แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เมื่อวานนี้ก็คุยกันมาถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับประชาชน รวมไปถึงบทบาททางสังคมของพระภิกษุ ทั้งในแง่ของการเป็นส่วนร่วมในสงฆ์ และก็ในสังคมใหญ่ ทีนี้ในการสัมพันธ์กันนี้ สิ่งหนึ่งที่จะมีความหมายมากก็คือ ภาพของพระในสายตาของประชาชน เพราะว่าเมื่อมีภาพอย่างไรแล้วมันก็โยงไปถึงบทบาทด้วย เขาก็คาดหวังจากภาพที่เขามีว่า พระสงฆ์นี่ควรจะมีบทบาทอย่างนี้ทำหน้าที่อย่างนี้ หรือว่าให้อะไรแก่เขาอย่างนั้น ๆ แต่ว่าที่นี้การที่เขาคาดหวังและสร้างภาพอย่างนี้ บางทีก็เกิดจากบทบาทของพระเองที่ทำ ทีนี้ เราก็ต้องโยงมาที่ว่า เอ้าแล้วบทบาทอะไรที่เป็นของแท้จริงอะไรของพระ ภาพอะไรที่เขาควรจะมีต่อพระสงฆ์ โดยเฉพาะก็คือความหมายของการเป็นพระภิกษุนั้นอยู่ที่ไหน ทีนี้คนมองถึงพระสงฆ์รวมทั้งนักบวชทั่วไปเนี่ย ก็มองในบทบาทหน้าที่ แล้วก็เกิดภาพและความหมายหลายอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ศาสนาต่าง ๆ ในอินเดียนี่มีหลากหลาย แล้วศาสนาโดยทั่วไปก็จะมีวิวัฒนาการ
ซึ่งเราจะได้เห็นได้ว่า จากวิวัฒนาการของศาสนานี้ก็จะมีบทบาทของนักบวชเกิดขึ้น นักบวชก็ทำบทบาทที่เป็นไปตามแนวทางหรือว่าวัตถุประสงค์ของศาสนานั้น ซึ่งหมายถึงความหมายของศาสนาต่อผู้คนหรือต่อมนุษย์นี่ อันนี้ยกตัวอย่างเช่นว่า ในความหมายหนึ่ง นักบวชก็เป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์ เป็นผู้ที่บอกความต้องการของเทพเจ้า หรือว่าอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เล้นลับ ว่าทางพระผู้เป็นเจ้าต้องประสงค์อะไร แม้แต่นักบวชอาจจะอ้างว่า นี่พระผู้เป็นเจ้าท่านวางหลักกฎเกณฑ์นะ ท่านประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ หรือว่า ท่านต้องทำอย่างนี้พระผู้เป็นเจ้าจึงจะโปรด ถ้าท่านไม่ทำอย่างนี้พระพุทธเจ้าลงโทษ นี้ก็จะเห็นมากว่าในศาสนาที่เป็นมาแต่โบราณนี้ นักบวชจะมีบทบาทอย่างนี้ก็เลยเกิดความหมายว่า นักบวชนั้นเป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้าหรือสวรรค์กับโลกมนุษย์ ก็เลยเป็นตัวแทนพระเจ้า เป็นตัวแทนเทพเจ้าไป
เอาทีนี้ อีกความหมายหนึ่งนักบวชอย่างฤาษีชีไพรนี่เป็นผู้ที่ปลีกตัวออกจากสังคม สละละทิ้งหมดทุกอย่าง ไม่เอาอะไรแล้วทรัพย์สินเงินทอง เพราะเบื่อวัตถุเบื่อสังคม ก็ไปอยู่กับเรื่องของการหาคุณค่าจิตใจ เรื่องของความสุข เรื่องของความสงบ ก็จะมีภาพของนักบวชเป็นพวกที่ปลีกตัวออกจากสังคมไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้คน แล้วก็อีกอันหนึ่ง เมื้อกี้ข้ามไปก็คือ ในเมื่อเป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้ากับประชาชนแล้ว นักบวชก็เลยเป็นผู้ที่สามารถสนองความต้องการของประชาชนในการที่ว่า จะทำให้เขาได้รับผลประโยชน์ที่ต้องการด้วยการทำพิธีกรรม เพราะฉะนั้นก็เกิดความหมายของนักบวชอีกอย่างหนึ่ง ก็คือเป็นผู้ประกอบพิธีใช่ไหม ประกอบพิธีนี้อะไรล่ะ มันก็มีตัวฐานที่ลึกลงไปก็คือว่ามีอำนาจเร้นลับ เทพพระเจ้าที่จะอำนวยผลประโยชน์ให้แก่มนุษย์ โดยผ่านพิธีกรรม เช่นการบูชายัญ พราหมณ์นักบวชก็เป็นผู้ทำพิธีบูชายัญให้ใช่ไหม นั้นก็เลยเด่นเรื่องการเป็นนักประกอบพิธี ก็จะเห็นได้มากเลยว่า นักบวชนี่มีความหมายเป็นนักประกอบพิธีกรรม อ้าว แล้วนอกจากนั้นก็ พอนักบวชนี่ไปสัมพันธ์กันเรื่องของการที่ได้มาบำเพ็ญเพียรทางจิตได้ประสบความสำเร็จได้เข้าถึงสิ่งลึกซึ้ง อำนาจเร้นลับต่าง ๆ เอาออกมาใช้ได้เกิดพลังจิต เลยเป็นผู้มีฤทธิ์มีปาฏิหาริย์ ก็กลายเป็นผู้วิเศษ คนก็จะมองว่านักบวชนี่ โอ้เป็นผู้วิเศษ เป็นผู้ที่มีฤทธิ์มีปาฏิหาริย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง หรือไม่งั้นก็เป็นสื่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งถ้าเขาไปแล้วก็จะไปหวังผลประโยชน์หวังลาภ หวังความสำเร็จอะไรได้ใช่ไหม นี่ก็เป็นความคาดหวังของคนอีก ภาพเหล่านี้จะเห็นได้ว่ามีทั่วไปในเวลามองนักบวช ซึ่งเข้ามาในการมองพระในพระพุทธศาสนาด้วยเพราะว่า ผู้คนเนี่ย มีความเข้าใจต่อศาสนาในความหมายต่าง ๆ แบบที่ว่ามาแล้ว แม้มานับถือศาสนา ความเข้าใจแบบนี้ก็ยังมีอยู่
ทีนี้เรามาดูแล้วความหมายไหนที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าต้องการ ความหมายที่ว่ามานี่ก็ไม่ใช่ว่าจะผิดไปหมดก็มีประโยชน์อยู่ เพราะว่ามันก็เป็นเรื่องที่นำให้คนเนี่ยหันมาสนใจอะไรอีกด้านหนึ่ง ที่ไม่ใช่ด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันที่วุ่นวายของเขา อาจจะเป็นช่องทางหรือเป็นสื่อที่จะนำคนออกไปไปหาสิ่งที่ปราณีตลึกซึ้งยิ่งขึ้น และจุดนี้ที่เป็นจุดเชื่อมต่อเนี่ยไม่แน่ว่าจะนำไปได้หรือเปล่า แต่มันก็มีประโยชน์อยู่ในตัวบ้าง เช่นการที่ถือว่านักบวชนี่เป็นสื่อกลางระหว่างโลกแห่งรูปธรรมกับโลกแห่งนามธรรมที่มองไม่เห็น แต่นามธรรมในที่นี้จะหมายถึงสิ่งที่มีอำนาจเล้นลับเสียมากกว่า ไม่ใช่นามธรรมในความหมายของคุณธรรมความดีงาม อันนั้นจะเป็นตัวที่ว่า อ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วมาเรียกร้องเอา ทีนี้ถ้านักบวชเป็นคนดีก็จะไปอ้างอำนาจลึกลับอำนาจยิ่งใหญ่ของเทพเจ้ามา แล้วต้องการให้สังคมนี่ประพฤติดีงามเรียกว่ามีศีลธรรมและจริยธรรม ก็เลยมาเรียกร้องจากสังคม ว่าเนี่ยพระพุทธเจ้า เทพเจ้าท่านมีอำนาจดลบันดาลนะท่านจะต้องประพฤติให้ดี เว้นจากความชั่ว ถ้าท่านเว้นจากความชั่วและพระผู้เป็นเจ้าก็จะโปรด ถ้าประพฤติดีตามคำสอนของพระองค์ ถ้าท่านละเมิดแล้วก็ พระผู้เป็นเจ้าจะพิโรธจะลงโทษเอา ก็สามารถตั้งข้อกำหนดเรียกร้องทางศีลธรรมได้จากอำนาจเร้นลับนี้ ก็ศาสนาก็จะมาช่วยตรงนี้ที่มาเป็นสื่อดึงไปสู่สิ่งที่ดีงามยิ่งขึ้น แต่อย่างน้อยเมื่อคนมาหานักบวชด้วยการที่มีความเข้าใจถึงว่ามีอำนาจเร้นลับที่นักบวชนี่เป็นสื่อกลาง หรือแม้แต่ตัวนักบวชมีอำนาจศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้วิเศษนี่ มันได้อันหนึ่งก็คือเขามีทุกข์มีร้อน มีภัยอันตรายอันใดมีความหวาดกลัว มีความกลุ้มกังวลอะไรต่าง ๆ ก็มาแล้วก็ได้สิ่งที่ช่วยปลอบประโลมใช่ไหม ใจก็สบายหายทุกข์หายร้อนหรือเบาบาง นอนไม่หลับแล้วก็กลับไปนอนหลับดีขึ้น ก็ได้สิ่งที่กล่อมใจไป ซึ่งกล่อมใจนี่มีประโยชน์พอสมควร คนนอนไม่หลับก็ต้องอาศัยยาช่วย ยานั้นก็มีประโยชน์ แต่ก็ในการที่เขาอาศัยสิ่งช่วยพวกสิ่งกล่อมหรือสิ่งปลอบประโลมใจนี้ เขาอาจจะต้องจ่าย อย่างที่เรียกว่า บางทีไม่คุ้มใช่ไหม จ่ายบางทีมันหนักเกินไป แต่สิ่งที่เขาแลกเพื่อให้ได้มานี่คืออะไร อันนี้ถ้าหากว่าคนนอนไม่หลับ มีทุกข์จิตใจวุ่นวายแย่แน่ ๆ ได้ยานอนหลับก็สบายก็มีกำลังขึ้นมาพร้อมจะเดินหน้า แต่ถ้าติดอยู่กับยากล่อมก็แย่ นี้ปัญหาว่า ทำยังไงจะให้เขาได้ประโยชน์จากยากล่อมนี้เพียงเป็นจุดช่วยให้ได้พักผ่อนมีกำลังสดชื่นแล้วเดินหน้าต่อไม่มาติด ไม่มาจมอยู่จุดนี้ที่สำคัญ นี้เรื่องของศาสนาในประเภทที่ว่ามาแล้ว
ที่ว่านักบวชเป็นสื่อกับสิ่งที่มีอำนาจเร้นลับที่จะช่วยเหลือเขาได้อะไรต่าง ๆ ทำให้เกิดความหวังปลอบประโลมใจ นี้ถ้าหากว่ามาจ่ายเพื่ออันนี้ เขาได้ไปอันหนึ่งจริงก็คือความสบายใจ แต่ว่าทำให้เขาเนี่ยมาจมอยู่ก็คือหวังพึ่งสิ่งเหล่านี้ ตัวเองก็ไม่พัฒนาละทีนี้ ก็อยู่แค่นั้นแหละทีนี้ไม่ได้พัฒนาแล้ว อันนี้มันจะกลายเป็นการจ่ายหรือการแลกเปลี่ยนที่ว่าไม่คุ้มสูญเสียมากกว่าได้ ตกอยู่ในความประมาท ตัวเองก็ไม่คิดทำอะไร ไม่แก้ไข ไม่มาหาทางแก้ปัญหา ไม่สู้ปัญหาก็อ่อนแอลง แล้วก็ตกอยู่ในความประมาทไม่พัฒนาตน ทีนี้ปัญหาอย่างอื่นก็ตามมา เช่นว่าหนึ่งก็คือชีวิตส่วนตัวเองไม่พัฒนา สอง ก็คน ก็เอาใจใส่หันไปมองความสัมพันธ์ระหว่างตนกับอำนาจเร้นลับที่อยู่ภายนอก ไม่มาสนใจในหมู่ผู้คนด้วยกันเองว่าจะมาช่วยแก้ปัญหาอย่างไร มันก็เสียทั้งชีวิตและสังคม ทีนี้ถ้าหากว่าคนนั้น หนึ่ง มีความเข้มแข็งซะหน่อย สู้ แล้วหาทางแก้ปัญหาอาจจะผ่านจุดนี้ไปได้แล้วเขาได้เรียนรู้และจะพัฒนาตนไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องมาพึ่งสิ่งกล่อม หรือถ้าเขาไม่แข็งแรงพอ แต่นักบวชมีดี มีความปรารถนาดี และมีปัญญาคือเจตนาก็ดีต่อเขามีเมตตาแล้วก็มีปัญญารู้ รู้ความจริง รู้สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ยิ่งกว่านั้น ก็จะอาศัยการที่เขาเข้ามาหาเนี่ย แล้วก็เลยชักนำเขาสู่สิ่งที่สูงขึ้นไป ในแง่นี้แล้ว แม้แต่พระสงฆ์ในพุทธศาสนาก็อาจจะใช้เป็นเทคนิคในการที่ว่า เพราะคนก็ยังอ่อนแอมาหวังพึ่ง เขาได้ความปลอบประโลมใจแล้ว แต่ว่าไม่ให้เขาจมอยู่แค่นั้น ก็แนะนำ ๆ ทางให้ปัญญาเป็นต้น ให้เขาพัฒนาตัวเองต่อไปได้ ก็ยังเป็นบันไดที่ดีงาม แต่นี้ปัญหามันก็คืออยู่ที่ว่ามาทำให้จมอยู่ตรงนั้น คืออย่างที่ว่าเมื่อกี้ก็หวังพึ่ง แล้วก็เลยพอกล่อมใจได้สบายก็หยุด แล้วก็รอคอยผล ตกอยู่ในความประมาทไม่พัฒนาตนไม่แก้ไขปรับปรุง ฉะนั้นการลงทุนนี้อาจจะไม่คุ้ม ถ้ามองในแง่สังคมแล้วก็ถือว่าเป็นการสูญเสียมากด้วย ถ้ามนุษย์สังคมส่วนใหญ่มาหวังพึ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ใช่ไหม ได้ไม่คุ้มเสียว่าอย่างงั้นเถอะ ได้แค่ปลอบประโลมใจสบายใจไป อยู่ด้วยความหวังมากขึ้น แต่ไอ้ความหวังก็มากล่อมตัวเอง ทำให้ไม่ได้พัฒนาตกอยู่ในความประมาทอย่างที่ว่า เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่มาก ถ้ามีความเข้มแข็งทนสู้ มันจะทุกข์ตอนนี้หน่อย แต่ว่ามันผ่านไปได้แล้วมันได้เรียนรู้เข้มแข็งขึ้นมา แล้วก็จะเดินหน้าไปได้
ที่นี้ว่าพุทธศาสนาต้องการยังไง เราต้องการความหมายของพระสงฆ์บทบาทอะไรที่แท้จริง พระพุทธเจ้าทรงเห็นมาแล้ว บทบาทของนักบวชเหล่านี่ พราหมณ์นี่ชัดเจนเป็นผู้บูชายัญใช่ไหม ก็ทำให้คนเรานี่มีความหวัง หวังพึ่งเทพเจ้า พระอินทร์ พระพรหม พระประชาบดี พระอะไรท่านคงจะมาช่วย ก็หาเครื่องเซ่นไปก็เป็นทางหาผลประโยชน์ของพราหมณ์ด้วย พราหมณ์ก็บอกซิทีนี้ เทพเจ้าองค์นี้เก่งในทางบันดาลนี้ องค์นี้เก่งทางลาภ องค์นี้เก่งทางยศตำแหน่งนี้ องค์นี้เก่งทางคู่ครอง อะไรอย่างนี้น่ะ แล้วก็เทพเจ้าองค์นี้ชอบเครื่องเซนอย่างนี้ องค์นี้ชอบเครื่องอย่างนี้ เอ้าแล้วจะไปทำเองยังไงเราไม่รู้ใช่ไหม ก็ต้องมาหาผู้เชี่ยวชาญคือพราหมณ์ซิ พราหมณ์ก็จะจัดให้ใช่ไหม คนก็ต้องมาหาพราหมณ์ ๆ ก็จัดพิธี ทีก็ได้ตังค์เยอะ เนี่ยกลายเป็นระบบผลประโยชน์ขึ้นมา เกิดผลเสียแก่สังคมในแง่ต่าง ๆ แล้วคนก็เลยจมอยู่กับไอ้การหวังพึ่งอยู่กับสิ่งกล่อมสิ่งปลอบประโลมใจ ได้สุขแต่ลงทุนมันสูญเสียมากไม่คุ้ม เพราะว่ามันขัดขวางการพัฒนาชีวิตและสังคมหมดเลย สภาพอย่างนี้ก็เป็นเด่นในสังคมอินเดีย
พุทธเจ้าได้ทรงเห็น ก็จึงได้มาดึงคนจากเทพสู่ธรรม ซึ่งเราจะได้อธิบายกันต่อไป อันนี้ก็ให้มาอยู่กับความเป็นจริงของความเป็นเหตุเป็นผล กฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ แล้วให้ใช้ปัญญาศึกษา มันอาจจะเหนื่อยหน่อย ไม่เหมือนง่ายไปหาพราหมณ์ ก็โยนภาระไปเลย พอไปหาพราหมณ์ เราก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว คนมันก็สบายก็ชอบ ตัวเองไม่ต้องทำอะไร เอ้อ ยกภาระไปให้พราหมณ์ ๆ จัดการให้เอง ไปจัดเครื่องเซ่นทำพิธีบูชายัญ มานอนฝันสบาย นี่ก็แต่ตัวเองเนี่ย มันไม่ได้อะไรอย่างแท้จริงไม่เป็นสาระ นี้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมา ก็วางหลักโดยที่ว่าความจริงอยู่ในธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัย เป็นไปตามธรรมดา มนุษย์ต้องการผลเนี่ยต้องทำเหตุ และการที่จะทำเหตุได้ดีขึ้นได้ผลดีก็ต้องมีปัญญารู้เข้าใจเหตุปัจจัย ต้องศึกษา การศึกษาการพัฒนาตนการเรียนรู้ฝึกตนนี่เป็นเรื่องสำคัญของชีวิตของเราที่จะทำให้ชีวิตดีงามอย่างมีแก่นสานที่แท้จริง ได้สิ่งที่เป็นสาระได้จริง ๆ ไม่ใช่ได้เป็นเพียงสิ่งกล่อมพอให้สบายใจชั่วคราว อันนั้นต้องอดทนเอาหน่อยต้องเข้มแข็ง พระพุทธเจ้าต้องปลุกใจคน เพราะคนนี้มันมีความโน้มเอียงจะอ่อนแอตามใจตัวเอาง่าย ๆ ใช่ไหม ทีนี้คนที่จะมาฝึกตนพัฒนาตน ก็ต้องเข้มแข็ง ต้องสู้เพราะฉะนั้นมันยากหน่อยอย่างน้อยมันต้องเริ่มใช้ปัญญาต้องคิด พอเจอปัญหาแล้วจะคิดแก้ไขยังไงสืบสาวเหตุปัจจัยมันยากนะไม่เหมือนอย่างเจอปัญหาแล้วโยนปัญหาไปให้เทวดาแก้ นี่มันสบายกว่า ใช่ไหม พระพุทธเจ้าก็มาปลุกใจคนว่าท่านจะมีความเข้มแข็งนะ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ เราจะมีชีวิตที่ดีงามนี้เราต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนปลุกใจกันหนักเลย พระพุทธเจ้าต้องเอาพระองค์มาเป็นตัวอย่างว่าเราจะเป็นพุทธเจ้าได้ต้องบำเพ็ญบารมีต้องทำความดีอย่างนั้น ทำคุณธรรมอย่างสูงสุดอย่างที่ไม่มีใครทำได้ โอ้โหต้องเข้มแข็งกันจริง ๆ ต้องปลุกใจอย่างหนัก ขนาดปลุกใจนี้ชาวพุทธยังถอยเลย เดี๋ยวเอาพระพุทธเจ้ามาขอหวังลาภหวังผล ไปขอหวยเสียอีกแล้วแน่ นี่เป็นอย่างนี้ คนมันมีความโน้มเอียงจะอ่อนลงเรื่อยตามใจตัวเอง ชอบให้เขามาเอาอะไรกล่อมสบาย ลัทธิกล่อมก็อยู่ได้เรื่อย ที่นี่ว่าพระของเรานี่เกิดท่ามกลางสภาพอย่างนี้ก็เหมือนทวนกระแสแล้ว
พระพุทธเจ้าจะต้องสร้างภาพใหม่ ความหมายใหม่ให้กับพระสงฆ์ ทีนี้ความหมายบางอย่างก็เอาเข้ามาได้บ้างในบางแง่ ฉะนั้นเราจะเห็นว่า ภาพพระสงฆ์นี่ มันก็มีความหมายบางอย่างของเดิมติดมา เช่นความเป็นผู้สละใช่ไหม สละวัตถุ สละทรัพย์สินสิ่งของ สละเหย้าเรือน อันนี้ก็มีความหมายอย่างที่รู้อยู่แล้ว พยายามเป็นผู้ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย แต่ว่าไม่ได้ไปถึงความหมายเดิมของเขาที่ว่าตัดขาดจากสังคม ปลีกตัวไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรกับใคร พระพุทธศาสนาไม่เอา อย่างที่อธิบายไปแล้วในครั้งก่อน
ทีนี้อะไรภาพที่ต้องการ พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายแห่ง อย่างในหลักที่เราเรียกว่าโอวาทปาติโมกข์ ก็ชัด โอวาทปาติโมกข์ก็ที่ถือว่าเป็นหัวใจพุทธศาสนา ที่แสดงในวันมาฆบูชาก็จะมีลักษณะของบรรพชิตหรือสมณะที่บอกว่า ขันติปรมังตโปตีติกขานิพพานังปรมังวัฑฒันติพุทธานี่ ประกาศหลักการพุทธศาสนาเสร็จก็บอก นะหิปะพระชิดโตปะโรปะคาตี ผู้ที่ทำร้ายคนอื่นไม่เชื่อบรรพชิต สมโณโหติปะรังมิเหยันโต ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่เป็นสมณะนี่ นี่ลักษณะของบรรพชิต ความหมายของการเป็นบรรพชิตและเป็นสมณะ ๆ ก็เป็นผู้สงบไม่เบียดเบียนไม่ทำร้ายใคร ภาพพระอย่างหนึ่งที่ได้คือ สัญลักษณ์ของความปลอดภัย หรือสัญลักษณ์ของความไม่มีภัย เห็นพระที่ไหนปลอดภัยที่นั่น อันนี้ เป็นภาพที่มีมาในสังคมไทย สร้างได้สำเร็จพอสมควร ถ้าเห็นพระที่ไหนแล้ว สบายใจเลยความไม่มีภัย นี่มันเกิดความรู้สึกมั่นคงใช่ไหม อย่างของฝรั่งชอบนัก Security คือถือเป็นศัพท์สำคัญเลยนะ ถ้าเห็นพระแล้วรู้สึกเลยมีความเกษม ศัพท์ว่า Security นี่ที่จริงต้องแปลว่า เกษม เราแปลกันว่า ความมั่นคง ความจริงไม่ได้ความหมายที่แท้ของฝรั่ง ศัพท์แท้ว่าเกษม เกษมนี่มันยิ่งกว่าปลอดภัย ของฝรั่ง Security มันลักษณะที่ไม่มีภัย แต่มันมีความรู้สึกที่มันปลอดโปร่งโล่งด้วยใช่ไหม ไม่มีภัยเข้ามาถึงเหมือนคนที่ว่า อยู่ในน้ำ ว่ายน้ำอยู่ก็ มีจระเข้กลัวอยู่ใช่ไหม แต่ตัวก็ว่ายเก่งก็อาจจะปลอดภัย แต่เมื่อไหร่ขึ้นฝั่งยืนบนฝั่งนั้นคือเกษมใช่ไหม อยู่ในน้ำนี่อาจจะเก่งอะไรต่ออะไรปลอดภัยได้ แต่ปลอดภัยไม่พอต้องขึ้นยืนบนฝั่งนั้นคือเกษม ภาวะอย่างนี้ อันนี้พระนี่เป็นเครื่องหมายความไม่มีภัย เป็นผู้ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร เพราะฉะนั้นเห็นพระที่ไหนแล้วสบายใจ นี้เป็นฐานอย่างหนึ่งที่สำคัญ เป็นการสร้างสภาพจิตที่ดี แล้วเป็นความหมายต่อสังคมไปด้วย เพื่อเป็นการนำทางสังคมไปสู่สังคมที่ไม่มีการเบียดเบียนไม่มีเวรภัย เพราะฉะนั้นพระเป็นผู้นำ เห็นพระแล้วมีความรู้สึกปลอดภัยในสังคมไทยจะมีความรู้สึกอย่างนั้น ฉะนั้นประชาชนชาวบ้านเดินทางไปไหนเห็นพระก็รู้สึกเป็นศิริมงคล เป็นเครื่องหมายความปลอดภัยเข้าไปในป่าแล้วนี่ไม่รู้โจรผู้ร้ายจะดักซุ่มอยู่ยังไง แต่พอไปเจอพระเข้าสบายใจ ที่นี่ไม่มีภัยแล้ว ลงนั่งยอง ๆ ยกมือท่วมหัว มีความสบายใจโล่งใจปลื้มใจน่ะ นี่ความสุขเกิดขึ้นมา อันนั้นอันหนึ่งก็คือสัญลักษณ์ความไม่มีภัย ทีนี้พอไม่มีภัยแล้วจิตก็พร้อมแลัวโปร่งโล่ง ฉะนั้นก็ที่พูดไปแล้วก็การสร้างภาษาท่า เห็นพระแล้วชื่นใจใช่ไหม มีจิตใจผ่องใสเกิดภาษาท่า ทำจิตให้เป็นกุศล พอสภาพจิตอย่างนี้แล้วก็เป็นจิตพร้อมที่จะเดินหน้าและเข้าถึงความดีงาม
ตอนนี้ก็อย่างที่ว่าก็เป็นจุดที่จะมาสื่อถึงความสัมพันธ์ที่กำลังเข้าหากัน และพระก็จะได้แสดงธรรมนำไปในทางปัญญาหาทางแก้ปัญหาชีวิตทำให้เรียนรู้ รวมพูดง่าย ๆ ก็คือทำให้เขาได้ปัญญาต่อไป ก็ได้คุณค่าทั้งจิตใจและปัญญา นำไปสู่พฤติกรรมที่ดีงามยิ่งขึ้น ก็เป็นโอกาสที่จะได้นำไปสู่บทบาทของพระในการบำเพ็ญธรรมทาน บทบาทของพระในพุทธศาสนานี่ก็จะมีความหมายที่สำคัญในเชิงนี้ ซึ่งไม่มาติดอยู่กับความหมายเป็นผู้วิเศษ เป็นผู้มีฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ทั้ง ๆ ที่มีความหมายเหล่านั้นก็ไม่ใช่ว่าเลวร้าย แต่ว่ามันอย่างที่ว่าแล้ว มันได้แค่ระดับหนึ่ง ที่นี้ ทำให้เขามาฝากความหวังพึ่งไว้ เมื่อเจอกับพระแล้ว ได้ความปลอดโปร่งโล่งใจสำหรับตัวเอง แต่พร้อมกันนั้นก็หวังพึ่งเป็นจิตที่ผูกไม่เป็นอิสระ แต่ว่าการที่ทำให้เขามีความรู้สึกปลอดภัยผ่องใสนั้นเป็นคุณภาพที่เกิดขึ้นในตัวเขาเอง ต่อไปให้มีปัญญาอิสระของตัวเอง พุทธศาสนาไม่ต้องการให้คนมาจมอยู่ ฉะนั้นมันเป็นการก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งขั้นนี้ ที่เราสร้างกันมาในสังคมไทยก็ได้สำเร็จพอสมควร แต่เวลานี้สังคมไทยกำลังถอยกลับ กำลังมองพระนี่เป็นสื่อของอำนาจเร้นลับ เป็นผู้วิเศษ เป็นสิ่งที่จะเข้าไปหวังพึ่ง เป็นที่ ๆ จะให้สิ่งกล่อมใจ ให้ความหวัง แล้วก็ปลอบประโลมใจ แล้วก็อยู่ด้วยความหวัง แล้วก็ตกอยู่ในความประมาทไม่พัฒนาตนเองก็เข้าสู่หลักลัทธิลักษณะของศาสนาโบราณ ที่พระพุทธเจ้าพยายามที่จะปลดเปลื้องถอนออกมา ฉะนั้นถ้าหากว่าพระเราไม่สามารถจะแก้ไขนำเข้าสู่หลักการพุทธศาสนาได้ ก็พุทธศาสนาก็เสื่อมนั่นเอง คือมีแต่ชื่อตัวหลักการไม่อยู่ ก็กลายเป็นเหมือนศาสนาเก่า ๆ ทั้งหลาย แล้วคนก็จับหลักไม่ถูก แม้แต่พระสงฆ์เองก็จับหลักไม่ถูกว่า บทบาทของตัวเองอยู่ที่ไหน บทบาทก็โยงไปสู่การที่ตัวเองมีหน้าที่บทบาทมีความหมายอย่างไรต่อสังคม ภาพของตัวเองอย่างไร ตัวเองเป็นสัญลักษณ์ของอะไร ก็เอาเป็นว่า พระสงฆ์นี้เป็นสัญลักษณ์ของความไม่มีภัย แล้วก็เป็นสื่อนำมาซึ่งภาษาท่า แล้วก็นำไปสู่ไตรสิกขา เมื่อได้อย่างนี้แล้วพอเขามีจิตใจผ่องใสก็ พระสงฆ์นั้นก็เป็นแบบอย่างของชีวิตแห่งการพัฒนาตนใช่ไหม หนึ่ง ไม่มีเวรไม่มีภัย ทำให้จิตเขาเกิดความผ่องใสโล่งพร้อมที่จะรับกุศลธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วก็เป็นแบบอย่างแห่งชีวิต ที่บำเพ็ญไตรสิกขาที่เจริญงอกงามในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง แล้วก็จะได้ชักนำเขาเจริญยิ่งขึ้นไปในใจไตรสิกขาด้วยใช่ไหม นี่ก็คือภาพที่ต้องการ แล้วทำไงจะไปถึงจุดหมายนี้ก็คือว่า ไอ้ที่มาเจอกันไม่มีภัย เสร็จแล้วจิตใจผ่องใส เป้าหมายไปอยู่ที่ว่าจะได้ชักนำเขาเจริญในไตรสิกขา เช่นให้เกิดปัญญาขึ้นก็มาให้ธรรมมีธรรมทานเป็นต้น ถ้าทำได้อย่างนี้ชีวิตเขาก็จะดีขึ้น ไม่ใช่มาหวังพึ่งอยู่กับตัวพระ ถ้าเป็นศาสนาโบราณ ก็มาอยู่กับตัวพระ หวังให้ท่านช่วยบันดาลออะไรต่ออะไรให้ หรือเป็นสื่อไปถึงอำนาจเร้นลับไสยศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ เทพเจ้ามาช่วยบันดาลให้บอกความต้องการของเขาอะไรเงี้ย ก็ไปหวังพึ่งโยงกันอยู่อย่างนี้ ก็ไม่เป็นอิสระสักที แต่พอเราปฏิบัติตามหลักการพุทธศาสนา คนก็เป็นอิสระของเขา เดินทางของเขาได้พัฒนาต่อไป
ทีนี้มาดูศัพท์บ้าง คำว่าภิกษุ เพราะว่านักบวชในพุทธศาสนานี้เรามีชื่อเรียกว่า ภิกษุ บางครั้งก็ใช้ สมณะ บางครั้งก็ใช้ มุนี อะไรต่าง ๆ บางศัพท์ก็จะสงวนไว้ใช้ในระดับที่ว่าเป็นผู้บําเพ็ญกิจในไตรสิกขาได้พัฒนาไปมาก อย่าง มุนี แต่มุนี นี่ความหมายเดิมของเขา บางทีนอกศาสนาก็หมายถึง ผู้นิ่ง นักบวชบางศาสนาก็เอารูปแบบไม่พูดไม่จากับใครน่ะ นั่งนิ่งเป็นมุนี พระพุทธเจ้าบอกว่า ความเป็นมุนีมันไม่ได้อยู่ที่ความเป็นผู้นั่งนิ่ง ว่าอย่างนั้นน่ะ มันอยู่ที่ความมีปัญญารู้เข้าใจความจริงของสิ่งต่าง ๆ รู้เท่าทันแล้วทำให้วางใจจิตใจสงบใช่ไหม มันนิ่งด้วยจิตใจสงบมั่นคง ทีนี้ความเป็นภิกษุ เอาศัพท์ ภิกษุ ก็มีความหมายตามรูปศัพท์หลายอย่าง เช่น ง่าย ๆ ภิกษุแปลว่าผู้ขอ เป็นความหมายพื้น ๆ เพราะว่าภิกขุ จะเป็นรากศัพท์เดียวกันกับ ภิกขา เคยได้ยินไหม ภิกขาจาร ภิกขาจารก็ไปขอภิกษา ภิกษาก็คืออาหาร ภิกษา ภิกขุ ภิกษุก็เลยเป็นผู้ขอในความหมายง่าย ๆ พื้น ๆ เป็นรูปแบบ เป็นเรื่องของการดำรงชีวิตของพระภิกษุมองแค่นี้ก็เป็นภิกษุ แต่ถ้ามองอย่างนี้มากไปก็จะกลายเป็นว่า โอ้เลยบทบาทของพระอยู่ที่การขอซิทีนี้ ถ้าจะไม่ดีแน่ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่สาระเป็นเพียงว่า เรื่องของความหมายตามพยัญชนะตามตัวอักษร ก็ท่านก็ให้ความหมายต่อไปอีก แม้ตัวพยัญชนะเช่นว่า ภิกษุแปลว่าผู้เห็นภัยในสังขาร ว่างั่นน่ะ ผู้เห็นภัยในสังขารก็เป็นความหมายลึกเข้าไปหน่อยใช่ไหม อ้อภิกษุ นี่เห็นภัยในสังขารแล้วพยายามที่จะบำเพ็ญประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะให้พ้นไปจากสังขารไปสู่วิสังขาล อ้อมีอีกศัพท์หนึ่งที่ยังอยู่ฝ่ายรูปธรรมคล้าย ๆ กับ ภิกขาคือ ชื่อว่าภิกษุเพราะเป็นผู้ทรง หรือคลองผ้าที่ขาด ๆ วิ่น ๆ ก็หมายความว่า เดิมนี่พระนี่ท่านใช้บังสุกุลจีวรอย่างที่เคยเล่า ไปเที่ยวเก็บเอาของที่เขาทิ้งอะไรต่าง ๆ เป็นเศษเป็นชิ้นมา มาต้ม มาตัด มาเย็บ มาย้อม ทำเป็นจีวร เพราะฉะนั้นผ้าของท่านก็ เป็นชิ้น เป็นแผ่น ก็เป็นเศษผ้านั่นเอง เพราะฉะนั้นอันที่หนึ่งนี่ พูดในแง่ของอาหารปัจจัย 4 ข้ออาหาร ก็ภิกษุเป็นผู้ขอ ทีนี้มองในแง่ของเครื่องนุ่งห่ม ภิกษุเป็นผู้ทรงไว้หรือครองผ้าที่ขาด ๆ วิ่น ๆ เป็นเศษ เอาทีนี้มาในแง่นามธรรมก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ เป็นผู้สังขาเล แล้ว พะยังอิคะตีติภิกขุ เป็นคนมองเห็นภายในสังขาร แล้วอีกอย่างหนึ่งแปลว่า ชื่อว่าภิกษุเพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสเอานี่ นี่สูงยิ่งขึ้นไปอีกน่ะ เพราะภิกขุนี่มาจากภิกธาตุ แปลว่าทำลายก็ได้ และผู้ทำลายกิเลสความหมายก็ลึกซึ้ง นี่เป็นความหมายตามรูปศัพท์ ก็คือ ต้องบำเพ็ญไตรสิกขาจึงทำลายกิเลสได้ อันนี้เป็นเพียงเอามาเล่าประกอบความรู้
ก็เป็นรูปแบบภิกษุ ถ้าว่าตามคำจำกัดความในทางวินัยก็คือ ผู้ที่ได้รับการอุปสมบท นี่ว่าขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง ต้องเข้าสู่สังฆกรรม โดยที่ ๆ ประชุมสงฆ์ได้มีมติยอมรับเข้ามาใช่ไหม นี่ก็หมายความภิกษุก็คือ ผู้ที่ได้อุปสมบทแล้วนั่นเอง นี่ความหมายตามวินัย ก็เป็นรูปแบบภิกษุที่มาอยู่ในสงฆ์เป็นสมาชิกแห่งสงฆ์ อย่างที่เราเรียกว่าสมมติสงฆ์ แต่ทีนี้พอเอาเข้าจริง ๆ ความเป็นภิกษุก็ไม่ได้อยู่เพียงแค่ว่ารูปแบบที่ว่าห่มเหลือง ปลงศีรษะ ปลงผม โกนหัวนุ่งเหลืองเท่านั้น ก็ไม่เชื่อเป็นภิกษุ ในความหมายที่เป็นเนื้อหาสาระ ก็มีต่อไปอีก ถ้าตามวินัยแล้วก็ต้องว่าไปตามรูปแบบเคร่งครัดต้องได้อุปสมบทแล้ว ถ้าจะเอากันทางเรื่องของสังคมบทบัญญัติ กติกา เรื่องวินัย เรื่องเช่นการลงโทษอะไรต่าง ๆ ต้องว่าไปตามรูปแบบเอาคำจำกัดความว่าผู้อุปสมบทแล้ว
ทีนี้เอาสาระ พระพุทธเจ้าก็จะตรัสเตือนว่า ความเป็นพระภิกษุมันไม่ได้อยู่ที่มาโกนหัวนุ่งเหลืองเท่านั้นน่ะ มันอยู่ที่การปฏิบัติตามหลักการการ ใช่ไหม การบำเพ็ญไตรสิกขา โดยเฉพาะก็คือว่าการที่ได้ประพฤติห่างไกลจากการเบียดเบียนอย่างที่ว่า ฉะนั้นจึงมีพุทธสุภาษิตบทหนึ่งเป็นคาถาธรรมบท ตรัสให้ความหมายเชิงสาระ อลังโตเจติสะมันจริยายะ เป็นต้น บอกว่าแม้จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ แต่หากประพฤติสงบ สันโตทันโตนิยะโยพรหมจารี เป็นผู้ที่ฝึกตน เป็นผู้แน่วแน่ ต่อมันคาแห่งชีวิตที่ดีงาม เป็นผู้ประพฤติบําเพ็ญอยู่ในชีวิตอันประเสริฐ เป็นผู้วางอาชญาแล้วในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง หมายความไม่เป็นผู้เบียดเบียนใครจะเรียกว่าเป็นพราหมณ์เป็นสมณะเป็นภิกษุก็ได้ทั้งสิ้น ว่าอย่างนั้น เอ้านี่อีก เอาสาระเลยน่ะ บอกถึงไม่มาบวชนี่เป็นชาวบ้าน แต่งตัวแต่งกายประดับมีเสื้อผ้าอาภรณ์นี่เหละ แต่ถ้าเขามีจิตใจอย่างนี้ประพฤติตัวอย่างนี้แล้ว จะเรียกเขาเป็นพราหมณ์เป็นสมณะเป็นภิกษุก็ได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น อันนี้พระพุทธเจ้าจะไปพูดสอนพราหมณ์เยอะ บอกว่าความเป็นพระพราหมณ์ไม่ใช่เกิดในวรรณะพราหมณ์ว่างั้น ไม่เป็นพราหมณ์ในชาติกำเนิด ความเป็นพราหมณ์ไม่ใช่มาถือวัตรข้อปฏิบัติอะไรต่าง ๆ อย่างของพราหมณ์ที่บัญญัติกันไว้ ความเป็นพราหมณ์นั้น อยู่ที่การที่ละกิเลสกำจัดสิ่งชั่วร้ายในตัวได้แล้วใช่ไหม พราหมณ์ก็ถือว่า พราหมณ์นี้เป็นผู้ลอยบาปแล้วใช่ไหม เขาลอยบาป เขาก็ลงแม่น้ำคงซิ เดี๋ยวนี้ก็ยังลงกันอยู่ แม่น้ำคงคานี่ถือเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ รองไปอินเดีย ไปที่พาราณสี พวกอินเดียก็ยังลงไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ก็ถือว่าลอยบาปน่ะ ไปชำระบาป พระพุทธเจ้าบอกว่า นี่ถ้าท่านลงไปแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว บาปมันลอยไปได้นี่ เต่าปลามันคงหมดบาปไปก่อนท่าน ว่าอย่างนั้น พระพุทธ้จ้าตรัสอย่างนั้น พระองค์บอกว่าการลอยบาปไม่ใช่มาลอยในแม่น้ำอย่างนี้ มันลอยด้วยน้ำ น้ำแห่งธรรมะ ก็คือการที่ประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญขัดเกลากิเลสของตัวเอง ก็พระพุทธเจ้าก็ให้ความหมายของการลอยบาปเสียใหม่ ไม่ใช่ไปลอยบาปในแม่น้ำ ในแม่น้ำคงคง แต่หมายถึงลอยบาปด้วยการที่กำจัดออกจากตัวเองให้มันหมดชำระมันออกไปเสีย อันนั้น พระพุทธเจ้าก็เรียกพระอรหันต์เป็นพราหมณ์ เพื่อจะไปสร้างความหมายในทางเชิงสาระ ไม่เอาแค่รูปแบบ ว่าพราหมณ์เขาถือว่าเกิดในวรรณะพราหมณ์ ต้องปฏิบัติตามข้อวัตรอะไร ตามระเบียบแบบแผนของวรรณะของเขา อะไรเนี้ย พระพุทธเจ้าก็บอกว่าไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดแล้ว เป็นพราหมณ์เพราะกรรม
ตกลงว่าเรื่องนี้ก็มีหลายขั้นหลายความหมาย สิ่งที่แท้ที่ต้องการก็คือเนื้อหาสาระ แต่เนื้อหาสาระนี้จะดำรงอยู่ได้อย่างไร แล้วจะเข้าถึงได้ยังไง ทำไงเมื่อเข้าถึงสาระเข้าถึงความจริงแล้วจะรักษาสาระรักษาความจริงแห่งสัจธรรมนั้นไว้ได้ พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึงสัจธรรมทรงรู้เกิดปัญญาขึ้น อ้าวรู้แล้ว ก็ทำไงจะรักษาความจริงที่ตรัสรู้ไว้ได้ สร้างรูปแบบขึ้นมาห่อหุ้มเอาไว้ใช่ไหม รูปแบบก็มีประโยชน์ซิ คณะสงฆ์ความเป็นภิกษุกับชีวิตภิกษุ ก็จะได้ห่อหุ้มรักษาสาระที่พระองค์เข้าถึงอันนี้ไว้ ฉะนั้น สอง นอกจากว่าจะรักษาไว้ได้ ทำไงจะสื่อให้ความจริงสาระที่เกิดขึ้นแล้วเนี่ยเป็นประโยชน์แก่คนกว้างขวางออกไป ก็ต้องอาศัยรูปแบบอีก เพราะฉะนั้นการมีสังฆะ มีพระภิกษุขึ้นมา มีชีวิตนักบวช ก็เพื่อจะได้มาสื่ออันนี้ออกไป ไม่ใช่ว่าเอาแต่สาระอย่างเดียวอีก บางคนก็บอกจะเอาแต่สาระอีก ก็ไม่ถูก พระพุทธศาสนาถือว่าสำคัญทั้งคู่ สาระจะอยู่ได้ดำรงอยู่รักษาไว้ได้ และจะได้รับการสือออกไปเป็นประโยชน์กับผู้คนมากก็ได้อาศัยรูปแบบ เพราะฉะนั้นก็เลยต้องมีรูปแบบไว้ช่วย แต่รูปแบบที่ไม่มีสาระก็เป็นโมฆะไร้ประโยชน์ว่างเปล่า อันนั้นก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แต่สิ่งที่ต้องการแท้จริงคือสาระ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสเน้นเอื้อต่อกัน แต่สิ่งที่เป็นเป้าหมาย สิ่งที่ต้องการแท้จริงคือ สาระ ส่วนรูปแบบนี้ก็มาช่วยเพื่อจะรักษาสาระนั้นให้คงอยู่ได้ยั่งยืนพร้อมทั้งสื่อออกไปให้เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมากอย่างได้ผล ฉะนั้นก็พระภิกษนี่ก็ทำหน้าที่ว่าตัวเองจะต้องพยายามเข้าถึงสาระพร้อมกันนั้นรูปแบบที่ดีที่ได้ผลด้วย จะได้สามารถรักษาสาระพร้อมทั้งสื่อสาระ ให้เกิดประโยชน์แก่หมู่มนุษย์จำนวนมาก อันนี้มันก็เลยเข้าหลักใหญ่ เรื่องสาระก็เป็นเรื่องธรรมะ รูปแบบก็เป็นเรื่องวินัย ซึ่งเป็นหลักการใหญ่พุทธศาสนาทั้งสองอย่าง ขาดไม่ได้ด้วยกันทั้งคู่ ถ้าเมื่อไรหมด อย่างใดอย่างหนึ่งก็ถือว่าหมดพระพุทธศาสนา คือตัวพุทธศาสนาแท้มันก็อยู่ที่ธรรมะ แต่ในรูปสถาบันหรือในรูปที่เป็นเรื่องทางสังคมนี้ มันจะไม่อยู่แหละ ในระดับสังคมนี่ อยู่มีแต่ธรรมะนี่มันอยู่ไม่ได้แล้ว มันต้องมีรูปแบบมาช่วยรักษาไว้ ก็เป็นอันว่า ที่พูด ๆ มานี่ก็คือความหมายของพระภิกษุ เรื่องความเป็นพระสงฆ์หรือนักบวชในพุทธศาสนา ซึ่งไปสัมพันธ์กับวิวัฒนาการของศาสนา อย่างที่กล่าวมา
ก็เป็นการที่พระพุทธเจ้าทรงมีประสบการณ์เรื่องของนักบวชต่าง ๆ มามากมาย แล้วก็ต้องการที่จะนำคนให้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งขั้นนี้ยาก ต้องยอมรับความจริงว่ายาก เพราะมันเป็นขั้นที่ว่า มนุษย์จะต้องมีความเพียรในการที่จะยอมรับธรรมชาติของตนเองที่เป็นสัตว์ที่ต้องฝึกฝนพัฒนา เราจะมีชีวิตที่ดีงามด้วยการฝึกฝนพัฒนา แต่มนุษย์มักจะพอใจในการที่ว่า จะได้มีสิ่งที่ปลอบประโลมใจ อยู่ด้วยความหวังและตัวเองก็จะไม่ต้องหนักไม่ต้องเหนื่อยใช่ไหม ก็เลยหวังพึ่งสิ่งอื่นมีอะไรมาช่วยให้พึ่งได้ มีความหวังได้ ปลอบประโลมใจได้ก็สบายใจ ก็เอาความสุขเฉพาะหน้า แล้วก็ตกอยู่ในความประมาท นอนรอผลอะไรต่าง ๆ ไม่พัฒนาตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหายิ่งใหญ่มากในสังคมไทยปัจจุบันด้วยว่าจะแก้ได้อย่างไร พระจะทำได้ไหม จะสามารถมาปฏิบัติตามหลักการพุทธศาสนาเพื่อนำประชาชนให้ก้าวต่อไปได้หรือไม่
(1)
คนฟังถาม เคยได้ยินมาว่าพระภิกษุเป็นภัยในสังสารวัฎ
พระตอบ เหมือนกัน เห็นภัยในสังสารวัฏก็อันเมื่อกี้ไง เห็นภายในสังขาร เห็นภัยในสังขาลนี้ตรงกว่าด้วย คือ ท่านใช้คำว่าสังขาเรพะยังอิคติภิขุ คือ ความหมายมีหลายอย่าง ก็ทวนอีกทีว่า ผู้ขอคู่ครองผ้าขาด ๆ วิ่น ๆ เป็นเศษ แล้วก็ผู้เห็นภายในสังขาร แล้วผู้ทำลายกิเลส ส่วนเห็นภัยในสังสารวัฎก็ได้ ก็บางคัมภีร์ก็เอา อันนี้เป็นการยักเยื้องพวกศัพท์เหล่านี้ พระโบราณจารย์ท่านก็ยักเยื้องไปได้ หาทาสหาอะไร มาแปลรูปศัพท์ เล่นศัพท์กันก็มี ในคัมภีร์ นะปะทิอิกา ก็จะให้ความหมาย 4 อันนี้ ทีว่า สังขาเรพะยังอิคติภิขุ ภิกษุคือผู้เห็นภัยในสังขาล คัมภีร์รุ่นหลัง
(2)
คนฟังถาม รู้ชัดเจนแล้ว
พระตอบ ก็ถึงเห็นภายในสังสารก็ใช้ได้ สังสาเร ยักเยื้องไปอีกนิดนึง มันก็อยู่ในประเภทเดียวกัน เป็นแง่หมูนแล้วก็เป็นเรื่องของศัพท์แสง บางทีศัพท์นี่สมัยหนึ่งเดิมที่คิดเอามาใช้เนี่ยมันมีความหมายอย่างนี้ ต่อไปมีวิวัฒนาการไอ้ความหมายที่แท้จริงเปลี่ยนไปแล้วด้วยซ้ำ ความหมายตามรูปศัพท์เดิมใช้ไม่ได้ เหมือนอย่างคำนี้ ฝรั่งก็คำว่า อะตอม นี้ใช่ไหม อะตอมแปลว่า ปรมาณู เนี่ย เดิมเขาคิดว่าไอ้เจ้าปรมาณูนี้มันผ่าตัด มันแยกอีกไม่ได้แล้ว เขาก็เลยเรียกมันว่าอะตอม อะตอมแปลว่า แยกอีกไม่ได้แล้ว ต่อมาปรากฏว่า เจ้าอะตอม นี้แยกได้ใช่ไหม แต่มันก็เรียกไปแล้ว มันก็เรียกอะตอม เดี๋ยวนี้ก็ยังเรียกอยู่ ถ้าไปเถียงกันเรื่องศัพท์ก้อใช้ไม่ได้ คุณมาเรียกอะตอมได้ยังไงใช่ไหม ก็ถ้าไปเถียงอย่างนี้มันก็กลายเป็นว่าเราไปยุ่งไม่เข้าเรื่องอีกใช่ไหม อันนี้เป็นเรื่องของศัพท์ ศัพท์ก็เป็นศัพท์ เป็นเรื่องของภาษาต้องเข้าใจเท่าทัน บางทีมันเป็นเรื่องของความเป็นมาในอดีต กลายว่าเป็นประโยชน์ในการศึกษาความเป็นมาในทางความคิด หรือวิวัฒนาการของสิ่งนั้นเท่านั่นเอง แม้ว่าศัพท์ พระภิกขุนี้ ถ้ามองในแง่ของประวัติศาสตร์ก็เป็นเพียง อ๋อ ก็เป็นชีวิตนักบวช ๆ ประเภทหนึ่ง กับเขาเรียกว่าภิกษุมีอยู่แล้วก่อนพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าก็ทรงเลือกศัพท์นี้มาใช้ เรียกนักบวชบรรพชิตที่พระองค์ได้ทรงตั้งขึ้นใช่ไหม ก็เรียกว่าเป็นภิกษุ ก็ต้องเลือกเอาศัพท์ใดศัพท์หนึ่ง ศัพท์นั้นอาจจะสื่อความหมายที่ประชาชนเข้าใจได้ดีที่สุด ในบรรดาศัพท์ที่มีอยู่ แต่ก็ถึงยังไงก็ไม่ได้ความหมายที่พระองค์ต้องการแหละ เพราะว่าที่เขามีนั้นมันไม่ตรงใช่ไหม คือไม่ตรงที่พระองค์ทรงพระประสงค์แน่นอน เพราะว่าถ้าพระองค์ทรงเห็นด้วยพระองค์ก็ไม่ต้องตั้งพุทธศาสนา เมื่อพระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยแล้ว ก็มีพระภิกษุอยู่ในพุทธศาสนาความหมายนี่ก็ไม่เหมือนของเดิม แต่ว่าเพื่อสื่อกับประชาชนก็ต้องอาศัยถ้อยคำภาษา แล้วก็ไปเลือกเอาคำที่สื่อดีที่สุดใกล้เคียงที่สุด แล้วพระองค์ก็มาสร้างความหมายให้แก่ศัพท์นี้ต่อไปใช่ไหม ด้วยหลักการของพุทธศาสนา อันนี้เรื่องศัพท์ก็อย่าไปติดไปยึดอะไร
(3)
คนฟังถาม ต้องวิเคราะห์ด้วย ศัพท์เอามาใช้ต้องวิเคราะด้วย
พระตอบ อ๋อ อันนี้เป็นความรู้ ซึ่งเป็นความรู้ทางเชิงภาษาศาสตร์บ้าง เป็นความรู้เชิงประวัติศาสตร์บ้างอะไรเงี้ย มันได้ประโยชน์ยังงั้นน่ะ
(4)
คนฟังถาม ผู้มองภัยเป็นผู้มองเห็นในสังสารวัฎ จริง ๆ บาลี
พระตอย อ๋อ ในอภิธรรม อพิกาสูจิ นี้ใช้ สังขาเรอภิยาคติ อีติภิกขุ เชื่อพระภิกษุเพราะเห็นภัยในสังขาร แต่ทีนี้ไม่จำเป็น เราไม่จำเป็นติดอยู่คัมภีร์นี้ คัมภีร์อื่นก็อาจจะให้ตัวหน้าเปลี่ยนไปเป็นสังสาเรก็ได้ สังสาเรพะยาอิคติภิกขุ แปลว่า เชื่อว่าภิกษุ เพราะเห็นภัยในสังสาร ในสังสารคือการเวียนไหว้ตายเกิด เพราะว่าตัวศัพท์มันอยู่ที่ พยังอิคติ พยัง ก็ตัว พอ มาแล้ว พยัง อิคตี อิคะมาแล้ว เป็น ภิกขะ ใช่ไหม แล้วก็เติม ปัจจัยเข้าไปเป็น ภิกขุ ทีนี้ไอ้ตัวสังขาเรก็ตาม สังสาเรก็ตาม เป็นตัวประกอบใช่ไหม พอเห็นภัย เห็นภัยในอะไร เพราะตัวศัพท์มันได้เต็มแค่ พยังอิคติ เท่านั้น เห็นภัยเท่านั้นใช่ไหม จะต้องถามว่าเห็นภัยในอะไร ก็เติมศัพท์นี้เข้ามาข้างหน้า แต่จะเห็นก็ตัวสังขาลก็ดี หรือ สังสาร หรือสงสาร ก็ดีไม่มีตัวอักษรใดติดเข้าไปอยู่ในภิกขุเลยใช่ไหม ไอ้ตัวที่ไปคือตัว ภยัง ตัว พอ สำเภา เข้าไป แล้วก็ อิคติ อิคขะ เข้าไป เป็นภิกขุ หรืออย่างคำว่า ภิคตีติภิกขุ อันนั้น ตัวภิกขะ เป็นกิริยาในภาษาบาลี เขาเรียกว่า ธาตุ แปลว่า ขออยู่แล้ว อันนั้นง่ายที่สุด ภิขตีติภิกขุ เชื่อว่าภิกษุว่าเป็นผู้ขอ อันนี้ก็ยังมีว่า ชินนะพินะปะตะถะโร แปลว่า ผู้ครองผ้าที่ขาด ๆ วิ่น ๆ อันนี้มีความหมายหนึ่งมาจากคำว่า พินะ ภิกขุ มาจาก ภินะ หรือว่าอะไร กิเลเสพินะขีตินภิกขุ เชื่อว่าภิกษุเพราะผู้ทำลายกิเลส ก็อย่าไปยุ่งเลย เรื่องความหมายเชิงศัพท์ อันนี้เป็นประดับความรู้ คือท่านไม่ให้ติดอยู่แล้ว อันนี้ทำให้ได้แง่มุม ที่จะเอามาพูดกันแล้วก็สื่อความหมาย อาจเอาไปใช้ประโยชน์เป็นจุดเริ่มต้นในการสนทนาใช่ไหม อย่าไปติด
(5)
คนฟังถาม ท่านเจ้าคุณ อย่างเวลามีพิธีทางธรรม พระภิกษุสวดมนต์ให้พร เราจะเห็นพิธีพราหมณ์รวมอยู่ด้วย ทีนี้ท่านเจ้าคุณบอกว่า จริง ๆ นี่ในแง่พิธีการอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เรามีประวัติความเป็นมาอย่างไร แล้วก็พูดในแง่ของ มันทำให้เกิดประสานกลมกลืน ระหว่างความเชื่อลัทธิต่าง ๆ แต่ว่าจริง ๆ แล้วพอมาวิเคราะห์ดูอีกที การที่เราประสานโดยไม่มีคนเริ่มจากสาระ มันได้ผลไม่คุ้ม เราเห็นมีพิธีพราหมณ์ความรู้สึกว่า มันทำให้ตัดศักสิทธิ์เครื่องขลังไปติด
พระตอบ ก็พราหมณ์ก็เป็นสื่อ กับอำนาจเร้นลับในเทพเจ้า หรืออะไรไสยศาสตร์อะไรพวกนั้น
(6)
คนฟังถาม ทีนี้คำถามต่อไปคือว่า ข้อที่เราเห็นผล ทำไมเราไม่ตัดพิธีกรรมออก
พระตอบ ไม่ นี่เป็นเรื่องของราชสำนัก คือเดิมราชสำนักนี่ สายพราหมณ์มีอิทธิพลมาก ศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลในสังคมไทยอยู่ก่อนพุทธศาศนาด้วย
(7)
คนฟังถาม ถ้าทำแบบนี้ไม่พัฒนา คือตัดทิ้งบ้าง เมื่อสาระมันหายไปแล้วนี่ คนอาจจะเข้าใจผิด
พระตอบ ก็นั่นก็เป็นเรื่องทางบุคคลผู้มีรับผิดชอบร่วมสังคมนี้จะต้องมาช่วยกันถกเถียงแล้วใช่ไหม ทีนี้ใครจะเป็นผู้ทำให้เกิดผลนี้อย่างน้อยต้องเข้าใจหลักการก่อน ทีนี้ในราชสำสักของเรานี่ อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์นี่มีมาก โดยเฉพาะอยุธยาที่มาจากสายขอม อาณาจักรขอมนั้นเป็นอาณาจักรที่นับถือศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนาแบบมหายาน พุทธศาสนามหายานกับฮินดูก็แข่งกันมา ที่นี้พุทธศาสนาเถรวาท นี้เข้ามาในหมู่ประชาชน แล้วต่อมาอาณาจักรขอมล่มสลาย ศูนย์กลางอำนาจหมดไป ทีนี้ศาสนาฮินดูกับศาสนาพุทธมหายาน อยู่กับราชสำนักอยู่กับศูนย์กลางอำนาจ พอศูนย์กลางอำนาจร่ม ศาสนาฮินดูกับพุทธมหายานก็ล่มไปด้วย ส่วนพุทธศาสนาเถรวาทนั้นไปอยู่ในประชาชน เพราะฉะนั้นก็เมื่อเมืองหลวงราชสำนักล่มสลายไป พุทธศาสนาเถรวาทก็ไม่มีอันตราย อันนี้เป็นเรื่องเดิม ทีนี้ตอนหลัง ในเมื่อทางราชสำนักนี่นับถือศาสนาเก่าคือ พราหมณ์ฮินดูอยู่ แม้ว่าขอมจะล่มสลายแล้ว แต่อิทธิพลขอมนี้มากวัฒนธรรมอะไรต่าง ๆ ครอบงำหมด ราชสำนักไทยโดยเฉพาะอยุธยาก็ได้รับอิทธิพล ศาสนาพราหมณ์มาก มีปุโลหิตอะไรต่าง ๆ มีพิธีกรรม มีไอ้เรื่องของหลักกฎหมายอะไนต่าง ๆ การลงโทษอะไรต่าง ๆ ตามแนวศาสนาพราหมณ์หมด ฉะนั้นศาสนาพราหมณ์ก็อยู่ในราชสำนักตลอดมามีพราหมณ์ประจำราชสำนัก แต่ทีนี้ว่าพุทธศาสนาเป็นของประชาชน แล้วกษัตริย์บางพระองค์ก็นับถือ หรือนับถือไปด้วยกัน แล้วอิทธิพลของประชาชนก็มาก เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาเข้ามาสู่ราชสำนักด้วย ก็เลยคู่กันมา เพราะฉะนั้นเราอาจจะมองไม่ได้แง่ว่า คล้าย ๆ เอาพุทธ ทำไมเป็นพุทธทำไมจัดการให้เป็นพุทธเสียให้หมด เพราะที่จริงแล้วอิทธิพลพราหมณ์เขาลงลึกมาก แล้วมันไปเกี่ยวกับเรื่องของด้านพระราชอำนาจเรื่องอะไรต่าง ๆ ด้วย ศาสนาพราหมณ์นี่เขาเอากันหนัก ๆ เรื่องการลงโทษอะไรต่าง ๆ พุทธศาสนานี่ไม่มีบทลงโทษแบบนั้น ศาสนาพราหมณ์นี่เขาลงโทษกันฆ่ากันเอาตายอะไรต่าง ๆ ได้ใช่ไหม พุทธศาสนาเราเป็นศาสนาที่ไม่นิยมการเบียดเบียน จะมาหาเอาหลักพุทธศาสนาบทบัญญัติเป็นเรื่องลงโทษ นี่เอาจากพุทธศาสนามันไม่ได้รุนแรงอย่างนั้น
(8)
คนฟังถาม ถ้าภาพรวมออกมาเป็นอย่างนั้น ได้อยู่ไม่เสีย
พระตอบ ก็นี่กำลังพูดพุทธศาสนาไม่ได้เป็นหลักเดิมนี่ หมายความเราต้องยอมรับศาสนาพราหมณ์เขาอยู่ เขามาตลอด ดีเขาไม่กำจัดเราไปเสีย นี่เป็นเรื่องของสังคมไทยนี่ จะอยากไปพุทธแค่ไหนล่ะ สังคมไทยอาจจะไม่อยากเป็นพุทธก็ได้
(9)
คนฟังถาม ถ้าว่าในทางปฏิบัติ ระบบกษัตริย์จะต้องใช้
พระราชอำนาจ เป็นฐานในการรักษาระบบให้อยู่แต่ความเมตตากัน
พระตอบ ใช่ จริงแต่ที่ว่าในทางปฏิบัติ คนที่จะบำเพ็ญธรรมได้ถึงขนาดนั้นก็หายากอยู่นะเจริญพร
(10)
คนฟังถาม คือว่าจะสร้างปัญญาจริง ๆ พิธีเหล่านี้ควรจะต้องขออำนาจ
พระตอบ ก็อย่างรัชกาลที่ 4 ก็ทรงนำเข้ามาอย่างเช่น ยกตัวอย่าง พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ แต่เดิมนี่มีแต่พิธีพราหมณ์อย่างเดียวน่ะ มีพราหมณ์เท่านั้นเลย แล้วรัชกาลที่ 4 ก็เพิ่มพิธีพุทธเข้าไป นิมนต์พระเข้าไป สวดเจริญพุทธมนต์ เรียกว่าเป็น พิธีพืชมงคล เดิมมีแต่พิธีอะไรแรกนาขวัญหรืออะไรน่ะ ก็เลยเกิดมีพุทธกับพราหณ์คู่กัน อันนั้ก็เป็นแนวนโยบายของรัฐเหมือนการที่จะเอาพุทธศาสนาเพิ่มเข้าไป แต่อย่างเรื่องตัวบทกฎหมาย อย่างกฎหมายไทยก็เอาแบบมาจากมนูธรรมศาสตร์ กฎหมายของฮินดู มนูธรรมศาสตร์นี้ก็ไม่เบานะ แต่ว่าเรา ๆ ก็เลือกเอามาแล้วไม่ใช้หมด มนูธรรมศาสตร์นี่ก็ระบบวรรณะ อย่างที่อาตมาเคยยกตัวอย่างบ่อย ๆ เขาจะบัญญัติไว้ เช่น คนวรรณะสูตรมาฟังสาธยายพระเวศ ให้เอาตะกั่วหลอมหยอดหูมัน ถ้ามันสาธยายพระเวชให้ตัดลิ้นมันเสีย ถ้ามันเรียนพระเวทย์ให้ผ่ากลายมันออกเป็น 2 ซีก นี่มนูธรรมศาสตร์ ก็ศาสนาพราหมณ์เขาแยกคนเป็นชั้นวรรณะ ก็ต้องผูกขาดการศึกษา ผูกขาดคัมภีร์พระเวทย์ พราหมณ์เขาจะได้รักษาสถานะเขาไว้ได้ พราหมณ์ก็เป็นวรรณะสูง เขาบอกเขาเกิดจากปากพระพรหม หรือคนเรานี่ อินเดียเขาแบ่งวรรณะเกิดมาในวรรณะไหนก็ต้องอยู่วรรณะนั้นตลอดชาติไม่มีทางเปลี่ยนได้ แล้วมีสิทธิมีการดำเนินชีวิตตามบัญญัติของศาสนา คนวรรณะพราหมณ์ก็มีอภิสิทธิ์สูงสุดเป็นที่เคารพโดยชาติกำเนิด เกิดมาก็เป็นผู้ประเสริฐทันทีเลย พระพุทธเจ้า ก็มาตรัสบอกว่ามันไม่ได้เป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด แกประพฤติไม่ดีแกเป็นคนถ่อย ว่าเอาแรง ๆ ว่าอย่างนั้น ทีนี้ศาสนาพราหมณ์เขาบัญญัติไว้เข้มหมด อย่างวรรณะสูตร เขาก็ไม่ให้มีสิทธิ์เรียนเลย เพราะถ้าเรียนคัมภีร์พระเวชเกิดมีปัญญาขึ้นมา เดี๋ยวก็ยุ่ง ไปเรียนก็โดนลงโทษเลย
(11)
คนฟังถาม ความคุ้มครอง
พระตอบ มันไม่ใช่แค่ปกครองหรอก รักษาสถานะด้วย ผลประโยชน์ด้วย
(12)
คนฟังถาม แต่มันมีผลทางจิตใจมากน่ะ อย่างเวลามีพิธีพรามหมณ์เข้าไปทำพิธี ถ่ายทอดถึงทั่วประเทศ มีอิทธิพลทางด้านจิตใจคนมาก พระราชสำนักยอมรับ
พระตอบ ก็นั่นน่ะสิ คือข้อสำคัญมันอยู่ที่นี่ คือผู้ที่เกี่ยวข้องเนี่ยจะต้องเข้าใจ เข้าใจหลักการ แล้วก็รู้จักโยงเข้ามาสู่แนวทางของพุทธศาสนาที่จะดึงคนขึ้น อย่างที่อาตมาเคยพูดบ่อย ๆ ว่าศาสนานั้นไม่ใช่เป็นเพียงที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แล้วถ้าเราใช้คำพูดที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็มี 2 แบบ คือ ยึดเหนี่ยว เหนี่ยวแล้วดึงลง กับเหนี่ยวแล้วดึงขึ้น ทีนี้ศาสนาจำนวนมากนี่เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเหนี่ยวแล้วดึงลงจมเลย อยู่นั่นแหละ ทีนี้ก็หลงจมอยู่ในโมหะความลุ่มหลงงมงายความเพลิดเพลินปลอบใจตัวเองประมาทไม่พัฒนาใช่ไหม ทีนี้พุทธศาสนา ถ้าเราจะใช้เป็นที่เหนี่ยว เป็นที่เกาะ ก็ต้องหมายว่า เหนี่ยวเกาะแล้วดึงขึ้น พอให้เขาได้ที่เกาะมีหลักยึดแล้วทีนี้เราก็ถือโอกาสนำเขาขึ้นไปให้พัฒนาในศีลสมาธิปัญญาไง พัฒนาเรื่องพฤติกรรม เรื่องจิตใจ เรื่องปัญญาดีงามขึ้นไปได้ ทีนี้ ถ้าเราไม่ดึงขึ้นแกก็จมอยู่นั่นแหละ อยู่ด้วยความหวังในอำนาจเร้นลับดลบรรดาจะมาช่วย ข้อสำคัญก็อย่างที่ว่า ไม่ทำการด้วยความเพียร ไม่ฝึกฝนพัฒนาตน ไม่เรียนรู้การแก้ปัญหา ตกอยู่ในความประมาท ปล่อยเวลาให้ล่วงไป งอมืองอเท้าอยู่ในการรอคอย แล้วก็ต้องขึ้นกับสิ่งอื่นภายนอก ไม่เป็นอิสระแก่ตนเอง พึ่งตัวเองไม่ได้ใช่ไหม หลักการสำคัญที่มันเสียใน ทีนี้ พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ปฏิเสธ สิ่งเรื่องนี้จะพูดกันอยู่แล้ว แต่อีกเรื่องหนึ่งเลยวันนี้พูดในแง่ของความหมาย ความเป็นพระ แต่ตอนนี้มันชักจะงอกขึ้นมาเรื่องอื่น เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องพูด พระพุทธเจ้าไม่ปฏิเสธ เทวดาไม่ปฏิเสธไสยศาสตร์ แต่เรามีหลักการชัดเจนเลยว่า ไม่ต้องมาเถียงกับคุณ คุณเถียงกันมาเป็นพันปี คุณก็ตกลงกันไม่ได้ ห้าพันปีก็ตกลงกันไม่ได้ เทวดามี ไม่มีไสยศาสาตรเป็นจริงไหม ฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นจริงไหม มันผลุบ ๆ โผล่ ๆ แล้วมัวไปเถียงแล้วไปรอภิกษุซะก่อน แล้วจึงมาประพฤติปฏิบัติได้ พุทธศาสนาไม่ต้องรอ เรามีท่าทีที่ชัดเจนอยู่แล้ว เทวดามีก็มีไป ไสยศาสตร์มีก็มีไป ฤทธิ์เป็นจริงก็เป็นจริงไป แต่เราไม่หวังพึ่งว่าอย่างงั้น นี่พุทธศาสนามันเด็ดขาดตรงนี้ชัดเจน ไม่ต้องรอเสียเวลา แล้วก็ไปพว้าพวังบางคนก็เลยเอ้ เราต้องรอ ถ้ามันจริง ๆ ก็เอาซิอะไร ใช่ไหม
(13)
คนฟังถาม ลักษณะ นี้ก็เข้าลักษณะอภิญาปาฏิหารย์ หรือเปล่า
พระตอบ ก็ อะคะกตะปัญหา จะเป็นปัญหาที่ลึกลงไปที่จะมีไม่มี หรือไม่มีที่เกี่ยวกับเรื่องของสภาวะธรรมอะไรพวกนี้ อัตตาอะไรพวกนั้น จัดเข้าก็ได้ คล้าย ๆ จัดอยู่ในประเภทที่ว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่ได้พยากรณ์เรื่องเหล่านี้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่คล้าย ๆ ว่า ว่าไปตามที่ว่ามาเลย นับถือ ไม่ได้ไปปฏิเสธ เพราะฉะนั้นไม่เป็นปัญหาเรื่องนี้ อย่างเรื่องเทวดา พระพุทธเจ้าตรัสจัดวิธีเลย ให้อยู่ด้วยกันในเมตตา แผ่เมตตาให้เทวดา ทำบุญอุทิศให้เทวดาด้วย จะเจริญพุทธมนต์สาธยายพระธรรม เชิญเทวดามาฟังด้วย เทวดาจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ไปพัฒนาตนเองใช่ไหม เรามีท่าที่ชัดเจนที่สุดก็คือไม่ไปมัวหวังพึ่งรอคอยอำนาจดลบันดารจากเทพเจ้าใช่ไหม อันนี้เป็นตัวที่เด็ดขาด มีไม่มีเราไม่ต้องรอแล้ว ไอ้จุดนี่ที่จะทำไงจะให้ชาวพุทธได้
(14)
คนฟังถาม มีไม่มีก็ไม่เอา มีไม่มีก็ไม่เอาไว้
พระตอบ มีไม่มีก็ไม่หวังพึ่ง ว่างั้น ทางพระพุทธศาสนาก็เป็นอย่างนั้นคือ
(15)
คนฟังถาม มีไม่มีเอาไว้ก่อน
พระตอบ แต่ต้องชี้ให้เขาได้เห็นโทษ ว่าเพราะอะไรถึงไม่ให้มัวไปหวังพึ่งใช่ไหม เพราะหวังพึ่งแล้ว มันได้ไม่คุ้มเสีย คุณได้เราไม่ปฏิเสธ ได้ความปลอบประโลมใจสบายใจเหมือนได้ยากล่อม สบายใจไปชั่วคราวไปนอนฝันหวาน แต่ว่าคุณจะสูญเสียลงทุนไม่คุ้มอะไรที่จะสูญเสีย คุณจะตกอยู่ในความประมาท คุณจะไม่ได้แก้ปัญหา ไม่ได้พัฒนาตัวเอง ทั้งชีวิตส่วนตน ทั้งสังคมมีผลเสียมีไปด้วยกันหมด มันไม่คุ้ม มันเป็นการลงทุนที่มากเกินไป คุณอาจจะสูญเสียชีวิตของคุณทั้งชีวิตเลย โดยที่เหมือนกับยกชีวิตของเราไปให้กับสิ่งเหล่านี้ใช่ไหม แล้วก็คือการทำลายคุณค่าที่ชีวิตจะพึงได้ทั้งหมด ก็ต้องพูดให้เขาเข้าใจด้วยปัญญา
(16)
คนฟังถาม ตอนนี้มีกระแสโฆษณาที่ทันสมัย ให้เชื่อแต่อย่าลบหลู่
พระตอบ ก็เลยพูดเมื่อกี้ว่า บอกว่า เราไม่ได้ลบหลู่แต่เราจะลบล้าง แต่ว่าอันนี้มันแรงไป เขาไม่ได้อย่างนี้หรอก คือพูดเล่น พูดเป็นสำนวน ลบล้างคือลบล้างความเชื่อที่ผิด ลบล้างความเชื่อที่ผิดพลาดต้องการให้เขาเรียนรู้ เราอาจจะพูดให้เบาลงว่า ไม่ลบหลู่แต่ต้องการให้คุณเรียนรู้ แล้วก็เพื่อจะช่วยกันแก้ปัญหาสังคม คือเราไม่มัวแต่คอบถกเถียง มีไม่มี เพื่อจะเอาชนะอะไรกัน เราต้องการสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงามสังคมที่ดีงาม เพราะเราเห็นอยู่ว่าสิ่งเหล่านี้มีอันตรายมาก ถ้ามัวไปหมกมุ่นกันอยู่หลงจมอยู่ แต่ว่าปัญหามันอยู่ที่นี่ด้วยว่า โดยมากจะไม่ค่อยชัดกันในเรื่องเหตุผลว่า แล้วทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ให้มาหวังพึ่งสิ่งเหล่านี้ใช่ไหม ตรงนี้ ไอ้จุดนี้ที่ไม่ชัด มันทำให้คนไปอยู่แค่ทางเลือก 2 แพร่ง ระหว่างจะเอาหรือไม่เอาใช่ไหม มันไม่เห็นตัวเหตุผล แล้วไปเถียงกันอยู่แค่มีไม่มี จริงไม่จริง อันนี้ก็เลยเสียเวลามาก