แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยกันเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องชีวิตประจำวันของพระแล้วก็เกี่ยวข้องไปถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไปด้วย ก็คือเรื่องสวดมนต์ เรามาทำวัตรเช้าทำวัตรค่ำ ก็มีเรื่องสวดมนต์ นี่แหละ และ นอกจากทำวัตรเช้าทำวัตรค่ำ ก็ยังเวลามีพิธีกรรมจะทำบุญในวัดก็ตาม นอกวัดก็ตามก็มีการสวดมนต์เป็นหลัก ถ้าเป็นงานมงคลก็เรียกว่าเจริญพระพุทธมนต์ ถ้าเป็นงานอวมงคล งานอวมงคลคืองานเกี่ยวกับคนตาย เกี่ยวกับงานศพไม่ว่าจะเป็นเรื่องล่วงแล้วหรือเป็นเรื่องปัจจุบันก็เรียกว่า สวดพระพุทธมนต์ ใช้ต่างกันเจริญพระพุทธมนต์กับสวดพุทธมนต์ แต่ถ้าเป็นเรื่องการสวดมนต์ทั่ว ๆ ไป ก็ใช้แค่ว่าสวดมนต์เฉย ๆ ทีนี้การสวดมนต์นี้เดิมเป็นเรื่องของการสาธยายของคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการทรงจำด้วยปากเปล่า เพราะว่าสมัยก่อนเดิมทีเดียวนั้น การที่จะรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ใช้ท่องแล้วก็มาสาธยายพร้อมกัน ซึ่งเป็นวิธีรักษาคำสอนที่แม่นยำมาก เพราะว่ามาสวดพร้อมกันอย่างนี้นี่ผิดตัวเดียวไม่ได้ ถ้าผิดคำหนึ่งก็เข้ากับพวกไม่ได้ ตกหล่นคำหนึ่งก็ไม่ได้เกินก็ไม่ได้ ต้องเหมือนกัน ต้องสวดพร้อมกันไปด้วยกันได้ด้วยดี ก็เลยเป็นวิธีรักษาคำสอนที่อย่างที่บอกเมื่อกี้แม่นยำมากยิ่งกว่าตัวหนังสือ สมัยก่อนนี้ตัวหนังสือต้องคัดลอก พอคัดลอกทีก็ต้องมีหล่น มีตกมีพลาดทุกครั้งไป อย่างที่เขาลอกตำรายากัน เขาบอกว่าลอก 7 ทีก็กินตายพอดี ไอ้นี่ก็เลยต้องระวังมาก ท่านถือเป็นเรื่องสำคัญมากคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะหลักของพระศาสนานี่ ธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ บัญญัติไว้ในเป็นเหมือนพระศาสดา พอพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วอะไรเป็นตัวแทนของพระองค์แล้ว ก็คือสิ่งที่พระองค์สอน เพราะฉะนั้นเมื่อปรินิพพาน พระองค์ก็ไม่ได้ตั้งใครเป็นผู้แทนของพระองค์ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เป็นประมุขของคณะสงฆ์ แต่ตรัสว่าเมื่อเราล่วงลับไปแล้วธรรมและวินัยที่เราแสดงไว้แล้วและบัญญัติไว้แล้วนี้จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ยิ่งพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ก็ยิ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ พระเถระสมัยนั้นก็เลยว่าทำอย่างไรรักษาคำสอนให้แม่นยำที่สุดเนี่ย การที่จะมาทำให้คาดเคลื่อนนี่ที่ถือเป็นเรื่องร้ายแรงมาก ฉะนั้นก็เลยต้องมีการรักษา ซึ่งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานการรักษาอยู่แล้ว ในพระพุทธเจ้าปรินิพพานก็ยิ่งต้องมาประชุมกันอย่างที่เรียกว่าสังคายนา มารวบรวมมาประมวลมาตกลงกันในที่ประชุม แล้วก็เมื่อตกลงกันอย่างนี้แล้วก็สวดท่องกันไปเลย สวดพร้อมกันแล้วก็สังคายนา สังคายนาแปลว่าการสวดพร้อมกัน หรือสังคีติ ภาษาบาลีนิยมใช้สังคีติมากกว่า แปลว่าการสวดพร้อมกัน ก็สวดพร้อมกันก็อย่างที่ว่านี่ มันทำให้คงอยู่อย่างเดิมแน่นอนเปลี่ยนแปลงคลาดเคลื่อนเพิ่มเติมไม่ได้ทั้งนั้น อันนี้ก็เพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้นก็แบ่งคณะกัน พระเถระองค์นี้มีลูกศิษย์ลูกหามาก เป็นผู้ใหญ่ก็มอบหมายว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดชำนาญในด้านนี้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าในส่วนนี้ชำนาญมาก อธิบายได้เก่งให้ท่านรับผิดชอบกับหมู่คณะของท่านนี้ ทรงจำส่วนนี้ไว้ เช่น ทีฆนิกาย ส่วนองค์นี้เป็นหัวหน้ารับผิดชอบส่วน มัชฌินิกาย องค์นั้นรับผิดชอบส่วนอื่นต่อไป แล้วท่านก็สวดพร้อมกันอย่างนี้ มีการสวดอยู่เสมอ นี้ต่อมา พ.ศ.ใกล้ ๆ 500 ปี นี่ที่ลังกามีการจารึกพุทธพจน์ลงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อจากนั้นก็การสวดรักษาพุทธพจน์ก็ถือเป็นเรื่องที่ว่าเหมือนกับหมดความจำเป็นใช่ไหม ไม่ใช่เป็นกิจจำเป็น ก็เลยการสวดมนต์สาธยายคำสอนก็ค่อย ๆ น้อยลงไป ก็เอามาเป็นเรื่องของลายลักษณ์อักษรต้องมากำชับกันว่าจะคัดลอกอย่างไร ไม่ให้ผิดพลาดก็ถือกันว่า นี่ถ้าหากว่าได้สร้างพระธรรม1 อักษรนี้มีค่าเท่ากับสร้างพระพุทธรูป 1 องค์ โบราณถืออย่างนั้นเลย ให้ความสำคัญมาก ถ้ามองในทางทำมุมกลับคือ ถ้าลายทำให้เสียหาย 1 อักษรก็เท่ากับทำลายพระพุทธรูป 1 องค์ เหมือนกัน แต่เขามองไปในแง่บวกว่า สร้างพระธรรม 1 อักษรเท่ากับสร้างพระพุทธรูป 1 องค์ มีบุญมากได้บุญมาก เดี๋ยวนี้น่าจะเอามาพิจารณาแง่นี้เพราะว่า ไปสร้างพระพุทธรูปกันมากเกินไป แทนที่จะมาสร้างพระธรรม ใช่ไหม ซึ่งมีค่า อักษร 1 เท่ากับ สร้างพระพุทธรูป 1 องค์แหละ คนเดี๋ยวนี้กับไม่ค่อยเอาใจใส่ เพราะธรรมนี่ค่าในแง่ตัวธรรมะคำสอนที่เอามาใช้ปฏิบัติได้เป็นตัวพุทธพจน์ที่เป็นพระศาสดาของชาวพุทธนี้ นี้เราก็รักษาสืบต่อกันมา
ทีนี้ต่อมาก็เกิดมีประเพณีเรื่องการสวดมนต์ ๆ ในสมัยหลังนี้ก็ เมื่อความหมายในเชิงของการรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าลดน้อยลงไป ก็มาใช้ในความหมายอื่น คือใช้ในความหมาย เช่นว่าเป็นเครื่องสำรวมจิตหรือนำจิตโน้มจิตเข้ามาสู่ความสงบสมาธิ หรือเป็นเครื่องนำศรัทธาภาษาท่า แต่ก็ยังเป็นประเพณีว่า ในแง่หนึ่งเป็นการสาธยายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ประชาชนได้ฟังเอามาบางส่วนก็ยังดี เป็นศิริมงคลเวลามีงานพิธีอะไร ก็เอ้ามาฟังคำสอนของพระพุทธเจ้ากันน่ะ แต่นี้ส่วนหนึ่งนั้นก็จะมาในแง่ว่า เป็นเครื่องโน้มจิต ให้เกิดศรัทธาภาษาท่ามีปิติอิ่มใจน้อมไปสู่สงบเป็นสมาธิ บางทีก็ใช้เป็นสวดนำสมาธิก่อนที่เจริญจิตภาวนั่งสมาธิกัน ก็มาสวดมนต์กันก่อน จิตของเราที่วุ่นวายกับเรื่องต่าง ๆ มาถึงมานั่งสมาธิทันที มันยังฟุ้งก็สวดมนต์กันซะ พร้อมเพรียงกันนี่ จิตก็โน้มเข้ามาสู่ความสงบใช่ไหม มาอยู่กับถ้อยคำที่เป็นพุทธพจน์คำบาลีที่ท่านร้อยกลองไว้อย่างดี จิตก็จะมาสัมผัสกับเรื่องของความงดงามของถ้อยคำหรือจังหวะทำนองที่ดี นี่ทำให้จิตใจสงบก็เป็นเบื้องต้นของการที่จะเจริญสมาธิ อันนี้ก็มาทำเป็นกิจกรรมส่วนรวมก็เลยมีความหมายในเชิงของกิจกรรมของหมู่คณะของชุมชน เป็นโอกาสที่จะได้มาพบปะพร้อมเพรียงกัน ก็เป็นวัดขึ้นมา วัดคือ ข้อปฏิบัติประจำ เช่นประจำวัน ก็เลยต่อมาการสวดมนต์นี่ก็เป็นกิจวัตรมาทำวัตรเช้าทำวัตรค่ำ หมายความว่า มาทำข้อปฏิบัติหรือกิจกรรมประจำวันในส่วนภาคเช้าภาคค่ำ โดยมีการสวดมนต์นี้เรียกว่าทำวัตร วัตรแปลว่าข้อปฏิบัติประจำ ที่นี้ก็เป็นโอกาสได้มาประชุมพร้อมกัน เพราะว่าพระสงฆ์อยู่ในวัดเดียวกัน ก็ควรจะได้มีโอกาสได้มาพบปะพร้อมกัน บางวัดนี่ก็ไม่ได้ฉันพร้อมกัน แต่ก็มาสวดมนต์พร้อมกัน มีสัญญานตีระฆังว่าเอาน่ะ มาพร้อมกันซะทีในวันหนึ่งก็ได้พบกัน 2 หน ประธานคือเจ้าอาวาสมีเรื่องอะไรจะบอกจะแจ้งข่าวคราวความเป็นไปของหมู่คณะก็จะได้ถือโอกาสแจ้งตอนนี้ แล้วมีอะไรเกิดขึ้นเป็นในวัดของเราควรจะแก้ไขปรับปรุงก็จะได้มาปรึกษาหารือ แล้วก็จะมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับความประพฤติเกิดขึ้นในวัดเรา ที่มันไม่เหมาะสมควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้นก็จะได้มาแนะนำใช่ไหม และก็อาจจะได้มาฝึกปฏิบัติกรรมฐานอะไรกันด้วยก็ได้ หรืออาจจะมาอธิบายธรรมอะไรกันอย่างที่เราทำกันนี้ก็ได้ ก็เป็นโอกาสเป็นเวลาที่จะมีกิจกรรมของหมู่คณะ แล้วก็สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น ความคุ้นเคยความสนิทสนมของพระที่อยู่ร่วมกันก็มีขึ้น อันนี้ก็เป็นเรื่องของกิจกรรมของสังคมมีความหมายหลายอย่าง ทีนี้นอกจากว่าในหมู่พระแล้ว ญาติโยมก็อาจจะได้มาร่วมด้วยใช่ไหม ประชาชนก็ได้มีโอกาสรับผลอย่างเดียวเหมือนอย่างที่พระได้รับอย่างนั้น ทั้งในแง่ของการได้มาพบปะมีกิจกรรมร่วมกัน ได้มาใกล้ชิดกับพระสงฆ์ ได้มาร่วมสวดมนต์ ได้ทำจิตให้สงบเป็นฐานเป็นบาตร เป็นเครื่องเตรียมจิตเข้าสู่สมาธิอะไรก็ได้ประโยชน์ด้วยไปหมด
ทีนี้มาพูดถึงลงโบสถ์สวดมนต์ บทสวดมนต์โดยทั่วไปในปัจจุบันจะแยกได้ 3 ประเภท ประเภทที่ 1 ก็เป็นเรื่องแต่เดิมคือว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นเอามาจากพระไตรปิฎก ถ้าเป็นประเภทคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ต้องเอามาจากพระไตรปิฎกไปเลือกคัดเอามา เช่นบทสวดมงคลสูตร เสวนาพาวานัง อย่างนี้น่ะ หลายบทเลย เอามาจากพระไตรปิฎก ก็เป็นคำสอนดี ๆ ท่านก็คัดเลือกมา ชื่อก็ดีเหมาะ เอาไปใช้สวดในงานมงคล ก็สอดคล้องกับสถานะการณ์ด้วย แล้วก็เนื้อหาก็ดีมงคลพระพุทธเจ้าตรัสไว้ แต่เป็นมงคลเกิดจากการประพฤติปฏิบัติ การพัฒนาชีวิต
1.ก็เป็นประเภทคำสอนของพระะทธเจ้า พุทธพจน์ พระไตรปิฎก
2.ก็เป็นประเภทบทสวดสรรเสริญพระรัตนไตร สรรเสริญคุณพระรัตนไตร สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เรียกว่า อิติปิโส อย่างนี้ บทสวดทำวัตรโดยตรง ก็จะเป็นบทประเภทสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ นี่ โยโสภะคะวา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ บทสวดอย่างนี้ก็เยอะพอสมควร ก็จะให้น้อมจิตเข้าไปสู่พุทธคุณเอาพุทธคุณมาเป็นอนุสติ แล้วก็เมื่อระลึกถึงพุทธคุณ นะโมสังฆคุณ น้อมจิตไปสู่ความดีงาม หรือแม้แต่ใช้เป็นเครื่องระลึกในการกำหนดจิตให้เป็นสมาธิก็ใช้ได้
ทีนี้บทสวดประเภทที่ 3 ก็จะเป็นบทประเภทอวยชัยให้พรน่ะ ตั้งจิตปรารถนาดี บทสวดประเภทนี้มักจะเป็นบทสวดประเภทที่เรียบเรียงขึ้นภายหลัง เช่นอย่างบทที่เราสวดกันมากที่สุดเลยน่ะ ภาวาตุสะมังคะลัง อรหังปตุสเทวะตา สวดแทบทุกครั้งเวลามีงานพิธี บทนี้เป็นบทที่เกิดภายหลังไม่มีในพระไตรปิฎก ตอนหลัง ๆ นี่บทที่มาเหนือจากอวยชัยให้พรนี้ ตั้งจิตปรารถนาดีมันชักจะเลยไปในทางคล้าย ๆ เกือบจะอ้อนวอนเสียแล้ว บทสวดประเภทนี้เกิดทีหลังทั้งนั้น ก็แต่งกัน ๆ ขึ้นมา ก็เป็นอันว่าครบแล้ว 3 ประเภท
1.ประเภทคำสอนของพระพุทธเจ้าส่วนมากมาจากพระไตรปิฎก
2.ประเภทสรรเสริญคุณพระรัตนไตร
3.พวกอวยชัยให้พร ก็จะเป็นประเภทที่ส่วนมากเกิดขึ้นภายหลัง พระอาจารย์ภายหลังเรียบเรียงรจนาขึ้น
ถ้าเป็นพุทธพจน์โดยมากจะพูดถึงเรื่องการประพฤติปฏิบัติดีก่อน ซึ่งเป็นเรื่องคำสอน แล้วก็จะบอกว่าการประพฤติปฏิบัตินั้น ก็จะเกิดผลดีอย่างงั้น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของผลดีเกิดจากการประพฤติปฏิบัติตาม แต่บทสวดอวยชัยให้พรนี่อึกอักขึ้นมา ก็ให้พรกัน ตั้งจิตปรารถาดีต่อกัน ตามหลักพระพุทธศาสนาก็ถือว่าเป็นการแสดงความปรารถนาดีตั้งจิตเมตตาก็ดีแล้วใช้ได้ แต่ว่าอาจจะต้องระวังบ้างว่า ถ้าไม่คลุมกันไว้มันจะออกไปเฉียด ๆ กับศาสนาโบราณ เดี๋ยวจะใกล้ลัทธิอ้อนวอนไป เอาละครับก็เป็นความรู้ทั่ว ๆ ไป
ทีนี้มาพูดถึงหนังสือสวดมนต์ของเรา หนังสือสวดมนต์ที่ใช้ประจำของเรานี่ ก็มาจัดเป็นบทสวดประจำวัน บทสวดประจำวันนี่ ขอทำความเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่จัดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในสำนักเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเขาสวดประจำวันกันอย่างนี้ คือหมายความถึงบทสวดมีมากมาย ทีนี้บางบทนี้ พระสวดเป็นประจำแล้ว ก็ควรจะมาทบทวน หรือบางบทก็ไม่ค่อยได้ใช้ ก็ควรจะจำด้วย ทีนี้เรามีเวลา 7 วัน บทสวดเราก็มีมากมาย ในวันเดียวจะสวดหมดไม่ไหว ทำไงดีก็มาจัดกันใน 7 วันนี้ซิ เอาบทสวดมนต์มาทบทวนกันบ้าง หรือมาจัดเพื่อให้มีโอกาสได้สวดบ่อยได้จำให้แม่นบ้าง ท่านก็จัดของท่าน แล้วแต่ท่านจะเห็นสมควรอีก ที่นี้ของเรา ๆ ก็จัด ก็มาดูว่า ตอนนั้นพระก็มีไม่กี่องค์ ก็พระมาจากพระเก่า ซึ่งสวดบทสวดมนต์ต่าง ๆ ก็ได้มามากแล้ว ก็เลยมาจัดว่าวันอาทิตย์ วันจันทร์ นี้เอาบทสวดที่ใช้ในงานมงคลทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นบทสวดที่ใช้มาก แต่ทีนี้วันอาทิตย์เป็นบทที่ใช้มากที่สุดใช้ประจำเลย อย่างมงคลสูตรอะไรอย่างนี้ แต่ทีนี้หลายบทที่ใช้กันมากใช้ประจำบ่อยได้คล่องอยู่แล้ว ตอนนั้นเป็นระยะแรก ๆ ก็เอ้บทสวดมีเยอะก็ตัด ๆ ออกเสียบ้าง เพราะฉะนั้นบทสวดวันอาทิตย์นี่ที่จริงไม่ครบ บทสวดที่ใช้ประจำยังมีอีก เพราะเห็นว่าพระที่มาสวดกันอยู่เป็นพระเก่าหลายบทนี้จะคล่องกันจนเหลือเกิน ไม่จำเป็นอะไรจะต้องสวดอีกก็เลยไม่เอามาใส่ เพราะฉะนั้นเรื่องมันก็ยังค้างอยู่ว่าบทสวดนี้ไม่ครบ นี่เป็นเรื่องของความเป็นมาของสำนัก เอาบทที่ใช้น้อยหน่อย
ให้จำไว้น่ะ วันจันทร์นี่เป็นบทที่อย่างเดียวกับวันอาทิตย์นั่นแหละที่ใช้ในงานมงคล แต่เป็นบทที่ใช้น้อยหน่อยหรือน้อยกว่า
ทีนี้ต่อไปวันอังคาร ๆ ก็เป็นบทสวดพิเศษ ๆ ก็ เช่น บทสวดงานมงคลในพระราชพิธีในวัง ก็อาจจะอยู่ในประเภทอันที่ 1 อันที่ 2 เพราะใช้เฉพาะในวังข้างนอกไม่ใช้ บทอรหังสัมมาสัมพุทโธโรกานังอนโกยังเทวะมานุสานัง ใช้แต่ในวัง เป็นบทสวดพิเศษก็แล้วกัน ที่นี้ก็น้อยไป ก็เลยเพิ่มมาอีก เอาบท บาพะชิตาเวคนะ ข้อที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ 10 ประการ ซึ่งเป็นของเหมาะสำหรับพระสงฆ์ เพราะเป็นข้อพิจารณาชีวิตของตนเอง การประพฤติปฏิบัติไว้เตือนใจ บางวัดท่านสวดเป็นประจำเลยทุกวันเลย ที่นี้เราก็เอามาแทรกไว้ในวันอังคารเป็นบทสวดพิเศษด้วย ต่อไปก็จะเพิ่มอีก ที่คิดไว้น่าจะเพิ่มอีกเยอะ เช่น บทสวดเกี่ยวกับสังฆวัตถุ ซึ่งก็เป็นบทสวดพิเศษที่ทั่วไปก็ไม่ได้สวดกัน นี่ก็วันอังคาร
ต่อไปวันพุทธ ๆ นี่เอาล่ะ ก็เปลี่ยนเป็นงานอวมงคลบ้าง เป็นงานศพวันพุทธ เป็นบทสวดมาติกา เป็นบทสวดอภิธรรม 7 คัมภีร์ นี่ใช้ในงานศพ วันพุทธ แต่ว่าเราไม่ต้องถือที่จริงความจริงนี้ที่เขาเลือกเอาบทสวดอภิธรรมไปสวดในงานศพนี่ เพราะเขาต้องการสิ่งที่เป็นหลักคำสอนสำคัญเลย เพราะว่างานศพนี้มักจะเป็นงานศพบิดามารดา คนจัดงานศพนี่ ที่สำคัญที่สุดก็คือจัดให้บิดามารดา ๆ เป็นยอดของผู้มีพระคุณ นี้ก็ต้องเอาที่ดีที่สุด โบราณเขาถือกันว่า พระอภิธรรมนี่เป็นคำสอนที่ยอดสุดโบราณถือกันอย่างนั้นเหมาะสำหรับใช้ตอบแทนคุณบิดามาดา เพราะฉะนั้นเวลาสร้างคัมภีร์นิยมสร้างพระอภิธรรมนี่ตอบแทนคุณบิดามารดา ฉะนั้นเวลามาใช้ในงานศพก็สวดคัมภีร์หรือบทสวดที่ถือว่าเยี่ยมยอดก็คือ อภิธรรม นอกจากนั้นอภิธรรมเป็นหลักธรรมกว้าง ๆ ด้วย สำหรับให้พิจารณาความจริงของธรรมชาติรวมทั้งชีวิตด้วย ได้ทั้ง 2 แง่ ทั้งแง่ตอบแทนพระคุณ ทั้งได้หลักธรรมที่แสดงสัจธรรมความจริงของธรรมชาติและชีวิต อ้าวทีนี้ก็ผ่านไปวันพุทธ
ต่อไปวันพฤหัส ก็เนื่องกันในงานศพ งานอวมงคลนั้น บทสวดอภิธรรมนั้นก็จะใช้ในพิธีเช่น มาติกา สวดอภิธรรมตอนกลางคืนอะไรอย่างนี้ ทีนี้เวลาสวดพระพุทธมนต์ที่คู่กันกับเจริญพุทธมนต์ เจริญพุทธมนต์ฉันเพล เอ้งานอวมงคลก็มีสวดพุทธมนต์ฉันเพล อันนี้ก็เลยเอามาอีกชุดหนึ่ง บทสวดพระพุทธมนต์สำหรับงานอวมงคล ก็ไปอยู่วันพฤหัส สวดพุทธมนต์ ก็มีบท ยถาปิเสลา อะไรต่ออะไร เป็นบทเตือนใจให้ระลึกถึงความจริงของชีวิต เกิดแก่เจ็บตาย เช่น บทยถาปิเสลา ก็บอกว่าเปรียบเหมือนภูเขาหินเป็นแท่งทึบกลิ้งมาจากทิศทั้ง 4 บทขยี้สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีทางหนีรอดไป ฉันใดอะไรต่าง ๆ ความแก่ความตายก็บดขยี้สรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้น เป็นคติเตือนใจ และมีบทอื่น ๆ ที่ว่าคนใดที่ว่าได้เจริญธรรมะ 5 ประการ สะทา ศีลจุปตาคะ ปัญญา ท่านเรียกว่ามีชีวิตไม่ว่างเปล่าเท่ากับว่าเอ้อ คนที่ตายไปแล้วก็ถ้าได้มีธรรมะเหล่านี้ก็เป็นชีวิตที่มีค่า ให้เราทั้งหลายประพฤติปฏิบัติ โดยเจริญธรรมะเหล่านี้ ต่อไปเราก็ต้องตายเหมือนกัน จะได้มีชีวิตที่ไม่ว่างเปล่า ไม่เป็นโมฆะ ก็เป็นบทสวดเตือนใจให้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ได้สร้างสรรคุณงามความดี ได้รู้ความจริงของชีวิตอะไรนี่น่ะ นี่เป็นบทสวดพระพุทธมนต์ในวันพฤหัสบดี เป็นบทสวดพุทธมนต์ในงานอวมงคลเลย ปกติใช้ในตอนสวดมนต์แล้วฉันเพลต่อ
ต่อไปวันศุกร์ ที่นี้วันศุกร์ก็เป็นที่รวมของบทอนุโมทนา ๆ ให้พรแล้วทีนี้ เวลาพระสวดมนต์แล้วฉันเสร็จแล้ว ทีนี้มีการอนุโมทนาทั้งงานมงคลและงานอวมงคล ก็เอาบทสวดอนุโมทนาไปอยู่วันศุกร์ ก็มีหลายบท ยังไม่หมดหรอกเอาไว้เฉพาะที่ควรจะใช้ก่อน เพราะว่าเยอะแล้ว ทีนี้ต่อไปมาเป็นวัดมีพระมากขึ้น โยมเกี่ยวข้องมากขึ้น ต่อไปต้องใส่ให้เต็มให้ครบเซี่ย
ต่อไปวันเสาร์ก็เหลืออยู่วันแล้ว เป็นอันว่าบทสวดที่จะเอามาใช้ประจำทั่วไปนี่ครบพอแล้ว ก็มาบทพิเศษ ๆ บทใหญ่ก็เลยเอาไว้สวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร วันเสาร์น่ะครับ พอธรรมจักรบทเดียวก็พอแล้ววันนั้นยาว บทสวดธรรมจักรนี่ เดี๋ยวนี้นิยมใช้ในงานวันเกิดใหญ่ ๆ ก็จะไปแทรกเสริมเข้าไปในบทสวดวันอาทิตย์ บทสวดวันอาทิตย์ที่เป็นบทสวดเจริญพุทธมนต์ในงานมงคล วันเกิดก็ต้องใช้ด้วย แต่เสร็จแล้วงานใหญ่ ๆ ก็ใช้นิยมเอาธรรมจักรกัปวัตนสูตรเข้าไปแทรกเพิ่มอีก 1 สูตร ความจริงงานศพเขาก็มีน่ะ บทสวดใหญ่ ๆ 7 วันให้สวดบทนี้ 50 วันสวดบทนี้ อะไรอย่างนี่ ก็มีบทตอนนี้เรามาใช้คำนิยามว่า ธรรมะนิยามสูตร มี อาทิตตปริยายสูตร อนัตตลักขณะสูตร แต่เดี๋ยวนี้แทบจะไม่มีงานไหนสวดแล้ว ก็สวดธรรมนิยามสูตร ที่มีอยู่แล้วในวันพฤหัสบดีเป็นพื้น อันนี้ก็เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องบทสวดที่มีอยู่ในหนังสือ ที่เราเอามาสวดกันเป็นประจำวันในตอนค่ำหลังจากทำวัดค่ำเป็นบทสวดมนต์ต่อท้ายทำวัดค่ำ ก็เป็นเรื่องชีวิตประจำวันส่วนหนึ่ง ก็เอามาเล่าถวายให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เราเกี่ยวข้องประจำวัน พอเดี๋ยวผ่านไปแล้ว เอ้ไม่รู้อะไรก็สวดจบกันไปแล้วไม่เข้าใจสิ่งที่ตนทำ ใช่ไหม ทีนี้ถ้าสงสัยก็นิมนต์ จะได้ถามให้รู้เสีย นี่เป็นตัวอย่างของการบอกสิ่งที่เราเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ถ้าบางทีผมนึกอะไรไม่ออกก็ท่านก็เก็บเอามาถามอีกที
(1)
คนฟังงถาม ในบางวัน
พระตอบ เจริญพุทธมนต์ งานมงคลก็จะมีการชุมนุมเทวดา ฉะนั้นวันอาทิตย์ก็เป็นเจริญพุทธมนต์ เป็นงานมงคลก็ชุมนุมเทวดา และวันจันทร์ก็ชุมนุมเทวดา วันอังคารก็อยู่ในบทสวดพิเศษที่บทสวดในวัง ใช่ไหม ก็ยังเนื่องอยู่ในงานมงคล ก็เอาชุมนุมเทวดาด้วยพุทธ พฤหัสไม่ต้อง งานอวมงคล ทีนี้ศุกร์นั้นเป็นบทสวดอนุโมทนา ก็ไปเนื่องอยู่กับงานมงคลเป็นส่วนมาก ก็เลยเอาชุมนุมเทวดาเสียด้วย แล้วก็แม้จะมีบทสวดงานอวมงคลก็แทรกนิดเดียว อนุโมทนามีงานอวมงคลด้วย อทาสิเม แล้วก็ไปวันเสาร์ ๆ ธรรมจักร ก็บทเจริญพุทธมนต์ โดยเฉพาะก็วันเกิด ใช่ไหม ก็ไปแทรกอยูในงานมงคลเหมือนกัน ก็ชุมนุมเทวดาด้วย ชุมนุมเทวดาเคยอธิบายแล้วน่ะ บอกว่า ให้โอกาสเทวดาชวนเทวดามาฟังธรรมของพระพุทธเจ้าด้วย ท่านจะได้เอาธรรมะนี้มาไปประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสของตนเอง และพัฒนาชีวิตของท่านให้ดีขึ้น
(2)
คนฟังถาม งานอวมวคล บทสวดเทวดา
พระตอบ ก็เป็นประเพณี ๆ ไม่อยากให้เทวดามายุ่งมั้ง ถ้า ไม่ต้องให้เทวดา ๆ อาจจะไม่ค่อยชอบงานแบบนี้
(3)
คนฟังถาม อย่างคาถาชินบัญชรแต่งเอง หรือใครแต่ง
พระตอบ แต่งภายหลังนาน เป็นของยุคหลัง ตอนแรกที่คล้าย ๆ ว่ามาค้นพบกันใหม่ เพราะว่าหลังจากเลือนรางไปนาน ก็เข้าใจเป็นของสมเด็จโต สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง เข้าใจกันว่าอย่างนั้น ต่อมาปรากฎว่าเอ้าในลังกามีนี่ ไปเจอเข้าทีหลังในลังลังกามีเก่ากว่าแสดงว่าเข้ามาจากลังกาอีกที แต่ว่าไม่ทราบว่าแต่งเมื่อไร บทสวดงานศพก็ยังมีสวดพระมาลัย อันนั้นก็เป็นประเพณี เรื่องพระมาลัยเป็นเรื่องหลังพุทธการนานเกิดในลังกา เรียก มาลยชนบท ในลังกาทวีป ก็เป็นตำนาน
(4)
คนฟังถาม พาหุง
พระตอบ พาหุงก็เป็นบทที่เอาเนื้อเรื่องความในสมัยพุทธการ ตำนานเรื่องประวัติความเป็นไปในพุทธประวัติเอามาเรียบเรียงแต่งขึ้นภายหลัง อันนี้อิงอาศัย เหมือนเขาแต่งเรื่องอิงประวัติศาสตร์ อันนี้ก็เป็นการสรุปประมวลเรื่องราวที่เกี่ยวกับการที่พระพุทธเจ้าได้ทรงมีชัยชนะบุคคลหรือว่าบุคคลหรือว่าแม้แต่สัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นผู้ร้ายเข้ามากลับให้เป็นดีไป ใช่ไหม ก็เลยถือเป็นบทชัยชนะ ก็มาตั้งเป็นบทเรียกกันง่าย ๆ พาหุง เพราะว่า เริ่มต้นสวดว่า พาหุง ขึ้นนำหน้า ก็เรียกบทพาหุง เรียกว่าบทถวายพรพระ ก็ถวายพรพระก็มีบทพาหุงนี่เป็นหลัก แต่รวมบทสวดที่สวดในพิธีอย่างนั้น สั้น ๆ ไม่ต้องการเจริญพุทธมนต์บทเต็มก็เอาแค่ถวายพรพระ
การสวดที่ดีนี่อย่างที่ว่าแล้ว น้อมนำศรัทธาภาษาท่า เพราะว่าเสียงสวดนี่มันเป็นของเทียบเคียงกับเรื่องการร้องเพลง ศัพท์ก็ใช้ศัพท์เดียวกัน คีตะแปลว่า เพลง การสวดก็ใช้คีตะ คีติเหมือนกัน อย่างสังคยนา สังคีติ ๆ แปลว่า สวดพร้อมกัน สังแปลว่าพร้อมกัน คีตะก็เพลง คีติก็การสวด ทีนี้ตัวศัพท์ภาษาบาลีก็เลยเป็นการสวดศัพท์เดียวกัน สังคายนา สังพร้อม คายนาแปลว่าสวด สังคายนาแปลว่าการสวดพร้อมกัน ทีนี้ตัวคายนาเองก็แปลว่าการร้องเพลงก็ได้ ทีนี้ร้องเพลงของชาวบ้านนั้น ในหลายกรณีจะเป็นการร้องเพื่อยั่วยวนร่อเร้าในเรื่องกามารมณ์ แต่ก็มุ่งความไพเราะแต่ความไพเราะนั้นจะสื่อไปถึงเรื่องของกามมาก แต่ว่าเพลงบางอย่างก็จะมีลักษณะโน้มมาสู่ความสงบ หรือทำให้จิตใจนี่ได้ระลึกถึงสิ่งที่ดีงามสูงส่งขึ้นไปก็มี ทีนี้บทสวดของพระนี่ มันก็จะมาเป็นฝ่ายนี้ ที่เป็นฝ่ายที่โน้มจิตไปสู่ความดีงามความสงบ มันก็มาเป็นคู่เทียบ จะเรียกว่าดุลกันก็ได้ ก็เพลงร้องในทางกาม นี่ก็เป็นบทสวดที่มุ่งความสงบความดีงามที่ว่า เมื่อฟังสวดแล้วก็จิตใจก็จะโน้มไปสู่ความสงบ แล้วเนื้อหาก็จะเป็นเรื่องของธรรมะก็จะมาประสานกันทำให้จิตใจนึกถึงธรรมะ นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎกก็ยังมีเลย มีบทเพลงบทหนึ่งเข้าไปอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นพระสูตรเลย ชื่อ สักกะปัญญาสูตร ก็เป็นเรื่องของเทพบุตรท่านหนึ่งไปเกี้ยวเทพธิดา ก็ขับเป็นเพลง แต่เพลงนี้มีเนื้อหาที่ประกอบด้วยธรรมะ มีการสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า เป็นต้น บทเพลงนี้ถึงได้เข้าไปอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นพระสูตรหนึ่ง ฉะนั้นก็ในทางพระพุทธศาสนานี่ ก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องเพลงอยู่ เช่นใน อรรถกถา ท่านเล่าถึงครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเคยแต่งเพลงให้มานพ ๆ เขาจะไปเกี้ยวสาว ทีนี้บทเพลงนี้จะเป็นบทเพลง สมัยก่อนเรียกขับ ใช่ไหม ขับนี้ก็หมายถึงว่าร้องเพลง นั่นแหละ เนื้อหาจะเป็นเรื่องธรรมะนำจิตไปสู่ความดีงาม เพราะฉะนั้นแม้แต่ในเรื่องของกามารมณ์ ทำอย่างไรจะให้ธรรมะเข้าแทรก เพื่อจะดึงจิตโน้มจิตของเขามาสู่ความดีงามบ้าง มิฉะนั้นคนก็จะถูกดึงไปข้างเดียว ร่อเร้า ยั่วยวนกัน และก็หยาบลงไป ๆ ใช่ไหม ทีนี้เราจะปล่อย โดยไม่ไปยุ่งไม่ไปเกี่ยวเลยหรือ ในทางพระพุทธศาสนาจะเห็นว่า ถ้าทีในเรื่องนี้คือ การที่ว่าเราต้องไปคบกับคนที่เขาเป็นอยู่แล้วจุดมุ่งหมายของเราชัดเจน ก็คือช่วยเขาได้เมตตา ทำไงจะดึงให้นำเขาขึ้นมาสู่ความดีงามยิ่งขึ้น ถ้าเราไม่ไปพบกับเขาในจุดที่เขายืนอยู่ เขาก็ไม่ยอมกระโดดข้ามมาหาเราเหมือนกัน ที่นี้อันนี้ก็ขึ้นต่อสภาพแวดล้อม แล้วขึ้นต่อพื้นฐานของผู้คนเหล่านั้น พร้อมทั้งความสามารถของผู้สอนเองด้วย ผู้สอนบางท่านอาจจะสามารถพูดนิดเดียว ทำให้คนนี้ก้าวกระโดดมาจากจุดที่เขายืนอยู่มาหาตัวเองได้ แต่เราจะไปมองอย่างนั้นทั้งหมด เพราะพระในผู้สอนก็มีความสามารถไม่เท่ากัน ต้องนึกเผื่อไว้ด้วย อย่าเอาตัวเองเป็นคนเดียวเป็นประมาณ แล้วจะให้ได้ต้องทำอย่างฉันเท่านั้น เราต้องนึกถึงท่านผู้อื่นด้วย คนที่รับฟังก็มีอุปนิสัยแตกต่างกัน เป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝ่ายผู้สอนก็เช่นเดียวกัน ก็มีความสามารถไม่เหมือนกัน เมื่อมองกว้าง ๆ อย่างนี้แล้วก็จึงต้องมีความยืดหยุ่นมีความหลากหลาย แต่ว่าก็จะมีขอบเขตอย่างที่เคยพูดมาว่า มันมีเกณฑ์อย่างต่ำจะต้องไม่เลยเถิดไปอย่างนี้ แล้วก็อย่างมากก็จะมีเกณฑ์อยู่ภายในขอบเขต เกณฑ์อย่างต่ำอย่างมากอันนี้ ก็จะยืดหยุ่นให้ใช้ความเหมาะสมที่จะให้ได้ผล แล้วขึ้นต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งหมายถึงความแตกต่างบุคคลของผู้ฟังฝ่ายหนึ่ง ความแตกต่างระหว่างบุคคลของฝ่านผู้สอน ฝ่ายหนึ่ง องค์ประกอบเหล่านี้กว่ามันจะมาบรรจบพอดี ต้องนึกถึงว่า มันทำอย่างไรให้มันพอดี เพราะองค์ประกอบเหล่านี้มาลงตัวพอดีก็ มัชฌิมาปฏิปทา ใช่ไหมผลสำเร็จก็เกิดขึ้น เวลานี้เรามักจะเห็นเรื่องของการที่ว่า จะเอาอย่างใดอย่างหนึ่งตายตัว เอามาตราฐานของตัวเข้าว่า ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งด้วย แล้วก็อาจจะทำให้เสียผลที่ควรจะได้ไป เอ้านี่ก็เป็นเรื่องที่นำมาพูดไว้ในที่นี้ด้วย ที่จริงไม่ตั้งใจจะพูดเรื่องนี้
แต่ว่าพูดถึงเรื่องของบทสวดเหล่านี้ก็มีความประสงค์ที่จะโน้มจิตให้คนเข้ามาสู่ธรรมะ แม้แต่การรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นการสาธยายคำสอนก็ยังมาเป็นการสังคีติ เป็นการสวดซึ่งใช้ศัพท์เดียวกับการขับเพลง แต่ว่าจะเป็นทำนองที่ว่า ระวังอย่างที่ว่าแล้วไง ที่ว่าทำนองจะต้องอยู่ลักษณะที่จะโน้มนำจิตมาสู่ความดีงามและความสงบ เรื่องของธรรมะ แล้วก็ต้องทำด้วยความตั้งใจ สำหรับพระนั้นความตั้งใจ เมื่อเราสวดในพิธีก็คือความตั้งใจปรารถนาดีต่อผู้อื่นฟัง ให้ประชาชนนี้ได้รับผลดีได้เกิดความผ่องใสของจิตใจ ๆ สงบน้อมไปสู่ธรรมะนั่นเอง ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ทีนี้ถ้าเราตั้งจิตปรารถนาดีมีเมตตาอย่างนี้อยู่เสมอ การกระทำมันก็จะดีไปด้วย มิฉะนั้นอาจจะไปมุ่ง เอ้อ ไปสวดทำพิธี มีพิธีก็ทำเป็นพิธี อะไรอย่างนี้ ซึ่งคำว่าเป็นพิธีมันก็เป็นความหมาย ให้สักแต่ว่าทำ ไม่ได้ตั้งใจ ก็เสร็จ ๆ ไป แล้วไม่มีความมุ่งหมายอะไร แล้วผลก็เลยไม่เกิดขึ้น ก็ขอหยุดเรื่องนี้ไว้ก่อน
ก็ได้พูดถึงเรื่อง บทสวดที่นำมาจัดวันเสาร์ว่า จัดบทสวดธรรมจักรเข้าไป บทสวดนี้ที่จริงก็เป็นบทพระสูตร เรียกว่า ธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นพระสูตรใหญ่ ยาวพอสมควร นี้ได้บอกไปว่า ธรรมจักรกัปวัตนสูตร นั้นนิยมใช้สวดในงานวันเกิดที่ใหญ่ ๆ ใช่ไหม ทีนี้เดี๋ยวจะเผลอไปนึกว่าเหตุผลในการที่จัดเข้ามาอันนี้ เป็นเพราะเป็นบทสวดในพิธีวันเกิดเท่านั้น ทีจริงไม่ได้มุ่งแค่ว่า เพราะไปใช้สวดในวันเกิดใหญ่ ๆ หลอก ที่เอาเข้ามาในการสวดนี้ คือ มุ่งความสำคัญของพระสูตรนี้ ว่าพระสูตรนี้เป็นสำคัญมากเป็นปฐมเทศนา เป็นพระธรรมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้า เรียกว่าปฐมเทศนาก็คือ เทศนาครั้งแรก แล้วมีชื่อว่า ธรรมจักรกัปวัตนสูตร แปลว่า สูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หมายความว่าพระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา หรือ ประดิษฐ์สถานอาณาจักรธรรม นี่เป็นครั้งแรก เพราะฉะนั้นธรรมจักรกัปวัตนสูตร มีความสำคัญ ๆ ทั้งในแง่เหตุการณ์และสำคัญทั้งในแง่เนื้อหาประกาศหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง แล้วก็โยงเข้าหาหลักการที่ใหญ่กว่านั้น ซึ่งคลอบคลุมหมด คือหลักอริยสัจ 4 โดยพระพุทธเจ้าทรงเริ่มด้วย มัชฌิมาปฏิปทา เป็นจุดที่มาเชื่อมต่อระหว่างลัทธิแนวความคิดข้อปฏบัติของยุคสมัยว่าเขามีการปฏิบัติ การดำเนินชีวิตกัน 2 แบบที่ทางพุทธศาสนาบอกว่า เป็นสุดโต่งเชื่อมโยงมาสภาพความเป็นจริงยุคนั้น พวกหนึ่งหมกมุ่น เป็นพวกกามสุข เรียกว่า กามาสุขัลลิกานุโยค และก็อีก 1 อย่าง อีกฝ่ายหนึ่งก็คือว่า มุ่งไปในแง่ของจิตใจจนกระทั่งว่า ละทิ้งเรื่องวัตถุ เรื่องทางกาย ทรมารร่างกาย เพื่อปลดปล่อยจิต แล้วก็เรียกว่าเป็นที่สุดแห่งการทรมารตนเองให้ลำบาก เป็น อัตตะกิริกาโยค นี่เป็นสภาพของความประพฤติปฏิบัติที่ความเชื่อในยุคพุทธการก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประกาศพระศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประกาศพระศาสนาท่ามกลางภาวะเหล่านี้คือ ข้อปฏิบัติและความเชื่อแนวความคิดที่สุด 2 อย่าง ที่ว่า กามาสุขัลลิกานุโยค กะอกิริมะถาโยค พระองค์ก็ทรงประกาศทางสายกลางที่หลีกเลี่ยงละเลิกจากที่สุด 2 อย่างนั้น เกิดมัชฌิมาปฏิปทา เป็นข้อปฏิบัติในพุทธศาสนา แล้วมัชฌิมาปฏิปทานี้ ก็คือหลักปฏิบัติที่อยู่ในหลักการใหญ่อีกที ที่ครอบคลุมคืออริยสัจ 4 พระพุทธเจ้าก็โยงจากมัชฌิมาปฏิปทา ไปก็ตรัสอริยสัจ 4 อีกที แล้วก็ประกาศให้เห็นว่าที่พระองค์ได้ตรัสรู้นี้ ก็คือตรัสรู้อริยสัจ 4 นี้ ถ้าพระองค์ไม่ตรัสรู้อริยสัจ 4 นี้ โดยครบถ้วนสมบูรณ์แล้วพระองค์ก็จะไม่สามารถปฏิญานพระองค์ว่า ตรัสรู้แล้ว ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิฌาน อันนี้เป็นพระสูตรที่ประกาศหลักการสำคัญของพุทธศาสนา ทั้งหลักการใหญ่และข้อปฏิบัติพร้อมทั้งเป็นเครื่องยืนยันว่า สัมมาสัมโพธิฌาน บอกให้รู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ก็จึงนำมาจัดเข้าเป็นบทสวดสำคัญ โดยที่มาประสานกันการใช้ประโยชน์ปัจจุบัน ก็คือเป็นบทสวดในวันเกิดใหญ่ ๆ อย่างที่ว่าไปแล้วก็ได้ความหมายทั้ง 2 ข้อ แม้แต่ที่เอาไปจัดในบทสวดวันเกิดใหญ่ ๆ ก็คงจะมองความหมายแง่นี้ด้วยว่าเป็นพระสูตรที่สำคัญ ก็ถือว่าเอาพระสูตรนี้มาปฐมเทศนาก็เป็นมงคลอันยิ่งใหญ่ ใช่ไหม นี่เป็นเรื่องของเหตุผล เป็นเรื่องปลีกย่อยเกร็ด ๆ เอามาเล่าถวายไว้