แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
อ้าวสงสัยอะไรนะ
ได้ความกระจ่างแล้วครับ ระหว่างเรื่องจิตกับเรื่องกรรม ก็มีประเด็นที่อยากจะถามพระเดชพระคุณ อย่างเช่น ประเด็นนึงที่เป็นที่ถกเถียงกันมากในคำของศาสนาพุทธอยู่สองคำ ที่คนมาใช้อ้างกันบ่อยก็คือ คำแรกก็คือว่า ทางสายกลาง อีกคำนึงก็คือคำว่า ไม่ยึดติด
ก็สองคำนี้มีคนมาใช้เป็นข้ออ้างเยอะแยะเลย ในการที่สมมติจะไม่ทำอะไรอย่างนี้ ผมคิดว่าไม่ใช่นี่ทางสายกลางน่าจะอยู่ตรงนี้ เราไม่ต้องทำอย่างงั้นอย่างงี้ เพราะเราเลือกทางสายกลางอันนี้อันที่หนี่งนะครับ อีกอันนึงอย่างเช่น หลักศาสนาพุทธบอกว่าไม่ยึดติด เพราะฉะนั้น อันนี้ผมไม่ยึดติด ผมไม่ไปเกาะคำว่าไม่ยึดติด ถึงแม้จะเป็นหลักธรรมบางอย่าง ก็เป็นข้ออ้างว่าไม่ยึดติด นี้เรามีวิธีอธิบายหลักสองตัวนี้อย่างไร เพื่อความกระจ่างครับ คำว่ายึดติดกับทางสายกลาง
อันนี้พูดอยู่เสมอ พูดบ่อย ทุกๆรุ่นเลย เรื่องยึดติด มันเป็นเรื่องที่ว่าใช้กันไขว้เขวมาก ถ้าวันนี้ก็พูดทวนอีกนิดหน่อย เอาเรื่องไหนก่อน เรื่องทางสายกลางรึไง ทางสายกลางนี่ สายกลางไม่ใช่กลางระหว่างสองฝ่าย กลางหมายความว่าอยู่ที่ความถูกต้อง ไม่งั้นอย่างงี้ก็ยกตัวอย่างบ่อยละ ถ้างั้นสายกลางอยู่ระหว่างสองฝ่าย ก็คนหนึ่งกินเหล้าวันละ 10 แก้ว อีกคนหนึ่งกินเหล้าวันละแก้ว ท่านก็กิน 5 แก้วละสิ ทางสายกลางแบบนี้ใช่ไหม อย่างนี้ไว้เป็นข้ออ้างดีเหมือนกัน นี่ละกลางระหว่าง 2 ฝ่ายเป็นอย่างนี้ กินเหล้า 5 แก้ว
ทางสายกลางที่ถูก คือเอาความถูกต้องเป็นเกณฑ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ไง ก็คือว่าทางแห่งความพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายได้ พอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายก็คือ ตัวตัดสินขั้นที่หนึ่งก็คือตัวจุดหมาย แต่ว่าจุดหมายนั้นตอนนี้ยังไม่ไปถึงแล้วจะเอาอะไรมาตัดสิน ก็คือองค์ประกอบที่พอดีที่จะทำให้ไปถึงจุดหมายเป็นตัวตัดสิน ถูกไหมความพอดี ที่นี่อุปมาเหมือนอย่างกับนี่มันมีเป้าและท่านมายิง สมัยโบราณก็จะมีลูกศร สมัยปัจจุบันก็ยิงปืน ก็มีเป้าอยู่นี่ เมื่อมีเป้าก็ต้องมีศูนย์กลาง จุดนั้นแหละจุดที่ยิงเป็นเป้าหมาย จะเขียนเป็นศูนย์กลางหรือไม่เป็นศูนย์กลางก็คือจุดเป้า เมื่อคนมายิงไปจุดนี้ก็จะกลายเป็นจุดศูนย์กลางเองเชื่อมั้ย เพราะว่าลูกไหนหรือลูกศรดอกไหนไม่ถูก มันก็ออกข้างหมดและที่ถูกก็คือกลางมันเป็นเอง กลางนี่มีจุดเดียวคือจุดที่ถูก นอกนั้นเอียงข้างหมดถูกไหม นี่คือมัชฌิมาปฏิปทา ก็คือทางที่ตรงจุดหมาย แล้วพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมาย ก็ท่านจึงบอกองค์แห่งมรรค 8ประการ มันพอดีให้ถึงจุดหมาย จึงเรียกว่าทางสายกลาง ก็คือทางที่พอดีจะนำไปสู่จุดหมาย เข้าใจยัง ถ้าไม่มีจุดหมายมันก็วัดกันด้วย 2ฝ่าย เราก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง ทีนี้กลายเป็นว่าทางสายกลางแบบนั้นนี่ เป็นทางสายกลางที่แย่ที่สุดคือไร้หลักยิ่งกว่าพวกที่ไม่ใช่สายกลาง พวกที่ไม่ใช่สายกลางเค้ายังรู้ว่าเค้าจะเอาอะไรใช่ไหม ส่วนพวกสายกลางนี่ไม่มีเป้าไม่หลักและคอยรอฟังสองพวกนี้ พวกนี้อยู่ทางนี้ พวกนี้อยู่ทางนี้ เราก็กลางระหว่าง 2อัน ตัวเองไม่มีหลักเลยเป็นคนหลักลอยที่สุด ทางสายกลางแบบนั้นเป็นคนที่หลักลอยเลื่อนลอยที่สุดในโลก ก็ต้องรอให้คนอื่นเค้าว่าสุดโต่งที่สุด สองฝ่ายอยู่ตรงไหนแล้วตัวเองค่อยไปวัดสายกลางที่นั่นใช่ไหม ก็แย่สิไม่ได้เรื่องได้ราวเลย อย่างงี้แพ้พวกสองฝ่าย สองฝ่ายเค้ายังมีทิศทางของเค้าว่าจะเอายังไง ดังนั้นทางสายกลางที่แท้คือทางที่เรามุ่งสู่จุดหมายอะไร และทางนั้นพอดีให้ไปถึงจุดหมาย ดังงั้นท่านจึงเรียกว่าพอดีไง จึงมีคำว่า สมดุล สมตา อะไรต่ออะไรพวกนี้ ความพอดีต่างๆ เข้าใจนะเอานะคราวนี้อย่าให้พลาด ทางสายกลางทางแห่งความพอดีที่บรรลุจุดหมาย จึงเรียกว่ามัชฌิมา และคำว่ามัชฌิมาไปตรงกับคำว่า สมดุล สมตา อะไรต่ออะไรพวกนี้ อ้าวคราวนี้มีเรื่องยึดติดถือมั่น ก็มีแง่พิจารณาหลายอย่าง ก็ว่ากันไปเป็นแง่ๆ
หนึ่ง ความไม่ยึดมั่นที่แท้ เอาเป็นหลักใหญ่ก่อนนะ ความไม่ยึดมั่นที่แท้มันเกิดจากปัญญาที่รู้ถึงความจริงของสิ่งนั้นๆแล้ว พอใจรู้ความจริงแล้วเนี่ย มันก็ไม่ต้องไปยึดเพราะมันรู้แล้วและจิตมันเป็นอิสระ คือตัวที่เป็นอิสระนี่ จิตมันไม่ได้เป็นอิสระได้เอง จิตจะเป็นอิสระได้ด้วยปัญญา ไม่งั้นจิตก็ติดอยู่อย่างนั้น สมมติว่าอันนี้ยกตัวอย่างมีคนเอาทองมา เอากับปุถุชนยังมีความโลภอยู่ นาย ข เอาทองมาให้นาย ก บอกนี่ผมขายถูกที่จริงบาทนึงต้องเป็นหมื่นนะเดี๋ยวนี้ ผมจะขายให้ท่านบาทละ 500 ตอนนี้ก็โลภอยากได้ใช่ไหม ตาลุกเป็นไฟเลยตอนนี้จิตยึดแล้วใช่ไหมอยากจะได้ ยึดเลย ต้องเอาให้ได้แล้วนี่ ทองกี่ชั่ง บาทละแค่ 500 ตอนนี้ต้องเอาให้ได้ก็ยึดติดถือมั่น ต้องหาทางให้ได้ต้องหาเงินเอาให้ได้ละ ตอนนี้ก็คือจิตมันติดละ พอเกิดปัญญารู้ด้วยอะไรก็แล้วแต่ อันนี้มันทองเก๊ พอรุ้วาทองเก๊จิตท่านก็จะไปถอนยึดมั้ย จะต้องไปพยายามไม่ยึดไหม ไม่ต้อง มันหลุดเองเลยจริงไหมเข้าใจไหม ปัญญาเป็นตัวทำให้จิตหลุดพ้น ทีนี้มนุษย์ปุถุชนเรามีความโลภ มีโทสะ มีโมหะอยู่ โลภะ โทสะ โมหะทำให้เรายึดกับสิ่งต่างๆ เป็นอย่างงั้นๆ สนองความอยากความต้องการ เกิดวันใดวันหนึ่งเรารู้สภาวะธรรม นี่ที่ท่านสอนให้รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือให้รู้สภาวะที่เป็นจริง พอรู้ความจริงชัดเจน จิตมันหลุดเองถูกไหม เหมือนการรู้ของเก๊นี่ พอรู้ว่านี่ที่เราอยากได้มานักหนาอันที่จริงไม่มีสาระเลย พอรู้ว่าไม่มีสาระปั๊บ จิตไม่ต้องไปปลดเปลื้องมันออกมันหลุดเอง จริงไม่จริง เพราะฉะนั้นจิตที่ว่าไม่ยึดมั่นนี่ที่แท้ต้องเป็นไปเองด้วยปัญญา ท่านจึงสอนให้พัฒนาปัญญา เจริญวิปัสสนาก็จะรู้แจ้งสภาวธรรมเห็นความจริงของสิ่งนั้น ว่าไม่น่ายึดไม่น่าได้มาเอา ไม่น่าเอาหรอก ไม่เป็นแบบสิ่งที่เราคิดมาในบัดนี้ ถ้ารู้จริงเมื่อไหร่มันหลุดเอง เอาเป็นอันว่าจิตเป็นอิสระได้ด้วยปัญญาที่เห็นแจ้งความจริงเข้าถึงสภาวะ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่จะมาบอกว่าไม่ยึดมั่น ไมยึดมัน เอาละทีนี้มาถึงขั้นที่สอง อันนี้ดั้วหลักการก่อนนะ
เอาทีนี้มาขั้นที่สอง คนทั่วไป มาถึงคนทั่วไปก็ยังไม่ถึงภาวะนี้จิตยังมีปัญญาไม่พอ ก็ยังยึดมั่นอยู่ ก็ยังอยากได้อยู่ แต่ท่านสอนความอยาก ความยึดมั่นไม่ดี มีโทษ ทำให้เป็นทุกข์ในส่วนตัว ทำให้แย่งชิงกัน เกิดปัญหาเดือดร้อน อะไรต่ออะไร เบียดเบียนกัน เราก็เห็นด้วยว่าความยึดมั่นไม่ดีนะ ตอนนี้เราเห็นด้วย เห็นด้วยด้วยเหตุผลนะใช่ไหม แต่ปัญญาเรายังไม่ถึงสภาวะที่เห็นในความไม่มีสาระอะไรหรอก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ยังไม่เห็น แต่ว่ารู้เข้าใจด้วยเหตุผล เช่น ท่านว่าก็ไม่เที่ยง ก็จริงไม่เที่ยง แต่จิตมันก็ยังไม่เข้าถึงสภาวะนั้น ปัญญาที่จะทำให้จิตเป็นอิสระยังไม่มี แต่เรารู้ด้วยเหตุผลเท่าที่คิดได้ว่าจริงของท่าน เราก็เลยเห็นด้วยว่าเราไม่ควรยึดมั่น แต่ที่จริงจิตนั้นยังยึดอยู่ เราก็บอกไม่ยึดมั่น เราทีนี้ก็มาละฉันจะปฏิบัติไม่ยึดมั่นตอนนี้ การไม่ยึดมั่นของเรานี่ เป็นการยึดของเรา ในความไม่ยึดมั่น ก็จึงบอกว่าปฏิบัติด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น ก็คือเอาไม่ความนยึดมั่นมาเป็นเป้าหมายและก็ยีดความไม่ยึดมั่นนั้นอีกที ในปุถุชนก็จะปฏิบัติความไม่ยึดมั่นได้เพียงด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น เข้าใจไหม เพราะฉะนั้นถ้าปฏิบัติไม่ดีก็จะเป็นยึดมั่นซ้อนสองชั้นแล้วกลับเป็นอันตราย อันนี้ก็ไม่ใช่บ้านของเรา ไม่ใช่บ้านของเรา ช่างมันเป็นไง ไม่ต้องยุ่ง ไม่ต้องไปใส่กุญแจใช่ไหม อันนี้ก็ไม่ใช่ลูกเมียเรา เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปยึดมั่น เลยตกลงเป็นไง เสียหายเลยใช่ไหม นี่คือความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น ก็ต้องปฏิบัติไปตามเหตุผล แม้ท่านที่ไม่ยึดมั่นท่านก็ไม่ยึดมั่นด้วยปัญญาเป็นอิสระ แล้วในทางปฏิบัติท่านก็รู้ว่าอันนี้เราทำด้วยเหตุผล ก็ทำไปตามเหตุผล แต่คนที่ทำด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นจะเสียด้านเหตุผล ปฏิบัติผิดไปเลยเพราะเอาความไม่ยึดมั่นมายึดเข้าไว้ เข้าใจนะ
เอาละทีนี้ก็คือว่า สุด ไม่ได้สุดโต่งสองอัน มันคือสุดฝ่ายดีกับฝ่ายไม่ดี ฝ่ายดีก็คือบรรลุจุดหมาย มีปัญญา รู้แจ้ง รู้สภาวะไม่ยึดมั่นจริงๆ ด้วยปัญญา ทำให้จิตหลุดพ้น สองก็คือคนที่ยังไม่ได้หลุดพ้นเลย แต่ไปเห็นดีเห็นงามในความไม่ยึดมั่นและเอาความไม่ยึดมั่นมายึดไว้ แล้วถ้าได้ไม่ได้ระวังตัว ก็กลายเป็นหลงและปฏิบัติผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหาย กลายเป็นสุดโต่งที่ไม่ดีเสีย สุดข้างเสีย อย่างนี้วิธีปฏิบัติสำหรับปุถุชนที่พอดี ก็คือรู้ว่าเรายังไม่มีจิตหลุดพ้นเป็นอิสระจริง เรายังปฏิบัติอยู่ ในการปฏิบัติของเราก็คือเราฝึกตนเอง เรารู้ว่าความยึดมั่นนี้ไม่ดีหรอก สิ่งทั้งหลายมันมีสภาวะของมัน เป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นต้น ไม่ได้เป็นตามใจอยากของเราหรอก เราไปยึดมันก็ไม่ได้อะไร เราก็บีบคั้นจิตใจของเรา สิ่งทั้งหลายไม่ได้เป็นไปตามความอยาก ความปรารถนาของเรา แต่มันเป็นตามเหตุปัจจัยของมัน เราจะต้องรู้ตามเป็นจริงอย่างนี้ เพราะฉะนั้นยึดมั่นไป อยากอะไรไม่มีประโชขน์ เราต้องปฏิบัติไปตามเหตุปัจจัยด้วยปัญญา สำหรับมนุษย์ปุถุชนก็ได้แค่นี้ก็ดี ดังนั้นเราก็ฝึกตนโดยการที่จะไม่ยึดมั่น
เอาละมาจับได้ที่นี่ เป็นปุถุชนเมื่อว่าความยึดมั่นไม่ดี ควรปฏิบัติให้ถึงความไม่ยึดมั่น เราก็ฝึกตนเพื่อให้พ้นจากความยึดมั่น อย่าไปขึ้นมา ก็ฉันไม่ยึดมั่น ก็ไปเลย เข้าใจไหม จับได้ยัง มีอะไรสงสัยไหม เป็นอันว่าเรา เราปฏิบัติให้พอดี ก็คือฝึกความไม่ยึดมั่นถ้าอย่างงี้ไม่เสียหาย ฝึกแล้วก็มีความตระหนักแล้วก็รู้ว่าอันไหนควรไม่ควร นิมนต์ฮะ
วันนี้ได้รับประโยชน์มากๆเลยครับ แล้วก็พอดีทราบมาว่าช่วงนี้ท่านพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์สุขภาพช่วงนี้ก็ไม่ค่อยดีด้วย ก็จริงๆก็ทรุด ท่านดูออกแน่ๆ วันนี้แทยแย่เลยนะ ขอบพระคุณมากครับ พอดีเมื่อวานนี้วันคล้ายวันเกิดของท่านเจ้าคุณอาจารย์ พวกผมในฐานะที่เป็นพระนวกะ พระใหม่ ก็อยากจะขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ความดีทั้งหลายทั้งปวงในสากลโลกนี้ ให้พระเดชพระคุณอาจารย์มีปัญหาสุขภาพลดน้อยถอยลงและมีสุขภาพที่ดีขึ้นแข็งแรงขึ้น เพื่อที่จะอยู่เป็นมิ่งขวัญ เป็นหลักยึดให้กับชาวพุทธอย่างพวกเราต่อไปตราบนานแสนนานให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็ขออนุมทนาทุกท่านทุกรูปที่มีกุศลเจตนามีจิตปรารถนาดีเป็นบุญเป็นกุศล ก็ขอให้บุญกุศลนี้ได้เป็นปัจจัยแห่งความสุขความเจริญของทุกท่าน เป็นกุศลจิตอย่างดีละ โมทนาด้วย วันนี้รู้สึกทรุดมาก เสมหะก็มาก และก็เจ็บหน้าอก ขาก็ปวดมากขึ้นด้วย ชักชา ตาแต่ก่อนนี้ใส่แว่นและก็อ่านหนังสือขนาดธรรมดาก็ยังชัด ตอนนี้ใส่ยังไงก็ไม่ชัดละ ลายๆหมด อ่านหนังสือธรรมดาชักอ่านไม่ค่อยได้ละ แต่ไม่เป็นไรหรอกเวลาคุยแล้ว กำลังมันมา เอานะไม่มีอะไรสงสัยนะ เอาไว้ค่อยคุยกันใหม่ สุขสวัสดี