แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
หลักใหญ่ของพระพุทธศาสนาที่ครอบคลุมทั้งหมดนี้ เราพูดได้หลายอย่างแต่อย่างหนึ่งที่พูดได้ง่าย
ก็คือ อริยสัจ 4 อริยสัจ 4 ที่ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั่นก็หมดเลย ก็เรียกว่า ไม่มีอะไรเหลือ
ทีนี้ ในอริยสัจ 4 นั้น มีส่วนที่เรามาใช้ปฏิบัติดำเนินชีวิต เป็นเรื่องของภาคลงมือทำ ก็คือ ข้อ 4 ข้อเดียว
จะรู้ทุกข์ เข้าใจทุกข์ ความรู้นั้นก็จะต้องเจริญขึ้นด้วยการปฏิบัติตามมรรค
เมื่อปฏิบัติตามมรรค พัฒนาไป เช่นตัวอย่าง ก็พัฒนาปัญญา ก็อยู่ในข้อ 4 ก็เป็นภาคปฏิบัติ
ความเข้าใจทุกข์มันจะชัดขึ้นมา หรือจะละสมุทัย ก็ต้องปฏิบัติตามมรรคนั่นแหละ
เมื่อปฏิบัติตามมรรคไป ก็กำจัดกิเลสไป ทำลายอกุศลไป ก็ต้องอาศัยข้อ 4 อีกแหละ
จะบรรลุจุดหมาย คือ นิโรธ ก็ต้องปฏิบัติเหมือนเดินทางไป จึงจะบรรลุจุดหมาย เพราะฉะนั้น
ในที่สุด ก็คือต้องมาอยู่ที่ข้อที่ 4 ที่นี่ในแง่ของข้อปฏิบัติ จึงถือว่า ข้อ 4 นี่ครอบคลุมหมด
อันนี้ เวลาเราดูที่ข้อ 4 เนี่ยะ เราก็บอกว่า มรรค มรรคก็มีองค์ 8 ประการ ก็ย้ำนิดนึง มรรคมีองค์ 8
ไม่ใช่มรรค 8 ชาวบ้านมักจะพูดทำให้เข้าใจผิดว่า มรรค 8 เดี๋ยวเข้าใจเป็น 8 ทาง จริงๆ มรรคมีองค์ 8
คือทางเดียวมี 8 องค์ประกอบ หรือมีข้อย่อยออกไป 8 ข้อ มารวมกันเข้า จึงเป็นมรรคทางเดียว
ที่นี่องค์ประกอบทั้ง 8 ที่เรียกว่า องค์ 8 ของมรรค เวลาเราพูดให้สั้นลง เราก็บอกว่า
สรุปลงใน 3 หมวด 3 หมวดนี้เรียกว่า ขันธ์ ขันธ์แปลว่าหมวด เป็นขันธ์ 3 คือเป็นศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ ก็เลยพูดสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วไม่นาน พระอานนท์
ได้สนทนากับมานพคนหนึ่ง ชื่อ ศุภมานพ ศุภมานพก็ถามพระอานนท์พระเถระว่า
ท่านได้อยู่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้าติดตามพระองค์ไปอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมีปกติตรัส
แสดงคุณค่าของธรรมะอะไร แล้วก็พระองค์ตรัสสอนให้ประชาชนตั้งอยู่ในธรรมะอะไร
พระอานนท์ก็ตอบว่า พระพุทธเจ้าก็ตรัสสรรเสริญคุณของศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
ก็ยังประชาชนให้ประดิษฐานในธรรม 3 หมวดนี้ อันนี้คือการพูดอย่างคลุมเลยนะ
ก็คือ หมดเลย ข้อปฏิบัติต่างๆ ก็อยู่ในนี้ ก็คือขยายออกไปก็เป็นมรรคมีองค์ 8 ศีล สมาธิ ปัญญา
ในศีล สมาธิ ปัญญา นี่เป็นที่ประชุมที่รวมของมรรคมีองค์ 8 แต่พร้อมกันนั้นก็เรียกชื่อได้ว่า ไตรสิกขา
ด้วย ถ้าเรียกเป็น ขันธ์ 3 ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ก็คือการจัดองค์มรรคเข้าเป็น 3 หมวด
แปลว่าในเวลาเดียวกันก็เป็นข้อปฏิบัติในการฝึกหรือพัฒนาชีวิตด้วย ในแง่ที่เป็นมรรคก็คือ
เป็นการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิต เราดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 เป็นศีล สมาธิ ปัญญา
เราก็ต้องฝึกตัวเองให้เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่งเราฝึกตัวเองในศีล สมาธิ ปัญญา ได้ก้าวไปเท่าไหร่
การดำเนินชีวิตในมรรคของเราก็ก้าวไปเท่านั้น ฝึกอันใดก็ได้อันนั้น ฝึกอย่างไรชีวิตของเราก็จะเป็น
อย่างนั้น คือ มรรค ก็เป็นวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตของเรา หมายพูดสั้นๆ ว่า ชีวิตของเราเป็นอย่างนั้น
ในชีวิตของเราจะเป็นอย่างนั้น ก็อยู่ที่เราได้เรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนาตนเองของเรา เราฝึกอย่างไร
เราก็ได้มีชีวิตอย่างนั้น ถ้าเราพยายามมีชีวิตอย่างนั้น เราก็จะได้ฝึกตัวเองอย่างนั้นด้วย
ว่าชีวิตของคนเนี่ยะ มันก็เป็นการฝึก เป็นการเรียนรู้ไปในตัว เป็นการพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา
นี่พูดอย่างชาวบ้านว่าก็คือ ทำพฤติกรรม จิตใจและปัญญาให้เจริญงอกงามขึ้นไปเรื่อยๆ เรียนรู้พัฒนาไป
วิถีชีวิตของเราก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ไตรสิกขากับมรรค จึงเหมือนกับพูดคนละแง่ของเรื่องเดียวกัน
ใช่ไหม พูดในแง่เป็นวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตก็เป็นมรรค พูดในแง่ของการฝึกการเรียนรู้พัฒนาตัวเองมัน
ก็เป็นไตรสิกขา แล้วก็หัวข้อก็มาตรงกัน ก็เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา อันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมะหมวดใหญ่
เวลาไปพูดเป็นภาษาชาวบ้าน พระพุทธเจ้าก็ตรัสให้ง่ายขึ้นอีก เป็นว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส
ใช่ไหม ???? (07:55).สัพพัตตา ..... ปริโยทะปันนัง
อันนี้ก็คือพูดถึงเรื่องไตรสิกขา หรือมรรคที่จัดเป็น 3 หมวดโดยภาษาสามัญ ไม่ทำชั่ว ทำดี
ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ทำชั่ว ก็เน้นที่เรื่องศีล โดยเฉพาะก็จะเน้น เรื่องการไม่เบียดเบียนกัน
ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เราเห็นข้างนอก ส่วนใหญ่เรื่องศีล 5 อย่างนี้ แล้วก็ สมาธิ ก็เป็นเรื่องของ
การพยายามปลูกฝังบำเพ็ญเรื่องคุณธรรมความดี ที่จะเน้นเรื่องจิตใจ เรื่องการทำใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส
จะบริสุทธิ์ได้ จิตจะบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา อันนั้นก็ต้องไปเน้นที่ปัญญา แต่ว่าท่านก็อธิบายให้เห็นว่า
ที่จริงเรื่องของการเว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส มันก็คละประสานไปด้วยกัน ไม่ใช่แยกเด็ดขาด
เป็นว่าต้องเป็นศีล สมาธิ ปัญญา เป็นข้อนั้นข้อนั้น ว่าไม่ทำชั่วเป็นศีล ก็แล้วทำดีให้ถึงพร้อมเป็นสมาธิ
ทำจิตใจให้ผ่องใส เป็นปัญญา ไม่ใช่แยกเด็ดขาด แต่ว่านี้เทียบแบบว่าโดยหลักกว้างๆ แต่ว่า เวลา
เอาจริงในเชิงปฏิบัติ มันประสานกันไปหมด เพระฉะนั้นการอธิบาย ถ้าจริงมีหลายนัย เพราะว่า
ในเรื่องของความเป็นจริงแล้ว ธรรมะเหล่านี้ก็หาได้แยกกันเด็ดขาดไม่ แต่เวลาแยกออกมาเป็น
ศีล สมาธิ ปัญญา คือเราจะจับจุดได้ค่อนช้างชัดว่า ถ้าอย่างนี้เป็นศีล ถ้าอย่างนี้เป็นสมาธิ
ถ้าอย่างนี้เป็นปัญญา ก็ในที่นี้ให้เห็นว่า เรื่องมรรคกับเรื่องไตรสิกขา นี้ก็เป็นเรื่องไปด้วยกัน
หรืออย่างที่บอกเมื่อกี้ว่า เป็นคนละด้านของเรื่องเดียวกัน แต่สิ่งอยากจะย้ำก็คือว่า เรื่องก่อนที่จะ
เข้าสู่มรรค คือเราจะมาพูดกันมากในเรื่องมรรค ก็รู้กันอยู่ว่าข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
อยู่ในมรรคทั้งสิ้นแหละ แต่ที่นี่ว่า คนทั่วไปเขายังไม่ได้เข้าสู่มรรค มรรคก็คือทาง ทางเดินมีอยู่
แต่ว่าคนเค้าไม่มาเข้าทางเดิน ทำยังไง ตอนเนี่ยะ เออ ถ้าเข้าทางเดินซะแล้วมันก็เริ่มไปข้างหน้าได้
ที่นี้เค้ายังไม่มาเข้าทางเดิน จะทำยังไง ก็ต้องมีวิธีการที่จะนำเขาเข้าสู่มรรคอีกทีนึงใช่ไหม
นี่แหละบางทีเราก็ไม่ได้มาพูดกันเรื่องนี้ ก็นับว่าข้ามสิ่งสำคัญไปอันนึง แล้วสำหรับคนทั่วไป
นี่ก็น่าจะเน้นมากด้วยเรื่องการที่จะนำคนเข้าสู่มรรคใช่ไหม คล้ายๆ กับเราบอกว่า เข้าสู่มรรค
เข้าทางละก็ง่ายขึ้นเยอะ คุณก็เดินทางแล้วมันก็เกิดความชัดเจน ตอนนี้เข้าสู่ถนนละ มันก็มีทางที่จะไป
ถึงจุดหมาย ทีนี้คนทั่วไปมากมายมันอยู่นอกถนน อยู่ในป่า อยู่ในไหนก็ไม่รู้เยอะแยะหมด
ทำไงพาเข้ามาสู่ถนน อันนี้จึงน่าจะให้ความสำคัญ เราบางทีก็หลงลืมมองข้ามเรื่องนี้ไป
แต่พระพุทธเจ้านั้นไม่ได้ทรงมองข้าม ทีนี้ มรรค เนี่ยะ เราทราบกันอยู่แล้ว ข้อแรกก็เริ่มด้วย
สัมมาทิฏฐิ ใช่ไหม อ้า คนจะมีสัมมาทิฏฐิได้ไง เริ่มต้นมรรค ก็ต้องตอบได้ นี่แหละคือการที่
จะนำคนเข้าสู่มรรค พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้บอกว่า ปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นของสัมมาทิฏฐิ มีสองอย่าง
ใช่ไหม คือ หนึ่ง ปรโตโฆษะ สอง โยนิโสมนสิการ พอพระพุทธเจ้าตรัสธรรมหมวดนี้ละก็
เห็นช่องทางขึ้นมาละ เออ มันก็มีสิ่งที่จะเชื่อมโยง ว่ามีตัวที่จะนำเข้าไป แยกเป็นปัจจัยภายนอกกับภายใน
ปรโตโฆษะ ก็เป็นปัจจัยภายนอก โยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยภายใน อ้ายเจ้าสองตัวนี้ละเป็นตัวสำคัญ
ที่จะนำเข้าสู่มรรค คนเราจะเกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นได้ไง ก็มีตัวนำเข้าคือปัจจัย นี่สำหรับมนุษย์ทั่วไป
พอเกิดมาก็อยู่ในสังคม ตั้งแต่เกิดมาในครอบครัว มีพ่อแม่ นั่นก็คือเข้าสังคมละ ใช่ไหม
มนุษย์ไม่ได้เกิดเป็นตัวคนเดียวแท้ๆ หรอก คือหมายความว่าเกิดมาปั๊ปก็เข้าสังคม
ทีนี้ปัจจัยภายนอกทางสังคม ก็เริ่มได้ทันที ก็พ่อแม่ เป็นต้นนี่แหละ ก็เป็นปัจจัยภายนอก เป็น ปรโตโฆษะ
ถ้าหากว่าพ่อแม่เป็นต้น รู้จักพูดจา
รู้จักเลี้ยงดู รู้จักอบรมสั่งสอน พูดง่ายๆ รู้จักเลี้ยงดูเท่านั้นนะ มันก็เป็นทางให้เด็กเกิดสัมมาทิฏฐิ
มันก็เริ่มต้นตั้งแต่เกิดเลยว่างั้นเถอะ การที่จะเดินตามมรรคนี่มันมีปัจจัยช่วยแล้ว ก็คือว่าปัจจัยทางสังคม
หรือปัจจัยภายนอก คือเสียงจากผู้อื่นหรือปรโตโฆษะ ปรโตโฆษะที่ดี ท่านก็เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร
14:30 ใช่ไหม เพราะ ปรโตโฆษะ นี้อาจจะเป็น ปรโตโฆษะ ที่ไม่ดีก็ได้ก็คืออาจจะชักจูงสั่งสอน
ให้คำแนะนำให้ความรู้ในทางที่ผิด เช่น กินข้าวก็ไม่ ???ไม่รู้จักบริโภคจะซื้อข้าวซื้อของใช้เสื้อผ้าอะไรต่างๆ
ไม่เคยแนะนำให้ความรู้ความคิด ไม่รู้จักให้ปัญญา ก็ตกอยู่ในกระแสของสังคม เสียงพูดจา เสียงถ่ายทอด
กันมาหรือค่านิยมอะไรต่างๆ เค้าผิดก็ผิดไปตามเค้า เค้าถูกก็ถูกไปตามเค้า เนี่ยะ ไม่มีหลักของตัวเอง
นี่ถ้าหากว่า พ่อแม่ เป็นต้นนี่ เป็นกัลยาณมิตร ก็เป็น ปรโตโฆษะ คือแหล่งความรู้ที่ดี
ชักนำในทางที่ดี กระตุ้นให้เกิดความคิด ถ้าได้กระตุ้นให้เกิดความคิด รู้จักคิดขึ้นมา
ปัจจัยภายในของเด็กก็เจริญขึ้นมาด้วย ถ้าเด็กเกิดความรู้จักคิดรู้จักพิจารณา อย่างที่เวลาเข้ามาวัด
ก็เริ่มสอนว่า เออ บริโภคอาหาร ใช้ปัจจัยสี่ จีวรก็ต้องพิจาณา นี่ก็คือขั้น เอาปัจจัยภายนอกนะ
ที่เป็นประเพณีความเป็นอยู่ของพระ เช่นอุปัชฌาย์อาจารย์ก็มาบอก ใช่ไหม พอบอกลูกศิษย์ปั๊ป
ลูกศิษย์ก็ต้องใช้ปัจจัยภายใน คือการพิจารณาปัจจัยสี่ เอ๊ะเรากินเพื่ออะไร รู้จักคิดละ ถามตัวเอง
อ๋อ ที่จริงเรากินอาหารเพราะอย่างนี้อย่างนี้ คู่กันละ เกิดขึ้นละ ปรโตโฆษะ เป็นกัลยาณมิตร
ก็มากระตุ้น หรือบอกช่องทางแนะให้รู้จักใช้ความคิด ปัจจัยภายในก็เกิดขึ้น ความรู้ความเข้าใจ
การพิจารณา การมองหรือท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายหรือปัจจัยสี่ ก็เริ่มเข้าสู่ทางที่ถูกต้อง
สัมมาฐิทิก็เริ่มเกิด ใช่ไหม นี่เป็นตัวอย่าง ที่นี้ แบบนี้ควรเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ให้รู้จักใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ให้ดูเป็น ฟังเป็น เป็นต้น ว่าเราดูนี่ ดูทีวีเพื่ออะไร ดูสิ่งทั้งหลาย
เราควรจะพิจารณาอย่างไร เราจะได้ความรู้หรือเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้ประโยชน์
ได้ความรู้ อะไรอย่างนี้นะ รู้จักใช้ตา หู จะใช้สอยบริโภคปัจจัยสี่หรือสิ่งอะไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ตาม
ก็ต้องให้รู้จักคิดพิจารณา ปัญญาก็เจริญงอกงาม โยนิโสมนสิการ การรู้จักคิดก็เกิดขึ้น ใช่ไหม
เนี่ยะก็คู่กันไป แต่อาศัย ปรโตโฆษะ สำหรับมนุษย์ทั่วไปนั้น พระพุทธเจ้า ตามหลักพระพุทธศาสนา
เราก็บอกว่า คนทั่วไปโดยเฉลี่ยเนี่ยะต้องอาศัยปรโตโฆษะ ก็คือกัลยาณมิตรที่เราต้องการให้มาช่วย
กระตุ้นนำคนให้พัฒนา แต่ถ้าเราจะมีเฉพาะคนที่อาศัย ปรโตโฆษะ อย่างเดียวเนี่ยะ
โลกนี้จะไม่ก้าวหน้า ถ้าสังคมมันพลาดมาแล้ว มันจะอยู่อย่างนั้น ก็พลาดไปเรื่อยๆ
จะมีมนุษย์พวกนึงที่มี โยนิโสมนสิการพิเศษ ที่ว่าผู้เป็นพ่อแม่หรืออะไรก็ตาม ประเพณีวัฒนธรรม
นั้นไม่เคยคิดอย่างเนี่ยะ หรือหลงกันมานานละ ว่าตามๆ กันมา ก็กระตุ้นให้คิดได้เฉพาะในขอบเขตหนึ่ง
ที่ว่าบรรพบุรุษสืบๆ กันมา ก็จะมีคนอย่างพระพุทธเจ้าที่ว่า เห็นสิ่งเดียวกันที่คนอื่นๆ เห็นทั้งสังคม
แต่คิดไม่เหมือนเขา เห็นความจริงที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านี้ แล้วก็เลยทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ
เกิดการแหวกออกไปจากกระแสสังคมที่เป็นมา เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ก็จะมาด้วย เพราะโยนิโสมนสิการพระพุทธเจ้ามีโยนิโสมนสิการ ที่เป็นพิเศษ ตามหลัก ???? 19:12
ปัจเจกพระพุทธเจ้าหนึ่งเนี่ยะ เป็นผู้ที่สามารถแหวกออกจากกระแสสังคมด้วยโยนิโสมนสิการ
แต่ว่ามนุษย์ทั่วไปโดยเฉลี่ยต้องอาศัยกัลยาณมิตรมาช่วย เพราะฉะนั้น เพื่อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่
จึงต้องเน้นเรื่องกัลยาณมิตร ใช่ไหม เพราะมันต้องเริ่มที่นี่ เราจะหวังให้เด็กมาเกิดมีโยนิโสมนสิการเอง
มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เราก็ต้องมาเน้นเรื่องการที่จะทำให้เด็กที่เกิดมาหรือผู้คนทั้งหลาย
ได้รับประโยชน์จากกัลยาณมิตร เพราะฉะนั้น จะมีการจัดระบบให้สังคมได้เป็นสังคมกัลยาณมิตร
อย่างคณะสงฆ์ พระพุทธเจ้าก็ตั้งขึ้นเป็นชุมชนตัวอย่าง ให้เป็นชุมชนกัลยาณมิตร ผู้ที่เข้ามานี้
ก็จะได้เจอกัลยาณมิตร เจอพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เราเป็นกัลยาณมิตรของสัตว์ทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เอง อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร สัตว์ผู้ตกอยู่ใต้อำนาจ 20:30 ??? ชาติ ชรา
พยาธิ มรณะ เทวะ เป็นต้น ก็พ้นไปได้จากทุกข์เหล่านั้น ทีนี้ ครูอาจารย์ต่างๆ ก็มาทำหน้าที่นี้
เป็นกัลยาณมิตรมาช่วยเหมือนกับว่าเป็นอิทธิพล ช่วยชักจูง ช่วยให้แง่มุม ช่วยให้ความรู้
ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารที่เราจะได้นำมาใช้ในการพัฒนาตนเอง แต่จุดสำคัญอยู่ที่โยนิโสมนสิการ
กัลยาณมิตรนั้นอาจจะชักจูงได้หลายอย่าง ชักจูงในเรื่องของศีล ก็คือว่า มาช่วยให้เรามีพฤติกรรมที่ดี
มาช่วยแนะนำ บอกว่า อย่าไปทำโน้นทำนี่ บอกสิ่งที่ควรเว้นและสิ่งที่ควรทำ เรื่องระเบียบ
เรื่องวินัยอะไรต่างๆ ก็คอยคุม มีข้อบัญญัติ มีพุทธบัญญัติ ไว้ว่าอย่างนี้ ท่านปฏิบัติตามนะ
แล้วก็เป็นตัวอย่าง เป็นตัวอย่างในเชิงพฤติกรรมที่ดี อย่างพ่อแม่ เรื่องศีลจะมาด้วยการเห็นตัวอย่าง
พฤติกรรมเคยชินทำตามตามกันไป เด็กเห็นพ่อแม่ทำไงก็ทำตามนั้น ใช่ไหม ศีลจึงมาในรูปของ
วัฒนธรรมเรื่องประเพณี อะไรพวกเนี่ยะมาก โดยไม่รู้ตัว งานทางสังคมวางเรื่องของระบบศีลไว้ดี
ก็คือ มีพวกวัฒนธรรม มาทำให้เด็กพอเกิดขึ้นมาในชุมชน มันก็ไปโดยไม่รู้ตัว ไม่ต้องมาคอยบังคับ
ถ้าไปทำไม่ดี ก็กลายเป็นต้องบังคับกัน นี้ กัลยาณมิตรก็มาช่วยในเรื่องศีล เช่น เป็นตัวอย่าง
แม้โดยไม่รู้ตัว เป็นพฤติกรรมที่เด็กก็ชินไปเลย แล้วก็ทางด้านจิตใจ พ่อแม่รู้สึกอย่างไร
มีปฏิกิริยาต่อสิ่งทั้งหลาย ชอบใจไม่ชอบใจ เด็กก็โดยไม่รู้ตัวก็ตามไป มันก็มีอิทธิพลทางด้านจิตใจด้วย
นอกจากอิทธิพลทางด้านความรู้สึก ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อเด็กเอง พ่อแม่มีความรัก มีเมตตา
ก็ปลูกฝังเข้าไปในตัวเด็กโดยที่ไม่รู้ตัว ให้ความรู้สึกอบอุ่น จิตใจเด็กก็ดีเป็นจิตใจที่สดชื่น ผ่องใสง่าย
ถ้าพ่อแม่ดุ โหดร้าย เด็กก็จะจิตใจรู้สึกเครียดอะไรง่ายๆ ก็จะมีปัญหาขึ้นมา เพราะฉะนั้นความพอดีนี้
พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ในหลักพรหมวิหาร ใช่ไหม ให้ได้สมดุลย์อย่างนี้เป็นต้น นอกจากนั้น เรื่องจิต
เรื่องปัญญา ก็ให้ความรู้แง่คิดอะไรต่างๆ ถ้าพ่อแม่รู้จักเป็นกัลยาณมิตร ก็จะให้เด็กเจริญงอกงามใน
ศีล สมาธิ ปัญญาไปเรื่อยๆ แต่ทีนี้ พ่อแม่บางทีไม่ได้เอาใจใส่ คือทำไปเพียงแต่ว่าโดยไม่รู้ตัว
ให้เด็กได้รับไปโดยที่ตัวเอง ไม่ตั้งใจคิดไม่ได้ไตร่ตรองไม่ได้วางแผนอะไร ทำไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ
เด็กก็ได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แล้วแต่ว่า เจอพ่อแม่ทำอะไร ใช่ไหม ก็ติดนิสัยไป เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ก็เริ่มจาก
ในครอบครัว เรื่องกัลยาณมิตร แต่สิ่งสำคัญ ในบรรดาสิ่งที่พ่อแม่ จะชักนำกระตุ้นเร้าให้เกิด คือ
โยนิโส มนสิการ เพราะตราบใดที่เด็กยังอาศัยพ่อแม่ ใช่ไหม ต้องทำตาม จะต้องบอกว่าให้ทำ
อย่างนั้นอย่างนี้ สถานการณ์นี้ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เด็กก็ต้องพึ่งพา ใช่ไหม ก็ต้องพึ่งพ่อแม่
ต้องขึ้นต่อพ่อแม่ แต่เป็นมี โยนิโส มนสิการ คิดเองได้ปั๊ป เด็กจะพึ่งตนเองได้ เพราะฉะนั้นเด็กจะพึ่ง
ตนเองได้ ก็เมื่อมี โยนิโส มนสิการ เป้าหมายเราต้องการให้เค้าพึ่งตนเองได้ ก็ต้องไปกระตุ้น
หน้าที่กัลยาณมิตรที่สำคัญ ก็คือ ต้องมีเป้าหมายว่า พยายามพัฒนา โยนิโสมนสิการ ขึ้นมาในตัวเด็ก
ให้เด็กรู้จักคิดพิจารณา
เวลาเจออะไรก็ให้รู้จักคิด ให้รู้จักมอง แล้วก็รู้จักให้แง่มุมต่างๆ ทางเลือกเยอะๆ เช่นว่า เรื่องนี้นะ
มันสามารถคิดอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างนั้นก็ได้ เสนอทางเลือกให้เด็ก 4-5 อย่าง บอกเนี่ยะคิดคิดคิดอย่างนี้
อันไหนดีที่สุด ให้เด็กรู้จักคิดอีกที เด็กก็มาพิจารณาไตร่ตรอง ฝึกความคิดของเค้า พัฒนาปัญญาของเค้า
แล้วก็ทำให้เค้าเห็นแง่มุมแล้วก็ช่องทางที่จะใช้ โยนิโส มนสิการ มันก็เป็นการฝึกไปแบบค่อยๆ เป็น
ค่อยๆ ไปเอง โยนิโส มนสิการ มันจะเกิดยาก ในเมื่อคนเราเนี่ยะ มันมีการรับรู้ มองสิ่งต่างๆ ตามชอบใจ
ไม่ชอบใจ ถ้าไปติดตรงนี้ปั๊ป ยากละ นี้คนโดยมากจะเป็นอย่างนั้น แล้วก็พ่อแม่บางทีก็เป็นซะเอง ใช่ไหม
ก็เลยไม่ได้ฝึกลูก เจออะไรคนเรามันก็ถ้าไม่ได้ฝึกไม่ได้ใช้ปัญญา มันก็มีเรื่องชอบใจไม่ชอบใจ
อะไรมันทำให้เกิดสุขเวทนาก็ชอบใจ สบายตาสบายหูก็ชอบใจ อะไรที่มันเกิดทุกขเวทนา
ทำให้เกิดทุกขเวทนา ไม่สบาย แสบหูแสบตาอะไรก็แล้วแต่ ขัดหูขัดตามันก็ไม่ชอบ ใช่ไหม นี้คนเราปกติ
มันก็อยู่ด้วยอันนี้ ถ้าอยู่ในกระแสนี้ท่านก็เรียกว่า ไม่ได้ใช้ความรู้ ไม่มีความรู้เป็นอวิชชา แล้วก็เป็นตัณหา
เป็นตัณหาก็คือ ไปตามตัวอยาก ชอบใจไม่ชอบใจเนี่ยะ การใช้อวิชชาตัณหาก็เข้าครอบงำ
แล้วก็มีความยึดมั่น อุปาทานตามมา ก็เข้ากระแสของทุกข์ เป็นปัญหาขึ้นมา จิตใจก็คับแคบ
ขุ่นมัวเศร้าหมองด้วยความที่ใจอยากจะเอา ใจก็คับแคบลงไป เกิดความขัดใจโกรธขึ้นมา
ก็เศร้าหมองขุ่นมัวเร้าร้อน อะไรอย่างนี้ ก็เป็นกระบวนการปัญหาและความทุกข์ นี้ก็ต้องมาหาทางออก
ก็คือการใช้โยนิโสมนสิการ การรู้จักมองสิ่งต่างๆ ก็เข้าสู่ โยนิโสมนสิการ มันก็ออกจากกระแสชอบใจ
ไม่ชอบใจ คือการมองสิ่งทั้งหลาย โดยการรู้จักมองเช่นตามเหตุปัจจัย คือการฝึกอย่างง่ายๆ ก็ที่เน้นบ่อย
ก็คือเรี่องนี้ เรื่องพวกหนึ่ง มองตามชอบใจไม่ชอบใจ อีกพวกหนึ่งมองตามเหตุปัจจัย ใช่ไหม
อันนี้เป็นการล้อคำ ล้อคำเพื่อจะมาเริ่มเข้าสู่ โยนิโสมนสิการ ถ้ามองตามชอบใจไม่ชอบใจ ก็ขาด
โยนิโสมนสิการ ไปตามกระแสอวิชชาตัณหา แล้วก็ไปสู่อุปาทาน นี่ถ้าหากว่า มองตามเหตุปัจจัย
ก็เริ่มแนวของโยนิโสมนสิการ คือการมองตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ มันจะไม่มีตัวตนมากระทบ
คือถ้ามองชอบใจไม่ชอบใจ มันต้องมีตัวตั้ง คือตัวฉัน ใช่ไหม ตัวตนที่ชอบใจ แล้วก็ตัวตน
ที่ขัดใจ มันขัดกระทบเรา ชอบใจไม่ชอบใจมันต้องมีตัวตน เพราะฉะนั้น มันก็จะแคบ แล้วก็กระทบ
ก็มีรับกระทบกันอยู่เรื่อย แล้วก็วน ที่นี้ถ้าเป็น โยนิโสมนสิการ มันมีหลายแง่ เช่นมองแบบตามเหตุปัจจัย
อันนี้ล้อคำ ก็เพื่อที่จะให้มีทางไป เช่นเป็นตัวอย่างหนึ่งของเรื่อง โยนิโสมนสิการ พอมองตามเหตุปัจจัยปั๊ป
ไม่มีตัวตนละ คือมันมองตามเรื่องนั้น ใจมันไปอยู่กับความคิดที่หาเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น มันไม่เกี่ยวกับตัว
มันไม่มีตัวตนที่จะขัดที่จะกระแทกที่จะได้จะเอา แต่มันมอง ก็คือกระแสของปัญญาที่สอดคล้องกับ
ความเป็นจริง ก็ไล่ไปว่าอะไรเป็นอะไรเป็นอะไรไป ทีนี้ อย่างคนถ้ามองตามเหตุปัจจัย ก็ไม่เกิดปัญหากัน
ก็จะมองพยายามเข้าใจสถานการณ์นั้น เหตุการณ์นั้น เข้าใจบุคคลนั้น แล้วก็เป็นทางให้เกิดความรู้สึก
ที่ดีงาม อย่างน้อยตัวเองก็ไม่เกิดความเครียด ความกระทบกระทั่ง มีทางออก จิตมันเดิน ไม่ใช่ตันอั้น
ถ้าไปชอบใจไม่ชอบใจ มันมีทางที่จะอั้นติดเครียด พอไปตามเหตุปัจจัย ก็ไปเรื่อยๆ ของมัน ค้นคว้าหาเหตุ
แล้วก็เกิดความเข้าใจขึ้นมา คุณธรรมต่างๆ เช่น เมตตากรุณาก็ตามมาได้ เพียงแต่เราเข้าใจเหตุปัจจัย
ของเพื่อนมนุษย์ที่เขามีปัญหาหรือเขาหน้าตาโกรธมา อะไรอย่างเนี่ยะ พอเข้าใจเหตุปัจจัยของเขา
มันไม่เกี่ยวกับเรา เราก็เห็นใจเขาอยากจะแก้ปัญหาให้กับเขา นั่นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ทางแยกก็คือว่า
ไม่ควรมองตามชอบใจไม่ชอบใจ เวลาพบสถานการณ์อะไรขึ้นมา เรารับอารมณ์ทางตา หู จมูก
ลิ้น หาย ใจ ถ้าเราไม่ไปตามชอบใจไม่ชอบใจ ภาษาโบราณเค้าเรียกว่า ยินดียินร้าย
เราก็มามองตามเหตุปัจจัยซะ เราก็เริ่ม โยนิโสมนสิการ ที่นี้ก็เป็นเพียงอันหนึ่งเท่านั้นใน โยนิโสมนสิการ
ให้เป็นตัวอย่าง ก็เรียกว่า เริ่มพัฒนาตัวเองขึ้นมาแล้ว ปัญญาก็จะงอกงามขึ้นได้ คนที่จะมองตาม
เหตุปัจจัย มันต้องใช้ปัญญา มันจะต้องมีการฝึกตัวเอง แล้วก็ได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น ที่นี้ก็
เรื่อง โยนิโสมนสิการ ก็เลยเป็นเรื่องใหญ่ ในชีวิตประจำวันก็ดี ชีวิตของตัวเองก็ดี ชีวิตอยู่ร่วมสังคมก็ดี
แล้วก็ในการเจริญภาวนาทางจิตใจ ทางปัญญา เจริญสมถะ วิปัสสนา นี่ใช่ทั้งนั้น โยนิโสมนสิการ
อย่างมรณสติ นี่ก็เป็นตัวอย่าง ถ้าคนมองความตายไม่เป็น มองตามชอบใจไม่ชอบใจ
ก็เกลียดความตายแล้วก็กลัว กลัวความตายของคนที่เรารักเราพอใจ ก็โศก ก็มีเรื่องกลัวเรื่องเศร้า
เป็นหลักใหญ่ ถ้าไปได้ยินความตายของคนที่เราเกลียด ก็ดีใจ ใช่ไหมว่าอย่างนั้น อันนี้ เรียกว่า
ลบเป็นบวก ก็ไม่ดีจิตไม่ดีหมดเป็นอกุศล ทีนี้พอมี โยนิโสมนสิการ ก็แล้วแต่ โยนิโสมนสิการ อะไร
ใช่ไหม โยนิโสมนสิการในแง่หนึ่ง ก็เป็นเรื่องของอนิจจังนั่นแหละ ว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง
ชีวิตของคนก็ไม่เที่ยง ก็ต้องแตกดับไป ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ไม่ว่าคนรวย คนจน คนดี คนชั่ว พาล
บัณฑิต ต้องตายทั้งนั้น ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด อยู่กันได้ไม่เกิน น้อยคนที่จะเกินร้อยปี
ชีวิตนี้ก็ไม่ได้ยืนยาวอะไร โอ้ เวลามันน้อย ต้องรีบขวนขวาย ไม่ประมาท อันนี้ก็คืออนิจจัง
นำไปสู่ไม่ประมาท ใช่ไหม ทีนี้เรียกโยนิโสมนสิการ อย่างนี้เค้าเรียกโยนิโสมนสิการเชิงสมถะ
ก็กระตุ้นจิตใจให้เกิดความไม่ประมาท อันนี้ได้ประโยชน์ละ ใช่ไหม แทนที่จะเศร้า โยนิโสมนสิการ มา
ก็ทำให้จิตคิดไปอีกอย่างหนึ่ง ก็ได้เกิดความไม่ประมาท ทีนี้ อาจจะมองลึกไปกว่านั้น
ก็มองในแง่อนิจจังนั่นแหละ สืบต่อไป อนิจจังเป็นสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงแท้แน่นอน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
สิ่งทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้เป็นธรรมชาติของมัน ใช่ไหม ถ้ามองเห็นไปถึงธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย
เริ่มไปจากชีวิตมนุษย์ ก็มองไปเห็นสิ่งต่างๆ ก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไป เป็นไปตามเหตุปัจจัย
แม้จะโยงไปหาอนัตตา มันไม่มีตัวตนที่ยืนตัวของมัน ปรากฏไปตามเหตุปัจจัยอย่างนั้น
มองไปอย่างนี้ ก็พิจาณาเห็นไตรลักษณ์ เห็นความจริงของสิ่งทั้งหลายนี้วางใจได้ ว่าสิ่งทั้งหลาย
ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย มันก็ไม่เที่ยง มันก็เป็นอย่างนี้เป็นธรรมดา อย่างน้อยเค้าก็เรียกว่า ปลงได้ 34:00
ใช่ไหม ก็ทำลายหรือหักห้ามหรือลดน้อย บรรเทาความเศร้าโศกเสียใจและความกลัว ก็วางใจได้กับสิ่ง
ต่างๆ ก็ไม่ไหวหวั่น อย่างที่ว่าพบโลกธรรมไม่หวั่นไหว ไม่ว่าที่น่าพอใจ ไม่น่าพอใจ วางใจถ้าให้ดีก็ไปถึง
อุเบกขา เป็นใจที่เป็นสมดุลย์หรือเป็นใจที่ปลอดโปร่ง ไม่ถูกความรู้สึกไม่ดี???อกุศล จะกลัวหรือโศก
ก็แล้วแต่เข้ามาครอบงำ ใจมันก็โล่ง สบาย ก็ผ่องใส ก็ได้ปัญญาที่รู้เข้าใจอันนี้ อาจจะเจริญเป็นวิปัสสนา
ต่อไป ในเรื่องไตรลักษณ์ไปอีก ก็เอาละ นี่ก็เป็นเรื่อง โยนิโสมนสิการ เป็นตัวอย่าง สิ่งทั้งหลายจะต้อง
รู้จักมอง แล้วก็เกิดคุณค่า สิ่งที่แม้คนทั้งหลายก็ถือว่าไม่ดี แต่เป็นมนุษย์เราต้องเจอ หนีไม่พ้น
แล้วเราจะไปยอม ให้เกิดผลไม่ดีต่อเราทำไม ใช่ไหม ในเมื่อมันจะต้องเจอ ก็ต้องหาดีจากที่ไม่ดีให้ได้
ว่างั้นเถอะ การที่จะหาดีจากสิ่งที่ไม่ดีให้ได้เนี่ยะ เป็นโยนิโสมนสิการ งั้น โยนิโสมนสิการ
มันก็เลยแยกเป็นสองอย่าง โดยหลักใหญ่ ก็คือว่า หนึ่งเป็นการรู้จักคิดพิจารณาให้เห็นความจริงให้ได้
คนเรานั้นก็มีอันหนึ่งก็คือ ให้เห็นความจริง แม้แต่การตรัสรู้ก็เป็นเรื่องของการเห็นความจริง ใช่ไหม
ก็พระพุทธเจ้าก็ใช้ โยนิโสมนสิการ ในการที่จะศึกษาปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท จะรู้ได้ยังไง
ถ้าไม่ใช้ โยนิโสมนสิการ พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามพระองค์เอง ว่าอันนี้มันเกิดมีอย่างเนี่ยะ แล้วมันมี
เพราะอะไร อะไรมีมันจึงมี แล้วพอสืบสาวไปได้อันนั้น ก็สืบสาวต่อ แล้วเจ้าอันนี้ละ เกิดมีขึ้นละ
เพราะอะไรมีมันจึงมี นี่ก็คือ สืบสาวในเชิงปฏิจจสมุปบาท ก็ด้วยการใช้ โยนิโสมนสิการนั่นแหละ ทำให้ไป
ถึงสัจธรรม
รู้ความจริงได้ กับอีกอันหนึ่งก็คือ นอกจากหาความจริงของสิ่งทั้งหลายแล้ว ก็คือการหาประโยชน์
จากสิ่งทั้งหลายอย่างที่บอกเมื่อกี้ สิ่งทั้งหลายที่เราพบ มีน่าชอบใจบ้างไม่น่าชอบใจบ้าง คนนิยมว่า
ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เราต้องเจอ เมื่อหนีไม่พ้นแล้ว เราจะไปยอมสยบให้มันมาครอบงำทำไม
ก็การหาประโยชน์จากมันให้ได้ หาประโยชน์จากสิ่งที่เลวที่สุด ต้องฝึกตัวเอง ร้ายที่สุด เลวที่สุด ไม่รู้ละ
ฉันเจอจะต้องหาแง่มุมให้มันได้ประโยชน์ให้ได้ ให้เป็นประโยชน์ในการได้ปัญญา ให้เป็นประโยชน์ใน
การฝึกตัวเอง ให้เป็นประโยชน์ในการทดสอบความเข้มแข็งก็ยังดี ว่างั้นนะ เอาให้มันได้ประโยชน์ซักอย่าง
พอมองในแง่นี้แล้ว มันกลายเป็นว่า จิตใจดีขึ้น เจอสิ่งร้ายสิ่งยากอะไรต่างๆ จิตมันเบาจากเรื่อง
ของความทุกข์ เบาจากเรื่องของ อกุศล มันก็เป็นคุณค่ากับจิตใจ ถ้าฝึกบ่อยๆ ก็ต่อไป เจอสถานการณ์
ร้ายๆ จิตมันจะดีขึ้นเยอะเลย เราพร้อมที่จะรับสถานการณ์ โยนิโสมนสิการ เนี่ยะจะเรียกสติมาได้ด้วย
เพราะเราฝึกเราหมั่นใช้ความคิดหาแง่มุมอะไรต่างๆ เนี่ยะมาทำให้จิตเราพร้อมที่จะรับสถานการณ์ขึ้น
พอเราพร้อมให้สติมันก็อยู่ ใช่ไหม เพราะว่า เจ้าโยนิโสมนสิการ มันจะทำงานได้ มาเรียกร้องสติให้อยู่
ถ้าสติมันไม่อยู่ อ้ายเจ้าโยนิโสมนสิการมันก็ทำงานต่อไปไม่ได้ อ้ายเจ้าโยนิโสมนสิการก็เรียกร้องสติ
อ้ายสติมาช่วยหนุน โยนิโสมนสิการ ไปด้วยกัน นั้นก็เป็นการฝึกไป ถ้าพูดอีกอย่างหนึ่ง เหมือนฝึกด้าน
สมาธิด้านปัญญาให้ไปด้วยกัน ให้เจริญไปด้วยกัน เราก็พัฒนากันไปเรื่อยๆ ก็เป็นอันว่า พูดกันในวันนี้
ก็มาเน้นเรื่อง โยนิโสมนสิการ ในฐานะที่เป็นปัจจัยภายในของเราทุกคน ที่เราควรจะฝึกขึ้นมา
คนทั่วไปก็อาศัยกัลยาณมิตร เราก็ต้องเน้นความสำคัญของกัลยาณมิตร แต่ว่ากัลยาณมิตรต้อง
พยายามโยงมาหาโยนิโสมนสิการ แล้วโยนิโสมนสิการก็อันหนึ่งก็คือ มองในแง่หาความจริงให้เห็น
ความจริงสืบสาวไป วิเคราะห์แยกแยะ อะไรต่างๆ แล้วก็วิธีการของโยนิโสมนสิการก็มีหลายอย่าง
อันนั้นก็เป็นรายละเอียด อีกอันหนึ่งก็คือ หาประโยชน์ให้ได้จากสิ่งที่ร้ายที่สุด ฝึกให้ดีแล้วก็ เราก็พัฒนา
ทีนี้พอมาประมวลหลักอีกทีหนึ่ง สรุป ถ้าเราพูดถึงการให้การศึกษาแก่คน เช่น เราพูดถึงเด็ก
เราก็จะเน้นในแง่ ที่ชอบเน้นก็เน้นในแง่กัลยาณมิตรหรือปรโตโฆษะ คล้ายๆ สังคมนี้ ผู้บริหารประเทศชาติ
หรือผู้บริหารการศึกษามีหน้าที่จะต้องจัดสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็ก เค้าก็จะเน้นอันนี้นะ อย่างเป็นคติของ
บางองค์กรเลย บอกว่าคล้ายๆ เป็นหน้าที่ของสังคม ที่จะต้องจัดสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก อันนี้ก็หมายความ
ว่า ให้เด็กได้รับสิ่งแวดล้อมที่ดีๆ ให้ได้รับข่าวสารที่ดีๆ ที่เป็นประโยชน์อะไรต่างๆ นี่ด้านหนึ่ง นี่ก็เป็น
เรื่องของหน้าที่กัลยาณมิตร ก็เป็นการมองด้านหนึ่งซึ่งสำคัญถูกต้อง แต่ว่าถ้าเรามองด้านเดียว
เด็กจะอ่อนแอ เด็กที่ถูกจัดให้หมดนี้ จัดสิ่งที่ดีๆ ให้ แกจะอ่อนแอ แล้วก็พึ่งพาต้องคอยพึ่งกัลยาณมิตร
ต้องอาศัยเมตตาของเขา แล้วก็อ่อนแอเพราะเป็นคนได้รับการเอาอกเอาใจ ถ้ามันหนักเกินไปก็กลายเป็น
อย่างนี้ การศึกษาหมายความว่า ไปเอาอกเอาใจเด็ก มุ่งจะให้เด็กได้สนุกสนาน มีความสุขอะไรต่ออะไร
ความสุขที่แท้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการให้จากภายนอก มันต้องพัฒนาให้เด็กมีความสุขขึ้นมาภายในเอง
ใช่ไหม เมื่อไหร่เด็กมีความสามารถที่จะมีความสุขได้เอง นั่นสิปลอดภัย ไอ้เด็กที่ต้องพึ่งอาศัยความสุข
ที่คนอื่นจัดให้เนี่ยะ มันแย่ พึ่งพา ขึ้นต่อเขาแล้วก็อ่อนแอ อย่างที่ว่านะ พึ่งพากับอ่อนแอ มาด้วยกัน
ใช่ไหม ถ้าพึ่งพามันอ่อนแอ ถ้าอ่อนแอมันก็ต้องไปพึ่งเขา ฉะนั้น ให้ข้างเดียว นี่ไม่ได้ สุดโต่ง
ก็จะเพลี่ยงพล้ำ ก็ต้องอีกด้านเข้ามา เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ก็ต้องเน้นทั้งปัจจัยภายนอกและ
ปัจจัยภายใน แล้วปัจจัยสำคัญที่สุด คือภายใน เราก็เน้นโยนิโสมนสิการ ในขณะที่สังคมพยายาม
จัดสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็ก สังคมต้องมีเป้าหมาย ไม่ใช่เพียงให้เด็ก แต่ให้เพื่อที่จะเป็นเครื่องเกื้อหนุน ให้เด็ก
พัฒนาในตัวเขาขึ้นมา การจัดสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็กเนี่ยะ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่สมบูรณ์จุดหมาย
หรือเป็นหน้าที่สุดท้ายของเรา แต่มันเป็นเพียงบันไดเพื่อให้เราก้าวไปสู่อีกเป้าหมายหนึ่ง
คือเราจัดสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็ก เพื่อไปเกื้อหนุนที่จะให้เด็กได้มีโอกาสมากขึ้น ในการที่จะพัฒนาในตัว
ของเขาขึ้นมา ใช่ไหม ตรงนี้สิสำคัญ การให้สิ่งที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการให้โอกาสมากกว่า เป็นการให้โอกาส
สิ่งที่ดีที่สุดที่เราจัดนี้เพื่อหนุนโอกาสที่เด็กจะได้พัฒนาปัจจัยภายในของเขาขึ้นมา งั้นเราจะพูดย้อนกลับมา
เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ว่าสังคมจัดสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก แล้วพัฒนาในตัวเด็กให้สามารถเอาประโยชน์
ได้จากสิ่งที่เลวที่สุด ถ้าได้สองอันนี้มาบรรจบกันแล้วจึงจะใช้ได้ ถ้าไม่อย่างนั้นเด็กไปไม่รอด อย่างใน
สังคมข่าวสารข้อมูล ด้านหนึ่งเราก็ต้องพยายามจัดปิดกั้นข่าวสารข้อมูลเลวๆ วิดีโอไม่ดีอะไรอย่างนี้
แต่สังคมทำได้สำเร็จไหม แค่นี้ก็ยังไม่ได้เรื่องเลย แค่ให้เด็กไม่ได้รับข่าวสารข้อมูลเสียๆ หาย ๆ
ก็ทำไม่สำเร็จใช่ไหม แต่นี้ก็คือ ความพยายาม มันถึงต้องทำ จะเว้นไม่ได้ แต่ว่าสังคมเองก็แย่
มีคอรัปชั่น มีความเหลวเละของตัวเอง ที่ทำให้ทำไม่สำเร็จ เด็กก็เข้าหาเข้าถึงสิ่งที่เลวๆ เหล่านี้
ทีนี้ทำไง อีกด้านหนึ่งก็คือว่า ทำไงให้เด็กสามารถเอาประโยชน์จากสิ่งที่เลวที่สุดได้ ใครจะเก่งกว่ากัน
ระหว่างผู้ที่ต้องอาศัยสิ่งที่ดีที่เค้าจัดให้ กับคนที่ในตัวเองมีความสามารถที่จะหาประโยชน์ได้จาก
สิ่งที่เลวที่สุด ใช่ไหม คนที่เก่งที่แน่จริง ก็คือคนที่มีความสามารถที่จะเอาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เลวที่สุด
งั้นก็จะต้องพัฒนาตัวนี้ขึ้นมา ก็ย้อนกันขึ้นมาสองอัน หลักกัลยาณมิตรก็คือ จัดสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็ก
จัดสิ่งแวดล้อม จัดข่าวสารข้อมูลอะไรต่างๆ โดยที่สุดก็คือ โอกาสแห่งการพัฒนาให้กับเด็ก แล้วพร้อม
กันนั้น ก็ให้เด็กพัฒนา พยายามกระตุ้นเร้าอะไรพัฒนาในตัวเขาที่ให้มีอยู่ใน โยนิโสมนสิการ ที่จะสามารถ
เอาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เลวที่สุด ถ้าเด็กทำอย่างนี้ได้ เด็กนั้นก็พึ่งตัวเองได้ แล้วเราไว้ใจได้ ใช่ไหม
ถ้าจะต้องจัดสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็กอยู่เรื่อยไป เด็กนั้นไว้ใจไม่ได้ ใช่ไหม ต้องพึ่งต่อ ขึ้นต่อพึ่งสิ่งที่ดีที่สุด
ที่เราจัดให้อยู่เรื่อยไป แต่ถ้าเด็กมันเก่งถึงขนาดว่า มันเอาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เลวที่สุด มั่นใจได้แล้ว
ปล่อยได้เลยทีนี้ สังคมเรามีความสามารถไหมที่จะให้การศึกษาถึงขั้นนี้ เอาละครับ 45:00
นี่คือ ตัวนำเข้าสู่มรรค 2 ตัวปัจจัยภายนอกกับภายใน แค่สองอย่างนี้เรื่องใหญ่เลย การศึกษาของเรา
นี่ แทบทั้งหมดไปเน้นข้อที่ 1 แต่ข้อที่ 1 ก็ยังไม่ค่อยชัดด้วยนะว่า มีหน้าที่อะไร ตรงกัลยาณมิตร
มีหน้าที่อะไร ทีนี้สัมพันธ์กับตัวที่ 2 ปัจจัยภายในยังไง แต่ตอนนี้เราพูดสรุปว่า 2 ตัวนี้ต้องมาละ
เป็นตัวนำเข้าสู่มรรค เพื่อให้เริ่มสัมมาทิฐิ แล้วก็เดินหน้ากันได้ในมรรค ทีนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัส
ไว้อีกบอกว่า ก่อนมรรค ยังมีอีก 5 ตัว อีก 5 ตัวที่มาหนุน 2 ตัวนี่เป็นตัวหลัก เอาอีก 5 ตัวมาเสริม
จึงจะสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ทุกข้อสำหรับ 5 ตัวกับ??? 2 ตัวรวมเป็น 7 ว่าเป็นบุพนิมิตรแห่งมรรค
บุพนิมิตรเพื่อการเกิดขึ้นแห่งมรรค ที่พระองค์ตรัสบอกว่า เหมือนอย่างว่า ก่อนที่พระอาทิตย์จะอุทัย
ยอมมีแสงเงินแสงทองขึ้นมาก่อนฉันใด ในการที่จะเกิดขึ้นของมรรคนั้น ก็มีคุณสมบัติหรือองค์ธรรม 7
ข้อนี้ ที่เป็นตัวที่จะนำหน้ามา อันนั้นก็ในเมื่อเราบอกว่า ต้องให้ความสำคัญแก่องค์ธรรมก่อนมรรค
หรือตัวนำ???มรรค เราก็ต้องมาเน้นพวกนี้ 47:00 มรรคนี้มีองค์ประกอบ 8 แต่ก่อนมรรค 7 ข้อนะ
ไม่ใช่น้อยนะ 7 ข้อ แล้วก็เราก็จับได้ตัวใหญ่เมื่อกี้แล้วนะ ปัจจัย สัมมาทิฏฐิ 2 ที่ว่า ปรโตโฆษะ ที่ดี
โดยเฉพาะกัลยาณมิตร กับ โยนิโสมนสิการ ปัจจัยภายนอกกับปัจจัยภายใน ทีนี้ก็เอา 5 ตัวมาหนุน
5 ตัวนี้จะมาช่วยให้เจ้า 2 นี้ให้เดินหน้าไปได้ด้วยดี ก็มีอะไรละ ท่านบอกว่า มีต่อจาก 1 ซึ่งเป็นองค์
47:30 ที่แล้วมาท่านเรียกว่า กัลยาณมิตสัมปทา ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร กัลยาณมิตตตา
ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทีนี้องค์ที่ 2 ก็คือ สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล ก็คือว่า คนเรานี้
ก็จะต้องเป็นคนมีวินัย พูดภาษาสมัยใหม่ ใช่ไหม เคยพูดไปแล้ว คือเครื่องฝึกให้มีศีล ก็คือ วินัย
อย่างพระนี้ก็มีวินัย และเมื่อเราประพฤติตามวินัย ก็เกิดเป็นคุณสมบัติติดตัว เรียกว่า ศีล
ใช่ไหม เคยพูดไปแล้ว วินัยนั้นก็เป็นคำของท่าน สำหรับเรื่องของกระบวนการฝึกหรือตัวระเบียบแบบแผน
ที่ใช้ฝึก แต่คุณสมบัติที่เกิดเรียกว่า ศีล ทีนี้ภาษาสมัยใหม่ ไปใช้ความหมายของคำว่า ศีล จำกัดมาก
ก็เลยเข้าใจกันไม่ค่อยได้เรื่อง ศีล ไปหาคำมาใหม่เรียกว่า มีวินัย ที่จริงคำว่า มีวินัยคือ ศีล นั่นเอง
คำพระไม่มีนะคำว่า มีวินัย มีแต่คำว่าศีล ศีลก็คือมีวินัยนั่นแหละ พอมีวินัยก็คือศีล มนุษย์นั้น
การที่จะพัฒนาได้ต้องมีพื้นฐานคือ ความมีวินัย ใช่ไหม สังคมสังเคิมจะอยู่กันดี เอื้อโอกาสต่อการพัฒนา
การทำกิจกรรมที่ดี การศึกษาเล่าเรียน มันต้องมีวินัย ซึ่งรวมตั้งแต่ศีล 5 ซึ่งเป็นวินัยของคฤหัสถ์
อย่างที่เคยพูดแล้วว่า ลองคนเบียดเบียนกัน ลักทรัพย์ ขโมย แย่งชิงกันจนกระทั่งว่า สังคมนี้ไปไหน
ไม่เป็นสุข ระหวาดระแวงกันไปหมด แย่ใช่ไหม กิจกรรมอะไรที่ดีงามอื่นๆ มันเจริญได้ยาก
อย่างเราจะไปเรียนหนังสือ ถ้าสังคมนั้นมีความปลอดภัย มีวินัยก็ดี ใช่ไหม มันไม่ฆ่าฟันเบียดเบียนกัน
มันไม่มาแย่งชิงทรัพย์ ไปไหนก็ปลอดภัย จนกระทั่งแม้แต่บ้านยังไม่ต้องใส่กุญแจอะไรอย่างนี้ จะทำอะไร
ในทางสร้างสรรค์ก็สะดวก เด็กอยากไปเรียนหนังสือตอนค่ำ ไปไหนก็ได้ นี่อยู่ซอยดึกหน่อย กลัวแล้ว
ใช่ไหม จะกลับได้หรือเปล่า จะไปโน้นปลอดภัยไหม มันก็ติด ติดขัดไปหมด เพราะฉะนั้น
ความมีวินัยแม้แต่ในระดับสังคม เอื้อต่อการที่เราจะพัฒนาชีวิต สร้างสรรค์อะไรต่างๆ ถ้ามันติดขัด
ที่นี่แล้ว มันเสียหมด อยู่กันด้วยความหวาดระแวง แคลงตะไล ใจคอก็ไม่เป็นสุข จะทำอะไรก็ไม่สะดวก
ติดขัดเยอะ สร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในสังคม แล้วก็นอกจากความปลอดภัย ไม่ต้องหวาดระแวง
ก็คือว่า ระเบียบแบบแผนที่จัดไว้ดีเนี่ยะ มันก็เอื้อต่อการทำอะไรต่างๆ ที่อย่างเคยพูดอุปมา หรือยก
ตัวอย่างง่ายๆ เหมือนอย่างในที่เรานั่งกันอยู่เนี่ยะ เพียงว่าเราขาดวินัย ไม่มีศีลคุมกายวาจาไม่ได้
มานั่งกันนี่ คนหนึ่งจะพูดก็พูดไปคนหนึ่งจะเดินก็เดินไป แค่นี้ก็พูดกันไม่รู้เรื่องแล้วใช่ไหม
การที่จะมาบรรยายธรรม อะไรต่ออะไรก็เสียหมด หรืออย่างจะอยู่กันแค่ในบ้านเนี่ยะ ตั้งโต๊ะตั้งเก้าอี้
เกะกะหมด จะเดินจากนี่ไปออกประตู หลบเก้าอี้ตัวโน้นหลบโต๊ะตัวนี้ ไปกว่าจะไปถึงประตูหลายนาที
ใช่ไหม พอจัดของเข้าเป็นระเบียบปั๊ป สิ่งทั้งหลายอยู่ในที่ควรอยู่ เก้าอี้ตั้งอยู่ในที่ควรตั้ง ทางเดินก็เป็น
ช่องไปไม่มีอะไรมาขวาง จะทำงานแม้แต่เดินก็เดินพรวดถึงเลย ใช่ไหม เนี่ยะ อันนี้คือวินัย คือระบบ
การจัดสรรนั่นเอง การจัดสรรเรื่องของระบบการดำเนินชีวิต ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม การจัด
ระเบียบกิจการต่างๆ เนี่ยะก็คือ สีลสัมปทา ถ้าอ้ายนี้มาแล้วนะ มันเอื้อละ ตั้งต้นมันพร้อมที่จะเดินหน้า
ได้ ถ้าอันนี้มันไม่ได้แล้ว ติดขัด 52:00 แม้แต่ในใจมันก็หวาดระแวง อย่างที่พูดเมื่อกี้ เพราะฉะนั้นตัวเอื้อ
ที่สำคัญคือเรื่องศีล ที่จะทำให้การสร้างสรรค์พัฒนาอะไรต่างๆ องค์ประกอบคุณธรรมเจริญก้าวหน้า
ต่อไป มันต้องได้อันนี้เป็นพื้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ศีล เหมือนกับพื้นดินที่เราเหยียบยัน เราจะทำกิจอะไร
ก็ตาม ไม่มีที่เหยียบยันมันทำยาก ทำไม่ได้ จะตัดต้นไม้ซักต้นหนึ่ง ไม่มีที่เหยียบ ไม่รู้จะทำไง ตัด ทำไม่ได้
ทีนี้อะไรอีก ท่านบอกว่า สีลสัมปทา ต่อไปก็มี ฉันทสัมปทา ใช่ไหม ถึงพร้อมด้วยฉันทะ โอ เรื่องใหญ่
มาก ฉันทะนี้ ตัวคู่ตรงข้ามกับตัณหา มนุษย์เรานี่ถ้าอยู่ด้วยอวิชชา มันก็เอาตามอยากก็เป็นตัณหา
ถ้ามันเริ่มมีปัญญา มันก็จะมีฉันทะ คือตัวความอยากที่เป็นกุศล ความอยากนั่นเอง ความอยาก
มีสองอย่าง คือเอาความอยากที่เป็นอกุศลเรียกว่า ตัณหา เอาความอยากที่เป็นกุศลเรียกว่า ฉันทะ
นี้ความอยากที่เป็นกุศล ก็ต้องมาแทนที่เอาความอยากที่เป็นอกุศล อย่างตั้งแต่เด็กฝึกในบ้าน
ให้อยากได้ปัญญาหนุน อยากได้อวิชชาตัณหา ก็เช่นว่า เอาอร่อยรสลิ้นเข้าว่า มันก็ นี่คืออวิชาตัณหา
ใช่ไหม ไม่ต้องรู้เรื่องอะไร อร่อยก็ใช้ได้ อยาก อย่างนี้เรียกว่า อยากด้วยตัณหา นี้พอมันรู้ว่าที่เรากิน
อาหารนี่ อ๋อ มันเพื่อสุขภาพร่างกายดี ของอร่อยลิ้นแต่เป็นโทษก็มี เป็นพิษเป็นภัย โอ้ ไม่ควร ปัญญารู้
ของที่ร่างกายต้องการ เป็นประโยชน์กับชีวิต บางทีมันอาจจะไม่ค่อยอร่อยแต่เราก็จำเป็น
พอเจ้าปัญญาความรู้เข้าใจซึ่งเกิดจากโยนิโสมนสิการ พอมีปัญญาขึ้นมามันกลับจะอยากสิ่งที่ไม่
เคยอยาก ใช่ไหม อ้ายสิ่งที่เคยต้องอร่อยลิ้น มันจึงจะอยาก ถ้ามันไม่อร่อยลิ้น มันกลียดเลย ทีนี้
พอมีปัญญา รู้ว่าอันนี้มีคุณมีโทษ อ้ายที่มันอยากอร่อยลิ้นนะ มันรู้ว่ามันเป็นพิษนะ มันไม่อยาก
สิ่งที่เป็นประโยชน์แท้จริงกับชีวิต ทั้งๆ ที่มันไม่ค่อยอร่อย มันกลับอยากได้ อย่างนี้เค้าเรียกอยาก
เพราะปัญญา เป็นฉันทะ เริ่มฝึก มนุษย์จะต้องเริ่ม อย่างนี้เหมือนกับทวนกระแส แต่ที่จริงมันเป็น
ธรรมชาติ ใช่ไหม แต่มันมีปัจจัยที่ถูก มันไม่ใช่เรื่องทวนกระแสอะไร ว่ากันไป แต่ว่ามัน
เป็นธรรมชาติอย่างนั้นเอง เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อปัญญามันรู้ อ้ายตัวเป้าหมายเปลี่ยน
ความต้องการมันเปลี่ยน ความต้องการของมนุษย์นี่พัฒนาได้ เราก็พัฒนาความต้องการหรือ
ความอยากของเราใหม่ ใช่ไหม แต่ก่อนเราเคยมีความต้องการแบบนี้ พอเรามีปัญญาขึ้น
ความต้องการของเราก็เปลี่ยนไป พอความต้องการเปลี่ยน ความสุขก็เปลี่ยน เชื่อไหม เพราะว่า
ความสุขนั้น ตามปกติจะมาด้วยการสนองความต้องการ เราเคยอยากตามความอร่อยลิ้นด้วย
ตัณหา เมื่อได้สนองความต้องการแบบตัณหา มันก็สุข แต่พอเราอยากด้วยปัญญา เราก็เกิด
ความต้องการใหม่ เพราะสนองความต้องทางปัญญา มันก็เกิดความสุข ใช่ไหม ความสุขก็เปลี่ยน
หมดเปลี่ยนหมดเลย 56:00เปลี่ยนทั้งความต้องการ เปลี่ยนทั้งความสุขใหม่ อ้ายตัวฉันทะ
เนี่ยะ มีเกิดขึ้นละ มันพัฒนาความสุขได้ ความสุขของตัณหาวนอยู่แค่นั้น มันอยู่กับรูป
เสียง กลิ่น รส โผฏ ฐัพพะ ที่เข้ามาใช่ไหม ที่สนองตัณหา แต่อ้ายเจ้าความสุขแบบฉันทะ
นี่มันพัฒนาไปเรื่อย ปัญญาพัฒนาไปเท่าไร ฉันทะก็พัฒนาไปเท่านั้น ความสุขก็พัฒนาไปตามฉันทะ
สนองความต้องการใหม่กันเรื่อยไป ก็เลยมันก็เปลี่ยนหมด มนุษย์ เพราะฉะนั้น อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ว่า
พุทธศาสนา มองมนุษย์นี่ เปลี่ยนแปลงได้มาก พัฒนาได้ดี ตามหลักของศาสตร์สมัยใหม่ แทบจะมอง
ความต้องการของมนุษย์นี่ ตายตัวเลยใช่ไหม แต่ของพุทธศาสนานี่ พัฒนาได้เปลี่ยนแปลงไป
ความเปลี่ยนแปลง 57:00 แล้วการเปลี่ยนแปลงมนุษย์ที่สำคัญ ก็คือการพัฒนาความต้องการนี่แหละ
ถ้าเราเปลี่ยนความต้องการพัฒนาความต้องการได้ เราจะเปลี่ยนมนุษย์ได้ เอ้านี่ ฉันทะ เอาแค่นี้ก่อน
เดี๋ยวจะเยอะแยะไป เรื่องฉันทะก็เรื่องใหญ่มาก เพราะว่าถ้าฉันทะเริ่มต้นละก็ มันเดินหน้าไปในมรรค
พร้อมเลย เพราะตัณหาก็จมอยู่เนี่ยะ นอกมรรคไม่เข้ามรรค ที่นี่ ฉันทะแล้วอะไร ที่นี่ ฉันทะละ
อัตตสัมปทา อัตตสัมปทา การทำตนให้ถึงพร้อม ตนในที่นี้ก็หมายถึงว่า ในความเป็นมนุษย์
แต่ละคน ใช้ภาษาสมัยใหม่เรียกว่ามีศักยภาพ มีศักยภาพมีความสามารถ แม้แต่จะเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้
ถ้าเราจะเป็นพระพุทธเจ้า เราก็ต้องมีการพัฒนาตนเอง เริ่มต้นต้องมีจิตใจเข้มแข็ง มีปณิธาน
มีความเด็ดเดี่ยว ใช่ไหม มีความตั้งใจจริง จะมาบำเพ็ญคุณธรรมความดี ที่เรียกว่า บารมี พอเริ่มต้น
อย่างนี้ มันก็เริ่มต้นที่จะเดินหน้าไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ คนที่จะเอาขนาดนั้นก็ต้องมีแรงของ
ฉันทะมาก มีความเข้มแข็งมีความเด็ดเดี่ยวมาถึงจุดเลยถึงจะไปได้ แต่ว่ามันมีอันนี้รวมความ ก็คือว่า
มีอ้ายตัวนี้อยู่ ศักยภาพในตัวมนุษย์ที่จะต้อง จะเรียกว่าดึงขึ้นมาใช้หรือพัฒนามันออกมาทำให้มัน
สมบูรณ์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นคนเราแต่ละคนนี่ก็จะต้องพยายามพัฒนาศักยภาพของตนให้มันงอกงาม
เจริญสมบูรณ์เต็มที่ มันก็จะไปบรรลุผลสำเร็จของการพัฒนา จะเป็นพระอรหันต์ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไปสู่จุดหมายนั้น อันนี้ก็เป็นตัวสำคัญ แต่ถ้าในคนธรรมดาก็คือ มีจิตสำนึก
จิตสำนึกในการศึกษา ถือว่ามนุษย์เรานี่ จนเรามองว่า มนุษย์เราจะดีจะเลิศจะประเสริฐได้ด้วย
การฝึกฝนพัฒนาตนหรือด้วยการศึกษา ใช่ไหม ก็สร้างจิตสำนึกในตัวเองขึ้นมาว่า เราจะต้องศึกษาพัฒนา
ตนตลอดเวลา พอเป็นจิตสำนึกนี้ขึ้นมาได้ ตอนนี้มันจะมองอะไรใหม่ ก็การมองชอบใจไม่ชอบใจก็จะมา
ถูกอันนี้ลดทอนด้วย การมองความยากง่ายอะไรต่ออะไรก็เปลี่ยน เพราะถือว่ามนุษย์ นี่ต้องฝึก เราทำ
ตนให้พัฒนาเต็มที่ เราต้องศึกษาต้องพัฒนาตน พอเจออะไรเนี่ยะ มันเปลี่ยนท่าทีจะเอาจะได้
ตามชอบใจ มันเปลี่ยนเป็นเครื่องฝึกตัวเราละ พอมองว่าเป็นเครื่องฝึก สถานการณ์ต่างๆ ที่ยากอะไร
ต่ออะไร เราก็จะดูว่าอันไหนได้ฝึกมากฝึกน้อย แต่ก่อนนี้เราก็ดูชอบใจไม่ชอบใจจะได้จะเอาใช่ไหม
ท่าทีมันไปแบบนี้ พอเราเกิดจิตสำนึกใน อัตตะสัมปะทา จะทำตนให้พัฒนาเต็มที่ มันต้องฝึกศึกษา
เอ เราจะฝึกได้อย่างไร อันไหนได้ฝึกมากอันไหนได้ฝึกน้อย มันมองประเมินใหม่ แต่ก่อนมันประเมิน
ว่าจะได้อะไร เราจะมีความสุขกับมันยังไง คราวนี้ประเมินว่าเราจะได้ฝึก คือการได้ของเราคือการได้
ฝึกตัวใช่ไหม อันนี้มันง่ายมันจะได้ฝึกอะไร สมมติว่าเจอเรื่องง่ายๆ ไม่ต้องฝึกเลยใช่ไหม ทำได้สำเร็จ
เดี๋ยวก็เสร็จละ อ้ายของที่มันไม่ต้องใช้ความคิดไม่ต้องสู้ไม่ต้องลงแรงอะไร ไม่ได้ฝึกอะไรหรอก
แต่ว่าของอะไรยากก็ได้ฝึกมากจริงไหม เออ สถานการณ์ยาก อะไรเป็นปัญหา มันมองว่าได้ฝึกมาก
ต่อไปนี้มันประเมินสิ่งต่างๆ ใหม่เลย ก็บอกว่า ยิ่งยากยิ่งได้มากใช่ไหม ถ้ามันง่ายมันได้น้อยหรือแทบ
ไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าอะไรยากได้ฝึกมาก จริงไม่จริง อันนี้มันเป็นความจริงตามธรรมชาติ ยิ่งยากยิ่งได้
มากเพราะว่าได้ฝึกตัวเองมาก บางคนมีจิตสำนึกอันนี้ขึ้นมาใน อัตตสัมปทา มันพัฒนาเยอะเลยทีนี้นะ
ท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนหมด 02:00 มันสู้ แล้วมันหาความสุขได้จากสิ่งที่ยากที่ลำบากที่เป็นปัญหา
ถูกไหม คนธรรมดาไม่ได้ฝึก เจออะไรมันท้อมันแท้มันทุกข์ มันไม่เต็มใจ มันแย่ตั้งแต่ต้นละ พอเจอ
ความยากหน่อย หนึ่งไม่ชอบใจละ ใจเสียละเสียสุขภาพจิตละ สอง มันจำใจทำ มันไม่ค่อยได้ผล
มันสักแต่ว่าทำแล้วมันเอาแต่ท้อใจ ทุกข์ด้วยท้อด้วย อ้ายท้อคือไม่ได้ผล อ้ายทุกข์ก็แย่ในใจ แต่ทีนี้
พอมันมีจิตสำนึก ใน อัตตสัมปทา ในการพัฒนาตนนี่ มันมีอ้ายที่ว่ายิ่งยากยิ่งได้มากนี่ ยากมันเกิด
ชอบใจขึ้นมาละ จิตดีมีความสุข สอง มันตั้งใจทำเพราะมันเห็นว่ามันจะได้ประโยชน์ใช่ไหม มันก็ทำ
ได้ผลดี มันได้ทั้งคู่เลย เรียกว่างานก็ได้ผลคนก็เป็นสุขว่างั้น 03:00 อ้ายนี้ อัตตสัมปทา เอาละ
เอาแค่นี้ก่อน เพราะว่าเดี๋ยวกินเวลาเยอะ ก็เรื่องใหญ่อีกนะ แต่ละข้อ ทีนี้ข้อต่อไป ทิฏฐิสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา นี่ข้อ 5 แล้วนะ ทิฏฐิสัมปทา ก็คือแนวคิด ความเชื่อ คนเรานี่มันเริ่มต้นยึดถือหลักการ
ความเชื่ออะไรอย่างไร ก็อย่างที่ว่า นี่เป็นต้นทางที่จะไปสัมมาทิฏฐิหรือไม่ ถ้ามันยึดถือความเชื่อความเห็น
ที่ผิด แนวคิดผิดละ ไปทางนั้นหมดเลย เช่นว่า เชื่อ เอาอย่างนี้ง่ายๆ ก็เป็นท่าทีต่อสิ่งต่างๆ เป็นทัศนคติ
ค่านิยม ความเชื่อ หลักการ อุดมการณ์ อะไรต่างๆ อยู่ในข้อนี้หมด แม้แต่ท่าทีต่อสิ่งต่างๆ สมมติว่า
เรามีทิฏฐิ ยึดถือในความเชื่อว่า 04:00 โอ้ คนเราเป็นไงแล้วแต่โชค ถึงเวลาดีก็ดีเอง ถึงเวลาร้ายก็ร้ายเอง
อย่างนี้เค้าเรียกว่า ลัทธิแล้วแต่โชค ทางพระท่านเรียกว่า อเหตุอปัจจยวาท อเหตุปัจจยวาท นี่ ลัทธิแล้ว
แต่โชค ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยใช่ไหม ก็รอโชค เหตุการณ์จะเป็นยังไงก็เป็นไปเอง เราก็ทำอะไรไม่ได้หรอก
ท่านเรียกว่าเป็นไปเพื่อการไม่กระทำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องต้นอันหนึ่ง พอคนถืออย่างนี้ปั๊ป มันไม่มี
ความเพียรในการพัฒนาตัวเอง คนไทยเป็นเยอะไหม ลัทธิแล้วแต่โชค ถึงคราวก็เป็นเอง อย่างนี้แสดงว่า
ไม่เชื่อเหตุปัจจัย ลัทธิอีกอันหนึ่งก็คือ ลัทธิพระผู้เป็นเจ้าบันดาล ก็แล้วแต่อำนาจเหนือธรรมชาติ
แล้วแต่เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ จะบันดาลเราจะไปทำอะไรได้ จะดีจะร้ายก็แล้วแต่ท่าน ท่านต้องการจะได้ผลก็
ไปอ้อนวอนท่านเอา ก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง มันไม่ขึ้นต่อเรา การกระทำของเราก็ไม่มีผล ก็ต้องรอคอย
เทพเจ้า แล้วก็ไปคอยเอาอกเอาใจก็ลัทธิเซ่นไหว้บูชายันต์มาใช่ไหม ลัทธิแบบนี้ก็จะต้องมีอะไรอื่นมา
ชดเชย เช่นอย่างคติบอกว่า พระเจ้าจะช่วยแต่คนที่ช่วยตัวเองอย่างนี้ใช่ไหม ก็ไปรอช่วยให้พระเจ้าช่วย
พระเจ้ายังไม่ช่วย แกต้องช่วยตัวเองก่อน อันนี้เค้าเรียกว่าตั้งข้อแม้ขึ้นมา แต่ความจริงก็คือ พระพุทธ
ศาสนาก็บอกแล้วแต่เหตุปัจจัย เพราะงั้นคุณต้องทำถ้าคุณต้องการผลใช่ไหม คุณต้องศึกษา ต้องรู้
เหตุปัจจัย แล้วทำถูกต้องตามเหตุปัจจัยด้วยความเพียรพยายาม นี่ลัทธิพระผู้เป็นเจ้าบันดาล
นอกนั้นอีกอย่างพระผู้เป็นเจ้าบันดาล ถ้าเชื่อก็ต้องเป็นแบบว่า พระผู้เป็นเจ้าต้องมาช่วยอีก 5,000 ปี
ตอนนี้แกช่วยตัวเองไปก่อน อย่างนี่พวกยิว พวกยิวเป็นอย่างนี้ โอย พระผู้เป็นเจ้าสัญญาไว้ แผ่นดิน
ยังสัญญา แต่ว่าอีกนานนะ ตอนนี้แกต้องช่วยตัวเองไปก่อน อย่างนี้ละก็ภัยอันตรายมาบีบคั้นเลยต้อง
ทำเต็มที่ ก็แข็งได้เหมือนกัน แต่ในพุทธศาสนานี่สอนตรงไปตรงมา บอกว่าคุณทำเหตุ จะไปรอให้ใคร
มาช่วยบันดาลให้ เรารออำนาจภายนอก ทีนี้ก็อย่างอินเดียนี่ก็ถือเทพเจ้าเหมือนกัน แต่มีข้อเสียทำไม
อินเดียนี่แย่ เพราะมันไม่ได้หลักที่ว่า พระเจ้าจะช่วยผู้ที่ช่วยตัวเอง หรือแกรอไปนะ เมื่อนั้นพระเจ้าจะมา
ตอนนี้แกต้องทำไปก่อนมันไปปลอบใจ เทพเจ้าองค์นั้นจะมาช่วย อะไรต่ออะไรอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ เพลิน
07:00 หว่านฝันลมๆแล้งๆ หวังกล่อมใจตัวเองมีความสุขไปเรื่อยๆ อย่างนี้มันก็ไม่เพียรพยายาม
ก็ตกอยู่ในความประมาท เอาเป็นว่าพุทธศาสนาก็สอนว่า ต้องทำเหตุปัจจัย ละก็อีกอันก็คือ ท่านเรียกว่า
ปุพเพตกเหตุวาท ลัทธิกรรมเก่า อันนี้ระวังนะอย่ามาปนกับพุทธศาสนา ต้องเน้น เพราะชาวพุทธนี้เขว้
เยอะเลย ไปนับถือลัทธิกรรมเก่า ปุพเพตกเหตุวาท หรือ ปุพเพตกเหตุวัต ลัทธิกรรมเก่าก็คือ
มองกระบวนการของเหตุปัจจัย เช่นการกระทำของมนุษย์ไม่เป็นไปตลอดสาย คือไปตัดด้วนอยู่แค่
กรรมเก่าเอาแต่อดีตใช่ไหม เอาแต่อดีต อะไรต่ออะไรก็เป็นเพราะกรรมเก่า ก็เลยปลงกรรมเก่า จบ
นั่งนอนเลยทีนี้ ก็เลยตกอยู่ในความประมาท นึกว่าตัวเองไม่ทำอะไร รอกรรมเก่า ที่จริงตัวเองทำ
อยู่ในขณะนี้ ทำอะไรทำความประมาท ความประมาทก็เป็นอกุศลกรรม หมายความขณะนี้ตัวเองกำลัง
ก่อกรรมใหม่ คือกรรมที่เป็นอกุศล ที่เรียกว่าความประมาท งั้นคนที่บอกว่า ปล่อยไปตามกรรมอะไร
อย่างนี้นะ ก็คือคนประมาท คนที่ทำกรรมที่เป็นอกุศลกรรมในปัจจุบันโดยไม่รู้ตัว เพราะอย่างนั้น
อันนี้ที่ตกหลุมกันมาก ก็คือ ความประมาท ที่พระพุทธเจ้าเน้นหนักหนาอย่าให้ตกอยู่ในความประมาท
ก็เคยพูดแล้วนี่ กรรมเป็นกระบวนการต่อเนื่อง อดีตปัจจุบันอนาคต เรารู้กรรมเก่าเพื่อเราจะพัฒนา
กรรม เราจะได้แก้ไขจุดอ่อนเหตุปัจจัยส่วนที่เสีย รู้ทันป้องกันแล้วปรับปรุงแก้ไข กรรมของเราจะได้ดีขึ้น
09:00 มันจึงจะเป็นกุศลยิ่งขึ้นไง ให้ละอกุศลกรรมแล้วก็พัฒนากุศลกรรม ไม่ใช่มัวหยุดอยู่กรรมเก่า
แล้วแต่มัน แล้วแต่มันได้ไง มันก็ออกผลแล้วใช่ไหม แล้วก็รับผล แล้วก็ทำกรรมใหม่ประมาท ก็เลยจบกัน
ก็พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า กรรม ก็ลัทธิสามอันนี้ระวังนะ เป็นลัทธิที่เป็นไปเพื่อการไม่กระทำ เป็นไปเพื่อ
อกิริยา หนึ่ง ปุพเพตกเหตุวาท ลัทธิกรรมเก่าเป็นลัทธิพวกนิครนถ์ เจ้าของเค้ามีแล้ว ไม่ใช่
พุทธศาสนา พุทธศาสนาไม่ได้เป็นเจ้าของลัทธินี้ ลัทธิกรรมเก่านี่เป็นลัทธินิครนถ์ เราก็รู้แล้วพระพุทธเจ้า
ตรัสว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้นต้องแยกกรรมของพุทธศาสนากับกรรมเก่าของนิครนถ์ให้ได้ ถ้าแยก
ไม่ได้ก็แสดงว่าไม่เข้าใจเรื่องของกรรม แม้แต่ขั้นระดับพื้นฐาน 10:00 นี้ก็ อิสสรนิมมานเหตุวาท หรือ
อิศวรนิรมิตวาท ลัทธิพระผู้เป็นเจ้าบันดาล แล้วก็ อเหตุอปัจจัยวาท ลัทธิแล้วแต่โชค ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
ก็ชาวพุทธก็ต้องมีทิฏฐิถูก เพราะเรามีทิฏฐิผิดปั๊ป แล้วแต่โชคแล้วแต่เทพเจ้าบันดาล อ้ายความคิดที่จะใช้
ปัญญาสืบสาวหาเหตุปัจจัยคิดแก้ไขหมด เพราะมันแล้วแต่เหตุปัจจัยภายนอก แต่ถ้าเรามองว่า
สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะมีทิฏฐิอย่างนี้จุดเริ่มมาเลย พอเจออะไรปั๊ป มันเป็นไปตามเหตุ
ปัจจัยก็ต้องวิเคราะห์ต้องสืบสาวเลยใช่ไหม ปัญญาเดินหน้าทันทีเลย พัฒนาคนทันทีเลยด้วยทิฏฐิ
เนี่ยะที่ตั้งไว้ถูกต้อง ตัวทิฏฐิจึงเป็นตัวสำคัญ ท่าทีต่อสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้อง เอาง่ายๆ ว่าตามแนวเหตุปัจจัย
11:00หรือที่ถูกต้องตามกฎธรรมชาติหรืออะไรก็แล้วแต่ แนวนี้ตั้งต้นให้ถูก ก็นี่เป็นข้อ 5 ละ ต่อไปข้อ 6
อัปปมาทสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็มาลงที่เลยพูดไปแล้ว ก็คือการที่ตระหนักรู้ถึง
ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายที่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป แม้แต่ชีวิตของเราก็ไม่ได้
คงอยู่ค้ำฟ้า ก็ไม่แน่นอนจะตายเมื่อไหร่ อะไรต่างๆ เหล่านี้นะ แล้วมันอยู่ก็ไม่ค่อยเกินร้อยปี เลยก็
พิจารณาเห็นถึงความไม่เที่ยงเหล่านี้แล้ว ก็เกิดจิตสำนึกถึงความสำคัญของกาลเวลา เพราะกาลเวลา
ผ่านไปชีวิตของเราก็เปลี่ยนแปลงไป แล้วจะเป็นยังไงก็ไม่แน่นอนตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น เราจะมา
นิ่งนอนอยู่ไม่ได้ เพราะเกิดความรู้สึกนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ ความไม่ประมาทเกิดละ เพราะฉะนั้นความเข้าใจ
12:00 หรือจิตสำนึกในความเปลี่ยนแปลงที่เป็นอนิจจังหนึ่ง สองจิตสำนึกเห็นความสำคัญของกาลเวลา
หนึ่ง ก็จะเป็นตัวหนุนให้เกิดความไม่ประมาท ก็จะต้องทำกาลเวลาที่ผ่านไป นี่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
อย่างที่เคยพูดไปแล้วนะ ถ้าเป็นพระอรหันต์นี่ต้อง ??? อโนโควา ปัจจาคา แม้แต่ขณะจิตหนึ่งนี่ ต้องไม่ให้
ผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์ หรือผ่านไปอย่างประมาท ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา เช่น อย่างน้อยได้ประโยชน์
ในจิตใจ รักษาจิต เช่น สามารถมีสติแล้วก็รักษาจิตให้ผ่องใสได้ขณะหนึ่งนี่ก็ถือว่าไม่ประมาทแล้วนะ
ใครก็แล้วแต่ละ เอาละ ให้แต่ละขณะผ่านไปอย่างไม่ไร้ค่า ทีนี้ถ้าไม่ได้ขณะ ก็ได้อย่างที่ว่า ??? อะโมคัง
สังฆะ ......... 13:00 เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อย ต้องให้ได้อะไรบ้างใช่ไหม
เอาวันหนึ่งก็ยังดี ก็อย่างนี้ก็ถือว่าไม่ประมาท ก็ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่ประมาทที่สำคัญ
ที่สุดคือ ไม่ประมาทในการพัฒนาตัวเองในการพัฒนากรรม ทำกรรมดียิ่งขึ้น พัฒนากรรมก็คือพัฒนา
ตัวเองนั่นแหละ พัฒนากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของเราให้มันดีขึ้นใช่ไหม คุณภาพของมันดีขึ้น
เป็นกุศลมากขึ้น เป็นบุญมากขึ้น ก็คือตัวเรา คุณภาพชีวิตของเราเจริญงอกงามขึ้นมา ในศีล สมาธิ
ปัญญา ก็เรื่องเดียวกันนั่นแหละ ก็ 5 ตัวที่หนุนก็ครบแล้วนะ ก็มีศีล มีฉันทะ มีอัตตสัมปทา มีทิฏฐิ
มีความไม่ประมาท อ้ายเจ้า 5 ตัวนี้จะมาเป็นตัวหนุนให้อ้าย 2 ตัวนั้น เกิดคุณค่าหนักแน่นยิ่งขึ้น
ก็เลยรวมเป็น 7 ประการแต่ตัวสำคัญ 2 อัน ตัว 1 กับตัว 7 1 กัลยาณมิตร เป็น ปรโตโฆษะ
ภายนอก ปัจจัยภายนอกที่ดี แล้วก็ตัวสุดท้าย 7 ก็คือ โยนิโสมนสิการ แล้วก็เน้นความสำคัญ
โยนิโสมนสิการ คือตัวโยนิโสมนสิการ นี่เป็นตัวแท้ที่จะให้สัมมาทิฏฐิ เดินหน้าอย่างแน่นอน เป็นตัวเชื่อม
เป็นตัวตรงเลย โยนิโสมนสิการกับสัมมาทิฏฐิ แล้วก็เดินหน้าไปในมรรคต่อ งั้นเราก็สำหรับมนุษย์ทั่วไป
ก็บอกว่า ได้เริ่มกันที่ ปรโตโฆษะ ที่ดีหรือกัลยาณมิตร งั้นเราก็ให้เด็ก ให้คนได้เกิดมาในสังคม
ตั้งแต่ครอบครัวที่เป็นกัลยาณมิตร เริ่มตั้งแต่พ่อแม่ทำหน้าที่กัลยาณมิตร พอมาในชุมชนสงฆ์
ก็คือ การที่ให้มีกัลยาณมิตรตั้งแต่อุปัชฌาย์อาจารย์ เป็นต้นไปใช่ไหม ก็ระบบกัลยาณมิตรนั่นเอง
15:00 ก็เอาละได้คุยกันอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ก็คิดว่าเอาไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
ในโลก ในเพศฆราวาสได้ด้วย แม้แต่ในครอบครัว เพราะการศึกษาที่แท้ต้องเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว
เวลานี้ก็มองข้าม การศึกษาพวกนี้ เรื่องการใช้อินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรื่องการเสพย์ปัจจัยใช่ไหม
การติดใช้บริโภค เรื่องเหล่านี้ก็คือการศึกษาทั้งสิ้นและเป็นตัวแท้ของการศึกษา เพราะการศึกษาที่แท้
มันต้องมีผลต่อชีวิตสิใช่ไหม และอ้ายตัวนี้เป็นตัวมีผลกับชีวิต ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเราในการ
รับรู้สัมพันธ์กับโลกภายนอก การกินอยู่ อันนั้นเป็นเรื่องของชีวิตเลยนะ ก็แค่นี้ อย่างการศึกษามัน
ยังมามีผลไม่ได้ละ แล้วไปเรียนรู้อะไรต่ออะไร มันเป็นเพียงเครื่องมือประกอบอาชีพเท่านั้นเอง เพราะชีวิต
มันไม่ได้เปลี่ยนแปลง การศึกษาอย่างนี้สิ มีผลต่อชีวิตทันที เพราะอยู่ในครอบครัว เด็กก็เริ่มเรียนรู้ รู้จักคิด
รู้จักพิจารณา ใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็น ได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ พัฒนาสติปัญญา รู้จักใช้
โยนิโสมนสิการ ในการกินอยู่ บริโภคปัจจัยสี่ ใช้เทคโนโลยี ใช้คอมพิวเตอร์ อะไรก็ตามก็มาหมด
แล้วก็อยู่ในสังคม พ่อแม่ก็อาจจะวางเหมือนกับ ปาฏิโมกข์ ในบ้านว่าระเบียบความเป็นอยู่กติกา
ในครอบครัวของเราเป็นอย่างไรใช่ไหม ด้วยความมุ่งหมายอย่างไร มาตกลงกันวางไว้ แล้วก็
เรื่องของอาชีพ เด็กก็ต้องมองว่า ตัวเองจะประพฤติอย่างไร จึงจะเป็นผู้สมควรแก่การเลี้ยงดู
ของพ่อแม่ใช่ไหม อันนี้ก็เป็นอาชีวะของเด็ก เหมือนกับพระ จะประพฤติตัวอย่างไร ได้ปัจจัยสี่มาเลี้ยง
ชีวิตยังไง เด็กก็ต้องดูว่า แม้เป็นลูกก็มีอาชีวะ ก็คือว่าเป็นอยู่อย่างไรจึงสมควรแก่ปัจจัยสี่ที่พ่อแม่จะให้
อาชีวะจึงจะบริสุทธิ์ ไม่งั้นแล้วก็ กินอยู่โดยเอาเปรียบพ่อแม่เป็นต้นใช่ไหม ก็ไม่ถูกต้อง ก็ถ้าหากว่า
มีความเป็นอยู่ที่ถูกต้อง มีสิทธิโดยชอบธรรมต่อการที่พ่อแม่จะเลี้ยง เด็กก็มีศีลทั้งสี่หมวดแหละ
ก็มี ปาฏิโมกขสังวรศีล กติกาของชุมชน ในครอบครัวในโรงเรียนเป็นต้น อินทรียสังวรศีล การใช้ ตา
หู คอ จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็จบละ แล้วก็ อาชีวปาริสุทธิศีล การเลี้ยงชีพให้บริสุทธิ์ แล้วก็
ปัจจัย ปฏิเสวนา การเสพย์บริโภคใช้สอยปัจจัยสี่ สิ่งที่เป็นเครื่องมือเลี้ยงชีวิตทั้งหลาย