แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : แล้วอีกอันหนึ่งก็เรื่องอธิษฐาน พูดแถมอีกนิด เอามาพูดสักหน่อยก็ดี คือได้บอกว่าอธิษฐานนี่เราก็ต้องคำนึงถึงพัฒนาการของคน ยอมรับตามที่เป็นจริง อย่าเอาตามใจเราไม่ได้ เราเป็นผู้สอน พระพุทธเจ้าพระองค์ไม่เอาตามพระทัยพระองค์ พระองค์ต้องเห็นประโยชน์แก่ตัวผู้เรียน ผู้ศึกษาหรือตัวผู้รับฟังคำสอนนั่นแหละที่เรียกว่าเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง พระพุทธเจ้าก็เอาผู้รับฟังคำสอนเป็นหลัก ไม่ใช่พระองค์สอนตามพระทัยพระองค์นี่ พระองค์จะสอนใคร พระองค์ก็มุ่งให้เกิดประโยชน์แก่ผู้นั้น ต้องการให้คนนั้นเขาได้ประโยชน์ ได้บรรลุธรรม เพราะฉะนั้นหลักเรื่อง child center พระพุทธเจ้าทำมานานแล้ว นี่แหละ child center ที่แท้ เดี๋ยวนี้ยังเข้าใจผิด child center นึกว่าเอาใจเด็ก ความมุ่งหมายคือทำยังไงจะให้เด็กพัฒนา ได้รับประโยชน์นี้ อันนี้สิจะเป็น child center เดี๋ยวนี้เขาเข้าใจผิดไปว่า child center เด็กเป็นศูนย์กลาง ก็ต้องเอาใจเด็ก นี่ก็คือไม่รู้เรื่อง ทีนี้เราก็เอา child center ก็เอาผู้รับคำสอน เอาผู้ศึกษาเนี่ย หรือเอาตัวคนที่เป็นมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย ผู้ที่กำลังปฏิบัติ กำลังพัฒนาชีวิตเป็นหลัก เราก็มุ่งเพื่อประโยชน์แก่เขา เมื่อเรามุ่งเพื่อประโยชน์แก่เขา เราก็ต้องยอมรับความจริงว่าเขาเป็นยังไงอยู่ เขายังเป็นคนที่เพิ่งจะเริ่มเดินเตาะแตะๆ ยังหัดเดินอยู่ ยังเดินไม่เป็นเลยเนี่ย ทำไง ก็เลยว่า คราวที่แล้วก็บอกหลักการที่ถูกต้องก็คือ การอธิษฐานที่แท้ ก็คือตั้งใจเด็ดเดี่ยว อธิษฐานเพื่อทำ ก็คือเรามุ่งสู่จุดหมายแล้วเราก็จัดทำให้สำเร็จตามนั้น เป็นอันว่าหลักการที่แท้คืออธิษฐานเพื่อจะทำ ตั้งใจมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว สู่จุดหมาย แล้วก็ทำการให้ไปสู่จุดหมายนั้นให้ได้ เพียรพยายามอย่างยวดยิ่งเลย อย่างพระพุทธเจ้า ก็เป็นอธิษฐานบารมี ทีนี้ก็ได้พูดเลยไปถึงว่าในเชิงภาคปฏิบัติเองเนี่ย เราก็ต้องรู้จักมนุษย์ปุถุชนที่บางพวกยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย เราก็เห็นว่าโดยธรรมชาติเนี่ย แม้แต่การอธิษฐานเพื่อจะได้ ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักพระศาสนาแท้ แต่มันมีความเป็นเหตุปัจจัยโดยธรรมชาติ เช่นว่าทำให้จิตคุ้น ทำให้จิตอยู่กับเรื่องนั้น มุ่งหมายใฝ่ฝันเรื่องนั้นอยู่ มันก็จะโน้มเอียงไปเรื่องนั้น นี่ก็ได้ประโยชน์ในทางเหตุปัจจัย แต่ว่าผู้สอนจะต้องรู้ แต่เราไม่หักหาญ เมื่อไม่หักหาญ ตอนแรกก็ยอมรับเขาก่อน ยอมให้บ้าง แต่สำคัญว่าตอนนี้มันต้องได้คนสอนที่จริงจัง ไม่ใช่คนสอนที่ประมาท แล้วก็เอาประโยชน์ตัว เห็นเขาอธิษฐาน เพื่อจะได้ เราก็ลาภบ้าง ไม่ใช่อย่างนั้น นี่เราทำเพื่อประโยชน์แก่เขา เราก็รู้ทัน แล้วก็วางแผนว่าจะทำยังไง ค่อยๆ สอนให้เขาก้าวออกมาจาก อธิษฐานเพื่อจะได้ สู่อธิษฐานเพื่อจะทำ ทีนี้ที่พูดเพิ่มเติมกับคุณทองสุกไว้ก็คือ อย่างที่ว่า ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วเนี่ย เราก็พยายามจะไปให้อภัย อันนี้ควรยอมให้กับเด็ก เพราะเด็กยังเล็กอยู่ แล้วแกก็คุ้นกับเรื่องของการได้ การอะไรต่ออะไร สิ่งที่เป็นรูปธรรม ความละเอียดลึกซึ้งในทางจิตใจที่จะคิดมันยังไม่พอ ฉะนั้นเราจะไปสอนให้รู้จักการอธิษฐานเพื่อทำมันด้วยเหตุผลอย่างนั้นๆ เด็กยังคิดเหตุผลไม่ไหว เพราะฉะนั้นอธิษฐานเพื่อจะได้ เราจึงควรยอมให้เด็ก แต่โดยที่เตรียมการเลย ว่าเราจะต้องเตรียมพัฒนาเขา เพื่อให้เขาพัฒนาก้าวไปสู่การอธิษฐานเพื่อจะทำ วางแผนการเตรียมไว้ รู้เท่าทันและไม่ประมาท เช่นพ่อแม่เป็นต้น ถ้ารู้หลักการแล้วก็ เอ้อ พ่อแม่อธิษฐานว่าจะได้ เขาก็อยากสอบได้ ดีกว่าเขาไปอยากอื่น อันนี้ก็ได้ผลอันหนึ่ง ใช่ไหม ให้เด็กอยากสอบได้ ทีนี้เขาอยากสอบได้เขาอยากได้โน่นได้นี่บ้าง ก็อธิษฐานว่าจะได้ ก็ยังดี คืออย่างน้อยจิตของเด็กก็ไปตั้งอยู่ที่นี่ ไม่เขวไปอยากได้เรื่องอื่น อธิษฐานเพื่อจะได้เรื่องนี้นะ แล้วอย่าไปอธิษฐานเพื่อจะได้อันอื่น เราก็แยกไปซะก่อน ตัวส่วนที่ไม่ควรจะได้ พออธิษฐานเพื่อจะได้ ก็ตัดไปซะก่อน ให้มาอธิษฐานเพื่อจะได้สิ่งที่ดีงาม ที่ถูกต้อง เสร็จแล้วเราก็ค่อยๆ โน้มใจเด็กแล้วก็สอน หัดให้เขา หาอุบายวิธีที่จะหัดให้เขาอธิษฐานเพื่อจะทำ บอกอย่าไปคิดว่าอธิษฐานเอาจะให้ใครมาช่วย หนูจะต้องเพียรพยายามเอง ตั้งใจทำให้ได้สำเร็จเนี่ย ต้องมีความเพียรพยายาม ขยันหมั่นเพียร แล้วก็รู้จักเรียนให้เป็น มีสติปัญญาอะไร ก็ว่าไปสิ ฉะนั้นก็เลยบอกว่าอธิษฐานเพื่อจะได้นี่ควรจะยอมให้แต่เด็ก ผู้ใหญ่ไม่ควรยอม แต่ว่าสำหรับเด็กเราก็เตรียมแผนไว้แล้ว ว่าเราจะนำไปสู่การอธิษฐานเพื่อทำได้อย่างไร แล้วมันก็จะเป็นการพัฒนาเด็ก ไม่ใช่อยู่ๆ จะให้เด็กกระโดดเข้ามาทันที แกก็มาไม่ไหว ทีนี้การสอนแบบนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้ปฏิบัติมา ก็คือยอมรับมนุษย์ตามที่เขาเป็น แต่ว่ามีจุดหมายว่าเราจะช่วยให้เขาพัฒนา แล้วก็หาวิธีการที่จะให้เขาช่วยกันอย่างนี้ ไม่ใช่จะไปแข็งขืน หักหาญเขา ทีนี้ว่าในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา พระเถรานุเถระรุ่นเก่าๆ ทั้งหลาย โบราณมา หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานท่านก็ได้แบบอย่าง ท่านก็มาทำ ทีนี้ท่านที่มีสติปัญญาไม่เขาถึงพระพุทธเจ้า แม้แต่ไม่เท่าพระอัครสาวก ตัวเองจะสอนคน คนก็มีต่างๆ กัน มีความแตกต่างในระดับการพัฒนา มีความแตกต่างในระดับอินทรีย์ เก่งกล้าไม่เท่ากัน แม้แต่พระพุทธเจ้าไปทรงสอน พระองค์ก็ต้องดู คนนี้อินทรีย์แก่กล้า สอนไม่กี่คำเขาก็เหมือนกับกระโดดเข้ามาอยู่กับพระองค์ ถึงสิ่งที่พระองค์ให้เขาได้เลย แต่บางคนต้องใช้วิธีการเยอะแยะเลย ต้องมีการเขาเรียกว่าบ่มอินทรีย์ ต้องมีแบบฝึกหัดให้เขาไปฝึกอะไรต่ออะไรเยอะแยะไปเลย กว่าจะได้ บางคนถึงได้ก็ได้ไม่ครบ ได้แค่ขั้นต้นๆ เท่านั้นเอง ถ้าเป็นปทปรมะก็ได้แค่ตัวบท อย่างนี้เป็นต้น คนก็อินทรีย์ไม่เท่ากัน ฝ่ายคนที่เขาจะมาฟังคำสอน มาพัฒนาตัวเอง เขาก็มีความต่างกันอยู่แล้ว แม้แต่มาเจอยอดของศาสดา อยู่ของครูผู้สอนก็ยังได้ไม่เท่ากัน ทีนี้เกิดปัจจัยฝ่ายผู้สอนก็ไม่ใช่พระพุทธเจ้าเสียอีก นี่สองฝ่ายนะ ปัจจัยฝ่ายผู้ฟังนี่ฝ่ายหนึ่งแล้ว ทีนี้ฝ่ายผู้สอนก็ต่างกันอีก เกิดไม่ได้พระพุทธเจ้า ได้มหาสาวกก็ยังดี ก็ยังไม่เท่าพระพุทธเจ้าอีก ต่อมาก็ได้พระสาวกหลังๆ ที่ไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้บรรลุอะไร แล้วสติปัญญาเรียนการศึกษาก็มากน้อยไม่เท่ากันอีก แล้วท่านเหล่านี้ก็ยิ่งอาศัยวิธีพื้นๆ วิธีที่จะช่วยคนขั้นต้นมากขึ้น ที่จะมาพูดปั๊บ 2-3 คำ หรือแม้แต่ว่าการเทศน์ครั้งหนึ่ง เทศน์คราวหนึ่งเนี่ยก็ไม่ได้ให้เขาบรรลุ ทีนี้ปัจจัยฝ่ายผู้สอนก็เป็นปัญหามากในยุคปัจจุบัน เราจึงต้องคอยพัฒนาผู้สอนด้วย ให้มีความรู้เป็นต้น ได้ปฏิบัติ ได้เล่าเรียน ได้เพียงพอ ทีนี้เกิดไม่พออีก ก็ทำไง ก็ต้องใช้วิธีขั้นอุบาย ขั้นวิธีขั้นต้น มาช่วยเยอะ ช่วยไปช่วยมาตัวเองก็เลยชักเพลิน บางทีก็วิธีขั้นต้นๆ เป็นวิธีที่ไปเกี่ยวกับวัตถุบ้างอะไรบ้าง ก็เลยชักเพลินไป ตัวเองก็ไปเพลินกับวัตถุ วัตถุก็เป็นทางมาของลาภ ของผล ตัวเองจึงไปติดลาภซะเอง ต่อไปเลย ลาภกับโลภก็มาด้วยกัน โลภมันก็ต้องการลาภ โลภก็จะเอาลาภ ฝ่ายคนที่มาสอน พื้นแกก็ไม่ได้รู้จักธรรมะ ก็อยากได้ลาภเหมือนกัน แกโลภมาเหมือนกัน โลภกับลาภ สองฝ่ายมาเจอกัน คราวนี้ยุ่งเลย การพระศาสนาจะเรียกว่าฟอนเฟะเลยก็ได้ ฉะนั้นก็เสื่อมน่ะสิ เพราะฉะนั้นยุคนี้มันก็มีปัญหาเรื่องผู้สอนด้วย ผู้ฟังนั่นก็แย่อยู่แล้ว ผู้สอนถ้าไม่ได้พัฒนาอีก ก็เลยไปกันใหญ่ ทีนี้เรื่องวิธีการต่างๆ ที่ว่าน่าจะมาเป็นอุบายในการพัฒนาคน ก็เลยกลายเป็นอุบายในการหาลาภหาผลกันไป อย่างในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าทรงสอนเด็กๆ พระองค์ก็สอนง่ายๆ อย่างสอนพระราหุลตอนเป็นเณร ตอนแรกพระองค์ก็ใช้อุปกรณ์การสอน เอาขันน้ำมา เอ้า เห็นไหมขันนี่เป็นยังไง แล้วก็คว่ำขัน แล้วเป็นยังไง ถ้าน้ำอยู่ในนี้เป็นยังไง ขันคว่ำ ก็หกหมดน่ะสิ ขังน้ำไม่อยู่ใช่ไหม บอกว่าเนี่ยถ้าเราไม่มีความสามารถรักษาคุณธรรมไว้ นี่ก็เหมือนขันคว่ำ ก็หมดกัน คุณความดีอะไรไม่มีเหลือ อย่างนี้เป็นต้นนะ ใช้อุปกรณ์การสอน หรือว่าพระพุทธเจ้าพบงูก็ตรัสถามเด็กไป หรือตามที่อรรกถาเล่าไว้ ที่ว่าทรงสอนใครนะ คือท่านเล่าถึงพระพุทธเจ้าทรงสอนโดยวิธีการต่างๆ อ๋อ เด็ก หลานของอนาถบินฑิกเศรษฐี แกรักตุ๊กตามาก ตุ๊กตาสมัยนั้นก็ไม่ได้ใช้วัสดุอย่างสมัยนี้ ยังไม่มีพลาสติก ยุคนั้นก็ไม่มีตุ๊กตาพลาสติก แล้วทำไง ก็มีตุ๊กตาแป้ง คุณปู่คุณย่าก็ทำตุ๊กตาแป้งปั้นให้ เด็กนี่ก็รักของแก เด็กนี่รักมากใช้ไหม พวกของเล่นของแก ตุ๊กตานี่รักแสนรักเป็นชีวิตชีวิ ทีนี้หนูน้อยคนนี้ หลานของอนาถบินฑิกเศรษฐี วันหนึ่งเจ้าตุ๊กตาแป้งตกลงไป มันก็หัก มันก็แตก เด็กก็ร้องไห้ แย่แล้ว ตุ๊กตาของเรานี่มันตายซะแล้ว ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร อนาถบินฑิกเศรษฐีก็ต้องมาปลอบ ผู้ใหญ่ปลอบก็ทำไงล่ะ จะไปบอกว่านี่มันไม่มีชีวิต มันเป็นแป้ง เด็กฟังไหม มันไม่รู้เรื่องกัน มันต้องพูดให้เข้ากับการพัฒนาของเด็ก หนูสงสาร ก็รักเขาก็ดีแล้ว เราทำไงได้นะ เขาก็จากเราไป เราก็คิดถึง เราไม่ทอดทิ้งเขา ก็ดูที่ผู้ใหญ่ เวลาคนจากไป หนูเห็นไหม ทำไง ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้สิ อ้อ พระพุทธเจ้าสิ พระพุทธเจ้ามาตรัสปลอบหลานคนนี้ ทำยังไงดี เด็กก็เลยจะทำบุญอุทิศให้ตุ๊กตาแป้ง อาจจะเป็นอนาถบินฑิกเศรษฐีนี่แหละ ผมจำเนื้อหาเรื่องไม่ชัดเจนนะ มากราบทูลว่าหลานเขาอยากทำบุญอุทิศให้ตุ๊กตาแป้ง พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบทัน เพื่อสงเคราะห์เด็ก ทำบุญตุ๊กตาแป้งก็ดีแล้ว ช่วยจิตใจของเด็ก เด็กก็จะมีจิตใจเป็นกุศล มีเมตตาต่อตุ๊กตาก็ดีแล้ว แล้วก็ขยายให้จิตใจเขาเนี่ย มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ สัตว์ทั้งหลายอื่นต่อไป มันก็ดี แทนที่จะไปหักหาญ ก็เลยมีเรื่องตุ๊กตาแป้ง หรือจะชื่อ ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ อยู่ในอรรถกถาธรรมบท เรื่องตุ๊กตาแป้ง ธีตลิกะแปลว่าตุ๊กตา ปิฏฐแปลว่าแป้ง นี่แหละคำสอน เราก็ต้องรู้ทัน เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นเรื่องซับซ้อนเหมือนกัน เรื่องการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ แต่ว่าอย่างที่บอกแล้ว หนึ่ง-เจตนาต้องดี เราตรวจสอบคนอื่นและตัวเราได้ก่อน ตัวเราต้องตรวจสอบก่อน เอาล่ะให้เราได้ไว้ตัวที่หนึ่ง หนึ่ง-เจตนาเราดีนะ เจจนาเราบริสุทธิ์ เจตนาเราปรารถนาประโยชน์แก่เขา เรามีเมตตา ปรารถนาดีกับเขา เจตนาเราดี เราแน่ใจ ถ้าเจตนาเราดี เราได้ไปขั้นที่หนึ่งแล้วนะ เจตนาดี บริสุทธิ์ ปรารถนาดี มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อใครก็ได้ สบายใจแล้ว และตรวจสอบตัวเอง เจตนาเรา ถ้าเจตนาดี ตั้งใจดี ปรารถนาดี แต่ว่าอาจจะผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะฉะนั้นต้องมีสอง-ปัญญา ความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าไหร่ยิ่งดี รู้ถึงความจริง ก็จะแก้ปัญหาได้ถูกต้อง เจ้าสองตัวนี่เป็นตัวสำคัญที่สุด ตัวอื่นมาเป็นตัวประกอบเท่านั้น ตัวอื่นก็มาประกอบเจตนาอย่างหนึ่ง เจตนานี้ก็ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ประกอบด้วยความอิจฉาริษยา ประกอบด้วยความตระหนี่ ประกอบด้วยอะไร นี่ฝ่ายร้ายใช่ไหม มันก็มาประกอบอยู่ที่เจตนานี้แหละ ถ้าจะบอกโลภหรือไม่โลภก็ดูที่เจตนาเอาไป แม้เรายังมีความโลภ แต่เจตนาเราตั้งได้ เราไม่ยอมความโลภได้ ใช่ไหม ฉะนั้นมันก็ต้องเอาที่เจตนา ตกลงว่าไม่เป็นไร เรายังมีความโลภ เรายังเป็นปุถุชนอยู่ แต่เราจัดการเจตนาของเรา ตั้งให้ดีเลย เจตนาเราตั้งดีแล้ว เราก็ให้เจตนานี้ประกอบด้วยฝ่ายดี เจ้าโลภะ โทสะ โมหะ อะไรนี่ ฉันไม่เอาด้วยกับเธอ เธอมาประกอบฉัน มาเกิดในใจฉัน ไม่เอากับเธอนะ กันเธอออกไป เราก็เอาฝ่ายดีเข้ามา ตั้งเจตนา เราก็บอกเอาเมตตา ปรารถนาดี เอาศรัทธา เอาอะไรก็แล้วแต่ เอาเจตนาจะให้เป็นทาน เจตนาดีๆ เอาเข้ามา เมื่อเจตนาตั้งดีแล้ว เราก็ดูตัวเองชัดแล้ว เราเจตนาดีแล้วสบายใจไปขั้น ถึงเราจะมีกิเลศอะไรต่ออะไร แต่ตอนนี้เจตนาเราจัดการได้ ตัดสินได้ทันที เจตนาเราดี ถูกต้องบริสุทธิ์ สบายใจไปขั้นหนึ่ง สอง-มีปัญญาความรู้เข้าใจเรื่องนั้น ถ้าจะทำอะไรสักอย่าง เรารู้เรื่องที่จะทำไหม รู้เหตุปัจจัยไหม ต้องการผลนี้ รู้เหตุปัจจัย จะทำผลได้ถูกไหม ถ้ายังไม่พอก็รีบไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้ซะ แล้วก็มาถามว่าปัญญาในเรื่องนี้เราพอไหม ถ้าเรารู้เหตุปัจจัย รู้อะไรต่ออะไรพอ เราก็สบายใจแล้ว เราทำได้ เพื่อจะให้บรรลุจุดหมายตามที่เจตนาตั้งไว้ ที่ถูกที่ชอบบริสุทธิ์เนี่ย เรามีความรู้พอที่จะทำให้สำเร็จ ปัญญามันก็สนองให้สำเร็จ ต้องมีปัญญา ก็ต้องถามสองตัวนี้ มีเจตนาถูกต้องดีบริสุทธิ์ สบายขั้นหนึ่ง สอง-มีปัญญาพอ สบายไปเลย ต่อจากนั้นปัญญาก็มาใช้ในเรื่องประกอบ ตัวอื่นก็มารับใช้หมด ใช่ไหม เจ้าสองตัวนี้เป็นแกน จะไปเป็นอะไรก็ตาม ตอนนี้ที่เขาทะเลาะกัน ต้องถามสองตัวนี้ ใช่ไหม ทะเลาะกัน คุณมีเจตนาบริสุทธิ์แค่ไหน ก็แค่นี้แหละครับ ไม่ต้องไปเอาอะไรอื่น ธรรมะนี่มันตรวจสอบกันได้ถึงที่สุดเลย ก็แค่นี้เองแหละ สองฝ่ายนั่นแหละ อยู่ที่นี่ เจตนาบริสุทธิ์ไหม ตัวร้ายที่สุดเลยใช่ไหม ที่มนุษย์มาเป็นปัญหากันเนี่ย ที่เขาทะเลาะกัน มันระแวงเจตนากัน จับให้ได้ก็คือระแวงเจตนากัน มุ่งหมายอะไรกันแน่ เอาเพื่อตัวหรือเอาเพื่อส่วนรวม เอาเพื่อประเทศชาติสังคม มันอะไรกันแน่ จับให้ได้ มันตัวตรวจสอบอยู่ตรงนี้ ฉะนั้นที่ทะเลาะกันนี่ก็อยู่ที่ บอกฉันไม่เอาอะไรมากหรอกคุณ ฉันขอแค่นี้ เจตนาคุณต้องดี เดี๋ยวๆ เอาต่อให้จบซะหน่อย ทีนี้เจตนาดีแล้วก็ปัญญาพอไหม เจตนาดีแต่ปัญญาไม่พอ นี่ก็เข้าใจผิด หลงผิดอีก แล้วพลอยให้ตั้งเจตนาไม่ถูกทางไปด้วยนะ ปัญญาไม่พอ รู้ไม่ถึง ไม่เข้าใจว่าอะไรดีไม่ดี เป็นประโยชน์ เลยตั้งเจตนาแบบลิงเฝ้าสวน ??? เจตนาดี ทำผิดโดยไม่รู้เท่าถึงการณ์ ต้องการประโยชน์ต่อประเทศชาติ เจตนาดีอยู่ เหมือนลิงเฝ้าสวน เคยได้ยินใช่ไหม ก็ที่ว่าไง ลิงก็ฉลาดเหลือเกินนะ หายากเลย ฉลาดอย่างลิงเฝ้าสวน ก็เล่าอีกทีก็ได้ เก่งขนาดที่ว่ารู้หลักการแบ่งงานกันทำ เล่าทวนนิดเดียว ก็คือว่านายสวนของพระราชา เขาเรียกว่านายอุทยานบาล ใครเฝ้าอะไรเขาก็เติม บาล ข้างหลัง เฝ้าโค เขาเรียก โคบาล เฝ้าโค เลี้ยงโค เฝ้าประตู เขาเรียกทวารบาล ถ้าเฝ้ารัฐ ก็เรียกว่ารัฐบาล คนที่เฝ้ารัฐเป็นรัฐบาล ทีนี้ก็มีอุทยานบาล ก็เฝ้าสวน แต่เราอย่าไปว่านะ รัฐบาลนี่มีเกียรติมาก เฝ้าสิ่งที่สำคัญ แต่ท่านเฝ้ารัฐ ท่านต้องเฝ้าให้ประชาชนนะ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน จึงจะถูกต้อง ก็ทำหน้าทีกันให้ถูก ทีนี้เราก็มาดูอุทยานบาล คนเฝ้าสวของพระราชา คือเฝ้าพระราชอุทยาน ท่านผู้นี้ก็มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อหน้าที่ ทำหน้าที่ไม่ให้บกพร่อง หรือว่ากลัวพระอำนาจ ก็แล้วแต่นะ ทำความผิด ดีไม่ดีก็ตัดศีรษะเลย แต่ว่าอาจจะซื้อสัตย์ ทำหน้าที่ให้เต็ม ถูกต้อง ทีนี้ในเมืองก็เดมีงานนักขัตฤกษ์ ท่านผู้นี้ก็คิดว่าเราอยากไปเที่ยวสักหน่อย แต่ทำไง เราก็ต้องคอยรดน้ำพรวนดินดูแลสวน จะขาดไม่ได้ จะไปสักวันสองวันสามวัน ก็เสียงาน สวนต้นไม่จะเป็นยังไงก็ไม่รู้ ทำไงดี อยากจะเที่ยวก็เที่ยวไม่ได้ นึกไปนึกมา นึกออก อ๋อ เรามีวานรอยู่หมู่หนึ่ง อยู่ในสวนของเราเนี่ย วานรก็คือลิง ทีนี้ลิงทั้งหลายเป็นธรรมดาต้องมีหัวหน้า เขาเรียกอะไร จ่าฝูง ใช่ไหม จ่าฝูง หรือ หัวโจก ก็แล้วแต่ โดยมากหัวโจกใช้ในทางไม่ค่อยดี ก็เรียกจ่าฝูง ทีนี้ก็มีลิงอยู่ฝูงหนึ่งแล้วก็มีจ่าฝูง นายอุทยานบาลคิดขึ้นมา เอ้อ ได้การละ ลิงนี่ฉลาด พอจะทำงานได้ ก็เลยเรียกหัวหน้าลิงจ่าฝูงมา บอกเราเนี่ยอยากจะไปเที่ยวงานสัก 2-3 วัน พวกเธอนี่ก็อยู่ในสวน อาศัยสวนมาเราก็อยู่ด้วยกัน จะให้สวนดีก็ต้องช่วยกันรักษา เธอจะพอช่วยเราได้ไหม ช่วยอะไรล่ะ ก็บอกว่ามารดน้ำต้นไม้ให้หน่อย บอกได้สิ แค่นี้ พวกเราก็รักสวนนี้เหมือนกัน อยากจะให้งดงามแล้วก็อยากจะทดแทนคุณของท่าน ท่านก็ช่วยพวกเรามาตลอด ก็เลยตกลง ลิงรับปากแล้ว จะบอกพวกฝูงลิงให้ ทีนี้นายอุทยานบาลก็บอกไปถึงงานที่จะต้องทำ การรดน้ำก็ทำอย่างนั้นนะ มีถังน้ำอยู่ที่นั่นๆ ถึงเวลานั้น เช้า หรือตอนไหนก็ไม่รู้ เขาก็บอกเวลาให้พาฝูงลิงมารดน้ำ ไปตักน้ำที่โน่นนะ ใช้กระป๋องเหล่านี้นะ แล้วก็รดต้นไม่เหล่านี้นะ ตามเวลานี้ ก็บอกไป หัวหน้าลิงก็รับปากอย่างดี คนเฝ้าสวนก็สบายใจ เบาใจได้ ก็เป็นอันว่าไปในเมืองไปเที่ยวงานนักขัตฤกษ์ ฝ่ายหัวหน้าลิงนี้ก็ฉลาด ถึงเวลาก็เรียกฝูงลิงมา พวกเราอยู่ในสวนมาช่วยกันนะ ดูแลรักษาต้นไม่กันหน่อย วันนี้นายเราม่าอยู่ ก็มาช่วยกันสิ จะตักน้ำก็เอาพวกถึงน้ำหรืออะไร กระบวยอะไรเนี่ย เขาเรียกอะไร ที่จะไปรดน้ำต้นไม้ เอ้า บัวรดน้ำ หยิบกันมา ไปตักน้ำ พวกลิงก็พากันไปถึง เดินกันไป พอจะเริ่มงาน หัวหน้าลิงก็บอก หยุดๆๆ เดี๋ยวก่อน อ้าว ทำไมล่ะ เดี๋ยวสิ บอกว่าการที่จะรดน้ำต้นไม้นี่นะ เราก็ต้องรู้จักประหยัดน้ำด้วย แล้วก็ต้องรู้จักรดให้เหมาะสม ให้ได้ประโยชน์ดีที่สุด ฉะนั้นเราจะลดให้เหมาะ ทำยังไงจึงจะเหมาะ คือว่าต้นไม้เป็นธรรมดา เขาต้องการน้ำมากน้อยไม่เท่ากัน ฉะนั้นเราต้องรดน้ำให้ตามต้องการของต้นไม้ ต้นไหนต้องการน้ำมาก เราก็รดน้ำมาก ต้นไหนต้องการน้ำน้อยเราก็รดน้ำน้อย แล้วจะทำยังไงจึงจะรดได้ผล ก็ต้องแบ่งงานกันทำ ก็มาเรียนรู้วิธีการ ก็คือว่า เมื่อกี้เล่าข้ามไป ก็คือว่า ทำไงจะรู้ความต้องการของต้นไม้ ธรรมดาต้นไม้ไหนรากยาวก็ต้องการน้ำมาก ต้นไม้ต้นไหนรากสั้นก็ต้องการน้ำน้อย เราก็รดไปตามความต้องการของต้นไม้ ทีนี้ทำไงจะรู้ความต้องการ ก็ต้องถอนมันขึ้นมาดู ทีนี้คนหนึ่งจะต้องรดต้นไม้ให้พอดีกับความต้องการของน้ำ คนหนึ่งต้องดูรากไม้ว่ายาวหรือสั้น ก็แบ่งงานกันทำ เพราะฉะนั้นก็จัดวานรเป็นคู่ๆ ตัวหนึ่งก็เอาบัวรดน้ำ หรือว่ากระป๋องน้ำไปตักน้ำ อีกตัวหนึ่งก็มาอยู่ที่โคนต้นไม้ พอตัวที่จักน้ำมาถึงจะรดน้ำมากหรือน้อย เจ้าตัวที่อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ถอนต้นขึ้นมาดู ก็บอกว่าต้นนี้รากยาว รดน้ำมาก แล้วก็ไปต้นต่อไป ต้นนี้รากสั้น ต้องการน้ำน้อย ก็รดน้อยๆ นี่ก็เรียกว่ารดตามความต้องการของต้นไม้ ทั้งรดอย่างฉลาดเลยนะ รู้ความต้องการของต้นไม้ รดให้พอดีกับความต้องการของต้นไม้ ท้งรู้จักหลักการแบ่งงานกันทำ ลิงนี่ฉลาดอย่างยิ่งเลยนะ หาได้ยาก แต่ปรากฏว่าต้นไม้ตายหมด ทีนี้ก็มีท่านผู้หนึ่งเดินผ่านมา เห็นลิงทำอะไรกันเนี่ย ก็เลยมาเกาะรั้วสวน แล้วก็ถามหัวหน้าลิงว่า ท่านทำอะไรกัน บอกว่ารดต้นไม้ เพราะว่านายอุทยานบาลแกไปเที่ยวงานนักขัตฤกษ์ พวกเราก็รับช่วยแก บอกแล้วทำไมท่านทำอย่างนี้ หัวหน้าลิงก็อธิบาย ก็มีเหตุผลอย่างนี้แหละ เราก็ต้องรดน้ำตามความต้องการของต้นไม้ ทำยังไงจะรู้ความต้องการ ก็ต้องรู้ว่ารากสร้างรากยาวแค่ไหนก็ถอนมันขึ้นมาดู ก็รดไปตามความต้องการนั้น เรื่องเป็นอย่างนี้ แล้วก็แบ่งงานกันทำเรียบร้อย ก็สำเร็จด้วยดี นายคนนั้นแกก็ไม่รู้จะพูดว่ายังไง เพราะว่าลิงก็เถียงแกอีก ลิงก็บอกว่าเขาทำอย่างฉลาดแล้ว ใช่ไหม ที่เขาอธิบายนี่ก็ถูกต้องหมด แต่ว่าต้นไม่มันตาย แต่มันไม่ตายเดี๋ยวนั้นสิใช่ไหม เราจะเห็น ทีนี้แกคนนี้ก็เลยกล่าวกถาออกมา บอกว่า คนไม่ฉลาดในประโยชน์ แม้ปรารถนาจะทำประโยชน์ ก็กลายเป็นทำความพินาศได้ นี่คือคาถา อันนี้ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยเลยนะ เรื่องชาดกนี่มีคติเยอะเลย วันก่อนก็เล่าเรื่อง เรื่องอะไรต่างๆ เรื่องตัวห่า ตัวอุบาทว์ แล้วนั่นก็เป็นคติมาก มันติดในทิฐิ คนยังไม่เห็นอะไรจริง มันก็สรุปตามความเข้าใจ ความรู้เท่าที่มีของตัวเอง มันก็เกิดเป็นทิฐิ แล้วก็เห็นแก่ทิฐินั้น ทะเลาะกันจะเป็นจะตาย จนกระทั่งระหว่างกลุ่ม ระหว่างหมู่ ระหว่างคณะ ระหว่างชาติ เป็นค่ายคอมมิวนิสต์ ค่ายเสรีประชาธิปไตย ล้มตายกันไปไม่รู้เท่าไหร่ๆ กับทิฐิ แล้วลิงเฝ้าสวนนี่ก็เป็นคติอย่างหนึ่ง ต้องเอามาสอนกันเยอะๆ ก็ไม่รู้ว่าที่คนเราเป็นกันอยู่เนี่ย พัฒนาบ้านเมืองกันมาเนี่ย เป็นลิงเฝ้าสวนเท่าไหร่ก็ไม่รู้ เพราะว่ามันไม่ได้รู้ความจริง เจตนาลิงนี้ดีไหมครับ เจตนาลิงนี้ดีแน่ แต่ปัญญาลิงดีไหม ดีเหมือนกัน แต่ไม่พอ ดีแต่ว่าไม่ถูกต้อง ปัญญาลิงนี่ไม่ใช่ย่อยนะ แกหลอกจระเข้ แกก็ชนะจระเข้ แกหลอกชนะเยอะเลยในชาดก ลิงนี้เก่งมาก สามารถขี้หัวจระเข้ข้ามฝั่งไปกินต้นไม้อีกฝั่งหนึ่ง เคนได้ยินไหม เคยนะ ก็มาจากชาดกเหมือนกัน ลิงก็เป็นสัตว์ที่ฉลาดมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ว่าลิงมีคุณธรรมก็มี พระโพธิสัตว์ก็เป็นพญาวานรในเรื่องต่างๆ ก็เอาเรื่อยเปื่อยไปเล่า มีอะไรไหมจะถาม