แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คือคนเรานี่พัฒนาถูกต้องตามกฎธรรมชาติแล้ว ความสุขมันจะมีมา ถ้าพัฒนาผิดปั๊บ เกิดปัญหาทันที อันหนึ่งก็คือว่า มนุษย์เราอยู่ในโลกนี้ ชีวิตมนุษย์เป็นชีวิตของการฝึกฝน ชีวิตของการเรียนรู้ มนุษย์นั้นอยู่ด้วยการเรียนรู้และฝึกทั้งนั้นเลย ชีวิตของเรานี้ไม่ได้อยู่เพียงด้วยสัญชาตญาณ สัตว์ชนิดอื่นนั้นอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ เป็นยังไงล่ะ สัตว์ชนิดอื่นนั้นเกิดมาปั๊บ ก็รู้โดยสัญชาตญาณที่จะเดิน จะกิน จะหากินต่างๆ เขาทำไปได้ มีชีวิตอยู่รอด เช่นว่า ออกจากท้องแม่ วันนั้นก็เดินได้เลย หากินได้เลย ว่ายน้ำได้เลย แต่มนุษย์เราไม่เป็นอย่างนั้น มนุษย์เรานี่ ชีวิตอยู่ได้ด้วยการศึกษา ด้วยการฝึก ด้วยการเรียนรู้ทั้งสิ้น พอเราเกิดมา เราช่วยตัวเองไม่ได้เลย แล้วเราก็ต้องใช้การเรียนรู้และฝึก จึงต้องอาศัยเวลายาวนาน กว่าเราจะช่วยตัวเองได้ ใช้เวลาเท่าไร ดำเนินชีวิตอยู่รอดโดยไม่อาศัยพ่อแม่ เท่าไหร่นะ เจริญพร ๓๐ ปี แย่เลยนะ สัตว์อื่นมันวันเดียว มันไปได้แล้ว แต่มนุษย์นี่แย่จริงๆ แย่ที่สุด คืออาศัยสัญชาตญาณแทบไม่ได้เลย ต้องเรียนรู้ จะต้องฝึกหมดเลย ๑ ปีแรกนี่ ไม่ได้เรื่องเลย พอ ๑ ปีเพิ่งจะเริ่มเดิน เริ่มพูด เริ่มจะช่วยตัวเองได้ ในระยะที่ผ่านไปนั้น การกิน การนอน การขับถ่าย การลุกนั่ง ต่อมาการเดิน การพูด ต้องฝึกทั้งนั้น ใช่ไหม ต้องมีคนอื่นช่วย แล้วก็ฝึก เพราะฉะนั้น มนุษย์นี่ชีวิตอยู่ได้ด้วยการฝึก ทีนี้ถ้ามนุษย์รู้ธรรมชาติของตังเอง ว่าอยู่ได้ด้วยการฝึก มนุษย์จะสร้างจิตสำนึกในการฝึก ว่าเราจะต้องฝึก ชีวิตเราจึงจะดี ทีนี้มนุษย์จำนวนมากไม่รู้หลักนี้ ทั้งๆ ที่ตัวเองมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการฝึก ก็เลยฝึกด้วยความจำใจ คือมันฝึกไปเอง โดยสถานการณ์บังคับ สถานการณ์บังคับก็ต้องฝึกไป ฝึกไปเท่าที่จำเป็น พอพ้นความจำเป็น พออยู่ได้ก็เลิกฝึก ทีนี้มนุษย์ที่รู้ มีสติปัญญา เขารู้ว่า เรานี้อยู่ได้ด้วยการฝึก เพราะฉะนั้น เราต้องฝึกอย่างมีหลัก คราวนี้ตั้งใจฝึก เพราะฝึกต่อไปนี่ ฝึกพัฒนาขึ้นเรื่อย จนกระทั้งเป็นพุทธะได้เลย พระพุทธเจ้าถือเรื่องหลักการฝึก การศึกษานี่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาเลย เป็นมนุษย์ต้องฝึกตน มนุษย์จะประเสริฐได้ด้วยการฝึกเท่านั้น ก็ให้พระพุทธเจ้าเป็นแบบไว้ ว่าพอระลึกถึงพระพุทธเจ้า นี่ไง มนุษย์จะเป็นอย่างนี้ได้ ประเสริฐสมบูรณ์ ต้องฝึก เรามีความสามารถนี้ในตัว ที่จะฝึกได้อยู่แล้ว มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และต้องฝึก เราก็ต้องฝึกตัวเอง พอเราฝึกตัวเอง เราจะมีความเข้มแข็ง เราเจอสถานการณ์ต่างๆ นี่ เราจะมองเป็นการฝึก คนที่มองอะไรกลายเป็นการฝึก จะได้ประโยชน์ยังไง คือ จะเป็นคนเข้มแข็ง แล้วจะมีลักษณะอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ก็คือ เป็นคนใฝ่รู้ เพราะการที่จะฝึกตัวเองได้ ก็คือ จะทำอะไรได้ อะไรได้ ต้องเรียนรู้ ต้องใฝ่รู้ แต่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ จิตสำนึกในการฝึก ทำให้เป็นคนสู้สิ่งยาก อันนี้คู่กันเลยนะ ใฝ่รู้สู้สิ่งยาก พอเป็นคนสู้สิ่งยาก เป็นจิตสำนึกในการฝึกตน มันมองสถานการณ์อะไรต่ออะไร เป็นเรื่องที่จะฝึกตัวเองไปหมดเลย พอจะฝึกตัวเอง มองว่ามนุษย์เราที่เข้มแข็ง เก่ง ประสบความสำเร็จนี้ มาจากการเผชิญปัญหา แล้วก็คิดแก้ไข เพียรพยายาม คนไหนเจอปัญหาแล้ว ถดถอย ท้อแท้ ไม่เอา ไม่ใช้ปัญญา ไม่เพียรพยายามคิดแก้ปัญหา มันก็ไม่พัฒนาตัว แต่คนที่เจออุปสรรค เจอปัญหาแล้ว ไม่ถอย สู้ ใช้ความเพียรพยายามคิด คิดหาทางแก้ปัญหาไปพัฒนา ตัวเองก็เก่งกล้าขึ้นทุกที เพราะฉะนั้น มนุษย์ที่ประสบความสำเร็จโดยทั่วไป จะประสบความสำเร็จจากการที่ได้เผชิญปัญหา ได้พบสถานการณ์ที่ยาก และพัฒนาตัว ทีนี้คนที่ไม่เคยประสบสิ่งที่ยากและอุปสรรค ก็เลยไม่ได้พัฒนาตัว เจออะไรง่ายๆ มันก็ไม่ได้พัฒนาอะไร มันก็แค่นั้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ยาก กลายเป็นเครื่องฝึกมนุษย์เราได้อย่างดี เพราะฉะนั้น เราก็ต้องพัฒนาตัวเอง จากการที่เผชิญสถานการณ์และก็พยายามแก้ปัญหา
ฉะนั้น จิตสำนึกในการฝึกตนหรือในการศึกษานี้ ก็จะมาทำอันนี้ ทีนี้มันได้อะไรขึ้นมาอีก ก็คือว่า ความเข้มแข็งอันนี้ มันทำให้เขาสู้สิ่งยาก พอสู้สิ่งยากแล้ว มันได้อะไรขึ้นมา
๑ เจองานยากหรือแม้แต่เป็นนักเรียน เจอบทเรียนยาก ถ้าไม่มีจิตสำนึกในการฝึกตน ไม่มีความสู้สิ่งยาก พอเจอปั๊บ ไม่อยากทำ มันยาก ถอย พอถอยใจไม่สู้แล้ว เป็นไง จำใจทำ เพราะจำเป็นต้องทำ จำใจทำก็ทุกข์แล้วสิทีนี้ ฝืนใจมีความทุกข์ ใจไม่สบาย แล้วก็ไม่ตั้งใจ เมื่อไม่ตั้งใจ ก็ไม่ค่อยได้ผลดี ใจก็ไม่เป็นสุขด้วย งานก็ไม่ค่อยได้ผลด้วย เรียนก็ไม่ค่อยได้ผล ทีนี้พอมีจิตสำนึกในการฝึกตน เจอปั๊บ อันนี้ยาก ดีสิ เราจะได้ฝึกตัวเองมาก ใช่ไหม อะไรยาก เราได้สู้ เราได้คิด เราได้ฝึกตัวเองมาก ฉะนั้น ชอบใจ เข้าสู้เลย งานที่ยาก บทเรียนที่ยาก เพราะว่าเราจะได้มาก ยิ่งยาก ยิ่งได้มาก คติเขามีอันนี้อยู่ ยิ่งยาก ยิ่งได้มาก เพราะฉะนั้น งานยาก บทเรียนยาก เราได้ฝึกตัวเองมาก เราก็ชอบสิ เข้าหา ใจเราชอบแล้ว เราก็เป็นสุข ใช่ไหม พอใจเราเป็นสุข เราก็ตั้งใจทำอีก ได้ผลด้วย และเป็นสุขด้วย ระหว่างทำไปนั้น คืบหน้าไป ก็มีความสุขตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ความเข้มแข็งในใจที่สร้างขึ้นมาจากธรรมชาติอันนี้ ทำให้คนหาความสุขได้
ทีนี้ คนที่ไม่สู้สิ่งยาก ไม่มีจิตสำนึกในการฝึก จะเต็มไปด้วยความทุกข์ เจออะไรหน่อย ทุกข์แล้ว เจออะไรหน่อย ทุกข์แล้ว เพราะอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่ฝืนความปรารถนาไปหมดเลย ไม่ได้อย่างใจไปหมดเลย อันนั้นก็จะต้องทำ อันนี้จะต้องทำ มันเจออะไรมันทุกข์ทั้งนั้นเลย แต่คนที่มีจิตสำนึกในการฝึก มันจะฝึกตัวเอง เจออะไรมันสุขได้เรื่อย นี่คือโดยธรรมชาติของมนุษย์ สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์เรา
ทีนี้ คนที่สู้สิ่งยาก มันจะมีลักษณะอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นคนที่สุขได้ง่าย และทุกข์ได้ยาก ส่วนคนที่ไม่สู้สิ่งยาก ก็จะเป็นคนที่ทุกข์ได้ง่าย และสุขได้ยาก เราจะเห็นได้ว่า สมมติว่าเรา เลี้ยงดูเด็ก ปรนเปรอบำรุงบำเรอมาก พอปรนเปรอบำรุงบำเรอมาก เด็กก็สบายใจ จะเอาอย่างใจตัวเอง เด็กเราเลี้ยงดูอย่างปรนเปรอบำรุงบำเรอให้มีความพรั่งพร้อม สะดวกสบายทุกอย่าง คราวนี้เขาก็จะเอา เป็นคนที่ทุกข์ได้ง่าย ทุกข์ได้ง่ายเพราะอะไร เพราะว่าบำรุงบำเรอเต็มไปหมด พรั่งพร้อม ขาดอะไรนิดหนึ่ง ทุกข์ทันที ไม่ได้ตามใจนิด ทุกข์ทันที ทุกข์ได้ง่ายเหลือเกิน โอกาสที่จะทุกข์มีเสมอ เพราะไม่ได้อย่างใจ ไม่ได้ตามใจ ขาดอันนั้นไป อันนี้ไป ทุกข์เรื่อยเลย ทีนี้สุขได้ยาก สุขได้ยากเพราะอะไร มันมีแต่ความพรั่งพร้อม เต็มบำรุงบำเรอ จะเติมอะไรอีก มันก็สุขได้ยาก ใช่ไหม สุขได้ยาก ทีนี้ฝ่ายเด็กที่สู้สิ่งยาก พัฒนาตัวเอง พัฒนาข้างในพร้อม พอสู้สิ่งยากนี่ สุขได้ง่ายเพราะอะไร เพราะว่ามันทำอะไรก้าวหน้าไป ประสบความสำเร็จก้าวไปนิดหนึ่ง ความลำบากลดลงนิดหนึ่ง มันสุขทันที ความลำบากลดนิด สุขทันที ก้าวไปนิดหนึ่ง สุขทันที แล้วทุกข์ได้ยากยังไง เพราะว่าความลำบากนี้ เจอมากมายแล้ว มาอีกนิดหนึ่งไม่มีปัญหา ไม่ทุกข์เลย ฉะนั้น อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง ในยุคที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสบายพรั่งพร้อม คนเราจะเป็นคนที่ใจเสาะ เปราะบาง อ่อนแอ ใจเสาะ ทุกข์ได้ง่าย เพราะว่าความพรั่งพร้อมไม่ได้อย่างใจนี่ ก็ทุกข์
ทีนี้ คนที่ได้พัฒนาสู้กับสิ่งยากลำบากมา จะมีความเข้มแข็ง และเป็นคนที่ทุกข์ได้ยาก อะไรที่ทำให้เขาทุกข์ ทำได้ยาก แต่เขาจะสุขได้ง่าย คนเช่นนี้ก็มีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะอยู่ในโลก ฉะนั้น เราจะต้องพัฒนาคนให้ได้ดุลยภาพ คือในขณะที่สภาพชีวิตนี้ มันเต็มไปด้วยสิ่งบำรุงบำเรอความสุข อำนวยความสะดวกสบาย จะโน้มจิตใจไปในทางที่ เห็นแก่ความสะดวกสบาย อ่อนแอ ตามใจตัวเอง คนพวกนี้ก็จะต้อง ต้องมีสิ่งบำรุงบำเรอความสุขมากขึ้นๆ เรื่อยเลย จึงจะสุขได้ เพราะว่าดีกรีที่จะทำให้มีความสุขนั้น มันต้องเพิ่ม เพราะเขาไม่พัฒนาตัว ทีนี้เราต้องพัฒนาจิตใจคน พัฒนาคนไปในทาง สวนทางกัน คือให้คนเข้มแข็งยิ่งขึ้น พอคนเข้มแข็งยิ่งขึ้น เขายิ่งสุขง่ายขึ้น สิ่งบำรุงบำเรอ ปรนเปรอ จึงจะมีความหมาย สิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอไม่มีความหมายหรอก ถ้าหากว่าเราทำให้คนอ่อนแอลง เพราะว่าเขาก็ยิ่งต้องการสิ่งที่ง่าย อำนวยความสะดวกมากขึ้น เพื่อจะให้เขาสุขเท่าเดิม อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราเห็นได้ง่ายในธรรมชาติ เป็นเรื่องธรรมดาๆ พื้นๆ อย่างคนสมัยก่อน ปู่ ย่า ตา ยาย ของพวกเราเอง หรือคนจำนวนมากในประเทศไทย อย่างคนจีนมาจากเมืองจีน เสื่อผืนหมอนใบเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ๗๐-๘๐ ปีก่อน เข้ามาอดมื้อกินมื้อ ขยันทำงานยากลำบากเหลือเกิน สู้ความลำบากสร้างเนื้อสร้างตัวเป็นเศรษฐีมา ในระหว่างนั้นที่อดมื้อกินมื้อ แสนจะยากลำบากนั้น อยู่ได้ ไม่ฆ่าตัวตาย แต่พอมายุคนี้ เด็กที่เกิดมาพรั่งพร้อม ขาดอะไรนิดอะไรหน่อย ใจเสาะ เดี๋ยวฆ่าตัวตาย แล้ว ในประเทศที่คนแร้นแค้นยากลำบาก ปรากฏว่าแทบไม่มีคนฆ่าตัวตาย อินเดียมีคนฆ่าตัวตายไหม ยากเร้นลำเค็ญเหลือเกิน เอาที่ง่ายๆ คู่กันประเทศอเมริกากับเม๊กซิโก อเมริกานี้พรั่งพร้อมเหลือเกิน แล้วเม็กซิโกนี่ยากจนเหลือเกิน คนเม็กซิโกพยายามจะเล็ดลอดหนีเข้ามาทำงานในเมืองอเมริกา ที่ชายแดนนั้นมาอยู่เต็มไปหมดเลย อาตมาเคยไปนะ ไปที่ชายแดนเม็กซิโก เขาชี้ให้ดูเลย มารอกันอยู่ตามชายเขตแดน หาช่องที่เจ้าหน้าที่เผลอปั๊บ เป็นวิ่งเข้าเขตอเมริกา เพื่อจะมาหางานทำ พวกนั้นแร้นแค้นยากจน แล้วเป็นยังไงระหว่างสองประเทศนี้ ประเทศอเมริกาที่พรั่งพร้อมกับประเทศเม็กซิโกที่ยากจน สถิติคนฆ่าตัวตาย อเมริกาฆ่าตัวตายมากกว่าเม็กซิโกประมาณ ๗ เท่า ประเทศที่แร้นแค้นยากจนไม่ฆ่าตัวตาย คนนี้มีภูมิต้านทาน มีภูมิคุ้มกันความทุกข์ สู้ความทุกข์ได้ แต่คนที่พรั่งพร้อม ไม่มีภูมิคุ้มกันความทุกข์เลย ใจเสาะ ดังนั้น เมื่อไม่ได้อย่างใจ ขาดความพรั่งพร้อมนิดหน่อย ฆ่าตัวตาย สังคมอเมริกันสมัยก่อน เมื่อตอนที่ยังสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยความอุสาหะ ขยันหมั่นเพียร ก็ไม่ฆ่าตัวตาย สมัยก่อนนี้เขาเป็นสังคมอุสาหกรรม ระยะนั้นพากเพียร ขยัน ทนสู้กัน ทำงานทำการระยะนั้น คนอเมริกันไม่ฆ่าตัวตาย พอเจริญมากขึ้นๆ งานการนี่ยุ่งเหลือเกิน วุ่นวาย ฉะนั้นคนหนุ่มคนสาวก็วุ่นวายกับการทำงาน การทำมาหากิน ก็เสียไปอย่าง คือ ไม่มีเวลาดูแลคนแก่ ปรากฏว่าคนแก่ในเมืองอเมริกา ในเมืองฝรั่งนี้ ถูกทอดทิ้งมาก เพราะฉะนั้นคนแก่ก็เหงา ก็ว้าเหว่ เลยปรากฏว่าคนแก่ฆ่าตัวตายมาก ในอเมริกานะ เริ่มด้วยคนแก่ฆ่าตัวตายมาก เพราะถูกทอดทิ้ง ต่อมาพอสังคมอเมริกันพรั่งพร้อมในปัจจุบันนี้ มันเปลี่ยนอีก เปลี่ยนมาตอนนี้เป็นคนหนุ่มสาวฆ่าตัวตาย เวลานี้ปัญหาของประเทศอเมริกาก็คือ มีคนวัยรุ่นฆ่าตัวตายมาก ซึ่งสังคมอเมริกาก็งง ว่ามันเป็นเพราะอะไร ในขณะที่สังคมของเรานี้ ก็แสนจะสุขมีความพรั่งพร้อมทุกอย่าง ทำไมเด็กหนุ่มสาวซึ่งกำลังเป็นวัยสดใสฆ่าตัวตาย ก็เพราะมันใจเสาะ เพราะมันพรั่งพร้อม มันก็เลยทนทุกข์ไม่ได้ ขาดแคลนอะไรนิดไม่ได้ ฉะนั้นเป็นคติที่ให้เราระวังไว้ นี่คือ เรื่องที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและในการเลี้ยงดูลูกด้วยนะ เลี้ยงดูลูกถ้าขืนตามใจมาก เด็กจะใจเสาะ เปราะบาง อ่อนแอ เป็นคนที่ทุกข์ได้ง่าย สุขได้ยาก แล้วต่อไปในสังคมนี้ เขาจะมีปัญหา ฉะนั้น เราต้องพัฒนาด้วยความรู้เท่าทันอย่างที่ว่านี้ ถ้าหากว่าพัฒนาจิตสำนึกในการฝึกตน เราจะทำให้เด็กนี้เป็นคนเข้มแข็ง และสู้สิ่งยาก แล้วก็จะหาความสุขได้ตลอดเวลา ยิ่งสังคมมีความพรั่งพร้อมง่ายขึ้น เขายิ่งสุขใหญ่เลย ฉะนั้น พัฒนาคนต้องสวนทางกับพัฒนาวัตถุ พัฒนาวัตถุให้พรั่งพร้อม สะดวก สบาย พัฒนาคนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น แล้วคนที่เข้มแข็งก็มาเสวยความสุขจากความสะดวกสบายได้เต็มที่ แต่คนอ่อนแอลง วัตถุมากขึ้น มันไม่ได้อะไร มันก็เท่าเดิม เพราะฉะนั้น ไปบวกข้างหนึ่ง แต่ไปลบอีกข้างหนึ่ง มันก็บวกหนึ่ง ลบหนึ่ง บวกหนึ่ง ลบหนึ่ง อยู่นี่ มันก็ศูนย์ทุกที ฉะนั้น มันต้องบวกทั้งสองข้าง พัฒนาวัตถุให้พรั่งพร้อม พัฒนาคนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ก็บวกหนึ่ง บวกหนึ่ง มันก็เป็นสอง ก็ดียิ่งขึ้นเรื่อยไป อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งแล้ว การพัฒนาความสุข ในแบบที่ ๓ แล้วสิ ใช่ไหม คือ การที่ดำเนินชีวิต และฝึกฝนพัฒนาชีวิตของเรา ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ถ้าเราไม่หลงสมมติ ไม่ปล่อยชีวิตไปตามสมมติ เราดำเนินชีวิตให้ถูกต้องตามธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์นี้ เราจะหาความสุขได้ดีขึ้น อันนี้ก็เห็นชัดๆ เลย อันที่ ๓ แล้ว
ได้มา ๓ ระดับ ยังเหลืออีก ๒ เบื่อหรือยัง ยังนะ เดี๋ยวขอหยุดเสียนิดหนึ่งนะ ทีนี้ลองดูเสียอีก ๒ สุข จะเป็นยังไง ตอนนี้มีปัญหาสงสัยอะไร
ถาม : มันเป็นเรื่องของนามธรรม มันเป็นวิชาการ ถ้าสมมติว่าตอนนี้ มีปัญหาว่าคนส่วนใหญ่ในวงการทำงาน ไม่ค่อยมีความสุข เพราะว่าความเติบโต หรือความก้าวหน้าการงาน มักจะมีปัญหา ในเรื่องการพิจารณา เรื่องของความเป็นธรรม ถ้าเผื่อว่าพัฒนามาถึงขั้นนี้แล้ว สมมติว่าเราทำงานแค่นี้ น่าจะได้รับความเจริญเติบโตไปตามลำดับขั้น ถ้าเผื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามความสามารถ แต่ก็ถือว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว ตรงนั้นถัดไปก็ยังได้เงินเดือน มีค่าเลี้ยงชีพ ค่าครองชีพ ก็หันกลับมาดูว่างานที่ทำนี้ งานที่ได้รับมอบหมาย ถ้ามันเติบโต มันเจริญงอกงาม หมายถึงว่าได้ผลดี มันมีคุณค่าในตัวของมันเอง เราก็รู้สึกยังจะ.....เหมือนกัน ก็ยังคิดว่า ก็ยังมีความสุขจากงานที่ทำ ก็รู้สึกทำแล้วมีคุณค่า แต่ว่าสถานการณ์บางครั้งมันเลวร้ายไปกว่านั้น คือว่าบางทีงานที่ทำที่ได้รับมอบหมาย งานที่ไม่ถนัด ไม่ตรงความสามารถ หรือไม่ก็เป็นไปในลักษณะงานที่ทำเรามองเห็นว่า มันน่าจะทำอย่างนี้ดีกว่า แต่ว่าถูกสั่งให้ทำอย่างนี้ เจ้านายสั่งให้ทำอย่างนี้ ก็เลยอยากจะเรียนถามว่า จะต้องทำตัวยังไง หรือว่าจะต้องใช้คุณธรรมข้อไหน ที่จะไม่ต้องฝืนใจทำงาน ที่เราบางทีเราโดยจิตปัญญาของเรา เรามองว่าถ้าทำอีกแบบหนึ่ง ทำอีกอย่างหนึ่ง มันจะดีต่องาน ต่อองค์กรมากกว่า งานที่ถูกสั่งให้ทำ แต่ต้องทำเพราะเจ้านายสั่ง
ตอบ : ก็สังคมมนุษย์เราซับซ้อน เมื่อยิ่งซับซ้อนขึ้น ก็ปัญหาก็ยิ่งเกิดมากขึ้น เพราะว่า ระบบสมมตินี่ มันจะเข้ามาบังตัวความจริงในธรรมชาติมากขึ้น ฉะนั้น มนุษย์จะต้องพัฒนาตัวมากขึ้น เพื่อจะรับกับสถานการณ์ซับซ้อนของโลกมนุษย์นี้ ซับซ้อนหนึ่งก็คือ ซับซ้อนทางปัญญา เพราะปัญญาเราจะเจาะทะลุไปไหม เห็นคุณค่าของงานที่ทำ ที่เป็นของจริงในธรรมชาติ เพราะตอนนี้วางระบบซับซ้อนหลายชั้น หลายเชิง จนกระทั่งมองไม่เห็นว่า งานนี้มันมีคุณค่าที่แท้จริงยังไง ใช่ไหม ทำสวนเราจะเห็นชัด ว่าต้นไม่เจริญงอกงาม แต่งานบางอย่างไม่เห็นว่ามันเกิดอะไรขึ้นมา ฉะนั้น เราต้องมีปัญญาละเอียดอ่อน ที่ว่าเห็นความซับซ้อนเชื่อมโยงกัน สัมพันธ์กันยังไง ว่างานนี้มันส่งผลต่อไป จนกระทั่งเกิดผลดีต่อสังคมอย่างไร เกิดผลดีต่อชีวิตอย่างไร นี่อันหนึ่งนะ ซึ่งตัวนี้จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดฉันทะ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นมาได้ ก็เกิดความยินดีพอใจ ก็ทำงานก็เป็นสุข
ทีนี้ในกรณีที่ว่า งานนั้นเป็นงานที่ไม่เกื้อกูล ไม่มีจุดมุ่งหมายโดยธรรมชาติ ที่เป็นผลดีแท้จริงเลย งานนั้นก็จะเป็นปัญหา จะทำให้เราไม่สามารถพัฒนาสภาพจิตอันนี้ขึ้นมาได้ ฉะนั้น งานประเภทนั้นต้องหาทางเลี่ยงแต่ต้น คือ งานที่เป็นโทษ งานที่เป็นการทำลาย ไม่สร้างสรรค์เป็นการเบียดเบียนสังคม เป็นงานที่ไม่แก้ปัญหาสังคม ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น แต่ว่ามันมีอีกอย่างก็คือ งานนั้นเป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเรา งานทุกอย่างนั้น นอกจากได้ในแง่ตัวงานที่เกิดประโยชน์แก่สังคม เป็นต้นแล้ว งานทุกงานโดยปกติจะเป็นโอกาสในการพัฒนาชีวิตของเรา พัฒนายังไง ในการทำงานนี่ เราได้พัฒนาพฤติรรมในการอยู่ร่วมสังคม รู้จักติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น รู้จักพูดรู้จักจา พัฒนาจิตใจคือ ความเข้มแข็ง ความรับผิดชอบ ความขยันอดทน อะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็เป็นการพัฒนาในจิตใจของเรา แล้วพัฒนาปัญญาในการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น อย่างน้อยเราก็มองว่า ได้อะไรหรือไม่ ได้ก็แค่ให้สู้สิ่งยากก่อน มองว่ามองงานทุกอย่างเป็นโอกาสในการฝึกตนไปหมดเลย เพราะฉะนั้นงานทุกอย่างด้วยการฝึกตนนี้ ไม่ได้อะไร เราก็ได้พัฒนาตัว ใช่ไหม เราเห็นว่าให้ได้สักอย่างหนึ่ง ฉะนั้น เจ้านายมอบงานที่ยาก มองเป็นว่าเป็นโอกาสพัฒนาตัวเรา ลองสู้ดูสิ อย่างน้อยเป็นบททดสอบว่าเราจะผ่านไหม เราจะทำได้สำเร็จไหม ถ้าเราสำเร็จได้ แม้แต่งานที่ยาก เราก็น่าภูมิใจ เราก็จะมีปีติอิ่มใจเกิดขึ้น ทีนี้บางคนเขาจะฝึกใจ จนกระทั่งเคยนะ เคยที่จะสู้สิ่งยาก เพราะฉะนั้น เจออะไรยาก เอาสิ่งนั้นก่อน ชอบทำอันที่ยากๆ ก่อน มันเคย ฝึกยังไง มันได้อย่างนั้นนะคน ฉะนั้น อันนี้ก็เป็นวิธีหนึ่ง ถ้าไม่เห็นคุณค่าของงานโดยตรง ก็ต้องเอาในแง่เป็นเครื่องฝึกตัวเอง เพราะว่า เมื่อกี้พูดสองแบบ คือ
๑ คือฉันทะ การที่พอใจในผลที่เกิดขึ้นตามเหตุ ซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติ อันนั้น ได้ในแง่ที่ ๑ ทำงานแล้วมีความสุข
๒ ก็คือว่า จิตสำนึกในการฝึกตน ที่ทำให้มองงานเป็นเครื่องพัฒนาตัวเองหมด แต่ถ้างานใดมันไม่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิต งานบางชนิดเราเห็นได้เลยนะ เป็นงานที่ทำแล้ว จะทำให้ชีวิตตกต่ำลง พฤติกรรมก็ไม่พัฒนา จิตใจก็ไม่พัฒนา กลับยิ่งตกต่ำลง ปัญญาก็ไม่พัฒนา อย่างนี้ไม่ดีแน่ๆ เราต้องหาทางให้พ้นไปให้ได้ อย่าไปอยู่กับมัน
ฉะนั้น ก็ลองพิจารณาดู
ถาม : ที่อาจารย์พูดถึง คำว่า “รู้” “ควรรู้” อยากทราบว่ารู้นี้ รู้ระดับไหน แต่ตอนนี้คิดว่าเข้าใจถูกแล้วว่า รู้ก็คงจะรู้เกินขอบเขตของสมมติ
ได้รู้ความเป็นจริงที่แท้ ซึ่งมันอยู่ในธรรมชาติ คือไม่รู้ติดอยู่แค่สมมติ แล้วก็เลยไม่หลงสมมติ ถ้าเรารู้ไม่ถึงความจริงในธรรมชาติ เราก็หลงสมมติ เพราะชีวิตที่หลงสมมติก็เป็นปัญหา ทั้งแก่ตนเองและแก่สังคม และสังคมก็จะวิปริต ปรวนแปรด้วย พอเราเข้าถึงธรรมชาติ ไม่แปลกแยกจากธรรมชาติ ผลมันตรงไปตาม เรื่องสอดคล้องไปหมด เพราะสมมตินั้นตั้งขึ้นจากความจริงในกฎธรรมชาติเป็นฐานรองรับก่อน ถ้ายังไม่มีอะไรก็ต่อกันอีกหน่อย ขออภัยนิด ทางนี้จะรีบหรือเปล่า อยู่ได้นะ
ท่านได้กล่าวว่า .......หมายความเป็นโอกาสได้ความสุขอีกชนิดหนึ่ง ใช่ความสุขที่เกิดจากการให้ อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง อันนั้นก็อีกด้านหนึ่ง นี่พูดถึงช่องทางความสุขมาเพิ่มอีกอันหนึ่ง ก็ได้ทั้งสองอย่าง แต่ว่าถ้ามันมีความรัก ความยึดติดผูกพัน ก็ต้องยอมรับความจริงตามธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัยว่าทุกข์จะต้องมา เพราะว่าเมื่อมีความยึดติดผูกพัน ก็เกิดความห่วง ถ้าไม่หวงแหนก็ห่วง ใช่ไหม ห่วงกับหวง บางทีก็ทั้งห่วงทั้งหวง ตัวห่วง ตัวหวง ก็ทำให้เกิดทุกข์ เพราะฉะนั้น หนีไม่พ้น เพราะฉะนั้น ก็ต้องพัฒนาจิตอีก ว่าทำยังไงจะไปพ้นจากความห่วงและความหวง พอเราพัฒนาจิตต่อไป พ้นจากห่วงจากหวง ทุกข์ก็เบาหายไป แต่ว่าด้านหนึ่งก็คือ ได้ความสุขจากการให้ ได้ขึ้นมา แต่วันนี้เราพูดเฉพาะด้านได้
ถาม : การที่พระเดชพระคุณได้กล่าวถึงว่า คนรุ่นใหม่นี้ อยู่ยากไม่ค่อยจะสู้ อย่างท่านที่มาทั้งหลายนี่ ก็ระดับสมองของชาติ ก็มี.......ที่เคยอ่านแบบในหนังสือพิมพ์ ก็มีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาการศึกาของชาติมากมาย( เสียงถามไม่ดีเลย กับทุกๆ คำถาม 25.00) ทีนี้ไม่รู้เขาจะแก้เรื่องนี้หรือเปล่า เพื่อให้สู้สิ่งยาก
ก็ไม่รู้สิเขาจะเอาด้วยหรือเปล่า
ถาม: เพราะว่าถ้าไม่สู้ต่อไป คนรุ่นใหม่ รุ่นต่อๆ ไปก็จะไม่เอา
ก็ใจเสาะ เปราะบาง อ่อนแอ
ถาม: แสวงหาวัตถุเฉพาะหน้า เบียดเบียนคนอื่น
เบียดเบียนคนอื่นด้วย ชีวิตตัวเองก็ไม่สุขจริงด้วย อาตมาไปที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ครูก็มาร้องทุกข์อย่างนี้ บอกว่าเด็กเดี๋ยวนี้ไม่เอาเลย เรื่องยาก และการศึกษา ถ้าไม่เข้าใจหลักการนี้นะ ตามใจเด็ก อเมริกาตอนนี้ ช่วงที่ผ่านมา การศึกษาเสื่อม เราเห็นได้ชัดเลย นโยบายวิธีจัดการศึกษา ครู อาจารย์ นักคิดทางการศึกษา จัดการศึกษาแบบเอาใจเด็ก คือ พยายามเน้นไปในแง่ว่า จัดกิจกรรมบทเรียนให้น่าสนใจ ให้น่าสนใจ ถูกต้อง แต่มันกลายเป็นเลยไปจนกระทั่งว่า เอาใจเด็ก ตามใจเด็ก ถ้าไม่สนใจไม่ต้องเรียน ทีนี้เด็กก็เอาแต่ใจตัวเอง ถ้าฉันไม่สนใจ ฉันไม่ชอบ ฉันไม่เรียน ครูก็มีหน้าที่เอาใจ ทำยังไงจะจัดให้เด็กสนใจ ชอบใจ ทีนี้ก็ยิ่งยากขึ้น เพราะจะเอาใจคน มันไม่รู้จักสิ้นสุด ก็เลยเด็กก็อ่อนแอลง ทีนี้เสร็จแล้ว ปรากฏว่าการศึกษาอเมริกันเด็กแพ้ญี่ปุ่น แพ้อิสราเอล พวกนี้ ใช่ไหม พวกญี่ปุ่นนี่มันให้สู้สิ่งยาก อิสราเอล ยิว ยิ่งให้สู้สิ่งยากใหญ่เลย เพราะฉะนั้น ตอนนี้ยิว ญี่ปุ่น พวกนี้การศึกษานำ อเมริกานี่ไปแทบโหล่เลย ตอนนี้ก็เดือดร้อน หันมาเร่งการศึกษาขึ้นมาอีก ว่าจะทำยังไง จะแก้ไข เพราะฉะนั้น ตอนนี้อเมริกานี่ เป็นสังคมที่เสียเปรียบนะ เพราะว่ามั่งคั่ง พรั่งพร้อม ฉะนั้น พอสังคมประสพความสำเร็จมั่งคั่งพรั่งพร้อม มันจะมีแนวโน้มที่เริ่มเสื่อม เพราะว่าตกอยู่ในความประมาท หลงเพลิดเพลินมัวเมาและอ่อนแอลง
ถ้าเรารู้หลักการนี้ เราต้องรีบพัฒนาคนขึ้นไปสวนกระแสเลย ให้มันได้ดุลยภาพ แล้วมันจึงจะอยู่ไปได้ จึงจะรักษาความเจริญได้
(เสียงไม่ชัด 27.40)
นั่นสิ อย่างนักการศึกษาเราก็จะไปเอาตามฝรั่งอเมริกัน จะพยายามเน้นในแง่ว่า จัดบทเรียน จัดกิจกรรมให้เป็นที่สนใจแก่เด็ก จนกระทั่งว่าตามใจเด็ก เอาใจเด็ก ให้เด็กชอบใจจึงเอา ไม่ชอบใจไม่ต้องเอา อะไรอย่างนี้ ถ้าไปกระแสนี้ก็อ่อนแอลงๆ ทุกที ต้องพัฒนาให้เด็กสู้สิ่งยากให้ได้ การพัฒนาบทเรียนและกิจกรรมให้น่าสนใจนั้น เป็นวิธีการเพื่อรัด ทุ่นเวลา ประหยัดเวลาและแรงงานของเด็กในการเรียน ใช่ไหม อันนั้นเราต้องทำแน่นอน เพราะว่าเมื่อบทเรียนมันง่ายน่าสนใจ เด็กก็ไม่ต้องใช้เวลา เสียเวลาไปในการเรียนมาก ประหยัดเวลาและแรงงาน และความคิด แต่ว่าต้องอยู่ที่จุดหมายนี้ ส่วนว่าพัฒนาทางด้านการสู้สิ่งที่ยากขึ้นไป ต้องให้สู้ ต้องทำให้ได้ เอาละ ก็ขอต่อไป
ทีนี้ก็เลยต่อไปความสุขประเภทที่ ๔ หรือระดับที่ ๔ ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติมนุษย์อีกแหละ คือพระพุทธเจ้าสอนอะไรตามธรรมชาติมนุษย์ ธรรมชาติมนุษย์นี่มันมีเอื้อ ถ้าเราใช้เป็นแล้ว มันเป็นประโยชน์ ถ้าเราใช้ไม่เป็น เราก็กลับปฏิบัติผิดต่อมัน เราก็ได้รับโทษจากการปฏิบัติผิดนั้น ทีนี้ปฏิบัติถูกยังไง มนุษย์นี้มีความสามารถอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแปลกจากสัตว์อื่น ในการที่เป็นสัตว์ที่ฝึกตนได้นั้น มันมีความสามารถทางสติปัญญาความคิด ความคิดของมนุษย์นี้ เป็นความคิดในการประดิษฐ์สร้างสรรค์ปรุงแต่ง ที่บอกว่ามนุษย์ได้สร้างโลกของมนุษย์ขึ้นมาต่างหากจากโลกธรรมชาติ ก็เพราะความสามารถนี้ ใช่ไหม คือมนุษย์นี้มีเจตจำนงค์คิดปรุงแต่ง แต่ว่าการคิดปรุงแต่งของมนุษย์นี้ จุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งคือ ไปสร้างวัตถุมาบำเรอตัวเองเสียมาก ต้องการที่จะเสพวัตถุ มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย เราก็เลยคิดขึ้นมา คิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ประดิษฐ์ นั่นก็ไปกระทำต่อวัตถุ ไปเอาธรรมชาติมาผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม ผลิตขึ้นมาเป็นสิ่งบริโภคอะไรต่างๆ มาเสพหาความสุข เราก็เน้นไปในแง่นั้น จนกระทั่งว่าสร้างเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ อะไรต่ออะไรขึ้นมามากมาย นั่นเป็นด้านหนึ่งที่เป็นความสามารถของมนุษย์ แต่ว่ามนุษย์พัฒนาด้านเดียวนี้จะเสียอย่างที่ว่าเมื่อกี้แล้ว ใช่ไหม
ทีนี้ความสามารถในการคิดปรุงแต่งนี้ มันมีอีกด้านหนึ่งที่อยู่ข้างใน ก็คือ ปรุงแต่งโดยตรง ปรุงแต่งสุข ปรุงแต่งทุกข์ คิดปรุงแต่งอะไรต่างๆ ก็ไปสร้างสิ่งภายนอก นั่นด้านหนึ่งแล้วนะ ทีนี้ในใจตัวเองก็คิดปรุงแต่งสุขและทุกข์ สุขทุกข์ของมนุษย์นี้เกิดจากการปรุงแต่งในใจของตัวเองมาก ไม่เหมือนสัตว์ทั้งหลายโดยมากเขาได้สุขและทุกข์โดยตรง จากการรับสัมผัส ทีนี้ของมนุษย์นี้มีจิตที่คิดปรุงแต่ง เราก็เก็บเอาอารมณ์ที่เข้ามาเป็นอดีต แล้วก็มาคิด เช่น สิ่งที่ชอบใจ สิ่งที่ไม่ชอบใจ สิ่งที่กระทบใจ เราก็เอามาคิด เราก็มาปรุงแต่งใจของเราให้เกิดความกลุ้ม ความกังวล ความกลัว แล้วตลอดจนกระทั่งความเครียด ใช่ไหม นี่สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าความทุกข์ทางจิตใจ แล้วเกิดจากการคิดปรุงแต่ง ใช่ไหม คิดปรุงแต่ง สัตว์ทั้งหลายอื่น ไม่มีความสามารถอย่างนี้เหมือนมนุษย์ สัตว์ทั้งหลายอื่นจึงไม่สามารถจะมีความกลุ้ม ไม่สามารถจะกังวล แล้วก็มีความเครียดแบบมนุษย์ได้ ใช่ไหม มีได้จากความกลัวโดยตรง เครียด สัตว์บางชนิดเวลากลัวก็เครียดโดยตรง แต่ว่าจะมาคิดแบบซับซ้อน ปรุงแต่ง อย่างมนุษย์ ไม่เป็น มนุษย์นี่คิดจนกระทั่งว่าขออภัย เสียสติเลย คิดทุกข์มากๆ นี่ทุกข์จนเสียสติเลย เลยเป็นบ้าไปเลย เป็นบ้าเพราะความคิด นั่นเกิดจากการปรุงแต่งของมนุษย์ มนุษย์ก็เลยคิด ทุกข์จนกระทั่งฆ่าตัวตาย คิดเครียด คิดกังวล ตกลงว่าทุกข์สารพัดของมนุษย์ เกิดจากการคิดปรุงแต่ง เกิดจากความสามารถที่ใช้ในทางที่เป็นโทษแก่ตนเอง ความสามารถในการคิดปรุงแต่งมีอยู่ พระพุทธเจ้าก็เลยจับจุดนี้ว่า ทำไมเธอไม่ใช้ความสามารถนี้ในทางสร้างสรรค์ แทนที่จะปรุงแต่งทุกข์ จนกระทั่งฆ่าตัวตาย เป็นบ้า ก็มาปรุงแต่งสุขเสียสิ อารมณ์ที่รับเข้ามานี้แหละ เป็นแหล่งที่มาของการคิดปรุงแต่ง เวลาเราคิดปรุงแต่ง เราก็เอาสิ่งที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายของเรา ใช่ไหม่ รับรู้เข้ามา แล้วเราก็เก็บ แต่ว่าคนมักจะสร้างความเคยชิน สร้างความเคยชินคืออะไร คือรับเอาสิ่งที่ไม่ชอบใจ แล้วก็รับกระทบเอามาปรุงแต่ง ฉะนั้น พอเราเคยชินอย่างนี้แล้ว เราก็สร้างความทุกข์ให้แก่เราเป็นประจำไปเลย จนเคยตัวเลยนะ พอเคยตัวแล้ว แก้ยาก คราวนี้ก็จะมีจิตใจที่เป็นทุกข์อยู่เรื่อย เป็นคนที่กลุ้มจนเคย กังวลจนเคย เครียดจนเคย แล้วพอเคยแล้ว แก้ยาก เพราะเป็นนิสัยของจิต จิตตกร่อง พอจิตตกร่อง พออารมณ์อย่างนี้ปั๊บ เข้ามารับปุ๊บ ปรุงแต่งปั๊บ ทุกข์ทันที
ทีนี้ก็ต้องแก้ ท่านก็ให้วิธีแก้ต่างๆ แก้กันด้วย กันก็คือ ตอนแรกว่าอารมณ์ต่างๆ รับเข้ามา ท่านมีวิธี เช่นใช้สติมากัน แบบสติปัฏฐาน มีสติตามทัน รับรู้แค่รู้ รับรู้แค่รู้ รู้แล้วตามทันปัจจุบัน ไม่ให้สิ่งเหล่านี้ตกอดีตตามยินดียินร้าย อันนี้เป็นวิธีอันหนึ่ง อาตมาจะไม่พูดวันนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่รายละเอียด แต่ให้เห็นช่องทาง เห็นแนวเท่านั้นพอ ทีนี้ก็แทนที่จะรับเก็บอารมณ์ที่ไม่ดี เรากันเสียเลย แล้วก็ถึงแม้มันรับเข้ามาแล้ว เราทำยังไง มีวิธีการที่ไม่เอามันขึ้นมาปรุงแต่งในทางร้าย ให้ปรุงแต่งในทางดีเสีย ปรุงแต่งในทางดี ก็ลองปรุงแต่งทุกข์ได้ เราก็ปรุงแต่งสุขได้ ทำจิตให้สบาย ให้มีความสุข พระพุทธเจ้าก็ตรัสถึงสภาพจิตที่ดีไว้ ถ้าเราปรุงแต่งบ่อยๆ เราก็เคยเหมือนกัน ทำยังไง ปรุงแต่งสภาพจิตที่ดี ท่านให้ไว้ ๕ อัน บอกว่าถ้าเราทำได้เสมอ มี
๑ ปีติ เคยพูดบ่อยๆ แล้ว อิ่มใจ ปลื้มใจ ปีติความอิ่มใจ
๒ ปัสสัทธิ
๑ ปราโมทย์ ขอโทษ ข้ามไปอันหนึ่ง
๑ ปราโมทย์ ความร่าเริง เบิกบานใจ ทำใจให้ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ แค่ได้อันนี้อันที่หนึ่งนี้ก็ดีมากแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า “ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ” ภิกษุที่มากด้วยปราโมทย์ ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพาน บุคคลใดทำใจให้ร่าเริงเบิกบานได้เสมอ นี่อยู่ใกล้นิพพานแล้ว ทีนี้อันที่ ๑ เลย ให้เป็นตัวยืนพื้นของจิต ทำจิตให้ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ
๒ ปีติ แปลว่าความอิ่มใจ ปลื้มใจ
๓ ปัสสัทธิ แปลว่า ความผ่อนคลาย สงบเย็นกายใจ ใจไม่เครียด ผ่อนคลายนี่ตัวไม่เครียด ปัสสัทธิ
๔ สุข ความสุข พอกายใจสงบเย็นไม่เครียดแล้ว ทีนี้ก็สุข โปร่งโล่งไม่มีอะไรบีบคั้น ใจคอโล่งโปร่งเบา เป็นสุข แล้วต่อไปจากสุขก็
๕ สมาธิ ก็คือสภาพจิตที่สงบ ตั้งมั่น แน่วแน่ไม่มีอะไรมากวน จิตต้องการจะอยู่กับสิ่งใด ก็อยู่กับสิ่งนั้น ใจที่เป็นสมาธิคือ ใจอย่างไร ใจที่เป็นสมาธิก็คือ อยู่กับสิ่งที่ต้องการ ได้ตามต้องการ ใครทำได้อย่างนี้ คนนั้นมีสมาธิ ลองดูตัวเอง คนที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ ได้ตามต้องการ นี่คือสมาธิ ไม่มีอะไรอื่นมากวนเลย ลองคิดดูสิ คนที่ไม่มีอะไรมากวน ใจมันสบาย ใช่ไหม มันทั้งสงบ มันทั้งสบาย แล้วจิตมันพร้อมที่จะคิดพิจารณาอะไรก็ได้ จิตมันไม่มีอะไรกวน ก็เป็นสมาธิ สงบ สบาย
ฉะนั้น ท่านให้ทำสภาพจิต ๕ อย่างนี้ให้เกิด เป็นลักษณะ เป็นเครื่องแสดงความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมด้วย ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ใจของเราปรุงแต่งได้ เราก็เอา ๕ ตัวนี้ มาตั้งเป็นหลักไว้ แล้วก็ตั้งเป็นเป้าหมาย แล้วเราพยายามทำใจให้เป็นไปตามนี้ ทีนี้ พระพุทธเจ้ายังให้เทคนิคอีก วิธีที่จะทำใจ อย่างการฝึกสมาธิ เรียกว่า การฝึกสมาธินี้ เป็นวิธีปรุงแต่งจิต ที่เขาเรียกว่า สมถะ ระบบสมถะนั้นเป็นการปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งแม้แต่ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิ เป็นวิธีที่มาจัดทำไงให้จิตมันลงตัว ให้เข้าที่ เราทำสมาธิแม้แต่เวลาที่เราทำจิตให้อยู่กับสิ่งที่เราต้องการ เช่น เรากำหนดลมหายใจ พอเราจิตอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ใจเราก็ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย แต่ถ้ามีทุกข์อยู่ ถ้าสิ่งนั้นไม่เข้ามา ก็หายไป หรือแทรกเข้ามาบางตอน อย่างน้อยมันก็พักได้บ้าง จิตของเราได้มีโอกาสพักจากสิ่งที่รบกวนนั้น
แต่นี่ท่านมีวิธีเทคนิคอีกมาก เช่น อย่างวิธีหนึ่ง อาตมาลองเอามาให้ฟัง พระพุทธเจ้าตรัสอานาปานะ ๑๖ อานาปานสติ ๑๖ ไว้ คือมีวิธีลำดับในการใช้ลมหายใจมาทำจิตให้เป็นสมาธิ เจริญสมถะได้ด้วย วิปัสสนาได้ด้วย ทีนี้มันมีอยู่อันหนึ่งที่ลองเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็คือว่า หายใจเข้า หายใจออก เพียงแต่รู้ตามมันได้ เป็นสมาธิก็ดีถมไปแล้วนะ ท่านยังบอกให้ทำจิตตามด้วย วิธีทำจิตตามก็คือว่า ปรุงแต่งใจของเราไปด้วย ในเวลาที่หายใจนั้น หายใจเข้า เราก็ทำใจของเรา เราก็ว่าไป เช่น อาจจะว่าอย่างนี้ บอกว่า “ทำจิตเบิกบาน หายใจเข้า” “ทำจิตโล่งเบา หายใจออก” ลองว่าอย่างนี้นะ เวลาหายใจเข้า ก็ “ทำจิตเบิกบาน หายใจเข้า” ว่าไปด้วย ทำใจให้เป็นอย่างนั้นด้วย แล้วว่าหายใจออกก็ “ทำจิตโล่งเบา หายใจออก” ว่าไปด้วย แล้วทำใจให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี่ก็เป็นวิธีหนึ่ง นี่แหละวิธีปรุงแต่งจิต ทำไมจะไปกลุ้ม ถ้าเรากำลังกลุ้ม เราก็เอาอันนี้แทรกเข้ามา หรืออาจจะใช้อื่นก็ได้ ตัดคำว่า “ทำ” เสียก็ได้ แทนที่จะว่า “ทำจิตเบิกบาน หายใจเข้า” “ทำจิตโล่งเบา หายใจออก” ตัดตัว “ทำ”ออกก็ได้ “จิตเบิกบาน หายใจเข้า” “จิตโล่งเบา หายใจออก” เอ้า ทีนี้ทำไปนะช่วยได้เยอะเลย หรือว่าบางคนอาจจะชอบใช้คำอื่น ก็คล้ายๆ กันแหละ แล้วแต่ประดิษฐ์ถ้อยคำ เช่น อาจจะประดิษฐ์เป็นว่า “หายใจเข้า สูดเอาความสดชื่น” “หายใจออก ฟอกจิตให้สดใส” ว่าอย่างนั้นนะ เอาอย่างนี้ก็ได้ “หายใจเข้า สูดเอาความสดชื่น” “หายใจออก ฟอกจิตให้สดใส” ทำใจให้เป็นไปตามนี้ แล้วใจก็สบาย แล้วได้ดีทางสุขภาพร่างกายด้วยนะ เพราะลมหายใจนี้ ถ้าปรับให้ดีแล้ว อย่างวิชาโยคะ ใช่ไหม เขาจะบอกว่า การหายใจอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ปรับระบบการทำงานของร่างกาย เลือดลมให้ดีไปด้วย ปรับทั้งร่างกาย ปรับทั้งจิตใจให้สบาย นี่ก็เป็นวิธีปรุงแต่งจิต ใช่ไหม ฉะนั้น คนเรามีวิธีเยอะในการปรุงแต่ง ฉะนั้น ความสุขในระดับที่ ๔ นี้ เกิดจากการปรุงแต่งจิต วิธีสมถะทั้งหมด เป็นวิธีนี้ทั้งหมด ฉะนั้น อาตมาเพียงแต่บอกเป็นเค้าไว้ ส่วนใครจะใช้ยังไง ก็ไปเรียนวิธีการอีกที ให้รู้หลักไว้ ว่าใช้วิธีการปรุงแต่งจิต ให้เกิดความสุขมากขึ้น ก็พัฒนาจิตใจ หรืออย่างเราไปทำบุญ ทำกุศล นี่เป็นวิธีการปรุงแต่งจิต ท่านบอกว่าทานนี่นะ ก็ใช้เป็นบริขารของจิต เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เวลาเราไปทำทาน แล้วเราต้องมีปัญญา เราพิจารณา เราทำด้วยศรัทธา ใจของเราชื่นบาน ผ่องใส ตั้งใจทำ เราก็มองพิจารณาต่อไปว่า ทานที่เราถวายนี้ เป็นการให้กำลังแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์ท่านได้ปัจจัย ๔ ไป ท่านฉันมีกำลัง แล้วท่านจะได้ทำศาสนกิจ ท่านจะได้เล่าเรียนพระธรรมวินัย ได้ปฏิบัติ แล้วก็ได้เผยแผ่ธรรมะได้ พระพุทธศาสนาก็จะได้ดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาของเราเจริญงอกงาม เพราะทานที่เราร่วมถวายนี้ด้วย แล้วก็พุทธศาสนาเจริญงอกงามรุ่งเรือง ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่สังคม ผู้คนจะได้อยู่กันร่มเย็นสบาย ได้ธรรมะ ทานที่เราให้ไปนี้ มีผลกว้างขวาง เราเป็นส่วนหนึ่งแล้ว ในการที่ได้สร้างสรรค์ความดีนี้ ทำบำเพ็ญประโยชน์แก่พระศาสนานี้ เราเป็นผู้สืบต่อพุทธศาสนานี้ด้วย พอนึกขึ้นได้อย่างนี้ ก็ปลื้มใจ เกิดปีติ ต้องมีวิธีคิด ถ้ามีวิธีคิดแล้ว เวลาเราทำงานไป เราจะได้ปีติ อย่างคนทำงานที่ชอบใจ พองานเดินหน้าไป ก็เกิดอิ่มใจ ปีติ ปลื้มใจเรื่อยไป ความสุขก็เกิดขึ้น ก็ใช้วิธีนี้ปรุงแต่งจิตไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ทำทานไปแล้ว ก็มานึก ทำใจให้สบาย มีความอิ่มใจ ปลื้มใจในทานที่ตนทำไป นึกขึ้นมาคราวใด ก็ใจเบิกบานผ่องใส คนที่ไปใช้วิธีนี้ ก็คือว่า เอามาแทนนิสัยของจิต จิตที่มันเคยนิสัย มันเคยนึกแต่เรื่องไม่ดี นึกให้เรื่องกลุ้มใจตัวเอง มันก็ชินกับการกลุ้มใจ ทีนี้เราเปลี่ยนบ้าง ไปนึกถึงเรื่องบุญ เรื่องกุศล เรื่องทานที่เราทำไป นึกบ่อยๆ นึกแล้ว นึกอีก จนกระทั่งชิน จนกระทั่งจิตมันกลายเป็นบุญ จิตที่เป็นดีก็เป็นบุญไป พอจิตเป็นบุญ มันก็เป็นความสุข สบาย ชื่นฉ่ำ พอมันเคยลงตัวแล้ว คราวนี้สบายเลย จิตก็มีความสุขเป็นสมบัติประจำใจ ทีนี้ก็เป็นนักปรุงแต่งสุขเลย ปรุงแต่งสุขได้เรื่อย ฉะนั้น การที่ปรุงแต่งอย่างหนึ่ง ก็คือ สร้างจนเคยชิน ฉะนั้น ให้ถึงขั้นนี้เลย สร้างจนเคยชิน จนเป็นนิสัยของจิตที่จะมีความสุข อย่างนั้นได้ เวลาอยู่ว่างๆ ก็นึกถึงสิ่งที่ดี เอามาปรุงแต่งจิต แล้วถ้าทำอะไรไม่ได้ ก็เอาอย่างที่ว่า ที่ว่าเมื่อกี้ “จิตเบิกบาน หายใจเข้า” “จิตโปร่งเบา หายใจออก” หรือว่า “ทำจิตเบิกบาน หายใจเข้า” “ทำใจโล่งเบา หายใจออก” อะไรอย่างนี้นะ ทำไป ก็ช่วยได้เยอะนี่ก็เป็นเรื่องของการปรุงแต่ง ก็เห็นจะผ่านไปได้แล้ว
ทีนี้ก็ไปสุดท้าย ไปสุดท้าย ทีนี้สุขเหนือการปรุงแต่ง คราวนี้ไม่ต้องปรุงแล้ว เมื่อกี้ยังปรุงแต่งอยู่ ปรุงแต่งมันก็ยังต้องเพียรพยายาม ต้องลำบาก ยังต้องทำขึ้นมา มันต้องถึงขั้นที่ว่า ไม่ต้องปรุงแต่ง เพราะอะไร เพราะมันมีอยู่ในใจประจำ เป็นคุณสมบัติประจำใจเลย ถ้าเราปรุง มันต้องอาศัยการปรุง แสดงว่ามันต้องทำขึ้นมา เวลานั้นอาจจะยังไม่มี หรือย่างสุขที่เราเสพวัตถุ เราต้องหา เขาเรียกว่า แสวงหาความสุข แสดงว่าตัวเองขาดอยู่ คนแสวงหาความสุข ก็เพราะตัวเองขาดความสุข เราก็ไปแสวงหาความสุข มนุษย์ยุคนี้เป็นนักแสวงหาความสุข เพราะว่าไม่มีความสุขอยู่ในตัว ทีนี้ก็เลยว่า เราทำยังไงที่จะพัฒนาจนกระทั่ง ความสุขนอกจากอยู่ในตัว ปรุงแต่งนี้อยู่ในตัวแล้วนะ นอกจากอยู่ในตัวแล้ว มีเป็นสมบัติประจำตัวไปเลย มันอยู่ข้างในใจ ประจำใจตลอดทุกเวลา ไม่ต้องหา ไม่ต้องสร้าง ไม่ต้องปรุงแต่ง อันนี้ก็คือ ความสุขขั้นสุดท้าย ขั้นที่ ๕ ความสุขที่ไม่ต้องปรุงแต่งนี้ ก็เกิดจากปัญญา เหนือการปรุงแต่ง ก็คือ ปัญญา ปัญญารุ้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย รู้เข้าใจกฎธรรมชาติ รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พอรู้เท่าทันความจริง ของสิ่งทั้งหลายนี้ มันจะปรับจิตให้ลงกระแสเป็นอันเดียวกัน กลมกลืนกับความจริงของธรรมชาติ พอกลมกลืนแล้ว จะมีลักษณะอย่างไรเกิดขึ้น ได้พูดแต่ต้นแล้วบอกว่า ในที่สุดแล้ว ตัวต้นตอความทุกข์ของมนุษย์นี้ เกิดจากกฎธรรมชาติ ใช่ไหม เพราะกฎธรรมชาติมันมีความเปลี่ยนแปลง ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อยู่ในสิ่งทั้งหลาย ทีนี้ชีวิตของเราก็ตกอยู่ใต้อำนาจมันด้วย เป็นไปตามมัน แล้วก็ไม่เป็นไปตามปรารถนาของเรา เราไม่ได้ตามชอบใจ เราก็ทุกข์ เพราะฉะนั้น ก็มันก็มีเรื่องของการที่ความปรารถนาของเรานี้ ฝืนกับกฎธรรมชาติ
ดังนั้น เราลองมาดูว่า มันเป็นยังไง ในกระบวนการที่เกิดความทุกข์ของคน ก็สมมติเป็นเรื่องกระแสขึ้นมา ก็คือมนุษย์เราไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ เราไปเกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของ เราไปเกี่ยวข้องกับคน เราก็มีความปรารถนาต่อคนนั้น ต่อวัตถุนั้น เราจะปรารถนาว่าขอให้มันเป็นอย่างนี้ ขออย่าได้เป็นอย่างโน้น พอขอให้เป็นอย่างนี้ กับคำว่าเป็นอย่างนี้ เป็นไปอย่างนี้ ก็เป็นกระแส เราเรียกว่ากระแสความปรารถนา หรือกระแสความอยากของเรา กระแสความอยากของเรา ก็อยู่ในใจของเรา ก็เรียกว่าเป็นกระแสของคน คือเราคนสร้างขึ้นนั่นเอง กระแสตัวความปรารถนาที่จะให้สิ่งนั้นเป็นอย่างไร มันเป็นกระแสที่คนสร้างขึ้นอยู่ในใจคน
ทีนี้ สิ่งเดียวกันนั้นที่เราไปเกี่ยวข้อง เราไปอยากกับมัน มันเป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ สิ่งทั้งหลายที่อยู่ในธรรมชาตินี้ มีความเป็นไปตามกฎธรรมชาติ กฎธรรมชาตินั้นคือ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันตามกฎธรรมชาติ เอาละ สิ่งนั้นสิ่งเดียวกันกับที่เราไปอยาก ไปต้องการนั้นน่ะ สิ่งนั้นเองอยู่ในกฎธรรมชาติด้วย เมื่อมันอยู่ในกฎธรรมชาติ มันก็เปลี่ยนแปลงเป็นไปตามกฎธรรมชาติ มันก็เกิดมีอีกกระแสหนึ่ง เรียกว่ากระแสความเป็นไปตามธรรมชาติ หรือกระแสกฎธรรมชาติ หรือกระแสเหตุปัจจัย ใช่ไหม สิ่งนั้นเป็นไปตามกระแสเหตุปัจจัยด้วย ตกลงว่าสิ่งเดียวกันนั้น อยู่ใน ๒ กระแส คือ
๑ กระแสความปรารถนาของเรา เราก็มีกระแสความปรารถนาว่า ให้สิ่งนี้เป็นอย่างนี้นะ อย่าเป็นอย่างโน้น พร้อมกันนั้น เจ้าสิ่งนั้นก็อยู่ในกระแสกฎธรรมชาติ ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน สิ่งเดียวกันจะอยู่ใน ๒ กระแสได้อย่างไร มันต้องเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทีนี้ในกรณีที่ ๒ กระแสนี้ มันกลมกลืนกัน ก็สมใจ ก็ดีสิ เราปรารถนาอย่างนี้ ให้เป็นอย่างนี้ ถ้าเกิดกระแสเหตุปัจจัยในธรรมชาติ มันเป็นไปอย่างนั้นโดยบังเอิญพอดีกัน เราก็สมใจ แล้วก็มีความสุข แต่ถ้าเกิดมันสวนทางกันล่ะ มันขัดกันล่ะ กระแสความปรารถนาของเราบอกว่าให้เป็นอย่างนี้ แต่กระแสเหตุปัจจัยกลับให้เป็นอย่างโน้น เอาละสิทีนี้ขัดกันแล้ว พอขัดก็เกิดความปะทะกระแทกกันแล้ว กดดันบีบคั้น ทีนี้ พอมันขัดแย้งกัน ปะทะกระแทกบีบคั้นกัน ถามว่ากระแสไหนชนะ กระแสไหนชนะ กระแสเหตุปัจจัย ใช่ไหม เพราะเป็นกระแสจริงในธรรมชาติ กระแสความปรารถนานั้น เป็นกระแสที่ใจคนปรุงแต่ง มันไม่มีจริงหรอก แต่ว่ามันมีผลต่อตัวเรา พอกระแสกฎธรรมชาติ กระแสเหตุปัจจัยชนะ กระแสของเราถูกปะทะกระแทกบีบคั้น เราก็เกิดทุกข์ขึ้นมา ใช่ไหม เกิดทุกข์นี้คือเหตุเกิดของความทุกข์ของมนุษย์จำนวนมาก ไม่ได้ตามใจปรารถนา กระแส ๒ กระแสขัดกัน
ทีนี้ พอมนุษย์พัฒนาขึ้นมา ก็พัฒนาปัญญา คือ ความรู้ เจ้าตัวความปรารถนานั้น ท่านเรียกว่า ตัณหา กระแสตัณหามันไม่กลมกลืนกับกระแสเหตุปัจจัยของธรรมชาติ กระแสเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ท่านเรียกให้สั้น เรียกว่ากระแสธรรม เพราะกระแสความจริงของธรรมชาติ ส่วนกระแสในใจคน เรียกว่ากระแสคน เมื่อกี้นี้กระแสคนเป็นกระแสตัณหา กระแสตัณหากับกระแสธรรมมันขัดกัน เอาละทีนี้มนุษย์พัฒนาขึ้นมา พอเราพัฒนาขึ้นมา เราพัฒนาปัญญา ปัญญาก็คือ ความรู้ พอเราพัฒนาปัญญาขึ้นมา เราจะรู้เข้าใจความจริงในธรรมชาติ พอรู้เข้าใจความจริงในธรรมชาติ ปัญญานี้จะไปรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยจะเป็นยังไง ปัญญาก็ไปรู้ตามนั้น เกิดเป็นกระแสปัญญาขึ้นมา กระแสปัญญานี้ ไปตามทางเดียวกับกระแสเหตุปัจจัย เพราะกระแสเหตุปัจจัยไปยังไง เจ้าปัญญาก็รู้ตามนั้น พอกระแสปัญญามากขึ้นๆ ถ้ากระแสตัณหาหมด สมมติว่าอย่างนั้นนะ หรือน้อยเบาลง กระแสปัญญาเป็นใหญ่ กระแสปัญญานี้ สอดคล้องกับกระแสธรรมชาติ กลมกลืนกันไปเลย พอปัญญาเป็นกระแสคน สอดคล้องกับกระแสของกฎธรรมชาติตามเหตปัจจัย คราวนี้ไม่มีการขัดแย้ง กลายเป็นว่ากระแสคนกับกระแสธรรมนี้ กลมกลืนประสานเป็นอันเดียวกัน ก็ไม่ทุกข์เลยทีนี้ รู้ตามเป็นจริง ไม่เกิดทุกข์ ไม่ฝืนความปรารถนา ไม่ถูกกระทบกระแทก เพราะฉะนั้น พอเราพัฒนา คนพัฒนาคนมันพัฒนาปัญญาไปด้วย ปัญญาตัวนี้ทำให้รู้ความจริง ทำให้ประสานกลมกลืนกระแสของคนกับกระแสของธรรมเข้าด้วยกัน ก็ทำให้ไม่เกิดการขัดแย้ง ก็เลยความสุขก็ตามมา อย่างน้อยก็ทำให้เรา รู้เท่าทันและแก้ไขทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว พอเกิดทุกข์ขึ้นมาปั๊บ เอ้านี่มันฝืนความปรารถนา เราจะเอาตามปรารถนาของเราได้อย่างไร สิ่งทั้งหลายเป้นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ต้องรู้ทันความจริง พอรู้ทันความจริง ก็เบาลง ว่านี่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย พอเกิดอะไรขึ้น บอกเป็นไปตามเหตุปัจจัย พอพูดเท่านี้ ทุกข์เบาลงครึ่งหนึ่งเลยนะ เชื่อไหม พอพูดว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัย ทุกข์หายไปครึ่งหนึ่งเลย
ฉะนั้น ปัญญารู้ตามเป็นจริง ทีนี้มันได้ผล ๒ อย่าง คือ
๑ ใจก็สบาย หายทุกข์ ไม่ถูกปะทะกระแทก
๒ ปัญญาที่ไปรู้เหตุปัจจัย นี่ของจริง มันทำให้เราทำกับสิ่งเหล่านั้นได้ถูกต้อง
เพราะฉะนั้นสิ่งทั้งหลายจะเปลี่ยนแปลงไปยังไง มันก็ตามเหตุปัจจัยของมัน เราต้องการให้เป็นยังไง เราก็ต้องไปเรียนรู้เหตุปัจจัยและทำตามเหตุปัจจัยนั้น ถ้าหากว่าเหตุปัจจัยนี้เกิดขึ้นมา จะทำให้มันเสื่อม เราไม่ต้องการ เราก็ไปแก้ไขกำจัดเหตุปัจจัย ถ้าเราต้องการให้มันเจริญ เราก็ไปสร้างเหตุปัจจัยให้มันเจริญ เราก็ทำสำเร็จด้วย กลับมาทางได้มีความสุขมากขึ้น เพราะทำสำเร็จตามที่ต้องการ แทนที่จะไปเอาแต่ความปรารถนาเข้าว่า แล้วก็ไม่ได้ตามที่ประสงค์ เพราะฉะนั้น ก็เอาปัญญามาใช้
๑ ก็รู้ทันกระแสความจริงของกฎธรรมชาติ กลมกลืนเป็นกระแสเดียวกัน ไม่ปะทะกระแทก ก็หายทุกข์ไปขั้นหนึ่ง
๒ ก็ไปทำการตามเหตุปัจจัย ด้วยความรู้ตามเหตุปัจจัย ก็ทำการได้ผลด้วย
ก็ได้อีกอย่าง ก็นี่ก็เป็นตัวอย่างของการที่ว่า เรานี่ใช้ปัญญามาทำให้ชีวิตของเรา ดีงามขึ้น มีความสุขขึ้น หายทุกข์ขึ้น แล้วพอรู้เข้าใจโลก แล้วชีวิตตามเป็นจริง ต่อไปมันจะวางใจ วางท่าที ปรับชีวิตให้ลงตัวกับเรื่องความเป็นจริงของโลกและชีวิต ความเป็นจริงสอดคล้องกับความเป็นจริงของโลกกับชีวิต ชีวิตของคนนั้นจะเป็นเหมือนสารถีผู้เชี่ยวชาญ สารถีผู้เชี่ยวชาญในการขับรถเป็นยังไง เราลองดูสภาพจิตของเขา สารถีที่ชำนาญในการขับรถ เจนจบในวิชาขับรถ สมัยก่อนขับรถม้า เขาจะขับรถม้า เขาจะยุ่งอยู่ตอนแรกเวลาเริ่มขับ เวลาขี่รถพาม้าเข้าสู่ถนน ปรับความเร็วให้พอดี ยังต้องใช้แส้ดึงบังเหียน พอรถมันเข้าที่เข้าทางดี แล่นตรงทิศแล้ว ความเร็วพอดีลงตัวแล้ว ตอนนี้สารถีใจเรียบสงบเลย นั่งเฉยเลยนะ นั่งเฉยสบาย แต่ว่าในควมสบายนั้น มีความรู้อยู่ ความรู้ที่เจนจบ ที่ทำให้เขาไม่ต้องหวาดระแวง หวั่นใจอะไรทั้งสิ้น แต่มีความพร้อมด้วยว่า ถ้ารถวิ่งผิดทิศผิดทางผิดความเร็วปั๊บ เขาแก้ได้ทันที ด้วยความเจนจบ ชำนาญนั้น สารถีผู้เจนจบ ก็วางใจสบาย สภาพจิตที่ว่า ทุกอย่างลงตัวเข้าที่ อันนี้คือ สภาพจิตที่พระท่านเรียกว่าอุเบกขา อุเบกขาที่เกิดจากปัญญา เกิดจากความรู้ ความรู้นี้เป็นตัวปรับความรู้สึกให้ทุกอย่างลงตัวพอดี คนเรานี้ส่วนมากอยู่ได้ด้วยความรู้สึก เราหวั่นไหวไปตามความรู้สึกของเรา รู้สึกดีบ้าง รู้สึกร้ายบ้าง รู้สึกสุขบ้าง ทุกข์บ้าง แต่เมื่อไรความรู้มา จะปรับความรู้สึกให้ลงตัวพอดี เรียบสงบ ฉะนั้น คนที่มีความรู้ เจนจบโลกจริงๆ จนกระทั่งรู้กฎธรรมชาติ รู้ความจริงของโลกและชีวิต ก็ถือว่าเจนจบชีวิต จะวางใจ วางชีวิตลงตัวพอดีกับทุกสิ่งทุกอย่าง จิตจะเป็นลงตัวอุเบกขา เพราะฉะนั้น สภาพจิตพระอรหันต์ จะเป็นสภาพจิตอุเบกขา ซึ่งเทียบได้กับสารถีผู้เจนจบ ในขณะที่ขับรถเข้าที่ ทุกอย่างลงตัวพอดี จิตสบายเลย
อันนี้จะเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่ง ก็เหมือนอย่างที่ว่า อย่างเวลาเกิดเหตุการณ์ร้าย พอเกิดเหตุการณ์ร้ายขึ้นมา ก็จะมีคน ๓ ประเภท คนพวกหนึ่งไม่รู้เรื่องรู้ราวว่าอะไรเกิดขึ้น เพราะไม่รู้เรื่องรู้ราวก็เฉย ใช่ไหม คนพวกที่ ๑ เฉย ไม่รู้เรื่องรู้ราว
คนพวกที่ ๒ รู้ครึ่ง ไม่รู้ครึ่ง รู้ว่าเหตุร้ายมันเกิดขึ้นแล้ว และเป็นอันตราย แต่ว่ารู้ครึ่งไม่รู้ครึ่ง ก็คือว่า ไม่รู้ว่ามันจะเป็นยังไงต่อไป แล้วไม่รู้ว่าจะแก้ไขยังไง ทีนี้พอรู้ครึ่ง ไม่รู้ครึ่ง แกก็ลุกขึ้นโวยวาย โวยวายโลดเต้นอะไรต่างๆ ทีนี้ถ้ามันไม่พอดี ก็อาจจะซ้ำสถานการณ์ให้เลวร้ายลงไปอีก แต่ว่าไม่ได้ผล แก้ไขสถานการณ์ไม่ได้
คนประเภทที่ ๓ คือคนที่รู้ รู้สถานการณ์ รู้เหตุร้ายนี้คืออะไร มันเป็นไปอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร จะทำอะไรจังหวะไหน เพื่อแก้ไข คนที่มีความรู้ มีปัญญาถึงขนาดนี้ พวกนี้จะเฉยเหมือนกัน เพราะพวกนี้มันไม่เดือดร้อนอะไร มันรู้หมดแล้ว แล้วรู้ว่าจะทำอะไร เมื่อไร รอจังหวะ จังหวะถึงเมื่อไรก็ทำตามนั้น เหมือนสารถีที่ว่าจะแก้ไขอะไร เมื่อไร ทำตามจังหวะฉะนั้นจิตจะเรียบสงบ นี่คือสภาพจิต อุเบกขาด้วยปัญญา เป็นสภาพจิตที่ต้องการ พระอรหันต์นี่จิตของท่านอยู่ส่วนมาก อยู่ที่อุเบกขา เป็นสภาพจิตที่สบายและพร้อมที่จะเสวยความสุขทุกอย่าง หมายความว่ามันไม่มีอะไรมาระคายรบกวน ไม่เหมือนจิตคนธรรมดา มันไม่เรียบสงบ จะเสวยสุขแม้แต่เสวยสุขแบบหยาบ แบบเสพ ก็มีความหวาดระแวง มีความกังวล มีอะไรมารบกวนใจ ใช่ไหม สุขไม่เต็มที่ มันมีตัวกวนอยู่ตลอดเวลา สภาพจิตมันไม่ลงตัว พูดง่ายๆ ความลงตัวพอดี ไม่มี สภาพจิตของปุถุชน เพราะฉะนั้น แม้จะมีความสุขประเภทต่างๆ ก็ได้สุขไม่เต็มที่ แต่ว่าพอเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้เจนจบชีวิตด้วยปัญญา ปรับชีวิตจิตใจเข้ากับความเป็นจริงของโลกและชีวิตหมดแล้ว เพราะฉะนั้น จิตนี้อยู่ในสภาพที่ไม่มีอะไรกวนเลย จะเสวยความสุขอันไหนก็ได้ คราวนี้พร้อมทุกอย่าง อยู่ที่ตัวเองจะต้องการเสวยหรือไม่ พอมาถึงจุดนี้แล้ว ก็วางใจด้วยความรู้ ความจริงตามกฎธรรมชาติ แล้วมันจะเกิดผลอะไรขึ้นมาอีกอันหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นอีกอันหนึ่งก็คือว่า ทุกข์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ก็ปล่อยให้เป็นทุกข์ในธรรมชาติไป ไม่มาเป็นทุกข์ในใจเราอีกต่อไป
ตอนนี้เราต้องยอมรับความจริงนะ กฎธรรมชาตินี้มันเป็นของในธรรมชาติ แก้ไม่ได้ ธรรมชาติเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เป็นอย่างนั้น ใครไปแก้มันได้ล่ะ แต่ทีนี้เรื่องอะไร เรื่องกฎธรรมชาติ มันเป็นอย่างนั้น แล้วพาใจของเราเป็นทุกข์ไปด้วย เพราะเราไปอยู่ใต้อำนาจกฎธรรมชาติ ทีนี้พอเรารู้ความจริงถึงที่สุดด้วยปัญญา ก็ปล่อยให้กฎธรรมชาติ อยู่ในธรรมชาติต่อไป ทุกข์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ก็เป็นทุกข์ในธรรมชาติ ไม่มาเป็นทุกข์ในใจเรา จบ หมายความว่า เป็นอิสระ ใจของเราเป็นอิสระจากกฎธรรมชาติ ด้วยความรู้เท่าทัน ปัญญาที่ปรับทุกสิ่งลงตัวไป คนอย่างนี้แหละที่ว่ามีความสุขประจำตัว อยู่ในใจตลอดทุกเวลา ไม่ต้องหาอีก
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงยืนยันพระองค์ว่า สุขมากที่สุด ก็เล่าซ้ำอีกที มีในเรื่องในพระสูตรเล่าถึงว่า มีคนหนึ่งมาหาพระพุทธเจ้า แล้วก็เขาก็มองด้วยสายตาของคนธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าเที่ยวลำบากลำบน เดินทางด้วยพระบาทเปล่าเป็นส่วนใหญ่ จาริกไปเมืองโน้นเมืองนี้ ไปแสดงธรรมสั่งสอนคนนั้นคนนี้ แล้วก็ไม่มีเครื่องบำรุงบำเรอความสะดวกสบาย จะเรียกภาษาปัจจุบัน ก็นอนกลางดินกินกลางทราย อะไรก็ได้ เขาก็เลยมาว่าพระพุทธเจ้า บอกว่าพระองค์มาลำบากลำบนทำไม ทำไมไม่มีชีวิตให้เป็นสุข พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสถามว่า แล้วท่านว่าใครเป็นสุข จะได้เอามาเทียบกันดู พอถามอย่างนี้ นายคนนั้นชักคิดแล้ว เอ๊ะ เอาใครดีนะ คือเขาก็นึกว่า คนที่จะมีความสุข มันต้องมีสิ่งเสพบำรุงบำเรอวัตถุเต็มที่ เขาก็นึกไปนึกมา เขาก็เลยได้ เอ้า! พระเจ้าแผ่นดิน เอาพระเจ้ากษัตริย์แคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสาร ตอนนั้นเป็นประเทศมหาอำนาจ ก็ต้องสุขที่สุดแล้ว มีอะไรพรั่งพร้อม บอกว่าพระเจ้าพิมพิสารไงล่ะ มีความสุข พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสบอกว่า เรายืนยันได้ว่า เราสุขกว่าพระเจ้าพิมพิสาร แล้วจะทำยังไง จะพิสูจน์ได้ยังไงล่ะ ยากนะที่จะพิสูจน์ว่าใครสุขกว่าใคร พระพุทธเจ้าก็ให้วิธีพิสูจน์อันหนึ่ง พระองค์ก็ตรัสบอกว่า เอาอย่างนี้ บอกว่าเรานี้สามารถ ถ้าจะไม่ทำอะไรเลยก็ได้ เราจะนั่งเฉยๆ เสวยแต่ความสุขทั้งวันก็ได้ พระเจ้าพิมพิสารทำได้ไหม เขาบอกว่าไม่ได้ คือพระพุทธเจ้ามีความสุขอยู่ในพระองค์ตลอดเวลา เป็นของประจำตัว เพราะฉะนั้น พระองค์จะทำอะไร ไม่ทำอะไร พระองค์ก็มีความสุข ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ตลอดเวลาที่ทำอะไร เดินทางอะไร พระองค์ก็สุข แต่นี่ถ้าเกิดพระองค์จะเสวยความสุขอย่างเดียว พระองค์จะนั่งเฉยๆ พระองค์ก็สุขอยู่นั่นเพราะว่าความสุขมันอยู่ในตัว แต่นี่พระเจ้าพิมพิสารท่านต้องแสวงหาความสุข ท่านนั่งเฉยๆ เสวยความสุขไม่ได้ ตกลงก็ พิสูจน์ด้วยวิธีนี้ก็แพ้แล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้าก็เป็นผู้ที่สุขที่สุด พระอรหันต์บางองค์ท่านจะอุทาน อย่างมหากัปปินะก็เคยเป็นกษัตริย์มาก่อน แล้วมาบวช ได้เป็นพระอรหันต์ก็อุทานอยู่เสมอว่า สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ก็เป็นคนที่มีความสุข จนกระทั่งความสุขนั้น เป็นสมบัติประจำตัวอยู่ในใจตลอดทุกเวลา ไม่ต้องหาด้วย
ทีนี้เมื่อมีความสุขเต็มแล้ว ก็พัฒนาตัวมาจนถึงขั้นนี้ ทุกอย่างก็เต็มเปี่ยม เพราะกว่าจะพัฒนาสุขมาถึงขั้นนี้ ก็ต้องพัฒนาชีวิตทุกด้านมาแล้ว สติปัญญา ความประพฤติ คุณธรรม ก็เต็มเปี่ยมบริบูรณ์หมด ก็กลายเป็นผู้ที่บรรลุ สิ่งที่ท่านเรียกว่า ประโยชน์ตน ประโยชน์ตนหมายความว่า พัฒนาสมบูรณ์แล้ว ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีก เพราะฉะนั้นจะเกิดผลอะไร คือ ชีวิตตัวเองดีสมบูรณ์ แล้วก็เมื่อไม่มีอะไรทำเพื่อตัวเองอีก ก็เลยใช้ชีวิตนี้ เพื่อสร้างสรรค์ทำความสุขให้แก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้น พระอรหันต์และพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ก็เลยใช้เวลาของชีวิตที่เหลือนี้ ในการที่ไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้มีความสุข อันนี้ก็กลายเป็นดีแก่ทั้งตัวเองและผู้อื่น
ฉะนั้น การพัฒนาความสุขที่ถูกต้อง มันเป็นไปในทางที่ดี ทั้งแก่ตนเองและแก่เพื่อนมนุษย์ โลกทั้งโลกก็จะประสานกลมกลืน ถ้าหากเราพัฒนาความสุขไม่เป็น เราเข้าใจความสุขอย่างประเภทแรกอย่างเดียว ถ้าคน บุคคลยิ่งสุข สังคมยิ่งทุกข์ แล้วก็จะเกิดปัญหามากมาย ฉะนั้น การพัฒนาที่ถูกต้อง มันจะประสานกลมกลืนกันไปทุกอย่าง และดีต่อบุคคล ก็ต่อดีสังคม และดีต่อธรรมชาติแวดล้อม มันไปด้วยกันทั้งหมด นี่ก็คือ การพัฒนาความสุข ตามหลักพระพุทธศาสนา ก็ถือว่าเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ด้วยความสุข ก็สมบูรณ์ด้วย
ก็ประเด็นที่ควรจะพูดโดยหลักๆ ก็คิดว่าได้พูดไปแล้ว แต่ว่าโดยรายละเอียดนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องของวิธีการ ซึ่งจะมีเป็นรายละเอียดมากมาย วิธีสุดท้ายที่ว่า สร้างความสุขแบบที่เหนือการปรุงแต่งนี้คือ ความสุขที่เกิดจากปัญญา เพราะฉะนั้น วิธีปฏิบัติจึงเรียกว่า วิปัสสนา วิปัสสนาก็คือ ปัญญาเห็นแจ้ง เห็นแจ้งอะไร ก็เห็นแจ้งความจริงของโลกและชีวิต โลกชีวิตตามเป็นจริง จนกระทั่งปรับจิต ปรับใจลงตัว เข้าที่ทุกอย่าง เป็นผู้มีชีวิตที่เจนจบ หรือไม่ใช่พูดชีวิตเจนจบ ผู้เจนจบชีวิต เรียกว่า จิตมันลงตัวพอดีทุกอย่าง ทีนี้ก็บอกแล้ว บอกว่าผู้ที่มีความสุขถึงขั้นนี้แล้ว จิตพร้อมที่จะเสวยความสุขทุกอย่างโดยสมบูรณ์ เพราะว่าจิตนั้นไม่มีอะไรกวนเลย จะเสวยความสุข แต่จะเสวยความสุขระดับอามิส ก็เสวยได้เต็มที่ จะเสวยความสุขระดับคุณธรรม เช่น จากการให้ ก็เสวยสุขได้เต็มที่ จะเสวยสุขจากการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับความเป็นจริง ท่านก็ดำเนินชีวิตสอดคล้องความเป็นจริงอยู่แล้ว จะเสวยความสุขจากการปรุงแต่งจิต ก็ทำได้เต็มที่ พระอรหันต์ อย่างพระพุทธเจ้า เวลาไปทำงาน ไปจาริกมาเหน็ดเหนื่อย พระองค์ก็มานั่งพักเข้าฌาณ หาความสุข เสวยสุข ท่านเรียกว่า ธรรมสุขวิหาร อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เสวยความสุขในฌาณ จะเอาความสุขประเภทไหน ก็เสวยได้เต็มที่ไปหมดเลย ช่องทางที่จะมีความสุขก็มากเต็มที่ทั้ง ๕ ทิศ ๕ ทาง แล้วก็ในการเสวยสุขแต่ละอย่างนั้น ก็ไม่มีอะไรกวนอีก จิตเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น เป็นผู้มีสุขสมบูรณ์ ก็อยู่ที่ว่า ท่านจะเสวยสุขนั้นหรือไม่ คือ ท่านมีสิทธิ์ แต่ปรากฏว่าคนที่มีจิตเจริญถึงขั้นนี้นั้น จะค่อยๆ ละความสุขประเภทต้นๆ ไปเอง ถ้าเป็นถึงพระอรหันต์แล้ว จะไม่เอาใจใส่เรื่องกามสุข สามิสสุขอีก แต่ถ้ายังเป็นพระโสดาบันอยู่ ก็ยังมีครอบครัว ทั้งๆ ที่เป็นบุคคลที่ก้าวมาแล้ว ในการสุขถึงโลกุตตระแล้วนะ พระโสดาบันนี้เป็นตัวอย่างของคนที่มีความสุขพร้อมทั้ง ๕ ระดับ คือเสวยสุขได้ทั้ง ๕ ขั้นเลย และมีจิตที่พร้อมที่สุด โปร่งเบาไม่มีสิ่งกวนน้อยที่สุด ที่จะเสพความสุข เพราะฉะนั้น โสดาบันนี้เป็นตัวอย่าง แต่ทีนี้พระอรหันต์นี้ จะพัฒนาจนกระทั่งว่า คือจิตไม่ต้องการเสวยความสุขประเภทแรกเอง อันนี้ก็เป็นเรื่องของความพัฒนาของจิต ซึ่งท่านเปรียบเทียบ เปรียบเทียบอย่างนี้เหมือนอย่างว่า เมื่อคนเกิดมายังเด็กๆ อยู่ ยังไม่รู้อะไร ก็หาความสุขแบบหนึ่ง ความสุขของเด็กทารก เล่นแม้แต่มูกคูถของตัวเอง เล่นมูกคูถก็คือ อุจจาระ แล้วเล่นแล้วมีความสุขนะ สนุก มีความสุข แต่ว่าเด็กโตขึ้นแล้วไม่มีความสุขกับการเล่นมูกคูถ ต่อมาเด็กโตขึ้น สนุกจากการเล่นของเล่น มีของเล่น เล่นดิน เล่นทราย เล่นของเล็กๆ รถเล็กๆ เรือเล็กๆ เครื่องบินเล็กๆ อะไรต่างๆ นี้ เล่นแล้วก็มีความสุขมาก แล้วใครจะขวางไม่ได้นะ จะเป็นจะตายเลย แล้วของนั้นหวงเหลือเกิน ใช่ไหม ของเล่นเล็กๆ นั้น หวงใครจะไปเอาแล้ว แหมแทบจะเอาชีวิตไปเลย นี่ความสุขของเขาขึ้นต่อเครื่องเล่นเหล่านั้น ต่อมาเด็กคนนั้นโตขึ้นมา เป็นหนุ่มเป็นสาว คราวนี้เห็นของเล่นแล้ว ไม่นึกสนุก ไม่เห็นมีความสุข แล้วไปเห็นเด็กเล่น ก็หัวเราะชอบใจ แล้วก็อาจจะได้แกล้งเด็กด้วย ว่าของนี้เขารักนัก แย่งมาเสียนี่ ทำให้เด็กร้องเล่น แต่ตัวเองไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก ตัวเองกลับสนุก เพราะว่าไปแหย่เด็ก ทีนี้ตัวเองก็ไม่เห็นความสุขจากการเล่นของเล่น ทีนี้จิตพัฒนาต่อไป ก็เหมือนอย่างพระอรหันต์ ที่จิตท่านพัฒนา โตไปอีก จิตเจริญเติบโตไปอีกขั้นหนึ่ง ก็ไม่เห็นการที่จะมาสนุกสนานความสุขในแบบปุถุชนอีก อันนี้ก็เป็นแง่คิดอันหนึ่ง ที่ว่าท่านมีสิทธิ์ แต่ว่าท่านไม่เอาเอง ท่านไม่ต้องการ อันนี้เป็นเรื่องของท่าน เป็นสิทธิส่วนตัว อันนี้ก็เป็นด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งก็คือว่า เปรียบเทียบความสุขของมนุษย์ปุถุชน มนุษย์ปุถุชนนี้ความสุขต่างกับความสุขของผู้ที่พัฒนาจิตใจสมบูรณ์ ก็เหมือนกับเรื่องของคนที่มีความสุข จากร่างกายสมบูรณ์กับการมีความสุขของคนมีโรค คนที่มีโรค เช่นเป็นโรคคัน ในพระสูตรที่ท่านเปรียบเหมือนคนโรคเรื้อนเลย คนที่เป็นโรคเรื้อน คนที่เป็นโรคเรื้อนจะมีความสุขชนิดหนึ่ง คนเป็นโรคเรื้อนมีความสุขอย่างไร คือ
๑ คัน คนเป็นโรคเรื้อนนี้คันนัก เพราะฉะนั้น แกเกาเต็มที่เลย ยิ่งเกายิ่งคัน ยิ่งเกา ยิ่งคัน ยิ่งคัน ยิ่งเกา พอเกาแกก็มีความสุข ก็มีความสุขจากการเกาที่คัน เกาที่คันแล้วก็มีความสุข แกก็เกาเรื่อยไป ทีนี้นอกจากนั้นแล้ว เขาบอกว่า คนเป็นโรคเรื้อนชอบเอาตัวไปย่างไฟ ไม่เคยเป็นไม่รู้นะ เอาตัวไปย่างที่ไฟ ไฟร้อนๆ นี่ยิ่งมีความสุข เพราะฉะนั้น คนเป็นโรคเรื้อนก็ได้ความสุข ๒ อย่าง
๑ สุขจากการเกาที่คัน และ
๒ จากการเอาผิวไปย่างไฟ
ทีนี้ท่านก็ตรัสต่อไปบอกว่า ต่อมาคนที่รักษาโรคเรื้อนหายไป พอหายจากโรคเรื้อน มีสุขภาพดีสมบูรณ์ เขาจะหาความสุขจากการเกาและการย่างไฟอีกไหม ไม่ล่ะ ไม่เอาด้วยแล้ว และการที่มีสุขภาพดีสมบูรณ์ เป็นความสุขในตัวหรือเปล่า สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ มันก็เป็นความสุขในตัวของมัน แล้วมันทำให้พร้อมที่จะเสวยความสุขได้ทุกอย่าง ถ้าต้องการ แต่มันจะมีอันหนึ่งคือ มันไม่ต้องการหาความสุขจากการเกาที่คัน และไม่ต้องหาความสุขจากการย่างผิวตัวต่อไป ย่างไฟไม่ต้องการ เพราะฉะนั้น มนุษย์ปุถุชนนี้ ท่านจึงเปรียบว่าเป็นมนุษย์ที่ยังต้องหาความสุขจากการเกาที่คัน ส่วนพระอรหันต์นั้น ก็มีความสุขจากการไม่มีที่คันจะต้องเกา อันนี้ก็เป็นอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นเรื่องความสุขของมนุษย์พัฒนากันไป ใครต้องการแค่ไหน แต่ว่าให้เห็นว่า ความสุขนั้นพัฒนาได้ แล้วพัฒนายิ่งขึ้นไป แล้วชีวิตก็ดีงาม และเกื้อกูลต่อโลกและสังคมยิ่งขึ้นด้วย เป็นความสุขที่ประสานกลมกลืนเกื้อกูลกันยิ่งขึ้น ก็พูดมาพอสมควรแก่เวลาและสงสัยว่านี่จะ ๔ โมงแล้ว เมื่อกี้บอกไว้ว่าจะเอาแค่ ๓ โมง เพราะฉะนั้น ก็ควรจะยุติเสียที ก็เลยขอยุติการบรรยายเรื่องการพัฒนาความสุขไว้โดยที่เกินแก่เวลาแล้วเท่านี้ก่อน ขออนุโมทนาทุกท่าน ก็ไม่ทราบว่าต่อจากนี้ จะดำเนินการอย่างไรต่อไป ก็แล้วแต่ทางฝ่ายท่านผู้จัด คือ คุณธวัชชัย อาจารย์ ดร.อุดม และคุณวัฒนา ใครจะถามก็ถามได้ ถ้ายังไม่รีบกลับ ถ้าเป็นของใช้ประเคนได้ แต่ถ้าทีนี้ถ้าเป็นของ ของฉันภายในเพล ก็หลังเพลแล้ว ไม่ให้ประเคน ของแห้งก็ไม่ควรจะประเคน คือถ้าประเคนแล้ว ก็มีวิธีแก้ คือพระก็ คือพระไม่ถือสิทธิ์ ให้เด็กไปเลย คือตอนนั้นมันจะเป็นสิทธิของลูกศิษย์ เพราะว่าพระหมดสิทธิ์ คือพระรับประเคนแล้ว พระก็ให้ลูกศิษย์ไป ทีนี้ลูกศิษย์จะทำยังไง ก็เป็นเรื่องลูกศิษย์ ลูกศิษย์รู้ความประสงค์ของญาติโยมเขา ก็ถือว่าเป็นของเขา เอามาถวายพระอีก ใช่ไหม พระให้เขาแล้ว เป็นสิทธิของเขาแล้ว เพราะว่าตอนนั้นเป็นสิทธิของเขาแล้วนี่ เขาจะทำยังไงก็ได้ เขาก็มาถวายพระ เพราะว่าเขาไม่เห็นแก่ตัวเขา ก็เลยมีทางกลับมาถวายพระได้อีก แต่พระหมดสิทธิ์ไปแล้ว เป็นของเด็กมาถวาย แต่ถ้าจะให้ดีแล้ว ไม่ต้องประเคน พระตามปกติก็ต้องถืออย่างนั้น พอบิณฑบาตมา เสร็จแล้วก็ยกให้ลูกศิษย์ไปจัดการ เขาจะจัดการยังไง ก็เรื่องของเขา เพราะฉะนั้น ถ้าญาติโยมรู้วินัยแล้ว ก็จะช่วยกั้น เพราะพระก็จะมีจำนวนหนึ่งที่มุ่งหาลาภ โดยไม่คำนึงถึงวินัย เพราะฉะนั้น พระที่ท่านรักษาวินัย ท่านจะต้องระวังมากเรื่องเหล่านี้ คือนอกจากว่าตัววินัยแล้ว ยังเจตนารมณ์อีก เจตนารมณ์ที่ไม่ให้รบกวนชาวบ้าน พระมีหลักอยู่อันหนึ่งตามพระธรรมะ ว่าพระภิกษุพึงเป็นผู้เลี้ยงง่าย เลี้ยงง่ายหมายความว่า ปากท้องขึ้นอยู่กับชาวบ้าน เขาจะให้ยังไง ก็ฉันไปตามนั้น ไม่ไปรบกวนเขา แม้แต่ชาวบ้านมานิมนต์ออกชื่ออาหารที่จะถวาย ยังรับไม่ได้เลย เช่นว่า มานิมนต์ว่าพรุ่งนี้มานิมนต์ไปฉันข้าวต้มไก่อย่างนี้ อย่างนี้พระก็จะมีความผิดขึ้นมาเลย ก็เป็นอันว่า
๑ วินัยกันไว้ ระวังถ้าพระขอแล้ว ก็ผิดวินัยด้วย
๒ เจตนารมณ์ คือ ให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย แล้วก็สันโดษ และที่ยิ่งกว่านั้น ก็มักน้อย
แล้วก็คติที่ว่า ให้อยู่ในหมู่ประชาชนเหมือนดังแมลงผึ้ง ที่ไปนำน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ไม่ทำสีและกลิ่นให้ชอกช้ำ ต้องบำรุงให้จิตใจเขาดี ให้เขาเจริญงอกงามยิ่งขึ้น คือ ถ้าพระปฏิบัติตามธรรมวินัยแล้ว ไม่มีปัญหาหรอก ทีนี้ที่มีปัญหาเดี๋ยวนี้ก็คือ พระไม่ทำตามวินัย และญาติโยมก็ไม่รู้ด้วย ก็ไปหลง ไปตามๆ กัน ก็เลยเกิดความวิปริต ปรวนแปร ก็เริ่มตั้งแต่ต้น มักจะมีปัญหา เช่นว่าพระทำอะไรก็จะมีลักษณะหาลาภ ทำอะไรขึ้นมา เป็นใบโฆษณา เป็นใบอะไรต่างๆ ทีนี้ถ้าญาติโยมรู้แต่ต้น ก็ไม่หนุนแล้ว พอไม่หนุนก็โตไม่ได้ แต่นี่มันไม่อย่างนั้น มันกลายเป็นว่า ยิ่งทำอย่างนั้นยิ่งได้ ก็เลยปัญหาก็มากขึ้นๆ จึงพูดบ่อยๆ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลกรรมร่วมกัน ของพุทธบริษัททั้งพระทั้งโยม ไม่ใช่โทษแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ก่อนนี้ก็คุมกัน พระคุมโยม โยมคุมพระ ใช้ระบบศรัทธา ระบบบุญกุศลคุมกัน คือโยมก็มุ่งบุญกุศล ไปวัด ไปบำรุงพระศาสนา ไปหาพระสงฆ์ ได้บุญ จิตใจชื่นบาน ได้เสียสละ บำรุงทำทาน เพื่อให้พระสงฆ์มีกำลังปฏิบัติกิจพระศาสนา ทำให้วัดวาอารามเจริญ พระศาสนาเจริญ เราได้สืบต่ออายุพระศาสนาด้วย พระสงฆ์ประพฤติดี ปฏิบัติตามธรรมวินัย ก็ชื่นใจ ญาติโยมก็เลยพลอย ก็คอยฟังพระสงฆ์จะว่ายังไง พระสงฆ์ก็มีโอกาสแสดงธรรม แล้วญาติโยมก็เลยรู้ว่าพระสงฆ์นี้ จะต้องประพฤติปฏิบัติอะไรจึงจะถูกต้อง ทีนี้พอพระองค์ไหนไม่ประพฤติปฏิบัติตามธรรมวินัย ทำให้ถูกต้อง ญาติโยมรู้ ญาติโยมรู้ก็ไม่ศรัทธา ไม่เคารพ ไม่เลื่อมใส ไม่บำรุง พระนั้นอยู่ไม่ได้ โยมก็คุมพระ ทีนี้ฝ่ายพระถ้าประพฤติตัวถูกต้อง ทำตามธรรมวินัย ก็เป็นครูอาจารย์ ญาติโยมต้องเคารพ ต้องเชื่อฟัง ว่ายังไงก็ต้องเชื่อนะ สอนอย่าไปทำความผิดความชั่วนั้น ก็เป็นหลวงพ่อ เป็นอุปัชฌาย์จารย์ ก็เลยคุมโยม พระก็คุมโยม โยมก็คุมพระ ก็อยู่กันมาได้ มาปัจจุบันนี้ ระบบนี้มันเสียไป ระบบนี้มันกลายเป็นระบบผลประโยชน์ ระบบผลประโยชน์ยังไง ตอนนี้ญาติโยมไม่ค่อยต้องการบุญกุศล ต้องการโชคลาภ พอต้องการโชคลาภ อะไรที่จะให้โชคลาภ วัตถุมงคล เป็นต้น ก็ไปหาพระ ไปเอาวัตถุมงคล ก็เอาเงินไปให้ ได้วัตถุมงคลมา ก็ได้วัตถุที่จะทำให้มีโชคลาภ แล้วก็ไม่สนใจแล้ว ไม่สนใจว่าพระนั้นจะประพฤติยังไง ธรรมวินัยพระพุทธเจ้าสอนยังไง ไม่สนใจ พระจะเอาเงินไปใช้อะไร ก็ไม่สนใจ เรื่องของฉัน ฉันได้มาแล้ว ฉันได้สิ่งที่จะให้โชคลาภมาแล้ว ก็พอใจเท่านั้น ทีนี้ฝ่ายพระ พระที่ดีก็ดีไป ก็เอาเงินนั้นไปสร้าง อุทิศทำประโยชน์ส่วนรวม แต่ว่ามันทำให้เสียระบบ ระบบศรัทธามันหายไป ก็คือ ต่อมาประชาชนชาวพุทธ ถ้าไม่ได้สิ่งตอบแทน ไม่บริจาค แต่ก่อนนี้เขาบริจาคเพื่อขัดเกลากิเลส ทำทาน เป็นบุญเป็นกุศล พัฒนาจิตใจขึ้นมา ตอนนี้กลายเป็นว่า ต้องมีเป้าหมายว่า ได้วัตถุมงคลอย่างนั้น จึงจะให้เงิน ถ้าไม่มี ให้มา ไม่เอา อะไรอย่างนี้ ก็เสียนิสัยเลย ระบบการพัฒนาจิตใจ ก็หายไป บุญกุศลหายไป มุ่งแต่โชคลาภผลประโยชน์อย่างเดียว ต้องได้สิ่งตอบแทน จึงจะบริจาค แล้วทีนี้นอกจากนั้นก็คือ พระที่มุ่งหาลาภ ก็ได้ช่องเข้ามา ช่องทางนี้ได้ลาภดีนี่ ไม่ต้องเรียนรู้เลย ไม่ต้องเรียนธรรมวินัย ไม่ต้องรู้ธรรมะ ทำวัตถุมงคลเป็นก็ได้แล้ว ทำวัตถุมงคลจะยากอะไร ไม่ต้องทำเองก็ได้ ก็จ้างร้าน เขาก็ทำได้ เขาก็ทำมาให้ แล้วก็ได้เงินแล้วแค่นี้ เลยไม่รู้ธรรมวินัยเลย ธรรมวินัยก็ไม่รู้ แล้วพระศาสนาจะไม่เสื่อมได้ยังไง นอกจากนั้นแล้ว ตัวมีเจตนาหาลาภอยู่แล้ว ใช่ไหม เจตนาอื่นมันก็แฝงมา จะทำอะไรอยู่เบื้องหลังก็ไม่รู้ แล้วไม่มีคนคุม เพราะว่าญาติโยมที่ไปนั้น ต้องการวัตถุมงคลเพื่อโชคลาภตัวเอง เขาไม่สนใจอีกแล้ว พระองค์นี้จะประพฤติยังไง ไปทำอะไร ฉะนั้น ไม่มีคนคุมแล้ว พระนั้นทำอะไรก็ได้ ก็มีอิทธิพล มีลาภ มีสักการะ เงินทองมากขึ้น ก็มีกำลังมาก
ฝ่ายพระที่ตั้งใจเล่าเรียนปฏิบัติ ก็ไม่สามารถมาทำโชคลาภ อย่างที่ญาติโยมต้องการ ญาติโยมเขาก็ไม่สนใจ ญาติโยมเขาก็ทอดทิ้งพระประเภทที่ตั้งใจเล่าเรียนปฏิบัติ พระพวกนี้ก็หมดกำลัง ก็สู้หมดแรงไป แล้วพระศาสนาจะเป็นยังไง ใช่ไหม พระที่มุ่งโชคลาภก็มีกำลังเข้มแข็ง มุ่งเงินมุ่งทอง ทำผิดยังไง ใครก็ทำไว้ได้ ส่วนพระที่จะเอาแต่หลักการทางวินัย ไม่มีใครส่งเสริม เวลามีเหตุการณ์อะไร ก็ไปทำอะไรใครไม่ได้ ไม่มีกำลัง ฝ่ายญาติโยมก็เอาแต่ตัวเอง ฉันได้โชคลาภมาแล้ว ฉันก็ไม่สนใจด้วย แล้วตกลงเป็นยังไงพระศาสนา แล้วเดี๋ยวนี้มันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เป็นไหม นี่แหละระบบมันเคลื่อนคลาดหมดแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะแก้ ถ้าเราสามารถกลับไปสู่ระบบบุญกุศล ระบบคุมกันด้วยศรัทธาต่อไป ก็อยู่ พระศาสนาก็อยู่ แต่ถ้าเราตกมาอยู่ในระบบผลประโยชน์อย่างนี้ มันก็ต้องเสื่อมแน่นอน เพราะเหตุปัจจัยมันเป็นอย่างนั้น พอสมควรแล้ว นี่ตั้งเท่าไหร่แล้ว ๔ โมงแล้ว เชิญตั้งใจรับพร