แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
นี้เรื่องนิกายมหายานในญี่ปุ่น ที่ว่าญี่ปุ่นนี่เป็นมหายานเราพูดคลุม ๆ ไป พูดแบบเหมารวม ที่จริงนั้นก็มหายานอย่างในญี่ปุ่นประกอบด้วยนิกายย่อยเยอะแยะไปหมดที่เราเรียกว่า อาจาริยวาทต่าง ๆ แล้วก็ต่างกันมาก แล้วก็นิกายเหล่านี้ก็เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนในยุคต่าง ๆ ความต้องการของประชาชนก็ขึ้นต่อสถานการณ์ ภาวะการณ์ของสิ่งแวดล้อม สภาพสังคม การเมือง การปกครอง การทหาร การสงคราม อย่างเราจะเห็นว่าในสมัยที่นิกายเซนเกิดขึ้น ก็เพราะว่าเกิดพวกซามูไร ซามูไรกำลังรุ่งเรือง ซามูไรนี้ก็ต้องการความเข้มแข็ง ต้องการระเบียบวินัย ต้องการฝึกฝนตัวเองจิตใจที่เข้มแข็งอย่างยิ่ง นี้ญี่ปุ่นยุคนั้น ก็จะมีพุทธศาสนาอื่นๆ กำลังเกิดขึ้นสนองความต้องการของประชาชนแบบต่างๆ เรียกว่าประชาชนว้าเหว่ ต้องการที่พึ่ง เกิดนิกายสุขาวดี นับนับถือพระอมิตาภะ ส่วนเนบูซุ เนบุซุก็คือ นะโม โอมนะโมอมิตาภะ ก็หมายความว่าให้สวดออกชื่อ อามิตตาภะขอให้พระอมิตาภะมาช่วยให้รอด ให้พ้น ให้พ้นภัยได้ความสุข ให้ไปสวรรค์ ออกให้พระนามพระองค์แล้ว วันละพันครั้ง หรือมากที่สุดตายแล้วจะได้ไปอยู่กับพระอมิตาภะที่สวรรค์สุขาวดี เรียกว่าสวรรค์ตะวันตก นี่ก็เป็นแบบพุทธศาสนาแบบง่าย ๆ แบบอ้อนวอนขอร้องเลยอาศัยมหากรุณา
แต่นี้พอพวกซามูไรเกิดขึ้น นิกายแบบนี้ไม่ช่วย ไม่สนองความต้องการ เพราะว่าพวกซามูไรไม่ต้องการความเข้มแข็ง ก็กลายเป็นว่าเกิด พุทธศาสนาแบบเซน พวกนี้ก็ในฝ่ายพระก็คือ ที่ว่า อื้ม พุทธศาสนาเสื่อม เละเทะแล้ว ย่อยหย่อนอะไรกันอ้อนวอนอะไรต่ออะไรเอาก็ได้ ฉะนั้นต้องฟื้นฟูพุทธศาสนาที่แท้ ท่านก็ตั้งพุทธตั้งนิกายนี้ ซึ่งพระอาจารย์ก็ปรารภอันนี้ แล้วก็ไปฝึกสมาธิเรียนพุทธศาสนาแบบที่มีการฝึกสมาธิใช้ระเบียบวินัยเคร่งครัดฝึกจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง ก็กลายเป็นว่าเข้ากับพวกนักรบซามูไรได้ ก็เข้ายุคที่ซามูไรกำลังจะรุ่งเรือง ก็เลยนิกายเซนก็มารุ่งเรืองด้วยพวกซามูไรนี้ จนกระทั้งว่าเป็นพื้นฐานของลัทธิบูชิโด ซึ่งเป็นตำหรับใหญ่ของซามูไร ซามูไรนี้เขาจะใช้ลัทธิบูชิโด เป็นหลักแนวทางในการปฏิบัติดำเนินชีวิตแบบแผนระเบียบวินัยอะไรต่าง ๆ ของพวกพวกซามูไร ท่านบูชิโดนี้ก็ตั้งอยู่บนฐานของนิกายเซน นี่ก็จะเห็นว่า
1 ก็คือมหายานนี่ประกอบด้วยอาจาริยวาทย่อยอะไรต่าง ๆ มากมาย เช่นอย่าง นิกายเซน นิกายโจโด นิกายชิน นิกาชินงอน นิกายนิชิเรนอะไรพวกนี้ต่างกันไปกันเยอะแยะ ทีนี้ว่านอกจากมันมีนิกายต่าง ๆ เยอะแยะแล้ว นิกายเหล่านี้ก็แตกต่างกัน ขัดแย้งกัน สอนกันคนละแบบ บางทีต่างกันมากมายเหลือเกิน จนกระทั้งบางนิกายคล้าย ๆ ว่ามาใกล้กับเถรวาทเรามากกว่าพวกเขาเอง
นี่ถ้าหากว่าเรามาได้รับยกย่องให้เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลกนี่ เราก็ต้องรู้ทันสภาพเหล่านี้ ที่ว่าทางมหายานเขาต้องยินดีให้ทางพุทธศาสนาในประเทศไทยหรือประเทศไทยมีพุทธมณฑล นี่เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาของโลก เขาก็คงมีอะไรในใจเขา ถ้าเราจะช่วยเขาได้ ก็อย่างที่เคยบอกแล้ว เราก็ช่วยประสานความสามัคคีอันนี้ก็ดีแล้ว สมานสามัคคีนั้นไม่ใช่หมายความสมานสามัคคีเฉพาะเถรวาทกับมหายานน่ะ จริง ๆ ก็คือที่แท้แหละ ให้ดีก็คือช่วยสมานสามัคคีมหายานของที่แตกเป็นนิกายย่อย ๆ เล็กๆ น้อย ๆ ด้วย เราจะช่วยได้มากแนว แล้วก็อย่างที่บอกแล้ว เขารู้แล้วว่าพุทธศาสนาสอนดั้งเดิมแท้นี้อยู่ในเถรวาทคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลี รักษาพุทธพจน์ไว้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด แม่นยำที่สุด พอก็ถึงตกลงกันในญี่ปุ่น อย่างที่เล่าให้ฟังในนั้นแล้วว่า จะศึกษาพุทธศาสนามหายานก็จริงเพราะเป็นเรื่องของตัวเขาเอง แต่ต้องศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทโดยเฉพาะพระไตรปิฎกเป็นพื้นฐาน อันนี้เป็นข้อตกลงของเขาเองแล้ว อันนี้เมื่อเรารู้อย่างนี้ เราก็เห็นชัดว่าเขามาคบกับเรา อันหนึ่งเขาต้องการ ที่จะมองดูเรา ว่า
1 เถรวาทนี่เป็นอย่างไร
2 ก็คือสิ่งที่เรามี ก็คำสอนของเถรวาทพระไตรปิฎกบาลีเดิม ทีนี้เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วการเป็นศูนย์กลาง อย่างหนึ่งก็คือการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ทำประโยชน์ให้แก่โลก ทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนศาสนิกชนด้วยกัน หนึ่งก็คือว่าเราเป็นศูนย์กลาง เขาต้องการมาดูแลเถรวาท เราก็ต้องดูว่าเรามีอะไรให้เขาดู เรามีเถรวาทให้เขาดูจริงไหม มีเถรวาทที่ถูกต้องหรือเปล่า ซึ่งจะเป็นการเตือนตัวเองแล้วเราก็จะรู้ตัวที่จริงเรานี่แย่เต็มที แม้แต่เถรวาทเราก็เรียกไปอย่างนั้นเอง ไอ้ตัวเรามันก็แทบจะไม่เป็นอยู่แล้วมันเป็นอะไรก็ไม่รู้ ไปขูดเลขหวยตามต้นไม้ ไปแล้วอะไรอย่างนี้เป็นต้น ใช่ไหม ฉะนั้นตัวเองก็ต้องฟื้นคำสอนที่แท้ของตัวเอง ที่เรียกว่าเถรวาทขึ้นมาให้เขาเห็นว่าเถรวาทที่แท้เป็นอย่างไร ก็เรียกว่ามีสิ่งที่เขาต้องการจะดูให้เขาดู นี่เถรวาทให้เขาดู แล้วเป็นเถระว่าที่แท้ เท่าที่เป็นไปได้
2 ก็มีสิ่งที่เขาต้องการที่จะให้แก่เขา ก็คือมีหลักธรรมของเถรวาทมีพระไตรปิฎกบาลี มีอะไรต่าง ๆ เขามีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาษาบาลีหลักธรรมของเถรวาทอะไรต่ออะไรที่เขาห่างเหินมา ที่เขารู้แล้วว่าเป็นคำสอนเดิม เราก็มีพร้อมที่จะให้แก่เขา ก็ต้องถามตัวเองว่าเรามีที่จะให้แก่เขาไหม อันนี้สำคัญ นี่คือการทำประโยชน์แก่เขา ส่วนนอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นเรื่องของการที่ว่า จะได้เรียนรู้ รู้จักเขา รู้จักพุทธศาสนาที่เป็นอย่างอื่น แยกย่อยไปเป็นต่าง ๆ นั้นเป็นความรู้ที่เราต้องยอมรับว่า พุทธศาสนาเถรวาทในเมืองไทย เราเนี่ย เราต้องติเตียนเราน่ะ อย่างไปว่า อย่างลังกา เขารู้กว้างกว่าเรา ทางไทยเถรวาทนี่ เราค่อนข้างแคบ ได้ย้ำไปในนั้นแล้วว่าแคบ 2 อย่าง ต้องแยกกัน รูปแคบก็ใจแคบ หรือใจแคบก็ปัญญาแคบ ของเรานี่เราอาจจะบอกว่าไม่ใจแคบ แต่ว่าความรู้นี่มันแคบ ถ้างั้นก็จะต้องมีความเข้าใจให้ทั่วถึง แล้วจะได้รู้ทัน แล้วได้ทำอะไรได้ถูกต้อง แม้แต่สนองความต้องการเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาของโลก ก็เป็นได้ถูกต้องเมื่อมีความรู้ ถ้าไม่มีความรู้มันเป็นไม่ถูกหรอก บางทีมันเสียตัว เพราะฉะนั้นเลยคิดว่าตั้งชื่อเรื่องที่พูดคราวนี้ ทำนองว่า เป็นศูนย์กลางพุทธโลกทั้งทีต้องสมานสามัคคี และมีดีให้เขา โดยที่เราเองก็ไม่เสียตัว เพราะถ้าปฏิบัติไม่เป็นน่ะ ก็เสียตัวเลย ก็คือเที่ยวนึกว่า อยากจะเป็นศูนย์กลางก็ไปปนเปอะไรต่ออะไรกับเขาใช่ไหม ถ้าเสียตัวดีไม่ดีก็หมดตัวเลย ก็เป็นศูนย์กลางให้เป็น หรืออาจจะตั้งว่า ศูนย์กลางพุทธโลกที่ดีต้องสมานสามัคคี และมีดีให้เขา โดยเราเองก็ไม่เสียตัว หรือก็ต้องไม่เสียตัวอะไรทำนองนี้ และก็ต้องรู้เหล่านี้เพราะว่าเวลาพูดมหายานเนี่ย คนไทยจะคลุมเครือเหมารวม ที่แท้เขาเองก็เป็นกันไปต่าง ๆ มากมาย แค่มหายานกับวัชรยานก็แยกไม่เป็นแล้วคนไทย แล้วก็ไม่รู้ว่า ตัวเขาเอง เขาก็ไม่ยอมรับ มหายานอยู่ ๆ เขาก็รวมทิเบตลามะเข้าในมหายานด้วย แต่ทิเบตเขาเองเขาไม่ยอม เขาบอกว่าฉันไม่เป็น ฉันไม่ใช่มหายาน ฉันเป็นวัชรยาน ก็ตอนผมไปอยู่ howard ก็ต้องไปอภิปราย อภิปรายกับพระเซนก็มี อภิปรายกับพระทิเบตก็มี แล้วก็ได้รู้ได้สังสรรค์กับท่านเหล่านี้ ก็ต้องเป็นมิตรกันน่ะ แต่ว่าเป็นมิตรมีเมตตา ก็ต้องมีความรู้เข้าใจ ไม่ใช่เป็นมิตรไปโง่ ๆ เมตตาด้วยโมหะ แต่ถ้ามีแต่เมตตา โดยโมหะไม่รู้ ก็กลายเป็นฉันทาคติ แล้วก็โมหาคติติดเข้าไปด้วยอีก ก็ได้ฉันทาคติโมหาคติ กี่ตัวแล้ว ก็ 2 ตัว ได้ 4 ตัว ก็แย่แล้ว ฉันทาโทสา ภยา โมหา ฉะนั้นก็ต้องมีทั้งปัญญาและเมตตา
ตอนนี้ก็เข้าหลัก พระพุทธคุณ คือว่าพระคุณของพระพุทธเจ้านี่มีเป็นหลักสองที่เคยพูดไปแล้ว ที่ไทยเราเอามาแยกกันเป็น 3 หลักเดิมมี 2 มีพระปัญญาคุณกับพระมหากรุณาคุณ ท่านก็เรียกแค่ปัญญากับกรุณา นี้ก็อย่างที่บอกแล้วว่าปัญญาให้สำเร็จพุทธภาวะ กรุณาให้สำเร็จพุทธกิจ ปัญญาให้สำเร็จความเป็นอัตนาถพึ่งตัวเองได้ กรุณาทำให้เป็นโลกนาถะ หรือ โลกนาถความเป็นที่พึ่งของโลก ก็ต้องคู่กันไป ทีนี่พระพุทธเจ้าก็มีพระคุณนี่ 2 เป็นคู่กัน นี่ในการที่เรามาสัมพันธ์กันเนี่ย เราก็ต้องใช้พระคุณ 2 อย่างนี้ แต่นี้ว่าเราอาจจะต้องปรับนิดหนึ่ง ปัญญากรุณาเป็นพระคุณกับพระพุทธเจ้าเป็นพระคุณหลัก 2 อย่าง แต่กรุณานั้นเป็นของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พ้นทุกข์แล้ว มองดูสัตว์ทั้งหลายผู้มีทุกข์ก็ใช้กรุณา แต่เรานี่คบกับคนที่ถือว่าเสมอกัน เราต้องใช้เมตตา เพราะฉะนั้นแทนที่จะใช้ปัญญากับกรุณานี่ โดยปกตินี่ให้ปัญญากับเมตตา สำหรับในการคบหาระหว่างผู้ที่เสมอกัน เพราะฉะนั้นในการที่คบหากันในระหว่างนิกายอะไรต่ออะไรนี่ มันก็จะมาเน้นเรื่องปัญญากับเมตตา นี่ก็เรื่องของเถรวาทมหายาน ก็อีก ก็มีศึกษากันมาบอกว่า ทางเถรวาทเน้นปัญญา คือคนจะบรรลุธรรมต้องเพียรพยายามด้วยตนเอง เรียกภาษาฝรั่งเรียกว่า Selfever ที่นี้ทางฝ่ายมหายานนี้ก็เน้นกรุณา ก็คือเน้นมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า ถือว่าพระพุทธเจ้ามาช่วยได้ จนกระทั่งไป ๆ มา ๆ บางนิกาย อย่างสุขาวดีนี่นะ ถึงกับว่าแทบจะอ้อนวอนให้พระพุทธเจ้าให้ช่วยตัวเองแทบไม่ต้องทำอะไร เข้ากับคติฝรั่งที่ว่า ใช้คำว่า Grace หรือว่า Saving Grace Grace ก็คือกรุณา Savingที่มาช่วยโปรด มหากรุณาโปรดประทานนั่นเอง Saving Grace มหากรุณาโปรดประทานของพระพุทธเจ้า ก็เลียนศัพท์มาจากฝรั่ง ฝรั่งก็คือ Saving grace ของพระผู้เป็นเจ้า เพราะเป็นลัทธิพระผู้เป็นเจ้า ทีนี้ถ้าหากว่า เถรวาทเอาแต่พระปัญญา จะต้องเพียรพยายามด้วยตนเองอย่างเดียวจึงจะสำเร็จ แล้วก็ต้องด้วยความเพียรแล้วก็พัฒนาปัญญาให้บรรลุโพธิญาณ ให้ตรัสรู้ ให้บรรลุธรรม แล้วก็มหายานเน้นกรุณา เอาแต่ว่า พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าจะมาช่วยอะไรอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ก็เป็นสุดโต่ง แสดงว่าไม่ถูกทั้งคู่ ถ้าเป็นจริงนะ แต่จริง ๆ หลักธรรมไม่ใช่อย่างนั้น หลักเถรวาท ผมว่าไม่ใช่อย่างนั้น นี่ก็ว่ากันไปแหละ คน อาจารย์ที่ปรึกษาบางท่าน แต่ก็เป็นเครื่องเตือนว่าชาวพุทธเถรวาทเองก็จะไปสุดโต่งได้คือ ในไม่ใช่ตัวหลักคำสอน แต่ว่าความคิดความเห็นของบางคนที่ศึกษา ถึงแม้จะเป็นครูบาอาจารย์ หรือที่ปฏิบัติกันมา แต่ดีที่ว่าเรารักษาคัมภีร์ตัวพุทธพจน์พระไตรปิฎกเดิมไว้ แม้ว่าการเชื่อถือของบุคคลของกลุ่มชน ของแม้แต่พระสงฆ์ สถาบันอะไรต่ออะไรจะเป็นไปยังไงก็ตามปฏิบัติไปยังไง มันก็ขึ้นค่าโดยเฉพาะสถาบัน บุคคล กลุ่มชน เช่นในวัฒนธรรมเป็นต้น แต่มันก็ไม่ไปทำลายตัวหลักการเดิม เพราะหลักการเดิมยังรักษาคัมภีร์ไว้ โอกาสที่กลับไปฟื้นได้อีก ก็แปลว่าตัวคำสอนที่แท้นั้นยังมีทั้ง 2 อัน ปัญญากรุณา ไม่ใช่มาอยู่อันเดียวโดดเดี่ยวหรือดิ่งไป หรือสุดโต่ง ทีนี้ถ้ากรุณาเป็นจุดเน้นของมหายาน จนกระทั่งว่าไม่ต้องทำอะไรแล้ว อ้อนวอนขอร้อง พระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์มาช่วยอย่างเดียวก็ไปได้เลยอย่างนี้ก็จบกัน มันก็ไม่ใช่พุทธศาสนาแล้ว
ที่จริงมันต้องทั้ง 2 อันน่ะแหละ กรุณาเราก็อาศัยกัลยาณมิตรครู อาจารย์ ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมาคำสอนของพระองค์ ก็มาจากพระมหากรุณา ที่เกิดจากปัญญาตรัสรู้เอามาสั่งสอน แล้วก็ถ่ายทอดกันมา แล้วครูอาจารย์ก็มากรุณาในอีกระดับหนึ่ง ก็มาถ่ายทอดสั่งสอนกันไป แล้วก็มีกัลยาณมิตรทั้งหลาย มีเมตตาบ้าง กรุณาบ้าง ก็มาช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน อันนี้ก็เป็นหลักสำคัญใช่ไหม หลักกัลยาณมิตตตา เราไม่ได้ปฏิเสธ เป็นแต่ว่า เราจะเห็นได้เหมือนกันว่า เป็นไปได้ว่าในประเทศเถรวาท หลักกัลยาณมิตตตานี่ค่อนข้างจะถูกเน้นน้อยไปหรือพูดถึงน้อยไป เหมือนอย่างที่ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า ที่พระอานนท์เคยไปกราบทูลบอกว่า โอ้ ความมีกัลยาณมิตรนี่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ พระอานนท์กล่าว พระพุทธเจ้าตรัสบอก อานนท์ ใช่กัลยาณมิตรนี่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ไม่ใช่แค่ครึ่งหนึ่งนะไม่ใช่อุปทะไม่ใช่กึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์แต่เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญแก่ความมีกัลยาณมิตรมาก แล้วบอกเราเป็นกัลยาณมิตรของสรรพสัตว์ ส่วนพระองค์พระพุทธเจ้าเองเป็นกัลยาณมิตร มันก็เป็นเรื่องที่อยู่ในหลักนี้ด้วย เพราะว่าเวลาคบหากันก็จะมาพูดถึงเรื่องพุทธคุณ 2 อย่าง ปัญญากับกรุณา ทั้งในแง่ของการปฏิบัติต่อกันระหว่างผู้คบหา และทั้งในแง่การพูดถึงคุณสมบัติพระพุทธคุณ 2 ประการ ที่อาจจะไปอ้างอิงเรื่องที่ว่ามหายานเน้นอย่างหนึ่ง เถรวาทเน้นอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่ามันเน้นอย่างนั้นไปจนกระทั่งไปสุดโต่งก็ต้องมาเตือนกันว่า ให้ปรับซะให้มันพอดี นี่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่น่าจะผ่านไปได้
แต่นี้ก็อีกอันหนึ่งก็คือ เรื่องของนิกายของพุทธศาสนาของญี่ปุ่นมหายานมีมากมายเนี่ย ที่ว่าต่าง ๆ กัน เมื่อกี้ก็ข้ามไปอันนึง ก็อย่างนิกายเซนก็เคร่งครัดมาก มีถือระเบียบวินัย ฝึกสมาธิเอาจริงเอาจัง ทีนี้นิกายเซนแต่ก่อนนี้ไม่มีครอบครัว เพิ่งจะมาระยะหลังนี่ก็เกิดมีครอบครัวในระดับหัวหน้าขึ้นมา แต่ว่ามันมีนิกายที่มีครอบครัวมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ซึ่งจะเห็นแต่ก่อนต่างกันมากมาย ก็คือนิกายชิน ซึ่งเกิดในยุคคามากูระเหมือนกันกับเซนนี่แหละ เซนทั้งรินไซเซน โซโตเซน ก็เกิดคามากูระ ยุคคามากูระที่ว่า 1185 ถึง 1333 ค.ศ. แล้วก็นิกายชินงอน ที่ว่าวัชรยานแบบทิเบต ก็เกิดยุคคามาคุระ อ๋อ ชินงอนเกิดยุคนาราขอโทษ เอ้ยุคเฮอัน ขอโทษ มันหลายยุค ยุคนารานั้นไม่ใช่ เหลือแต่นิกายเล็ก ๆ และยุคเฮอัน เฮอันนี่แหละเกิดนิกายชินงอน ชินงอนเป็นแบบวัชรยาน ทีนี้คามาคุระ คามาคุระก็เกิดนิกายสำคัญสามัญคือเซน สุขาวดี หรือ Pure Land ตามภาษาฝรั่ง แล้วก็นิกายนิจิเลน 3 นิกาย 3 นิกายใหญ่ก็แยกย่อย เซนก็รินไซเซน โซโตเซ็น ทั้ง 2 นิกายย่อย นี้เกิดยุคคะมะกุระ แล้วทีนี้นิกายสุขาวดี ก็มี 2 นิกายใหญ่ นิกายย่อยไม่มี แต่ในที่นี้เราพูดถึงนิกายใหญ่ ก็คือโจโด โจโดเดิม ของท่านโฮเนน โจโดนี้ก็นิกายสุขาวดีนับถือพระอมิตาภะ ส่วนเนบุซึอย่างที่ว่าเมื่อกี้ขอให้พระอมิตาภะได้โปรดประทานมหากรุณาช่วย
ทีนี้ท่านชินแลนนี่ ท่านเห็นว่าโจโดนี่ยังไม่แท้ ยังไม่สุขาวดีแท้ ท่านก็ตั้งนิกายโจโดชินขึ้นมา แก้โจโด เป็นโจโดชิน โจโดชินก็แปลว่าโจโดแท้ ก็เป็นสุขาวดีแท้ขึ้นมา ทั้งโจโดและโจโดชินนี่ก็เกิดในยุคคะมะกุระด้วยกัน โจโดชินนั้นเรียกสั้น ๆ ว่าชิน นั้นเดี๋ยวนี้เรียกว่าชินน่ะ ให้ได้รู้หมายความว่าโจโดชิน โจโดสุขาวดี แล้วก็ชินสุขาวดีแท้ ในความหมายของผู้ตั้งนิกายคืออาจารย์ชินแลนนี้ท่านชินแลนนี่ท่านก็เปลี่ยนหลักระบบของนิกาย ท่านบอกว่าท่านมีคำที่เป็นหลักลัทธิอันหนึ่ง หลักของนิกายว่า ไม่มีพระไม่มีคฤหัสถ์ ก็หมายความว่าไม่ต้องบวช ไม่ใช่ หมายความไม่ต้องมีพระภิกษุที่บวชเป็นนักบวช ไม่แยก เพราะฉะนั้นนิกายชิน พระของนิกาชินก็ไม่แยกชีวิตออกมาเป็นพระภิษุที่มีชิวิตต่างหาก สละครอบครัวไม่ต้อง พระนิกาชินก็นุ่งห่มเป็นอยู่เหมือนคฤหัสถ์ทั่วไป ก็คือว่าไว้ผมยาวหวีผมแป้น่ะ ไม่ต้องโกนศรีษะ แล้วก็ไม่ต้องห่มจีวรก็คือ นุ่งห่มเสื้อชุดคฤหัสถ์ ในยุคปัจจุบันก็นุ่งห่มใช้ชุดสากล พระชินที่ผมไปเจอก็ใช้ชุดสากล แต่งชุดสากลแล้วก็ทำธุระกิจ เป็นเจ้าของกิจการค้าขาย เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมบ้าง เวลาเข้าพิธีก็สวมเสื้อคลุม เสื้อคลุมของเขานี่เป็นผ้าคลุม เป็นคล้าย ๆ เป็นตา ๆ คล้าย ๆ ผ้ามุ้งแต่สีดำสนิท ก็เอาเสื้อคลุมสีดำเหมือนผ้ามุ้งนี่ มาสวมทับชุดสากลเข้าไปแล้วก็ประกอบพิธี แล้วก็อาจจะมีปื้นผ้า แผ่นผ้าเป็นปื้นสีเหลืองคล้าย ๆ สังฆาฏิน้อยมาพาดคอ ถ้าเห็นอย่างนี้ให้รู้เป็นพระนิกายชินของญี่ปุ่น พระนิกายชินถ้าเต็มยศเวลาไปพิธีการเต็มยศก็อย่างนี้ ก็ใส่ปื้นหรือแผ่นผ้าสีเหลืองนี่ คล้าย ๆ สังฆาฏิแต่แผ่นนิดเดียว เวลาคนไทยไปเห็น ชาวพุทธไทยไปเห็นก็จะทำให้ไปนึกถึงคำโบราณในคัมภีร์ที่บอกว่า ผ้าน้อยห้อยหัว อะไรนั้นน่ะ ผ้าเหลืองห้อยหัว คล้าย ๆ อย่างนั้น แต่อันนี้ห้อยคอ นี้ตกลงเขาก็มีชีวิตอย่างคฤหัสถ์ จะเห็นว่าพระญี่ปุ่นเป็นอย่างไร ต่างกันมาก พระนิกายเซน พระนิกายชินนี่ใช่ไหม ไปคนละเรื่อง ไปคนละทิศคนละทาง เราต้องรู้เข้าใจเหล่านี้
แต่ว่าถ้าหากว่าเขาตกลงกันได้อย่างที่ว่า อย่างที่เขาพูดน่ะ นี่ต้องพูดในตำราของอาจารย์ที่ผมบอกวันนั้นอาจารย์ Professor Kosuke Mizuno ที่เป็น Vice President ของมหาวิทยาลัย Komazawa มหาลัยวิทยาลัยพุทธศาสนาที่โตเกียว ท่านผู้นี้เขียนเล่าไว้ว่า เล่าอีกทีก็ได้ว่า 2511 เล่าอีกทีก็ได้ว่า แต่ก่อนนี้ชาวมหายานก็ไม่รู้จักเถรวาท ไม่รู้จักพระไตรปิฎกบาลีเป็นอย่างไร จนกระทั่งในสมัยที่มีฝรั่งเข้าไป ก็คือยุคอาณานิคมแล้ว ฝรั่งได้ศึกษาพุทธศาสนาก่อนกว่าเขา พุทธศาสนาต่าง ๆ แบบอื่น เพราะฝรั่งนี่กระจายไปอยู่ตามอาณานิคมก็ได้เรียนรู้วัฒนธรรมศาสนาความเชื่ออะไรต่ออะไร เกิดเลื่อมใส เปลี่ยนศาสนา แล้วมานับถือพุทธบ้าง ไม่นับถือไปเป็นนักปราชญ์ทางบาลีบ้างอะไรอย่างนี้ ตั้งสมาคม ตั้งกิจการศูนย์กลาง การศึกษาอะไรกันขึ้นนี่ บางพวกก็ไปญี่ปุ่น ก็ทำให้ชาวพุทธมหายานญี่ปุ่นพลอยรู้จักพุทธศาสนาเถรวาท รู้จักพระไตรปิฎกบาลี แล้วก็เรียนรู้กันว่า โอ้คำสอนที่แท้ของพุทธศาสนา นี่ก็คือคำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฎกบาลีของเถรวาท พุทธพจน์ที่รักษาไว้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดก็คือพระไตรปิฎกบาลี ชาวพุทธญี่ปุ่นก็เถียงกันอยู่นาน เพราะแก่เราไว้เป็นเรื่องของการโต้เถียงการศึกษาอะไรต่ออะไรก็ยิ่ง ญี่ปุ่นก็ต้องยอมรับว่า เขาก็เป็นนักเอาจริงเหมือนกันนะครับ น่ะเป็นคนจริงเหมือนกันในเรื่องการศึกษา เขาก็มาถกเถียงอะไร ๆ แล้วก็ยอมรับกันว่า เป็นอันว่าคำสอนแท้ของพุทธศาสนานั้นอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีของเถรวาท รักษาได้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ก็เลยตกลงกันว่า แม้เราจะมหายานหรือที่ถือว่าตัวสูงกว่าใหญ่กว่า
แต่ถึงอย่างงั้น เมื่อศึกษาพุทธศาสนามหายานเนี่ย ก็ขอให้ศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทในพระไตรปิฎกบาลีเป็นพื้นฐานก่อน นี้ถ้าญี่ปุ่น ชาวพุทธมหายานในญี่ปุ่นตกลงกันได้อย่างนี้ เราก็ไม่รู้ว่าตกลงกันได้สมบูรณ์แค่ไหนน่ะครับ เพราะอันนี้เป็นคำเล่าของอาจารย์ของญี่ปุ่นเอง เพราะว่าญี่ปุ่นเขามีหลายนิกายอยู่แล้ว เขาจะลงกันได้สมบูรณ์แค่ไหนเราก็ไม่รู้ แต่ทีนี้ว่าถ้าตกลงกันได้อย่างนี้ แม้จะตกลงไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ เอาแค่ 60 ,70 เปอร์เซ็นต์ก็แล้วแต่นี่ ก็เป็นอันว่ามหายานที่เป็นนิกายเล็กน้อยอาจจะเป็นอาจาริยวาทต่าง ๆ ของเขา ซึ่งแตกต่างกันไปคนละอย่างสองอย่าง กลับมารวมกันได้ที่เถรวาท ก็คือมายอมรับร่วมกันว่า เอ่อเรามีคำสอนเถรวาทพระไตรปิฎกบาลีเนี่ยเป็นพื้นฐานเดิม ก็กลายเป็นว่าพอถืออย่างนี้ มันก็กลายมีจุดรวมใช่ไหม มหายานทุกนิกาย ทุกอาจาริยวาทย่อยก็มีพื้นฐานเดียวกันอยู่ที่เถรวาท อ้าวทำไมมีเถรวาทคำสอนพระไตรปิฎกบาลีเป็นศูนย์กลางเป็นที่รวมกัน มันก็กลายเป็นมารวมกันเถรวาทโดยปริยายไปเองโดยอัตโนมัติใช่ไหม เพราะเถรวาทก็ถือพระไตรปิฎกบาลีอยู่แล้ว เพราะกลายเป็นว่าพระพุทธศาสนาทั้งโลก ก็มีศูนย์กลางรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่พระไตรปิฎกบาลี หรือคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาเถรวาทนั่นเอง กลายเป็นศูนย์รวมอยู่แล้ว ตอนนี้ก็ได้เป็นศูนย์รวมไปเองเลย และส่วนที่นอกเหนือจากนี้ที่เขาบอกว่าเขาสูงกว่า แล้วเราจะไปสูงกว่าได้ยังไง ก็เป็นเรื่องของแต่ละอาจาริยวาท เรื่องของแต่ละนิกายใช่ไหม เซนเขาว่าฉันสูงกว่า ในแง่ของฉัน นิชิเร็นเขาก็ไม่ยอมรับว่าไอ้ที่เซ็นบอกว่าสูง ก็สูง เขาก็ว่าของเขาสูง ไอ้ส่วนที่สูงของเขาก็ต่างไป ส่วนของชินงอนก็ต่างไป ของชินโด โจโดก็ต่างไปอีก ของชินโจโดก็ต่างไปอีก ต่างคนต่างสูง ต่างคนต่างสูงก็แย่งกัน แต่ไอ้ส่วนที่เป็นพื้นฐานนี้ที่รวมกันได้ ก็รวมกันที่เถรวาทนี่แหละ เขาจะว่าต่ำเติ่มอะไร เราก็ว่า คุณว่าคุณยอม ก็ต้องศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทใช่ไหม เป็นศูนย์รวม บอกว่า เอาละจะว่าต่ำว่าสูง ก็ไม่ว่าอะไร ก็ยอมรับแล้วนี่ว่าคำสอนเดิมอยู่ที่นี่ อันนี้ก็คือเป็นเรื่องความรู้ที่เราจะต้องควรเข้าใจ ไม่งั้น พอบอกว่าเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาของโลก เป็นยังไงก็ไม่รู้ใช่ไหม ถ้าไม่รู้เรื่องราวความเป็นมาเหล่านี้ ไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจว่าเดี๋ยวนี้ในมหายาน เขามีความรู้ความเข้าใจยังไง เขามองเราอย่างไร เขาต้องการอะไรอย่างไร เราจะช่วยอะไรเขาได้ ไม่รู้เรื่องรู้ราวแล้วจะไปเป็นศูนย์กลางอะไรได้อย่างไรใช่ไหม นี่ก็เลยทำให้รู้
อย่างนิจิเร็น แกดูถูกนิกายอื่นมาก อย่างที่เล่าวันนั้น นิชิเร็นนี่ ตอนที่ท่านนิจิเรนตั้งนิกาย ท่านบอกว่าเจ้านิกายชินงอนวัชรยานนี่ รู้ความแต่เรื่องพิธีกรรม มีแต่จะนำไปสู่หายนะว่างั้น คือไม่มีสาระว่างั้นนะ แล้วก็ว่านิกายเพียวแลนสุขาวดี โจโด โจโดชิน ไปบอกว่านี่ เนมุสุบอกว่าจะนำไปสู่สวรรค์สุขาวดี ไม่ใช่หรอก มันนำไปสู่นรก นิชิเรนว่าอย่างนี้นะ แล้วก็บอกว่าเซน เซนก็ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เซนเป็นคำสอนของมารของอสูร อย่างดีก็ของเทวดา ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า เนี่ย แล้วก็มีนิกายวินัย นิกายวิสุ ท่านนิชิเรนก็ว่า บอกว่านี่ นิกายนี้มันขัดขวางการพัฒนาประเทศชาติ รุนแรงมากนิกายนิชิเรน นิชิเรนนี่กำลังเข้ามาไทยมาก น่าจะเข้ามามากกว่านิกายอื่น นิกายนิชิเรน นิกายสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือเรียกตามคำสวดที่จะได้ยินได้ฟังง่ายว่า นะมุเมียวโฮเร็งเงเคียว เข้าเมืองไทยมากนิกายนี้ แล้วอย่างที่บอกว่ามีพรรคการเมืองตั้ง ก็มีสาขาย่อยชื่อ สาขาย่อยของนิกายนิชิเรน ชื่อ โซคางักไก ซึ่งกำลังรุ่งเรือง แล้วโซคางักไก ก็ตั้งพรรคการเมืองชื่อโกเมโต้ แล้วก็โกเมโต้ นี่กำลังใหญ่ เป็นพรรคใหญ่ที่ 3 ของประเทศญี่ปุ่น อันนี้ก็เล่าไปแล้วทั้งนั้น มาย้ำแล้วก็เติมในส่วนที่ขาดไปบ้าง
อีกอันหนึ่งก็คือว่า คืออย่างที่โยมตั้งคำถาม จะไปอ่านหนังสือพิมพ์มา บอกว่าเขาถามว่าวัชริยานกับเถรวาทเนี่ย ใครจะถูกใครจะผิด ใครจะเป็นตัดสินใช่ไหม ในนั้นก็ตอบไว้แล้วซะเยอะแยะยาวแล้ว ก็บอกว่า ถ้าจะตอบกันโดยถือเอามารยาท คำถามแบบนี้เขาก็จะไม่ถามกันใช่ไหม เพราะว่ามันเกิดความรู้สึกยึดถือในหมู่ในพวก แต่ถ้าจะตอบกันจริง ๆ มันตอบได้ ก็คือต้องวางความรู้สึกเรื่องยึดถือพวกเราเสียก่อน แล้วก็มาตอบด้วยปัญญา มันก็คล้ายทำนองที่ว่า พระเจ้ามิลินท์กับพระนางเกษม พระเจ้ามิลินท์ก็คล้าย ๆ กับท้า ว่าอย่างนั้นเถอะ นิมนต์พระนาคเสน โต้วาทะกัน ที่นี้พระนาคเสน ท่านก็ถามพระยามิลินท์ก่อนว่า ที่จะโต้ตอบกันเนี่ย จะโต้ตอบกันแบบพระราชาหรือจะโต้ตอบกันแบบบัณฑิต พระเจ้ามิลินท์ก็ถามว่าทำไม มันต่างกันยังไง ถ้าโต้ตอบแบบพระราชานี่ลำบากใช่ไหม ถ้าตอบอะไรไม่ถูกใจ พระราชาสั่งตัดหัวเลย ถูกไหม ไม่ได้ ขัตติยะอำนาจแรงมาก แต่ถ้าโต้ตอบแบบบัณฑิตหรือเถียงกันแบบบัณฑิตได้ ไม่เป็นไรก็คือ เอาความถูกต้อง เอาใช้ปัญญากัน เอาสัจธรรมเป็นที่ตั้ง นี่ก็เหมือนกันคำถามคำตอบ มันก็อยู่ที่ว่าเราจะใช้หลักไหน ใช้เกณฑ์ของหมู่คณะ ก็ว่าไปตามนั้น หรือจะเอามารยาทเป็นเกณฑ์ ก็ว่าไปอีกแบบนึง แต่ว่าถ้าเอาเกณฑ์แบบบัณฑิต เอาสัจธรรมเป็นที่ตั้ง เอาปัญญาเป็นหลัก มันก็เถียงกันได้อีกแบบหนึ่ง นี่ก็เป็นวิธีตอบอีกอย่างนึง แล้วเติมเข้าไป แต่ทีจริง คำถามนี้มันเป็นคำถามในแง่ ข้อเท็จจริงไม่ใช่คำถามในแง่ความคิดเห็น ถ้าถามในแง่ข้อเท็จจริง ก็เป็นเรื่องของการตอบได้เลย ตามข้อมูล
นี้ก็มาเรื่องของเถรวาท นิกายสงฆ์ ไม่ใช่เป็นนิกายในพุทธศาสนา ตัวเถรวาทเองจึงจะเป็นนิกายอย่างที่ว่า ที่นี้ในการที่สัมพันธ์กันระหว่างนิกาย เนี่ยเราดูเถอะ ในประเทศไทย เราไม่ค่อยถืออะไร คือเพียงแต่ว่าเรายังมีเรื่องวินัย คล้าย ๆ ว่าจะถือว่าเรื่องวินัยที่รักษาตัวรักษาแบบแผน ระวังในเรื่องนี้ แต่แง่อื่นเราไม่ถือ คือความรู้สึกถืออะไรต่ออะไร มันไม่ค่อยมีปัญหา อย่างมหายานท่านจะไม่ยอมว่าจะมาเท่าเถรวาท ซึ่งท่านถือเป็นหินยาน อะไรอย่างนี้ใช่ไหม หรือวชิรญาณเขาก็ไม่ยอม เขาต้องถือว่าเขาสูงกว่ามหายาน อะไรอย่างนี้ นี่พระ อย่างพระไทยเราก็ไปเรื่อย ๆ ไปตามเรื่อง อย่างที่ว่า บางทีรู้การด้วยก็เลยไม่ค่อยเอาใจใส่ แต่เราจะเห็นว่าไอ้เชิงปฏิบัติการเนี่ย เรามีความสัมพันธ์กัน จนกระทั่งเวลานี้น่ะ วัดจีนก็คงจะวัดญวนด้วยก็ส่งเณร ส่งพระ พระจีน เณรจีนอะไรเนี่ย ก็ส่งเข้าสอบนักธรรมสนามหลวงใช่ไหมครับ ส่งเยอะด้วย เดี๋ยวนี้มากมาย อย่างวัดพิเรนทร์เนี่ย เณรจีนก็ไปสอบธรรมใช่ไหม สอบสนามหลวงเนี่ย พระจีนอะไรน่ะ เราก็ยอมรับ ท่านเป็นจีนก็สอบนักธรรมได้ ก็แสดงว่าแม้เรา ระบบก็ยังยอมรับ เวลานี้ก็ในเมืองไทยเราก็ เด็กเราก็ไปบวชเป็นเณรจีนกันเยอะ เหมือนกับงิ้ว งิ้วปัจจุบันนี้ ตัวคนที่เล่นงิ้วพูดจีนไม่เป็นเยอะ เพราะอะไร เพราะว่า ตัวงิ้วนั้นมาจากต่างจังหวัด คนไทย เช่น ภาคอีสานใช่ไหม แกก็พูดจีนไม่เป็นแต่มาเป็นงิ้ว ทำนองเดียวกัน เณรจีนก็พูดจีนไม่เป็น เณรจีนก็มาจากเชียงรายบ้าง มาจาก อาจจะแถวอุบล กาฬสินธุ์ บ้างอะไรอย่างนี้นะ เดี๋ยวนี้เณรจีนก็อยู่วัดจีนบวชเป็นเณรจีน เณรมหายาน แต่ที่จริงก็คือคนไทย ที่ไม่มีเชื้อสายจีนเลย เยอะแยะไปหมด พูดจีนไม่เป็นที่ว่าน่ะ ก็มาสอบนักธรรมกันเยอะแยะ ก็เป็นว่าทางเมืองไทยเราก็ความสัมพันธ์อะไรกันก็ยังมีอยู่ให้เห็นเป็นประจักษ์ ที่นี้เราก็อาจจะทำแบบว่าไปเรื่อย ๆ ไม่ได้มีหลักมีอะไรในการตั้งเป็นเกณฑ์ขึ้นมา หรือว่าไม่เป็นการพิจารณาเป็นหลักเกณฑ์ใหญ่ มีเรื่องอะไรมาเฉพาะหน้าก็ว่ากัน ไปทีนึง นี่ก็น่าจะพิจารณากัน แบบรวม ๆ เหมือนกันล่ะ จะได้หลักการให้มันชัด
ที่นี้ตอนนี้ในพุทธศาสนาก็ไปเจริญในประเทศตะวันตก อย่างประเทศอเมริกา คนก็ไปตื่นกันว่าฝรั่งมานับถือ ก็เลยต้องแยกให้เห็นว่า โอ้ต้องรู้ ครั้งหนึ่งก็ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ตอนนี้เขาก็พูดว่า มหายานไปเจริญในเมืองฝรั่ง มีฝรั่งนับถือเยอะ อะไรอย่างนี้ก็ เช่นอย่างเป็นวชิรญาณ องค์ดาไลลามะ ก็ได้รับความนับถือเด่นอยู่ในประเทศอเมริกา ในสังคมตะวันตกอะไรอย่างนี้ ในแง่ประวัติศาสตร์ก็คือเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ ความคืบเคลื่อน อย่างที่เล่าในตอนนั้นบอกว่า ก่อนยุคพุทธศาสนาแบบวัชรยาน หรือแบบทิเบตแบบลามะไปเจริญในอเมริกา ก็พุทธศาสนาแบบเซนเจริญก่อน เซนก็เรียกว่าครองดินแดนในแง่พุทธศาสนาในตะวันตกมานานเลย แล้วก็ยังมาถึงในยุค ค.ศ. ประมาณ 1970 จึงมาขึ้นถึงยุคของทิเบต ซึ่งมันก็สวมรับกับเหตุการณ์ที่บอกไปแล้ว ว่าในแง่ว่าตัวชูของมหายานเซนของญี่ปุ่น ท่าน DT Suzuki ก็สิ้นชีวิตเมื่อปี 1966 แล้วก็องค์ดาไลลามะ ก็หนีจากทิเบตเมื่อปี 1959 ก็ใกล้ ๆ กัน จาก 1959 นี่ ท่านก็เริ่มออกสู่สังคมระหว่างชาติ หรือสังคมโลก หรือประชาคมโลก พระทิเบตก็หนีตามท่านมา แล้วก็ไร้ถิ่น ต้องไปอยู่ตะวันตก ไปอยู่ในอังกฤษ ไปอยู่ในอเมริกา ไปร่ำเรียนอะไรต่ออะไรกันนะ ก็เลยว่ายุคทิเบตก็สามารถเริ่มเจริญงอกงาม แต่ว่าต้องดูสังคมอเมริกันนี่เป็นยังไง
ก็พอดีว่าสังคมอเมริกันเกิดปัญหาทางด้านจิตใจที่เล่าไปแล้ว ตั้งแต่ ปี 1950 เศษ ๆ มาขึ้น ที่ Beat Generation แล้วค.ศ. 1965 ก็ขึ้นยุคฮิปปี้ ยุคเราเหล่านี้ก็ยุคที่หนุ่มสาวอเมริกันนี่ เกิดความรู้สึกอยากปฏิวัติสังคมของตนเอง ไม่พอใจในสังคมอเมริกันที่มีความเจริญทางวัตถุ ไม่เห็นว่าความเจริญทางวัตถุจะให้ความสุขที่แท้จริงหรือมีความหมายแก่ชีวิต ก็เกิดการแสวงหาทางใหม่ หันมานิยมธรรมชาติ หันมานิยมทางจิตใจ ทีนี้ตอนนั้นก็ไม่ใช่พุทธศาสนาแบบที่ทิเบตเท่านั้นที่เข้าไป ได้เล่าให้ฟังแล้วว่า พวกอื่นก็เข้าไปเยอะ พวกของโยคีก็เข้าไป โยคะก็ยุคนั้น พวกฮาเล่กฤษณะเข้าไป แล้วคริสต์ก็ไปจากญี่ปุ่น ซังยังมูนเข้าไป แล้วก็รัชนีสเข้าไป แล้วมีพวก TM Consultation เข้าไป นี่ร่วมยุคร่วมสมัยกับยุคของวัชรยาน องค์ลาไดลามะ จะไปดูเฉพาะพุทธศาสนาไม่ได้ ต้องดูอื่นทั้งหมด แต่มันเป็นครื่องส่องแสดงอะไร ก็คือการที่สังคมอเมริกันมีปัญหาในสังคมของตัวเอง เช่นปัญหาจิตใจมีความเครียด มีความกระวนกระวายสูง แล้วแสวงหาทางออก มันเข้ายุคที่คนเขากำลังแสวงหา มีความต้องการทางจิตใจ แล้วก็เซนก็ปูพื้นไว้ให้ แล้วก็สนองความต้องการแบบนี้ ก็ให้คุณค่าทางด้านจิตใจไป มันยังน่าศึกษาคือไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้น เป็นเรื่องน่าศึกษามากกว่า แต่น่าศึกษาต่อไปอีกว่า ทำไมความนิยมเซนเหมือนกับลดลง หรือว่าทางวชิรญาณเป็นต้น และของพวกโยคี พวกนี้สามารถขึ้นไปทาบหรือขึ้นไปแข่งกับเซน จะเป็นไปได้ไหมว่า เซนนี่ยังเรียกร้องความเข้มแข็งการฝึกมากไป จิตใจคนอเมริกันนี่ มันต้องผจญกับการต่อสู้ มาตลอดประวัติศาสตร์ยาวนานใช่ไหม ทำให้เกิดความเครียดการแข่งขันกัน การแสวงหาวัตถุทำให้คนอเมริกันนี่มีความเข้มแข็ง ประวัติศาสตร์ของเขาในยุค Frontier ก็คือ ยุคบุกฝ่าพรมแดน ตลอดเวลาตั้ง 300 ปี ก็คือการสู้กับภัยอันตราย ทั้งภัยอันตรายธรรมชาติ สู้กับอินเดียนแดง สู้กับฝรั่งด้วยกันใช่ไหม มันยุคนั้นก็รู้กันอยู่แล้วว่า เป็นยุคของการดิ้นรน ต่อสู้ การที่ต้องการมีความเข้มแข็ง แล้วเขาก็ได้ความเข้มแข็งมาอย่างมากเลย
แต่ว่าการต่อสู้ในยุคอุตสาหกรรม มันต่อสู้ระหว่างมนุษย์ที่ต้องการผลประโยชน์ที่ไม่ใช่การสงครามนี่ ก็ทำให้เกิดความเครียดทางจิตใจแล้ววัตถุที่ให้ความสุขที่ให้ความหวังมันไม่สมปรารถนา มันไม่สุขสมหวัง เพราะเขาตั้งความหวังไว้ว่า เมื่อเขาพ้นภัยอันตรายแล้ว เขามีวัตถุจากอุตสาหกรรมเสพบริบูรณ์แล้วเขาจะมีความสุขเต็มที่ มันก็ไม่เป็นไปอย่างนั้น มันก็ผิดหวัง ทีนี่ความเข้มแข็งและความเครียดมันมีมา ความต่อสู้ดิ้นรนมันมีมามากมายแล้ว มันยังต้องการอะไรที่มันง่าย ๆ นิกายเซนอาจจะดีจะช่วยสนองความต้องการทางด้านจิตใจในแง่ของจิตใจมีความสงบขึ้นมีความสุขขึ้น แต่ยังต้องการความเข้มแข็งอยู่ ทีนี้ลัทธิศาสนาใหม่ ๆ ที่เข้าไปจากอินเดีย ลัทธิที่พวกโยคี ฤาษี อะไรทั้งหลายก็ตาม และเรื่องของวชิรญาณก็ตาม อาจจะเรียกร้องการฝึกความเข้มแข็งน้อย มีการสวดอะไร เน้นเรื่องสวดเรื่องอะไรเยอะ อย่างฮาเลกฤษณะนี่ ฮาเล ฮาเล กฤษฏณะ แกก็อยู่กับธรรมชาติ อยู่ให้ง่าย ๆ อาจจะสูบกัญชา แล้วมีเพศสัมพันธ์ง่าย ๆ แล้วก็มีกลองคล้าย ๆ กลองยาว มีฉิ่ง แล้วก็แต่งตัวนุ่งผ้าโทตีแบบนักบวชฮินดู แล้วก็โกนหัวไว้หางเปียยาว แล้วเอาก็แป้งพอกหน้าขาว แล้วก็ระบายป้ายหน้าเป็นสีอะไรงี้ แล้วเอากลอง เอาฉิ่งเนี่ย ไปตามที่สาธารณะแล้วก็เต้นกันใหญ่ เชิดหน้าลอยหน้าลอยตา ร้อง ฮาเล ฮาเลลามา ฮาเล ฮาเลลามา ฮาเล ฮาเลลามา แล้วก็ตีฉิ่งตีกลองไปนี่ ใอ้แบบนี้มันก็เป็นการสนองความต้องการทางด้านจิตใจ ทำให้จิตใจสบาย แต่ไม่ต้องการความเคร่งครัดอะไรมากใช่ไหม
เซนนี้มากับซามูไรใช่ไหม มันต้องเคร่งครัด มันดีไม่ดีมันใกล้เครียดเลย ถ้างั้นเป็นไปได้ไหม น่าศึกษาเหมือนกันว่า เซนอาจจะหย่อนความนิยมลง ในเมื่อวชิรญาณเป็นต้น โยคะอะไรต่ออะไรเนี่ยเข้าไป พวกฤาษี รัชนิท ฮาเลกฤษณะอะไรต่ออะไรเข้าไปเนี่ย สนองความต้องการทางจิตใจด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่เรียกร้องระเบียบวินัยมาก น่าศึกษา แทนที่จะไปตื่นเต้นเราควรจะศึกษามากกว่า ศึกษาสังคมอเมริกันสภาพจิตใจ มันจะโยงเข้าไปของลัทธินิกายเหล่านี้แต่รวมแล้วก็คือ สรุปว่าสังคมอเมริกันกำลังมีความต้องการทางด้านจิตใจอย่างสูง เช่น แก้ปัญหาเรื่องความเครียด เป็นต้น และก็ยังก็มีผู้มองในแง่ว่า คงยังไม่จบเท่านี้ ถ้าเรามองเป็นก้าวนี่ เช่นสังคมอเมริกัน ก้าวจากเซนมาสู่วัชรยาน แล้วเขายังจะต้องแสวงหาเข้าสู่พุทธศาสนา แบบที่ลึกซึ้งกว่านั้น อาจจะเป็นอย่างนั้นนี่เป็นสายตาของการมองของคนอีกพวกหนึ่ง เป็นเรื่องสำหรับศึกษา ไม่ใช่เป็นว่ารื่องตื่นเต้นว่าเอ้อ แหมดูซิคนอเมริกันตอนนี้กำลังสนใจพุทธศาสนา ผมเคยได้ยินมาแต่ไหนแต่ไร ผมไม่ตื่นเต้น อย่างที่ว่ามันเป็นน่าศึกษา ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว เรามองว่าฝรั่งสนใจสมาธิ คนไทยก็ว่า โอ้ฝรั่งสนใจสมาธิ ก็ตื่นเต้นไปเท่านั้นเอง มันน่าศึกษาว่าทำไมก็อย่างที่ว่าสนองความต้องการทางด้านจิตใจและลึกซึ้งไปกว่านี้ก็ศึกษาเอา ก็ไม่ใช่แค่นั้น แล้วการสนใจสมาธิของเขาถูกต้องหรือเปล่า แล้วผมไปดูมา เท่าที่ไปสังเกตเนี่ย ส่วนมากก็ไม่ถูก เพราะอย่างที่ว่า เขาต้องการสมาธิเพียงไปเพื่อแก้ปัญหาทางด้านจิตใจที่เด่นอยู่ อาจจะเฉพาะหน้าใช่ไหม ความเครียด ความไม่สบายใจ ความทุกข์ ความกระวนกระวาย ความเหงา ความว้าเหว่ ถ้ามองทางในแง่นี้ก็แก้ปัญหาทางจิตใจได้
แต่สมาธิที่แท้ตามหลังพุทธศาสนาไม่ใช่ แค่นี้ใช่ไหม สมาธิไม่ใช่แค่นี้นะ มันไม่ใช่แค่เพื่อประโยชน์ทางด้านจิตใจอย่างเดียว แต่เพื่อทำให้จิตใจเป็นกำมณียะ จิตใจมันเหมาะแก่การใช้งาน เพื่อจะก้าวไปสู่ไตรสิกขา ในขั้นปัญญา อทิปัญญาสูงขึ้นไปอีกไปสู่วิมุติอะไร มันไม่ใช่แค่นี้ นี้ฝรั่งจำนวนมาก ก็จะนับถือสมาธิ ต้องการสมาธิปฏิบัติสมาธิ เพื่อสนองความต้องการทางด้านจิตใจ แก้ปัญหาทางด้านจิตใจเท่านั้น แค่ความทุกข์เท่านั้นนี่ แสดงว่าเราก็ต้องไปสอนเขา หรือไปแนะนำเขาว่า คุณยังไม่ถูก ยังไม่พอ ฉะนั้นที่ฝรั่งนับถือตั้งแต่ยุคเริ่ม ๆ นับถือมานี่ ก็ไม่ใช่ว่านับถือถูก ส่วนมากก็จะเข้าใจแค่นี้ เข้าใจแคบ ๆ มองแคบ ๆ เท่านั้นเอง นี่หนึ่งแล้ว
2 อย่างที่เอ็มโฆษณาเนี่ย ก็คือเอาสมาธิมาเพื่อเป็นเครื่องช่วยทางด้านจิตใจ แต่ว่าเพื่อทำให้จิตใจนั้นให้พร้อมไปสำหรับงานอื่นที่ไม่ใช่งานในการพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่ดีสมบูรณ์แท้ เป็นมนุษย์ที่ว่าหมดกิเลส หรือมีอิสรภาพที่แท้จริงทางจิตใจ แต่เพื่อให้จิตใจนี่ไปใช้งานสนองความต้องตามระบบผลประโยชน์ เช่น ลัทธิทุนนิยมใช่ไหม เพราะฉะนั้นเขาจะโฆษณาว่า ถ้าคุณไปฝึกสมาธิแล้ว จิตใจคุณจะดี เอ้าจิตใจดีเป็นสมาธิ มันก็แน่วแน่มันก็สงบ ว่าทำงานได้ดีใช่ไหม คุณก็จะทำงานได้ผลแล้วก็ได้ผลกำไรดีขึ้น มันออกไปท่านั้น ก็หมายความว่า คอร์ปอเรชั่นของคุณ บริษัทอะไรของเขาเนี่ย ต่อไปเมื่อฝึกได้ TM แล้ว คนนี่จิตใจจะดีมีสมาธิก็มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ก็จะทำให้ทำงานได้ผล ทำให้บริษัทได้กำไรมากขึ้น แล้วก็คนนั้นเองก็จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น เขาก็จะเอามาโฆษณาในแง่นี้ โฆษณาว่า ปฏิบัติสมาธิในแบบของเขาแล้วจะได้ผลอย่างนี้ อย่างนี้ จะทำให้ทำงานทำการได้ผลขึ้น นอกจากนี้มีความสุขแล้วยังทำงานได้ขึ้น แล้วก็บริษัทก็จะมีความเจริญก้าวหน้ามีมีผลลิตสูงขึ้นอะไรต่ออะไรเป็นต้น อันนี้ก็คือเอาสมาธิไปใช้ในทางที่เราเรียกว่าเป็นมิจฉาสมาธิก็ได้นะ ค่อนข้างเป็นมิจฉาสมาธิ เพื่อสนองระบบทุนนิยมใช่ไหมตามแบบของเขา ซึ่งเราต้องไปแก้เหมือนกัน เราจะไปยอมรับได้ยังไงไม่ใช่ ไปยอมรับว่า เอ้อฝรั่งนิยมสมาธิแล้วก็ว่าดี ไม่ได้ไปมองไม่ได้ไปวิเคราะห์ มันเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาทั้งนั้น นี้เป็นตัวอย่าง นั้นเรื่องราวเหล่านี้ เป็นเรื่องที่คนไทยควรจะตั้งจิตตั้งใจตั้งท่าทีให้ถูก ฝรั่งถือพระพุทธศาสนาแล้วก็ตื่นเต้น ฝรั่งสนใจสมาธิก็ตื่นเต้น ไม่ใช่อย่างนั้น โดยมากเขาจะมีภูมิหลังของเขาเป็นตัวกำหนด เพราะเขามีทิฐิมาแต่เดิม นั้นเขาได้สิ่งใหม่เข้าสนองทิฐิเก่าของเขา อย่างที่ว่าสนองความเชื่อในลัทธิทุนนิยม เอาไปใช้ในการหาผลประโยชน์อะไรต่ออะไร ทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นต้น ซึ่งก็เป็นประโยชน์ ใช้ได้จริง ได้ประโยชน์จริงอะไรอย่างนี้ แต่มันถูกหรือเปล่า นี่ก็คือเป็นเรื่องที่เราศึกษา เพราะฉะนั้นการที่ได้ยินเรื่องฝรั่งอย่างนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ไปตื่นเต้น แต่เป็นเรื่องที่ต้องรู้ทัน เป็นเรื่องสำหรับศึกษา หรืออย่างน้อยก็ต้องตื่นตัว รู้เข้าใจเท่าทันแล้วก็ศึกษาเรื่องราวแยกแยะอะไรต่ออะไร แล้วเราก็ทำหน้าที่ของเราได้ถูกต้องดีขึ้นเลย เพราะเราที่แท้ เราเองเป็นแหล่งของพุทธศาสนาใช่ไหม จะต้องไปปรับไปแก้ หรือไปแนะนำ ไปทำอะไรต่อไรให้มันถูกต้อง เอ้านี่รื้อหมดหรือยังเนี่ย อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจของสังคมชาวอเมริกัน เราจะไปดูเฉพาะจุดเฉพาะหย่อมไอ้การแค่ช่วงสั้น ๆ อย่างนี้ไม่ได้ ถ้าจะเอาจริงเราก็ต้องศึกษาให้เห็นความเป็นมา ความคืบเคลื่อน ความเปลี่ยนแปลงอะไรต่าง ๆ แล้วจะเข้าใจสังคมอเมริกันขึ้น แล้วเราก็น่าจะได้ศึกษาว่า ที่เขานับถืออยู่ แม้แต่นับถือคำสอนที่ถูก แต่นำไปใช้ผิดหรือเปล่า นับถือด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องหรือเปล่าใช่ไหม เชื่อถูกปฏิบัติถูกหรือเปล่า ไอ้ตัวหลักถูก แต่เชื่อถูกเข้าใจปฏิบัติถูกหรือเปล่า เป็นอันว่าไม่ต้องไปตื่นเต้น แต่เป็นเรื่องที่น่าศึกษา