอย่างนี้ ในที่นี้ต้องบอกเป็นคนหัววิทยาศาสตร์นะไม่ได้บอกเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยศาสตร์คงไม่ทำ คือนักวิทยาศาสตร์ก็ ในที่นี้ใช้คำว่า ฟายเอสตีติกแมน อันนี้ที่ว่าแกเข้ายากกว่าเข็นเข้ารูเข็ม เพราะแกจะต้องไปยืนหน้าประตูนั้นและแกก็ดูว่า เอ้ ประตูนี้เราควรจะเดินเข้าไปหรือเปล่า แกจะต้องคิดพิสูจน์ด้วยกฏฟิสิกส์ให้มันจบเสียก่อน ไอ้เราเดินเข้าไปนี้บรรยากาศแรงประทะต่อตัวเราตารางนิ้วละเท่าไหร่ กราวิตี้มันมีอิทธิพลต่อเราเท่าไหร่ ความเร็วของโลกในการหมุนไปนี้เท่าไหร่สัมผัสกับเราอย่างไงบ้าง บอกว่าคิดไม่จบตกลงนักวิทยาศาสตร์ คนหัววิทยาศาสตร์นั้นเข้าประตูไม่ได้ คิดคำนวณอะไรต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่จบ นั้นเลยบอกว่าเข็นอูฐเข้ารูเข็มง่ายกว่า อันนี้เป็นคำของนักวิทยาศาสตร์เอง นั้นแกก็สรุปว่าเพราะฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ควรทำตัวเป็นคนธรรมดานี่แหละ จะเป็นประตูโบสถ ประตูฟาร์ม ประตูอะไรก็เข้าไปก่อนว่างั้น แล้วค่อยพิสูจน์ก็ว่ากันไป อันนี้ก็เกิดมาเหมือนกันพระพุทธศาสนา อาตมาก็เลยยกมาพูดด้วย นี้ไป ๆ แล้วนี้วิทยาศาสตร์ถ้าไม่ระวังให้ดี มันคล้าย ๆ อภิปรัชญา คือมันเป็นความจริงชนิดที่ว่า ไม่สามารถจะมาใช้กับชีวิตที่เป็นจริงคือมันต้องรอการพิสูจน์ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้อะไรทำนองนี้ หรือแม้แต่พิสูจน์ได้ก็ไม่ใช่วิสัยที่จะพิสูจน์ในขณะนั้น ๆ ก็เลยไปคล้ายอภิปรัชญาในแง่หนึ่งเข้า อ้าวละอันนี้ก็ขอผ่านไป
ตอนนี้สำหรับประเทศไทยของเรานี้ยังมีปัญหาที่ถ่วงการพัฒนาวิทยาศาสตร์หลายอย่าง ปัจจุบันนี้เราค่อนข้างจะมีความพรั่งพร้อมแต่ด้านเทคโนโลยีมาก แต่วิทยาศาสตร์เองไม่ค่อยเจริญ จนถึงกับว่าคนจำนวนมากหรือประชาชนเนี่ยเข้าใจเอาเทคโนโลยีเป็นวิทยาศาสตร์ เดี๋ยวนี้ปัญหาของเมืองไทย อาตมาว่าสำคัญมากเหมือนกัน คือคนไม่รู้จักวิทยาศาสตร์ เข้าใจเทคโนโลยีเป็นวิทยาศาสตร์ เลยเมืองไทยชักจะมีวัฒนธรรมเทคโนโลยีไม่มีวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ ถ้าเราต้องการจะเจริญก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์จะต้องพยายามพัฒนาวัฒนธรรมเทคโนโลยี วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ขึ้นมาให้ได้ ที่ว่ามีวัฒนธรรมเทคโนโลยีคือมีวิถีชีวิตที่เน้นเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านการบริโภค หาความสะดวกสบายให้ชีวิตขึ้นต่อเทคโนโลยี โดยที่ด้านจิตปัญญาที่เป็นความรู้ตัวความรู้ไม่พัฒนา บางทีใช้เทคโนโลยีที่แสนจะพัฒนาก้าวหน้าแต่จิตใจยังเชื่อสิ่งเหลวไหลงมงาย มันตรงกันข้ามมันสวนทาง เพราะฉะนั้นมันมีปัญหามากอันนี้จะต้องให้คนมีวิถีชีวิตแห่งการแสวงหาความรู้ เพราะชอบสืบค้นหาความรู้มองคิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล อันนี้อาจจะเป็นอันหนึ่งที่ทำให้ในเมืองไทยนี่เลือกเรียนวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หายาก โดยมากจะไปเรียนวิทยาศาสตร์ประยุกต์เทคโนโลยีเสียมากกว่าเพราะว่าทั้งความเข้าใจทั้งความพอใจวัฒนธรรมเทคโนโลยีมันมาอิทธพลอยู่เบื้องหลังมีค่านิยมเทคโนโลยีมาก แต่ไม่มีค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ ทีนี้ต่อไปนี้จะต้องแก้การมองความเจริญแบบนักเสพผลไม่มองความเจริญแบบนักสืบสาวสร้างเหตุ อันนี้ก็เป็นกระบวนการวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนาไปพร้อมกัน ไอ้ตัวนี้เป็นตัวหนุนวัฒนธรรมเทคโนโลยี และก็วัฒนธรรมบริโภคซึ่งนำไปสู่ความฟุ่มเฟือย เวลาเรามองประเทศอเมริกาว่าเจริญ ให้พิสูจน์คนไทยว่ามองยังไง จะมองด้วยท่าทีแบบนักเสพผลหรือท่าทีแบบสร้างเหตุ ถ้าหากว่าเป็นผู้มองความเจริญในความหมายแบบนักเสพผล ก็จะบอกว่าถ้าเราเจริญอย่างอเมริกาคือเรามีกินมีใช้อย่างคนอเมริกัน อันนี้ถ้ามีกินมีใช้อย่างคนอเมริกันก็คือเจริญอย่างอเมริกา ทีนี้ถ้ามองความเจริญแบบนักสืบสาวสร้างเหตุจะตอบอีกแบบหนึ่ง ถ้าเราเจริญอย่างอเมริกาคือเราทำได้อย่างอเมริกา ขณะนี้คนไทยนี้ตอบแบบไหนในใจ อย่าเพิ่งไปอธิบายถ้าเขาตอบแบบว่ามีกินมีใช้อย่างอเมริกานั่นคือมองความเจริญแบบนักเสพผล แล้วจะนำไปสู่วัฒนธรรมบริโภค วัฒนธรรมเทคโนโลยีจะไม่สนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นจะต้องเปลี่ยนท่าทีของจิตใจแม้แต่การมองความเจริญนี้ใหม่ ให้มองความเจริญแบบนักสืบสาวสร้างเหตุ พอเห็นอะไรปั้บคิดจะทำได้อย่างเขา พอคิดจะทำได้ยังเขาสืบสาวหาเหตุปัจจัยในกระบวนทันที ต่อไปลึกลงไปกว่านั้น การเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยเฉพาะก่อนวัยเรียนตั้งแต่ก่อนวัยเรียนนี่มีความสำคัญมาก บางทีเรามาจ้องดูตอนเรียนตอนเข้าโรงเรียน ที่จริงเราอบรมฝังท่าทีวิทยาศาสตร์หรือไม่วิทยาศาสตร์มาก่อนแล้ว ท่าทีแบบนักบริโภค ทางพระเรียกท่าทีแบบตัณหา ท่าทีแบบวิทยาศาสตร์ที่ใฝ่รู้เรียกว่าท่าทีแบบฉันทะ ทีนี้ในเมืองไทยนี่เราเลี้ยงดูอบรมเด็กยังไง เคยยกตัวอย่างบ่อย ๆ เวลาพ่อแม่พาลูกไปตลาดไปหาสิ่งของเนี่ย ทั้ง ๆ ที่เด็กมีความใฝ่รู้อยู่ในตัว เด็กชอบถามโน่นถามนี่ แต่ไม่ชักจูงนำหรือเสริมในด้านความใฝ่รู้ความจริง หรือฉันทะความใฝ่ที่จะทำหรือหาเหตุปัจจัย แต่จะส่งเสริมตัณหาคือ ความอยากบริโภค พอเด็กถามเอาอันนั้นอะไร อันนี้อะไรเนี่ยแทนที่ตอบในเชิงของปัญญาความรู้ความเข้าใจที่เป็นตัวองค์ความรู้จะชักนำเป็นเชิงว่า โอ้อันนี้สวย อันนี้ดี อย่างนั้นอย่างนี้อะไรเนี่ยน่าเอาน่าอะไรน่าได้ไปสนับสนุนอย่างงั้น ทำให้ความคิดเชิงเจตคติทางวิทยาศาสตร์จบเท่านั้น สดุดหยุด เพราะฉะนั้นเด็กเติบโตมาก่อนเข้าโรงเรียนก็ไปเสียแล้วไม่มีไอ้ความใฝ่รู้ที่จะมาพัฒนา อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ว่าไปส่งเสริมด้านตัณหาหรือดึงไปหาตัณหาปิดกั้นกดทับฉันทะความใฝ่รู้เบนออกไปนอกทางเสีย อันนั้นจะต้องเตือนกันให้มากการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้ส่งเสริมฉันทะคือความใฝ่รู้และฝ่ายที่จะทำ ไม่ใช่ใฝ่ที่จะเอาหรือจะได้ อ้าวละทีนี้ต่อไปก็อ่อนในอุเบกขา การอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยนี้อ่อนในอุเบกขา อ่อนในอุเบกขายังไง คือไม่ส่งเสริมให้เด็กรู้จักรับผิดชอบพัฒนาตนเอง ใช้เมตตามากเกินไปโอ๋มาก อะไร ๆ ก็กลัวเด็กจะไม่สบายอะไรต่ออะไรก็แสดงความรักจนเกินไป จนกระทั่งเด็กทำไม่เป็น ทีนี้ในทางพุทธศาสนานั้น พ่อแม่จะต้องมีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาพร้อมบริบูรณ์ได้สมดุลกัน อุเบกขาก็คือการมีปัญญารู้จักวางท่าทีดูเฉยไปก่อนให้เขารู้จักรับผิดชอบทำด้วยตนเองพัฒนาตน อุเบกขาเป็นตัวที่เป็นฐานของการพัฒนาตนของเด็ก คือการทำให้คนมีความรับผิดชอบ แต่ว่าในเมืองไทยเรานี้นอกจากไม่ใช้อุเบกขายังแถมไม่เข้าใจ เข้าใจอุเบกขาผิดเสียอีก ไม่รู้จักว่าอุเบกขาคืออะไร แทนที่วางเฉย วางเฉยไม่เอาเรื่องก็เลยไปกันใหญ่ เลยไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่ควรจะมีจะได้ อ้าวทีนี้ต่อไปคนไทยมีปัญหาอันหนึ่งที่เราพูดกันอยู่เสมอคือขาดความใฝ่รู้ อย่างที่ว่ามาแล้วนี่ ที่ว่าความใฝ่รู้นั้นเป็นที่มาของความเจริญ การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเมื่อขาดความใฝ่รู้แล้วมันจะไปได้อย่างไร วิทยาศาสตร์มันจะเจริญได้อย่างไร นี้พอมีความใฝ่รู้ขึ้นมาความใฝ่รู้นั้นก็กลับไปสนองรับใช้ความปรารถนาแอบแฝงข้ออื่น เช่นอย่างการหาวัตถุปรนเปรอให้พรั่งพร้อมเพราะฉะนั้นเราจะต้องหันกลับมาสร้างสรรค์ความใฝ่รู้ที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น ถ้าเราพิจารณาแล้วนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สร้างความเจริญก้าวหน้าสำคัญของวงค์การวิทยาศาสตร์นั้น ล้วนทำด้วยความใฝ่รู้อย่างบริสุทธิ์ใจทั้งสิ้น ไม่มีแม้แต่ความใฝ่รู้เพื่อจะพิชิตธรรมชาติ มีแต่ความซาบซึ้งในกฏธรรมชาติ มุ่งมั่นเพียรค้นคว้าโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ใด ๆ อันนี้เป็นตัวที่มาของความเจริญทางวิทยาศาสตร์ แล้วพวกนี้เมื่อค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสนองความใฝ่รู้อย่างบริสุทธิ์ ก็จะมีความสุขกับการที่ได้ค้นพบความจริง นั้นความสุขของเขาเลยไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอกมาสนอง ความสุขคือการได้ค้นพบความจริงคืบหน้าไปในการหาความรู้นั้น จะเห็นได้ชัดในข้อเขียนของ Einstein Einstein อย่างที่ยกตัวยกมาอ้างแกเน้นมาก เรื่องในความใฝ่รู้ในความจริงของธรรมชาติ เน้นเรื่องสำนึกในทางศาสนา เน้นเรื่องความเชื่อในกฏธรรมชาติ แต่ Einstein ไม่เคยพูดเลยถึงเรื่องการที่จะพิชิตธรรมชาติ เพราะเมื่อรักธรรมชาติแล้วจะไปพิชิตทำไม ในเมื่อEinsteinรักธรรมชาติ Einstein จะไปคิดพิชิตธรรมชาติทำไม เพราะฉะนั้นอาตมาว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่เองก็มีความใฝ่รู้ที่บริสุทธิ์ แต่ในแง่ของพุทธศาสนาถือว่าจะต้องโยงสู่การแก้ปัญหาพัฒนามนุษย์ด้วย เมื่อไทยเรามีปัญหากับเรื่องการขาดความใฝ่รู้ทั่วไปหมด เพราะฉะนั้นวงศ์การวิทยาศาสตร์จะต้องช่วยในเรื่องนี้ ซึ่งกลายเป็นการก้าวเข้ามาสู่แดนแห่งคุณค่าและจริยธรรม คือการสร้างความใฝ่รู้ จะต้องมีคนใฝ่รู้อย่างบริสุทธิ์ใจแล้วเราจะมีความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน เพราะเราไม่มีคนใฝ่รู้ความจริงอย่างบริสุทธิ์ใจก็จึงเป็นเหตุให้คนสมัครเรียน Pure Science น้อย ถ้าหากว่าคนมีความใฝ่รู้อย่างบริสุทธิ์ใจมันก็ต้องเรียน Pure Science อันนี้ก็ เอาละเจริญพร แล้วตกลงเราก็ทำได้อีกอย่างก็เอาไปบรรจบกับความใฝ่ปรารถนาสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงามแก้ปัญหาพัฒนามนุษย์ ทีนี้อีกอันหนึ่ง เรื่องสั้น ๆ ทั้งนั้น เดี๋ยวก็จบแล้วเจริญพร ข้อต่อไปการสะสมลักษณะจิตใจแบบผู้ตามและผู้รับมาสนิทจนไม่รู้ตัว เมืองไทยเรานี่ เรารับความเจริญแบบตะวันตกมาประมาณศตวรรษหนึ่ง แล้วเราก็ได้เกิดความรู้สึกแบบมองหาความเจริญของตะวันตก รอว่าตะวันตกมีอะไรก้าวหน้าทางวัตถุผลิตภัณฑ์บริโภคอุตสาหกรรมแม้แต่ทางวิชาการ เราก็รอรับ รอตามจนกระทั่งเคยชินไม่รู้ตัวเลย กลายเป็นจิตสำนึกลักษณะจิตใจที่ผู้ตามและผู้รับ การที่จะแก้ไขเรื่องนี้จะต้องทำในทางตรงข้าม 1 เกิดความสำนึกตื่นตัวรู้ว่าโอ้พลาดไปแล้ว แก้ลักษณะจิตใจแบบผู้ตามและผู้รับ เปลี่ยนให้ตรงข้ามเป็นผู้นำและผู้ให้ จะต้องทำตนเป็นผู้ให้ เมื่อเป็นผู้ให้แล้วจะเป็นผู้นำเอง บางทีอยากจะไปเป็นผู้นำ จะไปนำเขายังไงไม่มีอะไรจะให้เขา ทีนี้ไอ้ตรงนี้ 2 ตัว ต้องพ่วงกันมา บางที่เราไปคิดจะตามกับนำ จะแก้ปัญหาเป็นผู้ตามและจะเป็นผู้นำ แล้วจะไปเป็นผู้นำเป็นอย่างไร มันก็ต้องมีทั้งตามรับ ไอ้ที่ตามกับรับนี่มันคู่กันมา พอจะรับก็คอยตามอยู่เรื่อย ทีนี้พอเราจะแก้เราจะเป็นผู้นำ เราก็ไปหาอะไรให้เรามีให้ก่อน เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีทั้งความคิดวิชาการทั้งอะไรต่าง ๆ ความเจริญที่จะให้แก่ผู้อื่นบ้าง ต้องสำรวจตรวจสอบภูมิปัญญาของตัวเอง ต้องสร้างตัวขึ้นมาให้มีอะไรที่จะให้แก่ผู้อื่น เมื่อมีอะไรที่จะให้แล้วเราก็จะเป็นผู้นำ อย่างน้อยก็แดนหนึ่ง ช่องทางหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็ต้องให้มีบ้าง นั้นจะต้องสร้างจิตสำนึกนี้ขึ้นมา คือ การที่จะต้องตั้งเป้าหมายให้เด่นชัดว่าจะเป็นผู้นำและผู้ให้โดยมีการที่สิ่งที่จะให้แก่ผู้อื่น ต่อไปอีกอันหนึ่งก็คือ การตามทันในเชิงความคิดได้พูดมาแล้วว่านักวิทยาศาสตร์ที่สร้างผลสำเร็จค้นพบความจริงที่สำคัญในทางวิทยาศาสตร์นั้น ในจิตใจของเขาจะเริ่มต้นด้วยการมีความหยั่งรู้เล็งเห็นเป็นความคิดล่วงหน้า การพัฒนาก้าวหน้าตลอดจนจะนำเขาจะต้องใส่ใจด้านความคิดนี้ให้มาก คือจะต้องมองเชิงความคิดด้วยว่านักวิทยาศาสตร์ตะวันตกที่ระดับผู้นำที่สุดมีความคิดอย่างไร ไม่ใช่มองแต่ผลสำเร็จทางวิชาการที่เขาออกมาเท่านั้นซึ่งจะทำให้เราเป็นผู้ตามอย่างเดียว และยากจะนำ จะเป็นผู้ตามเรื่อยไป แล้วอาจจะตามห่าง ๆ ด้วย เพราะบางทีเท็กซ์ทำตามตำราวิทยาศาสตร์นั้นไม่ใช่ผู้คนคิดพบนั้นเป็นผู้ทำ กลายเป็นผู้อื่นมาเขียน ทั้ง ๆ เราอยู่ระดับนี้เราจะต้องตาม นี้เราจะต้องทันในเชิงความคิดด้วยตัวนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบความจริงนั้น เมื่อเขาค้นพบความจริงนั้น เขาไม่ใช่คิดแค่นั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ผลสำเร็จออกมานั้น ค้นพบความจริงนั้น ความคิดของเขาที่แท้จริงนั้น มันยังแล่นเลยกว่านั้นล้ำหน้าออกไปอีก เราต้องตามดูว่าความคิดของเขาต่อจากนั้นไปจบตันที่ไหน หมายความว่าเขามีความคิดอะไรค้างอยู่ยังไม่ลงตัว แล้วเมื่อปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ตามวิธีวิทยาศาสตร์จนเป็นผลสำเร็จแล้ว แล้วเขาคิดอะไรต่อที่ค้างจะทำต่อไป มันมีความคิดล้ำหน้าเสมอ แดนความคิดนี้ล้ำไปก่อน อันนั้น อันนี้อาตามาว่าเป็นสิ่งที่เราจะต้องตามให้ทัน นี่คือการตามให้ทันเชิงความคิด เพราะฉะนั้นวงการวิทยาศาสตร์ของเราหรือวงการวิชาการอะไรก็ตามจะต้องเน้นอันนี้ให้มาก คือการตามทันในเชิงความคิด ก็อย่างน้อยรู้เต็มที่เขาคิดขณะนี้เราตอบได้ไหมเรารู้เต็มที่ ๆ เขาคิด
2 ต่อไปรู้ส่วนล้ำหน้าที่เขาคิดเลยไปที่เขายังตอบไม่ได้เอง ที่เขาคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นแต่ยังไม่มีเวลาพิสูจน์อาจจะสิ้นชีวิตไปเสียก่อนเป็นต้น แม้อย่างน้อยก็รู้ว่าเขาคิดอย่างไรต่อผลงานของเขาเอง คิดผลงานของเขาเองที่บอกมานี่เราไม่ได้ดูคิดอย่างไรด้วยซ้ำ ถ้าเราดูแล้วเราอาจจะได้แง่คิดอะไรเพิ่มเติมมาปฏิบัติ นี่แหละเป็นทางที่จะนำไปสู่การมีอะไรที่จะให้จะนำเขา เอาละต่อไปอีกอันหนึ่งคือการศึกษาในมหาวิทยาลัยในทางวิทยาศาสตร์ ที่ผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์นั้นคงจะต้องมองว่าความเป็นบัณฑิตในวิชาวิทยาศาสตร์นั้นไม่ใช่มีความหมายแต่เพียงว่า เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีหรือแม้แต่เป็นมหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตโทเอกในทางวิทยาศาสตร์คือว่า หมายความว่าจบ Requirement ที่จะได้ปริญญาแล้วก็ได้ไปเรียกเป็นบัณฑิตคือผู้จบการศึกษาสายนั้น แต่มันจะมีความหมายว่า เป็นผู้จบวิชาวิทยาศาสตร์โดยเป็นบัณฑิตด้วย คือหมายความว่าเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และเป็นบัณฑิต หรือเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบัณฑิต เพราะคำว่าบัณฑิตนี่มันมีความหมายต่างหากจากการจบวิชาเฉพาะ วิทยาศาสตร์นั้นเป็นวิชาชำนาญพิเศษเฉพาะด้านได้ เราก็จบจบวิชานั้น แต่ผู้จบวิทยาศาสตร์อาจจะไม่เป็นบัณฑิตก็ได้ในความหมายที่แท้จริงในทางเชิงนามธรรมหรือความหมายเดิมแท้ ความเป็นบัณฑิตก็คือการที่เป็นผู้ที่ได้พัฒนาแล้วทั้งทางกาย ทางสังคม ทางจิตใจ และทางปัญญา ก็หรือทางภาษาพระเรียก เป็นผู้พัฒนาแล้วทั้งกายศีลจิตใจและปัญญาพร้อมที่จะดำเนินชีวิตที่ดีงามด้วยตนเอง และรับผิดชอบช่งบสร้างสรรค์พัฒนาสังคมได้ด้วยดี บัณฑิตวิทยาศาสตร์ก็จะเป็นผู้ที่เป็นบัณฑิต คือผู้ที่พร้อมที่จะรับผิดชอบชีวิตที่ดีงามและสังคมไปด้วย โดยที่มีอุปกรณ์คือวิทยาศาสตร์ที่ตัวมีความรู้ความชำนาญพิเศษไปปฏิบัติการ ถ้ามีความรู้ปฏิบัติการ แต่ตัวไม่ได้เป็นบัณฑิตก็จะเกิดปัญหา คือว่าไม่สามารถนำความรู้ที่จบไปใช้มีแต่อุปกรณ์ แต่ตัวคนที่จะใช้ไม่มี คือการเป็นบัณฑิตคือการทำตัวคนที่จะใช้อุปกรณ์ให้พร้อม ส่วนวิชาเฉพาะนั้นคืออุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ บัณฑิตทุกสาขาจะมีสิ่งเดียวที่ร่วมกันคือความเป็นบัณฑิต เราต้องการให้ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตทุกคนจากทุกมหาวิทยาลัย จากทุกสาขาวิชาทุกคนเป็นบัณฑิตคือ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีความพรั่งพร้อมที่จะดำเนินชีวิตที่ดีงามรับผิดชอบสร้างสรรค์สังคม แต่บัณฑิตนั้นมีความต่างกันที่แต่ละคนมีอุปกรณ์เฉพาะตัวที่ทำได้พิเศษกว่าคนอื่น ๆ คือวิชาเฉพาะวิชาชำนาญพิเศษด้านนั้น เช่นมีวิทยาศาสตร์เป็นอุปกรณ์ประจำตัวเป็นต้น อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่จะต่อไปถ้าเราผลิตบัณฑิตลักษณะนี้วงจรจะกลับมาเป็นปัจจัยในทางสังคมให้เราพัฒนาสร้างสรรค์คนไทยที่มีความใฝ่รู้อย่างบริสุทธิ์ใจได้ด้วย เพราะวงจรนี้มันมาจากไอ้จุดเริ่มได้หลายทางจะมาจากปลาย จากต้น จากตัวแปรด้านโน้นด้านนี้ การผลิตบัณฑิตก็ต้องมีมุ่งหมายเป้าหมายอันหนึ่งที่จะสร้างจิตใจอันนี้ แล้วบัณฑิตพวกนี้จบไปแล้วจะผวนให้เขามีลูกที่เขามีความใฝ่รู้บริสุทธิ์แบบ Pure Science ก็ได้ อ้าวละอันนี้ก็เป็นอีกด้านหนึ่งก็หมายความว่านักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบัณฑิตก็มีความเป็นผู้นำในทางสังคมไทยที่จะนำสังคมไปสู่การพัฒนาก้าวหน้า โดยที่มีอุปกรณ์ในการทำงานของตนเองไปพร้อมแล้ว แล้วอันอีกอันหนึ่งก็คือรัฐ รัฐจะต้องเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์บริสุทธ์ในฐานะที่จะเป็นรากฐานแก่วิทยาศาสตร์ประยุคและเทคโนโลยี จะต้องส่งเสริมให้ถูกทิศทางโดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์เฉพาะหน้า เช่นเห็นแก่ประโยชน์ในทางเทคโนโลยีที่ได้มาทางอุตสาหกรรม จะมุ่งแต่ผลประโยชน์จากอุตสาหกรรม ไม่ได้สร้างฐานไว้ให้ดีแล้วมันจะพัฒนาอุตสาหกรรมระยะยาวได้อย่างไร เพราะวิทยาศาสตร์นี่เป็นฐานแก่เทคโนโลยี ตัวเองอยากจะเป็นนิคอยากจะเจริญอุตสาหกรรมไปมุ่งพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ก็ไปรับเทคโนโลยีสำเร็จรูปจากเขามา ไม่ได้เป็นผู้ผลิตสักทีเป็นผู้บริโภคเทคโนโลยี จะผลิตเทคโนโลยีก็ต้องส่งเสริมวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ขึ้นมาแล้วต่อจากนั้นมันก็เป็นฐาน เมื่อวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เจริญก้าวหน้าก็เป็นฐานให้เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าไปด้วย อันนี้ก็แต่ว่าเราก็คงจะต้องเข้าสู่หลักพระพุทธศาสนาที่ว่า ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาพัฒนามนุษย์ ว่าส่งเสริมสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม ซึ่งปัญหาปัจจุบันนี้ได้ฟ้องแก่มนุษยชาติแล้วว่าถ้าเราขืนปล่อยตามวิถีของการใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติ เพื่อจะไปพิชิตธรรมชาติ หาผลประโยชน์สร้างวัตถุมาบำรุงบำเรอตัวธรรมชาติแวดล้อมโลกนี้จะอยู่ไม่ไหว ตอนนี้ปัญหาจะต้องแก้ด้วย Successnable Development Successnable Development จะแก้ได้ก็ต้องเข้ามาถึงขั้นรากฐานอันนี้ด้วย แล้วก็แม้แต่ความใฝ่รู้บริสุทธิ์อย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอตามแนวทางของพุทธศาสนา จะต้องมีความใฝ่รู้เพื่อเอาความรู้นั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ดังที่กล่าวมาด้วย
อาตมาก็ได้กล่าวเรื่องนี้มามากมายเป็นเวลายาวนานเหลือเกิน เกินเวลาก็ไปมากมายแล้วก็คิดว่า ควรจะหยุดได้ก็พูดไปในฐานะบุคคลที่อยู่นอกวงการวิทยาศาสตร์มีความรู้วิทยาศาสตร์ก็ต้องนับว่า ภาษาฝรั่งเขาเรียกเลแมน ที่จริงตัวเองเป็นพระ แต่ว่าในแง่ของวิชาการเขาถือคนที่ยังไม่ได้เรียนรู้จริงในทางนั้นเขาคือคนนอกเป็นเลแมนเหมือนกัน อันนี้ก็หมายความเป็นเหมือนชาวบ้านในหมู่วิทยาศาสตร์จะพูดผิดพูดถูกก็ขอประทานอภัยด้วย และก็ถือว่าอีกอันหนึ่งคือความหวังดีต่อกัน แล้วก็อนุโมนทนาที่ทางท่านคณะบดีทางคณะวิทยาศาสตร์นี้ ท่านได้ให้โอกาสนิมนต์มาพูดมาแสดงข้อคิดเห็นเหมือนกับมาช่วยกันมอง มาช่วยกันให้ข้อคิดเห็น เพื่อความเจริญงอกงามในการทำการของเราด้วยความสุขุมรอบครอบรอบด้านยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็ประโยชน์เดียวกัน มุ่งผลสุดท้ายคือ ความดีงามประโยชน์สุขของสังคมไทยและก็มนุษยชาติส่วนรวม อาตมาขออนุโมทนาทุกท่าน แล้วก็ขอยุติการปาฐกถาครั้งนี้ไว้เพียงเท่านี้ ขอเจริญพร