แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อย่างที่ว่าไปเมื่อกี้นี้ ก็เป็นสถานการณ์พิเศษที่มี??? ทีนี้ก็พูดถึงความรู้หน่อย คือ ปวารณา นี่เป็นพุทธบัญญัติที่มีพร้อม ในกรณีเดียวกันกับพุทธบัญญัติที่เคยเล่ามาแล้ว หรือจะเล่าตอนเข้าพรรษา ขอทวนอีกนิดก็ได้ คือมีพระกลุ่มหนึ่ง ตอนใกล้เข้าพรรษา ก็ไปจำพรรษาด้วยกันในชมบทแห่งหนึ่ง ท่านอยากจะปฏิบัติให้จริงจังเคร่งครัด ก็เลยมาตั้งกติกากันว่า เราทุกคนปฏิบัติกันให้เต็มที่ เพราะฉะนั้นไม่ต้องพูดคุยกันเลย เราจะได้ก้าวหน้า เจริญในการปฏิบัติได้ดี ทีนี้จะพบกันจะทำอะไรเตรียมกันไว้ ตั้งกติกาทำสัญญา เช่น จะมาพบกันเรื่องอะไรจะตีระฆัง กี่ครั้งอะไรอย่างนี้ ให้รู้ ต่อจากนั้นเริ่มกัน เข้าพรรษา ตั้งใจปฏิบัติ ไม่มีการพูดจา จนสิ้นพรรษา พอออกพรรษาแล้ว พระภิกษุทั้งหลายก็มีความคิดกันว่าไปกราบพระพุทธเจ้า พระชุดนี้ก็พากันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงทักทาย ก็ถามว่าอยู่กันสุขสบายดีหรือ เป็นยังไง ท่านก็เลยถือโอกาสเล่าให้ฟังด้วยความภูมิใจ นึกว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาสาธุการชื่นชมด้วย บอกว่าพรรษาที่แล้วพวกเกล้าทั้งหลายได้ตั้งใจปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ตั้งกติกาว่าไม่พูดกัน ก็ทำตามสัญญาดี เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอทั้งหลายทำอย่างนี้เป็นการอยู่อย่างปศุสัตว์ คือ ปศุสัตว์ นี่เขาไม่คุยกันไม่พูดกัน การถือปฏิบัติอย่างนี้เป็นการถือของพวกเดียรถีย์ มีบางพวกเขาถือไม่พูด เป็น ติตถิยสมาทาน เรียกว่า มูคพรต ของไทยมาเรียน
มูควัตร แต่ดูเราของพระไตรปิฎกฉบับอื่นถูกกว่า เป็นมูควัตฺต มันมี 2 ตัว เล่าให้ฟังนิดนึง วตะ กับ วัตฺต วตะแปลว่าพรต ต ตัวเดียว ส่วน วัตฺต มี ต สองตัว ตัวหน้าจุด วัตฺต ข้อวัตรข้อปฏิบัติ ระเบียบปฏิบัติที่เป็นข้อย่อยๆๆ ส่วน วตะ เป็นภาษาสันสกฤต วตะ เป็นได้เป็น พรต เป็นข้อถือ ถือเป็นหลักเลย ก็จะมีระเบียบปฏิบัติรายย่อยถึงจะเรียกว่า วตฺต ทีนี้ของไทยเรานี่คงสับสนเรื่องนี้ ก็เรียก มูควัตร แต่ที่จริงเป็นมูคพรต ก็เป็นการถืออยู่โดยไม่พูดกัน เรียกว่าอยู่อย่างคนใบ้ พระพุทธเจ้าก็เลยตรัส ภิกษุทั้งหลาย ว่าการอยู่อย่างนี้ไม่ถูกต้อง อย่างที่ว่าแล้วอยู่อย่างปศุสัตว์ คนมันต้องพูดกัน แต่จะพูดอย่างไรจึงจะได้ผลดีเป็นประโยชน์ สนองวัตุประสงค์ที่ดีงาม ก็คือการฝึกตน นี่แหละพระพุทธเจ้าก็ทรงมีพุทธบัญญัติ เรียกกันง่ายๆ ว่า ห้าม นั่นเอง ว่าห้ามไม่ให้ถือ มูคพรต ภิกษุทั้งหลายถ้าถือมูคพรต หรือไม่พูดกัน อยู่ด้วยกันอย่างนี้ ก็เป็นอาบัติ เรียกว่า ทุกกฏ ทีนี้พอเสร็จแล้วพระองค์ก็ตรัสตอบไป บัญญัติว่าภิกษุทั้งหลายที่อยู่จำพรรษาร่วมกันแล้วให้ทำ ปวารณา นี่ตรัสตอบ ปวารณา ก็มาประชุมกันแล้วก็อยู่ด้วยกันมาตลอด 3 เดือน ได้รู้ ได้เห็น ใกล้ชิดกัน ใครมีเรื่องอะไรที่ทำให้เพื่อนหมู่คณะไม่สบายใจ หรือทำสิ่งที่ไม่สมควร ทำสิ่งที่ผิดพลาดบกพร่องย่อหย่อน แม้แต่ขี้เกียจ ก็ให้โอกาสที่เพื่อนร่วมหมู่คณะพระสงฆ์ทั้งหลายจะบอกกล่าว ว่ากล่าวได้ แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าว่ากล่าวนี้ แต่หมายความว่าวันนี้มาเปิดโอกาสให้ นี่เรียกว่า ปวารณา ก็เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติ 2 เรื่องตามนั้น หนึ่ง-เรื่องห้ามไม่ให้พระอยู่โดยไม่พูดกัน เรียกว่า ถือ มูคพรต สอง-บัญญัติเป็นพุทธานุญาตให้พระที่อยู่ร่วมกัน จำพรรษาครบแล้ว 3 เดือน พอวันสุดท้ายเข้าพรรษาเนี่ย ให้มาประชุมกันปวารณา เราก็เลยปฏิบัติตามพุทธบัญญัติข้อนี้ เข้าใจดีแล้วจะมองเห็นว่า อ้อ ปวารณานี้ก็เป็นตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากวาจา แทนที่จะอยู่ไม่พูดไม่จากันเนี่ย ก็พูดจากัน แต่ว่าสุดท้ายนี้มาใช้วาจาบอกกล่าว เพื่อจะได้ช่วยกันในการแก้ไขปรับปรุงทุกๆ คนในหมู่คณะ ทีนี้ข้อความในคำปวารณา เมื่อกี้ก็ว่ากันไปแล้ว
สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอปวารณากะสงฆ์ ปวารณา เดี๋ยวจะบอกว่าแปลว่าอะไร ปวารณากะสงฆ์
ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา จะด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ยินได้ฟังเป็นข่าวมาก็ตาม หรือด้วยเหตุน่าระแวงสงสัยก็ตาม มีเรื่องไม่ดีอะไรของข้าพเจ้านี้บกพร่อง
วะทันตุ มัง ขอท่านทั้งหลาย ภาษาพระเรียกว่าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงบอกกล่าวหรือว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด เรียกว่าเชิญเลย
อนุกัมปัง อุปาทายะ ท่านทั้งหลายที่จะทำอย่างนี้ก็ด้วยอาศัยความเมตตากรุณา คือหวังจะช่วนเหลืออนุเคราะห์ให้ผมได้ปรับปรุงแก้ไขตัวเอง เพราะฉะนั้นบอกด้วยท่าทีของความสุภาพ มีเมตตากรุณา
ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ เมื่อข้าพเจ้ามองเห็นแล้ว มองเห็นก็จะได้แก้ไขปรับปรุงตัว ก็ว่า 3 ครั้ง อันนี้คือข้อความที่ว่า
ทีนี้คำว่า ปวารณา นี้เป็นคำสำคัญ ปวารณา นี่เป็นคำกิริยานาม แต่ว่าการเปิดโอกาสแล้วถือเชิญ แล้วเป็นกิริยาแต่ละองค์ เป็นบุรุษที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ปะวาเรมิ ข้าพเจ้าขอปวารณา ปวารณาก็เป็นคำตรงข้ามกับวารณา ก็ไม่มีปะ เช่นอย่างเป็น วาเรมิ ก็เป็น ปะวาเรมิ ตรงข้ามก็เป็น วา-เร-มิ เฉยๆ ไม่มีปะ วาเรมิ เป็นนามว่าวารณา ก็แปลว่าการห้าม การกั้น พอมีปะนำหน้าก็เปลี่ยนเป็นว่าเปิด เปิดโอกาส เปิดประตู เชิญเลย กรณีนี้ ปะวาเรมิ ก็เท่ากับแปลว่า ข้าพเจ้าเปิดโอกาสแก่ท่านทั้งหลาย ก็เชิญท่านทั้งหลายถ้าเห็นข้าพเจ้ามีข้อบกพร่องเสียหาย ทำไม่ดีไม่งามอะไร เช่น เกียจคร้าน เป็นต้น อะไรอย่างนี้ ก็บอกได้เลย ข้าพเจ้าจะได้แก้ไขปรับปรุง นี่ ปวารณา ก็คือได้พบกัน ก็แปลว่าพระที่อยู่ร่วมกันมาแล้วเนี่ย 3 เดือน ได้รู้ได้เห็นอะไร ก็มาบอก การที่ทำอย่างนี้ก็เป็นการอยู่ร่วมกัน ที่จะทำให้เกิดความปรองดองสามัคคี เปิดโอกาสแก่กัน ว่ากล่าวกันได้ อีกหนึ่งก็เมื่อปวารณาเปิดโอกาสแล้ว มาบอกกล่าว ได้แก้ไข ก็จะได้ไม่ต้องอยู่อย่างกินแหนงแคลงใจกัน โปร่งโล่งสบายใจด้วยกันทุกคนในหมู่คณะ นี่เป็นวิธีปฏิบัติการทำให้เกิดความสามัคคี พอว่ากล่าวกันได้ แก้ไขตัว เราก็สบายใจกันหมด อยู่กันมีความสามัคคี นี่แหละ
ปวารณา ฉะนั้นก็วันนี้ก็เป็นเรื่องของส่วนรวมร่วมกันมา มองในแง่การอยู่ร่วมกันก็คือเป็นวิธีปฏิบัติที่ช่วยให้อย่างที่บอกเมื่อกี้ ย้ำว่าจะได้สบายใจ โล่งใจ ไม่กินแหนงแคลงใจกัน อยู่กันสุขสบายมีความสามัคคี แต่อันนี้เป็นวัตถุประสงค์สำหรับส่วนรวมซึ่งยังเป็นส่วนที่เรียกว่าแวดล้อมออกมาข้างนอก วัตถุประสงค์ที่แท้ก็คือเพื่อตัวพระเองแต่ละองค์ จะได้ฝึกฝนปฏิบัติพัฒนาปรับปรุงแก้ไขตนเอง ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ เพราะชีวิตของพระนี่ก็คือชีวิตแห่งการฝึกตน ให้สิกขา การศึกษา ก็คือการฝึกตน ธรรมะก็ฝึกตน ภาวนาก็ฝึกอบรม เป็นเจริญ ทำให้พัฒนาขึ้นมา ชีวิตของพระก็อยู่อย่างนี้ พูดง่ายๆ ว่าการศึกษา การฝึกฝนอบรมตน ฉะนั้น หลักของพระนี้มีอยู่แล้ว ว่าแต่ละองค์ต้องพยายามฝึกตน เช่นพระพุทธเจ้าตรัสสอนเป็นภาษิตอันหนึ่งว่า ปฏิมังเสตะมัตตะนา พึงตรวจสอบตนด้วยตน เราต้องอยากจะพัฒนา อยากจะฝึกตนให้เจริญงอกงาม ก็ต้องคอยตรวจสอบตัวเอง ว่าเรานี่มีข้อบกพร่องย่อหย่อนอะไร แล้วพยายามแก้ไข ทีนี้บางทีดูตัวเองมันดูไม่ออก พอมีเพื่อนร่วมหมู่คณะมาปวารณากัน มาช่วยบอกช่วยกล่าว ก็เลยได้อาศัยผู้อื่นมาช่วยตรวจสอบให้ด้วย ได้ความรู้จากผู้อื่นเอามาตรวจสอบ ก็แก้ไขตัวเอง อันนี้ก็กลายเป็นว่า มองในแง่นี้ก็เหมือนเอาพระอื่นๆ ทั้งหลายมาเป็นเครื่องมือ เพื่อจะได้มาฝึกตนเอง ไม่ได้มองว่าคนอื่นเขาอย่างนั้นอย่างนี้ มองว่าดีใจเรานี่อยากจะฝึกตนอยู่แล้ว พยายามตรวจสอบดูตัวเองมันบกพร่องอะไร มีอะไร ที่จะควรแก้ไข แหม บางทีเราก็มองไม่เห็น นี่มีคนอื่น พระร่วมหมู่คณะอีกหลายสิบคนมาช่วย คราวนี้เราคงได้รอบคอบ ที่มองไม่เห็นก็ได้เห็น องค์โน้นก็เห็น องค์นั่นก็เห็น ต้องดีใจ ฉะนั้นคนที่มีนิสัยฝึกตนพัฒนาตนปฏิบัติตามหลักการศึกษานี้ จะดีใจมากที่มีคนช่วยบอก ฉะนั้นปวารณานี้ เป็นกิจของหมู่คณะส่วนรวมรักษาสามัคคี แต่ว่าในเวลาเดียวกันที่แท้นั้นก็ลงไปถึงตัวเนื้อแท้การที่จะช่วยให้แต่ละองค์เนี่ยได้ฝึกตนพัฒนาตนขึ้นไป แล้วก็เป้าหมายที่แท้มาอยู่ตรงนี้ ชีวิตของการฝึกตนก็เลยปวารณานี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง เป็นวิธีการในแง่ของส่วนรวมที่มาช่วยตัวบุคคลแต่ละคนให้ได้ฝึกฝนพัฒนาตนยิ่งขึ้นไป ชีวิตพระก็อย่างนี้แหละ เพราะฉะนั้นท่านก็จะให้หลักคำสอนไว้มากมาย ขอยกมาให้ฟังชุดหนึ่ง ที่ว่าพระที่มาบำเพ็ญเพียร บำเพ็ญธรรม มาเจริญภาวนา ศึกษาจะให้เจริญงอกงามเนี่ย ท่านก็มีหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นคุณสมบัติของพระ ผู้จะปฏิบัติบำเพ็ญเพียรบำเพ็ญธรรม เรียกว่า
ปธานิยังคะ ก็แปลว่า องค์คุณ ภาษาโบราณเขาเรียก องค์คุณ สมัยนี้ก็แปลง่ายๆ ว่า คุณสมบัติ คุณสมบัติของ ปธานิยะ ก็คือ ปธานิกะ ของผู้บำเพ็ญเพียรหรือบำเพ็ญธรรม ก็คือผู้ตั้งใจปฏิบัติ มี 5 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เยอะหลายแห่งในพระไตรปิฎก เรียกว่าตรัสแล้วตรัสอีก อยู่ที่โน่นที่นี่ ก็เลยเอามาให้ฟัง ให้เห็นว่าพระชีวิตเป็นอย่างนี้ มันมาโยงกับปาวารณาด้วย ปธานิยังคะ องค์แห่งภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร
มี 5 ประการ
หนึ่ง-สทฺโท ไม่ต้องว่าให้ยาวเต็ม แค่ตัวหลัก สัท-โท-โห-ติ ตะ-ถา-คะ-ตะ-สะ-โพ-ธิง-สะ-คะ-หะ-ติ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต้องเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่าพระพุทธเจ้านี่ทรงรู้ความจริง ทรงรู้สัจธรรมอะไรอย่างนี้ ก็ทำให้เรามีความมั่นใจที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ อันนี้ก็เลยเป็นข้อแรก มีศรัทธา เชื่อพระปัญญา นี่โยงศรัทธาไปยังปัญญานะ ไม่ใช่เชื่อเรื่อยเปื่อย เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นี่เป็นข้อที่หนึ่ง
สอง- อะ-ปา-พา-โท แปลว่าเป็นผู้มีอาพาธน้อย สุขภาพดี อันนี้อาตมาเสียแล้ว ถ้าคนที่เสียขาดมันก็ต้องไปบำเพ็ญข้ออื่นให้มากหน่อย ก็เป็นข้อที่ทำให้เกิดเป็นอุปสรรคขึ้นมา เอานะ สอง- อะ-ปา-พา-โท เป็นผู้มีอาพาธน้อย สุขภาพดี
สาม- อะ-สะ-โถ-โห-ติ-อะ-มา-ยา-วี ยะ-ถา-พู-ตัง-อัต-ตา-นัง-อะ-วิ-ตัด-ตา สะ-ทะ-ริ-จะ-สะ-พรหม-มะ-จา-รี-สุจ-จะ อันนี้ข้อสำคัญข้อที่ว่าข้องที่ตรงกับเรื่องปวารณา เป็นผู้ที่ไม่มีมายาอวดอะไร เปิดเผยตัว ตาเป็นจริง ทั้งแก่องค์พระศาสดา และแก่เพื่อนสพรหมจารีพระภิกษุด้วยกัน ที่เป็นวิญญู ด้วยนะ ไม่ใช่ไปเรื่อยเปื่อย ท่านบอก ภิกษุทั้งหลายที่เป็นวิญญู ก็หมายความว่าพระที่มีคุณสมบัติดีก็คือผู้ที่เปิดเผยตัว ไม่ซ่อนเร้น ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา แล้วก็คือพร้อมที่จะรับฟังคำสอนคำแนะนำคำบอกกล่าว ว่าเขาชี้ช่องชี้ข้อบกพร่องให้ มีอะไรเช่นว่าเราไม่รู้ อันนี้เราก็บอกไม่รู้ ช่วยบอก ช่วยแนะนำอะไรต่ออะไรไป เรามีข้อบกพร่องเนี่ย เราคอยตรวจตัวเองอยู่แล้วเนี่ย อยากจะฝึกตัวเอง ท่านก็เลยให้ข้อนี้มา เป็นข้อที่มาทำให้มั่นขึ้น ว่าเป็นผู้เปิดเผยตัวตามเป็นจริงแก่องค์พระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารี นี่แหละข้อสำคัญ อันนี้จะเป็นทางของความเจริญงอกงาม พอเราเปิดเผยตัวแล้วเราก็สบาย ก็เรียกว่าเปิดตัว ก็ตรงกับคำว่าปวารณา เมื่อกี้บอกว่า อัต-ตา-นัง-อะ-วิ-ตัด-ตา ที่ว่าทำตัวเองให้แจ้ง ให้เปิดเผย ให้เขาเห็นชัดๆ ไม่ปิดบังซ่อนเร้น แล้วก็มาปวารณา ก็แปลว่าเปิด ปวารณา ก็ปะวาเรมิ เปิดตัว เปิดตัวของพระในที่นี่ เปิดตัวให้คนอื่นได้เข้ามาบอกกล่าวได้ ไม่ได้เปิดตัวสมัยนี้เขาเปิดตัว เขาก็แปลว่าโชว์ หรืออวดเลย ก็บอกจะเปิดตัวนั่นเปิดตัวนี่ กลายเป็นโชว์ไปเลย โชว์ตัว ทีนี้ของพระเปิดตัวในที่นี้คือว่าทำตัวให้เปิดเผย มีอะไรก็ไม่ซ่อนเร้น เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงทำให้ดีขึ้น นี่แหละชีวิตของพระก็เลยไปโยงกับที่พูดตั้งแต่ต้น ที่ว่าพระพุทธเจ้าให้พระอยู่ร่วมกันโดยถือมูตพรต ถือการไม่พูดกันเหมือนเป็นคนใบ้ อันนั้นก็เลยปิดโอกาสเลย ทีนี้เราก็ต้องใช้วาจา ใช้ปากนี่ให้เป็นประโยชน์ แต่ว่าเราต้องเข้าใจที่นิ่งทำตัวเป็นใบ้เนี่ย พระชุดนั้นท่านก็ตั้งใจดีแหละ แต่มันไม่ถูก แต่วาจาเป็นมนุษย์ต้องพูด เพราะวาจานี่เป็นสื่อปัญญา แต่ว่าใช้ผิดมันก็เสียหาย พูดไม่ดี พูดทะเลาะกัน ว่ากัน ขอโทษ ด่าว่ากัน อะไรอย่างเนี่ย หรือพูดจาแม้แต่เพ้อเจ้อ เรียกว่าใช้ปากใช้วาจาในทางที่ผิด อย่างนี้ก็ตรงกันข้ามกับฝ่ายใบ้ พวกไม่พูด นั่นก็สุดโต่งไปข้างหนึ่ง พวกพูดก็พูดไม่ดี ก็กลายเป็นสุดโต่งอีกข้างหนึ่ง ไม่ถูกทั้งสองแหละ ทีนี้ใช้วาจาเป็นก็คือมนุษย์เรานี่ก็ต้องรู้จักใช้วาจาให้เป็น เมื่อเราอยู่ร่วมกันเราจะได้รู้จักฝึกตนในการใช้วาจา เราจะพูดยังไงจึงจะดี จึงได้ผล เช่น หัดปิยะวาจา อย่างที่ท่านตรัสไว้ในสังคหวัตถุเป็นต้น พระพุทธเจ้าตรัสเยอะเหลือเกินเรื่องการฝึกวาจา