แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เรื่องต่อไปที่อยากจะพูดในวันนี้ก็คือ ว่าที่เราพูดกันมาหลายครั้งแล้วเรื่องการบูชา เครื่องบูชาเรื่องการสวดมนต์อะไรต่าง ๆ นี่ พูดโดยหลักใหญ่ก็คืออยู่ในเรื่องพิธีกรรมใช่ไหม พิธีกรรมก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของพุทธศาสนิกชน แล้วก็พระเราก็เกี่ยวข้องมาก เพราะฉะนั้นก็เลยมาพูดเรื่องพิธีกรรมกัน แต่วันอย่างที่ว่าอยากจะพูดน้อย ๆ ก็เลยคงจะพูดนำเรื่องไว้เท่านั้นเอง ยังไม่จบในวันนี้ นี่พิธีกรรมนี่มีเพื่ออะไร ก็อยากฟังทัศนะของท่านด้วย ว่าเรามีพิธีกรรมกันเพื่ออะไร อยากจะฟังท่านสุรเดชซิว่ามองพิธีกรรมอย่างไร มองแล้วเห็นความหมายหรือมีความเข้าใจอย่างไร หรือมีทัศนะคติอย่างไรต่อเรื่องพิธีกรรม
ท่านสุรเดช ก็คือรูปแบบที่จะน้อมนำทำให้เกิด
พระตอบ อ้อ อันนี้เอานัยยะที่เคยพูดกันมาแล้ว หรือเคยพูดไปแล้ว อ๋อแต่ว่ายังไม่ได้พูดพิธีกรรมโดยตรงใช่ไหม อ้อ เอ้าที่นี้ท่านจักรพันธ์
ท่านจักรพันธ์ แสดงศรัทธา
พระตอบ เป็นการแสดงศรัทธาอย่างหนึ่ง แล้วท่านโอรัตน์ว่าไง
ท่านโอรัตน์ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อพิธีกรรม แล้วก็ 2 เพื่อเข้าสู่พิธีเคารพบูชา
พระตอบ พูดยาก มาลองดูในสายตาของประชาชนทั่วไปซิ อย่างชาวบ้านนี่ มีความเข้าใจต่อพิธีกรรมว่าอย่างไร ว่าเป็นอะไร ยังไม่ต้องเอาตัวเอง เอาชาวบ้าน ทีนี้ถ้าเราเอาตัวเอง เราก็จะพยายามพูดให้เป็นเหตุเป็นผล เอาความเข้าใจของชาวบ้านเขารู้สึกอย่างไร เขามาหาพระมาทำพิธีอะไรอย่างนี้
คนฟัง เรื่องเคราะห์กรรม พระตอบ เหรอ
คนฟัง ปลอบประโลมใจ พระตอบ ปลอบประโลมใจตัวเอง คนฟัง คลายทุกข์
พระตอบ คลายทุกข์อันนั้น มันคล้าย ๆ อันนั้นมันเป็นจุดหมาย เอาอย่างนี้ได้ไหม พิธีกรรมมักจะเข้าใจความหมายว่า เป็นการกระทำให้ขลัง ให้ศักดิ์สิทธิ์ นี่พิธีกรรมจะมีความหมายเชิงนี้หรือเปล่าสำหรับคนจำนวนมากทั่วไปนะ พิธีกรรมนี่โอ้มีขึ้นมาทำให้รู้สึกว่า มันเรื่องทำให้ขลังให้ศักดิ์สิทธิ์อะไรต่าง ๆ นี่ เป็นอย่างนี้มาก ทีนี้พอขลังแล้วศักดิ์สิทธิ เสร็จแล้วก็ผลละซิ ว่าโอนี่ขลังศักดิ์สิทธิ์ก็สามารถมีผลมีอำนาจดลบันดาลทำให้เราพ้นจากปัญหา พ้นจากความทุกข์ หรือแก้ แก้ปัญหา หรือแก้เคราะห์ของเราได้ ทำให้เรามีโชคดีได้ลาภอะไรใช่ไหม นี่คืออำนาจที่เกิดจากความขลังถูกไหม นั้นพิธีกรรมก็เป็นเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ นี่ความหมายที่มองกันทั่ว ๆ ไป เป็นการกระทำให้ขลังให้ศักดิ์สิทธิ์ ตัวพิธีกรรมเองที่จริงมาจากคำว่า วิธีบวกกับกรรม วิธีนี่ก็แผลงวอเป็นพอมันก็เป็นพิธีใช่ไหม นั้นวิธีแปลว่าอะไรล่ะ วิธีเราจะเห็นได้ว่าวิธีการใช่ไหม ก็เป็นเรื่องของปฏิบัติการที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ต้องการใช่ไหม ทีนี้กรรมก็แปลว่าการกระทำ เพราะฉะนั้นวิธีการที่แผลงเป็นวิธีการก็ ขออภัย วิธีกรรมที่แผลงเป็นพิธีกรรม มันก็คือการกระทำที่เป็นวิธีการ หรือเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ผลหรือจุดหมายที่ต้องการ ทีนี้จะมีจุดหมายอะไรก็อีกเรื่องหนึ่ง ที่นี้จุดหมายที่เป็นมาในศาสนาต่าง ๆ แต่เดิมเนี่ยมันมักจะเป็นจุดหมายที่เป็นเรื่องของผลในเชิงอำนาจดลบันดาลใช่ไหม เพราะฉะนั้นมันก็เลยไปสนองจุดหมายนั้น เมื่อมันไปสนองจุดในเรื่องของอำนาจดลบันดาลก็ต้องมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ นั้นความหมายของพิธีกรรมมันก็เรื่องความขลังความศักดิ์สิทธิ์ นี้ต่อมาไอ้เรื่องความหมายทางขลังศักดิ์สิทธิ์นี่มันชักจะเลือนไป เช่นอย่างในยุคที่คนมานิยมวิทยาศาสตร์มากในยุคหนึ่งที่ผ่านมานี่ คนนี่จะดูถูกเรื่องของลัทธิ เรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์ เรื่องศาสนาทั่ว ๆ ไป หันไปเรียกว่าคลั่งวิทยาศาสตร์ใช่ไหม ยุคนั้นก็ไม่เห็นความสำคัญเรื่องของพิธีกรรม พิธีกรรมที่ติดเหลือมาก็จะเป็นเรื่องสักแต่ว่าทำ จนกระทั่งกลายเป็นว่าคนนั้นมองพิธีกรรมเป็นเรื่องสักแต่ว่าทำ ๆ ไปใช่ไหม เพราะมันเรื่องติดกันมาแต่เดิม ไอ้ความหมายที่มันขลังความศักดิ์สิทธิ์มันก็ไม่มีแล้วก็เลยไปตรงข้าม ความหมายหนึ่งก็เป็นเรื่องความขลังศักดิ์สิทธิ์ อีกความหมายหนึ่งเมื่อเลือนลางไปก็เลยไม่มีสาระอะไรทำพอเป็นพิธี คือว่าเรื่องพิธีกรรมนี่สักว่าทำไปอย่างนั้น นั้นเวลาทำอะไรต่ออะไรถ้าทำไม่เอาจริงเอาจังเราก็เลยเรียกกันว่าทำพอเป็นพิธีใช่ไหม กลายเป็นว่าคำพิธีนี้ไม่ดีเสียอีกทั้ง ๆ ที่เดิมมันตรงข้าม เพราะว่าเรื่องขลังศักดิ์สิทธิคือเอาจริงเอาจังใช่ไหม มันตรงกันข้ามเลยทำให้มันหนักแน่น เวลาเข้าพิธีนี้อู้หูต้องเตรียมใจเอาจริงเอาจังกลัวเลยถ้าทำผิดพิธีนี่ เทพเจ้ามาหักคอ หรือจะเกิดเคราะห์ร้ายอะไรต่าง ๆ ใช่ไหมต้องตั้งใจทำให้ดีเลย นี่มันสุดโต่ง 2 อย่าง นี้ว่าความหมายสุดโต่ง 2 อย่างนี้ น่าจะไม่ใช่ความที่แท้จริงของพุทธศาสนา ทางพุทธศาสนานั้นก็หลักการบอกแล้วว่าเราไม่ได้มุ่งในแง่ของอำนาจดลบันดาลของสิ่งเล้นลับภายนอก หรือหวังพึ่งอำนาจภายนอกมาดลบันดาลช่วยเหลือ หลักการพุทธศาสนาไม่ใช่อย่างนั้น นี้ในพุทธศาสนาจะมีพิธีกรรมหรือเปล่า เอ้อก็เกิดเป็นคำถามขึ้นมา แล้วก็ปรากฏว่ามีนักปราชญ์หลายท่าน เช่นอย่างนักปราชญ์ฝรั่งนี่ เขาไม่เกี่ยวข้อง เขาไม่เคยเห็นวัฒนธรรมในหมู่ชาวพุทธ เขามาศึกษาพุทธศาสนาโดยตรงจากคำสอนในคัมภีร์ หลายคนบอกว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีพิธีกรรมว่างั้น เอ้าไปโน่นเลยใช่ไหม แล้วก็บางคนก็เลยไปถึงกับบอกว่าพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนา คือไม่ใช่ศาสนาในความหมายของประเทศเขาในความหมายของอารยธรรมของเขาคือในความหมายของตะวันตก เพราะตะวันตกเขามองศาสนาในความหมายที่เขาใช้ศัพท์ว่า Religion Religion ก็จะมีความหมายของเขา ซึ่งเขาเองก็ไมจำกัดความยากเต็มที จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ก็ยังหาลงกันไม่ แต่ว่ามันมีอันหนึ่งที่เขาบอกว่า เป็น Religion นี่ มันจะต้องมีความผูกพันกับสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ เขาเรียกว่า Supernatural ซึ่งมนุษย์นี่ไม่สามารถจะเข้าใจได้อยู่นอกเหนือความสามารถของตนต้องไปผูกพันธ์กับอันนั้น ที่นี้พุทธศาสนาไม่มีความผูกพันธ์อันนี้ เพราะฉะนั้นไม่เป็นศาสนา ในความหมายของเขานะไม่ใช่ความหมายของเรา ในความหมายคำว่า Religion นั้นเรื่องนี้ก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ถกเถียงกันมาก
แล้วก็กลับมาสู่เรื่องพิธีกรรม นี้หันกลับไปดูศาสนาโบราณต่าง ๆ ก็มีเรื่องพิธีกรรมนี้เป็นเรื่องสำคัญ พิธีกรรมนี่อย่างที่บอกเมื่อกี้นี่ความหมายอย่างหนึ่งที่สำคัญหรือจะเป็นความหมายหลักการก็คือเรื่อง การที่ทำให้เกิดความรู้สึกขลังและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเรื่องพิธีกรรม เช่นอย่างพระพุทธเจ้าวันหนึ่ง เมื่อพระองค์ประทับอยู่ในเมืองราชคฤห์ ตอนเช้าตรู่ก็เสด็จออกมานอกเมือง ก็พบได้ทรงทอดพระเนตรเห็นมานพ คือหนุ่มน้อยวรรณะพราหมณ์ คนวรรณะพราหมณ์ที่เป็นคนหนุ่มเขาเรียกว่ามานพ มานพผู้นี้ซึ่งเป็นคนวรรณะสูงแล้วเป็นพราหมณ์นี่ ก็ออกมาจากเมืองราชคฤห์แล้วก็อาบน้ำลงน้ำมาจนเปียกทั้งตัวทั้งเสื้อ ทั้งผ้า ทั้งผมเปียกอยู่อย่างนั้น แล้วก็มายืนไหว้ทิศ เริ่มด้วยไหว้ทิศตะวันออก ก็คือทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น แล้วก็ไปทิศ เขาเรียกว่าทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย แล้วก็ทิศเบื้องหลัง ก็คือทิศตะวันออก แล้วก็ทิศใต้ แล้วก็ทิศเหนือ แล้วก็ทิศตะวันตก แล้วก็ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง 6 ทิศ พระพุทธเจ้าก็เข้าไปตรัสถามว่า นี่เธอทำอะไร เขาก็บอกว่าไหว้ทิศ เอาแล้วทำไมเธอทำล่ะ บอกว่าบิดาของข้าพเจ้า เมื่อตอนที่อยู่บนเตียงที่จะตายก็คือหมายความว่า เมื่อนอนใกล้จะสิ้นใจนี่ได้สั่งข้าพเจ้าไว้ คือฝากฝังสั่งเสีย ว่าถ้าเคารพพ่อก็นะ ว่าสิ้นชีวิตไปแล้วนี่ให้ไหว้ทิศทั้ง 6 เพราะฉะนั้นข้าพเจ้านี่ต้องการปฏิบัติตามคำสอนของท่านด้วยความรักเคารพบิดาก็ต้องทำตามนั้น หมายความว่าถึงไม่เข้าใจก็ต้องทำเพราะเคารพบิดาก็มาไหว้ทิศนี่เห็นไหมพิธีกรรม พิธีกรรมก็เลยเป็นเรื่องที่ว่ามันเป็นความหมายที่สื่อไปถึงอะไรอย่างหนึ่งที่เล้นลับ ซึ่งเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์อะไรต่าง ๆ แต่ว่าเราไม่เห็นความหมายชัดเจนในตัวมันที่เกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยหรือเรื่องของเหตุผลในชีวิตประจำวัน มองไม่เห็นใช่ไหม ว่าเอ้ะทำไมต้องไปไหว้ทิศตะวันออก ทิศเหนือ ไปอาบน้ำมาเปียกทั้งตัวแล้วก็มายืนไหว้ทางโน้นที ทางนี้ที ถ้าคนต่างวัฒนธรรมมามอง ก็เอ้เป็นเรื่องแปลก อาจจะเป็นเรื่องขำไปเลยก็ได้ แต่ว่าคนผู้อื่นจะเห็นไม่มีความหมาย แต่พวกที่ทำถือเป็นเรื่องสำคัญใช่ไหม ทีนี้ความหมายนี่ก็คือขั้นที่ 1 ก็คือความศักดิ์สิทธิ์ความขลัง อันนี้เป็นตัวยึดไว้ แต่ความสิทธิ์ความขลังเขาไม่เห็นเหตุผลที่แท้จริงในเชิงที่เป็นชีวิตประจำวันหรือเหตุผลที่จะเข้าใจได้ แต่นี้ว่าอาจจะเป็นได้ว่ามันมีเหตุผลที่แฝงอยู่เบื้องหลัง ในเหตุผลเหล่านั้น มันเป็นเหตุผลที่ซ่อนเร้น ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลด้วยความปรารถนาดีต่อผู้กระทำแต่ว่ามันยากที่จะสื่อสารในระยะยาว เพื่อจะให้ข้อปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมนี่สืบต่อไปได้นาน ๆ ใช่ไหม ก็กำหนดให้ทำกันไปแล้วเอาความศักดิ์สิทธิ์นี่มาเป็นจุดกำหนดมาเป็นอำนาจมาเป็นตัวที่ทำให้ผูกมัดจิตใจคนต้องทำเพราะกลัวเป็นต้นใช่ไหม ถ้าไม่ทำแล้วเกิดผลร้ายเกิดเคราะห์อะไร ถ้าทำแล้วได้ผลดีมีโชคลาภนี่ก็มาสนองกิเลสของคน เอากิเลสของคนมาช่วยผูกมัด ถ้าขืนไปอธิบายกันอยู่และพิธีกรรมข้อปฏิบัติมันเยอะแยะไปหมดอธิบายกันไม่หวาดไม่ไหว แล้วคนไม่เอาใจใส่ ก็เอากันเรื่องอำนาจเล้นลับ แกทำไปก็แล้วกัน แล้วแกก็ได้โชคได้ลาภไม่มีเคราะห์อะไร ถ้าแกไม่ทำแกจะเกิดเคราะห์ร้ายนะ คนก็ตั้งใจทำทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่อง ศาสนาต่าง ๆ ก็เลยมาในลักษณะนี้ที่เขาเรียกว่า Dogma ข้อปฏิบัติความเชื่อที่ตายตัวการที่ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตายตัว ก็ศาสนาพวกศรัทธานี่ก็จะเป็นอยู่ด้วยลักษณะนี้ พิธีกรรมก็จะอยู่ในลักษณะนี้ด้วย
นี้ก็มาในพุทธศาสนานี้ก็ที่เราไม่ข้อกำหนดตายตัวแบบนั้น ฝรั่งเรียกว่าพุทธศาสนาที่ไม่มีดอกไม้ แต่เมื่อไม่มี Dogma ให้ปัญญาเป็นตัวกำหนด พุทธศาสนานี้มุ่งที่ปัญญา ที่นี่ถ้าคนไม่ศึกษาไม่ใช้ปัญญาก็รักษาศาสนาไม่อยู่ ส่วนศาสนาที่ใช้ศรัทธาเข้าว่า มีข้อกำหนดตายตัวไม่ต้องถาม ทำไปก็แล้วกันเชื่อไปก็แล้วกัน อย่างนี้กลับอยู่ด้วยดีใช่ไหม อยู่ได้ง่ายเลย ลูกเกิดมาพ่อแม่ก็เอ้าทำอย่างนี้ก็แล้วกัน ไปวัดทำอย่างนี้ก็แล้วกัน ก็ไม่ต้องถามกัน มันก็อยู่ได้ข้อปฏิบัตินั้นเราเชื่ออย่างนี้ก็แล้วกัน ก็อยู่ไปเรื่อย นี้พุทธศาสนานั้นต้องอาศัยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาไม่รู้ไม่เข้าใจ ต่อไปก็เพี้ยนหมด เพราะฉะนั้นพุทธศาสนานี่จะอยู่ได้ต้องมีการศึกษาตลอดเวลาไม่เหมือนศาสนาทั่วไปที่เขาอยู่ด้วยศรัทธาที่เอาข้อกำหนดทางความเชื่อและการปฏิบัติมาบังคับตายตัว อันนั้นอยู่ได้เลย นี่เป็นจุดอ่อนอันหนึ่ง จะว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสียของพุทธศาสนาก็แล้วแต่ทำให้พุทธศาสนานี่รักษาได้ยาก
เอ้า ทีนี้ก็ย้อนกลับมาเรื่องพิธีกรรมอีก พูดกันไปเดี๋ยวก็คอยจะเลยนอกไปเรื่อย ทีนี้ก็มาเรื่องพิธีกรรมนี่ก็ศาสนาต่าง ๆ ก็จะใช้กำหนดเป็นข้อปฏิบัติ เช่น พราหมณ์ก็จะบอกว่าเนี่ยนะ เอ้าบูชาไฟ ไฟมีกี่ชนิดที่จะต้องจุดบูชา เขาก็จะกำหนดไว้ เช่น ไฟบางชนิดนี่ต้องบูชาตลอดอย่างให้ดับเชียวนะ รักษาไว้ชั่วลูกชั่วหลาน จากพ่อแม่ก็ส่งต่อให้ลูก ลูกก็คอยดูแลไฟนี้ไม่ให้ดับ อันนี้ก็ไฟชนิดหนึ่ง คือพิธีบูชายัญก็จะมีข้อกำหนด เช่น เอาสัตว์ชนิดนี้ แพะ แกะ แพะ 500 วัว 500 แกะ 500 อะไรนี้นะ แล้วพิธีกรรมจะทำ ไอ้ตัวคนที่จะมาทำนั้น เช่น สามีกับภรรยา สามีจะต้องแต่งตัวอย่างนั้น ภรรยาจะต้องแต่งตัวอย่างนั้นจะต้องมาอยู่ในที่ ๆ กำหนดไว้ แล้วก็นอนอย่างนั้นเป็นเวลาเท่านั้นอะไรต่าง ๆ เหล่านี้นะ นี่ข้อกำหนดเหล่านี้ก็เป็นพิธีกรรม ซึ่งเรามองไม่เห็นเหตุผลชัดเจนออกมาหรืออย่างที่ว่าเมื่อกี้ที่ว่า ไปไหว้ทิศเหมือนกัน ก็เราก็ไม่เห็นเหตุผลอะไรแสดงออกมา ทีนี้เหตุผลอีกอย่างหนึ่งบอกว่า อย่างที่พูดเมื่อกี้นี่ มันอาจจะเป็นความปรารถนาดีของผู้ที่ริเริ่มมา แต่ว่าไม่ต้องมามัวเสียเวลาอธิบายให้เขาได้ประโยชน์นั้นไปเลยโดยในการปฏิบัติธรรมไม่ต้องเข้าใจเหตุผลโบราณก็เป็นอันว่าเป็นข้อปฏิบัติที่สืบ ๆ กันมาไม่ต้องถามเหตุผล เรามองดู เราก็รู้เหตุผลในเชิงปฏิบัติในชีวิตปัจจุบันที่ผู้คนจะเข้าใจได้ ก็เป็นเหตุผลพิเศษที่เล้นลับอย่างที่ว่า ทีนี้อาจจะเกิดความปรารถนาดีของผู้ที่วางขึ้นมาก็ได้ เช่นอย่างไหว้พระอาทิตย์นี่ อาจจะมีเหตุผลต่าง ๆ แต่ว่าอย่างง่าย ๆ ก็อาจจะทำให้ต้องตื่นแต่เช้าอย่างนี้เป็นต้น ให้ทันพระอาทิตย์ขึ้นอะไรอย่างงี้เป็นต้นนะก็ไม่ต้องมาบอกให้เสียเวลา คุณปฏิบัติไปก็แล้วกัน มาไหว้ทิศนี่ เพื่อจะไหว้ทิศให้ทัน มันก็ต้องไหว้พระอาทิตย์ขึ้น ไม่ใช่หมายความว่าไหว้ตอนเที่ยง ไหว้ทิศให้ทันพระอาทิตย์ขึ้นแล้วก็ไหว้ นั้นก็ต้องรีบตื่นแต่เช้าเป็นต้น หรืออาจจะเป็นเหตุผลที่เป็นความปรารถนาร้ายของผู้ที่วางก็ได้ เช่นเห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเอง พราหมณ์อาจจะวางข้อกำหนด เพื่อจะได้ลาภมาก ๆ ใช่ไหม ก็ทำให้มีซับซ้อนอะไรขึ้นมาก็ได้ ก็ว่ากันแล้วก็ไม่ปลอดภัย ถ้ามนุษย์จะพัฒนากันจริง ๆ ก็ต้องรู้เหตุรู้ผล เหตุผลที่แท้จริง แต่คนจะต้องไม่ขี้เกียจ ไม่คร้านเกินไปต้องใช้ปัญญาพิจารณาแล้วตั้งใจศึกษา ทีนี้อย่างเรื่องของมานพที่มาไหว้ทิศนี่ พระไตรปฏิฏกก็เล่าไว้แค่นั้น ตรรถกถาคือคัมภีร์หรือหนังสืออธิบาย พระไตรปฏิฎกก็เล่าเพิ่มเติม บอกว่าความจริงนั้น บิดาของมานพคนนี้ ซึ่งเป็นพราหมณ์เป็นพุทธศาสนิกชนเป็นโสดาบันด้วยซ้ำ ทีนี้ตอนที่แกอยู่นี่ แกก็เอาใจใส่อยากให้ลูกนี่ได้รู้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าชักนำอย่างไงลูกคนนี้ก็ดื้อไม่เอาใจใส่ บอกว่า เอ้าไปวัดกันบ้างซิ เขาก็ไม่ยอมไป บอกว่าไปแล้วก็ต้องไปไหว้ ต้องไปนั่งหลังขดหลังแข็ง เมื่อยว่าอย่างงั้นนะ แล้วเดี๋ยวไปรู้จักกับพระเข้าอีก คุ้นเคยกันขึ้นมาเดี๋ยวก็จะต้องนิมนต์ไปบ้าน เดี๋ยวต้องถวายอาหารสิ้นเปลืองยุ่ง เลยไม่ยอมไปวัดสักที ไม่เข้าใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าพระสงฆ์ ทีนี้พราหมณ์ก็อยู่แก่ จนถึงแก่กรรม เอ้จะทำอย่างไงนะเราจะได้ช่วยให้ลูกของเรานี่ได้รู้จักธรรมะ ได้รู้จักพระสงฆ์ไปวัดก็เลยทำเป็นอุบายสังลูกให้ไปใช้พิธีไหว้ทิศนี่ แล้วเสร็จแล้วเดี๋ยวก็ต้องเจอกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็จะต้องตรัสถามแล้วก็จะเป็นอุบายที่จะนำลูกให้เข้าสู่พุทธศาสนาได้ นี่ตรรถกถาเล่านะ จะจริงไม่จริงก็แล้วแต่พระตรรถกถาจารย์ท่านว่าอย่างนั้น เอาละครับแต่อย่างไงก็ตามเป็นอันว่า ตัวเรื่องการไหว้ทิศเองนี่ เราจะเห็นว่า มันไม่มีเหตุผลชัดเจนในตัว นี้พระพุทธเจ้าเมื่อได้พบกับมานพนี้แล้ว พระองค์ก็เลยตรัสว่า การไหว้ทิศอย่างนี้ ไม่ใช่การไหว้ทิศในอริยวินัย ในอริยวินัย วินัยก็คือ แบบแผน อริยะของอริยชน มานพก็เลยเอ้มีด้วยหรือ การไหว้ทิศในแบบแผนของอริยชน อย่างข้าพเจ้านี้ไม่ใช่ไหว้ทิศแบบอริยชนแล้วนี่ใช่ไหม ก็เลยถามว่าแล้วอย่างไงที่เขาเรียกว่าเป็นการไหว้ทิศแบบแผนของอริยชน
พระพุทธเจ้าก็ตรัสแสดงว่า ทิศต่าง ๆ นี่ก็คือผู้คนที่อยู่ในสถานะต่าง ๆ กันที่เราต้องมีความสัมพันธ์ เมื่อเราดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมเราต้องมีความสัมพันธ์กับคนที่อยู่ในสถานะแห่งความสัมพันธ์ต่าง ๆ กัน ซึ่งจัดแยกได้เป็น 6 ประเภท ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลเหล่านั้นให้ถูกต้องนั้นเรียกว่าการไหว้ทิศ พระองค์ก็ตรัสอย่างนี้ แล้วพระองค์ก็ตรัสถึงทิศ 1 ทิศตะวันออก ทิศเบื้องหน้าบิดามารดา จะต้องปฏิบัติต่อกันระหว่างบิดามาดากับบุตรอย่างนั้น เมื่อทำอย่างนี้ก็เรียกว่าไหว้ทิศไปเรื่อย ๆ นะ 6 ทิศ อันนี้จะไม่พูดกันในที่นี้ เพราะต้องการอธิบายเรื่องพิธีกรรม ก็เกิดมีความหมายขึ้นมา พระพุทธเจ้าก็ให้ความหมายใหม่แก่เรื่องทิศ 6 และการไหว้ทิศ ก็เป็นเรื่องเป็นเหตุเป็นผล เป็นการใช้ประโยชน์ในเรื่องของชีวิตและสังคมมนุษย์ แต่ว่าพิธีกรรมในความหมายเดิมนี่ ซึ่งเป็นเรื่องความขลังความศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญ เหตุผลเล้นลับมองไม่เห็นอาจจะเป็นเหตุเป็นผลที่เป็นประโยชน์อยู่เบื้องหลังก็มี หรือเหตุผลนั้นไม่จริงไม่จัง หรืออาจจะเป็นเหตุผลพ้นสมัยไปแล้วก็ได้ อาจจะตอนบัญญัตินั้นมีเหตุผลที่เป็นประโยชน์แท้จริงอยุ่เบื้องหลัง แต่ว่าเพราะว่าไม่รู้อะไรทำตามสืบ ๆ กันมา เหตุผลนั้นอาจจะสำหรับชีวิตในยุคก่อนแต่สมัยนี้ไม่เกี่ยวแล้วก็ได้ใช่ไหม ก็กลายเป็นว่าถือปฏิบัติกันไปตามความเชื่อ อาจจะเป็นความหลงความงมงายก็ได้
นี้ในยุคเดิมนั้น ที่นักปราชญ์เขาบอก เขาศึกษาแล้วนี่ พุทธศาสนาไม่มีพิธีกรรม ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้านี่จะทรงปฏิบัติแต่ในเรื่องประโยชน์ที่เห็นกันจริง ๆ จัง ๆ เป็นเหตุเป็นผลกันไปเลย นั้นมาเทียบกับยุคนี้แล้วจะเห็นว่าเอ้ในสมัยพุทธกาลไม่มีพิธีกรรมอย่างยุคนี้ อย่างพระฉันข้าวก็มีพิธีใช่ไหม อย่างการรับศีลพิธีทำบุญนี่ เริ่มจะมีจุดธูปจุดเทียน บูชาพระรัตนตรัย มีการไหว้การกล่าววางเป็นแบบเป็นแผน มีการอาราธนาศีล รับศีลที่เรียกสมาทานศีล แล้วก็มีเจริญพระพุทธมนต์อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ นิมนต์พระไปฉันกว่าจะได้ฉัน ก็ว่าไปครึ่งค่อนชั่วโมงใช่ไหม แล้วฉันเสร็จแล้วก็ต้องสวดอนุโมทนา สวดอนุโมทนาเสร็จก็กลับ บางทีแทบไม่ได้พูดได้จากันเลยกับเจ้าภาพนะ ก็เป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกว่าพิธีกรรมไปหมด แล้วก็ความหมายไปอยู่ที่ 2 อย่างนี่ 1 เรื่องของความขลังความศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องไปถึงอำนาจเร้นลับอะไรบางอย่างที่จะบันดาลผลสำเร็จให้ปัดเป่าภัยอันตรายเคราะห์กรรม แล้วก็ให้โชคลาภเป็นต้น หรือไม่ก็มองเป็นเรื่องของสักแต่ทำไปเป็นพิธีไป นี่มองเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่นี้ความหมายที่แท้จริงอยู่ที่ไหน เราหันกลับไปดูที่พระพุทธเจ้านี่ เมื่อมีผู้นิมนต์ไปบ้าน ก็จะไม่มีพิธีกรรมเหล่านี้ใช่ไหม เสร็จแล้วเราจะเห็นได้ในพระไตรปฏิฎกเล่าไว้ เมื่อพระพุทธเจ้าฉันเสร็จอย่างที่เขานิมนต์ไปฉัน ทรงไปได้เสวยที่บ้านของเขาแล้ว พอเสวยเสร็จ พระองค์ก็จะตรัสพระธรรมะคาถา ก็จะมีลงท้ายบอกว่า พระผู้มีพระภาค ได้ยังบุคคลนั้นให้เห็นแจ่มแจ้ง สันทะเสทตะวา ให้มีจิตน้อมรับคำสอนของพระองค์ สะมาทะเปตะวา แล้วก็ สมุเตชะนา สุมเตเชตวา ทำให้เขานี่มีจิตใจแกล้วกล้าเกิดกำลังใจคึกคักที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ แล้วก็ สัมปะหังเสตะวา ทำให้ร่าเริงจิตใจเบิกบานสดชื่น ธัมมิยาคะถายะ ด้วยกถาถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรมะ ว่าอย่างงั้นนี่ เวลาพระพุทธเจ้าฉันเสร็จก็จะมีอันนี้ลงท้ายแล้วจึงเสด็จกลับ นี่คือจุดท้าย จุดท้ายก็ลงด้วยธรรมะญาคาถา สันทะเสตะวาสะมาสะเปโตวาสะมุเตชะวาสัมปะหังเสตะวา แล้วก็เสด็จกลับ จะเห็นว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัตินี้เป็นเนื้อหาสาระ ก็คือจบแล้วก็คงทรงแสดงธรรมสอนเขา แล้วก็ให้เกิดความเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งมีกำลังใจที่จะประพฤติปฏิบัติจิตใจร่างเริงเบิกบานแล้วก็เสด็จกลับ
ทีนี้เรามาดูว่าพระสมัยปัจจุบันนี้ ไปประกอบพิธีไปสวดมนต์เสร็จกลับ แล้วเราดูว่า 2 อย่างนี้อันไหนมีคุณค่าในเชิงประโยชน์ คุณค่าในเชิงจิตใจอะไรต่าง ๆ ต่างกันอย่างไร หรือว่ามันสื่อถึงกันอย่างไร อันนี้คือสิ่งที่อยากจะพูดต่อไป ตอนนี้ก็มาเริ่มใหม่ให้เป็นว่าเอ้อ พิธีกรรมมันก็เข้ามาสู่พุทธศาสนาในปัจจุบันใช่ไหม ถ้าพูดว่าในยุคพุทธกาลพระพุทธเจ้าไม่เห็นทรงมีพิธีกรรมอะไรนี่ ก็ทรงเอาการปฏิบัติจริงให้เห็นประโยชน์ชัดเจนไปเลย ทีนี้มาปัจจุบันนี้พุทธศาสนาก็ชักจะเป็นคล้าย ๆ กับศาสนาทั่ว ๆ ไปที่มีพิธีกรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องความหมายทางขลังศักดิ์สิทธิ์อย่างที่ว่า ทำให้คนไม่นึกถึงความเล้นลับอะไรจะมาบันดาลผลตามที่เขาต้องการ ทั้งในเชิงปัดเป่าภัยอันตราย ทั้งในเชิงที่บันดาลผลที่สำเร็จ ทีนี้พิธีกรรมเหล่านี้เข้ามาสู่พุทธศาสนา อย่างเราจะทำอะไรนี้จะมีงานที่เป็นงานมงคลก็ให้พระเจริญพุทธมนต์ มีการทำน้ำมนต์ มีสายศีล แล้วบางทียังจะต้องมีกำหนดอีกว่า จะต้องเอาใบเงินใบทองใบนาคมาใส่ด้วยอะไรนี้นะ ถ้าคนที่จะเคร่งครัดพิธีก็อาจจะมีเรื่องรายละเอียดหยุ่มหยิมอีกเยอะเลย แล้วก็อย่างวางศิลาฤกษ์ พระก็อาจจะเดี๋ยวนี้เข้าไปเกี่ยวข้อง ที่จริงเป็นพิธีพราหมณ์ ก็จะมีเรียกว่าแผ่นทอง แผ่นเงิน แผ่นนาค อะไรพวกเนี้ย แล้วก็มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องไม้อะไรต่าง ๆ ไม้ชนิดไหนที่จะมาใช้เอามาตอกคล้าย ๆ เป็นเสาหรือเป็นหลักอะไรอย่างนี้นะ แล้วมีก้อนอิฐอะไรพวกนี้ อิฐทอง อิฐเงิน อิฐนาคอะไรอย่างนี้ อย่างงี้เป็นต้น นี่เรื่องพิธีกรรมเราจะเห็นว่ามีข้อกำหนดซึ่งเรามองไม่เห็นเหตุผลชัดเจน
นี้เรามาดูว่าตอนนี้พิธีกรรมก็เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในพุทธศาสนา พิธีกรรมมีความหมายอย่างไร ความหมายอะไรควรเป็นความหมายที่แท้จริงที่ต้องการในพุทธศาสนา นี่ผมขอฝากไว้เป็นเรื่องที่เราจะพูดกันต่อไป ตอนนี้ก็พูดเกริ่นนำไว้ให้ แล้วก็ความหมายที่เข้ามาในแบบของศาสนาโบราณกับความหมายต้องการที่แท้จริงพุทธศาสนาต้องการนี่จะมาโยงกันได้ประสานเข้ามาด้วยกันอย่างไร จุดที่ต้องการก็คงจะเป็นความหมายที่แท้ที่เป็นของพุทธศาสนา ถ้าเราไม่สามารถโยงถึงอันนี้ได้ก็พระพุทธศาสนาก็จะต้องคลาดเคลื่อนจะต้องเพี้ยนออกไปเพราะว่าไม่สามารถรักษาสาระไว้ได้ใช่ไหม ทีนี้ตอนนี้ก็เป็นที่น่าเป็นห่วงพอสมควรว่าการกระทำพิธีกรรมนั้นก็เป็นการกระทำในความหมายแบบศาสนาโบราณกันมากก็ได้ เลยได้ 2 อย่างที่ว่า 1 ก็ความหมายในเชิงขลังศักดิ์สิทธิ์ หรือมิฉะนั้นก็เป็นเรื่องของการทำสืบ ๆ กันมา พอให้เป็นธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม เป็นเรื่องของวัฒนธรรม สักแต่ว่าทำ ไม่ได้มีความหมายเหตุผลอะไรพิเศษ เรามาดูว่าสะระที่ต้องการคืออะไร ก็วันนี้ก็คิดว่าเอาไว้แค่นี้ก่อนนะ