แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
นั่งสมาธิทำตามที่เคยทำนะ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย แล้วก็นั่งตัวตรงให้พอสบายแก่ตนเอง แล้วก็หายใจลึก ๆ เอาหละให้รู้สึกสบาย แล้วทีนี้ก็เริ่มต้นเอาจิตหนดลมหายใจ อันนี้ก็ให้ทำเองเมื่อทำวัตรค่ำแบบหนักอีก อันนี้ไม่นับ???อันนี้เพราะว่าคนเลือกตามเรื่องราวต่าง ๆ เขาเรียกว่าฟุ้งซ่านพอนึกอะไรขึ้นมามันก็ไปตามนั้น สิ่งต่าง ๆ มันเข้ามาทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง เวลามันเข้ามาทางเหล่านั้นแล้ว ใจเราก็ไปตาม เห็นอะไรใจก็ไปตามนั้น ได้ยินอะไรใจก็คิดก็นึกไปตามสิ่งนั้น ทำให้ไม่อยู่กับสิ่งที่เราต้องการ แต่ว่าถ้าคนที่มีสมาธิใจก็จะแน่วแน่อยู่ เช่นอย่างคนที่อ่านหนังสือที่ชอบใจ พอใจมันแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่อ่าน เสียงดังมา เสียงวิทยุ หรือเสียงคนพูดกัน บางทีไม่รู้เรื่องไม่ได้ยินเลย บางทีเขาก็พูดดัง ๆ เราก็ไม่ได้ยิน เขาคุยกันเราก็ไม่รู้เรื่อง เคยเป็นไหม เนี่ยถ้าจิตเราเป็นสมาธิแล้วตัด เขาเรียกว่าตัดอารมณ์อื่น ๆ ที่มันไม่เกี่ยวข้องไปได้หมด ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่าจะเป็นสมาธิแค่ไหน แล้วก็คนที่มีสมาธิดีมากนี่ แม้แต่ไปอยู่ในที่ ๆ มีเสียงอึกทึกมีเสียงรบกวนก็ทำงานได้ อ่านหนังสือได้ แต่ถ้าเราสมาธิไม่ดี เราก็ต้องวุ่นวายไปตามสิ่งเหล่านั้น ทำงานไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ได้ แล้วถ้าคนมีสมาธิมาก ๆ นี่ เค้า...เล่าถึงประวัตินโปเลียน เคยได้ยินชื่อนโปเลียนไหม นโปเลียนนี่คือใคร? นโปเลียนนี้เป็นแม่ทัพใหญ่ เป็นจักรพรรดิของฝรั่งเศส เคยได้ยินหรือเปล่าเณร
เสียงเณรตอบ: เคย
สมเด็จ: ก็จักรพรรดินโปเลียนนี้เป็นจักรพรรดิที่เก่งมาก ทีนี้แกไปในสงครามเนี่ย มีเสียงปืนใหญ่ดังยังไง ๆ ก็เวลาต้องการจะนอนหลับแกก็ไม่ไปตื่นเต้นตามแล้วก็ไม่รู้สึกเสียงดังของปืนกลปืนใหญ่ที่เขารบราฆ่าฟัน แล้วคิดงานอะไรต่ออะไรก็ทำท่ามกลางที่เขากำลังรบกันเสียงดังทุกอย่างสารพัดเลยในสนามรบแกก็ทำงานได้ แล้วก็เขาบอกว่าเจ้าตัวแกมีความคิดแบบลิ้นชัก คือเจ้าตัวบอกเองว่าเวลามีความคิดเรื่องอะไรก็เหมือนกับกดลิ้นชักเรื่องนั้นออกมา แล้วก็คิดเฉพาะเรื่องนั้นจนกระทั่งจบแล้วก็ปิดลิ้นชัก ต้องการคิดเรื่องโน้นก็เหมือนกับไปอีกลิ้นชักแล้วก็กรูกันมาแล้วก็ทำเรื่องนั้นเสร็จแล้วก็ปิดลิ้นชัก แล้วไม่สับสนไม่ปนกัน นี่แสดงถึงการที่จิตมั่นคงแน่วแน่
พระพุทธเจ้าก็ยิ่งกว่านั้นอีก พระองค์นั่งสมาธิครั้งหนึ่งเล่าถึงว่ามีฟ้าผ่าใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ยิน แม้กระทั่งเสียงต่าง ๆ ก็ไม่รบกวนเลย ทีนี้คนเราธรรมดาเวลานั่งสมาธินี่ ตาเราไม่ได้มองสอดส่ายไปดูที่ต่าง ๆ ก็ตัดอารมณ์ทางตาไปได้ แต่หูก็ยังได้ยินเสียงที่เข้ามา เพราะฉะนั้นเสียงนี่จะเป็นตัวรบกวนสมาธิมากสำหรับคนธรรมดา ทำให้นั่งสมาธิยาก ฉะนั้นจึงนิยมให้ไปหาที่เงียบ ๆ เพราะเรายังใหม่อยู่ เหมือนคนที่ว่ายน้ำเนี่ย ถ้าคนว่ายน้ำเก่งลงทะเลก็ว่ายได้มีคลื่นลมแรง ก็ได้ แต่ถ้าคนไม่เคย อยู่ ๆ ปุบปับจะไปหัดว่ายน้ำในแม่น้ำในทะเลที่มีคลื่นลมแรง ๆ ก็ตายสิ ตอนแรกทำไงก็ต้องไปหาที่ที่น้ำนิ่งหัดอย่างนั้นก่อน เหมือนกับคนทำสมาธินี่แหล่ะตอนแรกก็ไปหาที่ที่มันเงียบสงัด ไม่มีอะไรรบกวนจะได้ทำให้จิตมันแน่วแน่ได้ง่าย ต่อไปพอจิตเข้มแข็งดีแล้ว เป็นสมาธิดีแล้ว ทีนี้ออกไปที่ไหนก็ได้ เพราะว่าจิตมันแน่วแน่แล้วเหมือนกับคนที่ว่ายน้ำเป็นแล้วนี่ ยิ่งว่ายน้ำแข็งแล้วเท่าไรออกที่มีคลื่นลมแรง ๆ ก็สู้ได้ไม่เป็นไร ฉะนั้นฝึกจิตนี่ต้องอาศัยสถานที่สงบสงัด เพราะตอนแรกนี่ถ้าเรายังไม่เคย จิตของเรายังไม่ดี เดี๋ยวเสียงโน่นมานิดเสียงนี่มาหน่อยเราก็ไปตามจิตเราไม่นิ่ง ฉะนั้นนี่ก็เป็นเรื่องของการที่จะต้องมีขั้นมีตอนของการฝึกจิตของเราทำสมาธิ ต้องใช้เวลาและต้องมีความอดทน จะทำอะไรก็ต้องมีการฝึกหัด จิตของเรานี่ยิ่งฝึกยากกว่าอีก ร่างกายยังเป็นของที่หยาบจับต้องง่าย แต่ว่าจิตมันเป็นนามธรรม มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ ฉะนั้นก็ฝึกได้ยากมาก แต่ก็ต้องอดทนสู้มัน ถ้าทำได้แล้วก็เป็นผลดีแก่ชีวิต ฉะนั้นก็ที่ให้นับนี่ก็อย่างที่ว่าแล้วเป็นการทดสอบจิตของเราด้วย ว่าเรานี่รู้สมาธิดีแค่ไหนแล้วก็ฝึกกันต่อไป
อ้าวทีนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง ทีนี้ก็เมื่อวานได้พูดเรื่องพระพุทธเจ้า วันนี้ก็ต่อเรื่องพระธรรมสักนิดหนึ่ง ธรรมมะนี้เราได้ยินบ่อยเหลือเกิน ตอนแรกเนี่ยอยากจะถามก่อนว่า ในความรู้สึกเท่าที่เข้าใจเนี่ย คิดว่าธรรมมะคืออะไร มีความหมายอย่างไร ลองให้ความหมายตามความรู้สึกของตัวเองดู อ้าวเณรพุด ลองให้ความหมายดูสิ เวลาพูดถึงธรรมมะมีความรู้สึกหรือเข้าใจว่าอย่างไร พูดกันอยู่เรื่อยนี่ คำว่าธรรมมะ ตอบง่าย ๆ ใช้ความรู้สึกเลย ไม่ต้องใช้ความคิดมาก
เสียงเณรตอบ: เสียงพูดพร่า มีเสียงแทรก แต่ไม่ชัด
สมเด็จ: ไม่รู้สิ ลองนึกดู ธรรมมะคืออะไร เพราะได้ยินบ่อยเหลือเกิน เด็กคนนี้มีธรรมมะ คนนั้นไม่มีธรรมมะ บอกไปปฏิบัติธรรมบ้างสิ พอจะเข้าใจไหม เอาตามความรู้สึกของตัวเองนะ ถูก-ไม่ถูก ตอนนี้ไม่ต้องคำนึง
เณรพุดตอบ: เสียงพูดพร่า มีเสียงแทรก แต่ไม่ชัด
สมเด็จ: อ้าว เณรพุดให้ความหมายว่าคือความดี ทีนี้เณรอนุลักษณ์บ้าง
เณรอนุลักษณ์ตอบ: คนมีธรรมมะนี้เป็นคนดี
สมเด็จ: คนดี แล้วตัวธรรมมะคืออะไร คนมีธรรมมะนี้เป็นคนดี ทีนี้ธรรมมะนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร
เณรอนุลักษณ์ตอบ: เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
สมเด็จ: อ้าวเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ อ้าวให้ความหมายของเณรอนุลักษณ์ ต่อไปเณรต้นบ้าง
เณรต้นตอบ: เป็นเครื่องพัฒนาจิตใจ
สมเด็จ: ก็เป็นเครื่องพัฒนาจิตใจ เป็นเครื่องฝึกตน มองเป็นเครื่องมือ อ้าวเณรเต็ม
เณรเต็มตอบ: ครับ
สมเด็จ: ให้ความหมายยังไงก็ได้เอาตามความรู้สึก ตอนนี้ไม่ต้องว่าตามตำรา ตามที่ได้ยินได้ฟังมาอะไร แล้วก็เณรจำได้อย่างไรก็ว่าไป เวลาได้ยินคำว่า “ธรรมมะ” นี้นึกถึงอะไร
เณรเต็มตอบ: ไม่ได้ยิน
สมเด็จ: อย่างนั้นเณรเต็มนึกถึงธรรมมะเป็นความดี ใช่ไหมครับ อ้าวทีนี้ก็ลองมาดูกันว่า ความหมายที่ให้นี้ถูกหรือไม่ถูก ตอนนี้ยังไม่ให้ความหมายก่อนหล่ะ ลองแปลตัวคำก่อน ตัว“ธรรมมะ” นี้ แปลว่า อะไร เมื่อวานแปลตัว “พุทธะ” แปลว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ทีนี้ “ธรรมมะ”ก็แปลว่าอะไร ธรรมมะ แปลว่า ทรงไว้ ทรงก็คือดำรง ใช่ไหม หรือคงไว้ ทรง ดำรง คงไว้ หรือรองรับไว้ก็ได้ เพราะว่าเราทรงอะไรไว้ ดำรงอะไรไว้ ก็คือ รักษาไว้ ทำให้มันอยู่อย่างนั้น ให้มันคงอยู่ ทำให้คงอยู่ การทำให้คงอยู่ก็ต้องรองรับไว้ ทีนี้อะไรถ้าบอกขยายความว่า ทรงไว้ซึ่งสิ่งทั้งปวง อะไรทรงไว้ซึ่งสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งหลายนี้ต้องมีตัวนี้รองรับอยู่ ทำให้คงสภาพก็คือความจริง ความจริงหรือกฎแห่งความจริงนั่นเอง ถ้าพูดกันง่าย ๆ ก็คือกฎธรรมชาตินี่แหล่ะ เป็นตัวความจริงแท้กฎธรรมชาติ เป็นตัวที่รองรับทุกสิ่งทุกอย่างไว้หมด ไม่มีอะไรเกินออกไปจากนี้ กฎธรรมชาตินี้รองรับทุกอย่างเลย เพราะฉะนั้นก็เลยแปลตัวธรรมมะนี้ตัวตามศัพท์แปลว่าทรงไว้ แปลว่าทรงไว้ซึ่งสิ่งทั้งปวงหรือรองรับสิ่งทั้งปวงไว้ คือมันเป็นตัวความจริงเป็นกฎที่แน่นอน เพราะฉะนั้นทุกสิ่งไม่เกินไปจากนี้ ทำให้สิ่งทั้งหลายคงตามสภาพของมันได้อะไรก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้ทรงไว้กฎแห่งความจริงนี้คือ การเป็นไปตามเหตุปัจจัยหรือกฎแห่งเหตุและผลนั่นเอง ที่เราพูดกันเมื่อวานตอนเย็นว่าพระพุทธเจ้านี้ได้ตรัสรู้ความจริง นี่แหล่ะคือความหมายหรือคำแปลแท้ ๆ ของคำว่าธรรมมะ อันนี้เราก็แปลกันต่อมา ทีนี้เกี่ยวข้องกับคนเราเนี่ย เวลามาเกี่ยวข้องกับคนเรานี้ เราต้องการในส่วนที่มาเป็นประโยชน์แก่ชีวิต ความจริงในส่วนที่เป็นประโยชน์ในชีวิตของเรา จะเอามาประพฤติปฏิบัติได้คืออะไร คือความดีงาม ส่วนความจริงในด้านที่ชีวิตเราเกี่ยวข้องเอามาใช้ประโยชน์ทำให้เกิดผลดี เพราะว่าความจริงที่เกี่ยวกับมนุษย์นี้มันก็มี ชั่วก็เป็นจริง ดีก็เป็นจริง แต่ไอ้ตัวที่ชั่วเราไม่ต้องการ มันเป็นโทษเป็นผลร้าย เราก็เอาส่วนที่ดีเอาประโยชน์ ฉะนั้นก็เลยเราก็แปลในความหมายหนึ่งว่าความดีงามด้วย ฉะนั้นในความหมายที่ว่ามานี้จะเห็นว่าตอนแรกมันจะแปลว่าความดีก่อน แต่การที่บอกว่าคงไว้ดำรงไว้ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างนี้ไปตรงความจริง เป็นกฎธรรมชาติ แล้วก็ส่วนที่เราเอามาใช้ประโยชน์ เป็นประโยชน์แก่ชีวิตเราก็คือความดีงาม เพราะฉะนั้นธรรมมะก็เลยแปลว่า ความจริงและความดีงาม เพราะฉะนั้นที่เณรพุดตอบก็เป็นส่วนหนึ่ง ทีนี้ความดีงามหรือหลักมันก็ต้องสอดคล้องกับความจริงนั้นด้วย ที่เราประพฤติความดีงามก็เป็นไปตามกฎความเป็นจริงของเหตุปัจจัย ทำไปตามกฎแห่งเหตุและผล เราเอาหลักความจริงนี้มาใช้ในด้านความดีงาม เราก็มองฝึกตนความเป็นเครื่องพัฒนาตัวเองก็ได้อย่างความหมายของเณรต้นว่าก็ใช้ได้ แต่ว่าเป็นความหมายต่อจากนั้นอีกทีหนึ่ง เอากฎความจริงนี้มาใช้ประโยชน์ในชีวิต เราต้องการให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เราก็ทำเหตุปัจจัย ก็ทำตามกฎแห่งเหตุและผล เราต้องการให้ชีวิตของเราดีขึ้นเราก็ฝึกตนให้ดีขึ้น นี่คือตามเหตุของมัน ใช่ไหม อันนี้ก็ถูกต้องในแง่ว่า กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลนั่งเอง เพราะฉะนั้นการที่เราจะฝึกตนเราก็ต้องรู้กฎแห่งเหตุผล ถ้าเราไม่รู้กฎแห่งเหตุผล ไม่ทำตามกฎแห่งเหตุผล เราฝึกตนไปก็ไม่ได้ประโยชน์ ต้องทำให้ถูกตามกฎความจริง ฉะนั้นอันเดียวกันทั้งหมด ความจริงแล้วก็ความดีงาม เป็นความหมายแบบง่าย ๆ เวลาเราจะให้ความหมายธรรมมะง่าย ๆ ของความจริงและความดีงาม แต่ทีนี้จะขยายความหมายไปให้กว้าง คือความหมายนี้ที่จริงมันต่อเนื่องกันหมด แต่ทีนี้จะขยายความหมายเป็นข้อ ๆ เลยว่าธรรมมะมีความหมายอย่างไรบ้าง
เอาหล่ะเมื่อกี้นี้พูดแล้วเรื่องกฎธรรมชาติความจริงนั่นเองเป็นความหมายของธรรมมะ รองรับทุกสิ่งทุกอย่าง ว่าทุกสิ่งนี้ต้องอยู่กับมัน อยู่ในขอบเขต อยู่เป็นไปตามตัวกฎธรรมชาติ ความจริงนี้
ฉะนั้นความหมายอย่างแรกที่สุด “ธรรมมะ” ก็คือสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ที่เรามองเห็น ที่เรารู้จักนี้ ไม่มีสิ่งใดที่มันนอกเหนือความจริง มันก็เลยถูกเรียกเป็นธรรมมะได้หมด แล้วสิ่งทั้งหลายนี้ตามปกติศัพท์เดิมใช้คำว่าธรรมชาติได้หมด แล้วสิ่งทั้งหลายที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นธรรมชาติทั้งหมด ไม่มีอะไรเกิน
ฉะนั้นธรรมมะในความหมายที่สองก็เป็นสิ่งที่เป็นไปตามความจริงนั้น ก็คือธรรมชาติ ฉะนั้นความหมายที่หนึ่งก็คือกฎธรรมชาติ ความจริงและกฎธรรมชาติ และความหมายที่สองก็คือตัวธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎนั้น ก็เรียกว่าธรรมมะเหมือนกัน ฉะนั้นธรรมมะอันนี้จะเป็นรูปธรรมในร่างกายของเรามองเห็นก็ตาม หรือจะเป็นนามธรรมในด้านจิตใจก็ตาม ก็อยู่ในคำว่าธรรมมะหมด หรือเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ชั่วก็ตามก็เป็นธรรมมะหมด ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายที่เป็นไปตามกฎความจริงนั้น ไม่ว่าดีหรือชั่ว ฉะนั้นธรรมมะในความหมายนี้อะไรก็ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้จัก ได้พิจารณา ดี-ชั่ว เป็นรูปธรรม-นามธรรม เป็นวัตถุ เป็นจิตใจ เป็นธรรมมะหมด เป็นความหมายที่สอง
ทีนี้ต่อไปความหมายที่สาม ก็อย่างที่พูดเมื่อกี้แล้ว มนุษย์เราต้องการมีชีวิตอยู่อย่างดี ได้รับผลดี เราต้องการมีความสุขมีความเจริญงอกงาม เราก็ต้องรู้กฎธรรมชาติ แล้วเอากฎธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตเรา เรารู้ว่าถ้าทำเหตุอย่างนี้แล้วได้ผลอย่างนี้ ทำเหตุอย่างนั้นได้ผลอย่างนั้นตามสอดคล้อง ถ้าทำเหตุไม่ดีผลไม่ดีก็เกิดขึ้น ถ้าทำเหตุดีผลดีก็เกิดขึ้น เหตุที่ดีเราก็เรียกความดีงาม ทำความดีงามของตัวที่เกิดขึ้น เหตุที่ไม่ดีเราเรียกความชั่วร้ายเสียหาย ทำแล้วก็เกิดผลเสียหาย เราต้องการชีวิตที่ดีเจริญงอกงาม เราก็ต้องเลือกเอาเหตุที่ดี ใช่ไหม อันนี้ก็ส่วนของความจริงที่เราควรประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลดีแก่ชีวิต นี่คือความหมายของธรรมมะข้อที่สาม ได้แก่ความหมายถึงความดีงาม ความดีงามที่เป็นไปตามกฎธรรมชาตินั่นแหล่ะ เป็นความหมายที่มันสอดคล้องกัน ทีนี้ตอนนี้เราเอาในแง่ที่เกี่ยวกับมนุษย์ เราเอาประโยชน์จากธรรมชาติ ก็เอาส่วนที่ดี ส่วนที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิตมนุษย์ ส่วนของกฎธรรมชาติที่จะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตมนุษย์ ก็เป็นความหมายของธรรมมะข้อที่สาม คือความดีงาม จึงเห็นว่าความจริง สิ่งที่เป็นไปตามความจริง แล้วก็ความดีงาม
เอาละได้ 3 ความหมายแล้วนะ ต่อไปอีกทีนี้ไอ้ความจริงมันก็อยู่ธรรมดาของมันนี่ สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามความจริงก็มีอยู่ ความดีงามที่เป็นการนำกฎธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตมันก็มีอยู่นะ แต่คนจำนวนมากไม่รู้ เพราะไม่มีปัญญา ไม่รู้จักกฎความจริง เหมือนอย่างทางวัตถุนี้ สมัยก่อนนิวตัน กฎความดึงดูดมันก็มีอยู่ ใช่ไหม แต่คนก็ไม่รู้จัก จนกระทั่งนิวตันมาค้นพบ แล้วอย่างเรื่องกฎนี้เขาเรียกสัมพัทธภาพมันก็มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่คนก็ไม่พบต้องไอน์สไตน์มาแล้วก็ค้นพบหรืออะไรนี้ ใช่ไหม กฎความจริงมีอยู่แต่คนค้นไม่พบ ทีนี้ก็เหมือนกันอันนี้สิ่งเหล่านี้มันมีอยู่ ความจริงนี้มีอยู่ธรรมดา ไม่ได้หนี ไม่ได้หลบซ่อนแต่เราไม่รู้จักมันเอง ทีนี้คนมีปัญญามากมาก็จะค้นพบสิ่งเหล่านี้ ก็มีพระพุทธเจ้านี้มาค้นพบความจริง พระพุทธเจ้าก็ค้นพบกฎธรรมชาติความจริงนั้น ค้นพบสิ่งทั้งหลายที่เป็นไปตามธรรมชาติว่ามันเป็นไปอย่างไร แล้วก็ค้นพบกฎความจริงที่จะมาใช้ประโยชน์กับชีวิตที่เป็นความดีงามทั้งหลาย พระองค์ ค้นพบแล้วเห็นชัดเจนแล้วก็เอามาสั่งสอน สั่งสอนก็สั่งสอนสิ่งเหล่านี้ที่พระพุทธเจ้าสอนไม่มีเกินเหล่านี้เลย ใช่ไหม สอนใน 3 อย่าง พระพุทธเจ้าค้นพบสิ่งเหล่านี้แล้วก็เอามาสอนเรา คำสอนของพระองค์ก็สอนสิ่งเหล่านี้ ต่อมาเราเรียกคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นว่าเป็น “ธรรมมะ” ด้วย ก็คือคำสอนที่สอนสิ่งเหล่านี้ คำสอนที่พูดถึงความจริง สิ่งที่เป็นไปตามความจริงและความดีงาม เลยเรียกว่า ธรรมมะ เราก็เลยแปลว่า ธรรมมะคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือธรรมที่บอกเรื่องนี้ไง ธรรมที่ไปค้นพบความจริง แล้วก็มาบอกความจริงให้เรา เราเลยเรียกเป็นตัวธรรมมะไปด้วย เป็นความหมายที่สี่ ได้ 4 ความหมาย
แค่นี้พอแล้ว ทีนี้ถ้าเรารู้ความหมายของธรรมมะอย่างนี้แล้วจะไม่งงเลย ต่อไปไปเจอคนที่พูดธรรมมะแล้วรู้หมดแหล่ะ แต่ความหมายที่ 1 นี้คือตัวความจริง กฎธรรมชาติ ความหมายที่ 2 คือสิ่งทั้งหลายที่เป็นไปตามความจริง หรือกฎธรรมชาตินั้น แล้วก็ 3 คือความดีงาม คือการที่ว่าเราจะเอากฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์แก่ชีวิตของเรา ส่วนที่ดีเราเลือกเอามาใช้ แล้วก็ 4 ก็คำสอนที่บอกสิ่งทั้งสามนั้น
อันนี้ก็เป็นอันว่าหมดแล้ว ทีนี้ต่อไปใครจะมาพูดบอกว่า โอจะไปทำ ธรรมมะที่เป็นอกุศล ธรรมมะที่เป็นบาป เราก็รู้ว่า หมายถึงความหมายใด แล้วว่าบอกว่า โอ คนนั้นประพฤติธรรมแล้ว ชีวิตจะดีงาม มีความสุขนี่เราเอาธรรมมะมาใช้ฝึกฝนชีวิตเรานี้ก็เป็นธรรมมะในความหมายข้อไหน
เสียงเณรตอบ: ข้อ 3
สมเด็จ: ข้อ 3 คือความดีงาม คือเอากฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์แก่ชีวิต แต่ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด ใช่ไหม มาจากทุกความจริงเลย ความจริงนั้นเป็นตัวรากฐาน ก็เอาแล้วเนี่ยให้ความหมายธรรมมะ ยากไปไหม ยากหรือเปล่าครับ
เสียงเณรตอบ: ไม่ชัด จับประเด็นไม่ได้
สมเด็จ: เข้าใจ ใช่ไหม อ้า อย่างนี้ใช้ได้ มันก็ไม่ยากเกินไปนะ แต่ว่าทำให้เรามองอะไรได้กว้างแล้วก็ชัดเจนขึ้น ไม่เช่นนั้นแล้วสับสน เอ ได้ยินธรรมมะไม่รู้อะไร แต่พอเราจับอย่างนี้ได้แล้ว เราก็สบาย ใครจะพูดธรรมมะมาแง่ไหน เราก็พร้อมพอเข้าใจ ก็วันนี้ก็เอาเท่านี้ก่อนนะ ไม่เอามากหล่ะ มากเดี๋ยวจะจำยาก ความเข้าใจจะได้ชัดดี ฉะนั้นวันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมมะ นี่หัวข้อที่ 2 แล้ว ธรรมมะนี้ก็เป็นหลักสำคัญอันหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ธรรมมะนี่แหล่ะ รู้ธรรมมะแล้วมาสอนเรา เราปฏิบัติ ถ้าเรารู้จักพระพุทธเจ้า นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า เราก็พยายามปฏิบัติตามพระองค์ พัฒนาปัญญา ความดีงามต่าง ๆ ก็คือปฏิบัติตามธรรมมะนี่แหล่ะ ปฏิบัติตามกฎธรรมชาติส่วนที่ดีที่เป็นประโยชน์ แล้วเราจะทำอะไร เราต้องนึกถึงหลักธรรมชาติ ว่าสิ่งทั้งหลายนี้มันเป็นไปตามกฎธรรมดาของมัน เป็นธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเราจะทำอะไร เราต้องรู้เหตุปัจจัยของมันทำให้ถูกต้อง อย่างที่บอกว่าสิ่งทั้งหลายนี้มันคงอยู่ รักษาสภาพตามความเป็นจริงของมันนี้ คือมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ความจริงคือเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เมื่อมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเนี่ย หมายความว่ามันไม่เป็นไปตามความอยาก ไม่เป็นไปตามใจของใคร ฉะนั้นใครจะเอาใจหรือเอาความอยากของตัวไป จะคิดให้สิ่งโน้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เป็นไปตามกฎธรรมชาติ ควรมจริงของมันอย่างนั้น ฉะนั้นเราต้องไปทำที่เหตุปัจจัยของมัน ทีนี้คนเนี่ยที่ประพฤติผิดกันในโลกก็เพราะว่าอยากให้เป็นไปตามใจของตัวเอง เราก็มีความทุกข์ เพราะมันไม่เป็นไปตามใจ ใช่ไหม สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันนี่ มันไม่ได้เป็นไปตามที่เราอยาก แต่คนเรานี้จะเอาความอยากไปบังคับสิ่งทั้งหลาย จะให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามที่ตัวอยาก มันก็ขัดกันสิ ความอยากของเรากับความเป็นจริง คือความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ใครชนะ เหตุปัจจัยชนะ เพราะฉะนั้นเมื่อเหตุปัจจัยชนะ เราก็ไม่ได้ตามใจเราก็ทุกข์ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นคนที่ดำเนินชีวิตโดยเอาความอยากของตัวเป็นหลักละก็ต้องทุกข์แน่ ๆ ฉะนั้นคนที่รู้ความจริงรู้ธรรมมะแล้ว เขาจะอื้อเข้าใจ โอ เราจะไปเอาตามที่ใจเราอยากไม่ได้ สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เป็นกฎเป็นเกณฑ์อย่างนั้น ความจริงเป็นอย่างนั้น พอคิดได้อย่างนี้แล้ว เราก็สบายใจ เราก็ไม่ดิ้นรน ไม่ทุกข์ใจของเรา แต่เราจะใช้ปัญญา มองว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัย แล้วเราก็จะไปแก้ไขที่เหตุปัจจัยโน้น ตอนนี้เราจะเป็นอิสระ เราจะไม่มาทุกข์เพราะความอยากของตัวเอง คนเราที่ทุกข์นี้ทุกข์เพราะความอยากของตัวเองที่ไปฝืนกับกฎความจริง เอาความอยากอย่างนั้นไม่เป็น แล้วก็ทุกข์ พอรู้ความจริงปับไม่เอาแล้วความอยาก รู้แต่ว่าเราต้องการให้เป็นอย่างไร แล้วเราจะต้องทำเหตุปัจจัยอะไรก็ไปทำตามนั้น นี่อย่างนี้แค่นี้เรียกว่าได้เอาธรรมมะมาใช้ประโยชน์แล้ว ใช่ไหม รู้ความจริงแล้วเป็นประโยชน์ ฉะนั้นรู้จักพระพุทธเจ้า ระลึกคุณพระองค์เป็นก็ได้ประโยชน์แก่ชีวิตเรา เอาเป็นตัวอย่างได้ ธรรมมะก็รู้เข้าใจแล้ว เราก็จะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง นี่แหล่ะคือประโยชน์ของธรรมมะประการง่าย ๆ เอาหล่ะวันนี้ก็พอสมควรแก่เวลา จวน 9 โมงแล้ว เดี๋ยวก็จะต้องเข้าห้องเรียนเข้าชั้น เณรจะได้ไปเตรียมตัวได้ เอาหล่ะวันนี้พอสมควรแก่เวลา เราก็กราบพระกันอีกครั้งหนึ่ง