แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
วันนี้อาตมาภาพว่าเราก็เข้ามาสู่วงการตุลาการ เพราะจริงๆ แล้วมันก็ต้องถึงกันหมด มันก็ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันนั่นแหละ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ บริหารเป็นไปตามนิติบัญญัติ แล้วตุลาการนั้นก็เอานิติบัญญัตินั่นแหละมาให้มีผลบังคับใช้จริง มีผลบังคับใช้จริงก็ต้องตัดสินได้ ก็เป็นเหมือนวินัยนั่นแหละที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ก็แบบเดียวกันเลย วินัยนี้บัญญัติ พระพุทธเจ้าบอกว่าทรงแสดงธรรมบัญญัติวินัย ต้องใช้ศัพท์ต่างกันนิดหนึ่ง ธรรมะมันมีอยู่ของมันธรรมดา พระพุทธเจ้าทรงแสดง ก็แสดงไปตามที่มันเป็น แต่ว่าวินัยที่ทรงบัญญัติก็คือจัดตั้งวางขึ้นไป เป็นเรื่องของฝึมือมนุษย์ ถ้าฝีมือมนุษย์ดีอย่างที่ว่า เป็นผู้รู้ มีปัญญารู้ความจริง แล้วก็เจตนาดี แล้วก็จัดตั้งดีเป็นฝีมือ การบัญญัติ นิติบัญญัติหรือวินัยบัญญัติอันเดียวกัน วินัยบัญญัติหรือนิติบัญญัติก็จะได้ผลดีจริง แล้วมาถึงวงการตุลาการก็จะไม่หนักใจ ถ้านิติบัญญัติทำมาไม่ดี อาตมาภาพก็ว่าตุลาการก็หนักใจ ถ้าท่านมีเจตนาดีมุ่งเพื่อความดีงาม ความเป็นธรรม ความถูกต้องในสังคม ถ้านิติบัญญัติทำมาไม่ดีนี่ก็มาสร้างความหนักใจให้กับตุลาการด้วย ตุลาการก็ดำเนินการให้เกิดผลตามนั้น ก็อย่างที่กล่าวมาแล้วก็มีปัญญาและเจตนาเป็นสำคัญ ทีนี้ปัญญาและเจตนามันก็ต้องมีปฏิบัติการขึ้นมาบนฐานของปัญญาและเจตนานี้เป็นสำคัญ ทีนี้จากปัญญาและเจตนา มันก็ต้องมีการปฏิบัติการขึ้นมาบนฐานของปัญญาและเจตนานี้ มันก็เลยออกมาเป็นรายละเอียดแม้แต่ในทางธรรมะ ก็มีข้อปลีกย่อยต่างๆ ขึ้นมาว่า เออ ท่านผู้พิพากษา ก็แน่นอนท่านก็เป็นมนุษย์ ท่านก็มีจิตมีใจของท่าน มีความรู้สึก มีความนึกคิด แล้วก็ความรู้สึกก็เป็นธรรมดา ตามปกติเราก็เป็นปุถุชนกัน เราก็มีความรู้สึกสบายใจ มีความทุกขฺ์ มีความขุ่นมัวเศร้าหมองได้ ผ่องใสได้ มีความโกรธ ขัดใจได้ อันนี้ก็เลยต้องมีการวางหลักธรรมะหรือข้อปฏิบัติเพื่อช่วยว่า เอ่อ...ทำยังไงเราจะดำรงตัวหรือวางตัวให้ได้ดี ก็เพื่อทำให้ปัญญาและเจตนานี่มันออกผลอย่างที่มันควรจะเป็นอย่างแท้จริง ดังนั้นเราก็จะมาสู่หลักธรรมข้ออื่นสำหรับท่านผู้พิพากษา อย่างที่ว่าเราต้องการมีปัญญากับเจตนาที่มันดี สูงสุดหรือสมบูรณ์ที่สุดทั้งคู่ ทำไงให้สองอันนี้มาประสานออกสู่การปฏิบัติได้ผลดี มันก็ออกมาที่ตัวผู้พิพากษา ท่านผู้พิพากษาทำไง ก็เลยตอนนี้ก็จะมีหลักธรรม ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ถือกันว่าใช้บ่อยที่สุดคือหลักธรรมชุดพรหมวิหาร พรหมวิหารนี่ก็เราแปลเป็นภาษาไทย เราบอกว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่นี่เกิดความเข้าใจเพี้ยนในภาษาไทย เราก็เลยนึกว่าพรหมวิหารเช่นเมตตานี่เป็นธรรมของผู้ใหญ่ ถ้างั้นเด็กก็ไม่ต้องมีสิใช่ไหมล่ะ ผู้ใหญ่มีต่อเด็กนี่ เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่ต้องเมตตาต่อเด็กหรือต่อผู้น้อยอะไรเงี้ย แต่ว่าถ้าไปดูธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน โยมไปเห็น แม้แต่ในหลักที่คฤหัสปฏิบัติ ก็จะมีว่าวิธีปฏิบัติของคฤหัสต่อพระภิกษุ เรื่องต้นเลย หนึ่งสองสาม หนึ่งให้คฤหัสมีเมตตาต่อพระภิกษุ เมตตาจิต จะคิดอะไรก็คิดด้วยเมตตา จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา จะทำอะไรก็ทำด้วยเมตตา ก็ให้โยมนั้นมีเมตตาต่อพระ อ้าวแล้วทำไมโยมมีเมตตาต่อพระล่ะ ว่าแต่ธรรมะของผู้ใหญ่ก็น่าจะพระเมตตาโยม กลายเป็นว่าให้โยมเมตตาพระ นี่ล่ะคือเป็นเรื่องที่ว่าเราเอาธรรมะมาใช้เป็นภาษาไทย บางทีมันคลาดเคลื่อน คำว่าผู้ใหญ่ในที่นั้นน่ะ พรหมวิหาร พรหมะคือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ ทีนี้ผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ แปลอีกทีหนึ่งเราก็แปลว่าผู้เป็นใหญ่ เพราะพรหมนี่ก็ผู้เป็นใหญ่ ก็ผู้เป็นใหญ่ก็มาเป็น ตัดเป็นออก ก็เหลือผู้ใหญ่ ก็เลยกลายเป็นว่าเป็นธรรมะของผู้ใหญ่ นี่ก็คือความเพี้ยน เป็นตัวอย่างของความเพี้ยนในสังคมที่รับเอาธรรมะมาาปฏิบัติ คือคนควรจะมีจิตใจที่ประเสริฐยิ่งใหญ่ที่เรียกว่าธรรมะ ทุกคนควรเป็นพรหม พระพุทธศาสนานี่ไม่ถือว่าพระพรหมสร้างโลก ในศาสนาพราหมณ์เดิมก็ถือว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และก็สร้างสังคมมนุษย์ ก็สร้างมาหมด แล้วก็พรหมเป็นผู้เป็นใหญ่ สร้างโลก สร้างสังคมมนุษย์ และทำให้สังคมมนุษย์โลกนี่ดำรงอยู่ได้ นี่พระพุทธศาสนามานี่ไม่เชื่อ ไม่ใช่บอกไม่เชื่อ คือปฏิเสธ ไม่ให้ไปนับถือเรื่องพระพรหมสร้างโลก ก็เลยบอกว่ามนุษย์ทุกคนนี่แหละมีหน้าที่รักษา ผดุงโลก อภิบาลโลก ถ้ามนุษย์ประพฤติปฏิบัติดีก็มีธรรมชุดนี้ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และเราก็เป็นพรหมกันทุกคน แล้วเราก็ช่วยกันสร้างโลก บำรุงรักษา อภิบาลโลกให้อยู่ได้ ไม่ต้องไปรอพระพรหม ถ้าคุณมัวไปรอพระพรหมอยู่ล่ะก็ คุณก็ไม่ได้รับผิดชอบ ทำลายโลก ทำลายสังคมนี้ แล้วก็ให้พระพรหมมาสร้างยังงี้ไม่ไหว โลกแย่แน่ พระพุทธเจ้าก็เลยให้เรามัวรอพระพรหม ก็ให้ทุกคนเป็นพรหมเสียเอง โดยให้ทุกคนมีพรหมวิหาร ดังนั้นเป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่จะต้องมีพรหมวิหารก็คือมีธรรมที่จะทำให้เป็นจิตใจของพระพรหมหรือจิตใจนั้นมีคุณความดียิ่งใหญ่ กว้างขวาง ดุจพระพรหมนั่นเอง ทีนี้เรามาแปลกันว่าพรหมเป็นใหญ่ แล้วคำว่าเป็นใหญ่หรือใหญ่เฉยๆ แล้วเป็นผู้ใหญ่กันไป เลยไปกันใหญ่ เอาละ พอตกลงกันว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็ต้องมีในทุกคนแหละ โดยเฉพาะแน่นอนผู้ที่เป็นใหญ่เป็นผู้ใหญ่ก็ธรรมะทุกข้อต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติเป็นตัวอย่างปฏิบัติอยู่แล้ว ก็ต้องมีเมตตา กรุณาเป็นตัวอย่างด้วย แล้วก็มีหน้าที่เป็นพิเศษในการที่จะบำรุง รักษา อภิบาลสังคมนี้ไว้ แน่นอนผู้ใหญ่ย่อมมีหน้าที่ในการรักษาสังคมนี้เป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นก็ควรเอาใจใส่มากในธรรมชุดนี้ แต่ว่าที่แท้แล้วทุกคนนะ เพราะฉะนั้นก็เด็กต้องมีเมตตาต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ต้องมีเมตตาต่อเด็กเขา เมตตามีความหมายเพียงว่าความเป็นมิตรเท่านั้นเอง ฉะนั้นเมตตากับมิตตะ ศัพท์เดียวกัน เมตตาคือธรรมะของมิตรหรือน้ำใจของมิตรนั่นเอง และความเป็นมิตรนั้นต้องมีต่อกันในทุกคน คุณพ่อคุณแม่ต่อลูก ลูกต่อคุณพ่อคุณแม่ ก็เลยมีเมตตาต่อกันไปหมด เมตตาของคุณพ่อคุณแม่ก็มีเป็นตัวอย่างให้แก่ลูก และลูกก็มีเมตตาตอบแทนด้วยความรักต่อพ่อแม่เช่นกัน แล้วก็เมตตาต่อผู้อื่นหรือต่อพี่น้อง เป็นต้น ก็ขยายแผ่ออกไป นี่เอาเป็นว่ามาถึงท่านผู้พิพากษามีหน้าที่ๆ ชัดเจนเลย ในการที่จะผดุงไว้ซึ่งสังคม หรือจะเรียกว่าธำรงรักษาสังคมเลย ให้สังคมนี้มีความมั่นคง ปลอดภัย เพราะฉะนั้นเลยต้องเอาพรหมวิหารนี้มาอปฏิบัติให้อยู่ประจำตัว ทีนี้พรหมวิหารก็ต้องชัดในความหมาย ถ้าผู้ทำหน้าที่ในเรื่องการผดุงสังคมนี้มีความชัดเจนในหลักธรรมพรหมวิหาร อาตมาภาพว่าจะช่วยสังคมได้อย่างแน่นอน พระพุทธเจ้าสอนหนักหนาเรื่องให้มีพรหมวิหาร ให้เจริญกันทุกคนเลย ก็เริ่มด้วยเมตตา กรุณา แต่คนไทยนี้เอาไปแยกหมด ไม่เอามาเป็นชุด พระพุทธเจ้าสอนให้มาทั้งชุด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็องค์รวมอีกเหมือนกัน ก็คือเป็นระบบองค์รวม คนไทยเราไปแยกส่วนซะ เอาเมตตา กรุณามาเน้นกันหนักหนา เมตตา กรุณา เมตตา กรุณา มุทิตา ไม่ค่อยถึงสักที อ้าวแล้วเรื่องอุเบกขาเลยไม่รู้เรื่องเลย อุเบกขาไม่เข้าใจอ่ะคนไทย อุเบกขาเข้าใจยาก ก็เลยมาซักซ้อม ทบทวนกันอยู่เรื่อย ก็เอาว่า หนึ่ง มีความเมตตา มีความเป็นมิตร มนุษย์ต้องมีความเป็นมิตรกัน ความเป็นมิตรคือยังไง ก็คือความปรารถนาดีให้ผู้อื่นเป็นสุข เห็นใคร เจอใคร เขาอยู่เป็นปกติก็อยากให้เขาเป็นสุข ให้เขาอยู่ดีเป็นสุขนี่คือเมตตามีน้ำใจเป็นเป็นพื้นฐานที่มนุษย์มีต่อกัน สถานการณ์ปกติเราพบใครเราก็เป็นมิตร ปรารถนาดีอยากให้เขาเป็นสุขนี่เรียกว่ามีเมตตา นี่เป็นธรรมะขั้นพื้นฐานที่สุด ทีนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบไปว่าไอ้นี่มันเป็นเรื่องของความเป็นจริงในสังคมมนุษย์เลย เราสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นนี่อยู่ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ของคนนี่ก็เปลี่ยนแปลงไปตามหลักอนิจจัง มันเป็นกฏธรรมชาติตามเหตุปัจจัย แล้วก็มีสุขมีทุกข์ เอาละ ก็คือมีขึ้น มีลง มีตกต่ำ มีขึ้นสูง มีการเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ในชีวิตก็เปลี่ยนไป ในตอนแรกเราบอกว่ามีเมตตาก็คือสถานการณ์ปกติ ต่อไปอันที่สองก็คือเขาเกิดประสบเหตุร้าย เกิดปัญหา เกิดความเดือดร้อนขึ้นมา สถานการณ์ที่สองเกิดขึ้นมาละ เรียกว่าตกต่ำลงไปละ สถานการณ์ที่ตกต่ำ เดือดร้อนเป็นทุกข์ สถานการณ์สองก็มา ธรรมะข้อที่สองก็มาคือกรุณา กรุณาคือความปรารถนาจะช่วยให้คนพ้นจากความทุกข์ ถ้าแปลตามศัพท์แล้ว ความพลอยมีใจหวั่นไหวเมื่อเห็นผู้อื่นประสบความเป็นทุกข์ ความเดือดร้อน ใจหวั่นไหว ทนอยู่ไม่ได้ ต้องไปช่วยเหลือ ขวนขวาย เอาใจใส่ ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เขาพ้นจากความทุกข์นั้นขึ้นมา เมตตา กรุณา ต่างกันอย่างชัดเจนที่สุด แต่คนไทยแยกไม่ออก เลยบอกว่าเป็นปัญหามากเลย ไม่รู้หลักนี้ แค่นี้เอง ก็คือว่าถ้าสถานการณ์ตกต่ำเดือดร้อนเป็นทุกข์ขึ้นมาก็ต้องย้ายจากเมตตาไปกรุณา กรุณานั่นก็คือการที่ เอาละใจนี่หวั่นไหวละ เห็นเขาทุกข์ เดือดร้อน พลอย ถ้าเป็นคนธรรมดานี่พลอยไม่สบายใจด้วย ท่านถือเอายังไม่ถูก คือใจหวั่นไหวด้วยความปรารถนาที่จะช่วยเหลือเขาให้เขาพ้นจากความทุกข์ แต่ตัวเองไม่ต้องไปทุกข์ด้วย ท่านไม่ให้ใจไปพลอยทุกข์ด้วย ต้องแยกเป็น ต้องแยกเก่ง เอาหลักการก่อน สองก็กรุณา เขาตกต่ำเดือดร้อนต้องมีกรุณา ช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์ ต่อไปสถานการณ์ที่สาม เขาพ้นทุกข์ขึ้นไปแล้วหรือเขาอยู่เป็นปกติ เกิดได้ดี เกิดประสบความสำเร็จ เช่น เป็นเด็กสอบไล่ได้หรือเข้างานได้ ได้เลื่อนขั้นดีต่ออะไรนี้ ประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า ก็ไปสู่สถานการณ์ที่สาม ขึ้นสู่ ขึ้นสูง ก็เข้ามาสู่ธรรมะข้อที่สามคือมุทิตา ใจพลอยยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข อันนี้สาม ธรรมะนี่ต่างกันชัดเจนมาก คนไทยแยกไม่ออกเลย สามสถานการณ์เป็นตัวตัดสินเมื่อเพื่อนมนุษย์คนไหนก็ตามเขาประสบสามสถานการณ์ หนึ่งเป็นปกติเรามีเมตตา สองเขาตกต่ำเดือดร้อนเรามีกรุณา สามเขาขึ้นสูง ประสบความสำเร็จ ได้ดี มีสุข เราก็มีมุทิตา แล้วมีใจยินดีส่งเสริมสนับสนุนให้เขาได้ดีมีความสุข ทำความสำเร็จ ทำประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้นไป สามแล้วนะ เจริญพร ครบหมดแล้ว สถานการณ์ชีวิตมนุษย์ก็มีสามนี่แหละ ทีนี้มันมีข้อที่สี่เข้ามาคุมนี่แหละที่สำคัญมาก ถ้าตัวนี้ไม่มา ตัวที่สี่นี่สำคัญอย่างยิ่งในการรักษาสังคมมนุษย์เนี้ยะ สามตัวแรกนี่รักษาไม่ไหว ไม่พอ เรานึกว่าพอแล้ว อ้าวก็เป็นปกติก็มีเมตตาก็ใช้ได้ละ กรุณาก็เขาตกต่ำเดือดร้อนก็กรุณา ก็ช่วยกันไป แล้วก็มุทิตาก็ส่งเสริมคนที่ได้ดี มีสุข ทำดี เอ้...มันน่าจะครบ ท่านบอกไม่ครบ ต้องมีตัวที่สี่คุม นี่ตัวสำคัญที่สุด ก็คือว่าเจ้าสามตัวแรกนี่มันอยู่ในระดับความรู้สึก ยังไม่เป็นหลักประกันว่ามีปัญญาหรือไม่ อ้าวก็เขาอยู่เป็นปกติแล้วก็เป็นมิตร มีเมตตาปรารถนาดีก็เป็นความรู้สึกที่ดี เป็นความรู้สึกฝ่ายดี แล้วเขาตกต่ำ เดือดร้อน ความรู้สึกฝ่ายดีก็กรุณา สงสาร อยากช่วยเหลือ แล้วก็เขาได้ดีมีสุข เราก็มีมุทิตา อยากส่งเสริม พลอยยินดีด้วย ก็เป็นความรู้สึกที่ดีทั้งนั้นเลย แต่ปัญญามันต้องรู้ความจริงว่ามันมีความถูกต้องหรือเปล่า ในการที่เขาเดือดร้อนนั้นมันเป็นการถูกต้องไหม ความจริงมันเป็นอย่างไรในเรื่องนี้ เราต้องรู้ลึกซึ้งลงไปอีก ไอ้เจ้าหมอนี่ไปทำอะไรมา นี่ไปลักขโมยของเขาได้มาห้าหมื่นบาท เราจะมามีแต่ความรู้สึกพลอยยินดี สนับได้ไหม อ้าวถ้าว่าตามหลักสามข้อแรกก็ถูกสิ มีมุทิตานิ มีเด็กคนหนึ่งนี่ไปขโมยของเขามา แล้วแกก็ได้เงินมา โอ๊ยมีกินมีใช้หายยากหายจนนี่ เราควรจะส่งเสริมไหม นี่นะ ตอนนี้ถ้าไม่มีปัญญาก็ดีใจไปตาม สนับสนุน ยังงี้สังคมจะอยู่ได้ไหม ไม่ได้แหละ ต้องมีปัญญาลึกซึ้งลงไปอีกว่า ไอ้ที่เขาทำมาได้มา ดีอย่างนี้อะไรนี่ เขาได้มาด้วยความถูกต้องหรือไม่ ความจริงมันเป็นยังไง แล้วมันเกิดผลเสียยังไงแก่สังคมกับชีวิตหรือเปล้่า แม้แต่ชีวิตของเขาเองนี่ ก็อาจจะเป็นเครื่องบั่นทอนชีวิตเขาได้ด้วย เขาได้เงินไม่ดีนี่ เขาอาจประมาท กลายเป็นนิสัยเสีย ไม่ตั้งใจทำมาหากิน เป็นโทษกับชีวิตเขาเอง สังคมก็เสีย ชีวิตก็เสีย เพราะฉะนั้นเราจะอยู่แค่ความรู้สึกไม่ได้แล้ว ต้องมีปัญญา ตอนนี้แหละที่ว่าปัญญาต้องรู้แล้ว ต้องรู้ว่าไอ้ที่จะมีเมตตา ดำรงเมตตา นี่เป็นธรรมดา เป็นพื้นไว้ เป็นกรุณา มุทิตาเอาไปดำเนินการตามนั้นว่ามันถูกต้องหรือเปล่า มันสอดคล้องกับความเป็นจริงยังไง เราต้องรู้ความจริงนั้น ตอนนี้แหละ เมื่อรู้ความจริงแล้วก็ปฏิบัติโดยรักษาความถูกต้องไว้ ความถูกต้องนั้นคือเพื่อประโยชน์ที่แท้แก่ชีวิตเขาระยะยาว เขาไปทำอาชญากรรมไว้ ไม่ถูกต้อง เป็นผลเสียแก่ชีวิตเขาเองด้วย จะต้องแก้ไข แล้วสังคมนี้เดือดร้อน ไม่ดีแน่่ ต้องแก้ไข เราก็ต้อง อ้าว เขาอาจจะเดือดร้อน ตอนที่ถูกจับก็เดือดร้อนแล้ว เป็นทุกข์แล้ว เจริญพร ตอนนี้ถ้าเราไปกรุณาสงสารแล้วก็ปล่อยออกจากคุกเลยใช่ไหม ก็ไม่ได้ ถูกจับก็ต้องถูกจับ อันนี้มันเป็นไปตามหลักความจริง ความถูกต้อง กรุณาปฏิบัติการไม่ได้ หยุด เขาเรียกว่าตอนนี้ต้องหยุดขวนขวายตามสามข้อต้น การที่หยุดขวนขวายสามข้อต้นเพราะปัญญารู้ความจริง ความถูกต้อง และจะปฏิบัติให้ถูกต้องนี่เข้าข้อสี่เรียกว่าอุเบกขา นี่นะข้อที่สี่จึงสำคัญมาก อยู่บนฐานของปัญญา สามตัวแรกนี่อยู่บนฐานของความรู้สึกที่ดี เมตตา กรุณา มุทิตา เป็นด้านความรู้สึก พออุเบกขาเป็นความรู้สึกจริงแต่เป็นความรู้สึกที่ต้องตั้งอยู่บนฐานของปัญญา ต้องมีปัญญาตัวรู้นี่เป็นฐานให้ แล้วตัวอุเบกขาจึงเกิดขึ้นได้ คือวางตัวเป็นกลางล่ะทีนี้ วางตัวเป็นกลางก็หยุดขวนขวาย ไม่ขวนขวายตามกรุณา มุทิตา แทนที่จะพลอยยินดีว่าเธอไปขโมยลักมาห้าพัน ฉันยินดีด้วย ไม่ดีใจด้วยแหละ จะต้องจัดการไปตามระเบียบแบบแผน กติกาอะไร มาไง ตอนนี้เอาละ นี่คือข้ออุเบกขา เอ...คนไทยเราแปลอุเบกขาว่าเฉย เฉยในที่นี้ก็คือท่านบอกส่าไม่ขวนขวาย ไม่ขวนขวายตามสามอย่างแรกที่มันจะทำให้เกิดความไม่ถูกต้องนั่นเอง ไม่ขวนขวาย เพราะถ้าขวนขวายไปแล้ว ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงหยุดขวนขวาย นี่คำว่าหยุดขวนขวาย ภาษาไทยเราจะแปลว่าเฉย นี่คำว่าเฉยนี่ท่านก็ให้ระวังอยู้แล้ว เพราะฉะนั้นอุเบกขาในภาษาพระนี่แยกไว้สิบอย่าง และที่เอากันง่ายๆ ฝ่ายดีกับฝ่ายร้ายก่อน อุเบกขาที่เฉย เพราะอะไร เฉยเพราะง่ายที่สุดเพราะรู้กับเพราะไม่รู้ คนไม่รู้ก็เฉย เพราะแกไม่รู้เรื่องรู้ราวว่าอะไรเกิดขึ้น แกก็ไม่รู้ แกก็เฉย ก็เลยเฉยไม่รู้เรื่อง และก็ไม่เอาเรื่อง แล้วก็ไม่ได้เรื่อง เฉยแบบนี้พระท่านเรียกว่าอัญญานุเบกขา เป็นอกุศลเรียกว่าเฉยโง่ เจริญพร นี่ถ้าเฉยไม่รู้เรื่อง ไม่ได้เรื่องอะไรเนี้ยะ ต้องเข้าใจไว้เลยว่าเป็นอกุศล เป็นบาป ไม่ใช่จะไปบอกว่านี่เป็นอุเบกขานะ ก็เป็นอุเบกขาเหมือนกัน แต่เป็นอัญญานุเบกขา ต้องเรียกให้เต็ม ภาษาพระท่านแยกไว้ชัดเลย ว่าเฉยโง่ นี่อีกเฉยหนึ่ง เฉยด้วยปัญญา คือรู้ละ พอรู้แล้วทีนี้ก็วางตัวละ ว่าเราจะปฏิบัติการอย่างไรจึงจะไปสู่จุดหมายคือความถูกต้อง ความดีงาม ตอนนี้จะต้องพิจารณา มันทำให้วางตัวให้เฉยก่อน อย่างน้อยก็เป็นกลางไว้ ความเป็นกลางก็เป็นความเฉยชนิดหนึ่ง และการเฉยเตรียมการก็มีอย่าง เหมือนอย่างเกิดสถานการณ์ร้ายขึ้นมาเนี้ยะ คนไม่รู้เรื่องรู้ราวก็เฉย คนที่รู้ครึ่งไม่รู้ครึ่งก็โวยวายโวกวากไป นี่คนที่รู้ เข้าใจสถานการณ์ชัดเจนเนี้ยะจะเข้าใจและมองออกว่าเรื่องอะไรเกิดขึ้น เราจะดำเนินการอย่างไร ขั้นตอนเป็นยังไง เตรียมการในใจเลยถึงขั้นตอนนั้นจะทำงั้นๆ คนนี้ก็ดูเฉยเหมือนกัน เฉยด้วยปัญญา อันนี้เป็นอุเบกขา ความหมายทางธรรมะในข้อพรหมวิหาร ต้องเป็นอุเบกขาข้อนี่ คือเฉยด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงและจะรักษาความถูกต้อง เพราะว่าเจ้าสามตัวแรกนั้นถ้าไปทำตามมันในกรณีนี้แล้ว ปัญญาบอกเลยว่ามันผิด มันไม่ถูกต้อง เสียความเป็นธรรม ฉะนั้นเจ้าปัญญาบอกก็เลยทำให้เราเฉยด้วยอุเบกขานี่และ อุเบกขาจึงบอกตั้งอยู่บนฐานของปัญญาที่ว่า เพราะฉะนั้นท่านผู้พิพากษาจึงต้องมีตัวนี้เป็นสำคัญมาก เพราะเป็นตัวคุมหมดเลย ไม่ให้เจ้าความรู้สึกมาครอบงำจิตใจ ไม่ต้องพูดถึงความรู้สึกฝ่ายร้ายหรอก เช่นความรู้สึกไม่ดี เกลียดชัง โทสะ และจะทำให้เสียความเป็นธรรม แม้แต่ความรู้สึกที่ดีเมตตา กรุณา มุทิตา ก็ไม่ให้มาเป็นตัวครอบงำ มามีอำนาจบังคับจิตใจของเรา จะต้องให้ปัญญาไปตามที่เป็นจริง อันนี้เป็นหลักการที่สำคัญ เพราะฉะนั้นก็เลยต้องกลายเป็นว่าผู้พิพากษาต้องมีพรหมวิหารครองตน ในขณะนั้นนะเราไม่ใช่ไม่มีเมตตา กรุณา มุทิตา มีหมด มีความเป็นมิตร ความปรารถนาดีต่อคนร้าย ต่อจำเลย ต่อโจทย์ มีทั้งนั้น แต่ความปรารถนานั้นถูกจำกัด ควบคุมด้วยปัญญาที่รู้ความจริง ความถูกต้อง และตั้งท่าทีเป็นอุเบกขา เป็นธรรม เราไม่ได้คิดร้าย แม้จะตัดสิน ลงโทษจำเลย ก็ไม่ได้ตัดสินลงโทษด้วยความเกลียดชัง เรายังมีความเป็นมิตร มีเมตตาต่อเขาในความเป็นมนุษย์ ปรารถนาดี อาจจะระยะยาวด้วยซ้ำว่าถ้าเธอไม่ถูกลงโทษ ไม่แก้ไขความประพฤติ ชีวิตของเธอนี่จะตกต่ำ จะเป็นชีวิตที่ไม่ดี ไม่มีการพัฒนา ทั้งเสียต่อตนเองและเสียผู้อื่นสืบไป เพราะฉะนั้นก็มีเมตตา แม้ต่อจำเลยด้วย ก็เมตตา กรุณา มุทิตา ก็มีพร้อม แต่ตัวอุเบกขาเป็นตัวคุมในขณะนั้น นั่นก็เลยว่าผู้พิพากษามีตัวพรหมวิหารสี่ อุเบกขาเป็นตัวสำคัญที่สุด ที่จริงก็เป็นสำคัญทั้งนั้นแหละ ผู้ที่จะดำรงรักษาสังคมอยู่ได้ต้องมีตัวอุเบกขาเป็นตัวตรึง เป็นตัวรักษาดุล เป็นตัวที่จะให้ทุกอย่างอยู่ในความถูกต้อง อยู่ประสานกับความเป็นจริงได้ ฉะนั้นไอ้เจ้าสามตัวแรกนั่นพาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ตั้งแต่พ่อแม่เลย พ่อแม่นี่มีเมตตามาก ไม่มีอุเบกขา เลี้ยงลูกเสียคนไปก็มี เมตตา กรุณามาก ตามใจลูก เอาแต่ใจลูก เสร็จแล้วลูกท่านให้เมตตานั้นเพื่อว่ามันสร้างความรู้สึกดีงาม ความรู้สึกที่ดีมีเมตตาก็แผ่ขยายออกไป ออกไปยังลูก ลูกได้รับความรู้สึกที่ดีก็มีความประทับใจ มีความรู้สึกที่ดีเกิดขึ้น ก็มีเมตตาด้ัวย ใจก็โน้มไปทางที่ดี ก็มีเมตตาต่อคนอื่นไป เมตตาก็ขยายไปเรื่อย ความเป็นมิตร ความปรารถนาดีต่อกันในสังคมมมนุษย์ก็แผ่ขยายไปด้วยการเริ่มต้นที่พ่อแม่ แต่ทีนี้ถ้าพ่อแม่ปฏิบัติผิด ก็กลายเป็นเมตตาอย่างเดียว เอาแต่ใจ ตามใจลูก ต่อไปนี้แทนที่เขาจะมีเมตตาต่อผู้อื่นนี้ เอาใจเขา เขาเรียกร้องแล้ว เรียกร้องแล้ว เอาใจเขา เขาก็เอาแต่ใจเขา เราเอาใจเขา เขาเอาแต่ใจเขา ทีนี้เขาเป็นนักเรียกร้อง ทีนี้เขาไม่เมตตาคนอื่นแล้วเชื่อไหม ทีนี้เขาโทสะง่าย ไม่ได้อะไรนิดหน่อยก็หงุดหงิด โกรธเคือง เป็นคนโทสะแรงไปเลย ผิดวัตถุประสงค์หมด ฉะนั้นท่านจึงให้อุเบกขาคุมตลอด พอมีอุเบกขาคุม ก็จะดูว่ามันถูกต้องหรือเปล่า ไอ้ตัวความถูกต้องมันอยู่ด้วยอุเบกขาคุมไว้ แล้วก็ปัญญาจะบอกว่า เออ...ลูกนี่เขาไม่อยู่กับเราตลอด เราทำให้เขาตลอดไม่ได้นะ ต่อไปเขาต้องรับผิดชอบตัวเองด้วยตนเอง อ้าว...แล้วถ้าเขายังทำไม่เป็นแล้วต่อไปเขารับผิดชอบตัวเอง เขาทำไม่เป็นแล้วเขาจะอยู่ได้ไง เราไม่ได้ไปอยู่ทำให้เขาตลอดเวลา นี่แหละอุเบกขาที่ประกอบด้วยปัญญา ก็จะบอกพ่อแม่ บอกว่า โอ้...งั้นเราต้องเปลี่ยนแล้วนะ คือฝึกเขา ก็เลยนะ ท่านก็ให้อุเบกขาไว้เพื่อจะมารักษาดุลว่าไม่ทำให้ลูกอย่างเดียว จะดู ให้ลูกทำด้วย พอมีอุเบกขาก็ต่อไปก็ดูว่าลูกเราจะต้องทำอะไรเป็นบ้าง แล้วก็เตรียมเลย ให่้เขาฝึก เราเป็นที่ปรึกษา อุเบกขานี่แปลว่าดูอยู่ใกล้ๆ แล้วคอยดูอยู่ใกล้ๆ ตัวศัพท์มันเป็นแบบนั้นอุเบกขา คอยดูอยู่ใกล้ๆ คอยดู อ่ะ ตอนนี้เราอยู่ด้วยเนี้ยะ ได้เปรียบ เพราะต่อไปถ้าเขาไปทำเอง ฝึกเองนี่ เขาจะไม่มีผู้ที่จะปรึกษา แนะนำไม่ได้ เขาก็พบความลำบาก เราก็ให้เขาฝึกโดยเราเป็นที่ปรึกษาช่วย เขาทำไมเป็น ทำไม่ถูก ทำไม่ได้ผลดี เขาติดขัด เราก็จะได้ช่วยแนะนำ บอกสิ เราก็เป็นที่ปรึกษา อุเบกขานี่เป็นหน้าที่ของผู้ที่ปรึกษา แล้วก็จะทำให้ลูกนี่เก่ง ปัญญาคิดหมดว่าลูกนี่จะต้องทำอะไรเป็นบ้าง จะต้องเก่งด้านไหนบ้าง เอามาฝึกลูก แล้วก็มาดูให้ลูกทำ นี่เรียกว่าอุเบกขา พ่อแม่จะสมบูรณ์เมื่อมีอุเบกขา ถ้ามีเมตตา กรุณา มุทิตาอย่างเดียว ก็ลูกอ่อนแอ เอาแต่ใจ แล้วก็ไม่ไปไหนละ ดีไม่ดีก็จิตใจเสียไปด้วย แทนที่จะมีเมตตา กรุณา กลายเป็นคนเจ้าโทสะไปเลย และถ้ามีอุเบกขา ลูกก็จิตใจงาม ทั้งมีปัญญาดี ทั้งฝึกตนเองและสามารถทั้งเก่ง ทั้งดี และก็มีความสุขอย่างที่ว่าตั้งแต่ในครอบครัว ทีนี้ผู้พิพากษาแหละ ก็อย่างเนี้ยะ ก็เป็นผู้ที่มีหน้าที่ผดุงสังคมในระดับกว้าง ก็มาบังคับใช้ให้กฎหมายมีผลชัดเจนขึ้นมา ทีนี้ก็เลยต้องใช้อุเบกขาเป็นตัวคุมที่สำคัญมาก เพื่อรักษาความเป็นธรรมไว้ในสังคม แต่ว่าไม่ปราศจากเมตตา กรุณา มุทิตา อย่างที่ว่าแล้ว นี่แหละก็คือหลักธรรมสำคัญสำหรับประจำจิตใจของผู้พิพากษา เป็นว่ามีพรหมวิหารครบสี่ โดยมีอุเบกขาเป็นตัวคุมหรือเป็นแกนที่คุม ะรรมะข้อนี้สำคัญนะ กลายเป็นว่าอุเบกขาสำคัญกว่าเมตตา กรุณา มุทิตาเลย แต่ว่าต้องเข้าใจให้ถูกต้อง นั่นอันตรายอย่างยิ่งในสังคมไทยเลยที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องพวกนี้ นั่นเมื่อเราพูดถึงอะไร ต้องมีความชัดเจนในเรื่องนั้น ก็เลยขอแทรกออกไปนอกนิดหนึ่งว่าสังคมไทยเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่ชัดเจน อะไรต่ออะไรมันต้องชัดเจน แล้วความชัดเจนนี่ก็คือทำให้เกิดปัญญา ปัญญาจะเป็นปัญญาแท้มันต้องชัด ถ้าไม่ชัดจะไม่เป็นปัญญา ในสังคมไทยเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจน อะไรต่ออะไรคลุมเคลือไปหมด รู้ก็รู้กันอย่างคลุมๆ เคลือๆ ก็เลยเว้าๆ แหว่งๆ ผิดๆ พลาดๆ เพี้ยนๆ ก็เป็นอันตราย นั้นเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี่เป็นตัวยาสำคัญ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ของสังคม แต่ว่าเราเข้าใจกันผิดพลาด เพี้ยนมาก นั้นจะต้องมารีบแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ ถ้าหากว่าเอาพรหมวิหารมาอยู่ในหลักที่แท้ไม่ได้นี่สังคมเอาดีไม่ได้ พูดได้ัยังงี้เลย แล้วถ้าทำได้ สังคมดีแน่นอน มีแค่สี่ตัวนี้ ก็สังคมได้หลักประกันละ เอาทีนี้ตกลงว่าข้อนี้ละชุดพรหมวิหารสี่ ก็มีอุเบกขานี้เป็นตัวหลัก นี่ต่อไปคนในสังคมนี้มันก็จะ ทีจริงพรหมวิหารมันเป็นธรรมประจำใจ ท่านก็บอกแล้วนี่พรหมวิหาร ธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดี กว้างขวาง ยิ่งใหญ่อย่างพระพรหม นี้เมื่อมันอยู่ในจิตใจอย่างเดียวมันไม่พอ ก็ต้องออกสู้ปฏิบัติการ สู่ปฏิบัติการท่านก็มีธรรมะที่รับช่วง ธรรมะที่รับช่วงนี้ก็มีสี่ข้อเหมือนกัน ก็เลยขอโอกาสกล่าวในที่นี้ ก็ไม่เฉพาะท่านผู้พิพากษาเท่านั้นที่จะใช้ ทุกคนในสังคมก็มีหน้าที่ที่เราในฐานะผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องช่วยกันรักษาด้วย ทีนี้มีเมตตาอยู่ในจิตใจอย่างเดียวก็นั่งแผ่เมตตาอยู่นั่นก็ไม่ต้องทำอะไร เคยมีฝรั่งคนหนึ่งไปเขียน เขียนหนังสือเรื่องเมืองไทยและสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา แล้วก็ว่าเมืองไทย บอกว่าพระพูทธศาสนาสอนคนไทยให้เป็นคนดี ทำความดี ยกตัวอย่างทำความดีก็แผ่เมตตาว่างั้น ไม่ใช่ว่านั่งแผ่เมตตาอย่างเดียว นอนแผ่เมตตาด้วย ตกลงว่าคนไทยเราชาวพุทธนี่จะเป็นคนดี ไม่ต้องทำอะไร ก็นอนแผ่เมตตาก็พอ ฝรั่งคนนี้ชื่อสมชายด้วยนะ เป็นนักปราชญ์อัลเบิร์ต ชไวเซอร์ ก็อาจจะเคยได้ยิน แล้วก็มีท่านที่เอามาอ้าง มาตั้ง ตอนที่ตั้งนิด้านี่ นิด้าสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตอนระยะนั้นตั้งแล้วก็มีคณะที่มาช่วยประสานงานกับต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรู้สึกจะอินเดียน่า มหาวิทยาลัยอินเดียน่าก็จะมีอาจารย์หนึ่ง เดี๋ยวดู นึกชื่อคุ้นๆ ตอนนี้นึกไม่ทัน ท่านผู้นี้มาร่วมตั้ง นี่มาร่วมตั้งคณะรัฐประสานสนศาสตร์ ธรรมศาสตร์ก่อน จากคณะรัฐประสานสนศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แล้วก็มาเป็นนิด้า นี่ท่านผู้นี้ก็เขียนหนังสือนี้ขึ้นมา เขียนตามท่ายอัลเบิร์ต ชไวเซอร์นี้เลย ว่าพระพุทธศาสนานี้เป็นตัวอุปสรรคในการพัฒนาสังคมไทย ทีนี้ตอนนั้นก็มีท่านผู้ใหญ่ของไทยเราก็ด่าท่านอาจารย์ศาสดาจารย์ผู้นี้กันไม่น้อยเลย อาจารย์สุภาพบอกอย่าไปด่าเขาเลย คือต้องวางใจอุเบกขาล่ะ อุเบกขาก็ต้องวางใจเป็นกลางรับฟัง เพราะว่าเราอาจจะมีข้อบกพร่องให้เขาเห็น แล้วเราก็ต้องกลับมาปรับปรุงแก้ไขตนเอง สองที่เขาเข้าใจผิดในหลักธรรม เราก็ต้องชี้แจงให้เขาเข้าใจ พระพุทธเจ้าทรงเน้นไว้ ใครมาด่าพระะพุทธเจ้า ด่าพระธรรม พระสงค์ อย่าไปโกรธเขา พระพุทธเจ้าตรัสว่างั้น ให้ฟังแล้วก็พิจารณาแล้วก็ค่อยๆ พูดค่อยจา แก้ไขชี้แจงเขาด้วยปัญญาไปตามความเป็นจริง อันนี้ก็เหมือนกัน เราควรจะได้ประโยชน์จากคนที่ด่าเรา เขาด่าเราต้องได้ประโยชน์ว่างั้น เพราะงั้นจะเสียประโยชน์เปล่าๆ เขาอุตส่าห์มาด่า คิดตั้งนานกว่าจะด่าได้ บางคนคิดตั้งเป็นเดือนนะ ศาสตราจารย์นี้คิดเป็นเดือนนะถึงจะด่าออกมาได้ ที่เรียกว่าด่านี่ ท่านอาจจะไม่ตั้งใจด่าก็ได้ นี่คำของท่านถือว่าด่าที่คิดเป็นเดือนนี่ท่านก็ใช้พลังงานไปเยอะ เราก็ควรจะได้ประโยชน์จากคำด่าของท่าน เจริญพร เจริญพร ที่นี้ก็เราก็ได้ประโยชน์จากคำด้่าของท่านมาพิจารณา ก็แล้วเราก็ตรวจสอบสังคมเราดู มันก็เป็นอย่างนั้นด้วย สังคมของเรา คือเราแยกได้นิว่าหลักธรรมที่แท้สอนยังไง สอง คนไทยที่เป็นชาวพุทธน่ะ เข้าใจหลักธรรมนั้นอย่างไร คือตัวธรรมะที่แท้มันจะเป็นไปตามความเข้าใจของคน อาตมาภาพยังนึกเวลานี้มีปัญหาของสังคมไทยเนี้ยะ มีอาจารย์พูด เอาธรรมะในพระพุทธศาสนามายกมาอ้าง มีวันหนึ่งอาตมาภาพฟังวิทยุ อาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่งก็มาพูดบอกว่า พระพุทธศาาสนาสอน อัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน ทำให้คนไทยไม่ช่วยกัน ก็ตนเป็นที่พึ่งของตน เป็นเรื่องของตัวเอง ใครก็ต้องช่วยตัวเองสิ งั้นคนก็เลยไม่ช่วยกัน ก็ว่างั้น จริงไม่จริงไม่รู้ ทีนี้ต่อมาอีกกี่วันไม่ทราบ อาตมาได้ยินวิทยุอีกแหละ อีกอาจารย์หนึ่งมาพูดบอกว่าพระพุทธศาสนาสอนให้คนเมตตา กรุณา มุทิตา ช่วยเมตตา กรุณา ช่วยเหลือกัน คนไทยก็เลยขี้เกียจ ไม่ทำงานทำการก็หวังพึ่งให้คนอื่นเมตตาใช่ไหม เออ...ถูกไหม ถูกทั้งนั้นเลยถ้ามันมองผิดทางคือไม่รู้จักปฏิบัติ มันมองธรรมะไม่ถูกทิศถูกทาง ไม่ถูกจุด ถูกแง่ เสียหมดเลย อาตมาก็ฟัง ว่ากันไป ทีนี้มันเป็นหน้าที่ของเรา เราก็เหมือนกับว่ามาฟัง เขาเข้าใจยังไง เขาเข้าใจถูก เข้าใจผิดยังไง แล้วเราก็มาตรวจสอบ เรื่องนี้ต้องเข้าใจให้เต็ม เหมือนอย่างนี้แค่ชุดเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขานี้ เราแยกออกมาพูดเป็นเสี่ยงๆ เมตตา กรุณา ไม่ถึงอุเบกขา ก็ยุ่งแหละ ก็เสียหายหมดสังคม ฉะนั้นมันก็เตือนเราน่ะ ที่เขาว่าเขาด่าน่ะ ทำให้ตรวจสอบ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาพูดนั้นถูกแล้วนะ แต่มันเป็นตัวกระตุ้นกระตุก เตือนสติเราให้เรามาดู มาตรวจสอบ มาพิจารณาสืบค้นลงไป อีกอาจารย์หนึ่งท่านเป็นผู้ใหญ่ละ ไม่ต้องออกชื่อล่ะ ท่านทำงานวิจัยมาอันหนึ่ง ท่านว่าอย่างนี้นะโยมฟังไว้ จะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้ นานแล้วเป็นสิบปีละ ท่านทำงานวิจัยมา ท่านบอกว่าคนชาวอีสานเนี้ยะมีชีวิตแบบอยู่ไปวันๆ หนึ่ง เพราะถือหลักอนิจจังของพระพุทธศาสนาว่างั้นเออ ก็อนิจจัง อะไรต่ออะไรมันก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนแปลงไป แล้วเราจะทำได้ ถ้ามันเจริญแล้วมันก็เสื่อมแล้วมันก็เจริญ แล้วเราจะไปทำไงได้ ก็ต้องปล่อยมันไป ถูกไหม เออ ถ้าคนไม่เข้าใจนี่ก็ชักเห็นคล้อยว่าท่ามันจะจริงอย่างนั้น ทำให้คนไทยถือหลักอนิจจังแล้วก็ปลง เออ อะไรมันเจริญมันจะเสื่อมก็ปลง นะก็เลยไม่ขวนขวาย ไม่ทำการทำงาน ไม่เอาจริงเอาจัง อนิจจัง ถ้านับถือผิดก็ยุ่งอยู่เหมือนกันน่ะ ฉะนั้นต้องสอนกันให้เต็มที่ พระพุทธศาสนาอยู่ได้ด้วยการศึกษา ถ้าไม่ศึกษาหมดเลยนะ ถือผิด ปฏิบัติผิด แล้วก็ทำให้สังคมเสื่อมโทรมได้ ชีวิตก็เสียหายได้ อนิจังนี่พูดง่ายๆ ในฐานะที่พูดหมดแล้ว อนิจจัง สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน เสื่อมแล้วเจริญ เจริญได้แต่มันไม่ได้เจริญ เสื่อม เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย นี่ล่ะสำคัญ อนิจจังมันไม่ได้จบแค่นั้น นี่ถ้าเราไปบอกอนิจจัง มันเสื่อม มันเจริญ มันเปลี่ยนแปลงไป เอ้อ...จะทำไงได้ ก็มันก็เปลี่ยนแปลงไป แล้วมันก็หมด ก็ไม่ต้องทำอะไรสิเนอะ ไอ้ที่ว่ามันเปลี่ยนแปลง มันเสื่อม มันเจริญนี่ มันไม่ได้เป็นไปเองเลื่อนลอยนะ มันเป็นตามเหตุปัจจัย ตอนนี้แหละ มันบอกเราให้ใช้ปัญญาดูว่า ไอ้ที่มันเสื่อมก็เพราะมันมีเป็นเหตุปัจจัยให้เสื่อม ที่มันเปลี่ยนแปลงไปเจริญก็เพราะเหตุปัจจัยให้เจริญ งั้นเราอยากจะเสื่อมหรืออยากเจริญล่ะ ถ้าเราอยากเจริญ เราก็ต้องไปศึกษาปัจจัยใดที่จะทำให้เจริญก็ไปสร้างเหตุปัจจัยนั้น แล้วถ้าเหตุปัจจัยใดทำให้เสื่อมก็ไปป้องกัน แก้ไขมันซะ เราจะได้เจริญ แล้วเปลี่ยนไปในทางเจริญ พระพุทธเจ้าก็จัดธรรมะไว้ว่า ถ้าเธอทำตามนี้ก็จะมีแต่เจริญไม่มีเสื่อม อ้าว ทำไมพระพุทธเจ้าบอกว่าปฏิบัติตามธรรมะนี้แล้วเจริญ ไม่มีเสื่อม เอ๊ะ...พระพุทธเจ้าตรัสว่าอนิจจัง สิ่งทั้งหลายมันเสื่อมก็ต้องเจริญได้ เจริญได้ก็ต้องเสื่อมได้ นี่ถ้าพระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติตามนี้แล้วมีแต่เจริญ ไม่มีเสื่อม เดี๋ยวหาว่าพระพุทธเจ้าสอนธรรมะขัดกันอีก ดูมันยุ่งไปหมด เจริญพร หากไม่ศึกษาธรรมะให้เข้าใจ ทีนี้วุ่นวายแน่ ฉะนั้นชาวพุทธนี้ขาดการศึกษา ขออภัยนะพูดกันตรงๆ แล้วพระพุทธศาสนาอยู่ได้ด้วยการศึกษาเท่านั้น ถ้าไม่มีปัญญา รู้เข้าใจ แล้วมันปฏิบัติไม่ถูก เริ่มตั้งแต่เชื่อผิด แล้วก็เข้าใจผิดพลาด ตำราสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งไม่ต้องออกชื่อ เขียนมาว่าบทบาทของพระนี้ก็เหมือนหมอผีว่างั้น อันนี้ไปดูได้ตำราของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง อ้าว...เป็นยังไงหมอผี ก็ศาสนาเป็นที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ปลอบประโลมใจ เวลามีทุกข์ก็ปลอบประโลมใจได้ และหมอผีก็ปลอบประโลมใจได้ ยุคนี้ผีมันจะมาเข้า มันจะมาช่วย เอาผีออก ไล่ผีออกไป สบายใจ ใช่ไหม ตกลงพระจะมีบทบาทเหมือนหมอผี ช่วยปลอบประโลมใจให้คนสบายใจ และโยมยอมไหม อย่างนี้เป็นต้นนี่ ตัวอย่างของธรรมะที่เข้าใจไม่เพียงพอ ไม่ถูกต้อง ขาดการศึกษา แม้แต่พรหมวิหารนี่ก็วุ่นวายไปหมด แล้วเมื่อเข้าใจผิดพลาด ไม่รู้จริง ก็ทำให้เกิดผลร้ายด้วย เราอย่าไปเพียรไปว่าเขา เวลาเขามาว่ามาด่า นั้นต้องเอาประโยชน์ให้ได้ถ้าใครมาด่า ต้องเอาประโยชน์ให้ได้ เรียกว่า โยนิสงค์ วมสิการ รู้จักพิจารณา บอกว่าคนมาด่าเรานี้ อย่างที่ว่าแล้วกว่าเขาจะด่าเราได้นี้ เขาใช้พลังงานสมองไปเยอะแล้ว เราก็ทุ่นเวลา ทุ่นแรง ทุ่นพลังงานเราไปเยอะละ ถ้าเราไปนั่งคิด บางทีเราดูตัวเราเองไม่ออกใช่ไหมละโยม เออ... แย่เลย เราได้เปรียบ ได้ประโยชน์ เราก็เอามาใช้ประโยชน์ซะ ก็กลายเป็นดีไปหมด ฉะนั้นถ้านับถือพระพุทธศาสนาถูกต้องนี่ หนึ่ง ต้องได้ความจริง สอง ต้องได้ประโยชน์ พอเวลาเจออะไร ประสบอะไรนี่เรียกว่าได้เรียนรู้ เดี๋ยวนี้เขาใช้ศัพท์กันอย่างงี้ ที่จริงก็เป็นท่าทีของหลักธรรมมาตลอด รู้ตลอด เรียนรู้ แล้วก็ได้สองอย่าง หนึ่ง ได้ความจริง สอง ถ้าไม่ได้ความจริง ก็ต้องได้ประโยชน์ มองให้เป็นประโยชน์ให้ได้ ก็ไม่ได้เกิดผลเสียอะไรทั้งนั้น ไปเจออะไรต่อมิอะไรที่เขาว่าร้าย พระพุทธเจ้าก็สอนให้เราเอาประโยชน์ให้ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าร้ายแค่ไหน ต้องเอาประโยชน์ให้ได้ อันนี้เป็นการฝึกตัวเอง ถ้าเราไปเจอสถานการณ์ร้ายสักอย่างของตัวเอง เราจะมองยังไงให้มันได้ประโยชน์ให้ได้ ให้มันได้สักแง่หนึ่ง และนี่ก็เป็นการฝึกปัญญาที่เรียกว่า โยนิสงค์ วมสิการ แล้วก็จะมาใช้กับงานการทุกอย่างได้หมด นี่ก็เรื่องของผู้พิพากษา ที่ตอนนี้ก็มาถึงซึ่งหลักพรหมวิหาร