แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ขอเจริญพร ก็พักกันได้เวลาพอสมควรแล้ว ก็ต่อกันอีกพอดีพอไปหยุดก็เสียงก็เลยหมด ทีนี้หัวข้อต่อไปก็จะพูดเรื่องขอบเขตหรือขีดจำกัดของความรู้ หรือขอบเขตของการเข้าถึงความจริงทางวิทยาศาสตร์ นี้ขอโยงกลับไปที่พูดเมื่อกี้ ได้บอกแล้วว่าเมื่อธรรมชาติที่เป็นจุดเป้าของความรู้ต่างกัน กว้างแคบ หรือครอบคลุมต่อกันมันก็มีข้อพิจารณาตามมาหลายอย่าง เมื่อกี้นี้ได้พูดว่า ทางพุทธศาสนานั้นศึกษาที่ตัวมนุษย์ เอาตัวมนุษย์เป็นแดนของการพิสูจน์ความรู้ แล้วก็บอกถ้ารู้ความจริงของมนุษย์หมด ก็ได้ความรู้หมดจักรวาลว่าอย่างงั้น ทีนี้วิทยาศาสตร์เอาโลกภายนอกก็สุดแค่ชีวิตด้านวัตถุ หมายความว่าเพื่อศึกษาโลกภายนอกมาจนจบแค่ตัวชีวิตที่เป็นด้านวัตถุ อย่างมากก็มาจ่อที่จุดเชื่อมกับจิตในลักษณะที่เป็นอิทธิพลต่อกันซึ่งอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ทีนี้เมื่อกี้ที่ได้พูดด้วยว่า วิทยาศาสตร์เฉพาะฟิสิกส์นี่ได้เจริญก้าวหน้ามามากจนเรียกได้ว่าจะสุดพรมแดนของความรู้ที่วางขอบเขตไว้ แล้วเดิมวิทยาศาสตร์ก็คิดว่าจะเข้าถึงความจริงทั้งหมดสมบูรณ์จบสิ้นจักรวาลด้วยการรู้โลกภายนอกนั้นด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ทางอินทรีย์ทั้ง 5 เพราะมีความเข้าใจอยู่เดิม ๆ ติดมาว่าโลกที่เป็นแดนของจิตนั้นทั้งหมดเกิดจากวัตถุด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจวัตถุถึงที่สุดก็ย่อมรู้แจ้งแดนของจิตด้วย ถ้าหากว่าจิตเกิดจากวัตถุ แล้วก็ได้บอกว่าแต่ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์น้อยคนจะเชื่ออย่างนั้น เพราะความรู้ความจริงทางวัตถุที่เข้าถึงอย่างแทบจบสิ้นนี้ไม่ทำให้เข้าใจอย่างรู้แจ้งแดนแห่งจิตได้ เวลานี้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัจภาวะแห่งโลกวัตถุกับแดนของจิตนั้นโดยมากจะมองกันอยู่ระหว่าง 2 แบบว่าจะเป็นอย่างไหน ตอนนี้ก็จะมี Model เกี่ยวกับเรื่องของความจริง 2 แดน ว่าความจริงทางด้านโรควัตถุภายนอกกับแดนของจิตทั้งหมดนั้น มันหนึ่งเป็นสองด้านของหรียญกลมอันเดียวกัน หมายความว่าแต่ละด้านก็เป็นอิสระจากกันแต่มาเสริมกัน รู้ทั้ง 2 ด้านจริงจะรู้ครบ แต่ว่าแต่ละด้านก็เป็นต่างหากของมัน ก็เป็น 2 ด้านของเหรียญเดียวกัน รู้ทางโน้นกับทางนี้ก็มาเสริมกัน พวกนี้ก็จะแยกว่าแดนของจิตกับแดนของวัตถุนั้นคนละแดนต้องรู้แล้วเอาความรู้นั้นมาเสริมเติมต่างหาก แล้วก็ประกอบกันให้สมบูรณ์
ทีนี้พวกที่ 2 จะเป็นการพิจารณาแดนของความรู้ในลักษณะของการที่มีวงกลมใหญ่อันเดียว แล้วก็มีวงในและวงนอก วงในก็จะมีขีดจำกัดอยู่แค่ตัววงของมัน ส่วนวงนอกคือวงใหญ่ครอบคลุมทั้งตัวมันเองด้วยและคลุมวงในด้วย อันนี้ก็หมายความว่า แดนหนึ่งจะคลุมอีกแดนหนึง ถ้ารู้แดนนั้นหมดก็รู้หมด แต่ถ้ารู้แดนในที่เป็นวงใน ก็รู้แค่ขอบเขตจำกัดไม่สามารถรู้แดนนอก นี้ถ้าหากว่าความรู้ทางด้านโลกวัตถุนั้น เหมือนวงในรู้จบโลกวัตถุ ก็จะรู้แค่วงในแล้วไม่สามารถรู้วงนอกครอบคลุมเรื่องจิตด้วย แต่ถ้าเกิดว่าวงนอกเป็นวงวัตถุ รู้วัตถุหมดก็รู้จิตด้วยที่เป็นวงใน อันนี้มันจะเป็นแบบไหนเนี่ย คล้าย ๆ เป็น 2 Model เอาแล้วทีนี้ก็จะไม่ตอบ เพราะว่ามันเป็นเรื่องของความเห็นของคนที่จะต้องมาถกเถียงกันไป
ทีนี้นักฟิกสิกซ์ใหญ่ ๆ หลายท่านก็พูดทำนองที่ว่าความรู้วิทยาศาสตร์ถึงอย่างไรก็เป็น Partial คือเป็นบางส่วน อยู่ในระดับต้นถ้าเทียบอย่างเมื่อกี้คล้าย ๆ วงรอบในของวงกลม เพราะขึ้นกับ Sense ของอินทรีย์ทั้ง 5 ไม่ใช่อินทรีย์ 6 โดยเฉพาะการเห็นการสัมผัสด้วยกายและก็การได้ยินหรือฟัง คือตาหูและกายสัมผัส เมื่อพ้น Sense มันก็ไปสู่เรื่องของ Symbol สัญลักษณ์การพิสูจน์ด้วยกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเมื่อกี้ได้พูดที่หนึ่งแล้วว่า Sir Arthur Eddington ก็ได้ยกเอาข้อนี้มาพูดว่า ถึงอย่างไรก็ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็จะไม่อาจให้เข้าถึงความจริงแท้โดยตรงได้ อาตมาก็ขออ่านข้อความตอนนี้ก็แกให้ฟังนิดนึง แกบอกว่า We have learnt that the exploration of external world by the methods of physical science leads not to a concrete reality but to shadow word of symbols นี่เป็นคำของ Sir Arthur Eddington ก็บอกว่าเราได้เรียนรู้แล้วว่าการสำรวจโลกภายนอกด้วยวิธีการของวิทยาศาสตร์ทางฟิสิกส์จะไม่นำเราไปสู่ให้เข้าถึงสัจภาวะหรือความจริงที่เป็นตัวแท้ได้ แต่นำให้เข้าถึงได้ก็เพียงโลกที่เป็นเงาแห่งสัญลักษณ์เท่านั้นอันนี้เป็นความเห็นของ Eddington ที่ว่าเป็นผู้เข้าใจทฤษฎีสัมพันธภาพสมบูรณ์เป็นคนแรก แล้วก็มีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งเขียนถึงกันอย่างนี้ว่า ความก้าวหน้าที่สำคัญที่สุดของฟิสิกส์ในศตวรรษที่ 20 นี้เขาว่าอย่างงั้น ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ดีเด่น มิใช่ทฤษฎี สัมพันธภาพ มิใช่ทฤษฏี Quantum หรือการตัดพาอะตอมได้ แต่ได้แก่การตระหนักรู้ถึงความจริงที่ว่าวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถนำมนุษย์เข้าถึงความจริงขั้นสุดท้ายได้ เอ้ากลายเป็นอย่างนี้ไป นี่คือความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การมารู้ความจริงว่าตัวเองจะไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้ ก็จะได้เข้าถึงแต่โลกแห่งเงาที่ว่าเมื่อกี้ อันนี้ก็เป็นเรื่องของนักวิทยาศาสตร์เองที่อาตมาเอามาพูดให้ฟัง ทีนี้ถ้าหากว่านักวิทยาศาสตร์ยอมรับท่าทีที่ว่านี้ ก็ถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง คือมีทางออก 2 ประการ จะจำกัดขอบเขตของตน หรือจะขยายวงความรู้ของตนออกไปให้เข้าถึงความจริงทั้งหมดของธรรมชาติ คือถ้าพอใจจำกัดตัวอยู่ในขอบเขตเดิมก็จะเป็นวิชาชำนาญพิเศษเฉพาะอย่างที่ไม่สามารถให้ทราบภาพรวมความจริงที่ครอบคลุมของธรรมชาติหรือสัจธรรมทั้งหมดได้ แต่ถ้าต้องการเข้าถึงความจริงสมบูรณ์นำมนุษย์เข้าถึงตัวสัจภาวะทั้งหมดของธรรมชาติก็ต้องขยายกรอบความคิดของตนเปลี่ยนความหมายพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก้าวออกนอกขอบเขตจำกัดของตนออกไป อันนี้ก็เป็นเหมือนทางเลือก 2 แบบ ที่ว่าจะเอาอย่างไหน อันนี้ ตอนนี้ภาวะที่จริงเวลานี้ แม้แต่ในแดนโลกวัตถุเองที่เราบอกว่าวิทยาศาสตร์เจริญมาจากสุดพรมแดนนั้น ตัวความจริงในฝ่ายโลกวัตถุนี่ในขั้นพื้นฐานจริง ๆ ก็อย่างที่บอกแล้วว่าวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถตอบได้ คือเรายังไม่สามารถเข้าถึงความจริงขั้นสุดท้ายแม้แต่ในขอบเขตของโลกวัตถุยังมีสิ่งที่วิทยาศาสตร์ตอบไม่ได้หรือไม่แน่ใจบอกไม่ถูก หรือเคยแน่ใจก็กลับเป็นไม่แน่ใจ เคยคิดว่าถูกก็กลับเป็นไม่ถูกมาอีก ก็ยกตัวอย่างเช่น อันนี้จะยกตัวอย่างมา เช่นเรื่อง เราเรียกว่า Quark หรือเราเรียกคว้ากอะไรนี่ Quark นี่ก็คือ อนุภาคพื้นฐานของสะสาร คือเป็นหน่วยพื้นฐานที่สุดแล้วเนี่ยมันเป็น Permanention จริงหรือเปล่า อันนี้มันก็ยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ ก็ได้แต่เชื่อว่ามันถึงที่สุดแล้ว แต่บางคนบอกว่าไม่แน่ใจ มันเป็น Permanention แท้หรือเปล่ามันจะหาลงไปต่อไปอีกได้หรือเปล่า แล้วแม้แต่ว่ามันมีจริงหรือไม่ อันนี้ก็ไม่ได้แน่นอนเด็ดขาดลงไป นี้เช่นเดียวกัน Quanta Quantaก็เป็นฝ่าย Energy คล้าย ๆ เป็นส่วน Permanention เหมือนกันของฝ่าย Energy นี่ ก็ไม่ลงตัวแน่นอนก็เป็นเรื่องของความเข้าใจในระดับเดียวกัน แล้วในขั้นสุดท้ายที่ว่า Matter กับ Energy เป็น 2 โฉมหน้าของสิ่งเดียวกันนี่ แล้วก็ยังไม่รู้ว่าถ้ามันสลับกันมันสลับกันได้อย่างไร
แม้แต่เรื่องแสงที่เราได้หาความรู้กับมันมานาน ใช้ประโยชน์กับมันมานาน จนกระทั่งบัดนี้วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถให้คำตอบขั้นสุดท้ายว่า ธรรมชาติของแสงเป็นอย่างไรกันแน่ เขาบอกว่าธรรมชาติของแสงยังเป็นสิ่งลึกลับที่สุดอย่างหนึ่งของวิทยาศาสตร์ แสงก็เช่นเดียวกันก็เป็นพลังงานที่ว่าเป็นทั้งคลื่นทั้งอนุภาค แล้วมันเป็นได้อย่างไร แล้วก็มันเป็นพลังงานที่มีความเร็วคงที่ได้อย่างไร ในขณะที่ว่าในทฤษฎีสัมพัทธภาพนั้นแม้แต่เวลาก็ยังมีการยืดการหด เวลายืดหดได้แต่แสงไม่ยืดไม่หด แสงคงที่ตลอด อันนี้ก็นำไปสู่การพิสูจน์ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดของนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนจนกระทั่ง Einstein ได้มาพูดขึ้นมาแสดงความจริงขึ้น หรือว่า Wave บางอย่าง คลื่นบางอย่างก็เป็นสิ่งลึกลับของวิทยาศาสตร์อยู่ต่อไป แม้แต่เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าก็เป็นความลึกลับอย่างหนึ่งเหมือนกันที่ยังตอบชัดเจนไม่ได้ ในแง่เป็นคลื่นเป็นอนุภาคก็เช่นเดียวกัน ก็ยังเป็นปัญหา Cosmic ray มาจากไหนอันนี้ก็ว่ายังตอบไม่ได้ แม้แต่ Gravitation parity ทำงานอย่างไร คือรู้ว่ากฏมันเป็นความจริงมีอย่างนั้น ที่เอามาใช้กันก็มันทำงานยังไงก็ไม่รู้ กลไกของมันไม่รู้ไม่เข้าใจ อันนี้ Space time mass ก็ถูกทำให้ผิดรูปไปเพราะทฤษฎีสัมพัทธภาพได้ แต่ว่ามันจะเป็นอย่างไร อันนี้ก็มนุาย์ธรรมดาก็ยากที่จะเข้าใจได้ แต่รวมแล้วก็คือว่าวิทยาศาสตร์ยังไม่อาจรู้ชัดถึงต้นกำเนิดทั้งของจักรวาลและของชีวิต สิ่งที่ศึกษาในขั้นสุดท้ายของวิทยาศาสตร์ก็คือกำเนิดของจักรวาลและกำเนิดของชีวิต เขาบอกว่าตอนนี้ก็ถือว่า Bigbang แหละเป็นจุดกำเนิดของจักรวาล แต่ทำไมจึงเกิด Bigbang ทำไมจึงเกิดอะตอม มันก็ต้องถามต่อไปอีก ก็ไม่มีสิ้นสุด ก็แม้แต่ชีวิตคืออะไรต่าง ๆ เริ่มเมื่อไหร่ก็แบบเดียวกันอย่างที่บอกเมื่อกี้ เช่น Matter สารยุบตัวอย่างไร ในแม็คโครมันก็เป็นสิ่งที่นอกจากคนธรรมดาจะคิดไม่ถึงแล้ววิทยาศาสตร์เองก็ยังต้องพยายามหาคำตอบกันต่อไปแล้วก็ Unified Theory ก็ยังไม่ลงตัว ก็ยังเป็นเรื่องถกเถียงกัน ก็รวมสรุปก็คือว่าสภาพความจริงพื้นฐานที่สุดยังไม่ไม่อาจรู้สมบูรณ์ได้ หรืออย่างนักวิทยาศาสตร์บางคนก็ถึงกับบอกเลยว่า ไม่มีทางวิทยาศาสตร์จะเข้าถึงได้โดยตรง ทีนี้ถ้าว่าตามความเห็นในแง่ของความจริงเนี่ยเราก็บอกได้ว่ามันเป็นธรรมดาอยู่เองที่การจำกัดตัวอยู่ในขอบเขตของโลกวัตถุหรือการใช้วิธีหาความจริงแบบโลกวัตถุอย่างเดียวนั้นย่อมไม่อาจให้รู้เข้าถึงความจริงถึงที่สุดได้ เพราะอะไรคือไม่เข้าใจถึงความจริงใจแม้แต่ในโลกของวัตถุเอง คือแม้แต่ความจริงขั้นสุดท้ายในโลกของวัตถุเองก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการหาความจริงในด้านเดียวของโลกวัตถุ เพราะแท้จริงแล้วความจริงทุกด้านของจักรวาลพิภพย่อมโยงถึงกันหมด ในเมื่อมันโยงถึงกันหมดแล้วเราไปเรียนอยู่ข้างเดียวมันจะตอบคำถามได้ถึงที่สุดไม่ได้ มันก็ต้องไปหาอีกด้านหนึ่งมาเสริมเพราะว่าไอ้ตัวปมความลับที่เหลืออยู่นั้นมันอาจจะไปอยู่อีกด้านหนึ่งของความจริงนั้นที่เราไม่ยอมเข้าไปค้นคว้าก็ได้ ก็เลยกลายเป็นว่าเมื่อวิทยาศาสตร์ค้นคว้า Physical world หรือโลกฝ่ายวัตถุไปถึงจุดหนึ่ง ถ้าจะค้นต่อไป มันจะบังคับให้วิทยาศาสตร์ต้องสนใจคิดตอบปัญหาด้านจิตใจ คือมันจะบังคับเองอ่ะ จะต้องไปคิดหาคำตอบทางด้านจิตใจจึงจะมาตอบคำถามทางด้านโลกวัตถุได้ วิทยาศาสตร์จะต้องครอบคลุมความจริงทั้งหมดต้องอธิบายเรื่องจิตด้วย
เพราะฉะนั้นเราก็จึงเห็นว่าในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์อย่างนักฟิสิกส์หลายคนก็หันมาสนใจปัญหาเรื่องจิตใจที่ว่า จิตใจทำงานอย่างไร บางคนก็บอกว่าแม้แต่ Relativity เรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพนี่ มันในระดับหนึ่งมันก็เป็นเพียงระบบปรัชญาในความคิดเท่านั้น กาละเทศะก็อาศัย Consciousness ก็อาศัยเรื่อง Mind การเข้าใจธรรมดาของมนุษย์ต่อสัณฐานและขนาดของวัตถุ ก็ไม่ใช่เรื่องของประสาทสัมผัสเอง มันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความคิด มนุษย์จะต้องสรุป เป็นข้อสรุปของจิตใจไม่ใช่ว่าประสาททั้ง 5 ตานี่รู้เห็นวัตถุ แต่ไม่ได้เห็นขนาด ไม่ได้เห็นสัณฐาน ไอ้การเห็นสัณฐานและขนาดมันเห็นของใจอีกชั้นหนึ่งอีกต่างหาก อันนี้เป็นต้น แม้แต่ความรู้ทางด้านประสาทสัมผัสก็ไม่ได้เสร็จสิ้นอย่างนั้น ตอนนี้ตัวรู้วิทยาศาสตร์คืออะไรก็คือจิต แต่ธรรมชาติของจิตนั้นวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ ทีนี้วิทยาศาสตร์ถูกรู้โดยจิต ทางวิทยาศาสตร์จะถึงที่สุดก็ต้องรู้ตัวจิตที่มารู้วิทยาศาสตร์ด้วย ตอนนี้มันก็มีปัญหาเรื่องตัวรู้กับสิ่งที่ถูกรู้นี้ แยกกันต่างหากหรือเป็นสิ่งเดียวกัน วิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้ก็เลยหันมาขบคิดปัญหาเรื่องธรรมชาติของจิตกันมากขึ้นว่าจิตนั้นคืออะไรกันแน่ จิตป็นเพียงปรากฏการณ์ในกลไกลในการทำงานของวัตถุอย่างคอมพิวเตอร์ทั้งนั้นหรือ อย่างที่ว่าเมื่อกี้คอมพิวเตอร์ต่อไปจะมีจิตได้ไหม แล้วก็ตอนนี้ก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้แล้วหลายคนก็เขียนหนังสือเป็นเล่มโต ๆ เพื่อถกเถียงกันเรื่องนี้ แต่เท่าจะอาตมาดูแล้วอย่างของเพนโรส ที่ว่าเป็น National Bestseller ก็บอกว่าไม่ใช่แน่ ไม่ใช่เรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีทางที่จะมีจิตใจขึ้นมาได้ แล้วก็เลยความสงสัยเนี่ยมันก็ต้องโยงไปหาเรื่องนี้จนได้ คือว่ามันจะต้องข้ามแดนไปหาแดนของจิต แต่ที่ว่าจิตกับวัตถุนี่มันจะเป็นปัญหาต่อไปว่า จิตกับวัตถุเป็นอันเดียวกันหรือคนละอย่าง แล้วปัญหาทำนองนี้มีมาตั้งแต่พุทธกาลแล้ว อย่างในอัพพญากาสัก ปัญหา ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ที่บอกว่า ชีวะกับสรีระเป็นอันเดียวกันหรือไม่ ถามกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ก็เลยภายในปัจจุบันเท่าที่มองระยะนี้ก็เห็นว่านักฟิสิกส์หรือวงการชั้นนำในวงการวิทยาศาสตร์ดูเหมือนว่าจะแยกได้สัก 4 พวก ในแง่ที่พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องสัจธรรมหรือความจริง
พวกที่ 1 นี้ถูกพวกที่ไม่เห็นด้วย Orthodox พวกหัวเก่า พวกนี้ก็ยังยืนยันความเห็นว่าวิทยาศาสตร์ตอบปัญหาได้ทุกอย่าง วิทยาศาสตร์เป็นทางเดียวที่จะเข้าถึงความจริงสมบูรณ์ นี้เป็นพวกหนึ่ง
พวกที่ 2 ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ใหม่ยอมรับว่าวิทยาศาสตร์ไม่อาจอธิบายแดนของจิต แต่คล้าย ๆ ว่าต่างคนต่างอยู่ พวกนี้ก็จะไม่เห็นด้วยกับพวกที่เอาเรื่องฟิสิกส์นั้น นิวฟิสิกส์มาโยงกับเรื่องศาสนาตะวันออก อย่างเช่นนักเขียนวิทยาศาสตร์คนหนึ่งชื่อปาเจลล์ ปาเจลล์นี่ไม่เห็นด้วยเรื่องการเอาการกระทำของคาปรา ฟริตจอฟ คาปรานี่แกเอานิวฟิสิกส์มาโยงกับเรื่องมิตติซีสซึ่มของตะวันออก มิตติเตชั่นอะไรพวกนี้ The Tao of Physics
อันนี้พวกที่ 3 ก็พวกฟิสิกส์ใหม่พวกหนึ่งที่ถือว่าฟิสิกส์สอดคล้องเสริมกันกับศาสนาตะวันออกช่วยกันอธิบายความจริง ชี้ทางออกหรือต่อยอดฟิสิกส์ได้ อันนี้อย่างเช่น คาปรา ที่เมื่อกี้นี้ ฟริตจอฟ คาปรา ที่เขียน The Tao of Physics Turning Point อะไรต่าง ๆ อย่างไปคิดว่าองค์การฟิสิกส์เห็นด้วยกับคาปราไปหมด บางพวกด่าคาปราอย่างสาหัสสากัน
ทีนี้ต่อไป 4 ก็พวกวิทยาศาสตร์ใหม่ พวกนี้ก็อีกพวกหนึ่ง เป็นพวกที่เห็นว่าแดนวัตถุ แดนวัตถของฟิสิกส์นั้นเป็นระดับความจริงระดับหนึ่งอยู่ภายในแดนที่ครอบคลุมของฝ่ายจิต อันนี้ก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้คือวงในวงนอกของวงกลมใหญ่อันเดียวกัน อันนี้ก็เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่จะต้องว่ากันต่อไป อ้าวแล้วอันนี้จะยังไม่วิจารณ์ ทีนี่ต่อไปขึ้นหัวข้อใหม่เลย
คือเราจะก้าวไปสู่แดนของจิตใจที่วิทยาศาสตร์ยังไปไม่ถึง หรือยังไม่ได้พิจารณา รวมถึงเรื่องคุณค่าต่าง ๆ ด้วยก็จะได้เป็นเพียงเรื่องของตัวอย่าง เช่น จริยธรรมนี่เป็นแดนหนึ่งที่ถือว่า เรื่องของคุณค่า ก็คือเป็นเรื่องของความดีและความชั่ว ความดีและความชั่วนี่ถือเป็นเรื่องของคุณค่า จริยธรรมนี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ปกติแล้วเราถือว่าเป็นแดนของศาสนา แต่ทีนี้ตอนนี้เราจะต้องพิจารณาโยงกับเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย บางคนถึงกับพูดทำนองว่าความดีความชั่วเป็นเรื่องของสังคมมนุษย์บัญญัติกันขึ้นเอง ก็คล้าย ๆ กับว่ากันเอาตามใจชอบ หมายความมนุษย์อยากจะว่าอันไหนดีก็ว่าไปบัญญัติไป ซึ่งก็จะเห็นคล้าย ๆ เป็นความจริง สังคมนี้ว่าอย่างนี้ดี สังคมโน้นบอกอันนี้ไม่ดีเป็นชั่วไป สังคมอันนี้ สังคมโน้นว่าดี สังคมนี้ว่าชั่วการ การที่ว่าอย่างนี้นั้นก็แสดงว่ายังมองความจริงในกระบวนการของเหตุปัจจัยไม่ออก จุดสำคัญคือ 1 แยกไม่ออกระหว่างจริยธรรมกับบัญญัติธรรม บัญญัติธรรมคือมนุษย์บัญญัติขึ้น จริยธรรมคือตัวความประพฤติที่ดีงามที่ควรจะเป็นในเรื่องของความดีความชั่ว แล้วลึกกว่านั้นอีกคือ ไม่เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากสัจธรรมสู่จริยธรรม เพราะจริยธรรมนั้นต้องโยงลึกลงไปอีกหาสัจธรรมอีกทีหนึ่ง ในกระบวนการของเหตุปัจจัยทั้งหมด นั้นในนี้เราจะมีข้อพิจารณา 3 อย่างคือ สัจธรรม จริยธรรม และบัญญัติธรรม คือต้องเข้าใจความแตกต่าง 3 ขั้น แล้วก็แยก แล้วก็ตรวจดูความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างนี้ ความสืบทอดตามกระบวนการของเหตุปัจจัย นี่กระบวนการเหตุปัจจัยเรื่องนี้มันจะสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็นระบบจากความดีความชั่วเป็นตัวภาวะที่เป็นจริงเป็นสภาวะในฝ่ายสัจธรรมออกมาเป็นความประพฤติดีชั่ว พูดดีพูดชั่วเป็นต้นที่เป็นจริยธรรม แล้วก็มาหากฎเกณฑ์ที่ชุมชนและสังคมกำหนดวางขึ้นเป็นแนวทางให้เกิดความมั่นใจว่าคนจะประพฤติดีมีจริยธรรม ซึ่งบัญญัติอันนี้ขึ้นเป็นบัญญัติธรรม 3 ขั้น อันนี้เพื่อจะให้ง่ายขึ้นจะเทียบกับทางฝ่ายวิทยาศาสตร์ ก็ไอ้เรื่องสัจธรรม จริยธรรม บัญญัติธรรมนี่มันเป็นระบบที่คล้าย ๆ กับแนววิทยาศาสตร์ เราตั้งขึ้นมาคือ ฐานของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หาตัวสัจธรรมออกมาเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งก็อิงอาศัยสัจธรรมนั้น อาศัยตัวความจริงขั้นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ถ้าวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ไม่จริง ไอ้เจ้าเทคโนโลยีนี้วิทยาศาสตร์ประยุกต์ก็พลอยเสียไปด้วย แล้วต่อจากวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี ก็ขั้นที่ 3 ก็คือรูปแบบของเทคโนโลยี เทคโนโลยีอาจปรากฏรูปแบบอะไรต่าง ๆ มากมายไม่เหมือนกันแล้วก็มีประสิทธิภาพต่าง ๆ กันในการที่จะให้กฏเกณฑ์วิทยาศาสตร์นั้นทำงานได้ผลดีแค่ไหน นี้สัจธรรมนั้นเทียบได้กับ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ จริยธรรมเทียบได้กับวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี บัญญัติธรรมเทียบได้กับรูปแบบที่ปรากฏตัวของเทคโนโลยี อันนี้อาจจะเป็นเรื่องการโอเวอร์ ซิฟิเคชั่น แต่ไม่เป็นไรเป็นวิธีพูดอย่างหนึ่ง อันนี้สังคมวางข้อบัญญัติหรือวินัยหรือกฏหมายเป็นข้อบังคับขึ้นมา อันนั้นเป็นบัญญัติทำได้ตามใจชอบ ตามพอใจ เช่นเมืองไทยบัญญัติว่า ให้รถวิ่งชิดซ้าย เมืองอเมริกาบอกว่าวิ่งให้ชิดขวา อย่างนี้ก็ต่างคนก็ต่างบัญญัติสิ ก็ใครดีล่ะใครชั่ว ใคร ใครจะบอกว่า เอ้ ของอเมริกานี่วิ่งชิดขวาชั่ว ของไทยวิ่งชิดซ้ายดี หรือของอเมริกาจะบอกตรงข้ามให้ได้ไหมอย่างนี้ นี่เป็นบัญญัติธรรม แต่มันไม่ใช่เป็นเพียงการบัญญัติว่าเอาตามใจชอบ มันมีอะไรอยู่เบื้องหลัง ในการที่เราบัญญัติอย่างนั้น บัญญัติวิ่งรถชิดขวาชิดซ้ายก็ตามมันมีสิ่งที่ต้องการอยู่ สิ่งที่ต้องการนั้นคืออะไรคือความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่เกื้อกูลต่อการอยู่ร่วมกันเอื้อต่อสันติสุขของสังคมมนุษย์ อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องการทั้งสองฝ่าย สังคมอเมริกันก็ต้องการอันนี้ สังคมไทยก็ต้องการอันนี้ เขาไม่ใช่บัญญัติส่งเดช ฉะนั้นบัญญัติต่างกันแต่ว่าตัวจริยธรรมที่ต้องการอันเดียวกัน ในกรณีนี้เราเห็นความต่างของบัญญัติธรรม แต่ตัวแท้สาระที่เป็นจริยธรรมอันเดียวกัน ทีนี้มันก็มีปัญหาว่า บัญญัติธรรมของใครจะได้ผลดีกว่าในการที่จะเป็นหลักประกันจริยธรรมปัญหามันอยู่ที่นี่เท่านั้น นั้นมันก็อาจจะเถียงกันว่า บัญญัติธรรมชิดขวาของอเมริกากับบัญญัติธรรมชิดซ้ายของไทย ใครจะได้ผลให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้แก่กัน นี่เป็นตัวอย่างกรณีหนึ่ง กรณีอื่นก็เช่นเดียวกันก็จะเถียงกันในแบบนี้ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเป็นเรื่องสังคมบัญญัติเอาตามใจชอบ
เอาละนี่ก็เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบัญญัติธรรมกับจริยธรรม คือ วางบัญญัติธรรมเพื่อต้องการจริยธรรม หรือทางภาษาพระ วินัยเพื่อศีล วินัยนี่เป็นบัญญัติกฎเกณฑ์ทางสังคมแต่ว่าสิ่งที่ต้องการคือศีล ได้แก่จริยธรรม มีข้อยกเว้นอาจจะมีการวางกฎเกณฑ์หรือกฎหมายตามใจชอบเพื่อผลประโยชน์ของบางกลุ่มบางคนก็มี เช่นเราจะเถียงกันว่ากฎหมายมีบัญญัติขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มโน้น กลุ่มนี้อะไรทำนองนี้ อย่างนี้ก็ถือว่ามีการทุจริตขึ้นในกระบวนการของบัญญัติธรรม ซึ่งมันจะพลอยให้จริยธรรมไม่ได้ผลไปด้วย เพราะว่าถ้ามันทุจริตตั้งแต่ระบบการบัญญัติธรรมแล้ว จริยธรรมก็ได้ผลได้ยาก แต่ว่าสังคมไม่น้อยก็วางกฎระเบียบกฎหมายหรือวิจัยนี้โดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อต้องการจริยธรรม แล้วเมื่อวางจริยธรรมอันเดียวกันวางผิดแผกกันไปมันก็เป็นเรื่องที่ว่าเราจะต้องแยกให้ถูกระหว่างบัญญัติธรรมจริยธรรมที่ว่า คือเราจะเห็นได้มากเรื่องความแตกในบัญญติธรรมนี้ในประเพณีของสังคม เช่น ประเพณีเกี่ยวกับครอบครัว สังคมนั้นมีสามีได้เท่านั้น มีภรรยาได้เท่านี้อะไรต่าง ๆ นี่ นี้เป็นบัญญัติธรรมของสังคม แต่เขาต้องการอะไรความเรียบร้อยของสังคม ความเป็นระเบียบสังคมในเรื่องครอบครัวนี่เป็นสิ่งที่ต้องการนั้นคือตัวจริยธรรม ทีนี้บัญญัติของแต่ละสังคมนี่ เพราะเหตุว่ามนุษย์มีสติปัญญาไม่เท่ากัน มีความคิดที่รอบคอบมากน้อยกว่ากัน มีเจตนาที่สุจริตไม่สุจริตไม่เท่ากัน ตัวแปลมันมากมันก็ทำให้ผลในทางที่จะเป็นหลักประกันจริยธรรมนี้ต่างกันไป ได้ผลมากบ้าง ได้ผลน้อยบ้าง เดี๋ยวก็แก้ไขกันใหม่วางกันใหม่ บัญญัติธรรมก็จะขึ้นต่อสภาพแวดล้อมกาลเทศะด้วย แล้วก็ปัญหาเรื่องกาละเทศมันก็จะเป็นเรื่องของระดับบัญญติธรรมนี่เป็นสำคัญ โดยที่ว่าเราต้องการจริยธรรมอันเดียวกัน
เพราะฉะนั้นแม้ว่าบัญญัติธรรมมันจะต่างกันไปอย่างไรก็ตามเนี้ย วิธีมองที่ถูกต้องเราจะมองว่านั่นคือความเพียรพยายามของมนุษย์ทั้งหลายที่จะเข้าถึงความดีงามแท้ที่เป็นจริยธรรม หมายความว่ามันไม่ใช่ตัวสำเร็จ ไอ้สิ่งที่มนุษย์ได้พยายามบัญญัติกันขึ้นนั้น มันเป็นความเพียรพยายามของเขาซึ่งได้ผลมากบ้างน้อยบ้างจะได้ผลแค่ไหนก็ตามสติปัญญาของมนุษย์ในยุคสมัยนั้น ถ้าเรามองในแง่นี้แล้วเราจะมองภาพความจริงไปอีกอย่าง ถ้าเราจะไม่มาหลงว่าความดีความชั่วเป็นเรื่องสังคมบัญญัติเอาเองตามชอบใจ เพราะเราแยกไม่ถูกอย่างที่ว่ามาแล้ว ก็เป็นอันว่ามองความเพียรพยายามของมนุษย์ที่เข้าถึงความดีงามแท้ ซึ่งเดี๋ยวนี้เราก็ยังพยายามกันอยู่แล้วพยายามต่อไปแล้วก็เราพยายามบัญญัติจริยธรรมขึ้นมา ได้ผลแค่ไหนไม่ได้ผลมากแค่ไหน แต่เราก็ยังต้องการจริยธรรมอย่างนั้น ทีนี้จริยธรรมนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ต้องโยงต่อไปอีกว่าต้องมีสัจธรรมเป็นฐาน คือต้องสอดคล้องกับกระบวนการของเหตุปัจจัยจึงจะถูกต้อง ในขั้นบัญญัติธรรมนั้นเราบอกว่า บัญญัติธรรมถ้าบัญญัติขึ้นมาแล้วเกิดจริยธรรมก็นับว่าได้ผล หมายความเราบัญญัติวิ่งรถชิดซ้ายชิดขวา แล้วมันเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นมา ยิ่งคนรักในความเป็นระเบียบเรียบร้อยพอได้ผลแล้ว ได้ผลมากน้อยมันอีกเรื่องหนึ่ง แต่นี้ในขั้นจริยธรรมมันจะจริงแค่ไหนมันก็จะต้องขึ้นต่อรากฐานคือตัวสัจธรรม ได้แก่ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นในกระบวนการของสัจธรรมจริยธรรมและบัญญัติธรรมนี้ มันเป็นโลกแดนของนามธรรมระบบคุณค่าซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยเช่นเดียวกันแล้วก็แต่ว่ามีเหตุปัจจัยที่ซับซ้อน ฉะนั้นจึงว่าเมื่อกี้ว่า มันคงจะยากกว่าการพยากรณ์อากาศเพราะว่าเหตุปัจจัยมันซับซ้อนกว่า ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องนี้มองไม่เห็นความหมายความสัมพันธ์เรื่องกัน ฝ่ายสัจธรรม จริยธรรม บัญญัติธรรมก็จะเข้าสู่แดนคุณค่าหรือแดนแห่งจิตใจไม่ได้ ฉะนั้นตอนนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ว่าเป็นตัวอย่างของเรื่องของแดนของด้านจิตใจ ซึ่งถือกฎเกณฑ์หรือกฎธรรมชาติความเป็นไปตามเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน
นี้เรามาเทียบดูระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์อีกเรื่องหนึ่ง คือวงจรของวิทยาศาสตร์ ที่มาบอกเมื่อกี้ วงจรวิทยาศาสตร์ไม่ครบ ไม่ครอบคลุมความเป็นมนุษย์เพราะเฉออกไปเสีย ฉะนั้นวงจรของวิทยาศาสตร์มันก็เป็นวงจรที่ออกไปสู่โลกวัตถุ เราเทียบพุทธศาสนาบอกว่า พระพุทธศาสนารู้ธรรมชาติคือรู้สัจธรรม แล้วก็นำไปสู่การวางกฎเกณฑ์จริยธรรมตามนั้น แล้วเมื่อจริยธรรมเกิดขึ้น มนุษย์ประพฤติตามนั้นก็ได้ผลซึ่งเป็นไปตามกฏธรรมชาติเพราะจริยธรรมนั้นสอดคล้องกับกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัย มนุษย์ก็เข้าถึงชีวิตที่ดีงามที่เป็นจุดหมายซึ่งเป็นไปตามกระบวนการของเหตุผลก็เข้าถึงชีวิตที่ดีงาม อันนั้นก็เป็น 3 ท่อน รู้ธรรมชาติหรือสัจธรรมแล้วก็ดำเนินตามจริยธรรมเข้าถึงชีวิตที่ดีงาม ทีนี้ส่วนวิทยาศาสตร์นั้นก็รู้สัจธรรมที่เป็นธรรมชาติแต่เป็นฝ่ายโลกวัตถุก็นำไปสู่วิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี แล้วก็นำไปสู่ผลที่ต้องการคือชีวิตที่พรั่งพร้อม อันหนึ่งนำไปสู่ชีวิตที่ดีงาม อันหนึ่งนำไปสู่ชีวิตที่พรั่งพร้อม อันหนึ่งเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ อีกอันหนึ่งเป็นของธรรมชาติของโลกวัตถุ ก็ในที่นี้ก็เป็นการบอกว่าวิทยาศาสตร์นั้นไม่โยงสัจธรรมออกไปหาจริยธรรม แต่ว่าเพราะเอาสัจธรรมแค่โลกวัตถุ มันก็เลยโยงไปหาเทคโนโลยี ทีนี้ก็พูดถึงหลักการอันหนึ่งที่เราจะเอามาแสดงลักษณะของวิทยาศาสตร์ได้ บอกว่าวิทยาศาสตร์นั้นตอบ What is ไม่ตอบ What should แล้วก็ถือว่าจริยธรรมเป็นเรื่องของ What should คือมันควรจะเป็นอย่างไร ทีนี้พุทธศาสนานั้นถือว่าตอบทั้งคู่ ตอบโดยบอกว่าต้องรู้ What is จึงตอบ What should ได้ ถือว่า What is กับ What should ไม่ใช่คนละเรื่อง แต่เป็นเรื่องที่สืบเนื่องกัน แล้วความจริงไม่ใช่ What should ด้วย มันน่าจะเป็น It follow that หมายความว่าเมื่อมันเป็นอย่างนี้ มันต้องเป็นอย่างนั้นต่อไป ก็พุทธศาสนาบอกความสัมพันธ์ระหว่างสองอย่างในขณะที่วิทยาศาสตร์ไม่ได้นึกหรือไม่ได้เฉลียวใจที่จะคิดเรื่องนี้ แต่หรือไม่อย่างงั้นก็จะปฏิเสธก็ได้ แต่ถ้ามองจากสายตาพุทธ การที่วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์นำไปสู่เทคโนโลยีก็เป็นลักษณะหนึ่งของการที่ What is นำไปสู่ What should เหมือนกัน อย่างที่ว่าเมื่อกี้ แต่การที่ใช้คำว่า What should จะไม่ถูกต้องคือมันไม่แสดงถึงการต่อเนื่องตามเหตุปัจจัยที่ว่า เมื่ออย่างนี้มันจะต้องเป็นอย่างนั้น แต่ในภาษาของฝ่ายพุทธศาสนาก็ถือว่ามันเป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น What should มันเป็นสิ่งที่ตามมาจาก What is ยกตัวอย่างทางรูปธรรม เช่นเราบอกว่า เอ้าวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์จะบอกง่าย ๆ ว่า น้ำจะแข็งเมื่อศูนย์องศาเซลเซียส สมมติว่าอย่างงี้ ทีนี้เทคโนโลยีเข้ามาตอนนี้ เอ้อเราต้องการจะทำน้ำให้เป็นน้ำแข็ง วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์บอกมาแล้วนี่ว่าไอ้ความจริงเป็นยังงั้น น้ำจุดเยือกแข็ง เมื่อศูนย์องศาเซลเซียส เราก็ทำหาเครื่องมือประดิษฐ์ขึ้นมาทำให้น้ำเนี่ยลดอุณภูมิลงไป ๆ ถึงระดับศูนย์องศาเซลเซียส ทีนี้วิธีการนี้ต้องต่อเนื่องกันวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ก็เป็นการว่าเป็นความรู้สัจธรรมที่เทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์นี้ วิทยาศาสตร์ประยุกต์นี่นำมาใช้ก็ต้องทำปฏิบัติตามนั้น แต่ทีนี้ถ้าหากเป็นเรื่องทั่วไปเนี่ยวิทยาศาสตร์จะบอก แต่พอเป็นถึงเรื่องมนุษย์แล้ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเงียบ มันก็เหมือนทำนองเดียวกันบอกว่า เอ้าสมมติเราไปเห็นหลุมไฟอันหนึ่งร้อนมาก บอกว่าหลุมไฟนี้ร้องถึง 1000 องศาเซลเซียส เราก็บอกความจริงว่า ในร่างกายมนุษย์นี่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินเท่านั้นไปอยู่ไม่ได้ตายแหลกลาญ เพราะฉะนั้นมันก็มีความจริงต่อไปบอกว่า ถ้าท่านไม่ต้องการแหลกลาญไม่ต้องการตายก็อย่าเข้าไปที่หลุมนั้น อันนี้สัจธรรมก็คือตัวความจริงที่บอกว่าหลุมไฟนั้นมีความร้อนเท่านี้ ร่างกายของท่านนั้นมันทนไม่ได้ถูกอย่างนั้นจะตาย จริยธรรมก็คือการบอกว่าเมื่อท่านไม่ต้องการจะตายทันก็ไม่ต้อง หรืออย่า ไม่ควรจะเข้าไปในหลุมนั้น อันนี้คือจริยธรรม จริยธรรมก็จะมาในรูปนี้ตลอด จริยธรรมที่แท้ก็จะต้องมีสัจธรรมเป็นรากฐาน นี้เราจะต้องหาไอ้ตัวเนี้ยสัจธรรมอะไรแค่ไหนขอบเขตเพียงใดที่มันนำไปสู่จริยธรรม นี้วิทยาศาสตร์ก็มาจบอยู่แค่กระบวนการฝ่ายโลกวัตถุไม่เข้ามาถึงตัวมนุษย์ นั้นไม่แนะนำไอ้วิธีปฏิบัติวางตนของมนุษย์ ก็จึงบอกว่าไม่มาถึงจริยธรรม แต่ว่า ๆ ที่จริงแล้วเคยพูด เพราะเรื่องจิตใจนี่แหละทำให้วิทยาศาสตร์จึงเกิดขึ้นได้ แล้วจึงเจริญมาเพราะจุดกำเนิดและให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าพัฒนามาได้ก็ด้วยมีความใฝ่ที่เป็นคุณค่าทางจิตใจมีความเชื่อในความจริงที่อยู่เบื้องหลังธรรมชาติ ความเชื่อในกฏธรรมชาติตลอดจนกระทั่งแม้แต่คุณค่าที่เสริมเข้ามาต้องการพิชิตเอาชนะธรรมชาติก็ตาม แล้วก็ในกระบวนการหาความรู้ความจริงทางวิทยาศาสตร์ก็มีกระบวนทางจิตควบกำกับอยู่ตลอดเวลาไม่เฉพาะความใฝ่รู้และศรัทธาที่บอกมาแล้วเท่านั้น
แม้แต่ในการค้นพบความก้าวหน้ายิ่งใหญ่ที่สำคัญของวิทยาศาสตร์ ก็เริ่มมาจากในจิตใจของนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นจะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าความหยั่งรู้และเล็งเห็นในใจของตนขึ้นมาก่อน ก่อนที่เขาจะเริ่มการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญโดยมาก ในจิตใจมันมีความหยั่งรู้อะไรขึ้นมา เล็งเห็นอะไรบางอย่าง อันนี้เป็นจุดเริ่มที่ทำให้เขามีจุดตั้งต้นค้นคว้า แล้วก็มีความมุ่งมั่นที่จะค้นคว้าต่อไป ถ้าไม่มีอันนี้แล้วเนี่ย วิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นเรื่องเรื่อยเปื่อยไป หรืออะไรจะเรียกสุ่มสี่สุ่มห้าคือ ไม่รู้จะทำอะไรมันไม่มีจุดเริ่มต้น ฉะนั้นในประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์นี้หรือว่าตัวนี้เป็นตัวสำคัญไม่ใช่มีแต่ความใฝ่รู้แล้วศรัทธาเท่านั้น แต่มันในตัวนักวิทยาศาสตร์เองแต่ละเรื่อง ละเรื่อง ในเรื่องสำคัญมักจะมีความหยั่งรู้และเล็งเห็นในใจนี้ขึ้นมาก่อนเป็นความคิดที่มองล่วงหน้าเป็นความจริงที่วิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ ซึ่งนำไปสู่การคิดใคร่ครวญ การคิดเป็นระบบ การตั้งสมมติฐาน การทดสอบ การทดลองนำไปสู่การค้นพบและทฤษฎีใหม่ ๆ แม้แต่การสังเกตอะไรก็เริ่มจากความคิดตั้งจุดที่สังเกตให้ก่อน แล้วความคิดจิตใจก็กำกับคุมการสังเกตตลอดเวลา แม้แต่เรื่อง Newton ที่ว่าไปเห็นแอปเปิลตก แล้วก็เกิดมีความหยั่งรู้เห็นไอ้กฏ Navigation ขึ้นมานี้ ตามเรื่องที่เราได้ยินคล้าย ๆ แกเห็นตอนนั้นก็เกิดผุดขึ้นมา แต่ว่าตามเรื่องที่ว่ากันจริง ๆ ได้ทราบว่าคิดเรื่องเกี่ยวกับ Motion นี้มาก่อนตั้งเป็นเดือน ๆ แล้ว มันก็เป็นกระบวนการของความคิดในจิตใจนั่นเองเหมือนอย่างเราเนี่ยคิดปัญหาอะไรบางอย่างคิดไม่ตกสักที บางทีไปนั่งในที่เงียบ ๆ สงบ บางทีก็เรื่องโผล่ขึ้นมาได้เหมือนกัน แต่มันก็เป็นกระบวนการทำงานของจิตอีกระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่หมายความว่ามันเกิดขึ้นมาลอย ๆ มันต้องมีกระบวนการ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการทางเหตุปัจจัยเหมือนกัน เรียกว่ากระบวนการทางจิต หรือกระบวนการความคิดอีกระดับหนึ่ง
ตอนนี้ก็เพื่อจะให้ผ่านไปก็จะสรุปได้ว่าเรื่องทางจริยธรรม เรื่องจิตใจคุณค่าอะไรเนี่ยมันเป็นทั้งจุดเริ่มกำเนิดของวิทยาศาสตร์ ได้แก่ความใฝ่รู้ ใฝ่ศรัทธา แล้วก็เป็นตัวความสามารถที่ทำให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าพัฒนา เช่น ความหยั่งรู้เล็งเห็นนั้น แล้วก็เป็นจุดหมายที่วิทยาศาสตร์ยังไปไม่ คือตัวจุดหมายปลายทางที่หยั่งเห็นที่อยู่ในใจนั้น ซึ่งวิทยาศาสตร์ยังจะต้องก้าวต่อไป แม้แต่ที่เราคิดจะหาไอ้ความจริงพื้นฐาน ก็เราก็นึกว่ามันมีความจริงพื้นฐานนั้นอยู่ มันก็เป็นเรื่องในใจ ใจมันคิดขึ้นมา มันก็จึงมีจุดที่จะไปคิดไปหาเหตุผล อันนี้ก็เป็นจุดสรุปอันหนึ่ง
พอมาถึงตอนนี้แหละก็จะบอกชื่อนักวิทยาศาสตร์ใหญ่ที่เป็นเจ้าของความคิดที่ถือว่าเป็นต้นที่มาได้ของหัวข้อปาฐกถานี้ เพราะว่ามาถึงบอกแล้วว่า จุดเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์คืออะไร คนที่ถือได้ว่าความคิดของเขา หรือคำกล่าวถ้อยคำของเขานี้เป็นฐานให้แก่ชื่อของปาฐกถานี้ ก็คือ Einstein นั่นเอง แต่ว่าเขาไม่ได้พูดอย่างนี้ตรง ๆ หรอก อาตมาก็เอามาอย่างนั้นเองให้สนใจ ทีนี้ Einstein ว่ายังไง Einstein ก็ว่าเป็นตอน ๆ ตอนหนึ่งแกบอกว่า ใช้ยุควัตถุนิยมของพวกเรานี้ ผู้ทำงานทางวิทยาศาสตร์อย่างเอาจริงเอาจังเป็นคนจำพวกเดียวเท่านั้นที่มีศาสนาอย่างลึกซึ้ง หรือจะใช้คำว่าเคร่งศาสนาก็แล้วแต่ Einstein กลับไปเห็นว่าในยุคนี้หาคนที่มีศาสนายาก มีนักวิทยาศาสตร์พวกเดียวเท่านั้นที่เป็นคนมีศาสนาอย่างจริงจัง แต่ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานอย่างบริสุทธิ์ใจนะ เป็นคนทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง แต่แกบอกว่าต่อไปบอกว่า ความใฝ่ปรารถนาต่อสัจธรรมและปัญญาที่เข้าใจความจริงและความดื่มด่ำอัศจรรย์ใจต่อความสอดคล้องกลมกลืนของกฏธรรมชาติและความเชื่อมั่นว่าในสากลจักรวาลของเรานี้เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์และสามารถรับรู้ได้ด้วยการแสวงหาความรู้อย่างมีเหตุผล นี่อันนี้เขาเรียกว่าเป็นความรู้สึกหรือสำนึกทางศาสนา นี่ความใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติ เชื่อว่าเบื้องหลังธรรมชาติมีกฏความเป็นจริงที่แน่นอนครอบคลุมอะไรนี่ นี่อันนี้ Einstein เรียกว่าเป็นความรู้สึกทางศาสนาหรือสำนึกทางศาสนา โดยเฉพาะ Cosmic Religion Feeling คือสำนึกทางศาสนาที่หยั่งโยงสรรพสิ่งทั่วสากล แล้วเขาบอกวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้โดยเป็นการสร้างสรรค์ของคนที่เต็มเปี่ยมด้วยสำนึกทางศาสนาเช่นว่านั้น สำนึกทางศาสนาที่หยั่งโยงสรรพสิ่งทั่วสากลนี้เป็นแรงจูงใจที่แรงกล้าและประเสริฐที่สุดสำหรับการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จในทางสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ทุกคนมีความรู้สึกหรือสำนึกนี้ Einstein ว่าอย่างงี้ แล้วอีกตอนหนึ่งแกบอกว่า พุทธศาสนามีสภาวะที่เรียกว่า Cosmic Religion Feeling คือความรู้สึกหรือสำนึกทางศาสนาอันหยั่งโยงสรรพด้วยสิ่งทั่วสากลนี้อย่างเข้มข้นหรือแรงกล้ามาก แกว่าอย่างนั้น แกก็บอกว่าพุทธศาสนามี Cosmic Religion Feeling สูงมาก แล้วก็ Cosmic Religion Feeling นี้เป็นต้นกำเนิดของการคิดค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ อันนี้ก็คิดไปเองว่าจะตั้งกับชื่อเรื่องนี้ได้หรือเปล่า ก็เลยถือเอาว่าเอาพอเป็นนัย ๆ ว่าพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ในแง่หนึ่งอย่างนี้ แต่อย่าถือเป็นสำคัญนักกับเรื่องที่ว่านี้ เพราะอาตมาเองก็ไม่ใช่เห็นด้วยเต็มที่กับ Einstein แต่ที่ไม่เห็นด้วยไม่ใช่เห็นด้วยสิ่งที่เขาพูด คือไม่เห็นด้วยว่ามันคลอบคลุมเพียงพอ คือมันเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของความหมายของสำนึกทางศาสนา เพราะในเรื่องของศาสนานั้นมันจะต้องมาโยงสู่ประโยชน์ของมนุษย์ด้วยในคำพูดของ Einstein นั้น อาตมาไม่เห็นชัดว่ามันจะมาโยงมาสู่ประโยชน์ของมนุษย์ ที่เราพูดในทางพุทธศาสนาว่าจะต้องนำมาใช้แก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ได้ แต่ว่าจากคำพูดของ Einstein นั้นก็เห็นชัดว่าแกมีความเห็นว่าวิทยาศาสตร์เริ่มจากความต้องการของมนุษย์ในจิตใจคือความใฝ่รู้และศรัทธาที่เชื่อในความจริงในกฏธรรมชาตินั้น แต่นี้ในเมื่อเรื่องนี้มาถึงขั้นนี้ แล้วอาตมาบอกไม่อยากให้ติดใจนักกับคำพูดอะไรที่ว่า พุทธศาสนาเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์อะไรนั้น แต่สิ่งที่อยากจะให้พิจารณานั้นมันจะเป็นทำนองนี้คือ เราอาจจะเปลี่ยนชื่อเรื่องเสียใหม่ เปลี่ยนเป้าหมายที่คิดกันบอกว่า วิทยาศาสตร์ที่มีพุทธศาสนาเป็นรากฐานควรจะเป็นอย่างไร นี่เปลี่ยนชื่อเสียใหม่นะ แล้วเราก็อาจจะได้แนวความคิดที่จะต่อยอดจากนี้ออกไป เพราะเป็นเพียงมาพูดบอกว่า พุทธศาสนาเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ ก็พูดกันไปอาจจะหาว่าอวดด้วย แล้วจะไม่เห็นได้ประโยชน์อะไร นี้ถ้าเราบอกว่า วิทยาศาสตร์ที่มีพุทธศาสนาเป็นรากฐานควรจะเป็นอย่างไร อันนี้มันจะเป็นทางสร้างสรรค์ที่จะทำอะไรกันได้ต่อไป นี้เรื่องนี้มันก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณากันเป็นเรื่องใหญ่
แต่อย่างน้อยตอนนี้ที่พอจะตอบได้ก็เอาเรื่องที่พูดมาแล้วนั่นแหละก็เหมือนกับมาสรุปทวนกัน บอกว่าอย่างน้อยขั้นที่ 1 ก็ต้องขยายความหมายของศาสนาหรือขยายความของสำนึกทางศาสนาเนี่ยให้กว้างออกไปให้ตรงกับของพุทธศาสนา ที่เราบอกว่าวิทยาศาสตร์เกิดจากความใฝ่รู้ธรรมชาติ ใฝ่รู้ความจริงในธรรมชาติเนี่ยมันก็จะต้องเอามาเสริมด้วยความใฝ่รู้ที่พุทธศาสนาบอกก็คือความใฝ่รู้ เอ้อขออภัย ความใฝ่ปรารถนาความไร้ทุกข์ของมนุษย์พอเอามาบวกกันอย่างนี้แล้วเราก็จะได้บอกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่มาจากความใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติเพื่อนำมาแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ หรือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่มาจากความใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติเพื่อสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม อันนี้ก็จะเป็นวิทยาศาสตร์ในทำนองนี้ ซึ่งมันก็เฉียดจะไปวิทยาศาสตร์ประยุกต์แต่มันไม่จำเป็นเพราะว่าวิทยาศาสตร์ธรรมชาติประยุกต์ที่แล้วมาเกี่ยวกับแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลัง เพราะเราเอาอันนี้ขึ้นมาเพื่อไปตัดไอ้ค่านิยมซึ่งเป็นแรงจูงใจอีกแบบหนึ่ง ที่บอกว่าความใฝ่พิชิตธรรมชาติความใฝ่ปรารถนาในความมีวัตถุพรั่งพร้อมเพื่อสนองความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ ก็จะตัดอันนั้นเลิกไป แล้วก็มาแทนด้วยความใฝ่ปรารถนาความไร้ทุกข์ของมนุษย์นี้เข้ามา อันนี้ก็นี่อันหนึ่ง
แล้วอีกอันหนึ่ง ก็คือว่าจะต้องเน้นความรู้หรือความจริงที่เป็นประโยชน์ เพราะหลักการของพุทธศาสนาอันหนึ่งก็คือ ความรู้หรือความจริงที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เอาแค่ความรู้ล้วน ๆ แต่นี้เป็นข้อย้ำ เพราะมนุษย์อาจจะต้องมีการที่ว่าพยายามหาความรู้กันไปอย่างไม่มีที่สุดในแง่ของนักวิทยาศาสตร์ก็ต้องก้าวหน้ากันเรื่อยไป แต่จุดเน้นมันน่าจะอยู่ที่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ เพราะว่า ถ้าวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์จะไม่เอาคุณค่านี่มันก็หนีไม่พ้น ถ้าวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ไม่กำหนดคุณค่าเองก็จะตกเป็นเหยื่อของพวกอื่นเข้ามากำหนดคุณค่าให้อย่างที่ว่าเมื่อกี้ก็คือว่ามีพวกที่มาเติมเป้าให้ บอกว่าใฝ่ปรารถนาพิชิตธรรมชาติ ใฝ่ปรารถนาวัตถุให้พรั่งพร้อมอย่างที่เคยเป็นมาจนวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า รับใช้อุตสาหกรรม เมื่อรับใช้อุตสาหกรรมนี้ ไม่ใช่รับใช้มนุษย์ด้วยซ้ำนะ รับใช้มนุษย์นี้ยังสูงขึ้นมาขั้นหนึ่งจะไปรับใช้อุตสาหกรรม นี้เราพูดอุตสาหกรรมบางทีมันทำลายมนุษย์ เพราะฉะนั้นมันก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันให้มากถ้าเราไม่กำหนดคุณค่าของเรา เราอาจจะเป็นเหยื่อผู้อื่นอย่างที่ว่า และมนุษย์นี้เป็นสัตว์มีเจตจำนงค์ลักษณะของมนุษย์อย่างหนึ่งคือมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเจตจำนงค์ทำให้การแสวงหาความรู้ไม่อาจปราศจากคุณค่า แต่ว่าในเวลาเดียวกันมนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึกฝนพัฒนาเพราะฉะนั้นก็จึงควรมุ่งเอาความรู้เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์อย่างที่ว่าเมื่อกี้ ถ้าวิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจนของตนเองในเรื่องคุณค่า แต่วิทยาศาสตร์ก็อยู่ในโลกและสังคมแห่งคุณค่าก็จะถูกคนอื่นกำหนดทิศทาง แล้วก็จะต้องมีความน้อยใจท้อใจในการปฏิบัติกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ในเมื่ออุตสาหกรรมเป็นพระเอกของสังคมอย่างที่เป็นอยู่หรือเป็นมา
อุตสาหกรรมจะเข้ามามีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ได้โดยเป็นตัวกำหนดผ่านทางรัฐโดยนโยบายของรัฐ เป็นตัวกำหนดผ่านมาทางธุรกิจการพาณิชย์บ้างให้ส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านนั้นด้านนี้ นโยบายของรัฐอาจจะบอกมา ถ้าเธอวิจัยเรื่องอย่างนี้แล้วก็ให้เงินมาก ถ้าเสนอไปวิจัยเรื่องนี้รัฐไม่สนองประโยชน์ของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมมีอิทธิพลอยู่ไม่เอาด้วย ทีนี้นักวิทยาศาสตร์ก็น้อยใจสิ แล้วก็เกิดท้อใจ หรือจะเป็นอย่าง Newton Newton นี่แกก็ถูกไอ้เรื่องคุณค่ามาเล่นงานอะไรเรื่องการค้นคว้าวิทยาศาสตร์แกเหลือเกิน Newton นี่แกคิดไอ้เรื่อง Long Navigation นี่ตั้งแต่อายุเอ้จะ 24 หรือเท่าไหร่ไม่ทราบแต่หนุ่มก็แล้วกัน นี้ไอ้ความคิดบางอย่างของแกเนี่ยมันไปฝืนไอ้ประเพณีของวงศ์การวิทยาศาสตร์สมัยนั้นซึ่งยังไม่เจริญเท่าใด พวกนักวิทยาศาสตร์รุ่นแก่ปีกว่า แกก็น้อยใจ คือ Newton นี้เป็นคนเจ้าอารมณ์แล้วก็ขี้น้อยใจไม่ชอบสุงสิงกับใคร พอใครว่าอย่างนี้แกน้อยใจแกเลยเลิกไม่เอาแล้ววิทยาศาสตร์ แล้วเลยไม่สนใจไม่ยุ่งวิทยาศาสตร์อยู่ แล้วก็ไม่นำความคิดนั้นออกมาเขียนด้วยเป็นเวลาถึง 22 ปี ทีนี้ Halley Halley นี่เป็นค้นพบดาวหาง Halley ที่นาน ๆ ก็โผล่มาสะที นี้ Halley นี่ก็เป็นอาจารย์ก็เห็นคุณค่ามากความคิดของ Newton มากก็เลยไปเกลี้ยกล่อมพูดจากปลอบประโลมเร้าใจปลุกใจจนกระทั่ง Newton เกิดมีกำลังใจขึ้นมาก็เขียน เอาละเขียนไอ้หนังสือตำราเล่มสำคัญเป็นภาษาลาติน อะไรเรียกว่าอาตมาก็อ่านภาษาลาตินไม่ถูกอ่านผิดอ่านถูกไม่ Pasia Matika อะไรทำนองนี้ ก็เขียนออกมาเขียนมาได้ 2 ใน 3 เกิดมีนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ซึ่งในระหว่าง 22 ปีที่แกไม่เอาบทมาเขียนนี่ เขาก็ได้เข้าใจเรื่องกฎ Long Navigation ตลอดจน Calculus ที่แกคิดขึ้นมา คนนั้นก็อ้างว่าฉันรู้ก่อน Newton คนนั้นอ้างว่า ฉันรู้ Navigation ก่อน คนนี้บอกฉันได้ Calculus ก่อน Newton ได้ยินอย่างนั้นก็น้อยใจแล้วหยุด จะเขียนไม่เขียนแล้ว เขียนไปได้ 2 ใน 3 แล้วไม่เขียนต่อแล้วหยุด ก็ร้อนถึง Halley ต้องไปปลุกประโลมใจอีกตั้งพักใหญ่เขียนต่อจนจบ อันนี้ก็ระบบคุณค่านี่ไปครอบงำจิตใจนักวิทยาศาสตร์ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์นี้ถ้าคุณ นี้ท่าน Newton ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาเป็น Genius นี้ถ้าหากแกมีกำลังใจไม่มาน้อยใจด้วยเรื่องอย่างนี้นี่อาจจะให้ความรู้ความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้เพิ่มอีกมากมายก็ได้ แกทิ้งวิทยาศาสตร์ไปตั้งเป็นเวลานาน อันนี้ก็ อย่างนี้ปัจจุบันนี่ อาตมาว่าในเรื่องระบบผลประโยชน์อุตสาหกรรมธุรกิจอะไรเข้ามานี่ มันจะมีอิทธิพลมาก ซึ่งวิทยาศาสตร์จะต้องมีกำลังของตัวเองในระบบคุณค่าไม่ให้ระบบคุณค่าของฝ่ายอื่นเข้ามาครอบงำได้ อย่างโดยเฉพาะในยุคธรรมชาติแวดล้อมเสียปัจจุบันนี้ ความจริงบางอย่างที่วิทยาศาสตร์รู้นี่ไปกระทบผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมบางพวก เราจึงได้ยินว่า ในประเทศอเมริกาบางทีมีนักวิทยาศาสตร์บางพวกให้ข้อมูลที่ค้านกับนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์พวกอื่น เป็นทำนองว่าโอ้ไม่จริงหรอกไอ้ที่ว่าอะไร ไอ้ที่ว่า Greenhouse Logistics ทำให้โลกร้อนเลยมีปัญหาเรื่องอุณหภูมิสูงขึ้นนะ อะไรต่าง ๆ มีนักวิทยาศาสตร์บางคนออกผลวิจัยมาในทำนองนั้น ซึ่งมีพวกที่บอกว่านี่นักวิทยาศาสตร์พวกนี้ไปถูกพวกนักอุตสาหกรรมอุดอะไรทำนองนี้ อะไรอย่างนี้เจริญพร มันก็เป็นเรื่องความซับซ้อนหาผลประโยชน์ทางการเมือง มันก็เลยไม่ปราศจากคุณค่า นั้นก็อย่างน้อยไอ้ระบบจิตใจจริยธรรมก็เข้าไปนักวิทยาศาสตร์นี่มีความใฝ่รู้ต่อความจริงอย่างบริสุทธิ์ใจ อันนี้ตัวเป็นตัวพลังที่ยิ่งใหญ่ที่จะนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาให้ แต่ปัจจุบันนี้เราอยู่ในท่ามกลางโลกที่เป็นเต็มไปด้วยระบบคุณค่า และเป็นคุณค่าในทางที่เป็นทางลบมากอย่างที่ว่ามาแล้ว ในยุคก่อนนี้วิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมนี่เหมือนกับว่าแต่งงานกันเป็นคู่ครองอยู่ด้วยกันมาทำให้เกิดความเจริญอุตสาหกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ก็เจริญอะไรต่าง ๆ แต่ว่ายุคต่อไปนี้ เพราะว่าไอ้เรื่องผลประโยชน์อุตสาหรรมบางอย่างมันมาเป็นปัญหาให้ธรรมชาติแวดล้อมแล้ววิทยาศาสตร์นี่จะต้องให้คำตอบเรื่องนี้มาก คำตอบความจริงเหล่านี้ไปกระทบประโยชน์อุตสหกรรมมันก็จะเป็นเหตุบางอย่างที่อาจจะทำให้วิทยาศาสตร์ต้องแยกทางกันเดินกับอุตสาหกรรม หรือมีความขัดอาขัดใจอะไรกันบ้าง แล้วบางทีวิทยาศาสตร์อาจจะต้องหาเพื่อนใหม่ ก็ไม่แน่ใจอาจจะเป็นได้คือหาเพื่อนดี ๆ ที่จะช่วยให้ ๆ ความรู้ที่บริสุทธิ์แก่สังคม ซึ่งก็คือเพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติในการแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์
แล้วอย่างที่ว่าแล้วตอนนี้วิทยาศาสตร์ก็กำลังจะเข้ามาจ่ออยู่กับแดนทางจิตใจ ก็จะเป็นคำถามว่าวิทยาศาสตร์จะยอมรับอินทรีย์ที่ 6 แล้วประสบการณ์ของอินทรีย์ที่ 6 หรือไม่ วิทยาศาสตร์จะพิสูตรอารมณ์ความคิดในสมองในจิตใจโดยสารที่หลั่งออกมาจากสมอง หรือว่าจะคลื่นสมอง โดยถือว่านั้นตัวความจริงได้หรือ มันก็จะเป็นเงาความจริงอย่างที่ว่ามาแล้ว ซึ่งย้ำอีกครั้งหนึ่งเหมือนกับว่าเราเรียนรู้ก้อนหินจากเสียงป๋อมในน้ำ หรือจากคลื่นที่เกิดในน้ำ พอนักวิทยาศาสตร์ก็ไปวัดกันสิ ได้ยินเสียป๋อม เอาละครั้งนี้ ก็เสียงขนาดนี้ต่อไปป๋อมขนาดนั้น เสียงอย่างนั้นอะไรต่าง ๆ นะ แล้วก็ด้วยสูตรคณิตศาสตร์ก็กรรมการคณิตศาสตร์ออกมาไอ้ตัวนั้นมันจะต้องเป็นอย่างงี้ อย่างงี้ อย่างงี้ มันจะต้องต่างด้วยผลพิสูจน์ครั้งก่อน ครั้งนี้ต่างกันเท่านั้น เท่านี้ มันก็ออกมาได้เหมือนกัน มันก็เป็นเสียงป๋อม พอเสียงป๋อมคราวนี้มา เอาก็บอกได้ว่า เออ มันต้องต่างกว่าคราวก่อน ถ้าขนาดคราวก่อนเท่าโน้น คราวนี้มันต้องใหญ่กว่าเท่านั้นกี่เท่าอะไรต่าง ๆ หรือไม่งั้นก็ไปวัดเอาคลื่นเวลาก้อนกินลงไปในน้ำแล้วก็มีคลื่นขึ้นมา ก็วัดคลื่นในน้ำเพื่อจะรู้ไอ้ขนาดมวลสารอะไรทำนองนี้ มันจะเป็นทำนองนี้หรือเปล่าในการที่เรียนรู้ความจริงของธรรมชาติ คือเราไม่ได้จับเห็นก้อนหินตัวจริงสักที เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นได้ว่าวิทยาศาสตร์อาจจะต้องมาลองดูการสังเกตทดลองในแบบของพวกอื่นบ้าง เช่นอย่างในทางพุทธศาสนาที่ว่า ถือว่าการสังเกตทดลองจากประสบการณ์ตรงในทางจิตใจนั้นก็ถือว่าเป็นการสังเกตทดลองหาความจริงของกฏธรรมชาติเช่นเดียวกัน
เอาละอันนี้ก็ควรจะใกล้จบ ก็จะมีข้อเสนอของพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ต่อไป โดยเฉพาะกรณีของประเทศไทยก็เรื่องที่ 1 อยากจะทวนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งคือเครื่องไม่เพียงพอ เรื่องไม่เพียงพอนี้ได้บอกแล้วว่าวิทยาศาสตร์เท่าที่เป็นมาเนี่ยไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาของมนุษย์หรือแก้ปัญหาสำคัญของโลกปัจจุบัน ในที่นี้จะยกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือการอนุรักษ์ธรรมชาติเพราะปัญหาการอนุรักษ์ธรรมชาตินี่เป็นปัญหาใหญ่มากของโลกยุคนี้ วิทยาศาสตร์ต้องมีส่วนร่วมด้วยแม้แต่การวิจัยวิทยาศาสตร์ว่าทำไงจะให้เอื้อการที่จะนำมาปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ อันนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นประโยชน์อย่างมากทำให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพทำให้เรารู้ภัยอันตรายเหตุผลจุดแก้ไขและเทคโนโลยีที่เกิดจากวิทยาศาสตร์ก็เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งที่วิทยาศาสตร์มีคุณค่ามากมายอย่างนี้ก็ไม่เพียงพอเลยในการแก้ปัญหานี้ ซึ่งปัญหานี้ก็บอกว่าเกิดมาจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเองนั่นแหละแล้ววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลับไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะทั้งที่มีความรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในมือแต่ก็ไม่เริ่มรู้ใช้ความรู้นั้น ทั้ง ๆ ที่มีเทคโนโลยีนั้นก็เฉยเสีย กลับไปใช้แต่เทคโนโลยีที่มีผลตรงข้าม คือเป็นการทำลายยิ่งขึ้น คือพูดง่าย ๆ ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ความรู้ของวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ได้ ทั้ง ๆ ที่ใช้มันก็ได้ผล แต่มันก็อยู่ที่คำว่าถ้าอยู่เรื่อยไป เพราะฉะนั้น เฉพาะหน้านี้วิทยาศาสตร์อาจจะต้องพอใจกับการร่วมมือกับองค์การอื่นที่จะเป็นผู้จัดป้อนความรู้ให้แก่เขาในการแก้ปัญหา ทีนี้มีการแก้ไข ในการแก้ปัญหาของมนุษย์มีอะไรที่นอกเหนือความรู้วิทยศาสตร์และอุปกรณ์เทคโนโลยี ถ้ามองในแง่พุทธศาสนาการแก้ปัญหาของมนุษย์นั้นไม่ว่าเรื่องใดต้องทำ 3 ด้านเป็น 3 ประสาน เพราะเรื่องนี้เกี่ยวกับเรื่องตัวมนุษย์ เรื่องของมนุษย์นั้นมันมีด้านต่าง ๆ ที่เราจะต้องมาประสานกันเป็นระบบการ ระบบการแก้ปัญหาก็มีการประสาน 3 ประสานนี้อย่างไร ก็ตัวอย่างคือ การอนุรักษ์ธรรมชาตินี้มันก็จะมี 3 ด้านเข้ามา คือ 1 ด้านพฤติกรรม 2 ด้านจิตใจ 3 ด้านความรู้หรือปัญญา จะต้องประสานเข้ามาด้วยกัน ในการแก้ปัญหาในขั้นพฤติกรรมก็จะมีการฝึกควบคุมพฤติกรรมทางสังคมหรือที่จริงคือพฤติกรรมในการแสดงออกทั่วไป ไม่เฉพาะทางสังคมการแสดงออกทางกายวาจาทั้งหลาย ซึ่งมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเคยชิน อันนี้ต้องการเรื่องความเคยชิน การแก้ปัญหาด้วยการฝึกการควบคุมพฤติกรรมทางสังคมหรือทางกายวาจานี้จะมี 2 ระดับด้วยกันคือ 1 คุมด้วยบัญญัติหรือกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น กฎหมายเป็นต้น การลงโทษกันในหมู่มนุษย์อะไรต่ออะไรนี้อยู่ระดับที่หนึ่ง ขึ้นต้นที่สุดมันก็ต้องมีเหมือนกันซึ่งทางพระเรียกว่าวินัยนี่ขั้นที่ 1 เอาแล้วในระดับที่ 2 ของเรื่องที่ 1 ก็คือการควบคุมด้วยเจตนาจากภายในของตัวมนุษย์เอง หมายความให้ตัวมนุษย์เองนี่มีความตั้งใจเองที่จะควบคุมพฤติกรรมทางกายวาจาของตนเอง ซึ่งอันนี้โดยมากจะเกิดจากศรัทธาในทางศาสนา เช่น เชื่อคำสอนทางศาสนาเป็นต้น แต่ทั้ง 2 อันนี้มันเป็นเรื่องเดียวกันในแง่ว่า เป็นการควบคุมความพฤติกรรมเป็นการฝึกการควบคุมพฤติกรรม เราต้องจัดสภาพแวดล้อมมีกฎระเบียบข้อบังคับในโรงเรียน ในหมู่บ้าน หรือในสังคมอะไรต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำระดับหนึ่ง แต่ไม่เพียงพออันนี้ก็ต้องทำ แต่ว่าในระดับหนึ่งนี้ก็มีวินัยกับสิ่งที่เรียกว่าศีล คือระดับที่ 2 เรื่องที่ 1 นี้เรียกว่าศีล การควบคุมโดยเจตนาจากภายใน ทีนี้ต่อไป 2 เมื่อการแก้ปัญหาด้วยการฝึกควบคุมพฤติกรรมนั้นมันไม่ลึกไม่แน่นสนิทก็ต้องมาถึงด้านจิตใจ ด้านจิตใจเอาละเราก็คิดตามกระบวนการเหตุผลเลย ด้านจิตใจถือว่าเป็นกระบวนการแห่งปัจจัยเช่นเดียวกัน วิธีแก้ปัญหาจริยธรรมแม้ทางจิตใจก็เป็นระบบเหตุผล เราต้องการอะไร อ้อจุดหมายคืออนุรักษ์ธรรมชาติ คนแต่ละคนจะปฏิบัติการในการอนุรักษ์ธรรมชาติต้องมีความต้องการที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ เอาละ 2 แล้ว การอนุรักษ์ธรรมชาติโยงไปสู่ความต้องการที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ ความต้องการที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติเกิดได้จากอะไร เกิดจากความรักธรรมชาติ เมื่อรักธรรมชาติก็ต้องการที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ยังไม่จบ ความรักธรรมชาติจะเกิดได้อย่างไร