แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
นี่คุยกันไป ก็เอาเป็นว่าสบายๆ ใครมีคำถามอะไรก็มาถามกันนะฮะ มีไหม ถามสบายๆไม่ได้ถือเป็นหลักเป็นฐานอะไรนะ
มีคำถามหนึ่งครับ
อ้าวมา
ก็เอ่อ ที่เรียนมาเนี่ยจะมองเห็นว่าเป็นพระเนี่ยเป้าหมายสูงสุดก็คือนิพพาน ที่นี้เนี่ยก็เลยอยากจะถามว่า สำหรับฆราวาสเนี่ยมีเป้าหมายไหมครับ เป้าหมายสูงสุด
คือท่านก็จัดให้แล้วนี่ ก็เป้าหมายเนี่ยศัพท์บาลีก็ใช้ว่า อัตถะ อัตถะน่ะแปลว่าประโยชน์ก็ได้ จุดหมายก็ได้ ได้ทั้งสองอย่าง เพราะว่าประโยชน์ก็เป็นสิ่งที่คนมุ่งจะเอา เพราะฉะนั้นประโยชน์มันก็เลยมาเป็นจุดหมาย ที่นี้ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายเนี่ย อ่า คงจะเคยได้ยิน ท่านก็จัดไว้สองแบบ ก็ใช้คำไทยว่าแบบระนาบนะหรือแนวราบ แล้วก็แบบแนวตั้ง แนวดิ่งนะ ก็แยกได้เป็นอย่างละสาม เป็นชุดนะ อัตถะ 3 เดี๋ยวขอแทรกนิดนึง คือตอนแรกๆเดิมๆเนี่ย พระพุทธเจ้าจะจัดตัดคู่กันเป็นอัตถะ 2 อันนี้มันง่ายจะพบทั่วไป อ่ะคือว่าคนเราอยู่กันเนี่ย ยังไงยังไงก็ให้ทำอัตถะ 2 อัตถะ 2 ประโยชน์ 2 ก็คือ อัตตัตถะ ประโยชน์ตนนะ แล้วก็ปรัตถะประโยชน์ผู้อื่น คู่กันไปให้ทำทั้งสองอย่าง อีกทั้งตรัสที่จริงมีอีก พุทธเจ้าตรัสตอนแรก แต่บอกว่าไม่เบียดเบียนตนไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ เอาทางลบ ไม่เบียดเบียนตนไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทำอะไรก็ เอ่อ อย่าให้เบียดเบียนตน อย่าให้เบียดเบียนผู้อื่น นี่ก็ต่อมาก็ให้ดีขึ้นเป็นอัตตัตถะปรัตถะ ให้ได้ทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น แต่คำว่าประโยชน์ตนในที่นี้น่ะ ท่านไม่ได้มุ่งไปที่ไอ้พวกข้าวของอามิสอะไรเท่าไหร่หรอก แต่ท่านก็ถือ ท่านก็ถือว่าอันนั้นก็ใช่ แต่ว่าอย่าไปจบแค่นั้นนะ คนมักจะมองประโยชน์ตนแค่ผลประโยชน์ที่ได้ ลาภนะ วัตถุทรัพย์สินเงินทองมองแค่นั้น ทางพระนี่ถือว่าประโยชน์ตนมีหลายระดับ เดี๋ยวเราจะไปแบ่งอีกทีนี่แหละ นี่ๆ นี่ตอนนี้กำลังพูดถึงแนวนอน แนวราบ ระนาบ เอ้า ประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ตนนี่สำคัญก็คือประโยชน์ที่มันเข้าถึงเนื้อตัวของชีวิต ไม่ใช่อยู่แค่เปลือกนอก อย่างที่เคยเล่าแหละทรัพย์สินเงินทองคิดกันไป ก็ไปๆมาๆไปติดสมมุติ โอ้ เพชรนี่มีราคามากเป็นประโยชน์ตนสูงมากใช่ไหม ได้มา เคยเล่าเลยบอกว่าไปติดเกาะเรือแตก กินไม่ได้ใช่ไหม ตอนนั้นข้าวจานนึงมีราคากว่าเพชรอีก ใช่ไหม เพชรไม่มีความหมายเลย ไอ้เนี่ยประโยชน์ตนที่แท้อย่างน้อยมันเข้าไปเป็นเนื้อตัวชีวิตได้ ตอนนั้นอาหาร ข้าวจานก็เป็นประโยชน์ตนมากกว่าเพชรใช่ไหม ทีนี้ประโยชน์ที่มันจะเป็นเนื้อแท้ก็คือ ประโยชน์แก่ชีวิตลึกกว่านั้น ความสามารถ ปัญญา จิตใจที่ดีงามมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น มีความเพียร มีความเข้มแข็งอะไรต่างๆ มีสติ มีสมาธิอะไรพวกนี้นะ อ่า โดยเฉพาะก็ปัญญา นี่แหละครับประโยชน์ตนที่แท้ใช่ไหม ไม่ใช่อยู่แค่วัตถุ นี้ก็เวลาพูดถึงประโยชน์ตนนะ ไอ้ประโยชน์ตนขั้นต้นน่ะ พอเราคู่กันอัตตัตถะปรัตถะ ประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นเนี่ย ถ้าเป็นประโยชน์ขั้นอามิสวัตถุ มันมีทางขัดกันมากใช่ไหม เป็นข้าวของวัตถุภายนอก ของในโลกมันมีจำกัด แล้วบางทีใจตรงกันอยากได้ของเดียวกันแย่งชิง อันนั้นก็อัตตัตถะในแง่ระดับพวกวัตถุอะไรต่างๆภายนอกก็เป็นปัญหาได้ แต่พอไปสูงขึ้นไป สูงขึ้นไปนี่จะประสาท พอลึกเข้าไปเป็นประโยชน์ตนที่แท้ พัฒนาสติปัญญา พัฒนาคุณธรรม พัฒนาจิตใจ แค่พัฒนาจิตใจ จิตใจดีขึ้นก็รักคนอื่นแล้วใช่ไหม เอ่อ เมื่อตอนนี้มันไม่ทะเลาะกันแล้ว มันไม่ขี้เกียจเบียดเบียนกันแล้ว มันกลายเป็นดีไปเลย ประโยชน์ตนกลายเป็นเอื้อประโยชน์ผู้อื่น ทั้งนั้นท่านก็ให้ทำประสาน แล้วก็ให้เข้าใจความหมายประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นนั้นมันลึก ให้มันตลอด ให้มันครบ ให้มันทั่ว ให้มันสมบูรณ์หน่อย เอ้า ประโยชน์ตนก็เป็นอันว่า อย่ามองแคบๆนะ ประโยชน์ตนก็คือ ที่แท้ก็คือการพัฒนาชีวิตของเราให้ดีขึ้น ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ ทั้งพฤติกรรม ทั้งจิตใจ ทั้งปัญญา พัฒนาขึ้นไปนี่แหละประโยชน์ตนที่แท้ พัฒนาขึ้นไปเถอะ
ทีนี้มันก็จะไปประสานว่าประโยชน์ผู้อื่น เออ เราอยู่เนี่ยเราก็ทำทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นนะ ประโยชน์ผู้อื่นก็ขั้นแรกก็เหมือนกันแหละ ก็คือวัตถุสิ่งของ คนเขาก็ต้องกินต้องอยู่ เพราะงั้นก็อยู่ มีชีวิตอยู่ไม่ได้ ก็ต้องช่วยเหลือกันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ท่านจึงสอนทานเป็นข้อแรกในพุทธศาสนา นี่สอนทานเป็นข้อแรกเพราะเนี่ยประโยชน์ผู้อื่นจะต้องมาที่ทาน คนเราต้องมีชีวิตอาศัยวัตถุ เมื่อนั้นท่านก็เน้นว่าคนจะเอาท่าเดียวก็ให้ทานบ้าง ให้บ้างนะ นี่ก็เราก็บำเพ็ญประโยชน์ตนอันแรก วัตถุก็ต้องเอา ก็ต้องนึกถึงคนอื่น ทานให้เขาบ้างนั่นก็คู่กันไปละ ใช่ไหม เริ่มปรัต อัตตัตถะประโยชน์ตน ปรัตถะประโยชน์ผู้อื่นก็คู่แหละ เริ่มตั้งแต่ต้นเลย อย่าเอาอย่างเดียวนะให้เขาบ้าง ว่างั้นนะฮะ นี่ต่อแต่นั้นก็พัฒนาตนไป ก็ให้เขานี่พัฒนาตนแหละ เออ พัฒนาจิตใจดีขึ้น มีเมตตาอะไรขึ้น มีความสุขจากการรักผู้อื่น ให้เขาช่วยเขาให้มีความสุข ก็เลยกลายเป็นว่า ยิ่งเจริญขึ้นไปในการทำประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ตนก็ยิ่งเจริญใช่ไหมนะ เพราะฉะนั้นสองอย่างนี่มันคู่กัน อัตตัตถะปรัตถะ เพราะนั้นพระพุทธเจ้าจะตรัสเน้นอยู่เสมอ ให้มันเป็นอัตตัตถะปรัตถะและให้ทำได้ทั้งสองอย่าง นี้พอท่านจะพูดให้ทีเดียวสอง ก็ท่านจะต่ออันที่ สามเรียกว่าอุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทำอะไรบางอย่างเนี่ยมันได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย อันนี้ไม่ต้อง???บรรยายละ ก็เป็นอันว่าตอนแรกก็มีคู่อัตตัตถะปรัตถะประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น นี้ท่านก็เติมอุภยัตถะ เอาอีกตัวเพราะว่าประโยชน์สองฝ่ายนะ ก็เป็นสามใบ แต่ว่าอย่าลืมว่าไอ้ตัวหลักแท้ๆก็อัตตัตถะปรัตถะเนี่ยแหละ ประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น สองอันนี้พุทธเจ้าจะเน้นเสมอ
เอาละนะครับนี่แนวราบนะ เป็นอันว่าเอาสองก็อัตตัตถะปรัตถะ ประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น เอาสามก็อัตตัตถะ ปรัตถะ อุภยัตถะ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย คราวนี้คฤหัสถ์ก็ต้องเห็นนะ พอจะเห็นไหมว่าต้องใช้ได้ ใช้ได้ไหม ใช้ได้ไหมท่านที่ถามอ่ะ เรื่องประโยชน์เนี่ย ใช้กับคฤหัสถ์ได้ไหม ที่พูดเนี่ยเรื่องประโยชน์น่ะ ได้นะฮะ นะฮะก็มันเรื่องของชีวิตมนุษย์นั่นแหละ ไม่ว่าเป็นพระเป็นโยมก็ต้องใช้หลักเดียวกันนี่แหละนะ เอ้าทีนี้ อันนั้นพูดกว้างๆไปก่อนนี่เป็นแนวราบ หมายความคนเรานี่จะต้องพัฒนาแนวนี้นะ เพราะนั้นแม้จะไปทำกิจการงานอะไร ดำเนินกิจการเป็นส่วนตัว ครอบครัว จนถึงสังคมประเทศชาติ จะโลกมันก็ต้องอยู่ในหลักนี้นะ นี้แนวราบแล้วทีนี้ก็ไปแนวดิ่งแนวตั้งนะฮะ นี้ท่านก็แบ่งอีก เอาอัตถะประโยชน์หรือจุดหมาย แนวตั้งเนี่ยให้มองเอาแนวราบมามาดูอันนี้ด้วย ไม่ว่าประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นเนี่ย อ่ะ มันก็มีทั้ง 3ขั้นเหมือนกัน แล้วมันก็หลักเดียวกันนั่นแหละ เราต้องการอะไร คนอื่นเขาก็เป็นชีวิตเขาก็ต้องการอย่างนั้น ใช่ไหม ไอ้แนวตั้งอันนี้ก็จะใช้ได้ทั้ง อัตตัตถะ ปรัตถะ หมายความทั้งอัตตัตถะ ทั้งปรัตถะ นั้นก็ไปแยกเป็น 3 ขั้นเหมือนกัน ท่านก็แบ่งให้เป็นสาม แต่สมัยพุทธกาลตอนต้นๆ พุทธเจ้าก็ตรัสเน้นอยู่แค่สองนะ คล้ายๆว่าแนวราบก็สอง แนวตั้งก็สองเหมือนกันนะ นี้ก็มาจัดเต็มก็จะแยกเป็นอย่างละสาม อย่างละสาม นี่คืออันที่สามเนี่ยไม่ค่อยจำเป็น มันทำให้จำยากขึ้น ถ้าสองมันจำง่ายดี แล้วก็เอาอันที่สองเนี่ย พอถึงสองแล้วไปคลุมไปถึงสามได้ด้วยนะ แต่ทีนี้ว่าถ้าจะจัดให้เต็มก็เอา จะได้เป็นเครื่องเตือนใจให้รู้ว่าอย่าลืมมองในแง่นั้นด้วย
นี้แนวตั้งก็มีสาม ก็เริ่มท่านก็ได้เรียนกันมาแล้วนะ แต่ไม่รู้จะเรียนได้ตรงหรือเปล่า ก็คือแนวตั้งข้อที่ 1ขั้นแรก เรียกว่าประโยชน์ปัจจุบัน เคยได้ยินใช่ไหมนะ ก็เรียกเป็นภาษาพระว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะนะ ก็ประโยชน์อันเป็นไปในทิฏฐธัม ทิฏฐธัม ทิฏฐะแปลว่าเห็นเหมือนกับทิฐิ ทิฏฐะมาเป็นทิฐิ ทิฏฐะเป็นคุณศัพท์ หรือ adjectives ทิฐิมันเป็น noun นะ ทิฏฐะก็เป็นคุณศัพท์ แล้วก็ธรรมะก็ธรรมะอันนี้แหละ ธรรมะก็แปลว่าอะไรได้ทุกอย่าง ธรรมะนี่กว้างที่สุด ธรรมะว่าเรื่องก็ได้ง่ายๆ สิ่งก็ได้ เรื่องที่มองเห็นนั้นเองนะ ทิฏฐธรรม เรื่องที่มองเห็น ก็ถ้าเป็นกาลเวลาก็ปัจจุบัน บางทีก็หมายถึงชาตินี้ทั้งชาติ ยังมองเห็นกันอยู่นะเรียกว่าทิฏฐธรรม ก็เลยแปลว่าทิฏฐธรรมว่าชาตินี้นะฮะ ชาติปัจจุบัน หรือบางทีก็มุ่งหมายถึงเรื่องที่มองเห็นนะ อะไรต่ออะไรที่เรามองเห็นเนี่ย วัตถุสิ่งของ ข้าวของ เครื่องใช้เงินทอง เนี่ยเรื่องมองเห็นทั้งนั้นเนี่ยนะฮะ ที่นี้ประโยชน์ในขั้นที่เป็นทิฏฐธรรมะก็คือ ประโยชน์ขั้นมองเห็น ประโยชน์ตาเห็น ประโยชน์ที่ทันตาหรือตาเห็น ถ้าทันตาแล้วก็แปลไปว่าปัจจุบัน ถ้าตาเห็นก็หมายความว่าของพื้นๆนะฮะ แปลได้ทั้งสองอย่าง ทิฏฐธัมมิกัตถะ ทิฏฐธรรมประโยชน์ปัจจุบันประโยชน์ทันตา ก็เป็นขั้นต้นที่ทุกคนควรจะได้ทำให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะคฤหัสถ์เนี่ยจะอยู่ที่ทิฏฐธัมมิกัตถะมาก เพราะเป็นประโยชน์พื้นฐานของชีวิต จุดหมายขั้นต้นก็เริ่มคือมาที่แรก พระพุทธเจ้าก็ตรัสเงินทอง แสวงหาทรัพย์สินอย่างน้อยให้พึ่งตัวเองได้ในทางเศรษฐกิจ ก็ตนก็ควรจะมีตนเป็นที่พึ่ง พึ่งตนได้แล้วจะได้สามารถไปช่วยเหลือเกื้อกูลทำประโยชน์อะไรได้ ถ้าเราพึ่งตนยังไม่ได้ก็แย่ ไม่เช่นนั้นก็ ท่านก็เน้นเรื่องนี้เอาขึ้นมาแลกประโยชน์ปัจจุบัน ทิฏฐธัมมิกัตถะและประโยชน์เรื่องตาเห็นก็คือเรื่องทรัพย์สินเงินทอง อ้าว เพราะงั้นก็เลยต้องหาเงินหาทองไว้ให้มีใช้ พึ่งตนเองได้นะ ก็ประกอบการงานอาชีพโดยสุจริต หรือตอนนี้ก็นี่แหละก็แยกไปเถอะ ขั้นที่ 1 นี่ แค่อันนี้ท่านก็ไม่รู้ว่าขยายความไปได้เท่าไหร่แล้วนะ แค่เรื่องเงินทองเรื่องเดียวเนี่ย ธรรมะก็มากันพรั่งพรูหมดแหละนะ ใช่ไหมนะ อย่างคฤหัสถ์ก็มีอะไร เนี่ยพอขึ้นมานี่ก็ท่านก็เรียนในนักธรรม??? ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ปัจจุบันน่ะ ถ้าในหนังสือเรียนธรรมะนวโกวาทคงจะผ่านแล้วมั้ง ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 ใช่ไหมฮะ อันนั้นก็ชวนให้เข้าใจผิด คือบาลีนะ ทิฏฐธัมมิกัตถะ ไอ้ประโยชน์น่ะเป็นคำแปล ทีนี้เราไปเรียกเป็นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ไปนะ ก็เรียกลิ้นไทยก็สะดวกดี ความจริงไอ้คำว่าประโยชน์น่ะเป็นคำแปลของคำว่าอัตถะนั่นเอง อัตถะแปลว่าประโยชน์ ฉะนั้นบาลีไม่มีหรอกทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ บาลีท่านมีแค่ทิฏฐธัมมิกัตถะ ในพระบาลีเนี่ยหลักธรรมชุดนี้ที่เรามาเรียกกัน ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4เนี่ย บาลีท่านบอกว่าธรรมะ 4 ประการ เป็นไปเพื่อทิฏฐธัมมิกัตถะ ว่างั้นเข้าใจนะ ธรรม 4 ประการก็คือหลักปฏิบัติ 4 ข้อต่อไปนี้ ธรรม 4 ประการอันนั้นเรียกว่าธรรม 4 ข้อนั่นแหละ 4 ข้อนั้นเรียกว่าธรรมนะ คือข้อปฏิบัติและก็เป็นไปเพื่อนะ ถ้าบาลีก็บอกทิฏฐธัมมิกัตถายะ สังวัตตันติ บาลีว่างั้น เป็นไปและก็เพื่อทิฏฐธัมมิกัตถะ อันนั้นทิฏฐธัมมิกัตถะก็เป็นจุดหมาย ในที่นี้ก็เน้นแต่ในแง่เงินทอง ยังไม่จบเท่านี้ ทิฏฐธัมมิกัตถะไม่ใช่มีแค่ที่ 4 ข้อ ที่เราเรียนนักธรรมตรี ยังมีอีก อันนี้แค่ในแง่เงินทองนะ ก็มีว่าอุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร อะนี่เห็นไหมเป็นคฤหัสถ์ก็ต้องขยันนะฮะ ท่านไม่ได้อธิบายแค่ขยันหรอกนะ ขยันหมั่นเพียร มีความสามารถ ใช้สติปัญญาในการประกอบการเลี้ยงชีพ หาเงินหาทอง แต่ว่าจะใช้สติปัญญาก็ต้องหมั่นขยันด้วยเหมือนกันนะฮะ ขยันหมั่นเพียรรู้จักคิด รู้จักจัดการหาเงินหาทอง ก็???กันแล้วก็คืออยู่ในฝ่ายภาคปฏิบัติหาเงินนั่นแหละ อุฏฐานสัมปทา ต่อไปก็ อารักขสัมปทาถึงพร้อมด้วยการรักษาใช่ไหม อ่า ก็อันนี้ก็ว่าไป มีความไม่ประมาท รู้จักจัด รู้จักแบ่งทรัพย์ เก็บทรัพย์ยังไงจึงจะไม่สูญหายไม่เสียเปล่าอะไรต่างๆ
แล้วต่อไปก็ไปนู่น กัลยาณมิตร อ่ะสมชีวิตาใช่ไหม เลี้ยงชีพพอเหมาะพอสม ให้ให้สมกับทุนรอนที่มีนะ ทุนสมกับกำลังของตัวนะ ไม่ให้รายจ่ายเกินรายได้นะฮะ เน้นจุดนี้เน้นว่าไม่ให้รายจ่ายเกินรายได้ อ้าวที่นี้ก็เอาสั้นๆต่อไป ก็บอกกัลยาณมิตตตาใช่ไหม พอมีเพื่อนดี ถ้าเพื่อนไม่ดีแล้วก็อาจจะพากันไปเสียหาย เราเองหาเท่าไหร่ก็เสียหมดนะ เช่น ไปชวนกันไปอบายมุข แต่ถ้ามีกัลยาณมิตร รู้จักไปหาคนที่มีสติปัญญาเป็นที่ปรึกษา มีเรื่องมีราวขัดข้องในการประกอบอาชีพก็ไปปรึกษาหาความรู้ หาวิธีแก้ปัญหาอะไรต่างๆนะ กัลยาณมิตรนี่ไม่ใช่หมายความเฉพาะเพื่อนระดับเดียวกันน่ะ เป็นครูอาจารย์ เป็นผู้ใหญ่ เป็นอะไรต่ออะไรได้ทั้งนั้น ก็ต้องหากัลยาณมิตรนะ รู้จักหาคนที่จะเป็นแหล่งที่จะช่วยให้เราเนี่ยก้าวหน้าได้นะ ใช้สติด้านสติปัญญาหรือด้านอะไรก็แล้วแต่ แม้แต่ด้านทุนรอน รู้จักแหล่งทุนที่จะเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ตัวเองด้วย อะไรอย่างนี้ นี่ก็ตัวอย่าง นี่ก็หมายว่านี่ทิฏฐธัมมิกัตถะที่ต่อว่าประโยชน์ 4 ประการนะ นี่ก็เป็นด้านทรัพย์ มุ่งไปที่ทรัพย์แล้วมันโยงไปทางอื่น แล้วยังมี ท่านยังตรัสอีกบอกว่า อ้าวได้ทรัพย์มาแล้ว รู้จักจัดวางแผนนะ จัดทรัพย์เป็น 4 ส่วน นี่ๆในพุทธกาล เคยได้ยินไหมฮะนะ อ่าส่วนหนึ่งทำไง ส่วนหนึ่งก็เอามาเลี้ยงชีพนะ เลี้ยงดูคนในปกครอง คนในความรับผิดชอบให้เป็นสุขนะ และอีกส่วนหนึ่งทำไง เก็บไว้นะเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ยามจำเป็นอะไรต่างๆและอีก 2 ส่วนนะฮะ ใช้เป็นทุนประกอบการอาชีพใช่ไหมนะ อันนี้เป็นตัวอย่างหมายความว่ารวมแล้วก็คือหลักการ หมายความรู้จักวางแผนการใช้ทรัพย์ให้ดี ไม่ใช่ปล่อยเรื่อยเปื่อย อันนี้ควรจะเน้นเรื่องเป็นคฤหัสถ์แล้วต้องวางแผนการใช้ทรัพย์ให้ดี เพราะว่าทรัพย์นี่มันเป็นฐานเลย ถ้าเราพึ่งตัวเองไม่ได้ทางทรัพย์แล้ว มันทำให้ทุกข์ แล้วไปทำอะไรอื่นไม่สะดวก จะก้าวจะหน้าอะไรแต่มันก็กังวลห่วงใยไปหมด พอฐานทางนี้มั่นคงแล้วที่นี้ก็เดินหน้า เพียงแต่ใช้ให้มันถูกทาง อย่าไปใช้ผิด อย่าไปใช้ในทางเบียดเบียนกัน นี่ก็เป็นทิฏฐธัมมิกัตถะเนี่ยยังอีกเยอะ ความสุขของคฤหัสถ์ 4 อะ มีอะไรอีกนะ สุขจากมีทรัพย์นะ สุขจากอัฐิ บาลีท่านเรียกว่าอัฐิสุข สุขในความมีทรัพย์และสุขอะไร สุขในการใช้จ่ายทรัพย์บริโภคใช่ไหม เรียกว่าโภคสุขนะ ต่อไปอะไร สุขจากไม่เป็นหนี้อะ ไม่เป็นหนี้ อนณสุข แล้วก็สุขอะไรใครจำได้บ้าง สุขจากอะไร อ่อฮะ สุขทางในตำรา ท่านบอกว่าสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษว่างั้นใช่ไหมฮะ ประกอบการงานปราศจากโทษ อาชีพสุจริตก็ดีแล้ว แต่ในพระบาลีเองที่จริงท่านกว้างกว่านั้นนะฮะ ท่านบอกว่าสุขเกิดจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ปราศจากโทษ ทั้งกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หมายความเราดำรงชีวิตอยู่ได้ดีมีความสุจริต ไม่มีเวรภัยอะไรกับใคร สบายนะ แล้วใจเราก็สบาย ว่าเราได้ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ไม่เป็นผลเสียหาย ไม่มีการเบียดเบียนอะไรต่างๆเป็นต้น อันนี้ก็เป็นเรื่องของเน้นในแง่ทิฏฐธัมมิกัตถะแง่ที่ 1 นะ เน้นนี้ยังอยู่ในทิฏฐธัมมิกัตถะแยกเป็นหลายอย่าง
อ้าว ทิฏฐธัมมิกัตถะด้านที่ 2 ก็ด้านอะไรเอ่ย ด้านทรัพย์แล้วก็ต้องด้านสังคมใช่ไหมนะฮะ ด้านสังคมนี่ก็สำคัญใช่ไหมฮะ หมายความว่าถ้าเป็นตัวเอง ก็รู้จักประกอบอาชีพการงานให้เจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นทหารก็ได้มียศใช่ไหมนะ เจริญขึ้นไปน่ะ มีตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ มีเกียรติในสังคม อย่างน้อยปฏิบัติตนให้ดีให้เป็นที่ยอมรับในทางสังคม ไม่ให้สังคมเขาดูถูกดูหมิ่นได้นะ อันนี้เราอยู่ในสังคมเราก็ต้องรู้ทัน ท่านเรียกว่าสมมุติ รู้ทันสมมุติเขาอยู่กับสมมุติ เราก็ปฏิบัติต่อสมมุติอย่างรู้เท่าทันไม่หลง แต่ว่าต้องใช้ให้เป็น ก็เป็นอันว่าด้านที่ 2 ก็คือด้านสังคม ต้องเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคมนะฮะ ก็เจริญก้าวหน้าไป ตำแหน่งหน้าที่เกียรติยศอะไรก็ว่าไป อย่างที่ว่าเมื่อกี้ เอ้า นี่ก็ทิฏฐธัมมิกัตถะ
เอ้า 3 อะไร เออเฮอะ ครอบครัวไง ถ้ามีครอบครัว ถ้ามีครอบครัวก็ดูแลครอบครัว มีลูกก็เลี้ยงลูกให้ดี มีทำหน้าที่อย่างน้อยก็ตามหลักในทิศ 6 อ่ะ ใช่ไหม เออปฏิบัติหน้าที่ต่อสามีภรรยา ต่อบุตรธิดา ต่อบิดามารดาอะไรต่ออะไรให้ดีนะ อันนี้ในทิศ 6 น่ะ มันก็คลุมไปเรื่องสังคมในข้อ 2 ด้วย ในด้านที่ 2 ด้วย อันนี้ก็มาเรื่องครอบครัวก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมใช่ไหมฮะ เป็นส่วนฐานของสังคมเลย ครอบครัวหมายความลงลึกไปอีก ครอบครัวทั่วไปแล้วอย่าไปลืมครอบครัวที่เป็นหน่วยใหญ่ เอ้ย หน่วยแกนไม่ใช่หน่วยใหญ่ หน่วยแกน ครอบครัวทำให้ดีซะนะ โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้รับผิดชอบครอบครัวก็ดูแลบุตรธิดาเนี่ยให้ดี อันนี้ท่านถือเป็นหลักสำคัญ ทำหน้าที่เป็นพระพรหม พฺรหฺมาติมาตาปิตะโร นะเป็นพรหมของลูก มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาให้ครบ มีสังคหวัตถุ 4 แยกไปได้เรื่อยๆแหละว่าไปไม่รู้จักจบนะ เป็นอันว่า เอาละเอาเรื่องครอบครัวว่าทำให้ดีนะฮะ เรียกว่าดูแลครอบครัวของตัวเองให้อยู่กันดีมีความเป็นสุขและให้ลูกได้เจริญงอกงาม
สามด้านแล้วทิฏฐธัมมิกัตถะอะไรอีก อะไรฮะ ยังๆตอนนี้ ตอนนี้เอาทุกตัวนี่แหละ เอาที่ตัว มุ่งที่ตัวแล้วตอนนี้ ไง ฟังไม่ชัด สุขภาพ อันนี้ผมเสียเลย เออ สุขภาพถ้าเป็นคฤหัสถ์นี่สำคัญนะ คฤหัสถ์สำคัญ สุขภาพนี่มันช่วยให้อะไรต่ออะไรอื่นเป็นไปได้ ไม่งั้นการหาเงินหาทอง สังคมอะไรต่ออะไรพลอยแย่ไปหมด อ้าวสุขภาพร่างกายก็เป็นด้านที่ 4 ของทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ที่เป็นเรื่องตาเห็นของกันนะ ก็ต้องดูแลรักษาร่างกายให้ดีมีสุขภาพนะ อย่างพุทธเจ้าตรัสก็มีเรื่องมาในพระไตรปิฎกนี่ตรัสกับพระเจ้าแผ่นดินเลยนะ พระเจ้าปเสนทิโกศลนะ ตามพระสูตรนี้แสดงว่าทรงพระอ้วน เออ เวลาเสด็จมาเฝ้าพุทธเจ้าละทรงประทับนั่งอึดอัด นะคนอ้วนมากๆเนี่ยนั่งไม่สบาย แล้วทีนี้ทรงทรงเสวยจุซะด้วยนะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยจุ ก็เป็นจุนั่นแหละทำให้อ้วนล่ะนะ วันหนึ่งก็คงจะเสวยมาใหม่ๆมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พุทธเจ้าทรงสังเกตเห็นพระเจ้าปเสนทิโกศลนี่นั่งอึดอัด ก็เลยตรัสเป็นคาถาขึ้นมา ใจความก็คือว่าถ้ามีสติและก็จะใช้คำว่ายังไง จะเสวยพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตรัสกับพระเจ้าแผ่นดินโดยตรง คือตรัสคล้ายๆเป็นหลักธรรมกว้างๆ คล้ายๆว่า เอาละ รับประทานให้พอเหมาะพอดีนะ ก็จะแก่ช้าอายุยืนอะไรต่างๆอ่ะนะ ก็รวมความก็คือว่าให้รู้จักประมาณ ไม่มีคำนี้ด้วยว่ารู้จักประมาณในการบริโภค สาระสำคัญก็คือรู้จักประมาณในการบริโภค พุทธเจ้าก็ตรัสคาถาสาระอันเนี้ย พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบ พระพุทธเจ้าเตือนพระองค์นะ ทรงดีใจมากนะ ไม่ได้ถือไม่ได้ว่า โอนี่พุทธเจ้ามาว่าเรา ก็ทรงหวังดีถ้าไม่เมตตากรุณาจะไปว่างั้นทำไมใช่ไหม ปรารถนาดีอย่างมาก พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดีพระทัยมาก รีบบอกจะเรียกว่าอะไรราชวัลลภน่ะ หลานเป็นหลานของพระองค์เอง คนสนิทแต่ว่าเดี๋ยวนี้เป็นหลานด้วยติดตามพระองค์มา บอกนี่ๆเธอจำไว้นะ ว่างั้นนะ จำคาถาที่พุทธเจ้าตรัสนี่ไว้แล้ว เวลาเราจะเสวยพอตักข้าวช้อนที่หนึ่ง อย่าให้ข้าวถึงปากนะ ว่าก่อนเลยว่างั้น หมายความว่าเตือนสติก่อน ก่อนเริ่มใช่ไหม จะได้ยั้งไว้นะ พอจะเสวยนี่พอเห็นพระกระยาหารเอร็ดอร่อย ก็จะลืมใช่ไหมฮะ พอจะเสวยเท่านั้นแหละ คาถามาก่อนเลยนะ คาถามาก่อนพระองค์ก็ยั้งสติได้ ทีนี้ก็เสวยโดยมีสติ ที่ว่าให้รู้จักประมาณในการบริโภค นี่เรื่องอาหาร นี่เป็นที่สำคัญของสุขภาพใช่ไหมฮะนะ เรื่องอื่นก็ว่ากันต่อไป แต่ว่ารวมความนี้เป็นตัวอย่าง และต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลตามพระสูตรก็เล่าต่อว่าพระองค์ก็กระปรี้กระเปร่าขึ้น เมื่อทรงกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาวันหนึ่ง พระองค์ประทับอยู่องค์เดียวในที่สงัด พระองค์แลพระองค์เองแล้วรู้สึกพระองค์ว่ากระปรี้กระเปร่าขึ้น ก็เลยระลึกไปถึงพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ก็เลยตรัสกับพระองค์เองว่า เนี่ยพระพุทธเจ้าเนี่ยทรงมีพระทัยปรารถนาดีแก่เรา ไม่ได้สอนเฉพาะสัมปรายิกัตถะ อันนี้ยังไม่ได้พูดถึง ทรงสอนแม้แต่เพื่อทิฏฐธัมมิกัตถะแก่เราด้วยว่างั้น เอาล่ะครับ หมายความว่าคนทั่วไปก็นึกว่าพุทธเจ้าเนี่ยจะสอนแต่เรื่องธรรมะลึกๆ ไปเข้าปฏิบัติ ไปกรรมฐาน ไปอะไรนั่นใช่ไหม อันนี้พุทธเจ้าตรัสแม้แต่เรื่องสุขภาพ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงเข้าพระทัย โอนี่พระพุทธเจ้าปรารถนาดี สอนธรรมะนี่ก็เพื่อทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เรื่องตาเห็น เอานะครับ สุขภาพอันนั้นก็ไปขยายเอาเอง ก็หมายความว่า 4 ด้าน เป็นอันว่าที่ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายตาเห็นในเรื่องทั่วไปเนี่ยมีอะไรบ้าง เอ้าทวนกันอีกที แยกเป็น 4 ด้าน 1. ทรัพย์ 2. สังคม 3. ครอบครัว 4. สุขภาพ เอาล่ะ ใช้ได้ไหมคฤหัสถ์ ใช้ได้ต้องทำให้ได้เชียวแหละ นะคฤหัสถ์นะ แค่นี้ยังไม่ได้เขาจะว่าเอา ทางธรรมะว่าเลยนะ บอกว่าอะไรคุณ แค่ขั้นต้นขั้นที่ 1 ยังไปไม่ไหวเลยนะ ทิฏฐธัมมิกัตถะนะต้องเอาให้ได้เลยนะ เอาล่ะครับนี่ประโยชน์ขั้นที่ 1 เนี่ยเน้นคฤหัสถ์ นี่ก็ไปขยายเอาเถอะ
ต่อไปก็ขั้นที่ 2 ท่านเรียกว่าสัมปรายิกัตถะ ใครเคยได้ยินบ้าง เคยนะ สัมปรายะแปลว่าเบื้องหน้า เบื้องหน้าก็มาต่อจากทิฏฐธัม ทิฏฐธัมก็แปลว่าตาเห็น สัมปรายะก็แปลว่าเลยตาเห็นอย่างงั้นนะ ทิฏฐธัมมะแค่ตาเห็น สัมปรายะเลยตาเห็น เลยตาเห็นก็ หนึ่งไม่เห็นแน่ ก็โลกหน้างั้นนะ เพราะฉะนั้นสัมปรายะเนี่ยแปลทั่วไปก็แปลว่าโลกหน้านะ นี้เลยตาเห็นไปอีกด้านนึงก็คือด้านจิตใจใช่ไหม ด้านตาเห็นก็ด้านวัตถุ ด้านร่างกาย เลยตาเห็นก็ด้านจิตใจ ปัญญา เพราะนั้นระดับจิตใจ ระดับปัญญานี่เป็นระดับสัมปรายิกัตถะ เพราะจุดหมายที่เป็นประโยชน์ขั้นเลยตาเห็น ขั้นลึกลงไปคือขั้นล้ำเลยก็ได้ ล้ำลึกอะนะ ทั้งลึกทั้งเลยนะ ทั้งล้ำนะฮะ เอาละนี่ก็มาสัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เลยตาเห็นมันเรื่องจิตใจและปัญญาเนี่ยแยกอยู่สองตัว ที่นี้จิตใจนี่ต้องพัฒนาเยอะเลยตอนนี้นะ พุทธเจ้าก็ตรัสไว้เป็นชุดนึงเป็นคู่กับทิฏฐธัมมิกัตถะ เป็นสัมปรายิกัตถะ ก็ถ้าว่าเต็มก็เป็นว่าสัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เลยตาเห็น หรือเบื้องหน้า หรือรวมกันก็ได้ว่าธรรมะที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้าเลยตาเห็นว่างั้นนะ อ้า นี้เทียบพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นหลักทั่วไปก่อน เอา4 ก็ได้เอา 5 ก็ได้นะ ธรรมะชุดนี้พุทธเจ้าจะมักจะตรัสไว้คู่กันสำหรับคฤหัสถ์ คือทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ด้านนั้น ก็จะเน้นตาเห็นเรื่องวัตถุเรื่องรูปธรรมเห็นไหม เป็นรูปธรรมได้ทั้งนั้นแหละทิฏฐธัมมิกัตถะ พอสัมปรายิกัตถะมันเป็นนามธรรมแหละ ที่นี้สำหรับคฤหัสถ์ ธรรมะที่เน้นบ่อยเนี่ยก็มีอยู่ชุดนึงเป็นสี่ก็ได้เป็นห้าก็ได้ คฤหัสถ์นี้พุทธเจ้าจะเน้นชุดนี้ เราควรจะทำให้ได้ อุบาสกอุบาสิกาอะไรก็ควรจะมีนี้เป็นหลัก เออเราจะเอาไปเข้าชุดกับศีล 5 ก็ได้นะ อ้าวคุณมีศีล 5 แล้วก็มีธรรมะซะ 5 ด้วยสิว่างั้น อ้าวอะไร อย่างเป็นคฤหัสถ์ท่านบอกว่ามีความเจริญอย่างอาริยชนว่างั้นนะ ให้มีความเจริญอย่างอาริยชน อาริยชนไม่ใช่คุณมีแค่ทรัพย์ ให้มีเกียรติยศอย่างเดียวไม่พอหรอก อาริยชนต้องดีกว่านั้นนะ ก็ต้องมีทางด้านจิตใจและปัญญาเนี่ยเข้ามา เนี่ยชุดนี้ตรัสบ่อยเหลือเกิน เห็นไหมมาในเรื่องสัมปรายิกัตถะสังวัตตนิกธรรมก็ชุดนี้ด้วย
อ้าว บอกให้เลยท่างั้น มี 1. ศรัทธานะศรัทธาแปลว่าอะไรครับ แปลว่าอะไรนะฮะ เอาความเชื่อก็ง่ายๆดีนะ อ้าวต่อไปก็ 2. ศีล คฤหัสถ์ก็ต้องมีศีล มีศีลนะฮะ เอาง่ายๆถ้าถือว่ารู้กันแล้ว ต่อไปก็ 3. อะไรเอ่ย อ้าวลองทายสินะฮะ สุตะ อ่าท่านเคยเรียนแล้วนี่ตอนนั้น สุตะ ก็นี่แหละต้องรู้จักสดับตรับฟังข่าวสารข้อมูลนี่เป็นเรื่องแหล่งปัญญา แล้วรู้จักปฏิบัติต่อข่าวสารข้อมูลให้เป็น สุตะ ก็คือข่าวสารข้อมูล ภาษาปัจจุบันก็ใช้อย่างงั้นนะ ถ้าภาษาพระ สุตะก็ว่าสิ่งที่ได้สดับ แต่ก่อนนี้ก็เรื่องราวเป็นข่าวสารบ้าง ก็มาทางหูทั้งนั้นใช่ไหมนะฮะ ได้ฟังข่าวข่าวเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องที่ว่า ให้รู้จักหาสุตะแสวงหาไปคบหากัลยาณมิตร ไปคบหาสัตบุรุษ ไปคบหาปรึกษาครูอาจารย์ ไปหาความรู้ ไปเดี๋ยวนี้ก็มีหนังสือหนังหาละ ไปอ่านไปอะไรกันต่างๆหาสุตะ แล้วก็รู้จักใช้ข่าวสารข้อมูล พวกอินเทอร์เน็ตอะไรก็แล้วแต่นะฮะ ก็ไม่รู้แหละ หาข่าวสารข้อมูลแล้วก็รู้จักปฏิบัติ อย่าไปลุ่มหลงใช้ผิด เอามาให้เกิดสติปัญญาความรู้นะ ก็สุตะสำคัญ รวมทั้งสุตะในทางธรรมวินัย มาศึกษาเล่าเรียนให้มีความรู้ คำสอนของพุทธเจ้า สุตะพอมาถึงในพระศาสนาก็มุ่งไปที่คำสอนของพระพุทธเจ้า พออันนั้นก็เป็นสุตะเหมือนกัน สิ่งที่ได้สดับเป็นข่าวสารข้อมูล คำสอนทั้งหลาย นี่ยังมาวันนี้ก็มาสุตะ มาได้สุตะอีกละนะ เนี่ยสุตะนี่สำคัญ เป็นที่มาสำคัญของปัญญา ถ้าหากใครมีโยนิโสมนสิการเนี่ย สุตะดีก็เจริญปัญญาได้ดีนะฮะ อ้าว สุตะนี่เรื่องใหญ่ก็เป็นอันว่าข้อที่ 3
ต่อไปอะไรครับ นะจาคะ จาคะรู้จักเสียสละ รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ ไม่เห็นแก่ตัวนะ มีใจกว้างนะ มีน้ำใจนั่นเองข้อนี้ ข้อมีน้ำใจก็อยู่ที่จาคะนะ เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นจึงจาคะ เราสละเพื่อเห็นแก่ผู้อื่น เขาจะได้มีความสุข เขาจะได้หายทุกข์ อะไรต่างๆเหล่านี้ มีน้ำใจเกื้อกูลต่อกัน บำเพ็ญประโยชน์อะไรต่างๆ จาคะนี้นะ เอาเข้ามาแล้วก็ออกไปซะมั่งว่างั้นนะ ไม่ใช่เอาเข้ามาอย่างเดียวนะ อ้าว นี้นี่ก็จาคะลึกลงไปก็นอกจากเอาวัตถุออกไป ก็เอากิเลสออกไปด้วยว่างั้นนะ แล้วจะเอา???เอาวัตถุออกไปได้จริงก็ต้องเอากิเลสออกไปด้วย สัมพันธ์กันเพราะว่าเราจะสละวัตถุสิ่งของได้ ใจมันตระหนี่ถี่เหนียวมันโลภะมากมันก็สละไม่ออก ก็ต้องสละกิเลสด้วย พอสละกิเลสก็สละวัตถุได้ด้วยนะ ที่นี้สละวัตถุมันก็เลยบังคับเราให้สละกิเลสนะ สละความตระหนี่ มันก็เลยไปด้วยกัน ก็เลยทั้ง 2 อย่างคู่กัน ก็มาพัฒนากันนะ นี่ก็ใช้ปัญญาประกอบก็จะไปถึงข้อสุดท้าย อ้าว เป็นอันว่ามาถึงข้อสุดท้ายและ ก็ปัญญา ปัญญาจะควบคุมหมด หลักธรรมในพุทธศาสนานี่พระพุทธเจ้ามักจะตรัสเป็นชุด มี 1 มี 2 มี 3 มี 4 มี 5 มี 10 มี 20 อะไรก็ว่าไป แล้วชุดทั่วๆไปนี่ถ้ามีปัญญาก็จะปัญญาคุมท้าย แล้วธรรมะสำคัญถ้าจะให้ครบก็ต้องมีปัญญาคุมท้ายหมดนะ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ปัญญาจะต้องเป็นตัวที่จะมาช่วยให้จัดทุกอย่างได้ลงตัวและก็ได้ผล ถ้าจะมีข้อที่ 1.ศรัทธา ถ้าท่านไม่มีปัญญามาจัด มาคุม มาดูแล งมงายนะ ศรัทธาเหลวไหล ท่านมีศีลไม่มีปัญญา ปฏิบัติไม่เป็น ไม่รู้อะไรถูกไปผิดอะไร อะไรควรจะเว้นไม่ควรเว้น แค่ไหนถูกแค่ไหนผิด ทำไม่ได้ไม่ได้ผล พัฒนาก็ไม่ได้นะ มันไม่ใช่แค่ปฏิบัติถูก มันต้องพัฒนาต่อด้วยนะ ศรัทธาก็พัฒนาไม่ได้ ศีลก็พัฒนาไม่ได้ ถ้าไม่มีปัญญา นะถ้าเอาปัญญามาคุมท้ายหมดแหละ สุตะ ถ้าท่านไม่มีปัญญาท่านก็ใช้ไม่เป็น หาก็ไม่เป็น ไม่รู้จะเอาสุตะอันไหนดี สุตะได้มาแล้วก็ไม่รู้ยังไงจะเกิดเป็นปัญญาใช่ไหม สุตะถ้าใช้เป็น โยนิโสมนสิการก็เกิดเป็นปัญญา แล้วก็เอาไปใช้ประโยชน์ก็ไม่ได้ สุตะได้มาแล้วจะเอาไปใช้แก้ปัญหา ก็ไม่มีปัญญา สุตะก็นอนนิ่งอยู่งั้นแหละใช่ไหม สุตะไม่มีปัญญาใช้ไม่ได้หรอกนะ คนจำนวนมากเรียนหนังสือไปได้แต่สุตะ ถ้าเรียนไปอ่านตำราจบเล่มเดียวกันนะ สุตะเท่ากันอ่ะ แต่ไม่มีปัญญา มันใช้ไม่เป็นเอาไปทำอะไรไม่ได้ อีกคนหนึ่งมีปัญญา เอาสุตะเล่มเดียวกันนี่ไปขยายความ ไปใช้ประโยชน์ ไปทำงานอะไรต่างๆได้เยอะแยะ ไปแต่งหนังสือใหม่ 20 เล่ม อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็ปัญญาสำคัญ ปัญญาเป็นตัวจัดการทุกอย่าง พัฒนาทุกอย่างนะ เอาละ ศรัทธาก็ต้องอาศัยปัญญา ศีลก็ต้องอาศัยปัญญา สุตะก็โดยตรงเลย ปัญญาจะช่วยให้เกิดปัญญาเพิ่มพูนขยายได้ดีด้วย แล้วก็จาคะอีกปัญญาก็ต้องใช้มาก ปัญญารู้เข้าใจทุกข์สุขของเพื่อนมนุษย์ ไม่มีปัญญาก็ไม่เห็นใจเขา ก็เลยมีแต่โลภ ไม่รู้จักสละ มีปัญญาถูกต้องรู้เข้าใจความเป็นไปในโลก เห็นสุขเห็นทุกข์ของเพื่อนมนุษย์แล้ว เอ้อ เห็นใจเขาจะต้องช่วยกัน เห็นเหตุเห็นผลในการที่จะช่วยเหลือกันด้วย แล้วก็รู้ว่าใครควรจะช่วยไม่ควรจะช่วย แล้วก็รู้ว่าควรจะช่วยอย่างไร ช่วยแค่ไหน ช่วยเพียงไร ช่วยไม่ถูกมันเคยตัว ตกอยู่ในความประมาทอีกใช่ไหม ต้องช่วยให้เป็น ช่วยให้เขาพึ่งตนได้อะไรเป็นต้น ช่วยให้พัฒนาชีวิตแล้วก็ว่าไป ปัญญาต้องคุมจาคะหมดเลยจึงจะไปได้ ???ปัญญาท่านเอาไปคลุมท้ายเนี่ยในธรรมะแทบทุกบท ที่สำคัญเราก็จะต้องมีปัญญาคุมท้าย ไปเป็นข้อสุดท้ายก็คือข้อคลุม ข้อที่จะมาจัดการทุกอย่างแล้วก็เป็นอันว่าถึงปัญญา อันนี้เป็นชุดที่ตรัสทั่วไปสำหรับสัมปรายิกัตถะนะ คือที่จริงมันไปได้เยอะแยะแหละ แต่ว่าอันนี้หมายความว่าสำหรับคฤหัสถ์แล้วเรียกได้ว่ามันคลุมชุดเนี้ยนะ ใช้แล้วก็เหมือนกับเรียกเอาธรรมะข้ออื่นเข้ามาได้ใน 5 ข้อนี้ คล้ายๆว่าด้านของชีวิตเราในทางนามธรรมเนี่ยถือว่ามีครบแล้ว แล้วท่านจะไปดึงอะไรมาก็ไปเอามาใส่ ขยาย ดึงมาก็ได้หรือขยายมาก็ได้ จากอันนี้ก็ขยายกว้างแผ่ไปได้หมดเลย ที่จริงได้ปัญญาตัวเดียวมันก็ไปได้หมดเลยใช่ไหมนะฮะปัญญา แต่ท่านให้จับตัวหลักสำคัญๆไว้ ทีนี้ถ้าคฤหัสถ์เนี่ยได้ 5 ข้อนี่ ก็ดีเยอะแล้วนะฮะ ก็เรียกได้ว่าอยู่ในขั้นสัมปรายิกัตถะ อ้าว อือ เดี๋ยวเอาให้จบซะนะ อ้าว เป็นอันว่าสัมปรายิกัตถะก็เอาพอเห็นได้เค้าแล้วนะ เป็นประโยชน์ทางด้านจิตใจและปัญญา ก้าวหน้าไปพัฒนาจิตใจและปัญญาของเราเนี่ย แล้วมันจะมาช่วยใช้ทิฏฐธัมมิกัตถะด้วย เพราะทิฏฐธัมมิกัตถะนี่เป็นเรื่องรูปธรรม แล้วถ้าใช้ไม่เป็น มันจะเห็นแก่ตัว คือถ้าไม่มีสัมปรายิกัตถะมานะ ด้านจิตใจปัญญาไม่พัฒนา วัตถุมันก็กลายเป็นเหยื่อล่อความโลภ หนึ่งทำให้โลภ บางทีได้แล้วก็ยิ่งอยากได้ใช่ไหมธรรมดา ก็โลภไม่มีที่สิ้นสุด ตัณหา นตฺถิ ตฺณหาสมา นที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี มันไม่รู้จักพอ ก็นี่ก็ตัณหานั่นแหละ โลภะก็มาแสดงเด่นที่ตัณหา อยากได้โน่นอยากได้นี่ ทุรนทุราย กระวนกระวาย ทะยานอยากไปนะ ตัณหาพาไป 4 อย่างเนี่ยนะล่อได้หมด 1.ตัณหาอยากให้ทะยานอยากมากขึ้นเพื่อตัวเอง 2.มานะทำให้ถือตัวลำพองตน ทำให้หยิ่งผยองลำพอง ทำให้ดูถูกคนอื่นใช่ไหม อ่าทรัพย์ฉันรวย สังคมฉันมีเกียรติ มีฐานะ มียศสูง อะไรครอบครัวฉันก็อ่าวงศ์ตระกูลใหญ่ อะไรก็แล้วแต่นะฮะ แล้วก็สุขภาพแข็งแรง ดูถูกคนอื่นหมดเลยนะมานะ ตัณหามานะมาได้ทิฐิก็ยึดติดในความคิดเห็นของตัวเอง ท่านถึงว่าทิฏฐธัมมิกัตถะไม่พอ พอมาสัมปรายิกัตถะ ท่านมีศรัทธา มีศีล มีสุตะ มีจาคะ ปัญญา มันบอกหมดเลย คุณจะเอาทิฏฐธัมมิกัตถะ เอาเงินทอง สังคมไปใช้ยังไง มันจึงจะเป็นประโยชน์ถูกไหม คราวนี้แหละทรัพย์สินเงินทองที่มีอะไรต่างๆ เกียรติยศบริวาร กลายเป็นเอามาใช้ประโยชน์ในทางที่ดีหมดเลย ถ้าไม่มีสัมปรายิกัตถะ ทิฏฐธัมมิกัตถะแม้จะมากจะสูง อาจจะเป็นไปเพื่อการเบียดเบียนยิ่งขึ้น พอมาสัมปรายิกัตถะแล้วก็ไปคลุมไอ้เจ้าทิฏฐธัมมิกัตถะให้มาในทางที่ถูกต้อง โดยเฉพาะให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ก็กลายเป็นพระเจ้าอโศกมหาราชนะ พระเจ้าอโศกมหาราชใช่ไหม มีทรัพย์มาก มียศยิ่งใหญ่ ตอนแรกก็เบียดเบียนกันใหญ่ พอมารู้จักธรรมะขึ้นเปลี่ยนใหม่ เปลี่ยนความหมายของทรัพย์ ยศ ความยิ่งใหญ่ของเรานี้จะไม่มีประโยชน์ได้เลย นี่เขียนไว้ในศิลาจารึกเลยนะ ยศความยิ่งใหญ่จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้ามันไม่เป็นไปเพื่อช่วยให้ประชาชนประพฤติธรรม เจริญงอกงามในธรรม ก็ถึงได้เปลี่ยนไง แทนที่จะลุ่มหลงทรัพย์ ลุ่มหลงความยิ่งใหญ่ เบียดเบียนคนอื่นมากขึ้น ก็กลายเป็นว่าเอาทรัพย์ที่มี เอายศความยิ่งใหญ่เนี่ยมาใช้บำเพ็ญประโยชน์ ต่อจากนั้นพระเจ้าอโศกก็หันมาบำรุงความสุขของประชาชน สร้างใหญ่ สร้างถนนหนทาง สร้างโรงพยาบาลคน โรงพยาบาลสัตว์ สร้างแหล่งน้ำนะ สร้างสวนป่า สร้างอะไรต่างๆเหล่านี้ที่บำเพ็ญประโยชน์ทั้งหลายนะฮะ ซึ่งกลายเป็นแบบอย่างให้แก่มหากษัตริย์ มหาราชยุคหลังๆ บางพระองค์ที่ต้องการทำสิ่งที่ดีงาม เนี่ยก็พอมีสัมปรายิกัตถะนะ สัมปรายิกัตถะต้องมี พอท่านเจริญงอกงามดีในเรื่องของชีวิตคฤหัสถ์ ก็สัมปรายิกัตถะมา ก็กลายเป็นคนที่ทั้งมีและก็ทั้งดีใช่ไหมฮะ ทรัพย์ก็มีแล้วก็เป็นคนดีด้วย ก็จะสมบูรณ์นะ
เอาล่ะคฤหัสถ์ได้ 2 อย่างพอแล้ว ตามปกติพุทธเจ้าจะตรัสอยู่ 2 อย่างเนี่ย ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ แล้วก็ส่วนยอดของสัมปรายิกัตถะเนี่ย พระองค์ก็ไม่จำเป็นต้องแยก จัดอยู่ในนี้เลยก็สัมปรายิกัตถะเนี่ย ถ้าตามพุทธพจน์เนี่ยคลุมไปถึงนิพพานเลยนะ นี้ในสมัยหลังนี่เราก็นิยมแบบที่แยกละเอียดเป็น 3 ก็เอาอันนิพพานนี่ไปไว้ข้อที่ 3 แต่ว่าที่จริงที่พุทธเจ้าตรัสเนี่ยก็ให้ง่ายๆ ก็ให้อันที่ 2 เนี่ยมันเหนือจากเรื่องวัตถุมาแล้ว ก็ให้อยู่ในนี้หมด ตอนนี้ก็เป็นอันว่าท่านก็พัฒนาไปเถอะจิตใจและปัญญาเนี่ย ไปจนกระทั่งถึงจิตใจเป็นอิสระเพราะปัญญานะมันตัวสำคัญ ปัญญานี้มันมีความหมายอะไรต่างๆเยอะ แต่หน้าที่ใหญ่ที่สุดของมันคือเป็นตัวปลดปล่อยให้เป็นอิสระ ปัญญาเป็นตัวปลดปล่อย ถ้าปัญญามาแล้ววิมุตก็มา มันเป็นตัวปลดปล่อยไปให้เป็นอิสระ ท่านทำอะไรไม่มีปัญญานะ ร่างกาย วาจาพูดก็ไม่รู้จะพูดอะไรใช่ไหมนะ ติดขัดหมดไม่มีอิสรภาพ ติดขัดก็คือว่าไม่มีอิสระภาพ กายจะทำอะไร ท่านทำไม่ได้ ปัญญาไม่บอกไม่รู้จะทำยังไง เออนะจะทำงานอะไรสักอย่าง กายก็มีร่างกายก็แข็งแรงทำไปไม่ได้ ปัญญามันไม่มา มันไม่บอกนะมันติดขัด??? กายก็ไม่มีอิสรภาพ พฤติกรรมไม่มีอิสรภาพ วาจาไม่มีอิสรภาพ จิตใจล่ะเป็นไง เออแค่ว่า เราไปที่ไหนเนี่ยแปลกถิ่นเราไม่รู้จักถิ่นนี้ ไม่รู้ใครเป็นใคร ไปทางไหนออกทางไหน มีใครอยู่บ้าง มีอะไรร้ายเป็นอันตรายหรือเปล่า ตอนนี้แหละใจอึดอัดแหละใช่ไหม อึดอัดไม่สบายนี่ทุกข์เกิดแล้วเนี่ย เนี่ยเรียกว่าไม่มีอิสระภาพ พอปัญญามา พอเออที่นี่คือที่นั่นนะ มีคนอย่างนี้อยู่ ไม่มีภัยอันตรายน่ะ ทางออกทางหนีทีไล่ ออกทางนั้นทางนี้ พอรู้หมดเป็นไงครับ โล่งเป็นอิสระเลย เพราะฉะนั้นปัญญาสำคัญมาก ไปไหนต้องเรียนรู้ ให้รู้อะไรเป็นอะไร ทางไหนเป็นยังไงแล้วอิสระภาพก็จะเกิดขึ้น อ่ะทีนี้จิตใจมีปัญหามีทุกข์เกิดขึ้น อึดอัดอึดอัดติดขัดบีบคั้นนี่เรียกว่าทุกข์ใช่ไหมนะ เนี่ยเนี่ยทุกข์ก็คือมันบีบ ทุกข์แปลว่าอะไร แปลว่าความบีบคั้น บาลีจะบอก????นักเรียนบาลีเอาไปจำไว้นะ??? ชื่อว่าทุกข์เพราะอัดเพราะบีบคั้นว่างั้นนะ ทุกข์มันบีบคั้น เอออึดอัดอึดอัด ใจก็อึดอัดหมดแหละติดขัด พอปัญญามา บอกกับมันอย่างงั้นอย่างงี้ แก้ไขปัญหาได้เป็นไงครับ โล่งอิสรภาพมา งั้นปัญญาเป็นตัวปลดปล่อยทำให้เป็นอิสระ ความติดขัดปัจจุบันก็เรียกว่าปัญหา ปัญหาก็ทุกข์นั่นแหละ พอปัญญามาปัญหาหมดใช่ไหม เพราะฉะนั้นปัญญาปัญญาเป็นตัวตรงข้ามกับปัญหา ถ้าท่านมีปัญหาท่านต้องการปัญญา แต่ถ้าปัญญามาปัญหาก็หมดไปนะ ก็เอาปัญญามาแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นเราก็เลยต้องพัฒนาปัญญามาแก้ปัญหา ทีนี้ปัญญามันก็จะปลดปล่อยไปเรื่อยๆเป็นขั้นๆ ปลดปล่อยพฤติกรรมเรา ปลดปล่อยกายเรา ปลดปล่อยวาจา แล้วก็มาปลดปล่อยจิตใจ ปลดปล่อยจิตใจ ทำให้เป็นอิสระขึ้นทีละขั้นทีละขั้น จนถึงขั้นสุดท้ายก็เป็นอิสระโดยสิ้นเชิง นั่นคือนิพพานนะ นิพพานก็คือวิมุตที่สูงสุด ความหลุดพ้นเป็นอิสระ งั้นก็ปัญญาเนี่ยเป็นตัวสำคัญ มันอย่างที่บอกเมื่อกี้ แค่จัดการก็ต้องใช้ปัญญาแล้วนะ แค่บอกทางก็ปัญญาใช่ไหม เออจะไปไหน ไปทางไหนก็ไม่รู้แล้ว ปัญญาก็บอกทางให้ อ้าว บอกทางให้รู้ไปทางไหน ขยายทางให้อีกนะ ขยายอีก เออกว้างออกไปอีก ทำอะไรต่ออะไรได้กว้างขวางออกไป ขยายก็ได้ บอกทางให้แล้วขยายทางให้ด้วยนะฮะ แล้วก็ช่วยปรับปรุงพัฒนาอีก จะเดินทางนั้น เดินยังไงมันถึงจะได้ผลดี ปัญญาก็บอกวิธีนะ จัดการช่วยคนอื่นให้เดินได้ดีด้วยอีกนะ เสร็จแล้วก็หมดแล้วไปถึงจุดหมายได้เลยนะ เพราะงั้นปัญญาสำคัญ พุทธศาสนานี้เน้นมาก ที่มาเป็นพุทธศาสนาก็เพราะพุทธเจ้าไม่หยุดแค่จิตใจ คือศาสนาเดิมเขามีแค่จิตใจ พุทธเจ้าว่าไม่ใช่ทาง ก็เอาปัญญาอันนี้มาต่อพุทธศาสนา จึงเน้นเรื่องปัญญา แม้แต่คำว่าตรัสรู้ก็แปลว่าปัญญา รู้ ใช่ไหมก็ปัญญา แล้วเป็นบาลีก็โพธิ โพธิก็ปัญญาตรัสรู้ ปัญญาทั้งนั้น พระโพธิสัตว์ก็แปลว่าสัตว์ผู้แสวงปัญญา ผู้แสวงปัญญา อ่ะแสวงปัญญาตรัสรู้ ถ้าเรื่องปัญญาก็เรื่องใหญ่ ก็เรามาคุยกันก็เป็นเครื่องช่วยเจริญปัญญานะ ก็เป็นเรื่องของสุตะ ก็คุยกันมาเยอะแล้ว ยังดีวันนี้เปิดโอกาสให้พูด บางวันพูดไม่ออกไอเหลือเกิน ไอจนจะแย่ แต่ว่าโดยมากถ้าไม่ไอตอนนี้จะไปไอทีหลัง หลังจากพูดแล้วทีนี้ก็จะไอ ขออภัยหมดเวลาไปเท่าไหร่ ชั่วโมงกว่าเหรอ อ้าวมีอะไรไหมครับ เอ๊ะจบหรือยัง อ้าวยังไม่จบสิ เออเดี๋ยว เอ้าพูดซะให้หมดให้ครบนะ
ก็เป็นอันว่าแบ่งเป็น 3 ขั้นนะ แบบขั้นแนวดิ่งหรือแนวตั้งก็เป็นหนึ่งทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายหรือประโยชน์ขั้นเรื่องตาเห็น ปัจจุบันมุ่งในโลกนี้เป็นรูปธรรมนะที่ว่าไปแล้ว แล้วก็มาเรื่องสัมปรายิกัตถะพัฒนาในด้านจิตใจและปัญญาด้านนามธรรม ชีวิตเราก็ครบแล้วนะฮะ รูปธรรมนามธรรม แล้วก็อย่างที่บอกสัมปรายิกัตถะนี่ก็เป็นความหมายที่กว้างและคลุมไปถึงนิพพานก็จบ แต่นี้ก็มีการนิยมอีกอย่าง ก็ที่ว่าแยกเอานิพพานที่เป็นส่วนสูงสุดของสัมปรายิกัตถะน่ะออกไปต่างหาก ให้เด่นชัดก็เลยแยกเป็น 3 ต่อจากสัมปรายิกัตถะก็เลยมีปรมัตถะอ่ะ ปรมัตถะก็แปลว่าประโยชน์สูงสุดนะ ก็หมายถึงนิพพาน