แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : เจริญพรญาติโยมพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน พระสงฆ์วัดญาณเวศกวัน ในนามของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ขออนุโมทนาโยมผู้มีศรัธทาทุกท่าน ได้มาร่วมทำบุญในวันนี้ เริ่มตั้งแต่คณะเจ้าภาพมีพลอากาศตรีสมนึก ชวนสนิท และลูกหลาน เป็นต้นไป ซึ่งเป็นเจ้าภาพผู้ทอดกฐิน และในวันนี้ซึ่งเป็นระยะเทศกาลกฐิน ญาติโยมผู้มีศรัทธาก็จะนิยมทอดผ้าป่าด้วย ในการทอดกฐินวันนี้ก็เช่นเดียวกัน คุณเชษฐ์ รัตะกนิษฐ ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกรุงศรีอยุทธยา ก็ได้นำคณะญาติมิตรมาร่วมทำบุญทอดผ้าป่า ก็เป็นการทำบุญร่วมกันเรียกว่ากาลทาน ข้อสำคัญก็คือเป็นสังฆทาน สังฆทานก็คือทานเพื่อส่วนรวม สำหรับการทอดกฐินวันนี้นั้นที่พลอากาศตรีสมนึก ชวนสนิท และลูกหลานได้มาทอดกฐินนั้น ผู้จองที่แท้คือภรรยาของท่าน คือคุณวัฒนา ชวนสนิท แต่ว่าคุณวัฒนาได้มีเหตุให้ท่านถึงแก่กรรมไปก่อน แต่วันนี้ก็ถือว่าครอบครัวได้มาทำบุญทอดกฐินในนามของท่านด้วย อุทิศกุศลแด่ท่านด้วย ก็ขอให้ญาติโยมทั้งหลายได้อนุโมทนาอุทิศกุศลแด่คุณวัฒนา ชวนสนิทด้วย เป็นปกติของกรทอดกฐินนี้ ชาวพุทธเมื่อได้ทราบก็จะร่วมศรัทธากันโดยทั่วไป เพราะฉะนั้นก็มีญาติโยมที่ทำบุญมาในระยะนี้เพื่ออนุโมทนากฐินเป็นจำนวนมาก ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องของการแสดงน้ำใจ ประกอบด้วยคุณธรรม มีศรัทธาเป็นเบื้องต้น ก็ได้มาแสดงออกให้ปรากฏว่ามีความพร้อมเพรียงกัน มีกำลังที่จะอุปถัมภ์บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ด้วยกฐินนี้ ญาติโยมชาวพุทธก็ได้ปฏิบัติกันมาตามประเพณี แล้วก็เป็นประเพณีส่วนที่นิยมกันอย่างยิ่ง นิยมทำกันไปกันจนกระทั่งในที่สุดชกักไม่รู้แล้วว่าตัวกฐินอยู่ที่ไหน พอถึงเวลาก็ไปทอดดฐิน ถึงเวลาก็ไปทอดดฐิน ถ้าถามโยมขึ้นมาว่าแล้วตัวกฐินที่แท้อยู่ตรงไหนนี่ ญาติโยมหลายท่านตอบไม่ถูก เพราะฉะนั้นวันนี้ก็ขอโอกาสได้ทบทวน แม้จะเป็นเรื่องที่ทำกันมาทุกปี แต่ก็เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริงก็ต้องถือเป็นธรรมเนียมเหมือนกันที่จะต้องทบทวนความรู้ มิฉะนั้นแล้วทำๆ ไปก็จะลืมสาระ เรื่องกฐินนั้นก็เป็นเรื่องของพุทธบัญญัติ เรียกว่าเป็นพุทธานุญาต พุทธบัญญัติส่วนนี้เป็นพุทธานุญาติตามพระวินัยของพระสงฆ์ ได้ตรัสไว้ว่าพระภิกษุที่จำพรรษาแล้วในวัดเดียวกันจำนวน 5 รูปขึ้นไป เมื่อสิ้นพรรษาแล้ว หมายความว่าครบไตรมาส ได้อยู่ร่วมกันมาแล้วถึง ตั้
แต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นี่คือครบไตรมาส พอครบไตรมาสแล้วก็มีอานิสงส์ ถ้าพูดภาษาปัจจุบันก็คือมีสิทธิพิเศษที่จะกรานกฐิน แล้วกรานกฐินจะว่าไปในแง่หนึ่งเป็นสิทธิพิเศษ เป็นอานิสงส์ที่พระที่จำพรรษาแล้วที่จะได้ ส่วนพระที่ไม่ได้จำพรรษาก็ไม่มีสิทธิ์ แต่มองในแง่หนึ่งเขาเรียกว่าพุทธานุญาต แล้วก็เมื่อเป็นพุทธานุญาตนี่พระสงฆ์ถือเป็นสำคัญ พุทธานุญาตเรามองคล้ายๆ ว่าทรงอนุญาตไว้ จะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น พุทธานุญาตนี่พระสงฆ์ถือเป็นสำคัญต่องปฏิบัติ ก็เลยเป็นเท่ากับพุทธบัญญัตินั่นเอง เมื่อจำพรรษาแล้วก็ต้องเตรียมกรานกฐิน ของพระนี่กรานกฐิน โยมต้องแยก ทอดกฐินเป็นเรื่องของโยม ของพระนั้นเป็นกรานกฐิน คำว่า กราน นี้เป็นภาษาโบราณ ก็ว่ากันว่ามีความหมายคือขึงผ้าเพื่อตัดเย็บ ในที่นี้ก็คือจะทำเป็นจีวร มีพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาแล้ว กรานกฐิน ก็หมายความว่าพระที่อยู่ร่วมกันนั้นจะต้องหาผ้ามาผืนหนึ่ง ในบรรดาผ้า 3 ผืนของพระที่เรียกว่าไตรจีวร ไตรจีวร ผ้า 3 ผืนของพระมีอะไรบ้าง ก็มีหนึ่ง-ผ้าสังฆาฏิ ที่พระใช้พาดบ่าปัจจุบัน ความจริงแท้ก็คือเป็นผ้าทับซ้อนสำหรับห่มซ้อนกันหนาว เพราะในฤดูหนาวนั้น ผ้าเดิมที่มีเพียงผ้านุ่งผ้าห่ม ไม่พอ ทรงอนุญาตสังฆาฏิให้เป็นผ้าซ้อนห่มกันหนาวขึ้นมาอีกเป็นชนิดหนึ่งเรียกว่าสังฆาฏิ ทีนี้ต่อจากนั้นก็ผ้าอุตราสงฆ์ ก็คือผ้าห่ม ผ้าที่ญาติโยมเห็นมากที่สุด พระไปไหนก็ต้องห่มผ้าผืนนี้ มองเห็นภายนอกปรากฏอยู่ เรียกว่าอุตราสงฆ์ แต่ชาวบ้านเรียกยาก เรียกอุตราสงฆ์ ก็เรียกผ้าอุตราสงฆ์นี้ว่าผ้าจีวร ก็เลยสับสน ความจริงคำว่าจีวรเนี่ย สังฆาฏิก็เป็นจีวรผืนหนึ่ง อุตราสงฆ์ก็เป็นจีวรผืนหนึ่ง แต่จีวรที่โยมเห็นบ่อยที่สุดก็คืออุตราสงฆ์ โยมก็เลยเรียกอุตราสงฆ์ผืนนี้ว่าจีวร พอพูดว่าจีวรก็หมายถึงอุตราสงฆ์ ก็เป็นความรู้ที่ถ้าโยมสนใจก็จำไว้ เพราะว่าบางทีเรื่องอย่างนี้ เราก็พูดกันไปกันไปจนกระทั่งไม่รู้ความหมาย วันนี้ก็เลยถือโอกาสมาทำความเข้าใจ เป็นอันว่าผืนที่สองเรียกว่าอุตราสงฆ์ ชาวบ้านก็เรียกจีวร ต่อไปผืนที่สาม ความจริงก็เป็นจีวรนั่นแหละ แต่เป็นจีวรที่มีชื่อพิเศษเรียกว่า อันตรวาสก นี่คือผ้านุ่ง ภาษาไทยเรียกว่าสบง โยมคราวนี้ก็คงจะจำได้แล้ว 3 ผืนนี้ก็จีวรทั้งนั้น เป็นอันว่าเป็น 3 ก็เรียกว่าไตร เป็นไตรจีวร พระสงฆ์ที่จำพรรษาร่วมกันเนี่ย จะต้องทำผ้าจีวรผืนใดผืนหนึ่งขึ้นมาใน 3 ผืนนี้ จะเป็นสังฆาฏิก็ได้ เป็นอุตราสงฆ์ เป็นอันตรวาสก คือสบง ก็ได้ แล้วก็มาตกลงในที่ประชุมว่าจะมอบให้กับองค์ใดองค์หนึ่ง เพราะว่าทำขึ้นผืนเดียว พระอยู่หลายองค์ ตั้งแต่ 5 องค์ขึ้นไป จะต้องตกลงกันมอบให้แก่องค์เดียว ทีนี้ก่อนที่จะเป็นจีวรมาได้นี่ทำยังไงล่ะ บอกว่าทำจีวร แล้วมาตกลงมอบให้ ก็ยังไม่มีอะไรจะทำ ทำไง ก็ต้องไปหาผ้ามาก่อน พระสงฆ์ก็ต้องไปเที่ยวหาผ้ามา จะไปขอใครไม่ได้เป็นอันขาด แม้แต่ไปเรียบเคียงก็ไม่ได้ ถ้าพระองค์ไหนไปเที่ยวพูดเทียบเคียง โยมถวายมาถือว่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลเลย แสดงว่ากฐินนั้นเดาะ เสียไปเลย ภาษาเก่าท่านเรียกว่ากฐินเดาะ กฐินนั้นเสีย ไม่มีผล พระนี่จะหาผ้ามาผืนหนึ่งเอามาทำ หรือผ้าเศษต่างๆ ไปเก็บมา จะไปขอเรียบเคียงใครให้ถวายไม่ได้ทั้งนั้น ผิดวินัย ทำไง พระก็ต้องไปเที่ยวเก็บเอาผ้าที่เขาทิ้งตามป่าช้าสมัยก่อน ตามกองขยะ เก็บรวบรวมกันมาแล้วก็มาต้ม แล้งก็ตัด แล้วก็ช่วยกัน เวลาจะทำจีวรนี่ทุกองค์ ไม่ว่าองค์ไหน พระผู้ใหญาผู้น้อยในวัด ต้องร่วมกันทำหมด มาทำ เพื่อมอบให้กับพระองค์เดียวนั่นล่ะ นี่คือการแสดงความสามัคคี แล้วก็เข้าที่ประชุมมอบให้แก่องค์นี้ องค์นี้ก็ไปทำต่อ ตอนแรกเอาผ้ามามอบให้ พอมอบให้แล้วพระองค์นี้ไปทำเนี่ย ตอนนี้ไม่ต้องร่วมกันทำทั้งหมด พอทำเสร็จแล้ว องค์ที่ได้รับนี่มาเข้าที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง บอกให้รู้ว่าทำเสร็จแล้ว นี่เรียกว่ากรานกฐิน คือเป็นการแสดงถึงการทำผ้าจีวรนั้นสำเร็จเป็นของที่จะใช้ได้แล้ว ก็เขาเรียกว่าอธิษฐานเป็นจีวรครอง แจ้งแก่สงฆ์คือที่ประชุมว่าทำเสร็จแล้วนะ ที่ประชุมก็อนุโมทนา อนุโมทนาก็เห็นชอบด้วย พอเห็นชอบด้วยพระภิกษุทั้งหมดก็ได้อานิสงส์ สิทธิพิเศษที่ว่า ระยะที่พระจะทำผ้าจีวรเนี่ย ระยะที่เสิ้นภาษาเนี่ย ตามปกติพระนี่ใช้จีวรมาเก่า แล้วระยะ 1 เดือนท้ายฤดูฝนนี่ก็ถือว่าเตรียมการจะออกจาริกต่อ สมัยพุทธกาลพระก็ไม่ค่อยจะออกจำวัด ก็มาอยู่ประจำตอนจำพรรษา เข้าพรรษา ออกพรรษาแล้วก็เดินทางจาริก พระพุทธเจ้าก็เลยให้เวลา 1 เดือน ระยะเวลาหลังพรรษา ก็ 1 เดือนที่ทอดกฐินนี่เป็นเวลาสำหรับพระหาจีวรเพื่อเตรียมออกจาริกต่อไป เวลาเดินทางจะได้ไม่ต้องกังวล มีผ้าใช้แล้ว ทีนี้ในเมื่อเวลา 1 เดือนนี้บางทีก็ทำผ้าที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ที่ว่าผ้ากฐินนี้ได้ไวบ้างช้าบ้าง ก็มัวสาระวนช่วยกันทำผ้าผืนนี้ เวลาจะเสียไป ทีนี้เมื่อทำการกรานกฐิน มอบผ้าที่ทำด้วยกันนี้มอบให้กับพระองค์หนึ่งเสร็จไปแล้ว ตัวเองก็ต้องหันมาหาจีวรให้กับตัวเองละทีนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้อานิสงส์ว่าพระที่มาร่วมกันทำผ้ากฐินมอบให้แก่พระองค์เดียวนี้เสร็จแล้ว ก็ได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเวลาทำจีวรออกไปอีก 4 เดือน อันนี้ก็เป็นสิทธิพิเศษ นอกจากนี้ยังมีกฐินอนิสงส์อื่นๆ อีก 5 ข้อ วันนี้ก็จะไม่พูดถึง นี่เป็นเรื่องของพระสงฆ์ แล้วมาเกี่ยวกับโยมยังไง เรื่องกรานกฐินก็เป็นเรื่องของพระสงฆ์ โยมก็เป็นทอดกฐิน เมื่อกี้นี้บอกว่าพระต้องไปหาผ้ามาทำจีวรขึ้นมาผืนหนึ่งแล้วไปมอบให้พระองค์หนึ่งในหมู่พวกตนที่มีความประพฤติดี เมื่อมีประพฤติดีด้วยกัน ก็มอบให้กับองค์จีวรเก่าที่สุด สำหรับในเมืองไทยเรานี้ พุทธศาสนิกชนมีศรัทธามาก พระไม่ค่อยมีจีวรเก่า ก็เลยมักจะไปตกกับเจ้าอาวาส อย่างวันนี้ก็อยู่ๆ ขึ้นมาแทบจะเป็นธรรมเนียม องค์หนึ่งก็เสนอขึ้นมา ที่เมื่อกี้พระสององค์ พระครูปลัดก็ตั้งเป็นข้อเสนอต่อที่ประชุมว่ามีโยมนำผ้ากฐินมาทอดแล้ว เป็นของกลาง เพราะฉะนั้นเจ้าภาพก็จะมาวางผ้ากฐินโดยที่ไม่มีพระองค์ใดรับกฐิน เพราะว่าเป็นของกลางไม่เป็นของใคร แล้วองค์หนึ่งก็จะกล่าวเสนอว่าโยมนำผ้ากฐินมาทอดแล้วเนี่ย แล้วเห็นสมควรว่าจะให้กับใคร แล้วหลวงลุง???ก็ขึ้นมาขอความเห็นว่าจะมอบให้แก่เจ้าอาวาส แล้วที่ประชุมก็สาธุการเห็นชอบด้วย ถ้าหากว่าในที่นี้มีพระองค์หนึ่งเกิดจีวรเก่า แล้วความประพฤติก็ดี ก็อาจจะมอบให้องค์นั้น แต่อย่างที่บอกเมื่อกี้ เดี๋ยวนี้จีวรพระโดยมากจะใหม่กันแทบทั้งนั้น เพราะว่าโยมถวายจนเหลือเฟือ ใช้ไม่ไหว ก็เลยมาถวายเข้าอาวาสเป็นธรรมเนียมไป แต่โยมอย่าไปนึกว่าเป็นอย่างนี้ทั่วประเทศนะ ต่างจังหวัดไกลๆ บางทีไม่มีจีวรใช้เหมือนกัน ใช้ผ้าเก่าๆ ผ้าที่หยาบๆ เส้นด้ายตาห่างๆ ไม่ค่อยมีใช้ ฉะนั้นก็ที่มีใช้มากก็คือวัดในเมือง ในอำเภอ ในตลาดนี่แหละ นี่ก็ไม่เสมอทั่วถึง วันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่าที่ประชุมได้มอบให้ ทีนี้ก็พระสงฆ์รับไปแล้ว พระก็ได้อานิสงส์อย่างที่ว่า นี่เป็นเรื่องของพระเรียกว่ากรานกฐิน
ทีนี้มาถึงโยมที่ว่าทอดกฐินเนี่ย ที่ว่าพระจะต้องหาผ้ามาทำผ้าจีวร ตอนนี้ก็มีพุทธานุญาตไว้ว่า ถ้าโยมนำผ้าสำเร็จแล้วมาถวายก็ใช้ได้ ตรงนี้แหละที่เป็นช่องให้โยมเข้ามาร่วม พอโยมเห็นว่าพระรับผ้าที่ทำสำเร็จแล้วมามอบให้กันก็ได้ โยมก็เลยทำบุญเลย นำผ้าสำเร็จรูปแล้วมาถวาย พระก็จะตัดขั้นตอนในการทำผ้าจีวรนี้ ก็เหลือแต่มามอบให้แก่กันในที่ประชุม แล้วก็แสดงความสามัคคีที่พร้อมใจกันจะมอบให้องค์ใดองค์หนึ่ง ก็เกิดเป็นความร่วมใจร่วมสามัคคีกันระหว่างพุทธบริษัททั้งหมด การที่โยมนำเอาผ้าสำเร็จรูปหรือผ้าที่จะทำกฐินนี้มาถวายแด่พระสงฆ์นี่เรียกว่ากาทอดกฐิน ฉะนั้นตัวกฐินที่แท้ก็คือผ้าผืนใดผืนหนึ่ง โยมต้องทราบว่านี่คือผ้าผืนใดผืนหนึ่งนี้คือตัวรูปธรรม จะเป็นสังฆาฏิก็ได้ เป็นอุตราสงฆ์ก็ได้ เป็นอันตรวาสกคือสบงก็ได้ นิยมกันมาว่าใช้ สังฆาฏิ แต่ว่าโยมนี่ถวายทั้งไตร เพราะฉะนั้นพระนั้นจะต้องใช้จริงๆ ใช้ผืนเดียว เวลากรานกฐินที่มอบเนี่ย ผืนเดียว แล้วก็นิยมมอบสังฆาฏิ อันนี้เป็นความรู้ที่เอามาพูดให้โยมฟัง โยมจะได้เข้าใจเรื่องกฐิน โยมจะได้เข้าใจ ทีนี้ตัวกฐินก็เป็นผ้าที่ว่าพระมามอบให้กัน ทีนี้มีของอื่นเยอะ มีกระทั่งปัจจัย บางทีเดี๋ยวนี้ไปมุ่งที่ปัจจัย หรือว่าเน้นที่ปัจจัยกันมาก แต่ความจริงปัจจัยอะไรต่างๆ เหล่านี้ เงินทองไม่ใช่ตัวกฐินหรอก ข้าวของทุกอย่างที่ประเคนถวายนั้นเรียกว่าบริวารกฐินนั่นเอง ต้องจำไว้ด้วย องค์กฐินคือผ้าผืนเดียว นอกนั้นเป็นบริวารกฐิน ทีนี้โยมบางทีก็ไปมองบริวารกฐินเป็นตัวกฐินไป เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ต้องจำให้แม่น องค์กฐินก็คือผ้าผืนเดียวนะ ทีนี้ในแง่รูปธรรม ตัวกฐินอยู่ที่ผ้าผืนเดียว ต่อไปก็เป็นตัวกฐินในแง่นามธรรมบ้าง ผ้ากฐินผืนเดียวนั้นเป็นเครื่องแสดงสาระอะไรในทางนามธรรม สาระนั้นก็คือความสามัคคี ความสามัคคีของพระสงฆ์ที่ว่าอยู่ร่วมกันมา 3 เดือนเนี่ยยังมีความพร้อมเพรียงกัน มาร่วมกัน ถ้ายังไม่มีผ้าก็ไปหามา แล้วมาทำผ้าจีวร ไม่มีการรังเกียจกัน ไม่มีการแบ่งแยกพวกกัน ทำกันจนสำเร็จ แล้วเสร็จแล้วยังพร้อมใจกัน มีใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มอบให้แก่องค์ใดองค์หนึ่ง นี่คือการแสดงความสามัคคี นี่คือสาระของกฐินในทางนามธรรม ตกลงว่าตัวกฐินในทางรูปธรรมก็คือผ้า 1 ผืน สาระในทางนามธรรมก็คือความสามัคคี แล้วความสามัคคีในหมู่สงฆ์ก็ขยายไปถึงโยม หมายความว่าพอพระร่วมใจกันอย่างนี้แล้ว โยมก็เข้ามาหนุนว่าพระลำบากเลย พระต้องไปเที่ยวหาผ้ามาลำบากลำบน มาต้ม มาตัด มาเย็บ มาย้อม เราก็ช่วยท่านซะ เรามีศรัทธาทำให้สำเร็จ แต่พระจะไปเรียบเคียงไปขอไม่ได้เป็นอันขาด โยมต้องมีศรัทธามาร่วมเอง ก็แสดงว่าเป็นไปด้วยจิตใจแท้ๆ แล้วโยมก็มีใจมาร่วมกันไปกับพระสงฆ์ เห็นว่าพระสงฆ์ที่อยู่วัดนี้ยังมีความประพฤติดี ๆไม่น่ารังเกียจ โยมก็มีศรัทธา ก็เอามาถวาย ก็เลยตัดขั้นตอนของการหาและการทำจีวร ตอนนี้ก็ได้สามัคคีของโยมเข้ามาด้วย โยมก็เข้ามาร่วมในการสนับสนุนพระสงฆ์ เป็นพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์ ตอนนี้พุทธบริษัททั้งฝ่ายพระสงฆ์และคฤหัสถ์ก็ได้ร่วมสามัคคีกัน ต่อมาเราก็มีประเพณีว่า เพราะกฐินนี่มันเป็นเรื่องความสามัคคี แสดงน้ำใจ พุทธศาสนิกชนก็เลยแสดงน้ำใจต่างถิ่นกัน ตำบลนี้ หมู้บ้านนี้ จังหวัดนี้ อำเภอนี้ ก็นำผ้ากฐินไปทอดให้หมู่บ้านโน้นตำบลโน้นอำเภอโน้นจังหวัดโน้น โดยเฉพาะกรุงเทพฯนี่เป็นแหล่งที่มีเศรษฐกิจดีก็นำไปทอดในต่างจังหวัด เป็นการแสดงความสามัคคีของคนในชาติอีด ในมุมของพุทธศาสนิกชนในสังคมทั้งหมด ก็เลยได้ความสามัคคีกว้างขวางออกไป เพราะฉะนั้นฤดูกฐินเป็นฤดูที่แสดงความสามัคคี เป็นฤดูที่มีน้ำใจช่วยเหลือกันระหว่างคนในสังคมในชาติในหมู่พุทธศาสนิกชนทั้งหมดเลย เราก็เดินทางกันใหญ่ในระยะกฐินนี้ไปช่วยในต่างจังหวัด ฉะนั้นโยมจะทำอะไรก็ตามเนี่ย บางทีไปจัดกฐินเที่ยวบ้าง จัดกฐินอะไรต่ออะไรได้บุญแต่ว่าอย่าให้สาระเนี่ย สาระสำคัญก็คือการที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลแสดงน้ำใจสามัคคีต่อกัน ระหว่างคนในสังคมนี้ทั้งหมด ซึ่งเริ่มตั้งแต่พระสงฆ์สามัคคีกัน แล้วญาติโยมก็ร่วมสามัคคีกับพระสงฆ์ แล้วญาติโยมพระสงฆ์ในจังหวัดถิ่นหนึ่งก็ไปสามัคคีร่วมสนับสนุนให้กับอีกถิ่นหนึ่งเนี่ย ถ้าอย่างนี้ก็ได้สาระของกฐิน ความสามัคคีนี้เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศานนา พระพุทธเจ้าทรงย้ำไว้นักว่าความสามัคคีของหมู่ ทำให้เกิดสุข ที่เราได้ยินได้ฟังหลายท่านจะจำพุทธภาษิตได้ว่า สุขา สังฆัสสะ สามัคคี แปลว่าความสามัคคีของหมู่ให้เกิดสุข ทีนี้การที่หมู่ชนอย่างพระสงฆ์จะมีความสามัคคีได้ก็ต้องมีหลักความประพฤติ หลักความประพฤติเบื้องต้นก็คือวินัย การจัดสรรระเบียบความเป็นอยู่ ระบบสังคม ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน วินัยนี่เป็นฐานเบื้องต้นในการทำให้เกิดความสามัคคี คนในสังคมประเทศชาติก็เช่นเดียวกันต้องมีวินัย เมื่อมีความประพฤติ ไปกันได้ อยู่ในระเบียบวินัยแล้ว ความสามัคคีก็เกิดขึ้น ต่อจากนั้นก็มีเรื่องธรรมะ คือคุณความดีในจิตใจ ความรักความเมตตาต่อกัน แต่เบื้องต้นก็คือเพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงตั้งสังฆะคือหมู่สงฆ์ พระสงฆ์อยู่ร่วมกันแล้ว พระองค์ต้องการให้เกิดความสามัคคี เพราะถ้าไม่มีความสามัคคี สงฆ์ที่อยู่ร่วมกันก็แตกกระจัดกระจายอยู่ร่วมกันไม่ได้ หนึ่ง-ก็จัดวางวินัยขึ้น สอง-จัดวางระบบต่างๆ ที่จะช่วยให้พระมีความสามัคคี แล้วก็สอนหลักธรรมะต่างๆ มากมาย พระพุทธเจ้าทรงถือสามัคคีเป้นสำคัญ สิ่งที่ตรงข้ามกับสามัคคีก็คือสังฆเภท สังฆเภทก็หมายความว่าการทำลายสงฆ์ หรือทำสงฆ์ให้แตกกัน ศัพท์นี้คู่กัน สังฆเภท กับ สังฆสามัคคี สังฆสามัคคีก็ความพร้อมเพรียงของหมู่ สังฆเภทก็คือการทำลายหมู่สงฆ์ การทำลายหมู่สงฆ์นั้นเรารู้กันว่าเป็นบาปกรรมอย่างใหญ่ หนัก เรียกว่าเป็น อนันตริยกรรม เลย เป็นกรรมที่ได้รับผลบาปไม่มีที่จบสิ้น ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีระหว่าง ต่อเนื่องไปเลย ฉะนั้นชาวพุทธต้องเห็นความสำคัญของสามัคคี ความสามัคคีพร้อมเพรียงของหมู่ชนที่อยู่ร่วมกันเนี่ย ทำให้เกิดกำลัง จะทำอะไรก็ทำได้สำเร็จ นอกจากทำให้เกิดกำลังแล้ว ก็ทำให้แต่ละคนที่อยู่ในหมู่นั้นได้บรรยากาศที่สบายใจ มีความชื่นอกชื่นใจ ถ้าอยู่กันแล้วมีความขัดแย้งทะเลาะวิวาทกัน แต่ละคนก็อยู่ไม่เป็นสุข ใจไม่สบาย ขุ่นมัว เศร้าหมอง ยิ่งหมู่สงฆ์นี่ เรื่องการพัฒนาทางด้านจิตใจ
จิตภาวนา แล้วก็ปัญญาภาวนา จิตใจจะสบายไม่ขุ่นมัวเศร้าหมองก็ต้องอยู่กันไม่แค้นเคืองขัดใจ เพราะฉะนั้น ความสามัคคีนี้สำคัญ ความสามัคคคีก็สร้างบรรยากาศทำให้แต่ละคนอยู่เป็นสุข แล้วก็ถามว่าขวนขวายทำกิจของตนด้วยความชื่นใจ แล้วเวลาทำคนอื่นยังมาช่วยอีก คนนี้ทำอะไร กำลังไม่พอ คนอื่นก็มาช่วย ก็ได้ทุกอย่าง หนึ่ง-กิจการของหมาคณะส่วนรวมก็ดี หมู่ชนอยู่กันด้วยความสามัคคีก็งดงาม คนภายนอกเห็นก็เลื่อมใส นอกจากน่าเลื่อมใส แล้วยังเกรงด้วยนะ ถ้าหมู่ชนนั้นมีความสามัคคี คนข้างนอกมานี่กลัวเลย แต่ว่าให้ดีก็คือว่าเห็นความงดงาม ทำให้เกิดความชื่นชม แม้แต่เพียงว่าสวดมนต์พร้อมกันนี่ ใครมาได้ยินก็ชื่นใจ ในจิตใจมีความปลาบปลื้ม น้อมนำศรัทธาปสาทะได้ ฉะนั้นส่วนรวมก็ดี แล้วก็ส่วนบุคคบแต่ละคนก็อยู่ด้วยความเป็นสุข แล้วทำให้เกิดบรรยากาศที่พร้อมจะทำกิจการของส่วนตัว ก้าวหน้าไปในการที่จะเจริญสมาธิเป็นต้น มีใครมีอะไรธุระปะปังทุกคนก็มาช่วยเหลือกัน ก็ดีหมด สังคมประเทศชาติก็เช่นเดียวกัน ต้องการความสามัคคี พระพุทธเจ้าก็เป็นอันว่าตรัสสรรเสริญสังฆสามัคคี เวลาเรามีกรานกฐินนี้โยมจะต้องนึกไปถึงคำว่าสังฆสามัคคี สังฆสามัคคี สามัคคีของสงฆ์ก็โยงไปถึงสามัคคีของหมู่ชน คนในครอบครัว ในหมู่บ้านในสังคม ในประเทศชาติ แล้วก็ในโลกด้วย จะให้สังฆสามัคคีแพร่ไปทั่วโลกตอนนี้ชักลำบาก ตอนนี้โลกชักจะไม่ค่อยมีความสามัคคีแล้ว แต่ว่าก็เป็นหน้าที่ของทุกคน เราจะต้องหาทางให้สามัคคีนี้เกิด ถ้าโลกไม่สามัคคีนี้อยู่กันไม่เป็นสุข อย่างเวลานี้แตกสามัคคีก็วุ่นแค่ไหน ทุกท่านก็มองเห็นอยู่ ในเรื่องสามัคคีนี้เรื่องใหญ่ พูดกันไปไม่รู้จักจบ นอกจากสามัคคีในหมู่คนที่เรียกว่าสังฆสามัคคี ถ้าเล็กลงมาเขาเรียกว่าคณะสามัคคีแล้ว ก็ยังมีสามัคคีของธรรมะอีก สังฆสามัคคีนี้สามัคคีของสงฆ์ คือหมู่คน เช่นพระสงฆ์ ต่อไปมีธรรมสามัคคี ความสามัคคีพร้อมพรั่งพร้อมเพรียงของธรรมะ อย่างท่านที่ปฏิบัติธรรมเนี่ย จะปฏิบัติสำเร็จต้องมีธรรมสามัคคี ธรรมสามัคคีอย่างไร ก็คือความพร้อมเพรียงของธรรมะที่เป็นองค์ประกอบ ซึ่งเราปฏิบัติแล้วจะได้บรรลุผลที่เป็นจุดหมาย อย่างชาวพุทธจะบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ต้องมีธรรมสามัคคี ธรรมสามัคคีนี้ก็คือ เช่น องค์มรรค ไง โยมปฏิบัติตามมรรค องค์มรรคมี 8 ข้อ มีตั้งแต่สัมมาทิฐิ ไปถึงสัมมาสมาธิ จะบรรลุมรรคผลได้ต่อเมื่อองค์มรรคทั้ง 8 นี้สามัคคีพร้อมพรั่งกัน พอสามัคคีบรรจบพร้อมเมื่อไหร่ก็นั่นคือบรรลุมรรคผลเลย ถ้ายังไม่สามัคคีก็ยังไม่บรรลุ เรียกว่าธรรมสามัคคี ฉะนั้นในการปฏิบัติอะไรก็ตาม องค์ธรรมต้องพร้อม หรืออย่างอีกหมวดหนึ่งเช่น โพชฌงค์ มี 7 ประการ โพชฌงค์องค์ 7 พร้อมเมื่อไหร่ก็ตรัสรู้เมื่อนั้น นี่เรียกว่าธรรมสามัคคี ทีนี้ยังมีอีก ปัจจัยสามัคคี ความพร้อมของเหตุปัจจัย โยมจะทำอะไรนี่ปัจจัยต้องพร้อม ถ้าปัจจัยไม่พร้อม ถึงมีเหตุก็ไม่เกิดผล โยมอย่าไปถึงว่ามีเหตุแต่เหตุแล้วก็จะเกิดผลนะ ปัจจัยต้องพร้อมด้วย ท่านเรียกว่าปัจจัยสามัคคี เช่นเราจะปลูกต้นไม้สักต้นหนึ่ง เอาต้นง่ายๆ ยกตัวอย่างบ่อยๆ เช่นปลูกต้นมะม่วง โยมบอกว่าฉันมีเหตุแล้ว เม็ดมะม่วงไปปลูก ถ้าปัจจัยมันไม่พร้อม มันไม่เกิดเป็นมะม่วงหรอกฉะนั้นเราต้องมีปัจจัยพร้อมด้วย ต้องมีอะไร นอกจากเม็ดมะม่วงที่มันดี มันไม่เสียแล้ว จะต้องมีดิน มีน้ำ มีปุ๋ย มีอุณหภูมิพอเหมาะ เป็นต้น ปัจจัยพร้อมเมื่อไหร่นั่นละ ต้นมะม่วงจึงงอกขึ้นมา ทุกอย่างในโลกนี้เช่นเดียวกัน ต้องมีปัจจัยสามัคคี โยมทำกรรมดี หลายท่านพูด ฉันทำดีแล้วไม่เห็นได้ดี โยมสำรวจไหมว่าทำปัจจัยพร้อมไหม ทำเหตุอย่างเดียวอย่าไปนึกว่าจะให้ผลที่เราต้องการ ผลก็ได้เป็นลำดับ ผลของกรรมนั้นโดยตรง ได้ทันที ผลที่ออกไปสู่ความชื่นชมของคนอื่น ผลในการที่สังคมนิยมชมชอบ ผลในการได้ผลตอบแทน นี่เป็นผลต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยแต่ละอย่างมา เมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมแล้วจึงเกิดผล แล้วผลก็เกิดตามลำดับของปัจจัยนั้น ฉะนั้นคนที่จะทำกรรมให้ได้ผลดีเนี่ย ต้องเป็นคนที่นอกจากมีความดีแล้ว มีปัญญา มีปัญญาจะได้มาตรวจสอบว่า ปัจจัยที่จะทำนี่มันพร้อมจะเกิดผลอย่างที่เราต้องการหรือเปล่า เมื่อมันไม่พร้อม ขาดตกอันไหนก็จะได้มาทำให้มันพร้อมในคราวเดียว ต่อไปก็ปรับปรุง ทำกรรมให้เป็นกุศลยิ่งขึ้น ถ้าใช้ภาษาปัจจุบันก็เรียกว่าพัฒนากรรม ถ้าได้แต่มัวร้องโอดโอย ทำกรรมดีไม่ได้ผลดีอย่างนี้ ยาก มันก็เลยไม่ได้ผลอยู่นั่นแหละ เพราะไม่เคยสำรวจตรวจสอบตนเอง แม้แต่ทำกรรมก็ต้องมีปัจจัยสามัคคี มีความสามัคคีของปัจจัย คือความพรั่งพร้อมของปัจจัย แล้วผลจึงจะเกิด อันนี้ก็เป็นตัวอย่างเยอะในเรื่องสามัคคี เอาละ ให้โยมเห็นว่าสามัคคีนี้สำคัญมาก ทั้งในแง่หมู่ชน ทั้งในแง่การปฏิบัติธรรม ทั้งในแง่การกระทำกิจทุกอย่าง ทำให้ปัจจัยสามัคคีพรั่งพร้อม ทีนี้เรามาพูดเน้นในเรื่องสามัคคีในหมู่ชนหน่อย เป็นเรื่องใหญ่มาก คนที่อยู่ร่วมกันตั้งแต่กลุ่มเล็กไปจนกลุ่มใหญ่นี่ต้องมีสามัคคี เริ่มตั้งแต่มีวินัย จัดสรรระเบียบความเป็นอยู่ ระบบสังคมให้ดี เดี๋ยวนี้ก็กำลังจัดระเบียบสังคมกันนี่ ก็เป็นทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดสามัคคี แต่ว่าระเบียบในทางสังคมด้านภายนอกก็ไม่พอ ต้องมีด้านใน พัฒนาจิตใจคุณธรรมด้วย พร้อมกันไป ให้สองอย่างมาประสานกันแล้วจึงจะสำเร็จ ทีนี้เรื่องความสามัคคีในหมู่ชนนี้ ก็อย่างที่ว่าแล้ว มันมีหลายระดับ ตั้งแต่เล็กๆ อย่างในวัดนี่ไป จนกระทั่งไปทั้วชาติ ทั้งประเทศ แล้วก็ทั้งโลก ความสามัคคีก็เกิดจากความพร้อมเพรียงพร้อมใจ แล้วก็ทำตามระเบียบของหมู่ชน อย่างเคยยกตัวอย่างเช่นอย่างนกกระจาบ อันนี้เล่าหลายครั้งแล้ว ที่ว่านกกระจาบหรือนกอะไรเนี่ยพากันไปกินข้าวในนาของชาวนา ชาวนาเขาก็แค้นนัก มันมากินข้าวเราแย่ จะต้องหาทางจับมันมาลงหม้อแกงให้ได้ แกก็เลยเอาตาข่ายไปดัก พอตาข่ายไปดักเจ้านกฝูงนี้มันก็ติดในตาข่ายนี้ ปรากฏว่านกฝูงนี้มีความสามัคคี หัวหน้ามันเป็นผู้นำที่เก่ง ทำให้รวมใจกันได้ เจ้าตัวนี้ก็ให้สัญญาณแก่ลูกน้องนกทั้งหมดทั้งฝูง บอกว่าให้สัญญาณบินเมื่อไหร่ก็พรึ่บพร้อมกันนะ พอนกหัวหน้าฝูงให้สัญญาณขึ้นมาปั๊บ นกทั้งฝูงก็บินพรึ่บขึ้นพร้อมกัน ปรากฏว่ายกเอาตาข่ายไปได้เลย นี่ยกตาข่ายขึ้นไป แล้วมันก็บินขึ้นไปพร้อมใจกันเอาไปลงบนยอดไม้ พอไปลงยอดไม้ เจ้าตาข่ายก็ค้างบนยอดไม้ นกก็รอดไปได้หมดเลย ทำกี่ทีกี่ทีชาวนาก็ไม่ประสบความสำเร็จ นกชนะทุกที ทีนี้ต่อมาคราวหนึ่งเจ้านกนี้เกิดแตกความสามัคคี เราจะเห็นว่าที่นกมันสามัคคีมันต้องมีวินัยด้วยนะ ความพร้อมเพรียง การนัดหมายตามสัญญาณ ทำอะไรพรึ่บพรั่บพร้อมกัน แล้วก็ใจนี่พร้อมกันก่อน ทีนี้ต่อมาเจ้านกมันมีการเกี่ยงกัน เจ้าตัวนี้บอกแกนะคราวที่แล้วข้าออกกำลังมาก แกไม่เห็นออกกำลังอะไรเลย คราวนี้แกเอาบ้าง ฉันอยากจะออมกำลังหน่อย ก็เกี่ยงกันไปกันมา เจ้านี่บอกแกสิ คราวที่แล้วแกมันไม่ออกกำลัง ฉันออกกำลังมากเหนื่อย เกี่ยงกันไปกันมาอย่างนี้ พอให้สัญญาณ ไม่พรึ่บแล้ว ตาข่ายไม่ขึ้น พอตาข่ายไม่ขึ้น ชาวนาสบายเลยก็มารวบตาข่ายเอานกเหล่านี้ไปลงหม้อแกงหมด นี่แหละ ที่คือสังฆเภท แตกสามัคคีแล้ว นิทานอย่างนี้ หรือเรื่องอย่างนี้มี จะเรียกว่ามากก็ได้ในชาดก อีกเรื่องหนึ่งก็เรื่องหมูยังเอาชนะเสือได้ ถ้ามีความสามัคคีกัน อันนี้ก็เล่าสั้นๆ ก็แล้วกัน ธรรมดาหมูมันกลัวเสือ แล้วมันก็เป็นเหยื่อเป็นอาหารของเสือ ก็มีเรื่องท่านเล่าไว้ในชาดก บอกว่านายช่างไม้คนหนึ่ง วันหนึ่งแกไปในป่า แล้วไปเจอลูกหมูตัวหนึ่งมันอยู่ในหลุมติดอยู่ มันไปไม่ได้ แกก็เลยเอาลูกหมูตัวนี้มาเลี้ยง เจ้าหมูตัวนี้ก็เป็นหมูป่านั่นแหละ เลี้ยงมาแต่เล็กมันก็เลยเชื่อง แล้วมันฉลาด พอโตขึ้นมันก็มาช่วยช่างไม้นี้ เวลาเขาจะไสไม้ เลื่อยไม้ อะไรต่ออะไรนี่ มันเอาปากคาบไม้ให้ พลิกไม้ไปข้างโน้นข้างนี้ให้ นายช่างไม้ได้ทำงานได้สะดวก แต่ต่อมานายช่างไม้ก็นึกว่า เอ เจ้าหมูนี่อยู่กับเราเกิดใครเอาไปฆ่าเอาไปแกงกินซะมันก็จะลำบาก เราก็ดูแลอาจจะไม่ทั่วถึง ฉะนั้นทางที่ดีเนี่ย เราเอามันไปปล่อยในป่าดีกว่า ตกลงนายช่างไม้คนนี้ เอาเจ้าหมูตัวนี้ ซึ่งโตแล้วตอนนี้ เอาไปปล่อยป่า พอไปปล่อยป่า เจ้าหมูตัวนี้มันฉลาดมันก็เที่ยวหาที่กินที่อยู่ของมัน มันไปเจอที่หนึ่งที่มีหมูอยู่กันมาก เยอะแยะไปหมด เขาเรียกว่า ใช้ภาษาโบราณว่า มีหมูอยู่กันคลาคล่ำ ก็เลยไปอยู่ร่วมด้วย ก็เห็นว่าเป็นที่ที่เหมาะ อาหารก็มีพรั่งพร้อมบริบูรณ์ ทีนี้พอไปอยู่แล้วก็รู้จักกับเจ้าหมูอื่นๆ ก็ไปพูดทักทายกับหมูทั้งหลายที่อยู่ก่อน บอกที่นี่มันดีนะ สำนวนพระเรียกว่าน่ารื่นรมย์นะ เจ้าหมูอื่นๆ บอก เออ มันก็น่ารื่นรมย์หรอก แต่มันมีภัยอันตรายนะ เจ้าหมูใหม่นี่ก็บอก นั่นสิ ข้าเห็นแกก็พอจะรู้ว่ามันน่าจะมีภัย เพราะขนาดอาหารดีและถิ่นที่อยู่ก็ดี ตัวแกยังไม่ค่อยมีเนื้อมีหนังเลย ทำไมไม่มีเนื้อมีหนัง แสดงว่าแกต้องกลัวอะไรอยู่ ใจมันไม่ดี มีความหวาดกลัว ก็เลยซูบซีดกันไปหมด แล้วมันภัยอะไรล่ะที่ว่ามี เจ้าหมูทั้งหลายที่อยู่กันมาก่อนก็เลยเล่า บอกว่าที่นี่นะมันมีเสืออยู่ตัวหนึ่ง ตอนแรกบกว่ามีเสือก่อน เจ้าเสือมันมากินพวกเรา พวกเราก็อยู่กันไม่เป็นสุข พอเช้านี่ก็มาจับหมูไปตัวหนึ่ง พอมากันทีหมูก็แตกตื่นวิ่งกัน ถ้าตัวไหนวิ่งไม่ทัน เสือมันจับตัวไหนได้ก็เอาไปกิน เสือก็กินหมูทุกวันๆ พวกนี้ก็อยู่ไม่เป็นสุข หมูใหม่ก็บอกว่าแล้วเสือมีกี่ตัวล่ะ มันมีตัวเดียวแหละ อ้าว แล้วพวกเรามีตั้งเยอะแยะหลายสิบหลายร้อยแล้วทำไมสู้มันไม่ได้ เพราะว่ามันสู้ไม่ได้ เสือมันก็เก่ง บอกต้องสู้ได้สิ ทำไง เจ้าเสือใหม่ก็บอกวิธี บอกคราวนี้เอาละ เตรียมกัน ก็บอกวิธีการ ก็จัดการกันใหญ่ ตอนนี้เป็นยุทธวิธี หมูก็มียุทธวิธีเหมือนกัน จัดกระบวนทัพ จัดตั้งกองหมูเป็นชั้นๆ แล้วก็ให้หมูซึ่งมีเขี้ยวคม ก็ขุดหลุม ตรงนั้นมีบริเวณเป็นโขดเป็นเขาด้วย ซึ่งมันมีโขดหินอันหนึ่งซึ่งเจ้าตัวหมูตัวนี้จะขึ้นไปอยู่ มันก็ให้ขุดหลุมไว้ข้างหลังก้อนหินโขดหินอันนั้น 1 หลุม เป็นหลุมที่ขึ้นง่าย แล้วอีกด้านหนึ่งด้านหน้า ก็มีหลุมใหญ่คราวนี้เป็นหลุมที่ปากลงไปแล้วจะถไลลงไปแล้วขึ้นไม่ได้ จะทับลงไปเลย ทีนี้เสร็จแล้วก็บอกเตรียมการกันให้พร้อม แล้วก็มาอยู่ จัดเข้าที่กันนะ อย่าหนีไปไหน คราวนี้ไม่ต้องหนีแล้ว แล้วตัวหมูหัวหน้ามาใหม่ ตัวที่มาเข้ามาอยู่ในถิ่นใหม่ขึ้นไปอยู่บนโขดหินนี้ ทีนี้พอเจ้าเสือมา พอมาก็ดู คิดว่าเจ้าหมูทั้งหลายพอเห็นเสือก็จะต้องแตกตื่นหนีกันไป เอ คราวนี้ไม่หนี ทีนี้เจ้าหมูตัวนี้ก็สอนพวกหมูไว้บอกว่าให้เจ้าเสือมันทำยังไง เราก็ทำอย่างนั้นบ้าง ตอนแรกเจ้าเสือมันก็จ้องถมึงตาเข้ามา เจ้าหมูก็บอกว่าพวกเราก็จ้องถมึงตาเสือบ้าง ว่างั้น เจ้าเสือถมึงตามา เจ้าหมูก็ถมึงตาไป เจ้าเสือหายใจฟืดใหญ่ เจ้าหมูทั้งหมดก็หายใจฟืดใหญ่เหมือนกัน ทีนี้เจ้าเสือ ขออภัย ถ่ายปัสสาวะ เจ้าหมูก็ถ่ายปัสสาวะ เหมือนกัน มันเป็นกิริยาของสัตว์ที่จะต่อสู่ ปรากฏว่าเจ้าเสือครั่นคร้าม ไปๆ มาๆ ถอย ทีนี้ทางผ่านมันมีดาบสขี้โกงคนหนึ่ง หรือฤษีขี้โกงก็ได้ เจ้าฤษีขี้โกงเนี่ยคอยได้เศษอาหารคือเนื้อหมูจากเสือตัวนี้ พอเจ้าเสือมันกินเหลือ เจ้าฤษีนี่ก็พลอยได้เนื้อหมูด้วย ทีนี้พอเห็นเสือมาแล้วก็ไม่มีเสือมาด้วย ก็เลยถาม แล้วดูหน้าตาท่าทางมันไม่ค่อยจะผ่องใส ถามเจ้าเสือวันนี้ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ แล้วก็ไม่เห็นได้หมูมากินเลย เจ้าเสือมันก็เล่าให้ฟัง ดาบสขี้โกงนี่ก็บอกว่าจะไปกลัวมันทำไม เราต้องร้องแล้วปรี่เข้าไปเลย มันจะแตกกระจัดกระจายกันไปเอง ว่างั้น เจ้าเสือนี่ก็ได้กำลังใจ ก็กลับไปใหม่ คราวนี้ก็เข้าไปตั้งท่า จ้องถมึงทึงคำราม พอคำรามแล้วก็กระโดดเลย ก็กระโดดพุ่งไปที่เจ้าหมูตัวนี้ หมูตัวที่มาจากช่างไม้เนี่ย ซึ่งอยู่บนโขดหิน กระโจนลงไป หมูนั่นตั้งท่าเตรียมพร้อมอยู่แล้ว หลบลงไปหลุมข้างหลัง พอหลบลงไปหลุมข้างหลัง เจ้าเสือนี่ทะยานมาด้วยกำลังแรง ตั้งตัวไม่ติด ก็เลยไถลตกโขดหิน แล้วก็ลื่นลงไปในหลุมข้างหน้า ซึ่งเป็นหลุมที่ลึกแล้วก็ขึ้นไม่ได้ เจ้าเสือก็เลยติดหลุม พอเจ้าเสือติดหลุมแล้ว เจ้าพวกหมูก็เลยมากินเสือคราวนี้ ก็เลยกลายเป็นว่าแทนที่เสือจะกินหมู กลายเป็นหมูกินเสือ เจ้าหมูก็ว่า เอ เราไม่เคยกินเนื้อเสือนี่ เนื้อเสือมันอร่อยยังไงบ้าง ก็เลยมารุมกันใหญ่ ทีนี้พอเสร็จแล้ว เจ้าหมูตัวนี้ หมูที่มาจากช่างไม้ ก็บอกว่าคราวนี้พวกเราคงสบายแล้วนะ เพราะว่าศัตรูตัวร้ายก็หมดไปแล้ว หมูทั้งหลายบอกหมดอะไรล่ะ ท่านอย่าเพิ่งดีใจ อ้าว บอกเป็นไงล่ะ บอกก็มันมีตัวโน่นแหละวางแผนอยู่นั่นล่ะ พระฤาษีขี้โกง ว่างั้น เอาเป็นว่าเจ้าเสือตัวนี้ไปแล้วก็จริง แต่ว่าพระฤาษีนี้ยังอยู่ ฤษีนี้แกไปเอาเสืออื่นมาอีก 10 ตัวก็ยังได้ เราไม่มีทางอยู่เป็นสุข อ้าว เพราะฉะนั้นเราต้องไปจัดการกับฤษี ก็เลยพากันกองทัพหมูเนี่ย ก็เลยวิ่งกันไป ปรากฏว่าพระฤษีก็ เอ๊ะ อะไรกันนี่ กลัว ปรากฏว่าเสือมันตายซะแล้วนี่ เจ้าหมูก็มา ก็รู้ตัวว่าแย่แน่ๆ หนีใหญ่ หนีไปขึ้นต้นไม้ พอหนีไปขึ้นต้นไม้ เจ้าหมูนี่ก็ไปเอาเขี้ยวที่ขมขุดรากต้นไม้ จนกระทั่งต้นไม้โค่นลงมา หมูทั้งหลายก็เลยกินฤษีไปด้วย ฤษีขี้โกงนี้หมดไปเลย ก็เลยเป็นเรื่องชาดกที่ให้เห็นว่าความสามัคคีนี้ทำให้หมูกินเสือได้ หมูชนะเสือด้วยความสามัคคี ก็เลยจบ นี่ละเป็นเรื่องของชาดกที่ควรจะเอามาเล่าให้เด็กๆ ฟัง ให้รู้จักเรื่องความสามัคคี ความสามัคคีในหมู่ชนเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้คนมีกำลังแรง ถ้าคนไม่มีความสามัคคีเนี่ย ทะเลาะเบาะแว้งกันเนี่ย ทำอะไรไม่พร้อมเพรียงกันในชาติ คนนี้พูดอย่างหนึ่ง คนนั้นพูดอย่างหนึ่ง มันก็หมดกำลัง หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง ถ้าหนึ่งลบหนึ่งก็ศูนย์ใช่ไหม ทีนี่คนไทยเราถ้าไม่มีความสามัคคี สมมติว่ามี 60 ล้าน เป็นฝ่ายละ 30 ล้าน ลบกันเหลือศูนย์ แต่ว่าถ้าบวกกันมันก็ได้ครบ 60 เพราะฉะนั้นก็จะต้องมีความสามัคคี ความสามัคคีก็เป็นพลัง แล้วอย่างที่ว่าแล้วก็เป็นบรรยากาศให้เกิดความสุขความร่มเย็นความงดงามต่างๆ ทั้งหลาย เป็นเรื่องที่ดีงาม อาตมาก็บอกแล้ว ความสามัคคีนั้น หนึ่ง-เกิดจากวินัย การรู้จักจัดสรร แล้วก็เปลี่ยนชีวิตระบบสังคมให้มันดี แล้วต่อจากนั้นมีความสามัคคีกันด้วยจิตใจที่มีความสามัคคี ท่านก็เลยแยกสามัคคีเป็น หนึ่ง-กายสามัคคี ความพร้อมเพรียงทางกาย สอง-จิตสามัคคี ความพร้อมเพรียงทางใจ ทีนี้ กายสามัคคีก็สำเร็จด้วยวินัยการจัดสรรระเบียบระบบเป็นต้น แล้วอาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างญาติโยมนี้ พออาศัยวัฒนธรรมประเพณี มีบุญกฐินปั๊บ มาพร้อมกันเกิดกายสามัคคี ใจโน้มไปในบุญกุศลเหมือนกันก็ใจเป็นจิตสามัคคี เป็นสามัคคีทั้งสองอย่าง เราก็ให้มีทั้งกายสามัคคีและจิตสามัคคี ทีนี้อย่างว่า จิตสามัคคีอาศัยอะไร ก็ต้องอาศัยธรรมะมาช่วย ก็เลยอยากจะพูดถึงหลักธรรมที่จะทำให้เกิดความสามัคคี หลักธรรมที่จะทำให้เกิดความสามัคคีนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายชั้น วันนี้มาพูดเป็นเนื้อหาธรรมะนิดหน่อย โยมอดทนฟังหน่อยนะ เพราะว่าไหนๆ มาทำบุญแล้วก็ให้ได้สาระไป หลักธรรมขั้นที่หนึ่งอย่างง่ายที่สุดที่จะทำให้เกิดสามัคคี ก็คือหลักการสงเคราะห์กัน มนุษย์เรานี่อยู่ร่วมกันในสังคมนี้จะต้องมีการสงเคราะห์ การสงเคราะห์นั้นเนื้อหาที่แท้คือยึดเหนี่ยวน้ำใจกันไว้ ไม่ใช่สงเคราะห์นี้เป็นเรื่องทางกาย เอาของไปให้กันเฉยๆ นะ คำว่าสงเคราะห์นี้มันมีความหมายลึกไปในจิตใจ แปลว่ายึดเหนี่ยวจิตใจ คำว่าสงเคราะห์เป็นคำเดียว ตรงข้ามกับคำว่าวิเคราะห์ วิเคราะห์แปลว่าแยกแยะ เราเอาอะไรมา จับมาแล้วก็มาแยกๆ นี่เรียกว่าวิเคราะห์ ใช่ไหม ทีนี้ถ้าจับมารวมกันท่านเรียกว่าสังเคราะห์ สังเคราะห์ สงเคราะห์ อันเดียวกัน แต่พอมาใช้ในภาษาไทยก็มีการบัญญัติความหมาย เช่น สังเคราะห์ในทางเคมีอะไรต่ออะไร เราอย่าไปถือ ก็คือศัพท์เดียวกัน จับมารวมกัน ประสานกัน ทีนี้คนเราก็ต้องมีหลักการสงเคราะห์ยึดเหนี่ยวใจกัน ซึ่งประสานมาด้วยรูปธรรมทางกายด้วย หลักการสังเคราะห์นี่เรียกว่า สังคหวัตถุ มี 4 ประการ อะไรบ้าง หนึ่ง-ทาน การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน คนเรานี่แต่ละคนจำเป็นต้องอาศัยวัตถุยังชีพ เช่นปัจจัยสี่ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็บังคับให้แต่ละคนนี้ต้องแสวงหา ทำการทำงาน หาเงินหาทอง ทีนี้ในเมื่อแต่ละคนนี้คิดจะหาเงินหาทองหาปัจจัยสี่มา ต่อมามันก็เลยสนับสนุนความโลภ อยากจะได้ ทีนี้ได้มากๆ ก็อยากให้มากยิ่งขึ้นไป คิดแต่จะได้จะเอา จะได้จะเอา พอเป็นอย่างนี้แล้วจิตใจก็คับแคบ เสร็จแล้วก็แย่งชิงกัน ทะเลาะวิวาท เดือดร้อน อยู่กันไม่เป็นสุข สามัคคีก็ไม่เกิด พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า เบื้องแรกท่านนะอยู่ในโลกอาศัยวัตถุ อย่าคิดแต่ได้อย่างเดียวนะ อย่าคิดแต่เอาอย่างเดียวนะ ให้มีการคิดให้ด้วย พระองค์ก็เลยสอนเรื่องทานขึ้นมาก่อน บอกให้มีทาน ทานก็คือการให้การแบ่งปัน คนที่เขาด้อยโอกาส คนที่เขาขาดกำลังความสามารถ ไม่มีทางไป เขาจะได้เป็นอยู่ได้ เราก็ไปเผื่อแผ่แบ่งปันกัน อันนี้หนึ่ง-ทาน ทีนี้ทานนี้ก็ให้ด้วยเมตตา มีน้ำใจ แสดงความรักความปรารถนาดีก็อยู่เป็นปกติก็ให้ แล้วเขาตกทุกข์ได้ยาก ก็กรุณาจะช่วยเหลือพ้นทุกข์ สาม-เขาทำความดี เราก็ไปให้เพื่อสนับสนุน เรียกว่าให้ด้วยมุทิตา ให้ทานนี่ก็ให้ด้วยสามแบบ หนึ่ง-ให้ด้วยเมตตา สอง-ให้ด้วยกรุณา สาม-ให้ด้วยมุทิตา นี่หนึ่งละ หลักธรรมอันนี้มันก็ช่วยโยงไปถึงจิตใจ คือมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เรียกว่าพรหมวิหาร 4 เราสอนกันมาก เป็นคุณธรรมประจำใจ มีเมตตาความรัก มีกรุณาความสงสารอยากช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์ แล้วก็มีมุทิตา พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีความสุข ส่งเสริมสนับสนุน แต่ว่าคุณธรรมพรหมวิหารในใจเนี่ย สำเร็จผลจริงมันต้องเอาออกที่สังคหวัตถุ 4 อย่าไปมัวพูดแต่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มันต้องออกมาเป็นกิจกรรมด้วย ก็มาออกที่สังคหวัตถุ 4 เนี่ย ข้อหนึ่ง-ทาน ให้วัตถุกัน ถ้าใครไม่มีวัตถุให้ ก็ให้ความรู้ ให้วิทยา ต่อไปข้อสอง-ปิยวาจา พูดด้วยใจรัก เวลาอยู่ปกติก็พูดด้วยเมตตา มีความรักปรารถนาดี มีไมตรีจิตมิตรภาพ เวลาเขาตกทุกข์เดือดร้อน ก็พูดด้วยกรุณา พูดปลอบโยนให้กำลังใจ แนะนำวิธีแก้ปัญหา เวลาเขาทำอะไรดีก็พูดส่งเสริม อย่างพ่อแม่เห็นลูกทำอะไรดี ประสบความสำเร็จ ก็พูดให้กำลังใจ ส่งเสริมสนับสนุนคนทำความดีนี้เราพูดด้วยมุทิตา นี่ปิยวาจาก็แสดงออกในอาการของพรหมวิหาร 4 เนี่ย ทีนี้ต่อไปก็ อัตถจริยา บำเพ็ยประโยชน์ด้วยกำลังแรงความสามารถ ตัวเองมีกำลังกายก็ตาม กำลังสติปัญญาความรู้ ความสามารถ ก็เอามาช่วยทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ให้อยู่เป็นปกติ ทำอะไรก็มาช่วบขวนขวายจัดแจง เดินไปด้วยกัน เขาหนัก ของถือหนัก เรามือเปล่า เราก็ช่วยถือ นี่อัตถจริยาเหมือนกัน คนแก่คนเฒ่าเดินไปไม่สะดวก ก็ไปพยุง ไปช่วย อะไรต่างๆ ก็เรียกว่าเป็นเรื่องของอัตถจริยา ทีนี้ช่วยในยามปกติด้วยเมตตา ช่วยในยามเขาทุกข์ยากเดือดร้อน ช่วยเขาให้พ้นทุกข์ อย่างไฟไหม้ น้ำท่วม ก็ช่วยด้วยกรุณา แล้วก็เขาทำความดี สมัยก่อนนี้มาทำบุญทำอะไรกันนี่ มาวัด มาสร้างโน่นสร้างนี่ที่เป็นประโยชน์ ถนนหนทาง ก็ไปช่วยบำเพ็ญประโยชน์ด้วยมุทิตา ส่งเสริมการทำความดี เนี่ยอัตถจริยา สามข้อแล้ว สี่ก็สมานัตตตา มีความเสมอ เอาตัวเข้าสมานเลย คราวนี้เข้าถึงตัวแล้ว เข้าอยู่ร่วมสุขร่วมทุกข์ สาระสำคัญของสมานัตตตาก็คือร่วมสุขร่วมทุกข์ มีสุข สุขร่วมด้วย แต่เวลาทุกข์อย่าทิ้งกัน มีทุกข์ก็ต้องร่วมทุกข์ด้วยกัน มีปัญหาร่วมกันช่วยแก้ ยามเป็นปกติก็เสมอภาคกัน ไม่ดูถูกดูหมิ่น ไม่เหยียดหยามกัน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง มีความเสมอภาค ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน สมานัตตตาก็อาศัยอุเบกขา ใจที่เป็นธรรมมา นี่สังคหวัตถุ 4 ประการ อันนี้เป็นหลักสำคัญที่จะรักษาสังคมไว้ได้ สังคมของเราจะมีความสามัคคีต้องมีสังคหวัตถุ ตั้งแต่ในครอบครัวถ้าพ่อแม่ไม่มีสังคหวัตถุนี่ อยู่ไม่ได้แล้ว พ่อแม่ต้องมีทาน มีปิยวาจา อัตถจริยา มีสมานัตตตา ร่วมสุขร่วมทุกข์กับลูกเป็นต้น นี่หนึ่งแล้วหมวดที่หนึ่ง ต่อไปลึกเข้าไปอีก พระพุทธเจ้าสอนหลักสามัคคีให้แก่สงฆ์ บอกสงฆ์ที่จะมีความสามัคคีได้ต้องมีหลักธรรมยึดเหนี่ยวใจกันไว้ เรียกว่าอะไรเอ่ย ตอนนี้ถ้ามีเด็กนักเรียนมาจะต้องทายปัญหา ก็ถามว่าหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนจะให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชนที่เป็นประชาธิปไตย เป็นสังคมประชาธิปไตยต้องมีสาราณียธรรม 6 ประการ สังคมเราเป็นสังคมประชาธิปไตย แต่พูดกันแต่เรื่องรูปแบบ เรื่องระเบียบ ไม่ค่อยพูดเรื่องเนื้อหาสาระทางนามธรรม ถ้าเราไม่มีนามธรรม คุณธรรม มันจะไปมีสามัคคี เป็นสังคมประชาธิปไตยที่ดีได้อย่างไร เป็นประชาธิปไตยแบบแย่งชิงกัน แล้วก็อ่อนแออย่างนี้ไม่ไหว ต้องเป็นสังคมประชาธิปไตยที่มีความพร้อมเพรียงกันมีสามัคคีด้วย เพราะสังคมประชาธิปไตยก็คือการจัดสรรโอกาสให้มนุษย์ในสังคมนั้นอยู่กันด้วยดีมีความสุข แล้วทุกคนพัฒนาตัวเอง ทำกิจการต่างๆ ได้ดีที่สุด ทีนี้ถ้ามัวมาวุ่นวายอะไรกัน ทุกคนก็เดือดร้อน ไม่สะดวกไปด้วยกัน ขัดข้องไปหมด ฉะนั้นก็ให้มีคุณธรรม สาราณียธรรม 6 ประการ สาราณียธรรมมีอะไรบ้าง ก็มีหนึ่ง –เมตตากายกรรม จะทำอะไรก็ทำด้วยเมตตา หมายความว่าทำด้วยความหวังดี ปรารถนาดี ไม่ได้คิดเคียดแค้น ไม่ได้คิดแกล้งอะไรต่างๆ เนี่ย คนที่อยู่ร่วมกันก็คิดด้วยเมตตา ทำอะไรก็ทำด้วยเมตตา สอง-เมตตาวจีกรรม พูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา แม้จะมีเขาทำผิดอะไรก็พูดด้วยเมตตา แนะนำด้วยใจหวังดี เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตเขา ไม่ใช่ตั้งใจไปพูดเพื่อจะแกล้ง ข่มขี่เพื่อจะทำร้ายทำให้วุ่นวายไป ทำให้ยิ่งแตกสามัคคี ก็พูดด้วยเมตตาวจีกรรม พูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา ต่อไปเมตตามโนกรรม คิดอะไรก็คิดด้วยเมตตา นึงถึงกันก็นึกปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข ก็ทำให้เขามีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ต่อไปสี่- แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม นี่ต่อไปกล่าวถึงผลประโยชน์ตรงนี้แหละ พระสงฆ์นี่แม้แต่เป็นหมู่ชนที่อาศัยวัตถุน้อย ขณะนี้นะถ้าหากว่าไม่มีความเสมอภาคในเรื่องลาภ เช่นอย่างว่ามีพระภัตตุเทสก์โยมหลายท่านรู้จัก ใกล้วัด พระภัตตุเทสก์ ก็คือพระที่จัดนิมนต์ไปโน่นไปนี่ เกิดไม่เสมอภาค ไม่ยุติธรรมขึ้นมาเนี่ย แบ่งปันลาภไม่สม่ำเสมอ เนี่ยขนาดพระสงฆ์ยังแตกสามัคคีได้เลย จะมาพูดไปไยกับหมู่สังคมญาติโยมที่ต้องอาศัยวัตถุมาก ถ้าไม่มีความเสมอภาค ไม่มีความเป็นธรรมในเรื่องลาภเรื่องผลประโยชน์ ยุ่งวุ่นวายมาก ฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัวว่าข้อที่สี่ก็คือว่าแบ่งผันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม จนกระทั่งว่าไม่มัวคิดเอาแต่ตัว คิดถึงคนอื่นบ้าง ให้คนอื่นมีส่วนได้ จนกระทั่งพระโสดาบันท่านเรียกว่าเป็นสาธารณโภคี ของฉันใครต้องการกินกิน ว่าอย่างนั้นเลย อันนี้ก็แล้วแต่ฝึกเอา ข้อนี้เรียกว่าสาธารณโภคี ต่อไปข้อที่ห้า- มีศีล มีความประพฤติ มีวินัยเสมอกัน นี่แหละ ถ้าหากว่ามีความประพฤติไม่เสมอกัน ไม่อยู่ในระเบียบวินัยของส่วนรวม ลักลั่นกัน คนนี้ละเมิด กฎกติกาตั้งแล้วไม่เคารพ อะไรต่างๆ ไม่ช้าละสังคมนั้นไปไม่รอด ฉะนั้นจะต้องมีศีลเสมอกัน มีความเคารพในกฎเกณฑ์กติกา ตั้งอยู่ในวินัย มีความประพฤติดีเสมอกัน เหมือนอย่างพระ ถ้าประพฤติไม่เสมอกัน เดี๋ยวแตก องค์นี้ก็ระแวงองค์นั้น องค์นั้นประพฤติไม่ดี หมู่คณะเขาก็รังเกียจ ในที่สุดก็
สังฆเภท ถึงไม่สังฆเภท ก็เรียกว่าร้าวฉานไป ฉะนั้นก็ข้อที่ห้า ท่านเรียกว่า สีลสามัญญตา มีศีลเสมอกัน ต่อไปข้อที่หก ข้อสุดท้าย ท่านเรียกว่า ทิฐิสามัญญตา มีการยึดถือในหลักการใหญ่อันเดียวกัน เหมือนอย่างพระสงฆ์เนี่ย เป็นสงฆ์ก็ต้องมีหลักการของพระพุทธศาสนา เช่นหลักการปฏิบัติที่บรรลุนิพพานอันเดียวกัน ถ้าไม่งั้นแตกสามัคคีวุ่นวายเลย ทีนี้ในสังคมประชาธิปไตยก็ต้องยึดถือหลักการประชาธิปไตยอันเดียวกัน ถ้าหากว่าไม่มีหลักการที่ยึดถือเป็นอันเดียวกัน เดี๋ยวก็แตกแยกทะเลาะวิวาท แล้วเรื่องทิฐินี้เป็นเรื่องใหญ่ ทำให้การแตกแยกนี่ฝังลึก ร้าวฉานอย่างรุนแรงและยาวนาน ยืดเยื้อมากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องมี
ทิฐิสามัญญตา ต้องมีหลักการยึดถือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้ามีจุดหมายร่วมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คราวนี้ละก็สังคมสามัคคี สังคมใดมีจุดหมายอันหนึ่งอันเดียวกัน จะรวมใจคนให้เข้มแข็ง แล้วพุ่งไปสู่เป้าหมาย จะเดินหน้า สังคมมีพลัง จะก้าวไปอย่างมั่นคงเข้มแข็ง ในที่สุดก็จะประสบความสำเร็จ สังคมของไทยนี่ ต้องขออภัยต้องบอกว่าเป็นสังคมที่ขาดจุดหมายร่วม ไม่มีจุดหมายร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจะต้องแก้ไขให้ได้ สาราณียธรรม 6 ประการนี้ ลองสำรวจสังคมไทยเรา พระต้องสำรวจตัวเองตั้งแต่ในคณะสงฆ์แล้วก็มาญาติโยมก็สำรวจสังคมของตัวเอง สาราณียธรรม 6 ประการ เอาละ ทีนี้ได้อีกหมวดแล้วนะ ยังมีอีก มีอีกอะไร ก็คือเราจะต้องมีความสามัคคีกว้างออกไป ตอนนี้มันก็บอกแล้วว่าสามัคคีมีหลายระดับ ขยายไปจนถึงโลก ทำไงจะให้โลกมีความสามัคคีกันจะได้อยู่กันมีสันติภาพมีสันติสุข ตอนนี้ทั้งโลกมันจะต้องมีสิ่งที่ป้องกันไม่ให้มีการทะเลาะวิวาท ก็ต้องมีความเป็นสากล สากลก็คือทั้งหมดทั้งโลก หลักการต้องมีสากล 3 อย่างนี้ ซึ่งเดี๋ยวนี้เอาหลัก 3 อย่างไปตรวจสอบดู จะเห็นชัดเลยว่าโลกนี้มันไปไม่รอด ความเป็นสากล 3 ประการนี้ โยมลองดูก็แล้วกัน ที่มาทะเลาะกันเดี๋ยวนี้มันเป็นเพราะขาดอันนี้หรือเปล่า ความเป็นสากลที่หนึ่ง-คือเมตตา เป็นสากล มีความรักความปรารถนาดีเป็นสากล ทางพระท่านเรียกว่าเป็น อัปปมานะ เรียกว่า อัปปมัญญา ไม่มีประมาณไม่มีขอบเขต ก็รักกันไปทั่ว ไม่จำกัดว่าต้องเป็นคนกลุ่มนี้ฉันจึงรัก ถ้ากลุ่มโน้นละฉันไม่รัก อะไรทำนองนี้ เกลียดเลยเนี่ย ต้องรักได้แก่เพื่อนมนุษย์จนกระทั่งสรรพสัตว์ทั้งหมด มีความรักเมตตาที่ไม่มีประมาณ ไม่ใช่จำกัดแบ่งแยก พวกนี้รัก พวกโน้นไม่รัก พวกนี้เกลียด พวกนี้ชอบ อะไรอย่างนี้ นี่เมตตาสากลนี้ได้หรือยัง สอง-ความจริง สัจธรรมที่เป็นสากล หมายความว่าความจริง
นี้มันต้องเหมือนกันหมด ไปใช้ในประเทศไหน กลุ่มชนไหน ศาสนาไหน มันก็ต้องเป็นอันเดียวกัน เช่นว่าทำดีได้ผลดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่ใช่ว่าคนพวกนี้ไม่ได้นับถือฉัน มันทำดีฉันก็ไม่ส่งมันไปสวรรค์ ถ้าหากว่าพวกนี้มันทำดี แต่ว่าไม่เชื่อฉัน ฉันส่งมันไปนรกอย่างนี้ ความจริงก็ไม่สากล ความจริงต้องสากล ใช้ได้ทุกแห่ง เป็นไปตามเหตุปัจจัย ทำดีผลต้องดี ทำชั่วผลต้องชั่ว เป็นกลางๆ อย่างนี้เรียกว่าสากล สากลในแง่สัจธรรม ความจริงที่เป็นสากล สาม-ความเป็นมนุษย์ที่สากล มนุษย์เป็นคนเหมือนกันหมด ไม่แยกแล้วกลุ่มไหนเชื้อชาติไหน ศาสนาไหน ก็เป็นคน ทำร้ายเขาก็ไม่ดีทั้งนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า มนุษย์ทุกคน สัตว์ทุกตัว รักชีวิตของตน หวาดกลัวต่อความตาย รักสุข เกลียดทุกข์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นไม่ควรเบียบเบียนกัน ไม่ควรฆ่ากัน อันนี้เป็นหลักกลางเลยนะ เป็นหลังความจริงเป็นกลาง ไม่จำกัดที่ไหน ไม่ใช่ว่านับถืออันนี้หรือกลุ่มนี้พวกนี้ล่ะก็ เป็นมนุษย์ที่ฆ่าแล้วบาป แต่ถ้าเป็นพวกโน้นฆ่าแล้วไม่บาป ก็จบ เป็นอันว่าไม่มีทางแล้ว ทีนี้ความเป็นสากล 3 อย่างนี้ ปัจจุบันนี้ได้ไหมในโลกนี้ แต่พุทธศาสนานี่เรารับรองได้เลย ความเป็นสากล 3 ประการ แล้วก็รับรองว่าถ้าโลกนี้ไม่สามารถนับถือความเป็นสากล 3 ประการนี้ โลกไม่มีทางสงบสุข ไม่มีทางมีสันติภาพ ต้องทะเลาะกันเรื่อยไป อันนี้ก็มาอีกขั้นหนึ่ง ต่อไปอีก โยม ยังไม่จบ ความสามัคคีนี้เรื่องใหญ่ ตอนนี้เราไปสามัคคีระดับโลกแล้วนี่ จะแก้ปัญหาระดับโลกตอนนี้ต้องพัฒนามาก ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงพัฒนาคนให้เป็นอริยะ อริยะชั้นต้น อริยชนที่แท้ก็คือพระโสดาบัน พระโสดาบันนี่มีหลักตัดสินหลายอย่าง เกณฑ์อย่างหนึ่งก็คือ หมวดมัจฉริยะ 5 ประการ มัจฉริยะ แปลว่าความตระหนี่ ความหวงแหนกีดกันกัน ความหวงแหนกีดกันของมวลหมู่มนุษย์เนี่ย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ 5 ประการ ซึ่งจะต้องแก้ให้ได้ ถ้าแก้ไม่ได้ ก็ไม่มีทางสงบ สามัคคีก็จริงไม่ได้ แล้วดูสิโลกนี้มันมีไหม หมดหรือยังมัจฉริยะ ความตระหนี่หวงแหนกีดกันกัน 5 ประการ หนึ่ง-ท่านเรียกว่า อาวาสมัจฉริยะ การหวงแหนกีดกันกันด้วยเรื่องที่อยู่อาศัย เช่นประเทศนี้ดินแดนนี้ แผ่นดินของข้า แกเข้ามาไม่ได้ อะไรอย่างนี้ อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งนะ มันยากนะญาติโยม ไม่ใช่ง่ายหรอก แต่ว่ามันก็เป็นความจริง ถ้ามนุษย์ยังหวงแหนกันอยู่ ใจเผื่อแผ่กันไม่ได้ มันก็ไม่มีทางสันติสุข หนึ่งแล้ว อาวาสมัจฉริยะ หวงแหนกีดกันกันด้วยเรื่องที่อยู่อาศัย ดินแดน ท้องถิ่น สอง- กุลมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกันกันด้วยพงศ์เผ่าเหล่ากอชาติพันธุ์ หมู่พวก เป็นกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มโน้น พวกนั้น พวกนี้ ชาติพันธุ์นั้น เอาละสิ เรื่องเผ่าพันธุ์ก็เรื่องใหญ่อีก มันก็หวงแหนกีดกั้นกันด้วยเรื่องนี้ แม้แต่แต่งงานกันยังไม่ได้เลยหลายพวก เมืองไทยเรานี่เรื่องมัจฉริยะ ถ้าเทียบแล้วน้อยที่สุดในโลกนะโยม ให้ดูเถอะ เป็นประเทศที่มีมัจฉริยะน้อยที่สุดในโลก แม้เราจะยังมีอยู่บ้าง ในฐานะปุถุชน แต่น้อยที่สุดในโลก ข้อหนึ่งนี่เขาหวงแหนกันที่อยู่อาศัย หวงแหนหนักมาก ข้อสอง-กุลมัจฉริยะ พงศ์เผ่าเหล่ากอชาติพันธุ์ พวกกลุ่มนี้ก็หวงแหนกันอย่างหนักเลยที่มาทะเลาะกันนี่มันเรื่องนี้หรือเปล่า เวลาวินิจฉัยนี่วินิจฉัยเอาอะไรเป็นเกณฑ์ เอาความถูกต้องเป็นเกณฑ์วินิจฉัย หรือเอาความเป็นพวก เป็นเครื่องวินิจฉัย ถ้ามันเอาความเป็นพวกเป็นเครื่องวินิจฉัย ไม่มีทางจบ ทีนี้มันทำได้ไหม แค่นี้ ฉะนั้นเราจะต้องถามว่าเวลาเราตัดสินอะไรเนี่ย เราเอาอะไรเป็นเครื่องวินิจฉัย เอาความชอบธรรมที่แท้เป็นเครื่องวินิจฉัย หรือเอาความเป็นพวก เป็นเครื่องวินิจฉัย นี่สองแล้วกุลมัจฉริยะ สาม- ลาภมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกันกันด้วยเรื่องผลประโยชน์ นี่ก็เรื่องใหญ่เหมือนกัน มันก็ยุ่ง ทะเลาะกันด้วยเรื่องผลประโยชน์ ใช่ไหมเนี่ย ปัจจุบันเรื่องนี้ก็เรื่องใหญ่ กีดกันกันหวงแหนกัน ต่อไปสี่-วัณณมัจฉริยะ หวงแหนกีดกั้นกันด้วยเรื่องชาติชั้นวรรณะ แบ่งชั้น แบ่งวรรณะกัน สีผิวโน้นผิวนี้ ผิวขาว ผิวเหลือง ผิวดำ แค่นี้ก็วุ่นแล้ว แค่อันนี้ก็ไปไม่รอดแล้ว นี่ประเทศไทยจึงว่าเบาที่สุด ลองไปดูสิประเทศที่พัฒนาแล้ว ยังติดข้อนี้กันมากมายเหลือเกิน ต่อไปข้อสุดท้าย เรียกว่า ธัมมมัจฉริยะ หวงแหนกีดกั้นกันด้วยเรื่องภูมิธรรม ภูมิปัญญา ความสำเร็จ เช่นในทางวิชาการ หวงแหนในเรื่องของสิทธิ ในเรื่องสินทรัพย์ทางปัญญาต่างๆ นี่มันก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอันนี้ด้วย ความสำเร็จต่างๆ ก็หวงแหนกัน ใจมันก็ยังแคบอยู่ มันเบื่อไม่ได้ มันก็กลัวสิ กลัวพวกโน้นได้ไปแล้วพวกเราจะแย่ เดี๋ยวพวกนั้นมันก็มีกิเลส เดี๋ยวมันโกรธมันก็มาทำลายเราได้ เพราะฉะนั้นเผื่อแผ่มันไม่ได้ แต่ว่าไอ้นี้มันทำยาก แต่ความเป็นจริง ก็ในเมื่อมันยังมีมัจฉริยะอยู่ ก็แก้ปัญหาให้สำเร็จไม่ได้ ฉะนั้นโยมเอา 5 อย่างนี้ไปตัดสินวินิจฉัยดูโลก เดี๋ยวนี้เป็นยังไง 5 ข้อมัจฉริยะ ทวนอีกทีหนึ่ง
หนึ่ง- อาวาสมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นกันด้วยเรื่องที่อยู่อาศัย ดินแดน แคว้นถิ่น
สอง-กุลมัจฉริยะความหวงแหนกีดกั้นกันด้วยพงศ์เผ่าเหล่ากอ ของกลุ่มพวก
สาม-ลาภมัจฉริยะ พูดง่ายๆ ว่าปิดกั้นกันด้วยเรื่องลาภ ผลประโยชน์
สี่ –วัณณมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกันกั้นด้วยเรื่องชั้นวรรณะ ผิวพรรณ
ห้า-ธัมมมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกันกั้นด้วยเรื่องความสำเร็จทางธรรม ทาปัญญา ทางวิทยาการ อะไรต่างๆ เนี่ย ทางเทคโนโลยีด้วย
อันนั้นก็เป็นอันว่า 5 อย่างนี้ ถ้าตราบใดมันยังแก้ไม่ได้นะโยม มันไม่จบหรอก สันติภาพโลกมันไม่บรรลุ เพียงแต่ว่าให้มันเบาๆ หน่อยก็ยังดี อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง มัจฉริยะ 5
ขออีกสักหมวดหนึ่ง เพราะว่าเราจะขยายสามัคคีให้ถึงโลก มันก็จะต้องมีอีกอันหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แบ่งแยกกันมากที่สุดก็คือกิเลส 3 ตัว พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าตัณหา มานะ ทิฐิ โยมเคยชินกับหมดที่เรียกว่า โลภะ โทสะ โมหะ แต่เราไม่ค่อยสังเกตว่าพระพุทธเจ้าตรัสหมวดหนึ่งที่สำคัญมาก มนุษย์นี่อยู่ใต้บงการชองกิเลส 3 ตัวนี้ ท่านเรียกว่า ปปัญจธรรม ก็คือธรรมะฝ่ายอกุศลที่ทำให้เรื่องต่างๆ มันยืดเยื้อเรื้อรัง บานปลายขยายขอบเขต ไม่รู้จักสิ้นสุด มี 3 ประการ หนึ่ง-ตัณหา สอง-มานะ สาม-ทิฐิ ตัณหาคือการอยากได้เพื่อตัวเอง เห็นแก่ตัว อยากได้ผลประโยชน์ อยากได้สิ่งบำรุงบำเรอ เห็นแก่ความสุขส่วนตัว คือตัณหา สอง-มานะ เห็นแก่ความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ต้องการอำนาจ ต้องการใหญ่กว่าผู้อื่น ต้องการให้เขาอยู่ในอำนาจของตัวเอง อะไรนี่นะ สอง-มานะ สาม-ทิฐิ แปลายึดถือในลัทธิศาสนา อุดมการณ์อะไรต่างๆ ยึดมั่นถือมั่นไว้ ไม่ยอมรับฟังคนอื่น จะต้องให้เป็นไปอย่างฉันอย่างเดียว มนุษย์นี่มันรบกันมาตั้งแต่วิวาทไปในหมู่ชนน้อยไปจนกระทั่งถึงสงครามโลก มีเจ้า 3 ตัวนี้ หนึ่ง-ตัณหา ต้องการผลประโยชน์ ใช่ไหม มันแย่งผลประโยชน์กัน ทะเลาะกัน มาเป็นสงคราม ขนาดสงครามโลกก็ได้ สอง-มานะ ต้องการความยิ่งใหญ่ ต้องการอำนาจให้เหนือเขา ใครจะมาแข่งไม่ได้ หรือใครจะโตขึ้นมาทำให้น่าหวาดระแวงต้องรีบกำจัดซะก่อน มานะ สาม-ทิฐิ การนับถือในลัทธินิยมอุดมการณ์ศาสนาต่างๆ โดยถือแต่ว่าศรัทธา เมื่อศรัทธามันงมงายสักแต่ว่าเชื่อไม่ใช้ปัญญา มันก็มี 2 อย่าง ศรัทธาที่มันเสียคือหลงใหลกับรุนแรง เหลวไหลด้วย ศรัทธาไม่ประกอบด้วยปัญญาก็หนึ่ง-เหลวไหล ไม่ได้เรื่อง งมงาย สอง-รุนแรง ยึดแล้วจะต้องเอาอย่างนี้ให้ได้ คนอื่นไม่เอาตาม ฆ่ามันหมดเลย ฉะนั้นก็เนี่ย พระพุทธเจ้าจึงกำกับนัก ศรัทธานั้นดีอยู่ แต่ต้องมีปัญญาคุม ประสานสมดุลกันไป พุทธศาสนานจึงต้องสอนศรัทธาควบกับปัญญา เราต้องไม่ให้เกิดความรุนแรง รู้จักใช้ปัญญาตรวจสอบ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ตรัสว่าเนี่ยไม่ต้องเชื่อฉันหรอกนะ ให้พิจารณาไตร่ตรองก่อน แล้วจึงเชื่อ ไม่ใช่ว่า นี่ฉันสั่งมาแกต้องทำ ไม่ทำ แกตาย ว่างั้นนะ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นเรื่องของทิฐิ พอทิฐิฝังไว้ว่าชนชาตินี้มันเลวร้ายต้องกำจัดไปให้หมด คราวนี้ละก็ไม่ต้องแล้ว ทีนี้ตอนนี้มีไหมปัญหาเรื่องทิฐิ พวกนั้นกลุ่มนั้นมันมาฝังกับทิฐิด้วย การยึดถือแบ่งพวกแบ่งวรรณะ อะไรต่ออะไร ในที่สุดมันเป็นที่ทิฐิ คือความยึดถือ เชื่อฝังใจอยู่ ฝังใจว่าพวกนี้เป็นอย่างนั้น พวกนั้นเป็นอย่างนี้ มันเชื่อมันฝังใจอย่างนี้แล้ว มันก็ต้องกำจัด ก็ต้องทะเลาะกันตลอดไป ไม่มีทางจบ นี่เรียกว่าทิฐิ ฉะนั้นสงครามโลกนี่สงครามอุดมการณ์ ระหว่างประชาธิปไตย เสรีนิยม คอมมิวนิสต์ ก็ว่า ทำให้โลกวุ่นวายมาตอน ตอนนี้เป็นสงครามลัทธิศาสนา ถ้าไม่ระวังให้ดีจะเกิดขึ้นมา ฉะนั้นผู้ที่นับถือลัทธิศาสนาก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์สุขของส่วนรวม ถ้าเราคำนึงถึงโลกที่แท้จริงนี้ ต้องสำรวจตัวเองว่าไม่ตกอยู่ใต้อำนาจตัณหา มานะ ทิฐิแล้วมีความสากล 3 ประการ มองมนุษย์เป็นมนุษย์เหมือนกันหมดทั่วโลก ทำร้ายมนุษยฺก็คือทำร้ายมนุษย์ มีเมตตาเสมอกัน เป็นมนุษย์ต้องมีเมตตาเหมือนกันหมด ไม่แบ่งแยก แล้วมีความเป็นจริงเหมือนกันหมด ความจริงทำแล้วที่ไหนต้องทีผลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ใช่จำกัดพวก จำกัดหมู่ เป็นต้น แล้วมันจึงจะไปได้ โลกนี้จึงจะมีสันติสุข หลักพุทธศาสนานั้น สอนเป็นขั้นๆ นี้ ถ้าทำได้ตามนี้ สามัคคีในโลกก็มีได้ แล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสธรรมะนี้ ตรัสเป็น 2 ระดับ ระดับที่หนึ่ง-ตรัสหลักความจริง พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด ความจริงก็เป็นของมันอย่างนี้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นต้น สอง-เมื่อความจริงเป็นอย่างนั้น เราจะปฏิบัติอย่างไร นี่ขั้นที่สอง เพราะฉะนั้นธรรมะมี 2 ขั้น ขั้นที่หนึ่งคือความจริงที่เป็นอยู่ตามธรรมดาของมัน ไม่ขึ้นต่อใครทั้งนั้น แสงสองก็คือเมื่อความจริงเป็นอย่างนั้น เราจะปฏิบัติอย่างไร อันนี้คือธรรมะที่เป็นข้อปฏิบัติ ที่ความจริงในธรรมชาติมันเรียกร้องเรา หรือบังคับเราว่า ถ้าแกยังต้องการอยู่ดี แกต้องทำตามนี้ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร อันนี้เรียกว่าตรัสหลักความจริง เป็นจริงอย่างนี้ เป็นความจริง แต่ว่ามันไม่ใช่ข้อปฏิบัตินะ เดี๋ยวชาวพุทธแยกไม่เป็นก็เราจะปฏิบัติยังไงไหว เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร ฝ่ายโน้นมันก็ฆ่าเราตายสิ อันนี้ท่านตรัสความจริงไว้บอกว่าเวรมันไม่ระงับด้วยการจองเวรหรอก แค้นเคืองมันก็ฆ่ากัน จองเวรกันเรื่อยไป แต่ทีนี้ตอนที่ปฏิบัติจะต้องทำไง ต้องใช้ปัญญา ในเมื่อความจริงมันเป็นอย่างนั้น ก็ต้องมาหาวิธีว่าในสถานการณ์อย่างนี้ เหตุปัจจัยเป็นอย่างนี้ สภาพสังคมโลกเป็นอย่างนี้ คนอื่นเขาเป็นอย่างนี้ แต่ความจริงเป็นอย่างนี้ เราต้องพยายามทำให้ได้ จะทำอย่างไร ก็ปฏิบัติด้วยความชาญฉลาด เอาข้อปฏิบัติมาประยุกต์เพื่อให้ได้ความจริง อย่างน้อยก็ทำให้มีสติ ว่าระยะยาวโลกมันจะสงบด้วยการจองเวรไม่ได้ แค้นกันไป แค้นกันมา เราก็ไม่ทำด้วยเพียงแค้นเคือง เราต้องทำด้วยปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาระยะยาว จากความจริงว่าเวรไม่ระงับด้วยการจองเวร มาสร้างข้อปฏิบัติระยะยาวว่าทำยังไง มันจะให้ผลเกิดขึ้นตามนี้ ไม่ใช่อยู่ๆ เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร ฉันเลยนอนเลย เขามาฆ่าก็ฆ่าสบายไปเลยใช่ไหม แต่อย่างนั้นคือปฏิบัติธรรมไว้เป๊ะ พระพุทธศาสนาตรัสธรรมะ 2 ชั้น เพราะพระพุทธเจ้าบอกแล้วว่าพระองค์ไม่ใช่ผู้สั่งบัญชาใคร พระพุทธเจ้ามาสอนพระศาสนา พระองค์ตรัสเบื้องต้นแล้ว ตถาคตจะเกิดหรือไม่เกิด ความจริงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นๆ แล้วเมื่อความจริงเป็นอย่างนั้นๆ แล้ว เราจะอยู่ดี เราจะปฏิบัติให้ได้ผล เราควรทำอย่างนี้ เมื่อเวรไม่ระงับด้วยการจองเวร ความจริงระยะยาวเราก็ต้องหาทางปฏิบัติด้วยอุบายวิธีต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักการนั้น แล้วอย่างนี้ก็จะสำเร็จผล
ตอนนี้ก็ได้พูดมายืดยาวแล้ว ตกลงนี่คือความหมายของกฐินนะ เจริญพร ไปถึงสามัคคีของโลกเลย ฉะนั้นโยมต้องพิจารณาคิดให้ดีว่า วัฒนธรรมประเพณีของเรานี่สอนกันมานี่มีความหมายลึกซึ้ง เพียงแต่ว่าบางทีเราไม่ได้คิด แม้แต่องค์กฐินยังถามโยมหลายท่าน ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน
องค์กฐินไม่รู้ สาระของกฐินไม่รู้ วันนี้โยมต้องตอบได้หมด แล้วสาระของกฐินเนี่ยมีความหมายตั้งแต่ชีวิตจิตใจของคน ไปจนถึงโลกปัจจุบัน แล้วใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบันด้วย ฉะนั้นถ้าจะตอบปัญหาวันนี้ก็ปัญหาที่กำลังขัดแย้งทะเลาะกัน สงครามในโลก แก้ด้วยอะไร บอกแก้ด้วยกฐิน ว่างั้น จริงไหมโยม จริงนะ ก็วันนี้อาตมาก็ได้พูดเรื่องกฐินมายาวนานแล้ว ก็กินเวลาญาติโยมจนเพล ก็เป็นอันว่าขออนุโมทนาญาติโยมสาธุชนทุกท่าน ที่ได้มาทำบุญร่วมกันนี้ โยมมาพร้อมเพรียงกัน มีทั้งกายสามัคคี จิตสามัคคี ก็ขอให้เราสามัคคีกันต่อไป ด้วยการนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ทั้งรู้ความจริง แล้วก็ปฏิบัติธรรมในข้อที่จะต้องให้เป็นไปตามความจริงนั้น ก็จะได้ผลสำเร็จตามที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้ วันนี้คณะเจ้าภาพ ท่านพลอากาศตรีสมนึก ชวนสนิท พร้อมทั้งโยมภรรยาก็คือคุณวัฒนา ชวนสนิท ถือว่าก็ได้มาทำบุญด้วยแล้ว ในนามของท่านแล้วก็ลูกหลานทุกท่านทุกคน ญาติมิตรทั้งหลายก็มา ญาติโยมใกล้ไกล ทั้งโยมวัดญาณเวศกวันเอง แล้วฝ่ายผ้าป่าก็ทางคุณเชษฐ์ รัตะกนิษฐ แล้วก็ทางญาติมิตรทั้งหลายก็มากันอีกมากมาย โยมไกลๆ อย่างธรรมะร่วมสมัยก็มา ชาวจังหวัดนครปฐมก็มา ทั้งหมดนี้ก็มีใจร่วมกันทั้งนั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรามีใจร่วมกัน ก็ปฏิบัติธรรมซะร่วมกันด้วย ก็จะได้บรรลุผลตามที่เป็นพุทธประสงค์ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของกฐิน ที่เราได้มาบำเพ็ญกันในวันนี้ อาตมาภาพก็ขออนุโมทนา แล้วในวาระนี้ที่เรามีจิตใจเป็นกุศล ก็ถือว่ามงคลได้เกิดขึ้นแล้ว ก็ขออนุภาพคุณพระรัตนตรัย พร้อมทั้งบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญทั้งหมดนี้ ประมวลกลายเป็นมีกำลังอภิบาลรักษาให้ทุกท่านทุกคน ตั้งแต่เจ้าภาพจนกระทั่งผู้ร่วมอนุโมทนา ตลอดจนชาวพุทธ ชาวไทย ชาวโลกทั้งหมด เจริญงอกงามด้วยจตุรพิธพรชัย มีกายใจสมบูรณ์ด้วยสุขภาพ และมีพลังพรั่งพร้อม ทั้งกำลังความสามัคคีย้อนไปกำลังปัญญา กำลังใจ กำลังกาย เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตและกิจการทั้งหลายให้ก้าวหน้าบรรลุผลสำเร็จ ความมุ่งหมายเพื่อจะได้ทำประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่ชีวิต แก่ครอบครัว แก่สังคมประเทศชาติ และแก่ชาวโลกให้อยู่กันด้วยสันติสุขต่อไปในโลกพระธรรมคำสอของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ