แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
วันนี้อันที่จริงก็เป็นการมาเยี่ยมเยียนพระใหม่ ส่วนจะพูดนั้นไหวไม่ไหวค่อยว่ากันอีกที วันนี้ที่จริงก็ร่างกายก็บอกตรงๆ ว่าไม่ค่อยจะไหว และก็เคยไม่ค่อยไหวแล้วก็ชีพจรความดันมาช่วย วันนี้เขาก็มาช่วยไม่ไหว พูดให้ฟังเป็นความรู้ คือเพราะโรคปอด เป็นต้น แล้วก็ตัดเส้นเลือดที่ขึ้่นสมอง เวลาจะพูดจะมีกำลังไหวต้องมีชีพจรประมาณ 120 วันนี้ได้แค่ 98 แล้วก็ความดันนี้ก็จะพูดได้ก็ในราว 180 วันนี้ก็ยังได้เท่าไร ก็ยังใกล้ขึ้นไปหน่อย นี้ก็ถ้าหากว่าความดันชีพจรไม่พอสมองก็ไม่ไหว ร่างกายก็ไม่ไหว
นี้ก็มาอย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าเยี่ยมพระใหม่ เพราะว่าตามปกติก็เป็นภาระ แล้วก็เป็นพันธะสำหรับพระอุปัชฌาย์จะต้องอยู่ดูแลพระนวกะ พระที่ต้องได้รับเป็นอุปัชฌาย์ให้ ทีนี้ก็ดูแลใกล้ชิดไม่ไหว เวลานี้ก็ใช้วิธีว่าตามพระวินัยก็เมื่อตนเองอุปัชฌาย์ไม่อยู่หรือไม่ไหวอย่างที่ว่า ก็ให้พระใหม่ไปหาพระเถระที่อยู่ในท่านเรียกว่า ปูนอุปัชฌาย์ คำว่าปูนนี้เป็นภาษาเก่า ก็คืออยู่ในระดับที่จะเป็นอุปัชฌาย์ได้นั้นแหละ แล้วไปขอให้ท่านเป็นอาจารย์อยู่กับท่าน อย่างที่นี่ก็เมื่ออุปัชฌาย์ไม่ไหว พระใหม่ก็ไปขอนิสัย เขาเรียกว่าขอนิสัย คือขออยู่ด้วย ขอให้เป็นที่พึ่งอาศัยในการศึกษา ก็ไปขอกับรองเจ้าอาวาส คือท่านเจ้าคุณมงคลธีรคุณ ให้ท่านดูแลเพื่อให้การศึกษา ก็มีฐานะเป็นอาจารย์ เปลี่ยนจากอยู่กับอุปัชฌาย์ ก็เปลี่ยนเป็นอยู่กับอาจารย์ ถ้าอยู่กับอุปัชฌาย์ ก็เรียกว่า สัทธิวิหาริก เวลาไปอยู่กับอาจารย์ก็เรียกว่า อันเตวาสิก นี้ก็มีหน้าที่ต่อกันเยอะแยะ หน้าที่ต่อพระอุปัชฌาย์ ก็เรียกว่า อุปัชฌายวัตร แล้วอุปัชฌาย์ก็มีหน้าที่ต่อลูกศิษย์ คือ สัทธิวิหาริก เรียกว่า สัทธิวิหาริกวัตร ถ้าไปอยู่กับอาจารย์ก็มีวัตรแบบเดียวกัน เปลี่ยนจากอุปัชฌาย์เป็นอาจารย์ ลูกศิษย์คืออันเตวาสิก ก็มีหน้าที่ปฏิบัติต่ออาจารย์เรียกว่า อาจริยวัตร ส่วนอาจารย์ก็มีหน้าที่ปฏิบัติต่อลูกศิษย์ เรียกว่า อันเตวาสิกวัตร ทีนี้ไม่ว่าจะเป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ วัตรคือหน้าที่ประจำที่จะต้องปฏิบัติต่อลูกศิษย์ ต่อสัทธิวิหาริก ต่ออันเตวาสิก ข้อแรกเป็นหลักก็คือว่า จะพึงหรือจะต้องก็ได้ จะต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกนั้น ด้วยอุเทศ ด้วยปริปุจฉา ด้วยโอวาท ด้วยอนุสาสนี นี้เป็นคำบาลีทั้งนั้นก็อธิบายให้ฟังนิดหน่อย อุเทศ ท่านว่่าหมายถึงพุทธพจน์ ก็คือหลักพระธรรมวินัย อุปัชฌาย์หรืออาจารย์นี้จะต้องสอนให้อุเทศ หลักพระธรรมวินัย พุทธพจน์ ให้รู้ เข้าใจ ให้เรียน ให้ศึกษา แล้วก็ปริปุจฉา ปริปุจฉาก็แปลว่่าซักรอบสอบถาม ต้องซักกันให้แจ่มแจ้งไปเลย อันนี้ท่านก็เน้นเอาที่อรรถกถา อรรถกถานั้นเป็นคำภีร์ที่อธิบายพุทธพจน์ อธิบายพระไตรปิฎก นั้นก็พูดตรงๆ ก็เรียนพระไตรปิฎกและอรรถกถา อย่างที่ว่าตามภาษาเก่า แต่ก็คลุมไปหมด ก็ให้รู้ ให้เข้าใจ หลักพระธรรมวินัย และคำภีร์ที่อธิบายก็ (??? นาทีที่ 6.04) อรรถกถาเป็นต้นไป แล้วก็โอวาท โอวาทก็ว่ากล่าวตักเตือนทั่วไป มีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้น หรือทำอะไร ปฏิบัติถูกไม่ถูก ควรจะทำอย่างไร ก็ให้โอวาท โอวาทบางทีก็เกิดเรื่อง มีอะไรขึ้นมาละก็โอวาท ทีนี้ไม่แค่โอวาท สอนกันเรื่อยไปเรียกว่าพร่ำสอน คำว่าพร่ำสอนเรียกว่าอนุสาสนี ก็ว่ากันว่ามีเรื่องเกิดขึ้นโอวาทกันเป็นครั้งเป็นคราว นั้นอีกอย่าง แล้วอนุสาสนีก็สอนกันเรื่อย พร่ำสอน นี้แหละหน้าที่หลักของอุปัชฌาย์อาจารย์ ต่อจากนั้นก็มีข้อหลักปฏิบัติต่อกันในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน เอ้อ เธอไม่มีจีวร ขาดจีวร ไม่มีบาตร พระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ก็ต้องเป็นหน้าที่ธุระช่วยหาให้ อาจารย์ก็เหมือนกัน อาจารย์แม้แต่ว่าท่านจะเจ็บป่วย ก็มาดูแลรักษาพยาบาลลูกศิษย์ ลูกศิษย์ก็เหมือนกัน ลูกศิษย์เจ็บป่วยอาจารย์อุปัชฌาย์ก็มีหน้าที่ดูแลรักษาพยาบาลเยอะไปหมดหน้าที่เหล่านี้ หน้าที่เหล่านี้ก็เป็นของชีวิตประจำวันดูแลเอาใจใส่กัน ท่านบอกว่าให้ตั้งจิตเหมือนพ่อกับลูก นี้แหละชีวิตของอุปัชฌาย์กับลูกศิษย์ กับอาจารย์กับลูกศิษย์ เรียกว่าอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริก และอาจารย์กับอันเตวาสิก แต่ว่าบางทีก็ลืมกันไปไปนึกว่า ไปบีบไปนวดไปปฏิบัติกันไปเอายาสีฟัน แปรงสีฟัน ถวาย เนี่ยแหละนี่เป็นปฏิบัติประจำวัน เลยไปติดอยู่แค่นั้น ลืมไปว่าหน้าที่หลัก งานหลักนั้นคือ อุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุสาสนี อันนี้ อันนี้คือตัวจริง ตัวนอกนั้นก็เป็นเครื่องประกอบให้การที่จะมาเรียน มาศึกษา อุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุสาสนีเนี่ย ดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะชีวิตประจำวัน ถ้าไม่คล่องไม่สะดวก การศึกษาเล่าเรียนมันก็ไม่ได้เต็มที่ เมื่อได้ปฏิบัติกันดูแลกันดีแล้ว ชีวิตประจำวันไม่มีปัญหา คล่องสะดวก การเล่าเรียนศึกษาก็เป็นไปด้วยดี เวลานี้บางทีไปนึกว่า เอ้อ ปฏิบัติอุปัชฌาย์ก็ไปเหยียบไปนวด พอค่ำก็ไปนวดท่านอะไรอย่างนี้ เลยไปนึกแค่นั้น ที่จริงมันอยู่ที่ข้อนี้ ข้อหลักเนี่ยเดี่ยวนี้ต้องย้ำกันให้มาก ที่นี้ก็อุปัชฌาย์นี่ก็ไม่ไหว ก็บอกตรงๆ ก็เลยก็ต้องมาขอนิสัยอยู่กับพระอาจารย์คือท่านเจ้าคุณมงคลธีรคุณ ทีนี้พระอาจารย์ในที่วัดเรานี้ก็มีระบบว่ามีพระเก่าท่านก็เป็นครูอาจารย์ได้ เป็นรุ่นผู้ใหญ่ มีความรู้ศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัยมา ก็มาช่วยสอนให้ได้ เพราะฉะนั้นก็เหมือนกับว่ามามอบหมายกัน ว่าเอ้า ท่านผู้นี้มาสอนวิชานี้ ท่านผู้นั้นไปสอนวิชานั้น ก็เลยเปิดชั้นเรียนกันไปเลย จนกระทั่งว่าคณะสงฆ์จัดมีการสอบ ถึงเวลาก็ไปสอบ อะไรนี้ ก็เป็นระบบปัจจุบันไป แต่ว่าหน้าที่หลักก็อยู่ที่ว่าเนี่ย นั้นก็ต้องจำกันไว้ให้ดี หลักเลยนะ ต้องรู้ 1. อุเทศ 2. ปริปุจฉา แล้วก็ต่อไปตัวประกอบก็โอวาทและอานุสาสนี นี่ก็เล่าให้ฟังนิดหน่อย นี้ก็เป็นพันธะ ก็สัทธิวิหาริก บวชไปแล้วก็ไปอยู่ต่างจังหวัดซะตั้งตลอดวันเนี่ย พึ่งจะมาได้ พึ่งจะได้มาพึ่งจะได้มาวันนี้ก็เลยได้มาเยี่ยมพระใหม่ ก็คุยกันบ้างเท่าที่เป็นไปได้
วันเวลาเนี่ยผ่านไปรวดเร็ว นี้เราขึ้นปีใหม่กันมาก็เก่าไปครึ่งเดือนละ เป็นอันว่าปีใหม่นี้เก่าไปครึ่งเดือนละ ก็ค่อยๆเก่าไปเรื่อยๆ เก่าไปเก่ามาในที่สุดก็เก่าทั้งปี เอาหละ ทีนี้พระใหม่ก็บวชมาแล้วก็ชักเป็นเพราะเก่าเหมือนกัน ตอนนี้ก็เก่าไปที่ว่าหลายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม ก็แต่ว่าโดยวินัยท่านยังนับว่าเป็นพระใหม่ เพราะว่าพระใหม่เป็นพระนวกะนี้ท่านนับไป 5 พรรษาเลย แต่ว่าเป็นพระใหม่ที่มาอยู่มาเก่าขึ้นแล้ว ก็เป็นเรื่องของกาลเวลา ในพุทธศาสนานี้ก็ให้ความสำคัญเรื่องกาลเวลามาก เราอาจจะได้ยินคำสอน พุทธโอวาท คาถา ภาษิต เกี่ยวกับเรื่องกาลเวลาเยอะแยะ ที่นี้ที่ย้ำบ่อยมาก พูดอยู่เรื่อย ที่จริงไม่ใช่มีแค่นี้ เรื่องของกาลเวลานั้นมีมากมาย แต่อันที่ย้ำบ่อยอยู่เสมอก็ อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา ว่าเวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อยต้องให้ได้อะไรบ้าง อันนี้ก็พูดกันอยู่เรื่อย เป็นคาถาสั้นๆ ง่ายดี ไม่ให้ผ่านไปเปล่า อย่าให้เป็นโมฆะ วันเวลาผ่านไปเปล่า ไม่ได้ทำอะไรก็เป็นโมฆะ ให้ได้บ้าง ญาติโยมก็คิดถึงได้งาน ได้เงิน แล้วก็ได้อะไร ได้ช่วยเหลืิอกัน ได้บำเพ็ญประโยชน์ ได้ช่วยเหลือผู้อื่น อะไรอย่างนี้ คุณพ่อคุณแม่ ก็ช่วยเหลือที่จะทำหน้าที่ต่อลูก ลูกก็ไม่ใช่ว่าไปเรียนได้ไปเรียนหนังสือ ได้ความรู้ ได้การศึกษา ก็ให้รวมไปถึงว่าได้ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ ได้ทำความดี ได้บำเพ็ญประโยชน์ ได้มาช่วยในการที่จะทำให้ครอบครัวของเราเนี่ย อยู่กันมีความสุข แล้วก็อยู่ดี แล้วเราก็ไปเล่าเรียนหนังสือ ทั้งหา(??? นาทีที่ 12.30) ให้คุณพ่อคุณแม่ ก็มีความสุขที่เราได้เป็นคนดี ทำหน้าที่ของตัว เจริญก้าวหน้าเนี่ย อย่างเนี่ยได้ทั้งนั้น หรือว่าได้การศึกษานี้ก็ยังได้ปัญญา ได้บำเพ็ญประโยชน์ แล้วก็ได้ทางจิตใจก็คือได้จิตใจที่ดีงาม มีความสุข ทางพระท่านให้ตัวอย่างว่า ได้ปราโมชย์ ได้ความร่าเริงเบิกบานใจ ได้ปีติ อิ่มใจ ปลื้มใจ ได้ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายกายใจ ไม่มีความเครียด แล้วก็ได้ความสุข ได้สมาธิ อย่างเนี่ยเรียกว่าได้ทั้งนั้น เคยบอกไว้แล้วว่า ทุกคนเนี่ยมีโอกาสได้ทุกวัน แม้แต่จะนอน จะนอนจะหลับอยู่แล้ว นึกขึ้นมาว่า วันนี้ไม่ได้อะไรเลยจะหมดไปเปล่า ก็ให้ยิ้มได้ขึ้นมา พอจะหลับนี้ก็ให้ทำใจให้ผ่องใส แค่นี้ก็ได้คุ้มทั้งวันเลย เวลาจะหลับเนี่ย อย่าไปมัวหมอง อย่าไปจิตหดหู่ ซึมเศร้าไม่ได้ ต้องทำใจให้ร่าเริงเบิกบานผ่องใส ยิ้มขึ้นมาในใจของตัวเอง แค่นี้ได้แล้ว และอีกอย่างถ้าจะให้ได้ดีกว่านั้นก็คือตั้งใจบอกว่า เอ้อ พรุ่งนี้เราจะช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำอะไร เราจะบำเพ็ญประโยชน์อะไร แค่นี้ตั้งใจนี้ก็ได้แล้ว ทุกคนมีโอกาส ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเรามีโอกาสตลอดเวลา ไม่มีการหมดโอกาส แต่ว่าใช้โอกาสให้ดีก็แล้วกัน นี้ก็เป็นเรื่องของกาลเวลา ที่นี้ก็เรื่องกาลเวลาก็อยากจะพูดเป็นตัวอย่างอย่างหนึ่ง เป็นคติไว้นะ เพราะว่ามีหลักพระพุทธศาสนาอยู่ หลายคนหลายท่านเนี่ย ได้รับคำสอน แต่ว่าจะเข้าใจถูกหรือเปล่าต้องมาพูดกันดูหน่อย ทำความเข้าใจ คือจะมีคำสอนอันหนึ่งที่เน้นกันมาก บอกให้อยู่กับปัจจุบัน หลายท่านคงได้ยิน อยู่กับปัจจุบันนี้อยู่กันยังไง อ้าว ยกตัวอย่างพระสูตรหนึ่งขึ้นมา พระสูตรภัทเทกรัตตสูตร อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง เป็นต้น อันนี้ก็หลายองค์จะสวดได้แล้วก็จำกันแม่น เป็นคาถาสำคัญ เป็นพระสูตรหนึ่งเลย เรียกว่าภัทเทกรัตตสูตร ขึ้นมาก็บอกว่า นั่นแหละ ไม่พึง (???นาทีที่ 15.10) ให้ความหลัง ไม่มัวเพ้อหวังอนาคต อดีตก็ล่วงไปแล้ว หมดแล้ว หายไปแล้ว ไม่มี อนาคตก็ยังไม่ถึง ก็คือไม่มีนั่นแหละ และก็ ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ส่วนอะไรที่เป็นเรื่องปัจจุบัน นั่นแหละเป็นของที่แน่แท้แน่นอน ให้มองเข้าใจแจ่มชัด แล้วทำซะ ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องทำ อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง บอกว่าเรื่องที่จะต้องทำ กิจหน้าที่การงานอะไรเนี่ย พยายามทำเสียแต่วันนี้ นี้เลย ไม่ให้ผลัดเพี้ยน ไม่ให้ประมาท อันนี้ก็เป็นพระสูตรหนึ่ง นี่ก็เป็นการพูด กว้างๆ แบบให้อยู่กับปัจจุบัน ก็หมายความว่า อย่างที่บอกเมื่อกี้ ย้ำอีกทีบอกว่า ไม่มัว (???นาทีที่ 16.12) ให้ความหลัง ไม่มัวละเมอเพ้อหวังอนาคต เพราะมันไม่มีจริง ถ้าเป็นอดีต เราก็ได้แต่เสียดาย หรือไม่งั้นก็เสียใจ และมันก็ไม่ได้ทั้งคู่ และก็อนาคตก็ได้แต่ฝันเพ้อไป อันนี้เป็นพระสูตรหนึ่งที่ให้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าไม่ใช่อยู่เฉยๆ ต้องทำนะ สิ่งที่ทำได้ก็คือสิ่งที่เป็นปัจจุบันเฉพาะหน้า เอาหละ อันนี้ก็ยกมาให้ฟัง เป็นหลักการอันหนึ่ง แต่ว่าจะ (???นาทีที่ 16.50) อยู่เท่านี้ เดี่ยวจะพูดให้ฟัง ทีนี้เดียวบางท่านก็จะบอกว่า เอ้า ก็อย่างพระเทวทัตเนี่ย ท่านก็เล่ามา บอกพระพุทธเจ้าเคยตรัสคือพระเทวทัตเนี่ยก็มีเรื่องว่า ทำโน่นทำนี้ในที่สุดก็ถูกธรณีสูบ ทีนี้ตอนถูกแผ่นดินสูบนั้นก็ท่านก็เล่าเรื่อไว้ว่าพระพุทธเจ้าก็ทรงปรารภ และก็ตรัสบอกว่า พระเทวทัตเนี่ย มัวแต่ติดข้องอยู่กับความสุขในปัจจุบัน ไม่คำนึงถึงอนาคต จึงได้พาบริษัทบริวารให้ถึงความพินาศไปด้วยกับตน อ้าว ทำไม เมื่อกี้บอกว่า ไม่ให้ (??? นาทีที่ 17.39) ความหลัง ไม่มัวเพ้อหวังอนาคต ให้อยู่กับปัจจุบัน เอาหละอันนี้บอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่าพระเทวทัตเนี่ยที่พาทั้งตัวเองทั้งพาบริษัทบริวารถึงความพินาศ ก็เพราะมัวอยู่กับความสุขกับปัจจุบัน ไม่คำนึงถึงอนาคต เอ้าแล้วมันขัดกันหรอ เอาหละแล้วเล่าให้ฟังอีก ในพระไตรปิฎกเนี่ย พระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องอดีตมากเหลือเกิน เต็มไปด้วยเรื่องอดีต แค่ว่าภูตะปุพพัง นี้เยอะเกินร้อยครั้งนะภูตะปุพพัง ภูตะปุพพังนี้ ภูตะปุพพัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เอาหละสิ เดี่ยวก็ ภูตะปุพพัง (???นาทีที่ 18.27) ดูก่อนสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว เอ้ ตรัสตั้งเป็นร้อยๆครั้ง ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสแต่เรื่องอดีตเยอะแยะเหลือเกิน เอาหละแล้วก็ทีนี้อนาคตหละ อย่างที่ว่าเมื่อกี้เรื่องพระเทวทัต อย่างคาถาหนึ่งนี้ เอาให้ฟังไว้ คาถานี้สำคัญมากนะ อะนาคะตัง ปฏิกริยาถะ กิจจัง เอาแค่สั้นๆนี้ก็พอ บอกเรื่องที่จะต้องทำสำหรับอนาคตนั้นต้องทำให้ทันไว้ ต้องทำให้ทันพร้อมไว้ อย่าให้เรื่องที่ต้องทำนั้นมาบีบคั้นตัวเมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า นี้คาถานี่ก็สำคัญนะ เอาไว้ใช้ได้เลย ยกตัวอย่างเช่นว่าเขาบอกไว้แล้วว่าเกาะเนี่ย อีกเดือนหนึ่งน้ำจะขึ้นท่วมหมดทั้งเกาะ เอาหละสิ ผู้ที่คำนึงภัยอนาคตก็จะเตรียมเรือ เช่น สมัยก่อนไม่มีก็จะมาต่อเรือกันขึ้น คนที่ไม่คำนึงถึงอนาคตก็คือ ช่างมันเถอะ สนุกสนานกินเหล้าเมายากันไป พอถึงวันจริงก็เป็นไงหละ ต่อเรือก็ไม่ทัน หาเรือก็ไม่ทัน พวกที่ต่อเรือเตรียมไว้ก็มีเรือ ขึ้นเรือพากันไป ส่วนคนที่ไม่ได้เตรียมไว้สำหรับอนาคตก็เลยจมน้ำตายหมด นี้เรื่องมาในชาดก ก็เป็นตัวอย่างในการที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต เพราะฉะนั้นใช้พุทธภาษิต ใช้คำสอนในพุทธศาสนาจะต้องเข้าใจ แยกให้ชัด ทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ที่นี้จะอธิบายอย่างไรหละ หลักเป็นยังไง ทำไม เอ๊ะ (???นาทีที่ 20.30) กันเดี่ยวบอกว่าไม่เอาอดีต ไม่เอาอนาคต เอาแต่ปัจจุบัน อ้าว เดี่ยวบอกต้องทำอนาคต ต้องเตรียมไว้ให้พร้อม อะไรต่างๆอย่างนี้ ต้องทำความเข้าใจให้ชัด จะเป็นชาวพุทธต้องศึกษา เข้าหลักเลย พุทธศาสนาเนี่ยแบ่งหลักการปฏิบัติ เอาง่ายๆแบบพระเนี่ยเป็น 3ระดับ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลเนี่ยเรื่องพฤติกรรม การเป็นอยู่ การปฏิบัติต่อกัน ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมมนุษย์ อยู่กับผู้อื่นในสังคมนี้เรียกว่าพวกศีล และก็อยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งหลายที่เป็นวัตถุด้วย รู้จักกิน รู้จักอยู่ รู้จักรับประทาน รู้จักประมาณในการบริโภคอะไรต่างๆเหล่านี้ จนกระทั่งอยู่ในถิ่นที่เป็นรมณีย์ และก็สมาธิ ก็เรื่องจิตใจ ทำจิตใจให้ดี ทำจิตใจให้ดีก็อย่าไปจำแต่สมาธินะ ชุดของสมาธิก็ต้องจำให้ได้ ถ้าท่านจะไปสมาธิทันทีบางทีมันอยู่นั้นแหละ เตรียมตัวสร้างสมาธิเนี่ย ชุดของท่านเนี่ย พระพุทธเจ้าท่านย้ำแล้วย้ำอีกเนี่ย ไม่ค่อยเอามาพูดกัน เมื่อกี้บอกไปแล้ว 1. ปราโมทย์ ร่าเริงเบิกบานใจ ไม่มีซึมเศร้า และก็ปีติ อิ่มใจ ปลื้มใจ 3. ปัสสัทธิ ผ่อนคลาย ไม่มีความเครียด และก็ 4. สุข มีความสุข ใจโล่งโปร่ง ไม่มีอะไรบีบคั้น ไม่มีอะไรกดดัน ทุกข์ก็คือบีบคั้น คำว่าทุกข์แปลว่าบีบคั้น บีบคั้นกดดันก็เป็นทุกข์ สุขก็ตรงกันข้ามก็คือคล่องโล่งโปร่ง ฉ่ำชื่น รื่นใจ นี่สุข และก็สมาธิ ใจมั่นแน่วอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ ใจทำอะไรจะคิดอะไรใจก็อยู่กับเรื่องนั้น ไม่ฟุ่งซ่าน ไม่วอกแวก ไม่ไขว้แขว่ ไม่กระวนกระวาย ไม่ทุรนทุราย (??? นาทีที่ 22.50) อะไรๆก็มารบกวนไม่ได้ สมาธินี่คือจิตอยู่ตัวของมันแล้ว ได้ที่ ไม่มีอะไรมากวนได้ 1. ก็ไม่มีอะไรข้างนอกมากวนได้ 2. ตัวมันเองจะอยู่กับอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ อย่างนี้คือสมาธิ ใครทำได้ก็เรียกว่า มีสมาธิ แต่ว่าสมาธิจะมาได้เนี่ย เตรียมให้ครบชุดของเขาเนี่ย 5อย่าง พระพุทธเจ้าตรัสแล้วตรัสอีก ถ้าอยากจะมีสมาธิเนี่ยเริ่มทำใจให้ปราโมทย์ก่อน ปราโมทย์ร่าเริงเบิกบานใจ สดชื่นแจ่มใส แล้วก็ปีติ อิ่มใจ ปัสสัทธิ ผ่อนคลายไม่มีความเครียด มีความสุข โล่งโปร่งใจ ฉ่ำชื่น รื่นใจ สมาธิก็จะตามมา และบอก (สุข ขะ ปะ ทัด ถะ โน) สมาธิมีสุขเป็นบรรทัดฐาน พอสุขแล้วมันไม่มีอะไรมาบีบคั้น มันไม่ต้องดิ้นรน มันก็อยู่ตัวของมันเป็นสมาธิได้ ดังนั้นเราจะไปสมาธิ เราจะไปมัวครุ่นคิดแต่สมาธิ เราต้องทำชุดของเขานี้แหละ ก็เริ่มที่ปราโมทย์ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้แล้วเนี่ย (จะ โต ปรา โมทย์ ชะ พู โล ทุก ขะ สัน ตัง คะ ริด สะ ติ) บอกว่าเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้วลำดับนั้นก็เป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ จักทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป ปราโมทย์เนี่ยเป็นตัวสำคัญมาก พระพุทธเจ้าตรัสแล้วตรัสอีก บอกว่าพระภิกษุที่มากด้วยปราโมทย์เนี่ย จะบรรลุถึง(สัง ขา รู ปะ สะ มัง สุ ขัง) ความสุขที่ปราศจากการปรุงแต่งได้ เอาหละ ก็คือ นิพพาน บรรลุนิพพานนี้เริ่มต้นตั้งใจให้เป็นพื้นก็คือมีปราโมทย์ ฉะนั้นพระก็ไม่ควรจะมีความทุกข์ หน้าตาท่านบอกว่าให้ยิ้มแย้มแจ่มใส ท่านบอกว่า ปิยจักขุ อยู่ด้วยกันก็มีปิยจักขุ พูดกันก็มีปิยวาจา เวลามองกันก็มีปิยจักขุ ปิยจักขุก็ว่าแปลว่าดวงตาเป็นที่รัก ดวงตาน่ารัก ดวงตามีความรัก อยู่ด้วยกันในสังคมเนี่ยพระพุทธเจ้าเน้นอยู่เรืื่อยต้องเป็นอย่างนี้ ในครอบครัวก็เหมือนกันต้องมีปิยจักขุ ต้องมีดวงตาที่เป็น(ปิ ยะ) ดวงตาน่ารัก ดวงตามีความรัก อะไรอย่างนี้ นี้เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสบ่อยแต่เราไม่ค่อยได้คำนึง เอาละนะ ให้มีปราโมทย์ประจำใจไว้ นี้ก็ที่นี้เป็นเรื่องของจิต จิตก็ถ้าเราไปหวนละห้อยความหลัง เพ้อหวังอนาคต ก็อย่างที่ว่า มันไปเรื่องที่ว่า อดีตก็อาจจะเสียดาย ไม่งั้นก็เสียใจ แล้วอนาคตเราก็ได้เรื่องที่ฝันเพ้อไป นี้จิตใจของเราเนี่ยมันมี 2ด้าน ด้านที่ว่าไม่ดี ก็เป็นเรื่องของความไม่ดีใช่ไหม ก็เป็นเรื่องของความหงุดหงิด เร่าร้อน กระวนกระวาย ฟุ่งซ้าน หรือว่างั้นอีกอย่างก็ไปทางว้าแหว่ ซึมเศร้า เหงาหง๋อย เนี่ยไม่ดีทั้งคู่ ก็แก้ 5 ตัวเมื่อกี้ ให้มีปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ไอ้เจ้า 2 ข้างไม่มาแล้ว นี้เรื่องของจิตเนี่ยมันอยู่เรื่องนี้มาจบที่สมาธิ ทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจัดไว้เรื่องจิตเนี่ยก็คือเรื่องที่ภาษาไทยเราใช้คำว่าอารมณ์ แต่ภาษาไทยเราเอามาใช้มาผิด ภาษาบาลีอารมณ์ท่านไม่ได้แปลอย่างนี้หรอก แต่ภาษาไทยเรามาใช้อย่างนี้ละ อย่างหงุดหงิด โกรธ เกลียด ไม่สบายใจ อะไรก็อารมณ์ทั้งนั้น ภาษาบาลีท่านไม่ใช่หรอก แต่ว่าเอาละ เรามาใช้กันแล้วเราก็ปล่อยไป แล้วอย่างที่ว่าคนไทยว่าอารมณ์นี้แหละก็คือของจิต เรื่องของจิตมันอยู่ที่เนี่ย ฝ่ายดีก็มีเยอะแยะ เรื่อง สติ เรื่องศรัทธา เรื่องของอะไรต่ออะไร เรื่องของจิตนี้มีทั้งฝ่ายกุศล อกุศล เยอะแยะไปหมด แต่มันก็อยู่อย่างเนี่ย ทีนี้มันมีคุณสมบัติของจิตอยู่ตัวหนึ่งที่สำคัญมาก พระพุทธเจ้าทรงแยกไปอีกเป็นการศึกษาอีกระดับหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเลยต่างหาก ก็คือปัญญา ปัญญาเป็นคุณสมบัติของจิต ตัวเดียวพิเศษที่แยกไป ในไตรสิกขามีคิดอยู่ ศีล สมาธิ ปัญญา จิตด้านอื่นในเรื่องอื่น คุณสมบัติ เป็นสติ เป็นอะไรต่ออะไรก็มาอยู่ในจิตหมด ในสมาธิเป็นยอดของเขา เป็นตัวคุมหมดเลย แต่ว่าปัญญานั้นพระองค์เป็นตัวแยกไปให้ เป็นอันหนึ่งเลย เพราะอะไร ในจิตนั้นคุณสมบัติอะไรต่ออะไรก็อยู่ข้างในเรานี้แหละ ทำให้เราดีทำให้เราชั่วว่าของเราไป แต่ปัญญานี้เป็นตัวที่ทำให้เรารู้จักสิ่งรอบตัวข้างนอก รู้จักโลก รู้จักสากลจักรวาลถึงกันหมดเลย ปัญญานี้เป็นตัวที่ทำให้มนุษย์เข้าถึง รู้จักอะไรต่ออะไรทุกอย่าง เมื่อรู้แล้วก็ดำเนินการจัดการได้หมด ทีนี้ด้านปัญญานี้สิที่เราต้องคำนึง ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าให้อยู่กับปัจจุบันนั้น คือด้านจิต ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน ถ้าจิตคุณไปอยู่กับอดีตคุณก็ (??? นาทีที่ 28.40) ให้ เสียดาย มีอารมณ์หงุดหงุด ไม่สบายใจ อะไรไป เสียดงเสียดาย แล้วก็ไม่งั้นก็ตรงข้าม เกิดความไม่สบายใจ ฟุ่งซ่าน วุ่นวาย อะไรต่ออะไรไป แล้วก็มีคุณธรรมมาช่วยมันก็อยู่ในเรื่องของจิต ทีนี้จิตนี้ก็ให้อยู่กับปัจจุบัน ทีนี้พออยู่กับปัจจุบัน ทีนี้ปัญญาหละ ปัญญานี้ท่านไม่มีจำกัด ต้องเข้าใจไว้นะ ปัญญาเนี่ย ปัญญานี้ต้องถึงหมด อดีต เท่าไรๆ พระพุทธเจ้านี้ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อตีตังสญาณ ไปรู้หมด อดีตนี้ต้องทั่วถึง ไม่ว่าที่ไหนๆ รู้หมด รู้แล้วก็มา เพราะเรารู้เราจึงมาจัดการปัจจุบันได้ใช่ไหม ไม่รู้อดีต ไม่เข้าใจเรื่องราวเป็นมาอย่างไร ก็คุณจะสืบเหตุปัจจัยนี้นี่เรื่องปัญญา ละเหตุปัจจัยมันอยู่ที่ไหนหละ มันไปมาจากอดีตใช่ไหม ส่วนมากเหตุปัจจัยมาจากอดีตแล้วคุณไม่เอาปัญญาไปรู้อดีตแล้วคุณจะมาจัดการเหตุปัจจัยให้มาปัจจุบัน (???นาทีที่ 30.00) ได้ยังไงใช่ไหม ฉะนั้นเรื่องของปัญญาหนะ ท่านไม่มีห้ามเลย ปัญญากลับตรงข้ามต้องถึงหมด ทั่วถึงอดีตอดีตแค่ไหนยิ่งรู้เท่าไหร่หมดยิ่งดีใหญ่ สืบอดีตไปสิสืบเหตุปัจจัยเรื่องนี้ไปยังไงมายังไง เรื่องราวเก่าเป็นอย่างไร แล้วก็มาเป็นบทเรียนบ้าง มาใช้ประโยชน์กับปัจจุบันบ้าง รู้เรื่องพื้นเพภูมิหลังว่าอันนี้เป็นมาอย่างไรจะได้จัดการแก้ไขได้ ฉะนั้นเรื่องอดีตปัญญาก็ต้องรู้ อนาคตปัญญาก็ต้องส่องพาไปข้างหน้าพอเห็นเค้า เรายังเดินทางไปเนี่ย ก็ไม่เห็นอนาคตชัดหรอก แต่ยังพอเห็นทิวเขาข้างหน้าบ้าง เห็นทิวไม้บ้างใช่ไหม เอ้อ เราก็พอหยั่งได้ เราก็ใช้ความรู้อดีตที่เคยมีบ้าง แล้วก็การที่สามารถใช้ความรู้ความเข้าใจ ข้อมูลมาจัดสรรปรุงแต่ง มาคิด สืบสาวมาคิด จากการสืบสาวเก่ง ก็จะทำให้มองข้างหน้า เรียกว่ามองการที่จะเป็นไปตามเหตุปัจจัย คล้ายๆว่าคาดหมายได้ดีขึ้น อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเรื่องอนาคตแล้ว ขออภัย เรื่องทางด้านปัญญาเนี่ย ไม่ว่าอดีตก็ต้องรู้ทั่วถึง ปัจจุบันก็ต้องเท่าทัน อนาคตก็ต้องไปให้ได้ ต้องเรียกว่าหยั่งได้เลย ก็เป็นอันว่าอันนี้ต้องทำความเข้าใจ เดี่ยวจะเข้าใจผิด พอไปอยู่พระพุทธเจ้าอยู่ให้อยู่กับปัจจุบัน ก็เลยไม่เอาละ ไม่คิด ไม่หาความรู้ เรื่องอดีต ไม่เอาเลย กลายเป็นหงอก๋อ เลยไม่ไปไหนเลย อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องเข้าใจให้ถูก นี้แหละที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เพราะฉะนั้นเรียนธรรมะต้องเข้าใจให้ดีนะ ต้องแยกให้ถูก หลักการใหญ่พวกนี้เรื่องจิต พอจิตชั้นอยู่กับปัจจุบัน จะทำอะไรจิตต้องอยู่กับปัจจุบัน แม้แต่ท่านรู้อนาคต รู้อดีตมาหมด ปัญญารู้มา เวลาทำแล้วทำกับอะไร ก็ทำกับปัจจุบัน จะทำเพื่อให้อนาคตเป็นอย่างไร เราเอาปัญญาหยั่งได้เลย ละก็ทำกับปัจจุบันเนี่ยแหละ ก็ทำเหตุปัจจัยเพื่อให้อนาคตเป็นอย่างนั้นใช่ไหม เวลาทำก็ทำกับปัจจุบันจิตมันก็ต้องอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับสิ่งที่กระทำ เพราะฉะนั้นในคาถา ก็บอกว่าไม่มัว หวนละห้อยความหลัง ไม่มัวเพ้อหวังอนาคต ก็ไปลงที่ให้แจ้งชัดในปัจจุบัน แล้วทำกับปัจจุบัน อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง กิจเรื่องที่จะต้องทำ พยายามทำเสียในบัดนี้ในวันนี้ เป็นเรื่องต้องทำ ทำก็กับปัจจุบัน เพราะฉะนั้นจิตมันอยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าปัญญานี้ไปได้หมดเลย แล้วก็เอามาทำกับปัจจุบันเนี่ยแหละ อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งนะ อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างให้รู้จัก ก็เป็นส่วนหนึ่งของหลักพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า (วิ วัช ชะ วาด) (วิ วัช ชะ วาด) ก็คือรู้จักแยกแยะ ไม่ใช่อะไรมาก็ตี (??? นาทีที่ 33.32) ไปอย่างเดียว ท่านสอนอย่างเช่นอย่างตัวอย่าง พอเห็นอะไรนี่มีเรื่องอะไรขึ้นมาก็ต้องแยก มันมีแง่ดีอย่างนี้ มีแง่เสียอย่างนี้ แล้วการที่จะทำให้สมบูรณ์ต้องแก้แง่เสียอย่างนี้ อะไรอย่างนี้ ไม่ใช่อะไรมองอะไรก็ตี (??? นาทีที่ 33.48) เป็นอย่างเดียว อันนี้ดี อันนั้นไม่ดี อย่างนี้ แยกเป็นหมด เอ้ออันนี้นะดีนิ แต่ยังมีจุดที่ยังอ่อน จุดด้อยจุดเด่นอะไรต้องแยกแยะได้หมด ปัญญามันต้องมาอย่างนี้ เอาหละ ทีนี้ก็เลยยกตัวอย่างเรื่องกาลเวลาให้เข้าใจ