แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ประชาธิปไตยก็ไปไม่รอด เพราะไปตกไอ้เรื่องง่าย ๆ เลยไปยุ่งกับเรื่องยาก ๆ ท่านยอมรับไหมว่าง่าย ท่านยอมไหมว่าที่จริงเป็นเรื่องง่าย ๆ โดยพื้นฐานมันง่าย แต่เพราะว่าประชาชนไม่พร้อมคล้าย ๆ อย่างนั้น มันก็เลยเกิดมีผู้ปกครองที่กลายเป็นว่าตอนแรกในปฐมกัปป์เริ่มมีผู้ปกครองนั้นก็คนเลือกกันใช่ไหม ต่อมาพวกคนเลือกคนเหล่านี้ไม่พร้อมแล้วกลายเป็นว่าท่านผู้ปกครองก็เลยตั้งตัวเองเลยใช่ไหมตอนหลัง ๆ นี่สืบทอดกันมา ก็เป็นว่าต้องตั้งกันหรือว่า เห็นว่าประชาชนทั่วไปไม่พร้อมเอ้าทีนี้ถ้าไม่ตั้งตัวเองก็เอากลุ่มชนหนึ่งมาทำหน้าที่แทนถือว่าคนกลุ่มนี้มีสติปัญญาความสามารถ ส่วนคนทั่วไปไม่ได้เรื่องก็เลยไม่ให้มีสิทธิ ก็เลยเอากลุ่มชนกลุ่มน้อยนี้มาเลือกหรือไม่งั้นก็ช่วยกันปกครองเลยเกิดมีการปกครองแบบต่าง ๆ แต่ถ้าแบบแรกแบบเดิมมันก็คือ มหาสมมติ ก็คือมหาชนนี่เลือกตั้งขึ้นมาใช่ไหม ก็หมายความว่าการปกครองเดิมแท้มันก็ตรงไปตามความมุ่งหมายแท้จริงง่าย ๆ แต่เพราะว่าปัญหาของมนุษย์นี่มันทำให้เกิดความซับซ้อนขึ้นมาเกิดการปกครองระบบต่าง ๆ มีทั้งพวกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ราชาธิปไตย คณาธิปไตย อะไรต่าง ๆ ใช่ไหม เผด็จการอะไรต่าง ๆ ว่ากันไปประชาธิปไตยสาธารณรัฐก็ความมุ่งหมายก็อันเดียวกัน แต่ว่าถ้าเราจะเป็นประชาธิปไตยที่แท้มันหนีไม่พ้นต้องพัฒนาประชาชน เพราะเราไปบอกให้ประชาชนเป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองใช่ไหม ประชาชนผู้ปกครอง ก็ประชาชนก็ต้องมีความสามารถที่จะปกครองกันเองหรือปกครองตนเอง เริ่มตั้งแต่ปกครองตนเองได้ก็ไปปกครองกันเองได้ นี้ต้องพัฒนาประชาชน ที่นี่เรามักจะมองข้าม พอนักการเมืองเข้ามามีโอกาสแล้วเข้ามาอยู่ตรงกลางก็ลืมไอ้จุดหมายนี้ เรื่องของการพัฒนาประชาชนไม่ได้เอาใจใส่ ผมว่านะคิดว่าเป็นอย่างนั้นไหมครับ เราแทบไม่เอาใจใส่การพัฒนาประชาชนเลยนะ
พัฒนาคุณภาพที่แท้เนี่ยไม่ใช่พัฒนาเป็นความสามารถที่จะเป็นทรัพยากรใช่ไหมที่จะมาเป็นไอ้พวกตัวกำลังในการผลิต พัฒนาได้แต่ทรัพยากรมนุษย์มาเป็นกำลังในการผลิต มันก็ได้แค่สนองความต้องการทางเศรษฐกิจเท่านั้นเอง เวลานี้เราคิดกันแค่นั้น เราไม่ได้พัฒนานี่คุณภาพประชาชนที่เป็นส่วนร่วมในการปกครองประชาธิปไตย แล้วก็ไปเน้นเรื่องอย่างในโรงเรียนก็เน้นไอ้วิธีรูปแบบมาหัดเลือกตั้งอะไรต่าง ๆ ใช้ได้มันก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อย่าลืมนะไอ้รูปแบบนี่มันไม่สำเร็จ ถ้าหากว่ามันไม่มีคุณภาพในตัวคน สติปัญญาความตระหนักรู้ก็ไม่มี เจตนามุ่งไปสู่จุดหมายนั้นก็ไม่มี มันก็ไปไม่รอด มันต้องเข้าให้ถึงว่าไอ้รูปแบบเรามีเพื่ออะไร รูปแบบมี 1 เพื่อสนองจุดหมายที่เรารู้อยู่แล้ว เราตระหนักรู้อยู่แล้วว่าเราต้องการอันนี้เข้าใจกันดีแล้ว แต่ถ้าเราไม่มีระบบวิธี ไม่มีวินัยการจัดตั้งในการดำเนินการ จุดมุ่งหมายที่ดีงามจะสำเร็จได้ยาก
เราก็มีระบบแบบแผนจัดตั้งขึ้นมา 1 แล้ว
1 ก็จัดตั้งระบบเรียกว่าวินัยนี้มาสนองจุดหมายของธรรมะ ธรรมะก็คือตัวหลักการความจริงคุณภาพคนเป็นต้นที่มีอยู่แล้วเป็นฐานเป็นตัวสภาวะที่เป็นจริง ไอ้รูปแบบจัดตั้งก็มาสนอง แล้วก็จัดปรับให้เหมาะในแต่ละยุคสมัยได้ นี้ 1 เอาวินัยการจัดตั้งระบบรูปแบบมาสนองตัวจุดหมายที่คนมีอยู่
2 ก็ระบบจัดตั้งเพื่อจัดให้เกื้อหนุนให้คนพวกนี้พัฒนาไปสู่จุดหมายมัน 2 ชั้น ไอ้การจัดตั้งหรือระบบต่าง ๆ เนี่ย มันมีความหมาย 2 ชั้น ทั้งว่าสนองเป็นระบบวิธีการเพื่อจะได้ดำเนินการไปถึงจุดหมายที่มีอยู่แล้ว 2 ก็มาเป็นระบบจัดตั้งเพื่อจะจัดสภาพเอื้อนั้นให้คนที่อยู่กันนี่ได้พัฒนาตัวขึ้นไปสู่จุดหมาย มันเป็นทั้ง 2 แบบ วินัยที่พระพุทธเจ้าตั้งขึ้นมาก็สนองทั้ง 2 อย่างนี้นะ ต้องมองทั้ง ก็เลยวินัยหรือระบบจัดตั้งอะไรพวกนิติธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ มันต้อง 3 ชั้นอีกทีหนึ่งนะ ไอ้ 1 มันสนองธรรมะนี่เพื่อสนองธรรมะก็คือมันเป็นฐานให้แก่ธรรมะ 2 มันก็มีธรรมะเป็นจุดหมายใช่ไหม แล้วก็จัดตั้งเพื่อว่าให้คนได้เข้าสู่จุดหมายได้ แล้วก็
3 ก็คือว่ามันต้องสอดคล้องกับหลักความจริง ถ้าไอ้ตัวระบบวิธีการจัดตั้งอะไรต่าง ๆ และมันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามหลักเหตุปัจจัยในธรรมชาติเป็นต้นนี่มันไปไม่รอด อันนี้คือตัวหลักสำคัญเลย วินัยต้องสอดคล้องกับธรรมตั้งอยู่บนฐานของธรรมะใช่ไหม เราจะตั้งวินัยตั้งระบบเนี่ยถ้าเราไม่รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติ ความเป็นเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายเป็นยังไง ไม่รู้จักสังคมมนุษย์ ไม่รู้จักธรรมชาติของมนุษย์ ไม่เข้าใจว่าชีวิตคนมีเพื่ออะไร อยู่ไปทำไม การจัดวางระบบสังคมเนี่ยไปไม่รอดมันก็ไม่ได้ดีจริง มันต้องเข้าใจความจริงใจก่อน เพราะเข้าใจความจริงแล้วระบบที่ตั้งนี่ก็คือมาเป็นตัวสนองสอดคล้องกับความเป็นจริงเพราะฉะนั้นในแง่ที่ 1 ก็อันนี้เป็นแกนแท้ ๆ เลยก็คือวินัยระบบจัดตั้งของมนุษย์นี่จะเป็นระบบกฎหมายนิติธรรม มาเป็นระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบอะไรก็แล้วแต่เนี่ยต้องอยู่บนฐานของธรรมะก็คือ ต้องตั้งอยู่บนความจริง เช่นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ถูกต้องเป็นต้น
เพราะฉะนั้นคนพวกนี้จึงต้องมีปัญญามาก ก็มาเป็นเจ้าทฤษฎีนี่ แกก็พยายามเข้าถึงความจริงแล้วแกก็นึกว่าความจริงเป็นอย่างนี้ก็วางทฤษฎีขึ้นมาใช่ไหม ทฤษฎีก็คือเกิดจากความเข้าใจความจริงเท่าที่เขาสรุป ทางพระเรียกว่าเป็นทิฏฐิ ทฤษฎีหนึ่งก็คือทิฏฐิหนึ่ง ขอสรุปว่าเท่าที่เขาเห็นความจริงในเรื่องหลักเศรษฐกิจนี่มันสอดคล้องความเป็นจริงมันต้องเป็นอย่างนี้ ก็วางทฤษฎีเศรษฐกิจมา คนโน้นบอกถูก คนนี้มาไม่ถึงจริง เอาความจริงมันเป็นอย่างนี้ ต้องวางทฤษฎีอย่างนี้ถึงจะถูก นี่คือทฤษฎีต่าง ๆ การเมืองก็แบบเดียวกันก็วางทฤษฎีการเมืองอะไรต่าง ๆ นี้แต่อย่างไงก็ตาม คือเขาก็พยายามเข้าถึงตัวธรรมะคือความจริงนี้ แล้วถ้าจะให้จริงดีแท้ก็ต้องคือระบบวิธีการที่จัดในสังคมมนุษย์นี่ต้องสอดคล้องอยู่บนฐานของความจริงที่เรียกว่าธรรมะ ยิ่งเข้าถึงธรรมชาติความจริงที่แท้ได้เท่าไหร่ก็ยิ่งดี ธรรมชาติความจริงของสิ่งทั้งหลายโดยทั่วไป หลักเหตุผลความเป็นเหตุเป็นปัจจัยธรรมชาติของมนุษย์ชีวิตมนุษย์มันเป็นยังไง มันต้องการอะไร ความสุขของมันอยู่ที่ไหนใช่ไหม เข้าใจหมดอย่างนี้การจัดวางระบบสังคมก็ยิ่งดี เพราะฉะนั้นวินัยการจัดตั้งกฎหมายนิติศาสตร์เป็นต้น ก็ต้องตั้งอยู่บนฐานของธรรมะถูกต้องตามธรรมะ แล้วก็ 2 ก็มาจัดตั้งเพื่อว่าจุดหมายของธรรมะก็คือเราต้องการประโยชน์สุขของประชาชน ต้องการให้ประชาชนได้เข้าถึงโลกุตระธรรมความดีงามสูงสุดที่เข้าถึงความสุขที่เป็นอิสระอะไรต่ออะไร เอ้าวินัยเข้ามาจัดตั้งเพื่อสนองจุดหมายนี้ จัดระบบสังคมสภาพแวดล้อมมันเอื้อต่อการที่คนจะได้พัฒนาตนเข้าไปถึงจุดหมายนี้ถูกไหม เอ้าอันนี้ก็สนองจุดหมาย ทีนี้พอวางตั้งไปแล้ว ไอ้วินัยกลับมาเป็นฐาน มาเป็นฐานแรกให้ธรรมะตั้งอยู่ได้ เพราะว่าถ้าไม่มีวินัยระบบนิติธรรมเป็นต้นไปฐานธรรมมะก็ไม่มีที่ตั้งใช่ไหม ไม่มีที่ตั้งในสังคมมนุษย์ก็เลยมากำกับมีฐานมากำกับเป็นกรอบเป็นอะไรต่ออะไรให้ช่วยมนุษย์นี่ต้องอยู่ในกติกาอยู่ในกรอบอยู่ในแนวทางที่จะดำเนินไปถึงจุดหมาย เพราะก็คือจุดหมายนั้นก็คือจุดหมายที่แท้ก็คือ เรื่องธรรมะนั่นเอง
ตกลงก็นี่ 2 อันนี่ธรรมะกับวินัยมีอยู่เท่านี้แหละครับไม่ว่าจะจัดวางระบบทฤษฎีการเมืองการปกครองเศรษฐกิจอะไรขึ้นมายังไง ก็เนี่ยก็อยู่แค่ธรรมะกับวินัย
1 ความจริงชองชีวิตของธรรมชาติของมนุษย์ของสังคมอะไรก็แล้วแต่ความจริงที่เป็นไปตามธรรมชาติ ความจริง ความจริง ตามที่มันเป็นนี่ ทำไงที่จะเข้าถึงความจริง
2 เมื่อเรารู้เข้าใจความจริงได้เท่าไหร่ เราก็ใช้ความสามารถที่จะมาจัดตั้งวางระบบเพื่อสนองตัวธรรมะไอ้ความจริงอันนี้ให้มันสอดคล้องกันต้องปัญญาอีกชั้นหนึ่ง ถ้าเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ ความจริงของชีวิตของอะไรก็แล้วแต่ความเป็นเหตุปัจจัยเข้าใจ แต่ขาดปัญญาความสามารถที่จะเอาความจริงนี้มาจัดตั้งวางระบบ เพื่อให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากความจริงนั้น ก็เลยเป็นปัจเจกพระพุทธเจ้า ถ้าเข้าทั้งถึงความจริงของธรรมชาติหมด แล้วบนฐานข้อความจริงนั้นมาจัดตั้งวางรูประบบแบบแผนกติกาอะไรเป็นต้น นิติธรรมเป็นต้นในสังคมมนุษย์นี่ให้มันสอดคล้องให้จะได้ผลตามหลักความจริงอันนี้ด้วยก็เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้ 2 อัน จึงเรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องฉลาด 2 ชั้นนะนี่คือหลักการทั่วไปเลยมนุษย์ในสังคมปัจจุบันก็ต้องเก่ง 2 ชั้นนี้ อย่างพระพุทธเจ้านี่แหละ
1 ต้องเข้าถึงความจริงใช่ไหม เพราะฉะนั้นต้องศึกษา ต้องพัฒนาปัญญาเป็นหลักเลย แล้วพัฒนาคุณสมบัติอื่นมีความจริงใจบริสุทธิ์ใจเป็นต้นนี่ มีเจตนาที่ดี จิตใจก็มีเจตนาดีแต่จิตใจเจตนาดีนี่ไม่แน่ใช่ไหม รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็พลาดอีก เพราะฉะนั้นก็เจตนาดีไม่พอต้องปัญญา ต้องถ่องแท้ชัดเจนได้แล้ว เพราะฉะนั้นคนที่จะมาเป็นนักปกครอง อ้าวเรื่องง่าย ๆ แต่ว่ามันไม่ใช่ง่ายนักสิต้องคัดคนกันนะ หนึ่งมีปัญญาที่เข้าถึงความจริงให้มากที่สุด 2 สามารถที่อยากมาเป็นองค์กรนิติบัญญัติสภาต้องมีความสามารถในการที่จะจัดตั้งวางระเบียบกฎกติกาสังคมนิติธรรมอะไรต่ออะไรให้สอดคล้องกับความจริงนั้น ถ้าคุณไม่เข้าใจความจริงของสังคมนี้เป็นต้น ไม่เข้าใจไม่รู้ความต้องการของชีวิตมนุษย์เป็นต้น แล้วจะวางกฎหมายได้ดีไหมครับไปไม่รอดจะเอาแต่รูปแบบเท่านั้นเอง ฉะนั้นมันก็ไม่ใช่ง่าย ๆ นะครับใช่ไหม ไอ้เรื่องง่ายนี่มันก็กลายเป็นเรื่องยากเพราะอย่างนี้ แต่ทีนี้เวลานี้คนมันทำให้เรื่องมันซับซ้อนเลยยากผิดทาง ไอ้ยากถูกทางมันยังพอช่วยกันพัฒนาคน นี้มันยากซับซ้อนมันเรื่องนอกเรื่องเข้ามากีดขวางทางของความถูกต้องความจริงมันเลยทำไม่ได้ไปกันใหญ่เลย นี่มันกลายเป็นสร้างอุปสรรคขวางกั้น 2 ชั้น 1 คือตัวหลักการใหญ่ที่มันง่ายมันมีอยู่แล้ว การที่จะทำให้บรรลุผลอย่างนั้น พัฒนามนุษย์ทั้งประชาชนให้รู้ตระหนักในจุดหมายของการปกครอง แล้วมีสติปัญญาที่จะรู้จักเลือกคน ไอ้ความมุ่งหมายจุดหมายนี้ง่าย แต่จะทำนี้ยากเหมือนกันเสร็จแล้วคนที่จะมาเสนอตัวเข้าไปทำหน้าที่นี้ก็ต้องมีความตระหนักรู้และมีเจตนาที่บริสุทธิ์เจตจำนงที่มุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนแล้วแน่นอน แล้วยังมีคุณสมบัติในแง่ความสามารถที่จะทำให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายนั้นด้วยอีก แค่นี้ก็ทำไม่ใช่ง่ายแล้วใช่ไหมครับ เสร็จแล้วตอนนี้สังคมกลับมาสร้างไอ้อุปสรรคอะไรต่ออะไรความหวาดระแวงอะไรต่ออะไรกัน การที่มาสร้างภัยอันตรายแก่กันความไม่ปลอดภัย การเมืองเลยไม่มั่นคงก็เกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยทางการเมืองเป็น political in security เลยใช่ไหม ไม่มั่นคงปลอดภัยทางการเมือง การเมืองก็หวั่นไหวหมด แล้วจะไปได้ยังไงนะครับ ตอนนี้มันมีแต่ insecurity ทั่วไปหมดเลยใช่ไหม political เดี๋ยวนี้ political security การเมืองการปกครองก็ไม่มั่นคง แค่นี้มันก็ทำไม่ได้แล้วจะไปยังไงละ นั้นเราก็ไม่ว่าใครล่ะเราว่ารวม ๆ ขออภัยอันไหนที่ว่ามันก็ขอแก้เป็นเขา หรือเป็นเรา บางทีมันเผลอไป ก็ควรจะพูดวาจาที่สุภาพอ่อนหวาน
คนฟังถาม ขอกลับไปที่หลักที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อให้ว่า เราจะต้องสร้างสังคมที่ให้เป็นธรรมาธิปไตยโดยการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการปกครอง จะถามว่าเนี่ย
พระตอบ นี่คือขั้นต้นนี่ตรงไปตรงมา มันก็เหมือนกับรู้กันอยู่แล้ว แต่มันไม่ได้เอามาย้ำมาตระหนัก ความตระหนักรู้เท่านั้นเองว่าเรามีการปกครองประชาธิปไตยเพื่ออะไร ก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของส่วนรวมของคนทั้งประเทศใช่ไหม ให้อยู่กันร่มเย็นเป็นสุขก็อธิบายไปสิ มีสันติสุขอะไรก็ว่าไป
คนฟังถาม แล้วจะถามพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่า แล้วใครจะเป็นคนขึ้นมาให้ความรู้ตรงนี้
พระตอบ ก็พระนี่แหละ ก็พระเองก็ยังไม่พูดใช่ไหม ก็น่าจะพูดก็ไม่พูด น่าจะรู้บางทีก็ไม่รู้ใช่ไหม พระนี่ช่วยได้มาก เพราะกระจายอยู่ทั่วประเทศ บอกชาวบ้านนี่เรามีการปกครองประชาธิปไตยไม่ว่าการปกครองไหนหรอก การปกครองไหน ๆ ความมุ่งหมายที่แท้ก็เหมือนปฐมกัปป์ ก็เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมประชาชนร่วมกันนี่ใช่ไหม ตั้งมหาสมมติเพื่ออะไรครับ เพื่อประชาชนที่อยู่ร่วมกัน เขามีกรณีพิพาททะเลาะทำไงให้อยู่ร่วมกันด้วยดีประโยชน์ส่วนรวมอยู่กันด้วยสันติใช่ไหม มีปัญหาพิพาทกับแก้ได้ ก็จึงได้เกิดการปกครองขึ้นมา การปกครองก็แค่นี้แหละ ไปเล่าเรื่องมหาสมมติให้ญาติโยมฟังเข้าใจง่ายดีกว่าไปเล่าทฤษฎีการเมืองปัจจุบันจริงไหม เอ้อไปเล่าเรื่องนี่ในพระไตรปิฎก เรื่องปฐมกัปป์ ตอนที่เขาเริ่มตั้งพระราชามหาชนะสมมติเรียกว่าสั้น ๆ มหาสมมติเป็นกษัตริย์ เป็นขัตติยะ เป็นราชานี่ เกิดขึ้นมาอย่างไรก็เท่านี้แหละโยม คนฟังถาม แต่ทำไมปัจจุบัน เดี๋ยวนี้มันก็อย่างนี้ นี้ว่าสัมคมมันใหญ่แล้วอะไรต่ออะไรมันก็ซับซ้อนขึ้นมา ก็ให้โยมรู้ว่า ตอนนี้นะการปกครองก็ยังอยู่เพื่อจุดหมายอันเดียวกันเดิมนี่แหละเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนร่วมกัน นี้ว่าแต่ก่อนนี้เราไปมอบให้คนผู้เดียวเขาปกครอง ต่อมาก็มีการปกครองแบบโน้นแบบนี้ก็คืออันไหนมาก็ที่จริงก็เพื่อจุดหมายเดียวกันนี่ ว่าทำยังไงจะให้ประโยชน์สุขประชาชนมันเกิดขึ้นได้บรรลุจุดหมายใช่ไหม บอกว่าเอาราชองศ์เดียวทำบางทีมันเขวเกออกนอกทางไปใช่ไหมไม่บรรลุประโยชน์สุขของประชาชนทำเพื่อตัวเองไปเสียนี่ ก็เลยเปลี่ยนเป็นระบบการปกครองนี้จนกระทั่งในที่สุด ก็เหมือนกับไอ้การปกครองรูปแบบต่าง ๆ นี่เป็นวิธีการเท่านั้นจุดหมายอันเดียวกัน จุดหมายของการปกครองทุกอัน คือเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนร่วมกัน แล้วก็มีรูปแบบวิธีการปกครองต่าง ๆ เป็นพระราชาองค์เดียว เป็นสมบูรณาญาสิทธิราช ราชาธิปไตย เป็นเผด็จการ เป็นอะไรก็แล้วแต่เนี้ย ก็เพื่อจุดหมายอันนี้ วิธีการไหนดีที่สุดที่จะให้บรรลุจุดหมายนี้เรามาตกลงกันบอกว่าประชาธิปไตยดีที่สุด ประชาธิปไตยก็ในแง่ทั่วไปก็เหมือนก็เป็นวิธีการ วิธีการปกครอง รูปแบบการปกครองเพื่อสนองจุดหมายอันเดียวอันเดิมนั่นแหละ เราบอกว่าด้วยรูปแบบระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยเนี่ย เราจะบรรลุจุดหมายให้ประชาชนได้รับประโยชน์สุขได้มีหวังสำเร็จได้ดีที่สุด ตอนนี้มันกลับจะหมดหวังก็แย่สิบอกว่าไม่ได้แล้วพวกคุณเนี่ย ชาวบ้านเนี่ย ชาวบ้านเองนี่จะต้องเข้าใจว่าที่จริงเขามีการปกครองก็เพื่อจุดหมายนี้ ให้ประชาชนนะไม่ใช่ตัวคุณนะ แต่หมายถึงประชาชนทั้งหมดก็คือเราทุกคนร่วมกันนะ อย่าไปนึกว่าเดี๋ยวนี้ก็มักจะเข้าใจผิดอีก อ้างตัวแต่ละคนเป็นประชาชนเสียนี่ ตัวเองถ้าพูดให้ถูกก็ตัวเองแต่ละคนนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของประชาชนใช่ไหม เป็นประชาชนส่วนหนึ่งเหมือนกับเรานี่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราก็เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่เราเป็นธรรมชาติทั้งหมดถูกไหม แต่เราเป็นประชาชนคนเดียวได้ที่ไหนอ่ะ มันก็ประกอบกันเข้าเป็นประชาชน ทีนี้เอาตัวฉันเป็นประชาชนไปแล้ว บางที่ก็อ้างผิด แต่ฉันเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนเป็นส่วนร่วม อ้าวแล้วทีนี้ก็เราก็เข้าใจสิการปกครองประชาธิปไตยเนี่ยก็เข้าใจกันว่า เรามาตกลงว่าเป็นรูปแบบระบบวิธีการปกครองที่ดีที่สุดที่จะให้บรรลุจุดหมายของการปกครองคือเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน นั้นเราก็ต้องให้การปกครองอันนี้ ที่เรียกว่าประชาธิปไตยนี่มันสำเร็จจุดมุ่งหมายนี้ให้ได้ ถ้ามันไม่สำเร็จแล้วก็ถือว่าใช้ไม่ได้ถูกไหม จะเป็นประชาธิปไตยจะจัดรูปแบบยังไงก็ตามมันไม่ได้ประโยชน์สุขของประชาชนนี่ใช้ไม่ได้จริงไหม คุณจะจัดสวยหรูยังไงก็ตามไม่ได้เรื่องจริงไม่จริง ก็มันอยู่ที่ทำให้สำเร็จประโยชน์สุขของประชาชน แต่ว่าประชาชนก็ต้องตีกลับมาอย่างที่ว่า เมื่อเป็นประชาธิปไตยระยะยาวนี่ประชาชนก็คือเขาบอกแล้วคุณผู้ปกครองเองเป็นการปกครองของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน เอ้าก็เพื่อประชาชนทำไงประชาชนเขาแทนที่จะปกครองเองก็มีตัวแทนเข้ามา แล้วคุณจะได้ตัวแทนที่มันดียังไง คุณก็ต้องรู้มีปัญญารู้จุดหมายของการปกครองแล้วรู้ว่าใครมีเจตนาบริสุทธิ์จะไปทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงมีความสามารถทำได้อย่างนี้ไหม ก็พิจารณาสิแค่นี้ก็ให้มันตรงจุดก่อน แค่ให้ตรงจุดก็ยังทำไม่ได้เลยถูกไหม เรื่องง่าย ๆ แค่นี้ยังทำไม่ได้แล้วจะไปไหนละครับ มันก็เขวไปนอกเรื่องนอกราว ก็ต้องบอกว่าโยมประชาธิปไตยมันเรื่องง่าย ๆ แต่ว่าเดี๋ยวนี้ทำให้มันยากสะหมดแล้ว มันก็เลยยุ่งยากซับซ้อนไม่เข้าเรื่อง อ้าวท่านจมีอะไรถาม
คนฟังถาม จะเรียนถามท่านว่ามีในประวัติศาสตร์ไทยนี่ มียุคไหนไหมที่ประชาชนมีความสุขที่สุด แล้วเป็นอาจจะเป็นแบบอย่างสำหรับยุคนี้
พระตอบ แม้เราก็ไม่ได้ไปอยู่กับพระเจ้านะ มันไม่มีประสบการณ์ตรง แต่ว่าเราก็ได้เอกสาร เช่น ประวัติศาสตร์บอกว่ากรุงสุโขทัยนี้ดีนะ ในนั้นบอกนี่ไพร่ฟ้าหน้าใสอย่างนี้เป็นต้น ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็พูดได้เป็นเงื่อนไข บอกว่าถ้าเป็นตามที่มีบันทึกจารึกมาในประวัติศาสตร์ว่าอย่างนี้จริงก็แสดงว่ายุคสุโขทัยนี่ดีใช่ไหม ใครจำได้มั่ง ข้อความทั้งหมดนี่มาถึงไพร่ฟ้าหน้าใส ในน้ำมี มาตั้งแต่ครั้งนั้นใช่ไหม ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แล้วอะไร ใครฆ่าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า แล้วก็ไปถึงอะไร ไพร่ฟ้าหน้าใส แล้วบอกเอาจังกอบอะไรก็ไม่รู้ แล้วก็มีระฆังแขวนไว้ ใครอะไรนะ อะไรใคร ใครอะไรท่านใช้ถ้อยคำว่าไง คล้าย ๆ เดี๋ยวนี้ ใครปวดท้องปวดหัวไปตีระฆัง ท่านใช้คำอะไรนะ คำโบราณนั่นแหละครับ ก็ตามจารึกมานี้ก็สมัยสุโขทัยก็น่าจะดีที่สุด ถ้าเป็นจริงตามที่จารึกไว้ ก็ผู้ปกครองสมัยนั้นแม้จะไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เพราะคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนใช่ไหม ก็มุ่งไปที่นั่นก็ทำให้สำเร็จ เพราะฉะนั้นแม้แต่ที่เรียกว่าเผด็จการถ้าเขามีเจตนาบริสุทธิ์จริงแล้วก็ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจตัณหามานะทิฏฐิ เขาก็สามารถทำให้มีการปกครองที่ดีเหมือนพระเจ้าอโศกก็ต้องถือว่าเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ว่าท่านไม่มีและการที่จะเอาเพื่อตัวเอง ก็เพราะว่าเลิกแล้ว ตอนนั้นแน่ตอนก่อนต้องการอำนาจยิ่งใหญ่จะเป็นกษัตริย์ผู้เดียวในชมพูทวีปอะไรทำนองนั้น ต่อมาก็เลิกเลยไม่เอาแล้ววิธีการนี้ไม่ถูกเศร้าใจที่เห็นประชาชนล้มตาย ก็เลยเกิดเหมือนปมในพระทัยต้องแก้ เปลี่ยนเป็นว่าเอ้อ พอเห็นหลักพุทธศาสนาตอนนี้ต้องทำเพื่อให้ประชาชนมีความสุข ทำไงจะให้ประชาชนมีความสุขทั่วกันได้ฉันเอาอันนั้น ตอนนี้ล่ะครับถ้าผู้ปกครองมีความคิดอันนี้ขึ้นมานะดีไหมครับ คิดอย่างเดียวเลยนั่งนอนคิดอย่ายเดียวทำไงจะให้ประชาชนมีความสุข พระเจ้าอโศกท่านคิดอย่างนั้นอย่างเดียวเลย ตามจารึกนี่บอกว่าพวกอำมาตย์อำเหมิดใครมีเรื่องเดือดร้อนให้เข้ามาแจ้งเพราะพระองค์อยากจะให้ประชาชนมีความสุข ใจอยู่กับเรื่องนี้แล้วก็ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ใจอยู่ที่ประโยชน์สุขของประชาชน ใจอยู่ที่ว่าประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนต้องรีบแก้ไขเข้าถึงได้เลยบอกได้เลยจะไปแก้ปัญหาให้ ทำไงจะให้มีความสุข ได้คิด ใจคิดอยู่อย่างนี้ แล้วมันจะเป็นอย่างไรละครับ ถ้าคุณภาพของผู้ปกครองเป็นอย่างนี้ 1 เจตนาดีจิตใจมุ่งดี เจตนาบริสุทธิ์ต้องการเพื่อจุดหมายของการปกครองแท้ 2 ท่านมีความสามารถอยู่แล้วไม่ต้องห่วงใช่ไหม ต่อจากนั้นก็เลยไม่ต้องทำอะไร พระเจ้าอโศกคิดแต่ว่าจะทำไงจะให้ประชาชนอยู่เป็นสุข สร้างถนนหนทางเป็นการใหญ่ สร้างวัดคือสถานศึกษา ศูนย์กลางการศึกษา วัดก็คือศูนย์กลางการศึกษาสมัยนั้นวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของมวลชน ก็เลยสร้างวัด 84000 วัดเลยนะ ศูนย์กลางการศึกษาประชาชนมีทั้งภิกษุ ภิกษุณีให้การศึกษาทั้งชายหญิงหมด แล้วก็สร้างโรงพยาบาล โรงพยาบาลคนไม่พอ สร้างโรงพยาบาลสัตว์ด้วยนะพระเจ้าอโศก แล้วก็ในถิ่นนั้นขาดแคลนยาสมุนไพรอะไรให้เที่ยวไปหามา แล้วก็ในบนถนนสร้างไปแล้วถนนนั้นทุกระยะเท่านี้ต้องสร้างศาลาพักคนเดินทางอีก แล้วสร้างไอ้พวกแหล่งน้ำ สร้างแหล่งน้ำ กษัตริย์ในลังกายังต้องเอามาเป็นตัวแบบ ขุดไอ้พวกอ่างเก็บน้ำใหญ่ ๆ ขึ้นมา พื่อบำรุงความสุขของประชาชน พระเจ้าอโศกก็ขุดอ่างเก็บน้ำ แล้วก็ในที่ ๆ ศาลาเดินทางก็ทำไอ้ที่แหล่งน้ำที่จะให้คนมีกินมีใช้อยู่เป็นสุขเดินทางได้สะดวก แล้วก็ให้พระแนะนำสั่งสอนประชาชนส่งเสริมแล้วก็ให้ประชาชนนั้นมีการปกครองตามแนวนโยบายที่ถูกต้องตามธรรมะ ก็สมัยนั้นไม่มีไอ้พวกสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์อะไรแบบนี้ก็ทำศิลาจารึก บอกที่ไหนมีแผ่นศิลาโขดหินอะไรต่ออะไรให้เอาข้อความนี้ไปเขียนไว้ แล้วก็ให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าปกครองในถิ่นนี่ มาอ่านเอาไปบอกเวลาประชุมวันอุโบสถก็เอาข้อความนี้ไปบอกแก่ประชาชนไปอธิบายให้เขาฟัง ผู้ปกครองในท้องถิ่นก็เลยมีอำนาจ นอกจากสนองนโยบายเกี่ยวกับธรรมะของศูนย์กลางการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว ก็ในนโยบายการปกครองนั้นก็สั่งสอนธรรมะไปด้วย บอกว่าควรจะอยู่กันยังไง พ่อแม่ครูอาจารย์กับชาวบ้านกับชาติกรรมกรในนั้นจะเอาใจใส่ทาสกรรมกรมาก คนรับใช้คนงานเนี่ยต้องให้เขาอยู่เป็นสุข นอกจากนั้นอะไรล่ะ ก็สอนหลักธรรมคุณธรรมความดีอะไรต่าง ๆ ที่ควรจะมีในจิตใจและก็สิ่งที่ควรจะเอาไปบอกกับลูกบ้านอะไรต่างเหล่านั้น นี่ก็เลยกลายเป็นว่าหัวหน้าชุมชนผู้ปกครองก็ทำหน้าที่ทางการศึกษาไปด้วย ก็พัฒนาประชาชนแล้วก็พูดเรื่อยไป ท่านมีอะไรถามไหมครับ ทางญาติโยมมีอะไรถามไหม ไม่มี พอเห็นนะครับ เนี่ยในที่สุดหนีไม่พ้นต้องพัฒนาคุณภาพประชาชนแล้วนโยบายของรัฐทุกสมัยจะต้องเน้นจุดนี้ ว่าเราจะมีวิธีการยังไงจะพัฒนาคุณภาพประชาชนขึ้นมา เพราะเขาจะต้องเป็นผู้ปกครองประเทศ แล้วเขาจะเป็นผู้เลือกเรามา แล้วทำไงจะได้พวกเราที่ดี ๆ ต่อไป ถ้าพวกเรารุ่นนี้ดีแล้วมีหลักประกันอะไรที่จะได้ผู้ปกครองรุ่นหน้าดี เอ้าเราก็ต้องมีประชาชนที่เป็นผู้เลือกตั้งที่ดีใช่ไหม ถ้าประชาชนมีคุณภาพดีแล้วตระหนักในจุดหมายของการปกครองใช้สติปัญญาเที่ยงตรงแล้วก็มาเลือกตั้งดีก็สบาย นิมนต์ครับ
คนฟังถาม การพัฒนาคุณภาพประชาชนนะครับ ทีนี้ประชาชนเองที่ส่วนใหญ่ในเขตต่างจังหวัดเนี่ยก็ยังมีความยากจนอยู่ ทีนี้การพัฒนาประชาชนต้องพัฒนาความเป็นอยู่ฐานะความเป็นอยู่กับการศึกษานี่ควรจะพัฒนาไปพร้อมกันหรือควรจะพัฒนาอย่างไรก่อนครับ
พระตอบ อ้อแน่นอน เศรษฐกิจพระพุทธเจ้าถือสำคัญมาก พระจะไปปฏิบัติแม้แต่เจริญสมาธิต้องมีสัปปายะ 7 พึงมีใช่ไหม แล้วอันนั้น หรืออีกอัน โภชนะสัปปายะ หรือบางทีก็เรียกอหารสัปปายะ มีอาหารเป็นที่สัปปายะ อาหารโภชนะเป็นที่เกื้อกูล แต่ว่าให้มันเป็นปัจจัยนะอย่างเป็นจุดหมาย เดี๋ยวจะไปเพลินว่าเราอยู่เพื่อจะได้กินสบายใช่ไหม แต่ว่าเอาอาหารนั้นมาเป็นปัจจัยเกื้อหนุน ทีนี้ถ้าเรามองถูก เราก็ต้องจัดให้ด้านเศรษฐกิจนี้มาเป็นปัจจัย ให้เขาเพียงพอนั่นเอง เอ้าในหลวงตรัสอะไร เศรษฐกิจพอเพียงก็คือพอเพียงเพื่อ คือพอเพียง เดี๋ยวต้องทำความเข้าใจนะ พอเพียงมันมีหลายความหมาย พอเพียงเอา ๆ ที่ 1 ก่อน พวกที่ 1 พวกที่ไม่รู้จักพอ อันนั้นเราไม่เอา แย่เลยพวกไม่รู้จักพอ พวกที่ 2 ก็พอไม่เป็น ไม่รู้จักพอ พวกที่ 2 นี้ ก็ไม่รู้จักว่าพอมันเป็นยังไง ก็ไม่รู้จักพอ คำไม่รู้จักพอนะมันมี 2 แบบไม่รู้จักพอก็เท่าไหร่เท่าไหร่ ไม่พอไม่รู้จักพอก็หมายความไม่รู้จักไอ้ความพอเพียงเป็นอย่างไร มันก็เลยสักแต่ว่าพอ พอเพียงอันที่ 1 ก็คือพอเพียงให้มีชีวิตอยู่ได้รอด พอเป็นอยู่ได้ไม่ตาย พวกนี้ไปไม่รอดเหมือนกันนะพอเพียงพอเป็นอยู่ให้ชีวิตรอดได้ พอมันอยู่ได้มันก็คงพวกนี้ก็ขี้เกียจแล้วไม่ทำอะไรแล้ว ตกอยู่ในความประมาท ขอเพียงมันต้องเข้าสนองหลักธรรมเป๊ะเลย หลักธรรมพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาชีวิต คุณจะต้องพัฒนาชีวิตเจริญไตรสิกขาหรืออย่างน้อยเจริญทานศีลภาวนาให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นไปเศรษฐกิจพอเพียงก็พอเพียง มันพอเพียงเพื่ออะไรมันไม่ใช่พอเฉย ๆ พอเพียงให้เป็นอยู่มีชีวิตอยู่ได้ ไม่ใช่พอเพียงเพื่อมีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น พอเพียงเพื่อสนองจุดหมายของชีวิตที่ดีครับ ชีวิตทีดีต้องการอะไร ชีวิตที่มีการพัฒนาต่อไปใช่ไหม เจริญศีล เจริญจิตเจริญปัญญา เอ้อมันก็กว้างออกไป มีชีวิตดีงาม มีสังคมที่ดี มีวัฒนธรรม มีการเจริญสติปัญญา มีการที่พัฒนาชีวิตพัฒนาสติปัญญาการศึกษาเล่าเรียนเนี่ยไม่ใช่มาเสพโภคจุดหมายไง เศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่เอาไอ้การฟุ้งเฟ้อบำรุงบำเรอบริโภคนิยม เอาการเสพหาความสุขเป็นจุดหมาย แต่ว่าเอาจุดหมายที่ดีงามของชีวิตนี่แล้วก็ดูว่าอันนี้มันจะมีขอบเขต ถ้าให้พอเพียงเพื่อเสพนี่ไม่รู้จักพอหรอกใช่ไหม มันไม่มีขอบเขต แต่ว่าพอเพียงเพื่อจุดหมายที่ดีของชีวิตตอนนี้มันมีเลย แค่ไหนพอ พอเพียงก็จึงเป็นความพอดีไงว่าเท่าไหร่จะพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมายนี้ เราก็มีว่าเอ้อ เข้าหลักพุทธศาสนาว่า เศรษฐกิจเป็นปัจจัยมันไม่ใช่จุดหมาย เรามีเศรษฐกิจพรั่งพร้อมเพื่อเป็นปัจจัยเพื่อว่าได้สนองจุดหมายมันเกื้อกูลที่เราจะก้าวหน้าไปในจุดหมายของชีวิตที่ดีงาม สังคมที่ดีเป็นยังไงก็มาคิดกันดูสิครับ ชีวิตที่ดีจะต้องมีการศึกษามีการเจริญสติปัญญาพัฒนาคุณธรรมความดีสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีอะไรดี ๆ ๆ ว่ากันไปนี่ต้องมาใช้ความคิดใช้ปัญญาแล้วไม่ใช่มัวเสพ ไม่ใช่หากินหาเสพ เอ้าตั้งจุดหมายที่ดีแล้วก็ดูเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสนองอันนี้ ถ้ามันไม่สนองจุดหมายนี้มันก็ไม่พอเพียงสิใช่ไหม นี่แหละครับเศรษฐกิจที่พอเพียงที่แท้ แล้วมันพอเพียง มันก็พอดีที่จะให้บรรลุจุดหมายนี้ เหมือนกับเราจะฉันข้าวก็พอเพียงพอดีเหมือนกัน ตั้งใจปฏิสังขาโย ตั้งแต่ละวันนี่ ฉันให้พอดีพอเพียง พอเพียงแก่ความต้องการของชีวิต ปฏิสังขาโยเพื่ออะไรล่ะบอกเสร็จละ แล้วพอฉันแค่นั้นพอให้ร่างกายดีมีสุขภาพแข็งแรงถูกไหม มันก็พอดีนี่ฉันแค่นั้น มันไม่เกินพอดี พอดีที่จะให้สนองความต้องการของร่างกายที่จะมีชีวิตอยู่ได้มีสุขภาพดีแข็งแรง พอดีแค่นั้นแหละมีเศรษฐกิจพอเพียงพอดีตั้งแต่เริ่มในชีวิตประจำวัน แล้วพอดีร่างกายแข็งแรงจะได้เอาร่างกายนี้ไปศึกษาเล่าเรียนอะไรต่ออะไรไป ทีนี้มองกว้างเศรษฐกิจพอเพียงก็พอดีเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่ดีงามเหล่านี้ เข้าแนวเปี้ยบไปเลย เอาละครับทีนี้เราก็ต้องไปทำเศรษฐกิจพอเพียงในชนบท ทีนี้ถ้าเราไม่ไปมุ่งบริโภคนิยมให้ประชาชนมุ่งแต่จะไปเสพบริโภร หาไอ้ตัวกินอยู่จะได้มีความสุขมีพรั่งพร้อมเพื่อที่เสพหาความสุขไม่ต้องคิดอะไรใช่ไหมลุ่มหลงมัวเมา ถ้าอย่างนั้นเราก็ไม่ได้ทำ แล้วอย่างนี้มันจะพอเพียงพอดีแล้วมันจะพอกันใช่ไหม เพราะว่าถ้าขืนให้คนสนองความต้องการของตัวเองให้พอมันไม่รู้จักพอ แล้วทีนี้มันก็แย่งคนอื่น คนอื่นก็อดใช่ไหม ทั้ง ๆ ที่เมืองไทยนี่มันพอ ถ้าจัดให้ดีก็พอเพียงใช่ไหม เพราะเป็นประเทศที่ไม่ได้ยากจนอะไร พวกพื้นฐานโดยธรรมชาติก็ดีอยู่แล้ว แม้แต่ว่าไม่ต้องหาอะไรมาก ลูกดินเดินเองขึ้นหาทำกินได้แล้วเนี่ยเศรษฐกิจพอเพียงแบบนี้ใช่ไหมเพื่อจุดหมายที่ดี เราก็แน่นอนแล้วครับต้องไปสอนในเรื่องเศรษฐกิจด้วย พระเขาจึงต้องสอนในเรื่องนี่แหละครับในเบื้องต้นด้วย เอ้าคุณต้องมีอุฏฐานสัมปทาถึงพร้อมด้วยความหมั่นขยัน อารักขสัมปทาถึงพร้อมด้วยการเก็บรักษาใช่ไหมรู้จักประหยัดรู้จักออม แล้วก็กัลยาณมิตตตารู้จักคบหาคนที่จะมาเกื้อหนุนการ ดำเนินชีวิตที่ดีในการประกอบอาชีพที่ดีงาม แล้วสัมมาวิชิตา ดำเนินชีวิตพอดีไม่ฟุ่มเฟือยฟืดเคืองเกินไป พอได้อย่างนี้หลักธรรมเบื้องต้นทางเศรษฐกิจนี่แหละครับ ก็เอามาหนุนว่าเราไม่ใช่เพื่อจะได้กินอยู่เสพบริโภคให้มันฟุ้งเฟ้อ เราอยู่ได้อย่างนี้แล้วเราก็มาพัฒนาที่ว่าเมื่อกี้ใช่ไหม อ้าวแล้วเมื่อกี้ผมตอบอะไรเศรษฐกิจ
คนฟังถาม ครับ เพราะว่าที่ทาง ๆ ต่างจังหวัดนะครับ จากที่มีการซื้อเสียงได้เพราะเห็นว่าส่วนหนึ่งฐานะของประชาชนเองก็ยังยากจน ทีนี้ถ้าพัฒนาการศึกษาอย่างเดียวเนี่ย ก็จะเรียนถามพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่าต้องพัฒนาเศรษฐกิจก่อนหรือว่าจะต้องพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วยหรือเปล่า
พระตอบ โอ้มันไปด้วยกันแล้วง่ายมากสำหรับเมืองไทยเนี่ย ถ้าเมืองฝรั่งยังยากกว่าเลย ฝรั่งสมัยก่อน โอ้เขาแล้นแค้นลำบากยากเย็นใช่ไหม ต่อสู้มาขาดแคลนอู้เขาเดือดร้อนมีประสบการณ์ในการต่อสู้มาก ไทยก็บอกแล้วในน้ำมีปลาในนามีข้าว แทบไม่ต้องทำอะไรก็กินอยู่ได้แล้ว แต่ที่มันฟืดเคืองนี่ เพราะมันพัฒนาผิดใช่ไหม มันไปมุ่งความฟุ้งเฟ้อจะเอาเพื่อตนเองไม่รู้จักพอดีนี่แหละครับก็เลยไม่ได้เรื่อง อย่าไปคิดว่าประชาชนยากจนยากจนไม่ติด Concept นี้ไม่ได้ คนไทยเนี่ยจนเพราะไม่พอนี้เยอะ แล้วก็จนเพราะไม่รู้จัก ไม่รู้จักกิน จนเพราะไม่รู้จักกินใช่ไหม มันก็พอเลยไม่พอ ถ้ารู้จักกินมันก็พอ แล้วก็บางทีก็เลยไม่รู้จักทำอีกด้วย ก็เลยไม่รู้จักเช่นคนที่เอาแต่หากินไม่รู้จักทำกินก็พวกหนึ่ง มีนะครับคนไทยไม่น้อยเลยเอาแต่หากินแต่ไม่รู้จักทำกิน ต้องรู้จักทำกิน ต้องเน้นทำกิน นี้เมืองไทยเรานี่ ไอ้พื้นฐานเช่น ภูมิศาสตร์สภาพแวดล้อมธรรมชาตินี่มันดี มันเอื้ออยู่ แล้วถ้ารู้จักทำกิน นี่จะตั้งตัวได้ดี นี้คนจำนวนมากของเราตอนนี้กำลังเสียนิสัยจะหากินท่าเดียว 1 หากินจากทรัพย์พยากรที่มีอยู่แล้ว วัน ๆ หนึ่งก็ไปหาของที่มันสำเร็จจากธรรมชาติ แล้วก็เก็บมา ไอ้ธรรมชาติถูกเก็บถูกริดรอนมันก็แย่ไอ้ธรรมชาติทรัพยากรที่มีอยู่ก็ร่อยหรอถูกไหม ไม่ทำไม่สร้างสรรค์ 2 หากินซับซ้อนเข้าไปอีก ระบบการเมืองที่มันร้ายนี่ ก็เลยไปหากินโดยที่ไปรอหาจากไอ้การอ่อยเหยื่อของพวกที่ไปให้เหยื่ออีกใช่ไหม พวกนี้ก็ได้ท่า พวกนั้นชอบหากินนี่ ก็เลยเอาเป็นเหยื่อได้ง่ายอีกเลยสมคบกันทำลายประเทศชาติเลย เพราะฉะนั้นต้องพัฒนาในทางเศรษฐกิจไม่ใช่พัฒนาแค่ว่าไปให้เขามีกินนะ ต้องให้เขารู้จักทำกิน พัฒนาให้เขาทำกินนี่เรื่องใหญ่มาก 1 ไม่ใช่ไปแค่ไปเก็บของธรรมชาติที่มีอยู่แล้วทำลายหมดไป ผมเคยเจอด้วยตนเองครับ เราไปอยู่ในชนบทไปพักในถิ่นห่างไกลชายแดนใกล้ ๆ ชายแดนก็เห็นสภาพประชาชนคนแถวนั้นเขาก็บ่นกัน เขาก็บ่นกันเอง คนจำนวนน้อยก็จะบ่นถึงคนจำนวนมาก ว่าพวกผมนี่พัฒนาไม่ขึ้น เขาว่าเขาเองนะเล่าให้เราฟัง อย่างงี้เช่นว่า เอ้าหมู่บ้านหนึ่ง ทำไอ้ท่อน้ำไม่มีน้ำจะใช้ ท่านผู้หวังดีก็ไปต่อท่อมาจากน้ำตกอุตส่าห์ทำท่อมาไกลถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านอื่น ๆ ทั่วไปนี่พอไปเจอไอ้พวกท่อ มีอะไรก็ทุบ ท่อมันก็แตกใช่ไหม อย่างงี้แล้วมันจะไปแก้กันยังไงไม่หวาดไหว ของส่วนรวมมันต้องช่วยกันรักษาแค่นี้ก็ไม่เอาแล้ว ถ้าเป็นกันอยู่อย่างนี้ก็จบ ถิ่นหนึ่งมีพระองค์หนึ่งตั้งใจไปช่วยชาวบ้านให้ทำมาหาเลี้ยงชีพช่วยแม้แต่การหาทางวิธีทำมาหากินวิธีประกอบอาชีพ ในที่สุดท้อเลิกขอออกจากหมู่บ้านไม่ไหวสู้ไม่ไหว กลับ อันนี้ต้องมอง 2 ทางด้วย แม้แต่คุณภาพในการสร้างเศรษฐกิจของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่พื้นฐานดีในน้ำมีปลาในนามีข้าวอยู่แล้วนี่ก็ยังทำไม่ได้ นั้นเราจะไปเอาอกเอาใจชาวบ้านเกินไปก็ไม่ถูก แล้วก็มันลักษณะลัทธิเพิ่งพา ก็คือว่าเพราะบางทีเราไม่ได้หวังดีต่อเขาจริงต้องการเอาเขาเป็นเครื่องมือ เราก็ไปช่วยด้วยเจตนาที่เอาเขาเป็นเครื่องมือ ทำให้เขาเกิดนิสัยในการพึ่งพาถูกไหม ต่อไปก็ทำอะไรเองไม่เป็น ก็หากินด้วยวิธีรอให้เขามาหา ให้มาให้ ฝ่ายหนึ่งก็ให้ ฝ่ายหนึ่งก็คอยหาใช่ไหม ถ้าอย่างนี้ก็ไปไม่รอดเหมือนกันครับ ต้องพัฒนาเศรษฐกิจในด้านการทำกิน บอกเราประเทศไทยทุนดีมีอยู่แล้วถึงกับพูดว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าว เราทำยังไงจะให้ไอ้ตัวนี้มันคงอยู่ด้วยดีโดยที่เรามีส่วนร่วมในการทำในการรักษาด้วย แล้วอันนี้ก็จะมาเป็นทุนใช่ไหม แล้วมันเหมือนกับคนไทยนี่ในแง่เศรษฐกิจนี่แทบจะพร้อมอยู่แล้วนะ คือโดยทั่วไปมันก็เกือบจะพร้อมอยู่แล้ว ที่จนผมว่าไม่มากเท่าไหร่ ถ้าไปเทียบประเทศอื่น เราลองไปเทียบประเทศอินเดียสิครับ โธ่คนไทยที่ว่ายากจนน่ะ แหมเราบอกยากจนทำให้ดีก่อน เราบอกอย่างนั้นไม่จริงหรอกคนไทยขนาดยากจนเนี่ยเราไปเทียบอินเดียไปดูสิครับ อยู่ด้วยวันละ 1 รูปี รูปี 1 เดี๋ยวนี้ถูกกว่า 1 บาทอีก แล้วเขาอยู่ได้ยังไง ถ้าอยู่อย่างเรา เขาอยู่ไม่ได้แต่ทำไมเขายังอยู่ได้ แต่ไม่ใช่จะปล่อยให้อยู่อย่างงั้นนะ เพราะว่าเขาขอทานมากเหลือเกิน อย่างเราไปนมัสการสังเวชนียสถาน พอไปลงที่ไหนกลุ่มขอทานรออยู่แล้ว กรูเข้ามาเลย อย่างงี้ขอทานมากเหลือเกิน แต่ว่าอย่างนั้นแหละก็คือว่าเราต้องเทียบว่าเรานี่ยังดีกว่าอินเดียมากมาย ต้องปลุกใจกันว่ามีกำลังใจ อย่านึกว่าเรายากจน เราจนเพราะไม่รู้จักพอก็มี จนเพราะไม่รู้จักทำกินก็มี แล้วก็อย่างที่ว่าถ้าเราสร้างแต่นิสัยหากิน แล้วรอความช่วยเหลือหวังผลประโยชน์จากภายนอกอย่างนี้ไปไม่รอด จะสร้างสังคมที่ดีไม่ได้ ก็เอาละเราก็ต้องตรวจดูนะเศรษฐกิจเพียงพอไหม พอเพียงไหมเพื่อสนองจุดหมายที่ดี แล้วก็พัฒนาแต่ว่าความตระหนักรู้นี้ทำได้อยู่แล้ว อย่างอย่างพระเนี่ย เมื่อเราอยู่ในชนบทต่าง ๆ เนี่ย พระมีความ แม้แต่รู้แค่นี้ก็บอกชาวบ้านได้แล้ว บอกโยมประชาธิปไตยนี่ไม่มีอะไรมากหรอก เป็นการปกครองที่ถือว่าดีที่สุดเท่าที่มนุษย์ในปัจจุบันนี้ค้นมาได้ว่าจะช่วยให้บรรลุจุดหมายของปกครองเพื่ออะไรก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนร่วมกันเท่านี้เอง ทีนี้เราจะเลือกได้คนยังไงที่จะไปทำให้อันนี้สำเร็จให้ได้ประโยชน์สุขของประชาชน เราก็จะได้ก้าวหน้าไปอีกแล้วเราก็ต้องช่วยกันนะทำมาหากิน ทำกินเป็นแล้วก็เราจะได้ช่วยสร้างสรรค์ประเทศเลือกคนดีเข้าไปปกครอง เราไม่เห็นแก่แสพบริโภค ทีนี้ถ้าเราแม้จะมีกินพอสมควรพอเพียงเนะ แต่มันเห็นแก่เสพบริโภคมันก็ล่อเหยื่อได้อีกใช่ไหม ไม่มีทางพ้นหรอกครับ มันก็มุ่งประโยชน์ขึ้นไปมันก็กลายเป็นไปสมทบกับพวกนั้นอีก มันก็ไปไม่รอดอินเดียนนี่กลายเป็นว่าในแง่การปกครองประชาธิปไตยกลายเหนือเรานะ ทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศที่โดยทั่วไปแล้วประชาชนยากจนอย่างยิ่งนี่ เขาถือเป็นประชาธิปไตยในระดับแบบฉบับเลยนะอินเดียนี่เป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเลย ประชาธิปไตยนี้ก็อยู่ได้ดีพอสมควรนี่งั้นก็ต้องบำรุงกำลังใจ คุณไม่ได้จนอย่างชาวอินเดียทำไมเขาอยู่ได้ แล้วเราก็ไม่ได้จนอย่างอเมริกันเมื่อยุคแรกสร้างตัวใช่ไหม เรามีแต่ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเป็นแต่เราเนี่ยจะทำนาให้มันอะไรไม่มีข้าว คนไทยจะเก่งว่าเดิมในน้ำมีปลาในนามีข้าว แต่เก่งในการทำให้ในน้ำไม่มีปลา จะเก่งในการทำให้น้ำหมดปลาในนาหมดข้าว เอ้อ แค่รักษาให้ในน้ำมีปลาในนามีข้าวก็รักษาไม่ได้ บอกว่าอย่านะญาติโยม อย่าทำให้ในน้ำหมดปลาในนาหมด ข้าว เวลานี้มันกำลังจะทำอย่างนั้นใช่ไหม เดี๋ยวนี้ปลามันอาศัยไม่ได้ในแม่น้ำหลายแม่น้ำแล้ว เป็นอันว่าเราทุนดีกว่าอเมริกันแล้วแล้วทำไมมาแพ้เขา อเมริกันนี่มันคติ Frontier ใช่ไหม ที่นี่อยู่ไม่ได้ ความหวังอยู่ข้างหน้าต้องไปข้างหน้าท่าเดียว นี่คือคติออเมริกันสร้างประเทศมา 300 ปีใช่ไหม คติ Frontier อเมริกันอยู่ด้วยคติ ซีดีการศึกษาพุทธปรัชญา
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
วัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
แผ่นที่ 4 วิถีชีวิตวิถีสังคมและการพัฒนา
เรื่องที่ 7 ประชาธิปไตยจะดีได้ต้องไม่ทิ้งงานพัฒนาคน
ตอบคำถามและพูดคุยกับพระนวกะเมื่อค่ำวันที่ 28 กันยายน พุทธศักราช 2551
ประชาธิปไตยก็ไปไม่รอดเพราะมันตกเรื่องง่าย ๆ เลยไปยุ่งกับเรื่องยาก ๆ ท่านยอมรับไหมว่าง่าย ท่านยอมไหมว่าที่จริงเป็นเรื่องง่าย ๆ โดยพื้นฐานมันง่ายแต่เพราะประชาชนไม่พร้อมคล้าย ๆ อย่างนั้นมันก็เลยเกิดมีผู้ปกครองที่กลายเป็นว่าตอนแรกในปฐมกาลเริ่มมีผู้ปกครองนั้นก็คนเลือกกันใช่ไหม ต่อมาพวกคนเลือกเหล่านี้ไม่พร้อมแล้วกลายเป็นว่าท่านผู้ปกครองก็เลยตั้งตัวเองเลยใช่ไหมตอนหลัง ๆ นี่สืบทอดกันมา ก็เป็นว่าต้องตั้งกันเห็นว่าประชาชนทั่วไปไม่พร้อมเอ้า ทีนี้ถ้าไม่ตั้งตัวเองก็เอากลุ่มชนหนึ่มาทำหน้าที่แทนถือว่าคนมีสติปัญญาความสามารถ ส่วนบุคคลทั่วไปไม่ได้เรื่องก็เลยไม่ให้มีสิทธิ ก็เลยเอากลุ่มชนกลุ่มน้อยนี่มาเลือกหรือไม่งั้นก็ช่วยกันปกครองเลยเกิดมีการปกครองแบบต่าง ๆ แต่ถ้าแบบแรกแบบเดิมที่เรียกมหาสมมติ ก็คือมหาชนนี่เลือกตั้งขึ้นมาใช่ไหม ก็หมายความว่าการปกครองเดิมแท้มันก็ตรงไปตามความมุ่งหมายแท้จริงง่าย ๆ แต่เพราะว่าปัญหาของมนุษย์นี่มาทำให้เกิดความซับซ้อนขึ้นมาเกิดการปกครองระบบต่าง ๆ มีทั้งพวกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ราชาธิปไตย คณาธิปไตย อะไรต่าง ๆ ใช่ไหม เผด็จการต่าง ๆ ว่ากันไปประชาธิปไตยสาธารณรัฐก็ความมุ่งหมายก็อันเดียวกัน แต่ว่าถ้าเราจะเป็นประชาธิปไตยที่แท้มันหนีไม่พ้นต้องพัฒนาประชาชนเพราะเราไปบอกให้ประชาชนเป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองใช่ไหม ประชาชนผู้ปกครองก็ประชาชนก็ต้องมีความสามารถที่จะปกครองกันเองหรือระบบปกครองตนเอง เริ่มตั้งแต่ปกครองระบบตนเองได้ก็ไปปกครองกันเองได้ แค่นี้ต้องพัฒนาประชาชน ที่นี่เรามักจะมองข้าม พอนักการเมืองเข้ามามีโอกาสแล้วเข้ามาอยู่ตรงกลางก็ลืมจุดหมายนี้ เรื่องของการพัฒนาประชาชนไม่ได้เอาใจใส่ ผมว่านะคิดว่าเป็นอย่างนั้นไหมครับ เราแทบไม่เอาใจใส่การพัฒนาประชาชนเลยนะ พัฒนาคุณภาพที่แท้เนี่ยไม่ใช่พัฒนาเป็นความสามารถที่จะเป็นทรัพยากรใช่ไหมที่จะมาเป็นไอ้พวกตัวกำลังในการผลิตพัฒนาได้แต่ทรัพยากรมนุษย์มาเป็นกำลังในการผลิต มันก็ได้แค่สนองความต้องการทางเศรษฐกิจเท่านั้นเองเวลานี้เราคิดกันแค่นั้น เราไม่ได้พัฒนานี่คุณภาพประชาชนที่เป็นส่วนร่วมในการปกครองประชาธิปไตย แล้วก็ไปเน้นเรื่องอย่างในโรงเรียนก็เน้นไอ้วิธีรูปแบบมาหัดเลือกตั้งอะไรต่าง ๆ ใช้ได้มันก็เป็นส่วนหนึ่งแต่อย่าลืมนะไอ้รูปแบบนี้มันไม่สำเร็จ ถ้าหากว่ามันไม่มีคุณภาพในตัวคนสติปัญญาความตระหนักรู้ก็ไม่มี เจตนามุ่งไปสู่จุดหมายนั้นก็ไม่มี มันก็ไปไม่รอดมันต้องเข้าให้ถึงวว่าไอ้รูปแบบเรามามีเพื่ออะไร รูปแบบมี 1 เพื่อสนองจุดหมายที่เรารู้อยู่แล้ว เราตระหนักรู้อยู่แล้วว่าเราต้องการอันนี้เข้าใจกันดีแล้ว แต่ถ้าเราไม่มีระบบวิธี ไม่มีวินัยการจัดตั้งในการดำเนินการจุดมุ่งหมายของเราที่ดีงามจะสำเร็จได้ยาก เราก็มีระบบแบบแผนจัดตั้งขึ้นมา 1 แล้ว 1 ก็จัดตั้งระบบเรียกว่าวินัยได้มาสนองจุดหมายของธรรมะ ธรรมะก็คือตัวหลักการความจริงคุณภาพคนเป็นต้นที่มีอยู่แล้วเป็นฐานเป็นตัวสภาวะที่เป็นจริง ไอ้รูปแบบจัดตั้งก็มาสนอง แล้วก็จัดปรับให้เหมาะในยุคสมัยได้ นี้ 1 เอาวินัยการจัดตั้งระบบรูปแบบมาสนองตัวจุดหมายที่คนมีอยู่ 2 ก็ระบบจัดตั้งเพื่อจัดให้เกื้อหนุนให้คนพวกนี้พัฒนาไปสู่จุดหมายมัน 2 ชั้น ไอ้การจัดตั้งหรือระบบต่าง ๆ เนี่ย มันมีความหมาย 2 ชั้น ทั้งว่าสนองเป็นระบบวิธีการเพื่อจะได้ดำเนินการไปถึงจุดหมายที่มีอยู่แล้ว 2 ก็มาเป็นระบบจัดตั้งเพื่อจะจัดสภาพเอื้อนั้นให้คนที่อยู่กันนี่ได้พัฒนาตัวขึ้นไปสู่จุดหมาย มันเป็นทั้ง 2 แบบ วินัยพระพุทธเจ้าตั้งขึ้นมาก็สนองทั้ง 2 อย่าง ต้องมองทั้ววินัยระบบจัดตั้งอะไรพวกนิติธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ มันต้อง 3 ชั้นอีกทีหนึ่งนะ อัน 1 มันสนองธรรมะนี่เพื่อสนองธรรมะก็คือมันเป็นฐานให้แก่ธรรมะ 2 มันก็มีธรรมะเป็นจุดหมายใช่ไหม แล้วก็จัดตั้งเพื่อว่าให้คนได้เข้าสู่จุดหมายได้ แล้วก็ 3 ก็คือว่ามันต้องสอดคล้องกับหลักความจริง ถ้าไอ้ตัวระบบวิธีการจัดตั้งอะไรต่าง ๆ และมันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามหลักเหตุปัจจัยในธรรมชาติเป็นต้นมันไปไม่รอด อันนี้คือตัวหลักสำคัญเลย วินัยต้องสอดคล้องกับธรรมตั้งอยู่บนฐานของธรรมะใช่ไหม เราจะตั้งวินัยตั้งระบบเนี่ยถ้าเราไม่รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติความเป็นเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายเป็นยังไง ไม่รู้จักสังคมมนุษย์ ไม่รู้จักธรรมชาติกับมนุษย์ ไม่เข้าใจว่าชีวิตคนมีเพื่ออะไร อยู่ไปทำไม การจัดวางระบบสังคมเนี่ยไปไม่รอดมันก็ไม่ได้ดีจริง มันต้องเข้าใจความจริงใจก่อน เมื่อเข้าใจความจริงและระบบที่ตั้งนี่ก็คือมาเป็นตัวสนองสอดคล้องกับความเป็นจริงเพราะฉะนั้นในแง่ที่ 1 อันนี้คือแกนแท้ ๆ เลยก็คือวินัยระบบจัดตั้งของมนุษย์นี่จะเป็นระบบกฎหมายนิติธรรม มาเป็นระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบอะไรก็แล้วแต่เนี่ยต้องอยู่บนฐานของธรรมะก็คือต้องตั้งอยู่บนความจริง เช่นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ถูกต้องเป็นต้น เพราะฉะนั้นคนพวกนี้จึงต้องมีปัญญามาก ก็มาเป็นทฤษฎีนี่แกก็พยายามเข้าถึงความจริงแล้วแกก็นึกว่าความจริงเป็นอย่างนี้ก็วางทฤษฎีขึ้นมาใช่ไหม ทฤษฎีก็คือเกิดจากความเข้าใจความจริงเท่าที่เขาสรุป ทางพระเรียกเป็นทิฏฐิ ทฤษฎีหนึ่งเป็นทิฏฐิหนึ่ง ขอสรุปว่าเท่าที่เขาเห็นความจริงในเรื่องหลักเศรษฐกิจมาสอดคล้องความเป็นจริงมันต้องเป็นอย่างนี้ก็วางทฤษฎีเศรษฐกิจมา คนโน้นบอกคนนี้มาเข้าจริงเอาจริงมันเป็นอย่างนี้ต้องฟังทฤษฎีแบบนี้ถึงจะถูก นี่คือทฤษฎีต่าง ๆ การเมืองก็แบบเดียวกันก็วางทฤษฎีกันตามการเมืองต่าง ๆ นี้แต่อย่างๆงก็ตาม คือเขาก็พยายามเข้าถึงตัวธรรมะคือความจริงนี้แล้วถ้าจะให้จริงดีแท้ก็ต้องถือระบบวิธีการที่จัดในสังคมมนุษย์นี่ต้องสอดคล้องอยู่บนฐานข้อความจริงที่เรียกว่าธรรมะ ยิ่งเข้าถึงธรรมชาติความจริงที่แท้ได้เท่าไหร่ก็ยิ่งดี ธรรมชาติความจริงว่าสิ่งทั้งหลายโดยทั่วไปหลักเหตุผลความเป็นเหตุเป็นปัจจัยธรรมชาติของมนุษย์ชีวิตมนุษย์มันเป็นยังไง มันต้องการอะไร ความสุขของมันอยู่ที่ไหนใช่ไหม เข้าใจหมดอย่างนี้การจัดวางระบบสังคมก็ยิ่งดี เพราะฉะนั้นวินัยการจัดตั้งกฎหมายนิติศาสตร์เป็นต้น ก็ต้องตั้งอยู่บนฐานของธรรมะถูกต้องตามความหมาย แล้วก็ 2 ก็มาจัดตั้งเพื่อว่าจุดหมายของธรรมะก็คือเราต้องการประโยชน์สุขของประชาชน ต้องการให้ประชาชนได้เข้าถึงโลกุตระธรรมความดีงามสูงสุดที่เข้าถึงความสุขที่เป็นอิสระอะไรต่ออะไร เอ้าวินัยเข้ามาจากจัดตั้งเพื่อสนองจุดหมายนี้ จัดระบบสังคมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการที่คนจะได้พัฒนาตนเข้าไปถึงจุดหมายนี้ถูกไหม เอ้าอันนี้ก็สนองจุดหมาย ทีนี้พอวางตั้งไปแล้ว วินัยกลับมาเป็นฐาน มาเป็นฐานแรกให้ธรรมะตั้งอยู่ได้ ถ้าไม่มีวินัยระบบนิติธรรมเป็นต้นไปฐานธรรมมะก็ไม่มีที่ตั้งใช่ไหม ไม่มีที่ตั้งในสังคมมนุษย์ก็เลยมากำกับมีฐานมากำกับเป็นกรอบเป็นอะไรต่ออะไรให้มาช่วยมนุษย์นี่ต้องอยู่ในกติกาอยู่ในกรอบอยู่ในแนวทางที่จะดำเนินไปถึงจุดหมาย จุดหมายนั้นก็คือจุดหมายที่แท้ก็คือ เรื่องธรรมะ ตกลงก็นี่ 2 อันนี่ธรรมะกับวินัยมีอยู่เท่านี้แหละครับไม่ว่าจะจัดวางระบบทฤษฎีการเมืองการปกครองเศรษฐกิจอะไรขึ้นมายังไงกันเนี่ยก็อยู่แค่ธรรมะกับวินัย 1 ความจริงชองชีวิตของธรรมชาติของมนุษย์ของสังคมอะไรก็แล้วแต่ความจริงที่เป็นไปตามธรรมชาติความจริงความจริงตามที่มันเป็นนี่ ทำไงจะเข้าถึงความจริง 2 เมื่อเรารู้เข้าใจความจริงใจเท่าไหร่เราก็ใช้ความสามารถที่จะมาจัดตั้งวางระบบเพื่อสนองตัวธรรมะไอ้ความจริงอันนี้ให้มันสอดคล้องกันต้องปัญญาอีกชั้น ถ้าเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ ความจริงของชีวิตของอะไรก็แล้วแต่ความเป็นเหตุปัจจัยเข้าใจแต่ขาดปัญญาความสามารถที่จะเอาความจริงนี้มาจัดตั้งวางระบบ เพื่อให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากความจริงนั้น ก็เลยเป็นปัจเจกพระพุทธเจ้า ถ้าเข้าถึงความจริงของธรรมชาติหมดแล้วบนฐานข้อความจริงนั้นมาจัดตั้งวางรูประบบแบบแผนกติกาอะไรเป็นต้น นิติธรรมเป็นต้นในสังคมมนุษย์นี่ให้มันสอดคล้องให้จะได้ผลตามหลักความจริงอันนี้ด้วยก็เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้ 2 ชั้น จึงเรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องฉลาด 2 ชั้นนะนี่คือหลักการทั่วไปเลยมนุษย์ในสังคมปัจจุบันก็ต้องเก่ง 2 ชั้นนี้ อย่างพระพุทธเจ้านี่แหละ 1 ต้องเข้าถึงความจริงใช่ไหม เพราะฉะนั้น ต้องศึกษาต้องพัฒนาปัญญาเป็นหลักเลย และพัฒนาคุณสมบัติอื่นมีความจริงใจบริสุทธิ์ใจเป็นต้นนี่มีเจตนาที่ดี จิตใจก็มีเจตนาดีแต่จิตใจเจตนาดีนี่ไม่แน่ใช่ไหม รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็พลาดอีก เพราะฉะนั้นเจตนาดีไม่พอต้องปัญญาต้องถ่องแท้ชัดเจนได้แล้ว เพราะฉะนั้นคนที่จะมาเป็นนักปกครองอ้าวเรื่องง่าย ๆ แต่ว่ามันไม่ใช่ง่ายนักมันต้องคัดคนกันนะ หนึ่งมีปัญญาที่เข้าถึงความจริงให้มากที่สุด 2 สามารถที่อยากมาเป็นองค์กรนิติบัญญัติสภาต้องมีความสามารถในการที่จะจัดตั้งวางระเบียบกฎกติกาสังคมนิติธรรมอะไรให้สอดคล้องกับความจริงนั้นถ้าคุณไม่เข้าใจความจริงของสังคมนี้เป็นต้น ไม่เข้าใจไม่รู้ความต้องการของชีวิตมนุษย์เป็นต้น แล้วจะวางกฎหมายได้ดีไหมครับไปไม่รอดจะเอาแต่รูปแบบเท่านั้นเอง ฉะนั้นมันก็ไม่ใช่ง่าย ๆ นะครับใช่ไหม ไอ้เรื่องง่ายมันก็กลายเป็นเรื่องยากก็อย่างนี้ แต่ทีนี้เวลานี้คนมันทำให้เรื่องมันซับซ้อนเลยอยากผิดทาง ไอ้ยากถูกทางมันยังพอช่วยกันพัฒนาคนนี้มันยากซับซ้อนมันเรื่องนอกเรื่องเข้ามากีดขวางทางของความถูกต้องความจริงมันเลยทำไม่ได้ไปกันใหญ่เลย นี่มันกลายเป็นสร้างอุปสรรคขวางกั้น 2 ชั้น 1 คือตัวหลักการใหญ่ที่มันง่ายมันมีอยู่แล้ว การที่จะทำให้บรรลุผลอย่างนั้น พัฒนามนุษย์ทั้งประชาชนให้รู้ตระหนักให้รู้จุดหมายของการปกครอง แล้วมีสติปัญญาที่จะรู้จักเลือกคน ไอ้ความมุ่งหมายจุดหมายนี้ง่าย แต่จะทำนี้ยากเหมือนกันเสร็จแล้วคนที่จะมาเสนอตัวเข้าไปทำหน้าที่นี้ก็ต้องมีความตระหนักรู้และมีเจตนาที่บริสุทธิ์เจตจำนงที่มุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนแล้วแน่นอนและยังมีคุณสมบัติในแง่ความสามารถที่จะทำให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายนั้นด้วยอีก แค่นี้ก็ทำไม่ใช่ง่ายเลยใช่ไหมครับ เสร็จแล้วตอนนี้สังคมกลับมาสร้างไอ้อุปสรรคอะไรต่ออะไรความหวาดระแวงอะไรกัน การที่มาสร้างภัยอันตรายแก่กันความไม่ปลอดภัย การเมืองเลยไม่มั่นคงก็เกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยทางการเมืองเป็น political in security เลยใช่ไหม ไม่มั่นคงปลอดภัยของการเมือง การเมืองก็หวั่นไหวหมด แล้วจะไปได้ยังไงนะครับ ตอนนี้มันมีแต่ insecurity หมดเลย political political security การเมืองการปกครองก็ไม่มั่นคง แค่นี้มันก็ทำไม่ได้แล้วจะไปยังไงละ นั้นเราก็ไม่ว่าใครล่ะเราว่ารวม ๆ ขออภัยอันไหนที่ว่ามันก็ขอแก้เป็นเขา หรือเป็นเราบางทีมันเผลอไป ก็ควรจะพูดวาจาที่สุภาพอ่อนหวาน
คนฟังถาม ขอกลับไปที่หลักที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อให้ว่า เราจะต้องสร้างสังคมที่ให้เป็นธรรมาธิปไตยโดยการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการปกครอง จะถามว่าเนี่ย
พระตอบ นี่คือขั้นต้นนี่ตรงไปตรงมา มันก็เหมือนกับรู้กันอยู่แล้วแต่มันไม่ได้เอามาย้ำเอามาตระหนักความตระหนักรู้เท่านั้นเองว่าเรามีการปกครองประชาธิปไตยเพื่ออะไรก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของส่วนรวมของคนทั้งประเทศใช่ไหม ให้อยู่กันร่มเย็นเป็นสุขก็อธิบายไปสิ มีสันตุสุขอะไรก็ว่าไป
คนฟังถาม แล้วจะถามพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่า ใครจะเป็นผู้มาให้ความรู้ตรงนี้
พระตอบ ก็พระนี่แหละ ก็พระเองก็ยังไม่พูด น่าจะพูดไม่พูด น่าจะรู้ก็บางทีก็ไม่รู้ใช่ไหม พระนี่ช่วยได้มาก เพราะกระจายอยู่ทั่วประเทศ บอกชาวบ้านนี่เรามีการปกครองประชาธิปไตยไม่ว่าการปกครองไหนหรอก การปกครองไหน ๆ ความมุ่งหมายที่แท้ก็เหมือนปฐมกัปป์ก็ เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมประชาชนร่วมกันนี่ใช่ไหม ตั้งมหาสมมติเพื่ออะไรครับ เพื่อประชาชนที่อยู่ร่วมกัน เขามีกรณีพิพาททะเลาะทำไงให้อยู่ร่วมกันด้วยดีประโยชน์ส่วนรวมอยู่กันด้วยสันติมีปัญหาพิพาทกับแก้ได้ ก็จึงได้เกิดการปกครองขึ้นมา การปกครองก็แค่นี้แหละจะไปเล่าเรื่องสมมติให้ญาติโยมฟังเข้าใจง่ายดีกว่าไปเล่าทฤษฎีการเมืองปัจจุบันจริงไหม เอ้อไปเล่าเรื่องนี่ในพระไตรปิฎก เรื่องปฐมกัปป์ ตอนที่เขาเริ่มตั้งพระราชามหาชนะสมมติเรียกว่าสั้น ๆ มหาสมมติเป็นกษัตริย์ เป็นขัตติยะ เป็นราชานี่ เกิดขึ้นมาอย่างไรเท่านี้แหละโยม และเดี๋ยวนี้มันก็เป็นอย่างนี้ ทีนี้ว่าเดี๋ยวนี้สังคมมันใหญ่แล้วอะไรต่ออะไรมันก็ซับซ้อนขึ้นมา ก็ให้โยมรู้ว่า ตอนนี้นะการปกครองก็ยังอยู่เพื่อจุดหมายอันเดียวกันเดิมนี่แห ละเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนร่วมกัน นี้ว่าแต่ก่อนนี้เราไปมอบให้คนผู้เดียวเขาปกครอง ต่อมาก็มีการปกครองแบบโน้นแบบนี้ก็คืออันไหนมาก็ที่จริงก็เพื่อจุดหมายเดียวกันนี่ว่าทำยังไงจะให้ประโยชน์สุขประชาชนมันเกิดขึ้นได้บรรลุจุดหมายใช่ไหม บอกว่าเอาราชองศ์เดียวทำบางทีมันเขวเกออกนอกทางไปใช่ไหมไม่บรรลุประโยชน์สุขของประชาชนทำเพื่อตัวเองไปเสียนี่ ก็เลยเปลี่ยนเป็นระบบการปกครองนี้จนกระทั่งในที่สุด ก็เหมือนการปกครองรูปแบบต่าง ๆ นี่เป็นวิธีการเท่านั้นจุดหมายอันเดียวกัน จุดหมายของการปกครองทุกอันเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนร่วมกัน แล้วก็มีรูปแบบวิธีการปกครองต่าง ๆ เป็นพระราชาองค์เดียว เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ราชาธิปไตย เป็นเผด็จการ เป็นอะไรก็แล้วแต่เนี้ย ก็เพื่อจุดหมายอันนี้วิธีการไหนดีที่สุดที่จะให้บรรลุจุดหมายนี้เรามาตกลงกันบอกว่าประชาธิปไตยดีที่สุด ประชาธิปไตยก็ในแง่ทั่วไปก็เหมือนก็เป็นวิธีการ วิธีการปกครอง รูปแบบการปกครองเพื่อสนองจุดหมายอันเดียวอันเดิมนั่นแหละ เราบอกว่าด้วยรูปแบบระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยเนี่ยเราจะบรรลุจุดหมายให้ประชาชนได้รับประโยชน์สุขได้มีหวังสำเร็จได้ดีที่สุด ตอนนี้มันกับจะหมดหวังก็แย่สิบอกว่าไม่ได้แล้วพวกคุณเนี่ย ชาวบ้านเองเนี่ยจะต้องเข้าใจว่าที่จริงเขามีการปกครองก็เพื่อจุดหมายนี้ ให้ประชาชนนะไม่ใช่ตัวคุณนะ แต่หมายถึงประชาชนทั้งหมดก็คือเราทุกคนร่วมกันนะจะไปนึกว่าเดี๋ยวนี้ก็มักจะเข้าใจผิดอีก อ้างตัวแต่ละคนเป็นประชาชนเสียนี่ ตัวเองถ้าพูดให้ถูกก็ตัวเองแต่ละคนนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของประชาชนใช่ไหม เป็นประชาชนส่วนหนึ่งเหมือนกับเรานี่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราก็เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่เราเป็นธรรมชาติทั้งหมดถูกไหม เราเป็นประชาชนคนเดียวได้ที่ไหนอ่ะ มันก็ประกอบกันเข้าเป็นประชาชน ทีนี้เอาตัวฉันเป็นประชาชนไปแล้ว บางที่ก็อ้างผิด แต่ฉันเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนเป็นส่วนร่วม อ้าวแล้วทีนี้ก็เราก็เข้าใจสิการปกครองประชาธิปไตยเนี่ยก็เข้าใจกันว่า เรามาตกลงว่าเป็นรูปแบบระบบวิธีการปกครองที่ดีที่สุดที่จะให้บรรลุจุดหมายของการปกครองคือเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน นั้นเราก็ต้องให้การปกครองอันนี้ ที่เรียกว่าประชาธิปไตยนี่มันสำเร็จจุดมุ่งหมายนี้ให้ได้ ถ้ามันไม่สำเร็จแล้วก็ถือว่าใช้ไม่ได้ถูกไหมจะเป็นประชาธิปไตยจะจัดรูปแบบยังไงก็ตามมันไม่ได้ประโยชน์สุขของประชาชนใช้ไม่ได้จริงไหม คุณจะจัดสวยหรูยังไงก็ตามไม่ได้เรื่องจริงไม่จริงก็มันอยู่ที่ทำให้สำเร็จประโยชน์สุขของประชาชน แต่ว่าประชาชนก็ต้องตีกลับมาอย่างที่ว่าเขาเป็นประชาธิปไตยระยะยาวและประชาชนก็คือเขาบอกแล้วคุณผู้ปกครองเองเป็นการปกครองของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน เอ้าก็เพื่อประชาชนทำไงประชาชนเขาแทนที่จะปกครองเองก็มีตัวแทนเข้ามา แล้วคุณจะได้ตัวแทนดียังไง คุณก็ต้องรู้มีปัญญารู้จุดหมายของการปกครองและรู้ว่าใครมีเจตนาบริสุทธิ์จะไปทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงมีความสามารถทำได้อย่างนี้ไหม ก็พิจารณาสิแค่นี้ก็ให้มันตรงจุดก่อน แค่ให้ตรงจุดก็ยังทำไม่ได้เลยถูกไหม เรื่องง่าย ๆ แค่นี้ยังทำไม่ได้แล้วจะไปไหนละครับ มันก็เขวไปนอกเรื่องนอกราว ก็ต้องบอกว่าโยมประชาธิปไตยมันเรื่องง่าย ๆ แต่ว่าเดี๋ยวนี้ทำให้มันยากสะหมดแล้ว มันก็เลยยุ่งยากซับซ้อนไม่เข้าเรื่อง อ้าวท่านจมีอะไรถาม คนฟังถาม จะเรียนถามท่านว่ามีในประวัติศาสตร์ไทยนี่ มียุคไหนไหมที่ประชาชนมีความสุขที่สุด แล้วอาจจะเป็นแบบอย่างสำหรับยุคนี้ พระตอบ เราก็ไม่ได้ไปอยู่กับพระเจ้านะ มันไม่มีประสบการณ์ตรง แต่ว่าเราก็ได้เอกสาร เช่น ประวัติศาสตร์บอกว่ากรุงสุโขทัยนี้ดีในนะ ในนั้นบอกนี่ไพร่ฟ้าหน้าใสอย่างนี้เป็นต้น ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็พูดได้เป็นเงื่อนไข บอกว่าถ้าเป็นตามที่มีบันทึกจารึกมาในประวัติศาสตร์ว่าอย่างนี้จริงก็แสดงว่ายุคสุโขทัยนี้ดีใช่ไหม ใครจำได้จําได้มั้งข้อความทั้งหมดนี่มาถึงไพร่ฟ้าหน้าใส มาตั้งแต่ครั้งนั้นใช่ไหม ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แล้วอะไรใครฆ่าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า แล้วก็ไปถึงอะไรแล้วก็ไปถึงไพร่ฟ้าหน้าใส แล้วบอกเอาจังกอบแขวนไว้อะไรก็ไม่รู้ แล้วก็มีระฆังแขวนไว้ อะไรนะอะไรใคร ใครอะไรท่านใช้ถ้อยคำว่าไง คล้าย ๆ เดี๋ยวนี้ใครๆก็ปวดท้องปวดหัวไปตีระฆัง ท่านใช้คำอะไรนะ คำโบราณ เพราะตามจารึกสมัยสุโขทัยก็น่าจะดีที่สุดถ้าเป็นจริงตามที่จารึกไว้ ก็ผู้ปกครองสมัยนั้นแม้จะไม่เป็นประชาธิปไตยแต่เพราะคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนใช่ไหม ก็มุ่งไปที่นั่น ก็ทำไม่สำเร็จเพราะฉะนั้นแม้แต่ที่เรียกว่าเผด็จการถ้าเขามีเจตนาบริสุทธิ์จริงแล้วก็ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจตัณหามานะทิฏฐิ เขาก็สามารถทำให้มีการปกครองที่ดีเหมือนพระเจ้าอโศกก็ต้องถือว่าเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ว่าท่านไม่มีและการที่จะเอาเพื่อตัวเอง ก็เพราะว่าเลิกแล้ว ตอนนั้นแน่ตอนก่อนต้องการอำนาจยิ่งใหญ่จะเป็นกษัตริย์ผู้เดียวในชมพูทวีปอะไรต่าง ๆ ต่อมาก็เลิกเลยไม่เอาแล้ววิธีการนี้ไม่ถูกเศร้าใจที่เห็นประชาชนล้มตาย ก็เลยเหมือนเกิดปมในพระทัยต้องแก้ เปลี่ยนเป็นว่าเอ้อ หลักพุทธศาสนาตอนนี้ต้องทำเพื่อให้ประชาชนมีความสุข ทำไงจะให้ประชาชนมีความสุขทั่วกันได้ฉันเอาอันนั้น ตอนนี้ล่ะครับถ้าผู้ปกครองมีความคิดอันนี้ขึ้นมานะดีไหมครับ คิดอย่างเดียวก็เลยนั่งนอนคิดอย่ายเดียวทำไงจะให้ประชาชนมีความสุขพระเจ้าอโศกคิดอย่างนั้นอย่างเดียวเลย ตามจารึกนี่บอกว่าพวกอำมาตย์อำเหมิดใครมีเรื่องเดือดร้อนให้เข้ามาแจ้งเพราะพระองค์อยากจะให้ประชาชนมีความสุข ใจอยู่กันเรื่องนี้แล้วก็ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ใจอยู่ที่ประโยชน์สูงใจอยู่ที่ว่าประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนต้องรีบแก้ไขเข้าถึงได้เลยบอกได้เลยจะไปแก้ปัญหาให้ทำไงจะให้มีความสุขได้คิดใจคิดอยู่แต่อย่างนี้ แล้วมันจะเป็นอย่างไรละ ถ้าคุณภาพของผู้ปกครองเป็นอย่างนี้ 1 เจตนาดีจิตใจมุ่งดี เจตนาบริสุทธิ์ต้องการเพื่อจุดหมายของการปกครองแท้ 2 ท่านมีความสามารถอยู่แล้วไม่ต้องห่วงใช่ไหม ต่อจากนั้นก็เลยไม่ต้องทำอะไร พระเจ้าอโศกคิดแต่ว่าจะทำไงจะให้ประชาชนอยู่เป็นสุข สร้างถนนหนทางเป็นการใหญ่ สร้างวัดคือสถานศึกษา ศูนย์กลางการศึกษา วัดก็คือศูนย์กลางการศึกษาสมัยนั้นวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของมวลชน ก็เลยสร้างวัด 84000 วัด ศูนย์กลางการศึกษาประชาชนมีทั้งภิกษุ ภิกษุณีให้การศึกษาทั้งชายหญิงหมด แล้วก็สร้างโรงพยาบาล โรงพยาบาลคนไม่พอ สร้างโรงพยาบาลสัตว์ด้วยนะพระเจ้าอโศก แล้วก็ในถิ่นนั้นขาดแคลนยาสมุนไพรอะไรให้เที่ยวไปหามา แล้วก็ในบนถนนสร้างไปแล้วถนนนั้นทุกระยะเท่านี้ต้องสร้างศาลาพักคนเดินทางอีก แล้วสร้างไอ้พวกแหล่งน้ำ สร้างแหล่งน้ำกษัตริย์ในลังกายังเป็นตัวแบบ ขุดพวกอ่างเก็บน้ำใหญ่ ๆ ขึ้นมา พื่อบำรุงความสุขประชาชน พระเจ้าอโศกก็ขุดเก็บน้ำ แล้วก็ในที่ที่ศาลาเดินทางก็ทำไอ้ที่แหล่งน้ำที่จะให้คนมีกินมีใช้อยู่เป็นสุขเดินทางได้สะดวก แล้วก็ให้พระแนะนำสั่งสอนประชาชนส่งเสริมแล้วก็ให้ประชาชนนั้นมีการปกครองตามแนวนโยบายที่ถูกต้องตามธรรมะก็สมัยนั้นไม่มีไอ้พวกสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์อะไรแบบนี้ก็ทำศิลาจารึก บอกที่ไหนมีแผ่นศิลาโขดหินอะไรต่ออะไรให้เอาข้อความนี้ไปเขียนไว้ แล้วก็ให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าปกครองในถิ่นนั้นอ่านเอาไปบอกเวลาประชุมวันอุโบสถก็เอาข้อความนี้ไปบอกแก่ประชาชนมาอธิบายเขาฟัง ผู้ปกครองในท้องถิ่นก็เลยมีอำนาจ นอกจากสนองนโยบายเกี่ยวกับธรรมะของศูนย์กลางการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราชแล้วก็นโยบายการปกครองนั้นก็สั่งสอนธรรมะไปด้วย บอกว่าควรจะอยู่กันยังไงพ่อแม่ครูอาจารย์กาชาบ้านกาชาดกรรมกรในนั้นจะเอาใจใส่ทาสกรรมกรมาก คนรับใช้คนงานเนี่ยต้องให้เขาอยู่เป็นสุข นอกจากนั้นอะไรล่ะก็สอนหลักธรรมคุณธรรมความดีอะไรต่าง ๆ ที่ควรจะมีในจิตใจและก็สิ่งที่ควรจะเอาไปบอกกับลูกบ้านอะไรต่าง ๆ นี่ก็เลยกลายเป็นว่าหัวหน้าชุมชนผู้ปกครองก็ทำหน้าที่ทางการศึกษาไปด้วย แล้วพัฒนาประชาชนแล้วก็พูดเรื่อยไป ท่านมีอะไรถามไหมครับ ญาติโยมมีอะไรถามไหม พอเห็นนะเนี่ยในที่สุดหนีไม่พ้นอต้องพัฒนาคุณภาพประชาชนและนโยบายของรัฐทุกสมัยจะต้องเน้นจุดนี้ก็เราจะมีวิธีการยังไงจะพัฒนาคุณภาพประชาชน เพราะเขาจะต้องเป็นผู้ปกครองประเทศแล้วเขาจะเป็นผู้เลือกพวกเรามา แล้วทำไงจะได้พวกเราที่ดี ๆ ต่อไป ถ้าพวกเรารุ่นนี้ดีแล้วมีหลักประกันอะไรที่จะได้ผู้ปกครองรุ่นหน้าดี เอ้าเราก็ต้องมีประชาชนที่เป็นผู้เลือกตั้งที่ดีใช่ไหม ถ้าประชาชนมีคุณภาพดีแล้วตระหนักในจุดหมายของการปกครองใช้สติปัญญาเที่ยงตรงแล้วก็มาเลือกตั้งดีก็สบาย นิมนต์ครับ คนฟังถาม การพัฒนาคุณภาพประชาชนนะครับ ทีนี้ประชาชนเองที่ส่วนใหญ่ในเขตต่างจังหวัดเนี่ยก็ยังยากจนอยู่ ทีนี้การพัฒนาประชาชนต้องพัฒนาความเป็นอยู่ฐานะความเป็นอยู่กับการศึกษานี่ควรจะพัฒนาไปพร้อมกันหรือควรจะพัฒนาอย่างไรก่อนครับ พระตอบ อ้อแน่นอน เศรษฐกิจพระพุทธเจ้าถือสำคัญมาก พรจะไปปฏิบัติแม้แต่เจริญสมาธิต้องมีสัปปายะ 7 พึงมีแล้วอันนั้น หรืออีกอัน โภชนะสัปปายะ หรือบางทีเรียกอหารสัปปายะ มีอาหารเป็นที่สัปปายะ อาหารโภชนะเป็นที่เกื้อกูล แต่ว่าให้มันเป็นปัจจัยอย่างเป็นจุดหมาย เดี๋ยวจะไปเพลินว่าเราอยู่เพื่อจะได้กินสบายใช่ไหม แต่ว่าเอาอาหารนั้นมาเป็นปัจจัยเกื้อหนุน ทีนี้ถ้าเรามองถูกแล้วก็ต้องจัดให้ด้านเศรษฐกิจนี้มาเป็นปัจจัยให้เขาเพียงพอนั่นเอง เอ้าในหลวงตรัสอะไร เศรษฐกิจพอเพียงก็คือพอเพียงเพื่อ คือพอเพียงนี้จะต้องทำความเข้าใจนะ พอเพียงมีหลายความหมาย พอเพียงเอาที่ 1 ก่อนพวกที่ 1 พวกที่ไม่รู้จักพอ อันนั้นเราไม่เอาแย่เลยพวกไม่รู้จักพอ พวกที่ 2 ก็พอไม่เป็น ไม่รู้จักว่าพอ พวกที่ 2 นี้ ก็ไม่รู้จักพอมันเป็นยังไงก็ไม่รู้จักพอ คำไม่รู้จักพอนะมันมี 2 แบบไม่รู้จักพอก็เท่าไหร่เท่าไหร่ ไม่พอไม่รู้จักพอก็หมายความไม่รู้จักไอ้ความพอเพียงเป็นอย่างไร มันก็เลยยสักแต่ว่าพอ พอเพียงอันที่ 1 ก็คือพอเพียงให้มีชีวิตอยู่ได้รอด พอเป็นอยู่ได้ไม่ตาย พวกนี้ไปไม่รอดเหมือนกันนะพอเพียงพอเป็นอยู่ให้ชีวิตรอดได้ พอมันอยู่ได้มันก็คงพวกนี้ก็ขี้เกียจแล้วไม่ทำอะไรแล้ว ตกอยู่ในความประมาท ขอเพียงมันต้องเข้าสนองหลักธรรมเป๊ะเลย หลักธรรมพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาชีวิต คุณจะต้องพัฒนาชีวิตเจริญไตรสิกขาหรืออย่างน้อยเจริญทานศีลภาวนาให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นไปเศรษฐกิจพอเพียงก็พอเพียง มันพอเพียงเพื่ออะไรมันไม่ใช่พอเฉย ๆ พอเพียงให้เป็นอยู่มีชีวิตอยู่ได้ไม่ใช่พอเพียงเมื่อมีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น พอเพียงเพื่อสนองจุดหมายของชีวิตที่ดีครับ ชีวิตทีดีต้องการอะไร ชีวิตที่มีการพัฒนาต่อไปใช่ไหม เจริญศรี เจริญจิตเจริญปัญญา เอ้อมันก็กว้างออกไปมีชีวิตดีงาม มีสังคมที่ดีมีวัฒนธรรม มีการเจริญสติปัญญา มีการที่พัฒนาชีวิตพัฒนาสติปัญญาการศึกษาเล่าเรียนเนี่ยไม่ใช่เสพโภคจุดหมาย เศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่เอาไอ้การฟุ้งเฟ้อบำรุงบำเรอบริโภคนิยมเอาการเสพหาความสุขเป็นจุดหมาย แต่ว่าเอาจุดหมายที่ดีงามของชีวิต นี้แล้วก็ดูว่าอันนี้มันจะมีขอบเขต ถ้าให้พอเพียงเพื่อเสพไม่รู้จักพอใช่ไหม มันไม่มีขอบเขตแต่ว่าพอเพียงเพื่อจุดหมายที่ดีของชีวิตตอนนี้มันมีเลย แค่ไหนพอ พอเพียงแค่จึงเป็นความพอดีไงว่าเท่าไหร่จะพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมายนี้ เราก็มีว่าเอ้อ เข้าหลักพุทธศาสนาว่า เศรษฐกิจเป็นปัจจัยมันไม่ใช่จุดหมาย เรามีเศรษฐกิจพรั่งพร้อมเป็นปัจจัยเพื่อสนองจุดหมายมาเกื้อกูลที่เราจะก้าวหน้าไปในจุดหมายของชีวิตที่ดีงาม สังคมที่ดีเป็นยังไงก็มาคิดดูสิครับชีวิตที่ดีจะต้องมีการศึกษามีการเจริญสติปัญญาพัฒนาคุณธรรมความดีสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่ดีงามมีอะไรดี ๆ ๆ ว่ากันไปนี้ต้องใช้ความคิดใช้ปัญญาแล้วไม่ใช่มัวเสพ ไม่ใช่หากินหาเสพ เอ้าตั้งจุดหมายที่ดีแล้วก็ดูเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสนองอันนี้ ถ้ามันไม่สนองจุดหมายนี้มันก็ไม่พอเพียงสิใช่ไหม นี่แหละครับเศรษฐกิจที่พอเพียงที่แท้แล้วมันพอเพียง มันก็พอดีที่จะให้บรรลุจุดหมายเหมือนกับเราจะฉันข้าวก็พอเพียงพอดีเหมือนกัน ตั้งใจปฏิสังขาโย ตั้งแต่ละวันนี่ ฉันให้พอดีพอเพียง พอเพียงแก่ความต้องการของชีวิต ปฏิสังขาโยเพื่ออะไรล่ะบอกเสร็จละ แล้วพอฉันแค่นั้นพอให้ร่างกายดีมีสุขภาพแข็งแรงถูกไหม มันก็พอดีฉันแค่นั้นพอดี พอดีที่จะให้สนองความต้องการของร่างกายที่จะมีชีวิตอยู่ได้มีสุขภาพดีแข็งแรง พอดีแค่นั้นแหละมีเศรษฐกิจพอเพียงพอดีตั้งแต่เริ่มในชีวิตประจำวัน แล้วพอดีร่างกายแข็งแรงจะได้เอาร่างกายนี้ไปศึกษาเล่าเรียนอะไรต่ออะไรไป ทีนี้มองกว้างเศรษฐกิจพอเพียงก็พอดีเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่ดีงามเหล่านี้ เข้าแนวเปี้ยบไปเลย เอาละครับทีนี้เราก็ต้องไปทำเศรษฐกิจพอเพียงในชนบท ทีนี้ถ้าเราไม่ไปมุ่งบริโภคนิยมให้ประชาชนมุ่งแต่จะไปเสพบริโภรหาตัวกินอยู่จะได้มีความสุขมีพรั่งพร้อมเพื่อที่เสพหาความสุขไม่ต้องคิดอะไรลุ่มหลงมัวเมา ถ้าอย่างนั้นเราก็ไม่ได้ทำ แล้วอย่างนี้มันจะพอเพียงพอดีแล้วมันจะพอกันใช่ไหม เพราะว่าถ้าขืนให้คนสนองความต้องการของตัวเองให้พอมันไม่รู้จักพอแล้วทีนี้มันก็แย่งคนอื่น คนอื่นก็อดใช่ไหม ทั้ง ๆ ที่เมืองไทยนี่มันพอ ถ้าจัดให้ดีก็พอเพียงใช่ไหม เพราะเป็นประเทศที่ไม่ได้ยากจนอะไร พวกพื้นฐานโดยธรรมชาติก็ดีอยู่ แม้แต่ว่าไม่ต้องหาอะไรมากลูกดินเดินเองขึ้นหาทำกินได้แล้วเนี่ยเศรษฐกิจพอเพียงแบบนี้ใช่ไหมเพื่อจุดหมายที่ดี เราก็แน่นอนแล้วครับต้องไปสอนในเรื่องเศรษฐกิจด้วย พระเขาจึงต้องสอนในเรื่องนี่แหละครับในเบื้องต้นด้วย เอ้าคุณต้องมีอุสถานะสัมปทาถึงพร้อมด้วยความหมั่นขยัน อารักสัมปทาถึงพร้อมด้วยการเก็บรักษาใช่ไหมรู้จักประหยัดรู้จักออม แล้วกับกัลยาณมิตตตารู้จักคบหาคนที่จะมาเกื้อหนุนกัน ดำเนินชีวิตที่ดีในการประกอบอาชีพที่ดีงามและสามัคคีวิทยาชีวิตพอดีไม่ฟุ่มเฟือยไม่เกินไป พอได้อย่างนี้หลักธรรมก็ต้นทางเศรษฐกิจนี่แหละครับ ก็เอามาหนุนว่าเราไม่ใช่เพื่อจะได้กินอยู่เสพบริโภค มันฟุ้งเฟ้อเราอยู่ได้อย่างนี้แล้วเราก็มาพัฒนาที่ว่าเมื่อกี้ใช่ไหม อ้าวแล้วเมื่อกี้มตอบอะไรเศรษฐกิจ คนฟังถาม เพราะว่าที่ทาง ๆ ต่างจังหวัดนะครับ ที่มีการซื้อเสียงได้เพราะเห็นว่าส่วนหนึ่งฐานะของประชาชนเองก็ยังยากจน ทีนี้ถ้าพัฒนาการศึกษาอย่างเดียวเนี่ย ก็จะเรียนถามหลวงพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่าต้องพัฒนาเศรษฐกิจก่อนหรือว่าจะต้องพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วยหรือเปล่า พระตอบ โอ้มันไปด้วยกันแล้วง่ายมากสำหรับเมืองไทยเนี่ย ถ้าเมืองฝรั่งยากกว่าฝรั่งสมัยก่อน โอ้เขาแล้นแค้นลำบากยากเย็นใช่ไหม ต่อสู้มาขาดแคลนอู้เขาเดือดร้อนมีประสบการณ์ในการต่อสู้มาก ไทยก็บอกแล้วในน้ำมีปลาในนามีข้าว แทบไม่ต้องทำอะไรกันกินอยู่ได้แล้ว แต่ที่มันฟืดเคืองเพราะมันพัฒนาผิดใช่ไหม มันไปมุ่งความฟุ้งเฟ้อจะเอาเพื่อตนเองไม่รู้จักพอดีนี่แหละครับก็เลยไม่ได้เรื่อง อย่าไปคิดว่าประชาชนยากจนยากจนไม่ติด Concept นี้ไม่ได้ คนไทยเนี่ยจนเพราะไม่พอนี้เยอะ แล้วจนเพราะไม่รู้จัก ไม่รู้จักกัน จนเพราะไม่รู้จักกินใช่ไหม มันก็พอเลยไม่พอ ถ้ารู้จักกินมันก็พอ แล้วก็บางทีก็เลยไม่รู้จักทำอีกด้วย ก็เลยไม่รู้จักเช่นคนที่เอาแต่หากินไม่รู้จักทำกินก็พวกหนึ่ง มีนะครับคนไทยไม่น้อยเอาแต่หากินแต่ไม่รู้จักทำกิน ต้องรู้จักทำกิน ต้องเน้นทำกิน นี้เมืองไทยเรานี่ ไอ้พื้นฐานเช่น ภูมิศาสตร์สภาพแวดล้อมธรรมชาตินี่มันดี มันเอื้ออยู่ แล้วถ้ารู้จักทำกิน นี่จะตั้งตัวได้ดี นี้คนจำนวนของเราตอนนี้กำลังเสียนิสัยจะหากินท่าเดียว 1 หากินจากทรัพย์พยากรที่มีอยู่แล้ว วัน ๆ ก็ไปหาของที่มันสำเร็จจากธรรมชาติ แล้วก็เก็บมาธรรมชาติถูกเก็บถูกริดรอนมันก็แย่ธรรมชาติ ทรัพยากรที่มีอยู่ก็ร่อยหรอใช่ไหม ไม่ทำสร้างสรรค์ 2 หากินซับซ้อนเข้าไปอีก ระบบการเมืองที่มันร้ายนี่ ก็เลยไปหากินโดยที่ไปรอหาจากไอ้การอ่อยเหยื่อของพวกที่ไปให้เหยื่ออีกใช่ไหม พวกนี้ก็ได้ถ้าพวกนั้นชอบหากินนี่ ก็เลยเอาเป็นเหยื่อได้ง่ายอีกเลยสมคบกันทำลายประเทศชาติเลย เพราะฉะนันต้องพัฒนาในทางเศรษฐกิจไม่ใช่พัฒนาแค่ว่าไปให้เขาไปกินนะต้องให้เขารู้จักทำ พัฒนาให้เขาทำกินนี่เรื่องใหญ่มาก 1 ไม่ใช่ไปแค่ไปเก็บของธรรมชาติที่มีอยู่แล้วทำลายหมดไป ผมเคยเจอด้วยตนเองครับ เราไปอยู่ในชนบทไปพักในทิศห่างไกลชายแดนใกล้ ๆ ชายแดนก็เห็นสภาพประชาชนคนแถวนั้นเขาก็บ่นกัน เขาก็บ่นกันเอง คนจำนวนน้อยก็จะบ่นถึงคนจำนวนมาก ว่าพวกผมอย่างนี้พัฒนาไม่ขึ้น เขาว่าเขาเองนะเล่าให้ฟัง อย่างงี้เช่นว่า เอ้าหมู่บ้านนึงทำให้ท่อน้ำไม่มีน้ำจะใช้ ท่านผู้หวังดีก็ไปต่อท่อมาจากน้ำตกอุตส่าห์ทำท่อมาไกลถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านอื่น ๆ ทั่วไปพอไปเจอพวกท่อ มีอะไรก็ทุบ ท่อมันก็แตกใช่ไหม อย่างงี้แล้วมันจะไปแก้ยังไงไม่หวาดไหว ของส่วนรวมกันค่นี้ก็ไม่เอา ถ้าเป็นกันอยู่อย่างนี้ก็จบ ถิ่นหนึ่งมีพระองค์หนึ่งตั้งใจไปช่วยชาวบ้านให้ทำมาหาเลี้ยงชีพช่วยแม้แต่การหาทางวิธีทำมาหากินวิธีประกอบอาชีพ ในที่สุดพอเลิกขอออกจากหมู่บ้านไม่ไหวสู้ไม่ไหว อันนี้ต้องมอง 2 ทางด้วย แม้แต่คุณภาพในการสร้างเศรษฐกิจของตัวเองทั้ง ๆ ที่พื้นฐานดีในน้ำมีปลาในนามีข้าวอยู่แล้วนี่ก็ยังทำแล้ว นั้นเราจะไปเอาใจชาวบ้านเกินไปก็ไม่ถูกแล้วก็มันลักษณะลัทธิเพิ่งพา ก็คือว่าเพราะบางทีเราไม่ได้หวังดีกับเขาจริงต้องการเอาเขาเป็นเครื่องมือ เราก็ไปช่วยด้วยเจตนาที่เอาเขาทำเป็นเครื่องมือ ทำให้เขาเกิดนิสัยในการพึ่งพาถูกไหม ต่อไปก็ทำเองไม่เป็น ต่อไปก็หากินรอให้เขามาหา ให้มาให้ ฝ่ายนึงก็ให้ ฝ่ายหนึ่ก็ก็คอยถ้าอย่างนี้ก็ไปไม่รอดเหมือนกันครับ ต้องพัฒนาเศรษฐกิจในด้านทำกิน เราประเทศไทยทุนมีอยู่แล้วถึงกับพูดว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าว เราทำยังไงจะให้ไอ้ตัวนี้มันคงอยู่ด้วยดีโดยที่เรามีส่วนร่วมในการทำในการรักษาด้วย แล้วอันนี้ก็จะมาเป็นทุนใช่ไหม แล้วมันเหมือนกับคนไทยในแง่เศรษฐกิจนี่แทบจะพร้อม คือโดยทั่วไปก็เกือบจะพร้อมอยู่แล้ว ที่จนผมว่าไม่ค่อยมากเท่าไหร่ ถ้าไปเทียบประเทศอื่น เราลองไปเทียบประเทศอินเดียสิครับ โธ่คนไทยที่ว่ายากจนน่ะแม้เราบอกว่ายากจนจะไปตามให้ดี ก็บอกอย่างนั้นไม่จริงหรอกคนไทยขนาดยากจนเนี่ยเราไปเทียบอินเดียไปดูสิครับ อยู่ด้วยวันละ 1 รูปี รูปีหนึ่งเดี๋ยวนี้ถูกกว่า 1 บาทอีก แล้วเขาอยู่กันได้ยังไง ถ้าอยู่อย่างเรา เขาอยู่ไม่ได้ แต่ทำไมเขายังอยู่ได้ แต่ไม่ใช่หมายความจะปล่อยให้อยู่อย่างงั้นนะ เพราะว่าเขาขอทานมากเหลือเกิน อย่างเราไปนมัสการสังเวชนียสถาน พอไปลงที่ไหนกลุ่มขอทานก็รออยู่แล้ว กรูเข้ามาเลย อย่างเงี้ยขอทานมากเหลือเกิน แต่ว่าอย่างนั้นแหละก็คือว่าเราต้องเทียบว่าเรานี่ยังดีกว่าอินเดียมากมาย ต้องปลุกใจกันว่ามีกำลังใจยังนึกว่าเรายากจน เรายากจนเพราะไม่รู้จักพอก็มี จนเพราะไม่รู้จักทำกินกันก็มี แล้วก็อย่างที่ว่าถ้าเราสร้างแต่นิสัยหากินแล้วรอความช่วยเหลือหวังผลประโยชน์จากภายนอกอย่างนี้ไปไม่รอดจะสร้างสังคมที่ดีไม่ได้ ก็เอาละเราก็ต้องตรวจดูนะเศรษฐกิจเพียงพอไหม พอเพียงไหมเพื่อสนองจุดหมายที่ดีแล้วก็พัฒนา แต่ว่าความตระหนักรู้นี้ทำได้อยู่แล้ว อย่างพระเนี่ยอยู่ในชนบทต่าง ๆ เนี่ย พระมีความ แม้แต่รู้แค่นี้ก็บอกชาวบ้านไปแล้ว บอกโยมประชาธิปไตยไม่มีอะไรมากหรอก เป็นการปกครองที่ถือว่าดีที่สุดเท่าที่มนุษย์ในปัจจุบันนี้ค้นมาได้ว่าจะช่วยให้บรรลุจุดหมายของการปกครองเพื่ออะไรก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนร่วมกันเท่านี้เอง ทีนี้เราจะเลือกได้คนยังไงที่จะไปทำให้อันนี้สำเร็จให้ได้ประโยชน์สุขของประชาชน เราก็จะได้ก้าวหน้าไปอีก แล้วเราก็ต้องช่วยกันนะทำมาหากิน ทำกินเป็นแล้วก็เราจะได้ช่วยสร้างสรรค์ประเทศเลือกคนดีเข้าไปปกครอง เราไม่เห็นแต่เสพบริโภค ทีนี้ถ้าเราแม้จะมีกินพอสมควรพอเพียงเนะ แต่มันเห็นแก่เสพบริโภคมันก็ล่อเหยื่อได้อีกใช่ไหม ไม่มีพ้นหรอกครับ มันก็มุ่งประโยชน์ขึ้นไปมันก็กลายเป็นไปสมคบกับพวกนั้นอีก มันก็ไปไม่รอดอินเดียนนี่กลายเป็นว่าในแง่การปกครองประชาธิปไตยกลายเหนือเรานะ ทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศที่โดยทั่วไปแล้วประชาชนยากจนอย่างยิ่งเลย เขาถือเป็นประชาธิปไตยในระดับแบบฉบับเลยนะอินเดียนี่ เป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเลย แล้วประชาธิปไตยนี้ก็อยู่ได้ดีพอสมควรนี่ นั้นก็ต้องบำรุงกำลังใจ คุณไม่ได้จนอย่างชาวอินเดียทำไมเขาอยู่ได้ แล้วเราก็ไม่ได้จนอย่างอเมริกัน ว่ายุคแรกสร้างตัวใช่ไหท เรามีแต่ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเป็นแต่เราเนี่ยจะทำนาให้มันอะไรไม่มีข้าว คนไทยจะเก่งว่าเดิมในน้ำมีปลาในนามีข้าว จะเก่งในการทำให้ในน้ำไม่มีปลา จะเก่งในการทำให้น้ำหมดปลาในนาหมดข้าว เอ้อ แค่รักษาให้ในน้ำมีปลาในนามีข้าวก็รักษาไม่ได้บอกอย่านะญาติโยม อย่าทำให้ในน้ำหมดปลาในนาหมดข้าว เวลานี้มันกำลังจะทำอย่างนั้นใช่ไหม เดี๋ยวนี้ปลามันอาศัยไม่ได้ในแม่น้ำแล้ว เป็นอันว่าเราทุนดีกว่าอเมริกันแล้วแล้วทำไมมาแพ้เขา อเมริกันนี่มันคติ Frontier ใช่ไหม ที่นี่อยู่ไม่ได้ ความหวังอยู่ข้างหน้าต้องไปข้างหน้าท่าเดียว นี่คือคติออเมริกันสร้างประเทศมา 300 ปีใช่ไหม คติ Frontier นี่อเมริกันอยู่ด้วยคติ Frontierไทยอยู่ด้วยคติในน้ำมีปลาในนามีข้าว ของไทยบอกว่า ที่นี่ดีแล้วไม่ต้องไปไหนในน้ำมีปลาในนามีข้าว ของอเมริกันคติ Frontier บอกว่า ที่นี้อยู่ไม่ได้ตายแน่จะอยู่ได้ต้องไปข้างหน้าต้องบุกไปข้างหน้าใช่ไหม 300 ปีเนี่ย พอบอก 300 ปี ปีละ 10 ไมล์โดยเฉลี่ยจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก อเมริกันก็บุกเบิกฝ่า Frontier ขยาย Frontier ไป 300 ปี ปีละเฉลี่ย 10 ไมล์ 300 ปีก็ได้ 3000 ไมล์ 4800 กิโลเมตร จากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไปถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก บอกว่า The Closing Of The Frontier เป็นอันว่าปิดพรมแดนได้ นี่อเมริกันได้สร้านิสัยผจญภัยบึกบึมเข้มแข็งต่อสู้บุกฝ่าไปข้างหน้าเนี่ยชอบผจญภัยในอเมริกาสร้างนิสัยนี้มาใช่ไหม นี่เราได้คติจากเขาสิ ของไทยเราพอในน้ำมีปลาในนามีข้าวก็ประมาทใช่ไหม สบายเสวยความสุขเลยไม่อยากทำอะไร แต่ฝรั่งก็ Frontier มันบีบให้อยู่นิ่งไม่ได้ก็เลยต้องขยันไม่ประมาทเพราะว่ามันถูกบีบ ก็เลยเป็นเพราะธรรมชาตินั่นเอง ของเราธรรมชาติเอื้อก็ประมาท ของเขาธรรมชาติมันบีบก็เลยบุกฝ่าไป ทำไงเราจะอยู่ด้วยปัญญาไม่ประมาทด้วยสติปัญญานี้คือการพัฒนามนุษย์ คือมนุษย์เนี่ยมันเป็นธรรมชาติของปุถุชนเมื่อถูกทุบข์บีบคั้นภัยคุกคามก็ลุกขึ้นดิ้นรนขวนขวายมันจะตายอยู่ไม่ได้ใช่ไหม ดิ้นเหมือนอเมริกันยุคแรก Frontier ขึ้นฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกนี่อยู่ได้นิดเดียวขึ้นมาเอาพวก เพนกวิน ก็แล้วพวกนี้ชุดแรก เอาชุดนี้เป็นหลักก็ขึ้นมาเท่าไหร่ ร้อย ประมาณ 102 คนมั้ง ประมาณนั้นแหละ ปีแรกตายไป 52 คนประมาณนี้ เกินครึ่งใช่ไหมประมาณเกินครึ่งตาย แทบจะตายเกือบหมด ดีว่าอินเดียนแดงมาช่วย หนาวแล้วก็อดอยาก มาขึ้นหนาวแถว New England หิมะหนาว ทีนี้ก็อินเดียนแดงนี่แกมาบอกวิธีทำมาหากิน วิธีจับปลายอะไรต่ออะไรแถวนั้น แหมเลยอยู่ได้ พอปีแรกผ่านไปก็ฉลองด้วยการกิน ไอ้นกอะไรนะดูสิ เตอกี อะไรนะไก่งวง ไก่งวงนี่แหละ ก็เรียกว่า Thanksgiving day ก็ผ่านปีแรกไปก็เลยเกิดประเพณีเริ่มก็คือ Thanksgiving ขอบคุณพระเจ้า เราก็ล้อ บอกว่าทำไมไม่ขอบคุณอินเดียนแดงว่าพระเจ้าช่วยให้รอดชีวิตอยู่ได้ไม่งั้นแทบตาย ผ่านปีที่ 1 อเมริกันเนี่ย ก็เลย Thanksgiving ก็ว่า วันขอบคุณพระเจ้าช่วยให้รอดชีวิต วัน Thanksgiving นี่เป็นวันพิเศษของคริสต์แต่ว่าเกิดในอเมริกา อ้าวที่นี้เป็นว่าสองชั่วโมงแล้ว ทีนี้ เป็นอันว่าอเมริกาเนี่ยก็อยู่แค่นั้นน่ะมีที่นิดเดียว เขาก็คิดว่าเขาจะมีความสุขความเจริญมีกินมีใช้นี่เขาต้องขยายดินแดนตอนนั้นก็คือ เขาก็เรียกยุคต่อจากนี้ไปว่ายุค Frontier Expansion การขยายพรมแดน แล้วก็เป็นเขาเรียกว่า ไอ้จิตใจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 300 ปีที่บุกฝ่าไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกนี่ เรียกว่า Frontier Mentality สภาพจิตแบบFrontier นี่แหละครับอเมริกันก็คืออยู่ที่นี่ไม่ได้ตายแน่ต้องไปข้างหน้า เขาก็บุกมาก็ประสบความเจริญก้าวหน้าสำเร็จ ตอนหลังเขาจึง Frontier หมด ไปอวกาศก็ Space Frontier ใช่ไหม แล้วก็มา Electronic Frontier Cyberspace Frontier นะ Frontier แล้วก็ Science Frontier Frontier of Science เป็นพรมแดนแห่งวิชาการ มองเป็นFrontierหมด ก็คือจิตใจที่จะบุกฝ่าไป แล้ว Frontier เดิมปิดไปแล้วคือขยายดินแดนในฝัน คือมีแลนด์ Frontier จบ ก็ไปมี Easy Frontier เขาต่อจาก Land Frontier เป็น Sea Frontier ก่อนที่จะมาถึงพวก Space Frontier Electronic Frontier Cyberspace Frontierเ Frontier of Science นี้ก็มีมาควบคู่กันด้วย แล้วก็อย่างประธานาธิบดีเคนเนดี้หาเสียงตอนนั้น ก็สร้างคติ New Frontier เคนเนดี้นี่หาเสียงด้วยคติ New Frontier จะตั้งให้คนอเมริกันเนี่ยสร้างพรมแดนใหม่ ก้าวไปในพรมแดนใหม่มาปลุกใจคนอเมริกัน นี่คำว่า Frontier มีความหมายมากสำหรับคนอเมริกันมันลึกซึ่งลงไปในจิตใจ นี้คนไทยเราทำไงจะได้คติอะไรที่มาเนี่ยใช้การที่ตัวเองนั้นมีน้ำในน้ำมีปลาในนามีข้าวเนี่ยให้มันได้ประโยชน์ ว่าในแง่เศรษฐกิจทุนของเรานี่ดีแล้วทำไงจะเอามันเป็นปัจจัยสร้างสรรค์ความเจริญใช่ไหม แทนที่มาหมกมุ่นเสวยผลกินบุญเก่า คล้าย ๆ ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเป็นของดีมีมาแต่เดิม มีบุญเก่ากินมันเข้าไปเสวยผลบุญเก่าเลยไม่ต้องทำอะไร ก็เลยกลายเป็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมเสวยบุญเก่า หรือสังคมกินบุญเก่า ถ้าว่าแรงไปก็อย่าถือกันนะจะได้ไม่ประมาท แต่ว่าท่านเห็นด้วยไหม ค่อนข้างจะเป็นอย่างงั้น เลยได้ตกอยู่ในความประมาท งั้นต้องคิดให้ดีพัฒนามนุษย์แล้วตั้งแต่เศรษฐกิจในน้ำมีปลาในนามีข้าวก็บอก เอาละนะอย่าให้ในน้ำหมดปลาในนาหมดข้าวมาช่วยกันรักษาไว้ แล้วก็ใช้ทุนนี้มาเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงามให้เป็นเศรษฐกิจที่พอเพียง พอเพียงเพื่ออะไรนะมันก็ไม่จบแค่ว่าพอเพียง พอเพียง พอเพียงเพื่ออะไรนี่คือคำถามยิ่งใหญ่เลยครับ พอเพียงมันไม่ได้จบเท่านั้น คำว่าพอเพียงนี้มันต้องมีต่อเพื่ออะไรไม่ใช่พอเพียงเพื่อมีชีวิตอยู่ได้รอดใช่ไหม พอเพียงเพื่อมีชีวิตที่ดีงามเพื่อเจริญไตรสิกขาพัฒนาชีวิต ทำสังคมเของเราให้ดีงามขึ้นไปไม่ใช่มาเอาเศรษฐกิจเป็นจุดหมายแล้วก็มุ่งมัวเสพหาความสุขลุ่มหลงกันอยู่นี่ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างนี้เข้าคติพุทธศาสนาหมดเศรษฐกิจเป็นปัจจัย เป็นปัจจัยแล้วตอนนี้เป็นปัจจัยที่พอเพียง ก็นี่แหละเป็นปัจจัย ปัจจัยที่พอเพียง พอเพียงเพื่ออะไร มันก็จะเป็นต่อปัจจัยใช่ไหม ปัจจัยก็ต้องเพื่ออะไร แล้วจุดหมายนั้นก็มา ทีนี้เราก็ตอบได้หมด เลยว่าไปเอาละครับ 2 ชั่วโมงแล้ว ท่านเตือนแล้วเตือนอีกเลยว่าจะพูดชั่วโมงเดียวเลยยืดยาวไปเลย เอ้าเนี่ยเรื่องใหญ่เอาช่วยกันนะครับ คนไทยต้องปลุกใจกันนะชาวบ้านนี่แหละครับ ชาวบ้านถ้าปลุกขึ้นมาละก็เห็นแนวทางที่ดีมีสัมมาทิฐิความเข้าใจถูกต้องแล้ว ญาติโยมชาวบ้านนี่แหละจะเป็นกำลังใจสำคัญของประเทศชาติที่แท้จริงเลย แล้วก็ทำไปก็เพื่อประโยชน์ร่วมกันของประชาชนนี่แหละ นั้นก็มาช่วยกันเถอะว่ากันแรง ๆ บ้างนะ บางทีก็ต้องขออภัยต้องว่ากันแรง ๆ ไม่งั้นเราก็ไม่ตื่น อะเอาละครับโมทนา
คนฟังถาม กราบขอบพระคุณ ครั้งต่อไปก็คงจะ วันที่ 11 เดือนหน้านะครับ ก็เลยจะมีช่วงเกือบสองอาทิตย์ที่ไม่ได้มาก็รู้สึกเสียดายโอากาสเหมือนกัน แต่ก็หวังว่าจะได้มาอีกหลาย ๆ ครั้ง สำหรับคืนนี้พวกเราต้องขอ Give Thanks To You อะไรนะ Give Thank Giving Thanksgiving Day สำหรับคำสั่งสอนให้มีปัญญาสำหรับอนาคตของพวกเรา เอาละครับท่านพระคุณหลวงพ่อ กราบขอความเคารพด้วยครับ เอาละมีเรื่องคุยกันจนได้ แล้วก็คอยจะไม่สั้นเสียนี่ชักยาวเกินไป ไหนครับ โมทนา ก็นี่แหละต้องการมองให้ครอบให้คลุมไว้หมด ไม่ใช่พัฒนาแต่ชีวิตเราเท่านั้นนะ พระพุทธเจ้าก็เพื่อพะหูชะนะหิตายะ พะชะนะสุขายะ โลกานุกัมปายะ บรรลุนิพพานก็เพื่อทำการเพื่อโลก ท่านจะได้พร้อมไปทำประโยชน์ให้แก่โลกได้ แล้วท่านไม่มีบ่วงรัดตัวเองเลย ถ้าถึงนิพพาน ท่านจะทำเพื่อประชาชนไม่มีบ่วงรัดเลยสบาย เอาละครับ นิมนต์