แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
**ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ**
ขอเจริญพร ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน บัดนี้คณะบุญจาติก ก็ได้เดินทางมาถึงสังเวชยชะนีสถานแห่งที่ 2 ในลำดับของการเดินทาง คือ สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา หรือการแสดงธรรมครั้งแรก ที่เราเรียกว่าพระธรรมจักรกัปวัฒนสูตร ถ้าจะนับตามลำดับพุทธประวัติ ก็เป็นสังเวชยนียสถานลำดับที่ 3 คือถ้านับลำดับว่า ประสูติ ตรัสรู แสดงปฐมเทศนาและก็ปรินิพพาน สถานที่แสดงปฐมเทศนานี้ก็นับมีความสำคัญมาก เพราะว่า ถือเป็นการประดิษฐานพระพุทธศาสนา คือประกาศพระพุทธศาสนานั้นเอง แต่ว่า คำว่า ธรรมจักรกัปวัตนสูตร ซึ่งเป็นชื่อของพระสุตรที่แสดงธรรมครั้งแรกนี้มีความหมายได้ 2 อย่าง ธรรมจักรกัปวัฒนสูตร ก็เรียกง่าย ๆ ว่าพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องหมุนวงล้อแห่งธรรมมะ อาจจะแยกศัพท์ว่าเป็นธรรมะกับจักกะ รวมกันเป็นธรรมจักรก็คือวงล้อแห่งธรรม และก็ กัปวัฒนะ ก็คือเป็นไป สูตร ก็คือหมุน ดังนั้นธรรมจักรกัปวัฒนสูตรก็แปลว่า การหมุนวงล้อแห่งธรรม การหมุนวงล้อแห่งธรรมหรือธรรมจักรนี้ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าได้ทำให้การหมุนของวงล้อแห่งธรรมเนี่ยะ หมุนเหมือนกับการกลิ้งหรือการหมุนออกไป ก็คือการที่พระพุทธศาสนาแผ่ออกไปนั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่ว่าทีนี้คำว่า ธรรมจักรนั้น อาจจะมีความหมายได้อีกอย่างหนึ่ง เราเทียบได้กับคำว่าอาณาจักร อาณาจักรแปลว่าวงล้อแห่งอำนาจ พระเจ้าแผ่นดินหรือพระเจ้าจักรพรรตินี้หมุนวงล้อเหมือนกัน แต่หมุนวงล้อแห่งอำนาจอาณาออกไป ทำให้พระราชอำนาจแพร่ขยายออกไปโดยครอบงำประเทศอื่น ๆ หรือดินแดนอื่น ๆ เราก็เรียกดินแดนวงล้อของพระราชาเราเรียกว่าอาณาจักร หรือดินแดนที่พระราชอำนาจแผ่ไปถึง ถ้ามองในแง่นี้แล้วอาณาจักรที่ทางพระราชอำนาจแผ่ไปถึงฉันใด ธรรมจักรก็หมายถึงดินแดนที่ธรรมะแผ่ไปฉันนั้น ถ้าแปลในความหมายของธรรมจักร ก็คือดินแดนแห่งธรรมะนั่นเอง ในเมื่อแปลว่าดินแดนแห่งธรรมมะ คำว่า ธรรมจักรกัปวัฒนสูตร ก็หมายถึงพระสูตรที่ว่าด้วยการ การแพร่ด้วยธรรมะหรือดินแดนที่แผ่ด้วยธรรมมะที่กว้างขวางออกไป ในแง่นี้ก็แปลว่า เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก็แล้วแต่ว่าจะใช้ในความหมายไหนได้ทั้งสิ้น ก็เป็นการเริ่มประกาศธรรมนั่นเอง เป็นการเผยแพร่ธรรมมะ หรือว่าจะเป็นการที่ว่าเริ่มเผยแพร่อาณาจักร เผยแพร่ดินแดนแห่งธรรมะไปก็ได้ แต่ก็เริ่มด้วยการแสดงธรรมครั้งแรกที่เรียกว่า ปฐมมเทศนา เนื้อหาก็เป็นในเรื่องธรรมจักรกัปวัฒนสูตรที่อยู่ในพระตรัยปิฎก แต่ก่อนที่จะพูดเรื่องพระสูตรตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงแห่งนี้ ก็อยากจะพูดถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ขณะนี้เราก็นั่งอยู่เบื่องหน้าพระสถูป ที่เขาเรียกกันในธรรมนี้ว่า ธรรมเวสถูป ธรรมเวสถูปนี้เราก็สันนิฐาน แปลตามศัพท์เอาว่า เป็นสถูป ที่สร้างอุทิศให้ท่านผู้เห็นธรรม เพราะว่า คำว่า ธรรมเวส นั่นมาจากคำว่า ธรรมะ ผสมกับคำว่า อิกขะ ธรรมะ ก็แปลว่าธรรมะ อิกขะ ก็แปลว่าเห็น หรือว่าผู้เห็น อิกขะนี้แปลว่า อิ เป็นเอ นั่นนะ เราก็จะเห็นอยู่เสมอแหล่ะ แปลงอิก เป็น เอ อย่างที่เราแปลงกันเมื่อวันก่อน สิกขา ก็แปลเป็น เอ สิขา เป็นสิกขะ นี่ก็อิกขะ แปลว่า เห็น แปลงอิก เป็น เอ เป็นอิกขะ แปลว่า ผู้เห็นธรรม ธรรมเวสขะ แปลว่า ผู้เห็นธรรมะ และพอเติมคำว่า สถูปเข้าไป ก็คือ พระสถูปที่สร้างให้ผู้ที่เห็นธรรม ให้แด่ท่านผู้เห็นธรรมมะ แด่ท่านผู้เห็นธรรมะหมายถึง ท่านผู้เห็นธรรมะคนแรก ก็คือพระอัญญาโกณฑัญญะ แต่ว่าการที่พระอัญญาโกณฑัญญะ จะเป็นผู้เห็นธรรมมะได้ ก็เป็นเพราะพระพุทธเจ้าท่านได้แสดงธรรมให้เห็นที่เรียกว่า ธรรมเทศนา ธรรมจักรกัปวัฒนสูตร เพราะฉะนั้นพระสถูปนี้ ก็แปลว่า เป็นสัญญาลักษณ์ที่เป็นอนุสรณ์รำลึกถึง การแสดงพระธรรมจักร หรือเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้า อันนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกัน สาระสำคัญก็คือว่า ต้องการแสดงถึงเหตุการณ์ หรือว่าเป็นเครื่องรำลึกถึงเหตุการณ์ สำคัญในพุทธประวัติ ที่พระพุทธเจ้าได้เผยแพร่พระพุทธศาสนา นั่นเอง และพระสถูปนี้ ก็ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และคำว่า อิสิปะตะนะ มันก็แปลว่าเป็นที่ขึ้นลงของพระฤาษี หรือเป็นที่ตกลงของพระฤาษี แต่ว่าในพระคาถาท่านแปลว่า สถานที่ที่ฤาษีขึ้นลง หมายว่า ฤาษีก็ชอบมากันที่นี่ มาทำอะไร ก็มาประชุมกัน มาอยู่กัน มารวมกันที่นี่ มาอยู่กันที่นี่ ก็เลยถือว่า มองกันว่า ฤาษีเหาะกันมา และก็มาหาตุ๊บกันที่นี่ และฤาษีตกลงมา ก็เป็นที่ขึ้นที่ลงของฤาษีเหาะกันไปเหาะกันมานี่ต่าง ๆ ก็เลยตั้งชื่อที่นี่ว่าเป็น ป่าอิสิปัตตานะ และก็มีคำว่า มฤคทายวัน ก็คือเป็นป่าที่พระราชทานอาหารให้แก่ เนื้อ เนื้อในพวกนี้ก็เช่นพวกกวางอะไรต่าง ๆ ก็เริ่มตั้งแต่ ก่อนที่จะเริ่มอาหาร ก็จะเป็นที่พระราชอภัยให้ ซึ่งก็มีเรื่องราวเล่าต่อกันมา ในชาดก ว่าเป็นที่ที่ พระเจ้าบดินทร์ได้รับความสัมพันธ์ ที่ดีจาก พวกเนื้อพวกกวางที่ได้ถวายในรถยนต์ที่ได้เดินทางมาแล้ว อัตมาก็ไม่อยากจะเล่าอีก ก็รวมความก็คือว่า ได้มีเรื่องราวที่พระเจ้าแผ่นดินได้ไปล่าสัตว์ ล่าเนื้อ แล้วก็พวกเนื้อก็เลยเห็นพระเจ้าแผ่นดินล่าเนื้ออย่างนั้นทุกวันก็สักวันก็จะหมด ก็เลยใช้วิธีก็เลยมาตกลงกับพระราชา ผลัดเวรกันให้จัดกันไปวันละตัววันละตัว และก็มีเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ที่ช่วยแม่เนื้อลูกอ่อน จะต้องเข้าเวรก็เลยต้องเอาตัวเองเข้าไปรับก่อน ก็เลยเอาตัวเองเข้าไปแทนว่าขอให้ฆ่าตัวเองซะก่อน และสละชีวิตเพื่อจะสงวนชีวิต ของแม่เนื้อแม่ลูกอ่อนนั้นไว้ อันนี้ก็เป็นการแสดงน้ำใจของพระโพธิสัตว์ที่มีเมตตากรุณาอย่างสูงที่กรุณาเสียสละชีวิตแม้แต่ของตนเอง ซึ่งเรื่องราวก็ทราบถึงพระราชา ก็เป็นเหตุให้พระราชาทรงพระราชทานอภัยแก่พวกเนื้อพวกกวางทั้งหมดเลย จากการเสียสละของพระโพธิสัตว์นั้น แล้วก็กลายเป็นที่พระราชทานอาหารให้แก่เนื้อไป นี่ก็เป็นเรื่องราวความเป็นมาซึ่งเป็นการเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องประวัติ ของสถานที่ พอให้ทราบเค้าความเท่านั้น ก็ไม่ใช่เรื่อง สำคัญที่เป็นสาระ แต่ก็ควรทราบไว้เป็นความรู้ถ้าเผื่อมีใครถามก็จะได้ตอบได้ แล้วทีนี้ควรจะทราบเรื่องกว้างออกไป ก็คือการที่ว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน วันนี้ เขาอยู่ในแขวงเมืองพาราณสี เมื่องพาราณสีก็เป็นเมืองใหญ่ มีในสมัยพุทธกาล อย่างที่ท่านมหาสุทินได้เล่า ให้โยมฟังแล้ว ว่า คำว่าพาราณสีนั้น ตั้งชื่อขึ้นมา ตามชื่อของแม่น้ำ 2 สาย ที่อยู่ในเขตของเมืองนี้ คือแม่น้ำพาราณา หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพาฤานา แต่ว่าเอกสารต่าง ๆ อาจจะเพี้ยนกันไปบ้าง บางแห่งก็ว่าพะระณา และก็บวกกับอีกแม่น้ำหนึ่ง ชื่อว่า อะสี บวกกัน 2 ชื่อ ก็เป็น พาราณะสี ซึ่งเมืองพาราณะสีนั้น ก็เป็นเมืองใหญ่ในสมัยพุทธกาล แต่ว่าไม่ใช่เป็นเมืองใหญ่โตเหมือนอย่างพวกราชคฤคแล้วก็เมืองสาวัคถี อย่างที่พวกเราจะไป เหตุที่เป็นอย่างงั้นก็เพราะว่า ในสมัยพุทธกาล เมืองพาราณสี ได้เสื่อมอำนาจลง เมื่อก่อนนี้เมืองพาราณสี ก็เป็นเมืองหลวงของแคว้นใหญ่ ชื่อว่าแคว้นกาสี แคว้นกาสีเคยเป็นเมืองที่รุ่งเรืองมาสมัยก่อนพุทธกาล มีพระเจ้าแผ่นดินปกครอง มักจะเรียกว่าพระเจ้าพรหมทัศน์ มีเรื่องรวาในชาดกมาก ชาดกมากมายเกิดขึ้นที่เมืองพาราณสี เป็นเรื่องของพระเจ้าพรหมทัศน์ พระเจ้าพรหมทัศน์ ก็เป็นชื่อ ชื่อที่คล้าย ๆ กับเป็นตำแหน่ง คงจะเรียกชื่อตามราชวงค์ หมายความว่า กษัตริย์องค์ใดก็ตามถ้าราชวงค์นี้ขึ้นครองราชก็เรียกชื่อตามเป็นพระเจ้าพรหมทัศน์หมด ไม่ใช่เป็นชื่อเฉพาะพระองค์ สมัยก่อนนั้นพระเจ้าพรหมทัศน์ครองเมืองพาราณสีของแคว้นกาสี ก็เป็นแคว้นที่เป็นเอกราช แต่แคว้นกาสีนี้ขับเคี่ยวทำสงครามแย่งอำนาจกับแคว้นโกศลตลอดมาเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งมาก่อนพุทธกาล แคว้นกาสีก็ได้เสียอำนาจให้กับแคว้นโกศล เพราะฉะนั้นเมืองพาราณสีก็เลยเป็น เมืองที่ไม่ใช่เป็นเมืองหลวงใหญ่ ฉะนั้นในสมัยพุทธกาล เพราะขึ้นต่อแคว้นโกศลนั่นเอง และเมืองพาราณาสีนี้ ก็เรียกชื่อได้สองสามอย่าง บางทีก็เรียกว่า กาสีนคร บางทีก็เรียกว่า กาสีปุระ กาสีบุรี เรื่องราวนี้เกี่ยวกับสถานที่ เพื่อให้ทราบความเป็นไปทั้งการบ้านการเมืองด้วย โยมจะได้มองสภาพแวดล้อมออก สำหรับเมืองพาราณสีนั้น แม้ว่าจะหมดสภาพความเป็นเมืองหลวง ของแคว้นใหญ่ไปแล้ว แต่เพราะว่าเป็นศูนย์กลางของศาสนาพรหมณ์ เพราะยังมีความสำคัญ เพราะเมืองพาราณาสีนี้ เป็นเมืองที่แปลก คือว่า มีชื่อที่มั่นคง ปัจจุบันนี้ก็ยังคงเรียกเมืองพาราณาสี เมืองอื่น ๆ นั้น แม้แต่ชื่อก็ไม่เหลือ เป็นแคว้นใหญ่ เป็นเมืองใหญ่ก็จริง อย่างเมืองราชคฤค ก็หมดชื่อไปแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ก็เหลือแต่ชื่อที่ เขาเรียกตามโบราณคดี ที่เรียกราชฤค ราชเคหะ อะไรพวกนี้ เรียกไปตามโบราณคดี แต่ชื่อปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว สาวัคถี นี่ก็เรียกชื่อตามกำหนดของประวัติศาสตร์ ทางโบราณคดี ปัจจุบันก็เป็นสะเหตุ มะเหตุ อะไรพวกนี้ อย่างนี้เป็นต้น พาราณาสีจึงเป็นเมืองพิเศษ ที่ว่า ตั้งแต่หลายพันปีมาแล้ว มีชื่ออย่างไรก็คงอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา ที่เรียกว่าปฐมเทศนา ที่เมืองนี้ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันวันนี้ แต่ว่า หลังจากนั้นแล้วพระองค์ก็ไม่ได้ทรงเสด็จมาบ่อย
การแสดงธรรมที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ยุติลงแต่เพียงแค่นี้ เพราะได้มีเหตุการณ์ธรรมชาติ คือฝนตกลงมาอย่างหนัก