แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ตัวท่านเองมีอะไรจะถามหรือเปล่า มีไหมครับ ถ้าไม่มีก็จะคุยกันเรื่องพื้น ๆ ก็มีอยู่เรื่องหนึ่งก็เกี่ยวกับสังคมปัจจุบัน คนไทยเรานี่ก็เชื่อถือในเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์มากแพร่หลายเหลือเกินในสังคมนี้ ในฐานะที่เป็นพระนี่ ก็เกี่ยวข้องทั้งในแง่หลักพระศาสนาว่าตามแง่หลักธรรมนี่ ท่านว่าอย่างไร แล้วในแง่อีกด้านหนึ่ง เราอยู่ในสังคมไทยเราควรจะวางตัวอย่างไร นั้นเป็นสิ่งที่เราต้องเกี่ยวข้อง จะโดยตัวเองบ้าง หรือโดยผู้อื่นบ้าง ยิ่งในสังคมที่เขาประพฤติปฏิบัติกันมาก เราก็ต้องวางตัวให้ดี ก็หมดแหละ คือ เรื่องเกี่ยวกับศาสตร์ลึกลับความเชื่อในสิ่งเร้นลับทั้งหลาย ก็เรื่องไสยศาสตร์ผีสางเทวดา อันนี้อยากถามท่านก่อนว่ามีความรู้สึก มีความคิดเห็น และความเข้าใจอย่างไร เช่นว่า เชื่อหรือไม่เชื่อ หรืออะไรอย่างนี้ อ้าวท่านปิตะมโนว่าอย่างไง
ท่านปิตะมโน ถ้าพูดถึงพวกผีปีศาจก็กลัวครับ แต่ไม่เคยเห็นครับ
พระถาม แล้วมีท่าที 1 เชื่อหรือไม่เชื่อ 2 ตัวเองคิดว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรต่อสิ่งนั้น
ท่านปิตะมโน เชื่อ เชื่อว่ามีครับ ท่านอาจารย์
พระถาม แล้วก็จะเอายังไง ว่าเชื่อมันมี แล้วจะเอาไงกับมัน
ท่านปิตะมโน ก็หลีกเลี่ยงครับ
พระถาม หลีกเลี่ยงก็หลบหนีไป เอ้อเอ้า ไม่มีอะไรอื่นหรือ แต่มีนึกออกก็ว่าทีหลัง เอ้าท่านสุทิกาโร
ท่านสุทิกาโร ก็เชื่อว่ามีจริง แต่ว่าไม่มีทางที่ควรจะเข้าไปยุ่งด้วย เพราะว่าไม่ได้เป็นหลักพัฒนาตนตามหลักเรื่องศาสนา คือความเข้าใจนี้เริ่มเข้ามาหลังจากเข้ามาศึกษา เคยอ่านเกี่ยวกับพวกผีสางเทวดา
พระถาม อ่านแล้วเหรือ
ท่านสุทิกาโร อ่านแล้วครับ พระถาม อ่านในอะไรครับ
ท่านสุทกาโร อ่านในพุทธธรรม พระถาม อ้อ ท่าในพุทธธรรมเหรอ ในเล่มใหญ่เลย
ท่านสุทกาโร ก็คือไม่ไป เข้าเรียกไม่ไหศิโรราบ แต่ไม่ได้ไปดูถูก ไม่ไปกราบไหว้วิงวอนไม่ได้คอยดูเหมือนคนไม่รู้จักกันดีกว่า ต่างคนต่างอยู่
พระตอบ เหมือนอยู่กับเสือน่ะ เสือก็อยู่ในป่า เราก็อยู่ในบ้านของเรา อ้าวนิมนต์
พระนวกะ ก็เชื่อตามที่เขาเล่ามาลือกันมาใจนึงนะครับ แต่อีกใจหนึ่งตัวเองไม่เคยประสบกับตัวเองก็ยังไม่เชื่อครับ ก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง
พระถาม อันนี้รวมทั้งหมด ทั้งเรื่องผีสางเทวดา ไสยศาสตร์อะไรพวกนี้
พระนวกะ รวมทั้งหมดครับ เพราะว่าจะบอกว่าอย่างไสยศาสตร์ นี้มันก็เหมือนกับว่า ยังไม่มีอะไรพิสูจน์ว่าเกิดขึ้นได้จริงครับ บางทีอาจจะเป็นเหตุและผล เพราะบังเอิญทำให้เหตุนั้นเป็นอย่างนี้ แต่ว่าที่บอกว่าบันดาลนี้ให้ทั้งหมดนี้คงจะไม่เชื่อเท่าไหร่ครับ
พระตอบ ก็ยังเผื่อใจไว้บ้าง
พระนวกะ เผื่อใจไว้ว่าเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง อ้าวท่านทะนากาโรบ้าง
ท่านทะนากาโร ก็ในความเห็นในเรื่องของไสยศาสตร์หรือสิ่งลี้ลับนี่ ในความเห็นของตัวผมเองคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ตอบได้ยากว่ามีจริงหรือไม่ แต่เท่าที่เคยฟัง เคยพบประพฤติปฏิบัติกันมา หรือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ครั้งที่เคยผ่านมานี่ มันทำให้เราจริง ๆ ผมไม่เคยเชื่อ แต่ว่าจะชักจะมีส่วนหนึ่งที่มันจะทำให้ไม่หลบหลู่ คล้อย ๆ ตามไป แต่ไม่เคยไปลบหลู่ในสิ่งศักดิ์ตรงนั้น หรือว่าสิ่งลี้ลับตรงนั้น เพราะเรา แต่ก็ไม่เคยประสบด้วยตัวเอง ที่ว่าไม่เชื่อแต่ไม่เคยไปลบหลู่
พระตอบ ไม่เชื่อแต่ไม่ลบหลู่ เดี๋ยวนี้เขาใช้สำนวนนี้เยอะ ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ อ้าวรองฟังท่านธรรมนูญ
ท่านธรรมนูญ เรื่องลึกลับหรือเรื่องพลังนี่น่ะครับ ในส่วนตัวแล้วนี่ เชื่อครับ แล้วก็ตั้งแต่เด็ก ๆ ก็คืออยากมีพลังแบบนั้นบ้าง แต่ตอนโตขึ้นก็ค่อย ๆ คลายไปแต่ว่า คือว่าอยากพบผู้ที่มีพลังเหมือนกับว่า เอออาจเป็นจุดที่จะนำศรัทธาให้เราครับ อันนี้ความเชื่อสมัยก่อนน่ะครับ แล้วก็ยิ่งสำหรับเรื่องโหราศาสตร์นี่ แต่ก่อนก็เชื่อบ้างในบางกรณี แต่พอบางทีเจอกับตัวเอง ก็รู้สึกว่าเชื่อเหมือนกันครับ แล้วก็ก่อนที่จะเข้ามาบวชนี่ก็รู้สึกว่า เอ้ อธิบายไม่ได้หรือบางสิ่งบางอย่างนี่ มันได้โดนกำหนดไว้แล้วหรือเปล่า ทำไมถึงตรงอย่างนั้น ก็เลยอยากรู้ความสัมพันธ์กับปฏิจจสมุปบาทด้วยซ้ำ จะช่วยอธิบาย หรืออธิบายตรงนี้ได้อย่างไรน่ะครับ ตอนนี้ก็รู้สึกความเข้าใจอะไรมันก็มีมากขึ้น ไปศึกษาหนังสือพุทธธรรม แล้วก็ได้ฟังเทป
พระตอบ อ้าวฟังความเห็นของท่านแล้ว
ตอนแรกนี้อยากจะให้แยกกันให้ชัดก่อน คือ เรามักจะพูดปน ๆ กันไป ด้านหนึ่งคือมันจริงหรือไม่ ท่านสุทิกาโรคงอ่านเรื่องนี้แล้วใช่ไหมครับ จริงหรือไม่ มันก็โยงมาถึงเรื่องเชื่อหรือไม่ โดยมากคนจะเชื่อไม่เชื่อก็มองไปในแง่เอ้ มันจะจริงไหมน้อ อะไรมีหรือเปล่า ในแง่จริงหรือไม่ เชื่อหรือไม่นี้ด้านหนึ่ง แล้วอีกด้านหนึ่งก็คือว่า ควรจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร นี่คนมักจะไม่แยก แล้วก็ไม่จมอยู่แค่เชื่อไม่เชื่อ แล้วก็อยู่แค่นั้น ในทางพุทธศาสนาเนี่ย ท่านชัด เชื่อไม่เชื่อท่านก็ไม่ห้าม แต่ว่าการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้น ถ้าเป็นชาวพุทธมีหลักที่แน่นอน ทำไมจึงเชื่อหรือไม่เชื่อ ท่านก็ไม่ห้าม เพราะว่าเป็นเรื่องที่มนุษย์ปุถุชนเรายังไม่รู้ใช่ไหม แล้วจะมาห้ามยังไงมันอยู่ที่ใจของเรา ห้ามก็ต้องบังคับซิใช่ไหม นั้นก็ไม่เป็นผลจริง อันนี้จะเข้าใจแท้จริงต้องรู้แล้วเมื่อไหร่จะรู้ละ รอให้รู้ก็ ก็อ้าวถ้าเป็นจริงฉันจะปฏิบัติอย่างนี้แหละเมื่อไหร่จะรู้ แล้วก็เลยยังไม่ต้องปฏิบัติใช่ไหม นั้นท่านก็แยกกันได้เลย เรื่องมีจริงหรือไม่ เชื่อหรือไม่เชื่อ อันนี้เป็นด้านหนึ่งน่ะ อยากจะพิสูจน์ว่าจริง พิสูจน์ไปก็ไม่ว่า แต่ว่ามีหลักปฏิบัติที่ชัดเจน ว่าจะเอาไงกับสิ่งเหล่านี้ คือพุทธศาสนาจะเน้นแง่ที่ 2 เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรามนุษย์ปุถุชนไม่สามารถพิสูจน์ได้ แล้วจะรอก็ไม่ได้ แล้วถ้าพูดในแง่สังคมเนี่ยมันยุติไม่ได้ใช่ไหมโดยส่วนรวม จะว่ากันให้เด็ดขาดลงไปนี่มันไม่ลงตัว เถียงกัน เคยพูดว่าเถียงกันห้าพันปีก็ไม่จบ แล้วก็เถียงกันเลยมาห้าพันปีแล้ว เถียงมานี่ ก็ยุติไม่ได้ ฝ่ายหนึ่งก็ว่ามีจริง ฝ่ายหนึ่งไม่มีจริง อยู่อย่างนี้แล้วถ้าจะรอว่าต้องให้รู้ว่ามีจริงหรือไม่มีแล้วจึงปฏิบัติได้อย่างนี้ก็ไม่ต้อง ตายอีกกี่ชาติก็ไม่ได้ปฏิบัติ นั้นทางพุทธศาสนา ท่านแยกไว้ได้ชัดเลย ว่าด้านมีจริงหรือไม่ เชื่อหรือไม่ก็เป็นด้านหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะมีจริงหรือไม่นี่ปฏิบัติได้เลย คือ หลักพุทธศาสนานี่ท่านบอกไว้แล้วว่า สิ่งทั้งหลายเนี่ย มันเป็นเรื่องของความเป็นจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติใช่ไหม ทีนี้อยู่ที่ว่าเราจะรู้อย่างไร อันนี้หน้าที่ของเราด้านหนึ่งก็คือ การที่จะต้องฝึกตัวเอง เพื่อจะรู้แต่ว่าไม่จำเป็นจะต้องรู้เฉพาะเรื่องนี้เลย แต่ว่าเราต้องทำให้มีปัญญารู้เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย เราถึงจะอยู่ที่ได้ นี้ด้านหนึ่ง แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือมันก็มาสัมพันธ์กับการที่จะมีชีวิตอยู่ดีนี่คนเราจะต้องฝึกตัวเองอย่างที่เคยพูดแล้ว กายวาจาจิตใจปัญญานั้นต้องฝึกให้ดีขึ้น แล้วชีวิตของเราก็ไม่ได้อยู่นานนักหนา มีอะไรที่ควรทำต้องรีบทำ พัฒนาตัวเองขึ้นไป ทำชีวิตให้ดีขึ้น แล้วก็พยายามทำอะไรต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยการกระทำของตัวเอง ที่มันมองเห็นได้ชัดว่า เราทำด้วยเรี่ยวแรงของเราแล้วก็มันมีทางสำเร็จ จะไปรอไปหวังพึ่งสิ่งภายนอกอยู่นี่มันไม่มีความแน่นอน นั้นก็ให้ถามตัวเองว่า ถ้าเราไปเชื่อแล้วเราก็คอยหวังพึ่งมัน เช่นว่าจะให้สิ่งเหล่านั้นบันดาลผลให้คือความเชื่อสิ่งเหล่านี้ เช่น ผีสงเทวดา โดยเฉพาะเทวดาเทพเจ้า อันหนึ่งก็คือ เรื่องจะให้ท่านบันดาลอะไรให้ใช่ไหม มันก็โยงไปหาการเซ่นสรวงอ้อนวอน อย่างพวกอินเดียโบราณก่อนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประสูติ ก็คือเรื่องการบูชายัญ ก็นี่ก็เป็นเรื่องหลักเลยที่มีในสังคมอินเดีย สังคมอื่นก็เหมือนกันถ้าไม่มีวิธีปฏิบัติอย่างแนวพุทธศาสนามา คนก็จะมาลุ่มหลงอยู่ต่อสิ่งเหล่านี้ ก็หวังพึ่งให้สิ่งเหล่านี้ดลบันดาลก็รอไปสิ ก็ถามตัวเองว่าในการที่เราไปรอให้สิ่งเหล่านั้นบันดาลเชื่อว่าท่านมีฤทธิ์มีเดชอาจจะมีจริงก็ได้ แต่ว่ามันอยู่ที่ใจของท่านนี่ แล้วท่านจะโปรดหรือไม่ใช่ไหม มันไม่ขึ้นต่อเรา เช่น อย่างเทพเจ้าท่านจะบันดาลผลอะไรช่วยเราเนี่ย มันแล้วแต่ท่านนี่ต้องให้ท่านโปรดท่านชอบใจ แล้วเราจะไปรู้ใจท่านได้อย่างไรจะโปรดหรือไม่โปรด เราก็แย่ได้ ก็ได้แต่รอใช่ไหม ไม่เป็นตัวของตัวเอง นี้ในระหว่างที่รอ ก็นี่ เราตกอยู่ในความประมาทไหม ปล่อยเวลาให้สูญเสียไปเปล่า สิ่งที่ควรทำก็ไม่ได้ทำใช่ไหม ก็หลักพุทธศาสนาจึงสอนว่าให้ทำการด้วยความเพียรพยายาม เมื่อเราเห็นว่าเราจะทำอะไรได้ จุดมุ่งหมายเรามีอะไร อะไรเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดผลนั้นก็ทำซะ อย่ามัวรอนะ ถ้าไปมัวรออยู่ ก็ตกในความประมาท เวลามันก็ผ่านไปก็เสียไปเปล่า นี่ก็ 1 แล้ว ก็ถามว่า 1 เราประมาทไหม
2 เราได้ใช้ความสามารถของเราให้เป็นประโยชน์คือ ทำการด้วยความเพียรพยายามหรือเปล่า
ถ้าเรารอมันก็เสียทั้ง 2 อย่างใช่ไหม ทั้งประมาทแล้วก็ทั้งไม่ใช้ความสามารถของตัวเอง แล้วก็ชีวิตมนุษย์เราจะดีเราก็ต้องฝึกฝนตัวเองอย่างที่ว่า เราก็มัวรอ เราก็ไม่ได้ฝึกฝนพัฒนาตัวเอง ถ้าเราทำเราฝึกตัวเอง เราก็มีความสามารถมากขึ้น แล้วอีกอย่างก็คือเราก็เอาไอ้ชีวิตของเราความสุขความหวังไปฝากไว้กับสิ่งภายนอกนั้น ซึ่งไม่รู้จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จไม่ขึ้นต่อเรา เราก็หมดอิสรภาพใช่ไหมพึ่งตัวเองไม่ได้ พระพุทธศาสนาสอนให้เราพึ่งตัวเองได้ พยายามทำให้ได้ด้วยตนเอง ถ้าหากว่าจะเชื่อเรื่องฤทธิ์ปาฏิหารย์ ท่านจะเน้นว่าเอาถ้าคุณอยากจะเชื่อเรื่องฤทธิ์ปาฏิหาริย์ คุณก็พัฒนาทำฤทธิ์เองได้ คุณทำเสียเองไม่ดีกว่าจะไปมัวหวังให้ท่านช่วย ไปหวังจากผู้มีฤทธิ์ทำไมละ เอาเองสิ เธอก็มีความสามารถ พวกนั้นฝึกขึ้นมาไม่ใช่เขาจะได้มาเลยใช่ไหม จริงอยู่อาจจะมีความโน้มเอียงโดยสภาพจิตใจเป็นต้นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เรื่องเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ฝึกได้ ถ้าท่านอยากมีฤทธิ์มีปาฏิหารย์ท่านก็ฝึกเอาเองดีกว่าให้มีเป็นเสียเอง แต่ว่าในที่สุดแล้ว ท่านก็สอนอีกชั้นว่า ถึงคุณจะมีฤทธิ์ไปคุณก็ไม่หมดทุกข์ไม่หมดจากกิเลส นั้นสิ่งที่สำคัญเหนือกว่านั้นก็คือการหมดทุกข์หมดกิเลส นั้นไอ้เรื่องฤทธิ์เป็นรองไปเลย แล้วตกลงว่าพุทธศาสนาเนี่ย ท่านไม่ให้มัวหวังพึ่งสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง ข้อสำคัญ อย่าว่าแต่จะไปหวังพึ่งฤทธิ์ปาฏิหาริย์เทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลเลย ก็เราอยู่ร่วมกันในโลก แม้แต่พ่อแม่ของเรา พอเรามีกำลังโตขึ้นมานี่ เราก็ไม่ควรจะมัวไปรอให้ท่านทำให้ใช่ไหม เอ้อคนเขามีฤทธิ์มีอำนาจไม่ต้องเป็นเทวดาหรอก มันต้องสิ่งลึกลับหรอกเห็น ๆ กันอยู่นี่เยอะแยะไป มีเงินเยอะๆ มีอำนาจเยอะ ๆ ใช่ไหม แล้วไปมัวรอขอให้เขาทำเหรอใช่ไหม เราก็ควรพยายามทำด้วยตนเอง อันนี้ไม่ต้องไปพูดสิ่งลึกลับหรอก แม้แต่สิ่งปรากฏอยู่ก็เหมือนกัน แล้วเรื่องอะไรจะไปมัวรอสิ่งที่มองไม่เห็น แม้แต่สิ่งที่มองเห็น แม้แต่คนใกล้ชิดที่สุดพ่อแม่ เมื่อเรามีกำลังพอจะพึ่งตัวเองได้แล้ว เราก็ควรพยายามทำด้วยตนเองไม่ใช่มัวไปขอหวังพึ่งอยู่อย่างนี้ ถ้าไปหวังพึ่งอย่างไงตัวเองไม่พัฒนา ก็เป็นเด็กอ่อน ๆ อยู่ตลอดชาติ
นั้นหลักพุทธศาสนาท่านจึงชัดในเรื่องวิธีปฏิบัติว่า คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อว่า มีจริงหรือไม่จริงก็แล้วแต่ ถึงมีจริงก็เถอะ ถึงมีจริงท่านก็บอกอย่าไปหวังพึ่ง แม้แต่ปาฏิหารย์มีจริง เทพเจ้าบันดาลให้เราจริง ท่านก็ไม่ให้หวังพึ่งเทพเจ้า นี่ในกรณีที่จริงเลยนะ ท่านยังไม่ให้หวังพึ่งเลย งั้นไม่ต้องไปพูดถึงไม่ต้องเสียเวลาเถี่ยงหรอกว่าจริงหรือไม่จริง เพราะชัดอยู่แล้ว ถ้าบอกถึงจริงก็ไม่ไปหวังพึ่งใช่ไหม มันก็จบ
นี้หลักพุทธศาสนาเนี่ย ก็เราบอกแล้วว่าพุทธศาสนาถือธรรมเป็นใหญ่ ก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นคือประสูติในอินเดียนี่ สภาพนี้มันรุนแรงมาก ก็อาจจะคล้าย ๆ กับเมืองไทยปัจจุบัน คือว่าคนไปหวังพึ่งแต่เทวดา เทวดาเต็มฟ้า แต่หน้าคนแห้งหมด เพราะว่ามัวไปหวังพึ่งเทวดา ก็คนอินเดียนี่ แกก็เชื่อเทวดาเยอะแยะ เทวดาที่ไหนจะมากเท่าอินเดียเห็นจะหายาก นี้ก็มีเทวดาระดับต่าง ๆ จนกระทั่งเทวดาสูงสุด สมัยก่อนนี้ก็มีพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก เป็นผู้สร้างมนุษย์ เป็นผู้สร้างให้มนุษย์เกิดมาเป็นวรรณะต่าง ๆ กำหนดมาเสร็จตั้งแต่เกิด แล้วก็เกิดในวรรณะไหนก็เปลี่ยนไม่ได้ด้วยใช่ไหม จนกระทั่งตาย ถ้าขืนไปแต่งงานข้ามวรรณะเอ้ายิ่งหนักเข้าไปอีกเป็นจันทานไปเลยเนี่ย นี่แหละพวกคนอินเดียนี้แกก็เชื่อหวังให้พวกเทพเจ้าตั้งแต่พระพรหมนี่ดลบันดาลให้ เมื่อเชื่ออำนาจเขาบันดาลตัวไม่รู้ว่า ท่านจะโปรดยังไงใช่ไหมไม่รู้ใจท่านนี่ ก็ต้องเอาอกเอาใจก็ต้องพยายามก็เซ่นสรวงอ้อนวอนก็กลายเป็นบูชายัญ เพราะว่าความที่คิดจะเอาใจท่าน 1 ก็จะให้พันภัย 2 ก็จะให้ได้สิ่งที่ปรารถนา มันก็มี 2 อย่าง ที่คนที่จะไปขอให้ผลดลบันดาล 1 ช่วยให้พ้นภัย 2 ขอให้ได้สิ่งที่ปรารถนา นี่ก็เอาละสิหาทางให้ท่านโปรดก็จัดเตรียมของเซ่นไหว้บูชายัญ ไปบูชายัญเสร็จแล้วไม่ค่อยได้ผล หรือไม่ได้ผล ก็แทนที่จะโทษท่านก็โทษตัวเอง เราคงจะให้น้อยไปท่านไม่โปรด มาจัดเตรียมใหม่ ทีนี้ก็เป็นโอกาสแก่พวกพราหมณ์ พราหมณ์เป็นเจ้าพิธีนี่ก็บอกซิ เทพเจ้าท่านชอบอย่างนั้น อย่างนั้น ต้องจัดอย่างนั้น เทพองค์นั้นเก่งทางนั้น เทพองค์นี่เก่งทางนี้ เทพที่เก่งทางนี้ชอบเครื่องเซ่นแบบนี้ เทพองค์องค์นั้นชอบเครื่องเซ่นแบบนี้ใช่ไหม เอ้อแกจัดไม่เก่ง มาฉันจัดให้เลยว่าอย่างนั้น เอาตังค์มาว่าอย่างงั้นน่ะ พราหมณ์ก็จัดให้เสร็จ พราหมณ์ก็เป็นผู้ทำพิธีให้ เป็นผู้บอกกำหนดต่าง ๆ ทำพิธีกันอย่างนี้เซ่นสรวงอ้อนวอนไป มันก็จะเอาใจกัน คราวนี้ได้มาบ้าง เออ แสดงว่าท่านเริ่มโปรดแล้ว แหมนี่ถ้าเราถวายท่านมากกว่านี้ ท่านคงช่วยเรากว่านี้ ต่อไปเคยให้ไก่ตัวหนึ่ง เอนี่ให้มันให้มาก ๆ หน่อย 10 ตัว ต่อมาก็ 500 ตัว ต่อมาปรากฏว่า พิธีใหญ่ ๆ ต้องวัว 500 แพะ 500 แกะ 500 นี้เป็นประจำเลย ต่อมาก็โอ้บูชายัญใหญ่ ๆ มันต้องคนด้วยนะ เอาคนมาบูชายัญ อย่างเจ้าแม่กาลีนี้ชอบเลือดหญิงสาวพรมจารี ก็เอาหญิงสาวพรมจารีมาตัดคอเลยถวายพระนางเจ้าแม่กาลี ท่านจะพูดอะไรท่านสุทกาโล
ท่านสุทกาโล อย่างคนจีนน่ะครับ สมมุติเขาก็ไหว้ เขาขอด้วย แต่ว่าตัวเขาก็ขยันแล้วก็ทำด้วย ก็อย่างนี้สมมุติว่า ถ้าขอแล้วได้แล้วก็ขยันทำด้วย อย่างนี้จะได้ 2 ต่อไหมครับ
พระตอบ ไม่ใช่สองต่อหรอก แต่มันดีกว่า ดีกว่าคนที่ขอแล้วรออย่างเดียว อันนี้ก็จะพูดเหมือนกัน เป็นแง่ที่น่าสังเกตว่าคนไทยกับคนจีนต่างกันด้วยในเรื่องการปฏิบัติต่อเรื่องการเซ่นสรวงอ้อนวอน อันนี้หันมาเมื่อกี้อีกนิดหนึ่งเรื่องอินเดียเสียก่อน เมื่อกี้กำลังพูดเรื่องอินเดีย นี้การบูชายัญก็แพร่หลายเป็นหลักของสังคมอินเดียเลย
พุทธเจ้าประสูติท่ามกลางสภาพอย่างนี้ พระองค์ก็จึงได้มาสอนหลักใหม่ เช่นว่าไม่เชื่อเทพเจ้าบันดาลสร้างโลกสร้างสังคมมนุษย์กำหนดวรรณะอะไรนะ มนุษย์จะดีหรือชั่วอยู่ที่การกระทำของตัวเองไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แล้วก็ให้ถือธรรมสูงสุดไม่ให้ถือเทพสูงสุด แต่ไม่ได้ไปรังเกลียดเหยียดหยามนี่แหละ ของพระพุทธศาสนาไม่ได้ลบหลู่ แต่ว่าจะไปบอกว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่ อันนี้คำนี้มันคลุมเคลือ อย่าไปใช้ดีกว่า เพราะว่าเชื่อไม่เชื่อฉันต้องศึกษาว่าอย่างนั้นน่ะ มันต้องพูดอย่างนั้นน่ะ ฉันก็ไม่ได้ลบหลู่ คำว่าลบหลู่ไม่จำเป็น แต่ฉันไม่ลบหลู่อยู่แล้ว แต่เชื่อไม่เชื่อฉันต้องศึกษา อันนี้หลักของเรา หรือว่าเชื่อไม่เชื่อ ฉันก็ต้องทำความเพียรของฉันใช่ไหม อันนี้จึงจะถูกต้อง นี้ก็เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ พระองค์ก็ชี้บอกประชาชนอย่างที่ว่า บอกว่าเทวดาทั้งหลายนี่ ก็เกิดแก่เจ็บตายเวียนว่ายตายเกิดเป็นพระพรหมเดี๋ยวก็ลงมา ไอ้ความชั่วในจิตใจที่ลึก ๆ มันยังมีก็ลงมาเกิดชั้นต่ำอีกนะ พวกเรานี่บำเพ็ญฌานได้สมาบัติ ทำกุศลทางจิตขั้นสูงก็ไปเกิดเป็นพระพรหมได้ เป็นเทวดาก็หมุนเวียนกันไป นั้นเราก็ให้เกียรติพระพรหมนี้ก็แสดงว่าท่านทำกุศลกรรมเรียกว่า มหาคะตะกุศล ก็ไปเกิดเป็นพรพรหมเราก็ให้เกียรติท่าน เทวดาก็เหมือนกัน เทวดาก็หมายความ โดยทั่วไปก็เป็นปุถุชน แต่ว่าได้ทำกรรมดีบางอย่างก็ด้วยกรรมดีนั้นก็ไปเกิดเป็นเทวดา แต่ว่าไอ้ความชั่วก็ยังมี เพราะฉะนั้นก็ให้เกียรติกันโดยยนับถือ ส่วนเทวดาเองก็ให้เกียรติมนุษย์ เพราะว่าเทวดานั้นตามพระไตรปิฏก เทวดานี้เขาอยากมาเกิดเป็นมนุษย์นะ คือพระพุทธเจ้าเคยตรัสเกี่ยวกับเทวดากับมนุษย์เป็นข้อดีข้อเสียต่างกัน เทวดามีข้อดีกว่ามนุษย์บางอย่าง มนุษย์ก็มีข้อดีกับเทวดาบางอย่าง ข้อดีกว่าเทวดานี้สำคัญก็เรื่องสติ มนุษย์มีสติดีกว่า คือเทวดานี่แกมีเรื่องกามสุขมากก็จะหลงเพลิดเพลินมัวเมาลืมสติ ส่วนมนุษย์เนี่ยเจอสุขเจอทุกข์อะไรต่าง ๆ ชีวิตผันผวนปรวนแปรมาก นั้นก็จะมีสติดีกว่า นี่พวกเทวดาเนี่ยเวลาจะจุติ จุตินี่หมายความว่าเคลื่อนตายไม่ใช่ไปเกิดน่ะ จุตินี่เรามาใช้ผิด ปฏิสนธิจึงเกิด จุติคือตาย เมื่อเทวดาจะจุติก็คือตายจากภพจากสวรรค์ พวกเทวดาก็จะอวยชัยให้พรให้แก่เทวดาด้วยกัน ขอให้ท่านไปเกิดเป็นมนุษย์ ว่าอย่างงั้น นี่คือความหวังของเทวดา เทวดาเขาอยากเกิดเป็นมนุษย์ เพราะว่าการเป็นเทวดานั้นมีความสุขด้วยกามสุขแต่ว่าเพลิดเพลินหลงระเริงมัวเมาง่าย ส่วนมนุษย์นะ เป็นภพที่มีสุขมีทุกข์ปะปนละคนกันไป แล้วก็มีความยืดหยุ่นแตกต่างกันมาก ชั่วมาก ดีมาก สูงสุดประเสริฐเป็นพระพุทธเจ้านี่อยู่ในโลกมนุษย์ทั้งนั้นใช่ไหม มนุษย์นี่ประเสริฐสุดเกิดเป็นพระพุทธเจ้านี่สูงกว่าพระพรหมอีกน่ะ แต่ที่แย่ ๆ กว่าสัตว์เดียรัจฉานอีกใช่ไหม มนุษย์เนี่ยมันสูงสุดต่ำสุดอยู่เนี่ย นั้นก็เป็นมนุษย์เนี่ยเป็นโอกาสในการที่จะฝึกตัวเอง นี่พุทธศาสนาถือหลักฝึกตนนี่ว่าเราจะดีจะประเสริฐมันอยู่ที่การฝึกฝนพัฒนาตนตัวเองการเป็นมนุษย์นี่คือโอกาสที่จะได้ฝึกฝนพัฒนาตนมากที่สุด นั้นการตรัสรู้ธรรมอะไรต่าง ๆ จะอยู่โลกมนุษย์นี้เป็นโอกาสมากที่สุด นั้นเทวดาจึงอวยพรแก่กันขอให้ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เพราะว่ามันมีโอกาสที่จะได้มาปฏิบัติธรรมได้ดีกว่า การปฏิบัติธรรมก็สำเร็จด้วยดีในโลกมนุษย์เนี่ย มาบวชมาถือพรหมจรรย์ก็อยู่ในโลกมนุษย์มนุษย์นี่ใช่ไหม เพราะฉะนั้นในโลกมนุษย์เป็นแดนที่มีโอกาสมาก แต่ว่าพร้อมกันนั้นก็ช่องที่จะหล่นก็มากด้วยก็เช่นเดียกัน ก็อยู่ที่ว่าตัวเองนี่จะต้องไม่ประมาทใช่ไหม นี้ในเมื่อเราก็เกิดเป็นมนุษย์แล้วเป็นโอกาสใช้เวลา 100 ปีโดยมากไม่เกิน 100 ปีนี่ ซึ่งมันไม่ยาว มัวไปลุ่มหลงอยู่กับเรื่องอะไรไปหวังผลดลบันดาลเสียเวลาไปไม่ได้ฝึกไม่ได้พัฒนาตัวเอง เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ให้มัวประมาท ไม่ให้มัวปล่อยเวลาให้สูญเสียไป อยากรู้ความจริงท่านไม่ได้ตรัส ไม่ได้ห้ามศึกษาไป ฉะนั้นเรื่องหลักการไม่ลบหลู่ลบเหล่อมันอยู่ในพุทธศาสนาอยู่แล้ว เพราะถือว่าเทวดามีคุณความดีบางอย่างจึงไปเกิดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีประเสริฐกว่ามนุษย์ เพราะมนุษย์ที่พัฒนาดีแล้ว แม้แต่มาบวชเป็นพระ เทวดาก็ต้องเคารพแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราก็ต้องรู้เข้าใจอันนี้ว่าพุทธศาสนาเนี่ยมองเรา มองโลก มองมนุษย์ มองเทวดา มองสรรพสัตว์อย่างนี้ แล้วก็ให้เราปฏิบัติให้ถูก นี้ถ้าเราเข้าใจหลักนี้แล้ว เราก็จะวางใจได้ดีขึ้น คือไม่มัวไปลุ่มหลงติดจม คอยหวังผลจากสิ่งเหล่านั้น ข้อสำคัญอยู่นี่ 1 หลักความไม่ประมาท ไม่ประมาทนี่เกี่ยวกับกาลเวลา เวลาอย่าให้เสียไปเปล่าไปมัวรออยู่ทำไม แล้วก็ 2 ก็คือทำการด้วยความเพียรพยายามของตัวเองใช้ความสามารถ 3 พร้อมกันนั้นก็จะได้ฝึกตนเมื่อเราทำการต่าง ๆ จะได้ฝึกตนเราจะเก่งขึ้น ทักษะกายวาจาของเราก็ดีขึ้น จิตใจเราก็เข้มแข็งขึ้น ปัญญาเราก็ดีขึ้นรู้เข้าใจแก้ปัญหาได้ทำการได้สำเร็จมากยิ่งขึ้น แล้วก็พึ่งตนเองได้ดีขึ้นเป็นอิสระไม่ต้องมัวไปฝากความหวังอะไรต่ออะไรไว้กับภายนอก ก็ทั้งหมดนี่มันจะพัฒนาไปด้วยกัน ยิ่งเรามีความสามารถทำได้ด้วยตนเองมันก็ยิ่งพึ่งตนเองได้ ก็ยิ่งเป็นอิสระมากขึ้น อันนี้คือแนวทางของพระพุทธศาสนา นี้เราอยู่ในสังคมแบบนี้เราต้องเกี่ยวข้องกับผู้คน พุทธศาสนาก็ 1 เราก็ไม่ให้ดูถูกอยู่แล้ว แต่ว่าคบกับเทวดาก็ในฐานะเพื่อนร่วมโลก ร่วมสังสารวัฏใช่ไหม แต่ไม่ไปหวังพึ่ง เพราะเทวดาเองก็หวังพึ่งเราด้วย แต่ว่าท่านไม่ให้มัวหวังพึ่งกัน ให้พึ่งกันในทางที่ถูกต้องคือว่า มาเกื้อกูลกันช่วยเกื้อหนุนกัน ใครมีความรู้ความสามารถอะไรก็มาแนะนำกัน แล้วก็อาศัยกันเพื่อจะได้ฝึกตัวเองให้ก้าวหน้าไป ทีนี้ในเมื่อเราอยู่ร่วมกันกับเพื่อนมนุษอื่น เขามีความเชื่ออะไรต่ออะไร เราก็ต้องเข้าใจเขา ท่านก็ให้มีเมตตา เพราะหลักพุทธศาสนาก็ถือหลักตามธรรมชาติบอกว่า ให้คนเราคุณสมบัติต่าง ๆ ในทางจิตใจความสามารถสติปัญญานี่มันบังคับยัดเยียดกันไม่ได้ ในเมื่อเราบังคับกันไม่ได้ยัดเยียดกันไม่ได้นี่ แต่เรามีความปรารถนาดีอยากให้เขาเจริญงอกงามขึ้นให้เขามีปัญญามากขึ้น เราจะทำไงเราก็ต้องใช้ความเมตตามีไมตรีช่วยเหลือเกื้อหนุนแนะนำเขาไป ก็ต้องพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถที่จะแนะนำให้ความรู้แก่เขาด้วย ท่านก็ไม่ให้ไปดูถูกดูหมิ่น ไม่ให้ไปเป็นศัตรูหรืออะไรทั้งนั้น แต่ว่าให้สงสารให้เมตตาช่วยเหลือเขา เพราะฉะนั้นเมื่อเราเห็นคนที่เขาเชื่อ เราก็ไม่ดูถูก เราก็มองเขาด้วยความเข้าใจแล้วมีโอกาสก็จะช่วยแนะนำแต่อย่าให้เขาจมอยู่ คือหลักพุทธศาสนาถือว่า คนเนี่ยหน้าที่ของมนุษย์ก็ควร ก็คือการที่จะต้องฝึกตัวเองให้ดียิ่งขึ้น แต่ว่าในขณะหนึ่งขณะหนึ่งเนี่ยมนุษย์พัฒนาไม่เท่ากัน มีสติปัญญาเป็นต้นไม่เท่ากัน เราก็ยอมรับกันแต่ขออย่างเดียวอย่าให้คุณหยุดอยู่กับที่ ขออันนี้ นั้นเรายอมรับเขาได้หมด คุณจะแย่คุณจะมีความงมงายอะไรต่ออะไร เขาตอนนี้ก็อยู่อย่างนั้นนี่ เขายังไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วจะทำอย่างไง ก็เขาก็เป็นอย่างนี้ ก็เรียกว่ามองตามเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยเขามาได้อย่างนี้ เราก็เข้าใจเขาเห็นใจ แต่ว่าอย่าปล่อยให้เขาอยู่กับที่ อันนี้ข้อสำคัญนะ คือว่าขอให้ทุกคนถ้าใช้หลักนี้แล้วก็ไปได้ เข้าใจกันยอมรับกัน แต่อย่ายอมให้อยู่กับที่ต้องให้ก้าวหน้า ถ้าใช้หลักนี้มันก็ไปได้ นี่ก็เราก็อยู่ร่วมกันได้ เข้าใจซึ่งกันและกัน แล้วก็จะไปติดไปหลงไปจม เมื่อเขาติดหลงเราเข้าใจเขา แต่เราก็ไม่พลอยไปติดจมด้วย ก็อยู่ไปได้ แล้วก็พยายามหาทางที่จะช่วยแก้ไขแนะนำไป แต่ว่าไอ้ตอนนี้เทคนิคนี้อาจจะต่างกันบ้าง บางท่านก็อาจจะใช้วิธีกระตุกแรงหน่อยให้สติแรง ๆ ด่าเลย อันนี้ก็หมายความว่าเป็นวิธีการเท่านั้น แต่ใจนั้นเมตตานะหวังดีอยากจะให้เขาพ้นจากไอ้สิ่งเหล่านี้ แต่ว่าวิธีปฏิบัติแต่ละคนไม่เหมือนกันใช่ไหม 1 วิธีปฏิบัติของตัวผู้แนะผู้อื่นนี่ ลักษณะคุณสมบัติความสามารถก็ไม่เหมือนกัน 2 คนที่รับคำแนะนำก็ต่าง ๆกันใช่ไหม การปฏิบัติก็จึงไม่เหมือนกันจึงยืดหยุ่นยักเยื้องไปได้มากมาย แต่เราต้องเข้าใจหลักการก็อยู่ที่ว่านี่ ยอมรับคนในสถานะที่เขาเป็นขณะนั้น แต่ไม่ให้หยุดอยู่กับที่ให้ก้าวหน้าต่อไป แล้วอย่างนี้ก็จะเป็นสังคมที่เจริญงอกงามได้คือรวมทั้งสังคม แล้วก็คนนี้กำลังพัฒนาตัวเองขึ้นไปแต่ว่าในเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น แต่ละคนนั้นอยู่ในระดับการพัฒนาที่ไม่เท่ากัน อันนี้เป็นความจริง ซึ่งพุทธศาสนาจะมองแบบนี้ จะมองแบบว่าสังคมมนุษย์นี่ประกอบด้วยคนที่ไม่เหมือนกันต้องยอมรับเขา แต่ว่าขอให้ฝึกพัฒนาขึ้นมา ทีนี้มาสู่ที่ท่านสุจมะโนว่า ก็เราหลัก ๆ ก็มีแล้วนี่ ถ้าการเชื่อการปฏิบัติในเรื่องนั้นไม่ทำให้เสียหลักที่ว่าไปแล้ว
1ไม่ทำให้ประมาท 2 ไม่ทำให้เสียความเพียรพยายามในการกระทำของตน
3ไม่ทำให้ขาดการฝึกฝนของตัวเอง 4 ไม่ทำให้มัวหวังพึ่งขึ้นต่อสิ่งภายนอก
การเชื่อการปฏิบัตินั้นยังพอรับได้ ก็นั้นอย่างที่ว่าคนจีน เขาจะไปเชื่ออันนั้นก็หมายความว่า ก็เป็นแบบว่ามีความเพียรพยายามทำอยู่ก็เชื่อการกระทำตัวเองแสดงว่าการเชื่อการกระทำของตัวเองยังมี นี่พอได้ส่วนหนึ่ง 2 ก็คือเขายังเป็นปุถุชนเขาไม่รู้ แล้วก็เขาหวังอะไรไปตามเรื่อง ก็เอาสิ่งเหล่านี้มาปลอบใจกำลังใจ ถ้าเอามาเป็นเพียงเครื่องช่วยกำลังใจปลอบใจ แต่ว่าตัวไม่เสียความเพียรไม่ ๆ ขาดการพึ่งตัวเอง ยังยอมรับได้ เพราะมันไม่เสียหลักธรรม แต่ถ้าไปเชื่อแล้วสยบปล่อยวางงอมืองอเท้ารอคอยผลให้ท่านบันดาลอย่างนี้ผิดเต็มที่เลย คือถือว่าผิดหลักกรรม หลังกรรมก็คือ การกระทำใช่ไหม ก็จุดที่ตัดสินก็คือว่าผิดหลักกรรมไหม ผิดหลักกรรมก็คือ ผิดหลักการกระทำ เชื่อแล้วทำให้ไม่กระทำ แสดงว่าผิดเด็ดขาด แต่ถ้าเชื่อแล้วยังกระทำการด้วยความเพียรของตนตนเองอยู่ หรือกลับทำให้มีกำลังใจทำยิ่งขึ้น อันนี้ยังพอรับได้ แต่ว่าก็ต้องเตือนเขาด้วยว่าแสดงว่าจิตใจยังไม่เข้มแข็งพอต้องยังอาศัยปัจจัยภายนอกช่วยใช่ไหม คือก็ยังพึ่งตัวเองไม่ได้จริง คนที่จะพัฒนาตัวเองมากขึ้นไปก็ต้องกลายเป็นที่พึ่งของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นตัวผู้ที่หวังพึ่งภายนอกอยู่ นั้นก็สามารถเตือนตัวเองให้ไม่ประมาทได้ ทีนี้คนที่ยังหวังพึ่งปัจจัยภายนอกมาพึ่งได้หลายแง่ นอกจากพึ่งเพื่อให้เขามาช่วยแล้ว มันก็พึ่งในแง่คอยเตือนมีสิ่งที่จะมาคอยกระตุ้นให้ตัวเองทำไม่งั้นก็เฉื่อยใช่ไหม บางคนนี่ถ้าไม่มีใครคอยกระตุ้นก็เฉื่อย ก็ต้องมีตัวกระตุ้น เพราะฉะนั้นกำลังภายนอกปัจจัยภายนอกมันจะมาในรูปที่ว่ามาช่วยทำให้ หรือมาช่วยกระตุ้นเตือน ถ้ามาแบบว่าช่วยทำให้ ทำแทนให้อย่างนี้แสดงว่าเราจะแย่เราจะเสื่อม แต่ถ้ามาช่วยกระตุ้นให้เราเข้มแข็งขึ้นอย่างนี้พอไปได้
คนฟังถาม ถ้าในกรณีที่ว่าเราทำทุกอย่างไปสุดความสามารถแล้ว ยังมีการขอนี่จะถือว่าผิดหรือเปล่า
พระตอบ ก็ขอถ้ายังไม่ผิดหลักกรรมที่ว่าไม่ทำให้สูญเสียการกระทำก็ยัง เรียกว่าท่านยอมให้แก่ปุถุชน แต่ก็เป็นเครื่องวัดด้วยว่า อ๋อยังเป็นปุถุชนอยู่ว่าอย่างงั้นน่ะ เพราะว่าถ้าเป็นพระอริยะแล้วจะไม่ทำอย่างนั้น ก็ยอมรับความอ่อนแออันนี้ เพราะจิตใจของมนุษย์ปุถุชนนั้น ก็หนึ่งก็มีความไม่รู้ มีโมหะความหลงได้ก็อาจจะเนี่ย ไอ้ตัวหลงเนี่ย ตัวไม่รู้เนี่ยพอมันกลายเป็นหลง แล้วก็ต้องระวัง มันหลงมันก็มัวเมามันก็ประมาทไปเลย นี้ก็ต้องแค่ว่า ไม่รู้ยอมรับความจริงเราก็อาจจะมีไม่รู้นะ มันก็หนึ่งก็หวาด หวาดกลัว คนไม่รู้เนี่ยมันมีอันนึงก็คือหวาดกลัว ไม่รู้อะไรเป็นอะไรมันจะมายังไงหวาดกลัวก็ต้องอาศัยสิ่งช่วยให้กำลังใจปลอบประโลมใช่ไหม ฉะนั้นท่านก็เลยนี่แหละเป็นจุดที่ว่าพระพุทธศาสนามาเชื่อม ทำไมเราจึงมีคล้าย ๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา ก็เพื่อมาดึงคนไม่ให้จมไปกับไอ้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประเภทดึงลง
เอ้าก็เลยขอพูดอีกอันหนึ่งว่า ไอ้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรามักจะพูดว่าสิ่งยึดเหนี่ยวใช่ไหม แม้แต่พูดว่าศาสนานั้นเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ไอ้ที่ยึดเหลี่ยวนี่ระวังให้ดีมันเหนี่ยว 2 แบบ 1 เหนี่ยวแล้วดึงลง 2 เหนี่ยวแล้วช่วยดึงขึ้น นี่พุทธศาสนา ท่านต้องการว่าเอ้า แกยังไม่มีกำลังก็ให้มีที่เหนี่ยวแต่แล้วเหนี่ยว ฉันจะดึงแกขึ้นมานะ ทีนี้ไอ้เหนี่ยวบางอย่างมันเหนี่ยวแล้วมันดึงลงไปเลยให้จมติดอยู่นั่นแนะ ทีนี้พวกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มันไม่มีหลัก ที่ไม่มีหลักการฝึกตนด้วยนะ มันก็จะไปติดอยู่กับการหวังผลดลบันดาล พอติดการหวังผลการดลบันดาลนี่ไอ้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมันจะไม่มีเรื่องของความดีงามเข้ามา มันจะมี 1 ก็เป็นเพียงว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมันมีอำนาจเข้มแข็ง พอมีอำนาจแล้วมันก็จะมีเรื่องความดุร้ายเก่งกล้าทำร้ายผู้อื่นด้วยดีใช่ไหม เช่นว่าถ้าฉันไม่ชอบใจไม่โปรดนี่ อย่างเทพเจ้าที่ท่านไม่โปรดท่านฆ่าเลย หักคอเลยใช่ไหม เอาตายเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นเทพเจ้าศาสนาพราหมณ์ที่ว่าที่พระพุทธเจ้ามาเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็อย่างนี้ คือเทพเจ้าเขานี้มีฤทธิ์มีอำนาจนี่บันดาล นั้นแกก็มีอาวุธมาก มีมือ มีแขนเยอะใช่ไหม เพราะแสดงว่าเก่ง เพื่อจะให้แสดงว่าเก่งนี่มันก็ต้องร่างกายใหญ่โตมีมือ มีเท้าอะไรต่าง ๆ อาวุธมากมายมีสังข์ มีจักร มีอะไรเยอะแยะ มือเดียวไม่พอ 4 มือ 4 มือไม่พอ 10 มือ 10 มือไม่พอ 1000 มือ อะไรอย่างเนี่ย แล้วก็แสดงผาดโผนโจนทะยานแปลงตัวใหญ่โตข่มเหงกันเองใช่ไหม นั้นไอ้นี่ก็คือว่าศักดิ์ฤทธิ์อำนาจก็มากับความยิ่งใหญ่ที่จะกำจัดคนและผู้อื่น นี่เรื่องกิเลสมาแล้วโทสะ สองก็เพราะว่าเทวดาเหล่านี้ก็ยังมีกิเลส เพราะว่ามีโทสะ มันก็มีให้ความอยากจะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ใช่ไหม อยากให้เขาทำอย่างนี้มันไม่ทำ มันไม่ทำใจตามใจข้าจัดการมันเลยอะไรอย่างนี้น่ะ หรืออย่างพระอิศวรที่เกิดเป็นพระฆเนศ พระพิฆเนศเคยได้ยินไหม อันนั้นแหละหัวเป็นช้าง ทำไมหัวเป็นช้าง ก็เพราะว่าเรื่องมันมาว่าพระฆเนศ ที่จริงชื่อฆเนศน่ะ เรามาเรียกเป็นพิฆเนศ ก็เรียกพิฆเนศก็ได้ อันนี้พระฆเณศก็เป็นลูกพระอิศวร คือลูกพระศิวะกับเจ้าแม่อุมา อันนี้วันหนึ่งนะ เจ้าแม่อุมาท่านสรงน้ำสรงสนาน ท่านก็ต้องการสบายไม่อยากให้ใครมากวน ท่านก็เลยมอบหมายฆเนศนี่ บอกว่าให้แกเฝ้าต้นทางไว้หน่อยน่ะ แม่จะอาบน้ำให้สบายอย่าให้ใครมากวน ที่นี้พอดีพระอิศวรมา พระฆเนศก็ไปกั้นซิบอกว่าแม่กำลังจะต้องการอยู่ส่วนตัว เรียกภาษาอังฤษว่า Privacy ใช่ไหม ขอหยุด ๆ ไม่ให้เข้าไป พระอิศวรถือว่าใครจะมากีดกั้นไม่ได้ท่านยิ่งใหญ่ที่สุดใช่ไหม เอ้ไอ้นี่มันกำแหงอย่างไงมาขัดขวางข้าใช่ไหม งั้นก็เลยตัดหัวเลยว่างอย่างงั้นนี่ ท่านไม่ได้ตัดหรอกแต่ท่านพูดว่าไอ้หัวไม่มีหรืออะไรไม่รู้พูดอออกมาเท่านั้นวาจาศักดิ์สิทธิ์นะ หัวพระฆเนศก็เลยหายไปเลย นี้พอพระฆเนศหัวหายไปแล้ว เจ้าแม่อุมาสรงน้ำเสร็จมาเห็นเข้าใช่ไหม เอ้าทำไมลูกเราเป็นอย่างนี้แหละ แล้วทำไมท่านทำกับลูกอย่างนี้ละ เจ้าแม่อุมาก็โศกเศร้าใช่ไหม ก็เลยพระอิศวรก็หาทางแก้ไข เอ้จะทำไงดีละ จะหาหัวให้พระฆเนศ ก็เลยว่าเอ้เพื่อความยุติธรรมก็ต้องตั้งกฏขึ้นมาสักอันหนึ่ง บอกว่าใครมันหันนอนหันหัวไปทิศตะวันตกก็เอาหัวมันมาว่าอย่างงั้น ก็เลยปรากฏว่าสำรวจไปสำรวจมาไปเจอช้างตัวหนึ่งมันหันนอนหันหัวไปทิศตะวันตก ก็เลยตัดหัวมันเอามาถือว่ามันทำผิดแล้วใช่ไหม ผิดกติการที่ท่านตั้งไว้ ก็เลยเอาหัวช้างตัวนั้นมาใส่ให้หัวพระฆเนศ พระฆเนศก็เลยมีเศียรเป็นช้างไป นี่เรียกวว่าเทพนิยายตำนานเทวดาของพราหมณ์เค้า นี่อย่างนี้ก็คือเทวดานี่ท่านมีอำนาจใช้ฤทธิ์ แต่ก็แสดงว่ามีกิเลสอยากได้อย่างนั้นไม่ได้อย่างนี้ก็โกรธอะไรอย่างนี้ใช่ไหม โลภะโทสะมาก อันนี้มันก็เลยกลายเป็นว่าเทวดารบกันบ่อย ยกทัพรบกัน เทวดาไหนจะเก่งกว่ากันน่ะ เดี๋ยวก็มีเรื่องกับมนุษย์ ฤษีก็เป็นมนุษย์ก็เก่งเหมือนกัน ฤษีก็บำเพ็ญตบะ บำเพ็ญตบะจนกระทั่งเทวดายอมเลยอย่างนี้น่ะ เทวดาก็คอยดู ฤษีองค์ไหนใช้ตบะแก่กล้าต้องส่งคนมากวนนะ บางทีก็ส่งผู้หญิงมายั่วยวนให้ตบะแตกอะไรอย่างนี้นะ ฤษีก็แพ้อะไรอย่างงี้นะ เลยกลายเป็นการแข่งฤทธิ์ระหว่างเทวดามนุษย์พวกพระฤษีอะไรอย่างนี้ มีเรื่องเยอะแยะหมด เช่นรามเกียรติ์เป็นต้น เอาล่ะก็รวมความว่า นี่คือสภาพอินเดียก่อนพุทธกาลใช่ไหม พวกผู้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์อำนาจดลบันดาลก็คือพวกเทพเจ้า ท่านก็มีกิเลส มีโลภะโทสะ แล้วความศักดิ์สิทธิ์มันอยู่แบบนี้ ทีนี้มนุษย์ไปหวังพึ่งสิ่งเหล่านี้นะ ก็หวังว่าเทพเจ้าที่เก่งมีอำนาจมากนี่มาช่วยจัดการกำจัดศัตรูให้เราใช่ไหม แล้วก็มาบันดาลผลที่ต้องการให้เรา ให้เราชนะอะไรต่ออะไรเป็นเรื่องของกิเลส
พระพุทธเจ้ามาก็ 1 ก็สอนว่าให้ธรรมสูงสุด เทพจะสูงกว่าธรรมไม่ได้หลักนี้ถือสำคัญนะ ถ้าเราถือหลักพุทธศาสนานี่เราจะต้องจับอันนี้ไว้ให้ได้ จุดเปลี่ยนของพระพุทธศาสนาก็คือย้ายจากเทพสูงสุดมาเป็นธรรมสูงสุด แม้เราจะไม่ลบหลู่ดูหมิ่นเทพเจ้าให้เกียรติท่าน แต่ว่าต้องถือธรรมสูงสุด เทวดาจะมาใหญ่กว่าธรรมไม่ได้ ดังนั้นในตำนานพุทธศาสนานี่ เราจะมีเรื่องอย่างนี้ให้กำลังใจชาวพุทธ เพราะว่าชาวพุทธก็อยู่ท่ามกลางสังคมที่เขาเชื่อแบบนี้ ใจเขาจะหวั่นไหวใช่ไหม นั้นก็จะมีเรื่องที่ว่าบางทีชาวพุทธ อุบาสกเนี่ยมีเรื่องกับเทวดา เทวดาก็จะมาแกล้ง อุบาสกนั้นก็มีความมั่นคงในธรรมะ ถือธรรมเป็นหลัก ในที่สุดเทวดาต้องยอม จะมีเรื่องในคัมภีร์พุทธศาสนาแบบนี้เพื่อจะมาสู้กับพราหมณ์ คือว่ามนุษย์อยู่ในธรรมแล้วมนุษย์จะต้องชนะ ไม่ใช่ว่าจะต้องให้เทพชนะเสมอไป ก็ถือธรรมสูงสุดนี่ ทั้งเทพและมนุษย์นี่ต้องไปตัดสินกันที่ธรรมะอีกที เอาธรรมะเป็นใหญ่สูงสุด นั้นชาวพุทธในเมืองไทยเวลานี้เสียหลักมาก คือจับจุดนี้ไม่ได้เลย ก็ไปวุ่นอยู่กับเรื่องเทวดา ลืมว่าหลักของพุทธนี่คือธรรมสูงสุด แล้วเทวดาก็มาเป็นเพื่อนร่วมโลก ท่านเป็นผู้มีคุณธรรมโดยทั่วไปแล้วนับว่าสูงกว่านั้น เราก็ให้เกียรติ แต่ว่าทางพุทธเราก็จะถือหลักอันนี้ คือนอกจากถือธรรมสูงสุดก็คือไม่หวังพึ่งท่าน ไม่หวังอ้อนวอนมาให้ผลดลบันดาล หวังผลสำเร็จจากการกระทำด้วยตนเองด้วยความเพียรพยายาม เราจะได้พัฒนาตัวเองด้วย แล้วถือว่าทั้งมนุษย์ทั้งเทพต่างก็ต้องฝึกตัวเองด้วยกันทั้งนั้น เพราะต่างก็ยังเป็นปุถุชนใช่ไหม เราก็ไปเกิดเป็นเทวดาได้ เทวดาก็มาเกิดเป็นคนได้ ต่างคนต่างมีหน้าที่ ๆ ต้องฝึกตัวเองทั้งนั้น นี้ก็ทำกันไป นี่ก็หลักพุทธศาสนาก็ชัดเจนในเรื่องเหล่านี้
นี้เรื่องอย่างวิธีปฏิบัติต่อเทวดาเรานี้เราก็จะมีให้เป็นคติ แต่ว่าบางทีชาวพุทธนี้เราไม่ได้สังเกตุ เช่นอย่างเวลาสวดมนต์ ก็จะมีการชุมนุมเทวดา ใครเคยสวดบ้าง สวดหมดทุกองค์นี่ ชุมนุมเทวดานี่มีความหมายอย่างไร ใครไม่รู้ก็นึกว่าเอ้ พระนี่ยังไปเคารพเทวดาอะไรอีก เปล่า ชาวพุทธเนี่ย ที่มานั่งฟังพระสวดมนต์ก็คือฟังสวดมนต์ ฟังสวดมนต์คือฟังอะไร สวดมนต์นั้นก็คือ สาธยายคำสอนของพระพุทธเจ้าหลักเดิมนี่เวลาสวดมนต์ก็คือเอาพุทธพจน์นี่มาสาธยาย ต่อมาก็มีบทสวดรุ่นหลังเป็นบทสวดแบบให้พร บทสวดเดี๋ยวนี้จะมีทั่วไปมี 3 ประเภท
1 บทสวดที่เป็นคำสอนพระพุทธเจ้า เช่นอย่างมงคลสูตรอย่างนี้ อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนาปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ไม่คบคนพาลคบบัณฑิตบูชาคนควรบูชานี่
คืออุดมมงคลนี้เป็นต้น นี่คือคำสอนพระพุทธเจ้า
2 บทสวดประเภทสรรเสริญพุทธคุณ เช่น อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ นี่ก็คือ สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
3 บทสวดประเภท 3 ก็คือ อวยชัยให้พรตั้งความปรารถนาดีแก่ผู้อื่น เช่น สุพะสะพะวังคะรารังตุสังอะพาวะตา เป็นต้นนี่นะ ก็บทสวดประเภทอวยชัยให้พรนี่ จะเกิดที่หลังเยอะ แต่งยุคหลังพุทธกาลมากมาย แต่ว่าเดิมนะ จะเน้นไปที่การสวดสาธยายพุทธพจน์คือคำสอนของพระพุทธเจ้า นี่เวลาเราสวดมนต์ชาวบ้านก็มาฟังคำสอนของพระนั่นเอง เมื่อฟังชาวพุทธก็มีใจเผื่อแผ่ว่า เอ่อเทวดาทั้งหลายก็ยังเป็นปุถุชนก็ควรจะได้ฟังธรรมะพุทธเจ้าจะได้เอาไปประพฤติปฏิบัติเรียนรู้เข้าใจและจะได้ทำตัวให้ดีขึ้นนะ เพราะฉะนั้นเราจะมามัวฟังเฉพาะชาวบ้านหมู่มนุษย์เลยก็เผื่อแผ่ให้เทวดามาฟังด้วยเถิด
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ ชาวพุทธนี่ก็อยู่ในสังคมเดิมที่เขานับถือพวกเทพอะไรนี่ จิตใจก็ยังว้าวุ่นยังหวั่นเกรงอยู่ไม่มั่นคงบางคนก็ยังเป็นปุถุชนมากใช่ไหม ด้านหนึ่งก็เชื่อหลักเชื่อธรรมะ อีกด้านหนึ่งก็ยังหวั่น ๆ ใจอยู่ ก็เทวดาจะว่าไงก็ไม่รู้ ท่านก็เลยให้รู้สึกว่าเทวดานี่มาเป็นพวกเราพวกเดียวกันไม่ต้องไปห่วง
1 ก็ได้ให้โอกาสแก่เทวดามาฟังธรรมด้วย
2 ให้ชาวพุทธรู้สึกว่าเทวดาก็พวกเดียวกับเรา ไม่ต้องไปหวั่งเกรงแล้วมาฟังธรรมกับเรานี่แหละ อันนั้นก็เลยชุมนุมเทวดาก็บอกว่า สักเค กาเม จะ รูเป คิรีสิขะตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน บอกว่าเทวดาอยู่ที่ไหน ทีไหน ที่ไหน ชั้นไหน ชั้นไหน ตามทั้งหมดนี่ ท่านก็สาธยายไปนะ เทวดาที่โน่น ที่นี่ ไปไม่รู้กี่อย่างเลย ลงท้าย ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ท่านผู้เจริญทั้งหลายหมายถึงเทวดา บัดนี้ถึงเวลาฟังธรรมแล้ว นี่คือคำชุมนุมเทวดา ลงท้ายอย่างนี้ คือบอกเทวดาให้มาฟังธรรมซะว่าอย่างนั้น ไม่ได้ไปอ้อนวอนอะไรเลย ให้เข้าใจไว้ด้วยนี่หลักพุทธศาสนา นี่แหละวิธีปฏิบัติของชาวพุทธต่อเทวดาให้เป็นมิตร ให้เกียรตินับถือกันในคุณธรรม คุณความดีแล้วชวนกันทำความดี ชวนกันฝึกฝนพัฒนาตัวเอง อย่างนี้จึงจะเป็นสังคมพุทธ
นี้เวลานี้ชาวพุทธนี่ มองเทวดาไม่เป็น มองแบบพราหมณ์ มองเป็นเพราะว่าเป็นผู้มีอำนาจจะดลบันดาลจะไปคิดพึ่งขอร้องอย่างไรตายผิดหมดเลย เสียหลักแล้ว นี้ถ้าเราจับให้เข้าหลักพุทธศาสนา มันก็สบายจิตใจก็มีความสุข เทวดาก็พวกเดียวกันกับพวกเรานี่แหละเป็นผู้มีความดีนะมีมิตรไมตรีเหมือนผู้ใหญ่รักใคร่เมตตาต่อกันผู้ใหญ่มีเมตตาเวลาผู้น้อยทำอะไรไม่ถูกต้องก็ให้อภัยแล้ว แล้วก็ทำดีก็คอยดูแลคุ้มครองช่วยเหลือ ท่านก็บอกเราประพฤติดี เทวดาดีมีหน้าที่มาดูแลเอง เราไม่มีหน้าต้องไปอ้อนวอน ฉะนั้นในหลักพุทธศาสนาจะมีเรื่องอย่าง นางมณีเมฆขลา คือท่านมีคติให้เลยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทวดา มนุษย์ก็ทำหน้าที่ของตัวไปทำความเพียรพยายามเพื่อผลสำเร็จเกิดขึ้น แล้วเทวดาที่ดีก็ต้องเอาใจใส่เห็นคนเดือดร้อนแล้วก็มาช่วยเองด้วยคุณธรรม ไม่ใช่มาช่วยเพราะเครื่องเซ่นว่าอย่างงั้นนะ ก็ถ้าช่วยด้วยเครื่องมันก็เสร็จแหละ สังคมมันก็วิปลิตหมดเหมือนมนุษยโลกใช่ไหม มนุษย์ในโลกนี้ถ้ามัวจะมาช่วยกันเพราะเครื่องเซ่นอย่างนี้วิปริตหมด เสียศีลธรรมหมดใช่ไหม ฉะนั้นท่านก็ให้หลักไว้นี่มนุษย์เทวดานี่ให้ช่วยกันด้วยเมตตา นั้นชาวพุทธนี่ไม่ต้องไปเซ่นสรวงอ้อนวอน เราจะมีแนวคิดแบบของเรา เช่นว่าเมื่อมนุษย์ทำความดีแล้วเกิดเรื่องเดือดร้อนอาจพระอินทร์ต้องร้อนเอง พระอินทร์ต้องพิจารณาเองมาช่วยเอง มนุษย์ไม่ต้องไปอ้อนวอน นี่เรื่องเทวดาอาตม์ร้อนมาในคติพุทธศาสนา ของเราไม่ต้องไปบูชายัญ
แล้วก็เวลามีไปไหน เราเคารพให้เกียรติสถานที่ เราเรียกว่า บอกกล่าวเราไม่อ้อนวอน ก็เราให้เกียรติเช่นว่า เราเชื่ออยู่ว่าเอ้อที่นี่ มีเทวดามีเจ้าที่อยู่ ชาวพุทธจะทำอะไร เขาเรียกบอกกล่าว ไม่เหมือนของพรหมร์ เขาต้องบวงสรวงอ้อนวอน เพราะฉะนั้นชาวพุทธนี่บางทีตัวเองก็ไม่รู้ว่าเรื่องราวเป็นมายังไงเคยได้ยินไหม บอกว่าบอกกล่าว เคยไหม สมัยก่อนเขาใช้คำอย่างนี้ คือเราจะทำอะไรเรายังเชื่อเทวดาอยู่ เจ้าที่เจ้านี้เราบอกกล่าว คือแสดงว่าเราให้เกียรติ เราเคารพเหมือนกับเราไปทำอะไรในที่ของผู้อื่นใช่ไหม เราก็บอกกล่าว แต่ว่าถือว่าเป็นไมตรีกันไม่ใช่ว่าไปลบหลู่ดูถูก แต่ก็ไม่ใช่ไปอ้อนวอนอะไรแบบนั้น ในคติพุทธศาสนาเนี่ยนานเข้านี่มันแยกไม่ออกคติของศาสนพราหมณ์ แล้วเราชาวพุทธก็เลยสับสน แล้วก็เลยเขวออกไป ไปเข้าคติพราหมณ์ไปซะหมด คบกับเทวดาก็หวังผลอ้อนวอนจะให้ท่านดลบันดาลแทนที่จะคบอย่างมิตรอะไรอย่างที่ว่าเมื่อกี้ ก็นี่ดูคติของเราจะมีเรื่องเยอะ อย่างที่ว่านางมณีเมขลาเมื่อกี้ ก็อย่างมหาชนก มหาชนกไปในทะเลเป็นพ่อค้าเรือแตก พอเรือจะแตกรู้ว่าเรื่องจมแน่ก็จะมีคนเป็นต่าง ๆ คนพวกหนึ่งก็หมดสติร้องไห้คร่ำครวญถึงญาติพี่น้องที่บ้านจะตายแล้วจะเป็นยังไงกันบ้างอะไรก็เสียสติทำอะไรไม่ถูก อีกพวกหนึ่งก็ลงนั่งอ้อนวอนเทวดา ขอให้เทวดามาช่วย มาช่วย นี้ท่านมหาชนก ท่านมีสติ แล้วท่านใช้ปัญญาพิจารณา ท่านไม่มัวนั่งอ้อนวอนใช้เวลาให้เป็นประโยชน์เรือมันจะจมแล้ว เราจะอยู่อย่างไรที่จุดไหนและเตรียมตัวอย่างไรจะดีที่สุดอยู่ได้ในทะเลใช่ไหม จะรอดไม่รอดอีกเรื่องหนึ่ง แต่ต้องใช้เวลานี้ให้เป็นประโยชน์ไม่ประมาท ทำการด้วยความเพียร มหาชนกก็เป็นวิริยะบารมี ท่านก็เตรียมตัวเอาน้ำมันทาตัว แล้วก็ไปอยู่ที่จุดที่ของเรือที่จะปลอดภัยที่สุดที่เวลาจมแล้วเนี่ย มันจะไม่เกิดการกระทบกระเทือนก็จะรอดไปได้ง่ายอะไรนี่นะ ก็เตรียมตัวอย่างดีที่สุดพอเรือจมก็เลยท่านอยู่ได้นานที่สุด ก็ใช้ความเพียรและสติปัญญาของมนุษย์แก้ไขสถานการณ์ แล้วก็เมื่อว่ายน้ำไปก็มองในทะเลก็ไม่เห็นฝั่ง ว่ายไป 7 วันแล้ว ก็ยังไม่ไปถึงไหน ก็มีนางมณีเมขลา นางมณีเมขลานี่มีหน้าที่เป็นเทวดาที่มีหน้าที่รักษาท้องทะเล นางมณีเมขลาก็มาเห็นพระโพธิสัตว์นี่ว่ายน้ำอยู่ก็เลยมาว่า มาล้อหรือมาว่า บอกนี่จะว่ายน้ำไปทำไม มองไม่เห็นฝั่งตายเปล่าว่าอย่างงั้น ก็พระโพธิสัตว์ก็โต้ตอบ บอกว่าเรายังมีชีวิตอยู่ก็ต้องเพียรพยายามไป ก็ถึงตายก็จะตายอย่างไม่เป็นหนี้ใครว่าอย่างงั้นน่ะ ได้เพียรพยายามสุดกำลังแล้ว ตายก็ไม่ว่า แต่ว่าขอให้ได้ทำความเพียรเต็มที่ ก็โต้ตอบกันไปกันมา แล้วนางมณีเมขลาก็อุ้มพาเข้าฝั่งเท่านั้นนะ อันนี้ก็หมายความคติความเชื่อเดิมกับของพุทธนี่ มาประสานกันที่จุดที่ไม่อ้อนวอนทำความเพียรของตนเอง เทวดานั้นทำหน้าที่ของตัวเองให้ถูกต้อง เมื่อคนเขาทำหน้าที่เป็นคนดีแล้วตัวก็ต้องมีเมตตากรุณาที่จะไปช่วยเหลือเกื้อหนุนโดยไม่ต้องมาอ้อนวอนกันอะไรอย่างนี้ อันนี้เป็นคติที่พุทธศาสนาจะมีในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งถ้าคนแยกไม่เป็นก็จะดูไม่ออก ฉะนั้นก็เป็นหน้าที่ของพระด้วยที่จะต้องแยกให้ชาวบ้านเข้าใจว่า คติพุทธศาสนาเราเป็นยังไง อย่างที่ว่าแม้จะชุมนุมเทวดาก็ยังไม่รู้ความหมายว่าชุมนุมทำไม ก็เอานะ วันนี้ก็เลยพูดให้ฟังเรื่องคติพุทธศาสนา
ที่นี้ว่าเราก็อยู่ในสังคมอย่างนี้เราก็เข้าใจคนด้วยว่าเขาเป็นปุถุชน แต่ว่าอย่าให้เขามัวลุ่มหลงอยู่ แล้วก็ให้หลักอย่างที่ว่า คือว่าอย่าให้เสียหลักกรรมคือหลักการกระทำ คือพุทธศาสนาเนี่ยให้หวังผลจากการกระทำด้วยความเพียรพยายาม แล้วก็ไม่ประมาทไม่ให้ปล่อยเวลาผ่านไปเพียงด้วยการรอคอยแล้วก็ไม่ทำอะไร แล้วก็ให้ฝึกฝนตนเอง แล้วเจริญศีลสมาธิปัญญาทำตัวเองให้ดีขึ้น แล้วก็ให้พึ่งตนเองได้ ก็เคยพูดแล้วว่า ท่านเน้นการทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ เมื่อเราเพียรพยายามฝึกตัวเองแล้วก็พึ่งตัวเองได้ มันก็ไปด้วยกันดี ก็ไปให้หลักแก่คนทั่วไปด้วยในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ติดอยู่แค่ว่า ไม่เชื่ออย่างลบหลู่ ก็มันไม่ได้หลักอะไรที่จะปฏิบัติเลย อยู่กะแค่นั้นแหละ มีอะไรสงสัยไหม
คนฟังถาม ที่ท่านมาจโรถามเกี่ยวกับเรื่องไสยกับเรื่องฤกษ์ยาม ก็ใช้หลักเดียวกันใช่ไหม
พระตอบ ครับ ใช้หลักเดียวกัน คือว่ามนุษย์ปุถุชนก็ยังหวังและหวาด คือมนุษย์ปุถุชนนี้ด้วยความไม่รู้ 1 ไม่รู้ 2 มีความอยาก ไอ้สองตัวนี้จะทำให้ หนึ่งหวัง และ สองหวาด หวังว่ามันน่าจะได้อาจจะได้ แต่พร้อมกันนั้นก็หวาด มันอาจจะไม่ได้ เมื่อมีหวังก็จะมีหวาดคู่กันไป ทีนี้พวกเรื่องของการดูหมอ มันก็เป็นเรื่องความหวังอย่างหนึ่ง แล้วก็ตัวเองก็หวาดว่า มันจะเป็นยังไงอะไรอย่างนี้ใช่ไหม ไปดูหมอไว้ว่าอะไรนี่ ถ้าหากว่าดูแล้วเนี่ยไม่ถึงทำให้สูญเสียความเพียรในการกระทำใช่ไหม ก็ยังพอรับได้ แต่ก็ต้องระวังนะอย่าไปลุ่มหลง แล้วก็จะไปมัวหวังพึ่งแล้วก็ไปจมอยู่ติดอะไรอย่างเนี่ย ก็ต้องพยายามให้มีความเข้มแข็ง ว่าให้เรามีความพยายามเข้มแข็งยิ่งขึ้น ตอนแรกก็อาจจะว่า เอ้าหวังบ้างพอกรึ่ม ๆ สบายใจไป เสร็จแล้วอย่าเพลินนะ ต้องเตือนตนให้เพียรพยายาม แล้วต่อมาก็พยายามให้อยู่ได้โดยไม่ต้องมัวรอ หวังแล้วคอยดูอะไรมันน่ะ เราก็พยายามสร้างใจให้เข้มแข็งขึ้นมา ก็นี่ก็เป็นการฝึกตัวเองพัฒนาตัวเอง โดยไม่ใช่จะต้องปฏิเสธปุ้บเด็ดขาดอะไรไปทันที คือไม่ใช่ว่าถ้าที่จะต้องไปสุดทางอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นการพัฒนาตัวเองฝึกตัวเองขึ้นไป แล้วแต่ว่าใครจะมีความเข้มแข็งเท่าไหร่ แล้วก็เข้าใจผู้อื่นด้วย แต่ก็อย่างที่ว่านะไอ้ลักษณะอย่างนี้มันก็มีข้อเสียอย่างหนึ่ง คือมันทำให้ไป ๆ มันจะคอยจะอ่อน มันคอยจะเฉื่อยลง ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระวัง ว่าถ้าเรานี่ไม่เข้มแข็งจริง ๆ เนี่ย มันจะย่อหย่อนง่าย นั้นชาวพุทธจะมีลักษณะอันหนึ่งคือว่า เฉื่อย ๆ ย่อหย่อน ปล่อย ๆ แล้วก็เลยประมาทอีกเสียอีกนะ นั้นก็ต้องระวังละอันนนี้ จุดสำคัญของชาวพุทธเพราะไม่ใช้วิธีบังคับนี่ ศาสนาอื่นเขาบังคับเลย หลักศาสนาข้อปฏิบัติว่าอย่างนี้ เชื่ออย่างนี้ แกต้องเชื่อ แกต้องทำ ถ้าแกไม่ทำแกตายว่าอย่างงั้น เอาอย่างงี้จบกัน ก็เลยก็ไปได้ดีเหมือนกัน ทำให้นี่คนต้องเอาจริงเอาจัง นิมนต์
คนฟังถาม อยากทราบความสัมพันธ์ อธิบายเกี่ยวกับเรื่องโหราศาสตร์กับหลักกรรม ว่ามีความสัมพันธ์กันไหมครับ
พระตอบ ก็มันก็เป็นถ้าเราจะบอกว่า เอ้อโหราศาสตร์มันทายได้แม่น มันก็เป็นเพียงเครื่อง อะไรนะ มันเป็นเพียงเครื่องบ่ง คล้าย ๆ ว่า อ้อไอ้ เช่นว่ากรรมของเราเนี่ยมันก็สร้างชีวิตเราใช่ไหม สร้างบุคลิกลักษณะ ทีนี้ไอ้ความละเอียดอ่อนของชีวิตของเรานี่ ก็ปรากฏในทุกส่วนใช่ไหม ในทุกส่วนของเราเนี่ย แม้เส้นอะไรเนี่ย มันก็เกิดจากการปรุงแต่งของชีวิตซึ่งมีกรรมนี่แหละเป็นตัวแกน นั้นไอ้ตัวที่ปรากฏอันนี้ ในแง่หมอดูก็ดู อ๋อตามสถิติคนที่มีอาการลักษณะอย่างนี้จะเป็นอย่างงั้นน อย่างงั้น อย่างงั้น ก็เหมือนกับว่าได้ตัวอย่างของที่เคยเกิดขึ้นมา มาไว้ทาย แต่ไอ้ตัวจริงที่แท้ก็คือกรรมนั่นเองที่มันอยู่เบื้องหลังที่แต่งขึ้นมาอย่างงี้ เหมือนอย่างหมอดูที่เป็นคนที่ ดูอากาศดูแสงแดดอย่างนี้เนี่ยจะมีฝนตกใช่ไหม ไม่ใช่ว่ามันไม่มีเหตุปัจจัย นี่แหละคือเหตุปัจจัยที่ลึกซึ้ง แต่ว่าคนเราเนี่ยได้แค่เห็นปรากฏการณ์ เมื่อวิทยาศาสตร์จะเกิดหรือแม้วิทยาศาสตร์เอง ก็เก่งในการสังเกตปรากฏการณ์นี่แหละใช่ไหม อย่างชาวเขา ๆ ไม่รู้หรอกว่าเหตุปัจจัยเป็นยังไง อะไรแดดทำไมมันจึงมีสีอย่างนี้ แต่ว่าพวกชาวเขาเพราะอยู่กับธรรมชาติอย่างนี้ตลอดเวลาชีวิตของเขาอยู่ แล้วเขาต้องอาศัยมันเขาก็ฝึกอินทรีย์ไม้ไม่รู้ตัวให้เกิดความคมชัดเช่นทางสายตา ที่จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงความอ่อนแก่สีของแสงแดดเป็นต้น เช่นชาวเขา เขาบอกว่า พอเขาก็เห็นแดดอย่างนี้ เขาบอกบ่ายนี้ฝนจะตกหนัก แต่ว่าพวกคนเมืองไม่รู้เรื่อง อันนี้ก็เป็นเรื่องของปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งมีเหตุปัจจัยของมันที่จะเป็นอย่างนั้น เหมือนกับหมอดูก็เห็นปรากฏการณ์แล้วก็รู้ว่าถ้ามีอย่างนี้เราจะเกิดอย่างงั้นนะ ปรากฏการณ์นี้ก็จะมีตามสิ่งต่าง ๆ แม้กระทั่งในชีวิตของคนในร่างกายอะไรต่าง ๆ นี้เรื่องอินทรีย์คมชัดนี่ก็เป็นจุดอ่อนของคนยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมาช่วยมาก เมื่อเรามีเทคโนโลยีมาช่วยนี่ เราแต่ก่อนนี้เราต้องอาศัยความคมชัด การสังเกต การฝึกสายตาการฝึกหูฟัง การฝึกสัมผัสใช่ไหม เพราะความจำเป็นในการดำเนินชีวิตมันทำให้เราต้องฝึกแม้โดยไม่รู้ตัวแล้วเราก็จะรู้ เหมือนอย่างคนสมัยก่อนที่เขาดูสตางค์ปลอมหรือสตางค์จริง เขาจับแล้วเขาก็รู้ บางคนนี้ชิมรสรู้ เพราะไอ้โลหะมันต่างรสกันอย่างนี้เป็นต้น ไอ้นี้ท่านเรียกความคมแห่งอินทรีย์ ทีนี้มนุษย์ยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีมาช่วยมาก ก็ขาดการฝึกในเรื่องเหล่านี้ นั้นมนุษย์พวกเราปัจจุบันจะแพ้พวกมนุษย์สมัยก่อนในแง่นี้ นี้จึงต้องเตือนว่า ระวังอย่าลืมฝึกตัวเอง มิฉะนั้นแล้วชีวิตจะขึ้นต่อเทคโนโลยี แล้วถ้าไม่มีเทคโนโลยีแล้วทำอะไรไม่ได้ เหมือนอย่างหมอสมัยก่อนเนี่ย ที่ต้องตรวจดูคนไข้สังเกตคนไข้มาก ตาหูนี่ฝึกหมด จับนิ่เห็นคนไข้ปั้บ มีอาการเดินอย่างนี้ท่าทางอย่างนี้สีหน้าอย่างนี้ตาอย่านี้ปั้บ สันนิฐานโรคแล้ว ว่าน่าจะอยู่ในโรคประเภทนี้กลุ่มนี้ แล้วก็จะจำกัดวงของการที่จะตรวจ หรือที่จะถามได้ง่ายใช่ไหม หรือว่าพวกแก้เครื่องยนต์นี้ หูฟังเครื่องยนต์บางทีบอกได้เลยว่าเสียที่ไหนถูกไหม ไอ้นี่คือความคมชัดของอินทรีย์ คนอื่นไปฟังไม่รู้เรื่องว่างั้นนะ ทีนี้ถ้าเราอาศัยเทคโนโลยีมากไปน่ะ อะไรก็เข้าเครื่องวัดหมด ต่อไปไม่รู้ดูไม่เป็น ฟังไม่ออกใช่ไหม เพราะฉะนั้นจึงว่า มนุษย์นี่สำคัญที่การฝึก อย่างชาวทะเลนี่เขาออกทะเลนี่เขารู้ว่าเขาวางอวนเอินไว้ที่ไหนจุดไหนมันเป็นอะไรยังไง ๆ ดู เราไปเรางงหมดใช่ไหมดูไม่รู้เรื่องใช่ไหม อันนี้เรื่องของการฝึกอินทรีย์ ความคมของอินทรีย์ เพราะฉะนั้นในยุคเทคโนโลยีเจริญเนี่ยคนจะเสียความคมของอินทรีย์ขาดการฝึกอินทรีย์ แล้วก็ทำให้ต้องพึ่งเทคโนโลยี ชีวิตก็สูญเสียความเป็นอิสระเหมือนกัน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านั้น ก็อยู่ได้ยาก มันก็กลายเป็นว่าเทคโนโลยีเจริญแต่ตัวคนนั่นแหละกลับเสื่อมใช่ไหม เพราะฉะนั้นต้องระวังเหมือนกัน นั้นท่านก็บอกว่าเราต้องเป็นนายเทคโนโลยีตลอดอยู่เสมอ ก็คือฝึกให้เหนือมัน แม้มันไม่มีเราก็อยู่ได้ นิมนต์
คนฟังถาม ยังมีความเชื่อ มีความเชื่อ ไม่ใช่ความเชื่อในหลักพุทธศาสนา พูดถึงเรื่องอะไรอะ ผมก็มีความเชื่อในอรหันต์นี่คงมีจริงแน่ ๆ ไม่ใช่เรื่องความเชื่อ มันก็กลายเป็นอีกพวกหนึ่งที่พยามตามหากัลยาณมิตร คือตามหาอรหันต์ อยากจะถามหลวงพ่อว่า เราจะปฏิบัติตรงนี้อย่างไง คำถามที่สองคือว่า หลังหรือปัจจุบัน จริง ๆ แล้วข้อเท็จจริงมีหรือไม่ เราก็ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะว่ามันมีคนซึ่งอ้างเป็นแบบนั้น ก็มีคนเข้าไปงมงายตามหลักกัลยาณมิตรครับ
พระตอบ คือกัลยาณมิตนี่เป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ก็เราก็เรียนแล้วนี่ ปัจจัยมี 2 ด้าน ปัจจัยภายนอกปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกก็เสียงจากผู้อื่น คำแนะนำโดยเฉพาะกัลยาณมิตรใช่ไหม นี้ท่านที่หวังดีต่อเรานี่ จะมาช่วยแนะนำสั่งสอนเป็นต้น ถ้าพระอรหันต์ก็ดีสิ แต่ไม่แน่นะ เพราะพระอรหันต์ ตัวท่านน่ะบริสุทธิ์หมดจด แต่ความสามารถในการสอนไม่แน่ บางทีสอนสู้ปุถุชนก็ไม่ได้ ก็แม้แต่พระพุทธเจ้ายังมีปัจเจกกับพระพุทธเจ้าที่สอนใครให้บรรลุธรรมไม่ได้เลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราอย่าไปหวังเลย ถ้าเที่ยวไปตามหาพระอรหันต์นี่ ทำไมท่านไม่คิดหลักก็มีอยู่แล้ว พระอรหันต์ไม่ได้เก่งในการสอนเสมอไปนี่ แล้วทำไมท่านไม่หวังพึ่งพระพุทธเจ้าไม่ดีกว่าหรือ พระอรหันต์นี่ท่านก็ปฏิบัติมาด้วยอาศัยคำสอนของพระพุทธเจ้าใช่ไหม แล้วก็ท่านก็ไม่มีความสามารถในการสอน แล้วบางทีท่านจำกัดคือปฏิบัติไปในแง่เดียวที่ท่านรู้เข้าใจพอดีมันตรง เอาแล้วท่านปฏิบัติได้ดีก็เจริญศีลสมาธิปัญญาของท่านแต่ว่าไอ้การยักเยื้องเทคนิคอะไรไม่มี ท่านก็มีประสบการณ์แนวเดียวดิ่งไปเลย นี้ไอ้แนวเดียวอาจจะเหมาะกับคนเพียงบางคนเท่านั้น เพราะว่าการปฏิบัตินี้มันมีเทคนิคที่เหมาะกับอุปนิสัย จริตต่าง ๆ กันใช่ไหม พระพุทธเจ้าจึงต้องมีความสามารถในการสอนด้วยไม่ใช่แค่ตรัสรู้ธรรม แล้วต้องเป็นสัมมาสัมพุทธะนี้ต้องฉลาดในการสอน ต้องรู้จักคน รู้ความแตกต่างของบุคคล ความแตกต่างโดยอินทรีย์ระดับการพัฒนา ความแตกต่างโดยอธิมุติ ความแตกต่างของแนวโน้มความสนใจภูมิหลังพื้นเพเป็นกรรมกร เป็นชาวนา เป็นกษัตริย์ เป็นนักปกครองอะไรต่ออะไรนี่ ต้องเข้าใจหมด แล้วก็จัดคำสอนให้หมดเหมาะกับเขา อันนี้พระปัจเจกกับพระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้อแต่ว่าสอนใครให้สำเร็จธรรมะบรรลุเป็นพระอรหันต์อย่างตัวไม่ได้ อันนี้เราจะไปหวังว่าจะไปตามหาพระอรหันต์เป็นกัลยาณมิตร บางทีก็ไปเจอพระอรหันต์สอนไม่เป็นล่ะที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรมันก็ไม่คุ้ม ก็ดีอยู่ถ้าเจอก็เป็นลาภอันประเสริฐ แต่จะมัวไปตามเสียเวลานี่ตกอยู่ในความประมาทแทนที่ว่าจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ใช่ไหม ก็พระพุทธเจ้าสอนเราไว้แล้ว ท่านองค์นั้นก็บรรลุโดยอาศัยธรรมะพระพุทธเจ้า ก็เราทำไม่ไม่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า เอาธรรมะมาปฏิบัติสิ แล้วผู้สอนเองนี่ ปุถุชนบางท่านสอนได้ดีกว่าพระอรหันต์อีก ก็ในพุทธกาลเอง ไม่ต้องเอาสมัยนี้พุทธกาลเอง พระที่เป็นปุถุชนเนี่ยสอนผู้อื่นให้เป็นอรหันต์ได้ ตัวเองไม่เป็น ก็อย่างที่เคยมีที่ว่าอาจารย์กับลูกศิษย์นี่ อาจารย์ก็มีความชำนาญคือก็ได้ความสามารถในระดับหนึ่งไม่ใช่หมายความไม่ได้อะไรเลยนะท่านก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์หรอก นี้ท่านมีความสามารถในการสอนลูกศิษย์เยอะแยะ นี้ลูกศิษย์บางท่านก็เป็นอรหันต์ ลูกศิษย์ก็รู้ว่าอาจารย์ไม่ได้เป็น ก็เลยหาทางช่วย แล้วอาจารย์ก็ไม่รู้ตัวด้วยนึกว่าตัวเองอาจจะสำเร็จ ก็เลยลูกศิษย์เข้าใจแล้วก็หาทางช่วยโดยวิธีที่เป็นการแนะ ทำให้ท่านรู้ตัวขึ้นมา ให้รู้ตัวว่าอ้อ ท่านยังมีความหวาดกลัวอยู่ วันหนึ่งก็ทำให้ท่านได้โอกาสให้ท่านรู้ว่า เห้อ เรายังมีความหวาดกลัวอยู่ดี ท่านเลยได้รู้หลักอยู่แล้วนี่ เอ้อ มีความหวาดกลัวไม่ใช่อรหันต์สิ ก็เลยไปตัดสินใจ ตัวสินตัวเองได้เลย แล้วก็เลยปฏิบัติต่อ นั่นก็อย่าไปมัวเสียเวลาไปกับเรื่องนี้ 1 ก็ไม่รู้จะเจอไม่เจอ 2 ไปเจอแล้วก็ไม่รู้จะสอนได้เป็นหรือเปล่าใช่ไหม แล้วก็ 3 พระปุถุชนที่สอนได้ดีรู้หลัก ท่านเป็นสื่อระหว่างเรากับพระพุทธเจ้าต่างหาก สิ่งที่ต้องการไม่ใช่เราไม่ใช่ต้องการตัวท่านมาสอนเรานะเราต้องการให้ท่านมาเป็นสื่อนําคําสอนของพระพุทธเจ้ามาให้เราต่างหาก ทำไงจะสื่อคําสอนพระพุทธเจ้าที่แท้และให้เราเข้าใจได้ถูกต้อง แล้วเราก็ต้องอาศัยปัจจัยภายในโยนิโสมนสิการของตัวเองด้วย ไม่ใช่แต่ไปฟังท่านอย่างเดียว แล้วยิ่งเมื่อผู้สอนนี่ไม่ได้มีญาณอย่างพระพุทธเจ้า ความสามารถในการที่จะจัดให้มันพอเหมาะนี้ยาก ขนาดพระพุทธเจ้ามีความสามารถขนาดนั้นก็ยังไม่ใช่ว่าจะสอนทุกคนให้บรรลุธรรมได้หมดใช่ไหม แล้วก็ยังต้องมีกระบวนการบ่มอินทรีย์ ต้องหาแบบฝึกหัดมาให้เขาก้าวขึ้นไปให้ถึงระดับนั้น เช่นพระพุทธเจ้า จะสอนธรรมะอันนี้ต้องรอให้เขามีอินทรีย์แก่กล้ามาถึงขั้นนี้จึงจะเข้าใจ ถ้าแต่ตอนนี้เขาอยู่ระดับอย่างงี้ แล้วจะทำอย่างไง จะรอก็เสียเวลา พระองค์ก็ต้องหาแบบฝึกหัดให้เขาทำ เอาประสบการณ์หรือพาไปเจออะไรให้ เขาเรียกว่าเป็นบ่มอินทรีย์ ทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้นมาถึงระดับที่ต้องการแล้วก็ให้ธรรมะก็จะถึงกัน ทีนี้ผู้สามารถในการสอนอย่างนี้หายาก อย่างพระสารีบุตรท่านก็เก่งมากมีปัญญา แต่ว่าบางทีมันเหมือนกับเส้นผมบังภูเขาอยู่นิดเดียว พอพระพุทธเจ้ามาชี้ปั้บก็เห็นเลยใช่ไหม ก็คนสอนนี่เราจะเห็นว่ามันต่างกันเยอะแยะ บางทีบางคนพูด 10 วัน 100 วัน ไม่รู้เรื่อง อีกคนหนึ่งมาพูด 3 นาทีเท่านั้นเข้าใจเลย ฉะนั้นมันก็เรื่องตัวผู้สอนนี้สำคัญมาก อย่าไปนึกหวังพระอรหันต์อยู่เลย เข้าใจไหม ไปตามล่าพระอรหันต์กันแย่ เอ้ามีอะไรไหมครับ
คนฟังถาม กำลังจะลาสิกขาไปใน 2-3 วันนี้นะครับ ก็เลยอยากจะขอคำแนะนำจากหลวงพ่อเรื่องการนำเอาธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันกับการงาน ควรจะ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ในระหว่างวันจะปฏิบัติตัวยังไงบ้าง ในด้านศีลสมาธิปัญญา เช่นจะต้องนั่งสมาธิอย่างน้อยไหม เหมือนเป็นไกด์ เหมือนกับเป็นแบบแผนให้ฆราวาสไปปฏิบัติ ก็เลยอยากขอคำแนะนำ
พระตอบ ก็ 1 เราก็ได้ทุนเป็นหลักในตัวว่า เรามีความเข้าใจพื้นฐาน แล้วก็ได้หลักในการที่จะไปดำเนินชีวิต ก็จับหลักนี้ แล้วก็วางแผนกับตัวเอง อย่างหลักเบื้องต้นในการดำเนินชีวิตนี่ ซึ่งไม่เฉพาะตัวเองเท่านั้น ในสภาพสังคมที่มันเป็นอย่างนี้ เราจะทำไงใช่ไหม โดยที่ว่านอกจากให้ตัวเองอยู่ในความดีงามได้มีชีวิตที่ดีแล้ว จะสามารถฟื้นฟูแก้ไขให้สังคมนี้ที่มันโทรมอย่างนี้ด้วย นี่ก็ 1 แหละ นี่ในแง่ข้อการปฏิบัติในเรื่องศีลสมาธิปัญญาเราก็ต้องมองว่า มันก็มีทั้งที่เป็นรูปแบบกับที่เป็นเนื้อหาสาระ เหมือนสมาธินี่ มันก็มีทั้งที่ว่า มันก็คือชีวิตของเราที่เราไปอยู่ในการในงานมันก็ต้องมีการฝึกสมาธิแล้วใช้สมาธิ นั่นก็ส่วนหนึ่ง ทีนี้อีกส่วนหนึ่งก็คือว่า เราอาจจะมีจุดมุ่งหมายพิเศษที่ว่า อ้อเราอยากจะให้จิตใจของเราสงบ เรามานั่งสมาธิ วันหนึ่งให้เวลากันเรื่องนี้สมาธิสะเท่านั้นเท่านี้ เราก็จัดของเราวางว่าเราจะทำได้แค่ไหน แล้วก็ยกเวลาตอนนี้ให้ ซึ่งเมื่อจิตของเราอยู่กับการฝึกสมาธิอยู่กับความสงบนี่ มันได้อื่นด้วย มันมีเวลาที่จิตจะได้พัก แล้วจะได้มีความคิดในแนวทางที่มันไม่ไปตามกระแสอะไรเกินไป บางทีเราว้าวุ่น วุ่นวายกับเรื่องที่เป็นไปในกระแสสังคมมันก็ไม่มีเวลาเป็นของตัวเองที่จะได้มาเข้าสู่หลักหรือว่าในการที่ว่าจะดำรงรักษาตัวเองให้อยู่ได้ด้วยดี แล้วก็มีเวลาที่จะคิดในแนวทางที่เป็นอิสระจากกระแสความวุ่นวายของสังคม การนั่งสมาธิมันก็จะได้ประโยชน์อย่างนี้ด้วย 1 จิตสงบ 2 ได้เวลาที่จะได้ใช้ความคิดที่มั่นคงในะแนวทาง อาจจะไปในแนวทางที่ยืนหลักอยู่ไม่ไปตามกระแสสังคมที่ว่า ก็เราก็ให้เวลาอย่างนี้ก็ อันนี้จะพูดว่าเท่าไหร่เท่าไหร่มันพูดยาก ก็ต้องจัดสรรเอาเอง แต่ละคนนี้ก็มีชีวิตไม่เหมือนกัน มีเวลาในการทำงานไม่เท่ากัน อยู่บ้านไม่เท่ากัน ยังมีบางคนมีครอบครัวอีก ให้เวลาแก่ครอบครัวอีกไป อะไรอย่างนี้นะ ก็ไม่เหมือนกัน ก็รวมความก็คือต้องเอาหลักนี้ไปประยุกต์เอา ก็เคยพูดไว้แล้วว่า เราต้องใช้อาชีพของเรานี่เป็นแดนฝึกตัวเองให้ได้ใช่ไหม เพราะว่าเวลาของอาชีพกินชีวิตส่วนใหญ่ของเราไป นั้นเราก็ต้องเอาประโยชน์จากมันให้คุ้ม เอาประโยชน์จากอาชีพนี่ โดยใช้เวลาเฉพาะอาชีพในการฝึกตัวเองในทาง ศีลสมาธิและปัญญา เราก็ทดสอบตัวเองได้ เช่นอย่างเราอยู่ในอาชีพ ต้องเจอผู้คน ต้องมีเรื่องราวกระทบกระทั่งได้ยินได้ฟังอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เราจะวางจิตใจของเราได้ยังไง เราทดสอบตัวเองว่าเราเข้มแข็งไหม รับกระทบกระทั่งเหล่านั้นจิตใจของเราหวั่นไหวแค่ไหน เราใช้เป็นการฝึกตัวเองได้แค่ไหน เราก็ใช้โยนิโสมสนิการอีก เพื่อจะหาประโยชน์จากไอ้สิ่งที่มากระทบกระทั่งเรา อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่า ถ้าเราได้หลักแล้วเราก็มีสติที่จะเอาหลักนี้มาใช้ไม่ใช่ปล่อยตัวเรื่อยไปตามกระแสเหมือนคนไม่มีหลักเลยมันก็ไปตามกระแสอะไรมันก็กระทบก็ตกอยู่ใต้อำนาจของสิ่งที่มากระทบ ก็เรียกว่าตกอยู่ใต้อารมณ์ใช่ไหม เขาวุ่นวายฟุ้งซ่านไปกระทบกระทั่งเกิดอารมณ์ไปตามความรู้สึก นี้พอเรามีหลัก เราก็เอาสติมาใช้ เมื่อเกิดอะไรขึ้นมาเราหาประโยชน์จากสถานการณ์นั้นแทนที่จะปล่อยให้หลง ไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำมัน 1 เราอยู่ใต้อำนาจครอบงำมัน หรือ เราเอาประโยชน์จากมันได้ เอ้าสถานการณ์นี้เราปฏิบัติดีอย่างน้อยก็อย่างที่บอก 1 ก็ได้บททดสอบ ทดสอบว่าเรามีความเข้มแข็งไหมที่จะไม่วู่วามไม่ตามอารมณ์ไป 2 เราเอามันเป็นแบบฝึกหัดมาพัฒนาตัวเองได้ไหม เอาประโยชน์จากสถานการณ์นี้ได้ไหมในทางสติปัญญาก็ดี ในทางของคติหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่จะเอามาใช้กับมัน อันนี้ก็เป็นเรื่องของการมองสิ่งต่าง ๆ ที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ ซึ่งจะต้อง 1 มองหาความจริง 2 มองให้เห็นประโยชน์ หรือมองหาประโยชน์ให้ได้ เจออะไรก็ตามก็หลักทั่วไป ก็จะมีอย่างนี้ 1 มองให้เห็นความเป็นจริง มองไปตามความเป็นจริง 2 มองให้เห็นประโยชน์ แล้วส่วนที่จะทำให้เสีย เราไม่เอา เราไม่ยอมตกเป็นทาสไปกับมัน ทีนี้ก็กลายเป็นว่าเราเป็นนายของสถานการณ์หรือเอาประโยชน์จากสถานการณ์นั้นได้ ทีนี้ก็เป็นการฝึกตัวเองไปเรื่อย ๆ ฉะนั้นก็จะให้ไอ้ตัวกำหนดตายตัวยาก แต่ถ้าเป็นไปได้นะที่ได้พยายามย้ำก็คือว่า ช่วยกันเผยแพร่ไปในวินัยชาวพุทธออกไป ถ้าหากว่าสังคมนี้มันได้มีวินัยบ้างนะ วินัยชาวพุทธนี่สังคมจะมั่นคงขึ้นเยอะจะอยู่ดีขึ้นมากมายก็ต้องช่วยกันนะ ต้องฟื้นฟู เพราะสังคมของเรานี้มันระส่ำระสายเต็มที คือแนวเดิมของตัวเองตามวัฒนธรรม วัฒนธรรมของเรานี่ก็อ่อนแล้วนะ เราก็รักษาไว้ไม่ได้ แล้วเราก็มาตื่นกะวัฒนาธรรมแบบตะวันตก เสร็จแล้วเราก็เอาดีของเขาไม่ได้ใช่ไหม ไม่ได้เรื่องสักอย่าง ฉะนั้นก็ต้องมีความเข้มแข็ง คนไทยเวลานี้ข้อสำคัญต้องเข้มแข็ง เพื่อจะสู้กับสถานะการณ์นี้ แล้วก็ฟื้นฟูชีวิตและสังคมขึ้นมาให้ได้ หรือท่านทุสิกาโรว่าไง พูดยากอยู่ ว่าจะให้ยังไง ก็ได้แนวทางเป็นหลักกว้าง ๆ แต่ว่าท่านเองนั่นแหละเวลาไป เพราะว่าท่านได้เจอชีวิตด้วยตัวเองไม่เหมือนผม ผมก็พูดไปตามหลักของผมไม่ได้เจออย่างนั้นด้วย นี้ท่านไปเจอแล้วใช่ไหม ท่านก็เอาหลักไปใช้แล้วก็อาจจะได้แนวทางพวกท่านหลาย ๆ องค์ ก็อาจจะมาช่วยกันขบคิดต่อไปมีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตอะไรต่าง ๆ แล้วก็ได้แนวทางของตัวเองวางเป็นแนวเป็นแบบแผนคล้าย ๆ ว่าอาจจะเป็นวินัยชาวพุทธนี่แหละประยุกต์ให้เหมาะกับสภาพสังคมปัจจุบันที่มันอยู่ได้ดีที่ว่าชาวพุทธจะอยู่ได้อย่างดี แล้วก็มีชีวิตที่ดีงามด้วยแล้วก็ช่วยเหลือสังคมก็ให้ได้ทั้งสองอย่าง ชีวิตตัวเองก็ดีงาม แล้วก็ช่วยเหลือเกื้อหนุนสังคมด้วย วันนี้เท่านี้ก่อน