แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ตอบ : อาตมาเคยถามที่ประชุมขอถามว่า คนเรานี่กว่าจะช่วยตัวเองได้นี่กี่ปี เกิดมากี่ปี มีอาจารย์ท่านหนึ่งตอบว่า ๓๐ ปี ในที่ประชุมนี้จะเอาสักเท่าไร กี่ปีจะช่วยตัวเองได้อยู่รอด ๗ ขวบไหวหรือ ทิ้งได้ไหม ไม่ได้นะ ยังไม่ไหวนะ มนุษย์นี้ยาก ทีนี้มนุษย์นี่นะ เป็นอันว่าโดยสัญชาตญาณช่วยตัวเองไม่ได้ แล้วทำยังไง ในระหว่างที่โตมากว่าจะช่วยตัวเองได้ ๕ปี ๑๐ปี อะไรนี่น่ะ ทุกอย่างต้องเรียนรู้ ต้องฝึกหมดเลย ใช่ไหม เรียนรู้พ่อแม่สอนให้ กินก็ต้องสอน ขับถ่ายก็ต้องฝึก นอนยังต้องฝึกเลย นั่งก็ต้องฝึก เดินก็ต้องฝึก พูดก็ต้องฝึก เรื่องที่มนุษย์มีชีวิตอยู่ ต้องอาศัยการฝึกหมดเลย ฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก แต่ทีนี้ข้อที่ต้องฝึกนี้ เป็นข้อด้อยของมนุษย์ แต่กลับเป็นข้อดีของมนุษย์ เพราะอะไร เพราะสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ด้วยสัญชาตญาณได้ ช่วยตัวเองได้ทันทันนั้น เกิดมาด้วยสัญชาตญาณอย่างไร ตายไปด้วยสัญชาตญาณอย่างนั้น อยู่แค่นั้นตั้งแต่เกิดจนตาย สัญชาตญาณมาไงก็ตายไปอย่างนั้น แต่มนุษย์ไม่ได้อย่างนั้นนี่ พอเริ่มฝึกแล้ว คราวนี้ไม่มีที่สิ้นสุดเลย ฝึกไปๆ ท่านก็เลยให้ตัวอย่างไว้ คือ พระพุทธเจ้าเป็นยอดของบุคคลที่ได้ฝึกแล้ว ใช่ไหม กระทั่งฝึกแล้ว ดีแล้วเป็นกระทั่งพระพุทธเจ้าก็ได้ ก็เลยวางเป็นแบบไว้ให้เป็นตัวอย่าง สำหรับระลึกว่าเราต้องฝึกตัวนะ เราจะมีชีวิตที่ดีประเสริฐได้ พระพุทธเจ้าก็เลยต้องคอยกระตุ้นเร้าใจพวกเราอยู่เสมอ บอกว่าในหมู่มนุษย์นั้น ผู้ที่ประเสริฐคือ ผู้ที่ฝึกแล้ว หรือในหมู่เทวดาและทวยเทพ ผู้ที่ฝึกแล้วนี่ประเสริฐสุด แล้วก็มนุษย์นั้นฝึกแล้ว แม้แต่เทวดาและพระพรหมก็น้อมนมัสการ มนุษย์ไม่ต้องไปก้มกราบไหว้อ้อนวอนเทวดาหรอก ถ้าฝึกตัว พัฒนาตัวแล้ว เทวดาพระพรหมก็ยังมาไหว้มนุษย์เลย ใช่ไหม นี่ท่านให้คอยมีกำลังใจนี้อยู่เรื่อย เพราะถือการฝึกเป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้น ชีวิตมนุษย์นี่ดีงามอยู่ด้วยการฝึกทั้งสิ้น ที่เราอยู่มาได้นี่ อยู่ด้วยการฝึก มนุษย์นั้นตรงข้ามกับสัตว์ทั้งหลายอื่น สัตว์ทั้งหลายอื่นบอกว่า เกิดมาด้วยสัญชาตญาณอย่างไร ก็ตายไปด้วยสัญชาตญาณอย่างนั้น แต่คติของมนุษย์นั้นบอกว่า ฝึกอย่างไรได้อย่างนั้น ใช่ไหม เพราะฉะนั้น มนุษย์นี่ฝึกอย่างไร ได้อย่างนั้น ฝึกเข้าไปเถิด
ทีนี้มนุษย์นั้น ทั้งๆ ที่ชีวิตต้องฝึก แต่ว่าไม่เอามาใช้ประโยชน์ ฝึกเท่าที่จำเป็นพออยู่ได้แล้ว หยุดฝึก แล้วฝึกโดยไม่ได้ตั้งใจ ฝึกเพราะความจำเป็น อย่างที่ว่าฝึกกิน ฝึกนอน ฝึกเดิน ฝึกพูด ฝึกอะไรต่างๆ ฝึกพอให้พูดได้ แทนที่จะฝึกต่อไป พูดยังไงให้มันดี ให้มันได้ผลยิ่งกว่านี้ ใช่ไหม ฝึกได้มีศักยภาพต้องฝึกต่อเยอะ เรื่องพูดก็ยังไม่จบ แต่พอพูดได้หยุดฝึกแล้ว ฝึกเท่าที่จำเป็น ฝึกแบบเอาความเคยชินเข้าว่า ฉะนั้น จะเรียกว่าไม่ฝึกก็ได้ แต่ว่ามันเป็นฝึกแบบจำเป็นตามไม่รู้ตัว ท่านเรียกว่า เอาความเคยชินเข้าว่า ตามพ่อ ตามแม่ ตามผู้อื่น เห็นตัวอย่างอย่างไรก็ทำไป ฉะนั้น มนุษย์นี่เป็นอันว่าชีวิตโดยสภาพธรรมชาติอยู่ด้วยการฝึกนะ แต่ว่ามนุษย์นี่ไม่ใช้ประโยชน์จากหลักการนี้ กลับฝึกเท่าที่จำเป็น พออยู่ได้แล้วเลิกฝึก ทีนี้มนุษย์ที่รู้หลักการนี้ รู้ธรรมชาติของตัวเอง ดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ว่าเรานี้เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก เพราะฉะนั้น ถ้าเราฝึกต่อไป ชีวิตเราจะยิ่งดีงาม ก็ฝึกต่อ ทีนี้ฝึกอย่างมีหลักการเลย เอาละชีวิตเราจะดีต้องฝึก ทีนี้พอฝึกแล้ว คราวนี้เอาล่ะได้ผล เริ่มเลยนะ แม้แต่ความสุขได้ผลทันที เอาธรรมชาตินี้มาใช้ ยังไงล่ะ พอเราสร้างจิตสำนึกในการฝึกว่าเราเป็นมนุษย์ที่ต้องฝึก แล้วยิ่งฝึกยิ่งดี ใช่ไหม เรามองสถานการณ์ทุกอย่าง เป็นสถานการณ์สำหรับการเรียนรู้และฝึกตนหมดเลย มนุษย์เราพัฒนาได้จากการเผชิญปัญหา เช่นอย่างนี้เป็นต้น เจอปัญหาปั๊บ อย่าไปย่อท้อสิ คิดหาทางที่จะแก้ปัญหา ทำไงจะขบปัญหาให้สำเร็จได้
ทีนี้ก็พูดถึงว่ามนุษย์มีชีวิตที่อยู่ได้ดี ด้วยการฝึก ยิ่งฝึกก็ยิ่งมีชีวิตที่ดีงามขึ้นไป เราก็ตระหนักในความจริงอันนี้ ใช่ไหม เราก็สร้างสิ่งที่เรียกว่า จิตสำนึกในการฝึกตนขึ้นมาเลย มองสถานการณ์อะไร เจออะไร มองเป็นเรื่องฝึกตัวหมดเลย ฉะนั้น เราเจอปัญหา เราจะนึกว่าปัญหาคือ เครื่องฝึกตัวเรา ฉะนั้น คนที่เจอปัญหาแล้วไม่ย่อท้อ ไม่ถอย เราก็พัฒนาตัวขึ้นมาจากการพยายามแก้ไขปัญหา เราก็หาทางคิด เราก็เพียรพยายามสืบสาวหาเหตุปัจจัย คิดช่องทาง ค้นคว้า อะไรต่ออะไรมาแก้ปัญหา จากการคิดค้น พยายามแก้ปัญหาแล้วก็พัฒนาตัวเอง เราก็เก่งขึ้น มนุษย์ทุกคนที่เขาประสบความสำเร็จ เขาประสบความสำเร็จมาจากการที่พยายามเผชิญปัญหา เผชิญอุปสรรคแล้วแก้ไข พยายามพัฒนาตัวจากสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ เขาจะประสบความสำเร็จ คนที่เคยพัฒนาตัวอย่างนี้ ต่อมามันเคยชิน มันเกิดจิตสำนึกในการศึกษาและพัฒนาตน ชอบฝึกตน พอเจอสิ่งที่ยากแล้วชอบ เพราะอะไร เพราะว่าสิ่งที่ยากนี้ทำให้ตัวได้ฝึกมาก ของอะไรถ้ามันง่าย เราก็ไม่ได้ฝึกตัว จริงไหม มันง่ายก็ทำกันได้แล้ว คนที่เป็นนักฝึกตัว ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่ง่าย ตรงข้ามกับคนที่ไม่มีจิตสำนึกในการฝึกตน ถ้าเจอง่ายๆ ล่ะชอบ ถ้าเจออะไรยากแล้วก็ท้อเลย ถอยไม่สู้ ทีนี้พอเรามีจิตสำนึกในการฝึกตน เราชอบสิ่งยาก พอเจอสิ่งยาก เราเอา เจอสิ่งยากแล้วเกิดชอบใจ มีความสุข นี่ได้แล้ว จิตใจสบายมีความสุข พอเจอทีนี้ก็ตั้งใจทำสิ เพราะเต็มใจ เต็มใจก็ตั้งใจทำ ตั้งใจทำก็ยิ่งได้ผลใหญ่เลย ฉะนั้นเขาก็พัฒนาตัวเอง ทีนี้คนที่ไม่มีจิตสำนึกในการฝึกเป็นยังไง มันไม่อยากจะทำอะไร ไม่อยากจะสู้อะไร พอเจอปัญหาปั๊บ มันถอยทันที พอถอยสุขภาพจิตเสียแล้ว เพราะว่ามันเกิดความทุกข์ ใจไม่สบาย ขุ่นมัว เศร้าหมอง ทีนี้เกิดต้องทำล่ะ จำใจแล้วทีนี้ จำใจทำก็ทุกข์อีก ฝืนใจ จำใจทำ แล้วก็ไม่ตั้งใจทำ ไม่ตั้งใจทำไม่ได้ผลอีกด้วย ก็เลยใจตัวเองก็ไม่สบาย งานนั้นก็ไม่ได้ผลดี ตรงข้ามกับคนที่มีจิตสำนึกในการฝึกตน ทั้งใจก็เป็นสุข ทั้งงานก็ได้ผลด้วย พัฒนาตัวยิ่งๆ ขึ้นไป ทีนี้พอเราพัฒนาคนอย่างนี้ดีขึ้นมา มีจิตสำนึกในการฝึกตนเป็นคนเข้มแข็ง คราวนี้เป็นคนที่สู้สิ่งยาก พอเป็นคนสู้สิ่งยากแล้ว เจออะไรแล้วมันก็มีความสุขไปได้หมด แม้แต่สิ่งยากมันยังสุขได้เลย สิ่งง่ายมันจะไม่สุขได้ยังไง ใช่ไหม มันเป็นธรรมดา ฉะนั้น เขาเลยไม่กลัวทุกข์เลย ภูมิต้านทานความทุกข์ขึ้นมาเต็มที่เลย ศักยภาพในการที่จะมีความสุข ก็ขึ้นมาเต็มที่ด้วย ได้ ๒ เลย
๑ ภูมิต้านทานความทุกข์
๒ ศักยภาพที่จะมีความสุข
เพราะฉะนั้น คนที่มีจิตสำนึกในการฝึกตน สู้สิ่งยาก ก็มีความสุขได้ง่ายและทุกข์ได้ยาก และอยู่ในสังคมประเภทอย่างนี้ มีวัตถุพรั่งพร้อมสบายเลย ขึ้นกับวัตถุน้อย ตัวเองมีอิสรภาพ ถ้ามีวัตถุมายิ่งสบายมีความสุขเต็มเปี่ยม ตรงข้ามกับคนที่ไม่มีจิตสำนึกในการฝึกตน เห็นแก่ง่าย เห็นแก่ความสะดวกสบาย อ่อนแอ ใจเสาะเปราะบาง สิ่งที่บำรุงบำเรอพร้อม ก็เป็นแค่ปรกติ ได้เพิ่มมาหน่อยก็สุขนิดเดียว ขาดไปนิดไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์แล้ว หันไปเจออะไรต้องทำ ทุกข์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น คนประเภทนี้ทุกข์เต็มที่ไปหมดเลย แล้วทำไมจะไม่ฆ่าตัวตายเลย ใช่ไหม เพราะฉะนั้น พอขาดแคลนอะไรไปนิด ใจหดหู่ท้อถอย ฆ่าตัวตาย ฉะนั้น นี่เป็นมันธรรมชาติของสังคม ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ถ้าไม่พัฒนาตัวให้ดี เราก็เสียหลักแล้ว เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็กลายเป็นคนอ่อนแอตาม ยิ่งวัตถุพรั่งพร้อมคนก็ยิ่งอ่อนแอลง ฉะนั้น ในสภาพอย่างนี้เราต้องรู้เท่าทัน วัตถุพรั่งพร้อมขึ้นปั๊บ เราพัฒนาคนให้แข็งยิ่งขึ้น พอพัฒนาคนยิ่งแข็ง คนที่แข็งนั้นก็มาเสวยสุขจากวัตถุพรั่งพร้อมได้เต็มที่ อย่างนี้เขาเรียกว่า พัฒนาสวนทางกัน พัฒนาวัตถุให้พรั่งพร้อม แต่พัฒนาคนให้แข็งยิ่งขึ้น ให้สู้สิ่งยากยิ่งขึ้น แล้วคนนั้นแหละ ที่จะเสวยความสุขจากความเจริญนี้ได้จริงๆ ถ้ามิฉะนั้นแล้ว จะพัฒนาไปเสียเปล่า พัฒนาวัตถุไปพรั่งพร้อมเสียเปล่า ไอ้เจ้าเด็กเกิดมาสภาพอย่างนี้ มันเป็นปรกติของเขา และเขาไม่มีอะไรพิเศษเลย เหมือนกับเราสมัยก่อน เรามีเกิดมายังไง เราก็อยู่อย่างนั้น ก็เป็นปรกติของเรา เด็กสมัยนี้พรั่งพร้อมก็เป็นปรกติของเขา ไม่เป็นสุขพิเศษอะไร เพราะฉะนั้น ก็เลยน่ากลัว นี่แหละเอามาดูตัวอย่างที่ว่านี้ สังคมที่ว่ามั่งคั่งพรั่งพร้อมแล้ว ทำไมเด็กหนุ่มสาวฆ่าตัวตายมาก มันก็เป็นอย่างนี้ ฉะนั้น ตกลงว่านี่คือธรรมชาติมนุษย์ เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์เสีย ฝึกฝนสร้างจิตสำนึกในการฝึกฝนพัฒนาตัว แล้วเด็กสู้สิ่งยาก เข้มแข็ง ไม่ใจเสาะเปราะบาง เป็นผู้สามารถเสวยความสุข มีภูมิคุมกันทุกอย่างสูง แล้วก็มีศักยภาพในการที่จะมีความสุขอย่างสูงเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น เขาจะมีความสุขได้มาก ก็ทุกคนแหละ แต่ละคนก็เหมือนกัน ใครที่พัฒนาได้อย่างนี้ ก็เป็นคนที่มีโอกาสที่จะมีความสุข
อาตมาพูดมา ๒ อย่าง เป็นตัวอย่างของการที่ว่า การพัฒนาความสุขด้วยการที่ว่า ดำเนินชีวิตให้มันสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เอาธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ถ้ามนุษย์หลงสมมติปั๊บ เสียหลักได้ทันที แล้วทุกข์จะตามมา เอาละ ๓ แล้ว ทีนี้ต่อไป
สุขประเภทที่ ๔ สุขประเภทที่ ๔ ก็มาจากธรรมชาติมนุษย์อีก ธรรมชาติมนุษย์เป็นยังไง ก็ต่างจากสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น สัตว์ทั้งหลายอื่นนั้น ประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์ไม่เป็น บอกแล้วว่าเกิดมาอย่างไร ก็ตายไปอย่างนั้น สัตว์ทั้งหลายมันก็อยู่กับธรรมชาติ มันก็ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรผิดปรกติ แต่มนุษย์นี้พิเศษ ก็คือว่า ประดิษฐ์คิดค้นสร้างอะไรต่ออะไรขึ้นมา มีวัตถุ มีเครื่องมืออุปกรณ์ มีระบบสังคม มีเทคโนโลยี จนกระทั่งเป็นโลกมนุษย์เลย มนุษย์นี่ทำไปทำมาเกิดมีอารยธรรม วัฒนธรรม อารยธรรมวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มีในสัตว์ทั้งหลาย มีทั้งวัตถุ มีทั้งระบบสังคมต่างๆ จนกระทั่งเกิดเป็นโลกมนุษย์ และโลกมนุษย์นี่ต่างจากโลกของธรรมชาติ มนุษย์สร้างโลกมนุษย์ขึ้นมา กลายเป็นอีกโลกหนึ่ง จนกระทั่งบางทีแปลกแยกจากโลกธรรมชาติอย่างที่ว่าเมื่อกี้ กฎมนุษย์ก็มีกฎธรรมชาติก็มี แยกกันไปหมด เลยมนุษย์พวกหนึ่งก็หลงสมมติ แปลกแยกจากโลกธรรมชาติ มีชีวิตแต่ละวันไม่เคยรู้จักโลกธรรมชาติเลย บางคนนี้อยู่ในกรุงเทพฯ ออกจากบ้านตื่นเช้าไปทำงาน ไปโรงเรียน กลับจากโรงเรียน กลับจากที่ทำงานมาเข้าบ้าน เห็นแต่แสงสีถนน รถยนต์ ไฟฟ้า เห็นแต่ทีวี เห็นแต่อะไร ไม่เคยเห็นฟ้า ไม่เคยเห็นดวงดาว ไม่เคยเห็นดวงจันทร์ บางคนเป็นไหม บางทีไม่ได้สนใจเลย คือเขาอยู่แต่ในโลกมนุษย์อย่างเดียว โลกธรรมชาตินี่ หายไปแล้ว เขาแปลกแยกจากโลกของธรรมชาติ มาอยู่กับโลกของมนุษย์อย่างเดี่ยว นี่ก็คือเรื่องของความวิปริต แต่ว่ามันเป็นความสามารถของมนุษย์ที่เป็นนักประดิษฐ์สร้างสรรค์ปรุงแต่ง มนุษย์ก็ใช้ความสามารถนี้มาสร้าง ทีนี้แนวโน้มส่วนมากมันสร้างเพื่ออะไร มันสร้างเพื่อจะเอามาเสพ เพื่อให้ความสุขของตัวที่ได้จากประเภทที่ ๑ เกิดมีขึ้น แล้วมันก็เลยไม่พัฒนา
ทีนี้เอาเป็นว่ามนุษย์มีความสามารถพิเศษจากสัตว์อื่น ก็คือ มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น ปรุงแต่ง สร้างสรรค์ ทีนี้สร้างสรรค์มาเป็นวัตถุอะไรต่างๆ นั้นก็อย่างหนึ่ง ก็เกิดจากความคิด อีกอย่างหนึ่งก็คือ สร้างสรรค์ประดิษฐ์ปรุงแต่งในจิตใจของตัวเอง ก่อนที่จะออกมาเป็นวัตถุมันต้องปรุงแต่งในใจ ปรุงแต่งความคิด ปรุงแต่งสภาพจิต ปรุงแต่งความทุกข์ความสุขของตัวเอง ในการปรุงแต่งทุกข์สุขนั้น ปรากฏว่ามนุษย์จำนวนมากไม่พัฒนา ก็เลยปรุงแต่งแต่ความทุกข์ให้กับตนเอง ขอถามว่ามนุษย์เราใช้ศักยภาพความสามารถในการสร้างสรรค์ปรุงแต่งส่วนมากนี้ ในการสร้างสุขหรือสร้างทุกข์ให้แก่ตน มนุษย์ส่วนใหญ่ จะเห็นว่าใช้สร้างทุกข์มากกว่า เชื่อไหม คือ เราไปหวังสุขจากการเสพวัตถุ แต่ในใจตัวเองที่มีความสามารถปรุงแต่งสุขนี่ ไม่ใช้ ใช้ในทางปรุงแต่งทุกข์ อะไรที่มันจะกระทบกระเทือนใจ อะไรที่มันขัดอกขัดใจอะไรต่างๆ เหล่านี้เก็บหมด เข้ามาทางตา ทางหูได้ยินเสียงอะไรต่ออะไร ที่มันจะไม่สบาย กระทบกระทั่งเก็บ แล้วเวลานึกในความทรงจำ ระลึกในเรื่องไม่ดี ระลึกเรื่องที่ไม่สบายใจเอามาปรุงแต่งใจให้ขุ่นมัว เศร้าหมอง กลุ้มกังวล เครียด ความกลุ้ม ความกังวล ความเครียดนี่เป็นตัวอย่างของความสามารถปรุงแต่งของมนุษย์ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายอื่นทำไม่ค่อยได้ สัตว์อื่นนี่ปรุงแต่งความเครียด ปรุงแต่งความกลุ้มกังวลไม่เป็น ปรุงแต่งความรู้สึก จนกระทั่งว่าเป็นโรคจิต สัตว์ทั้งหลายอื่นนี่ ปรุงแต่งไม่เป็น แต่มนุษย์นี่ปรุงแต่งได้จนกระทั่งเป็นโรคจิต เป็นบ้าไปเลย ทีนี้ก็เป็นอันว่ามนุษย์นี่มีความสามารถในการปรุงแต่ง แต่มักจะใช้ความสามารถนี้ ในการปรุงแต่งทุกข์ คืออย่างที่ว่า ปรุงแต่งความกลุ้ม ความกังวล ความเครียด ความไม่สบายใจ อะไรต่างๆ สาระพัดจนกระทั่งเป็นโรคจิต ทีนี้ทำยังไง เราก็รู้ตัวแล้วก็เปลี่ยนเสีย เราก็ใช้ความสามารถในการปรุงแต่ง มาปรุงแต่งสุขเสียสิ
นี่แหละพระพุทธศาสนาสอนตรงนี้ ว่าท่านมีความสามารถอยู่แล้วในการปรุงแต่ง และสร้างสรรค์ประดิษฐ์ ก็เอาใช้ในทางที่ดีสิ มาสร้างปรุงแต่งสุข ก็เลยให้ปรุงแต่งสุข วิธีปรุงแต่งสุขนั้นก็ เช่นวิธีเจริญสมาธิต่างๆ วิธีสมถะทั้งหมดคือ วิธีปรุงแต่ง ทั้งหมดเลยวิธีสมถะ เป็นวิธีปรุงแต่ง มาปรุงแต่งใจของเราให้สงบ ปรุงแต่งใจของเราให้เบิกบาน ปรุงแต่งใจของเราให้ผ่องใส ปรุงแต่งใจของเราให้มันดีหรือมีสิ่งที่กังวลรบกวนใจ ก็ทำใจให้มันสงบ ระงับได้ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็วิธีนี้เยอะแยะไปหมดในพุทธศาสนา อันนี้อาตมาเป็นเพียงให้หลักการ เพราะฉะนั้น แค่ว่า ถ้าเราจะคิดอะไรวุ่นวาย จิตใจไม่สบาย ท่านก็บอก หันมากำหนดลมหายใจ อย่างนี้เป็นต้น เอาจิตมาอยู่กับลมหายใจ สติมาปรุงแต่งจิตเสีย เกิดสมาธิ นี่เป็นวิธีปรุงแต่ง ปรุงแต่งใจ ก็ใจอยู่กับลมหายใจ หายใจเข้า-รู้ หายใจออก-รู้ ใจไม่ไปไหน ก็หายพ้นไปจากสิ่งรบกวน ใจก็สบาย ท่านยังมีวิธีอีก ปรุงแต่งไปพร้อมกันนั้น เวลาหายใจแล้ว ทำใจไปด้วย อาตมาจะบอกให้สักอย่างวันนี้ คือ เราใช้วิธีหายใจ เป็นวิธีปรุงแต่งจิต ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ มันก็ดีอยู่แล้วนะ เพียงแต่ว่า อย่างบางคนเขาสอน
ก็อย่างพระพุทธเจ้าสอนก่อนว่า พระพุทธเจ้าสอนว่า หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ หายใจเข้า-ยาวก็รู้หายใจเข้ายาว หายใจเข้า-สั้นก็รู้ หายใจเข้าสั้น หายใจออกยาว หายใจออกสั้น ก็รู้ตามนั้น ก็รู้ตามที่มันเป็นนี่อย่างหนึ่ง ทีนี้อาจารย์รุ่นหลังก็มาเติมว่า เพื่อจะให้ได้ผลยิ่งขึ้น เอาคำมากำกับ เวลาหายใจเข้า ก็นับ ๑ หายใจออกก็นับ ๑ หายใจเข้านับ ๒ หายใจออกนับ ๒ มันจะได้กำกับชัดยิ่งขึ้น บางท่านก็มาเติมเอาคำว่า “พุทโธ” เดี๋ยวนี้เอาไปใช้เสียแล้ว ทีนี้ก็หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” หายใจกำกับจิตไปด้วย บางสำนักก็เอาอื่น หายใจเข้าก็ “ยุบหนอ” หายใจออก “พองหนอ” คำกำกับเหล่านี้เป็นเทคนิคของพระอาจารย์รุ่นหลัง ก็เอามาเพื่อจะช่วยกำกับจิต ก็ทำให้จิตอยู่ตัวยิ่งขึ้น ทีนี้อาจจะใช้วิธีอย่างพระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือมีเทคนิคเยอะ อย่างเวลาเราหายใจเข้า-ออก เราก็ถือโอกาสปรุงแต่งจิตด้วยเลย ปรุงแต่งซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เวลาหายใจเข้าก็ทำจิตให้เบิกบาน หายใจออกก็ทำจิตให้เบิกบาน อย่างในอานาปนสติที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ อภิปโมจิตตัง .19.33.....แปลว่าฝึกใจว่าเราหายใจเข้า ก็ทำใจให้ร่าเริงเบิกบาน หายใจออกก็ทำใจให้ร่าเริงเบิกบาน ทีนี้เราก็มาปรุงแต่งเป็นถ้อยคำ โยมลองเอาไปใช้ดูนะ อาจจะเป็นประโยชน์ เวลาเราว่างๆ เราไม่มีอะไรจะทำ รถติดหรืออะไรเราก็ลองทำดู แทนที่จะไปนั่งกลุ้มใจขุ่นมัว เราก็เอามาหายใจเลย ทีนี้หายใจเข้า ก็ทำว่า ทำจิตให้เบิกบานหายใจเข้า ว่าในใจด้วยนะ คือหายใจเข้าพร้อมจากนั้นก็ว่าคำนี้ แล้วก็ทำใจให้เป็นอย่างนั้น ใจของเรานี่มันอยู่ที่เราปรุงแต่ง ทำจิตให้เบิกบานหายใจเข้า แล้วทีนี้หายใจออก ทำใจให้โล่งเบาหายใจออก ลองดูสิ ทำให้มันเป็นไปตามคำที่เราพูด สบายใจเลย เอ้า! ลองดูสิ ลองได้ไหม ทำจิตใจเบิกบานหายใจเข้า เอ้าเชิญหายใจเข้า ทำจิตให้เบิกบานหายใจเข้า ทำใจให้โล่งเบาหายใจออก หายใจออกก็ทำใจให้เป็นไปตามคำที่ว่านั้นด้วย ทำอย่างนี้แหละ ใจก็สบาย ปรุงแต่ง เขาเรียกว่าปรุงแต่งจิต หรือว่าอาจจะใช้คำอื่นก็ได้ เช่นบอก หรือตัดคำว่า”ทำ”ออก หรือว่า” จิตเบิกบานหายใจเข้า ใจโล่งเบาหายใจออก” “จิตเบิกบานหายใจเข้า จิตโล่งเบาหายใจออก” หรืออาจจะใช้อีกแบบว่า “หายใจเข้าสูดเอาความสดชื่น หายใจออกฟอกจิตให้สดใส” ว่างั้น ลองดูก็ได้ “หายใจเข้าสูดเอาความสดชื่น” บางทีเราหายใจอยู่ไม่ได้เรื่องเลย หายใจเข้าสูดเอาแต่ความขุ่นหมอง ใช่ไหม ทีนี้เรา “หายใจเข้าสูดเอาความสดชื่น” “หายใจออกฟอกจิตให้สดใส” เราทำใจเสียให้เป็นไปตามนั้น สบายใจ แล้วใจไม่ต้องไม่ยุ่งกับเรื่องอะไร ก็มีความสุขอย่างหนึ่ง อันนี้เป็นเพียงเทคนิค ปลีกย่อยเอามาใช้ แล้วพระพุทธเจ้าก็เน้นสภาพจิตของคนที่ปฏิบัติธรรม จะมีอยู่ ๕ อย่างที่ควรทำให้ได้เสมอ วันนี้อาตมาก็มาบอกเสียด้วย พยายามทำใจให้มีคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ เพราะใจของเรานี้ เราเคยชินตกร่อง เรามักจะปรุงแต่งในทางกังวล ไม่สบายใจ ขุ่นมัวอยู่เรื่อย เลยมันเป็นธรรมดาของเราไป เพราะฉะนั้นเราต้องแก้ใหม่ แต่ต้องใช้เวลาหน่อยยนะ ฝึกให้มันเป็นธรรมดาในทางที่ดีเสีย จนกระทั่งจิตของเรานี่เป็นนิสัย ที่จะเคยสบายในความร่าเริงเบิกบาน มีความสุข ท่านก็ให้ไว้ ๕ ข้อ
๑ ปราโมทย์ และความร่าเริงเบิกบานใจ ร่าเริงเบิกบาน ทำใจให้ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ มีในคาถาธรรมบทอันหนึ่งบอกว่า ปราโมทย์ ชะภุโร ภิกขุ..... 22.24 ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ มีความร่าเริงเบิกบานใจ เชื่อว่าอยู่ในสำนักพระนิพพาน ว่างั้นเลยนะ อยู่ใกล้พระนิพพานแล้วนะ คนที่ใจร่าเริงเบิกบาน ฉะนั้น ทำใจให้ร่าเริงเบิกบาน จนเป็นประจำใจเลย
๒ ปีติอิ่มใจ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ ทำงานอะไรก็ทำแล้วด้วยความรักงาน ตั้งใจทำงาน งานก้าวไปก็เสวยสุขจากผลงานนั้นมีปีติอิ่มใจที่งานก้าวไปทุกขั้น
(๓) ปัสสะทิ แปลว่าความสงบเย็นผ่อนคลายกายใจ ไม่เครียด อันนี้แหละไม่เครียดล่ะ ปัสสะทิ ต่อไป
(๔) สุข ก็คือสภาพใจที่โปร่งโล่ง คล่อง ไม่ติดขัด ตรงข้ามกับทุกข์ ทุกข์แปลว่าบีบคั้น ติดขัด คับข้อง ใจที่เป็นสุขก็ไม่มีอะไรมาบีบ มาคั้น มาติดขัด โล่ง โปร่ง เบาสบาย สุขแล้วก็
(๕) สมาธิ จิตสงบ แน่ว ไม่ถูกอะไรรบกวน ไม่มีอะไรมารบกวนได้ ใจต้องการอยู่กับเรื่องอะไร ก็อยู่กับเรื่องนั้น สมาธิก็คือว่า ต้องการอยู่กับเรื่องอะไร ใจต้องการอยู่กับเรื่องอะไร ก็อยู่กับเรื่องนั้น เรียกว่า สมาธิ ไม่มีอะไรมากวนได้ คนที่ใจไม่มีอะไรมากวนได้ ก็แสนสบาย ใช่ไหม จะคิดอะไรก็คิดเรื่องนั้น ถ้ามีสมาธิ
ท่านบอกว่าให้ ๕ อย่างนี้เกิดในใจอยู่เสมอๆ แล้วใจเป็นสุข ปรุงแต่งมันขึ้นมา เราปรุงแต่งในทางที่ทุกข์มานานแล้ว จนกระทั่งจิตเคยชิน จนกระทั่งว่าความทุกข์ ความขุ่นมัวเศร้าหมองเป็นเจ้าเรือนไปแล้ว ต่อไปนี้ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่ต้องค่อยๆ สร้าง เราก็ค่อยสร้างให้เจ้า ๕ อย่างนี้มาเป็นเจ้าเรือนประจำใจเสีย คือให้มีปราโมทย์ มีปีติ ปัสสะทิ สุข สมาธิ ทำอยู่เสมอ ต่อไปใจก็กลายเป็นนิสัย เป็นสภาพจิตที่เป็นฝ่ายสุข นี่แหละสุขสร้างได้ เพราะฉะนั้นก็ปรุงแต่ง สร้างสรรค์ความสุขขึ้นมาในใจ ทำให้เป็นเรื่องธรรมดา ตอนนี้คนมีช่องทางหาความสุขได้มากขึ้น และสุขชักอยู่ในใจแล้วนะ ตอนแรกสุขนี่ต้องหาอยู่ข้างนอก ต้องวิ่งหาอย่างเดียว ตอนนี้สุขเริ่มอยู่ในใจเป็นคุณสมบัติภายใน ไม่ต้องหาแล้ว แล้วก็ตัวเองมีความสามารถในการสร้างมันขึ้นมาด้วย
ต่อไปก็ไปความสุขประเภทที่ ๕ สุขเหนือปรุงแต่ง เมื่อกี้นี้ต้องปรุงแต่ง ตอนแรกต้องหานี่วุ่นมาก ต่อมายังต้องปรุงแต่งต้องทำมัน ใช่ไหม ตอนนี้ไม่ต้องทำแล้ว ให้พ้นปรุงแต่งให้มันกลายเป็นธรรมดาเลย ให้ความสุขนั้นเป็นธรรมดาของจิต มันอยู่ภายในเป็นเจ้าประจำ เป็นคุณสมบัติภายในมีตลอดเวลา อันนี้ต้องถึงด้วยการไม่ต้องปรุงแต่ง คือ ได้ปัญญา ปัญญารู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติ รู้โลกชีวิตตามเป็นจริง รู้เจนจบ พอรู้เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริง ถึงจุดหนึ่งนี่ จิตมันวางตัวพอดีกับทุกสิ่งเลย ความรู้นั้นเป็นตัวปรับความรู้สึก เชื่อไหม คนเรานี่ชีวิตปุถุชนอยู่ด้วยความรู้สึกมาก มีความรู้สึกสุข ทุกข์ มีความรู้สึกโกรธ รู้สึกเห็นใจ ชอบใจ รู้สึกรัก ความรู้สึกนี่เราก็พยายามเปลี่ยนมาเป็นความรู้สึกที่ดี ปรุงแต่ง เราเปลี่ยนจากความรู้สึกไม่ดี มาเป็นความรู้สึกที่ดี แต่มันก็ยังอยู่ในระดับความรู้สึก ความรู้สึกนี้ยังไม่มั่นคง มันขึ้นต่อสิ่งอื่น ต่อมาพอมีความรู้ ตัวรู้มาปรับความรู้สึก ทุกอย่างลงตัวหมดเลย คนเรานี่พอมีความรู้ ความรู้มาปรับลงหมดเลย เราเข้าป่าเราหวาดกลัวโน้นนี่ เราไม่รู้อะไรเป็นอะไร พอเรารู้ทางหนีทีไล่ รู้อะไรต่ออะไร เราจะแก้ไขปัญหาได้ยังไง ความรู้นี้ปรับความรู้สึกหายหมดเลย ความรู้เป็นตัวปรับความรู้สึกและทำให้ทุกอย่างลงตัวพอดี ชีวิตที่เจนจบก็คือ รู้โลกและชีวิตตามเป็นจริง วางจิตวางใจลงตัวพอดีกับทุกสิ่งสบาย เปรียบเหมือนอย่างสารถีที่เจนจบในการขับรถ สารถีที่เจนจบในการขับรถเป็นยังไง คนขับรถที่ยังไม่ชำนาญ ใจไม่สบาย ร้อนรนกระวนกระวาย หวาดหวั่น จะขับรถออกไป มันวิ่งเข้าทาง ความเร็วอย่างนี้ จะผิดจะพลาด จะแก้ยังไง วิตกกังวลไปหมด ทีนี้พอเป็นสารถีที่ชำนาญ รู้เจนจบเข้าใจทางออกอะไรหมดเลย เจนจบจริงๆ อย่างที่ว่าชำนาญ ขับรถนี่สบาย แต่ก่อนนี้ใช้รถม้า ก็ขับรถ ก็ชักรถใช้อะไร ใช้แส้ ใช้บังเหียน ดึงรถเข้าสู่ทาง ปรับความเร็วให้พอดี พอรถพอม้าวิ่งตรงทางดี ความเร็วพอดี สารถีนั่งสบาย สารถีนั่งสบายเลยนะ นั่งใจสงบเรียบเลย สภาพจิตนี้ท่านเรียกว่า อุเบกขา เกิดจากปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง อะไรต่ออะไรทุกอย่างมันลงตัวเข้าที่ พอดิบพอดีหมดแล้ว จิตลงอุเบกขาสบายเยี่ยม จิตแบบสารถีที่เจนจบ ขับรถทุกอย่างลงตัวพอดี นี่เรียกว่า จิตอุเบกขา
คนที่เข้าใจโลกและชีวิตนี่เจนจบ วางจิตใจลงตัวพอดีกับทุกสิ่งทุกอย่าง ใจสบาย เป็นมีอุเบกขาเป็นสภาพเจ้าเรือนของจิตใจ ต้องการจะเสวยความสุขอะไร เสวยสุขได้เต็มที่ คนปุถุชนนี้
๑ ก็มีขีดจำกัดในการเสวยความสุข เช่นว่า ได้ความสุขช่องทางที่ ๑ อย่างเดียว สุขจากการเสพวัตถุ ความสุขอื่นไม่มี
๒ จิตไม่พร้อมที่จะเสวยความสุขนั้น เวลาเสวยความสุขเหล่านี้ ใจระแวง ใจหวาดหวั่น ใจขุ่นมัวเศร้าหมอง มันเสวยความสุขไม่เต็มที่
ฉะนั้นยังมีข้อด้อยอีกอัน มนุษย์ปุถุชนนี่มีข้อด้อยอันนี้ แม้แต่เสวยความสุข แม้แต่ขั้นหยาบที่สุด ก็ยังมีจุดอ่อน มันสุขไม่บริบูรณ์ ใจมันขุ่น มันมีอะไรระคายเคือง รบกวนอยู่ พอจิตของผู้ที่เจนจบชีวิต ถึงอุเบกขาขั้นสุดท้าย คราวนี้มีสิทธิ์
๑ มีสิทธิ์เสวยความสุขทุกขั้นที่ผ่านมา สุขได้ตั้งแต่ ๑ ถึง ๕ เลย
๒ ในการเสวยสุขทุกอย่างนั้น ไม่มีอะไรระคายเคืองจิตใจเลย จิตใจเปี่ยมบริบูรณ์ เสวยความสุขชนิดนั้นได้เต็มที่ ปุถุชนต้องฝึกด้วยนะอันนี้ คือเสวยความสุขอะไร ต้องเสวยความสุขนั้นอย่างจิตใจเต็มอิ่มด้วย ทำกันไม่ค่อยได้ จิตใจขุ่นมัว ระคายเคือง รบกวน หวาดหวั่น อะไรก็ไม่รู้
ฉะนั้น พอถึงสุขระดับที่ ๕
นี่บริบูรณ์อย่างนี้ อันนี้ก็อยู่ที่ว่าเมื่อสามารถเสวยความสุขเหล่านี้ได้เต็มที่แล้ว ตัวเอง
อยากจะเสวยอันไหนหรือไม่เสวยก็แล้วแต่ ก็เป็นสิทธิของตัว ผู้ที่พัฒนามาอย่างนี้ตามลำดับ มาถึงขั้นที่เรียกว่าโสดาบัน จะมีสิทธิ์เสวยสุข ๕ ขั้นครบ เพราะโสดาบันนี้เป็นตัวอย่างของคนที่เสวยสุขครบ ๕ ขั้น
เสวยสุขขั้นที่ ๑ อามิสกามสุข ก็มี พระโสดาบัน ยังมีครอบครัว มีบุตร ภรรยา มีสามีอยู่ อย่างนางวิสาขา เป็นโสดาบันสุขขั้นที่ ๑ ก็ได้
สุขขั้นที่ ๒ จากการให้ ก็พร้อมที่จะให้เต็มที่ มีความสุขในการให้ มีความพร้อมที่จะให้ จนในทางวินัยต้องตั้งวินัยบัญญัติไว้ ตระกูลใดที่เป็นผู้เสียสละบริจาค โดยไม่ได้มีการยับยั้งเลย ท่านให้สงฆ์นี้ มาประชุมการตั้ง เป็นตระกูลหรือครอบครัวโสดาบัน แล้วห้ามภิกษุไปรับอาหาร ภิกษุใดไปรับอาหารจากตระกูลโสดาบัน ถูกลงโทษเลย เพราะว่าท่านพร้อมที่จะให้ตลอดเวลา มีความสุขจากการให้ และมีความสุขอะไรอีก
มีความสุขจากการดำเนินชีวิตถูกต้องตามกฎธรรมชาติ มีความสุขจากการปรุงแต่งจิตใจได้สบาย และมีความสุขจากปัญญาที่รู้ความจริงของกฎธรรมชาติ แต่ว่าอาจจะไม่เต็มอิ่มในข้อสุดท้าย ข้อสุดท้ายนี่ยังพร่องบ้าง แต่ว่าเป็นบุคคลตัวอย่างที่ว่าได้ความสุขทุกขั้น แล้วเสวยสุขทุกขั้นได้อย่างดีที่สุด นี่แหละ พอคนเราพัฒนาความสุข ตัวเองก็ดีขึ้น ชีวิตก็ยิ่งสุขมากขึ้น ช่องทางสุขก็มากขึ้น และความสุขของตัวเองก็เกื้อกูล ประสานกับเพื่อนมนุษย์ โลกร่มเย็นเป็นสุขไม่เบียดเบียนเลย ความสุขไม่ต้องไปแย่งกันเลย และความสุขไม่ต้องไปหาด้วย เพราะความสุขนั้นอยู่ข้างในประจำในใจตลอดเวลา จะหาสุขข้างนอกก็เป็นส่วนประกอบเสริม เป็นกำไร ในใจก็มีความสุขอยู่แล้ว สบายเลย ดังนั้นคนเราพัฒนาถูกต้อง แสนจะสุขไม่รู้จะพูดยังไง เพราะฉะนั้น พอเป็นพระอรหันต์ท่านเลยพูดว่า “สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ” อย่างพระอรหันต์ พระมหากัปปินะอุทานว่า “สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ” เป็นอย่างนั้น ทีนี้สุขขั้นสุดท้ายนี้ อาตมาพูดมาเป็นตัวอย่าง แต่มาถึงจุดที่ว่าจิตมันลงตัวกันทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นชีวิตที่เจนจบโลก ทุกอย่างใจลงตัวหมด เป็นอุเบกขา เป็นเจ้าเรือนอย่างที่ว่า เป็นพื้นสงบเรียบเย็นสบาย เหมือนสารถีที่เจนจบ จัดเจนในการขับรถอย่างที่ว่าแล้ว ทุกอย่างลงตัวพอดี ไปสบาย
ทีนี้มาถึงขั้นที่ว่า ย้อนกลับไปเมื่อกี้ เมื่อกี้อาตมาบอกแล้วว่า ความทุกข์นั้นมันมาจากกฎธรรมชาติ แล้วมันมาส่งผลต่อจิตใจมนุษย์เป็นทุกข์ เพราะมนุษย์นี้ไปยึดมั่นในสิ่งทั้งหลาย วางใจไม่ถูก พอเรารู้เจนจบ โลกและชีวิตเข้าถึงความจริงสิ่งทั้งหลายด้วยปัญญา ก็กลายเป็นว่าเรารู้เท่าทันมัน มันจะถึงขั้นที่ว่าความทุกข์ที่มีอยู่ในกฎธรรมชาติในธรรมชาติ ก็เป็นแต่ทุกข์ในธรรมชาติไปตามเรื่องของมัน เรื่องอะไรจะต้องมาเป็นทุกข์ในใจของเราด้วย ทุกข์ที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติในธรรมชาติ ใครไปแก้มันได้บ้าง มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ฉะนั้น มันเป็นธรรมชาติของมัน เรื่องอะไรเราปฏิบัติไม่ถูก เราเลยพลอยเป็นทุกข์ไปด้วย เลยทำให้ทุกข์ในธรรมชาติมาเป็นทุกข์ในใจ พอเรารู้ความจริงเท่าทัน จบ เราวางใจถูกต้อง ทุกข์ในธรรมชาติก็เป็นทุกข์ในธรรมชาติไปตามเดิม ตามเรื่องของมัน ไม่มาเป็นทุกข์ในใจของเรา ใจเราเป็นอิสระ เลยสบายเลยทีนี้ นี่เป็นอิสระอีกขั้นหนึ่ง อิสระขั้นนี้ก็เปรียบเหมือนอย่างมีกระแส ๒ กระแส
แต่ก่อนนี้สิ่งทั้งหลาย มันก็มีกระแสของมัน ก็กระแสก็คือ ความเป็นไป สิ่งทั้งหลายนั้นเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัย มันก็เป็นธรรมดาของมันอยู่แล้ว สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นกระแสของมัน กระแสเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ทีนี้มนุษย์อยู่ดีไม่ดี ไปสร้างกระแสซ้อนเข้ามา กระแสอะไร พอเราไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย เราก็ไปสร้างความปรารถนาขึ้นมา เราไปยึด ไปอยาก กับสิ่งนั้น เราก็สร้างความปรารถนาว่า ขอให้เป็นอย่างนั้น ขอให้เป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้น อย่าให้เป็นอย่างโน้น การที่จะให้สิ่งนั้นเป็นไปตามปรารถนาของเรา มันก็เกิดเป็นอีกกระแสหนึ่งขึ้นมา ทีนี้มันก็เกิดเป็น ๒ กระแส ก็คือ กระแสในธรรมชาติกับกระแสในใจคน กระแสในธรรมชาติก็คือ กระแสความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เรียกว่ากระแสธรรม กระแสธรรมชาติหรือกระแสธรรม พูดสั้นๆ ทีนี้ในใจคนก็มีกระแสความอยาก ความปรารถนาขึ้นมาเป็นกระแสของคน ตอนนี้มีกระแสคนกับกระแสธรรมชาติ กระแสคนก็คือ กระแสความอยาก กระแสธรรมชาติก็คือ กระแสความเป็นไปตามเหตุปัจจัย สิ่งเดียวกันอยู่ใน ๒ กระแส แล้วสิ่งเดียวกัน มันอยู่ใน ๒ กระแส มันจะเป็นไปได้อย่างไร ๒ กระแส ถ้า ๒ กระแสนี้มันเกิดกลมกลืนไป มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร ใจเราต้องการตรงกัน หมดเรื่อง แต่ทีนี้ถ้าเกิดขัดกันล่ะ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยในธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่ใจเราปรารถนาอีกอย่างหนึ่ง เกิดอะไรขึ้น สิ่งเดียวเป็นไปใน ๒ กระแสนี่ไม่ได้ ต้องเป็นไปตามกระแสเดียว และกระแสไหนเป็นจริง กระแสที่เป็นจริงชนะคือกระแสอะไร กระแสเหตุปัจจัย ใช่ไหม กระแสธรรมชาติชนะ พอกระแสกฎธรรมชาติเป็นไปตามเหตุปัจจัยชนะ กระแสความปรารถนาในใจของเราก็ถูกขัดแย้ง ขัดแย้งก็เกิดการปะทะกระแทกกัน ปะทะกระแทกกันก็เกิดเรื่องเลย เราก็แพ้ กระแสในใจของเราแพ้ เราก็ถูกกด ถูกบีบ เราก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา นี่คือเรื่องของมนุษย์ กระแสคน กระแสธรรม ไม่ประสานกลมกลืน ขัดแย้งกัน ปะทะกระแทกกัน ยุ่ง
ทีนี้พอเราพัฒนาคนขึ้นมา พัฒนาคนคืออะไร พัฒนาปัญญา เมื่อกี้นี้อยู่ด้วยตัณหาอวิชชา ด้วยความไม่รู้ ด้วยตัณหาอยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ โดยไม่รู้เรื่อง ทีนี้พัฒนาปัญญาก็พัฒนาความรู้ พัฒนาความรู้ รู้อะไร ก็รู้ความจริงของสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็รู้เหตุปัจจัยของมัน มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย พอปัญญาเกิดขึ้น ก็เกิดกระแสใหม่ กระแสในใจคน คราวนี้เปลี่ยนจากกระแสความอยากหรือกระแสตัณหา มาเป็นกระแสปัญญา กระแสปัญญาก็รู้ความจริงตามกฎธรรมชาติ สิ่งนั้นมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันอย่างไร ปัญญาก็รู้ตามนั้น มันก็รู้สอดคล้องกัน ฉะนั้น กระแสในใจคนคือ กระแสปัญญา ก็เลยสอดคล้องกับกระแสธรรมชาติ กระแสเหตุปัจจัย กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน คราวนี้หมดเรื่องเลย นี่แหละพอคนเราพัฒนาปัญญาขึ้นมา กระแสคนกับกระแสธรรมชาติกลายเป็นกระแสเดียวกัน กลมกลืน ธรรมชาติเหตุปัจจัยเป็นไปยังไง เราก็รู้ตามนั้น เราก็ไม่ค่อยมีความทุกข์ เราก็สบายใจ
แต่อีกอันหนึ่งที่จะได้ก็คือ เราจะทำการได้ผลขึ้น เพราะว่าเรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ไม่ได้เป็นไปตามความอยากของเรา เราจะให้มันเป็นอย่างไร เราต้องการอย่างไร เราต้องไปทำตามเหตุปัจจัย ใช่ไหม จะมานั่งอยาก นั่งนึกเอาไม่ได้ อย่างนั้นเราก็ศึกษาเหตุปัจจัย เราต้องการให้สิ่งนี้เป็นอย่างไร บอกว่าจะเป็นไปตามเหตุปัจจัย เราศึกษาเหตุปัจจัย เราก็ทำที่เหตุปัจจัย เราก็ทำสำเร็จ เราต้องการสร้างผลสำเร็จอะไร เราก็ทำตามเหตุปัจจัย ก็สำเร็จด้วย เพราะฉะนั้น มีชีวิตอยู่อย่างดี คือใจก็เป็นสุข ทุกข์น้อย เวลามันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เราก็ศึกษาด้วยปัญญา รู้เท่าทัน อ๋อ นี่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เราสร้างเหตุปัจจัยไม่ครบอันไหน หรือเหตุปัจจัยอันไหนเราไม่รู้พอ เราก็ไปศึกษา ค้นคว้า แก้ไขเสีย หรือว่ามันเป็นเหตุสุดวิสัย ปัจจัยตัวอื่นเข้ามา เราก็รู้ เราก็ทุกข์น้อย เราก็แก้ไขได้ดี เราก็ทำงานได้ผล
ตกลงว่านี่ เรื่องของกระแสคน กระแสธรรม ก็มากลมกลืนประสาน ด้วยการพัฒนามนุษย์ให้เกิดปัญญาขึ้นมา ปัญญารู้เท่าทัน จนกระทั่งอย่างที่บอกเมื่อกี้ ความทุกข์ในธรรมชาติก็ปล่อยให้มันอยู่ในธรรมชาติไป ใจเราไม่พลอยเป็นทุกข์ด้วย ก็มีความสุขตลอดเวลา ความสุขนั้นก็เป็นสมบัติประจำใจ อยู่ในตัวเองตลอดทุกเวลา ไม่ต้องหา ตอนนี้แหละก็บอกแล้วว่า เสวยสุขก็มี ความสามารถเสวยสุขได้ทุกช่องทางอยู่แล้ว ก็อยู่ที่ตัวเองจะต้องการไหม แต่รวมความว่าเป็นสุขที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่า พระองค์เป็นผู้มีความสุขที่สุด ก็ขอเล่าซ้ำอีกที เคยเล่าบ่อยๆ ว่า เคยมีคนหนึ่งก็ไปพบพระพุทธเจ้า ก็คงเห็นว่าพระพุทธเจ้านี่ ทำไมสละเงินทอง วัง ที่อยู่สบาย มาอยู่ลำบาก อยู่กลางดง กลางป่า เดินจาริกพระบาทเปล่า ไปเที่ยวสั่งสอนประชาชน มองในสายตาของเขา พระพุทธเจ้านี่แสนจะลำบาก มีความทุกข์เยอะ ก็เลยมาว่าพระพุทธเจ้า บอกว่าพระองค์ทำไมมาอยู่อย่างนี้ ไม่มีความสุข น่าจะหาความสุขเสียให้เต็มที่ พระพุทธเจ้าก็ถามย้อนกลับว่า แล้วเธอเห็นว่าใครมีความสุขกับฉันล่ะ พอถามอย่างนี้ นายคนนั้นก็ชักงง ตอนแรกมองข้างเดียว มองว่าพระพุทธเจ้าลำบาก ทุกข์ พอถามอย่างนี้ เขาก็คิดเอง เอาใครมาเทียบดีว่าสุขกว่าพระพุทธเจ้า เขาก็วัดด้วยมาตรฐานของเขา เขาก็นึกว่า พระเจ้าบดินทร์สิมีทุกอย่างพรั่งพร้อม มีคุณสมบัติ มีอำนาจเต็มที่ ก็เลยบอกว่า พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธมหาอำนาจ เป็นราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีความสุขกว่าพระองค์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า เราสามารถบอกได้เลยว่า เรามีความสุขกว่าพระเจ้าพิมพิสาร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างนั้น แล้วจะพิสูจน์ได้ยังไงว่าใครสุขกว่ากัน มันยาก ใช่ไหม เอาอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพระพุทธเจ้าจะสุขกว่าพระเจ้าพิมพิสาร พระพุทธเจ้าก็เลยเอาวิธีนี้ตรัสว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คือพระพุทธเจ้าปรกติ พระองค์ไม่ได้หยุดล่ะ ท่านจะจาริกไป สั่งสอนประชาชนเรื่อย พระองค์ก็บอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เรานะจะอยู่เฉยๆ นั่งเสวยความสุขทั้งวันทั้งคืนก็ได้ พระเจ้าพิมพิสารทำได้ไหม นายคนนั้นยอมเลย พระพุทธเจ้าบอกว่าเราจะอยู่เฉยๆ นั่งเสวยความสุขทั้งวันทั้งคืนก็ได้ แต่ที่พระองค์ไปทำอะไร พระองค์ก็สุขตลอดเวลา พระองค์ไม่ได้ทุกข์ คือสุข หมายความว่าสุขมันอยู่เป็นคุณสมบัติในใจและตลอดทุกเวลาอยู่แล้ว ฉะนั้น จะอยู่เฉยๆ หรือจะทำอะไรมันก็สุข นี่พระเจ้าพิมพิสารไม่ได้มีความสุขอยู่ในตัวพระองค์นี่ ความสุขมันขึ้นต่อสิ่งเสพ ใช่ไหม ก็จะมานั่งเสวยสุขยังไง ต้องไปหาสิ่งเสพ ไปเสพสิ่งนั้นสิ่งนี้ มันจึงจะสุข ตกลงนายคนนั้นยอมแพ้ เป็นอันว่านี่ตัวอย่างวิธีพิสูจน์ แต่พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีความสุขบริบูรณ์ พระองค์ปฏิญาณพระองค์ได้ แต่เราเอาแค่โสดาบันก็พอแล้ว โสดาบันได้สุขครบทั้ง ๕ ประเภท ปุถุชนทั่วไปเดี๋ยวนี้ไปเน้นข้อที่ ๑ กันมาก ก็ที่ไปติดแค่ ๑ ก็ไม่พ้นแล้ว แย่แล้ว ก็เลยต้องเสวยโทษอะไรต่ออะไร ข้อบกพร่องจากอันที่ ๑ นี่พัฒนาขึ้นมาให้ได้อย่างพระโสดาบัน ให้ได้ความสุข ๕ ขั้น แล้วเสวยทุกขั้นอย่างที่เรียกว่าเต็มอิ่มด้วย ไม่มีระคายเคือง ไม่มีสิ่งรบกวน ฉะนั้น ผู้ที่พัฒนาตัวอย่างดีแล้วนี่ ก็มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป และแถมเป็นความสุขที่เกื้อกูลต่อสังคมมนุษย์ด้วย เราสุขชีวิตเราดี ก็ยิ่งทำให้ผู้อื่นสุขไปด้วย แล้วอย่างพระพุทธเจ้าพอสุขเต็มที่ ก็เป็นคนบริบูรณ์เต็มอิ่ม พอเป็นคนบริบูรณ์เต็มอิ่มแล้วดียังไงอีกล่ะ ดีที่ดีคือว่า ท่านเรียกว่าไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป เป็นคนที่พัฒนาตนเต็มอิ่มบริบูรณ์แล้ว คนอื่นยังต้องหาต้องทำเพื่อตัวเอง แม้แต่ว่าจะหาความสุข มีความสุขก็เพื่อตัวเอง
พระพุทธเจ้า พระอรหันต์มีความสุขอยู่ในตัวเต็มบริบูรณ์เป็นประจำเป็นธรรมดาแล้ว ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเอง อันนี้คือลักษณะของพระอรหันต์ พระอรหันต์คือบุคคลที่บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป พอไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป คราวนี้ทำยังไงล่ะ พลังงานชีวิตที่เหลืออยู่ ก็ทำเพื่อผู้อื่น พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ก็เลยออกเดินทางจาริกไป ตัวเองก็มีความสุขตลอดเวลา ก็ไม่ต้องไปกลัวทุกข์อะไร ก็เดินทางไปสั่งสอนหาทางทำให้คนอื่นมีความสุข ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสุขของมนุษย์ ของพหูชน ฉะนั้น คติของพระอรหันต์จึงบอกว่า จงจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนจำนวนมาก นี่คือคติของพระอรหันต์ทั้งหลาย เพราะไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเอง ก็ทำเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก ก็เลยเรื่องก็เป็นอย่างนี้ ก็ยิ่งชีวิตที่ดีงามยิ่งสุขสมบูรณ์ ก็ยิ่งเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่ชาวโลกมากเท่านั้น นี่คือการพัฒนาความสุขที่ถูกต้อง นอกจากตัวเองจะสุขไร้ทุกข์ แล้วยังแถมช่วยโลกให้หายทุกข์ มีความสุขมากขึ้นด้วย มีแต่ดีเท่านั้นเอง
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็จาริกไปอย่างที่ว่านี่ ไม่มีอะไรทำเพื่อตัวเอง เก่งกว่าพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์นี่ยังต้องทำเพื่อตัวเอง ยังต้องพยายามพัฒนาตัวเองให้สมบูรณ์ ยังต้องทำความดีด้วยปณิธาน ต้องตั้งใจทำนะ พระโพธิสัตว์นี่ คือต้องปฏิญาณว่าเราจะบำเพ็ญบารมีนี้ เขาเรียกว่าตั้งปณิธาน ว่าจะทำความดีนี้ให้เต็มที่ ยอมสละแม้กระทั่งชีวิต เพื่อจะทำความดีนั้น ไม่เห็นแก่ตัวเอง แต่พระอรหันต์นั้น ท่านไม่ต้องมีปณิธาน ท่านทำไปตามธรรมดา มันเป็นธรรมชาติของท่านอย่างนั้น เก่งกว่าพระโพธิสัตว์ ฉะนั้น นี่แหละคือการพัฒนามนุษย์ นี่ก็บอกแล้วว่า คราวนี้จะเสวยความสุขไหนก็แล้วแต่ชอบ พอเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่เหมือนพระโสดาบัน พระโสดาบันยังเสวยสุขทั้ง ๕ ขั้น พอเป็นพระอรหันต์ปรากฏว่า ท่านมีสิทธิ์เสวย แต่ว่าท่านไม่เสวยความสุขขั้นต้น เพราะอะไร เพราะจิตใจท่านพัฒนาขึ้นไปดี จนกระทั่งว่า ทั้งๆ ที่มีสิทธิ์ แต่เป็นเรื่องของท่านเอง ใจท่านพอใจอย่างนั้น ก็เลยมีข้อเปรียบเทียบ อาตมาก็เปรียบเทียบให้ฟัง มาในพระสูตร ท่านบอกว่าอย่างเด็กเกิดใหม่ทารก ตอนแรกนี่เล่นมูก เล่นคูดของตัวเอง มีความสนุกสนานในการเล่นคูดเล่นมูก จริงไหม หัวเราะอึกอากๆ มีความสุข พอโตขึ้นมาหน่อย มีความสุขไหมจากการเล่นคูดเล่นมูกของตัวเอง ไม่มีใช่ไหม ต่อมาพอเป็นเด็กโตหน่อย ก็มีความสุขจากการเล่นของเล่น รถเล็ก เรือเล็ก เครื่องบินเล็ก อะไรต่างๆ เอามาเล่น แล้วก็ติดใจ แล้วก็มีความยึดมั่นถือมั่นในของรักของหวงของตน ของเล่นนี่นะ เด็กมีความสุขจากสิ่งนั้นมาก แต่หวงมากนะ บางทีแทบจะเป็นจะตายเลยนะ ลองใครไปแย่งสิ ไปแย่งของเล่นของเขามา เขาจะมีความทุกข์มาก ร้องไห้จะตายอะไรอย่างนี้ ทีนี้เขาก็มีความสุขกับของเล่น ต่อมาพอโตขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง พอไปเห็นเด็กเล่นอย่างนั้น ไม่รู้สึกว่าจะเป็นสุขเลย เพราะจิตใจมันพ้นไปแล้ว พัฒนาเลยไป ทีนี้พอเห็นเด็กเล่นก็ขำ สนุก เราขำจากการพฤติกรรมของเด็ก เราไม่ได้สุขสนุกด้วย นี่ก็เช่นเดียวกัน พอจิตใจพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ก็มองไม่เห็นความสุขจากการเสวยสิ่งที่มนุษย์ปุถุชนได้เสวยอีกต่อไป แต่ก็จะเป็นการพัฒนาของจิตใจไปเป็นขั้นๆ แล้วก็เลยมีคำเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่งว่า ความสุขของมนุษย์ปุถุชนนั้น ท่านเปรียบว่า คนที่พัฒนาจิตใจสมบูรณ์ ก็เหมือนกับคนที่ร่างกายสมบูรณ์ คนที่มีสุขภาพสมบูรณ์นั้น เป็นคนมีความสุขและพร้อมที่จะเสวยความสุขทุกอย่าง อยู่ที่เขาจะเสวยสุขใดหรือไม่ ถ้าเขาเสวยสุขใด เขาเสวยเต็มเปี่ยม คนที่สุขภาพแข็งแรงดี ทีนี้คนที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ก็มีความสุขในตัวเองเลย แต่คนที่ยังเป็นโรคอยู่ มีความสุขในการที่จะได้ผ่อนคลายจากโรคด้วย แต่คนที่ร่างกายสมบูรณ์ เขามีความสุขในตัวเอง ความสุขโดยที่ไม่มีโรค กับความสุขจากมีโรคต่างกันอย่างไร ก็จะยกตัวอย่างเช่นว่า ท่านก็ยกตัวอย่าง คนเป็นโรคเรื้อน คนเป็นโรคเรื้อนนี่ คัน ทีนี้แกก็หาความสุข
๑ การเกา เกาไปแล้วก็มีความสุขจากการเกา ยิ่งคันยิ่งเกา ยิ่งเกายิ่งคัน ก็มีความสุขจากการเกา และ
(๒) อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ชอบผิงไฟ ร้อนขนาดคนธรรมดาผิงไม่ได้ ไปย่างตัว ท่านใช้คำว่า ไปย่างตัว คนเป็นโรคเรื้อนนี่ไปย่างตัวกับไฟ ให้ใกล้ๆ ร้อนแล้วมันสบาย เพราะมันแสนทรมานโรคนี้
พอไปได้ ๑ .เกา ๒.ย่างไฟ แล้วมันมีความสุข ทีนี้ต่อมาคนที่เป็นโรคเรื้อนนั้นหายจากโรค ร่างกายสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว คราวนี้การเกาก็ตาม การย่างไฟก็ตาม เป็นเครื่องหาความสุขของเขาอีกต่อไปหรือไม่ ไม่แล้ว ใช่ไหม เขามีร่างกายสมบูรณ์แล้ว เป็นความสุขในตัว ไม่ต้องไปหาความสุขจากการเกาที่คัน จากการย่างไฟ เพราะฉะนั้น ความสุขของมนุษย์ปุถุชนนั้น เปรียบเทียบกับความสุขของพระอรหันต์ ก็เหมือนกับคนที่ยังเป็นโรค กับคนที่มีร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพกายสมบูรณ์ฉันใด สุขภาพใจสมบูรณ์ก็ฉันนั้น พระอรหันต์เป็นผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ ความสุขเต็มเปี่ยม ความสุขของมนุษย์ปุถุชน ก็เลยเรียกว่า เป็นความสุขจากการเกาที่คัน ส่วนพระอรหันต์เป็นผู้มีความสุขจากการไม่มีที่คันจะต้องเกา นี่แหละก็เป็นความแตกต่างกันอีกอย่างหนึ่ง
ทีนี้ก็เป็นเรื่องของพัฒนาการของมนุษย์ ที่เราเข้าใจ แล้วก็เป็นเรื่องของธรรมชาติเอง ไม่ใช่เรื่องอะไร วิจิตรพิศดาร พระพุทธเจ้าสอนธรรมะจากความจริงที่ทรงประสบ ฉะนั้นอันนี้ก็เลยนำมาเล่าให้ฟัง ว่าพัฒนาขึ้นไปแล้ว มีแต่ดี ตัวเองก็มีความสุขมากขึ้น ช่องทางความสุขก็มากขึ้น เสวยความสุขก็เต็มบริบูรณ์ยิ่งขึ้น ความสุขนั้นก็เกื้อกูลกับสังคมมนุษย์อยู่ร่วมกันดีขึ้น ธรรมชาติแวดล้อม ก็ปรับตัวเข้ามาสมานกลมกลืนสอดคล้องกันดีขึ้น ก็เป็นความสุขขั้นที่ ๕ นี่คือความสุขที่ไร้ทุกข์ ก็จบละสิทีนี้ แต่ว่าก่อนจะจบก็ขอเติมคำเตือนนิดหน่อย สำหรับคนที่เดินทางไปสู่ความสุข มีความสุข ทุกขั้นตอนจะมีสิ่งหนึ่งเป็นหลุมดักอยู่ ต้องระวังมาก หลุมดักบุคคลที่มีความสุขนั้น เป็นหลุมดักเดียวกันกับหลุมดักคนที่ประสบความสำเร็จ คนที่ทำความดีทั้งหลาย เราอุตส่าห์สอนคนให้เว้นชั่ว ให้ทำความดี ให้ก้าวหน้าประสบความสำเร็จ ขยันหมั่นเพียร เป็นต้น สอนกันไปนักหนา แต่คนที่ก้าวหน้าประสบความสำเร็จ มีความดีงาม ความสุขนั่นแหละ ในที่สุดมาตกหลุมดักอันใหญ่ หลุมนี้คืออะไร หลุมนี้คือความประมาท เพราะฉะนั้น ท่านจึงต้องสอนอันนี้กันไว้ก่อน คนที่มีความสุขไม่ว่าระดับไหน ตกหลุมความประมาทได้ทั้งสิ้น เพราะอะไร เพราะความสุขนี้ มันสบาย พอคนเราสบายก็มีความโน้มเอียงที่จะนอนใจ ไม่กระตือรือร้น ไม่ขวนขวาย ไม่ดิ้นรน ตรงข้ามกับคนที่มีทุกข์บีบคั้น มีภัยคุกคาม พอทุกข์บีบคั้น ภัยคุกคาม ก็ลุกขึ้นดิ้นรน ขวนขวาย ปุถุชนจะเป็นอย่างนี้ พอสบายขึ้นมาเรียบร้อยก็นอน
ทีนี้พระพุทธเจ้าจึงต้องสอนหลักความไม่ประมาทไว้กัน เพราะว่าคนที่มีความสุขประเภทที่ ๑ พอสุขปั๊บ พรั่งพร้อมวัตถุ สังคมก็ตาม ครอบครัวก็ตาม อารยธรรมก็ตาม มักจะมาเจอจุดนี้ พอพรั่งพร้อมสุขสบาย ก็ลุ่มหลงมัวเมา สังคมอารยธรรมก็เริ่มเสื่อมลง ตระกูลก็เสื่อม อย่างพ่อแม่ไม่ฝึกลูกไว้ให้ดี ไม่ให้รู้จักรับผิดชอบตัวเอง บำรุงบำเรอตามใจ กลายเป็นคนอ่อนแอ ลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมาในความสุข ตระกูลก็เสื่อม เพราะฉะนั้น อะไรต่ออะไรก็ตาม เจริญขึ้นมาแล้ว มักจะวงจรเสื่อมเจริญขึ้นเพราะเรื่องนี้ พอทุกข์บีบคั้น ภัยคุกคามก็ดิ้นรน ขวนขวาย กระตือรือร้น สร้างสรรค์ พอประสบความสำเร็จ สะดวกสบาย ก็นอนใจเพลิดเพลิน เสวยความสุขละก็เสื่อม วนเวียนอย่างนี้
พระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้ตกวงจรนี้ พระองค์ก็ใส่ความไม่ประมาทเข้ามาเลย พอแทรกความไม่ประมาทเข้ามา ก็เป็นตัวกันเสื่อม ให้เจริญอย่างเดียว ไม่ต้องเสื่อม ทีนี้คนที่สุขจะเสื่อม สุขจากวัตถุพรั่งพร้อม สุขจากใจสบายปลงใจได้ อย่างคนบางคนนี่ปลงอนิจจังได้ พอสบายใจ ปลงอนิจจังได้ คราวนี้ไม่ขวนขวาย ปัญหาไม่แก้ เสร็จจบอีก เสื่อมอีก ฉะนั้นสมาธิเหมือนกัน พอว่ามีปัญหายุ่งวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ในสังคม มานั่งสมาธิสบาย พอนั่งสมาธิสบาย ก็ติดสมาธิอีก สมาธิพระพุทธเจ้า ธรรมะท่านก็สอนไว้นะ สิ่งทั้งหลายมีทั้งคุณทั้งโทษ สมาธิมีคุณอย่างไร สมาธิมีโทษอย่างไร สมาธิท่านบอกโทษไว้อย่างหนึ่ง สมาธิเป็นเหตุให้เกิดโกสัชชะ แปลว่า ความขี้เกียจ ฉะนั้น สมาธิก็สบาย พอสบายก็ขี้เกียจ ขี้เกียจนอนใจ ผลัดเพี้ยนเรื่องที่แก้ปัญหาเอาไว้ก่อน วันนี้ขอนั่งสมาธิให้สบายก่อน ไม่เอาแล้ว ผลัดเพี้ยน ก็เลยสมาธิ ความสุขจากสมาธิก็เป็นตัวทำให้ประมาทได้ เพราะฉะนั้น หลุมดักคนที่มีความสุขก็คือ ความประมาท เพราะฉะนั้นต้องระวัง พระพุทธเจ้าก็สอนไว้เลยว่า คนที่ประสบความสำเร็จ ทำความดี ก้าวหน้า มีความสุขนี่ อย่าได้ตกในความประมาทเป็นอันขาด แม้แต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี ปฏิบัติธรรมได้บรรลุความสำเร็จ ได้บรรลุคุณวิเศษ เกิดความภูมิใจขึ้นมา เกิดความภูมิใจก็เกิดสันโดษ สันโดษพอใจ มีความชื่นใจในผลสำเร็จ พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว ตักเตือนบอกเธอนี่ปมาทวิหารีแล้ว ปมาทวิหารีแปลว่า ผู้อยู่ด้วยความประมาท ว่ากระทั่งพระอริยบุคคล ขนาดพระโสดาบัน พระสกทาคามี ไม่พ้นนะ ตกอยู่ในความประมาท พระพุทธเจ้าเตือน พอใจในยินดี พอใจกับความสำเร็จเท่านี้ไม่ได้ ต้องก้าวต่อไป เพราะฉะนั้น จึงมีคาถาเตือนเรื่องไม่ประมาท บอกภิกษุแม้จะเป็นพหูสูตรคงแก่เรียน เรียนรู้ธรรมวินัย บำเพ็ญสมาธิ ได้ฌาน เป็นผู้มีความสุขจากเนกขัมมะ อะไรก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ อย่าได้ถึงความนอนใจ ไม่มียอมให้หยุดหรอกพระพุทธเจ้า เป็นอันว่าต้องก้าวต่อไป เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรม เราสรรเสริญอย่างเดียวแต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย นี่ตรัสอย่างนี้ แล้วพระพุทธเจ้าสอนว่า ให้สันโดษในวัตถุสิ่งเสพ แต่สอนให้ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย พอสันโดษในสิ่งเสพ เราก็สงวนเวลาแรงงานและความคิดไว้ได้ เราไม่เอาเวลาไปยุ่งกับการหาสิ่งเสพ ไม่มัวครุ่นคิดพรุ่งนี้จะไปหาความสุขที่ไหน อะไรต่ออะไร เราไม่ไปยุ่งกับเรื่องการหาสิ่งเสพบำรุงบำเรอตัวเอง เรามีความสันโดษในสิ่งเสพ เราก็สงวน ประหยัด ออมเวลาแรงงานและความคิดไว้ เสร็จแล้วท่านก็ให้ไปทุ่มกับการไม่สันโดษในกุศลธรรม เราก็มีเวลา แรงงานและความคิด เอาไปทำความดี สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ได้มาก ฉะนั้น ท่านก็ตรัสไว้คู่กันว่า สันโดษในสิ่งเสพ แต่ให้ไม่สันโดษในกุศลธรรม มันก็รับกันกลมกลืนไป ก็ไม่ประมาทเลย ไม่ประมาทก็เดินหน้าไป แล้วก็สร้างสรรค์ พัฒนาความสุข ก็เลยเข้าหลักที่พูดไว้ตอนต้น แต่ตกลงก็ตรงนี้ว่า เตือนไว้ก็คือว่า ให้ไม่ประมาท ถ้าไม่ประมาทแล้ว มีแต่เจริญ ไม่มีเสื่อม หลักธรรมพุทธศาสนานี่มันย้อนกันในตัวนะสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดแล้วต้องดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ถ้าท่านไม่ประมาทแล้ว มีแต่เจริญ ไม่มีเสื่อม อย่างหลักธรรมปะหาปริยัติธรรม.พระพุทธเจ้าตรัสไว้บอกว่า มีแต่วุฒิเยวะ ปาติกังโข โนปริหานิ แปลว่า พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้เลย ถ้าคนเราปฏิบัติธรรมไม่ประมาท ฉะนั้น เอาอนิจจังมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่าไปกลัวเสื่อม ไปคิดบอกว่าสิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้นแล้ว เจริญ และก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา ระวังนะถ้าปลงไม่ดีนี้ผิดหลักความไม่ประมาท
ฉะนั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นกฎธรรมชาติ แต่มันเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงไปในทางเจริญก็ได้ เสื่อมก็ได้ เจริญหรือเสื่อมเป็นเรื่องของมนุษย์ตกลงเอา ใช่ไหม เมื่อมนุษย์ต้องการความเจริญก็ทำให้มันเปลี่ยนต่อไป แต่เปลี่ยนไปในทางที่ดี ไม่ให้เปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสในทางสัจธรรมว่า สิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจัง เกิดดับ เกิดแล้วต้องดับ แต่ในทางจริยธรรมบอกว่า ตั้งอยู่ในความประมาท มีแต่เจริญ ไม่มีเสื่อม แล้วไม่ขัดกันเลย ๒ หลักนี้ ฉะนั้น เราต้องสร้างความเจริญได้ ด้วยความไม่ประมาท ตกลงว่า ก็เข้าวิธีปฏิบัติตามหลักที่ว่าไว้ข้างต้น ๔ ข้อ สรุปปิดท้ายเสียที
๓ แม้ในสุขที่ชอบทำนั้น ก็ไม่ลุ่มหลง หมกมุ่น มัวเมา
แล้วต่อท้ายก็ได้ จนกว่าจะถึงสุขสมบูรณ์ที่ว่าเมื่อกี้ ที่ว่าเป็นสุขขั้นที่ ๕ เป็นสุขที่ไม่ต้อง
ปรุงแต่ง มีอยู่ประจำใจเต็มอิ่มในตัว ที่ทำให้บุคคลนั้นไม่ต้องทำอะไรเพื่อตัวเองอีกต่อไป เพราะไปทำทำไม ตัวเองสุขสมบูรณ์ตลอดเวลา ก็จบ เจริญพร ตกลงว่าไม่รู้พูดยาวเท่าไรเลย เกินเวลาไปเยอะ เอาละ ก็ขอโมทนา ไม่ทราบจะมีเวลาคุยกันอีกหรือเปล่า ถ้าไม่มีเวลาคุย ก็ต้องปิดรายการ หรือใครมีคำถามอะไร
(เสียงถามเบามาก จนไม่สามารถจับความได้) อันนี้อาตมาก็พูดเรื่อย ตอนนี้อาตมาไปพูดที่ไหน ก็ถ้ามีโอกาสก็เอาเรื่องนี้ คือว่า ขั้นที่ ๑ ก็คือว่า ให้แง่คิดว่า อย่ามองเรื่องนี้เป็นเรื่องร้าย ให้มองเป็นข่าวดี ข่าวดีอยู่ที่เราใช้เป็น คือว่า ร้ายมันร้ายอยู่แล้ว แต่ว่าทำยังไงเราจะเอามาใช้ให้มันดีได้ ก็คือว่า อย่างน้อยมันเป็นสัญญาณเตือนภัย มันเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ลึกลงไปว่า เบื้องหลังภาพที่ปรากฏเป็นเหตุการณ์ มันมีอะไรหมักหมมมาเยอะแยะ นานเท่าใด แล้วก็เราเดินทางกันอยู่ในวิถีปัจจุบัน เราอาจจะเดินผิดพลาด เราไม่รู้ตัว ถ้าไม่มีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น เราก็เพลินต่อไป เพลินต่อไปจนกระทั่งว่า หายนะมาถึงแล้ว อย่างที่เรียกว่าตกเหวแล้วจึงรู้ตัว ตายเสียก่อน ฉะนั้น เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ดีแล้ว ได้รู้ตัวขึ้นมา ทำให้รู้ว่าเดินทางผิดแล้วนะ เดินทางผิดแต่ยังไม่ทันถึงลงเหว รู้ตัวเสียก่อน พอดีไปกระทบกระแทกโขดหินขึ้นมา บาดเจ็บไปบ้าง ก็เอา ก็ยังดี ดีกว่าตาย ลุกขึ้นมารีบตะเกียกตะกายเข้าฝั่งเสีย แก้ไขเสีย ตั้งหลักตั้งตัวให้ได้ แล้วจะได้แก้ไขปัญหา ฉะนั้น อันนี้เป็นสัญญาณภัย ใช้ให้เป็นก็รีบลุกขึ้นมาแก้ไขเสีย แล้วจะได้ประโยชน์ แต่ถ้าหากว่าเกิดมีขนาดสัญญาณเตือนภัยแรงอย่างนี้ แล้วยังหลับต่ออีก ก็ช่วยไม่ได้แล้วนะ แต่ทีนี้มันน่ากลัวก็คือว่า สัญญาณภัยเกิดขนาดนี้ แล้วยังหลับกันอยู่อีก มันค่อยตื่นเลย แล้วก็ทีนี้ไม่ตระหนักถึงว่า ตัวสถานการณ์ก็มองไม่ออก เหตุปัจจัยก็ไม่ค้น คือเรื่องนี้มันต้องมอง ๒ ขั้น
๑ ก็คือตัวเหตุการณ์เฉพาะกรณี ซึ่งจะต้องแก้ไขกันให้เรียบร้อย ให้ชัดเจนเสร็จสิ้น
๒ ปัญหาระยะยาว เหตุปัจจัยอะไรที่หมักหมมมาจนกระทั่งเกิดเป็นแผลพุพองอย่างนี้ แผลพุพองนี่เดี๋ยวเกิดพุที่นั่น เดี๋ยวเกิดพุที่นี่ เหตุปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังนั่น มันต้องสร้างกันมาเป็น ๕๐ ปี ๑๐๐ ปี เหตุปัจจัยอันนี้ ต้องไปค้นหา แล้วแก้ที่ตัวนี้ระยะยาว ถ้าไม่ไปแก้อันนี้ เหตุปัจจัยยังอยู่ แก้เฉพาะกรณีเสร็จไป กรณีอื่นก็เกิดอีก
เรื่องนี้อาตมาพูดมาตั้งแต่กรณีก่อนๆ พูดมาเรื่อยแหละ บอกว่าอย่าตกใจ ต่อไปจะต้องเกิดเรื่องร้ายกว่านี้ (ที่บอกว่ายังไม่ตื่น มีใครไม่ตื่น)
คณะสงฆ์ก็ไม่ตื่น พุทธศาสนิกชนก็ไม่ค่อยตื่น ไม่ค่อยตื่นพุทธบริษัททั้งหมด แล้วไปสนใจเรื่องเฉพาะกรณีอะไรนี่ ใช่ไหม แทนที่จะไปหาเรื่องราวที่มันจะเป็นเรื่องจริงจัง ที่เป็นเหตุปัจจัย ที่จะเป็นตัวแก้ปัญหา แม้แต่ฟังวิทยุรายการอะไรต่างๆ เขาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ มันก็ไปอยู่ที่เฉพาะตัวกรณีเสียมากกว่า แทนที่จะไปสืบสาวหาเรื่องราวที่ลึกซึ้ง ที่เป็นเหตุปัจจัย ที่มันหมักหมมมา จะต้องแก้ไข ไม่ค่อยจะเอา
คำถามเบามาก
เป็นส่วนหนึ่ง ก็เป็นอุปกรณ์ แต่ว่าต้องแก้ผู้ใช้อุปกรณ์ด้วย แต่อุปกรณ์ก็สำคัญนะ ถ้าไม่แก้แล้ว อุปกรณ์ไม่ดี ถึงมีคนที่มีคุณภาพ มีดมันไม่คม ก็ใช้ทำอะไรไม่ค่อยได้ อุปกรณ์ เทคโนโลยีก็สำคัญ ฉะนั้น พวกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ก็เป็นอุปกรณ์ เป็นเครื่องมือ เป็นระบบ เป็นรูปแบบ ที่จะช่วยให้ดำเนินการอะไรต่ออะไรได้ผล แต่ว่าตอนนี้ก็เน้นเรื่อยแหละว่า พรบ.คณะสงฆ์ของเราอาจจะเดินทางผิด สำหรับในความเห็นส่วนตัวอาตมาว่าเดินทางผิดตลอด
ถาม : แต่ว่าปัญหานี้ที่จริงมันก็ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น สมัยก่อน ๒๕๕๐ ใช้บังคับ (เสียงเบามาก)
ตอบ : คือเหตุมันเกิด แต่ว่าในสมัยหนึ่ง เหตุเกิดปั๊บ ระงับปั๊บ เหตุเกิดปั๊บ ระงับปั๊บ แต่ตอนนี้เหตุเกิดปั๊บ ไม่ระงับ มันไม่เหมือนนี่ มันไม่เหมือนตรงจุดนี้ ไม่ใช่ว่าอดีตไม่มีเหตุอย่างนี้ ใช่ มันกลายเป็นตรงข้าม เพราะฉะนั้น ไม่เหมือนนะ ไม่เหมือน แต่ว่าต้องรู้จักใช้ประโยชน์ และตัวนี้ตอนที่ว่า ที่ว่าอาตมาว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เดินทางผิด ก็เพราะว่ามันไม่ได้เป็นไปตามหลักการของพุทธศาสนา เราไปดูหลักการพุทธศาสนา เราจะเห็นชัด เราถือว่า พรบ.คณะสงฆ์นี่เป็นเรื่องการปกครอง ใช่ไหม เอาละ การปกครอง พระพุทธเจ้าก็มีการปกครอง คือ วินัย ใช่ไหม มึคณะสงฆ์ แล้วพระองค์ก็ตั้งบทบัญญัติในการปกครองขึ้นมา แต่เราไปดูว่า กฎหมาย วินัย การปกครองที่พระพุทธเจ้าตั้งไว้นั้นน่ะ มันสอดประสานกับระบบของพุทธศาสนาอย่างไร ระบบของพุทธศาสนาโยงมาอย่างไรกับเรื่องวินัย เรื่องกฎหมาย เราจะเห็นชัดเลย เอ้า ! พระพุทธเจ้า
๑ ตั้งแต่ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมาเพื่ออะไร ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมาเป็นชุมชน แล้วมีระเบียบวินัย มีบทบัญญัติ เพื่ออะไร เพื่อให้เป็นแหล่งที่คนที่ต้องการฝึกฝนพัฒนาตนอย่างจริงจัง จะได้มาอาศัยสภาพแวดล้อมนี้ได้ผลดี ได้ฝึกฝนพัฒนาตน ศึกษาได้ผล แล้วคณะสงฆ์ที่ตั้งไว้อย่างดีนี้ จะได้เป็นแหล่งการศึกษาแก่ประชาชนอีก ชัดมากอันนี้ เพราะว่าระบบชีวิตของพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระคือ ไตรสิกขา ไตรสิกขาคือ ชีวิตของพระ พอบวชเข้ามาก็เริ่ม ศีล สมาธิ ปัญญา ต่อไปนี้ก็พัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา จัดคณะสงฆ์ขึ้นมา วินัยทุกอย่างเพื่ออะไร เพื่อจัดสภาพแวดล้อม ระบบความเป็นอยู่ ในชุมชนคือสงฆ์นี้ ให้เอื้อต่อการที่พระสงฆ์แต่ละองค์จะได้ฝึกฝนพัฒนาตนตามไตรสิกขา เท่านั้นเอง ฉะนั้น วินัยก็เพื่อส่งเสริมสิกขาหรือการศึกษา
ทีนี้ ดูย่อยลงไปอีก ดูย่อยลงไปก็คือว่า ผู้ที่ปกครองในคณะสงฆ์นั้นคือใคร คืออุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์นี้เรามองว่าเป็นผู้ปกครอง แต่มีอุปัชฌาย์เพื่ออะไร อุปัชฌาย์มีตั้งแต่เป็นตัวประกันในการบวชของภิกษุ เป็นตัวประกันว่าภิกษุคนนี้เมื่อบวชเข้าไปแล้ว จะมีผู้คอยดูแลให้ได้รับการศึกษา อุปัชฌาย์มีหน้าที่ดูแลปกครองเพื่ออะไร เพื่อเป็นหลักให้มั่นใจ เป็นหลักประกันว่า ภิกษุที่บวชเข้ามาใหม่ จะได้รับการศึกษา เพราะฉะนั้น หน้าที่ของอุปัชฌาย์ดูแลเพื่อให้เขาได้รับการศึกษา การปกครองนั้น ไม่ได้ใช่จุดหมายของมันเอง การปกครองมีขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น เป็นการจัดสภาพแวดล้อม ระบบความเป็นอยู่ เพื่อเกื้อกูลต่อการฝึกฝนพัฒนาคน คือการศึกษา ปัจจุบันนี้เรามีการปกครอง เพื่อปกครอง ไม่โยงไปหาหลักการพุทธศาสนา เพื่อให้ มันจะเป้นตัวช่วยเอื้อให้เกิดการศึกษาอย่างไร ไม่มองเลย พอเน้นนานๆ ไป การปกครองเพื่อปกครอง ก็เน้นอำนาจ การปกครองในที่สุดต้องมาเน้นที่อำนาจ ใช้อำนาจ ก็เน้นไปที่จัดการกับคนทำผิด จะต้องลงโทษ คณะสงฆ์ระยะหลัง เน้นเรื่องนี้หมดเลย กฎนิคหกรรมพยายามสร้าง กฎนิคหกรรมขึ้นมาใหญ่โต แต่แล้วปฏิบัติไม่ได้ ก็เลยเน้นเรื่องการใช้อำนาจ เรื่องของการที่กำจัดอะไรต่างๆ แทนที่จะเน้นการสร้างสรรค์ ทำยังไงจะพัฒนาคนขึ้นมา ให้ไม่มีคนทำผิด หรือให้มีคนทำผิดน้อยที่สุด ไปเน้นแต่ทำยังไง จะจัดการกับคนทำผิด การปกครองหมดความสัมพันธ์กับระบบธรรมะ หมดความสัมพันธ์กับระบบของหลักสิกขา ไตรสิกขา ไม่เข้าเนื้อเข้าตัวระบบพุทธศาสนาเลย ถ้าอย่างนี้แล้ว ไปไม่รอดหรอก ฉะนั้นจะต้องจับจุดนี้ให้ได้ คือ พุทธศาสนาเกิดขึ้นมาเป็นระบบการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ ตั้งคณะสงฆ์เพื่อเป็นแหล่งให้การศึกษา แล้วก็จะได้ขยายการศึกษาออกไป มนุษย์จะได้ฝึกฝนพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ฉะนั้น การจัดตั้งระบบแบบแผน วินัย กฎหมาย ก็เพื่อเอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ในสังคมที่ดี เพื่อเอื้อต่อการที่บุคคลนั้น จะได้ศึกษาพัฒนาตน ให้บรรลุธรรมจนถึงสูงสุด เท่านั้นเอง
ถาม : ขอแสดงความเห็น ตลอดมาไม่ว่าในสังคมไหน ที่มีการปกครองโดยระบบอะไรก็ตาม ก็ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือของการปกครองของฝ่ายอาณาจักรเสมอ คือคิดว่า โดยอาศัยศรัทธาหรือความเชื่อ จะเป็นศรัทธาแท้ หรือความเชื่อของผู้คนก็ตาม ว่าถ้าอาศัยให้คนเชื่อศาสนาแล้ว ก็จะปกครองได้ง่าย แล้วมันก็เป็นอย่างนั้นตลอดมาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว กระผมก็คิดว่า เรื่องรากเหง้าสำคัญก็คือว่า ไม่มีความเคารพพระศาสดา ที่มีความประสงค์อย่างที่พระคุณเจ้ากล่าว
ตอบ : มันไม่เข้าสู่หลักการเลย หลักการของพุทธศาสนานี่ ไม่เข้ามาเลย
ถาม : เอาศาสนาไปใช้ในทางที่ไม่ถูก ถ้าจะทำยังไง ก็ต้องให้คนใน ผู้มีอำนาจวาสนาปกครองบ้านเมืองนี่ รู้จักหลักการที่ถูกต้อง กระผมคิดอย่างนั้น
ตอบ : ใช่ เพราะฉะนั้น เขาจะดูพุทธศาสนา ก็เหมือนลัทธิความเชื่อทั้งหลาย อย่าง ไสยศาสตร์ เขามองเป็นคุณค่าแบบเดียวกัน คิดว่าถ้าคนไปเชื่อสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็จะได้อยู่ในความดูแลปกครองง่ายเลย
ถาม : เขาจะใช้ศาสนา ปกครองง่ายตลอดมา ผมเห็นว่าเป็นอย่างนั้น นี่ก็เป็นความที่เขาไม่ได้เคารพพระศาสนา
ตอบ : เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่า ก็เลยยิ่งชอบใจ ถ้าจะมีความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของขลัง วัตถุมงคล เพราะว่าความเชื่อแบบนี้มันทำให้ มันอยู่ในแนวทางที่เกี่ยวกับการปกครองแบบนั้นได้ง่าย เขาเลยพอใจส่งเสริม ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ มันขัดต่อหลักการพุทธศาสนา ตอนนี้อาตมาพูดก็ต้องเน้นเรื่องนี้ บอกว่าขอให้ดูสังคมไทยปัจจุบันนี้ ให้สำรวจและตอบด้วยว่าเวลานี้สังคมไทยนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก หรือนับถือศาสนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไสยศาสตร์เป็นหลัก ถ้ายังนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก ไม่เป็นไรเราไม่ได้กลัวหรอก การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไสยศาสตร์ อะไรต่างๆ เทพเจ้าจะมีอยู่บ้าง เป็นส่วนประกอบปลีกย่อยแฝงๆ อยู่ กลัว แต่ถ้าเมื่อไรมันตรงข้าม คือนับถือศาสนาไสยศาสตร์ เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นหลัก พุทธศาสนาเป็นตัวประกอบเมื่อไร หมด เวลานี้น่าสงสัยนะ ว่าอะไรเป็นหลักกันแน่ในสังคมไทย
ถาม : อีกข้อหนึ่ง ในขณะนี้กระผมคิดว่า พุทธบริษัทฝ่ายฆราวาส ได้ละทิ้งการที่จะศึกษาปฏิบัติทางศาสนานี่ ไปให้แก่ฝ่ายบรรพชิต พระสงฆ์ แล้วก็มอบความหวังให้มากไป คือ ก็กลายเป็นว่า ไม่รู้จักพึ่งตัวเอง กลายเป็นจะไปคอยพึ่งฝ่ายพระ ฝ่ายสงฆ์ ทีนี้เมื่อฝ่ายสงฆ์ได้เป็นอย่างนั้น ที่จริงก็เป็นมาตลอดอีกเหมือนกัน เมื่อเป็นมาตลอดอย่างนี้แล้ว ก็เกิดความ คือเราก็ต้องถือว่าฝ่ายสงฆ์เองนี่ ก็ที่เป็นปุถุชนยังเป็นพวกสงฆ์เสียมากมาย แล้วอยู่ในความประมาทก็มาก เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วนี่ ระบบการหลอกลวงก็ได้เกิดขึ้น จำนวนหนึ่งเลย แล้วมาบัดนี้มาแสดงความผิดหวังต่างๆ นานา ไม่เห็นว่าที่จริงแท้จริงแล้วนี่ ฝ่ายฆราวาสเองควรจะได้พึ่งตัวเอง โดยการศึกษาปฏิบัติ ให้รู้ศาสนามากกว่านี้ จะได้ช่วยกันเกื้อกูลกัน ไม่ใช่มาตอนนี้ กลายเป็นว่า เมื่อผิดหวังเข้า กำลังถึงขั้นที่ว่าจะเลิกนับถือศาสนากันไปทั้งหมดเลย เลิกนับถือไม่ใช่แบบเลิกนับถือกรณีเฉพาะ เลิกนับถือศาสนากันไปเลย นี่ก็ถือเป็นความผิดของฝ่ายฆราวาสไม่น้อยกว่าครึ่ง ไม่น้อยกว่าครึ่งส่วน ต้องถืออย่างนั้น ครั้นแล้วจะในการที่จะแก้นี่ จะไปบอกว่าให้แก้กฎหมายดำเนินการ ๒ อย่าง จะมาแก้ตัวเองนี่ว่า ทำอย่างไรให้ควันหลง เรียนวิชาหากินกัน จนเกิดได้ปริญญา ทุ่มเทเวลาของสิ่งที่.... ที่ท่านว่ามีใคร ๓๖ หรือ ๓๕ ปี มันเกินไป โดยไม่ได้มาศึกษาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าตัวเองเป็นชาวพุทธ ผมคิดว่าเป็น ที่จริงเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น เป็นพวกถือผี ถือจ้าว ถือไสยศาสตร์มากกว่า
ตอบ : ไม่เป็นไรก็ดี ก็เท่ากับเหมือนกับพูดว่า เวลานี้สังคมไทยดูคล้ายๆ ว่า จะเป็นสังคมที่นับถือศาสนาผีไสยศาสตร์เป็นหลัก พุทธศาสนาเป็นตัวประกอบ ลักษณะจะดูได้ไม่ยากหรอก แล้วก็ที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ อาตมามองว่า เป็นเพราะชาวพุทธนี่แหละหนุนขึ้นมา ชาวพุทธเป็นผู้หนุนให้เกิดเหตุการณ์นี้ เพราะว่าพวกนี้เจริญขึ้นมาได้เพราะชาวพุทธไปหนุน พอเกิดเหตุร้ายขึ้นมา แทนที่จะติเตียนตัวเอง กลับไปติเตียนคนอื่น คือ ชาวพุทธเป็นผู้ไปหนุนให้เกิดสภาพร้ายอย่างนี้ แล้วตัวเองแทนที่จะได้พิจารณาตัวเอง แล้วรู้ว่าเกิดจากตัวเรา ต้องแก้ตัวเรา กลับไปโทษสิ่งอื่น จะไปนับถือพระศาสนาอะไรก็ไม่รู้ ทั้งๆ ที่ตัวไปทำสิ่งที่นอกศาสนาขึ้นมา แล้วมักไปมอง เช่นมองว่า เช่นมองเช่นอาตมาฟังวิทยุ บอกว่ารวยขึ้นแล้ว แล้วก็เลยเปลี่ยนไป เช่นว่าได้รับสักการะขึ้นมา แล้วก็เลยหันไปทางทำความผิด ที่จริงไม่ใช่หรอก เจตนาหาลาภต่างหาก ที่เป็นตัวทำให้เกิดอย่างนี้ตั้งแต่ต้น ตอนต่อนี้มันกลายเป็นประสบความสำเร็จในการหาสิ่งที่ต้องการแล้ว มันก็มีกำลังที่จะทำสิ่งนั้นได้เต็มที่ ไม่ใช่ว่าตัวเองดีมา แล้วมาเกิดลาภสักการะ แล้วก็เลยเพี้ยน ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเจตนามาตั้งแต่ต้น อันนี้ล่ะ เป็นจุดสำคัญ ถ้าพุทธศาสนิกชนอยู่ในหลัก พฤติกรรมแบบนี้เกิดแต่ต้น ไม่หนุนเลย โตไม่ได้ มันโตไม่ได้ตั้งแต่ต้นแล้ว เพระฉะนั้น ทำไมเดิมโตไม่ได้ ก็เพราะว่าชาวพุทธรู้ทัน พฤติกรรมมันออกมาตอนต้นแล้ว เวลาทำอะไรปั๊บ หลักพระศาสนามีอยู่ อันยาอุรา พูปนิสา.1.17.36........ ทางหาลาภไปทางหนึ่ง ทางไปพระนิพพานไปทางหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว พฤติกรรมมันออกมาตั้งแต่ต้นแล้ว พอมาพฤติกรรมปั๊บ ส่อปั๊บ แทนที่ชาวพุทธจะไปสกัด หนุนเลย ใช่ไหม พวกนี้หนุนชาวพุทธล่ะหนุนขึ้นมา จนมีกำลัง พฤติกรรมมันส่อแสดงตั้งแต่ต้นแล้ว ท่านลองดู เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่แก้ชาวพุทธตอนนี้ ลำบาก เป็นปัญหามาก ระบบความสัมพันธ์ ก็อาตมาเคยพูดตั้งแต่คราวเรื่องกรณียันตระ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธกับพระสงฆ์มันเปลี่ยนไป จากระบบศรัทธา จากระบบบุญกุศล มาเป็นระบบผลประโยชน์ แต่ก่อนนี้ชาวบ้านไปหาวัด ไปหาพระสงฆ์นั้น มุ่งบุญกุศล มุ่งความดี ความงาม ทำบุญด้วยเสียสละ กำจัดวัชรียะ บริจาคทานให้พัฒนาจิตใจให้ดีขึ้น ก็เห็นพระก็จะได้สอนธรรมอะไรต่างๆ ก็มองไปในแง่ ดูว่าท่านประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ก็ศรัทธาเคารพ ก็รู้ธรรมวินัยไปด้วย ท่านประพฤติไม่ถูกต้องตามธรรมวินัย ไม่ศรัทธา ไม่เคารพ ไม่บำรุง พระอยู่ไม่ได้ ชาวบ้านคุมพระ ทีนี้ พระมีความรู้ธรรมวินัย ตั้งตัวให้ศรัทธา ชาวบ้านเคารพนับถือ ต้องเชื่อฟังเป็นครูอาจารย์ พระก็คุมชาวบ้าน เดิมระบบศรัทธานี้ พระคุมชาวบ้าน ชาวบ้านคุมพระอยู่กันมาตลอด ต่อมาปัจจุบันเป็นระบบผลประโยชน์ ชาวบ้านไปหาพระ อยากได้โชคลาภ ไปได้วัตถุมงคล เอาเงินไปให้ ไม่สนใจว่าพระองค์นี้จะรู้ธรรมวินัย จะสอนอะไร จะไปทำอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร เอาวัตถุมงคลมาให้ฉันได้พอ เพราะฉะนั้น ตัวเองต้องการแต่โชคลาภ หาผลประโยชน์ ได้วัตถุมงคลมาพอแล้ว พระที่ต้องการผลประโยชน์ เห็นช่องทางนี้ได้ลาภดี ไม่ต้องเรียนรู้ธรรมวินัยก็ได้ ไม่ต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ทำวัตถุมงคลเป็นก็ใช้ได้ ก็เข้ามาปั๊บ ก็สนองความต้องการ ระบบผลประโยชน์ก็มา คราวนี้เอาละ ทีนี้พระก็ไม่คุมชาวบ้าน ชาวบ้านก็ไม่คุมพระ เมื่อไม่คุมกันในทางศีลธรรม และนอกจากนั้นชาวบ้านมุ่งประโยชน์ส่วนตัว ตัวได้วัตถุมงคลพอแล้ว ไม่สนใจว่าพระจะรู้ธรรมวินัยไหม พระองค์ไหนที่รู้ธรรมวินัย ไม่มาสนองความต้องการวัตถุมงคลบนผลประโยชน์ ชาวบ้านไม่สนใจ พระที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติก็เลยถูกทอดทิ้งหมดกำลัง พระที่สนองความต้องการทางนี้ ก็เลยมีกำลังขึ้นมา แล้วไปโทษใครล่ะ ก็ทำด้วยกัน