แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็ โยมก็ต้องใจรออยู่ ก็ต้องใจก็แล้ว วันนี้ต้องขออภัย แทบจะไม่มีเสียง นี้ขนาดทรุดมาสามเดือนแล้วไม่ ขึ้น ถ้าหากว่าชีพจรวันนี้ขึ้นสัก ๑๓๐ อาจจะดีขึ้น นิก็เรื่องสำคัญก็คือเรื่องปอด ตอนนี้มันก็เสื่อมลงไปเรื่อยๆ เลยเล่าให้ฟังพอเป็นความรู้ พอสบายๆ คือปอดเนี่ย หมอท่านหนึ่งก็ว่า ปอดข้างหนึ่งนิไม่ทำงาน ทำงานข้างเดียว มันก็เลยเจ็บปอดข้างที่ทำงานได้ เจ็บอยู่เรื่อย แล้วก็ทำให้เกิดอาการเหนื่อยเป็นต้น ข้างที่เจ็บนิเคยปรึกษาคุณหมอตัดทิ้งซะดีมั้ง อีกข้างหนึ่งยังสบาย กลายเป็นหมอบอกว่า ข้างที่มันเจ็บนี้คือข้างดี ข้างที่มันสบายคือข้างที่มันป่วย ไม่ทำงาน ก็ตรงกับที่ตรวจปัจจุบันล่าสุด ก็คือปอดข้างซ้ายนิ มันมีผังผืด ก็คงจะใหญ่พอสมควร นอกจากผังผืดชิ้นใหญ่แล้วก็ยังมีผังผืดเล็กๆ น้อยๆ กระจายไปทั่วปอด พร้อมทั้งแผลเป็น ข้างซ้ายนะ มันก็เลยไม่ทำงานหรือแทบไม่ทำงาน มันก็สบาย ทีนี้ฝ่ายปอดข้างขวาเนี่ยทำงานหนัก ก็เลยมีอาการเจ็บ มีอาการเหนื่อยอะไรต่างๆ ถ้าบอกคุณหมอนิ ถ้าคุณหมอทำตามก็จบ เพราะเข้าใจว่าข้างที่เจ็บอะ เป็นปอดที่ไม่ดี เข้าใจว่าปอดข้างที่สบายคือ ดี ที่จริงปอดข้างที่สบายคือปอดที่เสีย มันไม่ทำงาน ปอดที่ดีคือปอดที่ช้ำ ระบมมาก ถ้าตัดก็เลยหมดพอดี ก็เรื่องก็เป็นอย่างนี้ ทีนี้หมอก็บอกว่า ถึงยังไง ถึงทำงานข้างเดียวก็ยัง ผลิตออกซิเจนไหว แต่ในแง่ของการพูดนิ หมออธิบายไม่ได้ เพราะระบบการพูดนี้มันมีการประสานงานของกลไกลเยอะ ซับซ้อน เพราะฉะนั้นก็ ปัญหาตอนนี้ก็คือว่า ร่างกายก็เสื่อมลง คราวนี้ ที่พูดไปเมื่อสามเดือนนั้นแหละ จนเดี๋ยวนี้ก็ไม่ฟื้น เสียงไม่ยอมขึ้น ถ้าหากเสียงขึ้นมาบ้าง นี่วันนี้ พูดไปๆ จะเสียงขึ้น แล้วจะทรุดหนักอีก เอาล่ะทีนี้ก็ เมื่อเป็นอย่างนี้ เรื่องที่อยากจะคุย อยากจะเล่า อยากจะบอก มันเยอะ แต่ว่าโอกาสเนี่ย มันเหลือน้อยเต็มที เมื่อโอกาสมันน้อยทำไงดี จะพูดเรื่องอะไรต่างๆ พูดแล้วก็ผ่านไปๆ คราวนี้ก็เลยคิดว่าเมื่อมีโอกาสน้อยแล้วก็อยากจะพูดเรื่องที่ ออกผลเป็นการกระทำสำหรับพระที่ฟังเนี่ย ให้เอาไปทำจริง คราวนี้ไม่ใช้แค่พูดให้รู้ แต่อยากให้ทำ เพราะนั้นวันนี้พูดเรื่องไม่น่าฟัง นะฮะ คือเรื่องที่น่าเบื่อ ยาก แล้วก็ยาวด้วย ทั้งคนฟังก็จะเหนื่อย เบื่อ ทั้งคนพูดก็ต้องทนพูด หนักหน่อย ใช้เวลามาก ถ้าองค์ไหนมีธุระ อยู่ไกลเป็นต้น จำเป็น ก็ต้องนิมนต์ไปก่อน เออ ทีนี้เรื่องอะไรที่อยากจะพูด เป็นเรื่องยากหน่อย แต่ให้มีผลเป็นการกระทำ ก็คือพวกเราเนี่ย พระนิ ที่เราอยู่กันนิ อยู่ในพระธรรมวินัยก็รู้กันอยู่ พระธรรมวินัยก็เป็นที่รองรับ ที่เกิดอะไรของเราหมด เราเกิดจากพระวินัย เราอยู่ในธรรมะ ก็เรียกว่าเป็นบ้านของเรา หรือเป็นกุฏิที่จำวัด กุฏิที่จำวัดของเรา เมื่อเป็นบ้านของเราเนี่ย เราก็ควรรู้จักของตัว คนอยู่บ้านแล้วไม่รู้จักบ้านของตัว อย่างน้อยก็รู้ว่ามีอะไรอยู่ตรงไหนในบ้าน แล้วก็อะไรเป็นอะไร รู้แค่นั้นก็ยังดี ถ้ารู้ดีกว่านั้นก็ รู้เข้าใจว่า อ้อ ของชิ้นนี้ อะไรตรงนี้ ที่มันอยู่ตรงนั้นอะ มันคืออะไร มันเป็นอย่างไร ใช้ประโยชน์อะไร แต่ว่ายังใช้ประโยชน์ไม่เป็น ทีนี้เก่งกว่านั้นก็คือว่า มีความรู้ความชำนาญ ลึกซึ้ง ละเอียดลออ สามารถเอาของชิ้นนั้นอะ ไปใช้งาน ไปทำประโยชน์ ทั้งแก่ตน และแก่ผู้อื่นได้ด้วย อันเนี่ย นี่ก็เหมือนกัน บ้าน บ้านแห่งพระธรรมวินัยของเรา ทีนี้บ้านพระธรรมวินัยของเราเนี่ย ที่เก็บรักษาไว้ก็คือพระไตรปิฎก พระเณรบวชเข้ามาเนี่ย ที่จริงอย่างน้อยต้องรู้จักพระไตรปิฎก บางทีเราเรียนไปอย่างพระเนี่ย เรียนบาลี ขนาดเรียนใช้หนังสือ ที่ไปเรียนแล้วก็ไปสอบ ยังไม่รู้จักเลยว่า หนังสือเล่มนั้นอะ มันเกี่ยวข้องอะไรกับพระไตรปิฎก อยู่ตรงไหนของพระไตรปิฎก อย่างเรียนประโยค ๓ อรรถคถาธรรมบท เออ ธรรมบทมันอยู่ตรงไหนนะในพระไตรปิฎก หลายองค์ไม่รู้หรอก เอ้า พอไปเรียนประโยค ๔ มังคลัตถทีปนี ก็เรียนแปลไป อาจารย์ว่าไงก็แปลไป ไม่รู้ว่าที่มังคลัตถทีปนี อธิบายมงคล ๓๘ ประการนะ มงคล ๓๘ ประการอยู่ตรงไหนในพระไตรปิฎก เป็นอะไรอยู่ในพระไตรปิฎก ต่อไปเรียนสูงขึ้นไปอีก ไปเรียนสมันตปาสาทิกาอรรถวินัย ประโยค ๕ ประโยค ๗ แปลไปก็แปลได้ สอบก็สอบได้ แต่ไม่รู้อีกแหละว่า อันนี้เนี่ย เค้าเรียกอรรถกถานะ สมันตปาสาทิกา อธิบายพระไตรปิฎกตรงไหน ข้อความในพระไตรปิฎกที่ถูกอธิบายเนี่ย อยู่ตรงไหน ไม่รู้เรื่องเลย อย่างนี้เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึง วิสุทธิมรรค ไป อภิธัมมัตถภาวินี ก็ไม่รู้ว่า ต้นแหล่งต้นตอ ที่มาที่ไป ในพระไตรปิฎกอยู่ตรงไหน เรียนรู้เฉพาะคัมภีร์นั้น แปลได้เท่านั้นเอง เพราะนั้นนี้เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งใหญ่ พอเรียนจบไปมันก็ล่องลอย เลื่อนลอย ไอตัวแท้ๆ ของมันก็คือ พระไตรปิฎก เพราะนั้นพระที่บวชเข้ามาเนี่ย พอเริ่มเข้าสู่พระธรรมวินัยเอาจริงเอาจังขึ้นมา ถ้าอยู่นานๆ อยู่จริงๆ หรือเรียนสูงขึ้นไปเนี่ย เอาอย่างประโยค ๖ เนี่ย ควรต้องรู้หมดแล้ว พระไตรปิฎกเนี่ย พร้อมทั้งคัมภีร์ที่เกียวข้องใช้อธิบาย มองปราดนี้เห็นเลย ว่าอะไรอยู่ตรงไหน ว่าคัมภีร์นั้นว่าด้วยเรื่องอะไร เราจะค้นเรื่องอะไรอยู่ที่ไหน เนี่ย งั้นวันนี้ก็อยากจะพูดเรื่องเนี่ย พระไตรปิฎกในฐานะเป็นบ้าน เป็นกุฏิที่อยู่ของเรา ให้รู้จัก นี้ก็ต้องพูดยาว การพูดนี่ก็เป็นการทดสอบไปในตัว หนึ่งท่านที่มีทุนอยู่ พอพูดให้ฟังนิก็จะมองเห็นภาพตามไปได้ ว่าเออ ที่กำลังพูดนี้ อ้อๆ เห็นภาพขึ้นเลย นี้ขั้นที่หนึ่ง ขั้นที่สองก็รองลงไป ไม่รู้อะ มองไม่เห็นว่าอะไรอยู่ที่ไหน แต่พอฟังเข้าใจ ได้ความ พวกที่สามนั้นฟังไม่รู้เรื่อง เบื่อ ยาก น่าเหนื่อยหน่าย พร่าสับสน เอาล่ะ ทีนี้ ทีนี้ก็เป็นสามระดับอย่างนี้ ต่อแต่นั้นก็คือ แล้วเอาไงอะ เอาไงก็คือว่า เราจะพยายามรู้เข้าใจ ให้รู้จักบ้านของตัวเองยังงั้นไหม สู้ไหม พูดง่ายๆ บางองค์ก็มีฉันทะสนใจ ชอบใจ พอใจ ถึงยังไม่รู้ก็จะพยายามรู้ แต่บางองค์ไม่มีฉันทะ รู้สึกมันลำบาก น่าเหนื่อยหน่าย แต่มีวิริยะ ใจสู้ เอาอย่างนี้ก็ไหว ใจสู้ อีกพวกหนึ่งก็เป็นอันว่าท้อแท้ หมดกำลังเลย เบื่อหน่าย ทีนี้วันนี้พูดให้ฟังแล้ว ทดสอบตัวเอง ว่าจะเป็นยังไง พูดไปเรื่อยๆ คนพูดปอดก็ไม่ดี แล้วก็ท้องก็ไม่ดี ลมมันดันขึ้นไปสมอง สมองตื้อ แล้วก็พูดไปเรื่อยๆ เบื่อก็ฟังนะ เอ้าทีนี้บอกแล้วว่า ที่บรรจุพระธรรมวินัยไว้ก็คือพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกเนี่ยในประเทศพุทธศาสนาเถรวาทเราก็มีเหมือนกันหมด แต่เวลาจัดชุดเนี่ย จัดไม่ค่อยเหมือนกัน ก็แล้วแต่ สำหรับประเทศไทยเราเนี่ย เราก็จัดตามพุทธกิจ ๔๕ พรรษา จัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม เนื้อหนังสือ คัมภีร์เหมือนกันแหละประเทศอื่นก็เหมือน แต่ว่าวิธีจัดเรียงไม่เหมือนกัน ที่นี้ของเราจัดเป็น ๔๕ เล่ม พรไตรปิฎกที่บอกว่า ปิฎกสาม ไตร = สาม ปิฎก = ตำรา หรือคัมภีร์นั้นเอง คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพุจน์เป็นต้น หลักพระพุทธศาสนาก็มีสาม สามปิฎก ก็หนึ่ง วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยของพระสงฆ์ แล้วก็สุตตันตปิฎก คำเทศนาของพระพุทธเจ้า แล้วอภิธรรมปิฎก ธรรมที่เป็นเนื้อหาแท้ๆ แปลกันว่าธรรมชั้นสูง ธรรมอย่างยิ่ง เนื้อแท้ๆ ของธรรมะ ไม่เกี่ยวกับบุคคล และเหตุการณ์เป็นต้น ก็เป็นสามปิฎก วินัย พระสูตร อภิธรรม นี่ ขั้นนี้แทบทุกคนจะรู้จัก มาดูต่อไป วินัยปิฎก เอ้า จัดแบบไทยมี ๘ เล่ม พระสุตตันตปิฎก เราเรียนกันสั้นๆ ว่าพระสูตร มี ๒๕ เล่ม ใหญ่มากหน่อย พระอภิธรรมปิฎกมี ๑๒ เล่ม ทีนี้เราก็มาเรียงดูตามลำดับ ให้ฟังตามไปสิ ว่าจะเข้าใจตามทันไหม หนึ่งวินัยปิฎก ที่ว่ามี ๘ เล่ม ก็ตามคตินิยม จัดอีก ซอยวินัยปิฎกที่แบ่งเป็น ๘ เล่มเนี่ย มี วิภังค์ ขันธกะ ปริวาร มี สาม แต่ว่าแบ่งเป็น ๘ เล่ม แล้วจัดยังไงเป็น ๘ เล่ม วิภังค์คือะไร วิภังค์ก็ เนี่ย สวดกันไปเมื่อกี้เนี่ย เรียกว่าสวดปาฏิโมกข์ สิกขาบท ๒๒๗ ของพระภิกษุ แล้วของภิกษุณีวันนี้ไม่ได้สวด เพราะภิกษุณี ไม่ได้เป็นเรื่องของภิกษุณีจะสวด ๓๑๑ ข้อ อันนี้ทั้งหมด วินัยพวกเนี่ย เป็นสิกขาบทแต่ละข้อๆ รวมกันเรียกว่า ปาฏิโมกข์ เป็นของภิกษุ เรียกว่าภิกขุปาฏิโมกข์ เป็นของภิกษุณีก็เรียกว่า ภิกขุณีปาฏิโมกข์ แต่ทีนี้ในพระไตรปิฎก ในวินัยปิฎก ทำไมเรียกวิภังค์ คือท่านไม่ได้มีเฉพาะตัวสิกขาบท มีวิภังค์ วิภังค์เรียกว่า แจกแจงรายละเอียด คำว่าวิภังค์นะ แปลว่า แจกแจงรายละเอียด หมายความว่า ไม่เฉพาะมีตัวสิกขาบทที่เป็นพระบัญญัติ ว่าภิกษุทำงั้นแล้ว มีความผิดอย่างงั้น อันนั้นเรียกว่าตัวสิกขาบท มีแค่นั้นอะ แต่ทีนี้วิภังค์เนี่ยก็แจกแจงรายละเอียดออกไป เอ้าว่าไง เริ่มต้นตั้งแต่ว่า ท่านเรียกว่าต้นบัญญัติ เรื่องราวเป็นมายังไง พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ ก็มีภิกษุองค์นั้น ไปทำผิดอย่างนั้นอย่างนี้ ชาวบ้านโพนทะนามาบอกพระสงฆ์ พระสงฆ์นำเรื่องงมากราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เลยทรงประชุมสงฆ์แล้วก็บัญญัติ เรื่องยาวเลยนิ แค่นี้เรียกว่าต้นบัญญัติเข้ามาแล้ว พอบัญญัติเสร็จนี้แหละตัวสิกขาบท พอสิกขาบทมาแล้ว ต่อจากนั้นก็ให้คำจำกัดความ คำต่างๆ ในสิกขาบท นั้น ภิกขุ คือ ใคร สิกขาบทไรต่อไรๆ คำจำกันความ คำต่างๆ ในสิกขาบทนั้น จบแล้วทีนี้ ทีนี้เอาอีกอธิบายต่างๆ รายละเอียดให้เข้าใจชัด เพราะวินัยนี้กฎหมายต้องเข้าใจชัดเจน เสร็จแล้วต่อไป ก็มีพระไปทำอะไรต่อไร ไม่สมควร บางองค์ก็สงสัยตัวเอง เอะ ที่เราทำนิมันผิดข้อนี้รึเปล่า ก็มากราบทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงวินิจฉัย บอกเธอต้องอาบัตินี้แล้ว หรือบางองค์ก็มาเล่า พระพุทธเจ้าบอกเธอไม่ต้องอาบัติ เออ หรือภิกษุองค์หนึ่งทำผิดมา ทำแล้วก็ไม่รู้ตัว ภิกษุอื่นก็เอาเรื่องมาบอกกับภิกษุทั้งหลาย พาเรื่องไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงวินิจฉัยให้ว่า อันนี้เป็นการผิดสิกขาบทนี้ไหม หรือไม่ผิดสิกขาบทนี้ เรื่องเหล่านี้ บางสิกขาบท อย่างใน ปาราชิกเนี่ย แหม่มากมายเหลือเกิน กว่าจะจบข้อนึง เรื่องเยอะเลย เรื่องอย่างนี้ท่านเรียกว่า วินีตวัตถุ เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัยแล้ว ก็เลยกินที่เยอะแยะไปหมด เสร็จแล้วตอนว่าไปๆ อธิบายจะจบ จบก็จะมีอนาปัตติวาร ข้อยกเว้น บอกว่าภิกษุอย่างงี้ ไม่ต้องอาบัติ อย่างเช่นว่า อาทิกัมมิกะ ภิกษุที่เป็นต้นบัญญัติเป็นคนที่ทำทีแรก ตอนนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่ได้บัญญัติ แต่บัญญัติพระองค์นั้นแหละ องค์นั้นไม่มีความผิด หรือภิกษุเป็นบ้า อุมมัตตกะ ภิกษุเป็นบ้าเสียสติ ก็ไม่เป็นอาบัต อย่างนี้เป็นต้น ก็จะบอกสาธยายไปเลยว่า สิกขาบทสำหรับข้อนั้นๆ ยกเว้นยังไงบ้าง ใครบ้างไม่ต้องอาบัติ นี้แหละว่าจะจบสิกขาบทหนึ่ง อย่างนี้แหละเรียกว่า วิภังค์ จำแนกแจกแจงรายละเอียดก็ไป เรื่อยไป นี้ยกตัวอย่างให้ฟัง อย่างเนี่ย เพราะฉะนั้นก็กินเยอะที่มาก เริ่มด้วยวิภังค์แรก ก็เรียกว่า มหาวิภังค์หรือภิกขุวิภังค์ ก็เป็นการแจกแจงรายละเอียดของสิกขาบทวินัยของพระภิกษุ ก็เล่มหนึ่งนี้ใหญ่ มหาวิภังค์นิ จบเล่มนิ ใหญ่ๆ ทั้งนั้งอะ จบแค่อนิยต เท่านั้นเอง เอาแหละ จบเล่มที่หนึ่ง ต่อไป เริ่มเล่มที่สองต่อ ก็เริ่ม นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วินัยที่อาบัติเบาแหละ ก็ว่าด้วย นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทำนองเนี่ย ต้นบัญญัติ แล้วบัญญัติแล้วมีความหมายอะไร ยังไง ว่าไปจนกระทั่งข้อยกเว้นใครไม่ต้องบัญญัติเนี่ย อย่างเนี่ยว่าไปเรื่อย จนกระทั่งจบ อธิกรณสมถะ ก็แปลว่าจบมหาวิภังค์เล่มสอง นี้ของพระภิกษุจบแหละ สองเล่มแหละ ต่อไปก็เล่มที่สาม เล่มที่สามก็เป็นเรื่อง วินัยของภิกษุณี ก็เป็นสิกขาบทวินัย ๓๑๑ ข้อของภิกษุณี ก็ทำนองเดียวกันแหละ มีการที่เรื่องราวเกิดขึ้นยังไง ต้นบัญญัติ แล้วพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติแล้ว มีข้อวินิจฉัยอธิบายความหมายอย่างไร ไม่ต้องอาบัติกันอย่างไร ของภิกษุณี ๓๑๑ ข้อ ข้อไหนซ้ำกับของพระนี้ ก็ไม่ต้องอธิบายอีก แล้วของภิกษุณีซ้ำกับของภิกษุเยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้นภิกษุณีเล่มวิภังค์ทั้งๆ ที่ว่า ภิกษุณีมีสิกขาบท ๓๑๑ ข้อเนี่ย เล่มนิดเดียว นะ ภิกขุณีวิภังค์ ก็คือวินัยปิฎกหรือพระไตรปิฎกเล่ม ๓ จบแล้ว จบวิภังค์แหละ แปลว่าจบสิกขาบท ๒๒๗ ในปาฏิโมกข์แค่นี้ เอาล่ะ มีอะไรอีก วินัยยังไม่จบ ต่อไปวินัย สิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ นอกปาฏิโมกข์นิมีเป็นพันๆ เลย ในปาฏิโมกข์นิมีแค่ ๒๒๗ นอกปาฏิโมกข์นิ พระไม่ใช่มีศีลแค่นี้นะโยม ไม่ใช่แค่ ๒๒๗ อีกมากมายมหาศาล แต่ว่าวิธีจัดสิกขาบทต่อจากเนี่ย ต่างออกไป เมื่อกี้นี่เรียก วิภังค์ ต่อไปนี้ เรียก ขันธกะ ทำไมเรียกขันธกะ ขันธกะ แปลว่า หมวดหนึ่งๆ ขันธ เติม กะ เข้าไป ก็กลายเป็น ขันธกะ ขัน แปลว่า หมวด แปลว่า กอง นี้ทำไงเป็นหมวดๆ ล่ะ ก็หมายความว่า วินัยตอนนี้ ว่าด้วยเรื่องนี้ เอ้าว่าด้วยเรื่องอุโบสถ พระสงฆ์จะทำอุโบสถยังไงๆ เป็นมายังไงก็ เรียกว่า อุโบสถขันธกะ ขันธกะหมวดที่ว่าด้วยอุโบสถ เอ้าเรื่องปวารณา อย่างที่พระทำสังฆกรรมปวารณา ก็เป็นปวารณาขันธกะ เป็นอีกขันธกะหนึ่ง หรือเรื่องกฐินก็เป็น กฐินขันธกะ ก็เป็นอีกขันธกะหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องจีวรพระเนี่ย จะทำยังไง เป็นยังไง ลักษณะยังไง ก็เป็นเรื่องนึงเลย เรียกว่า จีวรขันธกะ อย่างนี้เป็นต้น แต่ที่เริ่มที่สุด ขันธกะแรก คือ มหาขันธกะ คืออะไร มหาขันธกะ เป็นที่เริ่มแรกของขันธกะที่ว่าเมื่อกี้ มหาขันธกะนี้ เป็นขันธกะแรก ก็คือเริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับที่อุรุเวลาเสนานิคมที่ต้นโพธิ์ นั้นแหละ เสวยวิมุตติสุข พระพุทธศาสนาเริ่มวินัยตั้งแต่นั้นมา ตั้งพระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขที่อุรุเวลาเสนานิคม แล้วที่ใต้ต้นโพธิ์นั้นแหละ ต่อแต่นั้นก็เสร็จออกบำเพ็ญพุทธกิจ เสด็จไปไหน ก็ท่านว่าเสด็จไปนู้น ไปที่อิสิปตนมฤคทายวัน ไปประกาศธรรมจักรโปรดพระปัญจวัคคีย์ แล้วก็ได้มีผู้ที่บรรลุธรรมก็ได้เริ่มอุปสมบท นี้แหละ ประวัติการอุปสมบทก็อยู่ในเนี่ยแหละ ขันธกะแรกนี่แหละ ขันธกะแรกก็ว่าด้วยเรื่องการอุปสมบท หรือจะเรียกว่าตั้งสังฆะขึ้นมาก็ได้ เพราะเกิดมีพระก็เกิดเป็นสังฆะขึ้นมา เริ่มต้นก็เป็นอันว่ามีเอหิภิกขุสัมปทา ต่อแต่นั้นพระสาวกเป็นผู้ใหญ่ พระองค์ทรงไปประกาศศาสนา อนุญาตให้บวชได้ เลยเกิดอุปสมบทชนิดที่สองเรียกว่า ติสรณคมนูปสัมปทา ต่อมาๆ สงฆ์ใหญ่ขึ้นก็ให้สงฆ์เป็นใหญ่ ก็เกิด ญัตติจตุตถกัมมวาจา ทั้งหมดเนี่ย ประวัติการอุปสมบท อยู่ในขันธกะที่หนึ่งเรียกว่า มหาขันธกะ แล้วต่อมาอันที่สอง จึงมามีอุโบสถขันธกะ มีปวารณาขันธกะ มีกฐินขันธกะ มีจีวรขันธกะ ว่าไปเรื่อย เอาล่ะ ให้รู้จักแหละ นี่แหละขันธกะ คนที่รู้จักขันธกะจะค้นวินัยก็รู้แล้ว อะไร จะค้นที่ไหนเป็นไง นี่ขันธกะเนี่ย ตอนแรกก็มี ๑๐ ขันธกะ เป็นขันธกะใหญ่ๆ ที่สำคัญมาก แต่หนาเหลือเกิน กินที่มาก ต้องใช้เนื้อที่สองเล่ม ขออภัยเรียกว่า มหาวรรค ของพระเนี่ย บาลี เวลาครบสิบเนี่ย เค้าจะเรียกว่า วรรค ขันธกะต่างๆ พอครบสิบ ขันธกะก็เรียกว่า วรรค ???สิบ เนี่ย ไม่จำเป็นต้องสิบ ตายตัว นี่ขันธกะชุดแรกเนี่ย สิบขันธกะ ก็รวมเป็นมหาวรรค กินเนื้อที่สองเล่ม ได้แก่พระไตรปิฎกเล่ม ๔ กับ เล่ม ๕ เอาล่ะนะ จบแล้วนะมหาวรรค ทีนี้ต่อไปก็เป็นขันธกะหมวดย่อยลงไป มีเรื่องเยอะแยะ เช่น เภสัชชขันธกะ ว่าด้วยเรื่องยา เรื่องเภสัช เออ พระจะใช้ยายังไง จะทำยา ยาอะไรใช่ได้ใช้ไม่ได้ ว่าด้วยเสนาสนขันธกะ ว่าด้วยเสนาสนะ ที่นั่งที่นอน พระจะอยู่ยังไง มีวิหาร มีที่อยู่ มีกุฏิ มีถ้ำ อะไรต่างๆ ก็บัญญัติเรื่องเสนาสถะ เรียกว่าเสนาสนขันธกะ แล้วจัมมขันธกะ เรื่องเครื่องใช้ที่เป็นหนัง ไปหมวดนึง เรียกว่า จัมมขันธกะ ขันธกะแบบนี้ไปจนกระทั่ง ภิกขุณีขันธกะ หมวดว่าด้วยภิกษุณี สังคยนาครั้งที่หนึ่ง มีพระห้าร้อยองค์เค้าเรียกว่า ปัญจสติกขันธกะ แล้วก็สังคยานาครั้งที่สอง มีพระเจ็ดร้อยองค์ ก็เรียก สัตตสติกขันธกะ จบที่สังคยานาครั้งที่สอง รวมเป็นอีก ๑๒ ขันธกะ ๑๒ ขันธกะก็ถือเป็นวรรคนึง จุลวรรค วรรคเล็ก เมื่อกี้วรรคใหญ่ ๑๐ วรรคเล็ก ๑๒ ก็กินเนื้อที่พระไตรปิฎกสองเล่ม ได้แก่ เล่มอะไร เมื่อกี้ (เล่มที่) ๔ (เล่มที่) ๕ ตอนนี้ก็ (เล่มที่) ๖ (เล่มที่) ๗ เอาล่ะนะได้พระไตรปิฎกวินัยเล่ม ๖ เล่ม ๗ แล้ว ที่นี้ต่อไปหมดแล้วตัวพระไตรปิฎกในปาฏิโมกข์ นอกปาฏิโมกข์ ก็ไปพระไตรปิฎกเล่ม ๘ เรียกว่า ปาริวาร ก็คือ บริวาร ก็เป็นตัวประกอบ เครื่องประกอบ เรียกว่าเป็นคู่มือพระวินัย ก็ใช้สำหรับทบทวนความรู้วินัย ซักซ้อมความรู้วินัย ถามว่าอย่างนี้ ตอบได้ไหม ตามอย่างนี้ ตอบได้ไหม ก็เอาวินัยที่เรียนมาใน ๗ เล่มต้นนั้นแหละ เอามาซักซ้อมกัน ทบทวนความรู้ นี้เรียกว่า ปริวารเป็นเล่มที่ ๘ จบแล้ววินัยปิฎก ๘ เล่ม ตามทันไหม เอานะทีนี้ วินัยปิฎกจบแล้ว ทีนี้ก็ คนที่จะอ่านบาลีพระไตรปิฎกเนี่ยยากมาก ก็เลยมีท่านอาจารย์ที่ท่านชำนาญนะ เรียกว่ารจนา ก็คือ แต่งนั้นเอง แต่คัมภีร์อธิบายขึ้นมา ก็เรียกว่า อรรถกถา อรรถกถาก็จะตามควบไปกับ ควบคู่ไปกับพระไตรปิฎกเนี่ย คืออธิบายไปตามลำดับ อรรถกถาคืออะไร เลยแทรกสักนิดหนึ่งจะได้รู้จัก อรรถกถาก็ ดิกชันนารี (Dictionary) อรรถกถาแปลว่าไร แปลว่า คำบอกความหมาย คำบอกความหมายอะไรล่ะ เช่นคำว่า จารติ แปลว่า อะไร จรติ คัชติ แปลว่า ไป จารติ แปลว่าไร แปลว่า วัตตติ แปลว่า เป็นไป ดำเนินไป จารติ แปลว่าไร จารตีติ แปลว่า กโลติ จารติ แปลว่า ประพฤติ หรือ กระทำ ก็ได้ หรือ นิทานัง นิทาน นิทานันติ นิทานันติกาลนัง นิทานก็แปลว่า เหตุ หรือบางทีก็ นิทานันมุทโย นิทาน ก็แปลว่า สมุทัย แปลว่า ที่เกิดเป็นต้น เหตุเกิดนั้นเอง อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า อรรถกถา อรรถกถาก็คือ ดิกชันนารี (Dictionary) ดิกชันนารี (Dictionary) ก็แปลว่าอะไร ก็มาจากคำว่า ดิกชัน (Diction) แปลว่า คำ แล้ว อารี (Ary) ก็แปลว่า ว่าด้วย ดิกชันนารี (Dictionary) ก็แปลว่า ว่าด้วยถ้อยคำ แต่ว่าของพระเนี่ย อรรถกถา ตรงเลย แปลว่า คำบอกความหมาย นี้คือตัวอรรถกถาที่แท้ ใครบอกว่าแปลพระไตรปิฎกไม่ต้องอาศัยอรรถกถาก็ เก่งก็เอานะ เหมือนคนที่จะแปลภาษาต่างประเทศไม่ต้องใช้ ดิกชันนารี อรรถกถาที่จริงตัวแท้ พื้นฐานคือนี้ ทีนี้ต่อจากอรรถกถาก็มี อรรถสังวัณณนา ในเล่มเดียวกันอะ คือถ้าไม่ได้ให้แค่ความหมายของถ้อยคำ ท่านยังอธิบายขยายความไปอีกว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสตรงนี้ ข้อความนี้ที่มีคำนี้นะ มีความหมายอย่างไร กว้างออกไปอีก ทีนี้ล่ะอธิบายกันใหญ่ละ เพราะฉะนั้นอรรถกถาก็เลยมีความหมาย ไม่ใช่กถาที่เป็นอรรถกถาเท่านั้น แต่เป็นอรรถสังวัณณนาด้วย อธิบาย บรรยาย พรรรณา ต่างๆ ที่นี้พออธิบาย บรรยายไป ท่านก็ยกเรื่องมาประกอบเล่าให้ฟัง นี้พระอาจารย์ท่านสอนมาในลังกาเนี่ย ท่านสอนมาเหตุการณ์ในลังกา พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นเกิด พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้นยกทัพไปตีกับพระเจ้าแผ่นดินองค์โน้น มีเรื่องอย่างนั้นๆ เกิดขึ้น ท่านก็เอามาเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง เรื่องในลังกาก็มาอยู่ในอรรถกถาด้วย พ่วงมาอยู่ในอรรถกถา คนไม่รู้จักนึกว่านั้นอะเป็นอรรถกถา เปล่านั้น เป็นเรื่องพ่วงมาในอรรถกถา นี่คนก็ไม่รู้ บอกอรรถกถาไม่น่าเชื่อ ท่านเล่าอะไรก็ไม่รู้ ที่จริงไม่ใช่อรรถกถาหรอก มันอยู่ในอรรถกถาพ่วงมากับอรรถกถา ท่านอาจารย์เป็นธรรมดา ท่านมีความรู้เยอะนิ เรื่องประวัติศาสตร์เรื่องอะไร ท่านก็เล่ามาประกอบให้คำอธิบายให้เข้าใจชัดเจน ต้องแยกให้เป็น เรื่องอะไรล่ะพระพุทธเจ้าตรัสพระไตรปิฎกอยู่ตรงโน้น เอาเรื่องในลังกาไป เรื่องลังกาจะเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกได้ไง ใช่ไหม เรื่องในลังกาเยอะแยะไปหมด เพราะว่าพระพุทธศาสนาที่มาเจริญอยู่นานเนี่ย อรรถกถาก็เจริญขึ้นในลังกานี้แหละ คือนำมาจากชมภูทวีป แล้วอาจารย์ก็มาอธิบายให้ลูกศิษย์ฟัง จนพระอรรถกถาจารย์มาแปลกลับเป็นบาลี ก็แปลกลับจากภาษาสังหล ก็เลยได้เรื่องลังกาเข้าไปปนอยู่เยอะแยะไปหมด ตัวออรรถกถาที่แท้นั้นก็คือ ดิกชันนารี เอาล่ะ เข้าใจไว้ ทีนี้ดิกชันนารี พร้อมทั้งอรรถสังวัณณาและเรื่องประกอบต่างๆ เนี่ย ที่เรียกรวมๆ คำเดียวว่าอรรถกถาเนี่ย ที่อธิบายพระวินัยปิฎกทั้งหมดได้มีชื่อว่า สมันตปาสาทิกา สมันตปาสาทิกาเนี่ยก็ เวลาสมัยนี้ใช้เรียนสำหรับประโยค ๕ กับ ประโยค ๗ ใช่ไหม เหรอ เอ้า เลื่อนมาแล้วเหรอ นี้ แต่ก่อนประโยค ๖ ใช้มงคล สมัยผมเนี่ย นี้แสดงว่าเค้าเปลี่ยนแล้ว สมัยก่อนนี้ใช่ประโยค ๖ ที่นี้เค้าเปลี่ยน อาจจะเห็นว่า ให้มันต่อเนื่องกันซะ (ประโยค) ๔ (ประโยค) ๕ แต่ก่อนเนี่ยพอ ๕ นี้ก็ต้องเรียน สมันตปาสาทิกาแล้ว ต่อไปก็เป็นอันว่า รู้เข้าใจแหละ เรื่องวินัย ครบแล้ว มีอรรถกถาเสร็จ นี่เอาไปอ่านวินัย สงสัยตรงไหนก็เอาสมันตปาสาทิกามา แล้วก็ดูว่าตรงไหนกำลังดูอยู่ แล้วก็ดูคำอธิบาย ดูตั้งแต่ดิกชันนารีในนั้น แต่ดิกชันนารีของท่านอะ ไม่เหมือนของชาวบ้าน ดิกชันนารีของชาวบ้านนั้นเรียงตามลำดับอักษร แต่ว่าดักชันนารีของพระท่านเรียงตามลำดับข้อความในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกพูดไปถึงไหน ท่านก็อธิบายไปตามนั้น นะ อันนี้ให้เข้าใจไว้ด้วย นี่ก็มีแทรกนิดนึงก็คือว่า เนื่องจากในวินัยปิฎกเนี่ย มีแก่นแท้ๆ คือปาฏิโมกข์ที่เราสวดเมื่อกี้ มีเฉพาะตัวสิกขาบท นี้ก็มีอรรถกถาที่ท่านไม่อธิบายให้ยืดยาก ไม่อธิบายวินัยปิฎกทั้งหมดแหละ อธิบายเฉพาะปาฏิโมกข์เนี่ย ก็เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งเรียกว่า กังขาวิตรณี กังขาวิตรณีก็อธิบายเฉพาะปาฏิโมกข์เท่านั้น เอาล่ะ ทีนี้ก็วินัยปิฎกผ่านไปแล้วนะ ต่อไปก็พระสูตร พระสุตตันตปิฏก พระสุตตันตปิฏกนี้ก็ยังที่บอกเมื่อกี้ เราเรียกสั้นๆ ง่ายๆ ว่า พระสูตร พระสูตรก็คำเทศนาของพระพุทธเจ้า เรื่องเกิดขึ้นที่นั้น พระพุทธเจ้าเคยเดินทางไปทรงจาลิกไปพบคนนั้น แสดงธรรม หรือเค้าถามอะไร หรือว่าบางคนมาเฝ้าทูลถามอะไร พระองค์แสดงธรรมให้ฟัง สิ่งที่เทศน์ที่แสดงก็กลายเป็นพระสูตร พระสูตรหนึ่ง นี้แหละคือคำเทศนาของพระพุทธเจ้า ทีนี้คำเทศนาของพระพุทธเจ้านี้มากเหลือเกิน ก็เลยรวมไปทั้งหมดเนี่ย พระไตรปิฎกได้ ๒๕ เล่ม เรียกว่า พระสุตตันตปิฎก มากมายเหลือเกิน พระสุตตันตปิฎกเราก็ต้องรู้จักวิธีแบ่ง จะได้ช่วยให้จำง่ายขึ้น พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่มเนี่ย ก็แบ่งเป็นท่านเรียกว่า นิกาย นิกายแปลว่า ชุมนุม ก็คือ ชุมนุมพระสูตร ชุมนุมพระสูตรก็มี ท่านแบ่งเป็น ๕ ชุมนุม ๕ นิกาย เป็นชุมนุม นิกาย พระสูตรที่ยาวๆ ท่านก็รวมไว้ด้วยกัน ยาวมากๆ เอามารวมไว้ด้วยกันเรียกว่า ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรยาวๆ ต่อมาพระสูตรที่ยาวปานกลาง ไม่ยาวนัก แต่ก็ไม่สั้นนัก ก็เป็นพระสูตรที่ยาวปานกลาง ก็เรียกว่ามัชฌิมนิกาย แปลว่า ชุมนุมพระสูตรที่ยาวปานกลาง เมื่อกี้ ทีฆะ พระสูตรที่ยาวๆ ต่อไปพระสูตรที่ เอาล่ะ ทีนี้เปลี่ยนใหม่ พระสูตรสั้นๆ เล็กๆ เอาเรื่องนั้นเป็นแกน เอาสถานที่หรืออะไรอย่างหนึ่งเนี่ยเป็นแกน เป็นจุดศูนย์รวมของเรื่องที่เกี่ยวข้อง พระสูตรที่เกี่ยวข้องกะบุคคลนั้น เรื่องนั้น ก็ตั้งชื่อว่า เกี่ยวกับอันนั้น คำว่า เกี่ยวกับ ในภาษาบาลีเรียกว่า สังยุต อันนี้ก็เรียกว่า สังยุตนิกาย สังยุตนิกายแปลว่า ชุมนุมพระสูตรที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น สิ่งนั้น ที่นั้น เช่นเกี่ยวข้องกับป่า พระสูตรในชุดเนี่ย ท่านรวมมาเรื่องที่เกี่ยวกับป่าทั้งนั้น ก็เรียกว่า วนสังยุตต์ พระสูตรเรื่องนี้เกี่ยวกับมารทั้งนั้น เรียกว่า มารสังยุตต์ พระสูตรที่รวมมาตรงนี้เกี่ยวกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งนั้น ก็ตั้งชื่อเรียกว่า โกสลสังยุตต์ เพราะเกี่ยวกับพระเจ้าโกศล หรือพระสูตรนี้รวมมาแล้วเกี่ยวกับภิกษุณีทั้งนั้น เรียกว่า ภิกขุณีสังยุต เกี่ยวกับมารทั้งนั้น เรียก มารสังยุตต์ เกี่ยวกับท้าวสักกะ พระอินทร์ เรียกว่า สักกสังยุต อะไรอย่างนี้เป็นต้น เยอะแยะไปหมดเลย ไม่รู้กี่สังยุต เอาล่ะทีนี้สังยุตนี้เยอะแยะไปหมด ทีนี้ก็เป็นนิกายนะ เรียกว่า สังยุตตนิกาย เออเมื่อกี้ เรียงให้ทีฆนิยายยัง เอาๆ คราวนี้เอาเฉพาะหมวดก่อน ทีนี้สังยุตตนิกายนี้ว่าด้วยพระสูตรที่มีจุดรวมเรื่องที่เกี่ยวข้อง สังยุตตนิกายนะ ๕ เล่ม พระไตรปิฎก ๕ เล่ม แล้วเดี๋ยวค่อยสาธยายแจงให้ฟัง ต่อไปก็จบสังยุตตนิกายแล้วทีนี้ อีกเยอะหมด พระสูตรอีกมากมายเหลือเกิน คราวนี้เอาใหม่ จัดตามตัวเลข จัดตามตัวเลขก็คือหมวดหนึ่ง หมวดสอง หมวดสาม ธรรมะที่มีข้อเดียว ธรรมะที่มีสองข้อ สามข้อ สี่ข้อ ไปจนกระทั่งถึง สิบเอ็ดข้อ ก็เรียกว่าอังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่เพิ่มขึ้นทีละหน่วย อังคุตตระ อังคะ แปลว่า หน่วย อุตระ เหนือขึ้นไป เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นทีละหน่วย ก็จากหน่วยหนึ่ง เป็นหน่วยสอง หน่วยสาม หน่วยสี่ หน่วยห้า หน่วยหก ไปเรื่อย เรียกว่า อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่เพิ่มขึ้นทีละหน่วย อังคุตตรนิกายนี้ก็ พระไตรปิฎก ๕ เล่ม ต่อไปก็เป็นชุมนุมพระสูตร เรื่องราวที่ปลีกย่อย ปลีกย่อยนี่เล็กๆ น้อยๆ นี้ภาษาบาลีเรียก ขุททกะ ที่นี้ชุมนุมพระสูตรที่เป็นเรื่องปลีกย่อย เล็กๆ น้อยๆ ก็เลยเรียกว่า ขุททกนิกาย ขุททกนิกายปลีกย่อยนี้มากที่สุด ๙ เล่มพระไตรปิฎก เอาละนะ ให้เห็นภาพก่อนว่า นี้พระสุตตันตปิฎกมี ๒๕ เล่ม มีทีฆนิกาย ๓ เล่ม มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม สังยุตนิกาย ๕ เล่ม อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม แล้วก็ ขุททกนิกาย ๙ เล่ม ทีนี้ก็จะว่าให้ฟัง ทีนี้ทีฆนิกายมี ๓ เล่ม ทีฆนิกาย ๓ เล่มเนี่ยมี ๓๔ สูตร ๓๔ สูตรนี้ก็เอ้า ทีนี้พอบอกแล้วว่าสิบนี้อะ ท่านจะเรียกว่า วรรคนึง ประมาณสิบ ก็เลยมีสามวรรค สามวรรค วรรคละสิบๆ แต่วรรคแรกมี ๑๓ สูตร วรรคที่สอง ๑๐ สูตร วรรคที่สาม ๑๑ สูตร รวมแล้วเป็น ๓๔ สูตร วรรคนึงได้เริ่มหนึ่งเลย เนี่ยสูตรยาวขนาดเนี่ย แค่สิบกว่าสูตรเนี่ย เป็นเล่มนึงเลย เป็นร้อยๆ สองร้อย สามร้อยหน้า จริง ยาวจริงๆ ก็เริ่มต้น สีลขันธวรรค เป็นวรรค ๑๐ สูตร แต่ที่จริงมี ๑๓ สูตร ว่าด้วยเรื่องของกองศีล ก็คือพระสูตรในวรรคเนี่ย โดยมากจะมีเรื่อง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล อยู่ในเนี่ยหลายสูตรเลย เช่น เริ่มต้นด้วยพรหมชาลสูตร สามัญญผลสูตร ว่าไปเรื่อย อันเนี่ยแหละเรียกว่า สีลขันธวรรค มี ๑๓ สูตร ให้เข้าใจไว้เป็นพระสูตรยาวๆ จบเล่ม ๙ นี้เล่ม ๙ นะ พระไตรปิฎกเล่ม ๙ ทีนี้ต่อไปก็เล่ม ๑๐ เล่ม ๑๐ ก็อีก ๑๐ สูตร ทีนี้ ๑๐ จริงๆ เลยไม่เกิน วรรคที่สองนี้มี ๑๐ สูตรถ้วน เรียกชื่อว่า มหาวรรค มหาวรรคเพราะว่า พระสูตรในที่นั้นส่วนมากมีคำว่า มหา นำ ชื่อสูตรว่า มหา มหา เช่น มหานิทานสูตร ใครไม่รู้ก็เอ้อ พระสูตรนี้ว่าด้วย นิทานใหญ่ มหานิทานสูตร บอกแล้วเมื่อกี้นี้ นิทาน แปลว่า กาลนะ แปลว่า สมุทยะ นิทานแปลว่า ที่ว่า นิทานเนี่ยแปลว่า ที่มา แปลว่า เหตุ เหตุปัจจัย แล้วอะไรเหตุปัจจัยสำคัญ ก็คือปฏิจจสมุปบาท เพราะฉะนั้น มหานิทานสูตรนี้ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท หลักปฏิจจสุมปบาทที่ใหญ่ ใครอยากเรียนรู้เนี่ย ไปเรียนในพระสูตรนี้ เรียกว่า มหานิทานสูตร ทีนี้ยัง มหาปรินิพพานสูตร ก็เล่าเรื่องตอนท้ายที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เริ่มตั้งแต่ว่า พรรษาสุดท้ายพระพุทธเจ้าไปจำพรรษาที่เวสาลี ออกพรรษาแล้ว ออกจากเวสาลี ปลงพระชนมายุสังขารที่เวสาลีนั้นแหละ ออกจากเวสาลีก็เสด็จเดินทางมาตามลำดับ จนมาปรินิพพานที่กุสินารา อันเนี่ยเรียกว่ามหาปรินิพพานสูตร เล่าเรื่องปรินิพพานพระพุทธเจ้า เป็นพระสูตรใหญ่ เอ้าแล้วอีกตัวอย่างหนึ่ง มหาสติปัฏฐานสูตร เนี่ยเรื่องสติปัฏฐานที่ถือกันว่าสำคัญนักเนี่ย จะไปดูเต็มที่สุดก็ มหาสติปัฏฐานสูตร อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ เนี่ย นี่เป็นตัวอย่างใช่ไหม รวมแล้วทั้งหมด ๑๐ สูตร ได้จบเล่ม ๑๐ พระไตรปิฎกเรียกว่า มหาวรรค ทีฆนิกาย จบเล่ม ๑๐ ทีนี้ก็ไปต่อเลย เดี๋ยวจะกินเวลาเยอะ ไปเล่ม ๑๑ เล่ม ๑๑ ก็เป็นอีกวรรคหนึ่ง แต่ว่าวรรคนี้มี ๑๑ สูตร เรียกชื่อว่า ปาฎิกวรรค เพราะเริ่มต้นด้วย ปาฎิกสูตร พระสูตรในเล่มนี้ วรรคนี้ก็มีที่สำคัญ มีชื่อเสียงมาก เช่น อัคคัญญสูตร อัคคัญญสูตรนี้ว่าด้วย กำเนิดวิวัฒนาการของโลกและสังคม อันนี้เป็นการคัดค้านแนวคิดของพราหมณ์ พระสูตรอย่างเนี่ยไม่ค่อยใส่ใจกัน ของพราหมณ์นั้นเค้าถือว่าพระพรหมสร้างโลก พระพุทธเจ้าบอก ไม่มี พระพรหม ไม่ได้สร้างโลกหรอก มันเป็นวิวัฒนาการ โลกเกิดมาอย่างงั้นๆ เกิดเป็นสังคม มีมนุษย์เกิดขึ้นแล้ว มนุษย์อยู่กันยังไง ทำให้เกิดการปกครอง มีเศรษฐกิจเป็นยังไง หากินกันยังไง ทำให้เกิดต้องมีการปกครองขึ้นมาเพื่อจัดสรรให้การเป็นอยู่ อยู่ไม่แย่งชิงไม่เบียดเบียนกัน กลายเป็นเศรษฐกิจนิเป็นตัวเริ่มต้น แล้วเกิดการปกครองขึ้นมา เกิดการปกครองขึ้นมาแล้วก็ นอกจากนั้นก็เกิดคนที่แบ่งกันตามอาชีพต่างๆ มีความรู้ ความชำนาญต่างๆ เกิดเป็นคนที่พราหมณ์เอาไปบัญญัติ เรียกเป็น วรรณ ๔ ไรต่อไรเนี่ย ในพระพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นเรื่องพระพรหมสร้าง แต่เป็นเรื่องของวิวัฒนาการของสังคมไปตามลำดับ นี้เรียกว่า อัคคัญญสูตร ต่อไปก็ เอ้า พระสูตรสำคัญอีกสูตรหนึ่งก็คือ จักรวัตติสูตร พระสูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ คือผู้ปกครองที่ยอดเยี่ยม เป็นอุดมคติ ก็คือผู้ปกครองที่ไม่ต้องใช้อำนาจบังคับลงโทษ แต่ให้คนเนี่ยอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข ปกครองให้เค้าเนี่ยอยู่ดีกินดี มีความพรั่งพร้อม แล้วก็ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน สังคมอยู่ดีมีความสุข ก็เป็นจักรวัตติสูตร ที่เรามีจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ อันนี้ก็เป็นที่มา นี้จักรวัตติสูตรแล้วก็ พระสูตรที่น่ารู้อีกสูตร คือ สิงคาลกสูตร ว่าด้วยชีวิตชาวบ้าน ว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไร พ้นจากความชั่วอะไร ทำความดีอะไร อยู่ร่วมกันยังไง มีเรื่องทิศ ๖ ปฏิบัติต่อกันอย่างไร แล้วก็จบด้วยสังคหวัตถุ ๔ ให้อยู่ร่วมกันในสังคมแล้วก็มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อกัน ปฏิบัติต่อกันตามหลักสี่ประการนี้ อะไรอย่างเนี่ย เนี่ยเรียกว่า สิงคาลกสูตร เราไม่ได้เอาใจใส่เลย สิงคาลกสูตร เนี่ย ท่านเรียกว่า ขี้วินัยไง แปลว่าวินัยของคฤหัสถ์ ชาวบ้าน ชาวพุทธอะ ที่จริงต้องปฏิบัติตามพระสูตรนี้ เพราะเป็นวินัยของคฤหัสถ์ เราไม่เอาเรื่องเลยนะ เนี่ยชาวพุทธเมืองไทยพอเราพระสูตรนี้มาตรวจสอบแล้ว ล้าหลังมาก ใช่ไหม ชาวพุทธเมืองไทยเนี่ย ยังไกลลิบลับเลย ต้องว่าแรงๆ นี้ต่อไป สิงคาลกสูตรยังไม่จบ พระสูตรที่น่ารู้อีก สังคีติสูตร พระสารีบุตรท่านได้จัดทำสังคายนาไว้ต่อหน้าพระพักต์พระพุทธเจ้า วันนั้นพระพุทธเจ้าไปประทับ แล้วก็ตอนค่ำก็ ทรงขอเอน แล้วก็ให้พระสารีบุตรเนี่ยแสดงธรรมให้พระสงฆ์ฟัง พระสารีบุตรก็เลยแสดง สังคีติสูตร แสดงสังคายนาเป็นตัวอย่าง ถือว่าที่พระสารีบุตรแสดง สังคีติสูตรไว้เนี่ย เป็นต้นแบบของการสังคายนา เรียกว่า สังคีติสูตร ท่านก็รวบรวมธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เนี่ย จัดเป็นหมวดๆ เรียกว่า ว่าไปตามลำดับจนถึงหมวดสิบ สังคีติสูตรเนี่ย เรื่องก็เป็นอย่างเนี่ย แล้วต่อจากนั้นก็มี ทสุตตรสูตร ก็พระสารีบุตร อีกแหละ แสดงพระสูตรที่รวบรวมธรรมะมาถึงแค่สิบ ก็อีกชุดนึง อีกชุดนึงที่มีสิบหมวด เอาแค่นี้ก่อน แค่เนี่ย เป็นอันว่า ๑๑ สูตร ก็จบพระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ ก็เป็นอันว่าจบ ทีฆนิกาย ๓ เล่มนะ ทีฆนิกาย ๓ เล่ม ๓๔ สูตร จบแล้ว นี่ทั้งหมดเนี่ย ถ้าใครอยากจะรู้แปลบาลีไม่ค่อยออก ก็หาอรรถกถา มีดิกชันนารี เป็นต้น อรรถกถาสำหรับพระไตรปิฎกทีฆนิกายนี้ ก็เรียกว่า สุมังคลวิลาสินี ก็จำไว้ ไปหาเอามา เอามาเป็นคู่มือ เอามาเป็นหนังสือประกอบในการแปลพระไตรปิฎก จบแล้วทีฆนิกาย ทีนี้ต่อไปก็ มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรขนาดปานกลาง ยาวปานกลาง ยาวปานกลางนี้มีทั้งหมด ๑๕๒ สูตร ได้สามเล่ม เมื่อกี้ลองคิดดูสิ ๓๔ สูตร ได้ ๓ เล่ม คราวนี้ ๑๕๒ สูตร ได้ ๓ เล่ม แต่เล่มใหญ่กว่านะ คราวนี้เล่มมัชฌิมนิกาย แต่ละเล่มๆ หนาเลย ทีนี้ทำไง ท่านก็จัด ก็ต้องจัดเป็นวรรคๆ ก่อนสิ วรรคนึงก็สิบสูตร วรรคนึงก็สิบสูตร ประมาณสิบสูตร พอได้ห้าวรรค ก็ห้าสิบสูตร เอาทำไงดี พอดีได้เล่มหนึ่งแหละ ได้ห้าสิบสูตร ห้าวรรคเนี่ย ได้เล่มหนึ่งก็ตั้งชื่อ จะเรียกยังไงดี อ้อคำว่า ห้าสิบ หมวดห้าสิบนี้ ภาษาบาลีเรียกว่า ปัณณาส นะ ปัณณาสะ แปลว่า ห้าสิบ ปัณณาสกะ แปลว่า หมวดห้าสิบ แล้วก็ทีละ ห้าสิบๆ เนี่ย ก็เป็น ห้าวรรค ห้าวรรคแรกก็ได้เล่มนึงแหละ ห้าวรรคที่สองก็อีกเล่มนึง ห้าวรรคที่สามก็ได้อีกเล่มนึง เอ้อ ตั้งชื่อยังไงดี ห้าวรรคที่หนึ่งก็เป็น ปัณณาสหนึ่ง ก็แยกชื่อซะ เป็นมูลปัณณาสก์ แปลว่า ปัณณาสต้น มูลละ แปลว่า ต้น มูลปัณณาสต้น แปลเป็นไทย ภาษาไทยสมัยเก่านะ เค้าเรียก เกวียน ร้อยถัง ถ้าห้าสิบถังเค้าเรียก บั้น เพราะฉะนั้น ห้าสิบถัง เป็น บั้น หนึ่ง ท่านก็เลยเอาคำเรียกข้าวสาร เอ้ย ข้าวเปลือก ห้าสิบถังเนี่ย เอาห้าสิบมาเรียก ปัณณาสเป็นภาษาไทย ก็ มูลปัณณาสก์ ก็แปลว่า บั้นต้น ปัณณาส แปลว่า บั้นนิ ก็มูล ก็ ต้น เป็น บั้นต้น ก็คือ ห้าสิบต้น ก็คือ ห้าสิบสูตร ในมูลปัณณาสก์ ก็ได้หนึ่งเล่มแหละ ได้แก่พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ ต่อไปเล่ม ๑๒ จบ ที่นี้ก็ปัณณาสที่สองอีกห้าวรรค ได้ห้าสิบสูตร ก็เรียก มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิม กลาง ก็แปลว่า ห้าสิบกลาง ก็เรียก บั้นกลาง บั้นกลางแล้วที่นี้ก็ ต่อไปอีกห้าสิบสูตร ก็เป็นห้าวรรค ห้าวรรคอันนี้ ห้าสิบสอง ไม่ใช่เป็นห้าสิบ อันนี้ ๕๒ สูตร ก็ได้ ห้าวรรค ก็เป็นปัณณาสหนึ่ง ก็เรียก อุปริปัณณาสก์ อุปริ แปลว่า เบื้องบน แปลว่า เหนือ แปลว่า บั้นปลาย ภาษาไทยก็เรียก บั้นต้น บั้นกลาง บั้นปลาย ภาษาบาลีก็เรียก มูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ อุปริปัณณาสก์ ปัณณาสที่หนึ่ง ห้าสิบสูตร ปัณณาสก์ที่สอง ห้าสิบสูตร ปัณณาสก์ที่สาม ห้าสิบสองสูตร รวมได้ ๑๕๒ สูตร นี้คือมัชฌิมนิกาย พอเห็นแล้วนะ นี้แหละพระสูตรในมัชฌิมนิกายก็มีพระสูตรสำคัญๆ เยอะแยะหมด รวมทั้งสติปัฏฐานด้วย สติปัฏฐานสำคัญมาก ในทีฆนิกายก็มีมหาสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย ก็ตัด มหา ออก เหลือ สติปัฏฐานสูตร ก็มีอีก อย่างนี้เป็นต้น เยอะแยะไปหมด ได้ ๑๕๒ สูตร เอาล่ะ พอแล้วเรื่องมัชฌิมนิกาย พอจะเห็นภาพ มัชฌิมนิกาย ๑๕๒ สูตรนี้ เออ จะแปลยังไงดี บาลียาก ก็หาอรรถกถา อรรถกถาอันนี้ท่านเรียกว่า ปปัญจสูทนี ก็ได้แหละ ได้ความแหละ หนังสือประกอบที่จะเรียนรู้ เข้าใจ พอแล้วนะ มัชฌิมนิกาย นี้ก็ต่อไป นิกายที่สามแหละ นิกายที่สามบอกแล้วเมื่อกี้ อะไร สังยุตตนิกาย นิกายก็แปลว่าชุมนุมพระสูตรที่ มีเรื่องหนึ่งๆ เรื่องเดียวกัน ศูนย์รวมความเกี่ยวข้อง ก็เป็นสังยุตตนิกาย สังยุตตนิกายนี้ เมื่อกี้บอกว่าทีฆนิกายมี ๓๔ สูตร มัชฌิมนิกายมี ๑๕๒ สูตร ทีนี้สังยุตตนิกายมี ๗๗๖๒ สูตร เยอะไหมล่ะ คราวนี้แสดงว่าพระสูตรเล็ก สั้น บางพระสูตรหน้าเดียวจบแหละ ตั้ง ๗๗๖๒ สูตรเนี่ย จัดได้ ๕ เล่ม ลองคิดว่าสูตรสั้นขนาดไหน บางสูตรยาวสองสามหน้าก็มี บางสูตรก็ครึ่งหน้า อะไรอย่างเงี้ย ก็เป็นสังยุตตนิกาย สังยุตตนิกายก็แบ่งเป็น ๕ เล่ม แต่ละเล่มก็จัดเป็น วรรคๆ ก็หมายความว่ามี ขันธกะ ก็เป็น พอได้สิบท่านก็จัดเป็น วรรคนึงๆ เพราะนั้นก็ ได้เป็นกี่วรรค ห้าวรรค ใช่ไหม ห้าวรรค ก็แสดงว่า วรรคละสิบๆ เยอะแยะไปหมด เอาล่ะนะ สังยุตตนิกาย ก็มาดูกัน ก็เริ่มด้วยเล่ม เมื่อกี้นี้มัชฌิมนิกายเล่ม ๑๒ ๑๓ ๑๔ ต่อไปนี้ก็ สังยุตตนิกาย ก็เริ่มด้วยเล่ม ๑๕ ท่านก็เอาเรื่องที่มีพวกคาถาเนี่ย มีความร้อยแก้วนำหน่อยแล้วก็เป็นคาถาซะ แทบทุกสูตรเลยเนี่ย เอามารวมไว้ที่เดียวกัน เป็นเรื่องราวต่างๆ นานา เป็น พุทธภาษิต พุทธภาษิตที่เราท่องกันเยอะแยะเนี่ย โดยมากอยู่ในหมวดเนี่ย เพราะเป็นคาถา สคาถวรรค สังยุตตนิกาย เราเรียก สคาถวรรค พม่าเค้าเรียก สคาถาวรรค เอาล่ะนะ ทีนี้สคาถวรรคก็คือวรรคที่มีคาถา เป็นสังยุตตนิกาย เพราะฉะนั้นแต่ละตอนก็เป็น สังยุตหนึ่งๆ ก็ เมื่อกี้อธิบายให้ฟังแล้วนิ เช่น เกี่ยวกับป่า ก็เรียก วนสังยุตต์ เกี่ยวกับภิกษุณี เรียก ภิกขุณีสังยุตต์ เกี่ยวกับ มาร เรียก มารสังยุตต์ เกี่ยวกับพระเจ้าโกศล เรียก โกสลสังยุตต์ อะไรไปอย่างเงี้ย ทีนี้ เล่มแรกเนี่ย วรรคแรกเนี่ย ก็เป็นเรื่องที่มีคาถาทั้งนั้น ก็เลยรวมไว้ด้วยกัน เรียกว่า สคาถวรรค วรรคที่มีคาถา ได้เป็นเล่ม ๑๕ เนี่ย ของพระไตรปิฎก ต่อไปเอ้า ท่านดูต่อไป ต่อไปก็เล่ม ๑๖ สิ ที่นี้ชื่อ นิทานวรรค วรรคก็คือสิบ สิบสังยุตนะ ไม่ใช่สิบสูตร สังยุตหนึ่งก็ไม่รู้กี่สูตร เยอะแยะไปหมด ทำไมชื่อนิทานวรรค เมื่อกี้บอกแล้ว นิทาน แปลว่า เหตุปัจจัย ก็คือพระไตรปิฎกเล่มเนี่ย เล่ม ๑๖ เนี่ย ว่าด้วยเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ใครอยากค้นเรื่องปฏิจจสมุปบาทเนี่ย อยู่ในเล่มนี้ เมื่อกี้มีในมหานิทานสูตรแล้วนิ ในมหาวรรค ทีฆนิกาย สูตรใหญ่เลย เป็นเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาท ทีนี้มาตรงนี้ ทั้งวรรคเลย ว่าด้วยนิทานก็คือ ปฏิจจสมุปบาท แต่ว่ามีเรื่องอื่นปนด้วย เอาเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นหลัก ต่อแต่นั้นก็มีเรื่องอื่นๆ ตามมา เอาล่ะนะ นิทานวรรค ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นสำคัญนะ ก็จบเล่ม ๑๖ พอจบเล่ม ๑๖ แล้วก็ไปเล่ม ๑๗ เล่ม ๑๗ นิ ว่าด้วย ขันธ์ ๕ เป็นหลัก เรื่องอื่นๆ ก็ตามมาประกอบ ขันธ์ ๕ เป็นหลัก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นิเต็มไปหมด สูตรที่ตรัสเรื่องขันธ์ ๕ ก็มารวมอยู่ในเล่มเนี่ย เรียกว่า ขันธวารวรรค พม่าเรียกสั้นๆ ว่า ขันธวรรค ก็เป็นอันว่าได้อีกเล่มนึงแหละ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๗ ต่อไปนะ ผ่านไปเลยนะ พอให้รู้คร่าวๆ เล่ม ๑๘ เล่ม ๑๘ นี้ว่าด้วยอายตนะ ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านก็เรียกเป็นภาษาบาลี ว่า สฬายตนะ สฬายตนะก็มาเป็นวรรค ก็เป็น สฬายตนวรรค เพราะนั้นพระไตรปิฎกเล่ม ๑๗ ก็เรียกว่า เอ้านี้เล่ม ๑๘ แล้ว ไม่ใช่ ๑๗ ๑๘ แล้วเรียกว่า สฬายตนวรรค ว่าด้วย อายตนะ ๖ มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยังไงก็ว่าไป แล้วก็มีเรื่องอื่นมาประกอบเสริมด้วย จบเล่ม ๑๘ แล้ว สฬายตนวรรค ต่อไปเล่ม ๑๙ อันนี้เล่มใหญ่มาก หนา เรียกว่า มหาวารวรรค มหาวารวรรคก็แสดงว่าใหญ่แน่ มหาวารวรรคนี้ว่าด้วยอะไร ว่าด้วยมหาโพธิปักขิยธรรม ๓๘ ประการ นี่แหละ ใครอยากรู้เรื่องโพธิปักขิยธรรมอยู่ในนี่ สัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐาน (๔)สัมมัปปธาน อิทธิบาท (๔) อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ แต่ว่าท่านไม่เรียงอย่างเรานี้ ของเราเรียงตามจำนวนน้อย สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ มีไรว่าไป ห้า หก เจ็ด แปด แต่ของท่านเริ่มจาก มรรคมีองค์ ๘ ก่อน มหาวารวรรคนี้เริ่มด้วย มรรคมีองค์ ๘ แล้วจึงมา โพชฌงค์ ๗ แล้วจึงมาอื่นๆ ไป ที่นี้ท่านไม่ว่าแค่นั้นนะ ให้สังเกตไว้ เพราะจะเริ่มมรรคนี้ ก่อนจะเริ่มมรรค ท่าน พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องแสงอรุณที่นำหน้ามรรค ๗ ประการ พระสูตรเนี่ย บอกว่ามรรค ก่อนที่จะนำเข้าสู่มรรคคืออันนี้ เริ่มด้วย หนึ่ง กัลยาณมิตร เนี่ย พระพุทธเจ้าเน้นมาก เนี่ยพระสูตรเล่ม ๑๘ เอ้ย เล่ม ๑๙ ขอโทษ มหาวารวรรคเนี่ย เป็นพระสูตรภาคปฏิบัติเลย ก็เล่มหนึ่งนั้นเป็นภาษิตทั่วไป คือเล่ม ๑๕ สคาถวรรค พอเล่ม ๑๖ นิทานวรรค ปฏิจจสมุปบาท เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ขันธ์ ๕ เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค พวกนี้เป็นสภาวธรรม เป็นธรรมชาติ พอเล่ม ๑๙ นี้ โพธิปักขิยธรรม ภาคปฏิบัติ นี้เราปฏิบัติ สติปัฏฐาน ไรต่อไร อยู่ในนี้หมดเลย เพราะฉะนั้นเล่ม ๑๙ เนี่ย สำคัญมาก แล้วท่านไม่ได้บอก พอขึ้นมาก็เข้า โพชฌงค์ เข้าโพธิปักขิยธรรมนะ ท่านเริ่มด้วยแสงอรุณ ๗ ประการก่อน เป็นนิมิตที่จะเกิดขึ้นแห่งมรรค ก็ต้องเริ่มไปตั้งแต่เนี่ย กัลยาณมิตร แล้วก็ว่าไป โยนิโสมนสิการ ไรต่อไรไป ให้จำไว้ให้ดี เพราะท่านเน้นความสำคัญของธรรมที่เป็นรุ่งอรุณ ๗ ประการ เป็นอันว่านี้คือ มหาวารวรรค แล้วนอกจากโพธิปักขิยธรรมแล้ว ก็ยังมีธรรมอื่นๆ ด้วย ก็เป็นอันว่าเป็นเล่มใหญ่สุดของสังยุตตนิกาย เล่ม ๑๙ ก็จบเป็นเล่มที่ ๕ ของสังยุตตนิกาย ก็เล่ม ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ จบแล้วนะ สังยุตตนิกายท่านบอกไว้ว่า ๗๗๖๒ สูตร มากทีเดียว จบสังยุตตนิกาย ก็ไปนิกายที่สี่ นิกายที่สี่ก็เรียกว่า อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่เพิ่มขึ้นทีละ หน่อย ก็คือจัดเป็นหมวด จัดเป็นธรรมะหมวดหนึ่ง หมวดหนึ่ง เอกะธรรม อะหัง ภิกขะเว อัญ ยัง เอกะ ธัมมังปิ เรามองไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียวที่จะเป็นอย่างงั้นๆ เท่าธรรมนี้ เช่น เท่ากัลยาณมิตร เท่าโยนิโสมนสิการ แล้วก็เอตทัคคะ คนนี้ องค์นี้เป็นยอดทางนั้นๆ นี้อยู่ในหมวดหนึ่งทั้งนั้น เรียกว่า เอกนิบาต เพราะว่าอังคุตตรนิกายนี้พระสูตรมาก ๙๕๕๗ สูตร มากเหลือเกินเกือบหมื่นสูตร ก็เลยต้องมีวิธีจัด ซอยละเอียดเพื่อให้รวมอย่างไร ก็เลยเป็นนิบาต เป็นหมวดหนึ่ง เค้าเรียกว่า นิบาตก็แปลว่า ที่รวม ที่ประชุม เช่น สันนิบาต แปลว่าที่ประชุม สันติบาตชาติ ที่ประชุม นิบาต ก็แปลว่า ที่รวม ที่รวมของพระสูตร ที่เป็นเอกนิบาต ที่รวมของเรื่องมีข้อเดียว เอกนิบาต ทีนี้พอจบหมวดหนึ่ง พูดง่ายๆ ก็คือ หมวดหนึ่ง พอไปหมวดสอง ก็เรียกว่า ทุกนิบาต ไปหมวดสามก็เรียกว่า ติกนิบาต ถึงแค่สามนี้ ปรากฎว่าได้เล่มนึงแหละ ก็เลยได้พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ ก็เป็นเล่มแรกของอังคุตตรนิกาย มีหมวดหนึ่ง หมวดสอง หมวดสาม มี เอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต เอาล่ะ ให้เห็นรูปร่าง ต่อไปก็ ไปเล่ม ๒๑ ก็หมวดสี่ จตุกกนิบาต หมวดนี้ใหญ่มาก กินทั้งเล่มเลย แต่เล่มไม่หนานัก แต่ไม่หนาก็เล่มหนึ่งแหละ จตุกกนิบาต หมวดสี่ พอจบหมวดสี่แล้ว ไปแหละ ไปหมวดห้า หมวดห้าก็ยาวพอสมควร แต่ก็ไม่ยาวเท่ากับหมวดสี่ แล้วก็ต่อไปหมวดหก หมวดหกจะน้อยหน่อย รวมหมวดห้าหมวดหกได้เล่มหนึ่ง ก็เลยเอาหมวดห้า ปัญจกนิบาต หมวดหก ฉักกนิบาต รวมกันเป็นพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ นะได้ยี่สิบสองแหละ ต่อไปก็เล่ม ๒๓ ก็ต่อไปอีก คราวนี้เมื่อกี้ก็ได้ ฉักกนิบาต หมวดหก ต่อไปก็หมวดเจ็ด ธรรมะหมวดเจ็ด สัตตกนิบาต เช่น อปริหานิยธรรม ๗ ประการ เป็นต้น แล้วก็ อัฏฐกนิบาต หมวดแปด แล้วก็ นวกนิบาต หมวดเก้า เนี่ย เช่น อาฆาตวัตถุ ๙ อย่างนี้เป็นต้น มี อาฆาตวัตถุ ๑๐ ก็มี ๑๐ ก็ไปอยู่หมวดสิบ อาฆาตวัตถุนี้มีทั้งหมวดเก้า หมวดสิบ ก็เป็น เมื่อกี้นี้ก็ ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต ก็รวมกันเป็นเล่ม ๒๒ สัตตกนิบาต หมวดเจ็ด อัฏฐกนิบาต หมวดแปด นวกนิบาต หมวดเก้า ก็รวมกันเป็นเล่ม ๒๓ ได้อีกเล่มแหละ หนาหน่อย ต่อไปก็เหลือ ทศกนิบาต หมวดสิบ ธรรมะหมวดสิบ เช่น นาถกรณธรรม เป็นต้น แล้วก็ หมวดสิบเอ็ด เอกาทสกนิบาต สองหมวดนี้ได้เล่มหนึ่ง เป็นเล่ม ๒๔ ได้พระไตรปิฎกเล่ม ๒๔ แหละ จบอังคุตตรนิกายที่จัดตามลำดับหมวด ตามลำดับเลข ๙๕๕๗ สูตร พระสูตรในอังคุตตรนิกายลักษณะแปลกไปกว่าในสังยุตต์ สังยุตต์จะเห็นว่าตอนแรกว่าด้วยสภาวธรรมมา ต่อมาว่าภาคปฏิบัติ รู้สึกเป็นหมวดเป็นหมู่ แต่พอมาอังคุตตรนิกายนี้ว่าตามตัวเลข ปนกันไปหมด ธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำ มาตามเลข สำหรับคฤหัสถ์ สำหรับพระ แยกกันไปอยู่ในเนี่ย แล้วแต่ เพราะฉะนั้นธรรมะในอังคุตตรนิกายมีหลากหลายเหลือเกิน หาได้ทุกอย่าง ก็จบอังคุตตรนิกาย ก็ได้ ๕ เล่ม จบแค่เล่ม ๒๔ แล้วเราก็หาคู่มือสิ หาดิกชันนารี หาอรรถกถา อรรถกถาของพระไตรปิฎกชื่อว่าอังคุตตรนิกาย ชื่อว่า มโนรถปูรณี ท่านตั้งชื่อเพราะทั้งนั้น เมื่อกี้นี้ ทีฆนิกาย ท่านเรียกว่า สุมังคลวิลาสินี มัชฌิมนิกาย เรียกว่า ปปัญจสูทนี แล้วก็ สังยุตตนิกาย สารัตถปกาสินี เมื่อกี้บอกรึเปล่าก็ไม่รู้ ไม่ได้บอก สารัตถปกาสินี แล้วก็มา อังคุตตรนิกาย เรียกว่า มโนรถปูรณี เอ้าล่ะนะ ต่อไป ทีนี้ก็เหลือ ขุททกนิกาย สิ ขุททกนิกายนี้ เมื่อกี้บอกว่า ๙ เล่มแน่ะ เยอะเหลือเกิน มีมาก มีทั้งหมด ๑๕ คัมภีร์ย่อย อยู่ในขุททกนิกายนี้ บอกว่าย่อยเล็กน้อย แต่เยอะ แล้วก็เป็นพระสูตรที่สำคัญมากเยอะเลย ขุททกนิกาย เนี่ย ขุททกนิกายก็ เรื่องแรกนิเล็กจริงๆ ชื่อ ขุททกนิกาย ก็ คัมภีร์ย่อยนี้เรียกว่า ขุททกปาฐะ บทสวดย่อยๆ เช่นว่า มงคลสูตร อันเนี่ยที่เราสวดกันนี้ มงคลสูตร อยู่ในขุททกปาฐะ รัตนสูตร ที่เราสวดกันเนี่ย ก็อยู่ในขุททกปาฐะ แล้วก็ กรณียเมตตสูตร สูตรสำคัญ สวดกันมาก ก็อยู่ในเนี่ย ขุททกปาฐะ ขุททกปาฐะนี้ก็คือ รวมบทสวดเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเอามาใช้กันมาก เอาล่ะนะ ขุททกปาฐะเนี่ยคัมภีร์นิดเดียว ก็เลยไม่พอเล่มหนึ่ง จบคัมภีร์แล้วท่านก็เอาคัมภีร์อื่นที่เล็กน้อยมา เอามารวมจะให้ได้เล่ม ๒๕ เล่มเนี่ย ยังไม่พอเล่ม เอาไรมา เอาธรรมบทมา ธรรมบทมี ๔๒๓ คาถา เป็นตัวคาถาล้วนๆ เลย มีไม่กี่สิบหน้าหรอก นิดเดียวแหละ แต่มาเรียบเรียงเป็นอรรถกถา อรรถกถาแปดภาค แปดเล่ม พระเณรเอามาเรียนกันอะ เรียนตั้งแต่ประโยค ๒ ประโยค ๓ อะไรอย่างเงี้ย ประโยค ๔ ด้วยรึเปล่า เออ มงคล เดี๋ยวนี้เอาไปใช้ แปลกลับ แล้วเนอะ เออ แปลกลับ ก็เอาเป็นว่าธรรมบท ธรรมบทนี้ก็ ๔๒๓ คาถา ท่านก็รวมเอาไว้ด้วยในเล่ม ๒๕ เป็นตัวที่สอง ต่อจากขุททกปาฐะ ก็ธรรมบท ๔๒๓ คาถาล้วน พอขุททกปาฐะจบธรรมบท ต่อไปก็อุทาน อุทานนี้ก็คือพระอุทานของพระพุทธเจ้า คำว่าอุทานนี้ภาษาพระไม่ได้หมายความว่า อุทานตกใจ เป็นต้น อย่างคนไทย อุทานแปลว่า คำที่เปล่งด้วยความเบิกบานใจ หรือด้วยปีติ มีปีติ อิ่มใจ มีความเบิกบานใจ พระพุทธเจ้าประสบเหตุการณ์ เห็นสถานการณ์ไร ทรงเบิกบานพระทัย ก็เปล่งพระอุทานมา เป็นคาถาธรรมะทั้งนั้นเลย อุทานแต่ละอุทาน เป็นธรรมะทั้งนั้น ก็เป็นคาถาๆ เริ่มต้นก็มีความร้อยแก้ว เล่าเรื่อง เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงเปร่งอุทาน เป็นคาถา สองคาถา สามคาถา หรือคาถาเดียวก็แล้วแต่ เอาแล้วนะ บางทีก็หลายคาถาแน่ะ เป็นอุทานหนึ่ง ทั้งหมดมี ๘๐ อุทาน ๘๐ อุทานก็เป็นอันว่าได้อีกหมวดหนึ่งแหละ ก็ยังไม่จบเล่ม ยังไม่พอเล่มนึง อุทาน ต่อไปก็มีอีก เอาอะไรมารวมดีจะได้ครบเล่มที่ ๒๕ มีอีก พระสูตรหมวดหนึ่งเรียกว่า อิติวุตตกะ อิติวุตตกะมี ๑๑๒ สูตร เป็นพระสูตรที่มีลักษณะพิเศษ พระสูตรทั้งหลายเนี่ยเราบอกพระอานนท์ท่านจำไว้ เอามาถ่ายทอด ท่านก็ขึ้นว่า เอวัมเม สุตัง เอ กัง สะมะยัง ภะคะวา (เอวัมเม สุตัง) นี้เป็นหลัก แต่พระสูตรในอิติวุตตกะไม่ได้เริ่มอย่างพระอานนท์หรอก ไม่ได้เริ่ม เอวัมเมสุตัง เริ่มต้นด้วยว่า วุตตัง เหตัง ภะคะวา วุตตะมะระหะตาติ เม สุ ตัง พระว่าท่านผู้ที่ทรงจำมาถ่ายทอดเนี่ยไม่ใช่พระอานนท์ อย่าไปนึกว่าพระอานนท์เป็นผู้ถ่ายทอดหมดนะ ท่านผู้ถ่ายทอดนี้เป็นผู้หญิงด้วย ชื่อว่าท่าน ขุชชุตตรา ท่านขุชชุตราเป็นพระอริยสาวิกกา เป็นอุบาสิกาที่เป็นยอดพหูสูจน์ เป็นเอกทัคคะ แล้วก็เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ๑๑๒ สูตร หรืออิติวุตตกะนี้ไว้ แล้วก็นำมาถ่ายทอดให้ภิกษุณี ภิกษุณีก็มาถ่ายทอดให้พระภิกษุ แล้วก็มาถึงการสังคายนาเนี่ย แล้วก็ได้ ๑๑๒ สูตร เพราะฉะนั้นสูตรที่สำคัญ มีอะไรดีๆ เช่น บุญกิริยาวัตถุ ๓ ก็อยู่ที่นี้ เอาล่ะนะต่อไป หรือแม้แต่ นิพพาน ๒ เนี่ย สอุปาทิเสสนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน ก็อยู่ในอิติวุตตกะนี้ด้วย อิติวุตตกะยังไม่จบ ได้แค่นี้แล้วก็ยังไม่หมดเล่ม เอาอีก ท่านก็เอาพระสูตรอีกหมวดหนึ่ง ที่นี้ชื่อว่า สุตตนิบาต แปลว่า ที่ประชุมพระสูตร สุตตนิบาตนี้ ๗๐ กว่าสูตร เป็นพระสูตรที่เป็นคาถาแทบล้วนเลย บางทีเป็นร้อยแก้วนำนิดนึง ไปเป็นคาถาแทบล้วนๆ เป็นพระสูตรที่ยากมาก เป็นพระสูตรที่อ่านลำบาก เป็นคาถาด้วย แล้วก็ถ้อยคำยากมาก ก็เป็นพระสูตรที่สำคัญเนี่ย อย่างที่เราเรียก โสฬสปัญหา ไรก็อยู่ในเนี่ย ก็เอามารวมด้วยเป็นสุดท้าย ได้เล่มแรกของขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ก็มีอะไรบ้าง ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต ห้าคัมภีร์ย่อยเนี่ยรวมเป็นคัมภีร์ขุททกนิกายเล่มแรก เล่ม ๒๕ เนี่ย ทั้งเล่มเนี่ย ไม่ได้มีอรรถกถาเดียวกัน ต้องแยกหน่อย ขุททกปาฐะ มีอรรถกถาชื่อว่า ปรมัตถโชติกา อ้าวแล้วก็อุทาน เอ้ย ขุททกปาฐะธรรมบท ธรรมบทก็มีอรรถกถาชื่อ ธัมมปทคาถา เป็นอรรถกถาธรรมบทที่เอามาใช้เรียนกัน แต่ธัมมปทคาถาเราเรียกกันว่า ที่จริงชื่อจริงเค้าเรียก ปรมัตถโชติกา ชื่อเดียวกับขุททกปาฐะ อรรถกถาขุททกปาฐะ เรียกว่า ปรมัตถโชติกา อรรกถาธรรมบทนั้นชื่อเดิมเค้า ชื่อจริง เรียกว่า ปรมัตถโชติกา แล้วเราก็มาเรียกตามที่ว่า อรรกถาเนี่ยอธิบายธรรมบท เรียกว่า ธัมมปทคาถา เอาล่ะทีนี้ต่อไป อุทาน อิติวุตตกะ อันนี้มีอรรถกถาชื่อว่า ปรมัตถทีปนี โน้นแยกไปเลย แล้ว สุตตนิบาย กลับมามีอรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา อีก เนี่ยถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีก็จับไม่ถูก เอาล่ะนะ จบพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ แล้ว ต่อไปก็พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ นี้ก็เป็นคาถาล้วนเลยทั้งเล่ม มีอะไรบ้าง มี ๔ คัมภีร์ย่อย ๑ วิมานวัตถุ เรื่องวิมาน เรื่องวิมานก็คือ เรื่องของเทพบุตร เทพธิดา ที่เล่าเรื่องของตัวได้ทำบุญอะไรมา ถึงได้มาเกิดอย่างนี้ ก็เล่าความคิดเห็น สอนคติธรรมไปด้วย บางทีก็อ้างพุทธพจน์ เอาพระไตรปิฎกข้างในพระสูตรมาอ้างบ้าง อะไรบ้าง เอาคำของตัวเองที่เอาธรรมะมากรั่นกรองใหม่บ้าง เนี่ยก็เรียกว่า วิมานวัตถุ มี ๘๕ เรื่อง ก็ได้ ๘๕ เรื่องแล้ว นี้พอจบวิมานวัตถุ เรื่องวิมาน เรื่องเทพบุตร เทพธิดา แล้วก็ไป เปรตวัตถุ ที่นี้ตรงข้ามเลย เรื่องเปรต เรื่องเปรตก็พวกที่ทำชั่วไว้ มาเกิดเป็นเปรตเสวยทุกขเวทนา ก็เล่าเรื่องไม่ดีของตัวเอง แล้วก็พูดกล่าวคติธรรมไว้ ให้คนเนี่ยได้คติ อย่าทำอย่างฉันอีกนะ อะไรทำนองนี้ ก็สอนธรรมะไปด้วย เป็นคาถาเหมือนกัน คาถาล้วนๆ เลย ก็มีอีก ๕๑ เปรต ก็จบ ๕๑ เรื่อง ก็เป็นอันว่า วิมานวัตถุก็จบ เปรตวัตถุก็จบ ต่อไปทีนี้ก็ชื่อ เถรกถา คาถาของพระเถระ ก็คือว่า พระเถระที่ท่านบรรลุธรรม บรรลุอรหันตผลเนี่ย ท่านเกิดความเบิกบานใจ ท่านเกิดความชื่นใจ มีปีติสุข ในเวลาที่บรรลุธรรมนั้น ท่านก็กล่าวเป็นคาถาออกมา คาถาเนี่ยเป็นคาถาที่บางที ก็เอา พุทธพจน์มากล่าวเลย บางทีก็เป็นคาถาที่ท่านกล่าวเอง ก็เป็นคติธรรม เป็นคำสอน อะไรต่างๆ แสดงความรู้สึกที่ดีงาม ก็แสดงถึงความปลื้มปีติ มีความเบิกบานใจ อะไรต่อไร มีความสงบเย็น ชื่นใจอะไรต่างๆ เหล่าเนี่ย เถรกถาเนี่ย ก็ ๒๖๔ องค์พระเถระที่มากล่าวเถระคาถา ต่อไปพอจบพระเถระแล้วก็ พระเถรีบ้าง พระภิกษุณีที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ก็กล่าวคาถาเช่นเดียวกันแหละ แสดงความเบิกบานใจที่ได้บรรลุธรรมนี้ ก็เป็นอีก ๗๑ องค์ ได้เถรีคาถา จบ เป็น วิมานวัตถุ เปรตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ได้เล่ม พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ เป็นคาถาล้วนๆ เลย อันนี้ ทั้ง วิมานวัตถุ เปรตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา เล่ม ๒๖ เนี่ย ก็มีอรรถกถาอันเดียวกัน เรียกว่า ปรมัตถทีปนี ก็ไปค้นได้ สำหรับอธิบาย ก็จบเล่ม ๒๖ แล้ว ต่อไป เล่ม ๒๗ เล่ม ๒๘ คราวนี้รู้จักกันดี คือ คัมภีร์ชาดก ชาดกนี้ ๒ เล่ม เป็นคาถาล้วน คาถาพระชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง เป็นคาถาล้วน ยกเว้น ชาดกเดียว ชาดกเดียวที่เป็นร้อยแก้ว เอ้าทาย ให้ไปค้นดู ทายว่าชาดกอะไรในบรรดา ๕๔๗ เรื่องนี้ เป็นเรื่องเดียวที่เป็น ร้อยแก้ว ทีนี้ชาดก ๕๔๗ เรื่องเนี่ย ท่านก็จัดตามจำนวนคาถา เออ วิธีจัดของท่าน เรื่องที่มีคาถาเดียว ก็จัดไว้พวกหนึ่งเรียกว่า เอกกนิบาต เรื่องที่มีคาถาเดียว เรื่องที่มีสองคาถา ก็จัดเป็นหมวดหนึ่งเลือกว่า ทุกนิบาต เรื่องที่มีสามคาถา ก็ ติกนิบาต เรื่องมีสี่คาถา จตุกกนิบาต ไปเรื่อยจนกระทั่งถึง มีสี่สิบคาถา จัตตาฬีสนิบาต จบเล่ม ๒๗ ได้เล่มนึงแล้วนะ ตั้งแต่ชาดกที่มีคาถาเดียว ถึงชาดกที่มีสี่สิบคาถา จัตตาฬีสนิบาต ได้เล่มเดียว ๕๒๕ ชาดกแหละ ถึงเล่มเนี่ย จบเล่ม ๒๗ ๕๒๕ เรื่องแหละ ก็เหลืออีก ๒๒ เรื่อง ๒๒ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ กินพื้นที่เล่มนึงเลย ใหญ่กว่าเล่ม ๒๗ อีก ทำไมเป็นอย่างนั้น คาถาตอนนี้เยอะแล้ว ต่อไปนี้ก็คือเรื่องที่คาถาเยอะๆ เริ่มตั้งแต่ ปัญญาสนบาตชาดก ชาดกที่มีคาถา ๕๐ ขึ้นไป แล้วก็ไปจนถึง อสีตินิบาต มีคาถา ๘๐ ต่อไปก็เป็นมหานิบาต คราวนี้ไม่นับแล้ว มหานิบาตก็หมายความ มีคาถาเยอะเหลือเกิน ฉันไม่นับแล้ว มีคาถามากก็อยู่ในมหานิบาตหมด ก็มาเป็นมหาชาติ ๑๐ ชาติ ที่เรารู้จักกัน ทศชาติชาดกอยู่ในมหานิบาตเนี่ย คาถาที่จบสุดท้ายก็คือ เวสสันตรชาดก เวสสันตรชาดกเนี่ย มี ๑๐๐๐ คาถาพอดี จบที่พันคาถา ก็เลยเรียกว่า คาถาพัน เพราะฉะนั้นเวสสันดรชาดกนี่เรียกกันว่าคาถาพัน ก็คือมีพันคาถา จบเล่ม ๒๘ มี ๒๒ ชาดก มหาชาติก็อยู่ในนี้หมด จบแล้ว ขออภัย เล่ม ๒๗ กับ ๒๘ นะ ชาดก แล้วชาดกนี้ก็มีอรรถกถา อรรถกถาที่เรียกว่า ชาตกัฏฐกถา ชาตกัฏฐกถาเนี่ย ก็รวมแล้ว ๑๐ เล่ม เพราะอธิบายพระไตรปิฎกที่เป็นคาถาเนี่ย สองเล่ม กลายเป็นอรรถกถา ๑๐ เล่ม เรื่องที่เราจำกันมาเล่าเนี่ย อยู่ในอรรถกถา เพราะอรรถกถาท่านจะบอกว่า คือในพระไตรปิฎกเอง ตัวชาดกเนี่ยเป็นแต่คำกล่าวโต้ตอบกัน เพราะงั้นก็ไม่รู้เรื่อง ไปไงมาไง เพียงแค่พูดมาอย่างงี้ ก็ไปดูอรรถกถาท่านเล่าว่า เมื่อครั้งนั้นเป็นอย่างนั้น เกิดเหตุนั้น พระพุทธเจ้าทรงปรารภแล้วก็ตรัสเรื่องนี้มา ว่าเป็นอย่างนี้ๆ แล้วตัวละครในชาดกนั้นก็สนทนาโต้ตอบกัน อย่างนี้ๆ มีคาถาออกมาอย่างนี้ แล้วก็เค้าเรียกว่าแก้อรรถ ก็คือดิกชินนารีอะ อธิบายว่าข้อความนี้อธิบายอย่างนี้ นั้นคือตัวอรรถกถา ก็ได้ ๑๐ เล่มเป็นอรรถกถา เรียกว่าอรรถกถาชาดกหรือ ชาตกัฏฐกถา ชื่อจริงของเค้านั้น ชื่อเดียวกับอรรถกถาธรรมบทว่า ปรมัถตโชติกา อันนี้คือชื่อจริงของเขา ก็แปลว่าจบชาดกแหละ นี้ก็คาถาล้วน เว้นหนึ่งเรื่องเท่านั้น นี้ก็จบเล่ม ๒๘ แล้วก็ต่อไปเล่ม ๒๙ เล่ม ๓๐ กลายเป็น ร้อยแก้ว ของพม่าเค้าไม่เอาด้วย ของพม่าเค้าเอาร้อยกรองต่อก่อน เค้าไปเอาเล่มต่อจากเนี่ย จะเป็นร้อยกรอง จะเป็นคาถาล้วน มีอปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก เค้าเอามาต่อตรงนี้ก่อน แล้วจึงจะมาคัมภีร์ร้อยแก้ว อันนั้นเรื่องของพม่า เราไม่ต้องพูด ทีนี้เรามาพูดเรื่องของเรา เรื่องของเราก็พอจบชาดก ก็มาร้อยแก้ว คราวนี้พระสารีบุตรมาแหละ พระสารีบุตรอธิบายพุทธพจน์ไว้ อธิบายพระสูตร เค้าถือว่าพระสารีบุตรนี้เป็นต้นแบบของอรรถกถาด้วยนะ เพราะท่านอธิบายพระสูตรของพระพุทธเจ้า นี้อยู่ในพระไตรปิฎกด้วยกันนา เพราะนั้นในพระไตรปิฎกที่จริงมีอรรถกาอยู่แล้ว พระสารีบุตรอธิบายพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ที่อยู่ในสุตตนิบาต ว่าเมื่อกี้ที่เป็นพระสูตรที่แทบจะเป็นคาถาล้วน แล้วก็ยากมาก พระสารีบุตรเอาพระสูตรในสุตตนิบาตมาอธิบาย อธิบายไปจบ ๑๖ สูตรเนี่ย ได้เล่มนึงแล้ว หนาบึ่กเชียว เป็นพระไตรปิฎกเล่ม ๒๙ เล่ม ๒๙ นี้ก็เพราะเหตุที่ว่าชี้แจงแสดงไข คำว่าชี้แจงแสดงไขขยายความนี้เรียกว่า นิทเทส นั้นก็ นิทเทสแรกเนี่ย ๑๖ สูตร ได้ใหญ่ เรียกว่า มหานิทเทส มหานิทเทสก็เป็นนิทเทสที่หนึ่ง ก็มีเท่าไหร่ เมื่อกี้เนี่ย ๑๖ สูตร เป็นพระสูตรเล่ม ๒๙ เรียกว่า มหานิทเทส ของพระสารีบุตรอธิบาย พระพุทธเจ้าตรัส ต่อไปก็ ต่อจากนี้ก็อธิบายอีก ๑๖ สูตร ได้อีกเล่มหนึ่ง ก็เป็นนิทเทสเล็ก เรียกว่า จุฬนิทเทส ก็เป็นเล่ม ๓๐ พระไตรปิฎกเล่ม ๓๐ ก็เป็นอันว่าจบ เนี่ยเป็นผลงานของพระสารีบุตร แล้วก็มีอรรถกถาอธิบาย อรรถกถาอธิบายนี้เรียกว่า สัทธัมมปัชโชติกา อธิบายคัมภีร์นิทเทสของพระสารีบุตร ทีนี้ก็ขอแทรก พระไตรปิฎกไทยเราเนี่ย เอาพระสารีบุตรเท่านั้น ทีนี้พระไตรปิฎกพม่าเค้าไม่เอาแค่นั้น เค้าเอาพระมหากัจจายนะด้วย ก็เลยพระไตรปิฎกพม่าเนี่ย มีเนื้อพระไตรปิฎกมากกว่าของเรา มีคัมภีร์ของมหากัจจายนะที่เป็นพระมหาสาวกสำคัญที่พระพุทธเจ้าตั้งเป็นเอตทัคคะในการอธิบายขยายความ เป็นเอตทัคคะในทางนั้น พระมหากัจจายนะเนี่ยเรียบเรียงคัมภีร์ไว้ ในคัมภีร์จุฬคันธวงส์ บอกไว้มีตั้ง ๖ เล่ม มีอะไรบ้าง มี กัจจายนปกรณ์หรือกัจจายนะคันธะก็ได้ เราก็เรียกมหานิรุตติคันธะ จุฬนิรุตติคันธะ ยมกคันธะ เปตโกนิทเทส เนตติปกรณ์ หกคัมภีร์แน่ะ มหากัจจายนะ คัมภีร์มหากัจจายนะ กัจจายนะ นิรุตติ เนี่ยเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์หลักการภาษา ไม่ใช่คัมภีร์พระธรรมวินัย ถ้าเทียบก็เป็นประเภทช่างรักษาดูแล ซ่อมบ้าน ที่เรากำลังพูดกันเนี่ยเป็นพระสูตรประเภทตัวบ้าน เพราะนั้นในพระไตรปิฎกท่านก็ไม่เอาพวกกัจจายนะ มหานิรุตติ อะไรพวกเนี่ยที่เป็นไวยากรณ์เข้ามาในพระไตรปิฎก พม่าเค้าก็ไม่เอา เอาเฉพาะเปตโกประเทศ เนติปกรณ์ เพราะว่าอธิบายพระธรรมวินัย เป็นคัมภีร์ฝ่ายธรรมวินัยแท้ๆ เพราะฉะนั้นพม่ามีพระไตรปิฎกที่มีเนตติปกรณ์ด้วย มีเปตโกปเทศด้วย เนี่ยเพิ่มจากเราสองคัมภีร์แหละ นอกจากนั้นยังเอามิลินทปัญหาเข้าไปด้วย ที่พระนาคเสนตอบพระยามิลินท์อะ อันนั้นตั้ง พ.ศ. ๕๐๐ แหละ พม่าก็จัดเข้าในพระไตรปิฎกด้วย อันนี้เราก็ไม่จัด ถือเป็นคัมภีร์นอก เอาล่ะนะอันนี้แทรกเข้ามา ก็ให้รู้เข้าใจไว้ เพรานั้นเปตโกปเทศ คนไทยเริ่มตื่นตัวเอามาศึกษากันมากขึ้น เพราะเป็นคัมภีร์ที่ลึกซึ้งมากเหมือนกัน ต่อไปนี้เป็นคัมภีร์ของพระสาวก ก็เป็นว่ามหานิทเทส ก็มีคัมภีร์สัทธัมมปัชโชติกา เป็นอรรถกถา จบแล้วนะเล่ม ๒๙ เล่ม ๓๐ ทีนี้ต่อไปยังไม่หมด พระสารีบุตรยังรจนาอีกเล่มหนึ่งชื่อ ปฏิสัมภิทามรรค ปฏิสัมภิทาภรรคแปลว่า ทางแห่งปัญญาแตกฉาน เล่ม ๓๑ สองเล่มก่อนมหานิทเทส จุฬนิทเทสนั้น ท่านอธิบายพระสูตรของพระพุทธเจ้า ที่พระพระพุทธเจ้าตรัสในสุตตนิบาต แต่ทีนี้ในปฏิสัมภิทามรรคเนี่ย ท่านเรียงเอง ท่านเอาธรรมะที่เป็นหัวข้อสำคัญมาตั้ง แล้วก็อธิบาย เช่นเรื่อง ญาณ ก็ตั้งหัวข้อ ญาณ ทีนี้ณานกถาก็อธิบายเรื่อง ญาณ เรื่องอานาปานะ เรื่องที่เราเอามาบำเพ็ญอานาปานสติก็อธิบายไป เรื่องวิโมกข์ก็อธิบายไป เรื่องวิโมกข์ เรื่องเนี่ย ท่านก็แยกหัวข้อของท่านเอง อย่างเงี้ย อันนี้เรียกว่า ปฏิสัมภิทามรรค ก็ได้เป็นคัมภีร์หนึ่งของพระสารีบุตรเหมือนกัน เป็นคัมภีร์ร้อยแก้ว ก็เป็นเล่ม ๓๑ ก็มีอรรถกถาชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี เมื่อกี้นี้ สัทธัมมปัชโชติกาอธิบายนิทเทส สัทธัมมปกาสินีก็อธิบายปฏิสัมภิทามรรค เอาล่ะนะ เล่ม ๓๑ จบแล้ว ต่อไปก็เล่ม ๓๒ ทีนี้ก็ไปบรรจบกันที่ว่า พม่าเค้าจะต่อเลย อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก อีกสามคัมภีร์ สามคัมภีร์เนี่ยเป็นคาถาล้วนหมดเลย เช่นเดียวกัน วิมานวัตถุ เปรตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา อันนั้นเป็นคาถาล้วน ที่นี้ทำไมของไทยเราไม่จัดเรียง ของไทยเราอาจจะถือเนื้อหา เพราะว่า วิมานวัตถุ เปรตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา มีเนื้อหาธรรมะ แสดงเป็นคติอะไรต่อไรไว้ แล้วพอนิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค ก็อธิบายหลักธรรม พออปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก เป็นเรื่องประวัติ เป็นเรื่องคำประพันธ์ เพื่อความงดงาม เพื่อความเลื่อมใส ว่าพระเถระองค์นี้ในสมัยก่อน เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าทีปังกร แล้วก็เวียนว่ายตายเกิดมาจนถึงกระทั่งปัจจุบันมาเกิดที่นี้ อะไรอย่างเนี่ย เป็นการเล่าประวัติซึ่งไม่ค่อยมีเนื้อหาธรรมะเลย เอาล่ะนะเนี่ย คัมภีร์อปทาน ก็คือคัมภีร์ประวัติ คัมภีร์ประวัติก็เริ่มด้วยพุทธาปทาน พุทธาปทาน ประวัติของพระพุทธเจ้า ต่อไปก็ปัจเจกพุทธาปทาน ประวัติของพระปัจเจกพุทธเจ้า เถราปทาน ประวัติของพระเถระแต่ละองค์ ตั้งแต่ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระกัจจายนะ พระอนุรุตธะ อะไรเนี่ย ว่าไป ๕๕๐ องค์ ประวัติพระเถระ ๕๕๐ องค์ แต่งเป็นคาถาล้วน เนี่ย เล่มเท่าไหร่แล้ว เล่ม ๓๒ เล่ม ๓๒ นี้ไม่พอ ต้องไปต่อเล่ม ๓๓ พอเล่ม ๓๓ ก็ต่ออีก ไปอปทานยังไม่จบ พอจบอปทานของพระเถระ ๕๕๐ องค์แล้วก็ต่อพระเถรี ประวัติของพระเถรีอีก ได้แค่ ๔๐ องค์ ก็จบ ก็เกือบหมดสองเล่ม แต่ละเล่มเนี่ยหนามาก เป็นคาถาล้วนๆ จะว่าไปในแง่สาระเนื้อหาธรรมะไม่ค่อยมีอะ เป็นเรื่องของประวัติ เพราะนั้นก็เลย ของไทยเราเอามาจัดไว้ท้าย ก็อปทานก็เป็นอันว่าจบแล้วนะ อยู่ในเล่ม ๓๒ ๓๓ เล่ม ๓๓ ก็เหลือเนื้อที่หน่อย ให้คัมภีร์เล็กสองคัมภีร์ต่อ คัมภีร์เล็กสองคัมภีร์ที่เหลือนี้เป็นคาถาล้วนเหมือนกัน ชื่อพุทธวงศ์ พุทธวงศ์ก็เป็นสายของพระพุทธเจ้า คือประวัติพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ประวัติพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ที่เราพูดกันนั้นอยู่ในนี้ อยู่ในพุทธวงศ์เนี่ย เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าทีปังกร มาจนถึงโคตมพุทธวงศ์ ก็คือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ก็จบพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์เป็นคาถาล้วน ก็อยู่ท้ายเล่ม ๓๓ ต่อจากนั้นก็มีคัมภีร์เล็กมากชื่อ จริยาปิฎก จริยาปิฎกก็เป็นคัมภีร์ที่แสดงพระพุทธจริยาครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ก็คือเอาพระชาดกที่ว่ามาแล้ว ว่าอีกแบบหนึ่ง เล่าในที่นี้เพียง ๓๕ เรื่อง เพื่อชี้ว่าเรื่องไหนเป็นบารมีอะไร เป้าหมายอยู่ที่เนี่ย ชี้เป้าหมายให้เห็นว่า อ้อ ที่พระพุทธเจ้าเป็นโพธิสัตว์บำเพ็ญเรื่องนี้ๆ นะ ในเรื่องนี้ เป็นพระบารมีนี้ บารมีนี้ ก็จบจริยาปิฎก เป็นอันว่าได้ความแหละ ก็จบ ๓๓ เล่ม เป็นว่าจบพระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม เท่านี้ ทีนี้ก็มาดูอรรถกถา อรรถกถาของปทานนี้ มีชื่อว่า วิสุทธชนวิลาสินี ชื่อเพราะมาก ต่อไป จบอปทานแหละ พุทธวงศ์ พุทธวงศ์ อรรถกถาก็ชื่อเพราะเหมือนกัน ชื่อว่า มธุรัตถวิลาสินี นี่ท่านตั้งชื่อกันดีมาก ชื่องามๆ ทั้งนั้น แล้วไปจริยาปิฎก จริยาปิฎกนั้นกลับไปใช้ชื่อเดิม เพราะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ปรมัตถทีปนี ก็เป็นอันว่าจบพระสูตรแหละ ๒๕ เล่ม ต่อไปนี้ก็ อภิธรรมแหละ เอาล่ะนะ พักใจนิดนึง เป็นอันว่าจบพระสูตร วินัย ๘ เล่ม พระสูตร ๒๕ เล่ม เป็น ๓๓ เล่ม ต่อไปก็พระอภิธรรม อธิธรรมก็เหลือเท่าไหร่ล่ะ ก็เหลืก ๑๒ เล่ม พระไตรปิฎกอีก ๑๒ เล่มก็เป็นพระอภิธรรม อภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม เอ้า เรามาไล่ดู ก็เริ่มตั้งแต่หนึ่ง ก่อนจะเริ่มอภิธรรมเนี่ยท่านมีมาติกาก่อน มาติกาแปลว่า แม่บท มาติกาแม่บท มี สุตตันตมาติกา แม่บทแบบพระสูตร อภิธรรมมาติกา แม่บทแม่แบบอภิธรรม แล้วก็เอาแม่บทนี้มาสวด เราเรียกสวดมาติกา ก็คือสวดแม่บทของอภิธรรม ที่ท่านตั้งไว้ต้นก่อนจะเริ่มคัมภีร์ ก็คือต่อไปคัมภีร์อภิธรรมจะอธิบายนี้แหละ จะอธิบายมาติกาทั้งหลาย เริ่มต้นแต่ ติกมาติกา มาติกาที่มีหมวดละสาม สามๆ ต่อจากจบมาติกาที่มีชุดละสาม ก็มีทุกกมาติกาที่มีชุดละสอง แต่ว่าเราไม่ได้สวด เราสวดแค่ติกมาติกาอันต้นเท่านั้นเอง ที่จริงอีกเยอะแยะ เช่นว่า กุสลา ธัมมา อกุสสลา ธัมา อัพยากตา ธัมมา ชุดนึงแหละ ได้สามแหละ ใช่ไหม อตีตา ธัมมา อนาคตา ธัมมา ปัจจุปปันนา ธัมมา ได้อีกชุดนึงแล้ว สาม ก็สาม สามๆ อย่างนี้ไปจนกระทั่งจบ ที่เราสวดกันอะ เนี่ยมาจากมาติกา แต่ของท่านเยอะ มีทั้งหมด ๑๖๔ มาติกา ท่านก็เรียงมาติกาไว้ให้หมด แม่บท ต่อไปก็นี้แหละ อธิบายพระอภิธรรม อภิธรรมไม่ไปไหนแหละ อธิบายมาติกา ๑๖๔ มาติกา เป็นอภิธรรมมาติกา ๑๒๒ นอกนั้นเป็นสุตตันตมาติกา เพราะอยู่เบื้องต้น นี้ท่านก็เอามารวมไว้ในอภิธรรมปิฎกเล่มแรก เดียวจะนึกว่าที่จริงเป็นเล่มที่ ๑ เป็นส่วนพิเศษมาติกาเอามารวมไว้ในอภิธรรมปิฎกเล่มแรก อภิธรรมปิฎกเล่มแรกนี้ก็เรียกว่า ธรรมสังคณี ธรรมสังคณีก็แปลว่านับธรรมะ นับรวม ก็ทำไมล่ะ ก็เอามาติกาแรกใน ๑๖๔ มาติกาที่ว่าเมื่อกี้ เอามาอธิบายแจกแจง เอ้าแค่มาติกาเดียวแหละใน ๑๖๔ มาติกา มาเป็นอธิธรรมเล่มแรกทั้งเล่มเลย ชื่อว่าธรรมสังคณี มาติกาแรกคืออะไร กุสลา ธัมมา อกุสสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา แค่เนี่ย นี้คือธรรมสังคณี พระไตรปิฎก อภิธรรมเล่มที่หนึ่ง ก็ได้แก่ พระไตรปิฎกเล่ม ๓๔ เล่ม ๓๔ นี้ก็ จะเริ่มอย่างนี้ เราจะสวด จะเห็นได้เลย กตเมธัมมา กุสลา นั้น ท่านตั้งมาติกาไว้แล้ว กุสลาธัมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา พอขึ้นธรรมสังคณีก็เริ่มอธิบายมาติกาที่หนึ่ง มาติกาที่หนึ่งก็คือ กุสลาธัมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา ท่านก็ตั้งคำถามขึ้นมา กตเม ธัมมา กุสลา นี้เริ่มต้นมาติกาที่หนึ่ง ก็เริ่ม กุสลา ก่อน แล้วก็ว่าไปสิทีนี้ ยัสมิง สมเย กามาวจรัง กุสลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมนัสสสหคตัง ญาณสัมปยุตตัง รูปารัมมณัง วา เรื่อยไปจน ธัมมารัมมณัง วา ยัง ยัง วา ปนารัพภะ เนี่ยที่บอกว่า ธรรมอะไร เป็นอย่างไหนที่ว่าเป็กุศล ก็บอกว่า ยัสมิง สมเย ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิตเกิดแล้วก็ ปรารภอารมณ์ทั้งหก อันใดอันหนึ่ง แล้วก็ต่อไป ตัสมิง สมเย ในสมัยนั้น ก็อะไร ผัสโส โหติ เวทนา โหติ สัญโญ โหติ ว่าไปเรื่อย ปีติ โหติ ไป อวิกเขโป โหติ นี้แหละ เข้าไปตั้งแต่อันแรกก็เกือบครึ่งหน้าแหละ พระอาจารย์อภิธรรมรุ่นหลังพอชำนาญท่านก็มาสำรวจตรวจนับ นี้แหละ โอ้ที่ว่ามาเนี่ย ท่านก็ได้ข้อหนึ่งแหละ กามาวจรกุศลจิต อันที่หนึ่งคืออันนี้ ทีนี้ต่อไปธรรมสังคณีก็ว่าต่อ ธัมเม ธัมมา กุสลา ยัสมิง สมเย กามาวจรัง กุสลัง จิตตัง ทีนี้ก็เปลี่ยนสักตัวนึง ทีนี้ เปลี่ยนไปๆ อย่างเงี้ย สักสามร้อยสี่ร้อยหน้าเนี่ย ก็อย่างเนี่ยไป ไล่ไป เปลี่ยนไปทีละหนึ่งๆ นิดเดียว ทีนี้พระอาจารย์รุ่นหลังก็มานับ อ้อ กามาวจรกุศลจิต เอ้ยตัวนี้ ผัสโส โหติ เวทนา โหติ สัญญา โหติ เจตตนา โหติ อวิเขโป โหติ อ้อนี้เรียกว่า เจตสิก อ้อที่มีกามาวจรกุศลจิตอันนี้ มีอันนี้ๆ เกิดขึ้นๆ อ้อ เรียกว่าเจตสิกนั้น เพราะนั้นกามาวจรกุศลจิตอันนี้ที่เป็น โสมนัสสหคตะ เป็นญาณสัมปยุตต์ มีเจตสิกนี้ ประกอบ นี้แหละ ท่านมานั่งนับอย่างเนี่ย จนตลอดเล่ม แล้วก็ได้มาเป็นข้อๆ ข้อนึงก็ไปครึ่งหน้า อภิธรรม ที่มาเรียนกันทีหลัง อภิธรรมสังคหะ ไม่ได้เรียนตัวจริง ตัวจริงอยู่ในพระไตรปิฎก เริ่มตั้งแต่เล่ม ๓๔ ธรรมสังคณี แล้วท่านก็สำรวจตรวจนับไปทีละหน่วย ถ้าเรารู้เป็นดูเป็น เราก็อ้อ นี้เองที่บอกว่าเป็นกามวจรกุศลจิต โสมนัสสหคต ญาณสัมปยุตต์ มีเจตสิกอะไรอยู่ไหนๆ ไล่ไปทีละหน้าๆ เอาล่ะนะให้เห็นแล้ว ธรรมสังคณี ว่าไปจนจบ จบได้แค่มาติกาเดียวแหละ กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา จบธรรมสังคณี แล้วที่นี้ท่านจบแล้วไม่พอ ท่านบอก โอ้นี้เราเพิ่งได้อธิบายมาได้มาติกาเดียว ทำไง ที่เหลือก็เลยอุทิศอีก ๒ กัณฑ์ เค้าเรียก ๒ กัณฑ์ มีตอนท้ายของธรรมสังคณีเนี่ย คัมภีร์แรกอยู่ท้ายธรรมสังคณีเรียกว่า นิกเขปกัณฑ์ ก็เอามาติกาทั้งหมด ๑๖๔ มาติกาเนี่ย มาไขความ ความจำกัดความเลยทีนี้ ทุกมาติกาที่เรียก กุศล อกุศล อัพยากฤต คือยังไง แล้วก็มาติกาสอง ยังไม่ยกตัวอย่าง ทุกกมาติกา เช่น สังขตา ธัมมา อสังขตา ธัมมา สังขตธรรม อสังขตธรรม รูปิโน ธัมมา อรูปิโน ธัมมา รูปธรรม อรูปธรรม อย่างนี้เป็นต้น โลกิยา ธัมมา โลกุตตลา ธัมมา เนี่ยเป็นคู่ๆ เนี่ยเทียบกัน ทุกกมาติกา ไม่เหมือน ติกมาติกา อันนี้หมวดละสองเท่านั้น นี้พอตอนท้ายของธรรมสังคณีเนี่ย หมวดหนึ่งเลยท่านเอามาจำกัดความทุกมาติกาเลย สั้นๆ ว่า กุสลา อกุสลา อัพยากฤต คือยังไง สังขตะ คือยังไง อสังขตะ คือยังไง รูปธรรม คือยังไง อรูปธรรม คือยังไง โลกียธรรม คือยังไง โลกุตตรธรรมคือยังไง อธิบายจบ ๑๖๔ มาติกาเลย เนี่ยชื่อว่านิกเขปกัณฑ์ พอจำกัดความจบ ๑๖๔ มาติกา เอาอีก ท่านบอกจำกัดความอีกแบบหนึ่งก็ได้ ท่านก็อธิบาย เอามาติกาเดียวกันนะ จำกัดความใหม่ อีกแนวหนึ่ง เอ้อ ให้เห็นว่ามีวิธีจำกัดความเรื่องเดียวกัน คนละอย่าง ก็จำกัดความไปอีก ท่านเอาแค่อภิธรรมาติกาตอนนี้ อัตถุทธารกัณฑ์ ไม่เอา ๑๖๔ ท่านเอาแค่ ๑๒๒ มาติกาของอภิธรรมจบ เรียกว่า อัตถุทธารกัณฑ์ นี้คือจบพระไตรปิฎกบาลีอภิธรรมเล่ม ๓๔ ชื่อว่า ธรรมสังคณี พอธรรมสังคณีจบแล้ว ก็มีอรรถกถาอีก สำหรับมาศึกษาเรียกว่า อรรถสาลนี อรรถกถาของธรรมสังคณี อรรถสาลนีก็จบ พอแล้วคุณ ทีนี้ก็ไปเล่ม ๒ เล่ม ๒ ของอภิธรรม ก็เรียกว่า วิภังค์ วิภังค์นี้ก็ โอ้ เล่มหนากว่าธรรมสังคณีเยอะเลย วิภังค์นี้ก็เอาอีกแบบ ท่านตั้งหมดธรรมที่เป็นหลักขึ้นมา แล้วอธิบายจากนั้นอีกที ตั้งยังไง เช่น ตั้งขันธวิภังค์ แจกแจงรายละเอียดอธิบายเนื้อความเรื่องขันธ์ อายตนวิภังค์ อธิบายเรื่อง อายตนะ ธาตุวิภังค์ อธิบายเรื่อง ธาตุ ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ อธิบายเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท อธิบายไปจนถึงเรื่อง โพชฌงควิภังค์ ก็เอา อธิบายเยอะแยะหมดเลยเนี่ย แต่ละเรื่อง อธิบายเป็นเรื่องๆ ไปเลย นี้ท่านใช้อีกแบบนึง จากเมื่อกี้พระสารีบุตรอธิบายพระพุทธพจน์ตามลำดับก่อน ต่อมาท่านตั้งเรื่องของท่านเองอธิบาย อันนี้วิภังค์ก็ตั้งเรื่องเอง อธิบายๆ ไป นี้คือวิภังค์ วิภังค์ก็ได้ประโยชน์มาก เพราะว่าอธิบายธรรมเป็นเรื่องๆ ไปเลย อยากจะเรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาท ก็มีเรื่องปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ อยากเรียนเรื่องโพชฌงค์ ก็มี โพชฌงควิภังค์ อธิบายให้ ก็เป็นอันว่าได้พระไตรปิฎกเล่ม ๓๕ ะไตรปิฎกเล่ม ๓๕ จบ ก็มีคัมภีร์อธิบายเรียกว่า สัมโมหวิโนทนี เป็นอรรถกถา ก็จบเล่ม ๓๕ แหละ ต่อไปเป็นเล่ม ๓๖ นี้กินเวลาไปเท่าไหร่แล้ว ทนไหวไหม ทีนี้ก็ เมื่อกี้นี้วิภังค์ ทีนี่ก็ธาตุกถา ธาตุกถานี้เป็นเรื่องธาตุ ขันธ์ อายตนะ ไม่ใช่ธาตุที่ตั้งเป็นตัวอย่าง หมายความว่า เอาธรรมะต่างๆ ในมาติกาเยอะแยะ มาจัดเข้าใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในสามอย่างเนี่ย ว่าลงใน ธาตุไหน ลงในขันธ์ไหน ลงในอายตนะไหน ลงได้ ลงไม่ได้อย่างไร ธรรมะในมาติกาทั้งหมดเนี่ยมาจัดลงให้ได้ ใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เรียกคัมภีร์นี้ว่า ธาตุกถา เล่มนี้ไม่ใหญ่หรอก ธาตุกถา พอจบธาตุกถาแล้ว ก็ไปคัมภีร์ต่อไปเรียกว่า ปุคคลบัญญัติ เป็นบัญญัติบุคคล คัมภีร์นี้แปลก เพราะว่าอภิธรรมนั้นปกติมีแต่เรื่องสภาวะ ไม่มีเรื่องบุคคล ไม่มีเรื่องบัญญัติ แต่คัมภีร์นี้เป็นเรื่องบัญญัติ ก็เป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลที่ได้บรรลุธรรม เช่น โสดาบัน ก็บัญญัติความหมายว่า อ้อ โสดาบันคือผู้ที่ กำจัดสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อย่างนี้เป็นต้น จึงเรียกว่า โสดาบัน สกิทาคามีคืออะไร ก็จำกัดความ อนาคามี จำกัดความนี้ อย่างนี้เรียกว่า บุคคลบัญญัติ หมายความบุคคลสำคัญในธรรมะเนี่ย มีชื่อว่าไง บุคคลบัญญัติก็มาจำกันความ มาอธิบายให้รู้กันว่า มีความหมายอย่างนี้ ให้คำจำกัดความ นี้ลักษณะวิธีการจำกัดความเนี่ย ท่านมีเยอะในคัมภีร์ต่างๆ พอบุคคลบัญญัติจบ ต่อไปก็กถาวัตถุ ก็แปลว่าเรื่องเอามาถกกัน เรื่องที่เอามาถกกันคืออะไร เรื่องก็หมายความว่า หลังพุทธกาลไปแล้วจนถึงพระเจ้าอโศกมหาราช สองร้อยกว่าปีเนี่ย ได้มีความคิดความเห็นแตกแยกกัน ในหมู่พวกสาวกรุ่นหลังเนี่ย จนกระทั่งเกิดพุทธศาสนานิกายย่อย ๑๘ นิกาย ไปจนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ๑๘ นิกาย เพราะนี้ ๑๘ นิกายก็เกิดการสังคายนาขึ้น หัวหน้าของการสังคายนาชื่อ พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ท่านโมคคลีบุตรติสสเถระเนี่ยตอนทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ท่านก็รวมข้อคิดเห็นต่างๆ จาก ๑๘ นิกายเนี่ย มารวมเป็นเรื่องๆ แล้วท่านก็มาตอบชี้แจงอธิบาย ว่ามันผิดยังไง แต่ละเรื่องๆ ความเห็นว่าผิดยังไง เช่น บางนิกายมีความเห็น พระอรหันต์นี้บรรลุอรหันตผลแล้วเสื่อมได้ อย่างนี้เป็นต้น ท่านก็อธิบายว่า มันจริงไม่จริง มันถูกไม่ถูก อธิบายไปอย่างนี้ รวมทั้งหมด ๒๑๙ เรื่อง เรียกว่า ๒๑๙ คาถา เป็นพระไตรปิฎกเล่มใหญ่เล่มนึงเลย เรียกว่า กถาวัตถุ กถาวัตถุตอนนี้เมื่อกี้นี้พระไตรปิฎกเล่ม ๓๔ ธรรมสังคณีอภิธรรม แล้วเล่ม ๓๕ ก็ วิภังค์ แล้วก็เล่ม ๓๖ ก็ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ เล่ม ๓๗ ก็มา กถาวัตถุ กถาวัตถุก็เป็นเล่ม ๓๗ แหละ ต่อไปเอาล่ะนะ เอาพอรู้ กถาวัตถุเรื่องของรุ่นหลังแล้วนิ แล้วทีนี้ต่อไปก็ ยมก ยมกนี้ก็เป็นเรื่องการอธิบายธรรมเป็นคู่ๆ เป็นคำถามคำตอบ ยกตัวอย่างเช่น เป็นธรรมะลึกซึ้งนะ เช่นบอกว่า กุศลทั้งปวงทุกอย่างเนี่ย เป็นกุศลมูล หรือกุศลมูลทุกอย่างเป็นกุศล เอาอย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็นคู่แล้วนะ คำถามคำตอบเป็นคู่ ใช่ไหม กุศลทั้งปวงเป็นกุศลมูล แล้วกุศลมูลทั้งปวงเป็นกุศล เอาตอบมา นี้ได้คู่นึงแล้ว รูปทั้งปวงเป็นรูปขันธ์ หรือเอะ รูปขันธ์ทั้งปวงเป็นรูป อย่างนี้เป็นต้น คู่อย่างนี้ เรียกว่า ยมก ยมกนี้ได้สองเล่มนะ เล่ม ๓๘ เล่ม ๓๙ พระไตรปิฎกแต่ละเล่มนี้หนาบึ้กเลย เป็นอันว่าจบแล้วยมก ยมกจบ ที่นี้ก็ไปคัมภีร์สุดท้าย อภิธรรมจะจบแล้วนะ ทนฟังอีกหน่อยนึง ก็เหลือคัมภีร์สุดท้าย เรียกว่า ปัฏฐาน ปัฏฐานนี้ว่าด้วยปัจจัย ๒๔ ประการ อธิบายปัจจัยซึ่งมาคู่กับปฏิจจสมุปบาท เป็นการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ปัจจยาการในเชิงปัจจัย ๒๔ ประการ ว่าอะไรเกิดขึ้นอย่างนี้มาจากปัจจัยอะไร เป็นปัจจัยชนิดไหน เรียกชื่อว่าอะไร เป็นเหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย อะนันตะระปัจจะโย ไปจนถึง วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย จบปัจจัย ๒๔ เนี่ย คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย ๒๔ เนี่ย ตั้งแต่ต้นไปจนจบ แค่เล่มเดียวเล่มต้นก็อธิบายหมดแหละ แล้วต่อจากนั้นก็แจกแจงพิเศษไปเลย อธิบายไปเนี่ย ทั้งหมด ๓๓๒๐ หน้า เป็นพระไตรปิฎก ปัฏฐานนี้เป็นคัมภีร์ที่ใหญ่ที่สุด เพราะว่าใช้พื้นที่พระไตรปิฎก ๖ เล่ม เพราะฉะนั้นเค้าเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า มหาปกรณ์ แปลว่า คัมภีร์ใหญ่ จบแล้วพระไตรปิฎก ก็เล่ม ๔๕ แล้วนะ ก็เป็นอันว่าปัฏฐานตั้งแต่เล่ม ๔๐ ไปจนถึงเล่ม ๔๕ ๖ เล่ม แล้วก็ห้าคัมภีร์หลังเนี่ย เมื่อกี้บอกแล้วนิ ธรรมสังคณี อรรถกถาชื่อ อรรถสาลินี ต่อไปอันที่สอง วิภังค์ เรียกว่า สัมโมหวิโนทนี ต่อมาเล่มที่ วิภังค์แล้วก็ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน เนี่ย ห้าคัมภีร์เนี่ย ท่านเรียกรวมเป็นอรรถกถาเดียวว่า ปัญจัปปกรณัฏฐกถา แปลว่า อรรถกถา ๕ คัมภีร์ ๕ ปกรณ์ จบทีเดียวเลย แต่ว่าเล่มหนาหน่อย ก็เป็นอันว่าจบพระไตรปิฎก ๕๔ เล่ม พร้อมทั้งอรรถกถา เรียบร้อยแหละ จะได้รู้เข้าใจ อะไรเป็นอะไร ที่เนี่ยทุกองค์ควรจะรู้บ้านของตัวเอง ต้องรู้จักไว้ ก็ได้ทดสอบว่าสู้ไม่สู้ สู้ไหม ยังมีฉันทะ นะ ต่อไปต้องบอกได้เลย อะไรอยู่ตรงไหนอย่างคนรู้จักบ้านตัวเองนิ ถึงยังใช้ไม่เป็น ยังไม่รู้จักแท้นะ เอาแค่ว่าอันนี้มันอะไร มันอยู่ตรงไหน พอถามถึงก็บอกถูกใช่ไหม แค่นี้ก็ไปได้แหละ เอาแค่รู้จักบ้านตัวเอง ต่อไปก็ เอาล่ะทีนี้อันไหนมันใช้อะไร ทำอะไร มีประโยชน์ยังไง จะใช้อะไร ทีนี้จับได้แหละ ถึงเวลานี้หยิบชิ้นนี้ไปใช้เลย ไปสร้างสรรค์ทำประโยชน์ ไปเผยแพร่ธรรมะได้เลยเนี่ย ต้องรู้จักบ้านของตัวเอง เดี๋ยวนี้พระที่ ถ้าถือว่าเสื่อมแล้ว ก็เพราะไม่รู้จักเนี่ย เพราะนั้นก็มองไม่ถูกสิ ธรรมวินัยอยู่ที่ไหน จะใช้ยังไง มันมองไม่ออกเลย พอเรารู้จักอันนี้นะ มองออกเลยทีนี้ อะไรอยู่ตรงไหน จะเอาตรงไหนมาใช้ ธรรมะรู้หมดแล้ว รู้จักบ้านตัวเอง ที่นี้วันนี้ก็เลยเล่าให้ฟังเนี่ย พูดไปพูดมาเสียงดังเลย จะทรุดต่อไป ถ้าลองเสียงดังแบบนี้ ทรุดแน่ๆ ท่านที่อยู่ใกล้แล้วก็รู้เลย ที่นี้ไม่รู้ว่าพูดข้ามอะไรหรือเปล่า ก็เป็นอันว่าจบแล้วนะ พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม พร้อมทั้งอรรถกถาทั้งหลาย ครบแล้วนะ ไม่มีขาดแหละ เนี่ยแค่นี้ รู้จักบ้านของตัวเอง ที่จริงนั้นอะ ทั้งหมดเนี่ยอธิบายไว้แล้วในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ประมวลศัพท์ คำว่าพระไตรปิฎกนั้นอะ เรียงหมดเลยตั้งแต่ มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ไปจนกระทั้งถึง ปัฏฐาน เล่ม ๔๕ ปัฏฐานอธิบายเยอะหลายเล่ม มากไป อธิบายเมื่อนานสัก ๒๐ ปีแหละ รู้สึกว่าถ้ามีเวลาเมื่อไหร่นะ จะมาเขียนอธิบายใหม่ให้มันกะทัดรัดขึ้น ตอนนี้ก็ปล่อยไปก่อน ก็เอาเป็นว่า อยู่ในเนี่ย ถ้าไปเปิดคำว่า ไตรปิฎกก็จะดูได้หมด ตั้งแต่พระไตรปิฎกเล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ไปจนกระทั่งถึง ปัฏฐาน ภาค ๖ ก็เล่ม ๔๕ จบเลย ทีนี้มันเสียที่ว่า คือคัมภีร์เหล่านี้ที่จริงก็ต้องทำครอสเรฟเฟอเรินซ์ (cross reference) ที่นี้ในพจนานุกรมพุทธศาสน์เนี่ย บางทีเผลอ บางทีก็เอาออกจากที่อธิบายรวมเนี่ยไปตั้งในลำดับคำ เช่น ใน กถาวัตถุ ก็บอกอธิบายที แล้วก็บอกดูไตรปิฎก แต่ที่นี้บางคัมภีร์เนี่ย ไม่ได้เอาออกมา ก็สำรวจ ที่นี้พอดี พอมีโอกาสก็ดูว่าอันไหนมันไม่มาอยู่ในลำดับ ก็จะได้ชี้ให้ไปวงดูตรงนั้น ดูตรงนี้ แล้วก็ในคำว่า อรรถกถา ก็มีหมด ในอรรถกถาทุกเล่มอะ ในคำว่า อรรถกถา ใช้อธิบายยาวมาก แล้วอรรถกถาแต่ละเรื่องก็จะไปอยู่ในลำดับคำอีกทีหนึ่ง ว่ามันคืออะไร แล้วก็ทำครอสเรฟเฟอเรินซ์ (cross reference) ก็ชี้โยงอ้างอิง อ้างอิงมาที่อรรถกถา ไปดูคำว่า อรรถกถา เพราะงั้นท่านอ่านแค่คำว่า พระไตรปิฎก คำว่า อรรถกถาเนี่ย จะเข้าใจเรื่องนี้พอสมควร เข้าใจเรื่องดีแล้วก็จะพูดเพิ่มเติมไปนิดหน่อย นี้ท่านรู้จักอรรถกถาแล้ว ก็จะเห็นประโยชน์ แล้วก็จะได้ชี้แจงคนที่เข้าใจผิด ที่เค้าบอกว่าอรรกถาไม่ได้เรื่อง อะไรต่อไรเนี่ย เราก็ต้องรู้จัก เพราะท่านไม่ได้บอกให้เชื่อ ท่านให้ใช้ศึกษา เคยย้ำบ่อยๆ ว่าพระไตรปิฎกแปลเนี่ย ใช้ได้แค่เป็นเครื่องประกอบการศึกษา อย่าได้ถือเป็นที่อ้างอิง ก็ย้ำแล้วย้ำอีก ยังไม่เข้าใจ พระไตรปิฎกแปลเนี่ย ก็ต้องเห็นใจท่าน งานท่านหนัก ของก็ยาก แล้วก็ทำหลายองค์ แบ่งงานกันไปทำ บางองค์ก็ละเอียดลออ บางองค์ก็ไม่ละเอียดลออ บางองค์ก็คุมดี บางองค์ก็คุมไม่ค่อยดี ทำมาแล้วบางที่ก็ผิดมาก อย่างง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น อย่าง อาสนะยาว ในพระไตรปิฎกอธิบายไว้เนี่ย ท่านแปลออกมาว่า อาสนะยาวที่สุด นั่งได้สามคน นี่พระไตรปิฎกแปล ฉบับหลวง ที่จริงแปลว่าไงรู้ไหม อาสนะยาวนั้น คืออย่างต่ำนั่งได้สามคน ตรงข้ามเลยเห็นไหม เนี่ยพระไตรปิฎกแปล ก็เห็นใจท่าน อย่างที่ว่า ก็มีผิดๆ อย่างนี้บ้าง หรืออย่างในมหาปรินิพพานสูตรเนี่ย ก็ว่าพระสูตรท่านก็ว่ามาเป็นบาลี ไม่มีสักนิดที่ว่า พระสุภัททปริพาชก เอ้ย สุภัททพุทธบรรพชิต กล่าวอย่างนั้นแล้ว แล้วก็พระมหากัสสปะ ได้ยินแล้วก็เกิดธรรมสังเวช พูดไรเนี่ย ในพระไตรปิฎกแท้ไม่มีหรอก พระไตรปิฎกแปลไปเติมเข้ามา ท่านคงเห็นว่าข้อความตอนนี้มันเข้าเรื่องนี้ คำว่าธรรมสังเวช ตรงนั้นไม่มี อย่างนี้เป็นต้น หรือบางทีในพระไตรปิฎก มีคำว่า สังเวชเฉยๆ ท่านไปเติมเป็น ธรรมสังเวช อะไรอย่างเนี้ย หรืออย่างบางที ท่านแปลไปตามอรรกถา อรรกถาท่านต้องการให้คนอ่านนี้รู้เรื่อง อรรถกถาก็อธิบายข้อความในพระไตรปิฎก เช่น ตรงเนี่ย พูดถึงที่ประทับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประทับตรงเนี่ย นี้อรรถกถาอธิบายว่าที่ประทับตรงเนี่ย ก็คือ พระคันธกุฎี คำว่าพระคันธกุฎี มันไม่มีในพระสูตร ที่นี้พระไตรปิฎกแปลก็ไปแปลว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกมาจากพระคันธกุฎี อย่างเนี่ย เรียกว่า ไม่ถึงกับผิด แต่ว่าแปลคลาดเคลื่อน ไม่ตรงแท้ อย่างเนี่ย เยอะแยะไปหมด เพราะนั้นเราก็ใช้ได้แค่เครื่องประกอบในการเล่าเรียน บอกว่าอย่าไปเอาพระไตรปิฎกแปลเนี่ยเป็นมาตราฐาน เป็นตัวตัดสินไม่ได้ อ้างอิงไม่ได้ แล้วบางทีควรจะทับศัพท์ ท่านก็ไม่ทับ ธรรมาธิปไตย ท่านไปแปลว่า ถือธรรมเป็นใหญ่ แล้วที่นี้คนอ่านก็ไม่รู้เรื่อง ว่ามันอะไรกัน อย่างเงี้ย เยอะแยะ ก็เคยยกตัวอย่างให้ดู ให้รู้เข้าใจ แต่ว่าพระไตรปิฎกแปล ท่านทุกท่านต้องอาศัยอรรถกถาทั้งนั้น แม้แต่อาศัยอรรถกถาแล้ว บางทีก็ยังแปลผิด แล้วอรรถกถาก็อย่างที่ว่า ตัวแท้ก็คือ ดิกชันนารี เป็นตัวพื้นฐาน ต่อจากนั้นก็เป็น อรรถสังวรรณนา อธิบายขยายความ ต่อไปก็มีเรื่องเล่าประกอบ ไรต่อไร แล้วมีมติคนโน้นคนนี้ มีเกจิอาจารย์ อัปเลอาจารย์อื่นอีก ไรต่อไร ว่าไป นี้แหละให้เข้าใจ ก็เป็นอันว่าให้รู้เรื่องพระไตรปิฎกแปล ก็ในฐานะเป็นยังไงด้วย ก็เรียกว่าอธิบายมาพอสมควร คิดว่าตามทัน ตามทัน ที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของท่านแล้ว จะต้องไปพยายามศึกษา ไม่ต้องท่อง แต่ทำให้เกิดความคุ้นชิน เหมือนบ้านของเราเนี่ย ไม่ต้องไปท่องว่าอะไรเป็นอะไร ก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ชื่ออะไรอยู่ตรงไหน จะเอาไปใช้อะไร ต่อไปใช้ให้เป็น ทำให้เป็นประโยชน์มันก็จะดี แล้วก็เลยต้องถือโอกาสมาอธิบายว่า ตอนเนี่ย โอกาสที่จะพูดมากๆ บ่อยๆ ก็คงยาก ก็เลยใช้วิธีให้ท่านไปทำ ขอให้ไปทำ แล้วตัวเองเอาไปทำอะไรอยู่ ตัวเองก็ไปอาพาธอยู่ ที่นี้อาพาธไม่ได้อาพาธเฉยๆ คืองานเนี่ยทำตลอดเวลา งานเนี่ยตั้งแต่บวชสองพรรษา งานชิ้นหนึ่งเนี่ยใหญ่มาก เมื่อบวชสองพรรษา เริ่มทำไว้ได้ ๒ ปี เดี๋ยวนี้ยังไม่มีโอกาสย้อนกลับไปทำ ถ้ามีโอกาสก็จะกลับไปทำ งานพวกเนี่ยเยอะแยะไปหมดเลย ยังค้าง ตลอดชีวิตไม่หมด ในขณะที่งานพวกเนี่ยค้างมาก รวมทั้งพจนานุกรมที่ว่าเนี่ยด้วยนิ ก็พอดีมีเหตุว่าต้องหันไปทำงาน เร่งงานอยู่งานหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงลุง พระครูสังฆรักษ์ฉาย หลายท่าน แม้แต่พระก็ยังไม่รู้ เวลานี้ต้องทุ่มตัวให้แก่งานเนี่ย ก็เลยทำงานพจนานุกรม งานไรต่อไรเนี่ย ถูกทิ้งไปหมด เพราะอะไร เพราะปี ๕๗ หลวงลุงท่านอาพาธหนัก วันนั้นเดินทาง รู้สึกจากชัยภูมิมา หนังสือตามพระใหม่ไปเรียนทำเนี่ย มี ๖๐ ตอน ตอนนั้นพิมพ์เสร็จ ตรวจเสร็จ ทำได้ ดูจะ ๔ ตอน ทำได้ ๔ ตอนก็เดินทางมา เอ้อ เราจะไปแวะเยี่ยมหลวงลุงที่โรงพยาบาลธนบุรี ก็เอาหนังสือเนี่ย เพิ่งพิมพ์เสร็จใหม่ หน้าปกเป็นการ์ตูน ก็หลวงลุงเนี่ยท่านชอบการ์ตูน ท่านวาดการ์ตูนด้วย การ์ตูนที่ท่านชอบวาดก็คือ การ์ตูนหนุมาน หลวงลุงเนี่ยท่านชอบวาดการ์ตูนหนุมาน นี้ก็เลยจะเอาหนังสือ ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม ๔ ตอนแรก มีรูปการ์ตูนข้างหน้าเนี่ย ไปแวะเยี่ยมท่าน ให้ท่านดูด้วย เหมือนกับล้อท่านอะ พอขึ้นไปปรากฎว่า มรณภาพพอดีแล้ว ก่อนไปถึงหน่อยหนึ่ง นี้หนังสือก็เลยค้าง เอาไปติดย่ามไป ก็เลยเกิดการปรึกษาว่าจะการเรื่องงานศพอย่างไรดี ก็เลยตอนนั้นเป็นช่วงพรรษา เออจัดงานก็ไม่สะดวก มานึกไป เอ้อ รอให้หนังสือตามพระใหม่เสร็จ แล้วพิมพ์งานหลวงลุง ก็เลยตกลงว่า จะพิมพ์หนังสือ ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม ตอนงานปรงศพหลวงลุง เอาล่ะสิทีนี้ พอว่าไว้อย่างนี้ หนังสือตามพระใหม่เนี่ย ๖๐ ตอน ตรวจมาตรวจไป(ปี) ๕๗ ถึง ๖๐ แหละ ได้ ๒๖ ตอน เหลืออีก ๓๔ ตอน ตรวจจบไป ๒๖ ตอนได้ ๕๖๑ หน้า เหลืออีก ๓๔ ตอน ที่นี้ก็ บอกพระมา ๒ ปีแหละ บอกว่าตอนนี้ไม่แน่แหละนะ องค์ไหนจะถูกเผาก่อน ก็คือว่า องค์นี้ก็ชักใกล้แหละ หลวงลุงก็จะรอหนังสือ ตามพระใหม่ แต่ต้องให้องค์นี้รอด องค์นี้รอดก็หมายความว่า ทำหนังสือตามพระใหม่เสร็จ ๖๐ ตอน ที่นี้ถ้าองค์นี้ไม่รอด ทำก็ยังไม่เสร็จ องค์นี้ก็ถูกเผาก่อน ใช่ไหม หลวงลุงก็เลยเผาทีหลัง ฉะนั้นตอนนี้ก็เลยแข่งกันว่า องค์ไหนจะถูกเผาก่อน องค์ที่นั่งนี้ องค์ที่นอนอยู่ข้างล่าง อันเนี่ย ตอนนี้ อยู่ในเวลานั้น เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็ต้องทุ่มเวลาให้กับหนังสือ ตามพระใหม่ เพื่อเร่งให้เสร็จ แล้วมาตอนเนี่ย เลยมาคิด เอะดูท่าทาง เราจะรอดจากหนังสือ ตามพระใหม่ ยาก หนังสืออื่นๆ ที่รอ เช่น พจนานุกรม เราจะไม่มีโอกาสได้ทำ ก็เลยขอแบ่งเบียนเวลาเท่าที่ได้ น้อยที่สุด เนี่ยก็เลยมาทำพจนานุกรม ในช่วงเนี่ย แบ่งเวลามาให้น้อยที่สุด เพราะว่างานตามพระใหม่ต้องเร่ง ก็แย่งเวลามาได้หน่อย ตอนนี้ปิดแล้วนะ ต้องกลับไปทำเรื่อง ตามพระใหม่ ก็ตอนที่กะให้เสริม ก็คือว่า หนังสือเนี่ยบางคำตกหล่น อย่างไม่น่าตกหล่น คำง่ายๆ อะไรที่อธิบายไม่ชัดพอ หรือคำที่ชาวบ้านเค้าควรจะรู้ อย่างเช่น คำว่า สังเวช นิ คนไทยเข้าใจผิด ไปสังเวชนีสถาน เนี่ย ที่สำคัญ สังเวชนีสถานแปลว่าไร ถ้าแปลตามตัวก็แปลว่า สถานที่น่าสังเวช แล้วคนไทยเข้าใจไง สถานที่น่าสังเวชก็แย่สิ ใช่ไหม เออ ก็เพราะคนไทยเข้าใจผิด สังเวช ไม่ได้แปล สลดหดหู่ใจ มันตรงข้าม ก็เลยต้องหันกลับมา อธิบายคำอย่าง สังเวช เนี่ย ให้เข้าใจ ธรรมสังเวช แปลว่าอะไร ธรรมสังเวชยังไงเนี่ย มาเสียเวลาอธิบายคำว่า สังเวช คำเดียวนี้หลายหน้าเลย ตอนเนี่ยมุ่งมาที่คำพื้นๆ คำตกหล่นอย่างที่ท่านให้บอกไปนะ ไม่ใช่คำพิเศษอะไร คำสามัญตกหล่น อาฆาต อาฆาตวัตถุ อาฆาตวัตถุเนี่ยมันก็มีทั้งใน วินัย ในพระสูตร ในอภิธรรม อาฆาตวัตถุ ๑๐ อาฆาตวัตถุ ๙ อย่างในวินัยปิฎกท่านก็บอกว่า อาฆาตวัตถุ ๙ อย่างก็คือ ๙ ข้อแรก ไม่ใช่ข้อที่ ๑๐ อาฆาตวัตถุ ๙ เนี่ยเป็นเหตุของการแตกแยกของสงฆ์ได้ เป็นเหตุให้สงฆ์แตกกันเป็นต้น ในพระสูตรก็เยอะแยะ ในอภิธรรมก็ว่าไว้ อย่างเงี้ย มันตกหล่นไปได้ ก็เอาใส่ ดีแล้วโมทนาที่ท่านได้บอกไว้ อย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าคำบางคำต้องเอาไว้รอทีหลัง ยกตัวอย่างเช่น ท่านอยากจะให้เติม อย่าง กัจจายนะ อะไรพวกเนี่ย อย่างพวกนี้ กัจจายนะเมื่อกี้บอกแล้ว เป็นคัมภีร์ประเภทนายช่างดูแลรักษาซ่อมแซมบ้าน เรากำลังเอาเรื่องตัวบ้าน ที่นี้นายช่างถ้าเอากัจจายนะเข้ามา โมคคัลลายานะก็ต้องเข้ามา สัททนีติก็ต้องเข้ามา รูปสิทธิก็เข้ามา อภิธานัปปทีปีกาเข้ามา แล้วก็คัมภีร์บริวารพวกนี้เยอะ ไม่ไหว ว่ากันเป็นขบวน เอาไว้รอ ไว้องค์ที่เขียนเนี่ยรอดจาก ตามพระใหม่ก่อน พอรอดแล้วมาเติมคำพวกนี้ทีหลัง แล้วอย่างทันบอกว่าอะไร ปัฏฐาน ปัฏฐานอยู่ในนี้แล้ว แต่ไม่ได้ทำครอสเรฟเฟอเรินซ์ (cross reference) ไว้ อย่างวิมุตติมรรคเนี่ย วิมุตติมรรคเล่าให้ฟัง แทรกนิดหนึ่ง เมื่อประมาณ ๓๕ ปีมาแล้ว ในวงการของพวกที่ศึกษาคัมภีร์ ตื่นเต้นกันใหญ่ บอกค้นพบคัมภีร์บาลีที่สูญหายไป ชื่อ วิมุตติมรรค ปรากฎว่าไปอยู่ในภาษาจีน ภาษาบาลีไม่มีแล้ว วิมุตติมรรคเนี่ยไปเจอเป็นภาษาจีน เค้าก็เลยแปลกลับมาเป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็ค้นหาพุทธพจน์ที่อ้างในนั้น แล้วก็ทำไปทำเรียงพุทธพจน์ไว้ที่เชิงอรรถ ไว้เต็มไปหมดเลย นั้นเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ ๓๐ กว่าปีแหละ หรืออาจจะเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ยังไงบ้าง แต่อย่างน้อยก็ ในหนังสือพุทธธรรมที่พิมพ์เมื่อปี ๒๕๒๕ เนี่ย ตั้งแต่ ๒๕๒๕ ก็พูดถึงวิมุตติมรรคไว้แหละ ในพุทธธรรมนะก็พูดถึงวิมุตติมรรค บอกว่าในวิมุตติมรรคเนี่ย บอกว่าอนุปาทิเสสนิพพานเนี่ยได้แก่ นิสสรณวิมุตติ ก็บอกวไว้ ตอนนั้นก็คือ เหตุการณ์เก่าในราว ๓๕ ปีมาแหละ เวลาก็ผ่านมานาน หนังสือวิมุตติมรรคที่เป้นภาษาอังกฤษก็ยังอยู่ที่กุฏิที่วัด มันเรื่องเก่าแก่ยาวนาน นี้ในฉัฎฐสังคีติของพม่าที่สังคายนาครั้งใหญ่ ที่ประชุมที่จัดเตรียมสังคายนาด้านหนึ่งเนี่ย เค้าประชุมแล้วก็สันนิษฐานว่า วิมุตติมรรคของท่านอุปติสสะเนี่ย เป็นคัมภีร์ของนิกายมหิสาสกะ มหิสาสะกะคือไร ก็คือว่า ที่บอกเมื่อกี้ บอกว่าหลังพุทธกาล พุทธศาสนาแตกแยกเป็น ๑๘ นิกาย ทีนี้ นิกายที่แตกตอนแรกก็มี ๒ คู่ คู่ใหญ่อันหนึ่งก็คือ มหิสาสกะกับวัชชีปุตต์ แล้วมหิสาสกะก็มาเป็น อาจริยวาท ๑ วัชชีปุตต์ ก็เป็น อาจริยวาท ๑ รวมแล้วนี้ก็เป็น ๒ ใน ๑๘ นิกายแล้ว ที่เค้าว่า วิมุตติมรรคเนี่ยเป็นของนิกายมหิสาสกะ พระอินเดียที่นำเอาคัมภีร์เนี่ยไปจีน ก็ไปมีการแปลเป็นจีนไว้ ก็เลยคัมภีร์เนี่ยอยู่ในภาษาจีน ตอนนี้ก็แปลกลับมาเป็นภาษาอังกฤษ อย่างนี้เป็นต้น นี้ก็เล่าเรื่องให้ฟัง อันนี้ก็เป็นคู่กับคัมภีร์วิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคก็จะขึ้น สีเล ปติฏฐาย นโร สปัญโญ จิตตัง ปัญญัญจ ภาวยัง อตาปี นิปโก ภิกขุ โส อิมัง วิชัฏเย ชฏัง นี้คาถาตั้งของวิสุทธิมรรค สองเล่นเนี่ยอธิบายไตรสิขา แต่ใช้คนละคาถาตั้ง ของวิมุตติมรรคใช้ สีลัง สมาธิ ปัญญา จ วิมุตติ จ อนุตตรา อนุพุทธา อิเม ธัมา โคตเมน ยสัสสินา ที่นี้ก็เป็นอันว่า คาถาของวิมุตติมรรคก็ไตรสิขา วิสุทธิมรรคก็ไตรสิขา ต่างกันก็ที่อธิบายเนี่ย ของพระพุทธโฆษาจารย์ก็เป็นวิสุทธิมรรค อันนี้วิมุตติมรรคก็หมายไป แล้วไปเจอในภาษาจีนที่ว่า เอาล่ะนะให้รู้คร่าวๆ ว่า อันนี้ยังไม่อธิบายเพราะถือว่า เป็นคัมภีร์ที่กลายเป็นอาคันตุกะแล้วตอนนี้ ไว้รอดจากช่วงนี้แล้วค่อยอธิบาย อย่างนี้เป็นต้น ก็ให้ท่านรู้เข้าใจเรื่องราวเหล่าเนี่ย แล้วก็ในหนังสือ อย่างพจนานุกรมประมวลศัพท์ที่แย่งเวลามารีบชำละตอนนี้หน่อยนึง ก็เอาภาษาไทย คำไทย ออกไป ๒๕ คำ ทิ้งเลย ทำไมล่ะ ก็อธิบายไว้แล้ว แต่ว่ายากที่ใครจะได้อ่าน คือหนังสือพจนานุกรมเนี่ย ตอนแรกทำขึ้นมุ่งสำหรับผู้เรียนระดับต้น ในพวกนักธรรม นี่ในหนังสือนักเรียนนักธรรมนี้ก็มีภาษาเก่าๆ คำไทยเก่าๆ คนสมัยนั้นอาจจะไม่เข้าใจ อธิบายก็ไม่เหมือนสมัยนี้ อะไรอย่างนี้ ก็เลยเอาติดเข้ามาด้วย ตอนนี้หนังสือนี้ขยายขอบเขตกว้างออกไปแล้วนะ คำไทยที่ไม่ใช่คำธรรมวินัยก็ทิ้งไป ก็เอาออกทิ้งไป ๒๕ คำ แล้วก็เอา คำที่เป็นคำพระ คำบาลี คำธรรมะ เข้ามา แต่ถ้าเป็นคำบาลีแท้ก็ไม่เอานะ วิธีเรียนบาลี เป็นเรื่องนายช่างไม่เอาหรอก เนี่ย เช่น เรื่องคัมภีร์กัจจายนะ โมคคัลลายนะไม่เอาแล้ว นอกจากนั้นก็คำบาลี อย่าง ?? โยค อะไรไม่เอาทั้งนั้น มันเป็นเรื่องของพวกที่เรียนบาลี แล้วอย่างท่านถาม ??????? มันเป็นเรื่องของอาจารย์บาลีจะไปอธิบายให้ฟัง ทางพจนุกรมเนี่ยไม่มี ที่จริงมันชัดอยู่แล้ว แต่เราไปติดคำว่า เลีย เท่านั้นเอง คือคำว่า นินเลหะ มันเป็นกิริยาของการปาด ปาดของเหลวที่มันอยู่ติดพื้นผิว ที่นี้การปาดมันปาดด้วยอะไรก็ได้ ฉะนั้นในคัมภีร์เนี่ยท่านมีอธิบายแหละ ชิวหา ยะ โอฏโฐ นินเล หิตะ โผ บอกว่า ริมฝีปากพึงปาดด้วยลิ้น ที่นี้บอกว่า อังคุริยา ปัตโต นินเล หิตโผ บอกว่า บาตรพึงปาดด้วยนิ้ว นี้กิริยามันก็ปาดเหมือนกันแหละ แต่สำหรับปาดด้วยลิ้นเนี่ย คำไทยเรามีพิเศษให้ เรียกว่า เลีย ที่นี้พอเราติดคำว่าเลีย เราก็นึกเออะ เราไปเลียบาตรได้ไงอะ เปล่ามันปาด มันไม่ใช่เลีย ที่นี้ก็ไปปาดด้วยนิ้วสิ ท่านก็บอกแล้วนะ อังคุริยา ปัตโต นินเล หิตโผ พึงปาดบาตรด้วยนิ้ว ไม่ใช่ไปเลียบาตรด้วยนิ้ว ไม่งั้นก็เอานิ้วเลียบาตรสิ ใช่ไหม ปาดริมฝีปาก โอษโฐ ด้วยลิ้น ปาดด้วยลิ้น แต่คำว่าปาดด้วยลิ้นเนี่ย ภาษาไทยมันมีแล้ว เรียกว่า เลีย ก็เลยเอาคำว่า เลีย แต่ที่นี้อย่าไปติดคำว่า เลีย สิ เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมาก เข้าใจแล้วก็หมดเรื่อง เป็นเรื่องของอาจารย์ไวยากรณ์ต้องอธิบายให้ฟัง อย่างนี้เป็นต้น ก็เลยอธิบายให้ฟัง อย่างคำไทยที่เป็นคำพระ อย่าง ตรัสรู้ ก็อธิบายให้เข้าใจสักที เดี๋ยวนี้ อย่างพจนานุกรมราชบัณฑิตเนี่ย ท่านก็อธิบาย เห็นใจท่าน ท่านก็อธิบายไปตามที่คนเข้าใจปัจจุบัน อย่าง มานะ เนี่ย ก็อธิบายเป็นเพียรพยายาม พากเพียร ไรต่อไร ก่อน ตามแบบคนไทยเข้าใจ แล้วจึงไปลงท้ายว่า ความถือตัว แต่ที่นี้ถ้าให้ดี พจนานุกรมก็น่าจะแยกเลย บอกว่าภาษาไทยเดี๋ยวนี้เข้าใจงี้ ตัวบาลีเดิมอย่างงี้ คนก็จะแยกได้ อย่างตรัสรู้ท่านก็บอกว่า ตรัสรู้ ก็คือรู้แจ้ง แล้วก็วงเล็บว่าเฉพาะพระพุทธเจ้า อันนี้ก็เป็นความเข้าใจปัจจุบัน คำว่าพระพุทธเจ้าเนี่ยก็ยังตีความได้อีก หมายถึงพระพุทธเจ้าในที่นี้เฉพาะพระพุทธเจ้าเนี่ย หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นใช่ไหม แล้วพวกปัจเจกพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ได้ไหม เออ เอาอีกแหละ เกิดปัญหาอีกแหละ เอ้าก็ใช้ได้นิ พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ใช้ตรัสรู้ เอ้าแต่มันไม่ใช่เท่านั้น ที่จริงคำไทยเราก็ต้องไปดูต้นต่อที่เค้าบัญญัติไว้ เราไปดูหนังสือเก่า ตรัสรู้ เนี่ย ก็ถอยไปดูปฐมสมโพธิของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส พ.ศ. ๒๓๘๗ ตั้งกี่ปีแหละ เป็นร้อยปีแหละ นั้น ปฐมสมโพธิกถาเต็มไปหมด ตรัสรู้ พระสาวกตรัสรู้ทั้งนั้น พระสารีบุตรพิจารณามอง ท่านคิดว่า เออโยมแม่โยมมารดาของเราเนี่ยจะมีปัญญาพอตรัสรู้ไหม ท่านใช้คำนี้นะ อย่างเนี่ย แล้วท่านใช้ทั่วไปหมด ทุกคนเลย ตรัสรู้ ตรัสรู้หมด ก็หมายความว่าตรัสรู้ รู้พิเศษรู้แจ้งจริง ไม่ใช่รู้อย่างคนธรรมดา รู้อริยสัจถึงขึ้นบรรลุมรรคผล เรียกว่า ตรัสรู้ เพราะฉะนั้นในหนังสือเก่า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเนี่ยก็ใช้ตรัสรู้ทั่วไปหมด มาสมเด็จสังฆราช (สา) ก็มาเป็นปฐมสมโพธิที่ใช้เรียนนักธรรมด้วย ในนั้นก็ตรัสรู้ทั้งนั้น ตรัสรู้มรรคผลของคนทั่วไปทุกคน งั้นตอนเนี่ยเรายอมให้แก่พวกที่เข้าใจตามพจนานุกรมบ้าง ตามที่คนปัจจุบันพูดกัน แต่เอาจริงต้องไปดูต้นตอ เค้าเป็นต้นทางของการบัญญัติคำนี้ เพราะงั้นก็ต้องฟื้นให้เข้าใจว่า ที่ท่านเรียกตรัสรู้ เพราะรู้แจ้ง รู้อริยสัจ รู้ถึงขั้นบรรลุมรรผล เท่านั้นเอง ไม่ใช่ว่าเพราะเป็นพระพุทธเจ้าแล้วจะใช้ ตรัสรู้ องค์อื่นแล้วไม่ตรัสรู้ พระองค์อื่นก็กลายเป็นรู้อย่างคนธรรมดา ใช่ไหม อย่างนี้เป็นต้น เนี่ยก็เลยต้องอธิบาย ตรัสรู้ ให้เห็นความหมายของท่านว่ามันยังไง อย่างนี้เป็นต้น ก็เลยเอาคำพวกนี้มาให้เห็น เป็นคำสามัญ ก็เป็นอันว่า พจนานุกรมพุทธศาสน์ประมวลศัพท์คราวนี้ กลายเป็นว่าเพิ่มอีก ๕๐ หน้า ก็กลายเป็นไม่ใช่น้อยเลย อีก ๕๐ หน้า ก็ยังอีกตั้งเยอะต่อไป ถ้ารอดจากตามพระใหม่ไปเรียนธรรม จะได้มาเพิ่มเติมอีก เนี่ย พูดไปจนเสียงดังเลย ตอนแรกมาแทบไม่มีเสียง ก็จะป็นอย่างเงี้ย พอกลับไปต่อที่เนี่ย ท่านที่อยู่ใกล้ ตั้งแต่พรุ่งนี้อาจจะรู้ผลแล้ว ว่าจะเป็นยังไง ก็ลองทดสอบดูก็ได้ ก็ดูต่อไปว่าจะเป็นไง แต่ว่าเอาเป็นว่าถ้าเผื่อว่าพูดกันไม่ค่อยได้บ่อย ก็เอาเรื่องเนี่ย ขอให้ทำให้ได้จริง แล้วจะเป็นประโยชน์มาก เป็นประโยชน์แก่ทั้งต่อตนเองและแก่พระศาสนา ถ้าได้อย่างนี้นะพระพุทธศาสนามีทางฟื้น มิฉะนั้นมันจะน่ากลัว สภาพปัจจุบันเนี่ย น่ากลัวมาก เพราะผู้เรียนก็ไม่ได้ใส่ใจ ใช่ไหม เรียนประโยค ๓ ประโยค ๔ เราเรียนอะไร แปลอะไรเนี่ย มันอยู่ที่ไหน มันเป็นอะไรก็ไม่รู้ ขอให้แปลได้เท่านั้นเอง แล้วอย่างนี้พระพุทธศาสนาจะไปยังไง เพราะนั้นเอานะ เรื่องเนี่ย เอาให้จริง เรียกว่าเริ่มขึ้นมาเลย รู้จักบ้านของตัวเอง พระไตรปิฎกอรรถกถาที่เป็นตัวหลักเนี่ย พูดถึงปั๊ปเนี่ยรู้เลยอยู่ตรงไหน เป็นอะไร ใช้อะไร ก็ไม่พอสมควรแก่เวลา แต่เลยเวลาแล้ว ไม่ไม่ มีพระธรรมปาละ อย่างปรมัตถทีปนี พระธรรมปาละท่าน ก็มาเรียบเรียงอรรถกถา แล้วฎีกาของอรรถกถาของพุทธโฆษณ์ก็มี เช่นอย่าง ปรมัตถมัญชุสา อธิบายฎีกาของวิสุทธิมรรคเนี่ย ก็พระธรรมปาละเป็นผู้เรียบเรียง พระธรรมปาละนี้เรียบเรียงหลายอรรถกถา เป็นเรียกว่ารองจากพระพุทธโฆษาจารย์ แล้วมีมหานามะอีก มีอีกหลายองค์ อุ้ย ในสมัยหลังไม่รู้กี่สิบรุ่น มันเลยไปแหละ รุ่นหลังเนี่ยมันเป็นคัมภีร์เป็นร้อยๆ แล้ว เพราะฉะนั้นอภิธานปัปทีปิกา มันก็หลังมากแล้ว อย่างอภิธานปัปทีปิกาฏีกาเนี่ย แต่งเข้าไปได้อยู่ บอกอธิบายไตรทิพย์ ?? ไตรทิพย์ก็คือสวรรค์ สวรรค์นัยนึงก็ดาวดึงส์ก็ได้ อธิบายสวรรค์ ไตรทิพย์อะ หรือบางทีก็หมายถึงสวรรค์ทั้งหมด นี้อภิธานปัปทีปิกาฎีกา ท่านก็อธิบายหลายนัย นัยนึงท่านก็บอกว่า ติทิวะ คือ ไตรทิพย์เนี่ย แปลว่าดินแดนเป็นที่บรรเทิงของเทพสามท่าน ติ สามเทวดา คือ พระพรหม พระหริ พระหระ หริคือใคร หริก็พระวิษณุ กฤษณะ แล้วหระ พระนาราย์กับพระอิศวร ก็คือตรีมูลติของพรหมณ์เขา นี่เทพสามองค์เนี่ย คือแต่ก่อนในยุคพุทธกาลก็มีพรหมองค์เดียวใหญ่ที่สุด ส่วนนอกนั้นก็เป็นเทพเล็กๆ ที่นี้หริหระก็เป็นชื่อของพระนาราย์กับพระอิศวร ยุคหลังพุทธกาลหลายร้อยปี นี้คัมภีร์อภิธานปัปทีปีกาฎีกาเนี่ย ท่านแต่งหลายร้อยปีหลังพุทธกาลเยอะแยะ ท่านก็ไปอธิบายไตรทิพย์ความหมายหนึ่งว่า เป็นที่บันเทิงของเทพสามเนี่ยก็คือ พรหมหริหระ ก็คือเทพสามของฮินดู ก็กลายเป็นพระพรหม พระนาราย์ แล้วพระอิศวร ก็กลายเป็นเรื่องฮินดูไป อย่างนี้เป็นต้น อธิบายก็ ท่านอาจจะนึกสนุกขึ้นมา อย่างนี้เป็นต้น ก็เราก็ต้องรู้ว่าคัมภีร์อะไรเกิดสมัยไหน ไปมาอย่างไร เอาล่ะ เป็นอันว่าเลยเวลา ก็ลาจริงๆ