แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ท่านสารถิโต??? เตรียมจะถามอะไร จะถามเลยไหม หรือเอาไว้ก่อนแล้วแต่ ก็ว่าไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีใครถามอะไร ก็จะคุยต่อไป ถามก็ได้
ก็ถามในตัวแทนนวกะรุ่นนี้นะครับ ที่กำลังจะ มีหลายท่านที่จะลาสิกขาออกไป ทีนี้ได้ประชุมกันว่า คำถามไหนที่มันจะสำคัญ ก็เลยมีคำถามหนึ่งว่า การที่จะออกไปประกอบอาชีพต่อไปนี่ ซึ่งการงานในปัจจุบันก็ต้องยอมรับมันอยู่ในระบบกระแสทุนนิยม ก็คือบางทีบางครั้ง งานของเรา เราทำด้วยความสุจริต ในตัวของงานในกรอบเล็กๆ แต่ว่าเมื่อมองไปในกรอบใหญ่ๆ แล้ว มันทำร้ายคนอื่นบ้างบางที บางทีก็ไม่ทำร้าย
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่สมมติเป็นนักโฆษณา เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำโฆษณาให้บริษัทบุหรี่ แต่ว่าเขาก็เป็นแค่พนักงานตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ก็มี ๒ อย่างให้เลือก ก็คือ ก็ทำไป หรือไม่อย่างนั้นก็ออก อย่างนี้ครับ แล้วก็มันเลยนำมาสู่ที่ว่าผิดนิด ผิดหน่อยไม่เป็นไร หรือว่า ถ้าเราไม่ทำคนอื่นก็ทำ อย่างนี้ครับในสังคมตอนนี้ อันนี้ก็เลยอยากได้ว่า เราควรจะทำท่าทีอย่างไร ในการประกอบอาชีพสำหรับนวกะ
ก็อนุโมทนาก็คำถามดี ในแต่ละรุ่นๆ ก็มักมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ท่านจะลาสิกขาไป กลับคืนไปสู่เพศคฤหัสถ์ จะต้องไปอยู่ในท่ามกลางโลกที่เป็นอย่างนี้ อย่างน้อยก็ต้องไปประกอบการงานอาชีพ จะทำงานทำการอะไรอย่างไร แล้วก็จะเผชิญกับเรื่องของสภาพแวดล้อม กิจการต่างๆ กระแสของโลกนี่อย่างไร คำถามก็อยู่ในแนวนี้ แต่วันนี้จะเจาะมาก เจาะในเรื่องของตัวที่เป็นปัญหาของยุคสมัย ว่าเราไปอยู่ในท่ามกลางโลก เวลานี้มีปัญหาเรื่อง ด้านหนึ่งก็เป็นการเอารัด เอาเปรียบกันด้วย ซึ่งเป็นโลกของธุรกิจที่แสวงหาผลประโยชน์ให้มากที่สุด จนมีคำว่า กำไรสูงสุด ใช่ไหม ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
เมื่อตั้งเป้าอย่างนี้ ซึ่งเป็นเป้าทางเลือกของผลประโยชน์ มันก็ทำให้แสวงหาวิธีการ ที่จะให้ได้มาซึ่งกำไรสูงสุดนั้น นี่ถ้าเราไม่ได้จำกัดวิธีการไว้ว่า วิธีการนั้นต้องชอบธรรม ชอบธรรมนั้นคืออย่างไร แค่ไหน มันก็เลยทำให้ทางที่จะเกิดการเบียดเบียนได้มาก ก็อยู่ที่ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้นำนั้นจะมีแนวคิดอย่างไร แล้วก็มีกรอบทางสังคมที่จะมาช่วย ทีนี้ถ้าสังคมนี้ไม่มีแนวคิดในด้านของตัวดุล เช่น ในฝ่ายธรรมะ มาช่วยดึงไว้บ้าง หรือถ่วงไว้บ้าง มันก็จะไปสุดโต่งหาผลประโยชน์อย่างเดียว กำไรสูงสุดก็กลายเป็นการเอารัดเอาเปรียบ และเบียดเบียนผู้อื่น อันนี้ก็เป็นปัญหามาก ทีนี้ถ้าเราเป็นบุคคลเท่านั้น ก็ไม่มีกำลังพอจะไปแก้ไขอะไร เราก็ออกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างนั้น กระแสที่ใหญ่นี่เราก็ฝืนไม่ไหว ใช่ไหม แล้วเราจะทำอย่างไร เราก็ต้องว่าเป็นขั้นๆ คือ
เราก็ต้อง ๑ เราก็มีหลักของเราอยู่ เรามีความตระหนัก มีความสำนึกในเรื่องนี้ อย่างน้อยว่าตัวเรานี่ไม่ได้สนับสนุน แนวคิดที่ว่า จะมุ่งเพียงเพื่อให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด หรือกำไรสูงสุด โดยไม่คำนึงถึงธรรมะ หรือความถูกต้องชอบธรรม แต่เรายังต้องการให้มีธรรมะ แต่เราก็รู้ตัวอยู่ว่าสภาพแวดล้อม หรือสังคมนี้มันไม่เอื้ออำนวย เราก็ทำเท่าที่ได้ในขั้นต้นก่อน คือตามมาตรฐานที่สังคมวางไว้ขั้นที่ ๑ เช่นว่า กฎหมาย ถือว่าแค่นี้ชอบธรรมใช่ไหม เราให้ไม่ผิดในการนี้ก่อน ต่อไปก็คือ เราต้องมาค่อยหาทางว่า เออ เท่าที่เรามีกำลังเราจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้ได้เดินหน้าไปในทางที่ดี เช่นว่า จะถ่วงดุล หรือว่าแม้แต่เอากระแส หรือกิจการที่มัน เราพอมองเห็นในวงกว้าง หรือลึกซึ้งซับซ้อน มันมีผลเสีย เรากลับหาประโยชน์จากมันในทางที่ให้เกิดคุณค่าในทางธรรมได้ อันนี้เราก็ต้องคิดเหมือนกัน
นี่ก็เป็นเป็นวิธีการว่า ไอ้นั่นน่ะเป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก แต่เมื่อเรายังต้องเกี่ยวข้องกับมัน เราหาทางทำให้เกิดคุณค่า เป็นประโยชน์ นี่ก็เป็นวิธีหนึ่ง แล้วสังคมในปัจจุบัน มันจำเป็น คือมันก็เป็นวิธีการขั้นต้นด้วยนะ ในการที่จะเปลี่ยนกระแสหรือโน้ม น้อมกระแสให้มันเบนไปได้ ไม่อย่างนั้นเราก็ไปเป็นตัวซ้ำเติม เราไม่ให้เสริมในกระแสนั้น แต่เราพยายามว่า ขั้นที่ ๑ เราเอากระแสที่มันไม่ดี มาใช้ในทางที่ดี
ก็เหมือนอย่าง แม้แต่ในสมัยพุทธกาล บางทีเขาก็ได้เงินได้ทองมากมาย จากอาชีพวิธีหาเงินในสมัยนั้น ซึ่งก็เป็นธรรมดา ถ้ามองกว้างๆ แล้ว ในการที่หาให้ได้มา มันต้องมีแง่ มีมุมที่ว่า เมื่อคนหนึ่งได้อีกคนก็อาจจะคนหนึ่งอด มันก็มีการที่โดยอ้อม โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ผู้อื่นสูญเสีย หรือเบียดเบียนโดยไม่รู้ตัวนี่ พวกที่มีปัญญาอย่างนี้ มีจุดหมายทางธรรมะ แกตระหนัก แกก็แทนที่จะเอาเงินนั้นไปใช้ในทางเสียหาย สนองความโลภของตัวเอง เอามาบำรุง บำเรอ หรือว่าเอามาสนองมานะความยิ่งใหญ่อะไรพวกนี้ หรือไปข่มเหง เบียดเบียนผู้อื่น ก็เลยเอาเงินเอาทรัพย์นั้นมาใช้ทำประโยชน์ มาสงเคราะห์ผู้คนต่างๆ มากมาย ก็กลับได้ประโยชน์ก็กลายเป็นว่า เอาละมันอาจจะมีแง่ที่ไม่ดีบ้าง แม้จะไม่ชัดเจน แต่เรามองเห็นว่า โดยกลไกสังคม หรือโดยระบบของมัน มันมีทางเอื้ออำนวยในทางที่เสียหายอย่างนั้นได้ เราก็เอามาใช้ในทางที่ดีซะ
ก็อย่างนี้รวมแล้วก็มีได้หลายอย่าง ๑ ก็อาศัยระบบที่จะแม้จะไม่สู้ชอบธรรมนั้นมากนัก แล้วเอาผลประโยชน์จากมันมาใช้ในทางที่ดี กลับในทางตรงข้าม
๒ ก็ เมื่อเรามีกำลังมากขึ้น เราก็พยายามหาทางค่อยๆ แก้ไขไอ้ตัวระบบ กระบวนการนี้ให้มันมีความเป็นธรรม ชอบธรรมมากขึ้นเท่าที่เป็นไปได้
๓ ลึกซึ้งขึ้นไปก็จะเป็นแนวคิด ก็ต้องค่อยๆ ที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความคิด หรือแนวความคิดร่วม ความเห็นชอบร่วมกันที่เรียกว่า ทิฏฐิ ให้มันเข้าแนวทางที่ถูกต้อง สร้างแนวคิดที่ถูกต้อง เพราะว่าอันนี้เมื่อสังคม มันแปรปรวนไปนานแล้วนี่ คนก็จะมีทิฏฐิคือ ความเข้าใจหรือแนวคิดที่ผิดไปเลย เห็นว่าอย่างนี้ถูกต้องดีแล้ว เราก็จะต้องต้องแก้ไขโดยให้รู้ว่า ให้เขามีปัญญาที่จะมองเห็นว่ามันมีผลเสียอย่างไร ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ เป็นระดับปัญญาเลย ฉะนั้นว่าตามหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่อง เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ โดยแยก แม้เราจะเอาหลักนี้มาใช้ก็ได้
๑ การแสวงหา หรือการให้ได้มาซึ่งทรัพย์ หรือผลประโยชน์นั้น ชอบธรรมไหม ไม่ข่มเหง รังแกเบียดเบียน ผู้อื่น อย่างน้อยก็เริ่มต้นก็ถูกกฎหมายเป็นต้น แล้วก็ค่อยๆ ว่าไปลึกซึ้ง อันนี้อยู่ที่ว่าเราจะทำได้แค่ไหน เราก็ว่าเป็นระดับ ก็เอาเป็นว่าการได้มา เราก็ตรวจดูได้ว่า การได้มานี้ถูกต้องชอบธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น การเบียดเบียนก็มองได้หลายชั้น เราก็เอาแค่ระดับตื้นที่สุดก่อน ว่าโดยหลักทั่วไป เช่นการยอมรับของสังคมโดยกฎหมาย เป็นต้น เอาละแค่นี้ก่อน ถ้าเราทำได้ลึกซึ้งกว่านั้น เราค่อยๆ ก้าวต่อไป อันนี้ไม่ใช่ว่าปุ๊บปั๊บได้ทันที ต้องเป็นการพัฒนา หรือก้าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็เป็นขั้นตอน เอาเป็นว่าเอาหลักการใหญ่ก่อนว่า หนึ่งการได้มา ว่าได้มาโดยสุจริตชอบธรรม
๒ การเก็บรักษา การเก็บรักษานี่ เราก็เก็บรักษาโดยวิธีการชอบธรรม ไม่ใช่ว่ามุ่งเพียงเพื่อเก็บไว้ให้ตัวเองมีมากมาย โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายอะไร อยากจะมีโดยหวงแหน เฉยๆ ไว้ให้มีมากๆ บางคนเป็นอย่างนั้นนะ สักแต่ว่ามีตัวเลขมากๆ โดยไม่คำนึงถึงว่า มันจะเกิดผลเสียอะไร แม้แต่ต่อสังคม หรือต่อประเทศชาติ บางคนนี้เก็บมากเกินไปนี่ แล้วทำให้ทรัพย์นี่เสียหายกับส่วนรวม ใช่ไหม แม้แต่แค่ว่าไม่หมุนเวียน อะไรอย่างนี้ อ้าว ก็รักษาโดยชอบธรรม เราก็ไม่ประมาทในการเก็บรักษา เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของเราด้วย
แล้วก็ต่อไป ๓ การใช้จ่าย ดูที่การใช้จ่าย ว่าเราใช้จ่ายนี่ ใช้จ่าย ๑ ถ้าไม่ใช้จ่ายเลย แสดงว่าไม่มี ไม่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของการมีเงิน ก็เงินทองมันมีไว้เพื่อมาใช้จ่าย เพื่อเลี้ยงชีวิตตน เพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทำการสร้างสรรค์ต่างๆ ทรัพย์เป็นปัจจัยเพื่อจะมาช่วยสร้างสรรค์ หรือว่าแม้แต่เป็นอยู่ได้ดี เลี้ยงชีวิตได้ก็ยังดี
เพราะฉะนั้น การใช้จ่าย ไม่ใช่ว่าหวงแหนไว้เฉยๆ ไม่ใช้จ่าย ท่านจะมีเรื่องของประวัติเรื่องราว ตัวอย่างเศรษฐีขี้เหนียว ท่านเล่าไว้เพื่อจะเป็นบทเรียนสอน อย่างเศรษฐีขี้เหนียว ขนาดว่าตัวเองรวยเหลือเกินแต่ไม่ยอมกิน ไม่ยอมใช้จ่าย ตัวเองก็ไม่มีความสุข แม้จะมีทรัพย์มากมาย ท่านไม่เอาด้วย ท่านก็จะมีเรื่องสอนไว้เยอะแยะ รู้จักใช้จ่าย ใช้จ่ายมันก็ต้องมีวัตถุประสงค์ ใช้จ่ายเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงคนในความดูแลรับผิดชอบให้เป็นสุข ก็พ่อแม่พี่น้อง ลูกเต้า ครอบครัวต้องให้เขามีความสุข แล้วก็กว้างออกไป คนที่เราเกี่ยวข้องต้องดูแล แล้วต่อไปก็ไปช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ ทำบุญ ท่านใช้คำว่าทำบุญ ทำบุญ ก็คือทำความดีต่างๆ ทำประโยชน์ให้กับสังคม นี่ก็เป็นการใช้จ่าย ก็ขยายไปตามกำลัง
นี้ไอ้ข้อนี้จะมาช่วยแก้ตัวอื่นได้ แม้ระบบในสังคมมันไม่ดี เราต้องอยู่ในระบบนั้น ทางที่เราจะแก้ได้ขั้นที่ ๑ คือ ถ้าเรามีกำลัง แล้วเราหาทรัพย์ได้มากนี่ เราเอามาแก้อันนี้ เรารู้ว่าไอ้ระบบนี้มันมีจุดอ่อน มีข้อเสีย เช่นไปเบียดเบียนคนประเภทนั้นกลุ่มนั้น อะไรอย่างนี้นะ เรามีทรัพย์ขึ้นมา ก็จะมีโอกาสเอาทรัพย์ไปช่วยเกื้อหนุนแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วย นี่ก็คือเป็นแบบชดเชยในทางแก้ปัญหา ไม่ใช่ไปมัวว่าต้องรอ เราก็มัวทำอะไรไม่ได้ นี้เรียกว่า ๓ แล้วใช่ไหม การใช้จ่าย แล้วก็อีกข้อหนึ่งที่สำคัญก็ข้อที่ ๔
ข้อที่ ๔ คือการวางใจต่อทรัพย์ ต่อผลประโยชน์เหล่านั้น อันนี้ก็สำคัญมาก คือคนจำนวนมากก็มีปัญหามากว่าเมื่อตนเอง มีทรัพย์ ได้ทรัพย์ ใช้จ่ายทรัพย์แล้ว มันก็มีความยึดติดผูกพัน เป็นวิสัยของปุถุชน ความยึดติดผูกพัน แล้วก็จากความยึดติดผูกพันนี่ ก็จะเกิดความทุกข์ เกิดความหวงแหน หวงแหนนั่นก็หนึ่ง แล้วก็ห่วง ห่วงใย จะไปไหนใจไม่สบายเป็นทุกข์เพราะเรื่องทรัพย์ มันจะขาดไป มันจะลดลงไป อะไรมันจะพร่องลงไป ก็แล้วแต่ มันก็ทุกข์ไปหมด มันหวง มันห่วง ไปไหนอะไรต่ออะไรก็กลัวเกรง มันเป็นอย่างไร อันนี้ก็อยู่ที่ว่าสมดุลข้อที่ ๒ การเก็บรักษา
ก็เราต้องไม่ประมาท จัดเก็บรักษาวางระบบให้ดี วางระบบให้ดีแล้วก็ เอ้อ วางใจได้ เราก็ต้องทำใจให้เป็นอิสระ นี้ก็เมื่อใช้จ่าย หลายคนก็จะหวงแหน เสียดายว่า เงินจะลดอะไรอย่างนี้นะ คนที่มีจิตใจถูกต้อง ก็เป็นอิสระ รู้จุดมุ่งหมายของการหาทรัพย์ หาทรัพย์มามีเพื่ออะไร มันก็แล้วแต่เอาธรรมะมามีเยอะแยะ ทรัพย์มันก็เป็นวัตถุ เป็นของนอกกาย มันไม่ได้อยู่ติดตัวเรา แล้วมันก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่ตามอยู่กับเราตลอดไปหรอก รู้จักว่าเราสร้างมันมา ก็เพื่อเอามาใช้ประโยชน์ ถ้าทำประโยชน์ไปแล้วสมความมุ่งหมาย ก็อย่าไปเสียดายมันเลย
แล้วก็ถึง ถ้าหากว่าเราใช้ใช้มันแล้ว ระหว่างนั้นมันสูญหายไป เราก็เอาข้อที่ ๒ ก็เราพยายามเก็บรักษาด้วยความไม่ประมาทแล้วนี่ มันมีอัน มีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น มีอันเป็นไป ก็ต้องยอมรับความจริง ก็ตัดใจได้ไม่มัวไปทุกข์เพราะมัน ก็คือถ้ามีทรัพย์ขึ้นมาแล้วก็ไม่ต้องไปทุกข์เพราะทรัพย์ ถ้าไปทุกข์เพราะทรัพย์ ก็แสดงว่าเป็นคนที่ ถ้าว่าโดยเหตุผลที่แท้แล้วก็ ไม่ถูกต้อง ก็เรื่องอะไร ทรัพย์ตัวเองเดิมก็ไม่มี แล้วเกิดพอมีทรัพย์ขึ้นมาแล้วทุกข์เพราะทรัพย์ ถูกไหม มันเรื่องอะไร ใช่ไหม ตัวเองเดิมไม่ได้มีทุกข์เลย มีทรัพย์ขึ้นมาแล้วเกิดทุกข์ นี่แสดงว่าโดยหลักธรรมชาติมันผิด ฉะนั้นเราต้องเข้าใจ ทำใจให้เป็นอิสระ เรียกว่า เป็นนายเหนือทรัพย์ ไม่ใช่เป็นธาตุของทรัพย์
ถ้าหากว่าเราไปมีทุกข์เพราะทรัพย์ ก็แสดงว่าเป็นทาสของทรัพย์ เราต้องเป็นนายของทรัพย์ เราก็เป็นอิสระ ก็คือเป็นนายก็ใช้มัน ใช้ทำประโยชน์ แต่ไม่ใช่ว่าไปเป็นทาส เลยเกิดความทุกข์เพราะมัน เราก็มีจิตใจเป็นอิสระ ตอนนี้ท่านเรียกว่ามี (นิ ส ระ ณ) ปัญญา ปัญญาที่จะไถ่ถอนตนให้พ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากความยึดติด เป็นอิสระนั่นเอง ก็มี ๔ ขั้นตอน นี่การปฏิบัติต่อเรื่องทรัพย์ แล้วเราก็เอาหลักนี้มาประยุกต์ใช้ พอจะเห็นทางไหม นิดหน่อยยังไม่ชัด จุดไหน ช่วยแย้งด้วย ช่วยจี้ด้วย
อย่างนี้ถ้าเกิด เป็นบริษัทเบียร์ที่ขายเบียร์ แล้วเอาเงินมาช่วยสังคม อย่างนี้นี่ถือว่าพอใช้ได้ไหมครับ
พอใช้ได้หรือไม่ได้ ท่านไม่พูด แต่หมายความว่ามีส่วนดี คือหมายความว่าเราเทียบไปตามข้อเท็จจริง ท่านใช้คำว่า ส่วนเสียแค่ไหน ส่วนดีมีแค่ไหน แล้วก็ว่ากันไป ส่วนเสียก็ต้องยอมรับว่า เป็นส่วนเสีย ส่วนดี ก็เป็นส่วนดี คนนี้ท่านก็แยกกันไปสินะ ท่านก็แยกไปตาม โภคี ๑๐ ผู้ที่ยังแสวงบริโภคกามอยู่ หมายความว่ายังอยู่ในโลกของทรัพย์ ธุรกิจ กาม การหาความสุขแบบชาวโลก บางคนท่านก็ให้คะแนนเลย เอา ดูการแสวงหา แล้วก็ให้คะแนนการแสวงหา ใช่ไหม แล้วก็ดูที่การเก็บรักษา ดูที่การใช้จ่าย แล้วก็ดูการที่วางจิตใจ ดูเป็นข้อๆ แล้วก็ให้คะแนนเป็นข้อๆ ว่าได้คะแนนอันนี้ ๑ ได้คะแนนอันนี้ ๑ เสียคะแนนอันนี้ ๑ แล้วก็ว่าไปตามคะแนนที่ได้ ที่เสีย
ไม่มาตัดสิน ไม่หักกลบลบกัน วิธีของท่าน ท่านไม่หักกลบลบกัน ไม่ได้มาบอกว่า อย่างนี้เป็นคนดี ท่านก็บอกไปตรงๆ คุณนี่มีข้อเสียในแง่นี้ และก็มีแง่ดีในแง่นี้ ก็หมายความว่า ถ้าเขาขายเบียร์ใช่ไหม เขาไปทำในแง่นี้เราก็มองในแง่เสีย เบียดเบียนทำให้คนนี่ ลุ่มหลง หรือว่าทำให้เสียสุขภาพ หรือว่าทำให้สังคมลุ่มหลง หรือว่าอะไรก็ว่าไป แล้วในแง่ดี ก็มีแง่นี้ ไม่ใช่ว่าจะเอาอย่างเดียว ก็ยังมีการให้บ้าง แล้วเราก็ต้องดูไปอีกว่า แม้แต่การให้เจตนาดีไหม เจตนาเพื่อแก้ชื่อเสียงบ้าง อย่างนี้ก็เรียกว่ายังเจตนาไม่ดีแท้ อะไรก็ต้องแยกแยะไปอีก ไม่ใช่ว่า พอให้แล้วใช้ได้หมด ก็ต้องดูว่า ให้ ให้ด้วยบริสุทธิ์ใจ หรือให้ไม่บริสุทธิ์ใจ การให้นั้นเป็นประโยชน์ เป็นโทษอะไรแค่ไหน
บางคนนะ ให้แล้วเป็นโทษก็มี เชื่อไหม เพราะฉะนั้นอย่าไปตัดสินปุ๊บปั๊บ ทีนี้มันก็ไปอยู่ที่เจตนาว่า เช่นว่า เขาทำธุรกิจอันนี้ เสร็จแล้วเขาก็มีจิตใจ คนหนึ่งอาจมีจิตใจ เราทำอันนี้ไม่ดี โลกเขาติเตียน เราจะต้องแก้ชื่อเสียงให้คนเห็นว่าเรานี่ใจบุญนะ ทำดี อย่างนี้ก็เอามาแสดงให้ปรากฏ บางทีเอามาโฆษณา เวลาจะให้จะบริจาคอะไรสักที ต้องเอาทีวีมาเยอะๆ ระดมถ่ายภาพกันไปใช่ไหม จะได้ออก นี้อย่างหนึ่ง ส่วนอีกคนก็คิดในแง่ว่า เออเรานี่ทำในสิ่งนี้นี่มีโทษต่อสังคมนะ เราควรจะต้องทำดีให้มาก
เพราะฉะนั้นเราจะเอาทรัพย์นี้ไปช่วยเหลือผู้คน อะไรต่ออะไร ตอนนี้ไม่ได้คิดว่าจะได้ชื่อเสียงจากนี้หรือไม่ คิดโดย อย่างนี้ก็ถือว่าบริสุทธิ์ใจใช่ไหม เราก็จะเห็นว่าอันที่หนึ่ง อันที่สองต่างกันไหม ต่างใช่ไหมนี่เราก็ต้องมาดูด้วยว่า ถ้าทำด้วยจิตใจที่มองเห็น ประโยชน์สิ่งที่ดีงาม ด้วยความมุ่งหมายที่ดีงาม แท้จริงเป็นกุศลอย่างนี้ก็เป็นความดีแท้ ว่าไปเป็นขั้นๆ พอจะเห็นไหม
นี่เราก็ ถ้าเราเป็นตัวบุคคลที่อยู่ในระบบ หรือในองค์กรนั้น เราเป็นตัวเล็กๆ เราทำอะไรไม่ได้มาก เราก็ต้องมาคิดว่า เราจำเป็นไหมที่จะต้องยังอยู่ในระบบนี้ องค์กรนี้ หรือกิจการนี้ เอาเมื่อเรายังจำเป็น เราก็หาทางให้มันมีโทษน้อยที่สุด แล้วให้มีประโยชน์ มีคุณ ฝ่ายคุณได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ตั้งหลักไว้อย่างนี้ก่อน แล้วคราวนี้คิดสิ หลักการเรามีอย่างนี้แล้ว เราอยู่ในระบบ หรือกิจการที่มีผลเสีย แต่เราจะต้องการให้มีผลเสียหรือโทษน้อยที่สุด แล้วเราก็จะหาทางชดเชย ให้มีทางที่ดี ที่มากที่สุด
พอตั้งหลักแบบนี้แล้วก็มีทาง พอตั้งเจตนา ตั้งเป้าหมายแบบนี้แล้วก็หาทางที่จะทำให้ดี อย่างน้อยก็ไม่เสียหมด ถ้าเราจะคิดมากกว่านั้น เออตราบใดที่เราอยู่ในกิจการแบบนี้นี่ เราไม่มีทางเลี่ยงที่เราจะมีส่วนร่วม ในการที่จะทำสิ่งที่เสียหาย เพราะฉะนั้นเราเลี่ยงดีกว่า ออกไปเลย ถ้าเราหาธุรกิจการงานที่มันทำให้ปลอดโปร่ง และเป็นกิจการงานที่ดี ที่มีประโยชน์แท้จริงได้เราไป อะไรอย่างนี้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่แต่ละบุคคลต้องตัดสินใจเอง ใช่ไหม แต่ว่าเราก็จะเห็นว่ามันมีทางที่เราจะพิจารณาแก้ไข แล้วก็ปรับไอ้พวกเรื่องของโทษข้อเสียหายกับฝ่ายคุณความดีเรามีทางแก้ไข ปรับปรุง ยักเยื้อนได้เยอะ ไม่ใช่จะต้องไปคิดอยู่ชั้นเดียว ในแง่อะไร พอจะเห็นไหม เห็น
อย่างน้อยก็คือว่า เอาสถานการณ์นั้นมันดีหรือร้ายก็แล้วแต่ ทำให้เป็นประโยชน์มากที่สุด อันนี้สำคัญ มันจะร้ายจะดีเราก็หาทางทำให้เป็นประโยชน์ แม้แต่ชีวิตของเราจะไปเจอสถานการณ์ร้ายที่ยัง ชีวิตเราเองที่ประสบทุกข์ ประสบทุกข์ ประสบปัญหาเราก็ต้องหาประโยชน์ให้ได้ แล้วก็หาประโยชน์จากมันบางทีได้มากด้วย อย่างน้อยเราไปทำธุรกิจไม่ดีนี่ เราก็ถือโอกาสเลย ในแง่ด้านหนึ่งในเรื่องพฤติกรรม เราก็มีโอกาสใช้ธุรกิจการงานนั้นในทาง
หนึ่งก็เรียนรู้ เรียนรู้เข้าใจสังคมนี้เลย บางทีไปธุรกิจ ที่กิจการที่ไม่ดี ทำให้เรารู้ เข้าใจอะไร เรื่องราวกลไกในสังคมนี้ ปัจจัยบางอย่างที่เราไม่อาจจะมีโอกาสเรียนรู้ในด้านอื่น เรากลับมีโอกาสเรียนรู้ เราเข้าใจสังคมนี้ลึกซึ้งขึ้น เราเห็นทางแก้ปัญหา เพราะเราได้มามีประสบการณ์เรื่องไม่ดีนี่แหละ เราเวลาเรามีโอกาสดี เราได้เรียนรู้มาแล้ว เราเห็นช่องทางการแก้ปัญหาดีกว่าคนอื่น คนที่ไม่ได้มีโอกาสมาเรียนรู้ แพ้เราอีกใช่ไหม จริงไหมล่ะ กลายเป็นว่าไอ้การที่เรามา เกิดทำอะไรมา ที่เราเสียใจ ที่เสียหาย แต่กลับว่ากลายเป็นช่องดีให้เราทำประโยชน์ได้มากกว่า ใช่ไหมเราก็ถือโอกาสเรียนรู้สิ
เราเข้าไปอยู่ระบบนี้ กิจการนี้ เรารีบหาปัญญา แสวงหาความรู้ วิเคราะห์เรียนรู้ แยกแยะได้เยอะเลย ปัญญาพัฒนา และพัฒนาตัวเองในแง่จิตใจ ปรับปรุงจิตใจ และว่าเรามาอยู่ในสภาพแวดล้อมนี้ มีโอกาสถูกล่อ ถูกดึง ถูกล่อเร้า ถูกจูง ชักนำไปในทางไม่ดีมาก เราต้องเข้มแข็งตั้งหลักไว้ให้ได้ ใจสู้ จะต้องดำรงตัวเองให้อยู่ในความดีให้ได้ อันนี้ก็ฝึกความเข้มแข็ง เราก็ได้อีก
แล้วพฤติกรรมต่างๆ เราก็ฝึกตัวเองให้มีความสันทัด จัดเจน ในการสัมพันธ์กับผู้อื่น ในการอะไรต่างๆ เหล่านี้ เราก็เก่งไปหมด ในการพูดจาปราศรัย อะไรต่างๆ แล้วก็ใช้วิชาอาชีพการงาน นี่เป็นแหล่งพัฒนาตน แล้วการทำงานนี่ ประโยชน์ที่ได้มากอย่างยิ่งคือ การพัฒนาตัวเอง การพัฒนาชีวิต อย่าให้ได้ขาดเป็นอันขาด บางคนทำงานแล้วก็งานเหน็ดงานเหนื่อย แล้วไปทุกข์เสียอีก อ้าว ถ้างานมันทุกข์ มันยาก ถือโอกาสเลยเป็นแดนพัฒนาตนที่ดีเลย ยิ่งงานยาก งานลำบาก ถ้าคนรู้จักใช้ พลิกกลับมาเป็นแดนพัฒนาชีวิตอย่างดีเลย พอปัญหา และเรื่องยากคือ เครื่องฝึกมนุษย์ที่ดีมาก อย่างที่เคยพูดบ่อยๆ ยิ่งยากยิ่งได้มาก งานยากยิ่งได้ฝึกตนเองมาก ถ้างานมันง่ายไม่ได้อะไรเลย ใช่ไหม เดี๋ยวเดียวทำมันก็ผ่านไป
โอถ้าหากว่างานยากนี่ กว่าเราจะผ่าน เราได้เยอะ แต่ใจเราต้องเตรียมให้ถูกนะ ถ้าใจเราเตรียมไม่ถูก เราก็เกิดความท้อถอย เกิดความฝืนใจ เกิดความทุกข์ แทนที่จะได้กลับไม่ได้ ซ้ำเติมตัวเอง ฉะนั้นพอเราเจองานยาก เราต้องตั้งใจรับพลิกทันที เออดีแล้วเจอมัน เอาละเราจะได้แล้ว บางทีนึกมองในแง่ที่ว่า เอาละพอใจเราตั้งรับปั๊บว่า เออดีแล้วเป็นโอกาสจะได้ฝึกตัวเอง สภาพจิตมันเปลี่ยนทันที จากจิตที่มันท้อแท้ ทุกข์ฝืนใจ เออกลับเป็นว่า เราได้โอกาส จิตดีเลย จิตดีแล้ว ตั้งรับ สุขภาพจิตก็ดี พอใจมันดีอย่างนี้แล้ว ใจมันพร้อมก็เรียนรู้ได้ดี ปัญญามันก็มา สภาพจิตมันเป็นพวก ฝ่ายจิตมันดี ฝ่ายสมาธิมันมา ปัญญามันก็เดินง่าย แต่ถ้าจิตมันไม่ดี ปัญญามันก็ไม่เอา เรียนรู้อะไรก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องตั้งใจรับให้พร้อม
คืออย่างนี้ต้องเรียกว่า ทางธรรมะท่านสอนไว้ ให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ทุกอย่าง เอ็งแกมาดีมาร้ายข้าเอาได้หมด ต้องอย่างนี้นะ แล้วเอาไปฝึกตัวเอง ฝึกตัวเองก็คือว่า เราเจอสถานการณ์อะไรดีร้าย เราปรับใจ รับมันได้ไหม เอาประโยชน์จากมันได้ไหม ต้องได้หมด พอเห็นไหม เห็น อย่างนั้นไม่ต้องกลัว อย่างน้อยเราได้พัฒนาชีวิตของเรา จากการทำงาน งานการทุกอย่าง อาชีพทุกอย่างนี่เป็นแดนพัฒนาคนอย่างดีเลย สุดท้ายก็ต้องมองช่องทางพัฒนาตนเอง แล้วเราเมื่อมองเห็นช่องทางเราก็ไปได้เลย ถ้าเราไม่มีช่องทาง ไม่มีจิต ไม่มีปัญญาที่จะมองเห็น ก็ตื้อตันไปหมด แทนที่จะได้ก็เสียเลย ทีนี้มองเห็นไปได้หมด ได้ทุกอย่าง
ที่ว่าอย่างน้อยก็ฝึก ศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละ ฝึกอะไร ฝึกพฤติกรรม ใช่ไหม ตั้งแต่ทักษะ ความจัดเจน ในการกระทำต่างๆ ใช้มือ ใช้เท้า การที่จะรู้จัก ไปใช้พฤติกรรม เช่น การเดิน การไปหาผู้คน อะไรต่างๆ ไปเจรจา ไปพูดจาฝึกในการพูด พูดกับคนอย่างไรจะได้ผลต่างๆ ต้องฝึกหมดแหละ คนเรา แล้วคนเราจะฝึกดีที่สุดก็จากอาชีพการงาน ฝึกไปเถอะ แล้วท่านก็พูดในการรู้จักคบหาสัมพันธ์กับผู้คน ทำอย่างไรการสัมพันธ์นั้นจะได้ผลดี แล้วก็ฝึกจิตใจของเราไป เราก็มีวินัยในตนเอง มีความเข้มแข็ง มีความอดทน มีสติดี มีสมาธิ อะไรต่างๆ ฝึกจากงานนี่ได้มาก ที่ได้มากที่สุดก็คือ ปัญญา คอยมอง คอยสังเกต คอยจับ คอยวิเคราะห์ ปัญญาได้เรื่อยเลย เพราะฉะนั้นคนที่เขาพัฒนาก็มักจะอย่างนี้แหละ รู้จักเอาประโยชน์จากทุกสิ่ง ดีร้ายได้หมด