แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
กะศีลก็มี 4 อย่าง 4 หมวด 4 ชุด ในการศึกษาคิดว่าคงต้องให้ครบ ไม่งั้นเราไปนึกกันอยู่แค่เบญจศีล อันนั้นเป็นศีลหลัก ก็เรียกว่าเหมือนกับปาฏิโมกของพระ พระต้องมีศีล 227 เป็นหลัก แต่ว่าต้องมีเพิ่มอีก 3 อย่างนี้ด้วย
ก็ถือว่าในตัวหลักใหญ่ๆ อาตมาคิดว่าพูดไปแล้ว แล้วอันต่อไปก็คือจากเรื่องของความรู้ความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ เป็นไปได้มั้ยที่เราจะช่วยกันวางหลักที่มันไม่มากข้อนัก ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติการได้จริง อันนี้ต้องขอพูดอันหนึ่งว่าในสังคมชาวพุทธเรานี้ เป็นปัญหามาก คือ พระพุทธเจ้าสอนหลักธรรมไว้มากมาย แล้วบางทีเราก็เรียนรู้เยอะแยะหมดเลย แต่ว่าในชีวิตที่เป็นจริง ไม่รู้จะจับอันไหนมาทำมาใช้ และชาวพุทธก็เลยไม่มีจุดที่ร่วมกันที่ว่ามีหลักการอะไรที่ต้องยึดถือ เช่นว่า ศรัทธานี้ร่วมกัน ชื่อว่าถ้าเป็นชาวพุทธแล้วจะมีศรัทธาอย่างนี้ พูดได้เลย 1 2 3 4 5 มีความเชื่อ มีความเชื่อในหลักการ อุดมการณ์ อะไรก็แล้วแต่อย่างนี้
แล้วก็หมวดที่ 2 ก็คือ ถ้าเป็นชาวพุทธแล้วก็ต้องมีข้อปฏิบัติอย่างนี้ๆ แล้วทำกันให้ลงตัว เรื่องนี้คิดมานานเป็น 10 10 ปี แม้แต่ที่ออกหนังสือวินัยชาวพุทธก็เพราะอย่างนี้ เพราะเห็นว่าสังคมชาวพุทธนี้เคว้งคว้างเหลือเกิน พระยังพอมีบ้างว่ามีวินัยต้องปฏิบัติ บวชเข้ามาแล้วต้องถือศีล 227 ชัดเจนไปเลย ต้องทำนี้ๆ ทำอันนั้นๆไม่ได้ แต่ว่าชาวพุทธคฤหัสถ์นี้ไม่มีอะไรเลย ฉันเป็นชาวพุทธ แล้วชาวพุทธอยู่ที่ไหน ต้องทำอะไรบ้าง ไม่รู้ พูดไม่ถูกเลยเนี่ย เป็นกันอย่างนี้มานานแล้ว ทำยังไงจะให้เรามีสักที อันนี้ แล้วต้องไม่มาก วินัยชาวพุทธเกิดขึ้นมาก็เพื่อจะให้ชี้บ้าง แต่อาจารย์ชยสาโรมา คือ ท่านก็ชอบทวงอาตมาเรื่องนี้ เพราะว่าอาตมาก็ชอบคิดเรื่องนี้มาเป็น 10 10 ปี ที่ว่า อาตมาคิดไว้ท่านก็ยังว่ามากจัง ก็ยังมาก ก็ยอมรับจริงๆว่าวินัยชาวพุทธก็ยังมาก นี้เรามาช่วยกันทำให้มันเป็นข้อน้อยๆหน่อย นี้อาตมาก็ตั้งตุ๊กตาเสนอให้แล้วก็มาช่วยกันดู
อาตมาก็อยากจะให้มีหลัก หลักนั้นมันจะมี 2 หมวด คือ หลักความเชื่ออันหนึ่ง และหลักที่เป็นข้อปฏิบัติ เช่นว่า ถ้าเป็นชาวพุทธแล้วจะต้องมีการกระทำอันนี้ชัดลงมาเลย ทีนี้ถ้าเราฝึกตั้งแต่เป็นนักเรียนได้ก็ดี ว่านักเรียนของเรา โรงเรียนนี้ ในเมื่อเรายังทำโรงเรียนอื่นไม่ได้ก็โรงเรียนนี้ก่อน อาจจะต้องมีการกระทำอันนี้ ทีนี้อาตมานี้ไม่รู้ลึกซึ้งเหมือนอย่างคุณครูอาจารย์เพราะฉะนั้นก็ได้แต่ลองตั้งๆมา นี้ก็เป็นเพียงตัวบทข้อเสนอแนะพิจารณาเท่านั้น หรือเป็นตุ๊กตาเท่านั้น ก็อยากจะให้ทางโรงเรียนมาช่วยกันถ้าเห็นด้วยว่าน่าจะมีแล้วก็จะคิดวางอย่างไร เอาข้อไหนบ้าง ข้อความเขียนอย่างไรให้มันง่ายๆ อาตมาจึงได้เขียนตัวอย่างไว้ตอนต้นบอกวางหลักที่เข้าใจง่าย จำง่าย เช่น เลือกสำนวนใดสำนวนหนึ่งต่อไปนี้ หมายความ 3 ข้อต่อไปนี้ความหมายเดียวกัน แต่ว่าอาจจะเลือกเอาสำนวนที่มันง่าย หรือยังไง หรือว่าไม่ยากนัก อันไหนเหมาะที่สุดช่วยกันดู อย่างสำนวนที่ 1 บอก มีพอที่ศรัทธาเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาปัญญาให้เป็นพุทธะ ถ้าเขียนอย่างนี้ก็เป็นความหมายแบบเต็มไปเลย แต่ทีนี้อาจจะยากไป สำนวนที่ 2 มนุษย์จะประเสริฐได้เพราะฝึกตนด้วยสิกขา หรือจะใช้คำว่าด้วยการศึกษาก็แล้วแต่ แล้วก็สำนวนที่ 3 บอก มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก เอาง่ายๆ อย่างนี้เป็นต้น หมายความว่านี้เป็นตัวอย่างให้เรามาปรับสำนวน แต่ว่าตัวหัวข้อนั้นก็ตั้งไว้ให้อย่างนี้แล้วก็สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ตัดออกเพิ่มเข้า ถ้าเห็นด้วยว่าควรจะมีก็ต้องช่วยกัน ทีนี้ที่อาตมาเสนอว่าในที่นี้ลองอ่านดูก่อน อาตมาอ่านให้ฟังให้หมดก่อนเลยนะ
หมายความว่าอันนี้ก็คือหลักศรัทธาในพระรัตนไตรเอามาเขียนในสำนวนใหม่ และก็หลักกรรม เพราะว่าหลักศรัทธาของชาวพุทธ อันนี้ก็ขอแทรกหนึ่ง คือเราไปจำกันศรัทธา 4 หลายท่านคงจำได้ รู้มั้ย ศรัทธา 4
ศรัทธา 4 มีกรรมศรัทธา วิบากศรัทธา กัมมัสสกตาศรัทธา ตถาคตโพธิศรัทธา ใครเคยได้ยินบ้าง ศรัทธา 4 ศรัทธาของชาวพุทธ 4 ข้อ แต่ที่จริง 4 ข้อนี้ไม่มีในของเดิมของท่าน หลักการเดิม ของท่านในระดับอรรถกถานะ พระพุทธเจ้าในตถาคตโพธิศรัทธา ในอรรถกถานั้นจะมี 2 อย่าง 1) ตถาคตโพธิศรัทธา หรือรัตนะตรัยศรัทธา อันใดอันใด คือ ตถาคตโพธิศรัทธา ก็แทนรัตนะตรัยศรัทธา หรือจะใช้รัตนะตรัยศรัทธา ก็ศรัทธาในพระรัตนตรัย 2) กรรมผลศรัทธา ศรัทธาในกรรมและผลของกรรม จบ ไม่ต้องมี 4 ข้อ 2 อันก็คือ อันที่ 1 เป็นเรื่องของพระรัตนตรัย อันที่ 2 เป็นเรื่องของกรรม
ทีนี้ในนี้จะเห็นว่าข้อ 1 เชื่อว่ามนุษย์จะประเสริฐได้เพราะฝึกตนด้วยสิกขา ก็คือเรื่องพุทธะ พระรัตนตรัยข้อ 1 ฝึกตนให้มีปัญญาบริสุทธิ์ เมตตากรุณาตามอย่างพระพุทธเจ้าก็พุทธะอีกแหละ ถือธรรม ความจริง ความถูกต้องดีงามเป็นใหญ่ เป็นมาตรฐาน นี้ก็ธรรมะ สร้างสังคมตั้งแต่ในบ้านให้มีสามัคคีเป็นที่กัลยาณมิตร มาเกื้อกูลร่วมกันสร้างสรรค์ นี้ก็สังฆะ แล้วก็สร้างความสำเร็จด้วยการกระทำที่ดีงามของตน โดยพาคเพียรอย่างไม่ประมาท อันนี้ก็คือหลักกรรม
ทีนี้เวลานี้เราเคว้งคว้าง คำว่ากรรม ก็ไม่ออกมาสู่ภาษาไทยให้ชัดเจน จับจุดไม่ได้ คนก็ไปเน้นในแง่รอผลกรรมอะไรบ้าง แทนที่ท่านสอนกรรมมาให้เราทำกรรมดี เพื่อให้เราทำให้ถูก ไม่ใช่สอนเพื่อรอผลกรรม ท่านสอนให้ทำ ไม่ใช่สอนให้รอ เพราะว่าเก่าเราอาจจะทำมาผิด เพราะฉะนั้นก็เปลี่ยนซะถ้าทำกรรมมาไม่ดี ก็เปลี่ยนเป็นทำกรรมดี ทำกรรมดีแล้วก็ทำกรรมดียิ่งขึ้นไป ถึงได้มีสิกขา สิกขามาเพื่อฝึกให้เราเลิกทำกรรมชั่ว แล้วก็ทำกรรมดี แล้วเราจะได้พัฒนาตัวเองให้ทำกรรมดียิ่งขึ้นไป สิกขานี้แหละมาฝึกให้เราทำกรรมให้ถูกต้อง แล้วเราจะมัวไปรอผลกรรมอะไรกันอยู่ ฝึกให้ทำกรรม ฝึกเพื่อให้เราได้รู้จักกรรมที่ถูกต้องและเราจะได้ละกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรมที่ดียิ่งขึ้นไป ก็คือจะได้ละอกุศล แล้วก็ทำกุศล แล้วก็ทำกุศลที่สูงขึ้นไป เรียกว่าพัฒนา เจริญในกุศล หรือภาษาพระเรียกว่า กุศลภาวนา ก็คือการพัฒนากุศล ก็พัฒนาด้วยกรรมนั่นเอง กุศลภาวนา พัฒนากุศล ก็พัฒนาไง ก็คือกรรม ก็ทำกรรมที่ดียิ่งขึ้นไป แล้วจะทำกรรมที่ดียิ่งขึ้นไปยังไง ก็คือด้วยสิกขานี่แหละ การฝึกศึกษานี้เอง นี่เราก็เน้นให้เห็นชัดเจนเลยในทางปฏิบัติการ แล้วคนเดี๋ยวนี้ที่เรียกชาวพุทธเนี่ย ไปขูดเลขหวยไปรอผลโชครางไสยศาสตร์อะไรต่ออะไรไปกันหมด อ้อนวอนขอฤทธิ์บันดาลอะไรต่างๆ มันก็เสียหลักกรรมหมด เราก็ต้องพูดให้ชัดเลย สร้างความสำเร็จด้วยการกระทำ ไม่ใช่สร้างผลสำเร็จด้วยการอ้อนวอน ไปนอนรอคอยโชคอะไรอย่างงี้ ลัทธิรอผลดลบันดาลมันเกลื่อนเมืองไทยเหลือเกินแล้ว ต้องเอาหลักกรรมที่แท้มาแก้เสียที ฉะนั้นถ้ากรรมจี้จุดให้ถูกก็ได้อย่างนี้ ก็คือว่า สร้างความสำเร็จด้วยการกระทำที่ดีงามของตนโดยพากเพียรอย่างไม่ประมาท ก็ใช้หมดทั้งหลักความไม่ประมาท ทั้งหลักความพากเพียร พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเป็นกรรมวาที เราเป็นวิริยวาที พระองค์ไม่ได้ตรัสอันเดียวนะ
เราเป็นกรรมวาที เราเป็นวิริยวาที แปลว่า เราเป็นผู้ถือหลักการกระทำ เราเป็นผู้ถือหลักความเพียร ก็ความความการกระทำมันต้องมากับความเพียร คนไม่มีความเพียรมันจะทำไปไหวหรือ มันก็สอดคล้องกันก็คือต้องมีความเพียร เพราะฉะนั้นเวลาไปพูดเรื่องกรรมเนี่ย เพื่อแก้ปัญหาความเข้าใจผิด เอาพระสูตรนี้ไปพูดได้เลยว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้เองว่า เราเป็นกรรมวาทีเราเป็นวิริยวาที ต้องพูดคู่กัน เราถือหลักการกระทำ เราถือหลักความเพียร ต้องมีความเพียรด้วย
อันนี้เป็นหลักในแง่ของหลักการใหญ่ที่ยึดถือหรือเชื่อก็แล้วแต่ แล้วก็ช่วยกันพิจารณา แม้จะเปลี่ยนสำนวนหรือจะตัดหรือจะเติม
ในช่วงต้นของเด็กที่เล็กมากนี่ก็จะยังให้เห็นชีวิตก็คือชีวิต เด็กเนี่ยเวลาเห็นมดเค้าก็จะใช้เท้าขยี้ทันทีในสมัยก่อน แล้วก็ให้เค้ารู้ว่ามีชีวิตเท่ากันแล้วก็ไม่ทำลาย ส่วนใหญ่เด็กจะอยู่ในขั้นนี้ แต่ว่าถ้าพูดถึงในบ้านแล้วตบยุงหรือว่าเป็นพ่อแม่ที่ต้องฉีดยุ่ง อันนี้เด็กก็จะไม่ได้ยุ่งเกี่ยว แต่ว่าเด็กจะถูกสอนว่าเมื่อเห็นเนี่ยเค้ามีชีวิตเท่ากันและเป็นเพื่อน เค้าจะเห็นแล้วเค้าไปเฝ้าดูมากกว่าเจ้าค่ะ แล้วก็จะเห็นมดมันเอาหนวด antenna เค้าก็จะเฝ้าดูเป็นเพื่อนของชีวิตเจ้าค่ะ ส่วนตอนสมาทานศีลยังใช้รวมกันอยู่เจ้าค่ะ
แต่ทีนี้ว่าในขั้นไหนจะเป็นปัญหาได้มั้ย หรือแม้แต่ในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็ยังเป็นปัญหาได้ นี้ว่าเราจะให้ปฏิบัติศีลได้ด้วยความมั่นใจแม้แต่เด็กเอง เด็กเล็กๆแน่นอนเราสอนให้มีเมตตากรุณาและให้รู้เหตุผลว่าเรารักชีวิตเราฉันใด เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด สัตว์อื่นก็ฉันนั้น อันนี้ก็เป็นการอธิบายเชิงเหตุผลคือให้ถือศีลด้วยปัญญา เราก็รู้ว่าเค้าก็มีชีวิตเช่นเดียวกัน แต่ทีนี้ต่อไปเค้าจะเห็นคุณพ่อคุณแม่มาฉีดยา อ้าวแล้วคุณพ่อคุณแม่ทำไมทำอย่างนี้หล่ะ นี้ก็ต้องมีตอบเค้าได้นะ เนี่ยคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องพร้อมที่จะตอบอันนี้ด้วย จะพร้อมมั้ยที่ว่าพอถึงตอนนี้เราจะให้หลักนี้ให้เค้าทราบ
ก็คือว่า เค้าก็เห็นที่บ้านทำเหมือนกันนะคะ แต่คือหลักคิดของโยมก็คือว่า ก็อธิบายให้เค้าฟังว่าเราทำเพราะอะไร แต่ก็จะบอกว่าต่อไปเนี่ยจะซื้อพวกสมุนไพรกันไว้จะได้ไม่ต้องทำเจ้าค่ะ แต่ก็มีความคิดว่าเรื่องการสอนให้ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเนี่ยก็สามารถบอกได้เลย โดยที่ไม่รู้สึกว่ามันยาก
ไม่รู้สึก ถ้าอย่านี้ก็ไม่เป็นไร แต่ถึงยังไงในระดับหนึ่งต้องรู้อันนี้ด้วยนะ คือต้องสามารถแยกแยะ เช่นว่าให้เด็กเข้าใจเรื่องว่าปาณาติบาทอย่างไหนมีโทษมากโทษน้อย ถ้าเขาเข้าใจแล้วเขาจะมีความมั่นใจในตัวเองในการปฏิบัติมากขึ้น ไม่เช่นนั้นเค้าพร่าแล้วเค้าจะไปฆ่าสัตว์ไหนเค้าก็รู้สึกว่าเหมือนกันหมดนะ นี้เช่นว่าพ่อแม่ก็อาจจะอธิบายกับลูกได้บอกว่า เนี่ยสัตว์นี้เราพยายามหลีกเลี่ยงเรารู้ว่าเค้ารักชีวิตเค้า แต่เราเห็นในอันตรายเช่นว่าแม่ก็รักลูกแล้วอาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตลูกแม่เลยต้องเลือกเอา ใช่มั้ย เลือกเอาประโยชน์ใหญ่กับประโยชน์น้อย โทษมากโทษน้อย อันนี้หมายความต้องมีเหตุผลในระดับที่ตอบได้เป็นลำดับไป พอสูงขึ้นมาก็อธิบายได้อีก
เจ้าค่ะ ก็ทำให้รู้สึกเบาใจขึ้นเจ้าค่ะ ว่าถ้าได้อธิบายเค้าให้ฟังว่าระดับของบาปเนี่ยมีมากน้อยแล้วแต่
ก็เราก็จะได้ชัดว่า ลูกจะเห็นว่าแม่เนี่ยไม่ทำร้ายสัตว์ที่เค้าไม่รังแกเราเลย ที่เค้าไม่เป็นโทษเลย ก็จะไปทำเค้าบ้างเฉพาะสัตว์ที่มันเป็นอันตราย มีโทษ แล้วแม่ก็พยายามหลีกเลี่ยงที่สุดใช่มั้ยเจริญพร เพราะเรารู้ว่าทุกชีวิตรักตัวเอง
กราบพระคุณเจ้า ตรงนี้เองผมมีความรู้สึกที่สับสนนะครับ แล้วก็แต่ว่าเมื่อกี้ชอบกาย??? และจับใจตรงที่พระคุณเจ้าพูดในเรื่องของศีลนะครับ ประเด็นแรกคือการเตรียมสิ่งที่ดีที่สุดให้สำหรับเด็กเนี่ย ผมว่าเรื่องตรงนี้กลับไม่ใช่เรื่องใหญ่สักเท่าไหร่ เพราะพ่อแม่ทุกคนก็พยายามที่จะเตรียมสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบุตรอยู่แล้วนะครับ แต่ว่าเรื่องที่ยาก ยากยิ่งขึ้นเนี่ย ที่ผมว่าเป็นเรื่องยากมากคือการที่จะพัฒนาให้เค้าเนี่ยสามารถหยิบสิ่งที่ดี??? เห็นในเรื่องไม่ดีได้ ซึ่งตรงนี้ผมว่าค่อนข้างยากนะครับ เสร็จต่อมาถึงตรงที่เรื่อง เราจะทำยังไงให้ลูกเข้าใจว่าการที่จะอยู่ในสังคมโดยการที่รักษาเบญจศีลให้ครบถ้วนหมดในปัจจุบันนี้นะครับ ตัวโยมเองโยมคิดว่าค่อนข้างยากมากเพราะว่าแม้แต่ เมื่อกี้พระคุณเจ้าพูดเรื่องสัมมาชีพ ทุกวันนี้เองในการประกอบสัมมาชีพเพื่อที่จะให้ครบถ้วนเบญจศีลทั้งหมดเนี่ย เราเองก็ยังทำได้ยาก ที่อยากเรียนถามพระคุณเจ้าคือ โยมเองเคยได้รับการสอนจากพระสงฆ์รูปหนึ่งซึ่งก็มีศรัทธากับท่านมากนะครับ ท่านก็บอกว่าในกรณีศีล 5 เนี่ย บางอย่างตัวโยมเองยังอาจไม่สามารถถือศีลครบได้ทั้ง 5 ข้อ ในบางขณะเนี่ย ถ้าจำเป็นก็ให้ถือศีลให้มากข้อที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องผิดศีลบ้างก็ขอให้รู้ไว้ว่าในการที่จะต้องผิดศีลนั้นเนี่ยเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อที่จะดำรงชีพอย่างนี้ ไม่ทราบอย่างนี้ถูกมั้ยครับ?
ก็ได้ในแง่หนึ่ง แต่ว่าคือเราดูวัตถุประสงค์ของศีล อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสูตร เราจะเห็นชัดเลยว่าตัวการเบียดเบียนนี้เป็นตัวตัดสินสำคัญ เช่น อย่างเอาละปาณาติบาทในพระสูตรอย่างนี้ตรัสเฉพาะมนุษย์เท่านั้นเอง ปาณาติบาทในพระสูตรนั้นนะเออแปลกหมายถึงเฉพาะมนุษย์อย่างเดียว
แล้วทีนี้มาถึงมุสาวาท พูดเท็จ การพูดเท็จที่เป็นตัวตัดสินสำคัญก็คือว่าเจตนาตัดรอนประโยชน์ของเขา อันนี้เป็นมุสาวาท อันนี้เรามาใช้ในการที่ว่าบางทีแพทย์เนี่ยต้องพูดเหมือนกับหลอกคนไข้ใช่มั้ย ก็ถ้าเอาแบบหลักนี้มาวินิจฉัยว่าผิดศีลมั้ยเนี่ย ถ้าเราดูเราจะเรียกว่าเจตนารมณ์ จะเห็นว่ายังไม่ผิดเจตนารมณ์ของศีล เพราะท่านบอกไว้เพื่อตัดรอนประโยชน์ของเขา เช่นว่า เค้ามาทางนี้เค้ามาถามเราว่าเค้าหลงทาง เค้าไปไม่ถูกเลยมีทางสองแพร่งสามแพร่งจะไปทางไหน เรารู้ทางแต่เราต้องการตัดรอนประโยชน์เขา เราก็เลยชี้ทางผิดให้บอกทางนี้ อย่างนี้มุสาวาท ทีนี้ว่าถ้าอย่างกรณีแพทย์หรือคนเฝ้าไข้หรือพยาบาลอะไรก็แล้วแต่เห็นว่าคนไข้ไม่มีกำลังใจพอ ไม่สามารถจะรับรู้ความจริงในเรื่องโรคของเขาได้ตอนนี้ เขาก็พูดหลีกเลี่ยงไม่เป็น เขาก็ได้แค่หลอก ก็เรียกง่ายๆว่าพูดเท็จไป ในกรณีนี้เจตนานั้นเจตนาดีต่อคนไข้นะ ก็ไม่ผิดจังๆในเรื่องมุสาวาทเพราะว่าไม่ได้ตรงเจตนารมณ์ตัดรอนประโยชน์เขา แต่ว่าในแง่ของการฝึกท่านยังไม่ยกเว้นให้เพราะว่าเราจะได้ฝึกตัวในการที่ว่า พยายามที่ทำไงจะไม่ต้องพูดเท็จเลย แม้แต่ว่าเราไม่พูดจริง เราหวังดีต่อเขาไม่ให้เขารู้ความจริง เราอาจจะตัดรอนประโยชน์ลึกๆเขาก็ได้ แต่ว่าตอนนี้แน่นอนถ้าเขารู้เขาจะไม่ได้ประโยชน์นั้นด้วยเพราะเขาทรุดหรืออาจจะถึงแก่กรรมไปซะก่อน ประโยชน์ของบางคนถ้าเขายอมรับความจริงได้ เขาจะได้เตรียมใจเตรียมชีวิตอะไรของเขาได้ซึ่งจะได้ประโยชน์ขั้นสุดท้ายของชีวิตซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างสูง เพราะฉะนั้นก็ขึ้นต่อกัลยาณมิตรผู้สามารถ ท่านอาจจะยอมให้ว่าคนนี้ทำได้แค่นี้ เอาละเจตนาดีก็หลอกคนไข้ไว้ก่อน ไม่บอกความจริงว่าเป็นโรคร้ายอันนี้ แต่อาจจะต้องอาศัยอีกคนนึงที่มีความสามารถ พอพูดจาจนกระทั่งคนไข้ยอมรับความจริงได้แล้วบอก เพราะเวลาที่เหลือของเขาจะได้เป็นเวลาที่มีค่ามีประโยชน์ที่สุดในชีวิตของเขาเลย เนี่ยอันนี้เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ยกเว้นให้เดินโดยสิ้นเชิง ไม่ฉะนั้นแล้วเราก็จะประมาทแล้วเราก็จะปล่อยปละละเลย เอาละเราหวังดีกับคนไข้เราก็หลอกเค้าไปแล้วก็จบ จริงๆมันไม่จบหลอกเพราะเค้าควรจะได้ประโยชน์มากแค่นี้อีก แต่ก็ต้องพัฒนาเค้าก่อนให้เค้าพร้อมอีกขั้นนึง แต่ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้มันไม่ใช่มุสาวาทแท้ เพราะมุสาวาทแท้อยู่ที่ตัดรอนประโยชน์เขา เจตนาเบียดเบียน ก็เพราะฉะนั้นอันนี้ไม่ทราบจะใช้กันได้หรือเปล่า คฤหัสชีพที่ว่า
ตรงประเด็นที่พระคุณเจ้าพูดครับแต่ว่าผมยังกังวลว่าเรื่องลักษณะอย่างนี้มาเนี่ย เราสอนเด็กแล้วก็ให้เด็กเข้าใจ จะได้มั้ยครับ เพราะอย่างพระคุณเจ้าพูดเนี่ย ผมเข้าใจว่าเราจะทำกันลักษณะไหนแค่ไหน มันจำเป็นต้องถ่ายไปที่เด็กนี้จะทำได้มั้ยครับ
ก็เด็กก็คือให้รู้ว่าเจตนาเราไม่ต้องการทำร้ายเขา ไม่เบียดเบียนเขา เราหวังดีต่อเขา บอกว่าที่เรามีศีล 5 รักษาศีล 5 เนี่ย ทุกข้อเลย เรามุ่งหมายเพื่อที่ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทำร้ายกัน แล้วก็อยู่กันด้วยความหวังดีปรารถนาดีต่อกัน เป็นมิตรต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เจตนารมณ์ของศีลของอยู่เท่านี้ เพราะศีลฝ่ายบวกก็มี ศีลฝ่ายบวก โยมบางทีไม่ได้นึกนะ ศีลไม่ใช่มีแค่ฝ่ายยกเว้นอย่างเดียวนะ สังคหวัตถุ 4 นี่ถ้าจัดเป็นศีลหมด ทาน ปิยวาจา อัตจริยา สมานตัตตา เราไม่เบียดเบียนกัน เราถือศีล 5 นี่ไม่เบียดเบียนแล้วใช่มั้ย เสร็จแล้วเราก็ยังมาสังคหะ ช่วยเหลือด้วยทาน ปิยวาจา อัตจริยา สมานตัตตา นี่ก็อยู่ระดับศีลเหมือนกัน แล้วเจตนารมณ์ของศีลจึงได้พูดว่าสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในทางที่ไม่เบียดเบียน แต่ว่าเกื้อกูลกัน ทีนี้ถ้าหากว่าเราอยู่ในเช่นระบบสังคมปัจจุบันที่เป็นระบบโดยส่วนรวมแล้วมันเอื้อต่อการเบียดเบียนใช่มั้ย ถ้าสังคมนี้มันไม่เอื้อต่อการมาช่วยกันเนี่ย ก็เราก็รู้ตระหนักความจริงนี้ แล้วเราก็พยายามทำในทางเกื้อกูลให้มากที่สุด ตั้งเจตนาใหญ่เป็นหลักไว้ก่อน แต่อันบางอันนี้เราก็ยอมรับความจริงว่าเรายังอยู่ใต้กระแสและอยู่ในความครอบงำของระบบสังคมนี้ เรายังหนีไม่พ้น เราก็ยอมรับความจริงอย่างที่ว่าเมื่อกี้ เราก็ต้องยอมรับความจริงแต่เราก็พยายามหลีกเลี่ยงการที่จะต้องทำเสียหายอย่างนั้นให้เหลือน้อยที่สุด ก็ตอนแรกเรายังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อาจจะมีปัจจัยบีบบังคับอะไรต่างๆ เราก็พยายามให้มันเป็นโทษน้อยที่สุด แล้วก็เอาทางฝ่ายดีมาทำให้มากที่สุด ให้เป็นไปได้ อย่างนี้อย่างเว้นจากการเบียดเบียนแล้วเราก็เอาสังคหวัตถุเข้าไป ไปช่วยเหลือกัน สงเคราะห์กัน คนก็ช่วยเหลือกันด้วยเนี่ย ทาน ปิยวาจา อัตจริยา สมานตัตตา นี่อยู่ในระดับศีล ศีลฝ่ายบวก สังคหวัตถุนี่ก็ต้องเน้นนะลืมบอก ในการอยู่ร่วมสังคม 4 อย่างเนี่ย เพราะคนเราตั้งแต่ในครอบครัวก็ 4 อันนี้
ทีนี้ เอาละเรายอมรับระบบสังคมนี้ก็คือการแก้ปัญหาในระยะยาว เราก็ต้องมองในระยะยาวด้วยว่า เราอยู่ในระบบสังคมนี้ที่มันครอบงำและบีบคั้นเรา ทำให้เราหลีกเลี่ยงการกระทำอย่างนี้ไม่ได้ แต่ว่าในระยะยาวเราจะแก้แม้แต่สังคมนี้ด้วย เราจะเป็นส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาสังคมนี้ ให้ระบบนี้มันเปลี่ยนไปด้วย อันนี้ก็เป็นอีกชั้นหนึ่ง ก็บางคนก็เช่นว่าจะไปทำการใหญ่อันหนึ่ง ตอนแรกจำใจจำยอมต้องไปเข้าร่วมอยู่ในวงนั้น แต่เจตนาที่แท้นั้นคือเพื่อไปแก้ไขนั้นเอง การกระทำในเบื้องต้นก็กลายเป็นเรื่องที่เป็นส่วนปลีกย่อยไป เพราะเจตนาใหญ่มันดี แต่ว่าถ้าไม่ทำอันนี้มันก็ไปอันโน่นไม่ได้ ก็ต้องใช้หลักที่ว่า เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ใหญ่ต้องยอมเสียประโยชน์น้อย ก็มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่ง เมื่อเห็นประโยชน์ใหญ่ต้องยอมเสียประโยชน์น้อย ได้เลย อันนี้ไม่ทราบใช้ได้หรือเปล่า ก็ลองพิจารณาดูสิว่าหลักการอันนี้ หลักการเจตนาสำคัญก็คือเรื่องศีลก็คือไม่เบียดเบียนกัน ไม่ตัดรอนทำร้ายผู้อื่นแม้แต่???ผลประโยชน์ของเขา แล้วก็พยายามไปทางบวกคือทางเกื้อหนุน
จะเอาอย่างไงดีเจริญพร จะพอตอบได้หรือยังละเนี่ย
คงเป็นทางคณะผู้บริหารโรงเรียน??? เพียงแต่ว่าในส่วนตัวก็มีอยู่เป็นความเห็นของผู้ปกครอง??? ตัวที่เด็กออกไปแล้วไปอยู่ในสังคมที่ต้องแข่งขันกันอย่างรุนแรงแล้วก็อาจจะมีปัญหา
อันนี้เราต้องเตรียมคนของเราให้พร้อมด้วยนะ คือ เมื่อเป็นชาวพุทธเนี่ย ต้องอยู่ได้อย่างดีที่สุดในสังคมแม้แค่ที่มันแย่ที่สุดใช่มั้ย เราก็ต้องฝึกกันให้พร้อมอย่างนั้นด้วย แล้วก็เราไม่ใช่เพียงไปอยู่ได้นะ เราต้องไปนำการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีด้วย ต่อไปเราก็เมื่อไปอยู่แล้วตอนแรกเราไม่มีกำลังพอ เราก็ถูกบีบคั้นด้วยระบบนั้น จำใจจำยอมทำบางอย่างไป แต่ว่าต่อไปก็คือเจตนาระยะยาวเรามีจุดมุ่งหมายอยู่แล้ว เราก็พยายามเดินไปในทิศทางที่จะแก้ปัญหาอันนี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงกระแสสังคม ระบบสังคมไปด้วย ระยะยาวต้องคิดอย่างงั้น
โยมก็ว่ามี เป็นความเห็นที่ดีในฐานะผู้ปกครอง ซึ่งอาจจะห่วงว่าลูกจะไปอยู่ในสังคมแข่งขันอย่างไรเจ้าค่ะ แล้วก็จะเห็นคือทุกคนที่มาที่นี่ก็ไม่ใช่แต่ผู้บริหารหรือครูเจ้าค่ะ เค้าเป็นทั้งบุพการีและผู้ที่ทำงานอยู่ในสังคม แต่ว่าอยากเห็นแล้วก็ท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็ทำให้เห็นแนวทางว่า โรงเรียนแนวพุทธเนี่ยขึ้นมาในสังคมเพื่ออะไรเจ้าค่ะ อันนี้ประโยคอย่างนี้ที่ท่านเจ้าคุณพูดนี่ก็จะทำให้เห็นภาพชัด ประโยชน์ของโรงเรียนแนวพุทธเจ้าค่ะ หรือว่าลูกโตขึ้นมาในสังคมแล้วจะเป็นอย่างไรเจ้าค่ะ
สามแล้วครูอาจารย์ก็ต้องกลับแล้วสิ มีภาระ เอาหน่อยแหนะ อย่างงั้นก็ขอต่ออีกนิด คือเรื่องนี้ก็มีคำถามบ่อยนะ อาตมาอยู่นี่ อย่างพระที่ท่านมาบวชชั่วคราวท่านมาจากอาชีพต่างๆ ท่านรู้ตัวว่าท่านไปอยู่ในอาชีพที่มันเป็นปัญหาที่ทำสิ่งที่ไม่ดีต่อสังคมแล้วถามอาตมาว่าจะต้องทำยังไง
อ้าว เราก็ต้องอยู่อย่างรู้เท่าทันสิ เจตนาระยะยาวเรามี ถ้าเราตั้งอันนี้ไว้ได้ แล้วในระหว่างนี้ที่เราต้องทำไปกับเขานี่เราก็พยายามให้ส่วนที่มันเกื้อกูลหรือเป็นประโยชน์เนี่ยดุลขึ้นมาบ้าง หนึ่งแล้ว เท่ากับเรามีโอกาสไปช่วยเค้าแล้วนะ เพราะงั้นกิจการแบบนี้มันจะเสียหายกับสังคมมาก เราก็ไปช่วยให้มันมีส่วนที่ดีเกื้อกูลขึ้นมาบ้าง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราก็ต้องมีปัญญาเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาระยะยาว การที่เรามาอยู่ในระบบนี้กิจการนี้ได้เรียนรู้พัฒนาปัญญาของเรา ถ้าเราไม่ได้เรียนรู้ได้รู้กลไก ความเป็นไปของระบบนี้แล้ว แม้แต่เราจะไปแก้ปัญหาเราก็แก้ไม่เป็น งั้นก็เป็นประโยชน์ที่เราได้มาอยู่ในระบบนี้ด้วย เราก็รีบเอาประโยชน์เลย ก็คือว่าไปอยู่โดยมีความตระหนักรู้ว่าเราจะเรียนรู้ระบบว่ามันเสียหายยังไงอะไรต่ออะไรด้วย ถ้าอย่างงั้นแล้วก็ไปสักแต่ว่าหม่นหมองใจ ไม่สบายใจ ฉันต้องอยู่ในระบบนี้ที่มันทำแล้วเสียหายแก่สังคมอะไรต่ออะไรเนี่ย แล้วจะยังไง ตัวเองก็ไปไม่ได้ เอ้าก็รีบทำซะว่าเป็นโอกาสแล้วที่เราจะได้เรียนรู้ปัญหา สามเหตุของปัญหา กลางตัวปัญหาแล้ว เรียนเลย ศึกษาเลย ก็มองแง่ดีได้ประโยชน์เลย แล้วคุณนี่แหละจะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาต่อไป เพราะเราเข้าใจดี
ถ้าอย่างงั้นอันนี้ผ่านก่อนนะ หมายความว่า นี่คือตัวอย่างของการที่ว่า ต้องหาแง่ที่เอาประโยชน์ให้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอะไร เลวร้ายยังไงเนี่ย ถ้ารู้จักโยนิโสมนัสสิกาลต้องหาประโยชน์ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วพระบางองค์จะมรณะภาพแล้วทำไมบรรลุอรหัตผลได้หล่ะ ก็หมายความว่าทุกข์อย่างหนักที่สุดมนุษย์ก็ยังเอามาทำให้ตัวเองตรัสรู้ได้ เนี่ยสิ่งเลวร้ายที่สุดมนุษย์รู้จักใช้ปัญญาก็จะเอาประโยชน์ได้ ก็ต้องไปพิจารณาดู เอาหลักการนี้ก่อนนะ
ทีนี้ต่อไป ข้อต่อไปอ่านก็พอ แล้วก็ช่วยกันดู อาจจะต้องฝากว่าช่วยกันคิด
สวดสาธยายพุทธวจนะบทหนึ่งหรือตอนหนึ่งโดยเข้าใจความหมาย ทำใจให้สงบ และอธิษฐานจิตเพื่อจุดหมายที่เป็นกุศล วันละ...นาที หรืออะไรก็ว่าไป หมายความว่า แต่ก่อนอาจจะพูดว่าสวดมนต์ อันนี้ก็ให้กว้างขึ้น คำว่าอธิษฐานจิตนี้ก็คือ หมายความว่าเป็นตัวเสริมสมาธิ อธิษฐานในที่นี้คือความหมายเดิมนะ ไม่ใช่อธิษฐานขอเจ้าพระคุณ อธิษฐานในที่นี้คืออธิษฐานแบบพระพุทธเจ้า อธิษฐานของพระ อธิษฐานเพื่อจะทำ คือตั้งใจจะทำอะไร อธิษฐานในความหมายของพระพุทธศาสนาเป็นบารมีอย่างหนึ่ง คือความตั้งใจ มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว ว่าจะทำอันนั้นให้สำเร็จ มีจุดมุ่งหมายที่ดีแล้วก็ทำการนั้น ไม่ใช่อธิษฐานเพื่อจะได้ แต่อธิษฐานเพื่อจะทำ คนไทยเนี่ยอธิษฐานเพื่อจะได้ ของพระอธิษฐานเพื่อจะทำ พระพุทธเจ้าอธิษฐานพระทัยก็นั่งบำเพ็ญบารมีเพื่อจะได้บรรลุโพธิญาณใช่มั้ยเจริญพร อธิษฐานในที่นี้คืออย่างงั้น คือหัดเด็กให้มีจิตใจเข้มแข็ง มีการตั้งใจจริงในการจะทำอะไร ก็อันนี้จะสำทับเรื่องการฝึกสมาธิ
ต่อไป ไปวัดชมอารามที่รื่นรมเดือนละ 1 ครั้ง (หรือไปร่วมกิจกรรมทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา) อันนี้ฝากไว้ไปปรับเอง
ต่อไป ทำกรรมดี (จะใช้คำว่าทำบุญ หรือใช้คำว่าบำเพ็ญประโยชน์) อุทิศแด่พระรัตนตรัย มารดา บิดา ครูอาจารย์ และท่านผู้เป็นบุพการีของสังคมในอดีต สัปดาห์ละอย่างน้อย 1 ครั้ง ให้ลองคิดดู เป็นไปได้มั้ย
ต่อไป ตั้งกำหนดวันปลอดการบันเทิงให้กับตนเอง เดือนละ หรือสัปดาห์ละ 1 วัน หรืออะไรอย่างนี้ อาจตั้งกำหนดชมรายการบันเทิงแต่ละวันด้วยว่าแค่ไหน ถ้าตั้งได้นะ ท่านเรียกว่าเป็นวัตรอย่างหนึ่ง วัตรเป็นข้อปฏิบัติประจำตัว เช่นว่า ฉันจะดูบันเทิง ฉันก็ดูแค่นี้ หรือมีวันเว้นวันนี้ไม่ทำ เหมือนอย่างการถืออุโบสถก็อย่างนี้แหละ การถืออุโบสถก็อันนี้เหมือนกัน นี่คือการที่หัดเด็กให้ถืออุโบสถ ก็เราก็อยู่กับศีล 5 มา 8 วันแล้ว เราก็ไปขึ้นไปอยู่ศีล 8 สักวันหนึ่ง ศีล 8 ก็คือว่า ตอนนี้ ศีล 5 ก็คือไม่เบียดเบียนใครแล้ว แต่ศีล 8 ก็จะมาพัฒนา ให้มีจิตใจพัฒนาขึ้น ให้พร้อมที่จะเป็นสุขง่ายขึ้น โดยพึ่งพาวัตถุน้อยลง ศีล 8 ที่เพิ่มเนี่ย คือเป็นศีลที่ฝึกคนให้เป็นสุขได้โดยพึ่งพาสิ่งเสพบริโภคน้อยลง เจตนารมณ์อยู่ที่นั่น แล้วก็พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งขึ้นด้วยภายในตัวเอง ก็จะขึ้นต่อวัตถุน้อยลง
เอาละเจริญพร ลองดูว่าจะทำยังไงได้มั้ย เจริญพร ปลอดการบันเทิง
แล้วก็ตั้งเกณฑ์เพื่อฝึกความรู้จักประมาณในการบริโภค การกิน เสพพอดี การกิน เสพพอดี หรือการบริโภคด้วยปัญญา อันนี้ก็สำคัญเจริญพร อย่างถ้าหากเอาอย่างพระนะ คือพระเนี่ยเวลาจะฉันอาหารก็ต้องปฏิสังคโยม??? นี่อย่างที่วัดนี้ เอาเลยฉันพร้อมกันนี้ก่อนที่จะฉันนี่สวดปฏิสังขาโยม??? ก่อน
........บทสวด.......??? แล้วก็อาจจะแปลด้วย เพราะว่าบางท่านอาจจะไม่เข้าใจก็แปลด้วย แปลในคำแปลจะบอกหมดว่าที่เรารับประทานอาหารนี้ ไม่ใช่เพื่ออย่างงั้น ไม่ใช่เพื่ออย่างงั้น แต่เพื่ออย่างงี้ๆๆ แล้วก็รับประทาน อย่างน้อยก็เตือนสติให้ทีนึง แต่นี้เด็กบางแห่งเค้าก็เลยทำบ้าง เพราะว่า รร.คริสเนี่ยเค้าทำแล้ว แต่เค้าทำแบบว่าขอบคุณพระเจ้า เวลาเอาอาหารมาตั้งใช่มั้ยก็สวดขอบคุณพระเจ้า แต่ทีนี้ของเด็กชาวพุทธนี้ก็สวดพิจารณาอาหารว่าให้เรากินนี่กินด้วยปัญญา แล้วก็ให้ถือความอะเร็ดอร่อยเป็นต้นเป็นตัวประกอบ แต่ตัวจริงต้องให้ได้ก่อน กินอาหารต้องให้ได้คุณค่าที่แท้ของอาหาร คือเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มาบำรุงเลี้ยงร่างกายให้เจริญเติบโต ให้ซ่อมแซมแก้ปัญหา ไม่ให้เป็นโรคภัยไข้เจ็บ กินแล้วไม่เป็นโทษ ต้องอนวัชตา??? อยู่ในข้อพิจารณานั้น กินแล้วไม่เป็นโทษ กินได้ประโยชน์อย่างน้อยไม่เป็นโทษ หรือกินทั้งได้ประโยชน์และไม่เป็นโทษ อันนี้ก็พิจารณาอย่างน้อยก็เตือนสติแล้วก็เป็นศีลอย่างหนึ่ง ก็คือ ปัจจยปฏิเสวนา 4 ??? ศีลนี่น่าจะได้เน้นกัน ก็คิดว่าน่าจะใช้ได้ ก็ถ้าหากว่าเห็นเหมาะก็พิจารณาตั้งแต่รับประทานอาหารเลย พอจะเริ่มรับประทานก็จะได้พร่อง?กันด้วย อ้าวตกลงจะรับประทานอาหารก็สวดพร้อมกัน
จบแล้ว แต่ว่าขออภัยกินเวลาญาติโยมเยอะเหลือเกิน