แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ทำไมจึงไม่ตอบเพราะว่า ขอขมาบุรุษผู้หนึ่งถูกคนเขาเอาลูกศรอาบยาพิษมายิง ลูกศรอาบยาพิษก็เสียบตัวอยู่ พวกญาติมิตรก็ไปตามหมอมาเป็นหมอผ่าตัด หมอผ่าตัดก็จะผ่าตัดเอาลูกศรอาบยาพิษออก บุรุษผู้นี้ก็บอกอย่าเพิ่ง อย่าเพิ่ง เดี๋ยวก่อน ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้ท่านผ่าตัดเอาลูกศรออกจนกว่าข้าพเจ้าจะรู้ว่าใครเป็นคนยิงข้าพเจ้า คนที่ยิงข้าพเจ้านั้นชื่ออะไร อยู่ที่หมู่บ้านไหน เป็นคนวรรณะใด ใช้ลูกศรชนิดใดยิง เป็นเกาทัณฑ์หรือว่าเป็นธนู แล้วเป็นทำด้วยอะไร วัสดุที่ทำไอ้อะไรเขาเรียกว่า ตัวธนู คันธนูนั้นทำด้วยไม้อะไร สายมันทำด้วยวัสดุอะไร ขนนกที่ผูกปลายมันทำด้วยขนนกอะไรอ่ะ ถ้าไม่รู้ข้าพเจ้าไม่ยอมให้ถอดลูกศรออก ถ้าหากว่าอย่างนี้แล้วบุรุษต้องตายเสียก่อนเป็นแน่ไม่มีทางได้รู้ด้วยแล้วตัวเองก็ต้องตายด้วย นั้นสิ่งที่จะต้องทำคืออะไรต้องทำเบื้องแรกก่อนคือถอนลูกศรออก แล้วเรื่องจะรู้ว่าใครอะไรต่าง ๆ ก็ว่ากันอีกที อันนี้ฉันใดสิ่งที่เราสอนก็คือนี่แหละคือปัญหาของมนุษย์การแก้ปัญหานี้ ไอ้ส่วนปัญหาที่ท่านถามมานั้นยังไม่เป็นประโยชน์ยังไม่ตอบ อันนี้คือหลักที่เราเรียกว่าการสอนความจริงที่เป็นประโยชน์ การอาตมากล่าวมานี่ยกเป็นตัวอย่างบางข้อให้เราเข้าใจลักษณะทั่วไปของพุทธศาสนา
ทีนี้ฟังแล้วก็อย่าเพิ่งด่วนว่าเหมือนกับวิทยาศาสตร์หรือไม่เหมือน เพราะบางข้ออาจจะเหมือนแต่ในความเหมือนอาจจะมีความไม่เหมือนอยู่ด้วย ทีนี้เราก็มาลองวิเคราะห์ดูในบางเรื่องบางอย่างตามหลักการพื้นฐานนั้น เป็นข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์และศาสนาต่าง ๆ ด้วย ก็เริ่มตั้งแต่เรื่องศรัทธาเพราะเมื่อกี้นี่บอกว่าในพุทธศาสนานั้นได้ย้ายจากศรัทธามาสู่ปัญญาแล้ว พระศาสนาต่าง ๆ นั้นเอาอารมณ์เป็นตัวนำเข้าสู่จุดหมายเน้นเรื่องอารมณ์จะต้องให้เกิด Emotion แต่พระพุทธศาสนานั้นไม่เอา Emotion เป็นตัวหลักแต่มุ่งที่ตัวปัญญา นั้นในเมื่อเอา Emotion เป็นตัวนำศาสนาต่าง ๆ ก็จะเน้นศรัทธา เพราะศรัทธานั้นเป็นเรื่อง Emotion มาก ศรัทธาก็เป็นหลักการสำคัญขั้นสุดยอด แต่พุทธศาสนามาเน้นปัญญา ปัญญาเป็นตัดสินในการที่จะเข้าถึงจุดหมายแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ ที่นี้แต่ว่าศรัทธาก็ยังมีบทบาทสำคัญอยู่ในพุทธศาสนาเหมือนกันหมายความว่าในระบบการปฏิบัติและคำสอนพุทธศาสนาก็ยังมีศรัทธาอยู่ แต่ศรัทธานั้นได้เปลี่ยนบทบาทไปเปลี่ยนความสำคัญไป เช่นเดียวกับที่ว่าในวิทยาศาสตร์ก็ยังต้องมีศรัทธา อย่างทีอาตมากล่าวเบื้องต้นแล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องอาศัยศรัทธาในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ศรัทธาก็มีบทบาทสำคัญในวิทยาศาสตร์แล้วเป็นตัวนำหลักผลักดันให้วิทยาศาสตร์ก้าวไปในการค้นคิดสืบสาวหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ต่อไป แต่นี้เราจะเข้าใจเรื่องศรัทธาได้ชัดเจน เราจะต้องแบ่งศรัทธา ถ้าโดยคร่าว ๆ แล้วศรัทธานี้หรือความเชื่อนี้จะมี 2 ประเภท ศรัทธา 2 ประเภทคืออะไร เอาแบ่ง
อย่างง่ายที่สุด ศรัทธาประเภทที่หนึ่ง เป็นศรัทธาแบบปิดกั้นปัญญา คือให้เชื่อ พอเชื่อแล้วก็มอบความไว้วางใจให้สิ้นเชิง ห้ามถามห้ามสงสัยคอยรอทำตามจะเป็นอย่างนี้ ศรัทธามีไม่น้อย พอเชื่อไหม พอเชื่อแล้วอย่าถามต่อไปนี้ห้ามสงสัย แล้วก็รอทำตามฉันก็แล้วไป อันนี้ศรัทธาประเภทที่หนึ่ง ศรัทธาประเภทนี้ไม่ทำให้สืบค้นทางปัญญาต่อไป นี้ศรัทธาในศาสนาต่าง ๆ นี้จะเน้นแบบนี้ เมื่อเชื่อแล้วก็ต้องคอยรอทำตามว่ายังไงก็อย่างนั้น นั้นหลักการในพุทธศาสนาแบบนี้จึงเรียกว่า Dogma คือสิ่งที่ต้องถือปฏิบัติตามยึดมั่นโดยไม่ต้องถามหาเหตุผล ที่นี้ในพุทธศาสนานี่เขาเรียกว่าเป็นศาสนาที่ไม่ Dogma นี้ศรัทธาแบบที่ 2 คือศรัทธาแบบสื่อนำสู่ปัญญา ศรัทธาสื่อนำสู่ปัญญาเป็นยังไง คือความเชื่อนั้นเป็นตัวชักนำให้สนใจ เริ่มต้นอย่างนี้เลยเราสนใจเรื่องอะไรเพราะเรามีศรัทธาในเรื่องนั้น เพราะสิ่งทั้งหลายในโลกนี้มันมีมากมายเราจะไม่มีจุดเริ่มต้น ศรัทธาเป็นตัวที่ทำให้เรามีจุดเริ่มต้น ศรัทธาทำให้เรามีความสนใจเข้าหาแม้แต่ศรัทธาในคนก็เพื่อจะได้ไปซักถามเขา อย่างที่ศรัทธาในพระเพื่อจะเข้าไปหาแล้วไปถามท่านเพื่อรู้เข้าใจความจริงยิ่งขึ้นไป ถ้าเป็นศรัทธาแบบว่าเพื่อไปให้ท่านให้อะไรสักอย่างแล้วจบเท่านั้น นั่นไม่ใช่ศรัทธานำไปสู่ปัญญา ศรัทธาในสมัยพุทธกาลอย่างพระสารีบุตรเห็นพระอัสชิเดินมาเกิดความเลื่อมใสเข้าไปหานั้นเป็นศรัทธาแบบนี้ จะเห็นว่าศรัทธาหรือปสาทะ เป็นตัวที่ต้องการทำให้เข้าไปหาแล้วก็จะได้ถามหาความรู้ต่อไป นั้นศรัทธาก็เป็นตัวทำให้สนใจเข้าไปหาเริ่มต้นสืบสาวหาความรู้ในเรื่องนั้นและมีจุดที่จะคิดค้นอย่างจริงจัง พอเราศรัทธาในเรื่องใดแล้วก็จะคิดค้นในเรื่องนั้นอย่างจริงจัง ประเด็นนั้นจะเป็นประเด็นหลักของเราในการคิดค้น เช่นนักวิทยาศาสตร์เชื่อเรื่องอะไรว่าเป็นอย่างนั้นแกก็คิดกันยกใหญ่เลยทำให้ไม่ส่ายไม่พล่าในกระบวนการหาความจริง นั้นเราจะต้องแยกศรัทธาให้ถูก
ทีนี้ศรัทธาในพุทธศาสนามีบทบาทก็คือศรัทธาเป็นสื่อนำสู่ปัญญาก็เลยกลายเป็นว่าศรัทธานี้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นตัวรองที่จะเป็นตัวนำสู่ปัญญาแล้วปัญญาเป็นตัวเด่นขึ้นมา นี้เป็นอันว่าในพุทธศาสนากับในวิทยาศาสตร์นี้ศรัทธาเป็นประเภทที่ 2 คือศรัทธาแบบสื่อนำสู่ปัญญา นี้ัยังมีลักษณะที่เราจะต้องเข้าใจต่อไปอีก ศรัทธาในพุทธศาสนาถ้าเราดูระบบกระบวนการปฏิบัติก็จะเห็นลักษณะศรัทธานี้ชัดเจน ลักษณะของศรัทธาในพุทธศาสนาให้เราดูได้จาก 1 จุดหมายของพุทธศาสนาคืออะไร จุดหมายพุทธศาสนาคือวิมุต ความหลุดพ้นหรือเราเรียกปัจจุบันว่าอิสรภาพ พุทธศาสนาต้องการให้มนุษย์ไปสู่อิสรภาพ ความหลุดพ้นจากกิเลสในความทุกข์ ซึ่งในความหลุดพ้นนี้ก็จะสำเร็จได้ด้วยอะไร ความหลุดพ้นเป็นอิสระนี้สำเร็จได้ด้วยปัญญาคือเข้าใจความจริง รู้เข้าใจกฎธรรมชาติจนกระทั่งว่าพระสาวกก็รู้เหมือนอย่างองค์พระศาสดาแล้วไม่ต้องขึ้นต่อองค์พระศาสดาต่อไป พระพุทธเจ้าเคยถามพระสารีบุตร สารีบุตรเธอเชื่อไหมว่าอันนั้น อันนั้น เป็นอย่างนั้นอย่างนั้น พระสารีบุตรบอกว่าข้าพระองค์เห็นว่าเป็นอย่างนั้น บอกที่เธอว่าอย่างงั้นเพราะเชื่อในเราใช่หรือไม่ พระสารีบุตรบอกหามิได้ มิใช่เพราะข้าพระองค์เชื่อต่อพระองค์ แต่เพราะว่าข้าพระองค์ก็ได้เห็นเองว่าเป็นอย่างไร นี่ นี่คือหลักการในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้านี้ไม่ต้องการให้ใครนี่มาผูกติดพระองค์เลย แม้แต่ว่าศรัทธาในตัวบุคคล คือว่าต้องการให้ทุกคนเป็นอิสระ ทีนี้ เพราะฉะนั้นวิมุตจุดหมายพระพุทธศาสนาความเป็นอิสระสำเร็จได้ด้วยปัญญาคือการรู้ความจริง แต่ปัญญานั้นจะเกิดขึ้นได้บางคนมีความคิดที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ มีการคิดเป็นไม่ต้องอาศัยศรัทธา แต่คนส่วนใหญ่แล้วต้องอาศัยมีสื่อมีจุดเริ่มก็จึงต้องอาศัยศรัทธา นั้นมันก็เลยไปตามกันว่าวิมุตเป็นจุดหมายบังคับให้ต้องมีปัญญา ปัญญาเป็นตัวสำคัญจะให้ถึงจุดหมายบางทีต้องอาศัยศรัทธา ก็เลยเป็น 3 ขั้นตอน ศรัทธาปัญญาวิมุต ในกระบวนการของการเข้าถึงความจริง ศรัทธาเป็นตัวเริ่มต้นนำเข้าสู่ปัญญา แล้วปัญญาเป็นตัวนำไปสู่วิมุต อันนี้ก็เป็นตัวกำหนดลักษณะของศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างที่ว่าแล้วเพราะมันสัมพันธ์กับปัญญาและวิมุดสถานะจึงมีลักษณะที่ 1 คือเป็นตัวสื่อนำสู่ปัญญา แล้วลักษณะที่ 2 คือเป็นศรัทธาที่พ่วงมากับความเป็นอิสระ นั้นศรัทธาในพุทธศาสนานี้จะเป็นแบบว่าไม่ไปเอาชีวิตของตนไปขึ้นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะต้องถือมั่นเป็นอย่างนั้นโดยที่ว่าถูกกำหนดมาอะไรทำนองนั้น อ้าวแล้วที่นี้ นี่ก็เป็นการที่ให้เราเข้าใจลักษณะทั่วไป
ทีนี้ต่อไป ทีนี้ทางพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ก็มีศรัทธาที่มีปัญญาชนิดสื่อนำสู่ปัญญาที่นับได้ว่าเหมือนกันเป็นจุดเริ่มนำไปสู่การแสวงหาความรู้ที่จะเข้าถึงความจริง ที่นี้ไอ้ศรัทธาที่ว่านี้ เราก็จะให้คำจำกัดความอีกทีหนึ่ง ศรัทธานี้คืออะไร ศรัทธาที่เป็นตัวนำสู่ปัญญา ศรัทธานี้ถ้าเราพูดโดยโยงไปหาหลักที่พูดมาแล้วก็จะบอกว่า ศรัทธาที่ว่าที่นำไปสู่ปัญญานี้ก็คือความเชื่อมั่นในธรรมชาติหรือจักรวาลนี้ว่ามีกฎเกณฑ์แห่งธรรมดาที่แน่นอนสม่ำเสมอ ก็คือเชื่อในกฎธรรมชาตินั่นเองพูดง่าย ๆ ความเชื่อในกฎธรรมชาติที่มนุษย์จะสามารถเข้าถึงได้ด้วยปัญญา อันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราแสวงหาความจริง เพราะว่าตัวตัดสินก็คือการที่เราจะต้องรู้เข้าใจกฎธรรมชาติ อันนี้เอาแล้ว ตอนนี้ก็เหมือนกับว่าศรัทธาในพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์นี้เหมือนกัน คือต่างก็มีศรัทธาที่เชื่อในกฎธรรมชาติต้องการความรู้ความจริงในกฎธรรมชาติ
แต่จากจุดนี้ไปพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ก็เหมือนจะแยกกันอีกแล้ว แยกกันอย่างไร ศรัทธาของวิทยาศาสตร์แบบเดิม แบบเดิมสุดก็มุ่งเพื่อความรู้เท่านั้น มุ่งเพื่อความรู้ลอย ๆ ไม่รู้แหละความรู้นั้นจะเป็นยังไงฉันจะเอาความรู้ ความรู้ในกฎธรรมชาติโดยไม่มีคุณค่าไม่มีจุดมุ่งหมาย ปล่อยปลายเปิดไว้ อันนี้คงจะเข้าใจเพราะเราพูดเรื่องนี้กันมาแล้ว คือศรัทธาในวิทยาศาสตร์พูดอีกภาษาหนึ่งก็เป็นศรัทธาที่ไม่ครบวงจร เป็นศรัทธาปลายเปิด บอกให้รู้กฎธรรมชาติรู้ความจริงในกฎธรรมชาติก็แล้วกัน แต่รู้ไปทำไมไม่บอก นี้เพราะวิทยาศาสตร์แบบเดิมทีวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แท้ ๆ เนี่ยมีศรัทธาเชื่อในกฎธรรมชาติแบบนี้ แล้วก็มีความใฝ่รู้ในความจริงของธรรมชาติแบบนี้ มันก็เลยทำให้เกิดการชักพาให้ไขว้เขวไปสู่การที่ต้องการจะคิดพิชิตธรรมชาติการที่จะไปหาวัตถุธรรมพรั่งพร้อมบำรุงลบำเรอตนนี่ที่ปลายเปิดไว้ มันมีโทษอย่างนี้ ไอ้พวกนั้นก็เข้ามาทีหลัง
ทีนี้ศรัทธาของพุทธศาสนาจะต่างออกไป คือศรัทธาในพุทธศาสนานี้จะมีจุดสำคัญ 2 จุด ศรัทธาในวิทยาศาสตร์จะมีจุดเดียวคือศรัทธาในกฎธรรมชาติความเชื่อในกฎธรรมชาติ ศรัทธาของพุทธศาสนามี 2 จุดคือ 1 ตัวธรรมชาติ 2 มนุษย์ จุดของศรัทธา 2 ตัว จุดที่ 1 คือความเชื่อในกฎธรรมชาติคล้ายกันมาก คือความเชื่อในกฎธรรมชาติความเชื่อในความเป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสิ่งทั้งหลายนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัย ต่อไปเป็นความเชื่อเกี่ยวกับตัวมนุษย์ คือความเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่ามนุษย์นี้เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนพัฒนาแล้วจะสามารถเข้าถึงชีวิตที่ดีงามสูงสุดถึงอิสรภาพได้ แล้วศรัทธาในเรื่องมนุษย์นี้มันก็จะแยกเป็น 2 ส่วน ในตัวมนุษย์แล้วก็ในสังคมมนุษย์ ในสังคมมนุษย์ก็คือการเชื่อในหมู่ชนหรือในสังคมของมนุษย์ สังคมของมนุษย์ที่พัฒนาตนได้ ซึ่งเป็นที่ปรากฏแห่งความรู้ในกฎธรรมชาติที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้จิงจัง หมายความว่ามันจะเชื่อมต่อไปยังกฎธรรมชาติว่าเรานำเอากฎธรรมชาติหรือความรู้ในกฎธรรมชาตินั้นมาใช้ในการพัฒนามนุษย์สร้างสังคมมนุษย์ที่พัฒนาตนขึ้นมาได้ แล้วหมู่มนุษย์ที่พัฒนาตนตามหลักความรู้ในกฏธรรมชาตินี้ก็จะเป็นทั้งที่ปรากฏผลแห่งการใช้ความรู้ในกฎธรรมชาตินั้น แล้วเป็นที่ดำรงความรู้ในกฎธรรมชาตินี้ไว้ให้ปรากฏแก่มนุษย์รุ่นต่อ ๆ ไป นี่คือความเชื่อในสงฆ์ ก็คือพระรัตนตรัย เพราะฉะนั้นหลักศรัทธาในพุทธศาสนาก็แปลกจากวิทยาศาสตร์ที่ว่ามีจุดสำคัญที่เป็นเป้า 2 จุด ของวิทยาศาสตร์มีจุดที่ธรรมชาติ ของพระพุทธศาสนามี 2 จุดคือธรรมชาติกับมนุษย์ เพราะว่าพุทธศาสนานี้เป้าหมายนั้นต้องการที่จะเอามาใช้กับตัวมนุษย์ไม่ใช่เป็นความรู้ลอย ๆ เอาอันนี้จะทิ้งไว้แค่นี้ก่อน ให้เห็นพอเป็นเค้า ๆ แล้วสิ่งเหล่านี้จะต้องมาพูดโยงกันต่อไปอีก
ทีนี้อีกอันหนึ่ง ที่อาตมาเคยพูดไว้ก็คือความใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติ ความใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติหรือใฝ่รู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย อันนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญทั้งในพุทธศาสนาและวิทยาศาสนค์ ทีนี้อาตมาได้พูดไปแล้วว่าความใฝ่รู้ในพุทธศาสนาในนั้นน่ะมันมี 2 ส่วนมาบรรจบกัน เมื่อกี้นี้เรายังไม่ได้แสดงความบรรจบแต่เราพูดทิ้งไว้
อันที่ 1 คือความใฝ่รู้ความจริงในธรรมชาติ
อีกอันหนึ่ง ความใฝ่ปรารถนาความไร้ทุกข์ ใช่ไหมเจริญพร
2 อันนี้ ที่นี้ 2 อันนี้ก็ต้องมาบรรจบกัน พอมันบรรจบแล้วมันทำให้ความใฝ่รู้นั้นมีขอบเขตและเป้าหมายที่ชัดเจนเพราะมันกลายเป็นความใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติเพื่อนำมาแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ให้ไร้ทุกข์ อันนี้ก็คือตัวจุดพุทธศาสนา เมื่อความใฝ่รู้ 2 อันมาบรรจบกัน ทีนี้ไอ้ 2 อันก็ทำให้เกิดวงจรแล้วก็เกิดความสมาดุลคือความพอดีมีขอบเขตที่ชัดเจนว่าเราจะรู้ธรรมชาติแล้วเอาความรู้นั้นมาใช้ประโยชน์แค่ไหน ใช้เพื่อจะแก้ปัญหามนุษย์พัฒนามนุษย์หรือจะใช้สำนวนอื่นก็ได้ บอกเพื่อสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงามเป็นมีประโยชน์สุขอะไรก็แล้วแต่ ก็ชอบสำนวนก็ความหมายเดียวกัน แต่มันจะมีความหมายที่ว่าโยงมาหามนุษย์ด้วย แล้วมีขอบเขตว่าเราจะใช้แค่ไหน เอ้าทีนี้ก็จะเรียกว่ามีความสมดุลในการกระทำต่อธรรมชาติกับการกระทำต่อตนเอง คือการพัฒนาตนของมนุษย์ ทีนี้ส่วนฝ่ายวิทยาศาสตร์นั้นเดิมมีแต่ความใฝ่รู้ความจริงอย่างที่ว่าแล้ว ลอยตัวอยู่ลำพัง เมื่อเป็นความใฝ่รู้ความจริงในธรรมชาติลอย ๆ ก็มันก็จะได้องค์ความรู้เรื่อย ๆ ไป ไม่รู้ความรู้นั้นเพื่ออะไรก็หาความรู้ไปก็แล้วกัน
ซึ่งเราก็จะเห็นว่าการหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์นี่ปลายเปิด คือไม่รู้หาความจริงไปเรื่อย ๆ อยากรู้ความจริงที่อยู่เบื้องหลังธรรมชาติ ทีนี้เพราะความใฝ่รู้แบบนี้ที่ปลายเปิดนี้ไม่มีเป้าหมายชัดเจนก็เป็นช่องให้มีการนำเอาเป้าหมายอื่นมาเติมต่ออย่างที่ว่ามาแล้ว เป้าหมายอื่นที่มาเติมต่อก็ได้พูดมาแล้วอันที่ 1 ก็คือความใฝ่ปรารถนาดีที่จะพิชิตธรรมชาติแล้วต่อมาก็ความใฝ่ปรารถนาที่จะมีวัตถุปรนเปรอพรั่งพร้อม แล้วเจ้า 2 อันนั้นก็มาบรรจบกันอีก เสร็จแล้วความใฝ่รู้ของวิทยาศาสตร์มันก็เลยไปเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายของการพิชิตธรรมชาติและหาวัตถุบำรุงบำเรอปรนเปรอ ก็เลยเราก็มีเป็นความใฝ่รู้ 2 แบบ แบบพุทธศาสนากับแบบวิทยาศาสตร์ แต่ของวิทยาศาสตร์ก็ได้ความหมายขึ้นมาว่าเป็นการใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติเพื่อเอาชนะธรรมชาติหรือจัดการธรรมชาติให้สนองรับใช้ความต้องการของมนุษย์ หรือว่าพร้อมทั้งการจัดการกับธรรมชาตินั้นเพื่อให้มนุษย์ได้มีความสุขด้วยการมีสิ่งบำเรอพรั่งพร้อมเต็มที่ อันนี้ก็เป็นเหตุต้นเหตุที่นำมาสู่ปัญหาธรรมชาติแวดล้อมที่เป็นอยู่ อันนี้คือแนวความคิดในยุคอุตสาหกรรมที่เข้ามาครอบงำวิทยาศาสตร์และปัจจุบันนี้เรากำลังประสบปัญหาจากอันนี้ นี่คือข้อสรุป
เดี๋ยวนี้เรากำลังประสบปัญหาธรรมชาติแวดล้อมอะไรต่ออะไรนี่มาจากแนวคิดที่จะพิชิตธรรมชาติ เพื่อที่จะปรุงแต่งสิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอตนของมนุษย์ให้พรั่งพร้อม เพราะเห็นว่ามนุษย์มีความคิดแบบนี้ทำให้ไม่มีขอบเขตของการกระทำที่ชัดเจน มันการกระทำที่ไม่พอดีก็เกิดขึ้นเพราะไม่รู้จะเอาแค่ไหน หาความสุขพรั่งพร้อมก็ไม่มีที่สิ้นสุด พิชิตธรรมชาตก็ไม่มีที่สิ้นสุดก็จัดการกันเรื่อยไป ฉะนั้นปัญหามันก็ต้องเกิดขึ้น อันนี้ก็คือจุดแยกระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ อ้อเจริญพร อ้อยังไม่หมดเวลา ทีนี้ต่อไปยังมีอีกหลายหัวข้อคนไม่ทราบจะไหวหรือเปล่า ทีนี้หัวข้อต่อไปอาจจะพูดอีกสักหัวข้อแล้วก็พักกันหน่อย ที่นี้เมื่อกี้นี้พูดถึงจุดร่วมสำคัญของพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ทั้งด้านศรัทธาและความใฝ่รู้เรื่องความเชื่อและความใฝ่รู้แล้ว นี้ตัวต่อไปที่เป็นเป้าของความใฝ่รู้ศรัทธานี้คืออะไรก็ตัวความรู้ไง ตัวความรู้หรือความจริงที่เราใฝ่รู้และศรัทธานั้นก็เพื่อต้องการความจริงหรือความรู้นั้น
แต่ว่าตอนนี้เราก็มาถึงประเด็นเรื่องตัวความรู้หรือความจริงได้แก่ความรู้ในกฏธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้จุดหมายของตนสำเร็จ คือหมายความว่ามนุษย์จะต้องมีความรู้เข้าใจกฎธรรมชาติ ไอ้ความรู้อะไรที่จะทำให้เราได้สำเร็จจุดมุ่งหมายของเรา จุดหมายนี้ก็ขอย้ำอีกทีบอกว่า ฝ่ายหนึ่ง คือฝ่ายพุทธศาสนานั้นความรู้ความจริง หรือความรู้ในกฏธรรมชาติที่จะทำให้จุดหมายสำคัญสำเร็จก็คือการที่จะนำมาแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ให้ถึงความไร้ทุกข์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง คือฝ่ายวิทยาศาสตร์ก็คือการที่ว่า จะเอาความรู้นั้นมาพิชิตธรรมชาติแล้วก็หาความสุขความพรั่งพร้อมบำรุงบำเรอตนเอง ทีนี้เนื่องจากเป้าหมายนี้มันต่างกัน จุดที่เป็นเป้าของความใฝ่รู้ก็ต่างกัน อันนี้เรากำลังจะมาพูดถึงจุดที่เป้าของความใฝ่รู้หรือตัวสิ่งที่เราต้องการจะรู้นั่นเอง ในฝ่ายพุทธศาสนาธรรมชาติที่เป็นจุดเป้าข้อความใฝ่รู้นี้คืออะไรก็คือตัวมนุษย์ เป้าสำคัญของการต้องการความรู้ก็คือต้องการรู้ธรรมชาติของมนุษย์นี่เอง หมายความมนุษย์เป็นตัวเป้าของการใฝ่รู้เป็นตัวความรู้ที่ต้องการ พร้อมทั้งโลกและสรรพสิ่งที่มนุษย์เกี่ยวข้องแต่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง มนุษย์เป็นตัวกำหนด คือหมายความเราจะเอามนุษย์เป็นตัวศูนย์กลาง เพื่อจะศึกษาความจริง ทีนี้ฝ่ายวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เป็นจุดเป้าของความใฝ่รู้นั้น ได้แก่โลกภายนอก โลกแห่งธรรมชาติภายนอกโลกแห่งวัตถุ แม้เข้ามาถึงมนุษย์ก็ศึกษาแต่ชีวิตในฐานะเป็นส่วนของโลกนั้น ไม่ได้ศึกษาตัวมนุษย์ วิทยาศาสตร์ไม่ได้ศึกษาตัวมนุษย์ ศึกษาอาจจะศึกษาชีวิตมนุษย์ ศึกษาชีวิตมนุษย์ในแง่ชีววิทยาที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกภายนอกนั้นเท่านั้น อันนี้ก็เป็นจุดสำคัญเหมือนกันที่จะต้องเข้าใจไว้ เป็นอันว่าตอนนี้จุดเป้าของความใฝ่รู้ของมนุษย์ ของพุทธศาสนา ได้แก่ตัวมนุษย์แล้วฝ่ายวิทยาศาสตร์ได้แก่โลกภายนอก เมื่อมองเอาตัวนี้เป็นข้อพิจารณา เรามองในแง่สัจภาวะ หรือตัวความจริง เราก็มาดูว่าธรรมชาติที่วิทยาศาสตร์ต้องการศึกษา กับธรรมชาติที่พุทธศาสนาต้องการศึกษาเนี่ยมันแค่ไหนเพียงไรกัน เมื่อเทียบกันแล้ว เราก็บอกว่าธรรมชาติที่พุทธศาสนาต้องการศึกษานั้นครอบคลุมกว่า เพราะเอาที่ตัวมนุษย์ทั้งหมด เพราะถือว่ามนุษย์นั้นธรรมชาติที่วิวัฒนาการสูงสุดแล้ว เมื่อมนุษย์เป็นวิวัฒนาการสูงสุดของธรรมชาติ ก็มีความจริงครบทุกระดับขั้นอยู่ในตัวหมด หมายความว่าในตัวมนุษย์นี้มีทั้งฝ่ายวัตถุและฝ่ายนามธรรม ในวัตถุร่างกายก็มีสารมีธาตุอะไรต่าง ๆ โยงไปถึงโลกของธรรมชาติภายนอกหมด แต่ในส่วนโลกธรรมชาติภายนอกไม่มีด้านจิตใจ ด้านคุณค่าอะไรต่าง ๆ ก็มีหมด เพราะฉะนั้นถ้าศึกษามนุษย์แล้วก็ครบ ครอบคลุมความจริงในธรรมชาติทุกอย่างทุกประการ แต่วิทยาศาสตร์นั้นก็จะศึกษาเพียงในระดับขั้นของความจริง เช่น สะสารพลังงาน ชีวิตในแง่ชีววิทยา ในแง่ของวัตถุรูปธรรม ในด้านของจิตใจ Myconsencial Spirit นี่วิทยาศาสตร์ก็ไม่เอาด้วย แต่อย่างที่บอกตอนต้น ตอนนี้กำลังจะก้าวเขามาแล้ว ตอนนี้กำลังเริ่มสนใจแล้ว อย่างที่ว่าคอมพิวเตอร์กำลังจะมีจิตได้หรือไม่เป็นต้น ก็เป็นอันว่าวิทยาศาสตร์ศึกษาจากโลกภายนอกเข้ามา พอถึงตัวมนุษย์วิทยาศาสตร์ก็ศึกษาแต่ชีวิตไม่ศึกษาตัวมนุษย์ วิทยาศาสตร์รู้ธรรมชาติของชีวิตแต่ไม่รู้ธรรมชาติของมนุษย์ อันนี้เป็นลักษณะที่ต่างกัน ธรรมชาติของมนุษย์กับธรรมชาติของชีวิตนี่คนละอย่าง เราจะเอาชีวิตมาครอบคลุมมนุษย์ไม่ได้มันไม่เหมือนกัน
เอาละทีนี้รู้หลักประเด็นสำคัญต่อไปก็ข้อสังเกต ทีนี้ข้อสังเกตที่ 1 ก็คือว่าเมื่อกี้บอกว่าพุทธศาสนานี่เอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง เป็นลักษณะที่ฝรั่งเรียก Man Center พุทธศาสนาเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางโดยตลอดเพื่อประโยชน์แก่มนุษย์ ส่วนวิทยาศาสตร์นั้นสนใจโลกธรรมชาติภายนอกทั่วไป ไม่ได้เอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง แต่ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เติมคุณค่าตามแนวคิดพิชิตธรรมชาติเข้ามาแล้ว แนวคิดพิชิตธรรมชาตินั้นได้ทำให้วิทยาศาสตร์ก็เอามนุษย์เป็นศูนย์กลางเหมือนกัน เอาละตอนนี้เกิดมาบรรจบกันอีกแล้ว เดี๋ยวแยก เดี๋ยวพบ เมื่อกี้แยกเดี๋ยวามาบรรจบอีกแล้ว
ตอนนี้วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสสนามาบรรจบอีกแล้ว ตอนที่ว่าวิทยาศาสตร์กลับเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ต่างกันอีก คือลักษณะการเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานั้นอย่างหนึ่งของวิทยาศาสตร์เป็นอย่างหนึ่ง พุทธศาสนาเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางโดยเน้นความรับผิดชอบ คือเน้นสิ่งที่มนุษย์จะต้องทำในการที่จะอยู่ร่วมกันด้วยดี พัฒนาตนเองขึ้นไปให้ถึงความไร้ทุกข์ หมายความว่าพุทธศาสนาเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางในแง่ที่จะต้องพัฒนาตัวเอง เราจะต้องจัดการพัฒนามนุษย์และแก้ปัญหาให้มนุษย์ แต่ก็เพื่อประโยชน์แก่มนุษย์เหมือนกัน เพื่อจะได้ให้เข้าถึงความไร้ทุกข์มีอิสรภาพ มีความดีงามสูงสุด ส่วนวิทยาศาสตร์นั้น เมื่อได้ไปเอาแนวความคิดพิชิตธรรมชาติเข้ามาแล้วก็เอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง แต่เอามนุษย์เป็นศูนย์กลางในแง่ที่มุ่งจะได้จะเอาจากธรรมชาติ หมายความว่า ธรรมชาติจะต้องรับใช้ตอบสนองความต้องการของฉัน ฉันมีความปรารถนาต้องการอย่างนั้น ๆ หาสิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอ แล้วมนุษย์ก็พยายามไปจัดการกับธรรมชาติปั้นแต่งมันให้สนองความต้องการของเรา อันนั้นมันก็เป็นลักษณะ Man Center ที่มีความหมายคนละอย่างตรงข้างกันเลย Man Center เหมือนกันแต่ไม่เหมือนกันเลย เอาละ ที่นี้ต่อไปข้อสังเกตที่ 2 ก็เรื่อง Pure Science คือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มองในแง่วิทยาศาสตร์ล้วน ๆ หาความรู้บริสุทธิ์ยังไม่ได้ประยุกต์ใช้ เราก็เลยมาใช้แยกจากวิทยาศาสตร์ประยุคเทคโนโลยีอะไรพวกนี้ แต่ทีนี้ถ้าเราเล่นสำนวนบ้าง เราก็จะบอกว่าวิทยาศาสตร์ไม่บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์ที่ว่าบริสุทธิ์นั้นไม่บริสุทธิ์จริง ในขั้นที่มีความใฝ่รู้ธรรมชาติต้องการรู้กฏธรรมชาตล้วน ๆ เราอาจจะถือว่ามีความบริสุทธิ์ แต่ในตอนที่มีระบบคุณค่ามีความใฝ่ปรารถนาที่จะพิชิตธรรมชาติหาสิ่งบำรุงบำเรอตนให้มนุษย์ให้สมบูรณ์นี่แหละเป็นตอนที่ไม่บริสุทธิ์แล้ว เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็เป็นเพียงข้อสังเกตเท่านี้ ไม่ควรเสียเวลากับเรื่องนี้ก็ขอผ่านไป
นี้ต่อไปสู่หัวข้อที่ 4 หัวข้อที่ 4 เมื่อถึงตัวความรู้ แล้วแต่ไปก็วิธีหาความรู้ วิธีหาความรู้ก็เป็นเรื่องสำคัญมาก นอกจากเชื่อในกฏธรรมชาติใฝ่รู้ความจริงในกฎธรรมชาตินั้นแล้ว เราได้ความรู้หรือตัวกฏธรรมชาติมา เราทำไงจะได้มา เราก็ต้องมีวิธีหาความรู้ วิธีการเข้าถึงความจริง วิธีการเข้าถึงความจริงหรือความรู้นี้ก็ในพุทธศาสนาก็จะบอกว่ามี 3 ประการที่สำคัญ
ประการที่ 1 คือการรับรู้ประสบประการณ์อย่างเที่ยงตรง การรับรู้ประสบประการณ์อย่างเที่ยงตรงรับรู้ตามที่มันเป็น ซึ่งเน้นในพุทธศาสนาอย่างมาก ตั้งแต่ขั้นรับรู้เลย พอตาเห็น หูได้ยินเสียงอะไรเนี่ยมีการรับรู้ที่มีปัญหาทันทีสำหรับมนุษย์ คือเป็นการรับรู้ตามที่มันเป็น หรือรับตามที่ฉันคิดให้มันเป็น หรือรับรู้ตามที่อยากให้มันเป็น มนุษย์ส่วนมากนี่จะรับรู้ตามที่อยากให้มันเป็น หรือตามที่คิดให้มันเป็น แต่ไม่สามารถรับรู้ตามที่มันเป็น นี้พุทธศาสนาก็จะเน้นอันนี้คือจะต้องรับรู้ตามที่มันเป็น
นี้ประการที่ 2 ต้องมีความคิดที่เป็นระเบียบ คือมีวิธีคิดนอกจากวิธีรับรู้ต่อไปก็มีวิธีคิด
แล้วก็ 3 วิธีที่หาความจริงหรือพิสูจน์สืบสาวหาความรู้นั้นใช้การสังเกตทดลองด้วยประสบการณ์ตรง ในนี้จะสังเกตเห็นว่ามันมีความละม้ายเหมือนกับวิทยาศาสตร์อยู่ไม่น้อย
3 อันนี้มีวิทยาศาสตร์ต่่างข้องไหนบ้าง มันอาจจะเหมือนกันในหลักการใหญ่ แต่ในข้อปลีกย่อยแล้วจะต้องมาพูดกัน ที่นี้จะขอพูดถึงข้อที่ 1 พอให้เห็นเค้า การรับรู้ประสบการณ์อย่างเที่ยงตรงตามที่มันเป็นนี่คืออย่างไร มนุษย์นี้เมื่อได้รับประสบการณ์นี่ ประสบการณ์ทั้งหลายนี่จะมีคุณค่าเข้ามาด้วย นี่แหละมนุษย์จะพ้นจากไอ้คุณค่าได้หรือเปล่า มันต้องตั้งต้นตั้งแต่การรับรู้เลย คุณค่าอะไรที่เข้ามากับความรู้ในประสบการณ์ คือมันมีความรับรู้ที่มันเกิดจากตัวมนุษย์เอง สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ที่เข้ามาสู่การรับรู้ของมนุษย์นี่ มันจะมีคุณภาพคุณลักษณะเข้ามาว่า มันทำให้สบายหรือไม่สบายเท่านั้นเอง สิ่งทั้งหลายมันจะเป็นอย่างนั้นทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อสบาย ทางพระเรียกว่าทำให้เกิดสุขเวทนา ถ้าทำให้ไม่สบายเขาเรียกทุกขเวทนา พอเกิดการรับรู้ได้ประสบการณ์ที่สบาย มนุษย์จะต่อปั้บไปเลยจากสบายก็ชอบใจ ถ้าไม่สบายก็ไม่ชอบใจ ทางพระเรียกยินดีและยินร้าย มีความยินดีร้ายมาตามประกอบติดตลอดเวลาแล้วมนุษย์ก็สั่งสมความเคยชินอย่างนี้มาตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งปัจจุบันคนละหลายสิบปี เพราะฉะนั้นก็ลงล่องพอรับรู้ประสบการณ์ปั้บทันทีเลยไม่ชอบก็ชัง ไม่ยินดีก็ยินร้าย นี้พอยินดียินร้าย ชอบใจไม่ชอบใจ ชอบหรือชัง มันก็คิดแนวนั้น ถ้าชอบคิดอย่างหนึ่ง ไม่ชอบคิดอย่างหนึ่ง นั้นประสบการณ์จะถูกบิดเบือนความรู้จะไม่ตรงไปตรงมา มันไม่รับรู้ตามที่มันเป็น พุทธศาสนาก็บอกว่าตั้งต้นแต่จุดเริ่มนี้ต้องมีการรับรู้ที่มันเป็น คือรับรู้โดยมีสติไม่ยินดียินร้าย รับรู้โดยรับรู้แต่ตัวความรู้ รับรู้แบบนักศึกษา รับรู้แบบนักศึกษาก็คือ แบบเรียนรู้ไม่รับรู้แบบชอบชัง รับรู้แบบเรียนรู้นี่ รับรู้แบบเรียนรู้เป็นอย่างไร รับรู้แบบเรียนรู้ก็คือว่า สิ่งทั้งหลายนี่มนุษย์รับรู้เข้ามาเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต สิ่งทั้งหลายที่รับรู้เข้ามาไม่ว่าในแง่ดีแง่ร้าย สบายไม่สบายนี่ มันสามารถให้ประโยชน์แก่ชีวิตได้ทั้งนั้นในการที่เราจะเรียนรู้ที่จะปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้องนั่นเอง คือเรียนรู้ที่จะปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้อง พอเราเข้าวงจรนี้ปั้บมันไม่มีความยินดียินร้าย มันออกไปสู่การเรียนรู้ การศึกษานี่ท่านถือว่าสำคัญจะต้องเริ่มที่กระบวนการรับรู้นี้ นั้นพุทธศาสนเน้นจุดนี้ซึ่งอาตมาไม่แน่ใจว่าวิทยาศาสตร์ได้พูดหรือเปล่าคือการรับรู้โดยเป็นการเรียนรู้ไม่รับรู้แบบชอบชัง แต่ว่าวิทยาศาสตร์จะไม่บอกชัด แต่จะต้องอาศัยวิธีการเรียนรู้แบบนี้ ถ้ารับรู้แบบนี้
ทีนี้ต่อไปอันที่ 2 วิธีคิด ความคิดต้องเป็นระเบียบ แต่ในเรื่องวิธีคิด หรือวิธีคิดถูกคิด คิดเป็นลำดับ คิดถึงเชิงเหตุผลสืบสาวความสืบทอดแห่งเหตุปัจจัยนี้ ในพุทธศาสนาก็จะมีวิธีคิดที่บอกไว้มากมายประมาณ 10 วิธี ที่เราเราเรียก โยนิโสมนสิการซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจมองเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงคือมองเห็น มองเห็นไปตามเหตุปัจจัยหรือเข้าใจหลักการเหตุปัจจัย โยนิโสนมสิการหรือวิธีคิดแบบถูกวิธี ก็เช่นว่า
1 วิธีคิดหาสืบสาวหาเหตุปัจจัย พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้นี่ก็จะยกตัวอย่างพระองค์ที่คิดขึ้นมา บอกว่า เช่น ตั้งต้นจากอะไร ตั้งต้นจากเวทนาความรู้สึกสุขทุกข์ พระพุทธเจ้าก็ถามบอกว่าเวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์นี้เกิดขึ้นโดยมีอะไรเป็นปัจจัย แล้วพระองค์ก็ตรัสสาวไป สืบสาวไปเจอว่า อ๋อมีผัสสะเป็นปัจจัย ต่อไปเอ้ ผัสสะเล่าเกิดขึ้นได้อย่างไร พระองค์ก็บอกว่าคิดสืบสาวต่อไปเราก็พบว่า มีอะไร กาลอายตนะเป็นปัจจัยอินทรีย์ทั้ง 6 เป็นปัจจัยอย่างนี้สืบสาว พระพุทธเจ้าบอกเลยวิธีคิดของพระองค์เป็นยังไง
หรือวิธีคิดแบบที่ 2 แบบ แบบแยกแยะองค์ประกอบ เช่นชีวิตของเรานี้แยกเป็นส่วน ๆ เป็น เอ้า เดี๋ยวแยกไปแล้วเป็นนามรูป 2 ตัวอีกแล้ว เป็นฝ่ายนามฝ่ายรูป ให้แยกต่อไปอีกยังได้นี่ แยกต่อไปนาม แยกเป็นเวทนาสัญญาสังขาลวิญญาณ เอ้าแต่ละอย่างแยกไปได้อีกนี่ เวทนาแยกไป แยกไป แยกไป วิเคราะห์องค์ประกอบ หรือวิธีคิดแบบว่ามองหาคุณโทษและประโยชน์ในเชิงคุณค่าพอสิ่งทั้งหลายนี่มีคุณในแง่ไหน มีโทษอันไหน ไม่ได้มองในแง่คุณอย่างเดียว โทษอย่างเดียว มนุษย์ส่วนมากนี้ เวลาอะไรเห็นชอบก็คิดแต่คุณ อะไรไม่ชอบก็มองแต่โทษ แต่พุทธศาสนามองทุกอย่าง ขอให้มองทั้งคุณทั้งโทษ แล้วก็หาทางออกที่จะแก้ไข อย่างนี้เรียกว่าครบวงจร วิธีคิดแบบนี้มีถึงประมาณ 10 วิธีด้วยกัน นี่ก็เป็นวิธิคิดที่เป็นหลักสำคัญในพุทธศาสนา
ต่อไปวิธีหาความจริง หลักการใหญ่เดียวกับพุทธศาสนาที่ว่าได้มาด้วยการสังเกตทดลองด้วยประสบการณ์ตรง พอจะยกตัวอย่าง อย่างเรื่องหลักการกามสูตร ยกมาให้เห็นเมื่อกี้นี้ ก็บอกว่าไม่ให้เชื่อเพียงเพราะอย่างนั้น อย่างนั้น ต่อเมื่อได้เห็นด้วยตนเองว่าเป็นกุศลอกุศลแล้วจึงปฏิบัติ อันนี้ก็พระพุทธเจ้า นี่ก็เป็นหลักหนึ่งที่แสดงถึงวิธีการหาความจริงอันนี้ แล้วดูวิธีของพระพุทธเจ้าตอนก่อนตรัสรู้จะเห็นพระองค์ใช้วิธีนี้มาตลอด ทดลองมาตลอดเลยพระพุทธเจ้าออกบวชแล้วออกไปทดลองปฏิบัติวิธีการของสำนักต่าง ๆ ที่มีในสมัยนั้นไปหมดเลย วิธีบำเพ็ญทุกขกิริยา โยคะ บำเพ็ญฌานสมาบัตินี่ไปทั้งหมดทดลองมาหมดแล้ว ทีนี้แม้แต่ไปอยู่ในป่าแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ พระองค์ก็เล่าวิธีของพระองค์ไว้ซึ่งเป็นเรื่องของการสังเกตทดลอง นี่พระพุทธเจ้าบอกพระองค์เกิดความกลัวขึ้นมา ไปอยู่ในป่า ตอนนั้นมืดอยู่คนเดียวป่ามืดเสียด้วย มีเสียงแกลกขึ้นมา พระองค์ก็บอกว่า เราก็ต้องพิจารณาว่ามันเสียงอะไร ยังหยุดอยู่กับที่ไม่ยอมไปจนกว่าจะรู้ว่า ไอ้เสียงนี้เกิดจากอะไร ถ้าเป็นหลายคนก็วิ่งแน้บเสียก่อน พระพุทธเจ้าไม่วิ่งแน้บได้ยินเสียงน่ากลัวบอกว่าเราจะรู้เสียก่อนว่า เสียงนี้เกิดจากอะไรแล้วพระองค์ก็สงบนิ่งสืบสาวหาต้นเหตุเสียงนั้น หรืออย่างเวลาเกิดความคิด ท่านเรียกเกิดกุศลวิตก อกุศลวิตก ความคิดแบบนี้ ความคิดแบบนี้พระพุทธเจ้าตามสืบสาวหาความคิดนี้ว่าเกิดขึ้นจากอะไรมันเกิดขึ้นจากไหนตอนไหน แล้วจะไปยังไงต่อไป ทีนี้ถ้าเราสังเกตจะเห็นพระพุทธเจ้าใช้วิธีนี้ตลอดมา แม้แต่เมื่อมาสอนพระสาวกก็ยังสอนให้ตรวจสอบอาจารย์เสียก่อนที่ไปเชื่อ ก่อนที่จะศรัทธา ศรัทธาเป็นตัวนำไปสู่ปัญญา พระพุทธเจ้าบอกตรวจสอบอาจารย์ให้ตรวจสอบพระองค์ด้วยให้ตรวจสอบในแง่ความรู้และเจตนาบริสุทธิ์หรือไม่ คือความบริสุทธิ์ ตรวจสอบในแง่ความรู้ก็พิจารณาฟังสิ่งที่ท่านสอนมีเหตุมีผลเป็นจริงไหม ตรวจสอบในเชิงพฤติกรรมในเชิงแรงจูงใจว่าท่านผู้นี้ที่จะพูดอย่างนี้นะ เพราะว่ามีความต้องการปรารถนาอย่างงั้น อย่างงั้นอยู่หรือไม่ อะไรทำนองนี้เป็นต้น เป็นไปได้ไหมให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีบริสุทธิ์เจตนาได้ต้องการที่จะหาผลประโยชน์การจากสอนนี้ต้องการให้ความรู้ที่แท้จริงเป็นต้น จึงจะพร้อมที่จะรับคำสอนเป็นการประเมินขั้นต้น แล้วรับเอาคำสอนมาพิจารณาดู มาหยั่งมาตรองว่ากันเป็นขั้น ๆ ๆ ๆ หรืออยู่ในหลักสติปัฏฐาน วิธีปฏิบัติในเชิงวิปัสสนาก็จะเห็นว่าเวลาเราปฏิบัติวิปัสสนานั้นจะต้องตรวจดูตามดูทุกอย่างประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันนี้ ความรู้สึกเกิดขึ้น ความรู้สึกทุกข์เกิดขึ้น ภาวะในจิตใจเศร้าหมองผ่องใสเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าให้ตามดูว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วมันเป็นไปอย่างไร มันดับไปอย่างไร อันนี้ก็คือวิธีการดูสังเกตประสบการณ์ตรงแน่นอน จนกระทั่งในขั้นสุดท้ายประมวลผลตัวเองว่าได้บรรลุธรรมหรือไม่ ก็ดูด้วยในใจตัวเองว่าในใจเรามีโลภะโทสะโมหะหรือไม่ ไม่ต้องไปดูว่าทำอะไร แผลงฤทธิ์ได้หรือไม่ ไม่ต้องไปดู ดูซิว่าในใจมีโลภะโทสะโมหะหรือไม่ อะไรอย่างนี้เป็นต้น เอ้าที่นี้ นี้ก็เป็นเรื่องของวิธีหาความรู้หาความจริง 3 ประการด้วยกัน
ทีนี้ต่อไปก็จะมองจุดแตกต่างในการหาความจริงระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ก็อย่างที่พูดมาแล้ว
อันที่ 1 ก็คือวิทยาศาสตร์นี้ใช้วิธีการหาความจริงนี้เพื่อได้ความจริงได้ความรู้ ตัวความรู้มาเฉย ๆ ส่วนพุทธศาสนานั้น การหาความจริงวิธีการเข้าถึงความจริงนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่ดีงามด้วย อ้อไม่ใช่เป็นเพียงต่างเป้าหมายนะ แม้แต่ในลักษณะการกระทำก็ต่างกัน คือวิทยาศาสตร์นั้นมันไม่มีส่วนในการดำเนินชีวิตของเราเลย คือเราหาความจริงก็เพื่อรู้ความจริงนั้น แต่ในพุทธศาสนาวิธีการหาความจริงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตมันเป็นตัวการดำเนินชีวิตที่เป็นผลดีต่อชีวิตในขณะนั้นปัจจุบันทันที เช่นการรับประสบการณ์ตรงโดยไม่มียินดีร้ายและมีผลต่อจิตใจอย่างไรเป็นต้น เพราะฉะนั้นคุณค่าต่อสภาพชีวิตในขณะนั้นเกิดขึ้นมาทันที นั้นเป็นของที่มีเป้าหมาย อย่างที่ท่านเรียกความรู้ที่เป็นประโยชน์ ทีนี้วิทยาศาสตร์นั้นเอาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทางอินทรีย์ 5 หรือประสาท 5 เท่านั้น แต่พุทธศาสนานั้นเอาอินทรีย์ 6 คือใจ ด้วยนี้แต่ก่อนนี้แม้ขณะนี้ วิทยาศาสตร์ก็อาจจะไม่ยอมรับอินทรีย์ข้อที่ 6 แต่พุทธศาสนาถือว่าอินทรีย์ที่ 6 ต้องพิสูจน์ความจริงได้ แต่การพิสูจน์ความจริงของแต่ละอินทรีย์นั้น พิสูจน์ได้ด้วยอินทรรีย์ที่ตรงกัน หมายความว่าเราจะพิสูจน์รสนี่เราต้องพิสูจน์ด้วยลิ้น ถ้าเราต้องการพิสูจน์เสียงดังเสียงเบาเราต้องพิสูจน์ด้วยหู จะเอาตาไปพิสูจน์ไม่ได้ หรือเราต้องการพิสูจน์สีดำ สีแดง เราจะเอาหูไปพิสูจน์ ก็พิสูจน์ไม่ได้เหมือนกัน ฉะนั้นอินทรีย์ 5 นี้ต้องตรงกันด้วย ทีนี้อินทรีย์ที่ 6 ถ้าเราไม่ยอมรับเราจะขาดการรู้ประสบการณ์ไปมากมาย เพราะประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นในจิตใจมีมากมาย ทางจิตใจก็มีประสบการณ์ตรงที่พิสูจน์ได้ทันที เช่นความรัก ความโกรธ ความกลัว ซึ่งไม่อาจพิสูจน์ด้วยอินทรีย์อีก พอเวลาเรามีความรักเราก็รู้แก่ใจของเราเองพิสูจน์ได้ เวลามีความกลัวความรู้สึกโกรธมันก็มีมันก็รู้สึกได้โดยตรง ความสุขสบายความปราบปลื้มอิ่มใจผ่อนคลายใจพิสูจน์ได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นในทางพุทธศาสนาจึงถืออินทรีย์ที่ 6 คือจิตนี้ รวมทั้งเรื่องความคิดมีบทบาทสำคัญมากในการหาความรู้หรือหาความจริงนั้น แต่วิทยาศาสตร์ถ้าไม่ยอมรับอันนี้ ก็จะต้องหาทางพิสูจน์ปรากฎการณ์ทางจิตหรือประสบการณ์ทางจิตด้วยวิธีการทางเครื่องมือหรือเครื่องวัดที่ออกมาเป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ด้วยอินทรีย์ 5 อย่างอื่น เช่นตาหู เช่นต้องการรู้ความคิดในใจก็พยายามประดิษฐ์เครื่องวัดคลื่นสมองเอาละทีนี้ ต่อไปนักวิทยาศาสตร์บอกว่านี่ต่อไปนะฉันจะใช้เครื่องวัดคลื่นสมองบอกได้เลยว่าคนนี้คิดอะไร ถ้าหากวิทยาศาสตร์ก็หวังไปสิ คิดไปว่าต่อไปนี่เราจะได้รู้อย่างงี้ ๆ ๆ หรือไม่งั้นก็ดูจากสารที่สมองหลั่งออกมาตอนนี้มีความรู้สึกมีอารมณ์อะไรในใจก็ดูสารที่สมองหลั่งออกมาก็คงจะรู้ได้ ก็มันมีความเป็นจริงอยู่บ้าง แต่มันจะตรงกับ Eddington บอกว่า คือ Shadow มันคือเงาของความจริงมันไม่ใช่ตัวความจริง งั้นถ้าอยู่ในลักษณะนี้วิทยาศาสตร์ก็จะพิสูจน์เงาของความจริงเรื่อยไป ก็จะเป็นอย่างที่วิทยาศาสตร์ชั้นนั้นบอกว่า วิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้โดยตรงเข้าถึงได้แต่เงาของความจริง ซึ่งอันนี้เราจะพูดต่อไปอีก อันนี้บทบาทของอินทรีย์ที่ 6 คือจิตนั้น ที่พุทธศาสนาถือว่ามีความสำคัญมากในการหาความรู้ความจริง แม้แต่วิทยาศาสตร์เองก็เจริญพัฒนามาได้ด้วยอินทรีย์ที่ 6 นี้ ทั้งขั้นต้น ขั้นปฏิบัติการและขั้นตามผลสุดท้าย ขั้นต้นตอนพิสูจน์ด้วยอินทรีย์อื่นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ความรู้ความเข้าใจทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นั้นจะมีการคิดก่อน คิดวางแผน วางกระบวนการพิสูจน์เป็นต้น ตั้งสมมติฐานอะไรต่าง ๆ นี้เป็นกระบวนการทางความคิดก็ต้องอาศัยความคิดอินทรีย์ที่ 6 ทีนี้เวลาปฏิบัติการก็ต้องมีจิตเป็นตัวรับรู้ตลอดเวลาบันทึก ก่อนที่จะบันทึกลงกระดาษลงคอมพิวเตอร์หรืออะไรก็ตาม ก็บันทึกในใจก่อน แล้วก็เป็นผู้ตัดสินว่าจะยอมรับหรือไม่ตัดสินข้อมูลที่ผ่านมาทางอินทรีย์ทั้ง 5 ก็มีบทบาทอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งว่าขั้นสุดท้ายประมวลสรุปคิดเป็นระเบียบ วางเป็นทฤษฎีอะไรต่าง ๆ นี้ ก็เป็นกระบวนการของความคิด เพราะฉะนั้นในทางพุทธศาสนานี้ยอมรับความสำคัญของอินทรรีย์ที่ 6 ถือว่าเป็นการที่เข้าถึงประสบการณ์ตรงได้ แต่ข้อสำคัญคือการรับรู้จะต้องให้ตรงอินทรีย์หมายความว่าสิ่งที่รับรู้กับอินทรีย์นั้นต้องตรงกัน สิ่งที่จะรับรู้ด้วยตาก็ต้องใช้ตา สิ่งที่ต้องรับรู้ด้วยลิ้นก็ต้องใช้ลิ้น สิ่งที่ต้องรับรู้ด้วยหูก็ต้องใช้หู นั้นสิ่งที่รับรู้ด้วยใจจะไม่สามารถรับรู้ด้วยตาหูเป็นต้น นั้นต้องให้อินทรีย์ตรงกัน
ทีนี้ความจริงระดับจิตใจนี่ที่ท่านบอกพิสูจน์ทำนายได้ตามกระบวนการของเหตุปัจจัย เพราะว่ามันเป็นไปตามกฏธรรมชาติ แต่ว่ามันจะมีความซับซ้อนยากหน่อย แต่ว่าพุทธศาสนาถือว่ามันก็เป็นไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัยในโลกของวัตถุในโลกของฟิสิกซ์ก็ยอมรับว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัย แต่ในกรณีที่ปัจจัยซับซ้อนมากเกินไปนี่ มันทำให้ทำนายตามดูยาก ยกตัวอย่างก็คือการพยากรณ์อากาศ การพยากรณ์อากาศนี่ถือว่ายากมาก เพราะมีปัจจัยซับซ้อน แล้วมีการแปลแม้แต่นิดเดียวก็เปลี่ยน ทีนี้เราลองคิดถึงกระบวนทางจิตใจ กระบวนการเพราะเหตุปัจจัยทางจิตนี้ก็ต้องถือว่าซับซ้อนยิ่งกว่ากระบวนการของเหตุปัจจัยในอากาศ เพราะฉะนั้นการทำนายปรากฏการณ์ทางจิตก็จะยากกว่าการพยากรณ์อากาศ ถ้าเรามองในแง่นี้แล้วก็จะได้ไม่ท้อใจก็จะมองว่าเรื่องของความไปทางจิตใจก็เป็นไปตามกฏเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นก็รวมความว่า พุทธศาสนาก็เอาวิธีหาความจริงหาความรู้นี้มาใช้กับตัวมนุษย์หรือมนุษย์เสียบภาวะเป็นสำคัญหรือใช้เพื่อประโยชน์แก่มนุษย์ การพัฒนาแก้ปัญหาของมนุษย์ ส่วนวิทยาศาสตร์นั้นจะใช้วิธีการหาความรู้หาความจริงนี้กับโลกวัตถุโดยมาก ก็มุ่งไปที่โลกวัตถุ แล้วก็เป็นการหาความรู้ไป ถ้าในขั้นต่อมาก็เพื่อจะพิชิตธรรมชาติอย่างที่ว่ามา นี้ที่พูดมานี้ก็เป็นอันว่าได้บอกแล้วถึงความกว้างแคบต่างกันเหมือนกันระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ในแง่สภาพเนื้อหาของความจริงที่ต้องการจะรู้ในแง่ของรู้ความจริง และในแง่ของการนำความจริงหรือจุดมาใช้หรือจุดมุ่งหมายของการรู้ความจริงนั้น อย่างที่ว่าฝ่ายหนึ่งก็คือวิทยาศาสตร์นี้ตอนต้นเป็นการรู้ล้วน ๆ บริสุทธิ์ลอย ๆ แล้วก็ฝ่ายพุทธศาสนานี้ความรู้เพื่อประโยชน์ ทีนี้ฝ่ายต่อมาวิทยาศาสตร์นี่บอกว่ารู้เพื่อประโยชน์เหมือนกันแต่เพื่อพิชิตธรรมชาติหาประโยชน์จากธรรมชาติ พุทธศาสนาก็รู้เพื่อจะได้มาพัฒนามนุษย์ แก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ วิธีหาความจริงอาจจะอย่างเดียวกันหรือตรงกันมาก แต่เนื้อหาของตัวความจริงที่พิสูจน์ที่ค้นหานั้นมีความกว้างแคบต่างกัน
อันนี้มาถึงตอนนี้ก็เวลาก็ล่วงเลยไปมากถึง 4 โมงกว่าที่จริงก็แทบจะหมดเวลาแล้ว อันนี้ก็ตอนนี้ก็คิดว่าพอจะพักได้ขั้นหนึ่งก่อน ที่จริงอาจารย์ที่ท่านจัดการปาฐกถาครั้งนี้ท่านบอกว่าให้พักเมื่อชั่วโมงครึ่งผ่านไปแล้ว อันนี้ก็เลยไปมาก ตอนนี้ก็พักหรือว่าท่านผู้ใดมีธุระอะไรก็จะได้ไม่ต้องรอ นี้ถ้าหากมีโอกาสยอมให้พูดต่อก็จะได้พูดในหัวข้อต่อไป หลังจากนี้ประมาณ 5 นาที หรือ 10 นาทีแล้วแต่ผู้ดำเนินการจะบอก