แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เออแล้วเดี๋ยว คราวที่แล้วนี่เรื่องเถรวาทนี่เติมซักนิดหน่อย คือพูดไปแล้ว ก็อย่างที่ว่า เวลาพูดไปถึงจุดนี้แล้ว เอ้อนึกขึ้นมาได้ว่าน่าจะพูดอันนั้นด้วย แต่เรื่องที่พูดกำลังค้างอยู่ก็พูดต่อไป พอพูดจบเอ้าลืมที่ไอ้จะพูดก็หายไปซะอีก คือเรื่อง เถรวาทเนี่ยที่จริงก็พูดไปครั้งหนึ่งแล้ว คราวที่แล้วแต่ว่าให้ชัดขึ้นอีกหน่อย คือเถรวาทนี่ ความจริงมีคำนี้ในพระไตรปิฎกแต่ใช้ในความหมายอื่นไม่ได้ใช้อย่างนี้ เพราะตอนนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่นิพพาน ก็เถรวาทจะเกิดได้อย่างไร ก็เป็นไปไม่ได้อยู่เอง เหมือนอย่างว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ได้นิพพานมีพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นไปได้ไหมครับ ก็เป็นไปไม่ได้ มันเป็นอยู่เอง ต้องรอให้พระพุทธเจ้าปรินิพพานก่อน จึงจะมีพระเจดีย์หรือพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้ นี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็เกิดการสังคยนารักษาพระพุทธศาสนาไว้ พระพุทธศาสนาก็อยู่มาอย่างนี้ ก็เป็นพุทธศาสนาที่รักษาไว้ตามเท่าที่รักษาได้จากพระพุทธเจ้า ที่ตามที่สังคยนาก็ยังไม่มีชื่อเรียก จนกระทั่งมาเกิดพระประพฤติที่ทำให้เกิดปัญหาใน ค.ศ. 100 ค.ศ. 100 ก็เกิดมีพระวัชชีบุตร ที่ประพฤติวัตถุ 10 ประการ ถือว่าสิ่งนี้ถูกต้อง ทีนี้พระเถระที่รักษาพระธรรมวินัยมาตามแบบแผนที่ว่าที่ยังไม่มีชื่อนี่ใช่ไหม ก็บอกอย่างนั้นไม่ถูก ก็เลยเกิดการเหมือนกับกรณีพิพาทกัน เกิดการไม่ลงรอยกัน ก็เป็นเหตุให้เกิดสังคายนาครั้งที่ 2 ตอนนี้ก็ต้องมีชื่อเรียก เพราะว่ามีพวกที่ไม่ถือตามเดิม และก็มีผู้ที่ถือตามเดิม ของเดิมที่รักษากันมาก็ชื่อพุทธศาสนาเรียกอะไรก็แล้วแต่ เดิมก็คำว่าพุทธศาสนาก็ไม่ใช่เป็นชื่อที่ชัดเจน เพราะว่าเราเรียกว่าธรรมะวินัย พระธรรมะวินัยของพระพุทธเจ้า เวลาบอกอนุศาสตร์กันยังใช้คำนั้นไม่มีคำว่าพุทธศาสนา ว่าพระธรรมะวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว ที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว คำว่าพระพุทธศาสนาก็ยังไม่ได้ใช้เป็นชื่อพุทธศาสนา ตอนนั้นก็ว่าไปตามคำแปลเดิม ก็แปลว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ทีนี้เอาล่ะสิเกิดมีพวกที่แตกไปไม่ถือตามคำสอนที่รักษากันมา ก็ต้องไปเรียกคนที่ถืออย่างนั้นก่อนใช่ไหม ก็เลยถือพวกเรียกพวกที่เป็นกลุ่มที่ถือนั้นเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากก็เป็นสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็มีชื่อเรียกเป็นมหาสังฆิกะ เป็นสงฆ์หมู่ใหญ่แล้วพวกนี้ก็พอพระที่ถือตามเดิมนี่มาทำสังคยนา เพื่อมาทบทวนหลักธรรมวินัยที่รักษากันไว้แต่สังคายนาครั้งที่ 1 ให้แม่นยำไว้ ฝ่ายโน้นก็ทำสังคายนาแข่ง เรียกว่ามหาสังคีติ ก็เป็นมหาสังฆิกะ ตอนนี้ก็เลยเรียกหลักคำสอนที่เป็นระบบ ซึ่งรักษากันมาแต่เดิม เรียกว่าเถรวาท เกิดมีชื่อขึ้นมาตอนก็เท่ากับ 2 ก็มีเถรวาท เราก็พูดได้คร่าว ๆว่ าคำว่าเถรวาท หรือคำว่าที่เรียกเป็นนิกายนี่ เกิดขึ้นเมื่อค.ศ. เมื่อประมาณ 100 ก็เลยเรียกเถรวาทกับมหาสังฆิกะ เอาละครับ ทีนีต่อมาเนี่ย มหาสังฆิกะ ต่อไปทีนี้พอแยกแล้วทีนี้แยกกันไม่มีจบ ให้ท่านสังเกตุ พอแยกแล้วก็ทีนี้พวกที่แยกก็ไปทะเลาะกันอีก แยกกันต่อไปอีก เพราะว่าเหมือนกับบอกว่าเนี่ยอันนี้ต้องถือได้แล้ว อาจารย์ผมสอนมาถือมา ทีนี้ต่อมาก็อาจารย์ก็มีถือต่อกันไปอีกใช่ไหม อาจารย์องค์ใหม่ก็มารับ อาจารย์นี้ก็เอ้อ อันนี้ก็น่าจะปรับตัวก็แก้ไปอีก ลูกศิษย์ก็มาถือตามอีกก็ไปทะเลาะกับกลุ่มอื่น ถ้ากลุ่มอื่นที่ไม่ถืออาจารย์นี้ พอนานเข้าก็แยกกันไป มหาสังฆิกะก็แยกออกไปอีก 6 นิกาย อ้าอีก 5 นิกาย เป็นอาจาริยวาท 5 ถือตามลัทธิอาจารย์ อาจารย์สอนก็ว่าไปตามอาจารย์ อันนี้เรียกว่าใช้อาจาริวาท ถือตามลัทธิอาจารย์ ก็เป็นอาจาริวาท 5 บวกกับมหาสังฆิกะเดิมเป็น 6 ฝ่ายเถรวาทนี้ก็ยังมีผู้ที่แยกไปอีก เพราะเขาได้ตัวอย่างจากพวกที่แยกไปนั้นแล้ว ก็อยากจะให้ท่านที่ถือหลักเดิมนี่ ยอมปรับตัวบ้างดูซิ เขาปรับ เขาแก้เป็นยังไง เขาอยู่ได้สบายกว่า เราควรจะปรับแก้บ้าง เอ้า ฝ่ายผู้ที่หลักนี้ก็บอกว่าไม่ได้ เราต้องยอมเสียสละเราไม่สะดวกบ้างก็เอาไว้เถอะ รักษาหลักการไว้ นี้พวกที่อยากจะแยก อยากจะถือไม่สำเร็จไม่ได้อย่างใจ ก็แยกไปแยก ก็แยกไปก็อย่างนี้ แยกกันไปอีก 11 อาจาริวาท แยกจากเถรวาท ในบรรดา 11 เนี่ยมีชื่อสำคัญที่ยืนยงมาอยู่สมัยหลัง ที่ถูกเรียกอยู่ในคำว่าหินยาน เช่นนิกายสัพพทาฐิกะ สัพพทาฐิกะวาท สัพพทาฐิกะวาทนี่เป็นภาษาบาลี เรียกเป็นสันสกฤตว่า สะโระวาสิวาทะ แล้วก็เวลาเรียกเป็นคนเรียกว่า สอระวาสิวาทิน เป็นนิกายที่มีชื่อมากยั่งยืนมา ก็เป็นนิกายที่คล้ายมากกับเถรวาทนี่แหละ แต่ว่ามีบางอย่างที่เขาแยกออกไป แล้วก็ไปเจริญรุ่งเรืองในอินเดียภาคตะวันตกเฉียงเหนือในสมัยหลังพระเจ้าอโศก จนกระถึง ค.ศ. 600 พระเจ้ากนิษกะเกิดขึ้นมาเจอนิกายสอระวาสิวาทะ แล้วเป็นยุคที่เกิดมหายาน แล้วนิกายสะระวาสิวาทะ ก็จัดสังคยนาครั้งที่ 3 ขึ้นมาที่ทางอินเดียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วมหายานก็ยอมรับสังคยนาของสอระวาสิวาทะ ที่พวกเข้าถือว่าเป็นหินยานด้วย ก็เลยสังคยนาครั้งที่ 3 อันนั้นของฝ่ายสะระวาสิวาทะก็เลยกลายเป็นสังคายนาครั้งที่ 3 ของมหายานไปด้วย เพราะมหายานยอมรับ แล้วตอนนั้นก็ ค.ศ. 600 ก็คือระยะเกิดมหายาน เอาล่ะ 1 แล้ว
แล้วก็ที่แตกจากเถรวาท ที่อยู่ใน 11 นิกายอีกอันที่มีชื่อจนปัจจุบัน ชื่อนิกายธรรมะคุตติ เป็นสันสกฤตว่าธรรมะคุบตะ ธรรมะคุบตะนี่ก็มีที่ทิเบต องค์ดาไลลามะพุดถึงว่า ตอนนี้ก็คือว่าทางตะวันตกก็เกิดปัญหาเรื่องจะตั้งภิกษุณีสงฆ์ได้ไหม องค์ดาไลลามก็ยังไม่ยอมตัดสิน จนกระทั้งมีการประชุมใหญ่เมื่อไม่นานนี่น่ะ ประชุมใหญ่ท่านก็ยังตัดสินไม่ได้ พวกศาสนิกจำนวนมาก็หวังนึกว่าองค์ดาไลลามะจะตัดสินให้ได้ องค์ดาไลลามะก็บอกว่า ฉันไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า จะมาตัดสินไม่ได้ต้องแล้วแต่สงฆ์ ก็เลยเป็นอันว่าของทิเบตก็เลยยังไม่มีภิกษุณีสงฆ์เหมือนกันต้องรอ แล้วท่านก็อ้างนิกายธรรมะคุบตะ แสดงว่านิกายธรรมะคุบตะยังมีในทิเบตก็เป็นสายของแตกจากเถรวาทไป ก็อยู่ในพวกที่ถูกเรียกว่าหินยาน ก็ยังเหลืออยู่ก็คงจะเป็นนิดหน่อยเป็นส่วนย่อยแต่ก็ยังมีอยู่ ก็องค์ลาไลลามะยังฟังนิกายธรรมะคุบตะด้วย ว่านิกายธรรมะคุบตะถึงจะยังไง ก็ยังพยามยึดหลักการเดิมอยู่ ก็เป็นพวกแตกจากพวกเถรวาทนี้ไป งั้นก็ตกลงว่าจากมหาสังฆิกะออกไป 5 อาจาริวาท รวมกับมหาสังฆิกะด้วยเป็น 6 แล้วก็ทางเถรวาท มีอาจาริวาทแตกออกไปอีก 11 ก็เป็น 12 รวมกับ 6 ก็เป็น 18 ถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมี 18 นิกาย พุทธศาสนามีถึง 18 กาย แล้วก็นี่ ต่อมาก็เรื่อยมาอย่างที่ว่า พวกที่พอเกิดมหาสังฆิกะต่อมาก็พัฒนา เข้าใจว่า สันนิษฐานว่าพัฒนาเป็นมหายาน ในราว ค.ศ. 600 แล้วมหายานก็เรียกนิกายอื่นเป็นหินยานหมด เพราะถือว่าเรวทรามอ่อนด้อยคุณภาพ แล้วก็หินยานก็เลยที่ว่า ก็ค่อย ๆ หายไปก็เหลือเถรวาท ปรากฏว่าไปเหลือธรรมะคุบตะอยู่ที่ทิเบตนี้ด้วยอีก สะระวาสิวาทะก็หายหมดไปหมดแล้ว อันนี้ก็ไปบรรจบกันที่เล่าคราวที่แล้ว
ทีนี้ ก็แถมอีกนิดนึงนี่ นี้ก็เป็นอันว่า มีเถรวาทเกิดขึ้นมาแล้ว แล้วเถรวาทก็ยืนยงมา ที่นี้เวลานี้มหายานก็พอแตกนิกาย เถรวาทก็ไปอันเดียวคือหมายความว่ามีอันเดียว ก็มีใน ลังกา พม่า ไทย นี่น่ะ แล้วก็ ลาว เขมรด้วย ก็เถรวาทก็อย่างเดียวถือวินัย พระไตรปิฏกบาลีอย่างเดียวกันหมด นี้ฝ่ายมหายานนี้เพราะว่าเป็นอาจาระวาท อาจาริวาทแบบสันสกฤต ก็เลยแยกความคิด ความเห็น เชื่อถืออะไรต่ออะไรไปก็เรื่อย ก็เลยเกิดนิกายใหม่กันเรื่อยเลยไม่รู้จักจบ เช่นในญี่ปุ่นปัจจุบันมี 200 กว่านิกาย ในญี่ปุ่นเขาว่าเกิดทุกปีเลยนิกายใหม่ ก็นิกายเก่าก็หาย ๆ ไป อย่างนิกายเก่าสมัยกรุงนาราเป็นราชธานี ก็หมดสูญไปหมดแล้ว มาสมัยนารา มาสมัยเกียวโต มาสมัยโตเกียว มาเป็นยุค ๆ เลย ก็จะมีนิกายพุทธศาสนาเกิดขึ้น แล้วก็นิกายมหายาน เรานี่บางนิกายเข้ายุ่งกับการเมือง พอยุ่งกับการเมืองหนักเข้า ก็มีอิทธิพลการเมืองถึงกับเป็นเหตุให้ย้ายเมืองหลวงนะ พระมหายานนี่แหละ ตอนแรกก็ทางบ้านเมืองพระจักรพรรดิ โอ้ทรงนับถือเลื่อมใสมาก ตั้งพระเถระนั้นเป็นที่ปรึกษาขององค์จักรพรรดิ์น่ะ ต่อมาพระก็เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการการบ้านการเมืองไปมีอิทธิพลครอบงำเขา ไปชี้นำเขา ก็มีอิทธิพลมากด้วยพระนี่เวลามีอิทธิพล เหมือนกับเมืองฝรั่ง ฝรั่งก็มีอิทธิพลเหลือเกิน ก็พอมีอิทธิพลหนักเข้าก็พวกนี้ก็ลำบากใจอึดอัดพวกการเมือง ก็หาทางปลดเปลื้องจากอำนาจ ปลดเปลื้องยุคหนึ่ง ก็ต้องย้ายราชธานีเลย นั้นก็เหตุหนึ่ง บางยุคไม่ได้ย้ายสู้กันเลย กำจัดพระเลยน่ะ ยึดวัดบ้าง เผาวัดบ้าง แล้ววัดก็ตั้งทัพในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในญี่ปุ่นนั้น วัดตั้งกองทัพเลยเพราะวัดนี้ใหญ่มากมีอิทธิพลมาก ตั้งทัพไว้สู้กับบ้านเมืองเลย รบกัน อะไรอย่างนี้น่ะ
นี่ก็เหมือนเมืองฝรั่ง ประวัติมหายานจะมีส่วนคล้ายเมืองฝรั่ง ฝรั่งก็พระของเขาเป็นบาทหลวงอย่าง Bishop เอ้อไม่ใช่ Cardinal เลย Cardinal ใหญ่กว่า Bishop รองจากโป้ป Cardinal Nisalud ผมเคยเล่านี่ ก็เป็นอัครมหาเสนาบดีของประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้บัญชาการทัพ เป็นผู้บัญชาการแผ่นดินแทนพระเจ้าแผ่นดิน หรืออังกฤษก็มี หรือจะเป็น Cardinal เหมือนกัน ของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษก็บัญชาการแผ่นดิน แล้วก็พวกบาทหลวงใหญ่ ๆ Bishop ก็เป็นเจ้าเมืองใหญ่ เป็นเจ้าเมืองใหญ่ ๆ มีทรัพย์สินเงินทองมากมายจนกระทั่ง พวก The Commons พวกประชาชนทนไม่ไหว ก็เลยปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้น เซสเทสโซลูชั่น ขึ้นมากำจัด นักบวชบาทหลวงอย่างเรียกว่าพระเลย เรียกว่าบาทหลวง แล้วขุนนางกำจัด Nobility กับ Clergy 2 ฐานันดร ฐานันดรที่ 1 Nobility ขุนนาง ฐานันดรที่ 2 Clergy นักบวชบาทหลวง แล้วก็ The Commons ก็คือสามัญชนนี้เป็นฐานันดรที่ 3 ขึ้นมา ต่อนั้นก็ฆ่าพวกบาทหลวง บาทหลวงเยอะ ศึกบ้าง อะไรบ้าง ตายบ้าง ยึดทรัพย์ ยึดอะไรกัน ขึ้น Guillotine เยอะแยะไปหมดเลยเนี่ย ยุคปฏิวัติฝรั่งเศส ฝ่ายอังกฤษก็เป็นมหาอัครเสนาบดีก็อย่างที่เคยเล่าแล้วมั้ง พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ตอนนั้นก็พอดีว่า พระองค์ก็อยากจะหย่ากับมเหสีเดิมต้องการจะอภิเษกมีมเหสีใหม่ก็ต้องขออนุญาตโป้ป เพราะโป้ปมีอำนาจทั่วยุโรป ขออนุญาตไปโป้ปก็ไม่ยอม แม้ก็ทรงขัดเคืองเหลือเกิน ทำไงก็ไม่ได้ พอดีว่า Martin Luther King ประท้วง Protest ต่อพระองค์สันตะปาปาที่เยอรมันใช่ไหม องค์สันตะปาปาก็ต้องไปยุ่งกับการปราบพวกเยอรมัน พวกที่เรียกว่า Protestant พวก Protest พวกประท้วงนี่ ก็คือพวก Martin Luther ไม่ใช่ Martin Luther King น่ะ Martin Luther เดี๋ยวเติม King ไปอยู่อเมริกาไปอีก ปราบ Martin Luther นี่ก็ เจ้าเยอรมันก็ไปคุ้มครองอยากจะพ้นอำนาจอิทธิพลของโป้ป ก็สู้กัน ทีนี้พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษได้ที องค์สันตะปาปา องค์สันตะปาปาต้องยุ่งอยู่กับทางเยอรมันนี่ มายุ่งกับเรามากไม่ได้แล้วได้ที พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ก็เลยประกาศเป็นอิสระจากอำนาจของ Vatican จากโรม ตอนนั้นกรุงโรม ตั้งตนเป็นอิสระตั้งนิกายใหม่ ตั้งศาสนจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า The Church of England หรือนิกาย Anglican พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 พระเจ้าแผ่นดินตั้งนิกายใหม่ ตั้งนิกาใหม่ขึ้นมาแล้วพระองค์ก็สถาปนาพระองค์เองเป็นประมุขศาสนจักรไม่ขึ้นต่อโป้ปแล้วที่นี้ นี้อัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ก็เลื่อมใสภักดีต่อโป้ป พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ก็ให้ประหารชีวิตเสีย เพราะเป็นนักบวชบาทหลวงใหญ่ ตอนนี้พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 เป็นประมุขศาสนจักรเองแล้ว ก็จัดการเลย แล้วบาทหลวงท่านไหนไม่ยอมภักดีลิปวัดเลย ตอนนั้นยึดวัดยึดอะไรกัน ยึดทรัพย์สินกันวุ่นวายอังกฤษ ว่านี้เป็นประวัติศาสตร์หนึ่งที่ต้องเล่ากันยาว นี่เดี๋ยวจะไปกันใหญ่
กลับมาเรื่องนี้อีกนิดนึง ก็เป็นอันว่า เถรวาทก็เกิดขึ้นมา แล้วก็มีชื่อตั้งแต่ ค.ศ.อประมาณ 100 แล้วก็แยกมาจนถึง สังคยนาครั้งที่ 3 ก็มี 18 นิกาย ทีนี้ก็เมื่อเหลือมาถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นอันว่า หินยานนี่เหลือเถรวาทนิกายเดียว กับธรรมะคุบที่ทิเบต ซึ่งก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักทั่วไป ก็ถือว่าเถรวาทนี่ก็เลยว่าให้เรียกเถรวาทซะ แล้วก็จะได้ไม่เป็นการดูถูกกัน หินยานก็เหมือนกับเลิกใช้ไป ก็เหลือหินยาน มหายานเราก็จำกันว่า มีหินยานกับมหายาน มี 2 นิกาย แต่พอไปเจอกันพระทิเบต ท่านไม่ยอม ผมไม่ใช่มหายาน เอาละซิ มหายานยังต่ำ พระทิเบตท่านเป็นพระรามะนี่ท่านไม่ยอมรับนะท่านเป็นมหายาน นี่จำได้ ผมเจอกับท่านเอง เพราะตอนที่ไปสอนกัน องค์หนึ่ง ว่าท่านเป็นตุลกุ เป็นกลับชาติมาเกิดจากพระเถระผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ท่านก็ว่าทิเบตไม่ใช่มหายาน เป็นอะไรเป็นวัชรียาน วชิระ ก็ วชิระ บาลีก็วชิระแปลว่าเพชร สันสกฤตก็วัชระ นั้นทางทิเบตก็ถือว่าตัวนี่สูงกว่ามหายานเป็นวัชรยาน ไม่ใช่มหายาน โดยทั่วไปเราถึอว่ามี 2 นิกาย เดิมก็ว่าหินยานกับมหายาน ทางทิเบตรามะ ฝรั่งเดิมเขาเรียก รามะริสซึ่ม ลัทธิรามะก็อยู่ในมหายานด้วย แต่ตอนนี้ก็ไปเรียกเป็นวัชรยานตามที่พระทิเบตเองเขาเรียกตัวท่านเอง อันนี้ก็เป็นความรู้เกล็ด ๆ ให้รู้ว่าเดี๋ยวนี้ทางวัชรยานเขาไม่ยอมรับนะว่าเขาเป็นมหายาน นั้นก็เลยไม่รู้จะเรียกว่ากี่นิกาย นับยากอยู่ แล้วก็อะไรอีกทีนี้ อันนี้เอาไว้พูดต่อไปเดี๋ยวจะไม่รู้จักจบ เยอะ เถรวาทก็มีแง่มุมเยอะพูดไปยิ่งงอกยาว ยาวยืดเลยเดี๋ยวท่านจะว่าเกินชั่วโมงเยอะแล้ว เอาไว้คราวหน้าค่อยว่ากันก็ได้
กรณีของคุณสุจิต วงศ์เทศนี่ ในแง่หนึ่งเราก็มองแง่ดี อย่างที่บอกแล้ว การที่คุณสุจิตพูดอย่างนี้ได้ก็เพราะชาวพุทธส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องของพุทธศาสนา ไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้ว่าพุทธศาสนาที่ตัวนับถือ บางคนไม่รู้จักแม้แต่จะเรียกว่าเถรวาทใช่ไหม แล้วแม้แต่เรียกว่าเถรวาท ไม่รู้ว่าเถรวาทมีความหมายว่าอย่างไร คืออย่างไร มันเป็นสภาพที่เป็นมานานแล้วที่ชาวพุทธนี่ไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้จักพุทธศาสนา กรณีของคุณสุจิต วงษ์เทศเนี่ย เท่ากับเป็นเครื่องเตือนใช้ให้เป็นประโยชน์ก็มาปลุกชาวพุทธให้ตื่นขึ้นมาซะ ให้เรียนรู้จักตัวเอง คนเขาก็จะได้ว่าไม่ได้ นี่เขาว่าก็ไม่รู้เรื่อง ขออภัยคนว่า ก็ไม่รู้ คนถูกว่าก็ไม่รู้ จะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า ท่านคิดว่าเป็นงี้ไหม เดี๋ยวจะว่าถ้าใช้คำแรงก็ว่าด่า ด่าด้วยความไม่รู้ คนที่ถูกด่าก็ไม่รู้ด้วย ถูกแล้วก็เลยหมดกันไป ก็เอาประโยชน์ก็แล้วกัน อย่าไปว่าท่านเลย เอาเป็นว่าเรามาใช้เป็นสัญญาณเตือนปลุกขึ้นมาให้ตื่น ให้มาเรียนรู้ศึกษาให้เข้าใจ มันเป็นเครื่องบ่งบอกว่าชาวพุทธนี่หลับไหลตกอยู่ในความประมาทมานานเหลือเกินแล้ว ควรจะตื่นกันขึ้นมาเสียที ได้แค่นี้ก็ยังดี ก็จะได้ประโยชน์จากกรณีของคุณสุจิต วงศ์เทศ
เอาน่ะ วันนี้เอาเท่านี้ก็แล้วกันครับ
คุณสุจิต ขอกราบพระคุณ พระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ สำหรับคืนนี้ แล้วก็ท่านมีความแข็งแรงสุขภาพดี อยากจะสอนเราอีก ขอบพระคุณมากขอกราบถวายความเคารพพระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ
เอาละแล้วค่อยนัดกันใหม่