แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็ต้องขอทำความเข้าใจกันก่อน ความจริงวันนี้ไม่มีอะไรเลย เป็นแต่เพียงว่าเมื่อ 2-3 วันนี้ โยมวัด 2-3 ท่านมาเรื่องกิจการของวัด มาดูเรื่องต้นไม้ ที่จอดรถ ก็เลยพูดกันว่าควรจะรู้เข้าใจเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ คือมีความรู้ที่จะมองสถานการณ์ต่างๆ ก็เลยจะคุยเรื่องภาคใต้ที่ เรื่องความไม่สงบนี่ ก็พูดแบบเป็นความรู้พื้นๆ กันเองกับญาติโยมใกล้ชิดในวัดเท่านั้นเอง ทีนี้ตอนนั้นเย็นมากแล้วก็เลยขอว่าไว้อีก 2 วันมาฟัง ก็แค่ 2-3 ท่าน ทีนี้พอข่าวขยายออกไป ใครไม่ทราบก็จะเข้าใจว่ามีการบรรยายเกิดขึ้น ก็ขอทำความเข้าใจไว้ก่อนว่าเป็นเรื่องภายใน ก็ยังรักษาหลักการเดิมว่าการคุยกันแบบญาติโยม คือบางทีโยมมาก็เล่าให้ฟัง ให้รู้เข้าใจเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น ความรู้ประกอบที่ใช้ในการมองสถานการณ์ มันเป็นหลักอยู่อย่างหนึ่งว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เราก็ควรมีความรู้ เข้าใจ ที่จะมองสถานการณ์นั้น ถ้าเรามีความรู้เพียงพอชัดเจน เราก็มองสถานการณ์ออก ถ้าไม่มีความรู้มันก็มืด ได้แต่คิดเอาเอง หรือเดาๆไป แล้วก็ยิ่งเกิดปัญหาใหญ่ ทีนี้เรื่องสถานการณ์ภาคใต้ก็มีหลายแง่หลายมุมที่เป็นเรื่องต้องรู้ต้องเข้าใจ ที่อาตมาจะพูดวันนี้ก็พูดเชิงประวัติศาสตร์ให้รู้ความเป็นมาเป็นไป แต่อย่างที่บอกแล้วว่าไม่ใช่เป็นการบรรยายวิชาการอะไรทั้งสิ้น เป็นการพูดคุยกันในเรื่องพื้นๆ เล่าเรื่องพื้นๆ ไม่ได้พูดในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาตมาก็ไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์ ไม่เฉพาะประวัติศาสตร์ภาคใต้หรอก ประวัติศาสตร์อะไรทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญอะไรเลย แล้วอีกอย่างคือเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในขอบเขตความสนใจโดยตรง แต่ที่ต้องหาความรู้บ้างเพราะว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เป็นไปอยู่ เราต้องมีความรู้ไว้บ้าง เพื่อมองสถานการณ์ให้ออก เรื่องอะไรเกี่ยวข้องกับชีวิตกับสังคม ก็ควรจะมีความรู้ เป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้นเราก็คุยในแง่ของคนแบบกันเอง ทีนี้สำหรับเรื่องที่คุยก็เลยเป็นเรื่องไม่ลึกซึ้งอะไร เรื่องลึกซึ้งก็ให้เป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาอาจจะเจาะลึกลงไป แล้วเรื่องประวัติศาสตร์นี่เป็นเรื่องที่มีความไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งได้มากมาย เพราะเป็นเรื่องที่เกิดในอดีตนานมาแล้ว หลักฐานมากมายก็สูญหายไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบันทึกไว้บางทีก็ขาดตอน บางทีก็ไม่ครบ แล้วก็ไม่ชัดเจน ก็มีปัญหาให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจศึกษาจะต้องไปค้นคว้ากัน สำหรับเรามาพูดเรื่องเหล่านี้ เราก็พูดเรื่องพื้นๆ ที่ถือว่าโดยทั่วไปยอมรับกันอยู่แล้ว เรื่องไหนที่เรารู้ว่าเป็นปัญหาเขาถกเถียงกันอยู่ เราก้พูดเพียงว่าเขายังเถียงกันอยู่ แค่นั้นก็พอ ทีนี้จะพูดเรื่องอะไรดี เริ่มต้น ก็จับสักจุด เพราะวันนั้นกำลังจะพูดเรื่องเกี่ยวกับความเป็นมลายู ไม่รู้จะเริ่มที่ไหนดี ก็เอาจุดนี้ก็ได้ คือความเป็นมลายูเนี่ย เราก็พูดกันไป บอกว่าญาติโยม ประชาชน 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นคนมาเลย์ เป็นคนมลายู อะไรอย่างเนี่ย ทีนี้เรื่องเชื้อชาติ เรื่องพงศ์เผ่าเหล่ากอ อะไรต่างๆ มันเป็นเรื่องที่สืบกันมานาน บางทีก็ยาก ไม่ชัดเจน เรื่องความเป็นมาเลย์ ความเป็นมลายู หรือบางท่านนักวิชาการท่านว่าให้ใช้ เมละยุ ดีกว่า ถูกต้องกว่า เมละยุ หรือเมละยู อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ เป็นกรณีตัดพ้อต่อว่ากันอยู่ ระหว่างดินแดนที่พยายามถือตัวว่าเป็นศูนย์กลางของความเป็นมลายู คือประเทศมาเลเซีย กับดินแดนในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะเกาะ
สุมาตรา เรื่องนี้ก็เถียงกันมานานมากแล้ว คือเอกสารก็จะบอกว่าชาวสุมาตราไม่พอใจที่ทางมาเลเซียแสดงตัวเป็นศูนย์กลางของความเป็นมาลายู แล้วมาเลเซียก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จ จนกระทั่งบางทีลืมประวัติศาสตร์เก่าไปว่าตัวแท้ของความเป็นมลายูนั้นอยู่ที่สุมาตรา แล้วก็เกี่ยวโยงกับเรื่องอาณาจักรศรีวิชัย จนบางทีก็ไม่พูดถึงเลยว่าศรีวิชัยนั้นเป็นลายู อันนั้นก็เป็นเรื่องที่เราควรจะรู้ เรื่องที่ถกเถียงกันอย่างนี้ มันมีมานานตั้งแต่ก่อนที่ดินแดนเหล่านี้จะตกเป็นเมืองขึ้น หรือเป็นอาณานิคมของประเทศยุโรป คือพวกโปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ แล้วพออังกฤษเข้าปกครอง อังกฤษก็อาจจะใช้วิธีที่เรียกว่าฉวยโอกาสเข้าหนุน หนุนมาเลเซีย หรือชาวมาเลเซีย ให้ได้ความภูมิใจ ความเป็นศูนย์กลางในความเป็นมลายู อันนี้เป็นวิธีทางการเมือง เพราะตอนนั้นเขาต้องแข่งกับประเทศอาณานิคมด้วยกัน ฝ่ายดัตช์คือพวกฮอลันดา ไปได้ดินแดนอินโดนีเซีย ปกครองสุมาตราอยู่ แล้วก็ดินแดนแถบนั้นก็เคยเป็นศูนย์กลางใหญ่ๆของอำนาจในแถบนี้ ลึกลงไปในประวัติศาสตร์ก้อย่างที่บอกเมื่อกี้ ศรีวิชัย เป็นต้น ทีนี้เขาก็เถียงกันอยู่แล้ว เพราะว่าประเทศอาณานิคมเหล่านี้ก็เหมือนกับว่าจะให้คนที่ตนปกครองนี้มีความจงรักภักดี หรืออย่างน้อยก็เข้าพวกกัน แล้วในเวลาเดียวกันความรู้สึกมันจะมั่นคงด้วยความที่ว่า ไปแข่งกับผู้อื่น หรือว่าไปต่อสู้แย่งชิงอะไรกับผู้อื่น มันก็ยิ่งผูกพันกับฝ่ายนี้มากขึ้น เพราะฉะนั้นอังกฤษก็เท่ากับว่าเป็นตัวหนุนให้มาเลเซียได้เป็นศูนย์กลางของการเป็นมลายู แต่เรื่องนี้ก็เถียงกันมาจนกระทั่งบัดนี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีเอกสารวิชาการที่พยายามอธิบายให้เห็นว่า ความเป็นมลายูนั้นไม่ได้เกิดที่มาเลเซีย แต่ว่าต้องมาจากสุมาตรา และยังขอย้อนไปอีก ก่อนจะมาสุมาตรานั้นมาจากบอเนียวตะวันตก บางทีสืบกันไปลึกๆก่อนประวัติศาสตร์โน่น มาจากไต้หวันโน่นแหนะ อันนั้นก็ลึกเกินไปแล้ว เราเอาแค่ว่าช่วงประมาณ 2,000 กว่าปีนี้ ก็เริ่มที่จะมาจากบอเนียวตะวันตก แล้วตอนนี้ในแผนที่เอง ที่บอเนียวจะวันตกก็ดี
บอเนียวตะวันออกก็ดีเนี่ย มีสถานที่ที่มืชื่อว่า เมลายุ อยู่ในแผนที่ แล้วที่เกาะสุมาตราที่เป็นดินแดนสำคัญเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย ที่รัฐที่เขาเรียกปัจจุบันว่า รัฐจัมบี ตรงนั้นก็เป็นตั้งถิ่นที่เรียกว่ามลายุ แล้วตัวแหลมที่เรียกว่ามาเลย์เพนนินซูล่า แหลมมาลายูเนี่ย ก็น่าจะเกิดจากที่อังกฤษมาเรียก แต่ก่อนสมัยโบราณไม่ได้เรียกอย่างนั้น เขาเรียกว่ายัง ก็สืบไปได้ไม่ยาก ในสมัยโบราณนี้มีนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ยิ่งใหญ่ชาวกรีกแห่งอเล็กซานเดรีย กรีกอเล็กซานเดรียก็คือกรีกยุคหลังพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่ว่าหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ขยายดินแดน แผ่อาณาจักรไปกว้างขวางแล้วสวรรคตไป แม่ทัพนายกองก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้น แม่ทัพยิ่งใหญ่คนหนึ่งก็ตั้งราชวงศ์กษัตริย์ขึ้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย ที่อียิปต์ เป็นราชวงศ์ชื่อ ทอเลมี เป็นที่มาของพระนางครีโอพัตรา มีกษัตริย์ทอเลมีก็อยู่ที่อเล็กซานเดรีย อเล็กซานเดรียก็กลายเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมกรีโบราณตอลมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งเข้าสู่มุสลิม แล้วอียิปต์ก็กลายเป็นของมุสลิมแล้วก็กลายเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมมุสลิมไป แต่เดิมนี่เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมกรีก ที่อเล็กซานเดรียนี่เป็นอยู่นาน มีหอสมุด มีอะไรต่ออะไรยิ่งใหญ่มาก ทีนี้ที่อเล็กซานเดรียตอนหนึ่งในช่วง ค.ส. 100 เศษ ของเรา พุทธศักราชก็ 600 เศษ ก็มีนักดาราศาสตร์คนสำคัญที่มีชื่อเสียงมาก ก็ไปชื่อตรงกับราชวงศ์นี้ ชื่อทอเลมี เนี่ย ท่านผู้นี้ก็เป็นผู้สอนเรื่องนี้ เรื่องว่าในสุริยจักรวาล ดาวต่างๆ ดาวเคราะห์เนี่ย รอบโลก โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แล้วก็ได้สร้างตำราภูมิศาสตร์ขึ้น เป็นตำราใหญ่ เขาบอกว่าใช้กันมาเป็นพันปีเลย ในยุคโบราณ แล้วก็มีแผนที่ ในแผนที่ที่ท่านโทเลมีเขียนนี่ก็เขียนถึงดินแดนแถบเอเชีย ซึ่งตอนนั้นจีนมีความสำคัญมาก เขาเรียก คาเธ่ย์ ใกล้ๆ จีนก็จะมีถิ่นกำหนดอันหนึ่ง ก็คือถิ่นที่เราเรียกปัจจุบันว่าแหลมมาลายู ทีนี้ในแผนที่ของทอเลมีเนี่ย ก็เรียกดินแดนตรงนี้ว่า เคอ-โซ-นี-ซุด-กอ-เลีย-ย่า เป็นภาษากรีก ก็แปลเป็นภาอังกฤษว่า The golden peninsula แปลว่าแหลมทอง ก็หมายความว่าแหลมมาลายูนี้เดิมชื่อแหลมทองตั้งแต่สมัยกรีกโน่น จนกระทั่งต่อมาเมื่อโคลัมบัสออกสำรวจ โคลัมบัสนี้เป็นชาวอิตาเลี่ยน ที่นี้มีความเชื่อที่นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ได้ว่าบอกว่าโลกไม่ได้แบนหรอก โลกมันกลม เมื่อโลกกลมนี้ถ้าเราเดินทางไปจะออกทางไหนมันก็ไปวนที่เก่าจนได้ ฉะนั้นถ้าอยากไปประเทศจีน ฝรั่งแทนที่จะมาทางตะวันออกอย่างที่เคยมา ก็สามารถไปทางตะวันตกแล้วมันก็ต้องมาชนถึงเมืองจีนได้ ด้วยความเชื่อนี้โคลัมบังก็เลยชักชวน หาทุนว่าจะเดินทางสำรวจอย่างนี้ คนจำนวนมากก็ไม่กล้าสู้เพราะลงทุนสูง ก็พอดีมีกษัตริย์สเปน แล้วก็พระราชินีทรงเห็นว่าแม้จะลงทุนมากก็จริง แต่ว่าถ้าประสบความสำเร็จ ผลประโยชน์มันมหึมา เกินคุ้ม เสียแล้วก็เสียไป ไม่สำเร็จก็ปล่อยไป ฉะนั้นก็เลยรับอุปถัมภ์ โคลัมบัสก็อกเดินทางไปตะวันตกโดยคิดว่าไปเรื่อยๆ มันก็ต้องมาเจอประเทศจีนเองจนได้ เพราะโลกมันกลม ไปๆ มาๆ ก็กลายมาเจอประเทศอเมริกา แล้วก็ไม่รู้ ไปเจอประเทศอเมริกาเมื่อปี 1492 ก็เท่าไหร่ล่ะคิดเป็น พ.ศ. สักเท่าไหร่ 2035 หรือเปล่าไม่รู้นะ ลองคิดดูเอาเอง ไปบวกเลขเอา ก็เป็นอันว่า ค.ศ.1492 โคลัมบัสก็ได้มาพบทวีปอเมริกา ตัวแกยังเข้าใจผิดว่าแกมาเจอส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย แล้วแกก็เดินทางกลับ ตอนนั้นก็เหนื่อยล้ามาก แล้วก็ออกเดินทางใหม่อีก 2 หน เพื่อจะก้าวต่อไป จากจุดที่ไปแล้วให้ไปถึงเมืองจีนให้ได้ คาเธ่ย์ ก็ไม่ประสบความสำเร็จ แล้วก็ตายซะเมื่อปี 1506 อันนี้ก็เป็นเพียงเครื่องบอกให้รู้ว่าดินแดนแถบนี้เรียกว่าแหลมทอง คือโคลัมบัสแกก็จะคอยกำหนดว่าแกจะไปเมืองจีนเนี่ย จุดกำหนดอันหนึ่งก็คือแหลมทอง หรือที่ใช้คำกรีกที่ว่า เคอ-โซ-นี-ซุด-กอ-เลีย-ย่า The golden peninsula นี่ก็เป็นเรื่องเก่า ก็เป็นอันว่าเดิมนี่มันไม่ได้ใช้คำว่ามลายู ทีนี้หันกลับมาเรื่องเดิม ก็ย้อนมาเรื่องของความเป็นมลายู ที่เถียงกันว่าความเป็นมลายูที่แท้นั้นไม่ใช่อยู่ที่มาเลเซีย แต่ว่ามาเลเซียประสบความสำเร็จในการที่ทำให้ความเป็นศูนย์กลางของมลายูมาอยู่ที่มาเลเซีย แต่ว่าทางพวกสุมาตราก็ยังไม่ยอม พยายามอยู่ และนักประวัติศาสตร์ก็รู้กันว่ามันเป็นยังไง เราก็เลยมาพูดคุยกันนิดหน่อยว่า ถ้ามาเลเซียไม่ได้เป็นศูนย์กลางของความเป็นมลายูจริง แล้วความเป็นมลายูมาจากไหน ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่านักประวัติศาสตร์เขาสืบสาวกันไปจนกระทั่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามาจากไต้หวันโน่น ดังนั้นเราก็ไม่เอา แล้วก็มาเมื่อประมาณ 2,000 ปีนี้ก็ มีการอพยพของคนเผ่ามลายูที่บอเนียวตะวันตก มาที่สุมาตรา การที่อพยพมาก็เป็นเรื่องของการค้าพาณิชย์ เข้าใจว่าอย่างนั้น เป็นเรื่องของการสันนิษฐาน เพราะว่าการเดินทางค้าขายเริ่มเจริญมากขึ้น ถ้าเราย้อนหลังไปสมัยพุทธกาล ดินแดนแถบนี้ยังไม่ค่อยมีการติดต่อกัน แต่ในพระไตรปิฎกก็มีการพูดถึงดินแดนสุวรรณภูมิ มีพูดในพระไตรปิฎก แต่ที่มีชัดเจนมากคือพระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าอโศกมหาราชครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 218 โดยประมาณ แล้วพอปี พ.ศ. 235 ทรงจัดอุปถัมภ์การสังคยานาครั้งที่ 3 แล้วก็อุปถัมภ์การส่งพระศาสนทูตไปประกาศพระศาสนา 9 สาย ก็เป็นที่ชัดเจนว่า สายหนึ่งได้ส่งมาสุวรรณภูมิ มีพระโสณะและอุตตระเป็นหัวหน้า นั่นก็คือเมื่อ พ.ศ. 235 พระเจ้าอโศกสวรรคตถ้าคิดตามตามค.ศ.ของฝรั่งก็ก่อนคริสตรศักราช 232 ปี นี่เป็นยุคก่อนคริสตรศักราช 232 ปี ยุคนั้นจากที่เมืองอินเดียก็มาลงเรือทะเลที่ท่าชื่อว่า ตา-มา-ลิ-ติ ท่า ตา-มา-ลิ-ติ นี้ ลองวัดดูในแผนที่ตรงนั้น ในตามความเป็นจริงมันตรงที่เราวัดไม่ได้ ก็เอาเลขตรงก็แล้วกัน ถ้าวัดจากเมืองท่า ตา-มา-ลิ-ติ ซึ่งอยู่ใต้เมืองกัลกัตต้ามาประมาณ 55 กิโลเมตร ถ้าพูดว่ากัลกัตต้านี่พวกท่านคงนึกออก ทีนี้วัดจากนั่นมา ที่พระเจ้าอโศกส่งมาสายสำคัญทางทะเล ก็เนี่ย สุวรรณภูมิ สุวรรณภูมินี้มาก็นครปฐม แต่พม่าบอกเมื่อ สะเทิม หรือ สุธรรมนคร ของเขา ก็เถียงกันอยู่ แต่ไม่ไกลกันนั่นแหละ จะมาเมืองไหมก็ประมาณ 1,500 กิโลกเมตร แล้วอีกสายหนึ่งก็ไปลังกา ออกจากท่าเดียวกันนั่นแหละ แยก 2 ทาง ถ้าไปทางตะวันออกก็ไปทางสุวรรณภูมิ ถ้าเยื้องไป เฉียงไปทางตะวันตก ก็ไปศรีลังกา เมืองสำคัญ เมืองหลวงสมัยนั้นก็คือ อนุราธปุระ ถ้าไป อนุราธปุระ ก็ 1,700 กว่ากิโล ก็ไกลกว่าสุวรรณภูมิ 200 กว่ากิโล อันนี้คือยุคนั้น เข้าใจว่ายุคพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งก่อนคริสตรศักราชตั้ง 200 กว่าปี การเดินทางคงยังจำกัดอยู่แค่นั้น ทีนี้ต่อมา การเดินทางพาณิชย์ก็เริ่มขยายขึ้นมา เลยต่อจากนั้นมาก็ลงมาถึงปลายแหลมทอง ที่เราเรียกปัจจุบันว่าแหลมมาลายู แล้วก็ลงมาก็มาเจอเกาะสุมาตราอยู่ฝั่งตรงข้าม ฝั่งตรงข้ามกับแหลมมาลายูก็คือเกาะสุมาตรา แล้วตรงนี้เป็นช่องแคบที่เรียกว่าช่องแคบมะละกา เป็นจุดสำคัญ แล้วอินเดียก็ติดต่อการค้าขายกับจีน เมื่อจะไปจีนก็ต้องผ่านจุดนี้หมดเลย เพราะฉะนั้นดินแดนแถบนี้ที่เกาะสุมาตราก็จะมีความหมายเชิงพาณิชย์มาก อาจจะเป็นด้วยเหตุนี้ก็ได้ที่ทำให้พวกมลายูอพยพ หรือว่าเดินทางมาค้าขายแล้วมาตั้งหลักแหล่งเพิ่มขึ้นที่สุมาตรา แล้วสุมาตราก็เจริญขึ้นมา เจริญขึ้นมาเรื่อยๆ ก็มาปรากฏชื่อ ตอนนี้ก็จะเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมีความหมายทางด้านการเมืองการปกครอง ก็มาสัมพันธ์กับพุทธศาสนา คือหลังจากยุคพระเจ้าอโศกแล้วนี่เราเห็นหลักฐานชัดเจนว่ามีหลวงจีนเดินทางระหว่างจีนกับอินเดีย เพื่อมาสืบพระพุทธศาสนา หรือสืบพระไตรปิฎก องค์แรกที่มีชื่อเสียงมากคือ หลวงจีนฟาเหียน ท่านเดินทางทางเรือ ออกจากทางโน้นแหละ ทางใกล้ๆไหหลำนั่น แล้วก็เรือแตก ไปขึ้นเกาะหนึ่ง เข้าใจว่าจะเป็นเกาะชวา แต่ว่าในที่สุดท่านเดินทางสำเร็จ เดินทางถึงอินเดียว แล้วก็กลับจากอินเดีย ตอนที่ท่านเดินทางครั้งนี้ หลวงจีนฟาเหียนก็ถือเอาปี ค.ศ. 402 เป็นหลัก ค.ศ. 402 พุทธศักราช ก็ 543 บวกเข้าไป ก็เป็น 945 เอาเป็นว่าพุทธศักราช 945 นี่หลังพุทธกาลแล้ว ตอนนี้ชัดเจนว่ามีการติดต่อค้าขายกันระหว่างจีนกับอินเดียทางน้ำ ทางทะเล ทางการพาณิชย์ แล้วหลวงจีนฟาเหียน ก็ทำบันทึกไว้ ไม่ปรากฏว่ามีอาณาจักรศรีวิชัย เขาก็เลยถือว่าอาณาจักรศรีวิชัยยังไม่เกิดขึ้น เมื่อพุทธศักราช 945 นี่หลวงจีนฟาเหียนบันทึก เวลาก็ผ่านมาจนกระทั่งถึง ค.ศ. 630 ก็คิดเป็นพุทธศักราช ก็ 543 บวกเข้าไป ได้เท่าไหร่ พ.ศ.1173 ก็มีหลวงจีนที่มีชื่อเสียงมาก คนไทยรู้จักกันแทบทุกคน คือพระถังซัมจั๋ง เดินทางจากประเทศจีนมาสืบไตรปิฎกที่ไซที ไซทีก็คือประเทศตะวันตก ประเทศตะวันตกในที่นี้ก็คือประเทศอินเดีย เพราะอินเดียอยู่ตะวันตกของจีน แล้วเวลาเดินทางเนี่ย เดินทางลงมาตรงไปตรงมาไม่ได้เพราะติดภูเขาหิมาลัย ก็ต้องเดินทางไปทางตะวันตก ก็ไปทางอาเซียกลางแล้วก็อ้อมภูเขาหิมาลัยมา ทีนี้พระถังซัมจั๋ง หรือหลวงจีนเฮี่ยนจึง เนี่ย ท่านไม่ได้มาทางทะเล ท่านมาทางบก ทางอาเซียกลางเข้าทางอัฟกานิสถาน เข้าทางคันธาระ ในปากีสถาน แล้วกลับท่านก็กลับทางบกอีก ก็เลยไม่มีบันทึกของพระถังซัมจั๋งในเรื่องเส้นทางสายศรีวิชัย แต่ว่าอีกไม่ช้า อีกครึ่งศตวรรษ ค.ศ. 671 ก็บวกเข้าไปอีก ก็หลังพระถังซัมจั๋งอีก 41 ปี ก็ตีซะว่าประมาณครึ่งศตวรรษ หลวงจีนอีกท่านหนึ่งก็เดินทางบ้าง ท่านนี้ชื่อว่าหลวงจีนอี้จิง หลวงจีนอี้จิงนี้เดินทางโดยทางเรือเลย ทั้งไปทั้งกลับ ท่านก็มาที่สุมาตรา แล้วก็แวะที่ศรีวิชัย เมื่อปี ค.ส. 671 ที่ว่า ได้รับการต้อนรับจากกษัตริย์ศรีวิชัย ท่านก็บรรยายความเจริญรุ่งเรืองว่าอาณาจักรศรีวิชัยนี้เจริญรุ่งเรืองเหลือเกิน มีการศึกษาพุทธศาสนาเป็นศูนย์กลางใหญ่ ท่านเองก็อยู่ศึกษาเล่าเรียนภาษาสันสกฤตที่นั่น เพราะตอนนั้นพุทธศาสนามหายานกำลังรุ่งเรือง ศรีวิชัยก็เป็นดินแดนที่มีพุทธศาสนาแบบมหายาน ก็เป็นศูนย์กลางการศึกษา ท่านก็บอกว่าใครจะไปเรียนพุทธศาสนาที่อินเดีย ชมพูทวีปเนี่ย ควรจะมาเริ่มเรียนที่ศรีวิชัยก่อน เป็นการเตรียมขั้นพื้นฐานแล้วจึงเดินทางต่อไปยังชมพูทวีป หลวงเรียนอี้จิงท่านก็มาเล่าเรียนที่ศรีวิชัย แล้วก็ได้รับอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอย่างดี แล้วปีนั้นเองท่านก็เดินทางต่อไปจังอินเดีย ก็ผ่านไปแวะที่เคดาห์ ก็คือเดินทางขึ้น ขึ้นไปยังอินเดีย ทีนี้แหลมทองหรือแหลมมาลายูตอนนั้นก็มีแดนสำคัญ
เคดาห์นี่ก็อยู่ติดชายแดนไทยแถบทะเลอันดามัน เป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียปัจจุบัน แต่ก่อนก็เคยเป็นของไทย รัฐเคดาห์นี่ก็เป็นศูนย์กลางความเจริญในสมัยโบราณของดินแดนแถบนั้น หลวงจีนอี้จิงก็ไปแวะที่เคดาห์ เมื่อปี ค.ศ. 671 แล้วก็เดินทางต่อไปยังประเทศอินเดีย คือชมพูทวีป แล้วก็ไปศึกษาที่นั่นอีก 10 กว่าปี จนกระทั่งราวๆ ค.ศ. 685 โดยประมาณ ก็จึงเดินทางกลับ กลับมาก็มาแวะที่ศรีวิชัย คราวนี้อยู่นานจนถึงปี 689 เลย จึงเดินทางกลับไปประเทศจีน จากบันทึกของหลวงจีนอี้จิงทำให้นักประวัติศาสตร์ได้หลักฐานชัดเจนว่า มีอาณาจักรศรีวิชัยเกิดขึ้นแล้ว แล้วเป็นบันทึกสำคัญชิ้นแรกเลย ที่แสดงถึงกำเนิดอาณาจักรศรีวิชัย แล้วตอนที่หลวงจีนอี้จิงได้ให้แวะที่เคดาห์นั้น ก็เป็นช่วงที่ศรีวิชัยกำลังแผ่อำนาจ ต่อมาอีกไม่กี่ปี ศรีวิชัยก็ได้เข้าครองที่เคดาห์ด้วย ก็หมายความว่าได้เข้าครอบครองแหลมทองหรือแหลมมาลายูส่วนล่างนี้ อาจจะทั้งหมด นักประวัติศาสตร์ก็จะเขียนว่าอาณาจักรศรีวิชัยได้ครองครองดินแดนแหลมมาลายูส่วนใต้นี้หมดสิ้น ก่อนถึง ค.ศ. 800 นี่ พ.ศ.เท่าไหร่ ก็ 543 บวกเข้าไป ก็ราว 1350 ประมาณ พ.ศ.1350 ก็แสดงว่าดินแดนแถบนี้ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของศรีวิชัย ทีนี่เคดาห์มีความสำคัญที่ควรจะพูดถึง อันนี้เอาเป็นว่าเราได้รู้ความเป็นมานี้แล้ว แล้วตอนนี้พูดให้เชื่อมโยงเรื่องที่ได้เริ่มไว้ตอนต้นนิดหน่อย ได้บอกแล้วว่าสุมาตราเป็นแหล่งของมาลายู ก็หมายความว่าชาวมลายูนั่นเองเป็นชาวศรีวิชัย แล้วศรีวิชัยมาครองที่เคดาห์ก็หมายความว่าคนมลายูได้แผ่อำนาจมาหาเมืองขึ้น มาครอบครองถึงเคดาห์ ก็ตีซะช่วงนี้ ค.ศ.700-800 ทีนี้เคดาห์ตอนก่อนนั้นเป็นยังไง ก่อนศรีวิชัยจะครอง ก็มีเรื่องราวเล่ากันต่างๆ เป็นที่มาของอาณาจักรที่เรียกว่ารัฐปัตตานี เคดาห์นี่แหละ คือเรื่องกำเนิดของรัฐปัตตานีนี้ นักปราชญ์ก็ยังเถียงกัน เราก็ไม่มีหน้าที่ตอนนี้ที่จะไปเถียงด้วย ก็เอาเป็นว่าเรารู้กันว่าเขายังเถียงกันอยู่ บ้างก็ว่าอยู่ที่ปัตตานีนี้แหละ บ้างก็ว่าอยู่ที่ใกล้ๆปัตตานี บ้างก็ว่ามาจากเคดาห์ อย่างบันทึกของจีนเขาก็มีพูดถึงปัตตานี โดยบอกว่าอยู่ฝั่งตะวันออก แต่ทีนี้ตามตำนานของมาเลเซียเอง ก็เล่าไว้บอกว่าเมื่อประมาณ ค.ศ. 100 เศษ นานแล้งนะ ประมาณพุทธศักราชใกล้ๆ 700 นี่ถอยไปเยอะเลย ก่อนที่ศรีวิชัยจะมายึดครอง ก็มีการค้าขายเดินทางอยู่แล้ว ก็ พ.ศ. ตั้ง 700 นี่มันหลังพระเจ้าอโศกตั้งนาน พระเจ้าอโศกยังส่งมาแล้วตอนนั้น ส่งมาอาจจะยังไม่ถึงนี่ แต่ว่าไม่ช้ก็ต้องถึง การเดินทาง ทีนี้ทางเคดาห์ก็มีพวกชาวอินเดียเดินทางมาค้าขาย แล้วคราหนึ่งก็มีชาวชมพูทวีปได้มาตั้งวงศ์กษัตริย์ขึ้นที่เคดาห์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งทะเล กลับตั้งเข้าไปในแผ่นดินที่ภูเขาป่าลึก กษัตริย์พระองค์นี้ที่เป็นชาวอินเดียได้ชื่อว่า มหาวังสะ ก็เป็นเรื่องที่ว่าการพุทธศาสนา หรือศาสนาฮินดูอะไรเนี่ยก็มากันระยะนี้ มาด้วย แล้วก็เป็นต้นกำเนิดเกิดอาณาจักรที่เรียกว่าลังกาสุกะ ลังกาสุกะนี้เป็นอาณาจักรสำคัญในสมัยพุทธกาลก็คือที่เคดาห์นี่แหละ เจ้ามหาวังสะเป็นผู้แรกเริ่มที่ตั้งอาณาจักรลังกาสุกะขึ้นมา ทีนี้มาถึงพระราชโอรสพระราชนัดดาก็มีการสำรวจว่าจะเดินทางออกไปโน่นไปนี่ ก็มีท่านหนึ่งเดินทางเรือมา อาตามาก็ไม่ได้ดูแผนที่ตอนนี้ว่ามีแม่น้ำอะไรที่ออกจากทางเคดาห์มาจนกระทั่งออกมา ก็มีกษัตริย์ท่านหนึ่งเดินทางออกมาจนถึงปัตตานีแล้วชอบใจ ว่าตรงนี้ดี นี่ก็คือการขยายของเคดาห์ หรือลังกาสุกะ มายังที่ปัตตานี เอาละนี่ก็เป็นเรื่องเก่า ก็เป็นอันว่าอาณาจักรลังกาสุกะ พระเจ้ามหาวังสะ ชาวอินเดีย เริ่มตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 100 เศษ หรือพุทธศักราชใกล้ๆ 700 ทีนี้ในเมื่ออาณาจักรนี้ก็เป็นดินแดนของคนชาติอื่นมาตั้ง ชาวชมพูทวีป แล้วคนนั้นถิ่นนั้นคือใคร ตอนนี้มลายูยังไม่มา มลายูอยู่อีกนานเชียว มลายูต้องยุคศรีวิชัย ตอนนั้ก็จะเป็นพวกอะไร พวกเก่าก็มี คนถิ่นเดิมมี หนึ่ง-เซมัง สอง-ซาไก อะไรพวกนี้ เซมังก็คือพวกที่เราเรียกว่านิกริโต ก็แปลว่าคนดำแคระ เป็นพวกเจ้าเงาะ แล้วพวกซาไก ซาไกนี่ตำราเขาบอกว่าเป็นภาษาเขมร เป็นการเรียกอย่างดูถูก แปลว่าทาส หรือคนที่อยู่ในชาติรับใช้อะไรต่างๆ ก็หมายความว่าคนทางที่เจริญกว่าก็เห็นคนเหล่านี้แล้วก็ไปเรียกเหยียดหยามเขา นี่ก็พวกเซมัง ซาไก สำหรับซาไกจะเป็นชนเผ่าทางมองโกลอยด์ ส่วนเซมังจะเป็นพวกนิกริโต นี่ก็เป็นชนที่เรียกว่ามาอยู่ก่อนหลายพันปีแล้ว นี่เหนือขึ้นไปหน่อยก็มีมีพวกมอญ เขมร แล้วก็บอกว่าพวกถ้อยคำที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งคนมลายูมาเป็นคนส่วนใหญ่แล้วหรือกลืนพวกคนเก่าไปแล้วเนี่ย ก็ยังมีคำมอญคำเขมรอยู่ เป็นคำเรียกอะไรต่างๆ นั้น เป็นหลักฐานว่าเดิมคนแถวนั้นเป็นพวกมอญเขมร เอาละนี่คือชนถิ่นเดิมก็เป็นมอญเขมร แม้แต่คำว่าซาไกก็ยังเป็นคำเขมรเขาว่างั้นนะ ก็ไปค้นกันดู ถ้าอยากรู้ลึก อันนี้อาตมาไม่มีหน้าที่ ก็มีคนเซมัง ซาไก ที่ล้าหลังหน่อย แล้วก็มีพวกมอญเขมร แล้วชาวอินเดียนี้ก็มาตั้งอาณาจักรขึ้นมา ฉะนั้นพวกมอญเขมรก็กลายว่าอยู่เป็นราษฎรของอาณาจักรลังกาสุกะ นี่ก็สืบต่อกันมา ต่อมาไม่นานเท่าไหร่ เขาบอกว่าอาณาจักรลังกาสุกะตั้งขึ้นมาได้แค่ 100 ปีกว่าๆ เท่านั้นเองก็ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรฟูนันคืออะไร ฟูนันก็เป็นอาณาจักรใหญ่ของเขมรในสมัยโบราณ เป็นภาษาจีนซึ่งเขาคิดว่าเพี้ยนไปจากคำว่าพนม ภาษาเขมรคงจะเป็นคำว่าอาณาจักรพนม อาณาจักรพนมก็มีอำนาจยิ่งใหญ่มาก ก็ไปครอบครองดินแดนแถบนี้ อาณาจักรลังกาสุกะก็อยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรพนมหรือฟูนันนี้ ประมาณ 300 ปี ก็เรียกว่าลังกาสุกะขึ้นมาไม่ได้เท่าไหร่ ส่วนมากก็ไปเป็นเมืองขึ้นคนอื่น แล้วก็หลุดมาเพราะอาณาจักรฟูนันก็ล่มสลายไป พอล่มสลาย ตัวเองก็เป็นอิสระอยู่ได้หน่อยหนึ่ง ตอนนั้นก็เข้ามาใกล้ พ.ศ. 700 กว่าอะไรนั่นนะ ใกล้ๆเข้าไปแล้ว ก็ถึงยุคที่ศรีวิชัยเจริญรุ่งเรือง อาณาจักรลังกาสุกะที่ว่าตั้งอยู่ที่แท้จริงที่เคดาห์อีก ตกอยู่ใต้อำนาจของศรีวิชัย ตอนนี้มลายูเข้ามา ก็กลายเป็นว่าตอนนี้ตกอยู่ใต้อำนาจของมลายู อันนี้ก็เล่ามาตามลำดับ ญาติโยมคงพอเห็นรูปภาพ ได้เห็นเค้าความว่าเป็นมายังไง นี่ก็เข้าไปสืบมาตอนนี้ก็ถึงยุคศรีวิชัย ต่อกันแล้ว กลับมาชนกันได้แล้ว นี่ก็คือเรื่องราวความเป็นมาเดิม อาณาจักรศรีวิชัยก็ครอบครองดินแดนแถบนี้ ซึ่งเขาสันนิษฐานว่าอาจจะทั้งแหลมมาลายู ตอนใต้เกือบหมด ใช้เวลายาวนานจนกระทั้งศรีวิชัยสิ้นอำนาจ ศรีวิชัยนี้ก็มีอำนาจอยู่นานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็ประมาณ 700 ปี ไม่ใช่น้อย เป็นอาณาจักรที่ใหญ่มาก ก็อย่างที่บอกแล้วไงที่เรารู้ว่ามีอาณาจักรศรีวิชัยครั้งแรกก็บันทึกจากหลวงจีนอี้จิง เมื่อ ค.ศ. 670 อาณาจักรศรีวิชัยก็แผ่อำนาจออกไป ในรายละเอียดเราก็ข้ามไปเลย จนกระทั่งมีการสร้างอะไรต่างๆ ใหญ่โตแล้วก็ต้องมีเรื่องประวัติมาเกี่ยวข้องกับนครวัดนครธมด้วย จนกระทั้งนักปราชญ์มีการสันนิษฐานว่าศรีวิชัยไปจากเจ้าที่นครวัดไปตั้ง บ้างก็ว่าเจ้าทางศรีวิชัยมาที่นครวัด นี่ก็เป็นเรื่องของนักประวัติศาสตร์ขั้นลงลึกที่จะไปเถียงกัน เราไม่เกี่ยว ต่อไปอาณาจักรศรีวิชัยก้เจริญรุ่งเรืองมาอย่างนี้ นี่ยึดจากบันทึกหลวงจีนอี้จิงที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เพราะว่าพุทธศาสนาก็เจริญคู่เคียงมากับอาณาจักรศรีวิชัย จนกระทั่งต่อมาที่ชวา ก็ได้เกิดอาณาจักรยิ่งใหญ่ขึ้นมาแข่งอำนาจกับศรีวิชัย ศรีวิชัยนี้อยู่สุมาตรา ที่ชวามีอาณาจักรใหม่ชื่อมัชปาหิตเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เขาก็ตีตัวเลขประมาณ ค.ศ.1292 อันนี้ก็ถือเป็นตัวเลขที่ตอนนั้นมีอาณาจักรหนึ่งเรียกว่า สิงหสารี แล้วเรามีเรื่องที่แต่งเป็นวรรณคดีไทยเรื่องอิเหนา เรียกว่า สิงหัดส่าหรี อาณาจักรนี้มีจริงชื่อว่าสิงหสารี เป็นภาษาบาลีสันสฤต อาณาจักรสิงหสารีนี่ก็ยิ่งใหญ่ขึ้นมาเหมือนกัน แล้วต่อมานี่มีเรื่องโกรธเคืองกับกุบไลข่าน ตอนนี้เข้ายุคกุบไลข่าน กุบไลข่านได้หาว่าท่านได้ส่งทูตมาแล้วทางราชสำนักสิงหสารีนั้นไม่ให้เกียรติเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นจะต้องลงโทษ ท่านก็ส่งกองทัพมองโกลมา ตอนนั้นกุบไลข่านปกครองประเทศจีน แล้วก็มีเจ้าชายของทางด้านชวาเองตอนนั้นก็เกิดความขัดแย้งกันระหว่างอาณาจักรน้อยใหญ่ ก็มีเจ้าชายองค์หนึ่งชื่อเจ้าชายวิชัย เป็นตัวตั้งตัวตีที่เดินแผนในการที่ว่าจะกำจัดทั้งศัตรูบนเกาะด้วย ทั้งกำจัดกองทัพของกุบไลข่านด้วย ดูเหมือนว่าพระราชบิดาของเจ้าชายวิชัยเนี่ย อาณาจักรข้างเคียงถือโอกาสตอนนี้มาปลงพระชนม์ พอกองทัพกุบไลข่านมา เจ้าชายวิชัยก็ไปร่วมกับกองทัพกุบไลข่าน ตีอาณาจักรอันนั้นแตก ก็ได้กำลังจากทัพกุบไลข่านมาตีอาณาจักรที่เป็นศัตรูแตก แล้วก็ฆ่ากษัตริย์สวรรคต สิ้นพระชนม์ เสร็จแล้วพอชนะศัตรูในประเทศได้ ก็หันกลับไปไล่มองโกล เจ้าชายวิชัยก็ประสบความสำเร็จ ไล่กองทัพของกุบไลข่าน ไม่ได้ตัวอุบไลข่านมาเอง ท่านส่งแม่ทัพมา ทัพกุบไลข่านก็กลับ เจ้าชายวิชัยก็เลยมีอำนาจมากขึ้นมาในชวา ก็เริ่มต้นวงศ์กษัตริย์แห่งอาณาจักรมัชปาหิต มัชปาหิตก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาจนกระทั่งว่าอาณาจักรศรีวิชัยก็สิ้นอำนาจ ก็กลายเป็นศรีวิชัยก็ตกอยู่ใต้อำนาจมัชปาหิตด้วย เมื่อกี้อาตมาบอกแล้วนะว่า ค.ศ.1292 ก็ที่ฝรั่งเขาบอกว่าคริสต์ศตวรรษที่ 13 นี่เราจะได้เห็นภาพ คือไอ้เรื่องกาลเวลามันก็สำคัญเหมือนกัน ทีนี้จะถึงตอนที่มลายูจะเข้ามาเลเซีย ที่จริงมันเข้าแล้วนะ เข้าทางด้านเคดาห์ เขาแบบว่ามาครั้งแรกมาในนามอาณาจักรศรีวิชัยอันยิ่งใหญ่ เข้ามาแบบว่าแผ่อำนาจเข้ามายึดครอง ทีนี้เข้ามาครั้งที่ 2 นี้เป็นยังไง ก็คือตอนนี้อาณาจักรมัชปาหิตมีอำนาจรุ่งเรื่องขึ้นมา อาณาจักรศรีวิชัยก็เสื่อมอำนาจ จนกระทั่งสิ้นอำนาจ แต่ก็ยังไม่หมด ก็กลายเป็นนครหรือรัฐเล็กๆไป คราหนึ่งกษัตริย์มัชปาหิตที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งสวรรคต ทางศรีวิชัยก็เห็นเป็นโอกาสว่าจะตั้งตัวขึ้นมา จะเรียกว่าแข็งเมืองนั่นแหละ ก็เลยเอาละฉันจะเป็นอิสระเป็นเอกราชซะที ก็พอดีว่าทางมัชปาหิตนั่นเขาเปลี่ยนแผ่นดิน เขายุ่งไม่นาน เขาก็รวมกำลังได้ เขารู้ว่าทางศรีวิชัยนี่แข็งเมืองเขาก็ยกทัพมาไล่ ทีนี้ทางศรีวิชัยตอนนั้น เจ้าที่แข็งเมืองขึ้นมาท่านนี้ชื่อว่า ปรเมศวร ชื่อตอนนั้นยังเป็นบาลีสันสกฤตหมด เจ้าชายปรเมศวรสู้พวกมัชปาหิตไม่ได้ ก็หนี เอาละสิ ตอนนี้หนีจากสุมาตรามาก็มาขึ้นที่สิงคโปร์ สิงคโปร์เวลานั้นเขาเรียกว่า ตูมาซิก หรือ เตมาเซ็ก ชื่อโบราณ ก็ไปขึ้นที่นั่น แล้วก็เข้าไปแย่งอำนาจเจ้าเมืองที่นั่น ฆ่าเจ้าเมืองตาย แล้วก็ขึ้นครองเมืองเอง ทีนี้ฝ่ายเมืองไทยทราบ ตอนนั้นเมืองไทยมีอำนาจเหนือดินแดนแถวนี้ ก็เลยส่งทัพไปขับไล่ นี่ประวัติศาสตร์สายหนึ่งว่าอย่างนั้น นี่ไทยแสดงว่าใหญ่มานานเหมือนกัน ทีนี้อีกสายหนึ่ง ตำราบางตำราบอกว่ามัชปาหิตนั่นแหละเอาเอง มัชปาหิตส่งทัพไปทำลายเมืองสิงคโปร์เลยคราวนี้ เจ้าชายปรเมศวรอยู่ไม่ได้ ก็หนีต่อ จากสิงคโปร์ก็มาขึ้นที่มะละกา เอาละทีนี้ขึ้นฝั่ง ขึ้นแผ่นดินใหญ่แล้ว ฝั่งมะละกา??? ปัจจุบันเขาเรียก เมละกะ Melaka แต่ก่อนนี้เขาเรียนมะละกา Malacca ตอนนี้เขาให้เรียกตามที่ทางมาเลเซียเขาบัญญัติให้เรียก ก็มาขึ้นที่มะละกาเนี่ย พอขึ้นได้ที่นี่แล้วก็จะต้องตั้งตัวเป็นใหญ่ แล้วจะทำยังไง ตอนนี้ก็คงจะมีกำลังเหลือน้อยเต็มทีแล้ว ทีนี้ตอนยุคนั้นนี่ต้องมองว่า ค.ศ. เท่าไหร่แล้ว ตอนนั้น ค.ศ.ประมาณ 1400 คือตำราเขาก็ไม่แน่ใจ เขาบอกว่าสิ่นศตวรรษที่ 14 หรือเริ่ทศตวรรษที่ 15 เจ้าชายปรเมศวรมาขึ้นที่มะละกา ก็ตีกันว่าปี 1400 แหละ ค.ศ.1400 ก็เป็นพุทธศักราช 1943เจ้าชายปรเมศวรก็ขึ้นที่นี่ ปี ค.ศ.1400 นี่เป็นยุคที่ทางมุสลิมได้เดินการค้าพาณิชย์มาทางนี้แล้ว ก็ย้อนกลับไปนิดหนึ่งว่า ภาษาอิสลามเกิดขึ้นนั้นเมื่อปี ค.ศ. 622 เป็นช่วงของหลวงจีนพระถังซัมจั๋ง จับง่ายๆ เลย พระถังซัมจั๋งไปชมพูทวีปก็คือช่วงที่เกิดศาสนาอิสลามในดินแดนซาอุดิอาระเบีย ตอนนั้นศาสนาอิสลามกำลังเริ่มต้นใหม่ๆ ต่อมากองทัพมุสลิมก็ได้แผ่ขยายไปจนกระทั่ง ค.ศ.1200 นี้ก็ ตีอินเดียถึงตะวันออก จบหมด ดินแดนพุทธศาสนาก็สิ้น พระพุทธสาสนาสิ้นเมื่อ ค.ศ. 1200 สิบกว่า ที่กองทัพมุสลิมได้ฆ่าและเผาหมด ทีนี้มุสลิมก็เป็นอันว่าครอบครองประเทศอินเดีย โดยเฉพาะส่วนเหนือ ตลอดตะวันออกจรดตะวันตกทั้งหมด ในช่วง ค.ศ.1220 ในช่วงนี้ก็ได้ตั้งอาณาจักรมุสลิมแห่งแรกในอินเดีย ชื่อว่า สุลต่านเนส ออฟเดย์ หรืออาณาจักรสุลต่าน เมื่อครอบครองอินเดียแล้ว ตอนนี้ก็เป็นยุคมุสลิม ค.ศ.1220 ชาวมุสลิมก็สามารถที่จะออกท่าน้ำตามะลิติ ทางกัลกัตต้าที่ว่าเมื่อกี้ ฉะนั้นพ่อค้าชาวมุสลิม จากอินเดียก็จะเดินทางมาค้าขายทางสมาตรา ชวา จากแถวบังคลาเทศ แถวนี้คือดินแดนแถวกัลป์กาต้าอะไรเนี่ย อยู่ในดินแดนต่อระหว่างอินเดียกับบังคลาเทศ ชาวมุสลิมแถวนี้ก็เดินทางลงมาค้าขาย ซึ่งง่ายจากมาจากอาหรับ ตอนนี้ก็เลยมีการเผยแผ่ศาสนาอิสลามมากขึ้น โดยการมาทางเส้นทางพาณิชย์ ท่านเหล่านี้ก็มาค้าขายไปด้วย แผ่ศาสนาไปด้วย ก็มาตั้งหลักแหล่งตามชายทะเล ก็เป็นธรรมดาของการค้าขายทางเรือทะเล ทางพาณิชย์นาวี แล้วก็มาตั้งพวกศูนย์การค้า หรือที่พักพิงอะไรแหล่งต่างขึ้นมา ท่านเหล่านี้ก็คงจะมีกำลังมีทรัพย์มีอะไรต่ออะไร พวกชนเจ้าถิ่นก็สู้ไม่ได้ ก็ต้องพึ่งพาอาศัยท่านเหล่านี้ ที่มีกำลังทรัพย์มากเป็คนร่ำคนรวย ทีนี้เจ้าชายปรเมศวรก็อาจจะต้องสันนาฐาน คือไม่รู้ชัดว่าท่านมาอย่างนี้แล้วท่านก็โดดเดี่ยว เข้ามาในเวลาที่มุสลิมพ่อค้ากับลังเรืองอำนาจ มีอำนาจมากขึ้นในทางการเงิน ท่านก็คงจะหาพวก แล้วก็ปรากฏว่า เจ้าชายปรเมศวรก็ได้ตั้งอาณาจักรขึ้นโดยเปลี่ยนพระองค์เป็นสุลต่าน จากเจ้าชายปรเมศวรก็เป็นสุลต่านอิซกันดาร์ล เปลี่ยนไปเลยไกลลิบ ต่อกันไม่ติดเลยชื่อนี้ ก็เป็นว่าเจ้าชายปรเมศวรกลายเป็นสุลต่านอิซกันดาร์ล เป็นปฐมกษัตริย์หรือปฐมสุลต่านแห่งอาณาจักรมะละกา อาณาจักรมะละกาก็เกิดขึ้นมาใน ค.ศ.1400 หรือ พ.ศ. 1943 โดยประมาณ นี่ถือว่าเจ้าชายปรเมศวรนำความเป็นมลายูมาสถาปนาลงในแผ่นดินมาเลเซีย เพราะว่าอาณาจักรมะละกานี้เป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่แรกของมาเลเซีย ซึ่งชาวมาเลเซียเขามาภูมิใจที่นี่ เขาคงไม่ภูมิใจที่เคดาห์ เพราะเคดาห์มันเป็นดินแดนที่มลายูศรีวิชัยมายึดเป็นเมืองขึ้น เป็นแบบเมืองขึ้น หมายความว่าครั้งแรกนี้มาถูกครอบครอง ศรีวิชัยแผ่อำนาจมา หรือมลายูแผ่อำนาจมาครอง แต่ครั้งที่สองนี้เป็นการที่มลายูหนีภัยมา แต่ว่ามาตั้งตัวเป็นใหญ่ ก็มาตั้งอาณาจักรมะละกา เป็นรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเริ่มแรกที่ชนมาเลเซียภูมิใจมาก ฉะนั้นเขาจึงถืออาณาจักรมะละกานี้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย ยกตัวอย่างเช่น นายอันวาร์ อิบราฮิม ทุกท่านคงนึกออก นายอันวาร์ อิบราฮิม นี้ก็เคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แต่ถอยหลังไปปี 1987 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในตอนที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ท่านอันวาร์ อิบราฮิม ก็ได้เน้นย้ำให้ชาวมาเลเซียได้ยึดถือคตินิยมวัฒนธรรมของมะละกา ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย อันนี้ก็คือตัวอย่างที่ชัด ฉะนั้นการที่มาเลเซียถือตนเป็นศูนย์กลางของความเป็นมะละยู ก็ถือเอาความเป็นอาณาจักรมะละกานี่แหละเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเกิดขึ้นที่บอกเมื่อกี้ว่า ค.ศ.1400 ก็ต่อไป
ทีนี้กล่าวฝ่ายเมืองไทย เมืองไทยนั้นมีอำนาจไปตลอดแถวนั้นอยู่แล้ว ก็ใพอใจ ก็คงจะเตรียมลงโทษแล้ว ทีนี้ฝ่ายสุลต่านอิซกันดาร์ล นี่ก็เกรงภัยจะมาถึงตน ท่านก็ฉลาด ก็ขอความคุ้มครองจากพระจักรพรรดิจีน ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจักรพรรดิจีน แล้วต่อมาอีกไม่กี่ปี ประจักรพรรดิจีนก็ได้แต่งตั้งให้สุลต่านอิซกันดาร์ล เป็นราชาธิบดีแห่งมะละกา ไทยก็ไม่ค่อยกล้าเหมือนกัน แล้วตอนนั้นจีนก็เอาใหญ่เลย ส่งกองเรือใหญ่มา จะเรียกว่ามาแสดงแสนยานุภาพหรือว่าจะมาเที่ยวสำรวจดูความเป็นไปของดินแดนแถวนี้ก็แล้วแต่ ตอนนั้นก็จะมีกองเรือจีนที่ยิ่งใหญ่มากอยู่ในประวัติศาสตร์ที่เดินทางมาแวะทางนี้ ก็เป็นอันว่าอาศัยอำนาจจีนอยู่ จนกระทั่งต่อมาอีกตั้งหลายสิบปี ใน ค.ศ.1445 เมื่อกี้ พ.ศ. 1400 ที่ตั้งอาณาจักรมะละกา แล้วก็เดินมาถึงอีก 40 กว่าปี ก็เป็นยุคของสุลต่านองค์ถัดๆ มาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินไทยก็เห็นว่าเอาซะที ตอนนั้นเป็นแผ่นดินอยุธยา สมัยพระเจ้าสามพระยา ปี ค.ศ.1445 พุทธศักราช 1988 พระเจ้าสามพระยาก็ได้ส่งกองทัพไทยไปตีมะละกา ไปลงโทษ แต่ว่าตอนนั้นมะละกาเข้มแข็งมากแล้ว ก็ตีทัพไทยถอยกลับหมด ปี 1445 ไปทีหนึ่งแล้ว เอาใหม่ ปี 1446 ไปใหม่ ปี1989 กองทัพไทยก็ไปอีกครั้งหนึ่ง ก็ถูกตีกลับมาอีก ก็เป็นอันว่าพระเจ้าสามพระยานี่ลงโทษมะละกาไม่สำเร็จ มะละกาก็ยิ่งใหญ่เรื่อยมา แต่ว่าอาณาจักรมะละกานี้ก็อยู่ได้แค่ 100 กว่าปี ตอนนี้ก็เข้ายุคอาณานิคมของฝรั่ง ขอให้สังเกตด้วยนะเป็นยุคๆ น่ะ ยุคของการเผยแผ่พุทธศาสนา ศาสนาฮินดู แล้วต่อมายุคศาสนาอิสลาม ตอนนี้ยุคอาณานิคมแล้ว ตอนช่วงนี้ก็ขึ้นสู่ยุคอาณานิคม ค.ศ.ใกล้ 1500 ก็อย่างที่บอกเมื่อกี้ ก็อย่างโคลัมบัสไปอเมริกา ไปค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1492 ช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝรั่งออกหาดินแดน หาเมืองขึ้น หาอาณานิคม ผู้ที่เป็นเจ้าใหญ่แห่งการหาอาณานิมคมยุคแรกคือ โปรตุเกสกับสเปน ตอนนั้นทางอังกฤษยัง ฝรั่งเศสยัง โปรตุเกสกับสเปนนี่เป็นเจ้าแรกเพราะว่า สเปนก็เป็นผู้อุปถัมภ์โคลัมบัสในการที่ไปสำรวจพบอเมริกา โปรตุเกสนี่ก็เป็นพวกนักเดินเรือที่เก่งกาจมากอยู่แล้ว ต่อมาหลักจากโคลัมบัสไม่นาน ก็มีนักเดินเรือชาวโปรตุเกสชื่อมาเจลเลน ที่ออกเดินทางแบบโคลัมบัสแล้วประสบความสำเร็จ เดินทางมาจนรอบโลก ฉะนั้นจึงบอกว่าที่แท้ที่โคลัมบัสพบนั้นมันไม่ใช่เป็น New World มาเจลเลนนี่เป็นชาวโปรตุเกส นี่เขาก็แข่งกันมาโปรตุเกสกับสเปน ทีนี้โปรตุเกสกับสเปนก็ออกหาเมืองขึ้นกันอย่างหนัก ก็ทะเลาะกัน ก็ต้องเอาความไปกราบทูลโป๊ปองค์สันตะปาปาให้ตัดสิน สันตะปาปาก็ให้เอาแผนที่โลกมา แล้วก็มาขีดครึ่งหนึ่ง สันตะปาปาก็ทรงวินิจฉัย บอกว่าแบ่งโลกเป็นสองซีกแล้ว ซีกตะวันออกให้เป็นของโปรตุเกส ซีกตะวันตกให้เป็นของสเปน ไปเถอะดินแดนใดที่ไม่มีกษัตริย์ปกครอง ก้เอาเลย นี่ก็เป็นยุคอาณานิคม โป๊บเขาเป็นใหญ่ยุคนั้น โป๊ปใหญ่มาก ไม่เหมือนสมัยนี้แล้ว สมัยนั้นปกครองเรียกว่าพวกกษัตริย์ต้องขึ้นหมด โป๊ปก็แบ่งแผ่นดินให้ แบ่งโลกให้เลย สเปนถึงได้ไปทางอเมริกา ไปละตินอเมริกา อะไรต่ออะไรโน่น โปรตุเกสก็มาทางนี้ มาทางตะวันออก มาได้มะละกา มาได้แถวนี้ เอาละโปรตุเกสก็มาตีอาณาจักรมะละกาสำเร็จ เมื่อปีค.ศ. 1511 คิดพ.ศ.เอาเอง อาณษจักรมะละกาก็สบาย ความยิ่งใหญ่ก็หมดไป โปรตุเกสก็เข้าปกครอง พอโปรตุเกสเข้าปกครองทางด้านมาเลเซียนี้ ทางมะละกาแล้วเนี่ย ทางฝ่ายสุมาตราซึ่งอ่อนกำลังลงไปก็ได้โอกาส ก็มีอาณาจักรใหม่เกิดขึ้นเรียกว่าอาณาจักรอาเจะห์ อาณาจักรอาเจะห์นี่อยู่เหนือสุดของเกาะสุมาตรา เหนือสุดนะ จึงได้ถูกภัยสึนามิเต็มที่ อยู่ยอดสุดของเกาะสุมาตรา ทีนี้อาเจะห์ก็รุ่งเรืองยิ่งใหญ่ขึ้นมาหลังจากมะละกาสิ้นไปแล้ว แต่ปรากฏว่าโปรตุเกสนี่จะเอาอาเจะห์ ตีไม่สำเร็จ แพ้โดนอาเจะห์ตีย้อนกลับมาได้ แล้วอาเจะห์ก็พยายามแผ่อำนาจมาทางแผ่นดินแหลมทองนี้ด้วย จนคราวหนึ่งก็อาณาจักรมะละกาที่เป็นของโปรตุเกสแล้ว ก็ร่วมกัยอาณาจักรอื่นๆ รวมทั้งดินแดนปัตตานีนี้ด้วย เอากองทัพเรือไปสู้กับอาเจะห์ อาเจะห์แพ้ไปเหมือนกัน อันนี้ก็เป็นเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่ชื่อเหล่านี้ก็จะทำให้เห็นว่ามีดินแดนอะไรที่มีบทบาทในสมัยนั้น เป็นอันว่าอาณาจักรมะละกาก็จบสิ้นไปเมื่อ ค.ศ.1511 โปรตุเกสเข้าครอง ต่อมาโปรตุเกสก็เสียแก่ฮอลันดา ต่อมาฮอลันดาก็เสียแก่อังกฤษ อังกฤษก็เข้าครอบครองหมด ดินแดนมลายูหรือมาเลเซียก้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษไป แล้วก็อย่างที่ว่าทางดัตช์หรือฮอลันดาหรือเนเธอแลนด์นี้ยังปกครองทางสุมาตราอยู่ ที่เมื่อกี้เล่าไปแล้วว่าอังกฤษก็ได้มาหนุนทางมาเลเซียให้เป็นศูนย์กลางของความเป็นมาลายู เพื่อการปกครองของตัวเองได้สะดวกด้วย ในทำนองนี้ นี่ก็คือเรื่องความเป็นมาเก่าๆ ที่อาตมาเอามาเล่าให้ฟัง
ทีนี่กล่าวฝ่ายทางด้านอาณาจักรเคดาห์ ที่บอกไว้แล้วว่าเคดาห์ตั้งโดยกษัตริย์มหาวังสะที่ว่ามากจากประเทศชมพูทวีปหรืออินเดีย เมื่อ ค.ศ. 100 เศษ พ.ศ.ใกล้ๆ 700 แล้วอยู่ได้ประมาณ 100 ปีก็สูญเสียอำนาจตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนัน หรืออาณาจักรพนมแห่งเขมร เขมรเขามาไกลนะ ต้องนึกให้ดี แล้วต่อมาอีก 300 ปี อาณาจักรพนมก็สิ้นอำนาจ ลังกาสุกะก็ได้เป็นอิสระขึ้นมา แต่ว่าอยู่ได้ไม่นานก็ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของมลายูที่มาจากสุมาตราคืออาณาจักรศรีวิชัย แล้วพออาณาจักรศรีวิชัยสิ้นอำนาจ มัชปาหิตขึ้นครองใหญ่ มัชปาหิตก็เข้ามาตีแถวนี้ด้วยอีก ก็หมด ก็เป็นอันว่าแถวนี้ไม่มีทางที่จะตั้งตัวเป็นใหญ่ได้ ก็ขึ้นโน่นขึ้นนี่ ขึ้นฟูนันมาขึ้นศรีวิชัย ขึ้นมัชปาหิต ต่อมามะละกาใหญ่ มะละกาก็มาครอบงำอีก ก็เลยทางด้านนี้ก็ตกอยู่ใต้อำนาจพวกใหญ่ๆ เหล่านี้ ทีนี้อาณาจักรลังกาสุกะที่เคดาห์นี่แหละที่ว่ามาเป็นอาณาจักรปัตตานี ที่ว่าได้ขยายออกมาทางนี้ แล้วจากประวัติศาสตร์ อาตมาก็อย่างที่บอกแล้วว่าไม่ได้สนใจจริงจัง เอาเรื่องว่าพอรู้ ท่านใดสนในก็ไปศึกษาค้นคว้า ตามประวัติศาสตร์เขาบอกว่าปัตตานีก็ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสยามในคริสตร์ศตวรรษที่ 16 ในคริสตร์ศตวรรษที่ 16 ก็หลังจากมะละกาแตกไปไม่นาน แล้วต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแตก กรุงแตกแล้วพม่าเผาเมือง เมืองไทยเกิดจราจลเกิดความวุ่นวายมาก พวกเมืองต่างๆก็ถือโอกาสที่จะแข็งเมือง รวมทั้งปัตตานีด้วย แล้วในหลวงดูเหมือนจะเป็นพระเจ้าตากมั้งตอนนั้น ก็ส่งกองทัพให้เลยไปปราบด้วย เพราะตอนนั้นต้องไปตีพม่าทางใต้อยู่แล้ว จะเป็นแผ่นดินกรุงธนฯหรือกรุงเทพฯรัชกาลที่ 1 ช่วงนั้นแหละก็ไปตีที่ปัตตานีที่แข็งเมืองให้กลับมายอมตามเดิม ต่อมาก็มีการจัดการปกครองระเบียบการปกครองโดยเฉพาะตอนในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนทั้งประเทศไทย คือรับการปกครอง รับอารยธรรม รับระบบการศึกษา การเมืองทุกอย่าง เอาแบบแผนของประเทศตะวันตกมาใช้ ก็เลยจัดประเทศบ้านเมืองใหม่ด้วย การปกครองก็จัดเป็นจังหวัดต่างๆ ตอนนั้นยังไม่ถึงขั้นเหมือนกับปัจจุบัน แต่เรียกว่าเข้าสู่ยุคที่ว่ามีการจัดระบบใหม่ ดินแดนแถวปัตตานีก็เลยมีการจัดใหม่ด้วย พร้อมกันกับดินแดนอื่นทั่วประเทศ ก็กลายเป็นดินแดนจังหวัดๆ ต่างๆ ในประเทศไทยในยุคปัจจุบัน อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ ไม่รู้ว่าเล่าพอจะชัดเจนเข้าใจง่ายหรือเปล่า มีอะไรข้ามไปหรือเปล่า มีอะไรสงสัยบ้างไหม เจริญพร พอจะเห็นความเป็นไปเป็นมานะ แล้วตอนนี้เขาก็ยังเถียงกัน ความเป็นมลายู ถ้าเถียงกันไปจริงๆ ต่อไปก็จะเถียงกันไปอีกระหว่างมาเลเซียกับวัดทางด้านเหนือ เพราะทางนี้ความเป็นมลายูที่จริงมาก่อนที่ดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของมาเลเซีย แต่ว่ามาเลเซียนั้นให้ถือเอาอาณาจักรมะละกาเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมลายูแห่งมาเลเซีย มีอะไรบ้างที่อาจจะเล่าข้ามไปที่ควรจะรู้ เพราะบางทีบางเรื่องที่ควรจะเล่าก็ลืมเล่าไป ทีนี้เรื่องอย่างนี้มันเป็นประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ถ้าเราไม่รู้ เวลามีเหตุการณ์อะไรขึ้นมาก็มองสถานการณ์ไม่ออก ก็คิดเอาเองบ้าง หรือว่าไปตามกระแสคนโน้นว่ามาคนนี้พูดมา แล้วก็ว่าตามเขาไป หรือคิดไปตามเขาโดยไม่รู้ความจริง ถ้าเรารู้เข้าใจเรื่องราว เราจะมองสถานการณ์ได้ดี อย่างตอนนี้เราต้องการมีการสมานฉันท์
สมานฉันท์นี่ก็แปลว่ามีฉันทะเสมอกัน มาจากภาษาบาลีชัดๆ คนไทยแปลสมานว่าประสาน คล้ายๆว่าประมวลรวมเข้าด้วยกัน แต่ว่าในสมานฉันท์นี่มันเป็นภาษาบาลี สมานะ นั้นแปลว่า เสมอ เท่า ฉันทะก็คือมีความต้องการ มีความปรารถนา มีความพอใจ ทีนี้สมานฉันท์ก็มีความพอใจที่เสมอกันเท่ากันตรงกัน มันก็ต้องมีหลักว่าจะเอาอะไรที่ตรงกัน ก็ต้องจับให้ได้ แล้วมันก็จะมาเป็นสมานแบบไทย คือสมานะ บาลีนี่แหละ ความหมายมันมาเป็นสมาน ไทยนั่นเอง สมานะแบบบาลีเนี่ยมันเท่าแบบที่ประสาน ไม่ได้เท่าแบบแย่งชิง ในภาษาไทยนี่เราบอกว่าเสมอภาคเท่ากันเนี่ย มันจะมองแบบแย่งชิง เกี่ยงกัน เธอได้เท่าไหร่ ก็จ้อง เธอได้ 500 เอ้า ทำไมฉันยังไม่ได้ 500 ต้องได้เท่านั้น อย่างนี้เรียกว่าเสมอภาคแบบเศรษฐกิจ ทีนี้เสมอภาคแบบของพระเนี่ย เสมอกัน เท่ากัน คือมีสุขมีทุกข์เสมอกัน ก็คือร่วมสุขร่วมทุก อันนี้สมานะที่แปลว่าเท่ากันจึงแปลว่าสมานในภาษาไทย ก็คือตัวศัพท์เนี่ยก็บาลีนั่นแหละ ความหมายในภาษาไทยมันก็ขยายออกไปเป็นความหมายในเชิงว่าประสานกลมกลืน พอสมานแบบร่วมสุขร่วมทุกข์ มีสุขทุกเสมอกัน ก็คือร่วมสุขร่วมทุกข์ สมานมันก็กลายเป็นว่าร่วมประสานไป ทีนี้ในภาษาไทยปัจจุบันเรานิยมความเสมอภาค จะเห็นว่ามีจุดอ่อนมากที่สุด ถ้าเป็นยุคประชาธิปไตย แต่ว่าความเสมอภาคเป็นไปในรูปของการแย่งชิง คือคอยจ้องว่าคนโน้นเขาได้เท่านี้เราได้เท่าไหม อะไรทำนองนี้ แทนที่จะว่ามีสุขมีทุกข์เสมอกัน คือลักษณะของเสมอของท่านเนี่ยมันมี หนึ่ง-เสมอกัน ไม่ดูดูหมิ่นกัน อันนี้มันก็ทำให้สมานได้ ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มันก็สมานแบบไทยได้ แล้วก็มีสุขมีทุกข์เสมอกันก็คือร่วมสุขร่วมทุกข์ แล้วก็ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง นี่ก็เสมอกัน ก็มีความเป็นธรรมกับทุกคน ความเสมอภาคแบบนี้ที่เรียกว่าเป็น
สมานะในภาษาบาลี คือมันมีลักษณะสนานประสานกลมกลืน ไม่ใช่เสมอภาคแบบเศรษฐกิจ ว่าจะแย่งกัน คอยจ้องว่าเธอได้เท่าไหร่ ฉันยังไม่ได้เท่านั้น แล้วก็ยุ่งมาก เพราะฉะนั้นในยุคนี้ก็เป็นปัญหาที่เอาความเสมอภาคมาใช้ไม่ถูก ความหมายของศัพท์มันมีเรื่องที่น่าพิจารณาลึกซึ้งเยอะอยู่เหมือนกัน แล้วทีนี้ว่าถึงยังไงเมื่อกี้พูดไปยังไงถึงไปเรื่องความเสมอภาค เริ่มจากอะไร อ๋อ สมานฉันท์ นี่เอง ก็มีฉันทะเสมอกัน เราก็ต้องมีตัวจุดหมายมีสิ่งที่ประสงค์ ฉันทะคือความต้องการความพอใจ ความอยากได้ ความปรารถนา ปรารถนาอะไรที่มันตรงกันเสมอกัน ซึ่งเมื่อมันมีจุดร่วมอันนั้นแล้ว มันตรงกันมันก็จุดร่วมได้ เมื่อมีจุดร่วมมันก็มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็สมานได้ ก็ต้องมีหลักการเป็นต้นที่เป็นอันเดียวกัน หลักการไม่เบียดเบียน หลักการไม่ทำร้าย อะไรอย่างนี้เป็นต้น ถ้าใครทำร้ายถือว่าผิด ไม่สมานฉันท์ แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือต้องประกอบด้วยปัญญา การที่จะมีสมานฉันท์ได้ต้องมีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง แล้วก็นมาสู่ความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน คนเรานี่จะอยู่ดีด้วยกันต้องมีความเข้าใจกัน แต่ความเข้าใจกันนั้นไม่ใช่การเอาใจกัน การเอาใจกันจะไม่ได้ความสามัคคีที่ยั่งยืน แต่ถ้าเข้าใจกัน แม้จะเป็นความจริงที่เจ็บปวดบ้าง ยอมรับ พูดกันดีๆ มุ่งความสามัคคี ต้องยอมรับความจริง เมื่อยอมรับความจริงมีความเข้าใจกันดีแล้ว ตอนนี้ความสมานสามัคคีมันจะยั่งยืนถาวร เดี๋ยวนี้ปัญหาก็คือการที่มัวจะเอาอกเอาใจกัน จึงต้องเน้นเรื่องความรู้ ความรู้ความเข้าใจนี้ควรจะพูดกันได้ตรงๆ เพราะเราไม่ได้พูดเพื่อความมุ่งหมายที่จะแตกแยกแก่งแย่งอะไร พูดเพื่อความเข้าใจ จุดมุ่งหมายนั้นเพื่อความสามัคคี เพราะฉะนั้นเรื่องสมานฉันท์ต้องเน้นมาเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพราะสมานฉันท์มันหมายถึงทั้งชาติทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะคณะกรรมการเท่านั้นเอง กรรมการนี้มาเป็นสื่อ มาเป็นตัวช่วยจัดกระบวนการ หรือจัดดำเนินการต่างๆ เพื่อให้คนทั้งชาติดำเนินเดินหน้าไปสู่ความสามัคคี ในการที่จะมีความสามัคคีที่แท้จริงก็ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง รู้เข้าใจอะไรเป็นไปเป็นมายังไง สถานการณ์เป็นยังไง ใครคิดยังไง หลักการของใครเขาเชื่อเขาอะไรต่ออะไรยังไง ไม่ใช่ว่ากลัวจะแตกแยก กลัวจะอะไรแล้วไม่พูด เราไม่ได้พูดเพื่อแม้แต่วิจารณ์ ความรู้แบบข้อมูลล้วนๆนี้สำคัญมาก ข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องมีแม้แต่ความคิดเห็น ความคิดเห็นค่อยว่าอีกชั้นหนึ่ง ตอนนี้ขอความรู้ข้อมูลล้วนๆ กันก่อน ข้อมูลล้วนๆนี่มันไม่เข้าใครออกใคร เมื่อได้ความรู้ไปแล้ว คราวนี้ก็มาคิดว่าจะเอายังไง แต่ถ้าคิดเห็นบนฐานของความไม่รู้นี่อันตรายมาก ทีนี้น่าจะเน้นเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจ อย่างเมื่อไม่กี่วันนี้มีคนถ่ายสำเนาเอกสารหนึ่ง มีทหารผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในนั้นเขียนบอกว่าเขียนส่งจดหมายไปถึงท่านกรรมการสมานฉันท์ ก็พูดถึงเรื่องนี้เรื่องเกี่ยวกับความเป็นห่วงเป็นใยในสถานการณ์ 3 จังหวัดภาคใต้ ท่านก็ไปห่วงเรื่องแบบเรียนพุทธศาสนา ที่ว่าในแบบเรียนนี้ไปเขียนว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ว่าธงไตรงค์ 3 สี สีขาวหมายถึงพุทธศาสนา แล้วก็ว่าพุทธศาสนานี้เป็นที่มาหรือว่าเป็นแหล่งของบาลีสันสกฤตซึ่งเป็นรากฐานของภาษาไทย อะไรทำนองนี้ ท่านบอกว่านี่เป็นการที่ทำให้คนมุสลิมเขาไม่สบายใจ เหมือนกับถูกตัดแยกออกไปจากสังคมไทย แล้วก็พูดทำนองว่าหนังสือนี้ออกมาแล้วก็ทำให้เกิดการเขาไม่ยอมเคารพธงชาติ เกิดการเผาโรงเรียนอะไรต่างๆ อันนี้อาตมาก็พิจารณาดู หนึ่ง-ก็คือว่าเรื่องข้อมูลความรู้นี่ต้องชัดเจนพอ ถ้าให้ข้อมูลทำนองนี้ คนอ้างกันและไม่ชัดว่าเป็นแบบเรียนของกระทรวงฯ ต้องบอกให้ชัดว่าเป็นหนังสือเรียนวิชาพุทธศาสนาที่กระทรวงฯอนุญาตให้ใช้ได้ ความหมายมันต่างกันเยอะนะ เพราะว่าหนังสือเรียนที่กระทรวงเขาอนุญาตมันเยอะ อย่างน้อยอาตมาได้เห็นมานี้ตั้ง 4-5 สำนักพิมพ์แล้ว จะมีกี่สำนักพิมพ์ก็ไม่ทราบ มีอีกหรือเปล่าไม่รู้นะ นี่ก็ชั้นมัธยมปีที่ 1 ก็หมายความว่านักวิชาการเขาก็ปรารภหลักสูตรที่กระทรวงวางไว้ แล้วเขาก็มาเขียนแบบเรียนขึ้นมา เขียนแล้วก็ส่งให้กระทรวงฯบอกว่าขออนุญาต แล้วกระทรวงก็อนุญาตให้ใช้เป็นหนังสือเรียนได้ หนังสือเรียนของท่านนี้สำนักพิมพ์นี้ก็อาจจะเขียนข้อความอย่างนี้ๆ แต่อีกสำนักพิมพ์หนึ่งก็อาจจะไม่มี ทีนี่ท่านกเขียนแบบนี้โดยไม่แจกแจงแยกแยะ ไม่บอกให้ชัดเนี่ย คนอ่านก็เข้าใจไปว่าอันนี้คือหนังสือเรียนของกระทรวงฯ มีอันเดียว อาจจะคิดทำนองนั้น แล้วก็อาจจะลายเป็นตัวจุดปรารภที่จะขออภัยใช้คำ ไปปลุกปั่นคนได้ เอานี่ๆแบบเรียนกระทรวงศึกษาฯเป็นอย่างนี้เพราะฉะนั้นพวกเราต้องเอาอย่างนั้น อาจจะกลายเป็นว่าแทนที่หนังสือเรียนนี้จะเป็นต้อนเหตุ ก็กลายเป็นว่าการเขียนบทความนี้จะกลายเป็นต้นเหตุไปก็ได้ เพราะฉะนั้นต้องระวัง ต้องให้ข้อมูที่เข้าใจ ต้องชัดเจน นี่คือตัวอย่างที่ให้ข้อมูลไว้ชัดเจน ทีนี้ต่อไปในแง่ของประเด็นที่ท่านผู้นั้นได้พูด ก็มีหลายประเด็น แต่ว่าเราต้องแยก 2 อย่าง
หนึ่ง แยกในแง่ความถูกต้องของข้อมูล ข้อมูลนั้นตรงไหมถูกต้องไหม ชัดเจนแม่นยำไหม ใช้ได้ไหม
สอง ท่าทีของคนต่อข้อมูลหรือต่อสิ่งที่นำเสนอนั้น
ลองแยกดู 2 อย่าง อันนี้อาตมาจะยกมาให้ดูเป็นเค้าเท่านั้นเอง เช่นที่เขาเขียนว่าภาษาไทยเรามีรากฐานจากบาลีสันสกฤตที่มาจากพุทธศาสนา คือรายละเอียดจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ จะถูกต้องไม่ถูกต้องมันไม่ถึงกับสิ้นเชิง มันเป็นอย่างนั้น แล้วบางทีมันเป็นปัญหาแค่สำนวนภาษา เมื่อมีปัญหาเหล่านี้ก็ควรจะเอามาพูดกัน เรื่องอะไรจะไปเป็นเหตุให้ต้องรบราฆ่าฟัน ใช่ไหม เป็นประเทศประชาธิปไตยนี่ ก็เป็นคนชาติเดียวกันพี่น้องกัน มีเรื่องอย่างนี้ก็ยกเรื่องขึ้นมาคุยกันสิ ก็อย่างจีนกับญี่ปุ่นเขามีเรื่องกัน เขาคนละประเทศแท้ๆ เขายังได้แค่ประท้วงกัน นี่มันประเทศเดียวกัน แล้วเป็นประเทศประชาธิปไตย วิธีการประชาธิปไตยไม่ใช่ว่าเอาความรุนแรงเข้าว่า ประชาธิปไตยก็ต้องเอาการใช้ปัญญามาเจราปราศรัยมาพูดกันด้วยความปรารถนาดี ตรงนี้สำนวนมันอาจจะทำให้เข้าใจผิดก็ได้ครับท่าน แก้ไขซะดีไหม ปรับซะหน่อย อะไรต่ออะไรเนี่ย จะยังไงก็ตาม จะเป็นสำนวนไหน สาระมันมีอยู่ คือท่านบอกว่า คือท่านผู้นี้ที่เขียนไปถึงคุณอานันท์ ปัญยารชุน ท่านที่เขียนไปถึงนะ ไม่ใช่คุณอานันท์ว่า ก็บอกว่าหนังสือเรียนนี้ไปพูดว่าพุทธศาสนาเหมือนกับว่าเป็นเจ้าของภาษาบาลีสันสกฤต เป็นภาษาของพระพุทธศาสนา แล้วภาษาบาลีสันสกฤตของพระพุทธศาสนาเป็นรากเหง้าของภาษาไทย เพราะฉะนั้นชาวมุสลิมภาคใต้เขาก็เลยไม่กล้าพูดภาษาไทยเพราะว่าเป็นภาษาพุทธศาสนาก็จะเป็นบาป อ้าว นี่บอกแล้วนะว่าให้แยก 2 อย่าง หนึ่ง-แยกในแง่ความถูกต้องของข้อมูล อันนี้ในแง่รายละเอียดนี่ที่สำนวนเป็นต้นก็ไปพูดกันเอา แต่ว่ามันมีแง่ของความจริงอยู่ คือเราอาจจะไม่พูดว่าเป็นภาษาของพุทธศาสนาหรืออะไรก็ได้ แต่ว่าภาษาบาลีสันสกฤต อย่างในสังคมไทยที่เข้ามาสู่วิถีชีวิตคนได้ มันมาโดยพุทธศาสนานำมา ใช่ไหม อย่างภาษาอินเดียชมพูทวีปเข้ามามาในทางการค้าขายพาณิชย์ แต่มันก็ตื้นๆ พูดมันก็ไม่ลงลึก แล้วก็ใช้ภาษาแบบสินค้า เรื่องของอะไรตามประดามันไม่มีภาษาอะไรลงลึกหรอก แต่ที่จะเป็นภาษาวิชาการได้ เป็นหลักนามธรรมลึกซึ้งมันต้องมาทางพระศาสนา ก็อาศัยหลักธรรมทางพระศาสนาเป็นสื่อเข้ามา อันนี้มันชัดอยู่แล้ว นี่มันเป็นเรื่องที่พูดได้ แต่ว่าอาจจะปรับสำนวนกัน ว่าทำไงมันจะพอดี แล้วทีนี้สองก็คือท่าที แล้วท่านจะรังเกียจทำไม อันนี้มันเป็นเครื่องแสดงว่ามันเป็นปัญหาเรื่องท่าที เมื่อไปอ่านหนังสือข้อความอย่างนี้ มันมีท่าทีความรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์หรือความรู้สึกแบ่งแยกอยู่ในใจแล้ว พอเห็นไม่ได้ ก็รู้สึกต้องไปด้วยกันไม่ได้ หรือใช้ไม่ได้อะไรทำนองนี้ ความจริงมันเป็นเรื่องที่ควรจะมองในทางสมานฉันท์อย่างที่ว่า ก็คือเราก็มองไปตามความเป็นจริงอย่างหนึ่ง อันนี้มันเป็นเรื่องความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ใช่ไหม พุทธศาสนาเจ้ามาในเมืองไทยอยู่มาอย่างนี้ คนไทยก็นับถือจำนวนมาก แล้วก็เข้ามาสู่วิถีชีวิตก็พูดจากัน เข้าสู่วรรณกรรม เข้าสู่วรรณคดี ก็มันเป็นของมันอย่างนี้แล้ว ประวัติศาสตร์มันเป็นมาอย่างนี้ เราเลือกไม่ได้ คือมันเกิดขึ้นมาแล้ว เราเลือกให้เป็นอย่างที่เราต้องการไม่ได้ เพราะมันเป็นไปแล้ว นี่คือเรื่องประวัติศาสตร์ เมื่อมันเป็นไปไมได้ เราเลือกไม่ได้ แล้วเป็นยังไง แล้วมันเสียหายไหม ถ้ามันเป็นเรื่องความดีงาม เราควรจะอนุโมทนา ถ้าพุทธศาสนาได้ช่วยให้ภาษาไทยเนี่ย enrich ขึ้น มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น อะไรอย่างนี้ก็น่าจะชื่นชมอนุโมทนาว่า ภาษาไทยนี่ได้พุทธศาสนามาช่วยให้มีความกว้างขวางออกไป มีความลึกซึ้งขึ้น มีถ้อยคำที่จะสื่อได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เหมือนอย่างเราไปเมืองฝรั่ง ในแง่ที่เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ในแง่ดีของศาสนาคริสตร์ ก็มาอยู่ในถ้อยคำของภาษาฝรั่งเยอะแยะ เราก็ต้องอนุโมทนา หรือจะเป็นภาษาอาหรับก็อนุโมทนาได้ ก็เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้ว่าเสียหายอะไร ก็ควรจะเป็นเรื่องความชื่นชม ในท่าทีความรู้สึกในการมีมิตรไมตรีต่อกัน โดยเฉพาะยุคนี้ คนมีปัญหามากอยู่แล้ว เรื่องความขัดแย้ง ศาสนาควรจะเป็นผู้นำในการสร้างความสามัคคี ในความมีน้ำใจต่อกัน ในการเป็นผู้นำทางสันติภาพ สันตินี่ ถ้าศาสนาไม่นำในทางสันติแล้วเราจะไปมีความหวังที่ไหน มันก็หมดสิโลกนี้ ฉะนั้นศาสนามัวมารังเกียจเดียดฉันท์กันอยู่ได้ยังไง นี่ก็ต้องชื่นชมกัน เพราะมันเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ แล้วว่ากันไป ชาวมลายูเองจะอยู่ที่ไหนก็ตาม มาเลเซียนี่ ก็คือชนชาวศรีวิชัยเดิม ก็ต้องนึกว่าบรรพบุรุษของตัวเนี่ยก็เป็นชาวพุทธมาก่อน สักประมาณ 700 ปี แล้วตัวจะไปรังเกียจบรรพบุรุษทำไม แล้วบรรพบุรุษก็ใช้ศัพท์บาลีสันสกฤตมาอยู่ในภาษาของตัวจนปัจจุบันนี้ อย่างอินโดนีเซียนี่ได้ทราบว่าเขาไม่รังเกียจเลย ปัจจุบันนี้ชาวอินโดนีเซียแม้จะเป็นชาวมุสลิม ก็นิยมตั้งชื่อเป็นสันสกฤต เป็นอย่างนั้นดู ซูการ์โนบุตรีสิ ใช่ไหม นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี บุตรีนั้นชัดเลย เมกาวาตีก็มาจากไหน ภาษาบาลีสันสกฤตทั้งนั้น หลักของรัฐธรรมนูญของประเทศอินโดนีเซียนั้น เมื่อสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้หลักการเรียกว่าปัญจศีลเลย ยังอยู่ในรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียปัจจุบัน ฉะนั้นอย่าไปรังเกียจ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่มีมาในวัฒนธรรม ช่วยให้วัฒนธรรมได้เจริญงอกงาม ภาษาของยุโรป ภาษาฝรั่งอังกฤษ ที่มันมีศัพท์มากมายใช้กันเป็นสากลก็เพราะอะไร ก็เพราะว่ารับหมด เอาศัพท์จากอะไรต่ออะไรไป สมาธิก็เอาไปแล้ว นิวาระ กรรมะ ไปอยู่ในดิกชันนารีภาษาอังกฤษหมด ถ้าไปมัวรังเกียจ อันนี้มันเป็นเรื่องของการเจริญงอกงามทางปัญญา มันไม่มีเหตุที่จะไปรังเกียจ หรือแม้แต่ทางท่านอาจารย์มุสลิมผู้ใหญ่เอง อะ-ยัน-นา-ฮี- วะ- ทา-นะ-ยา-กุล ท่านล่วงลับไปแล้ว ท่านเป็นผู้ใหญ่มากนะ ท่านสนใจธรรมะ เอาภาษาบาลีอะไรต่ออะไรศึกษาธรรมะ ท่านไม่เห็นรังเกียจไม่เห็นถือเป็นบาป หรืออย่างอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ปัจจุบันนี้บางท่านศึกษาค้นคว้าคัมภีร์บาลีเลยโดยตรง ควรจะไปทำความเข้าใจแทนที่จะมาทำให้เขาโกรธเคือง ควรจะไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน บอกอย่าเข้าใจผิด การที่จะมาพูดภาษาไทยถึงแม้จะมีศัพท์พุทธศาสนาอย่างไรมันไม่ได้เสียหายเลย ก็เป็นเรื่องของความงอกงามการขยายกว้างทางวัฒนธรรมยิ่งขึ้น มาศัพท์แสงมากขึ้น แม้แต่ศัพท์สำคัญในประเทศมาเลเสียเองปัจจุบันก็เป็นคำบาลีสันสกฤตที่เขาไม่รู้ เอาง่ายๆ นะ เจริญพร ภาษาราชการของอินโดนีเซียก็เรียนว่าบาฮาซ่าอินโดนีเซีย ภาษาราชการของมาเลเซียก็ใช้ว่าบาฮาซ่ามาเลเซีย แล้วก็มีบาฮาซ่ามาลายู บาฮาซ่ามาลายูก็ใช้สำหรับภาษาชาวบ้านพูดในกลุ่มชนที่ไม่เป็นราชการ ก็แปลว่านี่คือเป็นทางการของประเทศมาเลเซียนะ บาฮาซ่ามาเลเซีย ทีนี้ประเทศมาเลเซียใช้ภาษาราชการปัจจุบันคือบาฮาซ่ามาเลเซีย แล้วบาฮาซ่านี่คืออะไร ชัดเลย ลองไปเปิดตำราดูบอกสันสกฤต ฮาซ่าก็มาจากคำสันสกฤตว่าพาซ่า คือหนีไม่พ้นเพราะต้นตระกูลบรรพบุรุษเขาเป็นชาวพุทธมาก่อน แล้วเขาใช้ภาษาบาลีสันสกฤตมาจนกระทั่งไม่รู้เท่าไหร่แล้ว มันแทรกซึมเข้าถึงไหนๆ แล้วยิ่งกว่านั้นก็คือ เวลานี้ประเทศมาเลเซียได้ให้เรียกคนที่ถือว่าเป็นแกนของประเทศโดยมีศัพท์ใหม่ซึ่งให้ภูมิใจ แล้วให้มีสิทธิพิเศษ ก็ขอย้อนไปนิดหนึ่ง ก็บอกแล้วว่าดินแดนที่เป็นมาเลเซียปัจจุบัน ได้มีชนเผ่าเดิมๆเช่นเซมัง ซาไก พวกนี้ มีเซนอย จูกัน อะไรพวกนี้อีกหลาย แยกไปเป็นเผ่าพันธุ์เล็กๆน้อยๆ ก็เป็นพวกมองโกลอยด์บ้าง เป็น
นิกริโต้บ้าง แล้วพูดภาษามอญเขมรบ้าง อย่างซาไกนี่พูดภาษามอญเขมรนะ แสดงว่ามันมายาวนานแค่ไหนแล้วแผ่นดินมาเลเซียเนี่ย ทีนี้เมื่อชาวมลายูมาจากสุมาตราก็เป็นชนที่เจริญกว่า พวกชาวพื้นเดิมที่เรียกว่า อะ-บอ-ริ-จิ-นี่ หรือ อิ-นิ-จี-เนียส นี่ พวกนี้ก็มีทั้งที่ผสมกลมกลืนเข้ากับพวกมลายูที่มาจากสุมาตรา แล้วพวกที่ไม่ยอมเข้าต่อต้าน เขาก็ถอยร่นเข้าไปในป่า ทีนี้คนเหล่านี้ก็อยู่ต่อๆ กันมาก็กลายเป็นว่าโดยพื้นหลักปัจจุบัน ตอนนี้ความเป็นมอญเขมรก็เป็นว่ามองไม่เห็นแล้ว เพราะว่าเหมือนกับกลืนไปหมด ก็เป็นว่ามีชนพื้นเมืองถิ่นเมืองเก่า เซมัง ซาไก เป็นต้นนี้ กับชาวมลายูที่มาจากสุมาตรา ปัจจุบันนี้ทางมาเลเซียก็ให้ใช้คำว่า Malay people หรือคนมาเลย์ ให้เป็นคำเรียกรวมคนมาเลย์ที่เป็นมลายูกับคนพื้นเมือง เช่นเซมัง ซาไก ทั้งหมด ให้เรียกรวกันว่ามาเลย์ ฉะนั้นพวกเซมัง ซาไก ตอนนี้ก็เป็นมาเลย์ด้วย ก็เหมือนอย่างที่เมืองไทยก็เรียกรวมๆ กันว่าเรียกใครก็ตามจะมาอยู่เมื่อไหร่ๆ มาอยู่แผ่นดินนี้ก็เป็นไทยไป บางทีก็ทำให้สับสน ทำให้รู้สึกว่าคำว่ามาเลย์นี้เป็นคำเก่าเพราะไปรวมกับเซมัง ซาไก ใช่ไหม นึกว่าเก่าแก่ เนี่ยเพราะเป็นการบัญญัติ ต้องทัน ต้องเข้าใจ ก็คือเป็นการบัญญัติขึ้นมาใหม่ ว่าให้เรียกคนพื้นเดิมกับคนมาเลย์นี้รวมกัน ถือว่าเป็นคนเจ้าถิ่นของแผ่นดินมาเลเซีย เรียกว่าคนมาเลย์ ถือว่าคนชุดนี่เป็นคนเจ้าถิ่นเรียกว่ามาเลเซียในปัจจุบัน แล้วตอนนี้เขาก็มีนโยบายของรัฐ เช่น เขากันคนนอก เช่นคนจีน คนอะไรต่ออะไร ไม่ให้สิทธิเรื่องการค้าการทุนอะไรต่างๆ จะให้ส่งเสริมคนเจ้าถิ่น ให้มีกำลังในทางเศรษฐกิจมากขึ้น อันนี้นโยบายเป็นมานานแล้ว อันนี้เราก็ต้องรู้ แล้วเขาก็เรียกคนพื้นถิ่นที่เป็นมาเลย์ทั้งหมดนี้เรียกว่าภูมิบุตรา หรือบางทีก็มี e เขาไปตัวหนึ่งเป็น ภูมิบุเตรา ภูมิบุตราหรือภูมิบุเตรา แปลว่า the son of the soid แปลว่าลูกแผ่นดิน ก็ภูมิก็ชัดอยู่แล้ว ภูมิคือแผ่นดิน ภาษาเพี้ยนไปหน่อยนึ่งก็คือตัว พ เดิมนี่ ตัว h เวลาเขียนตามหลักโรมาไนซ์สันสกฤต ตัว h เขาไม่ได้ใช้ ภูมิมันก็เลยมีแค่ bumi จริงๆมันจะต้องมี bhumi ก็ได้แค่ ภูมิ แปลว่าแผ่นดิน แล้วบุตราหรือบุเตรา ก็ลูกหรือบุตร ภูมิบุตรา ภูมิบุเตรา ก็คือ ลูกแผ่นดิน ก็ถือว่าคนมาเลย์ที่ประกอบด้วยคนมาเลย์ มาจากมลายู สุมาตรา สมัยหลัง กับคนพื้นถิ่น เซมัง ซาไก เป็นต้นเนี่ย ก็เรียกรวมเป็นภูมิบุตรา แล้วก็มาเลเซียก็มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้คนเหล่านี้มีสิทธิพิเศษทางด้านเศรษฐกิจเป็นต้น ไปอ่านเอาเอง อย่างนี้เป็นต้น เรามาเล่าให้ฟัง ก็ให้เห็นว่าจะไปรังเกียจอะไรล่ะ ประเทศมาเลเซียเขาก็ใช้อยู่ แล้วมันก็เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่เราไม่มีทางเลือกอย่างที่ว่า มันเป็นไปแล้ว ภาษาเหล่านี้จะเรียกว่าภาษาของพุทธศาสนาหรือไม่ก็ได้ เรียกไม่เรียกก็ไม่เป็นไร แต่มันมากับพุทธศาสนา แล้วก็เข้ามาสู่วิถีชีวิตด้วยการที่พุทธศาสนาได้รับการถ่ายทอดมา ก็เป็นความจริง เราก็ควรจะภูมิใจ ความชื่นชมกัน อนุโมทนา มันก็จะมีความสัมพันธ์ที่ดี แล้วจะไปพูดแล้วเป็นบาปเนี่ย ต้องเลิก ทัศนคติ ท่าทีอย่างนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องขอเสนอกลับท่านผู้ใหญ่ที่เขียน ให้คิดใหม่ ให้ไปพูดไปทำความเข้าใจ แทนที่จะไปหนุนให้เขาเกิดความรังเกียจแตกแยก ก็ไปหนุนให้เขาเกิดสามัคคคีสมานฉันท์ ให้มีความเข้าใจ ตั้งท่าทีที่ถูกต้อง ทัศนคติที่ดีงาม ก็ย้ำว่าเวลานี้โลกมันมีความขัดแย้งมากแล้ว ศาสนานั้นเป็นเครื่องหมายของความดีงาม ต้องเป็นผู้นำในทางสันติ ถ้าศาสนาไม่มาช่วยในทางสันติ กลับไปก่อความขัดแย้งซะเอง แล้วโลกนี้จะอยู่ได้อย่างไร โลกนี้จะมีความหวังจากที่ไหนเล่า ฉะนั้นคนที่อยู่ทางสาสนาจะต้องคิดในการที่นำศาสนามาเป็นสื่อในการสร้างความสามัคคี ในการสร้างสันติ การอยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข มีอะไรไม่สบายใจอะไรก็พูดกัน แล้วยิ่งเป็นประเทศประชาธิปไตย ก็พูดกันได้อยู่แล้วก็ต้องคุยกัน ไม่ใช่อะไรๆ ไม่พอใจแล้วไปทำความรุนแรง มันไม่ถูกต้อง มีอะไรไหม เจริญพร
คำถาม (ผู้ชาย) : กราบเรียนนิมนต์อาจารย์ มีข้อคำถามที่ยังคาใจกัน หลายคนทีเดียวบอกว่าคนไทยเราเนี่ยเพิ่งอพยพเข้ามาในดินแดนแถบนี้เมื่อไม่นานนี้เอง แล้วก็ดินแดนที่เป็นปัตตานีซึ่งไทยเราก็ไปแย่งชิงเขามา ซึ่งฟังดูแล้วก็ เอ๊ะ อย่างที่ท่านเจ้าคุณอาจารย์เล่า ที่ว่าสยามไปปกครองแถบปัตตานีนั้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็แสดงว่ามีมานาน ท่านเจ้าคุณอาจารย์จะมีข้อที่จะชี้แจงเรื่องคนไทยอย่างไรครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ที่จริงก็ไม่ต้องชี้แจงอะไรมาก คือเรื่องของประวัติศาสตร์ ถ้าเราดูปัจจุบันก็ดินแดนนี้มันลงตัวแล้ว ก็จบ เราจะไปพูดอดีตกันอยู่ทำไม จะไปอ้างอย่างว่าทีอยุธยาตอนนั้นทำไมต้องกู้อิสรภาพ ตอนนั้นมันยังไม่ลงตัว ใช่ไหม มันเพิ่งเข้ายึดครอง ก็พระเจ้าตากกู้แผ่นดินนั้นเพิ่งจะเสียกรุงไปหยกๆ เลย ใช่ไหม ไม่ทันเป็นเมืองขึ้นด้วยซ้ำ สมัยพระนเรศวรก็ชั่วคนเดียว ใช่ไหม ก็เป็นเพียงพระนเรศวรถูกนำพระองค์ไปเป็นประกัน กลับมาก็กู้เอกราช มันก็อยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เป็นระหว่างประเทศ ทีนี้ประเทศที่ขึ้นต่อกันไปแล้ว อย่างนี้มันเป็นอีกเรื่องเลย มันไปเป็นดินแดนของกันไปแล้ว จะมาเทียบกันไม่ได้ กับกรณีของอยุธยา ทีนี้ถ้าจะพูดต่อไปอีก เรื่องนี้เรื่องประวัติศาสตร์ว่าคนไทยอพยพมาจากจีนอะไรต่ออะไรนี้ อาตมาได้ยินตั้งแต่เกิดใหม่ๆ คือพอรู้ความไม่ช้าก็ได้ยิน ทีนี้พอมาสัก 50 ปีที่แล้ว เกือบๆ 50 ปี อาตมาเริ่มเรียนปริญญาตรี อาจารย์ก็เอาแล้ว ไม่ยอมรับความเชื่อเดิมว่าคนไทยอพยพมาจากจีน นี่มันนานแล้วเขาค้านกันมา อันนี้ก็เป็นประเด็นข้อถกเถียงที่เราบอกว่าเป็นเรื่องของนักวิชาการลงลึก เราในฐานะคนพื้นๆ คนทั่วไปเราไม่เอาแล้ว เราก็บอกให้เขาเถียงกันไป แต่ว่าต้องเล่า ต้องพูดอย่างนี้ให้รู้ว่า คือเรื่องอะไรที่เขายังเถียงกันต้องบอกว่ายังเถียงกันอยู่ อย่าไปลงมติ เราไม่มีหน้าที่วินิจฉัย ใช่ไหม เรื่องเมืองไทยเนี่ย เดิมอยู่ไหนแน่ อย่างอาจารย์ที่ท่านเริ่มบรรยายตอนอาตมาเรียนปริญญาตรี ท่านก็บอกเดิมนไทยก็อยู่ถิ่นนี้เอง เสร็จแล้วก็ขยายหรือบางส่วนอพยพขึ้นไปทางเหนือ ก็เข้าไปในจีน แล้วถูกจีนตีร่นถอยกลับมา ว่างั้นนะ ก็หมายความว่าดินแดนเดิมก็อยู่ที่นี่อยู่แล้ว อันนี้ก็อย่างหนึ่ง อันนี้มันเป็นเรื่องยาก ประวัติศาสตร์เนี่ยที่จะไปค้นหา แล้วก็อย่างประวัติศาสตร์แหลมมลายูหรือแหลมทองนี้เอง ถ้าดูละเอียดไปอีก มันก็มีที่เราต้องข้ามๆเพราะถือเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ยังไม่ชัด เขาบอกเมื่อประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช 2,000 ปีเศษ ชาวจีนได้อพยพลงมายังแหลมมาลายู ก็แสดงว่าถ้าเป็นอย่างนั้นจริงนะ คนจีนก็เข้าครองแหลมมลายูมาก่อนคริสต์ศักราช 2,000 ปี แล้วเดี๋ยวนี้มันก็ 4,000 ปีแล้ว แล้วคนมลายูนี่เพิ่งมาได้เท่าไหร่ เข้ามาตอนนี้ เอาให้ไวที่สุดก็ตอนรัฐเคดาห์ ค.ศประมาณสัก 700 กว่า ตอนยุคศรีวิชัย ก็เป็นเวลาแค่เท่าไหร่ 700-800 ปี ลบ 2548 ได้เท่าไหร่ ก็ 1,000 กว่า ก็เอาเป็นว่าถ้าอย่างนี้คนจีนก็เข้ามาก่อน ไม่รู้จะเอายังไง บอกว่าอย่าไปเถียงกันเลย เสียเวลา เรื่องประวัติศาสตร์อย่างนี้มันเป็นอย่างที่บอกแล้วว่ามันเป็นเรื่องอดีตที่มันยาวนาน เป็น 100 เป็น 1,000 ปีเนี่ย เราไม่สามารถไปรู้ชัดเจนแจ่มแจ้งตลอดทั่วทั้งหมดว่าบางเรื่องมันชัดเจนพอ ที่จะถือว่าลงตัวได้ แม้กระนั้นบางทีมันยังมีว่าต่อไป 20, 30, 50, ปี เกิดมีการค้นพบอีกว่าไม่เป็นอย่างนั้น ก็มีใช่ไหม อะไรอย่างเนี่ย เดี๋ยวก็ว่าอย่างนั้น เดี๋ยวก็ว่าอย่างนี้ เมื่อก่อนมีการแบ่งคนเป็นมองโกลอยด์ นิกรอยด์ อะไรต่ออะไร ต่อมาบอกใช้ไม่ได้ เลิกแบ่ง อะไรอย่างนี้ แม้แต่นักวิชาการเองในการศึกษาก็ยังต้องเปลี่ยนหลักวิชาของตัวเอง
หนึ่ง-จับจุดปัจจุบันให้ดี ให้ชัด แล้วสมานสามัคคีปัจจุบันให้มันได้ ทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน สอง-เรื่องอดีตก็ดูกันว่ามันอยู่ในระดับที่มันพอจะทำความเข้าใจกันได้ไหม หรือว่ายังไง
ตอบหรือยัง
ขออนุโมทนาท่านที่มาร่วม แม้ว่าจะไม่ใช่รายการที่กำหนดกะไว้ล่วงหน้า เป็นการที่ว่าประจวบบังเอิญเกิดมีขึ้นมา ก็คุยกันไป ก็ขออนุโมทนาด้วยถ้าเป็นประโยชน์ก็ถือว่าให้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศชาติสังคมให้มีสันติสุขต่อไป