แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เดี๋ยวนี้ก็มีการนิยมอีกอย่าง ก็คือว่าแยกเอานิพพานที่เป็นส่วนสูงสุดของสัมปรายิกัตถะน่ะออกไปต่างหาก ให้เด่นชัดก็เลยแยกเป็นสาม ต่อจากสัมปรายิกัตถะ ก็เลยมีปรมัตถะ ปรมัตถะก็แปลว่าประโยชน์สูงสุด ก็หมายถึงนิพพาน นี้คำว่าปรมัตถ์เนี่ยตอนหลังก็เอามาใช้ในความหมายต่างๆ ในพุทธพจน์เอง ในพระไตรปิฎกใช้น้อย น้อยอย่างยิ่งคำว่าปรมัตถะ ไม่ค่อยใช้ แต่ตอนหลังๆเลยมาใช้เยอะ โดยเฉพาะในทางอภิธรรม และเลยคำว่าปรมัตถ์เลยใช่ต่างไปอีก คือคำว่าอรรถะเนี่ยมันมีความหมายว่าประโยชน์ จุดหมายก็ได้ จุดหมายนี่ก็คือความมุ่งหมาย ทีนี้ถ้าตัดมุ่งออกไป ก็เหลือแต่ความหมายใช่ไหม ทีนี้อรรถะแปลว่าความมุ่งหมายก็ได้ ตัดมุ่งออกไปก็เหลือแค่ความหมายก็ได้ เพราะฉะนั้นอรรถะก็แปลว่าความหมาย ทีนี้อรรถะที่แปลว่าความหมายเนี่ย มาใช้มากในระยะหลัง หรือในความหมายในพุทธกาล ในความหมายทั่วไปๆของชาวบ้านก็แปลว่าความหมายเหมือนกัน เช่น อรรถะของถ้อยคำนี้ ท่านพูดมานี่มีความหมายว่าอย่างไร ถ้อยคำของท่านมีอรรถะว่าอย่างไร คำพูดของท่านก็มีความหมายว่าอย่างไร เอ้อ ความหมายที่จริงมันก็คือความมุ่งหมายในแง่หนึ่ง หมายความว่าที่ท่านพูดน่ะท่านมีความมุ่งหมายให้เข้าใจว่าอย่างไร ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ความหมายก็คือสิ่งที่มุ่งหมายของเรื่องนั้น มันก็เลยไปๆมาๆ อรรถะความหมายของมันก็กว้างออกไป เป็นได้ทั้งจุดหมาย ความมุ่งหมาย ความหมาย นี้มาในสมัยหลังเนี่ย มันมี ก็เลยมาแยกอีก มาเป็นเรื่องของปรมัตถธรรม หมายถึงตอนนี้ไม่ได้ตรงกะเดิมแล้ว ความหมายในทางอภิธรรมเนี่ย ปรมัตถ์และเติมธรรมะเข้าไปอีก เดิมในสมัยพุทธกาลไม่มีอะ คำว่าปรมัตถธรรมน่ะ ไมมี มีแต่คำว่าปรมัตถะเฉยๆ ธรรมะไม่มาต่อ มาต่อทีหลัง ในยุคคัมภีร์ยุคหลังๆ จึงจะมาต่อคำว่า ธรรมะ ออกไป และมาเรียกกันว่า ปรมัตถธรรม ๔ ว่างั้น ใช่ไหม ปรมัตถธรรม ๔ มีจิต เจตสิก รูป นิพพาน นี่ก็อภิธรรมก็มาจัด ที่ท่านจัดเป็นอย่างนี้ ก็คือ ท่านไปเอามาจากคัมภีร์ธรรมสังคณี พระไตรปิฎกอภิธรรมเล่มแรก พระพุทธเจ้าตรัส ในทีนี้ในธรรมสังคณีก็อธิบาย เค้าเรียกว่า มาติกา แปลว่า แม่บท แม่บทแรกของอภิธรรมก็คือ กุศลาธรรมา อกุศลาธรรมา อัพยากตาธรรมา คืออภิธรรมนี้ในพระไตรปิฎก ก็จะเริ่มด้วยมาติกาๆ ก็คือหลักแม่บท หมายความว่าสิ่งทั้งหลายในโลกในบรรดามี ไม่ใช่ว่าเฉพาะในโลก บรรดามีนี่ จะเรียกสรรพสิ่งหรืออะไรก็แล้วแต่ มาจัดเป็นชุด เป็นหมวด เป็นหมู่แล้ว ก็เป็นชุดต่างๆ เช่นว่า เป็นรูปธรรม นามธรรม ก็ชุดหนึ่งแล้ว สิ่งทั้งหลายบรรดามีเรียกว่า ธรรมะ เอ้อ มาจัดดูซิ เป็นรูปธรรม นามธรรม ก็ครบแล้ว เอ้อ หรือเป็นโลกียธรรม โลกุตตรธรรมแล้วก็ครบแล้ว หรือจัดเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ก็ครบแล้ว อย่างเงี้ย เป็นรูปธรรม อรูปธรรม อะไรพวกนี้ และก็ถ้าจัดเป็นสามก็เช่นกุศลธรรม เป็นอกุศลธรรม เป็นอัพยากตธรรมที่จัดเป็นชุดๆอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นแม่บท เรียกว่า มาติกา ทีนี้คัมภีร์ ธรรมสังคณีนี้ก็เอาล่ะ เอาอภิธรรมตั้งแม่บทขึ้นมา ตั้งแม่บทแรก มาติกาแรก มาติกาที่หนึ่งของ กุสลาธรรมา อกุสลาธรรมา อัพยากตาธรรมา คัมภีร์ธรรมสังคณี ก็เอาไปขยายว่า กุสลาธรรมา อกุสลาธรรมา อัพยากตาธรรมา เนี่ย ชุดเดียวนี่ ขยายออกไป พระพุทธเจ้าเค้าเอามาใส่ในคัมภีร์ธรรมสังคณีได้เล่มหนึ่งเลย ทั้งเล่มนี่อธิบาย ขออภัยมาติกาเดียวนี่แหละ ว่าอะไรชื่อกุศล อกุศล อัพยากตถธรรมเท่านี้ เป็นคัมภีร์ธรรมสังคณี เล่มนึงเลยแหละ นั่นแหละแค่มาติกาเดียว ทีนี้มาติกาที่หนึ่งที่ กุสลาธรรมา อกุสลาธรรมา อัพยากตาธรรมาน่ะ ตัดไปแล้ว นักอภิธรรมก็มาดู อ๋อ นี่ก็มีจิต เจตสิก รูป นิพพาน ในเนี้ย ในธรรมสังคณี ทั้งหมดน่ะ ก็เอามาจัดแบบอภิธรรมก็เลยเกิดศัพท์ เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน และก็ต่อมาก็มีศัพท์เรียก ปรมัตถธรรม ทีนี้ทำไมว่า อรรถะ ในที่นี้แปลว่า ความหมายไป ก็คือแปลว่า ธรรมในความหมาย หรือสิ่งที่มีในความหมายอย่างยิ่งหรืออย่างสูงสุด ก็หมายความว่าสิ่งทั้งหลายทั่วไปนี่ มันอาจจะไม่มีจริง สิ่งที่มีจริงในความหมายสูงสุดก็มีแค่นี้ ในความหมายที่แท้ สูงสุดในที่นี้ ก็คือความหมายแท้ ความหมายที่แท้จริงเนี่ยที่คนจะรู้จัก เข้าใจ นึกถึงได้พูดถึงได้ ก็มีแค่นี้อย่างสูงสุด คนพูดถึง นึกถึงได้แค่นี้ ก็แยกเป็นอย่างนี้ ก็มีทั้งหมดก็จิต เจตสิก รูป นิพพาน ก็เป็นการเน้นในแง่ด้านนามธรรม รูปธรรมก็เป็นอันหนึ่งอยู่ในนั้น ก็คลุมไปหมด นี่เรียกว่ามาติกาที่หนึ่ง ก็เป็นต้นทาง เป็นการเรียนอภิธรรมที่สืบๆกันมา นี่ในยุคต่อๆมา ก็รจนาคัมภีร์อะไรต่างๆขึ้นมา เกิดศัพท์อะไรต่างๆขึ้นมา จนกระทั่งมีคำว่า ปรมัตถธรรม ๔ ก็หมายถึง จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทีนี้ปรมัตถ์ ในที่นี้ก็แปลว่าสิ่งที่มีในความหมายอย่างยิ่ง หมายความว่าในความหมายสูงสุด สิ่งอื่นๆ อาจจะไม่มีในระดับสูงสูดนี่ ทีนี้ถ้าความหมายอย่างที่เราบอกปรมัตถะ ประโยชน์สูงสุดคือนิพพาน ปรมัตถ์ในที่นี้ที่บอกว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน น่ะ เหมือนกันไม๊ มันไม่ตรงกันใช่ไม๊ เอ้อ มันไม่ได้กินความเท่ากัน ความหมายมันไม่ตรงกันหรอก ปรมัตถะ นิพพาน มันอย่างเดียวเลย อสังขตธรรมแล้ว ใช่ไหม อันนี้ในปรมัตถธรรม ๔ นี่ มันกินไปทั้งหมดเลยทุกอย่าง สังขตธรรม อสังขตธรรม ฉะนั้น ก็เลยต้องแยก ปรมัตถะ ในความหมายในเรื่องเดิมของท่านนี้ มุ่งที่พระนิพพานอย่างเดียว และปรมัตถประโยชน์ก็มุ่งที่นี้ ประโยชน์สูงสุด ก็คือมุ่งนิพพาน ก็คือการที่ได้มีปัญญา จนกระทั่งใช้คำเมื่อกี้ว่า ปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระ เป็นวิมุติ หลุดพ้น ก็บรรลุนิพพาน อันนี้คือประโยชน์สูงสุด เป็นปรมัตถะ เป็นผู้รู้ เข้าใจ เท่าทันสิ่งทั้งหลาย จิตใจเป็นอิสระ ลงตัวกับโลกและชีวิตนี้ ก็ถึงภาวะที่จิตโดยทั่วไปอยู่โดยอุเบกขา ก็คือพระอรหันต์ พระอรหันต์นี่จิตใจเป็นปกติจะอยู่ด้วยอุเบกขา คือพัฒนาคนสูงสุดแล้วนี่ จิตจะมาลงที่อุเบกขา เพราะว่าเรามีปัญญา ปัญญานี่เอามาทำอะไร ก็เอามาพัฒนาจิตนั่นแหละ จิตใจพัฒนาไป พัฒนาไป มีธรรมะ มีคุณธรรมอะไรต่างๆเกิดขึ้นไปเรื่อยๆ ดีขึ้นๆไป พอจิตใจหลุดพ้นแล้ว ทีนี้ลงอุเบกขาได้แล้ว เพราะงั้นพระอรหันต์จะอยู่ด้วยจิตอุเบกขาเป็นหลัก อุเบกขาดีกว่าความสุข ดีกว่าสมาธิ คนนึกว่าโอ้สุขนี่ดีแล้ว ใช่ไหม สุขดี และสมาธิก็ดี แต่สู้อุเบกขาไม่ได้หรอก ทำไมล่ะ แปลให้ว่าลงตัวนี่ พอจะเข้าใจไม๊ จิตใจเราเอาชีวิตเรามันไม่ค่อยลงตัวกะอะไรหรอก ถึงได้มีปัญหาอยู่เนี่ย ถ้ามันลงตัวได้เมื่อไหร่ จบใช่ไหม จะเรียกว่าสมดุล เรียกว่า อะไรก็แล้วแต่ มันลงตัวหมด คือพระอรหันต์นี่ ท่านรู้ เข้าใจโลกชีวิต รู้สรรพสังขาร จิตใจท่านก็วางลงตัวกับสิ่งเหล่านั้นหมด คือไม่มีปัญหากับสิ่งเหล่านั้นเลย ท่านก็อุปมาบอกว่า เอ้า จะมองสำหรับมนุษย์ปุถุชนนี่ อุเบกขาเป็นยังไง เคย ไม่ทราบเคยอ่านหรือยัง ก็เคยเล่าให้ฟังแล้ว ท่านเปรียบเทียบไว้อันนึง เหมือนสารถีนี่ ได้ยินใช่ไหม ที่ว่าสารถีนี่ สมัยก่อนไม่มีรถยนต์มีแต่รถม้า ก็จะเป็นรถยนต์หรือรถม้าอะไรก็แล้วแต่ ก็ขับขี่ไป พอคนขับใหม่ๆนี่ยังไม่ชำนาญ ใจคอจะไม่สบาย ใช่ไหม จะระแวง ระวัง จะรู้สึกกังวล ห่วงใย อะไรต่างๆ จิตมันไม่นิ่ง มันไม่ลงตัวนะ จะขับรถออกมานี่ เอาละ พอขับมาตอนแรก ใจก็ยุ่งพอดูละ พอมาเข้าทางแล้วก็ยังระวังตัว เกร็งอยู่ใช่ไหม ไม่สบายใจ ก็ขับต่อไป รอดไปทีนึง ทีนี้พอขับไปเก่งๆ เก่งๆ ทีนี้ล่ะก็ ออกรถ ออกรถอะไร ดูมันรวดเร็วเหลือเกิน ตัวเองบางทีเหมือนกับไม่ต้องรู้เลยใช่ไหม น่ะทำไป ขับรถเข้าที่เข้าทาง นั่งขับรถถือพวงมาลัยนิ่งสบายนะ ความเร็วก็ปรับได้เหมือนกับว่ามันเป็นอัตโนมัติน่ะ จะเป็นความเร็วหรือจะบังคับให้อยู่ในทางอย่างไรน่ะมันได้หมด ก็ไปได้ดีเหลือเกิน เอ้อ ทีนี้เอาเป็นว่าพอขับได้ดี ชำนาญ พอรถเข้าที่เข้าทางดี ความเร็วพอเหมาะล่ะก็ นั่งสบายแล้ว จิตนิ่ง อย่างเนี้ย จิตที่อย่างเนี้ยท่านเรียกว่าจิตอุเบกขา คือหมายความว่า มันมีปัญญาพร้อมอยู่ มีอะไรติดขัด มีอะไรไม่ปกติก็พร้อมที่จะแก้ไขปัญหา แต่ไม่ได้ทุรนทุราย ไม่ต้องมาคิด มาอะไรเลย สบายอย่างนั้น จิตนิ่ง สบายอย่างคนที่เป็นสารถีที่ชำนาญขับรถ อย่างนี้ก็เป็นจิตประเภทอุเบกขา พอจะเห็นไม๊ว่าดี ดีไหมฮะ ทีนี้ คนที่อยู่ในโลก ก็ในแง่หนึ่งก็เหมือนสารถี พาชีวิตของตัวไปในโลก ก็ยังเป็นสารถีที่ไม่ชำนาญ ใครชำนาญขับรถชีวิตนี้บ้าง เอ้อ พอจะลงตัวจะขี่รถบนถนนไม๊ ไม่ใช่ไหม เอ้อ ยังระวังอยู่ใช่ไม๊ เอ้อ ยังเป็นสารถีขับรถชีวิตนี่ไม่ง่ายเลย นี้พระอรหันต์นี้ท่านนี่แหละ ท่านลงตัวแล้ว ชีวิตโลกนี้จิตมันลงตัวหมด ดีไม๊ ดี แล้วทีนี้สุข เป็นเพียงสิ่งประกอบ อันนี้ไม่มีแล้ว อันอื่นก็ไม่ดีเท่า ใช่ไม๊ เอ้อ ถ้าไม่มีอุเบกขา จิตมันไม่ถึงขั้นนี้ แล้วความสุขๆท่านมันก็ไม่สมบูรณ์อยู่ดี จริงไม่จริง มันก็มีระคายเคือง มีอะไรรบกวน มีอะไรอยู่นั่นแหละ เพราะงั้นพอจิตมันลงอุเบกขาแล้ว ทีนี้ล่ะก็ความสุข ความอะไรต่ออะไรมันก็บริบูรณ์ ใช่ไม๊ ดีไม๊ครับ อุเบกขา ดี เพราะฉะนั้นแหละจิตลงตัว ทำได้ยาก ท่านจึงบอกว่าพระอรหันต์นี่ จิตลงตัว อยู่ด้วยอุเบกขา และความสุขต่างๆก็สมบูรณ์หมด เอ้อ พระอรหันต์เป็นผู้มีสุขประจำตัว ไม่ต้องหา ก็เป็นอันว่า ปรมัตถ์ดียังไง เอ้อ ดีเพราะอย่างเงี้ย เอ้อ ก็สมบูรณ์หมด จิตของเรา เราก็ฝึกกันไป ที่จริงถ้าลงอุเบกขาได้จริงก็จบ แต่ก็ต้องระวังอีกอันนึง คือคนทั่วไปนี่ บางทีมีอุเบกขาเหมือนกัน แต่ไม่ใช่อุเบกขาแท้ เป็นอุเบกขาเทียม ใจมันไม่รู้เรื่องรู้ราว มันก็เลยเฉยนะฮะ เฉยอย่างนั้น ท่านเรียกว่าเฉยโง่ ภาษาพระท่านเรียกว่า อัญญาณุเบกขา ถ้าอุเบกขานั้นไม่มาจากปัญญา เป็นอุเบกขาที่ใช่ไม่ได้นะ เรียกว่า เฉยโง่ อันนั้น เป็นอันตรายมาก ก็ต้องเป็นอุเบกขาที่เกิดจากปัญญา จิตก็จะลงตัวอย่างที่ว่า ก็ต้องพัฒนาอะไรต่างๆไป พัฒนาศีล พัฒนาจิตใจ แล้วก็สมาธิ แล้วก็พัฒนาปัญญา ก็จะจิตหลุดพ้น แล้วก็จิตก็อยู่ไปด้วยจิตอิสระ ก็อยู่โดยทั่วไปด้วยจิตที่ลงตัวเป็นอุเบกขา ถ้าสมาธิ ก็คนทั่วไปนี่เป็นประโยชน์ว่า ก็เคยแปลว่า เอ้า ให้แปลสมาธิว่าจิตอยู่ตัว ว่างั้น ถ้าลงตัวก็เข้าอุเบกขาไป เอ้าก็จบล่ะสิ น่ะ ก็มีถึงขั้นที่สามแล้วใช่ไม๊ฮะ เป็นอันว่าจัดแบ่งแนวตั้งหรือแนวดิ่ง ก็เป็นสาม หนึ่ง ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมาย ขั้นตาเห็น หรือขั้นปัจจุบันทันตา ก็แล้วแต่ เป็นรูปธรรม แล้วก็มาสัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็นหรือเบื้องหน้าที่เลยตาเห็น ก็มาเรื่องการพัฒนาจิตใจและปัญญา และสามปรมัตถะ ก็จัดเอาส่วนยอดของสัมปรายิกัตถะ คือนิพพานนั้นก็แยกไว้น่ะ เป็นสูงสุด ถึงขั้นจิตใจเป็นอิสระนั่นเอง คือยังอยู่จิตใจแต่เป็นจิตใจที่เป็นอิสระนั่นเอง ถ้าสัมปรายิกัตถะ ก็เอาแค่พัฒนาจิตใจให้ดีขึ้น เป็นจิตใจดีงาม ก็ครบสาม ก็เป็นสองด้านมาบรรจบกัน ก็แนวราบก็มีประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ร่วมกัน และก็แนวตั้ง ประโยชน์ตาเห็น ประโยชน์เลยตาเห็นและประโยชน์สูงสุด และก็แนวราบหรือแนวนอนก็สำหรับตนเองก็ตาม สำหรับผู้อื่นก็ตาม ก็ให้เจริญทั้งสามขั้นที่ว่านี้ ถ้าเราทำเพื่อตน เราก็อัตตัตถะ ก็ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ ปรมัตถะ ไปช่วยผู้อื่นอย่างพระพุทธเจ้าไปช่วยพระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ให้ท่านเจริญไปอย่างนี้เหมือนกัน เจริญในก็ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ ถ้าจะเอาอย่างย่อ อย่างสั้นก็เอาแค่อัตตัตถะ ปรัตถะ แล้วก็ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปราายิกัตถะ แค่นี้ก็พอ ในพุทธกาล พระพุทธเจ้าตรัสโดยนิยม ก็ใช้แค่ชุดละสอง แต่ว่าในคัมภีร์ของพระสารีบุตร เรียกว่ามหานิเทศน์???เนี่ยท่านมาแสดงเป็นสาม พระพุทธเจ้าเองก็ตรัส ตรัสไว้ก่อน แล้วพระสารีบุตรก็เอามาจัด พระสารีบุตรก็เอามาแยก เน้นให้ชัด ว่าแยกเป็นสามอย่างนี้ สามอย่างนี้ อ้าว ยังมีสงสัยไม๊ พอจะใช้ได้ไม๊แนวนี้ ได้นะ แต่ว่ามันคลุมไปหน่อย คือพูดแบบกว้างไปเลย แต่ก็ให้เห็นว่ามันอยู่ในนี้แหละ คฤหัสน์ก็ไม่ไปไหนหรอก ก็เป็นอันว่าสำหรับคฤหัสน์ก็เน้นที่ทิฏฐธัมมิกัตถะ ท่านต้องทำให้ได้ก่อน นั้นเมื่อได้แล้วเนี่ย ทิฏฐธัมมิกัตถะก็จะเป็นฐานที่ดี ที่เราจะก้าวไปในสัมปรายิกัตถะ และไม่ใช่เฉพาะก้าวตัวเองเท่านั้น การที่เรามีสัมปรายิกัตถะก็จะมีความหมายถึงการที่จะทำเพื่อผู้อื่น ใช่ไม๊ มันอยู่ในนั้นเลยนี่ พอศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา พอออกจาคะมันก็ไปแล้ว เพราะงั้นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นมันก็เลยเนื่องกัน เพราะว่าพอท่านได้ ทิฏฐธัมมิกัตถะ มาสัมปรายิกัตถะ ท่านก็ออกประโยชน์ผู้อื่นด้วย มันก็เลยมาบรรจบกันทั้งชุด ทั้งสองชุดน่ะ ทีนี้ถ้าสงสัยก็ ลงรายละเอียดเรื่องปลีกย่อย ท่านยังสงสัยอะไรล่ะ ท่าน???พงษ์ ไม่เหรอ ไปขยายเอาเอง