แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ถึงเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ของพระภิกษุแล้วก็มีส่วนที่ไปเกี่ยวข้องกับญาติโยมประชาชน โดยเฉพาะก็คือเรื่องอาหารการคบฉัน การที่พระสงฆ์นี่มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่นฝากท้องไว้กับประชาชน ที่นี้ อันนี้มันเกี่ยวข้องหลักการของพระศาสนา ก็เลยจะพูดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับประชาชน ว่าเอ้ เรานี่ไปเอาจากประชาชนหรือมุ่งที่จะไปหาอาหารอะไรต่าง ๆ พึ่งชาวบ้านแต่เมื่อเช้าบอกทีหนึ่งแล้วว่า
วัตถุประสงค์นี่ก็สำคัญ พระสงฆ์นี่ก็ทำประโยชน์แก่ประชาชน ที่นี่หลักการในเรื่องนี้มันโยงกันอย่างไร ทีนี้จะพูดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับประชาชน นี่ก็จะไม่จำกัดแค่กับประชาชนเท่านั้น จะหมายถึงว่าเรื่องหลักการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตของพระภิกษุแต่ละรูปกับส่วนรวม ซึ่่งหมายถึงกับพระด้วยกันด้วย กับประชาชนด้วยกันด้วย จะได้กว้างออกไป ไม่ใช่เฉพาะกับประชาชน ทีนี้การสัมพันธ์กับส่วนรวมก็คือชุมชนสงฆ์ในส่วนของตัวเอง แล้วก็กับประชาชนในวงกว้าง ก็คือสมัยปัจจุบัน เราเรียกว่าความสัมพันธ์ทางสังคมใช่ไหม นี่พุทธศาสนานี่หลักการที่จะมีนัยยะทางสังคมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคนทั่วไปมักจะมองไม่เห็น บางทีมองไปว่าพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาที่เอาตัวบุคคลอะไรอย่างนี้ เป็นการมองที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง แต่ว่านัยยะทางสังคมของพุทธศาสนาเป็นอย่างไร หลักการต่าง ๆ จะมีเรื่องสังคมแทรกอยู่ตลอดเวลา แม้แต่การพัฒนาตัวของแต่ละคน ก็มีเรื่องความหมายทางสังคม ทีนี้ว่าการมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมกับพุทธศาสนานี้ อาจจะต่างจากวิชาการสมัยใหม่ คือศาสตร์สมัยใหม่นี่ เขาเป็นศาสตร์ที่ชำนาญพิเศษเขาจะแยกเป็นด้าน ๆ เป็นมนุษยศาสตร์ เรื่องของชีวิตจิตใจ เรื่องของคุณค่าความเป็นมนุษย์อะไรต่าง ๆ วรรณคดีปรัชญา อะไรต่าง ๆ เหล่านี้น่ะ และก็เรื่องสังคมศาสตร์ เรื่องของการศึกษาสังคม การที่บุคคลมาเป็นสมาชิกส่วนร่วมสังคมมีความสัมพันธ์กันอยู่ร่วมกันยังไงในเชิงพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งศึกษากันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ต้องใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ศึกษาจึงจะเป็นสังคมศาสตร์ แล้วก็ไปวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติก็ศึกษาความเป็นจริง กฏธรรมชาติในโลกแห่งวัตถุ ของวิทยาศาสตร์ทั่วไปก็จะเป็นจำกัดที่โลกวัตถุ ยังไม่ค่อยเข้ามาสู่ด้านจิตใจ นอกจากวิทยาศาสตร์ใหม่ปัจจุบันนี่กำลังก้าวเข้ามา พวกนิวฟิสิกส์ ทีนี้ศาสตร์พวกนี้ถ้าแยก ๆ ออกไป ทีนีเวลาเขาศึกษาในแง่สังคมมันก็ออกไปทางสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์จะมองคนกับสังคม แล้วก็มองคนในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ก็จะมีอันหนึ่งที่ไม่รู้ตัวก็คือแยกคนออกจากธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว เพราะเป็นศาสตร์ชำนาญพิเศษ
ทีนี่พุทธศาสนานี่มองคนนี่ไม่แยกจากธรรมชาติอันนี้เป็นฐานที่สำคัญมาก เพราะว่าพุทธศาสนานี้มองคนนี้เป็น 2 ด้าน คนนั้นในเวลาเดียวกันเขาเป็นทั้งสองอย่าง หรือจะเรียกว่าเป็น 2 ด้านก็ได้ ด้านหนึ่งนั้นโดยพื้นฐานชีวิตของเขาเป็นธรรมชาติ นี่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ ชีวิตของแต่ละคนเนี่ยเป็นธรรมชาติอยู่ในตัวเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมีความเป็นไปตามธรรมชาติใครจะไปค้านอันนี้ได้ใช่ไหม เกิดแก่เจ็บตายร่างกายของเรามาจากธรรมชาติทั้งนั้น นี่คนแต่ละคนด้านหนึ่งของเขาเนี่ยชีวิตของเขาเป็นส่วนของธรรมชาติ พร้อมกันนั้นอีกด้านหนึ่งคนเดียวกันนี่ เขาเป็นสมาชิกของสังคมใช่ไหม เขาเป็นทั้งชีวิตในธรรมชาติเป็นทั้งบุคคลที่เป็นสมาชิกของสังคม ทีนี้เราจะไปแยกคนที่เป็นบุคคลออกจากชีวิตที่เป็นส่วนของธรรมชาติไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ศาสคร์ปัจจุบันนี้ไปศึกษาโดยเอาเรื่องของบุคคลที่เป็นสมาชิกของบุคคลศึกษาแยกขาดไปเลย ฉะนั้นแนวโน้มก็จะเป็นเรื่องของการที่เข้าใจผิดต่าง ๆ เช่นมองว่าคนนี้เป็นผลผลิตของสังคม ๆ หล่อหลอมอย่างนี้เป็นต้น มีความเป็นจริงมากที่ว่าคนนี่เป็นผลผลิตของสังคม สังคมหล่อหลอมเป็นปัจจัย คนเรานี่อยู่ใต้อิทธิพลวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ค่านิยมอะไรต่าง ๆ นี่เป็นไปมาก แต่ว่าพร้อมกันนั้นคนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ถ้าคนนั้นมีปัญญาเข้าถึงความจริงของธรรมชาติน่ะ เขาเป็นอิสระจากสังคมเลย ความรู้ความจริงของธรรมชาตินั้นไม่มีทางที่สังคมจะมามีอิทธิพลได้ใช่ไหม ในเมื่อเขาเข้าถึงความจริงของธรรมชาตินี้แหละเขากลับมาเป็นตัวที่เขากลับมาผันแปลสังคมอีก ที่จะมาสามารถที่จะเข้าใจสังคมและมาวินิจฉัยสังคม แม้แต่มาจัดการเปลี่ยนแปลงสังคมแก้ไขสังคมให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง ถ้าสังคมนี้ทำให้มนุษย์สังคม ซึ่งหมายถึงมนุษย์ต่าง ๆ ทั้งหลายแยกตัวออกจากธรรมชาตินี่ ก็ไม่สามารถเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ สังคมนั้นจะวิปริตแปรปรวนได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นการมนุษย์นี่เป็นตัวกลาง แต่ละคนนี่เป็นตัวกลาง ตัวเองนั้นเชื่อมระหว่างธรรมชาติกับสังคม ตัวเองในฐานะเป็นชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ในฐานะที่เป็นบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพราะฉะนั้นคนนี่เป็น 2 อย่างในเวลาเดียวกัน เชื่อมสังคมกับธรรมชาติเข้าหากัน พุทธศาสนาไม่ทิ้งในส่วนที่เป็นธรรมชาติจะถือหลักการว่าต้องเข้าถึงความจริงของธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา และชีวิตทางสังคมเขาจึงจะดีได้ใช่ไหม แล้วเขาก็จะไม่เสียหลักไม่เขวไม่เฉฉัยออกไป แต่ว่าพระพุทธศาสนาก็ระวังว่า เดี๋ยวคนจะปลีกตัวออกจากสังคม
ก็มีลัทธิในสมัยโบราณในสมัยพุทธกาลนี้มากมาย ก่อนพุทธกาลคนก็จะมี 2 พวก ๆ หนึ่งก็ไหลไปตามกระแสสังคมไปตามค่านิยมการหลงใหลหาวัตถุสิ่งเสพบำรุงบำเรอไปพวกหนึ่งนี่ ก็กามสุมติกานิโยค ก็มีความหมายเชิงที่ไหลตามกระแสสังคมด้วย อีกพวกหนึ่งก็เบื่อกระแสสังคมเหล่านี้ใช่ไหม เห็นว่าไม่มีความหมาย ไม่มีคุณค่า ไม่มีความสุขที่แท้จริง ก็เบื่อหน่ายสังคมก็ละทิ้งปลีกตัวจากสังคมไปอยู่ตามธรรมชาติ อยู่ตามธรรมชาติไม่ยุ่งเกี่ยวใครไปเป็นฤๅษีชีไพร พอเป็นฤๅษีชีไพรแกไม่ยุ่งแล้ว แกตัดขาดจากสังคมเลย แกก็กินเผือกกินมัน บางลัทธินี่ถือขนาดที่บอกว่า ต้องเก็บแต่ผลไม้ที่หล่นเองกิน ถ้ามันยังอยู่บนต้นไม่เก็บใช่ไหม ตกแล้วจึงจะเก็บ แต่รวมความก็คือไปหากินเอง นี่พวกนี้จะไม่เอาเรื่องกับสังคมเลยก็ไปบำเพ็ญฌานทำสมาธิภาวนาให้มีความสุขทางจิตใจ พอเป็นฤษีประสบความสำเร็จในสมาธิขั้นสูงได้ฌานสมาบัติ ก็เล่นฌาน ท่านเรียก ฌานนักกีฬา นี่ศัพท์เรียกฌานนักกีฬา เล่นฌานก็สนุกกับฌานสบายมีความสุขไปทั้งวันไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับใคร โลกนี้จะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน นี่คือลัทธิฤาษีชีไพรบางคนไม่เข้าใจนึกว่าพระพุทธศาสนานี่เป็นอย่างเดียวกกับลัทธิฤษีชีไพรแยกไม่ออก
พระพุทธเจ้านี่ให้หลักการในทางธรรมะแล้วยังไม่พอ วินัยนี่บัญญัติบังคับเลยไม่ให้พระสงฆ์นี่แยกออกจากสังคม ฉะนั้นวินัยจึงบัญญัติให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพระปัจจัย 4 เรื่องชีวิตทางวัตถุนี่มอบไว้กับประชาชนใช่ไหม ทั้งนี้เพื่อไม่ให้พระนี่ปลีกตัวตัดขาดจากสังคมได้ แม้แต่จะไปอยู่ป่าก็ต้องอยู่ป่ามีเขตลึกแค่เท่านั้นเท่านี้ไม่ให้พ้นจากเขตที่จะมาบิณฑบาต มาพบปะกับประชาชนได้ ก็ในแง่ของพฤติกรรมภายนอกก็จะกลายเป็นว่า พุทธศาสนานี่มีความยืดหยุ่น จะมีหลักการที่ว่า
1 ไม่ให้ตัดขาดจากสังคมโดยสิ้นเชิงอย่างน้อยต้องมีความสัมพันธ์บ้าง ว่าได้พบประชาชนชาวบ้านอย่างน้อยวันละครั้ง แม้ไม่พูดจาอะไรก็ให้มาพบปะกัน ตามปกติการมาบิณฑบาตรก็คือโอกาสได้พบปะปราศัยได้พูดจา สมัยก่อนนี้ที่พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปก็เวลาไปบิณฑบาตนั่นแหละคือเวลาที่เขาเรียกว่าไปโปรดสัตว์ ก็คือไปเทศน์ พระในสมัยก่อนในสมัยพุทธกาลก็ไปเทศน์เวลาที่ท่านไปบิณฑบาต เพราะการไปบิณบาตรไม่ใช่กิจหน้าที่ต่างหาก เป็นเพียงว่าท่านจะออกไปปฏิบัติกิจ ท่านจะไปจาริกเดินทางไป แต่ว่าท่านต้องอาศัยอาหารด้วยระหว่างที่ออกไปแต่เช้า ก็เป็นเวลาระหว่างอาหาร ฉะนั้นก็ถือโอกาสก็เอาบาตรติดตัวไปด้วยกันเป็นของบริขาลประจำตัว เมื่อได้อาหารมีโอกาสแวะที่ไหนก็ฉันไป การฉันอาหารนี้ไม่ใช่เป็นกิจที่ทำพิเศษ แต่เป็นเรื่องพ่วงไปกับการทำงานกับชีวิตของท่านที่จาริกใช่ไหม พอตื่นเช้าออกไปก็ถือบาตรครองจีวรออกไป ๆ ทำกิจหน้าที่มุ่งไปแล้ว พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาก่อนแล้วว่าวันนี้จะไปโปรดใครใช่ไหม ก็มุ่งไปที่นั่นระหว่างทาง ก็ต้องอาศัยอาหารนี่อยู่ในเวลา เพราะฉันในเวลาก็มีใครถวาย ก็ได้ที่เหมาะก็อาจจะเป็นโขนไม้ก็ไปประทับนั่งฉันใช่ไหม ฉันเสร็จแล้วก็เดินทางต่อไปจุดหมายไปเทศน์ บางทีก็การไปรับบิณฑบาตรนั่นแหล่ะ คือโอกาสได้เทศน์ ก็พูดกับคนที่เขาถวายอาหาร พระภิกษุในสมัยก่อนยุคพุทธกาลก็จะเป็นอย่างนี้
มาในสังคมไทยแล้วเนี่ย เมื่อชาวพุทธ เมื่อคนไทยเป็นชาวพุทธทั่กันทั่วไปแล้ว การที่จะต้องไปแนะนำสั่งสอนอีก มันก็เลยเหมือนกับไม่มีความจำเป็น เขาเป็นชาวพุทธอยู่แล้วรู้ธรรมะพอสมควรอยู่แล้ว เขาต้องการมีอยากจะคลายสงสัยเรื่องไหนเขาก็มาหาพระที่วัดเมื่อไหร่ก็ได้ ฉะนั้นก็เลยพระก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปเที่ยวจาริกสั่งสอน ก็เลยกลายเป็นว่าออกไปพบชาวบ้าน คล้าย ๆ ตอนนี้พระมาตั้งหลักอยู่วัดแล้ว ไม่ต้องออกไปหาประชาชนเพื่อสอนเขา ถ้าเขามาหาพระที่วัด ที่นี้ก็เพื่อจะให้มันมีกิจวัตรเป็นไปด้วยดี ที่จริงพระพุทธเจ้าก็อนุญาตว่าคฤหบดีเขาถวายอาหาร เขามาถวายที่วัดก็ได้ แต่นีเพื่อรักษากิจวัตรให้เป็นธรรมเนียมไว้ ก็ให้พระได้ออกไปจาริกพบประชาชนบ้าง แต่กลายเป็นว่าจาริกไป ออกเช้าเพื่อบิณฑบาตเพียงเพื่อไปรับอาหารใช่ไหม เลยกลายเป็นว่าการโปรดสัตว์มีความหมายแคบ ไปรับอาหาร ความจริงโปรดสัตว์ก็คือการที่ท่านไปเทศน์ ไปสั่งสอน ไปทำหน้าที่ และเรื่องรับอาหารเป็นส่วนประกอบภายในชีวิตของท่าน เอาหละแต่รวมความก็คือว่าเนี่ยชีวิตของพระก็ไม่ให้ตัดขาดจากประชาชน โดยมีพระวินัยบัญญัติไว้ว่าให้ปัจจัย 4 นี้ต้องเนื่องด้วยประชาชน จะไปเที่ยวเก็บอาหารกินเอง ไปเที่ยวเก็บเผือก เก็บมัน เก็บผลไม้หล่นอย่างลัทธิฤษีชีไพรไม่ได้ อันนี้นี่อย่างน้อยก็เป็นว่าต้องได้พบบ้าง โดยวิถีชีวิตที่วินัยบังคับไว้ ทีนี้อย่างมากก็มีขอบเขตว่าไม่ให้คลุกคลี เมื่อสัมพันธ์กับชาวบ้าน จะกลายเป็นว่าไปคลุกคลีกับคฤหัสถ์มั่วสุมนั่นเอง สมัยปัจจุบันไปมั่วกับชาวบ้านไม่ได้ ท่านบอก เขาสุขก็สุขด้วย เขาร้องไห้ก็ร้องไห้ด้วย เขาหัวเราะก็หัวเราะด้วย หมายความว่าไปสวนเสเฮฮาสนุกสนานมั่วสุมกัน คลุกคลีกันอย่างนั้นไม่ได้ แม้แต่ว่าเขาทุกข์ ๆ ร้องไห้ เอ้าแล้วประชาชนก็ไม่มีหลักซิ พระนี่ควรจะเป็นหลัก เวลาเขาทุกข์ พระจะได้ปรอบโยนให้หลักแก้ปัญหา แก้ความเศร้าโศกใช่ไหม ไม่ใช่เขาเศร้าก็ตัวเองก็เศร้ากันหมดคนที่จะมาช่วยแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นพระจะต้องเป็นหลักให้กับประชาชน ก็มีขอบเขตว่า อย่างน้อยไม่ให้ตัดขาดไปเลย อย่างมากก็อย่าไปมั่วสุม ต้องให้เป็นหลักให้แก่สังคม ส่วนในระหว่างนี้ท่านให้โอกาส แล้วแต่ความถนัดอัธยาศัย แม้แต่เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็มีแนวโน้มอัธยาศัยถนัดไม่เหมือนกัน บางท่านนี่ท่านชอบอยู่เงียบ ๆ สงบ ท่านก็มาพบกับชาวบ้านแค่ตามวินัยบัญญัติ แล้วก็ชีวิตส่วนใหญ่ก็ไปอยู่ปลีกตัว เช่นอย่างมหากัสสปะนี่อยู่ป่าเป็นวัด แต่ท่านก็ต้องดูแลรับผิดชอบหมู่คณะก็คือสงฆ์ของท่าน ถึงงัยก็ไม่พ้นแล้วพระสงฆ์ของท่านก็ต้องอยู่ด้วยประชาชนตัดไม่ได้ ทีนี้พระเถระบางรูป อย่างพระสารีบุตรอยู่่ในเมืองแทบตลอดใช่ไหม เป็นอัครสาวกด้วย ทำงานใกล้ชิดพระพุทธเจ้าแล้วก็สั่งสอนประชาชนมาก เอาใจใส่เด็ก ๆ ท่านไปเอาพวกเด็ก ๆ เนี่ยมาบวชเณร เณรเล็ก ๆ เนี่ยเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรแทบทั้งนั้น เณรที่มีชื่อเสียงเป็น วีระเณร วีระสามเณรมีเรื่องมาในอรรถคถาธรรมบทหลายองค์ ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรหมดเลย เพราะพระสารีบุตรนี่ท่านเอาใจใส่เรื่องเด็ก ๆ ท่านไปเจอเด็กกำพร้า เด็กขอทานยากจน ท่านก็ไปชวนมาบวช แล้วให้การศึกษาฝึกอบรม นี่พระสารีบุตร เพราะฉะนั้นเณรของท่าน 7 ขวบก็บรรลุพระอรหันต์หลายองค์ เป็นวีระสามเณรเก่ง มีเรื่องมาในอรรถคถาธรรมบทนี่ อันนี้ก็เพื่อจะกระตุ้นปลุกใจพวกเด็ก ๆ ให้เข้มแข็ง ให้มีแบบอย่างของเณร เณรที่เก่ง ๆ อันนี้ นี่ก็เป็นตัวอย่าง เป็นอันว่า พระเถระทั้งหลายนี้ก็มีอัธยาศัยมีความถนัดไม่เหมือนกันก็อยู่ในขอบเขต 2 ปลาย อย่างน้อยสุด อย่างมากสุด ในระหว่างนี้ก็ยืดหยุ่น อันนี้ชุมชนสงฆ์ก็เท่ากับว่าเป็นที่ดำรงรักษาไว้ซึ่งธรรมะให้แก่สังคม ทั้งตัวบุคคลที่จะเป็นแบบอย่างด้วย แล้วรักษาตัวหลักธรรมคำสอน รักษาความรู้เข้าใจในสัจธรรม หลักความจริงความถูกต้องดีงามเอาไว้ให้แก่สังคมต่อไป แล้วก็จะเป็นแหล่งที่จะได้พัฒนาชีวิตของคนไปด้วย นี่ด้านที่เกี่ยวกับประชาชน
ทีนี้อีกด้านหนึ่งก็คือชีวิตพระกับพระสงฆงส์ด้วยกัน พระพุทธเจ้าตั้ง สงฆ์สังฆะขึ้นมานี่ ก็คือชีวิตหมู่ อันนี้พระภิกษุก็มีความผูกพันอยู่กันเป็นชุมชนไม่ได้อยู่เป็นส่วนตัว พระในพุทธศาสนาอยู่เป็นชุมชนอยู่เป็นหมู่ และต้องมีความรับผิดชอบต่อกัน ต้องมีความรับผิดชอบต่อหมู่คณะของตนเองเพราะว่าพุทธเจ้าบัญญัติว่า มีกิจอะไรที่เกิดขึ้นต้องร่วมกันทำ จะมีสมาชิกใหม่บวช ต้องประชุมแล้ว เป็นสังฆกรรม ๆ ของสงฆ์ของหมู่คณะร่วมกันอย่างน้อย 4 รูปจึงจะเป็นสงฆ์ได้ บางสังฆะกรรม อย่างกฐินต้อง 5 รูปขึ้นไป สังฆกรรมมบางชนิดต้อง 10 รูปขึ้นไป อย่างบวชพระในที่เจริญ สังฆกรรมมีถึง 20 รูปขึ้นไปก็มี ก็กำหนดว่าอย่างไหนองค์ประชุมนั่นเอง องค์ประชุมอย่างต่ำที่สุด 4 องค์ บางชนิดตั้ง 5 องค์ บางชนิด 10องค์ บางชนิด 20 องค์ อันนี้เป็นชีวิตของการทำกิจกรรมร่วมกันรับผิดชอบร่วมกัน ฉะนั้นเวลาจะมีผู้จะมาสมัครบวชใหม่คือรับสมาชิกใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องในวัดนั้นก็จะต้องมาประชุมร่วมกัน เพื่อจะมาพิจารณาว่าเราจะรับบุคคลใหม่นี้เข้ามาหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น สังฆกรรมอะไรเยอะแยะไปหมด ก็ถือว่าชีวิตของพระสงฆ์นี่อยู่ด้วยการรับผิดชอบร่วมกัน ทุกคนต้องมีหน้าที่รับผิดชอบชีวิตต่อสงฆ์ ถือหลักพระสงฆ์เป็นใหญ่ พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า เมื่อสงฆ์เติบขยายโตขึ้น เราก็เคารพสงฆ์ คือตอนแรกพระพุทธเจ้าประดิษ์ฐานพระศาสนาค้นพบธรรมะ ก็สั่งสอนไป พระองค์ก็ต้องเป็นผู้มีอำนาจ เพราะผู้ประกาศจัดตั้งจะเอาอย่างงัย ๆ วางแผนดำเนินจัดการกิจการดำเนินไปพระพุทธศาสนาเจริญ ที่นี้พอมีผู้มาบวชตามก็ตั้งเป็นสังฆะขึ้นมา พระองค์ก็บัญญัติให้สังฆะเป็นใหญ่ เป็นใหญ่ในกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทุกอย่างว่ากันด้วยวินิจฉัยกันในที่ประชุมสงฆ์ ต่อมาพระองค์ก็มอบอำนาจให้สงฆ์ พระองค์เคารพธรรมถือหลักความจริงความถูกต้องเป็นใหญ่ เสร็จแล้วก็พระองค์บอกว่า เมื่อสงฆ์ใหญ่ขึ้นเราก็เคารพสงฆ์มอบอำนาจให้สงฆ์ การบวชแต่ก่อนพระองค์บวชเอง ต่อมาพระองค์มอบให้สงฆ์บวช เข้าที่ประชุมสงฆ์ เพราะฉะนั้นถือหลักเลยว่าพระต้องเคารพสงฆ์ ถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นใหญ่ แม้แต่พระอรหันต์จะเข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งถือว่าเป็นสมาบัติชั้นสูงสุดแล้ว ต้องผู้พวกอนาคามีผู้เป็นอรหันต์ จึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ สิ่งหนึ่งที่ผู้เข้านิโรธสมาบัติจะต้องคำนึงไว้ เพราะถ้าท่านเข้า ๆ 7 วันเลย ก็คือว่าจะต้องคำนึงถึงกิจของสงฆ์ว่าถ้าสงฆ์เรียกตัวเมื่อไหร่ ต้องไปทันที แม้แต่ระหว่างอยู่นิโรธสมาบัติ 7 วัน พระที่เข้านิโรธ พระที่เข้าสมาธิไม่ใช่หมายความว่าไม่มีสติหลงไม่รู้เรื่องนะ เป็นผู้มีสติพร้อมทันที เมื่อสงฆ์เรียกตัวเมื่อไหร่ก็รับรู้ไปทันที ถือสงฆ์เป็นใหญ่อย่างนี้เลย เพราะฉะนั้นชีวิตที่เป็นบุคคลเนี่ย ในแง่หนึ่งก็มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง มนุษย์แต่ละคนหรือบุคคลแต่ละคนมีชีวิตของตัวเองที่ต้องรับผิดชอบต่อความจริงของธรรมชาติใช่ไหม ในแง่นี้แต่ละคนรับผิดชอบต่อความจริงของธรรมชาตินี่คือชีวิตส่วนตัว แต่ละคนรับผิดชอบต่อธรรมชาติ อันนี้ปฏิเสธไม่ได้ เช่นกฏแห่งกรรมในแง่ของธรรมชาติ เหตุดีผลผลดีอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เจตจำนงของเราเป็นอย่างไร นี่รับผลแห่งเจตจำนงของเราที่เป็นกฎธรรมชาติแต่ละคนรับผิดชอบต่อกรรมของตัวเอง อันนี้ เรียกว่ารับผิดชอบตามกฎธรรมชาติ แต่อีกด้านหนึ่งคือในฐานะเป็นบุคคลรับผิดชอบต่อสงฆ์ สงฆ์ก็จะมีกรรมที่เป็นของสมมติของสงฆ์ขึ้นมา กรรมจะมี 2 แบบ กรรมแบบธรรมชาติที่เป็นกฎธรรมชาติอย่างหนึ่ง และกรรมที่เป็นของสมมติที่พระพุทธเจ้าบัญญัติสำหรับการมีชีวิตร่วมกัน ในกรณีที่เป็นกรรมของสงฆ์ เช่นเป็นสังฆกรรมหรือเป็นการลงโทษ เช่น นิคกรรมเป็นชื่อ อุเขปะนียกรรม ปริสารนี นี้เป็นชื่อกรรมของสงฆ์ ซึ่งใช้ลงโทษพระอย่างนี้เป็นต้น ในกรณีนี้ถ้ามีพระทำความผิดไม่รอกรรมตามกฎธรรมชาติ สงฆ์จัดการทันที เพราะฉะนั้นมีคนมาพูด เอ้อ ถ้าท่านทำความผิดนี้ ก็ปล่อยท่านรับผลกรรมไปเอง นี่แสดงว่าไม่รู้จักหลักพระศาสนา ทางสงฆ์นี่ไม่มีรอ เมื่อพระทำความผิดนี้เป็นกรรมของสงฆ์ตามวินัยจัดการเลยใช่ไหม เพราะะว่าสงฆ์มีกรรมของสงฆ์ที่จะทำไม่ต้องรอกรรมของธธรรมชาติ และเมื่อสงฆ์ทำกรรมของสงฆ์ที่เป็นสมมติ ก็คือเราเนี่ยเอากฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ คนที่ปล่อยไปตามกรรมก็แสดงไม่รู้จักใช้กฎธรรมชาติ ฝึกหัดพัฒนาคนอะไรต่าง ๆ คือการรู้จักเอากฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เอาความรู้ในกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เพื่อจะเอาตัวเรานี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยกฏธรรมชาติไม่ใช่ แต่เป็นปัจจัยในทางที่ดีเพื่อหนุนให้กระบวนการเหตุปัจจัยทางธรรมชาติเป็นในทางที่ได้ผลดีสมความต้องการของมนุษย์มีปัญญา มีจะหมายที่จะตั้งขึ้นไม่ต้องรอปล่อยไปตามธรรมชาติเป็นไปอย่างไรใช่ไหม มนุษย์มีปัญญา เราสามารถเอาปัญญาของเรามาเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในธรรมชาติ แล้วเอาการกระทำของเราเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในกระบวนการของธรรมชาติ ทำให้กิจการต่าง ๆ แม้แต่ของสังคมต้องดำเนินไปตามกฎธรรมชาติอย่าได้ผลดีแก่กิจการของมวลมนษย์ ใช่ไหม นี่แหละตอนนี้เป็นการสัมพันธ์ระหว่างส่วนของธรรมชาติกับสังคม ว่าเรื่องกรรมโดยพื้นฐานแล้วเป็นกฎธรรมชาติ เรื่องของชีวิตแต่ละคนที่ต้องรับผิดชอบตามกระบวนการของเจตจำนงในตัวเองเป็นส่วนบุคคล เพราะฉะนั้นแต่ละนี่คนรับผิดชอบชีวิตของตนตามกฎธรรมชาติ นี่เป็นความรับผิดชอบตัวเองตามกฏธรรมชาติเรียกว่า ธรรมะ เพราะฉะนั้นมองในแง่ธรรมะเนี่ยคนจะรับผิดชอบตัวเอง แต่ถ้ามองในแง่วินัยคือการที่พระพุทธเจ้ามาจัดตั้งวางระบบในสังคมมนุษย์แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องสมมติเนี่ยก็กลายเป็นว่า คนแต่ละคนหรือบุคคลที่รับผิดชอบต่อสังคม รับผิดชอบต่อกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดตั้งวางระบบขึ้นมา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็จัดให้มีกรรมที่เป็นของสมมติสำหรับสงฆ์ตามวินัยว่า ใช้จัดการกับพระภิกษุได้เลย สังฆกรรมต่าง ๆ มีมากมายอย่างที่กล่าวมาเมื่อกี้แล้วรวมทั้งกรรมในการลงโทษที่บอกว่า เมื่อมีพระภิกษุทำความผิดก็ไม่ต้องไปรอ ปล่อยให้เป็นกรรมของกฎธรรมชาติ ให้เขารับผลกรรมอย่างนี้แสดงว่าคนนั้นไม่รู้ไม่เข้าใจหลักพุทธศาสนา เพราะมุนษย์มีปัญญามากกว่านั้น มีปัญญาที่รู้จักเอาความรู้ในกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ไม่ต้องรอให้เป็นไปตามกฎธรรมชาติ แต่ว่าเราสามารถเข้าไปเป็นส่วนร่วมในกฎธรรมชาติเสียเลยเข้าไปเป็นเหตุปัจจัยในกระบวนการธรรมชาติปัญญาของเราก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในกระบวนการของกฎธรรมชาติ ปัญญาที่เอาความรู้ในกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์จัดระบบสังคมมาจัดตั้งวางระบบทำกิจกรรมส่วนรวม นี้ก็คือการที่เข้าไปเป็นส่วนร่วมในกระบวนการเพราะเหตุปัจจัยในธรรมชาตินั่นเอง แต่เป็นความฉลาดของมนุษย์ใช่ไหม แล้วก็ทำให้มนุษย์นี้สามารถได้รับผลดีจากกฎธรรมชาตินั้นทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมเลย
เราก็สามารถที่จะพัฒนาตัวเรา พัฒนาสังคมให้เป็นไปได้ดีได้ แต่ต้องโยงถึงกฏธรรมชาติตลอดเวลา อันนี้ซิที่สำคัญก็คือว่าต้องโยงด้วย 3 ด้าน ธรรมชาติ คน สังคม ต้องถึงกันหมดใช่ไหม และคนนี่เป็นศูนย์กลางอย่างที่ว่าเมื่อกี้ เพราะคนนี้เข้าถึงธรรมชาติด้วย แล้วก็มาเป็นส่วนร่วมในสังคมด้วยใช่ไหม นี่การที่เขาตัวคนเนี้ยเข้าถึงความจริงของกฏธรรมชาตินั่นคือหัวใจของการที่เขาจะมาสร้างสรรค์สังคมได้ ถ้าตอนนี้มนุษย์ไม่เข้าใจนี่ เอาไปแยกคนกับสังคม จบที่นั่นเลย เพราะฉะนั้นศาสตร์ปัจจุบันของฝรั่งจึงเรียกว่าเป็นพวก Reductionism พวกแยกส่วน พวกแบ่งซอย ทีนี้พอแบ่งซอยไปแล้วโยงไม่ได้ใช่ไหม ตันตรงนี้ ก็มองในแง่คนเป็นผลผลิตของสังคม สังคมหล่อหลอมคนท่าเดียวอย่างนี้เป็นต้น บางคนก็เป็นอย่างนั้น ถ้าคนที่เข้าถึงกฎธรรมชาติแล้วนี่เขาเป็นอิสระจากสังคมได้เลย แล้วเขากลับมาเอาความรู้ในกฏธรรมชาตินี้มาใช้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดขยายออกไป ว่าการมองเรื่องนี้ที่สำคัญมากเพราะฉะนั้นพุทธศาสนาแม้จะให้ความสำคัญแก่สังคมก็จะต้องโยงเข้าถึงกฎธรรมชาติตลอดเวลา แล้วชีวิตมนุษย์ที่ดีในที่สุดนั้น ชีวิตของเขาเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานก็คือเป็นของธรรมชาติใช่ไหมไม่มีใครปฏิเสธได้ ถ้าเขาไม่สามารถเอาประโยชน์จากความจริงในกฎธรรมชาติ ทำให้ชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติที่เข้าถึงประโยชน์ที่แท้จริงแล้ว ไม่มีทางที่ชีวิตจะสมบูรณ์ ไม่ว่าเขาจะไปเป็นส่วนร่วมในสังคมอย่างไรก็ตาม
อันนี้เอ้าก็มาดูว่าในแง่ของชีวิตที่อยู่ในหมู่สงฆ์ด้วยกันเองเป็นภิกษุด้วยกัน พระพุทธเจ้าก็จะบัญญัติอย่างที่ว่าเมื่อกี้ มีการรับผิดชอบต่อกิจกรรมของส่วนรวม เมื่อมีงานส่วนรวมก็ต้องมาร่วมกันใช่ไหม แล้วก็อย่างน้อย 15 วันครั้งหนึ่งจะต้องมาร่วมประชุมกันใช่ไหม ที่ว่ามีการสวดปาฏิโมกข์มาซักซ้อมทบทวนเรื่องของระเบียบแบบแผนกฎกติกาของชุมชนของเรา เพื่อจะให้ชุมชนของเราหรือสงฆ์นี่ดำรงอยู่ด้วยดีไม่ผิดพลาดออกจากหลักการคุมกันอยู่เรื่อยไป อันนี้ก็เป็นอันว่าชีวิตของพระนี่มีความสัมพันธ์ทางสังคมกับส่วนรวมไม่ว่าจะมองในแง่ของในหมู่สงฆ์ด้วยกันเองก็ตาม หรือในแง่ความสัมพันธ์กับประชาชนก็ตาม
ที่นี้ในการสัมพันธ์กับประชาชนนั้น ทำไมพระพุทธเจ้าให้ผูกพันชีวิตไว้กับประชาชน อันนี้ก็เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกัน เพราะว่าพระนั้นเป็นตัวอย่างของบุคคลที่ต้องการพัฒนาชีวิตขึ้นไป มีความตั้งใจเอาจริงเอาจังแล้วก็เข้าถึงตัวธรรมะ ก็คือความจริงของกฏธรรมชาติสามารถเอาความจริงในกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์แก่ชีวิต เมื่อได้รับประโยชน์จากประสบการณ์ของตัวเองแล้ว ก็น่าจะเอาประสบการณ์อันนี้มาเผื่อแผ่ให้แก่ประชาชน การเผื่อแผ่แก่ประชาชนก็โดยที่มีการพบปะกันแล้วก็ได้ทักทายปราศรัยอย่างน้อยแม้แต่การเห็นบุคคลที่ได้บรรลุธรรม ได้ประโยชน์จากธรรมะ มีชีวิตจิตใจที่ปลอดโปร่งผ่องใสบริสุทธิ์ มันก็เป็นความดีงามเป็นแบบอย่างเป็นเครื่องเตือนสติแก่หมู่มนุษย์เหล่านี้ ที่มัวแต่ลุ่มหลงอะไรต่ออะไร เอ้ออย่างนี้ พอเห็นอย่างนี้ก็เตือนสติมาสักที เพราะชีวิตที่ดีงามเป็นอย่างนี้ เราไม่จำเป็นจะต้องมาหวังความสุขจากการเสพวัตถุเกินไปหรือหลงระเริงวันนี้ไม่เคยเห็นโทษก็อาจจะเห็นโทษ ว่าที่ตัวทำมันอาจไม่ถูกต้องนะชีวิตที่ดีงามควรจะเป็นอย่างนี้ใช่ไหม หรืออย่างน้อยอีกด้านหนึ่งที่ควรจะมี ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าบัญญัติให้พระสงฆ์ต้องฝากชีวิตไว้กับประชาชนก็เป็นการผูกพันไม่ให้พระนี่จะหลบออกไปเลี่ยงออกไปได้ เพราะอะไรเรามองดูว่า ธรรมดาคนเรานะที่เรามาอยู่ในสังคมเนี่ยเราเรียกว่าเป็นสัตว์สังคมเลยอะไรต่าง ๆ คนต่าง ๆ ส่วนมากที่อยู่ในสังคม เขาอยู่ในสังคมเพราะเขายังต้องอาศัยสังคม เขายังหวังประโยชน์จากสังคมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตัวเขาน่ะใช่ไหม เอาลองนึกดูสิ ผู้คนที่อยู่ในสังคม เขาพึ่งพาผู้อื่นเขาหวังประโยชน์จากคนอื่นจะเอาจะได้จากคนอื่น แล้วเขาก็คิดในทางที่จะได้จะเอามากเลย ทีนี้คนพวกนี้พอเกิดเบื่อสังคมไม่อยากเอาอะไรจากสังคมตัวเองก็ไม่ต้องพึ่งคนอื่น ก็จะเป็นไปในทางตรงข้ามคือมีความโน้มเอียงที่จะปลีกตัวไม่เอาเรื่องเอาเอาราวกับชาวบ้านไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครแล้วใช่มะ ไปเป็นฤษีงัยใช่ไหม ฉะนั้นคนที่ว่าพึ่งสังคมจะเอาจากสังคมน้อยพอไม่ต้องเอาจากสังคมไม่ต้องพึ่งสังคมก็กลายเป็นว่า ฉันก็เลยไปอยู่คนเดียวหาความสุขของตัวเอง นี่อย่างฤษีชีไพร พวกนี้ก็ชีวิตเขาก็เป็นอิสระจากสังคมพอสมควรแล้ว เขาไม่หวังไอ้ความสุขที่จะต้องได้จากสังคมใช่ไหม เพราะเขาสามารถอยู่คนเดียวปลีกหาความสุขทางจิตใจ คนพวกนี้ก็โน้มไม่เอาเรื่องกับสังคม
ทีนี้คนที่เราต้องการให้คนมาอยู่กับสังคมที่จะเป็นประโยชน์แก่สังคมก็คือคนที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยเอาจากสังคม แต่สามารถเอื้อประโยชน์แก่สังคมได้เต็มที่ใช่ไหม คนอย่างนี้สิที่เราต้องการให้เขามาสัมพันธ์กับสังคม และคนพวกนี้พอมีโอกาสกลับหลบสังคมไม่เอาเรื่องใช่ไหม ที่นี้พระพุทธศาสนานี่ ท่านให้เราพัฒนาชีวิตที่เป็นอิสระจากสังคมได้มากที่สุด แต่เสร็จแล้วท่านไม่ยอม ท่านให้พึ่งสังคมใช่ไหม ก็คือพระนี่ คล้าย ๆ ว่าตัวเองมีการพัฒนาทางด้านจิตใจจนกระทั่งมีความสุขด้วยตนเอง เมื่อมีความสุขของตนเองภายในเป็นอิสระก็ไม่ต้องขึ้นกับความสุขภายนอกก็เหมือนกับฤษีชีไพร อย่างนี้เป็นต้น ก็มีความโน้มเอียงได้ที่จะแยกปลีกตัวตัดขาดสังคม ทีนี้ถ้าเรามองคติอย่างที่พุทธศาสนาบอกก็คือว่า เราต้องการให้คนแบบนี้ที่เป็นอิสระไม่ต้องเอาจากสังคมแล้วเนี่ยกลับมาเอื้อประโยชน์ต่อสังคมมาสัมพันธ์กับเอื้อต่อสังคมแล้วจะเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์แก่หมู่ชนแก่สังคมมากที่สุด อันนี้คือหลักการพุทธศาสนา ฉะนั้นเราจะมีนัยยะทางสังคมอยู่ตลอดเวลาในเรื่องของการประพฤติปฏิบัติชีวิตของพระระบบวินัยชีวิตของพระมีทั้งนั้นเลย
อย่างพุทธสุภาษิตที่ผมยกตั้งแต่วันแรกที่พูดถึงเรื่องการบูชาใช่ไหม อย่างคนสมัยก่อนพุทธกาลนี่แกก็หวังพึ่งเทพเจ้า อยากให้เทพเจ้าบันดาลโน่นบันดาลนี่ แล้วแกก็ไปบวงสรวงอ้อนวอนบูชาเทพเจ้า ใช้เครื่องเซ่นต่าง ๆ มากมาย บางทีก็ไปบูชาไฟตลอดชีวิตอยู่ในป่า พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้ว่า เอกาหัง ขออภัย เอกันจะภาวิตะอัตตานังอุตะปูชเยสาเยวะปูชนาเสโยยันเจวะสะตังอุตัง บอกว่าบูชาคนที่ฝึกตนแล้วเพียงครู่เดียวดีกว่าเซ่นสรวงเทวดาตลอดเวลา 100 ปี ว่าอย่างนี้ นี่ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น คนยุคนั้นไปหวังพึ่งเทพเจ้าก็ไปมีสัมพันธ์กับเทพเจ้า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับเทพเจ้า แล้วก็หวังประโยชน์แก่ตัวเอง คราวนี้ไม่เอาใจเลยว่าตัวเองจะต้องทำอะไร ไม่เอาใจใส่กันและกันในหมู่คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมที่จะมารับผิดชอบช่วยเหลือเกื้อกูลมาคิดการแก้ปัญหาใช่ไหม เพราะไปฝากเรื่องให้เทวดาคิดแก้ปัญหาแล้วนี่ อะไร ๆ ก็อยู่ที่เทวดา มนุษย์ก็ไม่ต้องเอาใจใส่กัน มนุษย์ก็ไม่ต้องมาร่วมกันแก้ปัญหา อันนั้นสังคมอย่างนี้จะเป็นอย่างไร สังคมอย่างนี้ในหมู่มนุษย์เป็นสังคมแย่ ตัวเองก็หวังพึ่งสิ่งอื่นอำนาจภายนอกมาช่วย ไม่พัฒนาตัวเองอ่อนแอลงไป เสร็จแล้วในหมู่มนุษย์ด้วยกันก็ไม่เอาใจใส่ดูแลกันซิใช่ไหม ทีนี้ระบบที่ว่าเรามายกย่องคนดี ใจเรามาอยู่ที่มนุษย์ด้วยกันแหละ ดูว่ามันเป็นคนไหนทำดีถูกต้องประพฤติตามธรรมเอาใจใส่ยกย่องกันใช่ไหม เกิดค่านิยมที่ดีมนุษย์ก็มาร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเข้ากับหลักการที่ไม่มัวไปพึ่งอำนาจดลบันดาลเทพเจ้า เมื่อไม่ไปพึงอำนาจดลบันดาลของเทพเจ้า ก็ต้องคิดการเราจะแก้ไขปัญหาจะต้องทำอย่างไรใช่ไหม และพร้อมกันนั้นก็มีคติยกย่องคนดีก็มาเอาใจใส่กันในหมู่มนุษย์มาร่วมกันแก้ปัญหา หมู่มนุษย์เองก็จะพัฒนากันไปได้ เนี่ยเพราะฉะนั้นคติแม้แต่จะง่าย ๆ พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้
เอ้าทีนี้ก็มาดูเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับประชาชนต่อ ทีนี้ว่าในเมื่อเป็นอย่างนี้ก็เลยมีความสำพันธ์ว่าให้มีการให้ต่อกัน การให้นี่เรียกกว่า ทานใช่ไหม ทานการให้ก็เลยแบ่งเป็น 2 อย่าง 1 อามิสทาน การให้อามิสวัตถุ 2 ธรรมทานการให้ธรรมะ ทีนี้เวลาพูดกันเรื่องทานนี่ เรามักจะนึกถึงอามิสทาน แล้วก็นึกถึงชาวบ้านต้องถวายทานแก่พระสงฆ์ ลืมไปว่าที่จริงพระสงฆ์ก็ต้องให้เหมือนกันน่ะ พระสงฆ์ก็ต้องบำเพ็ญทานแก่ประชาชน เราไปมองว่า โอ้ชาวบ้านถวายอาหารปัจจัย 4 พระสงฆ์ก็เป็น ปฏิคาหก ปฏิคาหกแปลว่าผู้รับ เลยมองไปเลยนาน ๆ ซักชินนึกว่าตัวเองเป็นผู้รับ มีหน้าที่รับ ความจริงน่ะมีหน้าที่ต่อกกัน ท่านเรียกว่า อุโบอะโยนิสิตา ทั้งสองฝ่ายต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างให้ ชาวบ้านให้วัตถุปัจจัย 4 แล้วพระภิกษุก็ให้ธรรมะใช่ไหม หน้าที่ของพระคือให้ธรรมะ ถ้าด้วยประการละฉะนี้ให้ซึ่งกันและกัน อาศัยซึ่งกันและกันก็จะทำให้ชีวิตร่วมกันเป็นไปด้วยดี แต่ละคนก็พัฒนาตัวเองขึ้นไป โดยอาศัยความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ที่นี้พระภิกษุก็มีหน้าที่ให้ธรรม เป็นอันว่าชาวบ้านให้อามิส มีหลักวินัยกันมาก ให้พระนี่รับมากใช่ไหม กลัวว่าพระจะไปเบียดเบียนทำให้ประชาชนเดือดร้อน เอาแค่ตัวเองอยู่ได้ ให้ร่างกายอยู่ได้ ชีวิตที่เป็นอยู่ได้ แต่จุดหมายคือว่าพัฒนาตนเอง อาศัยวัตถุปัจจัยมาเป็นเครื่องเลี้ยงชีพพอเป็นชีพอยู่ได้ แล้วก็ไปพัฒนาชีวิตของตนเองแล้วก็มาเอื้อธรรมะแก่ประชาชนก็พอได้ประสบการณ์จากการปฏิบัติจากการจากเรียนรู้ก็นำเอามาเผยแพร่ให้แก่ประชาชน ก็มาสั่งสอนมาแนะนำการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เพราะฉะนั้นการให้ธรรมก็เป็นหน้าที่สำคัญของพระสงฆ์ในความสัมพันธ์กับประชาชน ก็ต้องถือหลักนี้เป็นหลักใหญ่ แต่การให้ธรรมนั้นเรามักจะมองในแง่ว่าต้องไปพูดไปสอนประชาชนที่ดีงาม เพราะฉะนั้นก็ต้องถือหลักนี้เป็นหลักใหญ่ แต่การให้ธรรมน้นเรามักจะมองในแง่ว่า ต้องไปพูดไนสอน ไม่จำเป็น การให้ธรรมให้ด้วยพูดก็ได้ ให้โดยไม่ต้องพูดก็ได้ พระทุกองค์ไม่มีความสามารถในการพูดเหมือนกันหมด 1 แล้วน่ะ บางองค์นี่ ทั้ง ๆ ที่ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์แล้วก็สอนไม่เป็น เป็นอย่างพระปัจเจกกับพระพุทธเจ้าสอนคนพูดไม่ค่อยได้ความ ทีนี้นอกจากนั้นบางองค์บวชมาไม่นานยังไม่ได้เรียนรู้เท่าไหร่ไม่มีประสบการณ์ ก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปสอนใช่ไหม แล้วทำไงจะให้ธรรมอ่ะ ธรรมะ 1 ธรรมะที่เกิดความรู้ความเข้าใจเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลายใช่ไหม หรือธรรมะคือตัวกุศลธรรมความดีงามที่เกิดขึ้น แม้แต่ในจิตใจของตัวเองใช่ไหม จิตใจผ่องใส จิตใจเป็นบุญเป็นกุศล ไม่มีความเศร้าหมองเกิดมีแต่ศรัทธามีความอิ่มใจก็กุศลเกิดขึ้นแล้ว เป็นธรรมะแล้วน่ะ ทีนี้ถ้าพระมาแล้วทำให้โยมเกิดมีกุศลธรรมก็ให้ธรรมแล้วใช่ไหม แม้ไม่ต้องพูด
ฉะนั้นก็เลยเน้นว่า ให้พระสงฆ์นี่มีลักษณะแม้ปรากฏตัวขึ้นที่ไหนก็ทำให้บำรุงจิตใจประชาชน ได้พูดไปเมื่อเช้าแล้วว่า ไอ้ตัวสำคัญในจิตใจของประชาชนที่พระจะต้องพยายามให้เกิดคือปสาทะความผ่องใส ความผ่องใสของจิตใจนี้เป็นสภาพที่ดีอย่างยิ่ง เป็นสุขภาพจิตพื้นฐานเลย พอจิตใจมันผ่องใสบันเทิงชุ่มฉ่ำสดชื่น มันดีไปหมดความสุขก็มา กำลังกายกำลังใจก็มีมา ฉะนั้นเวลาพบกับพระ ลักษณะของพระที่ดีก็จะทำให้ญาติโยมนั้นเกิดปสาทะความผ่องใสชื่นบานของจิตใจ ทีนี้ความผ่องใสท่านแปลว่า เลื่อมใสปสาทะ มันจะมี 3 ขั้นตอน ปสาทะขั้นที่ 1 ก็คือว่าเกิดความชื่นบานผ่องใสอย่างที่ว่า เป็นภาวะในจิตใจขึ้นมา นี่เป็นภาวะที่ดีแล้วเป็นกุศล 2 เกิดความสัมพันธ์กับภิกษุหรือบุคคลที่เป็นต้นแหล่งแห่งสภาพจิตที่เกิดขึ้นในตัวเองอันนี้ใช่ไหม หมายความเป็นผู้ทำให้ตัวเองเกิดปสาทะ ก็จะเกิดมีความรู้สึกที่อยากเข้าไปหา ตัวนี้จะเป็นตัวต่อโยงให้เขาเข้าไปหาเพื่อขอธรรมะ ถ้าเขามีความชอบศึกษาอยู่แล้วเขาก็จะไปถามว่า เอ้ออยากจะรู้มีข้อสงสัยเรื่องนั้นเรื่องนี้หรือแม้แต่เขาเข้าไปหาภิกษุก็ได้โอกาสที่จะสอนใช่ไหม ที่จะอธิบายธรรมะ ไปทักทายปราศรัยยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขั้นที่ 3 เขาแสดงอาการของผู้เลื่อมใสเนี่ยตอนเนี้ย พระมักจะมาถึงจุดนี้ ซึ่งอาจจะเสีย ก็คือว่าพอเขาเลื่อมใส เขาก็อยากจะขอบคุณคล้าย ๆ อย่างนั้น หรือว่าทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแสดงถึงความที่คล้ายอยากแสดงออกว่าเลื่อมใสศรัทธาในท่าน เอาของถวาย เอาปัจจัย 4 เอาอาหารถวาย อันนี้ท่านเรียกว่า การแสดงอาการของผู้เลื่อมใส เรามักจะมองเรื่องความเลื่อมใสไปที่แง่ที่ 3 เลยกลายเป็นว่าพระมองว่าจะได้อีกแล้ว ที่จริงไม่ใช่ตัวสำคัญคือสภาพจิตของเขานี่ต้องเพ็งเล็งต้องเน้นสำคัญ ว่าทำไงจะให้เขาเกิดสภาพจิตอันนี้ ซึ่งเป็นกุศลแก่ตัวเขาเองเพียงเขาเกิดปสาทะใจเขาดีนี้เป็นบุญมหาศาลและเป็นคุณค่าที่ประเสริฐสุดแล้วใช่ไหมในชีวิตแล้ว ต่อจากนั้นเขาจะมาหาก็ได้ธรรมะยิ่ง ๆ ขึ้นไป ส่วนเขาจะแสดงอาการผู้เลื่อมใสเอาถวายปัจจัยหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งอย่าไปคำนึง อย่าไปติดอย่างนั้น
อ้าวที่นี่ก็เป็นอันว่าพระนี่สามารถให้ธรรมะแม้ไม่ต้องพูดปรากฏตัวก็คือ แม้พระปฏิบัติตัวดี อย่างพระอัสสชิเป็นเบญวัคคีย์ สาวกชุดแรกของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าโปรดได้บรรลุอนันตผล เสร็จแล้วก็ท่านออกจาริกไป วันหนึ่งท่านก็เดินทางไปเมืองราชคฤห์ ฝ่ายอุปติสสะปริพพาชก ซึ่งต่อมาเป็นพระสารีบุตร เป็นนักบวชอยู่ในสำนักสนชัย แสวงหาโมคคะธรรม ก็คือหมายความว่า ต้องการที่จะหาทางหลุดพ้น ต้องการที่จะรู้ธรรมะความจริงต่าง ๆ ก็ค้นคว้าแสวงหาก็ไม่เจอสักที ก็มาเห็นพระอัสสชิวันนั้นเผอิญไปเจอเห็นท่านอัสสชิเดิน แค่เห็นพระอัสสชิเดิน ปสาทะเกิดเลย เกิดความเลื่อมใสจิตใจผ่องใสเอิบอื่มชุ่มชื่นชื่นบานขึ้นมา ก็มองว่าท่านผู้นี้ต้องมีอะไรดีใช่ไหม นี่ความสัมพันธ์เกิดขึ้นแล้ว ก็อยากเข้าไปหาอยากไปถาม สื่อนำก็เกิดขึ้นแล้วใช่ไหม นี่ผู้ที่บรรลุธรรมบำเพ็ญตัวเรียกว่าฝึกอบรมตนดีแล้ว ก็ทำให้เกิดสภาพจิตที่ดีงามให้ธรรมะแก่ท่านผู้อื่นแม้โดยไม่ต้องพูด นี้เมื่อพระสารีบุตร คืออุปติสสะปริพาชก ก็ได้เข้าไปหาเข้าไปถาม ท่านบวชอุทิศใคร เป็นลูกศิษย์ใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ศาสดาของท่านสอนว่าไงใช่ไหม แล้วก็เลย พระอัสสชิ ก็แสดงธรรมให้ฟังเพียงสั้น ๆ ด้วยความถ่อมตน ทำให้สารีบุตรนี้ได้บรรลุโสดาปัตติผล เนี่ยเรื่องก็เป็นมาอย่างนี้ อันนั้นจึงเน้นความสำคัญว่าพระภิกษุเนี่ย เพื่อเกื้อกูลต่อชาวโลก เพื่อกูลตั้งแต่สภาพจิตของเขา ก็ประพฤติปฏิบัติตนให้ดีอยู่ในศีลอยู่ในภาวะของบุคคลที่ฝึกอบรมตนดี เมื่อปรากฏขึ้นที่ไหน ปรากฏตัวขึ้นที่ไหนก็ให้ทำหน้าที่นั้น แม้โดยไม่ต้องพูดใช่ไหม ฉะนั้นประชาชนเห็นพระเมื่อไรก็ให้เขาได้ความสบายใจความชื่นบานความผ่องใสของจิตใจ
นี้การที่จะได้พบปะบ่อยที่สุดก็คือในพิธีกรรมนอกจากบิณฑบาต เวลาไปในพิธีนี้โบราณหรือตามหลักการจึงได้เน้นให้พระได้สำรวมตนเอง การที่ปรากฏตัวก็ตาม การที่จะสวดมนต์ การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เนี่ย ให้มันเป็นสื่อแห่งปสาทะความดีงามสภาพจิตที่เป็นกุศลแก่ประชาชนตั้งใจว่า ทำไงเราจะทำทุกอย่างเนี่ย แม้แต่การแสดงออกของเราการพูดการจาการสวดของเราเนี่ยให้เกิดผลดีแก่จิตใจประชาชนไม่ใช่สวดเป็นเล่น สวดแต่สักว่าสวดเลื่อยเปื่อยไป ต้องสวดโดยตั้งใจ โดยมุ่งหมายอย่างที่ว่า ก็เป็นอันว่านี่ความสัมพันธ์ของพระกับประชาชน ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็พระสงฆ์ก็จะเป็นแหล่งที่ดำรงไว้ซึ่งธรรมะให้แก่สังคม เป็นแหล่งที่บำรุงจิตใจประชาชน เป็นศูนย์กลางที่จะนำเอาความสุขความรื่นรมย์ความเบิกบานใจความผ่องใสมาให้แก่สังคม อันนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นหลักให้แก่สังคมตลอดเวลา
อย่างคำโบราณที่บอกว่าอะไร มีฉันท์ของท่านนรินทรธิเบศร์ที่พูดถึงเรื่องวัดวาอาราม เสียงระฆังขาน เห็นพระภิกษุอะไรต่าง ๆ นี่ ท่านใช้คำว่า ฝึกฟื้นใจเมือง ว่าอย่างนั้น คนในเมืองนี่วุ่นวายกับเรื่องธุรกิจ เรื่องการบีบรัดในชีวิตใช่ไหม ได้เห็นพระสงฆ์ที่ก็ชื่นใจ พระสงฆ์นี้ก็จะเป็นตัวโยงสังคมให้ถึงธรรมชาติอยู่เรื่อย ๆ ในแง่นี้ เพราะว่ามนุษย์ในสังคมนี้จะมีโอกาสที่จะห่างเหินจากธรรมชาติอยู่เสมอ พระสงฆ์ที่เป็นตัวแกนกลางเป็นศูนย์กลางเป็นสื่อกลางที่จะมาโยงคนโดยทั่วไปนี่ให้ถึงกันกับธรรมชาติประสานกลมกลืนอยู่ได้ไม่แปลกแยกในด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งก็เป็นตัวประสานระหว่างรูปธรรมหรือทางด้านวัตถุกับด้านนามธรรมจิตใจใช่ไหม อย่างน้อยให้สังคมเนี่ยไม่หลงไปกับเรื่องวัตถุจนเกินไปมันจะเชื่อมโยงเข้าหาคุณค่าสาระที่แท้จริงของชีวิตในด้านนามธรรมได้ จนกระทั่งว่าในที่สุดก็คือนำปัญญามาให้แก่เขา ให้เขารู้เข้าใจถึงความจริงของกฎธรรมชาติ อันนี้ก็จะเป็นประโยชน์สูงสุดที่จะให้แก่ประชาชนได้ ก็เลยภิกษุก็เลยทำหน้าที่อย่างนี้ ความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดปสาทะ
เสร็จแล้วถ้าเป็นพระที่ดีต่อไป อย่างพระอรหันต์นี่น่ะ ก็จะมีลักษณะเป็นภาวะนีโย เป็นมโนภาวะนีโย มีมโนอยู่ด้วย มโนภาวะนีโยเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกชาวบ้านไปหาพระพุทธเจ้าไปหาพระสงฆ์ก็เพราะว่าเขาได้ไปพบพระภิกษุผู้เป็นมโนภาวะนีโย หรือพูดสั้น ๆ ก็ตัดตัว วิพัด ทางไวยากรณ์ออกก็เหลือ มโนภาวะนี มโนภาวะนียะ การันยะ ก็เหลือ มโนภาวะนิ แปลว่าเป็นผู้ที่เจริญใจ มีอุบาสกผู้ใหญ่ที่ไปที่พระพุทธเจ้าและก็ปรารภถึงการที่ว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานไปแล้วเนี่ย เขาก็จะยากที่จะมีโอกาสได้มาหาพระองค์แล้วก็จะได้พบพระภิกษุเถระทั้งหลายผู้เป็นมโนภาวะนีว่างั้น ก็หมายความว่าเมื่อพระพุทธเจ้าอยู่นี่เป็นศูนย์กลางของพระภิกษุทั้งหลาย พระเถระผู้ใหญ่ ผู้น้อย ใคร ๆ ก็มาหาพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์กลางใช่ไหม พระสารีบุตร พระโมคัลลานะ ท่านก็มีกิจเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า มาปฏิบัติ มารับนโยบาย อะไร ๆ ก็แล้วเต่ก็เกี่ยวข้อง เมื่อประชาชนมานี่ก็พบพระเถระผู้ใหญ่เหล่านี้ ซึ่งเป็นพระอรหันต์เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติดีแล้วใช่ไหม เขาก็ได้ความชื่นใจได้พบ จะเรียกเป็น มโนภาวะนียบุคคล ได้พบท่านเป็นผู้ที่เจริญใจ ทีนี้บอกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วเขาก็จะขาดโอกาสอันนี้ด้วย นอกจากว่าไม่ได้พบพระพุทธเจ้าแล้วก็จะยากที่จะได้พบพระเถระทั้งหลายผู้เป็น มโนภาวะนียะ ผู้เป็นที่จริญใจ นี่เพราะลักษณะของพระสงฆ์ที่ดีก็ เอาล่ะ นอกจากทำหน้าที่ก่อให้เกิดปสาทะก็พัฒนาตนเองจนเป็นมโนภาวะนี เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญใจ ทีนี้พระภิกษุก็ต่อไปก็ทำหน้าที่อย่างพระพุทธเจ้า ปฏิบัตหน้าที่ต่อประชาชน เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่าเราเป็นกัลยาณมิตรของสัตว์ทั้งหลาย อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร สัตว์ทั้งหลายผู้ตกอยู่ใต้อำนาจความเกิดแก่เจ็บตาย โสกะปริเทวะ ทุกข์โทมะนัสอุปายาท คือบรรดาทุกข์ทั้งหลายก็พ้นจากความทุกข์นั้นได้ แล้วพระพุทธเจ้าที่มาไปเที่ยวสั่งสอนประชาชนเนี่ยทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร พระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน พระสงฆ์ก็เป็นมิตรของประชาชน
จะเห็นได้ว่าในหลักของทิศมิตรแท้มิตรเทียม พระพุทธเจ้าก็จะสอนให้คนรู้จักมิตรที่ดี ๆ ให้รู้จักมิตรเทียม ศัตรูผู้มาในร่างมิตรจะชักพาเราไปสู่ความเสื่อม ทำให้เป็นผู้เสียหาย ชักพาไปกินเหล้าเมายาเล่นการพนัน ชักพาไปเที่ยวอะไรต่ออะไร ขี้เกียจ อะไรต่าง ๆ เสียหายก็ให้รู้จักเลือกคบมิตรที่ดี ในบรรดามิตรเหล่านั้น มีมิตรแท้ 4 ประเภท มิตรที่ดี มิตร 4 ประเภท ก็มิตรชนิดหนึ่ง มิตรชั้นดีเลย มิตรแนะนำประโยชน์ก็จะพยายามห้ามปรามยับยั้งจากความชั่ว พยายามที่จะให้เราตั้งอยู่ในความดี แล้วก็ให้เราได้ประโยชน์ทางปัญญาได้รู้อะไรที่ดีก็เอามาบอกกันให้ได้รู้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง แล้วก็สามารถชี้แจงอธิบายสิ่งที่ได้ฟังแล้วที่ยังเคลือบแคลงสงสัยให้ชัดเจนกระจ่างได้ตลอดจนกระทั่งบอกทางความสุขทางสวรรค์ให้ นี่มิตรผู้แนะนำประโยชน์และเราไปดูที่หน้าที่ของพระสงฆ์ต่อประชาชนชุดนี้เลย ก็คือชุดเดียวกันกับการมิตรแนนำประโยชน์ ไปดูหน้าที่ของพระสงฆ์ต่อกุลบุตรอยู่ในทิศ 6 ทิศสุดท้ายเรียกว่า อุปริมทิส ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องบนก็สมณพราหมณ์ ก็ของเราก็หมายถึงพระสงฆ์มีหน้าที่ต่อประชาชน 1 ว่ายังงัย
1 ก็ห้ามปรามยับยั้งประชาชนจากความชั่ว
2 ให้ตั้งอยู่ในความดี
3 ให้ได้รู้ได้ฟัง สิ่งที่เขายังไม่ได้รู้ได้ฟัง
4 ทำสิ่งที่ฟังแล้วให้กระจ่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
แล้วก็มีแทรกเข้ามาอีกข้อหนึ่งว่าอนุเคราะห์ด้วยจิตปรารถนาดี
แล้วอันสุดท้ายก็บอก บอกทางความสุข บอกทางสวรรค์ให้ ว่าอย่างงั้น
นี่คือหน้าที่ของพระสงฆ์ต่อประชาชน อันที่แทรกเข้ามา ข้อที่จิตอนุเคราะห์ปรารถนาดีอันนี้ ท่านได้อธิบายว่า คอยนึกถึงชาวบ้าน เออ ญาติโยมนี่น่ะ ทำไงเขาจะเจริญขึ้นในความดีงามเขาจะได้ประสบสิ่งที่เป็นประโยชน์และความสุขคอยนึกอยู่เสมอหาทางให้เขาได้พัฒนาตัวเองมีชีวิตที่ดีงามมีความสุขขวนขวายช่วยเหลือ ท่านยกตัวอย่างเช่นว่า เอ้อมีพระองค์โน้นนะท่านมีคุณธรรมความดี รู้ธรรมะสูงก็แนะนำชาวบ้านว่าให้ไปหาท่าน ท่านจะได้ช่วยแนะนำสั่งสอน ถ้าเป็นเดี๊ยวนี้ ก็อาจแนะนำว่าโยมน่ะมีหนังสือดี ๆ หนังสือธรรมะนั่นไปอ่านกันซิ หรือหามาให้ อะไรอย่างนี้ อย่างนี้เรียกว่าอนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ก็รวมแล้วก็คือความหวังดีต่อชาวบ้าน ไม่คิดเอาประโยชน์จากเขา ไม่ใช่คิดว่าจะทำอย่างไรเรี่ยไรเขาได้ ทำอย่างไรจะให้เขาเอามาให้เราเท่านั้นเท่านี้ใช่ไหม เพียงคิดในแง่ว่า อนุเคราะห์ให้เขาเจริญงอกงามขึ้นไป นี่คือหน้าที่กัลยาณมิตรนั่นเอง
ตกลงว่าหน้าที่ของพระภิกษุต่อประชาชนนั้นตรงกันกับหน้าที่ลักษณะของมิตรแนะนำประโยชน์อันเดียวกัน จะเพิ่มอีกขึ้นมาก็คืออนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี แต่รวมแล้วก็คือ ทำหน้าที่อย่างพระพุทธเจ้าที่ทรงเป็นกัลยาณมิตรแบบอย่าง นั้นพระสงฆ์ก็ทำหน้าที่อย่างนี้ ช่วยเป็นผู้เกื้อหนุนแก่ประชาชนชักนำประชาชน ในทางแห่งความดีงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป นี้เป็นความสัมพันธ์ของพระสงฆ์ต่อประชาชน ที่ว่าเราเอาประโยชน์จากประชาชนน้อย ไม่เอาอะไรจากสังคมเพราะเป็นผู้พร้อมแล้ว ถ้าโดยหลักการแล้วเป็นผู้พร้อมที่จะไม่เอาอะไรจากประชาชนใช่ไหม จะไปอยู่ป่ากินเผือกกันมันก็ได้ แต่ว่าคนอย่างนี้ที่บอกแล้วตั้นแต่ต้นที่สังคมปรารถนา เพราะคนในสังคมปัจจุบันนี่ เป็นคนที่จะเอาอะไรจากสังคมทั้งนั้นที่มันยุ่งกันอยู่นี่ใช่ไหม คนที่เป็นอิสระไม่ต้องเอาจากสังคม คนอย่างนี้ท่านกับผูกมัดว่า ให้พึ่งพากับสังคม แล้วเอื้อประโยชน์ต่อกัน ถ้านั้นเมื่อปฏิบัติตามหลักการนี้ พระก็จะมีลักษณะอย่างที่พูดไปเมื่อเช้าที่พูดบอกว่า ยะถาปิพะมะโรปุถังวานะคันทังทะอเหตะยังปเรติรัสมังอทายะเอวังคาเมมุนีจะเร เมื่อเช้าแปลให้แล้วแต่ไม่ได้บอกบาลี ก็บอกว่า แมลงภู่แมลงผึ้งเที่ยวไปในหมู่ไม้ ไม่ทำดอกไม้พร้อมทั้งกลิ่นและสีให้ชอกช้ำ นำเอาแต่น้ำหวานของดอกไม้ นำเอาแต่น้ำหวานของเกสรบินไปฉันใด มุนีคือพระสงฆ์พึงจาริกไปในหมู่ประชาชนในหมู่ชาวบ้านฉันนั้น นี่หลักการนี่สำคัญมาก ถ้าเรายึดหลักการที่พูดมาตั้งแต่ต้นก็ปฏิบัติตามนี้ได้ใช่ไหม พระสงฆ์ไม่ทำให้สังคมประชาชนเขาเดือดร้อนชอกช้ำไม่ว่าจะทางรูปธรรมวัตถุเงินทองก็ตาม หรือทางนามธรรมคือจิตใจก็ตาม แต่เป็นผู้บำรุงจิตใจของประชาชนทำให้เขางอกงามยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนดังแมลงผึ้งที่ว่าคลายน้ำหวานพร้อมทั้งเกสรบินไป ขยายพันธุ์ให้เจริญงอกงามขึ้น นี่แหล่ะ ทีนี้นอกจากนั้นแล้ว เพราะว่าพระที่ท่านบรรลุธรรมเหล่านี้ ท่านไม่จำเป็นต้องอาศัยอะไรในการฝึกตนเองแล้วนี่ อย่างพระนี่การที่ไปอยู่ป่านี้ วัตถุประสงค์อย่างหนึ่งก็คือเพื่ออาศัยบรรยากาศของป่าที่สงบสงัดนั้นน้อมจิตไปสู่วิเวกแล้วจะได้เอื้อต่อการที่จะสงบบำเพ็ญสมาธิ ทำให้จิตพัฒนาขึ้นไปเจริญจิตภาวนา แต่พอท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านไม่จำเป็น พ้นจากการฝึกแล้ว ที่นี้ก็จะมีวัตถุประสงค์ว่า เอ้าแล้วเมื่อไม่ต้องฝึกแล้ว การถือบัญญัติปฏิบัติตามวินัย การถือข้อวัดปฏิบัติเหล่านั้น ถือไปทำไม ก็อาจจะมีบางคนมาอ้าง โอ้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ไม่ต้องถือข้อวินัยบทบัญญัติเหล่านี้ทำอย่างไรก็ได้ นี่ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นบางคนไปพูดอย่างนั้น
เคยได้ยินมีญาติโยมมาเล่าถึงวัดหนึ่งบอกว่า มีพระอายุมากแล้ว ก็มีสาว ๆ ไปนวดไปบีบ อ้าวแล้วไปนวดไปบีบ อย่างนี้ได้ยังไง เอ้าบอกว่าท่านไม่ยึดติดถือมั่นอะไรแล้วนี่ว่าไง ก็เลยไม่เป็นไรว่าอย่างนั้น เนี่ยวินัยเป็นนี่เรื่องของบัญญัติไม่มียกเว้นเป็นเรื่องรูปประธรรม 1 แล้ว แต่ประการที่ 2 พระอรหันต์ประพฤติวินัยนี้เพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหมดความจำเป็นต้องพัฒนาฝึกตนแล้ว คติของพระอรหันต์มีตัวอย่าง เช่นกรณีที่ 1 เช่นอย่างพระมหากัปปินะ พระพุทธเจ้าบัญญัติเรื่องสังฆกรรมอุโบสถคือการฟังปาฏิโมกข์ ว่า 15 วัน พระต้องไปประชุมกันซักซ้อมวินัยพื้นฐานแม่บท นี้พระมหากัปปินะท่านมารำพึงว่า เอ้เราเป็นอรหันต์เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วจำเป็นจะต้องไปหรือเปล่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงตัวเลย บอกว่า ถ้าเธอผู้เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ไปแล้วใครจะไป ต้องเป็นแบบอย่าง ทีนี้อีกกรณีหนึ่งก็ตัวอย่างที่ชัดมากก็พระมหากัสสปะที่ถือธุดงค์มากมายหลายข้อตลอดชีวิต ธุดงค์นี้มีหลายข้อ ธุดงค์นี่ชาวบ้านก็เข้าใจกันผิดนึกว่าเดินทางไปในธุดงค์ ธุดงค์ก็คือข้อปฏิบัติที่ขัดเกลากิเลส ทุตะ ขัดเกลากิเลส อังคะ แปลว่าองค์ประกอบหรือคุณสมบัติ คุณสมบัติของท่านผู้ขัดเกลากิเลส พระอรหันต์ไม่ต้องขัดเกลากิเลสแล้วนี่ จะต้องมาขัดเกลาทำไม ถือข้อปฏิบัติธุดงค์ทำไม ธุดงค์ก็มีเช่น ถือไตรจีวรเป็นวัตร หมายความถือแค่จีวร 3 ผืน ไม่เอาเกินนั้น หรือถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร เอาแต่ผ้าที่เขาทิ้ง ไปเก็บมาต้มมาย้อมมาเย็บเองไม่รับรับจีวรคหบดีนี่ เป็นเรื่องธุดงค์ทั้งนั้น หรือฉันอาหารบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่รับนิมนต์ก็ถือว่า ธุดงค์ อย่างนี้ก็ฉันมื้อเดียวก็เป็นธุดงค์ ข้อปฏิบัติเหล่านี้มี 13 ข้อ นี้พระมหากัสสปะนี่ท่านถือธุดงค์หลายข้อ โดยเฉพาะข้ออยู่ป่าเป็นประจำ อยู่ป่าตลอดชีวิต แต่รวมทั้งถือไตรจีวรถือผ้าบังสกุลด้วย ทีนี้ท่านแก่ขึ้นมา พระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งขึ้นมา นี่เธอ มหากัสสปะ นี่เธอก็อายุมากแล้ว ก็เอาล่ะ ผ่อนปรนกับตัวเองเสียบ้าง เพราว่าจีวรบังสกุลนี่ผ้ามันหยาบมันหนัก เธอก็แก่แล้ว ก็จะทำให้พระแก่ ๆ ห่มผ้าไม่สบาย แม้แต่หนักตัวมันก็ทำให้ทรงตัวไม่ค่อยดีอะไรอย่างนี้เนี่ย อย่างน้อยก็รู้สึกว่าไม่สบาย พระพุทธเจ้าก็บอกว่าอ้าวก็ผ่อนปรนผ่อนคลายกับตัวเองบ้างสิ มาถือรับจีวรที่คหบดีมาถวายอะไรต่าง ๆ พระมหากัสสปะก็ขอบพระทัยพระพุทธเจ้า แต่ว่าท่านขอปฏิบัติอย่างนั้นต่อไป พระพุทธเจ้าก็ทรงได้ตรัสถามเหตุผล พระมหากัสสปะบอกว่า เพื่อเป็น ชิชานุคติ เป็นแบบอย่างแก่ชนรุ่นหลังเป็นแบบอย่างแก่ ปัชฌิมชนตา แก่ชนที่จะเกิดตามมาภายหลังก็คืออนุชนนั่นเอง นี่คือจิตสำนึกที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้อื่นใช่ไหม ท่านไปไม่ได้ถือวินัย หรืออะไรเพื่อตัวเองนี่ ท่านทำเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม
แล้วคติของพระอรหันต์ทั้งหมดทุกองค์ก็จะมีอันเดียวกันของศาสนาทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้ว่า โภชนาหิตายะ โภชนายะชุหายะโลกัมนุพายะกัมมัน แปลว่าเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนจำนวนมากเพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก อันนี้เป็นอุดมคติ เมื่อท่านมหากัสสปะท่านถือธุดงค์ก็รวมอยู่ในคตินี้ด้วย ก็คือบำเพ็ญเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชนรุ่นหลัง ก็คือ เป็นส่วนหนึ่งของการบำเพ็ญเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมากนั่นเอง ฉะนั้นจิตสำนึกในทางสังคมนี่สำคัญมาก แต่มันมาโยงกับตัวบุคคลในแง่ที่ต้องพัฒนาตัวเองขึ้นไปด้วยแล้วเขาจึงจะสามารถบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม เสร็จแล้วมันไม่ใช่ของจริง แล้วตัวเองก็ไม่พร้อม ยังเป็นผู้ที่ยังต้องเอาจากสังคมตลอดเวลา ฉะนั้นในที่สุดแล้วแม้แต่จิตก็ไม่ต้องพึ่งสังคมแม้แต่ความสุขใช่ไหม เพราะคนที่เป็นปุถุชน นี่มันยังต้องหวังความสุขจากวัตถุเสพบำรุงบำเรอ ความสุขจะขึ้นต่อวัตถุภายนอก ยังต้องหาความสุขอยู่ไม่มีความสุขภายใน พอพัฒนาตัวเต็มที่เป็นพระอรหันต์ก็เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนเต็มที่มีความสุขภายในตัวเองแล้วความสุขนี่ไม่ขึ้นต่อวัตถุภายนอกเป็นอิสระ เมื่อมีความสุขประจำก็เป็นคุณสมบัติของตัวเอง ตัวเองก็พัฒนาเต็มบริบูรณ์หมดแล้ว ทางพฤติกรรมจิตปัญญา ถ้าเรียกว่าเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว เมื่อบรรลุประโยชน์ตนแล้วก็ไม่มีอะไร ที่จะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป คนที่ไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อตัวเองต่อไปนี้พร้อมที่สุดที่จะไปทำเพื่อผู้อื่นใช่ไหม เพราะฉะนั้นพระอรหันต์และพระพุทธเจ้าท่านจึงต้องบำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน หรือเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกได้เต็มที่ตามอุดมคตินั้น เพราะพัฒนาตนเต็มที่แล้ว นั้นประโยชน์ตนสูงสุดบรรลุแล้วกลับมาเอื้อต่อประโยชน์ผู้อื่นได้เต็มที่ เพราะไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป คนอย่างนี้แหละที่ ๆ จะทำประโยชน์ให้ดีที่สุด ถ้าคนทั่วไปแล้วมันก็ต้องอาศัยการเสียสละ ของพระพุทธเจ้าท่านไม่ต้องเสียสละ ท่านบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ประชาชนท่านไม่ต้องเสียสละ คนที่ยังเสียสละยังต้องยกย่องกันอยู่ แต่ที่จริงเขายังต้องเสียสละ ทำไมต้องเสียสละหล่ะ เพราะแสดงว่ามีอะไรที่ตัวเองจะพึงได้แล้วไม่เอาใช่ไหม พระพุทธเจ้าไม่ต้องเสียสละแล้ว เพราะท่านเต็มมันเป็นอัตโนมัติ นี้เมื่อต้องเสียสละอาจจะทำดีได้ด้วย ปณิธานคือตั้งใจ เช่น อย่างพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทำความดีด้วยปณิธานคือตั้งใจใช่ไหม ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าเราจะทำความดีที่ไม่ยอมและย่อท้อถอยสละชีวิตตัวเองก็ได้ เพื่อคนอื่นแต่ต้องตั้งใจเพราะพระโพธิสัตว์ก็ยังมีประโยชน์ที่ตัวต้องการอยู่ใช่ไหม ยังไม่บรรลุประโยชน์ตนนี่ ยังบำเพ็ญบารมีเพื่อจุดหมายคือการบรรลุโพธิญาณ ฉะนั้นก็บำเพ็ญบารมีทำความดีอย่างเยี่ยมยอดไม่มีใครทำได้เลย ท่านทำด้วยปฎิธานต้องตั้งใจต้องเสียสละ แต่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านทำความดีเป็นอัตโนมัติของท่านเองเพราะเป็นบุคคลที่บรรลุประโยชน์ตนไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีกแล้วใช่ไหม
นี่คือความต่างระหว่างพระอรหันต์รวมทั้งพระพุทธเจ้ากับพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ยอดของคนดีแล้วนะ ก็ยังเป็นผู้ต้องเสียสละและต้องทำได้ปนิธานใช่ไหม ต้องอาศัยปนิธานตั้งใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวเพื่อจะทำความดีต้องมีอุดมการณ์อะไรอย่างนี้น่ะ นี่แหละนี่ก็เรื่องของการพัฒนามนุษย์ แต่หลักการอย่างที่ว่าไปแล้วว่า เป็นอันว่าพระพุทธศาสนานี้มีจิตสำนึกในเรื่องสังคมตลอดเวลา จะแสดงออกทั้งในหลักธรรมคำสอนทั่วไปและก็เรื่องวินัย แต่ว่าท่านคำนึงอย่างที่ว่า 3 ส่วนนี้ อย่าได้แยกจากกันเป็นอันขาด ธรรมชาติ คน สังคม พร้อมกันนั้น คนที่มี 2 ด้านคือคนด้านที่มีชีวิตในธรรมชาติและคนด้านที่เป็นบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม เพราะพัฒนาตัวไปตามกฎธรรมชาติ เมื่อพัฒนาตามกฎธรรมชาติสมบูรณ์แล้ว เขาก็มาเอื้อต่อสังคมได้เต็มที่ นี้พอเป็น ก็อย่างนี้แล้วอย่างที่บอกเมื่อกี้ก็ไม่จำเป็นต้องฝึกตนอีกต่อไป ก็ถือข้อปฏิบัตินี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อเป็นแบบอย่างความสุขแก่ แล้วด้วยความเคารพระสงฆ์ แล้วก็ท่านก็เลยไปเข้าคติอีกอันหนึ่งที่บอก อีกอันหนึ่งว่า คาเมยะวทิวารันนเยนินเนวายะนิทิมาวาทเร ยัตถะอรหันต์โต อุหะรันติตังพูมิรัม อมินังยกัง ธรรรมดาว่าที่ทั้งหลาย มันจะสถานที่มันจะรื่นรมย์คือไม่มีภัย โดยเฉพาะที่รื่นรมย์โดยธรรมชาติก็คือป่าหรือที่สงบสงัดใช่ไหม ซึ่งบางทีป่าก็ไม่รื่นรมย์เพราะว่าเป็นที่แขวงของผู้ร้ายมีความน่ากลัว แต่ว่ายังไงก็ตามเนี่ย ในที่สุดแล้วความรื่นรมย์นั้นไปอยู่ที่บุคคล บุคคลที่กำลังฝึกตนเนี่ยอาจจะต้องไปหาที่รื่นรมย์ พระที่กำลังปฏิบัตินี่อาจจะต้องไปหาที่วิเวกที่ปลอดภัยด้วยสงบสงัดด้วยรื่นรมย์ แล้วออกมาที่จอแจก็ไม่รื่นรมย์ แต่สำหรับพระอรหันต์บอกว่า คาเมยาวทิวาเรรันเย ไม่ว่าบ้าน ไม่ว่าป่า ไม่ว่าที่ลุ่มหรือที่ดอน พระอรันต์อยู่ที่ไหนที่นั้นไซร้เป็นภูมิสถานอันรื่นรมย์หมดใช่ไหม เป็นภูมิสถานรื่นรมย์หมด เพราะว่าตัวพระอรหันต์ไม่มีเหตุจะไม่รื่นรมย์เสียแล้ว เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ผู้ไกลกิเลสอยู่ที่ไหนไซร้ เป็นภูมิสถานอันรื่นรมย์หมด ก็กลับมาเป็นว่าพระอรหันต์นี่ออกมาแล้วมาช่วยให้สังคมนี่รื่นรมย์ แม้แต่ที่คนเขาวุ่นวายใช่ไหม ท่านก็จะมาช่วยให้มันเกิดความรื่นรมย์ดีงามขึ้นมา นี่เป็นการตีกลับใช่ไหม ตอนแรกนี่คนที่ยังฝึกตนจะต้องหลบจากความจอแจไปหาที่รื่นรมย์ พอตัวเองบรรลุจุดหมายแล้วก็มาสร้างความรื่นรมย์ให้แก่แม้แต่ที่จอแจ
นี่ก็เป็นเรื่องของการมองพุทธศาสนาในแง่ของสังคม เริ่มชีวิตของพระที่ว่ามีความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งในชุมชนของตัวเองก็คือในสงฆ์แล้วกับประชาชน แล้วความสัมพันธ์นี้ในเชิงของวินัยบทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นรูปแบบ แล้วก็ทั้งในเชิงธรรมะคือหลักการที่เป็นไปสอดคล้องกับความจริงของกฎธรรมชาติ ก็พอสมควรแล้วน่ะครับ เอาล่ะที่นี้มีอะไรสงสัยก็เลยนิมนต์ถาม
(1)
คนฟังถาม ในกรณีที่เป็นฆรวาสกับบุคคลย่างไร ในลักษณะที่ว่าจะบรรลุตนให้สูงสุด ครับ
พระตอบ ก็ต้องเอาหลักการนี้ไปใช้ แต่ว่าต้องยอมรับความจริงว่าสภาพแวดล้อมนี่ไม่ค่อยเอื้อใช่ไหม เพราะฉะนั้นชีวิตของพระภิกษุเนี่ย จึงเอื้อเพราะอันนี้ที่กล่าวบอกว่า สัมพาโทคะวาโส แปลว่าชีวิตครองเรือนนี้แคบ อัปโพกาโสบรรพชา บรรพชาเป็นเหมือนที่โล่งแจ้ง ว่างั้น ที่หมายความว่า ปฏิบัติตามหลักการ เพราะว่าชีวิตคฤหัสถ์นี่มันพะลุงพะลังมันมีภาระบีบรัดตัวอะไรต่าง ๆ ความผูกพันยึดติดกับวัตถุทรัพย์สินเงินทองอะไรเข้าไปวุ่นวาย นี่พระนี่ทำตัวให้เป็นอิสระ ปลอดจากสิ่งเหล่านี้ ให้เหลือน้อยที่สุดจะได้โล่ง อย่างที่บอกว่าถ้าพระปฏิบัติตามหลักการนี้ จะเริ่มมีชีวิตที่ว่าเป็นเหมือนนกที่มีแต่ปีก 2 ปี จะบินไปไหนเมื่อไหร่ก็บินไป ว่างั้น อันนี้เป็นความปลอดโปร่งทางด้านรูปธรรมใช่ไหม รูปแบบ ส่วนความปลอดโปร่งที่เป็นอิสระแท้ที่จิตใจที่พ้นจากกิเลส แม้เราจะมาอยู่ในภาวะที่ว่าไม่มีอะไรผูกมัด แต่จิตมันไปผูกมัดที่ไหนอยู่ มันก็ไม่โปร่ง มันไปยึดติดทางจิตนี่ ยิ่งหนักเข้าไปอีกใช่ไหม ก็เกิดความทุกข์ทรมานบีบคั้นอะไรต่าง ๆ
(2)
คนฟังถาม บางบทบาทพระอาจไม่เหมาะกับฐานะ ยกตัวอย่าง อย่างเป็นในสังคมประกอบด้วยอาชีพต่าง ๆ แล้วในฐานะที่พระนี่เหมาะจะพัฒนาหาประโยชน์สูงสุดได้ นะครับ ในบทบาทในทางสังคม พระอาจจะไม่สดวก หรืออาจจะผิดข้อวินัย
พระตอบ อ้อ เรื่องของยุคสมัยก็ต้องมาแบ่งบทบาทกันสิ คล้าย ๆ ว่า บทบาทในทางนามธรรมสูงสุดนี่ไม่มีใครทำแทนได้ ก็เลยสงวนไว้หมายความว่าให้มีพระไว้ทำ ไม่อย่างงั้นเดี๋ยวไม่มีใครช่วยทำให้ นี่ก็บทบาทลองลงไปก็พุทธบริษัทมี 4 นิ่ครับ ให้คฤหันต์ด้วยกันช่วยไปทำบทบาทระดับรองลงไปที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสังคมมากหน่อยใช่ไหม ถึงยุคสมัยเรื่องเกี่ยวกับกาละเทสะ อาจจะต้องมีการปรับตัว ที่นี้ชาวพุทธนี่ไม่เคยได้มี การมาพิจารณาเหตุปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้เพื่อจะวางแผนจัดตั้งวางระบบของเราให้ดีใช่ไหม ว่าพุทธบริษัทเรามีกัน 4 นี่ เราจะมาจัดตั้งวางระบบให้เหมาะกับยุคสมัยอย่างไรเพื่อให้หลักการของพุทธศาสนาและจุดมุ่งหมายนี่มันเป็นไปได้ด้วยดีใช่ไหม อันนี้มันจะต้องรู้จักปรับซิ พระพุทธเจ้าเป็นนักวางแผนจัดตั้งวางระบบให้แล้วใช่ไหม จนประสบความสำเร็จ และเสร็จแล้วพระสงฆ์รุ่นหลังมาเนี่ยไม่ได้เอาแบบอย่างของพระองค์มาใช้เลย พระพุทธเจ้านอกจากผู้ค้นพบรรมะแล้วเป็นนักจัดตั้งวางระบบที่ยอดสุด จัดตั้งวางระบบที่เป็นหลักฐานสำคัญคือสังขารหรือสงฆ์นี่ ซึ่งตะวันตกยอมรับเลยว่า สงฆ์ในพุทธศาสนาเป็นองค์กรที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกไม่เคยมีองค์กรไหน องค์กรจัดตั้งอะไรไม่เคยมีอายุยืนยาวอยู่ได้อย่างสังฆะในพุทธศาสนา ตั้งมาได้พักหนึ่งหมด ตั้งไปได้พักหนึ่งหมด ไม่มีองค์กรไหนอย่างยั่งยืนองค์กรนี้อายุยืนที่สุดในโลก
(3)
คนฟังถาม อย่างในกรณีถ้าเป็นรูปธรรม ในกรณีของพวกพระนักพัฒนาอย่างนี้น่ะครับ การจัดองค์กรครั้งแรกนี้พวกชาวบ้านอาจจะค่อยเข้าใจเท่าไร เราทำได้แง่ไหนอย่างเช่น เราเข้าไปช่วยเขาให้มากที่สุดน่ะครับ โดยเฉพาะเรื่องบัญชีเรื่องพวกตัวเลขพวกอะไรเนี่ยเขาไม่ชำนาญแน่ เราทำได้แค่ไหนครับ
พระตอบ งานบางอย่างถ้าไม่ผิดวินัยก็ทำ แต่ว่าต้องมีเป้าไว้ คือมีขั้นตอนว่า เราจะฝึกชาวบ้านขึ้นมารับภาระนี้ไปน่ะ ไม่ใช่ให้พระจะทำตลอด นี่สำคัญมาก เพราะไม่ฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นพระเนี่ยเข้าไปยื่นลึกหรือเลยมากเกินไปในขอบเขตของบทบาทของคฤหัสต์
(4)
คนฟังถาม เข้าข่ายคลุกคลีใช่ไหมครับ
พระตอบ คลุกคลีนี่ก็ยังต้องระวังอยู่แล้วนะ ถึงแม้ไม่คลุกคลีก็ต้องระวัง ยังไม่ถึงขั้นคลุกคลีกก็ต้องระวัง ว่าบทบาทอันใดควรจะเป็นบทบาทของพระบทบาทอันใดเป็นบทบาทของคฤหัสถ์ แต่ในเมื่อคฤหัสต์เนี่ยตกอยู่ในความประมาทมานาน เอาว่าอย่างนั้นน่ะ ปล่อยปละละเลยไม่ได้เอาใจใส่ ก็อยู่ในภาวะเสื่อมโทรมไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรทั้งนั้น จะเริ่มต้นยังไง พระมีความรู้เข้าใจดีกว่ามีเจตนาดีกว่าก็เข้าไปช่วย อย่างน้อยก็ดึงเขานำทางเขา ในตอนที่นำทางดึงเขาอาจจะต้องไปทำอะไรบางอย่าง เพื่อให้เขาได้รู้จักแล้วเขาก็จะได้เรียนรู้แล้วก็ทำ แต่เราจะตั้งใจไว้เลยว่า บทบาทเหล่านี้ เขาจะต้องการให้เขามารับไป เราก็ฝึกเขา พอเขาเป็นแล้วให้เขาจัดการ แล้ววางระบบแบบแผนขึ้นมา อันนี้สำคัญ มิฉะนั้นพระจะเพลินไปอยู่กับบทบาทที่เลยขอบเขตของตัวเองมากเกินไป เพราะเวลานี้การพัฒนาเนี่ยเป็นดาบสองคม มีทั้งแง่ดีและแง่เสีย
(5)
คนฟังถาม ไม่ดูว่าเราเป็นการรับใช้เขาใช่ไหม
พระตอบ เราต้องระวังอย่าไปรับใช้สิว่า นี่ถือว่าเป็นการทำของส่วนรวม ไม่ใช่รับใช้คฤหัสต์คนใดคนหนึ่งนี่ ทำเพื่อชุมชนทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ใจต้องตั้งไว้อย่างนั้น เพราะทำอย่างนี้แล้ว มันก็ทำกิจส่วนรวมและเราก็ฝึกบุคคลขึ้นมารับใช้ส่วนรวมอันนี้ใช่ไปม ไม่รับใช้ถ้าทำให้ถูกทำให้ดี คืออย่างไปถึงกับไปทำบทบาทที่ว่าไปเป็นคนของเขา ที่เขาจะใช้งานอย่างนั้นน่ะ
(6)
คนฟังถาม ไปทำแทนเลยใช่ไหมครับ ในลักษณะที่ว่า ไปทำแทนหน้าที่นั้นเลย คงไม่ใช่หน้าที่ของพระ
พระตอบ จะเรียกว่าทำแทนมันก็พูดยากนะ หมายความหน้าที่นี้ยังไม่มีใครทำ แต่เราไปริเริ่มขึ้นเพื่อให้งานเป็นไปได้ถ้าไม่มีการทำงานอันนี้ ไอ้เรื่องของชีวิตดีงามของเขา ประโยชน์ส่วนรวมของเขามันก็ไม่เกิดแล้วก็เลยต้องไปเริ่มให้ แล้วก็ไปสอนเขา นี่ฉันทำให้ดูนะบอกแนะนำเอาไว้ไปก่อน การชี้แจงพูดให้เข้าใจชัดเจนอย่างนี้มันก็ทำให้มันมีความกระจ่างในเรื่องของขอบเขตของบทบาทใช่ไหม เขาจะมาเข้าใจเราไม่ได้ไปรับใช้เป็นอันขาด
(7)
คนฟังถาม ไม่ ผมหมายถึงว่า คือ พวกคฤหัสต์จะไม่ทราบวินัยข้อนี้ แต่หมายความพระกันเองจะไม่ปรับ น่ะครับ ว่าถ้าจะทำแบบนี้ก็พระองค์นี้ไปรับใช้ชุมชนนี้เพื่อ
พระตอบ ก็ต้องทำอันนี้ให้ชัดว่า เรานี่กำลังนำประชาชนเพื่อไปสู่จุดหมาย บทบาทนี้ของพระเป็นการทำบทบาทประชาชนไปสู่งานของเขาที่เขาจะต้องรับทำต่อไปใช่ไหม ไม่ใช่ว่ากลายเป็นผู้ไปทำให้เขา ถ้าอย่างนั้นเขาก็เอาได้ใช่ไหม เลยกลายเป็นว่า นี่ท่านไปรับใช้เขาแล้ว ต้องให้ชัดในเรื่องความเป็นผู้นำทาง พระเป็นผู้นำนี่ใช่ไหม นำในเรื่องสติปัญญา นำเรื่องจิตใจ ก็ให้ความรู้ความเข้าใจพัฒนาเขาขึ้นมา
เอ้า มีอะไรบ้างครับ
(8)
คนฟังถาม เอ้าอย่าพระไปเห็นชาวบ้านเขาทำทางก็ทำด้วย ใส่สบงใส่เสบียงแบกหามรวมเข้ากัน
พระตอบ เนี่ยมันออกจะเลย ๆ ไป ต้องระวัง
(9)
คนฟังถาม ที่ผมไปปฏิบัติอยู่ก็คือผมจะสอนวินัยว่า อย่างบางทีญาติโยมทีเข้าไปให้ช่วยผมปลูกต้นไม้อะไรนี่ ผมก็บอกว่า ที่จริงพระนี่ จะกินอะไรก็ไม่ได้ เพราะถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ มันก็ไม่มีต้นไม้ โยมอยากได้ต้นไม้ ก็เคลียให้เป็นป่าต้องช่วยกัน พระเองทำไม่ได้ ก็บอกเขาให้ชัด
พระตอบ ก็บอกเขาให้ชัด คือพระเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาน่ะ ไม่ต้องไปทำอะไรหรอก ไปนั่งอยู่เท่านั้นแหละ ประชาชนมีกำลังมาทำงานทำการมาขุดถนนมาทำอะไร ๆ ท่านก็เพียงมานั่งเป็นประธานให้ใช่ไหมครับ