แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
… ในความจริงอย่างค่อยเป็นค่อยไป นะฮะ ไม่จำเป็นต้องตอบทันที แล้วเป็นเรื่องของบุคคลที่มีความสนใจ ไม่เป็นเรื่องของสังคมหรือหมู่ชนทั้งหมด เพราะฉะนั้นอาจจะมีปัจเจกชนหรือกลุ่มผู้สนใจเฉพาะกลุ่มน้อยๆ พยายามศึกษาเรื่องนี้ต่อกันมา เราก็เห็นความแตกต่างระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ในตอนนี้
เป็นอันว่าศาสนานี้เสนอความจริงรวบยอดที่ครอบคลุม และเป็นคำตอบที่พอแก่การยุติทีเดียวจบ เอาล่ะในยุคสมัยนั้นที่จริงไม่ใช่ศาสนาเสนอ แต่คำตอบที่อย่างนี้แหละกลายเป็นศาสนา นี่อย่าไปงง นั้นไม่ได้ว่าศาสนาเป็นอะไรอันหนึ่ง เป็นสถาบันแล้วมาเสนอคำตอบอย่างงี้ ไม่ใช่ คือคำตอบที่มนุษย์เสนอขึ้นมาอย่างนี้แหละเป็นศาสนา มนุษย์เองนั่นแหละมีคำตอบ แล้วต่อมาก็มีคนที่จะต้องรวมกันเป็นสถาบัน เป็นกลุ่มหรืออะไรที่จะมาช่วยดูแลรักษาให้เป็นไปตามนี้ มันกลายเป็นนักบวช เป็นสถาบันศาสนาขึ้นมา
อ้าว เพราะฉะนั้นศาสนามองในแง่หนึ่งก็คือ การให้คำตอบเบ็ดเสร็จ ให้คำตอบที่เชื่อว่าเป็นความจริงพื้นฐานของโลกและชีวิต อย่างที่บอกเมื่อกี้แหละ ความจริงรวบยอดจบที่เดียวคลุมจากข้างบนลงมาเลย แต่วิทยาศาสตร์นั้นตรงกันข้าม วิทยาศาสตร์เป็นการพยายามพิสูจน์ความจริงปลีกย่อยทีละเรื่องละอย่างเป็นความจริงจำเพาะเรื่องจำเพาะอย่าง ก้าวไปหาความจริงทีละน้อยๆ แม้วิทยาศาสตร์จะบอกว่าฉันต้องการ general principle หลักการทั่วไป แต่หลักการทั่วไปของวิทยาศาสตร์นั้นก็เป็นหลักการทั่วไปเฉพาะด้าน เฉพาะเรื่อง เฉพาะกรณี ซึ่งมาเป็นส่วนย่อยของความจริงรวบยอดหรือความจริงพื้นฐานอีกที เขาจะใช้คำล้อกัน ถ้าเราบอกว่าศาสนาให้คำตอบเบ็ดเสร็จ วิทยาศาสตร์ก็ให้คำตอบเบ็ดเตล็ด ก็เป็นทำนองนี้ เจริญพร มันก็เป็นมาอย่างนี้ เจริญพร
แต่เราจะเห็นความจริงที่เป็นไปตามธรรมดาของวิวัฒนาการของมนุษย์มาอย่างนี้แหละ แต่ว่าจากประวัติศาสตร์นี้เราจะเห็นจุดเริ่มร่วมกันของวิทยาศาสตร์กับศาสนา นี้ต่อไปเราได้เห็นความแตกต่างบ้างแล้ว ก็จะมาพูดถึงขอสังเกตเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ต่อไปอีก เพราะเหตุว่าศาสนาเสนอความจริงรวบยอด ครอบคลุมจบทีเดียวเกี่ยวกับธรรมชาติ ต่อสถานการณ์เฉพาะหน้าที่ต้องปฏิบัติทันที และก็เป็นเรื่องคนมาก เป็นเรื่องของสังคม ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ด้วยประสาททั้ง 5 ในทันใด ก็จึงต้องอาศัยความเชื่ออย่างที่ว่าเมื่อกี้ มันต้องอาศัยความเชื่อคำตอบแบบนี้
มันก็จะมีมาเรื่อยๆ ตอนหนึ่งคำตอบแบบนี้เสนอขึ้นมาแล้ว คนก็ยังไม่รู้มันจะจริงมั้ยจริง มันก็ตอบไม่ได้ พิสูจน์ไม่ได้ ต่อมาก็มีผู้เสนอคำตอบขึ้นมาอีกล่ะ ไอ้คำตอบใหม่นั้นก็ไม่รู้อีกแหละ จะพิสูจน์ได้ยังไง มันก็พิสูจน์ไม่ได้ ก็อยู่ที่ใครจะเชื่ออันไหน บางคนก็เอ้ออันเก่าดีกว่า บางคนก็บอกอันใหม่ดีกว่า แล้วเสร็จแล้วมันก็อยู่ที่ความเชื่อ เพราะฉะนั้นศรัทธา ศาสนามันอยู่ที่ศรัทธา นะฮะ
ทีนี้ เพราะฉะนั้นเราจะมองเห็นว่า ในเวลาเดียวกันเนี่ยจะมีศาสนาได้หลายศาสนา เพราะอะไร เพราะลักษณะความจริงมันเป็นอย่างงั้น เพราะว่ามีคำตอบที่เสนอครอบคลุมเป็นคำตอบพื้นฐานทีเดียวจบนิ แล้วเสนอมาแล้วก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ ก็เชื่อกันไว้อย่างงั้น มีคำตอบใหม่ อ้าวอีกพวกนึงก็เชื่อกันไป ต่างก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ มันก็มีหลายศาสนา หลายศาสนาเพิ่มขึ้นมา เพิ่มขึ้นมา เราเรียกว่า มีหลายศาสนาอยู่ในเวลาเดียวกัน แต่ทีนี้ทางวิทยาศาสตร์นั้นค่อยๆตอบค่อยๆพิสูจน์ไปทีละอย่าง มันก็แก้ปัญหาในทางความรู้ไปได้เรื่อยๆเสร็จไปตามลำดับ เพราะฉะนั้น ในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งจึงมีวิทยาศาสตร์อันเดียว นะฮะ
อันนั้นอาจจะมีผู้พูดว่าศาสนานั้นมีหลายศาสนา แต่วิทยาศาสตร์มีอันเดียว มันเกิดขึ้นจากอย่างนี้ มันเป็นความจริงตามธรรมชาติ วิวัฒนาการของมนุษย์ว่าในช่วงเวลาหนึ่งก็ย่อมมีวิทยาศาสตร์อันเดียว แต่ที่จริงถ้าว่าโดยลำดับกาลเวลาในประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีหลายวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์นั้นไม่ให้ความจริงแบบรวบยอดทีเดียวจบอย่างที่ว่าเมื่อกี้ เพราะลักษณะมันตรงข้าม คือ ศาสนานั้นมีหลายศาสนาในเวลาเดียวกัน แต่วิทยาศาสตร์มีหลายวิทยาศาสตร์โดยลำดับกาลทางประวัติศาสตร์ เป็นยังไง อ้าว อย่างเรามองว่าธรรมชาติเนี่ย ก็จะมองไปที่ universe นะ ฮะ universe จักรวาล จักรภพนี่เป็นยังไง อ้า ก็จะมีคำตอบแต่ละยุคแต่ละสมัย แล้วก็ต่อมาพิสูจน์ก็บอกผิด แล้วต่อมาก็ได้ภาพอันใหม่ก็ต่อมาเรื่อยๆ อันนั้นเราก็จะมีวิทยาศาสตร์ของแต่ละยุค
วิทยาศาสตร์แบบหนึ่งก็เป็น Ptolemaic Universe อ้า อาจจะเป็นจักรภพ จักรวาลแบบปโตเลมี ต่อมาก็อาจจะมีแบบ Copernical Universe นะฮะ แบบโคเปอร์นิคัส อ้า เดี๋ยวต่อมาก็จะมี เอ่อ Cartesian Universe หรือ Newtonian Universe มีคาร์ลเซียน(???) จนกระทั่งถึง The Universe of the New Physic ในปัจจุบันนี้ ซึ่งภาพของจักรวาลของความจริงในธรรมชาติมันเปลี่ยนไปตลอดเวลา ไอ้ภาพ universe หรือจักรภพ ธรรมชาติของ new Physic เนี่ย จะเป็นควอนตัม หรืออีเลตริวิตี้ (???) นะ เป็นของทฤษฎีควอนตัม หรือทฤษฎีสัมพัทธภาพก็ตาม มันก็ไม่เหมือนกับโลกธรรมชาติ จักรวาลในสมัย Newtonian มันก็ไปคนละแบบ เพราะฉะนั้น วิทยาศาสตร์ก็มีหลายวิทยาศาสตร์ โดยลำดับกาลเวลา อันนี้ก็เป็นแง่พิจารณาอันหนึ่ง
นี้ต่อไปอีกอย่างหนึ่ง ก็คืออย่างที่กล่าวเมื่อกี้ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของโลกภายนอก วัตถุนอกตัวมนุษย์ที่พิสูจน์ได้ด้วยประสาท อินทรีย์ทั้ง 5 อันนี้เมื่อพิสูจน์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 5 นี่ ในขั้นต้นเราบอกได้ว่าก็ตัดสินถูกผิดกันไปได้เลย ไม่มีผู้สามารถเอามาแสดง ก็เสร็จสิ้นแล้วก็ก้าวเป็นตอนๆอย่างที่ว่ามาแล้ว แต่ทีนี้ศาสนานี่ยังมีลักษณะพิเศษที่ต่างไป คือมันไม่ได้มองเฉพาะโลกวัตถุภายนอก ศาสนานั้นเป็นเรื่องของตัวมนุษย์ที่เป็นผู้พิสูจน์ความจริงนั้นเอง วิทยาศาสตร์นั้นไปยุ่งกับสิ่งที่ถูกมนุษย์พิสูจน์ แต่ศาสนานั้นมาเอาที่ตัวผู้พิสูจน์เอง คือมายุ่งกับตัวมนุษย์ ผู้ใช้อินทรีย์ 5 นั้น มันก็เลยผ่านระดับ ผ่านพ้นหรือเลยระดับการพิสูจน์โลกภายนอกด้วยอินทรีย์ทั้ง 5 มาสู่พัฒนาการทางจิตวิทยาของตัวคนที่จะพิสูจน์ อันนี้มันมีปัญหาซับซ้อนขึ้นมา คือมันเป็นเรื่องของพัฒนาการทางจิตปัญญาของมนุษย์
อันนั้น ศาสนาที่มีหลายศาสนานั้น ทำไมเราจึงบอกว่ามีหลายศาสนาในเวลาเดียวกัน ก็เพราะว่าศาสนาเหล่านั้น สนองความต้องการของบุคคลหรือมนุษย์ที่มีความเจริญหรือพัฒนาการทางสติปัญญาไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นในขณะเดียวกันนี้ในเวลาเดียวกันนี้มนุษย์เนี่ย มีพัฒนาการทางสติปัญญาระดับต่างๆ เราก็มีศาสนาไว้หลายศาสนาไว้สนองความต้องการของมนุษย์เหล่านั้นที่หลากหลาย นี่เป็นคำตอบอีกแง่หนึ่ง ไม่แค่นั้น มันยังมีเรื่องต่อไปอีก ทีนี้ ที่ว่าความจริงทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ด้วยประสาททั้ง 5 หรืออินทรีย์ 5 นั้นก็มีข้อแม้อีก
อย่างที่พูดมาเมื่อกี้ทีหนึ่งแล้วบอกว่า ระยะแรกนั้น การพิสูจน์โลกวัตถุด้วยอินทรีย์ทั้ง 5 นั้น ใช้อินทรีย์ 5 เปล่าเปลือยล้วนๆได้ ตา กาย หู ล้วนๆ ได้ แต่ต่อมาต้องอาศัยอุปกรณ์ขยายวิสัยอินทรีย์ 5 ออกไป เช่น มีกล้องโทรทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์ เป็นต้น อันนี้ต่อมาก็มีความจริงที่เลยวิสัยอุปกรณ์เหล่านั้นไปอีก ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นไป อ้าว จนกระทั่งว่าต้องอาศัยอย่างที่ว่าเมื่อกี้ คณิตศาสตร์ชั้นสูงๆ นะฮะ ใช้ภาษาคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ แล้วก็ปัจจุบันเราก็มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วย
อันนี้ อันนี้ก็ทำให้เกิดลักษณะของวิทยาศาสตร์อันหนึ่ง ซึ่งจะเป็นลักษณะที่ต่างจากศาสนาออกไปอีก ก็คือการพิสูจน์ความจริงของวิทยาศาสตร์นั้นกลายเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อนานไปก็กลายเป็นว่าคนสามัญไม่สามารถพิสูจน์ความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้ เพราะไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะพิสูจน์ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงคณิตศาสตร์ชั้นสูง เป็นต้น ก็เลยกลายเป็นว่า ตอนนี้วิทยาศาสตร์เนี่ยกลายเป็นเรื่องของคนจำนวนน้อย กลายเป็นพวก specialize ไปแล้ว ต่างจากศาสนาที่เป็นเรื่องของชนหมู่มาก ของชุมชน ของสังคมทั้งหมด และเป็นเรื่องถึงสามัญชน อันนี้ก็เป็นลักษณะที่ต่างกันอีกอันหนึ่ง
อันนี้ต่อไปถ้าวิทยาศาสตร์พูดถึงความจริงรวบยอดขั้นสุดท้ายที่ครอบคลุม เพราะฉะนั้นต่อไปเนี่ย เมื่อวิทยาศาสตร์ถึงขั้นนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่สามัญชนพิสูจน์ไม่ได้เช่นเดียวกับศาสนาอีก เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ วิทยาศาสตร์กำลังเข้ามาจ่อแดนของจิตใจอย่างที่อาตมาว่าเมื่อกี้ แล้วพอวิทยาศาสตร์พิสูจน์ความจริงในระดับนี้ เขาเรียกว่าจะให้คำตอบขั้นพื้นฐาน เพราะวิทยาศาสตร์นี้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้คำตอบประเภทนี้ คือคำตอบพื้นฐานที่รวบยอดครอบคลุมทั้งหมดเนี่ย เมื่อไรมันจะเข้าถึงซักที ปรารถนาใฝ่ฝันกันมาเหลือเกินจะเข้าถึงอันนี้แหละ แต่พอเข้าถึงเนี่ยมันกลายเป็นว่า วิทยาศาสตร์ก็ให้คำตอบที่สามัญชนพิสูจน์ไม่ได้อีกแล้ว มันก็ชักจะมาเข้าแนวเดียวกับศาสนาอีก แล้วดีไม่ดีวิทยาศาสตร์กลายเป็นศาสนาไปด้วย
เอาล่ะทีนี้ตอนนี้มันชักจะยุ่ง เอาล่ะทีนี้ เจริญพร แล้วเพราะฉะนั้นมันชักจะมีวิทยาศาสตร์ที่ต่างกันในเวลาเดียวกัน วิทยาศาสตร์ที่ต่างกันในเวลาเดียวกันก็จะเป็นวิทยาศาสตร์ของผู้เชี่ยวชาญกับวิทยาศาสตร์ของสามัญชน เดี๋ยวนี้อาตมาว่าวิทยาศาสตร์ของผู้เชี่ยวชาญกับวิทยาศาสตร์ของสามัญชนเนี่ยก็ชักจะไม่เหมือนกันแล้ว นะฮะ แล้วอันนี้ก็เป็นเพราะว่าหลายสิ่งที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันบอกเนี่ยคนสามัญไม่อาจคิดนึกจินตนาการได้เลย คือคิดไม่ออก นอกจากพิสูจน์ไม่ได้แล้วมันคิดยังไงก็คิดไม่ออก มองไม่ออกเลย อย่าว่าแต่คนสามัญจะมองไม่ออก นักวิทยาศาสตร์เองก็มองไม่ออก ก็ต้องเชื่อเอา นะฮะ
เช่นว่า เอา เช่นยังไง เช่นบอกว่าแสงเป็นทั้งคลื่นและเป็นทั้งอนุภาคในเวลาเดียวกัน เดี๋ยวนี้นักวิทยาศาสตร์มาถึงขั้นนี้ บอกว่าแสงนี่คืออะไร ธรรมชาติของแสง มันเป็นคลื่นหรือเป็นอนุภาค มันมีไอ้ตัวเนื้อสารวัตถุอะไรหรือเปล่า พวกหนึ่งไปให้คำตอบว่า ใช่ๆๆ เป็นอนุภาคพื้นฐาน มีโฟตัส(???)อะไรทำนองนี้ แต่อีกพวกนึงบอกว่า ไม่ใช่ ไม่ใช่ เป็น wave น่ะ เป็นคลื่น ต่อไปปรากฏว่าพิสูจน์ได้ทั้งสองทาง ได้ทั้งคู่ ก็เลยบอกว่าเป็นได้ทั้งสองอย่าง เอ๊ แต่มันเป็นอะไรกันแน่ นะฮะ ก็ต้องพิสูจน์ด้วยคณิตศาสตร์ ทีนี้ อันนี้ ก็มนุษย์สามัญนี่คิดไม่ออก นะฮะ ว่ามันเป็นยังไง ไอ้เป็นทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน
ทีนี้อย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง ตัวอย่างไม่ถึงสองสามอย่างก็พอแล้ว อย่างบอกว่าใน Black Hole Black Hole นี่ไม่ทราบว่าหลายท่านในที่นี้รู้หรือเปล่า Black Hole ไม่รู้ภาษาไทยเรียกว่าอะไร อะไร จะเรียกว่า โพรงดำ หรืออะไรเนี่ย โพรงมืด ในอวกาศเนี่ยมันมีโพรงมืด อยู่ที่โน่นที่นี่พึ่งค้นพบกันมาระยะหนึ่ง ซึ่งไม่มีแสงออกมาจากที่นั่นเลย มันจึงมืด ที่จริงคือไม่มีอะไรออกมาเลยซักอย่าง ที่นั่นน่ะมันมีแรงโน้มถ่วงสูงมากจนกระทั่งว่าไม่มีอะไรสามารถหนีออกมาได้เลย แม้แต่แสงก็ออกมาไม่ได้ ทีนี้มนุษย์ธรรมดาคิดยังไง อะไรน่ะแสงมันออกมาไม่ได้ยังไง มันมีอะไรหนอที่แสงมันออกมาไม่ได้ เอ้อ มันก็ชอบกล นะฮะ อ้าวทีนี้เขาบอกว่า ใน Black Hole นั้น นะฮะ เป็นตัวอย่างที่ว่า มวลสาร พวก matter energy อะไรต่างๆเนี่ย มันจะอัดแน่นมากเหลือเกิน นะฮะ ไม่รู้จะเทียบยังไง
แต่ยกตัวอย่างให้ฟังบอกว่าเนี่ยนะ มันจะอัดแน่นจนกระทั่งว่าอย่างตึกระฟ้าอเมริกา ตึกเขาเรียกเอ็มไพร์สเตท 102 ชั้นเนี่ย อา ก็ท่านที่ไม่เคยไปก็นึกภาพเอาก็แล้วกัน จินตนาการตึก 102 ชั้น ตึก 102 ชั้นมันก็สูงแล้ว เมืองไทยเราก็มีแค่ไม่กี่สิบชั้นเท่านั้น น่ะ เราก็ยังว่าใหญ่โต นี้ตึก 102 ชั้นเอ็มไพร์สเตทในนิวยอร์คเนี่ย เขาบอกว่า ถ้ารีดเอาช่องว่าในนั้นออกทั้งหมดแล้วนะ มันจะอัดแน่นจนกระทั่งเหลือเท่าเข็มเย็บผ้า นะฮะ ตึกระฟ้าเอ็มไพร์สเตทเนี่ย เอาช่องว่างในนั้นออกหมดแล้ว มีเนื้อสารเหลือเท่าเข็มเย็บผ้าเล่มเดียว นะฮะ อ้าว ชาวบ้านนึกไหวมั้ย เจริญพร นะฮะ บอกว่าตึกเอ็มไพร์สเตทน่ะเท่าเข็มเย็บผ้าเล่มเดียว แล้วนักวิทยาศาสตร์บอกมันต้องเป็นอย่างนั้น
ที่จริงมันยิ่งกว่านั้นอีก นะฮะ แล้วบอกว่านอกจากว่าเป็นเท่าเข็มเย็บผ้าเล่มเดียวแล้วยังหนักเท่าเดิมด้วย อ้า หมายความว่าเข็มเย็บผ้าเล่มนั้นน่ะหนักเท่าตึกเอ็มไพร์สเตทตามเดิม ก็เราก็คิดไม่ไหว นะฮะ เป็นไปได้อย่างไร เอ๊ะ ก็ต้องเชื่อเอาสินะ เรามีศรัทธาต่อนักวิทยาศาสตร์มานานแล้วนี่ ศรัทธาเก่ามันก็ช่วย เราก็เลยเชื่อกันไปก่อน แต่ว่าก็ค้านในใจว่า เอ๊ะ มันจะเป็นไปได้หรือเปล่า นะฮะ
เอาล่ะทีนี้ก็เป็นอันว่าวิทยาศาสตร์ในเวลานี้ก็ยังไม่อาจพิสูจน์ได้หลายอย่างมากมาย ในระดับความจริงพื้นฐาน เช่น อนุภาคพื้นฐานเป็นอย่างไรมี จริงหรือไม่ แต่นี้ในขั้นสุดท้าย วิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็เลยขั้นพิสูจน์ด้วยอินทรีย์ 5 นะการพิสูจน์ก็เป็นเพียงวิธีการทางคณิตศาสตร์แล้วก็แปลความหมายโดยนักฟิสิกส์อีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น ความจริงมันก็เลยเท่ากับสมการวิทยาศาสตร์ คล้ายๆอย่างนั้น ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ มันไปๆมันก็เลยกลายเป็นเพียงความเชื่อ เป็นการเชื่อในคณิตศาสตร์และการตีความ โดยไม่รู้เห็นตรงถึงความจริงที่แท้
ก็จะเป็นอย่างที่เซอร์ อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน กล่าว เซอร์ อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน นี่ก็เป็นบุคคลแรก เป็นนักวิทยาศาสตร์อังกฤษคนแรกที่เข้าใจทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์อย่างเต็มที่ เป็นคนแรกเลยนะ แล้วก็เป็นผู้ที่ได้เสนอสิ่งพิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นคนแรกด้วย ก็ทำให้ได้รับแต่งตั้งเป็นท่านเซอร์ เซอร์เอ็ดดิงตันซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ก้าวไปไกลอย่างเงี้ยได้กล่าวไว้ว่า วิทยาศาสตร์ไม่สามารถนำมนุษย์เข้าถึงตัวความจริงหรือสัจจภาวะได้โดยตรง จะเข้าถึงได้แค่เพียง the shadow world of symbol เขาว่าอย่างงั้น นะฮะ shadow world of symbol ก็หมายความ โลกที่เป็นเงาๆแห่งสัญลักษณ์ นะฮะ ก็คือวิทยาศาสตร์ อันนี้ก็เป็นคำกล่าวของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำเองๆแท้ๆเลย
อ้าวทีนี้ ก็ต่อไป สิ่งที่ว่าพิสูจน์ได้ด้วยการสังเกตทดลองนี้ก็ไม่ถึงกับเด็ดขาด เพราะนักวิทยาศาสตร์บอกว่าวิธีการพิสูจน์ของวิทยาศาสตร์นั้น พอใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ วิธีวิทยาศาสตร์ หรือ Scientific Method มีการสังเกต ทดลอง เขาเรียกว่าทดลองอย่างจนกระทั่งว่า ต้องแน่ใจจริงๆแล้ว แต่ถึงอย่างงั้นมันยังไม่เด็ดขาด บางทีก็พลาด เพราะข้อจำกัดของวิธีทดลองและเครื่องมือ
อ่า ยกตัวอย่างเช่น the law of gravitation เอ่อ กฎความโน้มถ่วง หรือดึงดูดของนิวตันเนี่ย เอ่อ ก็ยอมรับกันถึงเป็น law แล้วนี่ เป็นกฎแล้ว นะฮะ มาถึงไอน์สไตน์ ไอน์สไตน์ก็บอกว่าผิด แต่อย่างมันใช้ไม่ได้ในระดับเขาเรียกว่า subatomic คือในระดับซอยต่ำกว่าอะตอม หรือในระดับย่อยอะตอม ระดับย่อยอะตอมแล้ว ไอ้เจ้ากฎแรงโน้มถ่วงนี้ใช้ไม่ได้ นะฮะ ไม่เป็นความจริง แต่ตอนนั้นเขาพิสูจน์ไม่ได้ เครื่องมือมันไม่สามารถจะพิสูจน์ถึงระดับนี้ เพราะฉะนั้นมันก็ต้องรอต่อมาจนกระทั่งไอน์สไตน์เนี่ยมันใช้ความคิดนะ แล้วก็ใช้วิทย คิดคณิตศาสตร์อะไรต่างๆในการที่จะหาความจริงในเรื่องนี้แล้วก็พิสูจน์ทดลองกันไป อันนี้ก็เป็นอันว่า บางทีเราต้องระวังเหมือนกันการสังเกตทดลองเนี่ยไม่ใช่ว่าใช้ไว้เนื้อเชื่อใจได้เด็ดขาดเสมอไป
ทีนี้ต่อไป บางทีผลการทดลองที่ลงตัวมาเรื่อยๆนั้น มันอาจจะยังพลาดได้ อันนี้มีข้อเตือนไว้ อาตมาจะยกข้ออุปมาของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์นี้ก็เป็นนักปรัชญาของอังกฤษ แกบอกว่าไก่ตัวหนึ่งเช้าขึ้นมาเห็นนาย ก. มาทีไรเอาอาหารมาให้กินทุกที ก็เห็นมาทุกเช้าๆ นะฮะ ก็เป็นอันว่าไก่เห็นนาย ก. เป็นได้กิน นะฮะ พอไก่เห็นนาย ก. เป็นได้กิน ไก่เห็นนาย ก. เป็นได้กินมาทุกวันๆเป็นปีๆมา แต่มาถึงเช้าวันหนึ่ง ไก่เห็นนาย ก. มาแล้ว แต่นาย ก. ไม่ได้ถืออาหารมา นาย ก. ถือมีดมา แล้วก็มาเฉือนไก่ลงหม้อแกง เออ ก็เลยกลายเป็นว่า นาย ก. เห็นไก่ ไอ๊ ไก่เห็นนาย ก. แล้วได้กิน กลายเป็นว่าไก่เห็นนาย ก. เลยลงหม้อแกง เออ ก็เป็นอันว่าเนี่ย การพิสูจน์ที่ลงตัวทดลองไปตลอดเวลาเนี่ย อย่าพึ่งไปไว้ใจเด็ดขาด ไม่แน่ นะฮะ
อ้าว ทีนี้ก็เป็นอันว่า ที่อาตมาพูดมานี้ก็ต้องการให้เห็นว่า ในที่สุดเนี่ย วิทยาศาสตร์ก็แยกห่างสามัญชนออกไปทุกทีๆ เอ่อ ด้วยเรื่องของการพิสูจน์ทดลองอะไรต่ออะไรเนี่ย จนกระทั่งวิทยาศาสตร์นี่จะกลายเป็นเรื่องของพวก elite พวกชนอะไร ไม่รู้ภาษาไทยเรียกว่าอะไร แล้วเป็น specialize เป็นพวกที่ชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน ในขณะที่ศาสนาต้องอยู่กับประชาชนตลอดเวลา นี่เป็นลักษณะที่แตกต่างกัน วิทยาศาสตร์ช่วยประชาชนโดยตรงได้น้อยมาก หน้าที่ที่วิทยาศาสตร์จะต้องช่วยประชาชนที่แท้นั้นควรจะเป็นการช่วยเหลือทางปัญญา แต่บทบาทในการช่วยประชาชนโดยมากกลายเป็นบทบาทของเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีโดยมากไม่ได้ช่วยทางปัญญา ไปช่วยทางอะไร ไปช่วยทางการบริโภคเลย บางทีไปเสริมโลภะ ดีไม่ดีไปเสริมโมหะ ทำทีวีขึ้นมาแล้ว เสร็จแล้วไปดูทีวี ชมรายการ ไม่ได้เลือกดูรายการที่ให้สติปัญญา ไปหลงเพลิดเพลินมัวเมาหนักเข้าอีก
เพราะฉะนั้น ก็เลยกลายเป็นว่า วิทยาศาสตร์นี่ไม่รับผิดชอบเท่าที่ควร อ่า ไปปล่อยบทบาทให้เทคโนโลยีไปช่วย นะฮะ เทคโนโลยีก็ไปช่วยประชาชน แต่ช่วยไม่ดี บางทีก็กลายเป็นเสียไปเลย อย่างที่ว่า แทนที่จะเป็นเครื่องมือทำประโยชน์ กลายไปเป็นเครื่องมือหาประโยชน์ซะ อันนี้ก็เลยกลายเป็นว่า วิทยาศาสตร์ก็ทิ้งประชาชนไว้กับศาสนา เพราะฉะนั้นจะไปว่าใคร ในเวลานี้ถ้าจะบอก เอ้อว่า ศาสนาทำไมไปทำให้ประชาชนไขว้เขวอะไรต่างๆเนี่ย เพราะว่าศาส วิทยาศาสตร์เนี่ย ไปทิ้งศาส อ้า ไปทิ้งประชาชนไว้กับศาสนา นะฮะ
วิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องที่คนน้อยคนจะเข้าถึงได้ ประชาชนได้แต่เชื่อวิทยาศาสตร์ แต่ไม่รู้วิทยาศาสตร์ เดี่ยวนี้เรื่องวิทยาศาสตร์น่ะเป็นเรื่องความเชื่อไปแล้วนะส่วนมาก ไม่ใช่เรื่องของความรู้ เพราะฉะนั้นอย่าไปนึกภูมิใจในเรื่องภูมิปัญญา ไปแล้วมันเข้าแนวเดียวกัน วิทยาศาสตร์ก็อยู่ด้วยความเชื่อเหมือนกัน เดี๋ยวนี้จนกระทั่งว่า เดี๋ยวนี้อเมริกากำลังวิตกปัญหา เรื่อง scientism คือความคลั่งวิทยาศาสตร์ แปลเป็นภาษาไทยว่า ความงมงายในวิทยาศาสตร์ เอ้กับวิทยาศาสตร์จะเป็นความงมงายได้ยังไง วิทยาศาสตร์เป็นความตรงข้ามกับความงมงาย มันเป็นเรื่องของความรู้การพิสูจน์ความจริง
ไอ้ตอนนี้คนมางมงายในวิทยาศาสตร์ อันนี้กำลังเป็นปัญหาปัจจุบัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะต้องรับผิดชอบด้วย เพราะเรามีหน้าที่ให้ปัญญาแก่มนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความรู้คิด รู้เหตุรู้ผลมากขึ้น แต่ปัจจุบันนี้คนมาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ด้วยความเชื่อ แล้วจนกระทั่งว่ากลายเป็นความเชื่อแบบงมงายคลั่งไคล้ ไม่ได้รู้ความจริงวิทยาศาสตร์ และไม่ได้คิดจะพิสูจน์ความจริงของวิทยาศาสตร์แล้ว สักแต่ว่าเชื่อไป วิทยาศาสตร์ว่าไงก็ว่าไป ก็เลยกลายเป็นว่าวิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นศาสนาหนึ่งไปได้
เอาล่ะ นี้ก็เป็นอันว่า ข้อสำคัญก็คือ ขอสรุปอีกทีว่า ปัญหาของมนุษย์ในชีวิตที่เป็นอยู่จริงเนี้ย ต้องการคำตอบที่สำเร็จรูป ที่ใช้การได้ทันที เป็นคำแนะนำที่พร้อมอยู่แล้วจะปฏิบัติได้ทันทีสำหรับปัจจุบันขณะนี้ สำหรับชีวิตนี้ที่แต่ละคนมีเวลาอยู่ในโลกจำกัด เขารอไม่ได้ สถานการณ์แต่ละอย่างไม่อาจผัดเพี้ยน จะได้คำตอบถูกหรือผิดก็อีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าวิทยาศาสตร์จะมีความรู้และบอกวิธีปฏิบัติแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากมาย แต่ก็มีจุดอ่อนบกพร่องที่ไม่เพียงพอ และรอไม่ได้ นี่เป็นนัก นี่เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์นะ เจริญพร คือ ไม่เพียงพอ และรอไม่ได้ อันนี้จเเป็นสิ่งที่เราจะต้องพูดกันต่อไป เป็นเรื่องมากมายทีเดียว
ไม่เพียงพอ จะขอยกตัวอย่าง ทำไมวิทยาศาสตร์เนี่ยไม่เพียงพอ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง จะเรียกว่าปัญญาทางวิทยาศาสตร์ตาม แก้ปัญหาแท้ๆของชีวิตในขั้นรากฐาน เช่น ทำคนให้เป็นคนดี ให้มีสุขเนี่ยไม่ได้ แก้นิสัยคนไม่ได้ มีความทุกข์ โทมนัส เศร้า โกรธ เป็นต้น แก้ไม่ได้ พลัดพรากจากคนรัก ไม่สบายใจ อะไร แก้นิสัยคนไม่ได้ หรือว่าแม้แต่แก้ปัญหาสังคมก็ไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ก็จะเถียงบอกว่า อ้าว เดี๋ยวนี้วิทยาศาสตร์ช่วยได้มากมาย คนนอนไม่หลับ ซึมเศร้า เป็นโรคนี่ เดี๋ยวนี้เราใช้ยาช่วยได้เยอะเลย ยากล่อมประสาทนะฮะ เอาให้กิน หรือฉีดยาก็นอนหลับ เอาจริงๆน่ะช่วยได้เยอะแยะเลย
วิทยาศาสตร์ก็มีประโยชน์มาก วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยีในทางการแพทย์นี่มาช่วยคนไว้เยอะเลย เราก็ต้องยอมรับความจริงคนเสียสติ จิตวิปลาสนี่ ช่วยในการแก้ไขได้ แต่วิทยาศาสตร์จะมองว่าต่อไปในภายหน้านี่ เราจะทำให้มนุษย์เป็น มีความสุขโดยใช้ไอ้สารเหล่าเนี้ย เราผลิตมาเป็นแคปซูล แคปซูล นะฮะ เวลาไม่สบายก็ไปซื้อยานี้มาทาน มันจะไม่เห็นเป็นยาหรอก ต่อไปมันก็เป็นตัวไอ้สิ่งที่จะให้ความสุขไปแลย เป็นวัตถุให้ความสุข ไม่ใช่ยา
อันนี้วิทยาศาสตร์ก็คอยศึกษาสิ เวลาคนโกรธนี่สมองหลั่งสารออกมา อะไร เออ หลั่งสารอันนี้ออกมาจับได้แล้ว อ้าว เราก็ไปผลิตสารนี้มา เสร็จแล้วคนมีอาการยังงี้ก็มาฉีดเข้าไป เออ ก็ได้ สบายใจทันที นะฮะ เออก็แก้ แก้ จะออก ขออภัย คือคนเวลามีความสุข มีความปลื้มใจ เป็นต้นเนี่ย สารในสมองมันออกมา เขาก็จับว่า ออ สารนี้ออกมาสบายใจ เวลามีความสุข มีอย่างงี้งี้ ก็ไปผลิตเทียมขึ้นมาแล้วก็ เอามาให้กิน เอามาฉีด เสร็จแล้วคนก็หายอาการนั้นได้ แสดงว่าวิทยาศาสตร์นี่เหมือนเนรมิตได้ แก้ปัญหาของโรคได้นี่ ก็ทำให้สบายนี่ ต่อไปมนุษย์ก็ไม่ต้องกลัวหรอก พอมีไอ้วัตถุพวกนี้ขายเกลื่อนกล่นเลยเหมือนกับอาหาร ก็สบายดีเหมือนกัน นะฮะ
แต่ว่ามองไปอีกทีนึง แหม แค่สารพิษสารเคมีในอาหารอะไรต่างๆปัจจุบันนี้ก็แย่พอแล้วนะ ยังจะไปเพิ่มอีก แต่ก็นี้ก็ไม่สำคัญเท่าไหร่ แต่ว่าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็มองด้วยระบบคุณค่า มองทางพระศาสนานี่ เราถือว่ามนุษย์นี้จะต้องเดินก้าวหน้าไปสู่อิสรภาพ สู่ความเป็นอิสระมากขึ้น หมายความมนุษย์จะต้องมีความสามารถในการที่จะมีความสุขได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น พึ่งพาอาศัยปัจจัยภายนอกมากขึ้น แต่วิธีการแบบนี้จะกลายเป็นว่าทำให้มนุษย์เนี่ยต้องฝากความสุข ฝากชะตากรรมไว้กับวัตถุภายนอกยิ่งขึ้น หมดอิสรภาพ เพราะฉะนั้น จะเป็นวิถีทางสู่ความสูญเสียอิสรภาพของมนุษย์ มนุษย์จะอยู่ด้วยตัวเองโดยลำพังไม่ได้อีกต่อไป ถ้าขืนเป็นอย่างงั้น แล้วถ้าถึงขั้นนั้นแล้ว เราก็เลิกเป็นมนุษย์ได้ คือ เราไม่ใช่มนุษย์ธรรมชาติแล้ว มันเป็นมนุษย์วิทยาศาสตร์ มนุษย์เทียม แล้วมันก็จะอยู่ ไม่รู้แหละ มันจะกลายเป็นมนุษย์อะไรไป ซึ่งไอ้สภาพธรรมชาติมันจะรอรับไม่ได้ก็ได้ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง
ทีนี้นี่เป็นเรื่องของความไม่เพียงพอ คือแก้ปัญหาเนี่ย วิทยาศาสตร์อย่างเดียวแก้ปัญหาต่างๆไม่เพียงพอ แต่นี้อีกอันก็รอไม่ได้ เพราะว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์นี้ก้าวไปเรื่อยๆ สมัยหนึ่งเคยว่าอันนี้จริง ต่อมาก็พบว่าผิด แล้วก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ถ้าขืนเรารอความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้บอกความจริงของธรรมชาติเสร็จสิ้น เราก็อยู่ไม่ทัน แต่ละคนเราก็ตายไปก่อน นะฮะ เอ่อ ในชีวิตนี้ก็อยู่ไม่ได้ แล้วก็มนุษย์ก็เป็นอันว่าไม่มีทางบรรลุชีวิตที่ดีงาม เพราะฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์นี่หา general principle ให้เราอยู่เรื่อย ก็เป็นกฎเกณฑ์แม้จะเป็น general ทั่วไป แต่มันก็เป็นกฎปลีกย่อย คิดเล็กคิดน้อย ในภาพรวมของความจริงที่ครอบคลุมสำหรับชีวิตซึ่งศาสนาให้คำตอบไปทีเดียวเลย ทุกครั้งๆไปให้คำตอบทีเดียวเสร็จ นะฮะ
เอาล่ะ ตอนนี้เราก็อาศัยวิทยาศาสตร์โดยรูปของเทคโนโลยีเนี่ย มาเป็นเครื่องประเทืองก่อนที่วิทยาศาสตร์จะสามารถให้คำตอบความจริงขั้นพื้นฐานได้ ตอนนี้ก็วิทย์ ตัวที่มาช่วยมนุษย์ก็คือเทคโนโลยีเป็นสำคัญที่มาใช้ประโยชน์ไปได้ อาศัยสำหรับดำเนินชีวิต แต่เทคโนโลยีนี้ไม่สามารถจะตอบคำถามพื้นฐานของมนุษย์ เพราะฉะนั้น มนุษย์ทำไมจึงจำต้องอาศัยศาสนาอยู่ ทำไมศาสนาจึงอยู่ในโลกได้จนกระทั่งปัจจุบัน เพราะว่ามนุษย์ยังต้องการคำตอบชนิดครอบคลุมรวบยอดทีเดียวจบ ใช้ได้ทันทีนี้อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะจริงหรือไม่จริงยังไม่อาจพิสูจน์ได้ แล้วเพราะพิสูจน์ยังไม่ได้นี่แหละจึงทำให้ต้องอยู่ด้วยความเชื่ออย่างนั้น นะฮะ
อันนี้ไม่เฉพาะในระดับตัววิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เท่านั้นที่ว่ามันจะมีปัญหา เป็นเรื่องผิดพลาดต้องแก้ไขกันเป็นระยะๆ แม้แต่ระดับเทคโนโลยีก็จะมีปัญหาอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางทีมันไม่ใช่เป็นการผิดหรอก แต่มันเป็นว่าความรู้ไม่ทั่วถึง ไม่ตลอดในเรื่องนั้นๆ อ้าว มองความจริงแต่ด้านเดียวแง่นี้ ต่อไป พบความจริงในแง่อื่นอีก อ้าวก็เลยกลายไปว่าที่ทำมานั้นเสีย
อ่า เคยยกตัวอย่างเช่น อย่างกรณียาคลอแรมเฟนิคอล สมัยหนี่งนี้ โอ้โห เป็นยาครอบจักรวาล เป็นอะไรก็กินหาย คนดีใจกันใหญ่ ต่อไปนี้ เราสบายแล้ว เป็นโรคอะไรก็ไปซื้อคลอแรมเฟนิคอลกิน ตามตลาดนี่วางขายกันเกลื่อน ต่อมาปรากฎว่า โอ้โห หลายปี สัก 10 ปีหรือไงเนี่ย ค้นพบว่าคลอแรมเฟนิคอลนี่พิษร้ายเหลือเกิน เอ่อ ไม่รู้ตัว ปรากฏหลายคนตายไปแล้ว มันไปทำให้ไอ้ตัวอะไรนะ ไอ้ที่ในเยื่อในกระดูกนะมันไม่ผลิตเลือด ก็เลยคนตายกันเพราะเหตุนี้ก็หลายคน เป็นมะเร็งอะไรพวกนี้ในเม็ดเลือด
อันนี้ต่อมากรณี ดีดีที ตอนนั้นก็ว่า โอ้ ได้ ดีดีที ขึ้นมา สบายแล้ว ต่อไปนี้ไม่ต้องกลัวแมลงแล้ว แมลงหมด มนุษย์เราสบาย ไม่ถูกรบกวนจากแมลง ต่อมาปรากฎค้นพบความจริงบอกว่า ไอ้ ดีดีที นี่ โอ้โห มันพิษร้าย เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แม้แต่มะเร็งมันก็อาจจะทำให้เกิดได้ อ้าว แล้วยิ่งกว่านั้นก็คือว่า ในขณะที่มนุษย์แย่นี่ พวกแมลงต่างๆมันสร้างภูมิต้านทานได้เก่งกว่า ต่อมา อ้าว ปรากฏว่าพิชิตแมลงไม่ได้ แต่จะมาพิชิตมนุษย์ นะฮะ อะไรทำนองนี้ ก็เลย หลายประเทศก็เลยบอกให้เลิกใช้ ดีดีที แต่ประเทศไทยยังใช้กันอยู่บ้าง อะไรทำนองนี้
หรืออย่างกรณี สารซีเอฟซี กรณีสารซีเอฟซี ชื่อมันยาว เอาเฉพาะตัวย่อ เจ้านี่ก็เอามาใช้ในเรื่องอะไร เช่นว่า ตู้เย็น ไอ้เครื่องทำความเย็น แอร์คอนดิชั่นเนอร์ และก็ใช้ในไอ้พวกอะไร กระป๋องฉีดให้อากาศหอม อะไรทำนองนี้ สารพวกนี้ปรากฏว่า ไม่รู้ตัว ขึ้นไปในบรรยากาศ นู่น ไปทำให้เกิดช่องโหว่ ในโอโซนเลเยอร์ขึ้นมา เอาอีกแล้วตอนนี้เกิดวิตกกันใหญ่ ประชุมกันในระดับโลก โอโห โอโซนเลเยอร์จะโหว่กันใหญ่ แย่แล้ว มนุษยชาติเดี๋ยวจะเป็นภัยอันตราย จะสูญสิ้น อะไรกัน ก็ได้ความรู้ขึ้นมาใหม่ เอาอีกแล้ว สิ่งที่เชื่อมาว่าดีนี่มีโทษอีกแล้ว
หรือว่า แต่ก่อนนี้ระยะหนึ่ง แม่ก็เลี้ยงลูกด้วยนมขวด มานิยมกันไปทั่วหมดเลยประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายนี้ใช้นมขวดเลี้ยงแทนนมมารดากันมา มาปัจจุบันนี้ องค์การโลกกำลังพยายามที่จะต้องชี้แจงแนะนำประชาชนว่า ให้หันมาเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เพราะนมขวดนี่ มันมีข้อเสียข้อบกพร่องหลายอย่าง และอันตรายด้วย เมื่อ 2-3 วันนี้ก็ยังออกข่าวอีกเรื่อง ปัญหาเรื่องแบคทีเรียที่มันมาอยู่ที่ไอ้ตัวหัวจุกที่เป็นอะไร ที่เป็นยางหรือเป็นอะไรต่างๆพวกเนี้ย อันนี้ก็เป็นเรื่องบทเรียนต่างๆ ซึ่งมนุษย์จะต้องมีความรอบคอบและรู้รอบด้านยิ่งขึ้นในการปฏิบัติต่อวิทยาศาสตร์ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของเรื่องความไม่เพียงพอ และรอไม่ได้ ซึ่งที่จริงมันเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งถ้ามีเวลาจะหันกลับมาอีกทีนึง
ถ้ามองไปอีกแง่หนึ่งแล้วเนี่ย วิทยาศาสตร์ก็เหมือนกับเป็นความพยายามที่จะพิสูจน์หาความจริงที่ศาสนาบอกไว้ล่วงหน้า คือตอนที่มนุษย์ยังรอไม่ได้นี่ เราต้องการคำตอบชนิดหนึ่งที่ทันทีพร้อมไว้ก่อน และคำตอบนั้นกลายเป็นศาสนา เราก็พูดว่าศาสนาให้ตอบอย่างนี้ ที่จริงก็คือคำตอบของมนุษย์ที่มันกลายเป็นศาสนา นี้เราพูดเป็นภาพพจน์ว่าศาสนาให้คำตอบประเภทนี้ คำตอบประเภทนี้ให้ไว้แต่มันยังพิสูจน์ไม่ได้ แล้วศาสนาก็ค่อยๆพิสูจน์ไอ้คำตอบนี้ต่อไป มันก็กลายเป็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นความเพียรพยายามของมนุษย์ที่จะพิสูจน์ความจริงที่ศาสนาบอกไว้ล่วงหน้า ถ้ามองอย่างงี้มันก็เป็นการประสานกลมกลืนกันอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่ามองจากจุดกำเนิดร่วมกันแล้วปลายทางมันก็จะไปร่วมกันอีกอย่างหนึ่งเหมือนกัน
เอ่อ ทีนี้วิทยา วิธีการวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันมา แต่ว่าต่อไปในภายหน้าเนี่ย มันอาจจะปรากฏอย่างที่ว่าเมื่อกี้คือวิทยา วิธีการวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันเนี่ยไม่อาจพิสูจน์ความจริงที่ศาสนาบอกได้ เพราะตอนนี้มันก็ชักจะเป็นอย่างงั้น เดี๋ยวนี้นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจำนวนไม่น้อยกำลังคิดอย่างนั้น เขาคิดว่าความจริงขั้นสุดท้ายที่ศาสนาบอกนั้น วิธีการวิทยาศาสตร์จะไม่อาจบอกได้เลย ไม่ว่าในยุคสมัยใดทั้งสิ้น นี้ตอนนี้นักฟิสิกส์ชั้นนำหลายคนเลยคิดอย่างนี้ ถ้ามีเวลาเราจะกลับมาพูดกันอีก นะฮะ อ้า ขอโอกาสนิดนึง
เอาล่ะเป็นอันว่า วิทยาศาสตร์ก็เป็นเรื่องของบุคคลบางคน บางกลุ่มที่คิดหาความรู้ซึ่งเป็นเรื่องของวิชาการไป แต่ศาสนาเป็นเรื่องของมนุษย์ทุกคน เป็นเรื่องของสังคม ที่จะต้องปฏิบัติต่อชีวิตของตนและหาจุดลงตัวในโลก หรือในธรรมชาติที่ตนอาศัยอยู่ อ่า วิทยาศาสตร์อาจจะทำให้ตัววิทยาศาสตร์นี้กลายเป็นเรื่องของทุกคนไปได้ แต่พอวิทยาศาสตร์ไปถึงขั้นนั้น วิทยาศาสตร์อาจจะกลายเป็นศาสนาไปก็ได้ นี้ก็เป็นข้อความที่ให้พิจารณาในขั้นหนึ่ง
ที่นี้ ตอนนี้ได้พูดมาถึงเรื่องวิทยาศาสตร์มาถึงศาสนาแล้ว เราเห็นจุดกำเนิดและก็วิวัฒนาการมา ตอนนี้เราจะมาเข้าถึงเรื่องพุทธศาสนาบ้างแล้ว นี่พึ่งจะมาเข้าถึงเรื่อง ที่ผ่านมานี่เป็นอารัมภบท เอาล่ะ เจริญพร ทีนี้มาถึงพุทธศาสนาแล้ว นะฮะ เอ่อ เมื่อพูดถึงพุทธศาสนา เราก็ต้องไปถึงจุดเริ่มของพุทธศาสนาก่อน เมื่อกี้นี้บอกว่าจุดเริ่มของศาสนานั้นคือความกลัวภัย
ทีนี้จุดเริ่มของพุทธศาสนาคืออะไร เราก็บอกว่าจุดเริ่มของพุทธศาสนาคือความกลัวทุกข์ เปลี่ยนจากภัยมาเป็นทุกข์ ไม่เหมือนกันน้า ต้องระวังน้า ตอนศาสนาทั้งหลายนี่เป็นภัย ต่อมาเป็นพุทธศาสนานี่เป็นทุกข์ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมกว่า คือ จุดเน้นของความกลัวภัยนั้นไปอยู่ที่เหตุปัจจัยภายนอก เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว อะไรต่างๆ ที่ว่าเมื่อกี้ ทีนี้พอมาถึงเรื่องทุกข์นี่มันปัญหาตลอดถึงในตัวมนุษย์เอง ครอบคลุมทั้งหมด นี้บอกว่าทุกข์คืออะไร คือสภาพบีบคั้น ติดขัด คับข้อง ก็คือปัญหาของมนุษย์นั่นเอง ว่าในแง่หนึ่งพูดง่ายๆ ทุกข์ก็คือปัญหา เพราะปัญหาก็คือสิ่งบีบคั้น ติดขัด คับข้องของมนุษย์
นี้ศาสนาต่างๆนั้นมองแหล่งเกิดภัย มอง เมื่อต้องการพ้นภัย ก็มองหาแหล่งเกิดภัย เมื่อมองหาไม่ได้ในระยะแรก ศาสนาเหล่านั้นมองไปที่อะไร ไม่ใช่ศาสนา ก็คือมนุษย์นั่นเอง มองไปที่อะไร ก็เห็นเป็นว่ามี ก็นึกถึงคนนี่แหละ คือว่า ในเมื่อสิ่งต่างๆมันจะเป็นยังไงก็มีผู้ทำ แต่ในเมื่อสิ่งทั้งหลายในโลกมนุษย์นี้มนุษย์ทำ แต่ว่าไอ้สิ่งใหญ่ๆเหล่านั้นในธรรมชาตินี่มนุษย์ทำไม่ได้ มันก็ต้องมีผู้ทำ ก็เลยนึกถึงผู้ทำขึ้นมา ผู้ทำเหล่านั้นก็กลายเป็นสิ่งที่เรียกเทพยเจ้า หรือเทวดาขึ้นมา ก็เลยไปมองที่เทวดาว่าเป็นที่มาของภัยเหล่านั้น หรือเราเรียกกันว่าอำนาจลึกลับภายนอกที่อยู่หลังธรรมชาติ เป็นผู้บันดาล พาเมฆมา พาพายุมา พาน้ำมา อ่า พาไฟมา อะไรต่างๆเหล่านี้
ก็เกิดมีศาสนาที่มีเทวดาหลายองค์บ้าง องค์เดียวบ้าง จนกระทั่งแม้แต่เป็นภาวะหนึ่งเดียวที่เราเลยจากท่านเทวดาไปแล้ว อันนี้เมื่อมนุษย์มองว่าต้นตอภัยอยู่ที่ไหน จุดระงับภัยมันก็ต้องอยู่ที่นั่น ตอนแรกเราก็มองแบบมนุษย์นี่แหละ มองคนด้วยกันเนี่ย คนเราก็มองดูว่า ผู้ใหญ่มีอำนาจมากกว่า คนเล็กมาทำไม่ชอบใจก็ทำร้ายเอา ลงโทษเอา ถ้าทำดีชอบใจ ก็ให้รางวัล มองไปที่สิ่งใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังธรรมชาติก็คิดแบบเดียวกันนั่นแหละ ก็เอาภาพของมนุษย์เนี่ยไปใส่ให้เทวดา
เพราะฉะนั้น เอ่อ จึงมีผู้ตอบ นักจิตวิทยาสมัยหลังบอกว่า มนุษย์สร้างเทวดาจากฉายาของมนุษย์ อันนี้เลยไปขัดกับคำสอนของศาสนาคริสต์ที่บอกว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์จากฉายาของพระเจ้า คือ ท่านบอกว่าพระผู้เป็นเจ้าเนี่ยสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากรูปเสมือนของพระองค์ แต่นักจิตวิทยาสมัยหลังนี่เรียนเรื่องกำเนิดของศาสนา บอกว่ามนุษย์สร้างเทวดาจากรูปเหมือนของมนุษย์ อ้าวก็แล้วแต่ว่าจะคิดไป
ทีนี้ก็เป็นอันว่ามนุษย์ก็คิดว่า เทวดาเหล่านี้แหละเป็นต้นตอของเภทภัยอันตราย เพราะฉะนั้นเราต้องเอาใจคนที่มีอำนาจฉันใด เราก็ต้องเอาใจเทวดาฉันนั้น งั้นเราก็เลยมีวิธีการขึ้นมาในการที่จะช่วยตัวเองให้พ้นภัยโดยการที่ไปแสดงความเคารพอ่อนน้อมกราบไหว้อ้อนวอนขอผล แปลว่าเราก็จะมีว่า ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดผลในศาสนาโบราณเหล่านั้น ก็คือการดลบันดาลของเทพเจ้าซึ่งไม่ใช่วิสัยของมนุษย์ แล้วความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพยเจ้าหรืออำนาจดลบันดาลเหล่านั้น ก็คือศรัทธาความเชื่อ เชื่อในพระองค์ เคารพในพระองค์ แล้วก็แสดงออกเป็นวิธีการ วิธีการก็คือ การบวงสรวงอ้อนวอน นี่ก็ได้ครบแล้ว คือตัวกำหนด ตัวกำหนดผลได้แก่การบันดาลของเทพเจ้า ตัวสัมพันธ์ได้แก่ศรัทธา วิธีการปฏิบัติได้แก่การบวงสรวงอ้อนวอน อันนี้เป็นวิธีการในศาสนาต่างๆที่เป็นมา
ทีนี้พอพุทธศาสนาเกิดขึ้น เราก็มาใช้หลักการเหล่านี้มาปรับดูว่าจะเป็นยังไง พุทธศาสนานั้นก็เป็นอันว่าเราต้องการพ้นทุกข์แล้ว มันไม่ต้องการมีความทุกข์ก็เกิด เอ่อ ในตอนนั้นก็จะมีความใฝ่ปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ขึ้นมา นะฮะ เพราะฉะนั้นจุดกำเนิดของพุทธศาสนาก็คือ ความใฝ่ปรารถนาจะพ้นทุกข์ หรือความใฝ่ปรารถนาภาวะไร้ทุกข์ นี่พูดอีกภาษาหนึ่ง เป็นอันว่าความใฝ่ปรารถนาภาวะไร้ทุกข์เป็นจุดกำเนิดของพุทธศาสนา นี้ในกระบวนการแก้ไขจะทำยังไง เมื่อเราต้องการจะพ้นจากทุกข์ ก็จะต้องมีวิธีการแก้ทุกข์ ก็จะต้องดูต้นกำเนิดของทุกข์ ต้นกำเนิดของทุกข์อยู่ที่ไหน
ศาสนาเก่าบอกภัยต้นกำเนิดอยู่จากเทวดา พุทธศาสนาก็บอกว่า การเกิดขึ้นของทุกข์เป็นกระบวนการของเหตุปัจจัย เป็นกฎธรรมชาติ ซึ่งจะต้องรู้เข้าใจ นะฮะ ทุกข์นี้ ต้นเหตุเป็นไปตามกระบวนการของธรรมชาติ คือ หลักของความเป็นเหตุเป็นผล หรือเหตุปัจจัย ซึ่งตัวความไม่รู้เข้าใจในความจริงนั้นแหละ หรือตัวความไม่รู้ไม่เข้าใจในกระบวนการธรรมชาติ หรือกระบวนความเป็นไปตามเหตุผลนั้นน่ะเป็นต้นตอให้เกิดทุกข์ เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาจึงสืบสาวหาต้นกำเนิดความทุกข์ไปที่ตัวความไม่รู้เข้าใจเหตุปัจจัยหรือตัวความไม่รู้เข้าใจกฎธรรมชาติ ได้แก่ อวิชชา
เอาละทีนี้ก็เป็นอันว่าตอนนี้เรามาถึงจุดของพุทธศาสนาแล้ว เมื่อกี้นี้ ศาสนาต่างๆว่าภัย ต้นกำเนิดของภัยคือเทวดาบันดาล พุทธศาสนาบอกว่า ทุกข์ ต้นกำเนิดของทุกข์คือความไม่รู้เข้าใจเหตุปัจจัยของทุกข์นั้น หรือความไม่รู้เข้าใจกฎธรรมชาติ กระบวนการความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นเอง อ้าว ทีนี้ต่อไป ก็จะต้องถึงตัวการที่แก้ปัญหา ตัวการที่จะแก้ปัญหาอะไรล่ะ ในเมื่อความไม่รู้ไม่เข้าใจกฎธรรมชาติหรือเหตุปัจจัยนี้เป็นตัวต้นกำเนิด ตัวการที่จะแก้ปัญหาก็ตรงข้ามก็คือ ความรู้เข้าใจเหตุปัจจัยนั้น ความรู้เข้าใจกฎธรรมชาติ คือตัวปัญญา
จากจุดเดิม ศาสนาบอกว่าศรัทธาคือตัวสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับไอ้ตัวต้นกำเนิดของภัย พุทธศาสนาก็มาเปลี่ยนเป็นว่า ตัวความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ไปหาจุดกำเนิดของทุกข์นั้นคือปัญญา ก็หมายความว่าย้ายจากศรัทธามาหาปัญญา นี่คือจุดเปลี่ยนของพุทธศาสนา มนุษย์ก็จะต้องรู้เข้าใจกระบวนการของเหตุปัจจัยทั้งหลายนั้น แล้วแก้ไขที่เหตุปัจจัย และการแก้ไขที่เหตุปัจจัยนั้น เป็นเรื่องของมนุษย์ที่มนุษย์สิจะต้องทำ แล้วเป็นวิสัยที่มนุษย์จะกระทำได้ เพราะฉะนั้นก็จะเปลี่ยนจากอำนาจดลบันดาลของเทพเจ้ามาเป็นการกระทำของมนุษย์
อันนี้จุด 3 อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ นะฮะ ต้นกำเนิดของภัยได้แก่เทวดา แต่ในพุทธศาสนาต้นกำเนิดของทุกข์ได้แก่ความไม่รู้เข้าใจกฎธรรมชาติ แล้วตัวโยงไปสู่ต้นกำเนิดนั้นในศาสนาต่างๆก็ศรัทธา ในพุทธศาสนาก็เปลี่ยนมาเป็นปัญญาที่รู้เข้าใจกฎธรรมชาติ แล้วตัวกำหนดผลเดิมเป็นเทวดา อำนาจดลบันดาลก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นการกระทำของมนุษย์ อันนี้ก็คือการเปลี่ยนที่ปฏิวัติเลย เพราะฉะนั้น เป็นอันว่า จุดเน้นประเด็นหลักในพุทธศาสนาก็ย้ายไปแล้ว จากศรัทธามาสู่ปัญญา ซึ่งปัญญาไอ้ที่ว่านี้ ก็เริ่มด้วยความใฝ่รู้หรือใฝ่ในความรู้เหมือนกัน เพราะเมื่อเราจะมีปัญญาเราก็ต้องมีความใฝ่รู้ แต่ความใฝ่รู้นั้นก็จะเปลี่ยนลักษณะ ซึ่งเราจะได้วิเคราะห์กันต่อไป แล้วก็เปลี่ยนจากการบันดาลของอำนาจเหนือธรรมชาติ มาสู่การกระทำความเพียรพยายามของตัวมนุษย์เอง
เพราะฉะนั้น พุทธศาสนามีหลักการสำคัญที่ว่า ไม่ว่าพุทธศาสนาจะเผยแพร่ออกไปสู่ชาวโลกกว้างขวางไกลเพียงใด จะมีความเชื่อถือเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปอย่างไรก็ตาม สาระก็คือยังอยู่ที่จุดสำคัญ ประเด็นสำคัญ คือการกระทำของมนุษย์ จุดสำคัญของพระพุทธศาสนาอันนี้ ถ้าเปลี่ยนไปถือว่าผิดเลย คือ จุดประเด็นหลัก คือการกระทำของมนุษย์ เพราะฉะนั้น การกระทำของมนุษย์ออกมาสู่รูปร่างที่เราเรียกว่าหลักกรรมนั่นเอง คือการกระทำของมนุษย์
แต่ว่าคนอาจจะเข้าใจตัวกรรมไขว้เขวไปบ้าง แต่ยังไงก็ตาม กรรมมันก็ยังคือการกระทำของมนุษย์อยู่นั่นน่ะ ไม่ใช่เป็นการบันดาลของเทพเจ้า ก็การที่พุทธศาสนาถือหลักกฎธรรมชาติ ประกาศอิสรภาพของมนุษย์ แล้วเอาปัญญามาแทนศรัทธา อันนี้เป็นสิ่งที่แปลกในวงการศาสนาจนกระทั่งฝรั่งบางทีไม่ยอมเรียกพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนา เราจะเห็นว่าหนังสือฝรั่งบางทีบอกว่าพุทธศาสนาไม่ใช่ religion คือ ไม่ใช่ศาสนาในความหมายของเขา เพราะว่ามันไม่มีลักษณะเหมือนกับศาสนาทั้งหลาย
เอาล่ะ เป็นอันว่าจุดสำคัญนี้ก็มีกฎธรรมชาติ อิสระ มีถือหลักกฎธรรมชาติ ประกาศอิสรภาพของมนุษย์ แล้วเอาปัญญามาแทนศรัทธา ทีนี้เพื่อจะให้เกิดความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้ อาตมาก็จะเอาเวลาช่วงนี้มาใช้กับการพูดกับหลักการพื้นฐานบางอย่างที่พึงสังเกตของพุทธศาสนา พูดถึงคล้ายๆตัวหลัก การที่เป็นพุทธพจน์ คำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าเสียก่อนแล้วเราค่อยมาวิเคราะห์กันอีกทีนึง แล้วก็มาโยงกับวิทยาศาสตร์ตอนหลัง
นี้หลักการพื้นฐานบางอย่างของพุทธศาสนาที่ควรทราบในตอนนี้ เอ่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับที่พูดมาเมื่อกี้ ก็อันที่หนึ่งก็คือการถือหลักกฎธรรมชาติ ว่าความจริงนั้นเป็นกฎธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดาของมัน พระพุทธเจ้ามีฐานะเป็นเพียงผู้ค้นพบ อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราถือว่าพระพุทธเจ้านี่เป็นผู้ค้นพบความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ นั้นเราจะมีหลัก พระจะสวดบ่อยๆคือธรรมนิยามสูตร ในงานอุทิศกุศลแก่ผู้ล่วงลับ เราก็ไม่รู้ว่าท่านสวดอะไรกันล่ะ แต่ท่านบอกให้ฟัง บอกว่ากฎความจริงของธรรมชาติมันมีอยู่อย่างงี้เองเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่อุบัติขึ้นก็ตามมันเป็นอย่างนั้น อะไรอย่างเงี้ย แต่ว่าพระก็ประกาศหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าตลอดเวลาเหมือนกัน ญาติโยมก็ฟังตลอดเวลาเหมือนกัน แต่ก็ไม่รู้ตลอดเวลาเหมือนกัน เออ อันนี้ก็เป็นเรื่องอย่างนี้ มันเป็นมา นะฮะ
ทีนี้หลักธรรมยะ ธรรมนิยามหรือกฎธรรมชาติที่ว่าเนี่ยเป็นยังไง พระจะสวดว่า อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง แปลว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม มันก็เป็นหลักยืนตัวอยู่ ตามธรรมดา เป็นกฎธรรมชาติว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดจากเหตุปัจจัย ล้วนแต่ไม่คงที่ ไม่คงตัว และไม่เป็นตัว ไม่คงที่คือมันเกิดดับตลอดเวลา ไม่คงตัวก็คือมันถูกปัจจัยที่ขัดแย้งกันบีบคั้นให้คงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้ แล้วก็ไม่เป็นตัวคือหมายความว่ามันไม่เป็นตัวของตัวเองแต่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย มันจะปรากฏรูปร่างอย่างไรก็แล้วแต่เหตุปัจจัย คือ หลักของเหตุปัจจัยนั่นเองเป็นพื้นฐานในที่สุด พระพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริงอันนี้แล้ว จึงนำมาเปิดเผยแสดง ชี้แจงทำให้ง่าย ให้ชัดเจนขึ้น ว่าดังนี้ ดังนี้ อันนี้คือหลักสำคัญมาก หลักพื้นฐานพุทธศาสนา ที่ถือว่ากฎธรรมชาตินี้เป็นความจริงพื้นฐาน
ทีนี้ต่อไปหลักที่ 2 เอ๊ เราควรจะรีบผ่านหลักเหล่านี้ไป เอาล่ะ เพราะเวลาจะน้อย ข้อที่ 2 ก็คือ ต่อจากนั้น นอกจากว่า สิ่งทั้งหลายไม่คงที่ ไม่คงตัว ไม่เป็นตัวแล้ว ก็จะบอกหลักความเป็นเหตุเป็นผลหรือความเป็นเหตุปัจจัยแบบอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งหลาย ที่บอกว่า ที่เราเรียกว่ากฎปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีสาระสำคัญโดยย่อว่า อิมัส๎สิง อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ เป็นต้น ก็บอกว่าเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี อันนี้มี อันนี้จึงมี เมื่ออันนี้ไม่มี อันนี้ก็ไม่มี เพราะอันนี้เกิด อันนี้จึงเกิด เพราะอันนี้ดับ อันนี้ก็ดับ
อันนี้คือหลักความจริงพื้นฐาน แล้วก็จะขยายความเพราะอันนั้นเกิด อันนี้จึงเกิด เพราะอันนี้เป็นปัจจัย อันนั้นจึงเป็นปัจจัย อันนี้คือหลักกฎธรรมชาติที่ความเป็นเหตุเป็นผลขั้นพื้นฐาน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าพุทธศาสนาถือเหล็ก หลักเหตุปัจจัยนะ เรามักจะพูดว่าหลักเหตุปัจจัย ไม่พูดว่าหลักเหตุผล เหตุผลนี่มันเหตุกับผลมันตรงกันไป นี้ในพุทธศาสนาท่านถือว่าไอ้ตัวสิ่งที่จะทำให้ผลเกิดขึ้นเนี่ยมันไม่ใช่เหตุอย่างเดียว ต้องมีปัจจัยด้วย ปัจจัยพรั่งพร้อมแล้วจึงเกิดผล
อันนี้ก็เป็นหลักการที่สำคัญ ขอยกตัวอย่างอันหนึ่ง เช่นว่า ต้นมะม่วงต้นหนึ่งเป็นผล เราปลูกต้นมะม่วง ต้นมะม่วงก็งอกงามขึ้นมา อะไรเป็นเหตุของต้นมะม่วง ก็เม็ดมะม่วง เม็ดมะม่วงก็คือพืชของมัน เม็ดมะม่วงเป็นเหตุของมะม่วง แต่ถ้าบอกมีเหตุอย่างเดียว ผลไม่เกิด มีแต่เม็ดมะม่วง ต้นมะม่วงเกิดมั้ย ไม่ได้ มีต้องอาศัยปัจจัยตั้งหลายอย่าง อาศัยดิน อาศัยน้ำ อาศัยออกซิเจน อาศัยอุณหภูมิพอเหมาะ อาศัยปุ๋ย เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้พรั่งพร้อมแล้ว ต้นมะม่วงจึงปรากฎขึ้นมา อันนี้คือหลักเหตุปัจจัยในพุทธศาสนา ปัจจัยพรั่งพร้อมถึงที่ ผลก็ปรากฏ เพราะฉะนั้นบางคนบอกทำเหตุแล้วทำไมผลไม่ได้ นะฮะ อ้าวดูปัจจัยหรือเปล่า นะฮะ
อันนี้ ต่อไปยกตัวอย่างอีกอันหนึ่ง ความเป็นเหตุปัจจัยไม่เป็น ไม่จำเป็นต้องเป็นลำดับกาลเวลานะ เรามักจะมองว่า อันนี้เกิดมาก่อนแล้วต่อไปอันนี้เกิด ไม่จำเป็น สมมติว่ามีกระดานดำ หรือกระดานป้าย อยู่ข้างหลังอาตมา แล้วเราใช้ชอล์กเขียน เขียนกระดานดำ เขียนกันเป็นตัวหนังสือ ตัว ก ไก่ ข ไข่ ขึ้นมา ไอ้ ก ไก่ ข ไข่ นั้นเป็นผลขึ้นมาแล้ว แต่ในการที่ตัว ก ไก่ ข ไข่ จะปรากฏผลขึ้นมาบนกระดานดำให้เราอ่านเนี่ย อะไรเป็นเหตุ ถ้าในแง่ภาษาเราบอกว่าคน ถ้าในแง่ตัวรูปภาพที่เป็นตัวขาวๆเราใช้ว่าชอล์ก ใช่มั้ยๆ อ่า จะเอาเหตุไหนก็ตาม ถ้ามีแค่เหตุนั้นไม่ผล ไม่ปรากฏหรอก ไม่พอ
ที่ตัว ก จะปรากฏขึ้นมา ต้องมีทั้งคนเขียน ต้องมีทั้งชอล์ก ต้องมีทั้งกระดานดำที่รองรับ กระดานก็ยังไม่พอ ต้องสีต่างกันให้ตัดกันได้ เออ ต้องมีอุณหภูมิ ต้องมีไอ้พวกวัสดุต่างๆ เช่นว่า ไม่มีเป็นน้ำเหลวอยู่บนนั้นทำให้ชอล์กละลายไปหมด เขียนไม่ได้ ต้องมีความแห้งอะไรต่ออะไรพอดี อันนี้คือปัจจัยต่างๆที่พรั่งพร้อมซึ่งทำให้ผลเกิดขึ้น แล้วในการที่ตัว ก ปรากฏเนี่ย ไอ้ปัจจัยที่ทำให้มันเกิดขึ้นน่ะ มันไม่ใช่ว่าหมายความว่ามาก่อนใช่มั้ยล่ะ ปัจจัยที่ทำให้ตัว ก ปรากฏ ปัจจัยบางอย่างก็อยู่พร้อมกันก็ เป็นปัจจัยที่อิงอาศัยในรูปต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นลำดับกาล อันนี้คือหลักเหตุปัจจัยในพุทธศาสนา นี้ก็ยกตัวอย่างมาแต่เอาให้มองในแง่ของประเด็นสำคัญก็คือต้องการให้เห็นว่าเป็นหลักเหตุปัจจัย
นี้ต่อไปที่สำคัญก็คือหลักศรัทธา หลักศรัทธานี้มาฟังกันอีก ก็เมื่อกี้บอกว่าพุทธศาสนาย้ายจากศรัทธามาปัญญายังจะมาพูดเป็นศรัทธาอะไรกันอีก ศรัทธามันก็ยังมีบทบาทอยู่ แต่มันเปลี่ยนบทบาทใหม่ ทีนี้ให้ดูในพุทธศาสนา หลักศรัทธา ซึ่งโยงไปหาการพิสูจน์ด้วยประสบการณ์ตรง ที่อ้างกันมากก็คือกาลามสูตร กาลามสูตรก็จะบอกว่า นี่แน่ะ กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อเพียงเพราะได้ฟังตามกันมา ได้เรียนตามกันมา ได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพราะเสียงเล่าลือ อย่าเชื่อเพียงเพราะอ้างตำรา เชื่อเพราะตรรก หลักการวิธีใช้แบบคิดเหตุผล อย่าเชื่อเพราะใช้อนุมานเอา อย่าเชื่อเพียงเพราะคิดตามแนวทางของเหตุผลที่ว่า อย่าเชื่อเพราะว่าเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน อย่าเชื่อเพียงเพราะว่ามีรูปลักษณะน่าเชื่อ อย่าเชื่อเพียงเพราะว่าเห็นว่าท่านสมณะนี้เป็นครูบาอาจารย์ของเรา นี่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างงี้
นี่ฝรั่งทึ่งมาก ตอนที่ฝรั่งได้ยินเรื่องพุทธศาสนาเนี่ยโจษจันกันเรื่องกาลามสูตร เด่นมาก เพราะว่าตอนนั้นกำลัง กำลังวิทยาศาสตร์เฟื่อง พอวิทยาศาสตร์เฟื่องก็เลย เออ ชอบแบบว่า ต้องไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จะต้องเชื่อความจริงที่พิสูจน์ได้ เกิดไปเจอพระสูตรนี้ขึ้น ฝรั่งเลยรู้จักกาลามสูตร ปรากฏว่าในตอนที่ฝรั่งรู้จักกาลามสูตรในพุทธศาสนา คนไทยไม่รู้จัก นะฮะ ถ้าถามคนไทยนี้ แทบไม่มีเลย เจริญพร ไม่ถึงเปอร์เซ็นต์เด็ดขาด 0.1 เปอร์เซ็นต์ก็ไม่รู้จักกาลามสูตร แต่ฝรั่งที่รู้จักพุทธศาสนารู้จักกาลามสูตร คนไทยเป็นชาวพุทธไม่รู้จักกาลามสูตร อันเนี้ยเรื่องมันชอบกลอยู่ในวงการพุทธศาสนา
อ้าวทีนี้ พระพุทธเจ้ายังตรัสต่อไปอีกบอกว่า ต่อเมื่อรู้ด้วยตนเองว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นกุศล เอ่อ หรือเป็นอกุศล ถ้าเป็นอกุศล มีโทษ ไม่เป็นประโยชน์ ทำให้เกิดทุกข์ พึงละเสีย ถ้ารู้ว่าเป็นกุศล เอ่อ เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อความสุขอะไรนี้ ให้ถือปฏิบัติอะไรต่างๆ นี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องรู้ชัดประจักษ์แก่ตนเอง ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ตรง นี้นอกจากนั้นยังมีหลักที่บอกชัดๆที่บอกถึงการตรวจสอบด้วยประสบการณ์ตรง เช่น พระพุทธเจ้าจะตรัสบอกว่า โดยไม่ต้องอาศัยศรัทธา ไม่ต้องอาศัยการถูกกับใจชอบ ไม่ต้องอาศัยการเรียนตามกันมา ไม่ต้องอาศัยการคิดตรองตามในเหตุผล ไม่ต้องอาศัยความเข้าได้กับทฤษฎีของตน ก็รู้ชัดได้ในใจของตนเองว่า เรามีโลภะหรือไม่มีโลภะ เรามีโทสะหรือไม่มีโทสะ เรามีโมหะหรือไม่มีโมหะ ในใจของเราขณะนี้ อันนี้เป็นประสบการณ์ตรงเหมือนกัน นะฮะ ในใจของเราเราก็รู้ได้เอง มันก็รู้ชัดกันในขณะนั้น
นี้ก็เป็นหลัก ที่เราเรียกว่าเป็นการตรวจสอบด้วยประสบการณ์ตรง นี้ต่อไป คือการประกาศอิสรภาพของมนุษย์ เพราะว่าพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในท่ามกลางความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่ถือว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก เทพยเจ้าเป็นผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์จะต้องบวงสรวงอ้อนวอนด้วยพิธีกรรมจนกระทั่งถึงพิธีบูชายัณ บูชายัณเอาใจเทพเจ้าจะได้บันดาลผล คนเกิดมาเป็นวรรณะสี่ เพราะว่าพระพรหมท่านสร้างมาอย่างนั้นอะไรต่างๆเนี่ย ครอบงำด้วยการดลบันดาลของเทพยเจ้า พอพระพุทธเจ้าอุบัติมาสิ่งแรกที่ถือว่าเกิดขึ้นพร้อมกับการอุบัติของเจ้าชายสิทธัตถะ คือการประกาศอิสรภาพของพระพุทธ ท่านจะสังเกตหรือเปล่า
เมื่อพระพุทธเจ้าเกิด เป็นสัญลักษณ์ว่าเจ้าชายสิทธัตถะเกิดขึ้น ได้ย่างเท้าไป 7 ก้าว กล่าวอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก เราเป็นผู้ใหญ่ยิ่งในโลก อันนี้ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะเข้าใจผิด เอ๊ะ เจ้าชายสิทธัตถะมาบอกเรายิ่งใหญ่อะไร นี่คือการประกาศอิสรภาพของมนุษย์ เพราะพระพุทธเจ้าจะตรัสต่อมาบอกว่า มนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้สูงสุด เมื่อมนุษย์พัฒนาตนเองแล้ว สูงสุด ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนก็คือพุทธะ ซึ่งทุกคนเป็นพุทธะได้ทั้งนั้น เมื่อเป็นพุทธะแล้ว แม้แต่เทพยเจ้า แม้แต่พระพรหมก็นมัสการ ว่างั้น
จะมีคำสอนแบบนี้ในพุทธศาสนามากมาย ถ้าเราอ่านพระไตรปิฎก คำสอนพระพุทธเจ้าเนี่ย จะเป็นทำนองนี้ อย่างที่อ้างบ่อยๆว่า มนุสฺสภูตํ สมฺพุทฺธํ อตฺตทนฺตํ สมาหิตํ เทวาปิ นํ นมสฺสนฺติ บอกว่า พระพุทธเจ้าแม้จะเป็นมนุษย์แต่เป็นผู้ที่ได้ฝึกฝนพัฒนาตนดีแล้ว แม้เทพทั้งหลายก็น้อมนมัสการ พระพรหมก็นมัสการ เพราะถือว่าเปลี่ยนท่าทีของมนุษย์ซะใหม่ ท่าทีของจิตใจที่มองไปข้างนอก คอยไปหวังพึ่งเทพเจ้า คอยรอคนการดลบันดาลของพระองค์ ให้มามองดูที่ตัวเอง ว่าภายในตัวเองเนี้ย มีธรรมชาติแห่งความเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ ถ้าเจอเธอฝึกฝนพัฒนาตนเธอจะเป็นผู้ประเสริฐ โดยไม่ต้องไปฝากชะตาชีวิตไว้กับเทพเจ้าเหล่านั้น แม้แต่เทพเหล่านั้นก็ต้องยอมรับในคุณค่าในความประเสริฐของเธอ แล้วเขาก็จะมาน้อมนมัสการเอง
หลักนี้ก็คือการหลักการถือหลักว่ามนุษย์มีศักยภาพสูงสุดในการพัฒนาตน อย่างที่ว่ามาแล้ว พระพุทธเจ้าก็เป็นตัวอย่างของมนุษย์ที่พัฒนาตนเองแล้วได้สูงสุด อันนี้คือหลักที่เรียกว่าอาสภิวาจา หรือประกาศอิสรภาพของมนุษย์ ต่อไป หลักการแก้ปัญหาด้วยการกระทำของมนุษย์ตามหลักเหตุผล ไม่หวังการอ้อนวอนจากปัจจัยภายนอก อันนี้เราจะเห็นได้ในคาถาธรรมบทซึ่งถือเป็นการประกาศหลักการของพุทธศาสนา ท่านบอก พะหุง เว สะระณัง ยันติ จะเริ่มบอกเลยว่าวิถีชีวิตของมนุษย์ก่อนพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร ก็จะบอกว่า ชนทั้งหลายถูกภัยคุกคาม นี่ตรงกับเรื่องของศาสนาทั้งหลายที่เกิดเมื่อกี้เลย
ว่าไปแล้วในพุทธพจน์ที่บอกว่า มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว พากันถึงเจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าที่เจ้าทางเป็นสรณะ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สรณะอันเกษม เมื่อเอาสิ่งเหล่านั้นเป็นสรณะ ย่อมไม่สามารถปลด หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง แต่ชนเหล่าใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ รู้เข้าใจอริยสัจ 4 นั่นแหละเห็นปัญหา เหตุเกิดของปัญหา ภาวะไร้ปัญหา ดับสิ้นปัญหา และวิธีปฏิบัติให้ถึงความสิ้นปัญหา จึงจะสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ก็นี่คือจุดที่เบนมาจากเทพเจ้ามาสู่การกระทำของมนุษย์
ถ้าเราไม่รู้หลักนี้ เราจะนับถือพระรัตนตรัยแบบสิ่งศักดิ์สิทธิในศาสนาทั้งหลาย พระรัตนตรัยเริ่มจากพระพุทธเจ้า คือตัวอย่างของมนุษย์ที่พัฒนาตนได้สูงสุด เตือนใจมนุษย์ทุกคนว่าเรามีศักยภาพนี้อยู่ในตัวที่จะต้องพัฒนาตนเอง อ่า พระพุทธเจ้า พอถึงพระพุทธเจ้านี่มันเตือนใจเราจุดนี้ปั๊บ เราต้องพัฒนาตนทันที มาเตือนศักยภาพของเรา พอนึกถึงพระธรรมก็เตือนเราบอกว่า อ๋อ การที่พัฒนาตนได้มันเป็นไปตามหลักเหตุปัจจัย เราจะต้องรู้เข้าใจกฎธรรมชาติ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เสร็จแล้วก็ระลึกถึงพระสงฆ์ อ๋อ ชุมชนสังคมมนุษย์ที่ประกอบด้วยมนุษย์ที่พัฒนาตนได้ ด้วยอาศัยการใช้กฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยนี้เอาความรู้นี้มาใช้ประโยชน์พัฒนาตนได้สำเร็จนั้นเป็นจริง ทำให้เป็นได้ แล้วเป็นที่ปรากฏของกฎธรรมชาติ ในทางเชิงปฏิบัติหรือเชิงประยุกต์ อันนั้นก็นี่คือพระสงฆ์ ก็คือพระรัตนตรัย พอเราเชื่อในหลักการนี้ เราก็ต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีการของมนุษย์ มันบังคับอยู่ในตัวเอง
วิธีการของมนุษย์คือ หนึ่ง เริ่มด้วยปัญหา ต้องรู้ปัญหา เสร็จแล้วก็สืบสาวสมุทัย หาสาเหตุของปัญหา แล้วก็กำหนดจุดหมายที่จะดับปัญหา แล้วก็ปฏิบัติตามวิธีการให้ถึงความแก้ปัญหาได้ ก็นี่คือหลักที่เราเรียกว่าเป็นการแก้ปัญหาตามหลักของเหตุผลด้วยการกระทำของมนุษย์เอง
แล้วต่อไป อีกอันหนึ่งที่ขอยกมาในตอนนี้คือหลักสอนแต่ความรู้และความจริงที่เป็นประโยชน์ แต่ความรู้หรือความจริงนั้นอาจจะมีมากมาย แต่ว่าอาจจะเป็นความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าไม่สอน และก็ไม่รอด้วย เอาความจริงที่เป็นประโยชน์มาสอน อา เราจะเห็นหลักการเหล่านี้ เช่นข้ออุปมาของพระพุทธเจ้าที่ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในป่า เรียกว่าสีสปาวัน บางทีเขาแปลว่าป่าไม้สีเสียด หรือป่าไม้ประดู่ลาย ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ประทับอยู่กับพระสงฆ์ ครั้งหนึ่งพระองค์ก็ทรงหยิบใบไม้ใบประดู่ลายขึ้นมากำพระหัตถ์นึง แล้วก็ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ใบไม้ในกำมือเรากับเบื้องบนในป่าเนี้ยอันไหนจะมากกว่ากัน ก็ง่ายๆ พระก็ตอบได้ทันที พระก็บอกว่า เอ้า ใบไม้ในพระหัตถ์ของพระองค์ก็นิดเดียว ใบไม้ในป่าก็มากกว่า
พระพุทธเจ้าก็บอกว่านี่ฉันใด สิ่งที่เราสอนก็ฉันนั้น สิ่งที่เป็นความจริงที่รู้มีมากมาย แต่ว่าอันนั้นเราไม่จำเป็นต้องสอน สอนส่วนเท่ากับเหมือนกับใบไม้ในกำมือนี้ เพราะฉะนั้นความจริงที่รู้แต่ไม่ได้สอนเหมือนใบไม้ในป่า ที่สอนไม่ได้ไม้ในกำมือ ทำไม บอกเหตุผล เพราะว่าความจริงเหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความเข้าใจความจริงถึงที่สุด ไม่เข้าใจ ไม่เป็นไปเพื่อการแก้ปัญหา ไม่เป็นไปเพื่อจุดหมายพุทธศาสนาคือนิพพาน
แต่ว่าสิ่งที่ทรงสอนก็เพราะว่ามันนำไปสู่การแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ พูดง่ายๆ อันนี้ก็เป็นหลักการอันหนึ่งของพุทธศาสนาแล้วอุปมาอีกอุปมาหนึ่งที่สำคัญ คือครั้งหนึ่งมีผู้มาถามปัญหาอภิปรัชญาของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นปัญหาที่วิทยาศาสตร์กำลังพยายามตอบในปัจจุบัน ว่าจักรภพนี้มีจุดตั้งต้นหรือไม่ มีจุดสิ้นสุดหรือไม่ หรือมีอยู่ตลอดไปอะไรทำนองเนี้ย มีอยู่ตั้ง 10 อย่าง คำถามประเภทเนี้ยถามมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล พวกนั้นเมื่อเห็นพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นก็มาถามอีก พระพุทธเจ้าบอกว่า เราไม่ตอบหรอก ทำไมจึงไม่ตอบ เพราะว่า ขออุปมา ปุรุษผู้หนึ่งถูกคนเขาเอาลูกศรอาบยาพิษมายิง ลูกศรอาบยาพิษก็เสียบตัวอยู่ พวกญาติมิตรก็ไปตามหมอมา เป็นหมอผ่าตัด …