แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มีวันก่อน ๆ นี้ ผมขึ้นไปพูดเรื่องที่ ??? น่าจะพูดให้ฟัง ทีนี้คราวนี้ ปรารภที่ท่าน??? พูดเมื่อวันก่อน เป็นการเริ่มที่ท่าน??? ว่าสงสัยอะไร
/เสียงผู้ถาม/ ฟังเรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้วก็ยัง บางประเด็นยังไม่เข้าใจ โดยเฉพาะเวลาการจะมี ??? ??? (นาที1.20-1.30) ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งชัด ขอพระเดชพระคุณท่าน ช่วยอธิบายความให้เข้าใจด้วย
แต่ไม่ได้มีจุดที่จะถามโดยเฉพาะใช่ไหม ไปกว้าง ๆ อย่างนั้นพูดเป็นกว้าง ๆ ก็แล้วกัน เอาเป็นข้อสังเกตก็แล้วกัน ข้อสังเกตทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับเรื่องปฏิจจสมุปบาท อาจจะไม่ลงรายละเอียดนะ ถ้าเรารู้ภาพลักษณะกว้าง ๆ ก็อาจจะช่วยในการศึกษา
ตอนแรกก็พูดถึงตัวหลักก่อน ตัวหลักนี่ คล้าย ๆ ว่าเราแบ่งได้เป็น ๒ ตอน เราสามารถแบ่งได้คร่าว ๆ มันเป็น ๒ ตอน จะมีตอนแรกที่บอกว่า เมื่อสิ่งนี้มี หรือเมื่อนี้มี อันนี้จึงมี เมื่ออันนี้ไม่มี อันนี้ก็ไม่มีด้วย อะไรนี่นะ เมื่อ เพราะอันนี้เกิด อันนั้นจึงเกิด อย่างนี้ ตอนนี้เป็นหลักทั่วไป อันนี้จะใช้ได้หมด คล้าย ๆ ว่า ใช้เป็นเรื่องหลักเหตุปัจจัยทั่วไปหมด ทีนี้ อีกตอนหนึ่ง เป็นตอนขยาย เฉพาะที่ต้องการ ก็คือตอนที่บอกว่า อวิชชาปัจจะยา สังขารา สังขาระปัจจะยา วิญญานัง เป็นต้น ที่บอกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ทีนี้ ความต่างระหว่าง ๒ ตอนนี้เป็นยังไง อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ ตอนแรกที่บอก อิมัสมิง สติ อิทัง โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นก็ไม่มีด้วย อะไรนี่ อันนี้เป็นหลักเข้าใจที่ว่า ใช้กับสิ่งต่าง ๆ ได้หมด ในแง่ของเหตุปัจจัย อวิชชาปัจจะยา สังขารา คล้าย ๆ ว่า ยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างนี้ก็คือ เอาเฉพาะที่ต้องการ ก็คือเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ที่มีความดีความชั่ว มีสุขมีทุกข์ อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ กระบวนการของชีวิตจิตใจที่ดำเนินไป
ทีนี้ ตอนที่เกี่ยวข้องกับเราชัด ๆ ก็คือ ตอนที่ ๒ ตอนขยายความซึ่งเป็นตัวอย่างด้านหนึ่งของกฎใหญ่นั้น แต่ที่จริงกฎใหญ่นี่มันใช้ได้กับเรื่องอื่นด้วย ในบางสูตรนี่ พระพุทธเจ้าจะทรงขยายความในแง่ของสังคม ก็มี หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาท นี่ เอาไปพูดในแง่สังคมก็มีในพระไตรปิฎก แต่ไม่ได้ตรัสถึงมาก ที่ตรัสถึงมากก็คือ คือเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ในชีวิตคน เอาหล่ะครับ ตอนนี้เป็นอันว่า แยก ๒ ตอน
ทีนี้มาถึง เอาเฉพาะตอนที่ ๒ ที่ว่า ตอนที่เกี่ยวกับเรื่องชีวิตจิตใจของคน อวิชชาปัจจะยา สังขารา อันนี้ก็จะเห็นว่ามีการปรับ แบบเป็นชุด เป็นชุดก็จะ อวิชชาปัจจะยา... ไป นี่แหละ ท่านเรียกกันว่า ปัจจยาการ ๑๒ คือหมายความว่ามี อาการ หรือมีหน่วยอยู่ ๑๒ หน่วย มี อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ลงไป โสกะ ปริเทวะ อะไรนี่ รวมแล้วก็ ๑๒ ๑๒ อาการ ๑๒ หัวข้อ ก็เป็นปัจจัยในการเกิดกรรมไป
ทีนี้ บางครั้งพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสเพียงอย่างนี้ ตรัสเริ่มจาก ตากระทบรูป หูกระทบเสียง เป็นต้นนะ แล้วก็เดินอย่างนี้ไป ถ้าเราพูดง่าย ๆ ก็คือว่า แบบ อวิชชาปัจจะยา นี่ คือการตรัสเต็มหลัก พูดถึงตัวสภาวธรรม แต่ที่ตรัส จับที่ ตา หู จมูก ลิ้น อันนี้คือตรัสแบบชีวิตประจำวัน ใช่ไหม นะ ในชีวิตประจำวันขอเราก็อย่างนี้ ก็คือว่า เราก็อยู่ หรือมีชีวิตอยู่ด้วยการที่ ตารับรู้รูป หูรับรู้เสียง เป็นต้น แล้วก็ใจรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา อันนี้ก็คือเรื่องของชีวิตประจำวันที่เป็นจริง แล้วกระบวนการปฏิจจสมุปบาทก็อยู่ในนี้ หลักทั้ง ๑๒ ข้อใหญ่ มันก็อยู่ใน อันที่ว่า ตา หู จมูก ลิ้น นี่แหละ นะ
ตอนนี้ว่า เราต้องทำความเข้าใจเอาเองว่ามันซ้อนกันอยู่ยังไง นะ อรรถกถา ท่านเรียกว่าไปเริ่มจากกลาง กลางไปหาปลาย หรือว่าจะบางทีก็เอากลางย้อนมาหาต้น อันนี้ผมพูดถึงลักษณะทั่วไปก่อน พอเห็นรูปร่างอย่างนี้แล้วก็หยุดไว้ตอนหนึ่งก่อน ทีนี้ขอย้อนกลับมาพูดถึงเรื่อง ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ความเป็นเหตุปัจจัยในระบบปฏิจจสมุปบาท อีกที
คือเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดง่าย ๆ ก็คือระบบความสัมพันธ์แห่งสิ่งทั้งหลาย ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย แล้วก็ โดยเฉพาะที่ตรัสมากก็คือ เรื่องความเป็นไปในชีวิตจิตใจของคน ที่เกี่ยวกับเรื่องของความดีความชั่ว ความสุขความทุกข์ ทีนี้เรื่องความเป็นเหตุปัจจัยนี่จะต้องเข้าใจอันหนึ่ง ก็คือว่า อันนี้ก็เป็นภาพรวมเหมือนกัน ว่าความเป็นเหตุปัจจัยนี่ บางทีเรามองสับสน คือเราไปติดกับแนวคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว อันนี้ทำให้เกิดความคาดเคลื่อน หรือเข้าใจไม่ชัด หรือมองไม่ออก ในพุทธศาสนาอย่างหลักปฏิจจสมุปบาทนี่ บอกให้เรารู้ว่า การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ต่าง ๆ นี่ ที่ สมุปปาทะ มันก็เกิดพรึ่บ! ขึ้นมา สมุปปาทะ ก็คือเกิดพร้อม เกิดพรึ่บ! ขึ้นมานี่ โดยอาศัยกัน อาศัยกัน อาศัยกัน มันเป็นระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยทั้งหลาย ที่ว่า เมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมผลจึงเกิดขึ้น ไม่ใช่ระบบเหตุเดียวผลเดียว หมายความว่า ความจริงของธรรมชาตินี่มันไม่ใช่เหตุเดียวผลเดียว แต่มนุษย์นี่มักจะติดกับความคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว ก็ยกตัวอย่างบ่อย ๆ นะ คือสิ่งทั้งหลายที่เป็นปรากฎการณ์นี่ เราบอกว่าเกิดจากเหตุ เพราะมันเป็นผล เช่น เรายกตัวอย่างว่า ต้นมะม่วงเกิดขึ้นก็มาจากเหตุอะไรล่ะ เราก็อาจจะบอกว่า เช่น เกิดจากเม็ดมะม่วง ถ้าเราบอกว่าต้นมะม่วงเกิดจากเม็ดมะม่วง เม็ดมะม่วงเป็นเหตุ แล้วก็ต้นมะม่วงเป็นผล นะ อย่างนี้คือ ระบบเหตุเดียวผลเดียว ความจริงเป็นไปไม่ได้ จริงอยู่เราบอกว่าเม็ดมะม่วงเป็นเหตุ แล้วต้นมะม่วงเป็นผล แต่ว่ามีแต่เม็ดที่เป็นเหตุ มีแต่เหตุนั้น ต้นมะม่วงเกิดไม่ได้ ต้นมะม่วงเกิดก็เป็นปรากฎการณ์ที่เป็นความพรั่งพร้องแห่งเหตุปัจจัยหลายอย่าง นอกจากเม็ดมะม่วงต้องมีอะไรอีกบ้าง ต้องมีดิน มีโอชะ หรือปุ๋ย อะไรก็แล้วแต่นะ ทางบาลีเรียกว่า โอชา แล้วก็มีน้ำ มีอุณหภูมิเหมาะ มีอากาศ เป็นต้น เมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมแล้วต้นมะม่วงจึงเกิดได้ อันนี้คือระบบที่เรียกว่า เหตุปัจจัย เราเรียกกันว่าอย่างนั้นเรียกง่าย ๆ ก็คือการที่มีปัจจัยพรั่งพร้อม ความจริง เหตุ ก็เป็นอันหนึ่งในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นเรื่องของความเข้าใจเบื้องต้นที่สำคัญนะ ถ้าจับอันนี้ไม่ได้ ก็อาจจะทำให้ความเข้าใจ เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่เขวได้ หรือสับสน ทีนี้ มนุษย์แม้แต่ปัจจุบันก็ชอบติดกับระะบเหตุเดียวผลเดียว อืม ในเวลาเราทำการต่าง ๆ นี่ เราจึงต้องระวัง ว่าถ้าเราต้องการผลอันหนึ่ง เราอย่าไปนึกแต่ว่าทำเหตุอันนั้นเท่านั้นนะ เราต้องนึกถึงมีปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ปัจจัยภายในตัว ปัจจัยนอกตัว ปัจจัยทางสังคม และอันนี้มันจะมาช่วยเราในการแก้ไขปรับปรุง เช่นเวลาตรวจสอบ ว่าผลไม่เกิดขึ้นตามคาดหมาย อ้าว! มันมีเหตุปัจจัยอะไร นะ เราทำเหตุปัจจัยไม่เอื้อ อันโน้นอันนี้ จะได้ไปแก้ไขปรับปรุงได้ถูก ไม่ใช่มองแต่ว่าฉันทำเหตุแล้วทำไมไม่เกิดผล แล้วก็มาร้องว่าทำดีไม่เห็นได้ดีเลย เพราะเป็นคนที่ไม่รู้จักดูปัจจัย แล้วก็เลยพัฒนาการกระทำ พัฒนา เรียกว่าพัฒนากรรม อันนี้ก็เป็นแง่หนึ่งนะ นี่ก็เป็นข้อที่จะต้องจับไว้ก่อน ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดพลาด
เอาหล่ะครับ ทีนี้ นั่นเป็นตัวอย่าง ทีนี้ อีกอย่างหนึ่งก็คือความเป็นปัจจัยนี่ เรามักจะนึกในแง่ของความเป็นไปตามลำดับขั้นกาลเวลา อันนี้เกิดขึ้นแล้วทำให้อันโน้นเกิดขึ้น อย่างนี้ก็ไม่ถูก อันนี้เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันนี่ อย่าง อภิธรรม นี่ท่านแยกไว้ตั้ง ๒๔ แบบ นะ ไม่จำเป็นจะต้อง ปัจจัยนี้เกิดก่อนแล้วทำให้อันโน้นเกิดตาม นะ ความเป็นปัจจัยแก่กันนี้อาจจะมีในเวลาเดียวกัน หรือ เป็นปัจจัยแก่กันโดยการที่ว่า เมื่ออันนี้มีอันนั้นก็จะต้องมีด้วย หรือถ้าอันนี้ไม่มี อันนั้นก็ไม่มีด้วย หรือ เพราะอันนั้นไม่มี อันนี้จึงมีได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นปัจจัยแก่กันทั้งนั้น อืม ฉะนั้นความเป็นปัจจัยนี่ เราต้องนึกว่ามีได้ในหลายลักษณะ ไม่ใช่เป็นลักษณะเดียว แบบว่า อันนี้เกิดก่อนแล้วอันนั้นเกิดตามโดยลำดับกาลเวลา การเกิดขึ้นตามลำดับการเวลานั้นเป็นเพียง อาการหรือลักษณะของการเป็นปัจจัยแบบหนึ่ง ในบรรดาหลายๆแบบ
ขอให้นึกถึงตัวอย่างที่ยกบ่อย ๆ อีกแหละ ก็คือว่า เราเขียนตัวหนังสือบนกระดานป้าย อืม ตัวหนังสือนั้นปรากฏขึ้นมา เป็นตัว ค ข ค ค ง (ก ข ค ง) ก็มีเป็นเนื้อความต่าง ๆ ก็ ตัวหนังสือนั้นเป็นผลนะ ถ้าพูดง่าย ๆ ในตอนนี้นะ จับที่ขณะนี้ก่อน เอาว่าเอาอันนี้เป็นผล ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ต้องมีเหตุปัจจัย ก็เข้ากับหลักเมื่อกี้นี้ที่บอกว่า มีปัจจัยหลายอย่าง ตัวหนังสือนี้จึงปรากฏ ไม่ใช่ว่า อ้าว! ตัวหนังสือนี้ อาจจะเป็นตัวเขียนแบบชอล์ก ใช่ไหม ก็ เราก็อาจจะบอกว่า ชอล์กเป็นเหตุ แต่บางคนก็อาจจะกำหนดที่คนว่า คนเป็นเหตุ คนเป็นคนเขียน แต่ว่านี่คือปัจจัยทั้งหลาย ที่จริงมีปัจจัยอีกเยอะเลยที่จะให้ตัวหนังสือนี้ปรากฏ มีตัวแผ่นกระดานที่รองรับ เขาเรียกว่าเป็นที่อาศัย แล้วต้องมีสีที่ Contrast กัน เช่นว่า ชอล์กสีขาวแล้วก็พื้นนั้นสีเขียวสีดำ อะไรก็แล้วแต่ อืม แล้วก็ต้องมีอุณหภูมิ มีความชื้น พอที่จะจับไอ้เจ้าชอล์กนี่ให้อยู่ เป็นต้น นะ มีตัวคน มีเจตนาของคน อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นภาพตัวหนังสือนั้นขึ้น เพราะฉะนั้น ตัวหนังสือนั้นน่ะ เกิดจากปัจจัยหลายอย่างประชุมพร้อมกัน นะ ในบรรดาปัจจัยเหล่านั้นก็มี เหตุด้วยอันหนึ่ง นะ แต่ว่า ท่านเรียกว่า เหตุปัจจัย หมายความว่าปัจจัยมีหลายอย่าง อย่างผู้สวดอภิธรรมนี่จะมี เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อะธิปะติปัจจะโย อะไรต่าง ๆ นะ หลายอย่างคือปัจจัย ๒๔
เอาหล่ะครับ เป็นอันว่า ตัวหนังสือนั้นที่ปรากฏขึ้นมานั้น เป็นผลที่เกิดจากการประชุมพร้อมแห่งปัจจัยทั้งหลาย เมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมตัวหนังสือนั้นเกิด ทีนี้ ปัจจัยเหล่านั้นน่ะ ก็มีความสัมพันธ์กันในลักษณะต่าง ๆ ไม่เฉพาะลำดับกาล จะเห็นว่าบางปัจจัยนั้น หลายปัจจัยมีอยู่พร้อมกันเลย อย่างปัจจัยเป็นที่อาศัยนี่ก็มีอยู่พร้อมกัน ใช่ไหม เช่นว่า จะพูดว่าตัวกระดานป้ายนั้น เป็นปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย อย่างพระท่านเรียกว่า อุปนิสสยปัจจัย หรือว่า ปัจจัยในนี้ก็ไปวิเคราะห์เอาเอง ก็หมายความว่า จะเห็นว่ามีความเป็นปัจจัยในหลายลักษณะ นะ หรืออย่างเช่น บอกว่า เอาใบไม้นี่นะก็อาศัยกิ่งไม้จึงอยู่ได้ อืม ถ้ากิ่งไม้นั้นไม่มี ใบก็มีไม่ได้ด้วย อะไรอย่างนี้ นี่นี่ก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง ซึ่งมันไม่จำเป็นจะต้องเป็นก่อนเป็นหลัง นะ อันนี้ก็ยกตัวอย่างเท่านั้นเอง ให้เห็นว่าความเป็นปัจจัยนั้นมีหลายลักษณะ
ทีนี้เวลาเรามาดูเรื่อง อวิชชาปัจจะยา สังขารา นี่ เราอย่าไปมองในแง่เฉพาะลำดับกาลนะ เพราะฉะนั้น เหมือนอย่างว่า การที่เรามีตัณหาขึ้นมาได้นี่ เพราะมันมี อวิชชารองรับ หรือให้โอกาสอยู่ ความเป็นปัจจัยโดยการให้โอกาสก็ได้ ใช่ไหม ไม่ใช่หมายความว่า อวิชชามันเกิดมาแล้ว ก็เลยเกิดตัณหา ไม่ใช่อย่างนั้นนะ เกิดตัณหาเพราะอวิชชามันให้โอกาส ถ้าไม่มีอวิชชาให้โอกาสนี่ ไอ้เจ้าตัณหาเกิดไม่ได้ สมมติว่า เมื่อไม่มีอวิชชา ปัญญาก็มีสิ ใช่ไหม ไม่มีอวิชชาก็คือมีความรู้ นั่นเอง ก็คือมีปัญญา เมื่อมีปัญญา มันมีตัวรู้ ไอ้เจ้าตัณหาไม่มีที่อาศัย ไม่มีตัวให้โอกาส มันเลยเกิดไม่ได้ อะไรอย่างนี้เป็นต้นนะ ไม่ใช่หมายความว่า เพราะเจ้าอวิชชานี่มันมาก่อนแล้วมันก็เลยทำให้ไอ้เจ้าตัณหาเกิด ไม่ใช่อย่างนี้ พอจะเข้าใจนะ นี่แหละ อันนี้จะต้องเข้าใจไว้ก่อน จะได้ เวลาศึกษาจะได้ไม่งง ไม่อย่างนั้นเราก็ไปนึกว่า ไอ้เจ้าอวิชชามาแล้วก็เลยเกิดเจ้านั่นตาม ตาม ๆ นะ พอเห็นนะ อันนี้เป็นการทำความเข้าใจทั่ว ๆ ไป เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
อ้าว นี่ก็เป็นแง่ที่ควรจะสังเกตไว้สองสามอย่าง แล้วทีนี้อะไรอีกที่ควรจะพูด อืม ทีนี้ อย่างที่บอกตอนต้นแล้วว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่ มันเป็นเรื่องที่มีเรื่องของความดีความชั่วอยู่ในนั้นด้วย มีเรื่องของสุขทุกข์อยู่ด้วยกันเสร็จ ก็คือกระบวนการของชีวิตจิตใจของมนุษย์น่ะที่มันเป็นไป มันก็เป็นเหตุปัจจัยแก่กันทั้งนั้นแหละ นะ ทีนี้ ในเมื่อมันเกี่ยวกับความดีความชั่ว ความสุขความทุกข์ นะ มันออกมาสู่ชีวิตของเรา เป็นการแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทางใจ นะ เริ่มด้วยการคิดภายใน นะ ทีนี้ ไอ้การกระทำต่าง ๆ ของเรานี่ ที่มันออกมานี่ มันก็อยู่ในกระบวนการนี้ด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่นะ มันจะมีความสัมพันธ์ หรือครอบคลุม หลักที่เราถือว่าเป็นหลักที่ชาวพุทธยึดถือว่าเป็นหลักใหญ่ยิ่ง ก็คือ หลักกรรม หลักกรรมนี่เป็นหลักย่อยอยู่ในปฏิจจสมุปบาท และหลักกรรมนี่ เราบอกว่านี่ กรรมนี้แหละเป็นที่มาของสุขทุกข์ ไอ้กรรมนี่ก็จะมีกรรมดีกรรมชั่ว ใช่ไหม มีทั้งดีทั้งชั่ว และก็มี เป็นต้นเหตุของความสุขความทุกข์ ความจริงสาระของกรรมนี่ มันเป็นเรื่องของกระบวนการของการปรุงแต่งในจิตใจของมนุษย์ ที่มีเจตนา หรือเจตจำนง นี่เป็นแกนกลาง ใช่ไหม แล้วมันจึงมาแสดงออกทางวาจา ทางกาย แม้แต่ว่าคิดอยู่ในใจ มันก็มีเจตนา เจตจำนงนี่เป็นตัวแกนอยู่ตลอดเวลา ว่าเราเลือกตัดสินใจยังไง เราตั้งใจยังไง เราจะเอายังไง ตัวนี้นะ เป็นตัวสำคัญ เป็นตัวปรุงแต่ง และไอ้เจ้าเจตนาตัวนี้ มันก็อยู่ในกระบวนการของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมันอิงอาศัยกับเจ้าตัวอื่น เช่น มันมีอวิชชาเป็นตัวให้โอกาสอยู่ นะ แล้วมันก็เลยถูกปรุงแต่งด้วยด้านความรู้สึก เช่น อย่างที่เคยอธิบาย บอกว่า เรารับรู้รูปทางตา รับรู้เสียงทางหู พอได้เห็นได้ยินปั๊บ นะ เรายังไม่มีความรู้เข้าใจชีวิตโลกอะไรต่าง ๆ นี่นะ ปัญญาหรือวิชชาไม่มีหรอก แต่มันมีอายตนที่พอสัมผัสปั๊บ นี่มันเกิดความรู้สึกขึ้นมา ใช่ไหม นะ เกิดความรู้สึกก็เป็นเวทนาว่าสุขหรือทุกข์ สบาย ไม่สบาย พอสบายก็ถูกใจ ชอบใจ ไม่สบายก็ขัดใจ ไม่ชอบใจ อันนี้ก็คือด้านความรู้สึกก็เกิดขึ้น ซึ่งมันมีไอ้ตัวอวิชชานี้ เอื้อให้โอกาสอยู่ เราเรียกว่าเป็นปัจจัย มันก็เลยทำให้ตัณหาได้โอกาส ตัณหามันก็มาแสดงตัว ถูกไหม มาควบคุมวิถีความคิดของเรา เจตนามันก็รับใช้ตัณหาแล้วตอนนี้ คือว่า จะเอาหรือจะไม่เอา อยากจะเสพอะไรต่าง ๆ ไอ้เจตนานี้ก็นำในการเลือกเอา และก็ไม่เอา แล้วจะตัดสินใจ จะปรุงแต่งยังไง ๆ ใช่ไหม การปรุงแต่งก็เกิดขึ้น นี่ก็คือกรรมแหละ พอเป็นเจตนาแล้วกระบวนการของกรรมก็ดำเนินไป นะ คิดอยู่ในใจแล้วก็ออกมาแสดงทางกาย ทางวาจา
เพราะฉะนั้น กระบวนการของกรรมนี่ ถ้าจะศึกษาลึกก็ต้องมาศึกษาในปฏิจจสมุปบาทนี้เลย อืม ก็คือระบบความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของการกระทำ หรือพูดให้ลึกลงไปอีกก็คือ กระบวนการแห่งความเป็นไป ตามเหตุปัจจัยแห่งเจตนาหรือเจตจำนงของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดการปรุงแต่งขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไปในชีวิตของเรา ทั้งจิตใจ วาจา และการกระทำ แสดงออกมานะ
ทีนี้ เมื่อเราเข้าใจเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ดี นะ เราเห็นเรื่องกรรมชัดขึ้น ไอ้การพัฒนาชีวิตก็เกิดขึ้นได้ โดยที่ว่าในขณะที่ยังไม่ถึงกับขั้นหลุดพ้น ไม่ถึงขั้นดับทุกข์เลย แต่ก็มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการของการปรุงแต่งความคิด เป็นต้น ซึ่งมีเจตนาเป็นแกนนี่ ให้มีการกระทำที่ประณีตดีขึ้น ไอ้ส่วนที่เป็นกระบวนการปรุงแต่งนี่ อยู่ในตอนที่ท่านเรียกว่า สังขาร นะ เพราะฉะนั้น เวลาเทียบในหลักปฏิจจสมุปบาทกับกรรม นี่ เราก็บอก สังขารนี่แหละเป็นกรรม ใช่ไหม เวลาศึกษาไปจะได้ยิน สังขารนั้นเป็นกรรม แต่ที่จริงก็คือว่า สังขารนั้นก็เป็นเหมือนกับการวิเคราะห์ ให้ชัดลงไป ในกระบวนการของการเกิดขึ้นของกรรมนั่นเอง ทีนี้บางครั้งต้องการจะชี้จุดสำคัญที่เป็นตัวหัวหน้าหรือ พระเอกในสังขาร ก็จะชี้ไปที่เจตนา หรือเจตจำนง บางครั้งพระพุทธเจ้าก็ใช้คำว่า เจตนานี่เป็นตัวแทนของกรรมทั้งหมด เช่น อย่างที่ตรัสว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตนานั้นแหละเราเรียกว่าเป็นกรรม ก็เพราะว่าเจตนานี่เป็นหัวใจ หรือเป็น เป็นพระเอก ในนี้ เพราะฉะนั้นก็เอามันมาเป็นเหมือนผู้แทน ของกลุ่มนี้หรือกระบวนการนี้ทั้งหมดเลย เลือกหัวหน้ากระบวนการ มาเป็นชื่อของกระบวนการนี้เลย
ทีนี้ถ้าเราเข้าใจเรื่องนี้ เราก็ไปเน้นที่ว่าจะปรับปรุงชีวิต คือปรับปรุงการปรุงแต่งของเจตนาที่ออกมาทางกาย วาจา ใจ ไอ้ตอนนี้ก็กลายเป็นว่าเราไม่ได้เข้าไปในกระบวนการของปฏิจจสมุปบาท แบบรายละเอียดต้องลึกซึ้งน่ะ เอาแค่กระบวนการของชีวิตระดับที่ออกมาเป็นกรรม การกระทำ แล้วก็ทำให้เรามีการพัฒนาได้ เพราะฉะนั้นอันนี้ ถ้าจะแยก เช่นว่า สำหรับมนุษย์ปุถุชนนี่นะ มันก็ยังมีการปรุงแต่ง ในขั้นนี้ก็คือ พัฒนาหรือปรับปรุงการปรุงแต่งให้มันดีขึ้น จากการที่ปรุงแต่งให้เกิดความชั่วร้าย และความทุกข์ ก็ปรุงแต่งให้เกิดความดีงาม และความสุข ฉะนั้น อย่าง สังขารนี่เราจะเห็นว่า ท่านก็แบ่งเป็น อปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่ง อปุญ หรือ บาป ความไม่ดี และ ปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งบุญ ปรุงแต่งความดี แล้วก็ อเนญชาภิสังขาร ก็ปรุงแต่งในขั้นที่จิตที่เป็นสมาธิชั้นสูงเลยนะ นี่ก็สมาธินี่ แม้แต่ถึงขั้น อรูปฌาน สูงแล้วแต่ก็ยังเป็นการปรุงแต่ง อย่าไปดูถูกการปรุงแต่ง คือปกตินี่เราจะพูดกัน ว่า เออ อย่าไปปรุงแต่ง คิดปรุงแต่งไม่ดี อันนั้นก็คือการเทียบ ในระดับที่ว่าสุดยอดไปเลย ว่าเลิกปรุงแต่ง ใช่ไหม ไม่ปรุงแต่งได้ก็ดี หมายความว่าจิตก็หลุดพ้นเป็นอิสระ แต่นี่เราต้องยอมรับความจริงว่ามนุษย์ปุถุชนนี่ ที่จะไม่ให้ปรุงแต่งนี่เป็นไปได้ยาก ทีนี้แทนที่จะพูดรวม ๆ ก็ควรจะแยกแยะออกไปอีก นะ ในเมื่อเรายังเป็นปุถุชน เรายังไม่พ้นการปรุงแต่งนี่ เราพ้นจากการปรุงแต่งที่ชั่ว ที่เป็นทุกข์ มาเป็นการปรุงแต่งที่ดี และเป็นสุข ก็ยังดี เป็นการพัฒนาขึ้นไป ถ้าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปก็หมายความว่า เลื่อนขั้น จากการปรุงแต่งบาป มาเป็นปรุงแต่งบุญ นะ แล้วก็ปรุงแต่งจิตที่มีความมั่นคง แล้วก็จึงจะพ้นไปจากการปรุงแต่งอีกที ก็ยังดี ฉะนั้นคนทั่วไปนี่ ต้องดูก่อน อย่าอึกอัก ไปสอนเขา ปุ๊บปั๊บ ว่าไม่ปรุงแต่งเลย บางทีเขาก็ไม่ไหว แล้วก็เลย เขาก็เลยเอาแค่ว่า เคยปรุงแต่งยังไงก็ปรุงแต่งอย่างนั้น กับพยามจะไม่ปรุงแต่ง ไอ้จะพ้นจากการปรุงแต่งที่เคย ก็ทำไม่ได้ มันตกร่อง ใช่ไหม มันก็ จิตมันก็เคย ทีนี้เกิดปรุงแต่งแบบทุกข์ บาป ใช่ไหม มันก็เลย อยู่แค่นั้นแหละ จะข้ามขั้นไปก็ไปไม่ไหว ฉะนั้น น่าจะมีการช่วยเขาให้พัฒนาไปเป็นขั้น ๆ นะ
ที่นี้ไอ้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องปฏิจจสมุปบาท นี่ ก็มาช่วยในการปรุงแต่งเรื่องกรรมนี้ด้วย นะ ให้เลื่อนขั้นไปจากการปรุงแต่งที่เป็นบาปเป็นทุกข์ มาเป็นปรุงแต่งดีงาม ปรุงแต่งเป็นสุขขึ้นไป นะ แต่ให้รู้ด้วย ตระหนักอยู่ในตัวว่า ที่แท้แล้วไม่ปรุงแต่งได้เลยย่อมเป็นสิ่งที่ดี อยู่ด้วย อย่างน้อยต้องอยู่ด้วยปัญญาแท้ อยู่ด้วยความรู้กระจ่างแจ้ง คือคนที่ไม่ใช่ ไม่ต้องปรุงแต่งก็คือรู้ นะ แม้แต่ว่าในการเป็นอยู่กัน ชีวิตประจำว่านี่ เราอาศัยปรุงแต่งอยู่เสมอ อย่างสมมติว่าผมเอาอะไรมา กำไว้ในมือ ใช่ไหม แต่ท่านไม่เห็น ถามว่าเชื่อไหมในมือผมมี อะไร ท่านยกตัวอย่างไว้บอกว่ามีลูกมะขามป้อม ๑ ลูก แต่สมัยนี้อาจจะไม่เหมาะแล้ว จะบอกว่า มี อะไรล่ะ มียางลบสักแท่งหนึ่ง อะไรอย่างนี้นะ ทีนี้ท่านไม่ได้เห็นนี่ ว่าก่อนที่มือผมจะกำนั้นมีหรือเปล่า ยางลบ ผมก็บอกว่า เชื่อไหมในมือผมมียางลบ ท่านก็ต้องคิดแล้วใช่ไหม คิดว่ามันเป็นอะไร อันนี้ก็คือว่าเรายังไม่รู้ เมื่อเรายังไม่รู้เราก็ต้องอาศัยการคิด ก็ปรุงแต่งไปว่า เอะ คนนี้เป็นคนยังไง คนชอบพูดเท็จเชื่อไม่ได้ หรือ เป็นคนที่ตามปกติแล้วพูดจริง ตอนนี้ก็พิจารณาตัวบุคคล พิจารณาความเป็นไปได้ในแง่ว่า เอะ มือข้างนี้มันกำได้ไหมยางลบ มันเล็กพอกำได้ไหม แล้วก็ในบริเวณนี้เป็นไปได้ไหมที่จะมีพวกวัตถุประเภทยางลบ อะไรอย่างนี้นะ อะไรทำนองนี้ ก็คิดไปน่ะ แล้วก็ตัดสินใจว่า เชื่อ หรือไม่เชื่อ ใช่ไหม อย่างนี้ ก็หมายความว่าเรายังไม่รู้ชัดนี่เราก็มีการปรุงแต่ง แต่ถ้าผมแบมือ เห็นอยู่ชัด ๆ นี่ มันก็ไม่ต้องปรุงแต่ง ใช่ไหม
ทีนี้ลักษณะของการปรุงแต่งนี้ ก็เกิดจากการที่ความไม่รู้นี่เป็นตัวเอื้อโอกาสอยู่ แล้วก็จะมีเจตนาซึ่งปรุงด้วยความอยาก ความปรารถนาบางอย่าง อะไร หรือความเชื่อ มีทิฐิ มีแนวคิด มีความยึดมั่น อะไรต่าง ๆ นี่นะ มา ก็จะเป็นตัวปรุงแต่งไปตามแนวของมัน อิทธิพลที่มาปรุงนะ ที่นี้ถ้ามีตัวรู้เห็นชัดสักอย่างเดียว ไอ้พวกนี้หมดโอกาสเลย ใช่ไหม ทีนี้ก็หมายความว่า มนุษย์ที่เลิกปรุงแต่ง ก็คืออยู่ด้วยปัญญา เกิดความรู้เข้าใจแจ่มแจ้ง มันก็ไม่ให้โอกาส ก็หมายความว่า อวิชชามันไม่มี ที่ว่าอวิชชาไม่มีก็คือว่า ปัญญาหรือตัววิชชามันมี มันก็เลยไม่มีโอกาสสำหรับไอ้พวกตัวอื่น ๆ ที่จะมาเกิดการปรุงแต่งขึ้นมา
ทีนี้ คนที่ไม่ปรุงแต่งก็หมายความว่า ท่านเรียกว่า หมดอวิชชา หรือมีวิชชา มีปัญญารู้แจ้ง ใช่ไหม รู้เข้าใจโลกชีวิตแล้ว มันก็ดำเนินชีวิตไปด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นท่านจึงบอกว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์นี่ก็ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา หรืออยู่ด้วยปัญญา พออยู่ด้วยปัญญาหมายความว่ามันมีความรู้ แล้วในการที่รู้แจ้งนี้นะ มันเข้าใจโลกชีวิตหมดเลยมันทำให้กิเลสมันก็หมดไปด้วย มันก็เลยไม่มีการปรุงแต่่ง ไอ้เจตนาก็ไม่มีตัวที่จะต้องไปเลือกตัดสินใจ ใช่ไหม เพราะเจตนานี่มัน เจตจำนงที่จะเลือกเอา ว่าจะเอายังไง ตามตัวแรงจูงใจ เป็นต้น ที่เป็นอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง
ทีนี้พอปัญญามันรู้ มันทำไปตามปัญญา มันไม่ต้องมีไอ้ตัวเจตนามา เพราะฉะนั้น เหมือนกับว่า เจตนานี้ หมดบทบาทไปเลย นะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า คนที่พ้นกรรมน่ะ เพราะมันไม่ได้อยู่ด้วยเจตนา คือไม่ได้อาศัยเจตนาเป็นตัวเจ้าบทบาท เพราะเจตนานี่ก็เป็นกรรม ใช่ไหม ก็เรียกว่าเป็นผู้พ้นกรรม คืออยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยความรู้ ปัญญาความรู้มันก็เป็นตัวที่จะบอกว่าจะทำอะไร ใช่ไหม ถ้าเจตนาก็อยู่กับการปรุงแต่ง ว่าจะเลือกจะตัดสินใจ จะเอายังไง นะ ซึ่งจะมีทิฐิ ความเชื่อ มีตัณหา ความต้องการ อยากได้โน่นได้นี่ บ้างนะ มีมานะ ความยึดถือเกี่ยวกับตัวตน ความต้องการให้ตัวตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตัวกูของกูอย่างที่ว่า นะ ไอ้เจ้าพวกนี้มันอยู่เบื้องหลัง มันก็จะเป็นตัวชักใย ไอ้เจ้าเจตนาว่าจะเอายังไง พอปัญญามันรู้แจ้งหมด มันก็ให้เจ้านี้หมดบทบาท
เราจะเห็นว่าอวิชชานี้ มันเป็นตัวเอื้อโอกาสตลอดเวลาเลย นะ ไอ้ความเป็นปัจจัยของมันนี่ ลักษณะเอื้อโอกาสนี่เป็นสำคัญ ทีนี้ไปคิดกันเองว่า อวิชชาเป็นปัจจัย มีอวิชชาเกิดขึ้นก่อน แล้วไปมีอันนั้น ก็คิดกันอย่างนั้นก็ยุ่งสิ ใช่ไหม ที่จริงมันก็อยู่ในกระบอกการชีวิตเราตลอดเวลาแหละ อย่างที่บอกว่า อย่ามองปัจจัยในแง่ของการเกิดตามลำดับเวลา มันก็เป็นตัวปัจจัยคือตัวให้โอกาสอยู่ตลอดเวลา ใช่ไหม อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทำนั่นทำนี่ แล้วพระองค์ก็ตรัสสรุปว่า ทั้งหมดนี้อวิชชาแฝงอยู่ตลอด /หัวเราะ/ อย่างนี้เป็นต้นนะ อันนี้พอเห็นนะ อันนี่ก็เป็นการให้ภาพกว้าง ๆ เวลาจะมามองลักษณะ หลักเหล่านี้ ทีนี้พอเราได้ภาพกว้าง ๆ อย่างนี้ เวลาเราไปศึกษานี่มันจะง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นเราก็ไปศึกษาทีละตอน ละตอน อวิชชาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างไร ๆ (ถ้า)โดยไม่ได้ภาพอย่างนี้ไว้ บางทีก็จับวุ่นวายสับสนหมด นะ
/เสียงผู้ถาม/ (นาที34.50 -35.30) คราวนี้ ??? แล้วก็เข้าใจว่ามันเป็นเหตุเป็นผล คล้าย ๆ เป็นเรียงตามลำดับเวลา แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นนี่ ถ้ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย ปัญญานี่มันจะ??? ให้ตลอดเวลา ??? เช่น มองเหตุมองผลนี่ ที่เราเจอ มันอาจจะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง แต่ว่าเราคงไม่ เข้าใจว่าปัจจัยนี่จะมีการปรุงแต่ง ??? คือสติสามารถที่จะรู้ทัน แต่ละเรื่อง ๆ ได้โดยที่มีอวิชชาอยู่ไหม ???
อ๋อ อวิชชาในที่นี้หมายถึงว่า ความไม่รู้แจ้ง ความจริงของโลกและชีวิตนี่นะ อันนี้เป็นตัว หมายความว่าคล้าย ๆ ความรู้รวบยอด อย่างที่ฝรั่งเรียกคล้าย ๆ พวกวิทยาศาสตร์เรียกว่า General Principle หมายความว่านักวิทยาศาสตร์นี่ก็ไม่จำเป็นจะต้องมารู้เรื่องของ อะไร เรื่องของสัตว์ชนิดนี้ ชีววิทยา ใช่ไหม ว่าสัตว์ชนิดนี้อวัยวะอย่างนี้ รายละเอียดไม่ต้องรู้ หรืออย่าง ไอน์สไตน์ ก็อาจจะได้หลัก General Principle อันใหญ่ที่ต้องการ ก็ต้องการอันนี้ ทีนี้พอได้ภาพใหญ่ ความรู้ตัวหลักใหญ่แล้ว มันทำให้วางท่าทีต่อโลกชีวิตทั้งหมดทีเดียวเลย ถูกต้องเลยนะ แล้วทีนี้ไอ้ส่วนความรู้ละเอียดอะไรต่ออะไร ก็ต้องว่ากันไปอีกที เหมือนอย่างมีคนถามว่า พระพุทธเจ้า คือพระอรหันต์นี่ เดินทางไปต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ หรือต่างแดนต่างถิ่นนี่ แล้วจะรู้ไหมว่าทางนี้ไปไหน ก็เป็นไปไม่ได้ใช่ไหม อันนี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องของอวิชชาหรอก เป็นเรื่องของการที่ เป็นเรื่องความรู้ข้อมูลในชีวิตประจำวัน อันนี้ก็ต้องไถ่ต้องถามอะไรต่าง ๆ แต่อันนี้มันหมายถึงว่า ความรู้หลักทั่วไป ความจริงรวบยอด สัจธรรมเลยนะ ที่ทำให้เราอย่างที่ว่าเมื่อกี้ คือวางใจวางท่าทีต่อโลกและชีวิตได้ลงตัวพอดี แล้วก็ ในเมื่อจิตของเรานี่มีความรู้อันนี้แล้วก็หลุดพ้น ใช่ไหม ไม่อยู่ใต้อำนาจกิเลส เราจะไปทำอะไรต่ออะไรมันก็จิตมันก็บริสุทธิ์สะอาด ใช่ไหม ไม่มีแรงจูงใจที่เสียหายมาทำให้ชักใยไป นะ
/เสียงผู้ถาม/ จิตที่เป็นปกติอยู่ เป็นอวิชชาไหมครับ
จิตที่เป็นปกติอยู่ธรรมดา ก็ของมนุษย์ปุถุชนก็เท่ากับว่าอวิชชานี่มันแฝงอยู่ตลอดเวลา นะ ก็จะใช้คำยังไงก็ได้ จะใช้คำว่า อนุสัย หรือเป็นอะไรก็ได้ อวิชชาก็เป็นอนุสัยอย่างหนึ่ง คือความไม่รู้น่ะ เหมือนอย่างบอกว่าเด็กเกิดใหม่นี่ เราบอกว่าเด็กเกิดใหม่นี่บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้คิดร้ายอะไร แต่ที่จริงนั้นเด็กเกิดใหม่ก็คือ มีตัวความไม่รู้นี้เต็มที่อยู่เลย ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ไอ้เจ้าอวิชชานี่เป็นตัวเอื้อ พร้อมที่จะทำให้เด็กนี่พัฒนากิเลสทั้งหลายขึ้นมา เด็กจะว่าบริสุทธิ์นี่มันเป็นคำชาวบ้านเท่านั้นเอง นะ เราไม่พูดไม่ได้ บริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ พอเกิดมามีความไม่รู้อยู่เต็มที่เลย พอมันรับ รู้ตาเห็นรูป ปั๊บ ความรู้สึกเกิด ใช่ไหม สบายตา ไม่สบายตา จากจุดนี้แหละ อวิชชาเป็นตัวเอื้อที่มันไม่รู้โลกและชีวิต ไม่เข้าใจอะไรต่าง ๆ สักนิดเดียวเลย มันก็ไปตามความรู้สึกทันทีเลย ถูกไหม รูปนี้เห็นแล้วสบายตา อยากได้แล้ว อ้าว พอมันขัดตา มันไม่พอใจแล้ว ใช่ไหม นี่ก็คือความบริสุทธิ์แบบนี้ไม่ใช่ความบริสุทธิ์ที่แท้หรอก นะ จิตไม่ได้เป็นอิสระ แต่ว่า พระอรหันต์ก็คือว่า บริสุทธิ์ด้วยปัญญาคือความรู้ มีความรู้เข้าใจโลกและชีวิตหมด เพราะฉะนั้น รูป เสียง กลิ่น รส ที่เข้ามาก่อความรู้สึก ก็ไม่เกิดตัณหาขึ้นมา ใช่ไหม ไอ่นี่มันคนละแบบเลย เพราะฉะนั้น จะไปบอกว่าเด็กเกิดมาบริสุทธิ์อะไร เหมือนผ้าสะอาด อะไรต่ออะไร ก็เป็นสำนวนพูด แต่ที่จริงมันมี ถ้าเรียกคำสมัยใหม่ก็ ศักยภาพแห่งกิเลสมาเต็มที่เลย เพราะอวิชชาตัวเดียวแหละครับ อวิชชา มันเกิดมาพร้อม มันมาพร้อมกับอวิชชา อวิชชาก็คือไม่มีความรู้นั่นเอง เราจะบอกว่า มีความไม่รู้ ก็คือไม่มีความรู้ ใช่ไหม พอไม่มีความรู้นี่ก็แล้วแต่อายตนะจะรับสัมผัสแล้วเกิดความรู้สึกยังไงก็ไปเลย ไปตามนั้น ก็พอจะเข้าใจนะเรื่องอวิชชา
/เสียงผู้ถาม/ ถ้าเราใช้หลักการใหญ่ ๆ อย่างเดียว สมมติเช่น คือ ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ ถ้า เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ซับซ้อน อาจจะง่าย เช่น จับแก้วแล้วร้อน จับแก้วแล้วร้อน จะเจ็บหรือไม่เจ็บ ชอบหรือไม่ชอบ คำถามแรกก่อนว่า ตรงนี้ถ้าสมมติว่า จิตนี่ฝึกถึงระดับหนึ่ง ตัดตอนได้เลยไหมครับ ตัดตอน รู้ว่าร้อน ชอบหรือไม่ชอบมันไม่เกิดแล้ว
นี่แหละก็คือลักษณะที่ว่าปฏิจจสมุปบาทตัดวงจรได้ ตรงเวทนาต่อกับตัณหา เพราะว่า เวทนานี่เป็นด้าน Passive ด้านรับ ตัณหานี่เป็นด้าน Active ทีนี้พอเวทนาเกิด ใช่ไหม ไอ้ตัณหาไม่เกิด เพราะว่าไม่มีอวิชชาเป็นตัวเอื้อโอกาส ไม่มีอวิชชาที่เป็นปัจจัย เพราะฉะนั้นก็ปัญญาก็อยู่นั่นเอง ก็เมื่อไม่มีอวิชชา ก็คือมีปัญญาหรือมีวิชชา ก็วิชชาก็ตัดโอกาสที่ตัณหาจะเกิดขึ้น ก็รับรู้เวทนาสุขทุกข์แล้วก็จบ ใช่ไหม อันนี่ก็คือเรื่องของ เรื่องของผู้ที่บรรลุธรรม ฉะนั้น เวทนานี่เมื่อแปลเคร่งครัดจึงแปลไม่ได้ว่า ไม่ชอบหรือชอบ ชอบหรือไม่ชอบนี่ตัณหาทั้งนั้น เวทนาก็เป็นด้าน Passive ด้านรับ รู้สึก เพราะว่ามันก็เป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ เมื่อร้อนมันก็เป็นทุกขเวทนาไม่สบาย ใช่ไหม เมื่อมันอุ่นพอดีมันก็สบาย ก็อยู่ที่ว่าตอนนี้จิตจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ไอ้ตอนที่จะเป็นตัณหาก็คือปฏิกิริยาแล้วแหละ เวทนานั้นเป็นเรื่องของกระบวนการรับรู้เท่านั้น อยู่ในกระบวนการของธรรมชาติ ที่บอกว่าฝ่าย Passive ฝ่ายรับ ก็ ตาเห็นรูป เกิดจากวิญญาณ ใช่ไหม ก็รับรู้ตอนนี้อาจจะมีการกำหนดหมาย สัญญา แล้วก็มีเวทนา ความรู้สึกสบายไม่สบาย แต่ว่า สังขารปรุงแต่งด้วยตัณหาไม่มี ไม่ต่อ ก็ตัดตอนไปเลย ก็อยู่ด้วยความรู้
/เสียงผู้ถาม/ แล้วที่ใช้ตัดตอน ใช้ปัญญาตัดหรือว่าใช้สมาธิตัด
เพราะมันเป็นเรื่องปัญญาที่มันไม่ได้ตั้งใจตัด คือเพราะมันรู้ มันเข้าใจ มันก็ไม่เกิดเอง นะ คือหมายความว่าไอ้ปฏิกิริยาแบบชอบใจไม่ชอบใจ มันไม่เกิด ถ้าคนธรรมดาเป็นปุถุชนก็ยังฝึกพยายามตัด แต่ถ้าเป็นผู้บรรลุธรรม ก็หมายความว่ามันเป็นไปเองตามเหตุปัจจัย คือหมายความว่ามันไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิด ความรู้สึกที่จะชอบหรือไม่ชอบ นะ คือหมดเหตุปัจจัยแล้วนั่นเอง นะ ก็เลยไม่เกิดไอ้ปฏิกิริยานั้นขึ้นมา แต่ถ้ามนุษย์ปุถุชนนี่ก็สอนแบบให้ฝึก ให้ฝึกว่า เออ เมื่อเกิดเวทนา ที่เป็นสุข ก็อย่าไป เอ่อ เกิดความรู้สึกชอบใจ ถ้าเกิดทุกข์ก็อย่าไปไม่ชอบใจ อันนี้เป็นการฝึกของคน ซึ่งก็ฝึกกับฝืนนี่มันคู่กันนะ /หัวเราะ/ ใช่ไหม ถ้าหากว่าเราพอใจ มันก็เป็นฝึก ถ้าเราไม่พอใจมันก็เป็นฝืนใจไป แต่ว่าถ้าเป็นผู้ที่ได้พัฒนาตัวไปตามถึงขั้นจริง ๆ นี่ มันเป็นไปเอง นะ เพราะว่าเรื่องนี้ มันเรื่องของเหตุปัจจัยนะ เมื่อไม่มีเหตุปัจจัย ไอ้อันนั้นมันก็เกิดไม่ได้ ความชอบใจ ไม่ชอบใจ มันมีเหตุปัจจัยอะไร เมื่อเหตุปัจจัยของมันหายไปแล้ว ไอ้ความชอบใจ ไม่ชอบใจมันก็ไม่เกิดขึ้นเอง
ฉะนั้น อย่างที่เขาบอกว่า อ้าว! ก็ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามีพระอรหันต์ ก็บรรลุธรรมแล้วก็ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นก็ต้องกลับมาเป็นปุถุชนได้สิ อย่างนี้เป็นต้นนะ เอะ บางท่านมาพูดอย่างนี้ก็ ได้ยินกันหลายคนก็งง เอะ ถ้ามันจริง อ้าว แล้วมันไม่ขัดกันเหรอ นะ ก็ พระอรหันต์กลับมาเป็นปุถุชนได้ก็แย่สิ ใช่ไหม เอะ จะว่าไม่กลับ ก็ขัดหลักอนิจจังสิ อะไรอย่างนี้ นี่แหละ ความจริงมันมีอยู่เพียงว่า สิ่งทั้งหลายนี่ไม่เที่ยง ที่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ว่าเป็นไปลอย ๆ นะ (มัน)เป็นไปตามเหตุปัจจัย พระอรหันต์ไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้มาเป็นปุถุชน มันก็เลยไม่เป็นปุถุชน ก็เท่านั้นเอง /หัวเราะ/ มันไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้น นะ แต่ในความไม่เที่ยงมันก็อยู่ในขอบเขตของมันนั่นแหละ นะ ที่มันไม่เที่ยง เช่น ร่างกายไม่เที่ยง หรืออะไร จิตใจ ฐานะไม่เที่ยง ก็ว่าไปนะ แต่ไม่ใช่ว่าไม่เที่ยงแล้วกลับไปกลับมา อะไร มันอยู่ที่เหตุปัจจัย (คำว่า)สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ก็ถ้าเราไปติดอยู่แค่นี้ อาจจะทำให้หลอกตัวเอง เพราะว่าหลักการสำคัญนี่ ที่บอกว่า ไม่เที่ยง นะ มันมีไอ้ตัวสำคัญอยู่ มันอยู่ในระบบความสัมพันธ์ ที่มันไม่เที่ยงนี้ ก็คือมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ใช่ไหม ทีนี้การที่ไม่เที่ยงแล้วจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มาสัมพันธ์กัน เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยให้เป็นอย่างนั้นมันก็ไม่เป็น ก็เท่านั้นเอง
อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ว่า มาใช้ได้แม้แต่ชีวิตประจำวัน ที่เราพูดถึงสิ่งทั้งหลายว่า มีความเจริญแล้วก็เสื่อม อะไรต่ออะไรนี่ ต้องระวังว่า อย่างที่เคยพูดวันก่อนว่า พุทธศาสนาไม่ได้สอนไอ้พวกลัทธิโชค ลัทธิแล้วแต่เวรแต่กรรม อะไรอย่างนี้นะ ซึ่งความหมายนั้นหมายถึงว่า มันเป็นไปแล้วแต่ถึงคราว อะไรอย่างนี้ แล้วก็บอกว่านี่ไม่เที่ยงไง ใช่ไหม ไม่เที่ยงมันเสื่อมแล้วก็เจริญ หรือว่ามันเจริญแล้วเดี๋ยวมันก็ต้องเสื่อม ก็เลยทำให้เรานี่ ชักประมาทปล่อยละเลย หลักพุทธศาสนาจุดสำคัญนี่ ที่บอกไม่เที่ยงนี่ มันไปโยงกับหลักเรื่องนี่แหละปฏิจจสมุปบาท หลักไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง แต่ถึงเพียง อนัตตา นี่ มันอธิบายได้ด้วยปฏิจจสมุปบาทนะ คือมันไม่เที่ยงเป็นต้น เพราะอะไร เพราะว่า มันไม่ได้มีตัวของมันเอง นะ เป็นอิสระอยู่ อ้าว นี่ก็คือ อนัตตา ใช่ไหม แล้วมันไม่สามารถคงสภาพของมัน มันก็เป็นไป เปลี่ยนแปลง แล้วเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ที่มาสัมพันธ์กัน ฉะนั้น ปฏิจจสมุปบาท นี่ก็อยู่เบื้องหลังเรื่อง ปรากฏการณ์ที่มีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเองทีนี้ เพราะฉะนั้นไอ้ความไม่เที่ยงนี่ อย่าไปหยุดแค่นั้น เดี๋ยวกลายเป็นว่า มันจะเป็นยังไงก็ปล่อยตามเรื่องตามราว ที่จริงหลักไม่เที่ยงนี่... /จบ/