แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยกันแบบสบายๆ มีไรถามก็ถามกันซะเลย ขอกราบเรียนถามพระเดชพระคุณหลวงพ่อนะครับเรื่องเกียวกับจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ ก็คือ นิพพาน นะครับ ทีนี้คือว่า มันเป็นลักษณะที่ยากแก่การเข้าใจและยิ่งยากกว่าการอธิบายให้กับญาติโยมได้ทราบ คือ ขอแบ่งเป็นสองแง่นะครับ แง่แรกในตัวของนิพพานเองเนี่ย คือความเร้าใจมันก็ไม่เร้าใจ จะแนะนำให้ใครไปนิพพานอธิบายก็อธิบายไม่ถูก บางทีคนแก่ๆ ก็จะไปคิดว่าโอ้ นิพพานนี่เป็นเมือง อยู่เหนือสรรค์ขึ้นไปอีกเป็นเมืองแก้วเนรมิต เลยไปเข้าใจซะอย่างงั้น เพราะว่าจะไปอธิบายก็ลำบากไม่ตอบสนองต่อความสุขของญาติโยมทั้งหลายก็จะไปเน้นทางไปสวรรค์ซะมากกว่า บอกสวรรค์ก็ออ ทิพย์วิมาน มีบริวารนางฟ้า สิ่งสวยนานาชวนน่าหลงใหล พอพูดถึงนิพพานกว่าจะถึงมันก็ไม่เร้าใจ มันยากเย็นเข็ญใจ บอกเดี๋ยวไว้ชาติหน้าละกัน สมมุติว่าฝรั่งถามว่า นิพพานเป็นยังไง นิพพานของคุณเนี่ยมันแฮปปี้มั้ยมันมีความสุขมั้ย เอ้ เราก็คิดนิพพานมันก็ภาวะสุขทุกข์ไปแล้วเราก็บอกไปแล้วนิพพานมันก็ไม่แฮปปี้หรอก เราบอกไปว่าเอ้ะนิพพานเนี่ยเราจะไปตีว่าดีหรือไม่ดีก็ไม่ได้เพราะมันเลยภาวะไปแล้ว เกิดเค้าถามอีกว่าแล้วนิพพานเนี่ยได้ไปพบพระเจ้ามั้ยเราก็บอกไปว่าไม่ได้ไปพบสิ ท่านก็ถามเอ้าดีก็ไม่ดี สุขก็ไม่สุข พระเจ้าก็ไม่ได้พบแล้วนิพพานจะมีไปทำไมก็กลายเป็นยังงั้นครับ และอีกประเด็นนึงการไปถึงพระนิพพานเนี่ยมันมีความยากเย็น คือ ไตรสิกขา คือทาน ศีล ภาวนา ก่อนจะไตรสิขาก็ปุพนิมิตมั้งเจ็ดก็ต้องพยายามมีให้ครบคนไปถึงได้ก็น้อยแม้จะเป็นพระก็เถอะ ทีนี้พอเราตั้งใจสอนญาติโยมเออไปนิพพานเจริญในไตรสิกขาของพระคือ ศีล สมาธิปัญา ของคุณโยมคือ ทาน ศีล ภาวนา ก็แทนที่จะว่ามีกำลังมีแรงอยากจะไปนิพพานก็กลายเป็นว่าโอ้ยากฉันไม่เอาละนิพพาน ขอไปแค่สวรรค์พอละกัน ทาน ศีล ภาวนา ก็จะติดอยู่แค่ทานและก็พัฒนาลำบากที่จะโยงไปยังศีล ก็อาจจะอิทธิพลจาก ไม่แน่ใจว่าอิทธิพลจากเวสสันดรชาดกด้วยรึเปล่า เน้นการให้ทานมากละทีนี้ก็จะไปเข้าใจว่าชาติสุดท้ายชองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเน้นให้ทานก็เลยคิดว่าเน้นให้ทานดีไม่ดีจะไปสู่นิพพานก็เลยก้าวไปสู่ขั้นตอนอื่นยาก ทีนี้พอเป็นอย่างนี้หลายๆวัดเลยไม่เน้นนิพพานละ ไปเน้นในทางว่าไปสวรรค์ดีกว่า ทำทาน อย่างมากก็รักษาศีลไปสวรรค์พอละก็จะไปนึกเป็นเมืองแก้วเนรมิตรอะไรต่างๆ ทำทานมากขนาดนี้จะได้วิมานขนาดนี้บริวารกี่องค์ก็จะไปประมาณนั้นน่ะครับ ทีนี้พอได้ฟังได้ศึกษาหนังสือหลายๆเรื่องจของพระเดขพระคุณหลวงพ่อ ท่านก็กล่าวถึงไปสวรรค์ เป็นเทวดา โอกาสที่จะได้ฝึกตนก็น้อยกว่ามนุษย์ เทวดาเนี่ยพอจะจุติเพื่อนเทวดาก็อวยพรว่า ขอให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์เพราะว่ามีโอกาสทีจะได้ฝึกตนที่จะได้บรรลุธรรมมากว่า แต่ทีนี้มนุษย์เราเอง สังคมมนุษย์เราเองกับส่งเสริมให้ไปเป็นเทวาดา ไม่ชอบที่จะเป็นมนุษย์ ทีนี้ไปสอนให้เขาไปเป็นเทวดาก็เหมือนกับผลักไสให้ไปเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุดก็เพราะเทวาดส่วนใหญ่ก็จะหลงอบาย ทีนี้พอแนะนำให้ไปนิพพานตัวพระเองบางทีก็ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่านิพพานมันมีภาวะยังไงอธิบายก็อธิบายลำบากยิ่งจะชักจูงให้คุณโยมไปถึงแล้วก็ยิ่งลำบากน่ะครับ อยากจะกราบเรียนถามพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่าเราควรจะมีท่ามีต่อจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธอย่างไร เพราะอย่างศาสนาอื่นจุดหมายสูงสุดจะเข้าใจง่ายไปได้ง่าย นึกภาพออกน่ะครับ เรียนถามครับ
เอาหล่ะโมทนา คือคำถามเนี่ยมีหลายแง่เหลือเกิน เอาแง่ง่ายๆจากต้นก็คือ แง่ที่หนึ่งก็คือว่าศัพท์นี้คำว่านิพพานนี่ในสังคมไทยเราความหมายมันคลาดเคลื่อนมันเพี้ยนเยอะกับศัพท์อื่นๆเยอะแยะทางธรรมะนะก็เพี้ยนกันไป นี้มันเพี่ยนไปในทางที่ให้ความรู้สึกปะทะไม่ยอมรับกลัว ปฎิเสธ อยากหนีอะไรยังงี้ ความหมายที่มันเพี้ยนมันทำให้เกิดผลทางจิตใจอย่างงี้ อันนี้ก็เรื่องหนึ่งและทีนี้ลึกเข้าไปก็เรื่องของคำสอนที่เป็นขั้นๆ เราจะเห็นว่าถ้าตอบอย่างกว้างๆนี่พระพุทธเจ้าตรัสทั่วๆไปเนี่ย พระองค์ตรัสอะไรวิธีตรัสสอนท่านจะสรุปให้ง่ายๆ เวลาพระพุทธจ้าตรัสสอนใครที่เป้นคนใหม่ๆ ไปเจอเขาในสถานการณ์บางอย่างที่เค้าไม่รู้จักพระพุทธศาสนาแล้วคัมภีร์หลายแห่งท่านก็ไม่ได้เล่ารายละเอียดว่าพระองค์สอนอะไรเขาก็สรุปว่าพระองค์ตรัสอนุปุพพิกถา พอจบแล้วเมื่อจิตเค้าพร้อมเนี่ยฉันจะย้ำตรงนี้ ที่เค้าพร้อมเหมือนกับผ้าที่พร้อมจะรับน้ำย้อมแล้วพระองค์จึงตรัสอริยสัจสี่ เห็นมั้ยนี่ๆๆ พระพุทธเจ้าอยู่ๆ ไม่ได้พรวดพราดอะไรขอภัยตรัสพรึบพรับตรัสเป็นขั้นเป็นตอนลัษณะคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยทั่วไปเลยส่วนจะยักยึกกับบุคคลนั่นยังอีกขั้นนึงน่ะ อันนี้ทั้วไป อนุปุพพิกถา5 มีอะไร 1.ทาน ว่าทำไงให้สังคมมนุษย์อยู่กันเนี่ยนะ ตั้งแต่ในครอบครัวเกื้อกูลกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันให้อยุ่เป็นสุข ปฎิบัติต่อวัตถุให้ถูกก่อนและก็เพื่อจะให้อยุ่กันให้ดี ทานนี้มันได้ทั้งวัตถุและสังคมใช่มั้ย มันเอาวัตถุมาจัดสรรให้แก่คนด้วยกันเพื่อให้สังคมอยู่กันได้ดีอันนั้นทานที่จะเป็นจุดเริ่มพระพุทธศาสนาที่พูดมา แล้วพูดไรอีก หลักธรรมพระพุทธศานาก็จะเริ่มเนี่ย เห็นมั้ยตอนนั้นบอกว่า บุญกิริยวัตถุ10 ก็เริ่มทานแล้วมาทศพิธราขธรรมของพระราชาก็เริ่ม ทานและก็บารมี10 ของพระโพธิสัตว์ก็เริ่ม ทาน เอ้ามาอนุปุพพิกถา5 เริ่มทานอีกแล้ว เนี่ยการปฎิบัติต่อวัตถุเพื่อความอยู่ดีด้วยกันของมนุษย์เนี่ยเป็นจุดเริ่ม ปฎิบัติต่อวัตถุให้ดี อย่าคิดแต่เอาเห็นแก่ได้แย่งชิงกัน เนี่ยให้เห็นว่าถ้าอยู่กันดีและก็จะความสุขและก็ ศีล ก็ต้องไม่เบียดเบียนกันอาศัยวัตถุที่มันมีพอเพียงก็จะได้อยู่กันด้วยดีนะไม่โลภเกินไปก็จะยังด้วยศีลอีกทีนึง นี้ต่อไปก็สัคคะ พอศีลว่าเอออยู่กันดีแล้วไม่เบียดเบียนกันนะเท่านี้ก็จะได้สวรรค์ สัคคะมาละ สวรรค์ พระพุทธเจ้าจะจัดเป็นสวรรค์ก่อน พอจัดเรื่องสวรรค์ดีละ คนก็ชื่นชมเห็นทางเห็นไร พร้อมพระองค์ก็ตรัส กามาทีนวะ โทษของกาม เอาละสิทีนี้มาละ เออไอ้ที่ฉันว่าดีคุณก็เห็นอยู่นี้มันมีจุดอ่อนนะ มีข้อเสียข้อบกพร่องไอ้ส่วนทีดีก็ดีแต่ส่วนที่เสียมีนะ และส่วนที่เสียมันเป็นยังงี้ๆ จริงมั้ย โอ้จริงพระพุทธเจ้าตรัสจริง เห็นข้อเสียโทษมันยังงั้นในชีวิตคนบ้างในการอยู่ร่วมกันของสังคมมีข้อเสียยังงั้นยังงี้ ตรัสคุณและก็ตรัสโทษพอเห็นข้อเสียแล้วเอ้อทางออกมีทางไปที่ดีกว่านี้อีกก็ เนกขัมมะจึงมาไม่ใช่อยู่ๆ จะให้ออกบวช เนกขัมมะไม่จำเป็นจะต้องออกบวชด้วยซ้ำ เนกขัมมะก็หมายความว่ารู้จักทำตัวให้เป็นอิสระจาก กาม เช่นอย่างงี้เริ่มถือศีลแปดบ้างให้อยู่เป็นสุขได้ง่ายขึ้น ไมแต่เอาความสุชชีวิตของตัวที่ไปขึ้นกับวัตถุเสพบริโภคอย่างเดียวให้เราเริ่มมีความเป็นอิสระเนกขัมมะถอนตนออกไปปลีกตัวออกได้จากสิ่งเสพบริโภคไม่ขึ้นกับมัน งั้นเนกขัมมะไม่ขึ้นกับมันทำไงจะให้ชึวิตเราความสุขของเราความอยู๋ดีของเราไม่ขึ้นต่อสิ่งเสพบริโภคมากเกินไปตอนนี้คือเนกขัมมะมาละ และก็ตรัสเรื่องอริยสัจตอนนี้เข้าปัญญาละ อริยสัจคือเรื่องปัญญา ขจัดเรื่องปัญหาของมนุษย์ตั้งแต่ชีวิตไปเนี่ยมันเป็นยังงี้ๆละก็เอ้าแล้วเหตุมายังไงลึกลงไปสมุทัยเอาขั้นบทบาทหน้าโรงก็ถึงตัณหาลึกลงไปก็ถึงอวิชชา เอ้าละถ้ามันเป็นยังงี้แล้วเราควรแก้ไขอะไรควรจะเป็นจุดหมายจุดหมายเป็นยังไงดียังไงตอนนี้จะถึงเรื่องนิพพานก็จะจัดเรื่องนิโรธคือเรื่องนิพพานนั้นเองและก็เอ้าวัตถุประสงค์จุดหมายทางออกที่ดีมีอยู่ยังงี้เราฟังแล้วโอ้วดีจริงๆตอนนี้ต้องเขาพร้อมแล้วนะเขาชอบพระองค์จึงตรัสมรรค ทางดำเนินและข้อปฎิบัติที่จะให้เข้าถึงจุดหมายจึงได้บอกว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เป็นหลักการสอนที่เรียกว่าเป็นหลักพื้นฐานใหญ่ที่สุดเลยคือการนำระบบปัจจัยในธรรมชาติมาแสดงให้เข้ากันได้กับสติปัญญามนุษย์กระบวนการความคิดกระบวนการความเป็นจริงในธรรมชาติมันเป็นระบบที่เรียกว่าระบบ ปฎิจจสมุปบาท คือกระบวนการทางธรรมชาติ เป็นยังงั้นธรรมชาติแต่เอาปฎิจจสมุปบาทที่เป็นกระบวนทางธรรมชาติเหตุปัจจัยทางธรรมชาติมาสอนคนปั๊บนี่ยากไม่รู้เรื่องพระองค์ก็มาจัดในรูปใหม่ที่เรียกว่า อริยสัจ พระพุทธเจ้าตรัสท่านสังเกตุดูตอนตรัสรู้แล้วพระองค์ตรัสว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้คือ อิทัปปัจจยตาปฎิจจสมุปบาท และนิพพาน เนี่ยที่พระพุทธเจ้าตรัสเองลองไปดูคาถาดิที่วินัยปิฎกเล่มสี่ตอนต้นเลยขึ้นใหม่ๆจะเล่าพุทธประวัติตรัสรู้แล้วก็จะเจอพุทธพจน์ที่ตรัสอันนี้บอกว่า ธรรมที่เราตรัสรู้เนี่ยแสนยากคนทั้งหลายรู้เข้าใจตามได้ยากกล่าวคือ อิทัปปัจจยตาปฎิจจสมุปบาท และก็นิพพาน อันนี้คือตัวหลักธรรมชาติ เอาหล่ะที่นี้พระองค์ก็มานำเสนอแก่ปัญญามนุษย์ นี่ขบวนความคิด ก็จัดใหม่ที่อยู่ในรูปเรียกว่า อริยสัจ ก็คือ ปฎิจจสมุปบาทและนิพพานเนี่ย มาแสดงการสอนในระบบการสอนให้เข้ากับปัญญามนษย์กระบวนการคิดก็ออกเป็นรูปอริยสัจสี่ แทนที่จะเอาเหตุปัจจัยเริ่มต้นก็เอาปรากฎการณ์ที่เป็นผลมาตั้งก่อนสอนจากสิ่งที่เห็นอยู๋ไปสู่สิ่งที่มองไม่เห็นสิ่งที่ปรากฎไปสู่สิ่งที่ไม่ปรากฎจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากก็กลายเป็นจากตัณหาและก็โยงไปหาเหตุปัจจัยจากสิ่งที่มนุษย์พบเห็นปรากฎการณ์เนี่ยเอาปรากฎการณ์เป็นจุดเริ่มต้นเป็นตัวตั้งจากนั้นก็สืบสาวไปๆหาที่มาของปรากฎการณ์นั้น อันแรกก็คือทุกข์ก่อน และเป็นปรากฎการณ์ที่มนุษย์ไม่ปราถนาไม่จำเป็นต้องมาในคำว่าทุกข์แต่หมายความศํพท์รวมว่าทุกข์ เรื่องที่คุณไม่ชอบใจอะไรๆนั้นหล่ะนี่คือปัญหาทั้งหลายก็เอามาพูดแล้วก็ชวนกันมาวิเคราะห์หาเหตุปัจจัย และก็เห็นว่ามีทางออกมั้ยละก็เรื่องนิพพานก็มาจุดหมายมาเอ้าทางปฎิบัติเป็นยังไง นี่ก็เข้ากับกระบวนการความคิดของมนุษย์ก็เลยเป็นกระบวนการสอนก็เลยบอกว่าเป็นวิธีในการปลุกระดมมวลชนด้วย พอปลุกระดมมวลชนก็ใช้ระบบอริยสัจเนี่ยแต่ว่าไปใช้ในรูปที่อาจจะสนองวัตถุประสงค์ที่ไม่ดีก็ได้ คือเบื้องต้นจะต้องเอาสภาพที่ไม่ดีมาพูดเร้าใจคนบอกบ้านเมืองเดี๋ยวนี้ดูสิมันเลวทรามกันเหลือเกินคอรัปขันกันยากจนมันมีแต่เรื่องโอ้ยพูดไปเถอะเรื่องทุกข์ใช่ไหมสารพัดพูดให้มันน่าเกลียดน่ากลัวที่สุดเลยเริ่มต้นนักปลุกระดมจะต้องเก่งอันนี้ใช่ไหมคือพูดอันไม่ดีขึ้นมาก่อน พอเขาเห็นชัดไม่อยากได้ไม่เอาแน่แหม๋อยากจะไปให้พ้นๆซะทีโอ้ยตอนนี้ใจมันแรง ก็บอกเหตุตัวการทีนี้ตัวการอยู่ที่ไหนตัวการก็สมุทัยไง โอ้วทีนี้ถ้าเป็นลัทธิชนชั้นตัวการก็พวกนั้นละ กฎุมพีว่างั้น เดี๋ยวนี้เขามีคำว่า อมาตยาธิปไตย และเขาไม่พูดให้มันคุ่ มันต้องคู่กับ กุฎุมพระยาธิปไตยใข่ไหมมันคุ่กัน อมาตยาธิปไตย ก็คือพวกชนชั้นปกครองเป็นใหญ่ กุฎุมพี เคยได้ยินมั้ยสมัยคอมมิวนิสต์กำลังขึ้นน่ะ อ่าเนี่ยต้องรู้เรื่องอดีตตอนยุคลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นมีคำว่า กฎุมพี แต่ที่จริงมันมาจาก กุฎุมพีๆ ก็คือผู้มีทรัพย์ คนมั่งคั่ง อันนี้ก็คนร่ำรวยก็เป็นว่าหนึ่งพวกชนชั้นปกครองเป็นใหญ่ก็เป็น อมาตยาธิปไตย ถ้าคนรวยเป็นใหญ่ก็เป็น กฎุมพระยาธิปไตย ทั้งสองอันเนี่ยดีมั้ย ก็เอามาแข่งกันสิใช่มั้ยบอกว่ามันต้องหาอันที่ดีที่มันพอดีๆ เอ้าเดี๋ยวจะออกนอกเรื่องไป เมื่อกี้นี่พูดถึงอะไร อ่อต้องหาตัวการ ตัวการระบบชนชั้นที่มันเป็นพวกชนชั้นงี้ๆอะไรก็ว่าไป เอาหล่ะปลุกระดมมาถึงขั้นที่สองละขั้นสมุทัย ต่อไปก็วาดภาพสังคมอุดมคติ โอสังคมที่มันดีนะมันเป็นยังงั้นเหมือนฟ้าทองผ่องอำไพ เคยได้ยินมั้ยฟ้าทองผ่องอำไพ ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ตอนนั้นพูดกันเยอะเลย อันนี้คือวาดภาพอุดมคติจุดหมายนี่คือจุดที่เรียกว่า นิโรธ นี่หมดแล้วปัญหาหมดหายทุกข์หายร้อนมีความสุขทีนี้ก็แหม๋ดีเหลือเกินโอ๋วมีความสุขกันเหลือเกินต้องไปให้ได้ตอนนี้มันแรงเต็มที่แล้ว เนี่ยขั้นที่หนึ้งมันอยากจะไปให้พ้น ขั้นที่สองมันอยากจะกำจัดให้ได้ ขั้นที่สามมันต้องไปให้ถึง พอมันได้อย่างนี้แล้วกำลังมันเต็มที่เลยยากเท่าไรสู้หมดตอนนี้ก็บอกวิธีปฎิบัติ ทีนี้วิธีปฎิบัติยังไงจะยากยังไงเอาทั้งนั้นเลยแต่ถ้าท่านขืนไปสอนวิธีปฎิบัติก่อนยากเย็นไม่มีใครเอาด้วยใช่ไหม พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงสอน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พอมรรคนั้นก็หมายความเขาพร้อมแล้วๆ ที่จะเดิน กำลังเข้มแข็งและทีนี้ก็เอาสิจะยากจะเย็นยังไงก็ไม่กลัวแล้วอันนี้อริยสัจ ทีนี้ไปในแง่ของขั้นตอนการสอน ท่านจะมองในแง่ขั้นตอนการสอนท่านก็ต้องดูว่าเราจะสอนเรื่องนิพพานมันอยู่ในระดับไหนอันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งและทีนี้ก็ในเรื่องหลายแง่เช่น ในแง่ของความหมายทั่วไป ความหมายทั่วไปนิพพานก็เป็นศัพท์ง่ายๆ เป็นศัพท์ที่เลือกแล้วว่า ดีที่สุดในยุคพุทธกาล คือในยุคพุทธกาลชาวบ้านเขาใช้คำนี้ในความหมายที่แสนจะดีเริดประเสริฐสุดสิ่งที่ปราถนาที่สุดแล้วพระองค์จึงเอาคำนี้มาใช้ แต่มันดีในทางไม่มีโทษมันดีจริงดีไม่มีโทษ เช่นพ่อแม่ ลูกเกเรเกตุงทำเสียหายมาเขากลับตัวได้มาประพฤติดีแหม๋มันชุ่มฉ่ำใจนิพพานซะที ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกว่า นิพพุทโต นิพพานนี่เป็นศัพท์นาม เป็นภาวะนาม หรือกิริยานามก็ได้ ภาวะนามก็คือสภาวะเป็นความ ทีนี้ถ้าเป็นคนก็ นิพพุทโต นิพพานแล้วท่านยกตัวอย่างในคัมภีร์เลย อย่างในคัมภีร์ยกตัวอย่างเล่าประวัติพระพุทธเจ้าตอนเป็นเจ้าชายสิทธัทถะ เจ้าหญิงองค์หนึ่งท่านอยู่บนปราสาทและพอดีเจ้าชายสิทธัทถะเสด็จมาและเจ้าหญิงมองเห็นเจ้าชายกิติศัพท์ของพระองค์ก็ดีมากและก็บุคลิกลักษณะก็ดีและเจ้าหญิงก็อุทานขึ้นมาบอกว่าเจ้าชายผู้นี้เป็นลูกของใครพ่อแม่ก็นิพพานก็หมายความว่าชุ่มฉ่ำเย็นใจสบายใจมีความสุขใจเหลือเกิน พูดไม่ถูกละ เป็นสามีของภรรยาใดภรรยานั้นก็นิพพาน พอจะนึกได้ไหมฮะ นี่คือความหมายนิพพาน และก็จะใช้ในคำที่เป็นสำนวนอุปมานี่มีมาก ก็จะมีเช่นว่าจะทำอะไรสักอย่างที่ทำให้คนหายเดือนร้อน และก็อุปมาเหมือนดั่งมหาเมฆหลั้งฝนลงมาทำผืนแผ่นดินใหญ่ให้นิพพานเข้าใจไหมฮะ และความหมายว่ายังไงเอ่อท่านแปลเอาเองอุปมานี่มันเข้าใจดียิ่งกว่าจะแปลอีก ผืนแผ่นดินหมายความว่าทั้งประชาชนอ่ะกำลังเร่าร้อนแห้งแล้งกันดารฝนใหญ่มาตกแล้วก็นิพพานทำให้ผืนแผ่นดินนี่นิพพานประชาชนๆ ทั้งแผ่นดินหรือบนผืนแผ่นดินนิพพานแล้วท่านจะแปลว่าไง ดีมั้ยเอาแค่นี้ นี่คือความหมายนิพพาน ทีนี้จะนิพพานยังไงก็ว่ากันไปเป็นลำดับเลย นิพพานตั้งแต่จิตใจธรรดาเนี่ยท่านมีปัญหาเร่าร้อนอะไรก็หายเร่าร้อนนี่ก็นิพพานละ มีเรื่องไม่สบายใจเดือดร้อนปัญหาแก้ไม่ตกมาถึงวันหนึ่งแก้ได้นิพพานแล้ว เออมันยังไม่พอแค่นี้มันชั่วคราวนิพพานแบบนี้ ก็ศึกษาวิธีปฎิบัติท่านก็บอกไปพัฒนาศีล พัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญาไป ในที่สุดจิตใจเป็นอิสระ นิพพานก็คือภาวะที่ใจเป็นอิสระแท้จริงด้วยปัญญา ปัญญาที่รู้เข้าใจชีวิตเข้าใจโลกนี้อย่างที่ว่าเห็นไตรลักษณ์เห็นทุกขัง อนัตตา จนกระทั้งจิตใจเห็นจุดที่ลงตัวกับโลกชีวิต ปัญญามาถึงจุดหนึ่งที่ปัญญาทำให้จิตลงตัวคือปัญญาเป็นตัวมาปลดปล่อยจิต มันจะปรับสภาพจิต พัฒนาจิตจนถึงที่ทำให้จิตลงตัวกับโลกชีวิตคือจิตมนุษย์เนี่ยเป็นปัญหาไอ้ที่มันทุกข์ๆ ที่จิตแต่ไอ้ตัวที่จะช่วยให้จิตพ้นทุกข์ก็คือปัญญาพอจิตพ้นทุกข์มันก็เป็นนิพพาน ท่านจึงบอกว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอัสวะทั้งหลายหลุดพ้นแล้วจากทุกข์แต่อะไรมาทำให้จิตหลุดพ้นก็ปัญญา ปัญญารู้เข้าใจเป็นขั้นๆก็ทำให้ท่านหลุดพ้นไป ท่านไปเจออะไรไม่รู้ปั๊บนี่อึดอัดๆ จิตคับข้อง พอรู้ว่าคืออะไรเป็นอย่างไรจะแก้ยังไงเราจะปฎิบัติตัวอย่างไรก็โล่งละทีนี้เป็นไปเรื่อยๆ ทีนี้พอเราเข้าใจโลกชีวิตดีขึ้นปัญญามันก็ทำให้จิตของเรากลายไปเปนอิสระมากขึ้นๆ จนกระทั้งว่าทุกข์อะไรเชื้อมันไม่มีเหลือมันก็เลยไม่มีทุกข์เหลือๆ ท่านก็ใช้คำในทางบวกว่าเป็น บรมสุข เขาจึงมีคำพุทธพจน์ว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งท่านตอบได้ โอ้วนิพพานเป็นสุขไหม เอ้อมันยอดสุขเลย ไม่ใช่ไปหนีไม่ใช่ไปเลี่ยงแต่ว่าสุขแบบนี้คุณยังไม่รู้จักต้องเติมไปอีกหน่อยนึงเดี๋ยวก็บอกว่าเอ้อนิพพานเป็นสุขมั้ยนี่ถ้าขั้นที่หนึ่งท่านไปหนีก็ยุ่งละ อย่าไปหนีบอกสุข สุข แน่นอนและสุขที่สุดด้วยและต้องแถมนะอย่าไปหยุดกันนะ แต่สุขสูงสุดคุณยังไม่ได้มันเหนือกว่าที่คุณคิดอันนี้พระอรหันต์อย่างพระเถระองค์หนึ่งเป็นมหาสาวกเป็นพระราชามาก่อนแล้วก็มาบวชรู้จักมหากัปปินราชามั้ย พระมหาสาวกองค์นี้ท่านเป็นพระราชามาก่อนมาบวชละต่อมาท่านไปนั้งไปยืนที่ไหนท่านมักจะอุทานว่าสุขจริงหนอเนี่ยพระอรหันต์เท่านั้นที่จะอุทานได้อย่างนี้จริงๆ สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ก็เลยมีคนไปฟ้องพระพุทธเจ้าบอกว่าอวดอุตริมนุสธรรมอวดคุณวิเศษ พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรียกมาถามท่านก็อธิบายคือพระพุทธเจ้าต้องการให้เห็นประจักษ์คนอื่นก็จะได้ประโยขน์ไปด้วยและท่านก็ได้อธิบายว่าเน่ยสมัยก่อนท่านเคยเป็นพระราชา มีทุกอย่งพร้อมจานเงินจานทองมีวังมีเมืองใหญ่แล้วก็มีประตูเมืองมีพวกทหารมาคอยระวังอยู่เชิงเทินอยู่ป่อมปราการและมีทหารเป็นกองพลเป็นกองทัพรึอะไรก็แล้วแต่มาคอยคุ้มครองดูแลแต่ว่าไปไหนนอนไหนมันก็มีความหวาดระแวงไม่ได้มีความสุขจริงจัง แต่บัดนี้ไม่ต้องมีอะไรเลยแสนสุขจริงหนอท่านก็เลยอธิบายว่าอย่างงี้ นี่พระราชาเก่าบัดนี้ได้เป็นพระอรหันต์ละ เรื่องของความสุขอะไรเนี่ยมันก็มาเป็นขั้นๆจนกระทั่งว่าอย่างที่บอกนี้ในที่สุดมันหมดเชื้อที่จะทำให้เกิดทุกข์ก็เลยไม่มีทุกข์จากคนที่ต้องหาความสุขมาเป็นคนมีความสุข คนทั่วไปเนี่ยนะยิ่งยุคนี้เป็นยุคหาความสุขเชื่อมั้ยแล้วก็พูดกันมีแต่หาความสุข ทำไมไม่พูดมีความสุขมั้ย คนหาความสุขแสดงว่าไม่ค่อยมีความสุข ถูกมั้ย ไอ้การที่หาแสดงว่ามันขาดใช่มั้ย ถ้ามีก็ไม่ต้องหา หาความสุขกันจังเลยและก็เลยต้องพัฒนาวิธีการหา และสิ่งที่จะต้องไปหาที่จะมาสนองความต้องการเลยไปกันใหญ่ โลกนี้จะพังก็เพราะการหาความสุขนี่แหล่ะและก็เพิ่มทุกข์กันไปใหญ่เพราะแย่งกันหาความสุข คุณหาความสุขนี่เป็นระดับต้นเท้านั้นนะคุณจะต้องพัฒนาให้เป็นผู้มีความสุข ทีนี้พุทธศานาก็จะสอนวิธีพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข เนี่ยพุทธศานาเนี่ยความหมายหนึ่งเลยระบบทั้งหมดเนี่ยก็คือกระบวนวิธีในการพัฒนาความสุข และจะบอกความสุขขั้นนี้ๆๆๆๆๆยังอิงอาศัยยังขึ้นต่ออามิตขั้นนี้ยังขึ้นต่อสิ่งภายนอกขั้นนี้เป็นอิสระขึ้นมาขั้นนี้เป็นอสระอย่างยอดยิ่งเลยนิ พุทธศานาจะแบ่งความสุขหลายขั้นเลยทีเดียว พุทธศาสนานี่เป็นศาสนาแห่งความสุขนะท่านอย่าตอบให้ผิด ไม่ใช่ศาสนาแห่งความทุกข์ก็เคยย้ำบอกแล้ว ใครๆ พออริยสัจอะไรโอ้ว หนึ่งทุกข์ เอ้าตายละ พุทธศาสนาสอนทุกข์ ไม่ใช่ ท่านสอนถึงสิ่งที่มนุษย์ประสบอยู่แล้ว ทุกขัง ปริญญายัง ทุกข์นีพึงรู้ทัน ท่านสอนกิจอริยสัจกำกับ คืออริยสัจสี่ถ้าไม่รุ้กิจอริยสัจแสดงว่ารู้ผิดไม่เข้าใจไม่มีทางสำเร็จถ้าไม่รู้กิจอริยสัจ อริยสัจสี่นี่มีสามขั้น หนึ่งอริยสัจจญาณ รู้ตัวอริยสัจแต่ละข้อ สองกิจจญาณ รู้กิจหน้าที่ต้องทำต่ออริยสัจแต่ละข้อนั้น ถ้าไม่มีข้อสองนั้นจบไปไม่ได้ละ ก็รู้ว่าทุกข์เป็นสิ่งที่เราต้องรู้ทันมัน ทุกข์สำหรับปัญญารู้พุดง่ายๆ ทุกข์ไม่ใช่สำหรับเราเป็น คำสอนนี้ไม่มีในพระพุทธศาสนา ต้องตอบให้ได้ ทุกข์นี้เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร ทุกข์สำหรับปัญญารู้หรือสำหรับเรารู้ด้วยปัญญารู้เท่าทัน สองสมุทัยสำหรับแก้ไขกำจัดละหน้าที่ สามนิโรธจุดหมายต้องทำให้ประจักษ์แจ้งบรรลุถึงนี่มาอยู่ข้อสามนี่ นี่หล่ะฟ้าทองผ่องอำไพ และสี่ก็นี่หล่ะวิธีปฎิบัติต้องภาวนา ต้องเจริญต้องทำให้เป็นให้มีข้อที่สี่มรรค ต้องปฎิบัติต้องดำเนินต้องทำให้เป็นให้มี นี่กิจอริยสัจสี่ข้อนี้ต้องแม่น หนึ่งทกขัง ปริญญายัง ทุกข์สำหรับรู้ทันกำหนดรู้ รู้เท่าทันมันด้วยปัญญา สองสมุทโย อริยะสัจจัง ปหาตัพหัง สมุทัยต้องละต้องกำจัดแก้ไข นิโรโธ อริยะสัจจัง สัจชิกาตะพัง ต้องทำให้ประจักษ์แจ้งบรรลุเข้าถึงละก็ ทุกขะ นิโร ธคามินี ปฏิปทา อริยะสัจจัง คือมรรคต้องพาเวตัพพัง ต้องทำให้เป็นให้มีขึ้นให้เป็นมีจริงขึ้นก็คือ ปฎิบัติลงมือทำ ก็สี่ข้ออริยสัจเนี่ย แม้แต่จับหลักอริยสัจให้ถูกก็ได้ความละ ทีนี่เวลาเราปฎิบัติตามมรรคไปเนี่ยสามจข้อแรกมันก็จะเจริญพัฒนาควมรู้ความเข้าใจอะไรต่ออะไร ข้อหนึ่งก็รู้เข้าใจ หมดไปน้อยลง ข้อสองก็ละได้มากขึ้น ข้อที่สามก็ก้าวไปใกล้ขึ้นไปสุขก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ได้มรรคเนี่ยเป็นไปเอง เพราะฉะนั้นปฎิบัติข้อเดียวข้อสี่แปลว่าได้หมดทั้งสี่ข้อ และก็จะจบอีกทีนึงก็เป็นอันว่าเรามาเข้าสู่ทางของอริยสัจก็คือทางไปสู่พระนิพพานนั้นเอง ถ้าปฎิบัติถูกก็อยู่ในทางนิพพานอยู่แล้ว อ้าวทะว่าถึงสวรรค์ที่จริงในแง่หนึ่งมันก็อยู่ในขั้นตอนหนึ่งในทางไปนิพพานด้วยซ้ำแต่ว่ามันอาจจะหลงได้นะอาจจะไปติดไปเพลินเพราะว่าสวรรค์เป็นเรื่องเสพ เรื่องบริโภคไปติดสิ่งเสพบริโภคก็หลงเพลิดเพลินไปก็ทำให้เนิ่นช้า และก็อันเป็นว่าทางนิพพานก็เป็นทางที่จะต้องพัฒนาตัวตลอดเวลาแม้ไปเจอสิ่งที่ดีในระหว่างก็จะไปหลงติดไม่ใช่เดินทางไปเจอพุ่มไม้สวนเสินในระหว่างทางแล้วสวยก็เพลินอยู่สวนนั้นซะนี่ เอออย่าไปเพลินอยู่นั่นยังมีจุดหมายไปต่อ เอ้าชื่นชมซะหน่อยก็ลงไปชื่นชมสวนที่มันน่าเพลิดเพลินรื่นรมย์มีความสุขและก็เดินทางต่อไปถ้าไม่หลงมีกำลังเข้มแข็งก็ต่อไป พระโพธิสัตว์ท่านก็บำเพ็ญบารีมีอย่างงี้ นี่หล่ะครับความสุขก็พัฒนาขึ้นไปเป็นขั้นๆๆ บางแห่งแบ่งสิบขั้นน่ะความสุข พระพุทธศาสนาพอเข้าสู่เรื่องปฎิบัติแล้วพูดแต่เรื่องความสุขไม่มีพูดเรื่องทุกข์ มีพุทธดำรัสในพระไตรปิฎกใครมองเห็นนิพพานเป็นทุกข์ไม่มีทางตรัสรู้ให้เข้าใจไว้ด้วย เป็นอันว่าพระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์เราต้องรุ้ว่าท่านสอนเพื่อให้เราเข้าใจรู้เท่าทันเป็นเรื่องสำหรับปัญญาและถ้าเราไม่รู้เข้าใจทุกข์ปัญหามนุษย์แล้วเราจะไปยังไงใช่มั้ย มันเป็นเรื่องธรรมดาเป็นเรื่องของสัจธรรมความจริง เอาละครับเป็นอันว่าปฎิบัติไปตามมรรคกับพัฒนาความสุขใกล้จุดหมายนิโรธคือไปเรื่อยๆ ความสุขพัฒนาไปจนกระทั่งว่าไม่ต้องหาวามสุขแล้วทีนี้มีความสุขและความสุขที่เป็นอิสระ หนึ่งจากหาเป็นมีความสุขแทนที่จะเป็นสิ่งภายนอกกลายเป็นคุณสมบัติในตัวเองพอมันมีความสุขและคุณสมบัตินั้นเป็นคุณสมบัติของตัวเองเลย เอ้อทำไงให้ความสุขนั้นเป็นคุณสมบัติของชีวิตของเราให้ได้ มันควรจะต้องเป็นอย่างนั้นถูกมั้ย มันต้องให้ความสุขมันเป็นคุณสมบัติของเราสิ จะนั่งนอนที่ไหนมันก็มีสุขอยู่ไม่ต้องไปพึ่งไปขึ้น อ่าทีนี้ก็มาสู่ข้อที่สองมันไม่ต้องขึ้นต่อสิ่งอื่น ความสุขทีแท้มันไม่ต่องขึ้นต่อสิ่งอื่น ไม่ต้องพึ่งพา เป็นความสุขที่มีในตัวเองก็เป็นอิสระ ความสุขของเราก็เป็นอิสระไม่ต้องขึ้นต่ออันโน้นอันนี้ ทีนี้มนุษย์ที่เป็นนักหาเนี่ยมันมาสู่ข้อที่สองด้วย ความสุขนั้นต้องขึ้นต่อสิ่งภายนอกขึ้นต่อสิ่งเสพบริโภคไม่มีตายเลย ไม่มีก็ทุกข์แสนทุกข์ ต้องมีมันถึงจะมีความสุขจึงจะอยู่ได้ไม่ไหวแล้วยังงี้แย่ใช่มั้ย พอต่อไปแก่เข้าเจ็บป่วยเข้าไอ้วัตถุนั้นก็พึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ไม่ได้อินทรีย์ไม่รับสุขในตัวก็ไม่ได้พัฒนาเพราะไม่มีไอ้สุขของตัวต้องขึ้นต่อสิ่งเหล่านั้นตัวเองร่างกายสภาพชีวิตมันก็ไม่รับแล้วไม่เอาแล้วเบื่อด้วยอาหารที่เคยอร่อยตอนนี้ไม่ยอมกินแล้วเบื่อใช่มั้ย เป็นทุกข์แล้วท่านจะหาความสุขที่ไหนความสุขไปขึ้นต่อมันแล้ว นี่แหล่ะท่านให้เตรียมไว้ คุณจะมีสุขภายนอกพึ่งพาก็มีไปแต่ว่าอย่าลืมพัฒนา หนึ่งมีความสุขเป็นคุณสมบัติของตัวเองใช่มั้ยไม่ต้องหาก็ได้ สองความสุขนั้นไม่ต้องพึ่งพาเป็นอิสระกับตนเอง และก็สามความสุขนั้นสมบูรณ์ในตัวไม่มีเชื่อแห่งทุกข์เหลืออยุ่เชื้อแห่งทุกข์ไม่มีและจบนี่คือนิพพาน พอเห็นมั้ยว่านิพพานดีมั้ย นี่แหล่ะนิพพาน ทีนี้มันมีผลต่อไป เพราะบุคคลนิพพานเนี่ยนะตัวบุคคลเหมือนกับไม่มีและ ตัวตนก็ไม่มีเพราะว่ามันมีความสมบูรณ์ในตัวเองมันมีความเต็มอิ่ม เราจะหาความสุขเราจะมีตัวตนที่ต้องหาความสุขให้ตัวตนเราได้เสพให้ความสุขความอะไรมันมีพร้อมในตัวแล้วเนี่ยตัวมันเลยไม่ต้องมีเข้าใจมั้ย เอ่อมันก็เลยไม่มีตัวตนมันก็เลยดับตัวตนไป มันไม่มีตัวตนอย่างนี้ในความหมายหนึ่ง ก็ถ้าตราบใดท่านต้องหาความสุขท่านต้องมีตัวตน หนึ่งตัวตนที่ไปหาความสุข สองตัวตนที่จะเสพความสุขเอาความสุขมาสนองถูกมั้ย อันนี้มันก็ไม่มีแล้วตัวตน สุขก็สมบูรณ์ในตัวมีอยู่ตลอดเวลาเป็นอิสระ ทีนี้พลังงานชัวิตเหลืออยู่และพัฒนาตัวมาขนาดนี้ปัญญาก็ดีมีประสบการณ์รู้เข้าใจหมดทำไงก็มองเห็นเพื่อนมนุษย์โอ้วเขายังทุกข์ ยังเดือนร้อน ตัวเองผ่านมาหมดเข้าใจจิตใจเขาหมดเลย โอ้วฉันจะต้องช่วยเขา เหมือนกับคนที่หลุดพ้นแก้มัดตัวเองได้แล้วเห็นคนอื่นถูกมัดอยุ่ก็ยิ่งอยากจะไปช่วยแก้มัด นี้ตัวเองก็ไม่ต้องหามันสุขอยู่ตลอดเวลาแล้วไม่ต้องคำนึงตัวเอง ไม่ต้องห่วงตัวเองแล้วนี่ ฉนั้นท่านผู้บรรลุนิพพานก็ไม่มีตัวตน ไม่มีตัวตนต้องห่วง ไม่มีเรื่องต้องทำเพื่อตัวตน ถึงคำนี้สำคัญไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนอีกแม้แต่การพัฒนาตัวไม่มีอะไรต้องทำแม้แต่การฝึกตน หน้าที่ของมนุษย์ขึ้นสุดท้ายคือการฝึกตนก็หมดแล้ว ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนสำคัญที่สุด ทีนี้เรื่องตัวไม่มีแล้วทีนี้ก็ขีวิตพลังงานที่มีการพัฒนาปัญญาจิตใจอะไรเรื่องที่มีอยู่เนี่ยก็ไปทำเพื่อโลกหมดก็มาถึง พหุชนะหิตายะ พหุชนะสุขายะโลกานุกัมปายะ ฉนั้นพอเป็นพระอรหันต์พระพุทธเจ้าก็สอนคำนี้แต่ว่าที่จริงในระหว่างนั้นก็ไม่เบียดเบียนตนไม่เบียดเบียนผู้อื่นทำประโยชน์ตนทำประโยชน์ผู้อื่นอยู่แล้วตลอดทุกช่วง แต่มาถึงจุดสุดท้ายนี้มันไม่เหลือแล้วตัวตน ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนอีกก็ทำเพื่อโลกอย่างเดียว ฉนั้นเค้าจึงใช้คำว่าบุคคลนิพพานทำการเพื่อโลก เนี่ยก็มาบรรจบที่นี่ๆเรียกว่าอุดมคติพระพุทธศาสนา ก็จะไปเหลืออะไรก็ตัวตนไม่มีก็เหลือสภาวะธรรมน่ะสิ สภาวะธรรมมันก็เป็นรูปธรรม นามธรรมมันก็มีของมันตามปกติ จิตท่านเรียกว่าถึง อสังขตะ ถึงภาวะไม่ปรุงแต่ง อันนี้ก็พูดถึงระดับปลากับเต่าและเข้าใจมั้ย เอ้าบอกว่าตอนนี้ปลายังไม่ถึงบกก็เข้าใจเรื่องบกไม่ได้ เอาสุดท้ายที่ว่านี่ก็ วิสังขารคตัง จิตตัง เคยเจอไหมพุทธพจน์นี้ จิตบรรลุวิสังขาร ก็คุยกันแบบสบายๆนะ มีอะไรไม่ชัดก็ถามกันแบบให้ชัดที่สุด ถ้าไม่ชัดไม่เป็นปัญญา